Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Physical Sciences and Mathematics Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 1141 - 1170 of 2268

Full-Text Articles in Physical Sciences and Mathematics

Improved Barrier Properties Of Pp/Ldpe Composite Film: Effect Of Montmorillonite And Poly (Lactic Acid), Supornpat Mooninta Jan 2018

Improved Barrier Properties Of Pp/Ldpe Composite Film: Effect Of Montmorillonite And Poly (Lactic Acid), Supornpat Mooninta

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this research, the properties of polypropylene (PP) were improved for single layer film application by incorporating low density polyethylene (LDPE), poly(lactic acid) (PLA) and montmorillonite (MMT). The polymer composites was prepared by melt blending using a twin screw extruder and the film was produced by cast film extruder. The addition of LDPE in PP improved the elongation at break and tear strength. The PP/LDPE blend at the ratio of 80:20 (w/w) was selected for blending with PLA and MMT and the PP/LDPE/PLA/MMT composite showed the increased tensile modulus while the elongation at break decreased with increasing PLA and MMT …


Polyisocyanurate Foams Preparation Catalyzed By Mixtures Of Copper-Amine Complexes/Potassium 2-Ethylhexanoate, Teeraporn Suwannawet Jan 2018

Polyisocyanurate Foams Preparation Catalyzed By Mixtures Of Copper-Amine Complexes/Potassium 2-Ethylhexanoate, Teeraporn Suwannawet

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this research, a new catalyst system for the preparation of polyisocyanurate (PIR) foam was developed. The mixture of copper-amine complex:potassium 2-ethylhexanoate (K-15) and metal-ethanolamine complex:K-15 were used as catalysts. Two copper-amine complexes and two metal-ethanolamine complexes, namely Cu(OAc)2(en)2, Cu(OAc)2(trien), Cu(OAc)2(EA)2 and Zn(OAc)2(EA)2, respectively; where en = ethylene diamine, trien = triethylenetetramine and EA = ethanolamine, were used as catalyst for blowing and gelling reactions. K-15 was used as a catalyst for trimerization reaction. These catalysts could be further used in the preparation of PIR forms without purification. Characterization of catalysts were done by using UV-visible spectroscopy. The factors investigated …


Effect Of Cu(In,Ga)₃Se₅ Ultra-Thin Layer On Optical Properties And Photovoltaic Efficiency Of Cu(In,Ga)Se₂ Thin Film Solar Cells, Boonyaluk Namnuan Jan 2018

Effect Of Cu(In,Ga)₃Se₅ Ultra-Thin Layer On Optical Properties And Photovoltaic Efficiency Of Cu(In,Ga)Se₂ Thin Film Solar Cells, Boonyaluk Namnuan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Cu(In,Ga)3Se5 (135-CIGS) layers with various thicknesses were deposited on the surface of ~1.8 micron thick Cu(In,Ga)Se2 (112-CIGS) photon absorber in the fabrication of CIGS thin film solar cells. This significantly affects the shift of the optical band gap energy from 1.15 eV (112-CIGS) to 1.19 eV, with only 10 nm thick of 135-CIGS capping layer, leading to the increase in the open-circuit voltage (Voc) of the solar cells. The optical transmission spectra show no sign of separated 135-CIGS layer. The maximum Voc of 670 mV is obtained from 5-10 nm thick 135-CIGS capping layer on 112-CIGS compared to 646 mV …


Effects Of Organic Molecule Orientations On Perovskite Structure Of Formamidinium Lead Iodide, Wiwittawin Sukmas Jan 2018

Effects Of Organic Molecule Orientations On Perovskite Structure Of Formamidinium Lead Iodide, Wiwittawin Sukmas

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Latterly, an emergence of the hybrid organic-inorganic perovskites has captivated an increasing rate of world-wide attention due to their approving physical properties. Formamidinium lead iodide (FAPI), a promising compound owing to its high photovoltaic performance, consists of an organic molecule, i.e. the formamidinium (FA) cation, dwelling in the centre of the cubic unit cell, caged by the inorganic framework, PbI6. By adopting the ab initio method based on the density functional theory including the spin-orbit coupling (SOC) effects, the effects of the FA cation on the cubic FAPI were thoroughly and systematically investigated. Solidly armed with Euler's rotations, energy landscapes …


Effect Of Local Rewiring In Adaptive Epidemic Erdos-Renyi Random Networks, Suwakan Piankoranee Jan 2018

Effect Of Local Rewiring In Adaptive Epidemic Erdos-Renyi Random Networks, Suwakan Piankoranee

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Adaptive epidemic network is driven by two main processes, (1) infectionrecovery process that changes the states of the nodes, and (2) rewiring process that modifies the topology of the network. In the past two decades, epidemic models on adaptive networks have gained interests because understanding the dynamics between these two processes can be key to improving control of diseases. However, in most of these models, the rewiring mechanism is based on information known globally, i.e., everyone knows the health status of all others in the network. This concept is not practical in real life for large network. This dissertation aims …


การดักจับคาร์บอนไดออกไซด์บนตัวดูดซับ K2co3 /Al2o3 เตรียมในภาวะเบส, จารุวรรณ เจริญชัยเพชร Jan 2018

การดักจับคาร์บอนไดออกไซด์บนตัวดูดซับ K2co3 /Al2o3 เตรียมในภาวะเบส, จารุวรรณ เจริญชัยเพชร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน ในปัจจุบันกระบวนการดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยตัวดูดซับของแข็งได้รับความสนใจจากนักวิจัย หนึ่งในวิธีการพัฒนากระบวนการดังกล่าว คือ การปรับปรุงตัวดูดซับของแข็งให้มีความสามารถในการดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่สูง งานวิจัยนี้ ได้ทำการปรับปรุงความสามารถในการดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากแก๊สเสียด้วยตัวดูดซับโพแทสเซียมคาร์บอเนตบนแกมม่า-อลูมินา มีตัวแปรในการปรับปรุงการเตรียมตัวดูดซับด้วยวิธีอิมเพรกเนชัน ได้แก่ ชนิดเบสที่แตกต่างกัน 4 ชนิด ค่าความเป็นเบสของสารละลายที่ใช้ในการเตรียมตัวดูดซับในช่วง 8 ถึง 12 และ ระยะเวลาที่ใช้ในการเตรียมตัวดูดซับในช่วง 12 ถึง 24 ชั่วโมง ผลที่ได้ พบว่า การเตรียมตัวดูดซับในภาวะเบสทำให้พื้นที่ผิว ปริมาณโลหะกัมมันต์ การกระจายตัวของโพแทสเซียมคาร์บอเนต และ ค่าความเป็นเบสบนผิวของตัวดูดซับมีค่าสูงขึ้น ดังนั้น การเตรียมตัวดูดซับด้วยวิธีอิมเพรกเนชันในภาวะเบสจะให้ตัวดูดซับที่มีความสามารถในการดูดซับได้ดีกว่าการเตรียมตัวดูดซับแบบดั้งเดิม นอกจากนี้ งานวิจัยนี้ได้ศึกษาแบบจำลองการดูดซับทั้ง 3 แบบ คือ แบบจำลองปฏิกิริยาอันดับหนึ่งเทียม แบบจำลองปฏิกิริยาอันดับสองเทียม และ แบบจำลองการเสื่อมสภาพ พบว่า แบบจำลองการเสื่อมสภาพเป็นแบบจำลองที่เหมาะสมที่สุดในการอธิบายจลนศาสตร์ของตัวดูดซับ


แบบจำลองพลวัตและระบบการควบคุมการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ในฟลูอิไดซ์เบดโดยใช้พลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ, ชนนิกานต์ ถิระพาณิชยกุล Jan 2018

แบบจำลองพลวัตและระบบการควบคุมการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ในฟลูอิไดซ์เบดโดยใช้พลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ, ชนนิกานต์ ถิระพาณิชยกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เนื่องจากจำนวนประชากรโลกเพิ่มขึ้นและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทำให้มีความต้องการพลังงานมากขึ้น ส่งผลให้ต้องผลิตพลังงานมากขึ้นโดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้า นำมาซึ่งการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณมากสู่บรรยากาศเนื่องจากเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้ายังเป็นเชื้อเพลิงฐานคาร์บอน แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นปัจจัยหลักต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในงานวิจัยนี้ทำการพัฒนาแบบจำลองพลวัตสำหรับกระบวนการดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์หลังกระบวนการเผาไหม้ด้วยตัวดูดซับของแข็งโซเดียมคาร์บอเนต (Na2CO3) ในไรเซอร์ของฟลูอิไดซ์เบดแบบหมุนเวียนโดยใช้โปรแกรมจำลองพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณสำเร็จรูป ANSYS FLUENT จากนั้น ทำการปรับตัวแปรดำเนินการ ได้แก่ ความเร็วของแก๊สเผาไหม้ องค์ประกอบของแก๊สเผาไหม้ที่ป้อนเข้า อุณหภูมิของแก๊สเผาไหม้ที่ป้อนเข้า และอัตราการป้อนตัวดูดซับของแข็ง ประเมินผลกระทบต่อสัดส่วนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่บริเวณทางออก ด้วยเหตุนี้ระบบควบคุมจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการปรับปรุงกระบวนการดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ โดยในงานวิจัยนี้กำหนดให้ตัวแปรควบคุม คือ สัดส่วนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่บริเวณทางออก และตัวแปรปรับค่าได้ คือ อัตราการป้อนตัวดูดซับของแข็ง ในขณะที่ตัวแปรรบกวน คือ ความเร็วของแก๊สเผาไหม้ สัดส่วนของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในแก๊สเผาไหม้ที่ป้อนเข้า สัดส่วนของไอน้ำในแก๊สเผาไหม้ที่ป้อนเข้า และอุณหภูมิของแก๊สเผาไหม้ที่ป้อนเข้า ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรดำเนินการต่างๆ และสัดส่วนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่บริเวณทางออกถูกวิเคราะห์ และสร้างระบบควบคุมด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป MATLAB จากนั้นจึงนำระบบควบคุมพีไอดีมาใช้ในแบบจำลองพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณด้วยการเขียนภาษาคอมพิวเตอร์ในระบบไฟล์ประยุกต์ใช้ระบบไฟล์โลคัล (UDF) และทดสอบสมรรถนะของระบบควบคุมเมื่อตัวแปรรบกวนเปลี่ยนแปลง


การผลิตไฮโดรเจนจากแกซิฟิเคชันของใบอ้อยด้วยไอน้ำที่เพิ่มการดูดซับโดยใช้ Li4sio4/Mgo เเละ Li4sio4/Cao, ต่อพงษ์ ศงสนันทน์ Jan 2018

การผลิตไฮโดรเจนจากแกซิฟิเคชันของใบอ้อยด้วยไอน้ำที่เพิ่มการดูดซับโดยใช้ Li4sio4/Mgo เเละ Li4sio4/Cao, ต่อพงษ์ ศงสนันทน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาผลของอุณหภูมิที่ใช้ในการเตรียมตัวดูดซับลิเทียมออโทซิลิเกต (Li4SiO4) ต่อความสามารถในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในเครื่องปฏิกรณ์แบบเบดนิ่ง และศึกษาผลของอัตราส่วนผสมโดยมวลของ Li4SiO4 ต่อแมกนีเซียมออกไซด์ (MgO) และ Li4SiO4 ต่อแคลเซียมออกไซด์ (CaO) รวมถึงผลของอุณหภูมิแกซิฟิเคชันต่อผลได้ผลิตภัณฑ์แก๊สจากแกซิฟิเคชันด้วยไอน้ำของใบอ้อยในเครื่องปฏิกรณ์แบบเบดนิ่งชนิดสองขั้น จากผลการทดลองจะพบว่า Li4SiO4 ที่สังเคราะห์ด้วยอุณหภูมิ 700 องศาเซลเซียสจะมีความสามารถในการดูดซับ CO2 สูงสุดเท่ากับ 509.45 มิลลิโมลต่อกรัมตัวดูดซับ และจากผลของตัวเร่งปฏิกิริยา Li4SiO4/MgO ต่อแกซิฟิเคชันด้วยไอน้ำของใบอ้อย พบว่าทุกอัตราส่วนผสมแสดงให้เห็นถึงผลเสริมกันในการสังเคราะห์ไฮโดรเจน (H2) อัตราส่วนผสมโดยมวลเท่ากับร้อยละ 50 มีผลได้ของ H2 สูงที่สุดเท่ากับ 12.47 มิลลิโมลต่อกรัมใบอ้อย จากผลของตัวเร่งปฏิกิริยา Li4SiO4/CaO ต่อแกซิฟิเคชันด้วยไอน้ำของใบอ้อย พบว่าทุกอัตราส่วนผสมแสดงให้เห็นถึงผลเสริมกันในการสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์แก๊สและผลได้ H2 พบว่าอัตราส่วนผสมโดยมวลเท่ากับร้อยละ 25 มีผลได้ของ H2 สูงสุดเท่ากับ 12.18 มิลลิโมลต่อกรัมใบอ้อย อุณหภูมิแกซิฟิเคชันมีอิทธิพลอย่างมากต่อผลได้และองค์ประกอบภายในผลิตภัณฑ์แก๊ส อุณหภูมิแกซิฟิเคชันที่เหมาะสมต่อการแกซิฟิเคชันด้วยไอน้ำของใบอ้อยด้วยตัวเร่งปฏิกิริยา Li4SiO4/MgO และ Li4SiO4/CaO คือ 700 องศาเซลเซียส และจากการทดลองประสิทธิภาพการใช้งานซ้ำของตัวเร่งปฏิกิริยา LHCAO25 พบว่าในระหว่างการทดลองการดูดซับและคายซับ CO2 เป็นจำนวน 7 รอบการทดลอง ความสามารถในการดูดซับ CO2 ของ LHCAO25 ลดลงร้อยละ 11.44 โดยมวลต่อรอบการทดลอง


ไฮโดรดีออกซิจิเนชันของน้ำมันปาล์มเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพไฮโดรคาร์บอนบนตัวเร่งปฏิกิริยา Ni-Mo แบบไม่มีตัวรองรับ, ทิฆัมพร บุริมสิทธิกุล Jan 2018

ไฮโดรดีออกซิจิเนชันของน้ำมันปาล์มเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพไฮโดรคาร์บอนบนตัวเร่งปฏิกิริยา Ni-Mo แบบไม่มีตัวรองรับ, ทิฆัมพร บุริมสิทธิกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการผลิตน้ำมันดีเซลชีวภาพสังเคราะห์ (bio-hydrogenated diesel, BHD) ซึ่งเป็นน้ำมันดีเซลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่กำลังได้รับความสนใจเป็นเชื้อเพลิงหมุนเวียนสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล BHD เป็นน้ำมันไบโอดีเซลรุ่นที่ 2 ที่สามารถผลิตจากการนำน้ำมันพืชทำปฏิกิริยาไฮโดรทรีทเมนต์ ในงานวิจัยนี้ศึกษาปฏิกิริยาไฮโดรดีออกซิจิเนชัน (hydrodeoxygenation, HDO) ของน้ำมันปาล์มบนตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิลโมลิบดินัมซัลไฟด์ (NiMoS2) แบบไม่มีตัวรองรับที่มีอัตราส่วนอะตอมของ Ni/(Ni+Mo) ที่ 0.2 ที่เตรียมด้วยวิธีไฮโดรเทอร์มัล ศึกษาผลของตัวแปรดำเนินการ เช่น เวลา อุณหภูมิ และความเข้มข้นของสารตั้งต้นที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของน้ำมันปาล์มและการกระจายผลิตภัณฑ์ พบว่า การเพิ่มเวลาและอุณหภูมิส่งผลให้ปฏิกิริยาดำเนินผ่านเส้นทางดีคาร์บอกซิเลชันและดีคาร์บอนิเลชัน ภายใต้ภาวะที่เหมาะสม (อุณหภูมิ 300 องศาเซลเซียส เวลา 3 ชั่วโมง และความดันไฮโดรเจนเริ่มต้น 30 บาร์) ผลได้ของผลิตภัณฑ์นอร์มัลแอลเคน C15-C18 โดยมีร้อยละผลได้ร้อยละ 81.4 โดยมวล โดยมีร้อยละการเลือกเกิดของ C15-C18 คือ ร้อยละ 23.6, 18.0, 32.0 และ 25.6 โดยมวลตามลำดับ จากการวิเคราะห์ด้วยแก๊สโครมาโทกราฟแมสสเปกโทรสโกปี พบผลิตภัณฑ์ข้างเคียงคือ แอลคีน แอลกอฮอล์ และเอสเทอร์ จากการวิเคราะห์ลักษณะสมบัติของตัวเร่งปฏิกิริยาด้วยเทคนิคต่างๆ พบว่าตัวเร่งปฏิกิริยามีลักษณะเป็นชั้น มีจำนวนขอบและมุมที่มาก และมุมของนิกเกิลที่ยื่นออกมา ส่งผลให้เกิดการเร่งปฏิกิริยาที่ดี นอกจากนั้นตัวเร่งปฏิกิริยาสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำในไฮโดรดีออกซิจิเนชันของน้ำมันปาล์มได้อย่างน้อย 4 รอบ โดยยังมีสมรรถนะที่ดี


แบบจำลองพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณของเครื่องปฏิกรณ์ฟลูอิไดซ์เบดแบบหมุนเวียนสำหรับการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์จากต่างแหล่งกำเนิด, ธนพร เบญจประกายรัตน์ Jan 2018

แบบจำลองพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณของเครื่องปฏิกรณ์ฟลูอิไดซ์เบดแบบหมุนเวียนสำหรับการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์จากต่างแหล่งกำเนิด, ธนพร เบญจประกายรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบัน ภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาที่โลกกำลังเผชิญจากปริมาณแก๊สเรือนกระจกที่สูงขึ้น โดยเฉพาะแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม จึงต้องมีการควบคุมปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ก่อนปล่อยออกสู่บรรยากาศ สำหรับงานวิจัยนี้ เป็นการจำลองกระบวนการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อศึกษาการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์จากแก๊สที่มาจากต่างแหล่งกำเนิด ซึ่งมีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ต่างกัน ได้แก่ แก๊สที่มาจากกระบวนการหลังการเผาไหม้ด้วยถ่านหิน แก๊สที่มาจากกระบวนการหลังการเผาไหม้ด้วยแก๊สธรรมชาติ และแก๊สจากกระบวนการผลิตซีเมนต์ ผลจากการศึกษาพบว่า ขนาดเซลล์การคำนวณที่เหมาะสมสำหรับแบบจำลอง คือ 20,000 เซลล์ และใช้เวลาจำลอง 300 วินาที โดยการคูณสัมประสิทธิ์ที่อัตราการเกิดเท่ากับ 1.4 จะให้ประสิทธิภาพการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ใกล้เคียงกับผลการทดลองจริงมากที่สุด ตัวแปรดำเนินการที่ศึกษาโดยการออกแบบเชิงแฟกทอเรียล 2 ระดับ ได้แก่ สัดส่วนโดยมวลของโพแทสเซียมคาร์บอเนตในตัวดูดซับของแข็ง ความเร็วของแก๊สที่ป้อนเข้า อุณหภูมิของผนังดาวเนอร์ และความดันที่ทางออกของดาวเนอร์ พบว่า สัดส่วนโดยมวลของโพแทสเซียมคาร์บอเนตส่งผลเชิงบวกและความเร็วของแก๊สเสียที่ป้อนเข้าไรเซอร์จะส่งผลเชิงลบต่อประสิทธิภาพการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์สำหรับแก๊สจากทุกแหล่งกำเนิด สัดส่วนโดยมวลของโพแทสเซียมคาร์บอเนตจะส่งผลเชิงบวกต่ออัตราการไหลของคาร์บอนไดออกไซด์ที่ทางออกของดาวเนอร์สำหรับแก๊สทุกแหล่งกำเนิด ในขณะที่ความดันที่ทางออกของดาวเนอร์จะส่งผลเชิงลบสำหรับแก๊สที่มาจากกระบวนการหลังการเผาไหม้ด้วยแก๊สธรรมชาติและถ่านหินเท่านั้น นอกจากนี้ ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในแก๊สที่ป้อนเข้าไรเซอร์สูงขึ้นจะส่งผลโดยตรงกับความสามารถในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ของตัวดูดซับของแข็งโดยทำให้มีค่าสูงขึ้น ประสิทธิภาพการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์จากภาวะดำเนินการที่เหมาะสมสำหรับแก๊สที่มาจากกระบวนการหลังการเผาไหม้ด้วยถ่านหิน แก๊สที่มาจากกระบวนการหลังการเผาไหม้ด้วยแก๊สธรรมชาติ และแก๊สจากกระบวนการผลิตซีเมนต์ เท่ากับร้อยละ 96.79 67.69 และ 42.39 ตามลำดับ


เส้นโค้งสมดุลของการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยโพแทสเซียมคาร์บอเนตในฟลูอิไดซ์เบด, นิธิวดี อินทร์มณี Jan 2018

เส้นโค้งสมดุลของการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยโพแทสเซียมคาร์บอเนตในฟลูอิไดซ์เบด, นิธิวดี อินทร์มณี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันปัญหาภาวะโลกร้อนส่งผลกระทบโดยตรงต่อโลกในหลายๆ ด้าน เช่น อุณหภูมิบรรยากาศที่สูงขึ้น ปัญหาพายุ และปัญหาภัยแล้ง โดยสาเหตุหลักมาจากการปลดปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศในปริมาณมาก ดังนั้น การดักจับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ก่อนปลดปล่อยสู่บรรยากาศจึงมีความสำคัญ สำหรับการออกแบบและการจำลองกระบวนการแยกสาร ข้อมูลสมดุลการดูดซับและจลนศาสตร์การดูดซับถือเป็นข้อมูลพื้นฐานที่มีความสำคัญและจำเป็น ในการพัฒนาและหาแบบจำลองที่บ่งบอกธรรมชาติของการดูดซับนั้นๆ ในงานวิจัยนี้ทำการศึกษาสมดุลการดูดซับและจลนศาสตร์การดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ของตัวดูดซับโพแทสเซียมคาร์บอเนตบนตัวรองรับแกมม่าอลูมินา โดยทำการทดลองที่อุณหภูมิ 45, 60 ,75 และ 90 องศาเซลเซียส ความดันช่วง 0-1 บาร์ ข้อมูลที่ได้จะนำมาสร้างความสัมพันธ์กับแบบจำลอง จากผลการทดลอง พบว่า แบบจำลองของซิปส์เป็นแบบจำลองที่เหมาะสมที่สุดในการอธิบายสมดุลการดูดซับ การดูดซับเกิดขึ้นบนตัวดูดซับที่มีความไม่เป็นเนื้อเดียวกัน เนื่องจากการปรับปรุงตัวดูดซับด้วยการอิมเพรกบนตัวรองรับแกมม่าอลูมินา และแบบจำลองของอาฟรามี เป็นแบบจำลองที่เหมาะสมในการอธิบายจลนศาสตร์การดูดซับที่สุด บ่งบอกว่ากระบวนการดูดซับมีความซับซ้อน กล่าวคือเกิดการดูดซับเชิงกายภาพร่วมกับการดูดซับเชิงเคมี และมีกลไกการเกิดปฏิกิริยามากกว่าหนึ่งกลไก นอกจากนี้ยัง พบว่า ภาวะที่ดีที่สุดในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์คือที่ ความดัน 1 บาร์ อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส


การผลิตน้ำมันเมล็ดมะรุม Moringa Oleifera โดยการสกัดด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ภาวะเหนือวิกฤตร่วมกับการสกัดด้วยแรงกล, พิชญา มั่นคง Jan 2018

การผลิตน้ำมันเมล็ดมะรุม Moringa Oleifera โดยการสกัดด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ภาวะเหนือวิกฤตร่วมกับการสกัดด้วยแรงกล, พิชญา มั่นคง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

น้ำมันเมล็ดมะรุมเป็นแหล่งของกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวที่ดี และมีฤทธิ์ทางชีวภาพสูง งานวิจัยนี้ศึกษาการสกัดน้ำมันจากกากเมล็ดมะรุมหลังการสกัดเชิงกลด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ภาวะเหนือวิกฤต โดยทำการทดลองในช่วง 40-70 องศาเซลเซียส และ 150-300 บาร์ที่อัตราการไหลคงที่ 10 กรัมต่อนาที เป็นเวลา 300 นาที ในเครื่องสกัดขนาด 130 มิลลิลิตร ร้อยละผลได้น้ำมันของเมล็ดมะรุมโดยใช้เครื่องอัดสกรูเดี่ยว คือ ร้อยละ 12.50 กากเมล็ดมะรุมมีน้ำมันเหลือ ร้อยละ 12.31 จากการสกัดด้วยปิโตรเลียมอีเทอร์แบบซอกห์เลต ผลการศึกษาพบว่า องค์ประกอบของกรดไขมันของน้ำมันจากกากเมล็ดมะรุมที่สกัดด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ภาวะต่าง ๆ และการสกัดด้วยตัวทำละลายมีองค์ประกอบที่ใกล้เคียงกัน โดยมีกรดโอเลอิกปริมาณมากกว่าร้อยละ 80 ภาวะที่เหมาะสมสำหรับการสกัดด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ภาวะเหนือวิกฤต คือ ความดัน 300 บาร์ อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส สามารถสกัดน้ำมันได้ร้อยละผลได้สูงสุด คือ ร้อยละ 10.46 ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 84.97 ของปริมาณน้ำมันที่เหลืออยู่ในกากเมล็ดมะรุม และมีความสามารถในการละลาย คือ 9.59 กรัมน้ำมันต่อกิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ต้านการอักเสบสูงสุด คือ ร้อยละ 91.02±0.62 และ 42.87±2.89 ตามลำดับ และมีปริมาณ แอลฟา-โทโคฟีรอลสูงสุด คือ 246.06 มิลลิกรัม/100 กรัมของน้ำมัน


การผลิตไฮโดรเจนและการขจัดสารมลพิษจากน้ำเสียจากกระบวนการผลิตไบโอดีเซลโดยพร้อมกันด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสง Tio2 ที่เจือด้วยโลหะ, พชรสกล ประยูรพันธุ์รัตน์ Jan 2018

การผลิตไฮโดรเจนและการขจัดสารมลพิษจากน้ำเสียจากกระบวนการผลิตไบโอดีเซลโดยพร้อมกันด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสง Tio2 ที่เจือด้วยโลหะ, พชรสกล ประยูรพันธุ์รัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาการผลิตไฮโดรเจนและการบำบัดน้ำเสียจากกระบวนการผลิตไบโอดีเซลโดยพร้อมกันด้วยกระบวนการออกซิเดชันด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงไทเทเนียมไดออกไซด์ที่เจือโลหะ โดยใช้น้ำเสียที่เจือจาง 3.3 เท่า ความเป็นกรด-เบสเริ่มต้นเท่ากับ 3.10 ปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยา 4 กรัมต่อลิตร ความเข้มแสง 5.93 มิลลิวัตต์ต่อตารางเซนติเมตร เป็นเวลา 4 ชั่วโมงที่อุณหภูมิห้อง (ประมาณ 30 องศาเซลเซียส) ส่วนแรกเป็นการศึกษาชนิดของโลหะ (Au Pt Pd และ Ni) ที่เจือลงบนไทเทเนียมไดออกไซด์ในปริมาณร้อยละ 1 โดยน้ำหนัก (M1/T400) พบว่าชนิดของโลหะไม่ส่งผลต่อการลดค่าซีโอดี บีโอดี น้ำมันและไขมันอย่างมีนัยสำคัญ แต่ส่งผลต่อการผลิตไฮโดรเจน โดยกัมมันตภาพในการผลิตไฮโดรเจนของตัวเร่งปฏิกิริยาสามารถเรียงได้ดังนี้ Pt1/T400 > Pd1/T400 > Au1/T400 > Ni1/T400 เนื่องจากผลของความต่างของ Work function ระหว่างโลหะเจือและตัวเร่งปฏิกิริยา T400 ในส่วนที่สองเป็นการศึกษาปริมาณโลหะเจือแพลเลเดียม (ร้อยละ 1 – 4 โดยน้ำหนัก) บนไทเทเนียมไดออกไซด์ (Pdx/T400) พบว่าตัวเร่งปฏิกิริยา Pd3/T400 มีกัมมันตภาพในการผลิตไฮโดรเจนสูงที่สุด โดยสามารถผลิตไฮโดรเจนได้สูงถึง 135 มิลลิโมลต่อชั่วโมง และลดค่าซีโอดี บีโอดี น้ำมันและไขมันเท่ากับร้อยละ 31.9 81.5 และ 58.2 ตามลำดับ


ผลของเซลลูโลสและลิกนินต่อการผลิตน้ำมันดิบชีวภาพโดยไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชันของชีวมวล, อุษณิษา จันทรวงศ์ไพศาล Jan 2018

ผลของเซลลูโลสและลิกนินต่อการผลิตน้ำมันดิบชีวภาพโดยไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชันของชีวมวล, อุษณิษา จันทรวงศ์ไพศาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พลังงานจากชีวมวลเป็นพลังงานทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความสนใจเพื่อแก้ปัญหาและข้อจำกัดจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชันเป็นกระบวนการแปรรูปชีวมวลเป็นเชื้อเพลิงเหลว วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ การศึกษาผลของเซลลูโลส และลิกนินต่อร้อยละผลได้ และคุณภาพของน้ำมันดิบชีวภาพจากไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชันของชีวมวล สารตั้งต้นที่ใช้ในการทดลองมีทั้งหมด 4 ชนิด ได้แก่ ชานอ้อย เหง้ามันสำปะหลัง เซลลูโลส และลิกนิน ทำการทดลองในเครื่องปฏิกรณ์แบบแบตช์และเครื่องปฏิกรณ์แบบกึ่งต่อเนื่อง ที่อุณหภูมิ 300 และ 350 องศาเซลเซียส เวลาที่ใช้ในการดำเนินปฏิกิริยา 60 นาที ผลิตภัณฑ์ของเหลวที่ได้นำไปวิเคราะห์แบบแยกธาตุ และวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีด้วยเครื่องแก๊สโครมาโทกราฟ-แมสสเปกโตรมิเตอร์ จากผลการทดลอง พบว่าเหง้ามันสำปะหลังที่มีองค์ประกอบของลิกนินมากกว่าให้ร้อยละผลได้ของน้ำมันดิบชีวภาพสูงกว่าชานอ้อย การเพิ่มปริมาณลิกนินลงในชีวมวลทั้ง 2 ชนิดด้วยวิธีการผสมแบบกายภาพ จะให้ค่าร้อยละผลได้ของน้ำมันดิบชีวภาพที่ได้จากการทดลองน้อยกว่าค่าที่ได้จากการทำนาย แต่อย่างไรก็ตาม การเพิ่มปริมาณลิกนินจากร้อยละ 10 เป็น 20 โดยน้ำหนัก จะให้ร้อยละผลได้ของน้ำมันดิบชีวภาพเพิ่มขึ้น การเพิ่มปริมาณลิกนินลงในเหง้ามันสำปะหลัง ร้อยละ 20 โดยน้ำหนัก ทำการทดลองที่อุณหภูมิ 300 องศาเซลเซียส จะให้ร้อยละผลได้ของน้ำมันดิบชีวภาพ คือ ร้อยละ 60.26 โดยน้ำหนัก และให้ค่าความร้อนมากที่สุด คือ 24.39 เมกะจูลต่อกิโลกรัม ซึ่งค่าความร้อนของน้ำมันดิบชีวภาพที่ได้อยู่ในช่วง 10.42-24.39 เมกะจูลต่อกิโลกรัม ส่วนการทดลองในเครื่องปฏิกรณ์แบบกึ่งต่อเนื่อง ที่อุณหภูมิ 300 องศาเซลเซียส อัตราการไหลของตัวทำละลาย 1 มิลลิลิตรต่อนาที ทำการทดลองเป็นเวลา 60 นาที พบว่าการเพิ่มปริมาณเซลลูโลส และลิกนินลงในชานอ้อยและเหง้ามันสำปะหลัง จะได้ค่าร้อยละผลได้ของน้ำมันดิบชีวภาพที่ได้จากการทดลองสูงกว่าค่าที่ได้จากการทำนาย แสดงถึงการเกิดผลเสริมกันระหว่างชีวมวลและองค์ประกอบทางเคมีในกระบวนการแบบกึ่งต่อเนื่อง จากผลของ GC-MS พบว่าองค์ประกอบของน้ำมันดิบชีวภาพมีสารประกอบประเภทไฮโดรคาร์บอน และสารที่มีออกซิเจนเป็นองค์ประกอบหลัก


ผลของเลเซอร์พัลส์สั้นพิเศษที่มีต่อความกว้างสเปกตรัมในเส้นใยนำแสงโฟโตนิกคริสตัลชนิดความยาวคลื่นการกระจายแสงศูนย์สองค่า, พรรษกร หลุยเจริญ Jan 2018

ผลของเลเซอร์พัลส์สั้นพิเศษที่มีต่อความกว้างสเปกตรัมในเส้นใยนำแสงโฟโตนิกคริสตัลชนิดความยาวคลื่นการกระจายแสงศูนย์สองค่า, พรรษกร หลุยเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การขยายความกว้างสเปกตรัมทำโดยการให้พัลส์แสงที่มีความกว้างพัลส์สั้นพิเศษเคลื่อนผ่าน ตัวกลางที่ไม่เชิงเส้นสูง ตัวกลางที่นิยมใช้ คือ เส้นใยนำแสงโฟโตนิกคริสตัล (PCF) ในขณะที่สมบัติ ต่าง ๆ ของพัลส์ต่างก็มีผลต่อการขยายความกว้างสเปกตรัมด้วย งานวิจัยนี้จึงใช้การประมาณคลื่นที่ เปลี่ยนแปลงอย่างช้า (SEWA) ซึงเหมาะกับการแผ่ของพัลส์สั้นพิเศษ มาทำนายผลของพัลส์สั้นพิเศษ ที่เคลื่อนผ่าน PCF ความยาวคลื่นการกระจายแสงศูนย์ (ZDW) สองค่าที่ 751 nm และ 1230 nm จากการเปรียบเทียบผลการประมาณแบบ SEWA กับการประมาณซองคลื่นที่เปลี่ยนแปลงอย่างช้า (SVEA) ที่ใช้กับการแผ่ของพัลส์กว้าง พบว่า ผลของการประมาณแบบ SVEA กับพัลส์กว้าง 50 fs ใกล้เคียงกับผลการทดลองมากกว่า ในทางตรงกันข้าม การประมาณแบบ SEWA กับพัลส์กว้าง 10 fs ให้ผลของพัลส์ในโดเมนเวลาใกล้เคียงกับการเปลี่ยนแปลงของโซลิตอนซึ่งเป็นพัลส์แคบจากการทดลอง มากกว่า จากการประมาณแบบ SEWA กับพัลส์ขาเข้ากว้าง 10 fs แต่มีความยาวคลื่นกลางต่างกัน พบ ว่า ความกว้างของสเปกตรัมที่ได้มีช่วงที่ใกล้เคียงกัน คือ ตั้งแต่ 500 nm ถึงมากกว่า 2000 nm ในขณะ ที่การเปรียบเทียบผลของความกว้างพัลส์ขาเข้าที่กว้าง 5 fs และ 10 fs พบว่า ความกว้างสเปกตรัม ของพัลส์ขาเข้าทั้งสองกรณีให้ผลใกล้เคียงกัน ทั้งกรณีที่ความยาวคลื่นกลางของพัลส์เป็น 780 nm และ 1200 nm แต่โซลิตอนที่ขอบหลังของพัลส์ซึ่งเกิดในกรณีความยาวคลื่นกลางเป็น 1200 nm มีความเข้ม และผันผวนเพิ่มขึ้น สำหรับการเปรียบเทียบผลของกำลังสูงสุดของพัลส์ขาเข้าขนาด 50 kW 100 kW และ 200 kW พบว่า เกิดสัญญาณรบกวนกับสเปกตรัมมากขึ้นเมื่อกำลังสูงสุดเพิ่มมากขึ้นแม้ว่าความ กว้างของสเปกตรัมจะใกล้เคียงกันก็ตาม


การวิเคราะห์ต้นทุนของเทคนิคการเรียนรู้ด้วยเครื่องในการตรวจจับการบุกรุก, ไปรยา ตั้งจาตุรโสภณ Jan 2018

การวิเคราะห์ต้นทุนของเทคนิคการเรียนรู้ด้วยเครื่องในการตรวจจับการบุกรุก, ไปรยา ตั้งจาตุรโสภณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ได้นำเสนอการวิเคราะห์ต้นทุนของเทคนิคการเรียนรู้ด้วยเครื่องในการตรวจจับการบุกรุก โดยวิเคราะห์เวลาที่ใช้ในการสร้างแบบจำลองที่ใช้กับข้อมูลในการตรวจจับการบุกรุก ซึ่งการเรียนรู้ด้วยเครื่อง (machine learning) เป็นวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถทำนายหรือตัดสินใจจากข้อมูลที่เข้ามาได้ ว่าเป็นภัยคุกคามทางเครือข่ายหรือไม่ ซึ่งคุณสมบัตินี้จะช่วยให้สามารถตรวจสอบภัยคุกคามทางเครือข่ายรูปแบบใหม่ๆ ที่ไม่เคยตรวจพบมาก่อนได้ ดังนั้นการเพิ่มประสิทธิภาพความถูกต้องของเครื่องมือการตรวจจับการบุกรุก กลายเป็นเรื่องที่เปิดกว้างและได้รับความสนใจจากกลุ่มการวิจัย อย่างไรก็ตามต้นทุนทางด้านเวลามักถูกมองข้ามในกลุ่มการวิจัย งานวิจัยนี้จะช่วยให้ผู้ดูแลระบบสามารถตัดสินใจได้ดีขึ้นเกี่ยวกับวิธีเลือกฮาร์ดแวร์ที่เหมาะสมสำหรับการตรวจจับการบุกรุกในสภาพแวดล้อมต่างๆ อีกทั้งได้เสนอแบบจำลองสำหรับการประมาณเวลาในการสร้างแบบจำลองระบบตรวจจับการบุกรุกของแต่ละรูปแบบ และได้นำเสนอสมรรถนะของเวลาในการประมวลผลที่เพิ่มขึ้น (Speedup ratio) และสัดส่วนของงานที่สามารถประมวลผลแบบขนานได้ในแต่ละรูปแบบวิธี เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจ เลือกรูปแบบเทคนิคการเรียนรู้ด้วยเครื่องในการสร้างระบบตรวจจับการบุกรุกที่เหมาะสม สำหรับการลงทุน


การสรุปใจความสำคัญแบบสกัดจากบทความโดยใช้ออนโทโลยีและวิธีการทางกราฟ, ชุลีพร ยงเกียรติพานิช Jan 2018

การสรุปใจความสำคัญแบบสกัดจากบทความโดยใช้ออนโทโลยีและวิธีการทางกราฟ, ชุลีพร ยงเกียรติพานิช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันผู้คนเริ่มหันมาดูแลสุขภาพร่างกายกันมากขึ้น บทความปริทัศน์ทางชีวการแพทย์ซึ่งเป็นบทความที่รวบรวมงานวิจัยและนำเสนอออกมาในอีกมุมมองหนึ่ง จึงกำลังเป็นที่สนใจ ทำให้มีผลงานทางวิชาการเผยแพร่ออกมาไม่เว้นแต่ละวัน เนื่องจากสุขภาพถือเป็นเรื่องใกล้ตัว กลุ่มผู้อ่านจึงมีทั้งผู้อ่านที่มีความรู้ในด้านนี้อยู่แล้วและผู้อ่านทั่วไปที่สนใจในการรักษาสุขภาพ งานวิจัยนี้จึงมีเป้าหมายที่จะพัฒนาระบบสรุปใจความสำคัญแบบอัตโนมัติจากบทความปริทัศน์ในด้านชีวการแพทย์ เพื่อช่วยลดเวลาที่ผู้อ่านใช้ในการทำความเข้าใจและรับสาระจากบทความเหล่านั้น เพื่อให้สามารถเข้าใจสิ่งที่ผู้เขียนบทความต้องการนำเสนอ โดยงานวิจัยนี้ใช้วิธีการทางกราฟร่วมกับออนโทโลยี UMLS (Unified Medical Language System) และใช้ค่าระยะห่างการเคลื่อนที่ของคำ (Word Mover's Distance : WMD) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกฏในการแทนบทความด้วยกราฟ และสังเคราะห์ประโยคสำคัญออกมาเป็นบทสรุปโดยวิธีการทางกราฟ งานวิจัยนี้ใช้บทความปริทัศน์ทางด้านชีวการแพทย์เกี่ยวกับโรคต่าง ๆ 5 โรค จำนวนโรคละ 400 บทความจากผับเมด (PubMed) ในการพัฒนาและทดสอบโมเดล ผลการทดลองมีค่าวัดประสิทธิภาพโดยเครื่องมือวัดผล ROUGE (Recall-Oriented Understudy for Gisting Evaluation) โมเดลที่นำเสนอมีความแม่นยำมากกว่าวิธีที่นำเสนอก่อนหน้าสูงสุดร้อยละ 22 นอกจากนี้ยังได้ทดสอบกับวิธีการทางกราฟต่าง ๆ คือ เพจแรงก์ (PageRank) ค่าความเป็นศูนย์กลาง (Degree Centrality) ค่าความใกล้ชิด (Closeness Centrality) และค่าคั่นกลาง (Betweenness Centrality) การทดลองพบว่าการใช้ค่าความใกล้ชิดสามารถสร้างบทสรุปที่มีความครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากที่สุด วิธีการที่นำเสนอนี้สามารถประยุกต์ใช้กับบทความในด้านอื่น ๆ ได้ตามออนโทโลยีที่เลือกใช้


ตัวผลิตเอกสารความต้องการเชิงระบบจากเอกสารความต้องการเชิงธุรกิจแบบอัตโนมัติ, พัฐสุดา วิทยานนท์เอกทวี Jan 2018

ตัวผลิตเอกสารความต้องการเชิงระบบจากเอกสารความต้องการเชิงธุรกิจแบบอัตโนมัติ, พัฐสุดา วิทยานนท์เอกทวี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นที่การสร้างเอกสารความต้องการเชิงระบบจากเอกสารความต้องการเชิงธุรกิจแบบอัตโนมัติ ในขั้นตอนการวิเคราะห์ความต้องการของวงจรการพัฒนาระบบ นักวิเคราะห์ธุรกิจ (BA) จะต้องรวบรวมความต้องการจากผู้ใช้งาน ออกแบบฟังก์ชันและเอกสารจำนวนมากที่ต้องทำในระหว่างการพัฒนาระบบ โดยงานวิจัยได้นำเสนอวิธีการสร้างเอกสารความต้องการเชิงระบบซึ่งพัฒนาโดยภาษา Java และ API จาก www.websequencediagrams.com โดยสร้างแผนผังการทำงานแบบลำดับปฏิสัมพันธ์ (Sequence Diagrams) จากรูปแบบเฉพาะซึ่งประกอบด้วย Actor, Message, Object และ Recall โดย BA ต้องกรอกข้อมูลในรูปแบบดังกล่าวจากความต้องการของผู้ใช้งาน ผลจากกรณีศึกษา 3 กรณีแสดงให้เห็นว่าวิธีการสามารถสร้างเอกสารและแผนผังการทำงานแบบลำดับปฏิสัมพันธ์โดยอัตโนมัติได้


การทำนายข้อมูลจราจรเชิงพื้นที่และเวลาโดยใช้การฝังข้อมูลอุบัติเหตุร่วมกับนิวรอลเน็ตเวิร์กเชิงลึก, วนิดา ลิยงค์ Jan 2018

การทำนายข้อมูลจราจรเชิงพื้นที่และเวลาโดยใช้การฝังข้อมูลอุบัติเหตุร่วมกับนิวรอลเน็ตเวิร์กเชิงลึก, วนิดา ลิยงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะ (Intelligent Transportation System, ITS) นั้น มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการดำรงชีวิตในปัจจุบัน และเมื่อไม่นานมานี้ เริ่มมีการนำการเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) มาใช้ในการทำนายข้อมูลจราจรเพื่อช่วยให้มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาสำคัญของการทำนายข้อมูลจราจรในเครือข่ายขนาดใหญ่คือการทำนายล่วงหน้าในหลาย ๆ ช่วงเวลา และทำนายในตำแหน่งที่แตกต่างกัน นอกจากนี้สำหรับการจราจรแล้ว อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นนั้นจะส่งผลกระทบต่อการจราจรเสมอ การเรียนรู้ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นของอุบัติเหตุจะช่วยให้การทำนายข้อมูลจราจรมีความแม่นยำขึ้น งานวิจัยนี้ จึงนำเสนอนิวรอลเน็ตเวิร์กที่เรียนรู้ความสัมพันธ์ในเชิงพื้นที่และเวลาของข้อมูลจราจร โดยใช้นิวรอลเน็ตเวิร์คแบบคอนโวลูชัน (Convolutional Neural Network, CNN) ร่วมกับหน่วยความจำระยะสั้นแบบยาว (Long Short-Term Memory, LSTM) เพื่อให้สามารถเรียนรู้และทำนายข้อมูลจราจรได้แม่นยำยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมีการนำตัวเข้ารหัสอัตโนมัติ (Autoencoder) มาเรียนรู้ข้อมูลอุบัติเหตุ เพื่อให้สามารถเรียนรู้ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นในช่วงที่เกิดอุบัติเหตุไปพร้อม ๆ กันได้


การแพร่กระจายคำระหว่างเฟซบุ๊กเพจในประเทศไทย, วิรวัฒน์ สุนทรชื่น Jan 2018

การแพร่กระจายคำระหว่างเฟซบุ๊กเพจในประเทศไทย, วิรวัฒน์ สุนทรชื่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เฟซบุ๊กเพจในประเทศไทยมีอัตราการเติบโตและเป็นสื่อที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ทั้งด้านธุรกิจ การกระจายข่าวสาร และด้านอื่น ๆ ซึ่งผู้วิจัยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้จึงได้นำเสนอวิธีการที่ช่วยในการวิเคราะห์กระแสของคำเพื่อหาแนวโน้มการกระจายตัวและการเลือกคำที่เป็นกระแส โดยผู้วิจัยได้เลือกข้อมูลทางด้าน เทเลคอมเพื่อใช้ในงานวิจัยนี้ โดยแบ่งออกเป็น 3 โดเมนคือ อุปกรณ์มือถือเป็นโดเมนอุปกรณ์สื่อสาร เครือข่ายมือถือ งานแสดงสินค้าทางอุปกรณ์สื่อสารเป็นโดเมนผู้ให้บริการ และ เฟซบุ๊กเพจที่มีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับอุปกรณ์สื่อสาร เป็นโดเมนอื่น ๆ ผู้วิจัยได้ทำการเปรียบเทียบระหว่างการหาค่าคำสำคัญ กับ การหาค่าคำสำคัญร่วมกับค่าความถี่สัมพัทธ์เพื่อดูการกระจายตัวของคำ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้พบว่าการหาค่าคำสำคัญร่วมกับค่าความถี่สัมพัทธ์ให้ผลลัพธ์การกระจายตัวของคำได้ดีกว่าการหาค่าคำสำคัญเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ผู้วิจัยยังพบว่าการเกิดกระแสของคำสามารถเกิดได้จากกลุ่มใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มโดเมนอุปกรณ์สื่อสาร กลุ่มโดเมนผู้ให้บริการหรือกลุ่มโดเมนอื่นๆ แต่แนวโน้มของคำมีโอกาสเกิดจากกลุ่มโดเมนอุปกรณ์สื่อสารก่อนแพร่กระจายไปยังกลุ่มโดเมนอื่นๆหรือกลุ่มโดเมนผู้ให้บริการ


การเพิ่มประสิทธิภาพในการจำแนกประเภทข้อมูลอนุกรมเวลาโดยใช้หลักการวิเคราะห์ความถดถอยร่วมกับแนวคิดของตัวอธิบายรูปร่าง, ศิลัมพา อานุภาพแสนยากร Jan 2018

การเพิ่มประสิทธิภาพในการจำแนกประเภทข้อมูลอนุกรมเวลาโดยใช้หลักการวิเคราะห์ความถดถอยร่วมกับแนวคิดของตัวอธิบายรูปร่าง, ศิลัมพา อานุภาพแสนยากร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การจำแนกประเภทอนุกรมเวลา (Time Series Classification (TSC)) มีการใช้งานอย่างกว้างขวางใน ลักษณะของการใช้งานจริงมากมายหลายแขนง ซึ่งตัวจำแนกประเภทแบบเพื่อนบ้านที่ใกล้ที่สุด (Nearest Neighbor (NN)) สำหรับวิธีการไดนามิกไทม์วอร์ปปิง (Dynamic Time Warping (DTW)) ถือเป็นหนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพและได้รับความนิยมมากที่สุดสำหรับจัดการกับปัญหาการจำแนกประเภทอนุกรมเวลา ด้วยการวัดระยะทางแบบปรับแนวที่ไม่เป็นเส้นตรง จึงทำให้ไดนามิกไทม์วอร์ปปิงเป็นที่รู้จักกว่าเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการจับคู่อนุกรมเวลาสองชุดในการด้านทำงานได้อย่างกลมกลืนกันกับตัวจำแนกประเภทแบบเพื่อนบ้านที่ใกล้ที่สุด อย่างไรก็ตาม แม้จะมีข้อเท็จจริงว่า ไดนามิกไทม์วอร์ปปิงได้รับการออกแบบโดยเฉพาะเจาะจงเพื่อค้นหาการปรับแนวที่เหมาะสมที่สุด แต่วิธีการดังกล่าวอาจไม่สามารถใช้ในการปรับแนวเฉพาะส่วนได้อย่างสมเหตุสมผล ในงานวิจัยนี้จึงได้นำเอากรอบการทำงานของไดนามิกไทม์วอร์ปปิงแบบรูปร่าง หรือ shapeDTWมาใช้เพื่อจำแนกข้อมูลอนุกรมเวลาโดยอิงตามตัวอธิบายรูปร่างแบบฮิสโตแกรมของทิศทางตามค่าเกรเดียนท์ 1 มิติหรือ HOG1D รูปแบบใหม่ล่าสุด โครงสร้างเฉพาะส่วนแบบจุดต่อจุดจะได้รับการนำมาใช้งานในขั้นตอนการปรับแนว โดยโครงสร้างที่มีรูปร่างคล้ายคลึงกันจะจับคู่โดยอิงตามระดับความคล้ายคลึงกัน และด้วยการนำกรอบการปรับแนวทั่วไปจาก shapeDTWมาใช้งาน จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถออกแบบตัวอธิบายรูปร่างโดยอิงตามลักษณะและขอบเขตของข้อมูลตัวอย่างของตัวอธิบายรูปร่างที่ปรับปรุงใหม่ซึ่งเรียกว่า HOG1D-L ได้รับการนำเสนอโดยอิงจากแนวคิดที่สำคัญจากHOG1D และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้น งานวิจัยดังกล่าวนี้นำเสนอผ่านการทดสอบอย่างกว้างขวางด้วยชุดข้อมูลอนุกรมเวลา UCR ถึง 84 ชุดข้อมูลและผลที่ได้แสดงให้เห็นว่าสามารถรักษาระดับความแม่นยำหรือให้ผลสำเร็จในการจำแนกประเภทที่แม่นยำมากขึ้นในชุดข้อมูลส่วนใหญ่


การจำแนกประเภทข้อความโฆษณาบนเฟซบุ๊กโดยใช้เทคนิคการสุ่มเพิ่มตัวอย่างกลุ่มน้อย, ศุภมงคล อัครดำรงค์รัตน์ Jan 2018

การจำแนกประเภทข้อความโฆษณาบนเฟซบุ๊กโดยใช้เทคนิคการสุ่มเพิ่มตัวอย่างกลุ่มน้อย, ศุภมงคล อัครดำรงค์รัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

นักการตลาดนิยมทำการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์มากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียได้รับความนิยมอย่างมากและมีผู้ใช้งานเป็นจำนวนหลายล้านคน โดยเฉพาะเฟซบุ๊กซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมสูงสุดในประเทศไทย อย่างไรก็ตามผู้คิดค้นโฆษณาต้องมีความเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภคเพื่อให้สามารถคิดค้นถ้อยคำโฆษณาที่ดี ตัวแบบ AISAS เป็นตัวแบบหนึ่งซึ่งถูกนำเสนอโดยบริษัทเดนท์สึเพื่ออธิบายพฤติกรรมของผู้บริโภค ตัวแบบดังกล่าวนิยามสถานะที่เกิดขึ้นหลังจากผู้บริโภคเห็นโฆษณาของสินค้าทั้งหมดห้าสถานะ ได้แก่ ความใส่ใจ (Attention) ความสนใจ (Interest) การค้นหา (Search) การลงมือกระทำ (Action) และการแบ่งปัน (Share) วิทยานิพนธ์นี้ได้พัฒนาตัวแบบการเรียนรู้ของเครื่องเพื่อใช้จำแนกประเภทโฆษณาภาษาไทยจากเฟซบุ๊กออกเป็นสถานะตามตัวแบบ AISAS เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ลงโฆษณา อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่ถูกรวบรวมมาเพื่อการเรียนรู้เป็นข้อมูลที่ไม่สมดุล เนื่องจากตัวอย่างที่เป็นคลาสบวกมีจำนวนน้อย ทำให้ตัวแบบมีประสิทธิภาพต่ำในการทำนายตัวอย่างบวก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของตัวแบบ ผู้วิจัยได้นำเทคนิคการสุ่มเพิ่มตัวอย่างกลุ่มน้อย เทคนิคการคัดเลือกคุณลักษณะมาใช้ อีกทั้งได้เสนอเทคนิคการเพิ่มคุณลักษณะใหม่ซึ่งเป็นคำคล้ายคลึง ประยุกต์ใช้ร่วมกับตัวแบบจำแนกประเภทนาอีฟเบย์ การถดถอยโลจิสติกส์ และซัพพอร์ตเวกเตอร์แมชชีน และได้นำเทคนิคการสร้างข้อความมาประยุกต์ใช้ร่วมกับตัวแบบจำแนกประเภทแอลเอสทีเอ็ม ผลการทดลองพบว่าหลังการประยุกต์ใช้เทคนิคต่าง ๆ ทุกตัวแบบจำแนกประเภทสามารถทำนายตัวอย่างคลาสบวกเป็นจำนวนมากขึ้นและถูกต้องมากขึ้นในเกือบทุกชุดข้อมูล โดยสังเกตได้จากค่าความแม่นและค่าระลึกที่เพิ่มขึ้น เทคนิคการเพิ่มคุณลักษณะใหม่ซึ่งเป็นคำคล้ายคลึงทำให้บางตัวแบบมีค่าระลึกเพิ่มขึ้น เทคนิคการสร้างข้อความทำให้ตัวแบบแอลเอสทีเอ็มได้รับค่าระลึกสูงแต่ค่าความแม่นต่ำ อย่างไรก็ตามทุกเทคนิคทำให้ค่าความถูกต้องต่ำลงในชุดข้อมูลส่วนใหญ่


การพัฒนาผ้าที่มีสมบัติป้องกันการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า, สิรภพ ถาวร Jan 2018

การพัฒนาผ้าที่มีสมบัติป้องกันการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า, สิรภพ ถาวร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาประสิทธิภาพปิดกั้นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านการวัดค่าความต้านทานไฟฟ้าของพอลิอะนิลีนที่เคลือบลงบนซับสเตรตสองชนิดอันได้แก่ ผ้าเอ็มอะรามิดและผ้าเอ็มอะรามิดที่ถูกดัดแปรผ่านปฏิกิริยาไนเตรชัน/รีดักชัน โดยใช้ความเข้มข้นของอะนิลีนมอนอเมอร์ที่ 1% ถึง 20% โดยปริมาตร อีกทั้งศึกษาผลของการซักและการโดปที่ภาวะต่างๆ แล้วนำไปทดสอบสมบัติต่างๆ คือการวัดค่าความต้านทานไฟฟ้า ความแข็งกระด้างเมื่อดัดโค้ง และความคงทนของสีต่อการซัก จากผลการทดลองได้ภาวะที่เหมาะสมที่ทำให้ได้ผ้าที่มีสมบัติป้องกันการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้าคือการเคลือบพอลิอะนิลีน ที่ความเข้มข้นอะนิลีนมอนอเมอร์ 10% ลงบนผ้าเอ็มอะรามิดที่ไม่ได้ดัดแปร ให้ค่าความต้านทานที่ผิวอยู่ที่ 0.034 กิโลโอห์มต่อตาราง คิดเป็นประสิทธิภาพปิดกั้นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าอยู่ที่ 20.99 เดซิเบล ภายหลังการซักและการโดปซ้ำ ประสิทธิภาพปิดกั้นมีแนวโน้มลดลงในทุกกรณี ในกรณีที่เคลือบที่ความเข้มข้น 10% โดยปริมาตร ความแข็งกระด้างดัดโค้งมีค่า 204.60 มิลลิกรัมเซนติเมตร การเปื้อนติดภายหลังการซักอยู่ที่ระดับ 5


กลไกการดูดดึงแคดเมียมจากน้ำเสียโดยหญ้าเนเปียร์แคระ, เอกชา ตนานนท์ชัย Jan 2018

กลไกการดูดดึงแคดเมียมจากน้ำเสียโดยหญ้าเนเปียร์แคระ, เอกชา ตนานนท์ชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาผลของการเติมสารอีดีทีเอต่อการสะสมแคดเมียมในหญ้าเนเปียร์แคระ โดยทำการศึกษาหาระดับความเข้มข้นของแคดเมียมและสารอีดีทีเอ ที่ระดับความเข้มข้น 20, 40, 60, 80, และ 100 มิลลิกรัมต่อลิตร และอัตราส่วนโมลระหว่างแคดเมียมและสารอีดีทีเอ ในอัตาส่วน 1:0.5, 1:1, และ 1:2 โมล ที่มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชได้ดี มีการแสดงความเป็นพิษต่ำ และมีการสะสมแคดเมียมได้ในปริมาณมาก ทำการเก็บตัวอย่างทุกๆ 15 วัน เป็นระยะเวลา 45 วัน จากการศึกษาพบว่า แคดเมียมที่ระดับความเข้มข้น 40 มิลลิกรัมต่อลิตร และอัตราส่วนโมลระหว่างแคดเมียมและสารอีดีทีเอที่ 1:2 โมลมีความเหมาะสมสูงสุดกล่าวคือ พืชทดลองสามารถเจริญเติบโตได้ดี มีการแสดงความเป็นพิษต่ำ และมีการดูดดึงแคดเมียมได้ในปริมาณมาก สำหรับการศึกษากลไลการสะสมแคดเมียมในพืช จากการทดลองเปรียบเทียบชุดการทดลองที่มีการเติมแคดเมียม 40 มิลลิกรัมต่อลิตร และชุดการทดลองที่มีการเติมแคดเมียม 40 มิลลิกรัมต่อลิตรร่วมกับสารอีดีทีเอในอัตราส่วน 1:2 โมล และทำการเก็บตัวอย่างทุกๆ 7 วัน เป็นเวลา 105 วัน จากการวิเคราะห์หาปริมาณการสะสมแคดเมียมในพืช พบว่า เมื่อสิ้นสุดการทดลองหญ้าเนเปียร์แคระมีการสะสมแคดเมียมสูงสุดเท่ากับ 1,016.29 มิลลิกรัม โดยสะสมที่ส่วนใต้น้ำ (ราก) และส่วนเหนือน้ำ (ลำต้นและใบ) เท่ากับ 683.70 และ 333.69 มิลลิกรัมต่อต้น ตามลำดับ จากนั้นนำพืชที่มีการสะสมแคดเมียมสูงที่สุด อีกส่วนที่เตรียมไว้ มาทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยเครื่องเลเซอร์อะบเลชั่นอินดักทีฟลีคอบเพิลพลาสมาร์แมสสเปกโทรเมทรี (LA-ICP-MS) และลำแสงซินโครตรอนเทคนิคไมโครเอ็กเลย์ฟลูออเรสเซนซ์ (SR-XRF) พบว่า หญ้าเนเปียร์แคระมีการสะสมแคดเมียมสูงบริเวณเนื้อเยื่อชั้นนอก และท่อลำเลียงอาหาร ทั้งนี้การเติมสารอีดีทีเอ ส่งผลให้มีการดูดดึงแคดเมียมและเคลื่อนที่ไปสะสมในเนื้อเยื่อชั้นในเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่า แคดเมียมมีการสะสมบริเวณส่วนใต้น้ำของหญ้าเนเปียร์แคระเป็นส่วนมาก โดยผลการทดลองที่ได้มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงปริมาณที่วิเคราะห์ด้วยเครื่องอะตอมมิคแอบซอฟชั่นสเปกโตรมิเตอร์ (AAS) จึงสามารถระบุได้ว่า มีการสะสมแคดเมียมบริเวณส่วนใต้น้ำของหญ้าเนเปียร์แคระสูงสุด โดยเฉพาะชุดการทดลองที่มีการเติมสารอีดีทีเอ นอกจากนี้มีการศึกษาปัจจัยของสารอีดีทีเอ ต่อการเปลี่ยนฟอร์มของแคดเมียมในพืชร่วมด้วย โดยการใช้ลำแสงซินโครตรอน เทคนิคเอ็กเลย์แอบซอร์บชั่นสเปคโตรสโกปี (SR-XAS) ผลการศึกษาพบว่า เติมสารอีดีทีเอไม่ได้ทำให้แคดเมียมเปลี่ยนฟอร์มแต่อย่างใด จึงสามารถสรุปได้ว่าสารอีดีทีเอมีความเหมาะสมในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูดดึงแคดเมียมในหญ้าเนเปียร์แคระได้ดีที่สุด


คุณลักษณะดินและจุลินทรีย์ดินของแปลงฟื้นฟูป่าที่เหมืองสังกะสี จังหวัดตาก, ชุติมา กันตรง Jan 2018

คุณลักษณะดินและจุลินทรีย์ดินของแปลงฟื้นฟูป่าที่เหมืองสังกะสี จังหวัดตาก, ชุติมา กันตรง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การฟื้นฟูป่าไม้ในพื้นที่ทำเหมืองสังกะสีจำเป็นต้องพิจารณาคุณลักษณะดินที่มีผลต่อการพัฒนาของป่าฟื้นฟู การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะดินและจุลินทรีย์ดินของแปลงป่าฟื้นฟูบนพื้นที่เหมืองแร่สังกะสี อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยดินที่นำมาศึกษาเก็บตัวอย่างมาจากแปลงป่าฟื้นฟูอายุแตกต่างกัน ได้แก่ ป่าอายุ 0-5 ปี 6-15 ปี และมากกว่า 15 ปี ผลการศึกษาพบว่าคุณลักษณะดินโดยเฉพาะสัดส่วนดินทรายเพิ่มมากขึ้นร้อยละ 22.4±6.1 32.7±2.6 และ 64.4±15.4 ตามลำดับ ความชื้นและธาตุอาหารอื่น ๆ มีการเปลี่ยนแปลงตามอายุของการฟื้นฟูป่า นอกจากนี้ยังพบว่าโลหะหนักในดินเพิ่มขึ้นตามอายุป่าโดยมีปริมาณสังกะสี 73.86±13.7 250.3±166.8 และ1,416.2±698.4 mg/kg ตามลำดับ และปริมาณแคดเมียม 0.74±0.2 2.72±2.4 และ12.02±5.7 mg/kg ตามลำดับ รวมทั้งปริมาณจุลินทรีย์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามอายุป่าโดยมีปริมาณราในดิน 5.13x104±1.37x104 33.00x104±18.9x104 และ47.1x104±7.88x104 cfu/g ตามลำดับ ปริมาณแอคติโนมัยซีทในดิน 2.51x105±0.35x105 12.26x105±2.86x105 และ28.08x105±4.22x105 cfu/g ตามลำดับ และปริมาณแบคทีเรียในดิน 8.05x105±0.80x105 250.0x105±11.0x105 และ754.0x105±18.0x105 cfu/g ตามลำดับ การเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะดินยังส่งผลให้พบชนิดเห็ดบนดิน 11 ชนิด โดยคุณลักษณะดินที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเห็ดคือดินที่ร่วนซุยและระบายน้ำได้ดี อย่างไรก็ตามพบการถูกชะล้างของดินตะกอนและร่อยรอยของไฟป่าซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะดิน กล่าวโดยสรุปคือการพัฒนาของแปลงป่าฟื้นฟูสามารถพัฒนาคุณลักษณะดินได้หลากหลายและมีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์


การบำบัดน้ำมันหล่อเย็นใช้แล้วด้วยกระบวนการเฟนตันประยุกต์โดยใช้ของเสียจากอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์, ปรีชาพัฒน์ พัวสุวรรณ Jan 2018

การบำบัดน้ำมันหล่อเย็นใช้แล้วด้วยกระบวนการเฟนตันประยุกต์โดยใช้ของเสียจากอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์, ปรีชาพัฒน์ พัวสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะที่เหมาะสมในการบำบัดน้ำมันหล่อเย็นใช้แล้วจากอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ด้วยกระบวนการเฟนตันประยุกต์ โดยการใช้ผงเหล็ก ช็อตบลาสท์และตะกรันอะลูมิเนียมเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมเดียวกัน โดยผงเหล็ก ช็อตบลาสท์จะทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในกระบวนการเฟนตันแทนการใช้สารละลายเกลือเหล็ก ส่วนตะกรันอะลูมิเนียมจะทำหน้าที่เป็นตัวสนับสนุนปฏิกิริยา ภาวะที่ทำการศึกษา ได้แก่ เวลาในการบำบัดช่วง 5 – 180 นาที พีเอชเริ่มต้นช่วง 3 - 5 ปริมาณไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ช่วง 0.5 – 1.5 มิลลิลิตร ผงเหล็กช็อตบลาสท์ช่วง 0.25 – 3.5 กรัม และตะกรันอะลูมิเนียมช่วง 0.25 – 2 กรัม การเลือกภาวะที่เหมาะสมจะพิจารณาจากประสิทธิภาพในการบำบัดซีโอดีเป็นหลัก หลังจากได้ภาวะที่เหมาะสมแล้วจะทำการศึกษาประสิทธิภาพในการบำบัดพารามิเตอร์อื่น ๆ เช่น บีโอดี และปริมาณของแข็งแขวนลอย รวมทั้งศึกษาการนำตะกอนจากการบำบัดกลับมาใช้ซ้ำ และเปรียบเทียบประสิทธิภาพและค่าใช้จ่ายในการบำบัดระหว่างกระบวนการเฟนตันประยุกต์และ เฟนตันปกติ ผลการศึกษาพบว่าภาวะที่เหมาะสมในการบำบัดน้ำมันหล่อเย็นใช้แล้วด้วยกระบวนการเฟนตันประยุกต์ คือ เวลา 60 นาที พีเอชเริ่มต้น 3 ปริมาณไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 1 มิลลิลิตร ปริมาณผงเหล็กช็อตบลาสท์ 2.5 กรัม และปริมาณตะกรันอะลูมิเนียม 1 กรัม ต่อน้ำมันหล่อเย็น 50 มิลลิลิตร ประสิทธิภาพในการบำบัดซีโอดี บีโอดี และปริมาณของแข็งแขวนลอยในน้ำมันหล่อเย็นใช้แล้ว ณ ภาวะที่เหมาะสม เฉลี่ยร้อยละ 47.31, 53.34 และ 74.96 ตามลำดับ ตะกอนหลังบำบัดของกระบวนการเฟนตันประยุกต์สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้อีก 1 ครั้งโดยที่ประสิทธิภาพไม่ต่างจากเดิม และจากการเปรียบเทียบพบว่ากระบวนการเฟนตันประยุกต์มีประสิทธิภาพเฉลี่ยในการบำบัดซีโอดีในน้ำมันหล่อเย็นใช้แล้วมากกว่าเฟนตันปกติอยู่ประมาณร้อยละ 28 และมีค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้อยกว่าประมาณ 340 บาทต่อน้ำเสีย 1 ลูกบาศก์เมตร


ผลของการขยายตัวของเมืองที่มีต่ออุณหภูมิพื้นผิวของเมืองนครราชสีมา, ภควรรนต์ โชติชัยวงศ์ Jan 2018

ผลของการขยายตัวของเมืองที่มีต่ออุณหภูมิพื้นผิวของเมืองนครราชสีมา, ภควรรนต์ โชติชัยวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เมืองนครราชสีมา เป็นเมืองศูนย์กลางหลัก (central places) ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยความได้เปรียบทางด้านสภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ศักยภาพและความสำคัญของเมืองมาตั้งแต่อดีต ประกอบกับนโยบายของภาครัฐที่กำหนดให้เมืองนครราชสีมาเป็นเมืองหลักของภูมิภาค จึงส่งผลให้เกิดการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว อันเป็นสาเหตุสำคัญของการลดลงของพื้นที่สีเขียว รวมถึงการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิพื้นผิวที่เป็นปัจจัยสนับสนุนให้เกิดภาวะโลกร้อน งานวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาการขยายตัวของเมืองนครราชสีมาด้วยเทคโนโลยีการสำรวจระยะไกล ศึกษาการขยายตัวของเมืองด้วยภาพถ่ายดาวเทียมใน 3 ช่วงเวลา ได้แก่ Landsat-5 พ.ศ. 2535 Landsat-7 พ.ศ. 2545 และ THEOS พ.ศ. 2559 และศึกษาอุณหภูมิพื้นผิวของเมืองด้วยวิธีการ Split window โดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียม Landsat-5 พ.ศ. 2535 Landsat-7 พ.ศ. 2545 และ Landsat-8 พ.ศ. 2559 พร้อมทั้งคาดการณ์การใช้ประโยชน์ที่ดินใน พ.ศ. 2569 ด้วยแบบจำลอง CA-Markov และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของการใช้ประโยชน์ที่ดินกับอุณหภูมิพื้นผิว ผลการศึกษา พบว่า การขยายตัวของเมืองนครราชสีมาส่งผลให้พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ พื้นที่สีเขียวมีขนาดลดลงอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่อดีต โดยเฉพาะพื้นที่เกษตรกรรมบริเวณทางเหนือของเมือง ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาอุณหภูมิพื้นผิว ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะบริเวณอาคารสูง และห้างสรรพสินค้า โดยผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ประโยชน์ที่ดินและอุณหภูมิพื้นผิว ชี้ให้เห็นว่า พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างมีความสัมพันธ์แบบแปรผันตรงกับอุณหภูมิพื้นผิว ตรงข้ามกับพื้นที่สีเขียวที่แปรผกผันกัน ผลการคาดการณ์การใช้ประโยชน์ที่ดินในปี พ.ศ. 2569 ทั้ง 2 สถานการณ์ ชี้ให้เห็นว่า สถานการณ์ที่ 1 ตามเงื่อนไขแนวโน้มที่เป็นมาในอดีต เมืองนครราชสีมามีการขยายตัวของพื้นที่เมืองสูง พื้นที่สีเขียวลดลง ส่วนสถานการณ์ที่ 2 ตามเงื่อนไขนโยบายและแผนพัฒนาเศรษฐกิจ มีการขยายตัวของพื้นที่เมืองน้อยกว่า และมีพื้นที่สีเขียวมากกว่า ดังนั้น จำเป็นต้องมีมาตรการเชิงนโยบายในการวางแผนการขยายตัวของเมืองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการจำกัดพื้นที่การขยายตัวของเมือง และส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่สีเขียว


ผลของเศษฝุ่นที่นำกลับมาใช้เป็นสารตัวเติมต่อสมบัติของผ้าเบรก, กนกวรรณ ชนะดัสกร Jan 2018

ผลของเศษฝุ่นที่นำกลับมาใช้เป็นสารตัวเติมต่อสมบัติของผ้าเบรก, กนกวรรณ ชนะดัสกร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการนำเศษฝุ่นกลับมาใช้เป็นสารตัวเติมต่อสมบัติทางกายภาพ ทางกล และประสิทธิภาพของผ้าเบรก ผลการวิเคราะห์ลักษณะของเศษฝุ่นที่นำกลับมาใช้ พบว่าเศษฝุ่นมีรูปร่างและขนาดที่ไม่แน่นอน โดยมีขนาดอนุภาคเล็กกว่า 71 ไมครอน ชนิดและปริมาณธาตุที่พบในเศษฝุ่นจากผ้าเบรกชนิดใยเหล็กต่ำ (LSD) เศษฝุ่นจากผ้าเบรกชนิดทองแดงต่ำ (LCD) และเศษฝุ่นจากผ้าเบรกชนิดไร้ทองแดง (NCD) มีค่าใกล้เคียงกัน ยกเว้นปริมาณโลหะ (ทอแดงและใยเหล็ก) พบว่าปริมาณโลหะที่พบในเศษฝุ่นจากผ้าเบรกชนิดใยเหล็กต่ำมีค่าสูงสุดที่ 5.15% โดยน้ำหนัก เนื่องจากปริมาณโลหะที่สูงกว่าเศษฝุ่นชนิดอื่นทำให้ค่าความหนาแน่นหลังเคาะของเศษฝุ่นชนิด LSD มีค่าสูงสุด จากนั้นจึงวิเคราะห์อิทธิพลของชนิดเศษฝุ่นต่อสมบัติของผ้าเบรก ใช้เศษฝุ่นชนิด LSD LCD NCD และเศษฝุ่นผสม ใส่เข้าไปแทนที่วัตถุดิบอื่นยกเว้นฟีนอลิกเรซิน ในปริมาณร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก เปรียบเทียบกับผ้าเบรกเชิงพาณิชย์ที่ไม่ใส่เศษฝุ่น ผลงานวิจัยพบว่า ผ้าเบรกที่ใส่เศษฝุ่นทุกชนิดให้สมบัติใกล้เคียงกันกับผ้าเบรกที่ไม่ใส่เศษฝุ่น โดยเศษฝุ่นจะทำให้ให้ความถ่วงจำเพาะ ความเป็นรูพรุน ความแข็งและความยืดหยุ่นของผ้าเบรกเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย นอกจากนี้ยังทำให้ผ้าเบรกมีระดับความเสียดทานสูงขึ้น ส่งผลให้เบรกได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นเพื่อความสะดวกต่อการจัดเก็บและสร้างความยืดหยุ่นในกระบวนการ การใช้เศษฝุ่นผสมจึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม จากนั้นจึงวิเคราะห์อิทธิพลของปริมาณเศษฝุ่นที่ใส่ในผ้าเบรก (5% 10% 15% 20% และ 25% โดยน้ำหนัก) ต่อสมบัติของผ้าเบรก เปรียบเทียบกับผ้าเบรกเชิงพาณิชย์ที่ไม่ใส่เศษฝุ่น ผลงานวิจัยพบว่า ค่าความแข็ง สภาพการอัดตัวและความยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่การเพิ่มปริมาณเศษฝุ่นทำให้ผ้าเบรกมีความถ่วงจำเพาะลดลง และความเป็นรูพรุนเพิ่มขึ้น ผ้าเบรกที่ใส่เศษฝุ่น 25% มีค่าอัตราการสึกสูงสุดที่ 1.85x10-7 cm3/N.m ในขณะที่ผ้าเบรกที่ใส่เศษฝุ่นปริมาณ 5%-20% มีค่าอัตราการสึกใกล้เคียงกันในช่วง 1.65x10-7-1.66x10-7 cm3/N.m โดยผ้าเบรกที่ใส่เศษฝุ่น 20% มีเสถียรภาพของความเสียดทานสูงสุดและมีค่าใกล้เคียงกับผ้าเบรกที่ไม่ใส่เศษฝุ่น ดังนั้นเมื่อพิจารณาโดยรวมพบว่าผ้าเบรกที่ใส่เศษฝุ่น 20% สามารถลดต้นทุนได้สูงสุด คิดเป็นมูลค่ากว่า 2,400,000 บาทต่อปี โดยผลิตภัณฑ์ยังคงประสิทธิภาพได้ใกล้เคียงกับผ้าเบรกที่ไม่ใส่ฝุ่น


การหาค่าเหมาะที่สุดของภาวะการผสมต่อสมบัติทางกายภาพและการเสียดทานของผ้าเบรก, กษิดิ์เดช รูปิยะเวช Jan 2018

การหาค่าเหมาะที่สุดของภาวะการผสมต่อสมบัติทางกายภาพและการเสียดทานของผ้าเบรก, กษิดิ์เดช รูปิยะเวช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาภาวะการผสมวัตถุดิบอันได้แก่ อัตราเร็วรอบการหมุนของใบพัดการผสม เวลา และปริมาตรของส่วนผสมที่ทำการผสมต่อสมบัติทางกายภาพ สมบัติทางกล และสมบัติการเสียดทานได้แก่ ความหนาแน่นบัลค์ของวัตถุดิบหลังผสม ความแข็ง ปริมาณรูพรุน ความถ่วงจำเพาะ โมดูลัสยืดหยุ่น สภาพอัดตัวได้ รวมทั้งอัตราการสึกหรอและสัมประสิทธิ์การเสียดทานของผ้าเบรก การทดลองนี้ผสมวัตถุดิบด้วยการปรับภาวะการผสม 3 ภาวะคือ อัตราเร็วรอบในการผสม (ที่ 3,000 4,500 และ 6,000 รอบต่อนาที) เวลาในการผสมวัตถุดิบ (ที่ 2, 4, 6 และ 8 นาที) และปรับปริมาตรวัตถุดิบที่ใช้ในการผสม (ที่ร้อยละ 35, 50 และ 65 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตรของเครื่องผสม) จากการทดลองพบว่าการปรับเปลี่ยนภาวะการผสมทั้งอัตราเร็ว เวลา และปริมาตรที่ผสมวัตถุดิบทำให้ค่าความหนาแน่นบัลค์ของวัตถุดิบหลังผสมต่างกันไม่มากนัก โดยเปรียบเทียบแล้วเวลาในการผสมเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าความหนาแน่นบัลค์ของวัตถุดิบหลังผสมมากที่สุด และพบว่าสมบัติทางกายภาพ ทางกล และการเสียดทานของผ้าเบรก ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อค่าความหนาแน่นบัลค์ของวัตถุดิบหลังผสมเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ จากการทดลองนี้พบว่าอัตราเร็วรอบ 4,500 รอบต่อนาที เวลาในการผสม 4 นาทีและปริมาตรการผสมที่ 65 เปอร์เซนต์โดยปริมาตรของเครื่องผสมเป็นภาวะการผสมที่เหมาะสม ที่อัตราเร็วรอบ 4,500 รอบต่อนาทีเนื่องจากให้ค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานเสถียรที่สุด ในขณะที่เวลาในการผสม 4 นาที ปริมาตรในการผสมที่ร้อยละ 65 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตรของเครื่องผสมเนื่องจากเป็นการผสมที่ใช้เวลาน้อยและได้ปริมาณในการผสมมากที่สุดตามลำดับ


การผลิตน้ำมันชีวภาพจากไฮโดรเทอร์มัลโคลิควิแฟกชันของชานอ้อยและน้ำมันพืชใช้แล้ว, กัสราศ์ รอดทอง Jan 2018

การผลิตน้ำมันชีวภาพจากไฮโดรเทอร์มัลโคลิควิแฟกชันของชานอ้อยและน้ำมันพืชใช้แล้ว, กัสราศ์ รอดทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การไฮโดรเทอร์มัลโคลิควิแฟกชันเป็นกระบวนการแปรรูปชีวมวลเป็นน้ำมันดิบชีวภาพ จุดเด่นของกระบวนการนี้ คือ ชีวมวลไม่จำเป็นต้องผ่านการทำแห้งก่อน แต่ร้อยละผลได้ของเชื้อเพลิงเหลวยังมีค่าไม่สูงนัก งานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาการเพิ่มร้อยละผลได้ของน้ำมันชีวภาพที่ผลิตจากไฮโดรเทอร์มัลโคลิควิแฟกชันโดยใช้สารป้อนร่วมของชานอ้อยและน้ำมันพืชใช้แล้วในเครื่องปฏิกรณ์แบบกะ และประเมินผลกระทบของปัจจัยดำเนินงานต่างๆ ต่อร้อยละผลได้ของน้ำมันชีวภาพ ได้แก่ อุณหภูมิ 300 และ 350 องศาเซลเซียส อัตราส่วนโดยน้ำหนักของชานอ้อยต่อน้ำมันพืชใช้แล้วในสารป้อนร่วมเท่ากับ 1:0 3:1 1:1 1:3 และ 0:1 อัตราส่วนโดยน้ำหนักของสารป้อนต่อตัวทำละลายน้ำเท่ากับ 1:10 และ 1:20 ในการทดลองกำหนดความดันไนโตรเจนเริ่มต้นที่ 2 เมกะพาสคัล และระยะเวลาดำเนินปฏิกิริยา 1 ชั่วโมง จากการทดลองพบว่า อุณหภูมิที่สูงขึ้นจะทำได้ผลิตภัณฑ์น้ำมันดิบชีวภาพลดลง ที่ภาวะอุณหภูมิปฏิกิริยา 350 องศาเซลเซียส อัตราส่วนโดยน้ำหนักของชานอ้อยต่อน้ำมันพืชใช้แล้วเท่ากับ 1:3 แสดงผลเสริมกันของสารป้อนร่วมมากที่สุด องค์ประกอบของกรดไขมันในน้ำมันพืชใช้แล้วส่งผลให้ระบบมีความเป็นกรดมากขึ้น จึงทำให้เกิดการไฮโดรไลซิสของสารชีวมวลได้มากขึ้น นอกจากนี้การเพิ่มอัตราส่วนของตัวทำละลายในกระบวนการไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชันของชานอ้อย จะทำให้เกิดการแตกสลายของเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และลิกนินได้มากขึ้น