Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Physical Sciences and Mathematics Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 1051 - 1080 of 2268

Full-Text Articles in Physical Sciences and Mathematics

การเรียนรู้ค่าพารามิเตอร์ของเครื่องนับคัดธนบัตร Bps M7 เพื่อจำแนกสภาพธนบัตรด้วยวิธีซัพพอร์ตเวกเตอร์แมชชีน, ธิติ กองประเสริฐ Jan 2018

การเรียนรู้ค่าพารามิเตอร์ของเครื่องนับคัดธนบัตร Bps M7 เพื่อจำแนกสภาพธนบัตรด้วยวิธีซัพพอร์ตเวกเตอร์แมชชีน, ธิติ กองประเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ธนบัตรเป็นสื่อชำระเงินหลักที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีคุณสมบัติที่สำคัญคือเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป สามารถคงมูลค่าได้ รักษาความเป็นส่วนตัววของผู้ใช้งาน และใช้งานได้ทุกที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาไฟฟ้าหรือเทคโนโลยีใด ๆ แต่สื่อชำระเงินนี้ยังมีต้นทุนการผลิตที่รัฐบาลต้องแบกรับเป็นจำวนเงินมหาศาล วิธีการหนึ่งที่จะสามารถลดต้นทุนในส่วนดังกล่าวทางหนึ่งคือ การหมุนเวียนธนบัตรสภาพดีกลับไปใช้งานได้สอดคล้องกับพฤติกรรมของประชาชน และสภาพแวดล้อม งานวิจัยนี้นำเสนอการเรียนรู้ค่าพารามิเตอร์ของเครื่องนับคัดธนบัตร BPS M7 เพื่อจำแนกสภาพธนบัตรให้มีความสามารถแบ่งแยกธนบัตรได้ใกล้เคียงกับธนกร หรือผู้เชี่ยวชาญด้านธนบัตรมากที่สุดด้วยวิธีซัพพอร์ตเวกเตอร์แมชชีน โดยงานวิจัยนี้เริ่มจากเก็บตัวอย่างธนบัตรมาให้ธนกรร่วมกันพิจารณาและลงความเห็นสภาพธนบัตรรายฉบับ เพื่อเป็นชุดข้อมูลเรียนรู้ให้กับวิธีซัพพอร์ตเวกเตอร์แมชชีน จากนั้นจึงนำสมการแบ่งแยกที่ได้มาประเมินประสิทธิภาพการแบ่งแยกด้วยค่าความแม่นยำ และความถูกต้องจากผลการวิจัยสรุปได้ว่า สมการแบ่งแยกที่ได้จากวิธีซัพพอร์ตเวกเตอร์แมชชีนมีความสามารถแบ่งแยกธนบัตรได้แม่นยำใกล้เคียงกับธนกรมากขึ้นกว่าชุดการตัดสินใจเดิมบนเครื่องนับคัดธนบัตร BPS M7


การประยุกต์ใช้การทำเหมืองข้อความเพื่อจำแนกประเภทโรคจากอาการ, พรรณาภรณ์ เกตุภู่พงษ์ Jan 2018

การประยุกต์ใช้การทำเหมืองข้อความเพื่อจำแนกประเภทโรคจากอาการ, พรรณาภรณ์ เกตุภู่พงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวินิจฉัยโรคที่คลาดเคลื่อนถือเป็นปัญหาสำคัญในวงการแพทย์ โดยปัจจุบันการวินิจฉัยโรคของแพทย์แต่ละคนจะแตกต่างกันไปตามความรู้ ความชำนาญ และประสบการณ์ที่ได้สั่งสมมา รวมทั้งการวินิจฉัยโรคในบางครั้งแพทย์อาจลืมนึกถึงโรคบางโรคไป เนื่องจากเป็นโรคที่พบเจอได้ยากหรือไม่ค่อยพบเจอในผู้ป่วย ส่งผลให้การวินิจฉัยโรคเกิดความคลาดเคลื่อน โดยหลังจากที่แพทย์ได้ทำการวินิจฉัยโรคแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการจำแนกรหัสไอซีดีเทนซีเอ็มให้กับคำวินิจฉัยนั้น ซึ่งถือเป็นขั้นตอนที่ยุ่งยากสำหรับแพทย์ส่วนใหญ่ ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงมีแนวคิดที่จะนำเสนอแบบจำลองสำหรับจำแนกประเภทโรคจากอาการ โดยการประยุกต์ใช้การทำเหมืองข้อความ เพื่อช่วยแพทย์ในการวินิจฉัยโรคและจำแนกรหัสไอซีดีเทนซีเอ็มได้ด้วยข้อมูลอาการของผู้ป่วย ซึ่งการสร้างแบบจำลองในงานวิจัยนี้จะเลือกใช้ตัวจำแนกประเภทที่นิยมใช้ในการทำเหมืองข้อความ ได้แก่ ต้นไม้ตัดสินใจ การเรียนรู้เบส์อย่างง่าย ซัพพอร์ตเวกเตอร์แมชชีน และโครงข่ายประสาทเทียม มาเปรียบเทียบกันโดยใช้ระยะเวลาที่ใช้ในการสร้างแบบจำลอง ระยะเวลาที่แบบจำลองใช้ในการทำนาย กราฟเส้นโค้งอาร์โอซี อัตราผลบวกจริง อัตราผลบวกเท็จ ค่าความเที่ยง และค่าความแม่นมาเป็นตัวชี้วัด ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้พบว่าการใช้โครงข่ายประสาทเทียมเป็นตัวจำแนกประเภทในการสร้างแบบจำลองมีความเหมาะสมที่สุดสำหรับงานวิจัยนี้ เนื่องจากให้อัตราผลบวกจริงสูงสุดที่ร้อยละ 89.03 และมีพื้นที่ใต้เส้นโค้งของกราฟเส้นโค้งอาร์โอซีมากที่สุด


การจำแนกข้อความเข้าข่ายหมิ่นประมาทบนสื่อสังคมออนไลน์, รัชกฤต อารีราษฎร์ Jan 2018

การจำแนกข้อความเข้าข่ายหมิ่นประมาทบนสื่อสังคมออนไลน์, รัชกฤต อารีราษฎร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในปัจจุบันเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย การแสดงความคิดเห็นหรือแบ่งปันข้อมูลที่มีเนื้อหาก้าวร้าว โจมตี หรือดูหมิ่นผู้ใช้งานคนอื่นบนสื่อสังคมออนไลน์ อาจส่งผลกระทบต่อสังคมในด้านลบ โดยเนื้อหาดังกล่าวอาจผิดกฎหมายอาญาหมวด 3 ความผิดฐานหมิ่นประมาท มาตรา 326 วิทยานิพนธ์นี้เสนอคุณลักษณะเพื่อใช้ในการจำแนกข้อมูลเข้าข่ายหมิ่นประมาทบนสื่อสังคมออนไลน์ด้วยขั้นตอนวิธีเพอเซ็ปตรอนหลายชั้น ซับพอร์ทเวคเตอร์แมชชีน และการถดถอยโลจิสติกส์ โดยเปรียบเทียบประสิทธิภาพแต่ละขั้นตอนวิธี ซึ่งการทดลองพบว่าเอ็น-แกรม คลังคำศัพท์จากศาลฎีกา และโครงสร้างไวยากรณ์แบบขึ้นต่อกันเป็นคุณลักษณะที่สามารถใช้ในการจำแนกข้อความหมิ่นประมาทได้โดยได้ค่าความเที่ยงสูง แต่ค่าเรียกคืนต่ำ แต่เมื่อมีการจัดการข้อมูลที่ไม่สมดุลด้วยแล้ว จะพบว่าการจำแนกมีประสิทธิภาพดีขึ้นโดยที่ขั้นตอนวิธีเพอเซ็ปตรอนหลายชั้นมีความสามารถในการจำแนกได้ดีที่สุดโดยมีค่าความเที่ยงเป็น 0.93 ค่าเรียกคืนเป็น 0.98 และค่าเอฟวันเป็น 0.95 นอกจากนี้จำนวนมิติของเอ็น-แกรมมีผลต่อประสิทธิภาพของการจำแนกข้อความ โดยจำนวนมิติที่เหมาะสมของเอ็น-แกรมแต่ละชนิดขึ้นอยู่กับขั้นตอนวิธีที่ใช้


การดูดซับไอออนสังกะสีจากน้ำเสียด้วยผงเหล็กช็อตบลาสท์และตะกรันอลูมิเนียมเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์, นราทิพย์ รักษ์เดช Jan 2018

การดูดซับไอออนสังกะสีจากน้ำเสียด้วยผงเหล็กช็อตบลาสท์และตะกรันอลูมิเนียมเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์, นราทิพย์ รักษ์เดช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบำบัดไอออนสังกะสีในน้ำเสียโดยใช้ของเสียอุตสาหกรรม 2 ชนิด ได้แก่ ผงเหล็กช๊อตบลาสท์และตะกรันอลูมิเนียม ทำการทดลองแบบกะ โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 2 ชุดหลัก ๆ ได้แก่ การทดลองที่ไม่ควบคุมพีเอชและควบคุมพีเอชของน้ำเสียซึ่งใช้น้ำเสียสังเคราะห์ 50 มิลลิลิตร ที่ความเข้มข้น 400 มิลลิกรัมต่อลิตร ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบำบัดไอออนสังกะสี ได้แก่ เวลา (0-48 ชั่วโมง สำหรับผงเหล็กช็อตบลาสท์ และ 0-8 ชั่วโมง สำหรับตะกรันอลูมิเนียม) ปริมาณวัสดุดูดซับ (0.1-2 กรัม) และพีเอชเริ่มต้น (3-6) ผลการทดลองพบว่า ที่พีเอช 6 ให้ประสิทธิภาพการบำบัดสูงสุดทุกกรณี โดยผงเหล็กช็อตบลาสท์ 2 กรัม ใช้เวลาในการเข้าสู่สมดุลเท่ากับ 28 และ 40 ชั่วโมง ให้ประสิทธิภาพร้อยละ 38.35 และ 90.00 สำหรับการทดลองที่ไม่ควบคุมพีเอชและควบคุมพีเอชของน้ำเสีย ตามลำดับ ส่วนตะกรันอลูมิเนียม 2 กรัม ใช้เวลาเข้าสู่สมดุลเท่ากับ 2 และ 6 ชั่วโมง ให้ประสิทธิภาพร้อยละ 95.04 และ 19.74 สำหรับการทดลองที่ไม่ควบคุมพีเอชและควบคุมพีเอชของน้ำเสีย ตามลำดับ เมื่อใช้ปริมาณวัสดุดูดซับเพิ่มขึ้นจาก 0.1 เป็น 2 กรัม ประสิทธิภาพในการบำบัดเพิ่มขึ้นทุกการทดลอง จลนพลศาสตร์การดูดซับของวัสดุดูดซับทั้ง 2 ชนิดสอดคล้องกับสมการอัตราเร็วปฏิกิริยาอันดับสองเทียมทั้ง 2 การทดลอง ไอโซเทอร์มการดูดซับของการทดลองที่ควบคุมพีเอชสอดคล้องทั้งไอโซเทอร์มการดูดซับของแลงเมียร์และฟรุนด์ลิช โดยผงเหล็กช็อตบลาสท์มีค่าคงที่สมดุลการดูดซับตามไอโซเทอร์มการดูดซับของแลงเมียร์ (qm) และฟรุนด์ลิช (kf) เท่ากับ 39.08 และ 2.85 มิลลิกรัมต่อกรัม ตามลำดับ ส่วนตะกรันอลูมิเนียมมีค่า qm และ kf เท่ากับ 1.51 และ 0.28 มิลลิกรัมต่อกรัม ตามลำดับ นอกจากนั้นได้ศึกษาการบำบัดไอออนสังกะสีในน้ำเสียอุตสาหกรรมโดยการทดลองแบบคอลัมน์ พบว่าตะกรันอลูมิเนียมสามารถกำจัดสังกะสีจากน้ำเสียจากโรงงานชุบโลหะได้ปริมาณ 12.27 ลิตร …


การกำจัดแอมโมเนียมไนโตรเจนในนากุ้งโดยใช้ซีโอไลต์ที่สังเคราะห์จากเถ้าลอยถ่านหินและปรับสภาพด้วยไคโตซาน, ปธานิน แสงอรุณ Jan 2018

การกำจัดแอมโมเนียมไนโตรเจนในนากุ้งโดยใช้ซีโอไลต์ที่สังเคราะห์จากเถ้าลอยถ่านหินและปรับสภาพด้วยไคโตซาน, ปธานิน แสงอรุณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้ ใช้การออกแบบการทดลองแบบบ๊อกซ์-เบห์นเคน ที่ 3 ปัจจัย 3 ระดับ ในการหาสภาวะที่เหมาะสมต่อการสังเคราะห์ซีโอไลต์จากเถ้าลอยถ่านหิน การปรับสภาพซีโอไลต์ที่สังเคราะห์ได้จากเถ้าลอยถ่านหินด้วยการใช้ไคโตซาน และประสิทธิภาพในการกำจัดแอมโมเนียมไนโตรเจนในน้ำเสียสังเคราะห์ที่ความเข้มข้นของแอมโมเนียมไนโตรเจนเท่ากับ 100 มิลลิกรัมต่อลิตร ด้วยซีโอไลต์ที่สังเคราะห์ได้จากเถ้าลอยถ่านหินและซีโอไลต์ที่สังเคราะห์ได้จากเถ้าลอยถ่านหินที่ปรับสภาพด้วยไคโตซาน ผลการทดสอบทางสถิติพบว่าสภาวะที่ดีที่สุดที่ความเข้มข้น NaOH ที่ 4 โมลต่อลิตร ระยะเวลา 34 ชั่วโมง และ อุณหภูมิที่ 80 องศาเซลเซียส ส่งผลให้ซีโอไลต์สังเคราะห์จากเถ้าลอยถ่านหินมีค่าความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวกสูงที่สุด ที่ 272.12 มิลลิอิควิวาเลนท์ต่อ100 กรัม ในกรณีของซีโอไลต์สังเคราะห์จากเถ้าลอยถ่านหินปรับสภาพด้วยไคโตซาน พบว่ามีค่าความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวกสูงสุด ที่ 301.39 มิลลิอิควิวาเลนท์ต่อ100 กรัม โดยสภาวะที่ดีที่สุด คือความเข้มข้นของไคโตซาน 11 กรัมต่อลิตร ระยะเวลา 26 ชั่วโมง และ อุณหภูมิที่ 48 องศาเซลเซียส จากนั้นทำการศึกษาประสิทธิภาพในการกำจัดแอมโมเนียมไนโตรเจนในน้ำเสียสังเคราะห์โดยใช้ซีโอไลต์สังเคราะห์จากเถ้าลอยถ่านหินและซีโอไลต์สังเคราะห์จากเถ้าลอยถ่านหินปรับสภาพด้วยด้วยไคโตซาน ผลการศึกษาจากการออกแบบการทดลองแบบบ๊อกซ์-เบห์นเคน แสดงให้เห็นว่า ประสิทธิภาพในการกำจัดแอมโมเนียมไนโตรเจนด้วยซีโอไลต์สังเคราะห์ได้จากเถ้าลอยถ่านหินด้วยไคโตซาน (ร้อยละ 83.57) เกิดได้ดีกว่าซีโอไลต์สังเคราะห์จากเถ้าลอยถ่านหิน (ร้อยละ66.68) โดยค่าพีเอชที่ 7.5 และค่าปริมาณตัวดูดซับที่ 4.0 กรัมต่อลิตร เป็นระดับปัจจัยที่ดีที่สุดต่อค่าการกำจัดแอมโมเนียมไนโตรเจนด้วยตัวดูดซับทั้ง 2 ชนิด ในขณะที่ เวลาในการดูดซับที่ 90 และ 80 นาที เป็นเวลาที่เหมาะสมที่สุดต่อการดูดซับด้วยซีโอไลต์สังเคราะห์จากเถ้าลอยถ่านหินปรับสภาพด้วยไคโตซานและซีโอไลต์สังเคราะห์จากเถ้าลอยถ่านหิน ตามลำดับ และจากการศึกษาจลนพลศาสตร์ของการดูดซับพบว่ามีความสอดคล้องกับสมการอัตราเร็วปฏิกริยาอันดับสองเทียมและสมการแลงเมียร์


ผลของรูปแบบการจัดการน้ำระหว่างการเพาะปลูกข้าวต่อการสะสมแคดเมียมและสารหนูในเมล็ดข้าว, มนตรี ผลสินธ์ Jan 2018

ผลของรูปแบบการจัดการน้ำระหว่างการเพาะปลูกข้าวต่อการสะสมแคดเมียมและสารหนูในเมล็ดข้าว, มนตรี ผลสินธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของรูปแบบการจัดการน้ำระหว่างการเพาะปลูกข้าวต่อการเจริญเติบโตทางลำต้นของข้าว ปริมาณผลผลิตข้าว การสะสมแคดเมียมและสารหนูทั้งหมดในเมล็ดข้าว และการเปลี่ยนแปลงปัจจัยแวดล้อมระหว่างการเพาะปลูกข้าว รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางเคมีบางประการของดินก่อนและหลังการเพาะปลูกข้าว ผลการศึกษาพบความเข้มข้นของแคดเมียม และสารหนูในดินนาข้าว ในช่วง 1.10 ถึง 71.1 และ 23.3 ถึง 45.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ รูปแบบการจัดการน้ำที่ต่างกันไม่ทำให้การเจริญเติบโตทางลำต้นและปริมาณผลผลิตข้าวที่ปลูกมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปริมาณอินทรียวัตถุในดินมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลผลิตข้าว โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (R2) เท่ากับ 0.833 และ 0.832 สำหรับการเพาะปลูกแบบ Conventional และ Treatment ตามลำดับ เมล็ดข้าวที่เพาะปลูกแบบเปียกสลับแห้งมีการสะสมแคดเมียมสูงกว่าการเพาะปลูกแบบดั้งเดิม ประมาณ 1.6 ถึง 1.9 เท่า และเมล็ดข้าวที่เพาะปลูกแบบ Conventional มีการสะสมสารหนูมากกว่าการเพาะปลูกแบบ Treatment ประมาณ 1 ถึง 1.1 เท่า การสะสมแคดเมียมและสารหนูในเมล็ดข้าวนั้นพบว่าขึ้นอยู่กับความเข้มข้นทั้งหมดของแคดเมียมและสารหนูในดิน (R2=0.883 สำหรับแคดเมียม และ R2=0.952 สำหรับสารหนู) และความเข้มข้นของแคดเมียมและสารหนูที่อยู่ในสภาพพร้อมใช้ในดิน (R2=0.884 สำหรับแคดเมียม และ R2=0.874 สำหรับสารหนู) เป็นหลัก


ไฮโดรจิเนชันของคาร์บอนไดออกไซด์บนตัวเร่งปฏิกิริยา Fe-Co แบบโครงสร้างแกน-เปลือก, ปราณปริยา ไตรโชค Jan 2018

ไฮโดรจิเนชันของคาร์บอนไดออกไซด์บนตัวเร่งปฏิกิริยา Fe-Co แบบโครงสร้างแกน-เปลือก, ปราณปริยา ไตรโชค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ไฮโดรจิเนชันของคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อการผลิตสารประกอบไฮโดรคาร์บอนเป็นหนทางหนึ่งที่จะสามารถแก้ไขปัญหาด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ โดยคาร์บอนไดออกไซด์สามารถถูกเติมไฮโดรเจนให้เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนผ่านปฏิกิริยารีเวอร์สวอเตอร์-แก๊สชิพต์ตามด้วยปฏิกิริยาฟิชเชอร์-ทรอปช์ งานวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ไปเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาเหล็ก-โคบอลต์แบบโครงสร้างแกน-เปลือกซึ่งมีสองพื้นผิวหน้า ได้แก่ เหล็กบนตัวรองรับคาร์บอนทรงกลมเป็นชั้นแกน และโคบอลต์บนตัวรองรับซิลิกาเป็นชั้นเปลือก โดยกระบวนการสี่ขั้นตอนได้ถูกออกแบบมาเพื่อการเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยาเหล็ก-โคบอลต์แบบโครงสร้างแกน-เปลือก เริ่มต้นจากการสังเคราะห์คาร์บอนทรงกลมด้วยวิธีไฮโดรเทอร์มอล คาร์บอไนเซชันตามด้วยการเคลือบฝังเหล็กลงบนตัวรองรับคาร์บอนทรงกลมที่เตรียมได้ จากนั้นวิธีโซล-เจลถูกนำมาใช้สำหรับการเคลือบซิลิกาลงบนแกนกลางเหล็กบนตัวรองรับคาร์บอนทรงกลมเพื่อสร้างชั้นเปลือก สุดท้ายจึงทำการเคลือบฝังโคบอลต์ลงบนชั้นเปลือกซิลิกา ซึ่งจากการศึกษาด้วยเทคนิคจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดและแบบส่องผ่านพร้อมด้วยการวัดการกระจายพลังงานของรังสีเอกซ์ เทคนิคการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์และเทคนิคการดูดซับทางกายภาพด้วยไนโตรเจนสามารถยืนยันการเกิดขึ้นของชั้นเปลือกซิลิกาจากการเตรียมด้วยวิธีดังกล่าว สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพของตัวเร่งปฏิกิริยาในปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชันของคาร์บอนไดออกไซด์สามารถทำได้โดยใช้เครื่องปฏิกรณ์แบบเบดนิ่งภายใต้อุณหภูมิ 300 องศาเซลเซียส ที่ความดัน 25 บาร์ พร้อมด้วยสัดส่วนไฮโดรเจนต่อคาร์บอนไดออกไซด์ของสารป้อนเท่ากับ 3 พบว่าตัวเร่งปฏิกิริยาที่เตรียมได้ให้ค่าการเปลี่ยนแปลงของคาร์บอนไดออกไซด์ร้อยละ 47.02 และให้ค่าการเลือกเกิดเป็นมีเทนร้อยละ 87.38


การจับยึดคาร์บอนไดออกไซด์บนถ่านกัมมันต์ดัดแปรด้วยเอมีนจากไม้ไผ่, ภานุพงศ์ ประเสริฐสุข Jan 2018

การจับยึดคาร์บอนไดออกไซด์บนถ่านกัมมันต์ดัดแปรด้วยเอมีนจากไม้ไผ่, ภานุพงศ์ ประเสริฐสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ทำการศึกษาการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์บนตัวดูดซับถ่านกัมมันต์ที่ได้จากไม้ไผ่ และตัวดูดซับถ่านกัมมันต์ที่ถูกกระตุ้นและดัดแปรด้วยเตตระเอทิลีนเพนทามีนหรือพอลิเอทิลีนอิมไมด์ ตัวแปรที่ศึกษามีดังนี้ อุณหภูมิที่ใช้ในการกระตุ้นด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ อัตราส่วนน้ำหนักตัวดูดซับต่อน้ำหนักกรดฟอสฟอริก ชนิดของเอมีน ปริมาณเอมีนที่ใช้ และความชื้นในก๊าซขาเข้า ช่วงอุณหภูมิในการดูดซับตั้งแต่ 30 ถึง 110 องศาเซสเซียส ตัวดูดซับจะถูกวิเคราะห์ลักษณะพื้นที่ผิวจำเพาะด้วยเทคนิคดูดซับ/คายซับไนโตรเจนพบว่าการกระตุ้นด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ที่อุณหภูมิ 600 ถึง 800 องศาเซสเซียสจะทำให้ตัวดูดซับมีพื้นที่ผิวจำเพาะและปริมาตรรูพรุนมีค่าสูงขึ้นโดยจะมีค่าเท่ากับ 432.92 ตารางเมตรต่อกรัม 0.23 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อกรัม ตามลำดับ เมื่อใช้อัตราส่วนน้ำหนักตัวดูดซับต่อน้ำหนักกรดฟอสฟอริกสูงขึ้นจะทำให้มีปริมาตรูพรุนขนาดเมโสและมาโครมากขึ้น จากการวิเคราะห์ด้วยเทคนิควิเคราะห์องค์ประกอบขั้นสูงพบว่าเมื่อเพิ่มน้ำหนักกรดฟอสฟอริก ทำให้มีปริมาณธาตุออกซิเจนสูง เมื่อวิเคราะห์หมู่ฟังก์ชันด้วยเทคนิคฟูเรียร์ทรานฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทรสโคปี พบว่าเมื่อกระตุ้นด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ที่อุณหภูมิสูงทำให้ตัวดูดซับเกิดการสลายตัว ส่วนการกระตุ้นด้วยกรดฟอสฟอริกจะพบหมู่ฟอสเฟสหลงเหลือที่พื้นผิวตัวดูดซับ จากการวิเคราะห์ความเป็นผลึกด้วยการเลี้ยวเบนของรังสีเอ๊กซ์ การกระตุ้นด้วยกรดฟอสฟอริกที่สัดส่วนสูงทำให้ระนาบ (001) (110) และ (002) เกิดจุดบกพร่อง จากผลการทดลอง พบว่าตัวดูดซับที่ถูกกระตุ้นด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ที่อุณหภูมิ 700 องศาเซสเซียสจะให้ความสามารถในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์เท่ากับ 0.97 มิลลิโมลต่อกรัม เมื่อนำมากระตุ้นด้วยกรดฟอสฟอริกแล้วดัดแปรด้วยเตตระเอทิลีนเพนทามีนพบว่า ความสามารถในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์สูงขึ้นเป็น 1.14 มิลลิโมลต่อกรัม เมื่อไม่มีความชื้นในกระแสก๊าซขาเข้าและมีค่าเป็น 1.31 มิลลิโมลต่อกรัม เมื่อมีความชื้นในกระแสก๊าซขาเข้า ในส่วนของการศึกษาการฟื้นฟูสภาพตัวดูดซับพบว่า ความสามารถในการดูดซับลดลงประมาณร้อยละ 1.82 ในรอบที่ 10 ของวัฏจักรการดูดซับ ในส่วนของการศึกษาจลหพลศาสตร์พบว่าแบบจำลองปฏิกิริยาอันดับหนึ่งเทียมสามารถอธิบายกลไลการเกิดการดูดซับได้เหมาะสมที่สุด จากสมการของอาร์เรเนียสพบว่าเมื่อดัดแปรด้วยเอมีนทำให้มีค่าพลังงานกระตุ้นลดลงเนื่องจากหมู่เอมีนมีความว่องไวต่อคาร์บอนไดออกไซด์


การผลิตไฮโดรจิเนเตดไบโอดีเซลด้วยปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชันบางส่วนแบบต่อเนื่องโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิล, ศุภณัฐ พุ่มประดิษฐ์ Jan 2018

การผลิตไฮโดรจิเนเตดไบโอดีเซลด้วยปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชันบางส่วนแบบต่อเนื่องโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิล, ศุภณัฐ พุ่มประดิษฐ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชันบางส่วนของเมทิลเอสเทอร์ของกรดไขมัน (fatty acid methyl ester, FAME) ที่ได้จากน้ำมันปาล์ม ถูกศึกษาโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิล (Ni) บนตัวรองรับซิลิกาสองชนิด คือ ซิลิกาแบบเม็ด (silica commercial ball, SB) และซิลิกาแบบเส้นใย (silica fiber, SF) ในเครื่องปฏิกรณ์เบดนิ่งแบบต่อเนื่องที่อุณหภูมิ 100-250 °ซ ภายใต้บรรยากาศไฮโดรเจนที่ความดัน 1-4 บาร์ และอัตราการป้อน FAME ที่ 0.3-0.7 มล./นาที เนื่องจากองค์ประกอบของ FAME ได้แก่ เมทิลลิโนลิเนต (methyl linolenate, C18:3) และเมทิลลิโนลิเอต (methyl linoleate, C18:2) มีเสถียรภาพต่อปฏิกิริยาออกซิเดชันต่ำ ดังนั้นโครงสร้างแบบเมทิลโอลิเอต (methyl oleate, cis-C18:1) จึงเป็นองค์ประกอบเป้าหมายเพราะมีเสถียรภาพต่อปฏิกิริยาออกซิเดชัน และสมบัติการไหลที่อุณหภูมิต่ำที่ดี จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิลบนตัวรองรับ SB (Ni/SB) และนิกเกิลบนตัวรองรับ SF (Ni/SF) มีช่วงอุณภูมิรีดักชันของนิกเกิลออกไซด์ (NiO) ที่ 350–450 °ซ โดยปริมาณการดูดซับแก๊สไฮโดรเจน และความสามารถในการรีดักชัน (reducibility) ของตัวเร่งปฏิกิริยา Ni/SF สูงกว่าตัวเร่งปฏิกิริยา Ni/SB แสดงให้เห็นว่าตัวเร่งปฏิกิริยา Ni/SF มีความว่องไวในการทำปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชันบางส่วนมากกว่า ซึ่งเป็นผลมา จากมีการถ่ายโอนมวลสารที่ดีกว่าตัวเร่งปฏิกิริยาแบบรูพรุน และพบว่าการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา 30%Ni/SF ที่ 200 °ซ ภายใต้บรรยากาศไฮโดรเจนที่ความดัน 1 บาร์ และอัตราการป้อน FAME ที่ 0.5 มล./นาที ให้ค่าการเปลี่ยนแปลง C18:2 และองค์ประกอบโครงสร้างแบบ cis-C18:1 ที่ 71% และ 41% ตามล้าดับ อย่างไรก็ตามพบโครงสร้างเมททิลอิไลเดต (methy elaidate, trans-C8:1) ที่ 3% …


การหักล้างความสมมาตรพลวัตในปัญหาความสอดคล้องแบบบูลโดยใช้ประพจน์เลือกต่อเติมพร้อมด้วยการเล็มต้นไม้ค้นหาในเวลาเชิงพหุนาม, เตวิช ตรีธัญญพงศ์ Jan 2018

การหักล้างความสมมาตรพลวัตในปัญหาความสอดคล้องแบบบูลโดยใช้ประพจน์เลือกต่อเติมพร้อมด้วยการเล็มต้นไม้ค้นหาในเวลาเชิงพหุนาม, เตวิช ตรีธัญญพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเพิ่มความเร็วในการแก้ปัญหาความสอดคล้องแบบบูลนั้นสามารถทำได้ด้วยการใช้สมบัติของความสมมาตร หนึ่งในเทคนิคที่ใช้ประโยชน์จากความสมมาตรคือการหักล้างความสมมาตรพลวัต ซึ่งโดยปกติแล้วจะทำโดยการเพิ่มประพจน์เลือกที่สมมาตรกับประพจน์เลือกที่ถูกเรียนรู้ลงไปในนิพจน์บูลีนด้วย วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อทำให้เทคนิคการหักล้างความสมมาตรพลวัตสามารถหักล้างความสมมาตรได้เป็นจำนวนที่เป็นเอกซ์โพเนนเชียลฟังก์ชันและใช้พื้นที่หน่วยความจำเป็นฟังก์ชันพหุนามของข้อมูลนำเข้า โดยใช้แนวคิดของประพจน์เลือกต่อเติมในกรณีที่กลุ่มความสมมาตรประกอบด้วยความสมมาตรแบบแถว วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จะแสดงให้เห็นว่าปัญหาตัวขนย้ายลำดับที่เคซึ่งจำเป็นสำหรับการเผยแพร่ประพจน์เลือกเดี่ยวสามารถแก้ได้ในเวลาที่เป็นฟังก์ชันพหุนามเมื่อกลุ่มความสมมาตรเป็นความสมมาตรแบบแถว ผู้จัดทำยังได้ทำการศึกษาสมบัติของกลุ่มความสมมาตรที่มีความสมมาตรแบบแถวเป็นกลุ่มย่อยปกติ เช่น การแยกตัวประกอบเป็นผลคูณของความสมมาตรแบบแถวที่เป็นกลุ่มย่อยปกติ และความเป็นเอกลักษณ์ของการแยกตัวประกอบ เนื่องด้วยสมบัติเหล่านี้ ทางผู้จัดทำจึงได้เสนอวิธีการสร้างกลุ่มย่อยที่สามารถหาผลเฉลยได้ และเทคนิคการเล็มต้นไม้ค้นหาที่สมบูรณ์และสามารถทำได้ในเวลาที่เป็นฟังก์ชันพหุนามสำหรับปัญหาตัวขนย้ายลำดับที่เคภายใต้กลุ่มย่อยที่เราได้เสนอ และในส่วนสุดท้าย ผู้จัดทำได้ทำการวิเคราะห์บางแง่มุมของการการใช้งานเทคนิคที่ได้นำเสนอในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้


การทวนสอบเชิงรูปนัยของการออกแบบบีพีเอ็มเอ็นโดยใช้โมเดลเช็คกิง, ชานนท์ เดชสุภา Jan 2018

การทวนสอบเชิงรูปนัยของการออกแบบบีพีเอ็มเอ็นโดยใช้โมเดลเช็คกิง, ชานนท์ เดชสุภา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การทวนสอบโมเดลบีพีเอ็มเอ็นด้วยวิธีโมเดลเช็คกิงเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้มั่นใจว่าโมเดลบีพีเอ็มเอ็นที่ออกแบบปราศจากปัญหาติดตายและปราศจากคุณสมบัติที่ไม่พึงประสงค์ที่เป็นสาเหตุโมเดลไม่ตรงตามความต้องการหรือส่งผลให้ระบบหยุดทำงาน คุณสมบัติของโมเดลบีพีเอ็มเอ็นที่จำเป็นต้องทวนสอบได้แก่ คุณสมบัติความปลอดภัยและคุณสมบัติความสมบูรณ์ ขั้นตอนการทวนสอบด้วยวิธีโมเดลเช็คกิงค่อนข้างซับซ้อนเพราะเกี่ยวข้องกับภาษารูปนัยที่ใช้อธิบายโมเดลเชิงนามธรรมและการใช้เครื่องมือทวนสอบ รวมถึงอาจต้องใช้เทคนิคเฉพาะเพื่อจัดการโมเดลบีพีเอ็มเอ็นที่มีขนาดใหญ่ที่เป็นสาเหตุของปัญหาการระเบิดของปริภูมิสถานะ การสร้างโมเดลนามธรรมโดยอัตโนมัติช่วยลดความผิดพลาดและเวลาที่ใช้ในการสร้างโมเดล สามารถจัดการโมเดลที่มีขนาดใหญ่และปัญหาการระเบิดของปริภูมิสถานะได้ งานวิจัยนี้เสนอเทคนิคการทวนสอบคุณสมบัติความปลอดภัย คุณสมบัติความสมบูรณ์ของโมเดลบีพีเอ็มเอ็นด้วยวิธีโมเดลเช็คกิง คัลเลอร์เพทริเน็ตหรือซีพีเอ็นถูกนำมาใช้อธิบายโมเดลนามธรรม เทคนิคการแบ่งโมเดลออกเป็นโมเดลย่อยและการจัดโครงสร้างโมเดลแบบมีลำดับชั้นถูกนำมาใช้เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการระเบิดของปริภูมิสถานะ กรอบงานได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้แปลงโมเดลบีพีเอ็มเอ็นเป็นโมเดลซีพีเอ็นและมีตัวสร้างและค้นปริภูมิสถานะจากโมเดลซีพีเอ็น ซึ่งกรอบงานเป็นตัวเลือกที่มีประโยชน์สำหรับนักออกแบบกระบวนการซอฟต์แวร์ที่ต้องการทวนสอบโมเดลบีพีเอ็มเอ็นที่มีขนาดใหญ่


การตรวจสอบข่าวปลอมด้วยวิธีการเรียนรู้ด้วยเครื่อง, สุปัญญา อภิวงศ์โสภณ Jan 2018

การตรวจสอบข่าวปลอมด้วยวิธีการเรียนรู้ด้วยเครื่อง, สุปัญญา อภิวงศ์โสภณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอวิธีการตรวจจับข่าวปลอมบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ทวิตเตอร์ด้วยวิธีการเรียนรู้ด้วยเครื่อง โดยใช้การเรียนรู้ด้วยเครื่องสามวิธี ได้แก่ Naïve Bayes, Neural Network และ Support Vector Machine โดยเก็บข้อมูลจากหัวข้อข่าวที่เป็นภาษาไทย ในระหว่างเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ผลการวิจัยพบว่าทั้งสามวิธีสามารถตรวจจับข่าวปลอมในชุดข้อมูลได้อย่างถูกต้อง ร้อยละความถูกต้องของวิธี Naïve Bayes คือ 96.08 เปอร์เซ็นต์ Neural Network 99.89 เปอร์เซ็นต์ และ Support Vector Machine 99.89 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลข่าวปลอมและชี้ให้เห็นลักษณะของข่าวปลอมที่พบในชุดข้อมูล


ผลของตัวแปรในกระบวนการอัดขึ้นรูปร้อนต่อสมบัติทางกายภาพ และเชิงกลของผ้าเบรก, ธนภร วิไลรัตน์ Jan 2018

ผลของตัวแปรในกระบวนการอัดขึ้นรูปร้อนต่อสมบัติทางกายภาพ และเชิงกลของผ้าเบรก, ธนภร วิไลรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กระบวนการอัดขึ้นรูปร้อนเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญอย่างมากในการผลิตผ้าเบรก เนื่องจากเป็นกระบวนการที่ส่งผลต่อสมบัติทางกายภาพและเชิงกล ซึ่งสมบัติเหล่านี้ต่างส่งผลต่อการสั่นและการเกิดเสียงของผ้าเบรก งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในกระบวนการอัดขึ้นรูปร้อนต่อสมบัติของผ้าเบรก ได้แก่ ความเป็นรูพรุน สภาพอัดตัวได้ มอดุลัส และความแข็งของผ้าเบรก โดยทำการทดสอบอุณหภูมิการเกิดปฏิกิริยาการเชื่อมโยงของฟีนอลิกเรซินด้วยเทคนิคดิฟเฟอเรนเชียลสแกนนิงแคลอริมิเตอร์เพื่อนำมากำหนดช่วงอุณหภูมิในการทดลอง ปัจจัยทั้ง 3 ในกระบวนการอัดขึ้นรูปร้อน ได้แก่ อุณหภูมิ แรงดัน และเวลาอัด ถูกทำการปรับเปลี่ยนและออกแบบด้วยวิธีบ็อกซ์-เบห์นเคน จากนั้นทำการวิเคราะห์ผลของกระบวนการอัดขึ้นรูปร้อนต่อสมบัติทั้งหมดด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนและการวิเคราะห์สมการการถดถอย และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติสภาพอัดตัวได้ มอดุลัส ความแข็ง และความเป็นรูพรุน โดยพิจารณาจากความถี่ธรรมชาติของผ้าเบรก รวมถึงการวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาคของผ้าเบรกที่มีปริมาณรูพรุนต่างกันด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด จากผลการทดลองพบว่าความเป็นรูพรุนเป็นสมบัติที่ส่งผลโดยตรงต่อความถี่ธรรมชาติ และมีแบบจำลองที่เหมาะสมในการนำมาวิเคราะห์ภาวะการอัดขึ้นรูปร้อนที่ดีที่สุด นอกจากนี้พบว่าแรงดันเป็นตัวแปรที่ส่งผลต่อความเป็นรูพรุนมากที่สุด รองลงมาคือ อุณหภูมิ และเวลาอัด ตามลำดับ จากผลการทดสอบความถี่ธรรมชาติของผ้าเบรกพบว่าผ้าเบรกที่มีความเป็นรูพรุน 14.3±0.6 เปอร์เซ็นต์ มีแนวโน้มในการเกิดเสียงน้อยที่สุด และจากการวิเคราะห์ผ่านแบบจำลองความเป็นรูพรุนด้วยวิธีพื้นผิวตอบสนองพบว่าภาวะที่เหมาะสมของกระบวนการอัดขึ้นรูปร้อนที่ทำให้ผ้าเบรกมีแนวโน้มการสั่นและการเกิดเสียงน้อยที่สุด คือ อุณหภูมิ 165 องศาเซลเซียส แรงดัน 300 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร และเวลาอัด 2.43 นาที


สมบัติทางกายภาพของพอลิแล็กทิกแอซิด/เทอร์โมพลาสติกพอลิยูรีเทนเสริมแรงด้วยนาโนซิลิกา/มอนต์มอริลโลไนต์ไฮบริดคอมพอสิต, ณัฐสุดา ปาลวัฒน์ Jan 2018

สมบัติทางกายภาพของพอลิแล็กทิกแอซิด/เทอร์โมพลาสติกพอลิยูรีเทนเสริมแรงด้วยนาโนซิลิกา/มอนต์มอริลโลไนต์ไฮบริดคอมพอสิต, ณัฐสุดา ปาลวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จุดประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ การปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของพอลิแล็กทิกแอซิด โดยการเติมเทอร์โมพลาสติกพอลิยูรีเทน ออร์กาโน-มอนต์มอริลโลไนต์และ/หรือนาโนซิลิกา โดยขั้นแรกพอลิเมอร์ผสมพอลิแล็กทิกแอซิด/เทอร์โมพลาสติกพอลิยูรีเทนที่อัตราส่วนต่าง ๆ (ร้อยละ 10 ถึง 50 โดยน้ำหนัก เทอร์โมพลาสติกพอลิยูรีเทน) ได้ถูกเตรียมเพื่อวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพ ซึ่งพบว่า ความทนแรงกระแทก การยืดตัว ณ จุดขาด การเกิดผลึกเย็น ความทนไฟ และการดูดซึมน้ำได้รับการปรับปรุง ขณะที่ความทนแรงดึง ยังส์มอดุลัส ความทนแรงดัดโค้ง เสถียรภาพทางความร้อน และการย่อยสลายทางชีวภาพมีค่าลดลงเมื่อเติมเทอร์โมพลาสติกพอลิยูรีเทนในพอลิเมอร์ผสมพอลิแล็กทิกแอซิด/เทอร์โมพลาสติกพอลิ-ยูรีเทน เนื่องด้วยพอลิเมอร์ผสมพอลิแล็กทิกแอซิด/เทอร์โมพลาสติกพอลิยูรีเทนที่อัตราส่วน 70/30 โดย-น้ำหนักมีสมบัติเชิงกลที่เหมาะสม จึงได้ถูกเลือกเพื่อนำไปเตรียมเป็นทั้งคอมพอสิตและไฮบริดคอมพอสิตด้วยออร์กาโน-มอนต์มอริลโลไนต์ที่ปริมาณ 1, 2, 3, 4 และ 5 ส่วนโดยน้ำหนักต่อเรซินผสมร้อยส่วน และด้วยการคงปริมาณสารตัวเติมทั้งหมดที่ 5 ส่วนโดยน้ำหนักต่อเรซินผสมร้อยส่วน (ออร์กาโน-มอนต์มอริล-โลไนต์/นาโนซิลิกาที่อัตราส่วน 5/0, 2/3, 2.5/2.5, 3/2 และ 0/5) ตามลำดับ จากการทดสอบ พบว่า การเติมออร์กาโน-มอนต์มอริลโลไนต์และ/หรือนาโนซิลิกาในพอลิเมอร์ผสม 70/30 พอลิแล็กทิกแอซิด/เทอร์โมพลาสติกพอลิยูรีเทน ปรับปรุงยังส์มอดุลัส ความทนแรงดัดโค้ง การเกิดผลึกเย็น เสถียรภาพทางความร้อน และความทนไฟ เมื่อเปรียบเทียบกับพอลิเมอร์ผสมนี้ ขณะที่ความทนแรงกระแทก ความทนแรงดึง และการยืดตัว ณ จุดขาดลดลง นอกจากนี้ บรรดาคอมพอสิตทั้งหมด ไฮบริดคอมพอสิตออร์กาโน-มอนต์มอริลโลไนต์/นาโนซิลิกาที่อัตราส่วน 2/3 มีสมบัติความทนแรงดึงสูงสุด ขณะที่การเติมนาโนซิลิกาเพียงชนิดเดียวที่ปริมาณ 5 ส่วนโดยน้ำหนักต่อเรซินผสมร้อยส่วน มีความทนแรงกระแทก ความทนแรงดัดโค้งและเสถียรภาพทางความร้อนสูงสุด


การพัฒนาฟิล์มพอลิไดแอเซทิลีน/ซิงก์ออกไซด์/ยางธรรมชาตินาโนคอมพอสิตเป็นตัวรับรู้อุณหภูมิ, อันภิชา พวงสุวรรณ์ Jan 2018

การพัฒนาฟิล์มพอลิไดแอเซทิลีน/ซิงก์ออกไซด์/ยางธรรมชาตินาโนคอมพอสิตเป็นตัวรับรู้อุณหภูมิ, อันภิชา พวงสุวรรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาระบบการคงรูปยางสำหรับเตรียมฟิล์มยาง poly(PCDA)/ZnO นาโนคอมพอสิต ให้มีสมบัติเชิงกลที่สูงและร้อยการบวมตัวที่ต่ำ อีกทั้งสามารถตอบสนองต่ออุณหภูมิโดยการเปลี่ยนสีได้ดี สำหรับการคงรูปยางด้วยกำมะถัน พบว่าปริมาณสารตัวเร่งปฏิกิริยาคงรูป TBzTD อุณหภูมิและเวลาในการคงรูปมีบทบาทสำคัญต่อระดับการคงรูป โดยเมื่อทำการคงรูปที่ 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 ชั่วโมง และ เติม TBzTD ในปริมาณ 4 และ 2 phr สำหรับฟิล์มยาง NR และ ENR ตามลำดับ จะได้ฟิล์มยางที่สมบัติความทนต่อแรงดึงและความต้านทานต่อตัวทำละลายสูงสุด ภายใต้ภาวะข้างต้น พบว่า ทั้งฟิล์ม poly(PCDA)/ZnO/NR และ poly(PCDA)/ZnO/ENR นาโนคอมพอสิต ยังคงมีสีน้ำเงินเช่นเดียวกับ poly(PCDA)/ZnO นาโนคอมพอสิต แต่จะขุ่นเล็กน้อย สเปกตรัมการดูดกลืนแสงบ่งชี้ว่า poly(PCDA)/ZnO นาโนคอมพอสิตบริสุทธิ์ และที่อยู่ในแผ่นฟิล์มยางมีลักษณะเหมือนกัน อย่างไรก็ตามเมื่อให้ความร้อน พบว่าฟิล์มยาง poly(PCDA)/ZnO นาโนคอมพอสิต ทั้งที่เตรียมจากสารละลายของ NR และของ ENR เริ่มเปลี่ยนสีจากสีน้ำเงินเป็นสีม่วงที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส ซึ่งสูงกว่า poly(PCDA)/ZnO นาโนคอมพอสิตบริสุทธิ์ ประมาณ 20 องศาเซลเซียส แต่มีอุณหภูมิที่ไม่สามารถเกิดผันของกลับสีได้แตกต่างกันอย่างไม่ชัดเจน สำหรับระบบการคงรูปยางด้วยรังสีลำอิเล็กตรอน พบว่า ฟิล์มที่ได้มีค่าความทนต่อแรงดึงสูงกว่าฟิล์มที่คงรูปด้วยกำมะถัน โดยภาวะที่ให้ฟิล์มยางที่มีสมบัติความทนต่อแรงดึงและความต้านทานต่อตัวทำละลายสูงสุด สำหรับฟิล์มยางที่เตรียมจากสารละลายยางทั้งสองชนิดและไม่มีการเติมสารเคมีใด ๆ คือ การฉายรังสีลำอิเล็กตรอนที่ 250 กิโลเกรย์ และอบให้ความร้อนที่ 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง และสำหรับฟิล์มยางจากน้ำยางธรรมชาติผสมสูตรคือ การฉายรังสีลำอิเล็กตรอนที่ 20 กิโลเกรย์ และอบให้ความร้อนที่ 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง โดยฟิล์มยาง poly(PCDA)/ZnO/NR และฟิล์มยาง poly(PCDA)/ZnO/ENR นาโนคอมพอสิต ที่เตรียมจากสารละลายเริ่มเปลี่ยนสีที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส เช่นกัน ในขณะที่ฟิล์มยาง poly(PCDA)/ZnO/NR นาโนคอมพอสิต …


Computational Fluid Dynamics Of Fluid Transport And Deposition Of Particles Under Unsteady Flow In Human Fluid System, Ratchanon Piemjaiswang Jan 2018

Computational Fluid Dynamics Of Fluid Transport And Deposition Of Particles Under Unsteady Flow In Human Fluid System, Ratchanon Piemjaiswang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Computational fluid dynamics has been widely used to investigate flow phenomena in many different applications. This study focuses on the development of computational fluid dynamic model in biomedical applications, including the flow within human respiratory system and the flow within human circulating system. For the model of respiratory system, electrostatic charge model was coupled, and the effect of breathing frequency was investigated. The accomplishment of the study will gain better understanding of the hydrodynamics when applying the electrostatic field, and will use to identify the potential aerosol deposition location. The aerosol properties and morphologies were also considered their effect on …


การจำลองเชิงพลวัตและระบบควบคุมสำหรับการเผาไหม้แบบเคมิคอลลูปปิง, ธนภัทร วโนทยาโรจน์ Jan 2018

การจำลองเชิงพลวัตและระบบควบคุมสำหรับการเผาไหม้แบบเคมิคอลลูปปิง, ธนภัทร วโนทยาโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเผาไหม้แบบเคมิคอลลูปปิงเป็นวิธีการแยกแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากแก๊สหลังการเผาไหม้ ซึ่งเครื่องปฏิกรณ์ประกอบด้วยสองส่วนคือเครื่องปฏิกรณ์เชื้อเพลิงและเครื่องปฏิกรณ์อากาศ ภายในเครื่องปฏิกรณ์เชื้อเพลิงจะเกิดปฏิกิริยาระหว่างเชื้อเพลิงและโลหะออกไซด์ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์เป็นความร้อนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และไอน้ำซึ่งสามารถแยกออกจากกันได้อย่างง่ายด้วยวิธีการควบแน่น โลหะออกไซด์ที่ถูกทำปฏิกิริยาแล้วจะถูกหมุนเวียนไปยังเครื่องปฏิกรณ์อากาศเพื่อทำการฟื้นฟูสภาพโดยปฏิกิริยาออกซิเดชันด้วยอากาศก่อนจะหมุนเวียนกลับเข้าสู่เครื่องปฏิกรณ์เชื้อเพลิง ในงานวิจัยนี้เป็นการศึกษากระบวนการเผาไหม้แบบเคมิคอลลูปปิงในระบบฟลูอิไดซ์เบดแบบหมุนเวียนและการพัฒนาแบบจำลองเชิงพลวัตสำหรับกระบวนการเครื่องปฏิกรณ์เชื้อเพลิง (ดาวน์เนอร์) ดำเนินการในช่วงการไหลฟลูอิไดเซชันแบบฟองแก๊ส ในขณะที่เครื่องปฏิกรณ์อากาศ (ไรเซอร์) ดำเนินการในช่วงการไหลแบบฟลูอิไดเซชันความเร็วสูง โดยมีตัวแปรควบคุมภายในกระบวนการได้แก่ อุณหภูมิของเครื่องปฏิกรณ์ฟลูอิไดซ์เบดทั้งสองเครื่อง ความดันและระดับของเหลวของเครื่องควบแน่นไอน้ำ ทำงานร่วมกับตัวแปรปรับ ได้แก่ อัตราการถ่ายโอนความร้อนของเครื่องปฏิกรณ์ อัตราการป้อนไหลของแก๊สและของเหลวจากเครื่องควบแน่นไอน้ำ เพื่อการควบคุมกระบวนการโดยใช้เครื่องควบคุมชนิดพีไอดี พารามิเตอร์เครื่องควบคุมจะถูกปรับแต่งและทดสอบสมรรถนะ ความทนทานต่อตัวแปรรบกวน ผลรวมของค่าสัมบูรณ์ของค่าความคลาดเคลื่อนถูกใช้ในการตรวจสอบความสามารถของระบบควบคุม


การพัฒนากระบวนการขัดตกแต่งเพื่อการปรับปรุงความเป็นระนาบของผิวผ้าเบรก, ศวิตา ฉายสกุล Jan 2018

การพัฒนากระบวนการขัดตกแต่งเพื่อการปรับปรุงความเป็นระนาบของผิวผ้าเบรก, ศวิตา ฉายสกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาผลกระทบของปัจจัยในกระบวนการขัดตกแต่ง ได้แก่ ความลึกการตัด พื้นที่ผิวผ้าเบรก และความเร็วในการป้อนชิ้นงาน ต่อความลาดเอียงของผ้าเบรกไร้ใยหินหลังจากทำการขัดตกแต่งด้วยเครื่องขัดตกแต่งแบบแมนวลด้วยเงื่อนไขการขัดตกแต่งที่แตกต่างกันโดยใช้ การออกแบบการทดลองแบบแฟคทอเรียลเต็มรูปแบบ 3 ตัวแปร ตัวแปรละ 3 ระดับ ได้แก่ พื้นที่หน้าตัดชิ้นงานที่ 2602 5948 และ 7568 ตารางมิลลิเมตร ความลึกในการตัดที่ 0.5 1 และ 1.5 มิลลิเมตร และความเร็วในการป้อนชิ้นงานที่ 9.5 11.5 และ 15.5 รอบต่อนาที ความลาดเอียงของผ้าเบรกถูกวัดค่าออกมาด้วยเครื่องไดอัลเกจและนำมาวิเคราะห์ผลการทดลองทางสถิติ และวิเคราะห์การส่งผลกระทบด้วยกราฟผลกระทบหลักและผลกระทบร่วม พบว่าทุกปัจจัยยกเว้นผลกระทบร่วมของความลึกในการตัดกับความเร็วในการป้อนล้วนส่งผลกระทบต่อความลาดเอียง โดยการเปลี่ยนแปลงขนาดพื้นที่หน้าตัดเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความลาดเอียงมากที่สุด นอกจากนี้ยังได้มีการศึกษาผลกระทบของความแข็งวัสดุเคมีที่แตกต่างกันต่อความลาดเอียง พบว่า ในชิ้นงานที่มีความแข็ง 60 90 และ 100 HRR ค่าความลาดเอียงไม่ได้มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ทั้งนี้ นอกเหนือจากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ยังได้มีการวิเคราะห์ความลาดเอียงด้วยวิธีทางกราฟิกผ่านการสร้างรูปจำลองด้วยโปรแกรม MATLAB พบว่าผลความลาดเอียงจากการสร้างรูปจำลองสอดคล้องกับผลการทดลองทางสถิติ


Fabrication And Mechanical Properties Of Hyaluronic Acid Microneedle Arrays For Transdermal Drug Delivery, Teeranut Rutwaree Jan 2018

Fabrication And Mechanical Properties Of Hyaluronic Acid Microneedle Arrays For Transdermal Drug Delivery, Teeranut Rutwaree

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Dissolvable microneedles have been widely investigated as an alternative of hypodermic injection or other drug delivery methods. Various polymers have been used to fabricate microneedles. Type of polymers affects mechanical properties and dissolution rate of microneedles. In this study, five formulations of hyaluronic acid (HA)/ polyvinylpyrrolidone (PVP) composite microneedle patches (HA/PVP at 100/0, 75/25, 50/50, 25/50, 0/100) were fabricated. The crosslinked HA microneedles were also fabricated. Mechanical properties of the obtained microneedles were determined by universal testing machine and durometer. The skin-penetration ability and dissolution rate of HA/PVP microneedles were also investigated using porcine skin. The results show that microneedle …


Speciation Of Arsenic Using Sulfur Containing Ligand And Cotton Wool By Icp-Oes, Kavee Triteeyaprasert Jan 2018

Speciation Of Arsenic Using Sulfur Containing Ligand And Cotton Wool By Icp-Oes, Kavee Triteeyaprasert

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aimed to develop a method for speciation of arsenic species including As(III) and As(V) in environmental samples. Cotton wool and sulfur containing ligands including ammonium pyrrolidinedithiocarbarmate (APDC), L–cysteine and diethyldithiocarbamic acid were used in a solid phase extraction and determination of arsenic by using inductively coupled plasma optical emission spectrometry. The separation parameters were studied including pH, ligand concentration, cotton amount, type of eluents and flow rate. It was found that at pH 2, 0.1% APDC concentration and 0.5 g of cotton, As(III) could form complex with APDC (As(III) – APDC) and was separated from As(V) by using …


Green Synthesis Of Gold Nanoparticles Using Wax Leaved Climber Cryptolepis Buchanani Latex And Biological Activities, Kittiphong Tongsuk Jan 2018

Green Synthesis Of Gold Nanoparticles Using Wax Leaved Climber Cryptolepis Buchanani Latex And Biological Activities, Kittiphong Tongsuk

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Gold nanoparticles (AuNPs) is the one of nanodrug carriers that have been popular in the current trend. To prepare AuNPs for biomedical applications, many techniques have been developed. However, both physical and chemical methods may cause energy consuming and toxic residues so green synthesis would be the most appropriate method for the preparation of AuNPs. The green synthesis of AuNPs could be provided by utilizing of fungi, bacteria and plant. In this work, we focused to use plant latex as reducing and stabilizing agents for the synthesis of AuNPs. The latex was collected from Cryptolepis buchanani, a folk medicinal plant …


Synthesis Of Halogenated Flavonoids As Anti-Dengue Agents, Thao Huynh Nguyen Thanh Jan 2018

Synthesis Of Halogenated Flavonoids As Anti-Dengue Agents, Thao Huynh Nguyen Thanh

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Flavonoids have been recognized as promising compounds with various bioactivities. Certain flavonoid derivatives exhibited more potent activities than their parent compounds. Recently, halogenated flavonoids have been addressed for their anti-dengue activity. In this research, a series of twenty-two brominated and iodinated flavonoid derivatives were synthesized and explored for dengue infection inhibition. Seventeen derivatives have been investigated for the first time. 8-Bromobaicalein, 6,8-dibromopinocembrin, 6,8-dibromopinostrobin, 6,8-diiodopinostrobin were disclosed as effective and non-toxic anti-dengue agents. These compounds displayed remarkably low EC50 as well as high CC50, which could be considered as potent therapeutic agents. Moreover, the preliminary screening on brominated O7-ether chrysins discovered …


Diesel Removal Efficiency In Soil Washing Process By Mixed Solution Of Nonionic Surfactant And Biosurfactant, Pajaree Boonyathai Jan 2018

Diesel Removal Efficiency In Soil Washing Process By Mixed Solution Of Nonionic Surfactant And Biosurfactant, Pajaree Boonyathai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this study, Tween 80 and three biosurfactant (Rhamnolipid, Saponin and Lipopeptide) were mixed to formulate the appropriate surfactant solution for diesel removal from contaminated soil by washing process. The mixed surfactant system was fixed at 5% w/v of active surfactants concentration in total with different mass ratio of Tween 80 to biosurfactant at 9:1, 8:2 and 7:3 of total concentration. The critical micelle concentration (CMC) of various ratio surfactant mixtures and their interfacial tension (IFT) with diesel were determined and compared with their individual surfactant. The results illustrate that mixed Tween and Lipopeptide at 9:1 mass ratio had the …


ไพโรไลซิสของน้ำมันปาล์มจากทะลายปาล์มเปล่าโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาเถ้าลอยถ่านหิน, กัณทิมา นิยะกิจ Jan 2018

ไพโรไลซิสของน้ำมันปาล์มจากทะลายปาล์มเปล่าโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาเถ้าลอยถ่านหิน, กัณทิมา นิยะกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาไพโรไลซิสของน้ำมันปาล์มจากทะลายปาล์มเปล่าโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาเถ้าถ่านหิน (CFA) โดยปฏิกิริยาจะถูกดำเนินการในเครื่องปฏิกรณ์แบบแบตช์ขนาด 70 มิลลิลิตร และเถ้าลอยถ่านหินถูกแคลไซน์ที่อุณหภูมิ 600 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 5 ชั่วโมง การออกแบบการทดลองเชิงแฟคทอเรียลสองระดับประกอบด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ อุณหภูมิในการทำปฏิกิริยา 420-450 องศาเซลเซียส เวลาในการทำปฏิกิริยา 30-60 นาที ปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยาร้อยละ 1-5 (โดยน้ำหนักของน้ำมัน) และความดันไฮโดรเจน 1-5 บาร์ ถูกนำมาใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ค่าการตอบสนองที่ทำการวิเคราะห์คือร้อยละผลได้ของผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงเหลวและร้อยละผลได้ของดีเซลในผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงเหลว มีการวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อค่าการตอบสนองและเพื่อหาภาวะที่เหมาะสม องค์ประกอบของผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงเหลวที่ได้วิเคราะห์โดยใช้เครื่องแก๊สโครมาโทกราฟีจำลองการกลั่นและเครื่องแก๊สโครมาโทกราฟีแมสสเปกโตรมิเตอร์ตามลำดับ ภาวะที่เหมาะสมที่ได้จากโปรแกรม Design-Expert คืออุณหภูมิในการทำปฏิกิริยา 420 องศาเซลเซียส เวลาในการทำปฏิกิริยา 30 นาที ปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยาร้อยละ 1 โดยน้ำหนัก และความดันไฮโดรเจน 1 บาร์ ซึ่งได้ผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงเหลวสูงสุดร้อยละ 87.98 โดยน้ำหนัก และสัดส่วนดีเซลในผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงเหลวสูงสุดร้อยละ 42.19 โดยน้ำหนัก จากการวิเคราะห์ทางเคมีฟิสิกส์ผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงเหลวที่ได้มีค่าความร้อน 40.18 เมกะจูลต่อกิโลกรัม ใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซล และค่าความเป็นกรด 0.20 มิลลิกรัมโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ต่อกรัม ซึ่งมีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของน้ำมันดีเซล เมื่อนำไปผ่านกระบวนการกลั่นแยกและทำให้บริสุทธิ์จะสามารถนำไปใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลได้


Application Of Adversarial Networks In Search For Four Top Quark Production In Cms, Vichayanun Wachirapusitanand Jan 2018

Application Of Adversarial Networks In Search For Four Top Quark Production In Cms, Vichayanun Wachirapusitanand

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

One burden of high energy physics data analysis is uncertainty within the measurement, both systematically and statistically. Even with sophisticated neural network techniques that are used to assist in high energy physics measurements, the resulting measurement may suffer from both types of uncertainties. Fortunately, most types of systematic uncertainties are based on knowledge from information such as theoretical assumptions, for which the range and behaviour are known. It has been proposed to mitigate such systematic uncertainties by using a new type of neural network called adversarial neural network (ANN) that would make the discriminator less sensitive to these uncertainties, but …


ไฮโดรจิเนชันของคาร์บอนไดออกไซด์เป็นโอเลฟินส์เบาบนตัวเร่งปฏิกิริยาเส้นใย Co-Fe/Cnt-Sio2, กนกกร พงษ์ภมร Jan 2018

ไฮโดรจิเนชันของคาร์บอนไดออกไซด์เป็นโอเลฟินส์เบาบนตัวเร่งปฏิกิริยาเส้นใย Co-Fe/Cnt-Sio2, กนกกร พงษ์ภมร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงทำให้เกิดการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซึ่งแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์นั้นเป็นสาเหตุหลักของการเกิดปรากฎการณ์เรือนกระจก (Greenhouse effect) และส่งผลกระทบมากมายต่อโลกงานวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์ในการศึกษาการเปลี่ยนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดโอเลฟินส์บนตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะคู่โคบอลต์และเหล็ก (Bimetallic Co-Fe) โดยใช้คาร์บอนนาโนทิวบ์ซิลิกาไฟเบอร์ (CNT-SiO2 fiber) เป็นตัวรองรับในการทำปฏิกิริยาการเติมไฮโดรเจน (H2) ของคาร์บอนไดออกไซด์แทนการใช้คาร์บอนมอนอกไซด์ (10CoFe/CNT-SiO2 fiber) โดยการเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยาบนตัวรองรับคาร์บอนนาโนทิวบ์ซิลิกาไฟเบอร์ที่มีการปรับปรุงพื้นผิวของตัวรองรับจะให้ประสิทธิภาพที่ดีในการทำปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชันของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะคู่ที่มีการเติมตัวสนับสนุนโพแทสเซียม (10CoFe-K/CNT-SiO2 fiber) จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตโอเลฟินส์และสารประกอบไฮโดรคาร์บอนสายโซ่ยาวซึ่งคือการสร้างพันธะของคาร์บอนนั่นเอง และจากการศึกษาภาวะที่เหมาะสมในการทำปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชันของคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตโอเลฟินส์คือ ที่อุณหภูมิ 350 องศาเซลเซียส ความดัน 25 บาร์ และค่าอัตราส่วนของน้ำหนักตัวเร่งปฏิกิริยาต่ออัตราเร็วของสารป้อน (W/F) เท่ากับ 10 กรัม(ตัวเร่งปฏิกิริยา)•ชั่วโมง/โมล โดยการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา 10CoFe-10K/CNT-SiO2 fiber สามารถให้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นโอเลฟินส์ได้สูงสุดและยังช่วยยับยั้งในการเกิดมีเทน ซึ่งจะให้ค่าร้อยละการเปลี่ยนแปลงของคาร์บอนไดออกไซด์เท่ากับ 40.90 ค่าร้อยละการเลือกเกิดของผลิตภัณฑ์ที่เป็นโอเลฟินส์เท่ากับ 8.79 และค่าร้อยละการเลือกเกิดของผลิตภัณฑ์ที่เป็นมีเทนเท่ากับ 58.96 และทำการศึกษาคุณลักษณะของตัวเร่งปฏิกิริยาต่างๆ


การผลิตเชื้อเพลิงเหลวจากไพโรไลซิสของ Ceratophyllum Demersum L. โดยใช้โดโลไมต์ในเครื่องปฏิกรณ์แบบต่อเนื่อง, ฐานันดร ประกอบ Jan 2018

การผลิตเชื้อเพลิงเหลวจากไพโรไลซิสของ Ceratophyllum Demersum L. โดยใช้โดโลไมต์ในเครื่องปฏิกรณ์แบบต่อเนื่อง, ฐานันดร ประกอบ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษากระบวนการไพโรไลซิสของมหสาหร่ายพุงชะโด (Ceratophyllum demersum L.) โดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาโดโลไมต์บนเครื่องปฏิกรณ์แบบต่อเนื่องเพื่อศึกษาภาวะดำเนินการที่เหมาะสมที่ให้ร้อยละผลได้ของน้ำมันชีวภาพที่สูงสุดและมีสมบัติความเป็นเชื้อเพลิงที่สามารถนำมาใช้เป็นพลังงานได้ โดยปัจจัยที่สนใจในการศึกษานี้ประกอบด้วย อุณหภูมิ ขนาดอนุภาคเฉลี่ย อัตราการป้อนของสารชีวมวล อัตราการไหลของแก๊สไนโตรเจนตัวพา ซึ่งผลการวิจัยพบว่าภาวะดำเนินการที่ให้ร้อยละผลได้ของน้ำมันชีวภาพสูงสุด 41.87% ได้แก่ อุณหภูมิ 550 องศาเซลเซียส ขนาดอนุภาคมหสาหร่าย 250-500 ไมครอน อัตราการป้อนสารตั้งต้น 1.13 กิโลกรัมต่อชั่วโมง และอัตราการไหลแก๊สไนโตรเจน 160 มิลลิลิตรต่อนาที เมื่อศึกษาอิทธิพลของการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาโดโลไมต์ร่วมในปฏิกิริยาไพโรไลซิสในปริมาณร้อยละ 5 10 และ 20 โดยน้ำหนัก พบว่าการใช้โดโลไมต์ร่วมในปฏิกิริยาทำให้มีแก๊สที่ไม่ควบแน่นเกิดมากขึ้น ในขณะที่ร้อยละผลได้ของผลิตภัณฑ์น้ำมันชีวภาพมีปริมาณลดลง เมื่อวิเคราะห์น้ำมันชีวภาพด้วยเทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟีร่วมกับแมสสเปกโทรเมตรี พบว่าน้ำมันชีวภาพมีองค์ประกอบเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนจำพวก อะโรมาติกและสารประกอบออกซิเจเนต โดยมีค่าความร้อนสูง 19.26 เมกะจูลต่อกิโลกรัม


การเปรียบเทียบความแม่นยําของการประเมินค่าความพยายามในการ พัฒนาซอฟต์แวร์ระหว่างวิธีการตัดสินใจของผู้เชี่ยวชาญ (Expert Judgment) และ วิธีตัวแบบขั้นตอนวิธี (Algorithmic Model) ภายใต้สภาวะแวดล้อมในประเทศไทย, ชานน จรัสสุทธิกุล Jan 2018

การเปรียบเทียบความแม่นยําของการประเมินค่าความพยายามในการ พัฒนาซอฟต์แวร์ระหว่างวิธีการตัดสินใจของผู้เชี่ยวชาญ (Expert Judgment) และ วิธีตัวแบบขั้นตอนวิธี (Algorithmic Model) ภายใต้สภาวะแวดล้อมในประเทศไทย, ชานน จรัสสุทธิกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การประเมินค่าความพยายามในการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีความคลาดเคลื่อนสูง อาจส่งผลให้ต้นทุนการจัดการโครงการ และเวลาที่ใช้ในการทำโครงการซอฟต์แวร์เพิ่มขึ้น ผู้วิจัยจึงได้ทำการทดลองเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความแม่นยำการประเมินค่าความพยายามในการพัฒนาซอฟต์แวร์ระหว่างวิธีประเมินที่ได้รับความนิยม 2 วิธี คือ วิธีตัวแบบขั้นตอนวิธี และวิธีการตัดสินของผู้เชี่ยวชาญ สำหรับวิธีตัวแบบขั้นตอนวิธี ในปัจจุบันมีตัวแบบให้เลือกใช้อยู่เป็นจำนวนมาก ผู้วิจัยได้เลือกใช้เฉพาะตัวแบบโคโคโม่ ฟังก์ชันพอยต์ และยูสเคสพอยต์ เนื่องจากเป็นตัวแบบที่ได้รับความนิยมสูงในการใช้งาน และสำหรับวิธีการตัดสินของผู้เชี่ยวชาญ ผู้วิจัยได้เชิญผู้ประเมินที่เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาโครงการซอฟต์แวร์ไม่น้อยกว่า 10 ปี จำนวน 5 คน มาเป็นผู้ประเมิน โดยการทดลองในงานวิจัยนี้จะใช้โครงการซอฟต์แวร์จำนวน 10 โครงการ ซึ่งเป็นโครงการซอฟต์แวร์ที่ได้รับการพัฒนาเสร็จแล้ว แม้ผลการทดลองจะแสดงให้เห็นว่าการประเมินด้วยตัวแบบยูสเคสพอยต์มีความแม่นยำมากกว่าวิธีการตัดสินของผู้เชี่ยวชาญ แต่วิธีการตัดสินของผู้เชี่ยวชาญก็แม่นยำมากกว่าตัวแบบฟังก์ชันพอยต์ และ โคโคโม่ ดังนั้นจึงไม่สามารถสรุปได้ว่าวิธีใดมีความแม่นยำมากกว่ากัน ระหว่างวิธีตัวแบบขั้นตอนวิธี และวิธีการตัดสินของผู้เชี่ยวชาญ นอกจากนี้ผู้วิจัยได้ทำการทดลองเพื่อทดสอบว่าหากผู้เชี่ยวชาญได้เห็นผลลัพธ์จากตัวแบบขั้นตอนวิธี และนำค่าดังกล่าวมาประกอบการประเมินค่าความพยายามในการพัฒนาซอฟต์แวร์ ผู้เชี่ยวชาญจะเปลี่ยนแปลงค่าประเมินหรือไม่และค่าประเมินที่เปลี่ยนแปลงนั้นจะช่วยให้การประเมินแม่นยำขึ้นหรือไม่ ผลการทดลองสรุปได้ว่าผู้เชี่ยวชาญมีการเปลี่ยนแปลงค่าประเมินประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนการทดลองทั้งหมดและการเห็นผลลัพธ์จากการประเมินด้วยวิธีตัวแบบขั้นตอนวิธีไม่ได้ช่วยให้การประเมินด้วยวิธีการตัดสินของผู้เชี่ยวชาญแม่นยำขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ


การผลิตไบโอดีเซลแบบต่อเนื่องจากน้ำมันปาล์มโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาโดโลไมต์ในเครื่องปฏิกรณ์แบบเบดนิ่งต่ออนุกรม, ธนกฤต แจ่มจำรัส Jan 2018

การผลิตไบโอดีเซลแบบต่อเนื่องจากน้ำมันปาล์มโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาโดโลไมต์ในเครื่องปฏิกรณ์แบบเบดนิ่งต่ออนุกรม, ธนกฤต แจ่มจำรัส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตไบโอดีเซลอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้ไบโอดีเซลความบริสุทธิ์สูง ผ่านปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชันของน้ำมันปาล์ม และเมทานอลโดยใช้การเร่งปฏิกิริยาแบบวิวิธพันธุ์ในเครื่องปฏิกรณ์แบบเบดนิ่งระดับต้นแบบ การเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธุ์จากโดโลไมต์ ใช้เทคนิคการผสมเชิงกายภาพระหว่างโดโลไมต์ที่ผ่านการเผากับตัวประสาน จากนั้นขึ้นรูปด้วยเครื่องอัดรีดแบบสกรูเดี่ยว แล้วทำการเผาที่อุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 4 ชั่วโมง วิเคราะห์สมบัติของตัวเร่งปฏิกิริยาด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ (X-ray diffraction) กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (scanning electron microscopy) และเทคนิคการดูดซับทางกายภาพของแก๊สไนโตรเจน จากผลการวิเคราะห์พบว่าแคลเซียมออกไซด์เป็นวัฏภาคที่ว่องไวในการทำปฏิกิริยา ปัจจัยที่ศึกษาในงานวิจัยนี้ ได้แก่ ผลของการเติมเมทิลเอสเทอร์ของกรดไขมัน C₁₀ (Fatty acid methyl ester, C₁₀ FAME) ระยะเวลาดำเนินการในช่วง start-up ของระบบ และอุณหภูมิ การใช้น้ำมัน B100 เป็นสารอิมัลซิไฟเออร์จะให้ร้อยละเมทิลเอสเทอร์สูงกว่าการใช้ C₁₀ FAME จากการทดลองพบว่าภาวะที่เหมาะสมที่ใช้ในการผลิตอย่างต่อเนื่องของไบโอดีเซลในเครื่องปฏิกรณ์แบบเบดนิ่งระดับต้นแบบ คือ ระยะเวลาในการ start-up 3 ชั่วโมง อัตราการไหลของเมทานอล 22 มิลลิลิตรต่อนาที อัตราการไหลของน้ำมันปาล์ม 9 มิลลิลิตรต่อนาที อุณหภูมิทำปฏิกิริยา 100 องศาเซลเซียส ใช้สารป้อนเข้าสู่ระบบเป็นน้ำมันปาล์มที่ไม่ผสม C₁₀ FAME และใช้สารอิมัลซิไฟเออร์เป็นน้ำมัน B100 ในช่วง start-up โดยให้ผลได้เมทิลเอสเทอร์สูงถึงร้อยละ 98.4 โดยน้ำหนัก


การลดสัญญาณรบกวนภาพชนิดเกาส์เซียนด้วยวิธีการเรียนรู้เชิงลึกและเส้นแบ่งระหว่างวัตถุกับพื้นหลัง, ศุภกร ชูประภาวรรณ Jan 2018

การลดสัญญาณรบกวนภาพชนิดเกาส์เซียนด้วยวิธีการเรียนรู้เชิงลึกและเส้นแบ่งระหว่างวัตถุกับพื้นหลัง, ศุภกร ชูประภาวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การลดสัญญาณรบกวนภาพเป็นปัญหาพื้นฐานในงานด้านคอมพิวเตอร์วิชันและได้รับความสนใจในด้านงานวิจัยเป็นอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเพื่อที่จะหาวิธีในการลดสัญญาณรบกวนภาพแบบต่าง ๆ โดยในงานวิทยานิพนธ์นี้มุ่งเน้นไปที่งานด้านการลดสัญญาณรบกวนภาพสำหรับสัญญาณรบกวนแบบเกาส์เซียน โดยในปัจจุบันการเรียนรู้เชิงลึกได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับงานด้านการลดสัญญาณรบกวนภาพแต่ทว่ายังมีข้อจำกัดอยู่คือการเรียนรู้เชิงลึกจะสร้างสิ่งแปลกปลอมขึ้นมาบนภาพ วิทยานิพนธ์นี้เสนอวิธีการใช้การเรียนรู้เชิงลึกร่วมกับเส้นแบ่งระหว่างวัตถุกับพื้นหลัง โดยเส้นแบ่งระหว่างวัตถุกับพื้นหลังนั้นจะได้รับจากอัลกอริทึมแคนนี เอ็จ ดีเท็กชัน (Canny edge detection) เพื่อทำให้โมเดลสามารถกำจัดสิ่งแปลกปลอมได้ สำหรับชุดข้อมูลที่ใช้งานวิจัยคือชุดข้อมูลภาพเบิร์กลีย์ 400 ภาพ (BSD400) สำหรับฝึกสอนโมเดลของผู้วิจัย และชุดข้อมูลทดสอบสำหรับทดสอบคือชุดข้อมูลภาพเบิร์กลีย์ 68 ภาพ (BSD68) และชุดข้อมูลภาพ 12 ภาพ (Set12) โดยจากการทดลองของผู้วิจัยบนชุดข้อมูลทดสอบที่มีระดับความเข้มข้นของสัญญาณรบกวนเกาส์เซียนที่ระดับ 15 25 และ 50 พบว่าโมเดลของผู้วิจัยสามารถทำประสิทธิผลได้ดีบนระดับความเข้มข้นที่ 15 และระดับความเข้มข้นที่ 25 แต่ทว่าบนระดับความเข้มข้นที่ 50 นั้นโมเดลของผู้วิจัยทำประสิทธิผลได้เทียบเท่ากับอัลกอริทึมอื่น และการลดสัญญาณรบกวนภาพจริงนั้นโมเดลของผู้วิจัยสามารถลดสัญญาณรบกวนภาพจริงได้ดีกว่าอัลกอริทึมอื่น