Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Physical Sciences and Mathematics Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 1201 - 1230 of 2268

Full-Text Articles in Physical Sciences and Mathematics

Direct Arylation Polymerization (Darp) Is A New Palladium-Catalyzed Cross-Coupling Method To Synthesize Conjugated Copolymers. This Reaction Can Generate C-C Bonds Between Simple Arenes And Dibromoarenes, Without Passing Through Organometallic Intermediates. In This Work, We Synthesized New Donor-Acceptor Conjugated Copolymers Based On 2′-Octyl-3,4-Ethylenedioxythiophene (Oedot) Donor Coupled With 3,5-Dibromo-1,2,4-Triazole, 4,7-Dibromo-2,1,3-Benzothiadiazole, 4,7-Dibromo-5,6-Difluoro-2,1,3-Benzothiadiazole, 4,7-Dibromo-1,2,3-Benzotriazole, 4,7-Dibromo-2-Octyl-1,2,3-Benzotriazole, 1,4-Dibromo-2,5-(Tert-Butyldimethylsilanyl Oxy)Benzene, 5,7-Dibromothieno[3,4-B]Pyrazine And 5,7-Dibromo-2,3-Diphenyl Thieno[3,4-B]Pyrazine To Become Polymers P1-6 And P9-10, Respectively In Various Range Of Yields Of 16-88%. Polymer P7 Was Prepared From Deprotection Followed By Oxidation Of Polymer P6. These Copolymers Exhibited Various Uv-Visible Absorptions With Λmax Values Ranging From 328 To 958 Nm., Thanat Tiyasakulchai Jan 2018

Direct Arylation Polymerization (Darp) Is A New Palladium-Catalyzed Cross-Coupling Method To Synthesize Conjugated Copolymers. This Reaction Can Generate C-C Bonds Between Simple Arenes And Dibromoarenes, Without Passing Through Organometallic Intermediates. In This Work, We Synthesized New Donor-Acceptor Conjugated Copolymers Based On 2′-Octyl-3,4-Ethylenedioxythiophene (Oedot) Donor Coupled With 3,5-Dibromo-1,2,4-Triazole, 4,7-Dibromo-2,1,3-Benzothiadiazole, 4,7-Dibromo-5,6-Difluoro-2,1,3-Benzothiadiazole, 4,7-Dibromo-1,2,3-Benzotriazole, 4,7-Dibromo-2-Octyl-1,2,3-Benzotriazole, 1,4-Dibromo-2,5-(Tert-Butyldimethylsilanyl Oxy)Benzene, 5,7-Dibromothieno[3,4-B]Pyrazine And 5,7-Dibromo-2,3-Diphenyl Thieno[3,4-B]Pyrazine To Become Polymers P1-6 And P9-10, Respectively In Various Range Of Yields Of 16-88%. Polymer P7 Was Prepared From Deprotection Followed By Oxidation Of Polymer P6. These Copolymers Exhibited Various Uv-Visible Absorptions With Λmax Values Ranging From 328 To 958 Nm., Thanat Tiyasakulchai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Direct arylation polymerization (DArP) is a new palladium-catalyzed cross-coupling method to synthesize conjugated copolymers. This reaction can generate C-C bonds between simple arenes and dibromoarenes, without passing through organometallic intermediates. In this work, we synthesized new donor-acceptor conjugated copolymers based on 2′-octyl-3,4-ethylenedioxythiophene (OEDOT) donor coupled with 3,5-dibromo-1,2,4-triazole, 4,7-dibromo-2,1,3-benzothiadiazole, 4,7-dibromo-5,6-difluoro-2,1,3-benzothiadiazole, 4,7-dibromo-1,2,3-benzotriazole, 4,7-dibromo-2-octyl-1,2,3-benzotriazole, 1,4-dibromo-2,5-(tert-butyldimethylsilanyl oxy)benzene, 5,7-dibromothieno[3,4-b]pyrazine and 5,7-dibromo-2,3-diphenyl thieno[3,4-b]pyrazine to become polymers P1-6 and P9-10, respectively in various range of yields of 16-88%. Polymer P7 was prepared from deprotection followed by oxidation of polymer P6. These copolymers exhibited various UV-Visible absorptions with λmax values ranging from 328 to 958 nm.


Benzimidazole Derivatives Of Perylene Diimide For Organic Field-Effect Transistor, Tianchai Chooppawa Jan 2018

Benzimidazole Derivatives Of Perylene Diimide For Organic Field-Effect Transistor, Tianchai Chooppawa

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The poor solubility of perylene derivatives has been a key factor that prohibits the application of these thermally stable compounds in organic field-effect transistors (OFET) devices. In this research, the effort to enhance the solubility and exploring FET property of benzimidazole derivatives of perylene diimide were investigated. The perylene diimide core structure was functionalized by aryloxy moieties. Unfortunately, the isomeric products were still poorly soluble in common organic solvents, which made them impossible to separate and purify. Thus, the synthetic plan and goal were completely revised to the benzotriazatruxene derivatives, which were highly soluble in organic solvents such as dichloromethane …


Oxidized Carbon Particles From Styrene, Titiporn Sansureerungsikul Jan 2018

Oxidized Carbon Particles From Styrene, Titiporn Sansureerungsikul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

It has been reported the spherical shape of oxidized carbon nanoparticulates shows higher ability to penetrate phospholipid bilayer membrane than tubular and sheet shapes. However, the effect of the particle size on this membrane penetration ability have never been investigated. In this work, we synthesized various sizes of oxidized carbon spheres through a four steps process. Firstly, we adjusted the surfactants and styrene concentrations to prepare polystyrene of various sizes. Then, the polystyrene particles of selected sizes were hypercrosslinked via Frieldel-Craft alkylation reaction. After that, hypercrosslinked polystyreneparticles were pyrolyzed under N2 atmosphere to obtain carbon nanospheres of various sizes. The …


ผลกระทบของแสงเทียมต่ออัตราการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในพืชสกุล Ocimum ที่พบในไทย, วิจิตรา จันอุทัย Jan 2018

ผลกระทบของแสงเทียมต่ออัตราการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในพืชสกุล Ocimum ที่พบในไทย, วิจิตรา จันอุทัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประชากรในเขตเมืองบริโภคผักในปริมาณน้อยส่งผลให้ได้รับคุณค่าทางโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก ส่วนหนึ่งอาจเนื่องมาจากการขาดแคลนพื้นที่เกษตรกรรมในเขตเมือง จึงเกิดแนวคิดในการปลูกพืชผักในอาคาร แต่ปัญหาสำคัญของแนวคิดนี้คือแสงในอาคารที่มีจำกัด งานวิจัยนี้จึงศึกษาการประยุกต์ใช้แสงเทียมจากไดโอดเปล่งแสง ซึ่งปล่อยแสงในช่วงความยาวคลื่นจำเพาะ เพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณค่าทางโภชนาการของพืชสวนครัวที่ปลูกในอาคาร ได้แก่ โหระพา กะเพรา และแมงลัก โดยวิเคราะห์ผลกระทบของแสงเทียมสีแดง น้ำเงิน และสีผสมระหว่างแดงและน้ำเงินด้วยอัตราส่วน 1:2 1:1 และ 2:1 ต่อค่าการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุด (Amax) ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ สารประกอบฟีนอล และการเจริญเติบโตของพืชสวนครัวดังกล่าว พบว่า Amax ของแมงลักภายใต้แสงสีแดงน้อยกว่าแสงควบคุม (แสงขาว) โดยภายใต้เงื่อนไขทางแสงสีขาวหรือแสงสีแดงผสมแสงสีน้ำเงินมี Amax ดีกว่าภายใต้เงื่อนไขทางแสงสีแดงล้วนและแสงสีน้ำเงินล้วน นอกจากนี้ ผลการทำนาย Amax จากการวิเคราะห์สมการความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์กับคาร์บอนไดออกไซด์ในใบของพืชแต่ละชนิดในแต่ละเงื่อนไขทางชนิดแสงที่คาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศสูงขึ้นตามภาพการณ์จำลองของ IPCC พบว่า Amax ในกรณีศึกษาส่วนใหญ่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตามการทำนายความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มมากขึ้นตามภาพการณ์จำลอง ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของแมงลักและสารประกอบฟีนอลของกะเพราภายใต้แสงผสมระหว่างแสงแดงต่อน้ำเงิน 2:1 มากกว่าแสงควบคุม แสงสีน้ำเงินส่งผลเชิงบวกต่อความสูงของโหระพาและแมงลัก ในขณะที่แสงสีแดงส่งผลให้ใบกะเพราและใบแมงลักมีน้ำหนักสดเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การตอบสนองภายใต้เงื่อนไขทางแสงในแต่ละชนิดพันธุ์แตกต่างกันอย่างเฉพาะเจาะจง และควรมีการศึกษาเกี่ยวกับเงื่อนไขทางแสงชนิดอื่น ๆ เพิ่มเติม รวมถึงปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ที่อาจมีผลต่อตัวแปรศึกษาเหล่านี้


ผลของการเติมผงกระดูกหมูในการยับยั้งการดูดดึงแคดเมียมของข้าวดอกมะลิ 105, ศศิธร เพชรแสน Jan 2018

ผลของการเติมผงกระดูกหมูในการยับยั้งการดูดดึงแคดเมียมของข้าวดอกมะลิ 105, ศศิธร เพชรแสน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาผลของผงกระดูกหมูในการยับยั้งการดูดดึงแคดเมียมที่ของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่ปลูกในดินปนเปื้อนจากพื้นที่ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก แบ่งการศึกษาออกเป็นสองส่วนได้แก่การศึกษาลักษณะทางกายภาพและเคมีของผงกระดูกหมูและการศึกษาประสิทธิภาพของผงกระดูกหมูในการยับยั้งการดูดดึงแคดเมียมของข้าวดอกมะลิ 105 การศึกษาโครงสร้างทางด้านกายภาพและเคมีของผงกระดูกหมู ประสิทธิภาพในการกำจัดแคดเมียมในสารละลาย รวมถึงการศึกษาไอโซเทอมการดูดซับ พบว่า โครงสร้างทางด้ายกายภาพและเคมีของผงกระดูกหมู มีลักษณะโครงสร้างเป็นแบบเฮกซาโกนัล มีแคลเซียมไฮดรอกซีอะพาไทต์ เป็นองค์ประกอบหลัก เมื่อศึกษาไอโซเทอมการดูดติดผิวในสารละลายแคดเมียมเข้มข้น 10 มิลลิกรัมต่อลิตร เวลาสัมผัส 1 ชั่วโมง มีประสิทธิภาพในการกำจัดแคดเมียมสูงสุด 22.12 มิลลิกรัมต่อกรัม ไอโซเทอมการดูดซับเป็นแบบแลงมัวร์ การศึกษาผลของการใช้ผงกระดูกหมูในการยับยั้งการดูดดึงแคดเมียมของข้าวดอกมะลิ 105 ทำการปลูกข้าวในกระถางที่มีการเติมผงกระดูกหมูที่ระดับอัตรา 0%, 5%, 10% และ15% ตามลำดับ ทดลองในสภาวะโรงเรือนทดลอง ทำการเพาะปลูก 2 ฤดูกาล ผลการทดลอง พบว่า ในฤดูกาลเพาะปลูกที่ 1 ข้าวเจริญเติบโตตามปกติ และออกรวงในทุกระดับความเข้มข้น ขณะที่ในฤดูกาลเพาะปลูกที่ 2 ข้าวเริ่มมีการเจริญเติบโตได้ค่อนข้างต่ำ และเจริญเติบโตได้เพียงในระยะ 4 สัปดาห์แรก หลังจากนั้นเกิดอาการต้นเหลืองและยืนต้นตาย การสะสมแคดเมียมในส่วนต่างๆ พบว่า มีการสะสมในรากมากกว่าลำต้น ใบ เมล็ด และเปลือก ความสามารถในการดูดดึงแคดเมียม (%) ของข้าวขาวดอกมะลิ 105 อยู่ในช่วง 0.18-0.20 % และ 0.41-1.18 % ทั้งในฤดูกาลเพาะปลูกที่ 1 และ 2 ตามลำดับ สำหรับค่าการสะสมของปริมาณแคดเมียมในส่วนของพืชระหว่างรากและดิน (BCF) มีค่าต่ำกว่า 1 และค่าการเคลื่อนย้ายแคดเมียมจากรากไปสู่ลำต้น (TF) มีค่าต่ำกว่า 1 แสดงถึงศักยภาพของผงกระดูกหมูในการสามารถยับยั้งการดูดดึงแคดเมียมของพืชได้


การใช้เศษแก้วในการทำอิฐคอนกรีตเพื่อใช้เป็นทางเลือกในการจัดการเศษแก้วในเกาะสีชัง, หทัยชนก วันเพ็ญ Jan 2018

การใช้เศษแก้วในการทำอิฐคอนกรีตเพื่อใช้เป็นทางเลือกในการจัดการเศษแก้วในเกาะสีชัง, หทัยชนก วันเพ็ญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการใช้เศษแก้วแทนที่มวลรวม และระยะเวลาบ่มในการผลิตอิฐคอนกรีต รวมทั้งประเมินวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ และประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเศษแก้วบนเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี การใช้เศษแก้วแทนที่มวลรวมที่ทำการศึกษา คือ ร้อยละ 0 10 20 30 และ 100 ระยะเวลาบ่มที่ 7 14 และ 28 วัน และมีขนาดอนุภาคอยู่ในช่วง 0.150 ถึง 4.75 มิลลิเมตร จากการศึกษาคุณสมบัติของอิฐคอนกรีตพบว่า การใช้เศษแก้วแทนที่ทรายหยาบร้อยละ 20 บ่มที่ 28 วัน ให้กำลังรับแรงอัดสูงที่สุด (48.49 เมกะปาสคาล) และให้การดูดซึมน้ำต่ำที่สุด (5.35%) ซึ่งมีกำลังรับแรงอัดสูงกว่าอิฐคอนกรีตที่ไม่มีการแทนที่ด้วยเศษแก้ว (ร้อยละ 0) และบ่มที่ 28 วัน ซึ่งมีกำลังรับแรงอัดเท่ากับ 45.06 เมกะปาสคาล (สูงกว่าร้อยละ 7.61) จากการประเมินวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์โดยโปรแกรมสำเร็จรูป SimaPro 8.3 ใช้วิธี Eco-indicator 99 พิจารณาตั้งแต่การได้มาของวัตถุดิบ การขนส่ง และการผลิต พบว่าอิฐคอนกรีตที่ใช้เศษแก้วแทนที่ทรายหยาบร้อยละ 20 (1.33 Pt) มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าอิฐคอนกรีตทั่วไป (1.56 Pt) และสามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ร้อยละ 17.3 (ต่อการใช้งาน 1 ตารางเมตร) และจากการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ พบว่าจุดคุ้มทุนของการนำเศษแก้วมาใช้ในการผลิตอิฐคอนกรีตเท่ากับ 233,333 ก้อน และระยะเวลาในการคืนทุนเท่ากับ 17 เดือน ดังนั้น เศษแก้วสามารถใช้แทนที่มวลรวมบางส่วนในการผลิตอิฐคอนกรีต และสามารถใช้เป็นวัสดุทางเลือกสำหรับการจัดการเศษแก้วได้


การประยุกต์ใช้การรับรู้จากระยะไกลแบบไฮเปอร์สเปกตรัลเพื่อจำแนกพันธุ์ข้าวและโรคขอบใบแห้งในข้าว, ปฏิวิชช์ สาระพิน Jan 2018

การประยุกต์ใช้การรับรู้จากระยะไกลแบบไฮเปอร์สเปกตรัลเพื่อจำแนกพันธุ์ข้าวและโรคขอบใบแห้งในข้าว, ปฏิวิชช์ สาระพิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ คือ เพื่อเปรียบเทียบความถูกต้องของการจำแนกข้าวเจ้าพันธุ์กข41 กข31 และปทุมธานี 1 และแยกพื้นที่ปลูกข้าวที่เป็นโรคขอบใบแห้งในข้าวเจ้าพันธุ์กข41 ออกจากพื้นที่ปลูกข้าวที่ไม่เป็นโรค ด้วยข้อมูลการรับรู้จากระยะไกลแบบมัลติ สเปกตรัลและแบบไฮเปอร์สเปกตรัล ร่วมกับการสำรวจภาคสนามด้วยเครื่องวัดค่าการสะท้อนแสงแบบไฮเปอร์สเปกตรัล (Field Spectroradiometer) บริเวณพื้นที่นาชลประทานของเกษตรกร จังหวัดชัยนาท และแปลงทดลองโรคข้าว ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท โดยค่าการสะท้อนพลังงานที่ได้จะถูกนำมาหาช่วงคลื่นที่เหมาะสมด้วยวิธีเชิงพันธุกรรม (Genetic Algorithm) เพื่อลดปัญหาจำนวนมิติของข้อมูล (Dimension reduction) ร่วมกับวิธีการจำแนกข้อมูลแบบ Maximum Likelihood Classifier และ Spectral Angle Mapper ผลการศึกษา พบว่า ค่าความถูกต้องของการจำแนกข้าวเจ้าพันธุ์กข41 กข31 และปทุมธานี 1 ทั้ง 3 ช่วงการเจริญเติบโต จากเครื่อง Field Spectroradiometer ด้วยวิธี GA ร่วมกับวิธี SAM ให้ค่าความถูกต้องโดยรวม (OA) และค่าสัมประสิทธิ์ Kappa สูงกว่าวิธี GA ร่วมกับวิธี MLC ทั้งในระดับภาคสนามและระดับภาพถ่ายดาวเทียม (EO-1 Hyperion) หากเปรียบเทียบการใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมแบบไฮเปอร์สเปกตรัล (EO-1 Hyperion) ในการจำแนก จะให้ค่าความถูกต้องโดยรวมสูงกว่าข้อมูลแบบมัลติสเปกตรัล (EO-1 ALI) ส่วนผลการเปรียบเทียบค่าความถูกต้องของการแยกพื้นที่ปลูกข้าวที่เป็นและไม่เป็นโรคขอบใบแห้ง ด้วยวิธี GA ร่วมกับวิธี SAM พบว่า ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม EO-1 ระบบ Hyperion ให้ค่าความถูกต้องโดยรวมและค่าสัมประสิทธิ์ Kappa สูงกว่า EO-1 ระบบ ALI จากผลการศึกษาทั้งในส่วนของการจำแนกพันธุ์ข้าวและโรคขอบใบแห้งในข้าว เป็นที่ยืนยันได้ว่าการใช้ข้อมูลการรับรู้จากระยะไกลแบบไฮเปอร์สเปกตรัล ให้ค่าความถูกต้องสูงกว่าการจำแนกด้วยข้อมูลแบบมัลติสเปกตรัล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อย่างไรก็ตามผู้วิจัยหวังว่าวิธีการที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้จะสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการจำแนกพันธุ์ข้าวและโรคชนิดอื่นๆ ต่อไป


การตรวจจับหัวข้ออัตโนมัติบนข้อมูลทวิตเตอร์โดยการใช้คุณลักษณะจากตัวชี้วัดของหุ้น, เอกภพ วีระสกุลวงศ์ Jan 2018

การตรวจจับหัวข้ออัตโนมัติบนข้อมูลทวิตเตอร์โดยการใช้คุณลักษณะจากตัวชี้วัดของหุ้น, เอกภพ วีระสกุลวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สื่อสังคมออนไลน์เป็นหนึ่งในการสื่อสารที่สำคัญและรวดเร็วที่สุดในปัจจุบัน การ สังเกตการณ์ข้อมูลทวิตเตอร์ทำให้สามารถตรวจจับเหตุการณ์ที่กำลังเป็นที่สนใจแบบใกล้ทันกาล หรือหัวข้อเกิดใหม่ได้ โดยหัวข้อเกิดใหม่แต่ละหัวข้อจะประกอบด้วยกลุ่มของคำที่เกี่ยวข้องหรือ กลุ่มของคำเกิดใหม่ งานวิจัยหลายงานนำเสนอวิธีการตรวจจับกลุ่มคำเหล่านี้โดยใช้คุณลักษณะที่ สร้างจากสถิติของคำที่อยู่ในข้อความทวิตเตอร์ ซึ่งบางคุณลักษณะมีความคล้ายคลึงกับตัวชี้วัดของ หุ้น แต่อย่างไรก็ตามวิธีเหล่านี้ใช้เพียงคุณลักษณะเดียว ซึ่งเป็นการยากที่จะตรวจจับคำเกิดใหม่ได้ หลากหลายรูปแบบ แม้จะมีบางงานวิจัยพยายามใช้หลายคุณลักษณะด้วยตัวจำแนกประเภท แต่ ด้วยข้อจำกัดของการสร้างตัวแปรผลเฉลยของข้อมูลที่ใช้ในการสอนตัวจำแนกประเภท ทำให้ยาก ต่อการนำไปใช้ นอกจากนี้ในงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการตรวจจับหัวข้อเกิดใหม่ ไม่มีชุดผลเฉลยที่ ชัดเจน และไม่มีการวัดประสิทธิภาพที่เป็นมาตรฐาน ในงานวิจัยนี้จึงเสนอการตรวจจับหัวข้อเกิด ใหม่ด้วยคุณลักษณะจากตัวชี้วัดของหุ้นที่นิยมใช้ในปัจจุบันและมีการปรับปรุงคุณลักษณะดังกล่าว ให้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งตัวจำแนกที่ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งได้แก่ป่าไม้แบบสุ่ม ถูกนำมาใช้ในการ ตรวจจับคำเกิดใหม่โดยไม่มีข้อจำกัดในการสร้างตัวแปรผลเฉลยของข้อมูล สุดท้ายเพื่อให้สามารถ วัดประสิทธิภาพในการตรวจจับคำและหัวข้อเกิดใหม่ จึงทำการสร้างชุดผลเฉลยรายวันและใช้ชุด ผลเฉลยดังกล่าวในการวัดประสิทธิภาพด้วยมาตรวัดประสิทธิภาพของหัวข้อแบบแมโครที่สามารถ วัดประสิทธิภาพในแง่มุมของคำและหัวข้อเกิดใหม่พร้อมกัน จากการทดลองพบว่าประสิทธิภาพ ของวิธีที่นำเสนอในงานวิจัยนี้ สามารถตรวจจับคำและหัวข้อเกิดใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพดีกว่า วิธีการในปัจจุบัน ได้แก่ SigniTrend และ TopicSketch นอกจากนี้ยังพบว่าวิธีที่นำเสนอใน งานวิจัยนี้สามารถตรวจจับคำและหัวข้อเกิดใหม่ได้ก่อนงานวิจัยอื่น


แบบจำลองทำนายผลคำตัดสินและประเด็นในคดีอาญาที่เรียนรู้จากคำพิพากษาศาลฎีกาไทย โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้เชิงลึก, กานกวิญจน์ โค้วสีหวัฒน์ Jan 2018

แบบจำลองทำนายผลคำตัดสินและประเด็นในคดีอาญาที่เรียนรู้จากคำพิพากษาศาลฎีกาไทย โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้เชิงลึก, กานกวิญจน์ โค้วสีหวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การทำนายผลคำตัดสินในคดีอาญาด้วยแบบจำลองการเรียนรู้ของเครื่องได้รับความสนใจมากขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี เทคนิคที่ใช้ในแบบจำลองดังกล่าวมักใช้ตัวแทนข้อความที่มีที่มาจากแบบจำลองถุงคำ ซึ่งไม่สนใจลำดับของข้อความทำให้สูญเสียบริบทของข้อความ และผลลัพธ์การทำนายมีความแม่นยำลดลง ดังนั้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงเสนอแบบจำลองทำนายผลคำตัดสินและประเด็นในคดีอาญาซึ่งเรียนรู้จากคำพิพากษาศาลฎีกาไทยโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้เชิงลึกผ่านชุดโครงข่ายประสาทเทียม แบบจำลองนี้สร้างตัวแทนข้อความด้วยโครงข่ายประตูวกกลับสองทิศทางร่วมด้วยกลไกจุดสนใจ ก่อนนำตัวแทนข้อความนั้นไปทำนายผลคำตัดสินและประเด็นในคดีอาญาด้วยโครงข่ายประสาทเทียมแบบโมดูลซึ่งจำลองโครงสร้างความรับผิดทางอาญาตามทฤษฎีกฎหมายอาญา ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าแบบจำลองให้ประสิทธิภาพสูงกว่าแบบจำลองที่ใช้เทคนิคการเรียนรู้ของเครื่องเดิมอย่างเนอีฟเบยส์และเอสวีเอ็ม เมื่อพิจารณาจากค่า F1 นอกจากนี้ แบบจำลองยังให้ประสิทธิภาพสูงในการทำนายประเด็นในคดีอาญาบางประเด็นซึ่งมีผลต่อการทำนายผลคำตัดสินในคดีอาญาด้วย นอกจากนั้น ผลการทดลองสะท้อนให้เห็นว่า การใช้โครงข่ายประตูวกกลับสองทิศทางร่วมด้วยกลไกจุดสนใจสามารถสร้างตัวแทนข้อความที่ดีกว่าแบบจำลองดั้งเดิมที่มีลักษณะเดียวกันกับถุงคำ ตลอดจนโครงข่ายประสาทเทียมแบบโมดูลสามารถจำลองโครงสร้างความรับผิดทางอาญาได้


แนวทางใหม่ในการสร้างระบบจำนวนเศษเหลือซ้ำซ้อน โดยการใช้ค่าเศษเหลือที่มีความซ้ำซ้อน, กิตติภพ พละการ Jan 2018

แนวทางใหม่ในการสร้างระบบจำนวนเศษเหลือซ้ำซ้อน โดยการใช้ค่าเศษเหลือที่มีความซ้ำซ้อน, กิตติภพ พละการ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ระบบจำนวนเศษเหลือ เป็นระบบการแทนจำนวนเต็มที่สามารถแทนจำนวนเต็มขนาดใหญ่ด้วยจำนวนเต็มที่มีค่าน้อยกว่าหลาย ๆ จำนวน การคำนวณผลบวกและผลคูณในระบบดังกล่าวสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ระบบจำนวนเศษเหลือถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในงานต่าง ๆ เช่น การประมวลผลสัญญาณ งานด้านการสื่อสารและเครือข่าย และการเข้ารหัสลับ เป็นต้น ระบบจำนวนเศษเหลือได้ถูกพัฒนาเป็นระบบจำนวนเศษเหลือซ้ำซ้อน ซึ่งสามารถตรวจจับและแก้ไขความผิดพลาดได้ ทำให้เหมาะกับงานที่ต้องการความสามารถในการทนต่อความผิดพร่อง ปัจจุบันมีแนวทางหลัก 2 แนวทางในการแปลงจากระบบจำนวนเศษเหลือให้เป็นระบบจำนวนเศษเหลือซ้ำซ้อน วิทยานิพนธ์นี้จะเสนอแนวทางใหม่ในการสร้างระบบจำนวนเศษเหลือซ้ำซ้อน โดยการใช้ค่าเศษเหลือที่มีความซ้ำซ้อน วิธีการที่นำเสนอนี้ทำให้การประมวลผลบางอย่างสามารถทำได้รวดเร็วขึ้น เช่น การแปลงจำนวนในรูปเศษเหลือกลับเป็นจำนวนเต็ม และการตรวจจับความผิดพลาด เป็นต้น นอกจากนี้ยังทำให้ระบบสามารถเปรียบเทียบค่าจำนวนเต็มในรูปของเศษเหลือได้รวดเร็วมากขึ้นด้วย อย่างไรก็ตามวิธีการที่นำเสนอทำให้ใช้เวลาในการคำนวณผลบวกและผลคูณมากขึ้น วิทยานิพนธ์นี้ได้ทำการเปรียบเทียบข้อดีและข้อจำกัดของวิธีการแปลงจากระบบจำนวนเศษเหลือให้เป็นระบบจำนวนเศษเหลือซ้ำซ้อนแบบต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถนำไปพัฒนาระบบจำนวนเศษเหลือซ้ำซ้อนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


การคำนวณระนาบการหยิบจับแบบสามนิ้วในสามมิติ, กีรติ พูนวัฒนชัย Jan 2018

การคำนวณระนาบการหยิบจับแบบสามนิ้วในสามมิติ, กีรติ พูนวัฒนชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความสามารถในการหยิบจับสิ่งของเป็นความฝันอันยาวนานของหุ่นยนต์ ถึงแม้ว่าจะมีความพยายามในการวิจัยอย่างจริงจังในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา หุ่นยนต์ที่ทันสมัยที่สุดก็ยังคงหยิบจับสิ่งของไม่ได้ ความท้าทายหลักคือการจัดการกับข้อผิดพลาดและความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้น การวางแผนการหยิบจับวัตถุของหุ่นยนต์ในวิธีการแบบดั้งเดิมเช่น ICR และ caging สามารถจัดการกับปัญหาความไม่แน่นอนในระดับหนึ่งแต่ยังให้ผลลัพธ์ไม่ดีเท่าที่ควร วิทยานิพนธ์นี้จึงพยายามมองการหยิบจับวัตถุในมุมมองที่กว้างมากขึ้นโดยมุ่งเป้าไปที่การหาระนาบของการหยิบจับที่ดี (แทนที่การระบุจุดจับ) เพื่อวางนิ้วหุ่นยนต์ทั้งสาม วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอวิธีการเพื่อหาระนาบการหยิบจับสำหรับมือหุ่นยนต์แบบสามนิ้ว โดยข้อมูลนำเข้าคือโมเดลสามมิติของวัตถุ และในการวัดผลได้มีการทดลองบนหุ่นยนต์จริงเพื่อแสดงถึงประสิทธิภาพของวิธีการ


การจําแนกรอยโรควัณโรคปอดด้วยโครงข่ายแคปซูล, ตะวันส่องแสง การย์กวินพงศ์ Jan 2018

การจําแนกรอยโรควัณโรคปอดด้วยโครงข่ายแคปซูล, ตะวันส่องแสง การย์กวินพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การประยุกต์ใช้เทคนิคการเรียนรู้เชิงลึกสำหรับการจำแนกภาพทางการแพทย์ได้มีการขยายตัวเติบโตเป็นอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โครงข่ายประสาทคอนโวลูชันหรือซีเอ็นเอ็นเป็นหนึ่งในหลายแบบจำลองสมรรถนะสูงที่รู้จักกันดีสำหรับการจำแนกและการแบ่งส่วนภาพ งานวิจัยนี้เสนอแนวคิดการใช้คอมพิวเตอร์ที่สามารถช่วยวินิจฉัยในเบื้องต้นการติดเชื้อวัณโรค ผู้วิจัยได้ปรับแต่งสถาปัตยกรรมซีเอ็นเอ็นสามโครงสร้างประกอบด้วย อเล็กซ์เน็ต วีจีจี-16 และ แคปส์เน็ต เพื่อจำแนกรอยโรควัณโรคบนภาพเอกซเรย์ทรวงอกหรือซีเอกซ์อาร์ที่ได้มาจากไลบรารีทางการแพทย์แห่งชาติและชุดข้อมูลไทยส่วนตัว ตัววัดที่ใช้ประเมินสมรรถนะตัวจำแนกประเภททั้งสาม ได้แก่ ความแม่นยำ ความไว และความจำเพาะ การทดสอบแบบจำลองทั้งสามบนชุดข้อมูลที่เพิ่มจำนวนด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบสับเปลี่ยนให้ผลลัพธ์ค่าความแม่นยำที่เพิ่มขึ้นทุกแบบจำลอง นอกจากนี้ ยังได้มีการประเมินสมรรถนะแบบจำลองบนชุดข้อมูลที่เพิ่มจำนวนตัวอย่างด้วยการหมุนภาพ เนื่องจากในความเป็นจริงภาพซีเอกซ์อาร์อาจไม่ได้ตั้งตรงในแนวดิ่ง ผลการประเมินพบว่า แคปส์เน็ตให้ค่าตัววัดที่ดีกว่าแบบจำลองอเล็กซ์เน็ต และวีจีจี-16 เมื่อทำนายภาพแอฟฟีน


การประยุกต์ใช้เทคนิคการเรียนรู้เชิงลึกในการฝังคำเพื่อสร้างแบบจำลองสำหรับทำนายผลการวินิจฉัยโรคจากบันทึกทางการแพทย์ของแผนกออร์โธปิดิกส์, ธนากร รัตนจริยา Jan 2018

การประยุกต์ใช้เทคนิคการเรียนรู้เชิงลึกในการฝังคำเพื่อสร้างแบบจำลองสำหรับทำนายผลการวินิจฉัยโรคจากบันทึกทางการแพทย์ของแผนกออร์โธปิดิกส์, ธนากร รัตนจริยา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้จะนำเสนอวิธีการฝังคำในการเรียนรู้เชิงลึกเพื่อสร้างแบบจำลองสำหรับทำนายผลการวินิจฉัยโรค ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผลการวินิจฉัยโรคของแพทย์ผิดพลาดคือประสบการณ์ของแพทย์ที่ไม่เพียงพอ โดยการวินิจฉัยโรคที่ผิดพลาดนั้น นอกจากจะนำไปสู่การรักษาที่ผิดพลาดแล้ว ยังทำให้ผู้ป่วยเสียทั้งเงินและเวลา ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาการวินิจฉัยที่ผิดพลาด งานวิจัยนี้จึงนำเสนอวิธีการประยุกต์ใช้การเรียนรู้เชิงลึกกับการฝังคำ เพื่อทำนายผลการวินิจฉัยโรคจากระบบเวชระเบียน โดยจะสร้างแบบจำลองจากการใช้ข้อมูลในบันทึกของแพทย์ ซึ่งข้อมูลจะถูกนำไปวิเคราะห์ผ่านแบบจำลอง เพื่อทำนายผลการวินิจฉัยโรคที่มีความน่าจะเป็นออกมา เรียงตามลำดับความเชื่อมั่น และสุดท้ายจะใช้อัตราผลบวกจริง อัตราผลบวกเท็จ และค่าความแม่นยำมาเป็นตัววัดประสิทธิภาพของแบบจำลองที่ได้ ซึ่งพบว่าค่าความแม่นยำของแบบจำลองในงานวิจัยนี้มีค่าเท่ากับ 99.95% และอัตราผลบวกจริงมีค่าเท่ากับ 86.64% ด้วยการทำนายผลลัพธ์อันดับแรกเพียงอันดับเดียว


การสร้างแบบจำลองเครือข่ายทางรถไฟด้วยไทมด์คัลเลอร์เพทริเน็ต, นิติพัฒน์ ทรงวิโรจน์ Jan 2018

การสร้างแบบจำลองเครือข่ายทางรถไฟด้วยไทมด์คัลเลอร์เพทริเน็ต, นิติพัฒน์ ทรงวิโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การทวนสอบเชิงรูปนัยสามารถนำไปใช้เป็นทางเลือกในการทวนสอบแบบจำลองต้นแบบที่ออกแบบให้ทราบถึงข้อผิดพลาดหรือคุณลักษณะด้านความปลอดภัย แต่อย่างไรก็ตาม การออกแบบแบบจำลองเครือข่ายทางรถไฟขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อนค่อนข้างมากอาจเกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้ง่าย วิทยานิพนธ์นี้จึงได้นำเสนอทางเลือกในการสร้างแบบจำลองเครือข่ายทางรถไฟโดยใช้มอดูลที่ถูกสร้างขึ้นจากแบบจำลองไทมด์คัลเลอร์เพทริเน็ตซึ่งเป็นแบบจำลองเชิงรูปนัยแทนการสร้างแบบจำลองไทมด์คัลเลอร์เพทริเน็ตแบบทั่วไป โดยวิทยานิพนธ์ได้นำเสนอมอดูลมาตรฐานที่แทนส่วนประกอบในเครือข่ายทางรถไฟ คือ สถานีรถไฟ และ รางรถไฟ รองรับประเภทรถไฟโดยสาร 3 ประเภทและการควบคุมการเดินรถไฟโดยใช้ตารางเวลารถไฟที่สามารถกำหนดได้ พร้อมทั้งนำเสนอกฎและเงื่อนไขในการต่อประสานมอดูลเหล่านั้นเพื่อประกอบกันเป็นเครือข่ายทางรถไฟขนาดใหญ่ได้ โดยมีเครื่องมือที่ถูกพัฒนาในวิทยานิพนธ์ช่วยเหลือผู้ใช้ในการสร้างและแปลงเครือข่ายทางรถไฟที่ถูกออกแบบไปเป็นไทมด์คัลเลอร์เพทริเน็ต ผลลัพธ์การจำลองแสดงผลผ่านโปรแกรมเครื่องมือ ซีพีเอ็น เพื่อตรวจหาความถูกต้อง และความปลอดภัยของแบบจำลองเครือข่ายทางรถไฟและตารางรถไฟที่นำเข้ามาตรวจสอบ โดยยกตัวอย่างกรณีศึกษาสำหรับเครือข่ายทางรถไฟจำนวน 8 สถานี พร้อมทำการจำลองเหตุการณ์ความล่าช้าที่เกิดขึ้นที่เครือข่ายทางรถไฟ เพื่อตรวจสอบผลกระทบที่เกิดขึ้น


การทำนายแนวโน้มของตลาดหุ้นด้วยแบบจำลองการเรียนรู้เชิงลึกที่เพิ่มประสิทธิภาพร่วมกับข้อมูลเชิงตัวเลขและข้อมูลเชิงตัวอักษร, พิศุทธ อ่อนเจริญ Jan 2018

การทำนายแนวโน้มของตลาดหุ้นด้วยแบบจำลองการเรียนรู้เชิงลึกที่เพิ่มประสิทธิภาพร่วมกับข้อมูลเชิงตัวเลขและข้อมูลเชิงตัวอักษร, พิศุทธ อ่อนเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การทำนายแนวโน้มของตลาดหุ้นเป็นสิ่งที่ยากเนื่องจากตลาดหุ้นมีความผันผวนสูงและได้รับอิทธิพลจากปัจจัยภายนอกอื่น ๆ ในปัจจุบันเริ่มมีการนำเทคนิคการเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) มาใช้ในการทำนายแนวโน้มของตลาดหุ้น โดยที่ข้อมูลรับเข้าของแบบจำลองสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ 1) ข้อมูลเชิงตัวเลข เช่น ราคาในอดีตและตัวชี้วัดทางเทคนิค และ 2) ข้อมูลเชิงตัวอักษร ซึ่งได้แก่หัวข้อข่าวและเนื้อข่าว เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามงานวิจัยส่วนใหญ่มักจะมุ่งเน้นไปที่สร้างแบบจำลองโดยใช้ข้อมูลประเภทใดประเภทหนึ่งเท่านั้น ในขณะที่นักลงทุนส่วนใหญ่ทำการวิเคราะห์พฤติกรรมของตลาดโดยพิจารณาจากข้อมูลหลากหลายประเภท งานวิจัยนี้ได้นำเสนอแบบจำลองการเรียนรู้เชิงลึกที่สามารถพิจารณาข้อมูลทั้งสองประเภทเพื่อทำนายแนวโน้มของตลาดหุ้น ซึ่งแบบจำลองนี้ประกอบไปด้วยนิวรอลเน็ตเวิร์กแบบคอนโวลูชัน (Convolutional Neural Network) และหน่วยความจำระยะสั้นแบบยาว (Long-Short Term Memory) โดยใช้ข้อมูลรับเข้าเป็นเหตุการณ์ฝังตัวซึ่งสกัดได้จากหัวข้อข่าว ราคาในอดีตและตัวชี้วัดทางเทคนิคซึ่งสร้างจากข้อมูลของราคาในอดีต รวมทั้งได้ทำการนำเสนอฟังก์ชันวัตถุประสงค์ชนิดใหม่ที่สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในด้านผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีที่ได้จากการจำลองการซื้อขาย โดยการนำเอาค่าชาร์ปเรโชซึ่งเป็นตัวชี้วัดผลตอบแทนเมื่อเทียบกับความเสี่ยงมาใช้ร่วมกับค่าครอสเอนโทรปี


การทำนายผลการรีวิวโค้ดในโครงการโอเพนซอร์สบนกิตฮับ, ปานทิพย์ พู่พุฒ Jan 2018

การทำนายผลการรีวิวโค้ดในโครงการโอเพนซอร์สบนกิตฮับ, ปานทิพย์ พู่พุฒ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กระบวนการรีวิวโค้ดบนกิตฮับ เป็นกระบวนการที่สำคัญกระบวนการหนึ่งในการทำงานบนกิตฮับ โดยนักพัฒนาซอฟต์แวร์จะทำการร้องขอการนำเข้าซอร์สโค้ดหลังจากทำการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงซอร์สโค้ดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้ดูแลระบบจะเป็นผู้รีวิวซอร์สโค้ด โดยพิจารณาถึงคุณภาพ และรายละเอียดทั้งหมดของรายการร้องขอการนำเข้าซอร์สโค้ดนั้น ๆ จากการวิเคราะห์ผลการรีวิว พบว่ามีรายการร้องขอการนำเข้าซอร์สโค้ดจำนวนมาก ที่ไม่ผ่านการรีวิว เนื่องด้วยปัจจัยหลายประการ เช่น ความซับซ้อนของซอร์สโค้ด คุณภาพของซอร์สโค้ด รวมไปถึงจำนวนการเปลี่ยนแปลงไฟล์ เป็นต้น กระบวนการแก้ไขรายการร้องขอการนำเข้าซอร์สโค้ดที่ไม่ผ่านการรีวิวต้องใช้ความพยายาม และเวลาอย่างมากในการแก้ไข ซึ่งอาจส่งผลกระทบกับค่าใช้จ่ายของโครงการ หรือกำหนดการของโครงการได้ งานวิทยานิพนธ์นี้จึงออกแบบ แบบจำลองการทำนายผลการรีวิวโค้ดบนกิตฮับ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลบนกิตฮับ กำหนดตัวแปรที่คาดว่าจะมีผลกระทบกับการรีวิวโค้ด รวมถึงการหาความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นบ่อยจากกฎความสัมพันธ์ จากนั้นทำการสร้างแบบจำลองการทำนายการรีวิวโค้ดบนกิตฮับด้วยวิธีการทางสถิติโลจิสติก และหลักการเรียนรู้ด้วยเครื่อง การวิเคราะห์โครงข่ายประสาทเทียมเพอร์เซปตรอนหลายชั้น ผลการทดลองแสดงสิบรายการร้องขอการนำเข้าซอร์สโค้ดที่พบบ่อยที่สุดในชุดข้อมูล และแบบจำลองการทำนายผลการรีวิวโค้ด โดยแบบจำลองที่ใช้ในการทำนายผลการรีวิวโค้ดที่ใช้การวิเคราะห์โลจิสติกในการวิเคราะห์ข้อมูลมีเปอร์เซ็นต์ความแม่นยำ 89.2307% และแบบจำลองที่ใช้การวิเคราะห์โครงข่ายประสาทเทียมเพอร์เซปตรอนหลายชั้น มีเปอร์เซ็นต์ความแม่นยำ 90.7692%


การปรับปรุงการแยกฉากหลังบนพื้นหลังสีเขียวไม่สม่ำเสมอแบบทันที, วรายุ จริยาวัฒนรัตน์ Jan 2018

การปรับปรุงการแยกฉากหลังบนพื้นหลังสีเขียวไม่สม่ำเสมอแบบทันที, วรายุ จริยาวัฒนรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์หลักของงานวิจัยนี้คือปรับปรุงการแยกฉากหลังบนพื้นหลังสีเขียวที่ไม่สม่ำเสมอแบบทันที ในวิธีการพื้นฐาน แต่ละพิกเซลจะถูกคำนวณว่าเป็นฉากหลังโดยใช้ค่าขีดจำกัดเดียวกันทั้งภาพเพียง 2 ค่า แต่ในความเป็นจริง วิธีการนี้มีปัญหาในหลาย ๆ กรณี เช่น พื้นหลังไม่ได้เป็นสีเดียวกันทั้งหมด หรือมีเงาของนักแสดงทอดลงไปที่พื้นหลัง เป็นต้น ดังนั้นการใช้ค่าขีดจำกัดเดียวกันหมดทั้งภาพจึงไม่เหมาะสมสำหรับกรณีดังกล่าว งานวิจัยนี้จึงใช้การประมาณความหนาแน่นเคอร์เนลมาช่วยในการหาค่าขีดจำกัดของแต่ละพิกเซลในภาพ เพื่อให้ทุก ๆ พิกเซลในภาพมีขีดจำกัดที่เหมาะสม และยังมีความเร็วในการประมวลผลที่สามารถออกอากาศสดได้ที่ 60 เฟรมต่อวินาที สำหรับความละเอียดระดับ Full HD


การจำแนกโครงสร้างจุลภาคไทเทเนียมด้วยโครงข่ายประสาทคอนโวลูชันเต็มรูป, สิโรดม มงคลธนาภรณ์ Jan 2018

การจำแนกโครงสร้างจุลภาคไทเทเนียมด้วยโครงข่ายประสาทคอนโวลูชันเต็มรูป, สิโรดม มงคลธนาภรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ได้มีการใช้การเรียนรู้เชิงลึกอย่างแพร่หลายเพื่อจำแนกภาพที่ให้ความแม่นยำสูง การแบ่งส่วนความหมายเป็นประเภทหนึ่งของการเรียนรู้เชิงลึกที่มุ่งเน้นการจำแนกคลาสในแต่ละพิกเซลของภาพ ทางด้านโลหะศาสตร์ ไทเทเนียมและอัลลอยมีคุณสมบัติที่โดดเด่นสำหรับการใช้งานทางชีวการแพทย์ โดยเฉพาะในการผ่าตัดฝังวัสดุทดแทน การตรวจสอบวัสดุโดยทั่วไปมักกระทำโดยผู้เชี่ยวชาญในการจำแนกโครงสร้างจุลภาคไทเทเนียม งานวิจัยนี้เสนอการประยุกต์ใช้เทคนิคการเรียนรู้เชิงลึกเพื่อเป็นแนวทางการจำแนกระดับพิกเซลโครงสร้างจุลภาคไทเทเนียมที่อาจช่วยลดทรัพยากรและความไม่แน่นอนระหว่างการควบคุมคุณภาพ วิธีการที่ใช้คือเทคนิคการแบ่งส่วนความหมายที่เรียกว่า โครงข่ายประสาทคอนโวลูชันเต็มรูปที่ถูกพัฒนาด้วยสถาปัตยกรรมยู-เน็ต งานวิจัยนี้ได้สำรวจการบูรณาการเทคนิคการปรับจูนเข้ากับสถาปัตยกรรมยู-เน็ตเพื่อปรับปรุงสมรรถนะแบบจำลอง โมเดลที่สร้างขึ้นถูกปรับจูนด้วยค่าน้ำหนักที่เรียนรู้มาแล้วก่อนหน้าจากตัวจำแนกวีจีจี-16 นอกจากนี้ ชุดข้อมูลภาพโครงสร้างจุลภาคไทเทเนียมได้ถูกเพิ่มจำนวนตัวอย่างด้วยวิธีความผิดปกติยืดหยุ่น สำหรับการประเมินสมรรถนะแบบจำลองจะใช้ตัววัด 4 ตัว ประกอบด้วย ความแม่นยำพิกเซล ความแม่นยำเฉลี่ย ไอโอยูเฉลี่ย และ ไอโอยูถ่วงน้ำหนักความถี่ ผลลัพธ์การประเมินพบว่าค่าความแม่นยำเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในขณะที่เวลาเรียนรู้เร็วกว่ามากเทียบกับการเรียนรู้ปกติที่ไม่มีการปรับจูนค่าน้ำหนักเริ่มต้น


ระบบนำทางหุ่นยนต์ด้วยหลายตัวนำทางย่อยและหลายแผนที่ย่อย, สุขุม สัตตรัตนามัย Jan 2018

ระบบนำทางหุ่นยนต์ด้วยหลายตัวนำทางย่อยและหลายแผนที่ย่อย, สุขุม สัตตรัตนามัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การใช้งานหุ่นยนต์อัตโนมัติในเขตเมืองที่มีความหลากหลายของลักษณะพื้นที่สูงเป็นงานท้าทายที่ต้องการโปรแกรมนำทางและรูปแบบแผนที่ที่แตกต่างกันในแต่ละบริเวณ การปฏิบัติงานของหุ่นยนต์ในโลกจริงต้องเจอกับสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง เช่น ฝนตกหรือความคับคั่งของบริเวณที่ต้องนำทาง ส่งผลให้ต้องปรับแผนเส้นทาง ในงานวิจัยนี้นำเสนอระบบนำทางหุ่นยนต์ในโลกจริงซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ของการสลับการทำงานระหว่างโปรแกรมนำทางหลายตัวอย่างเหมาะสม เพื่อให้สามารถจัดการกับพฤติกรรมของหุ่นยนต์และสภาพแวดล้อมที่ท้าทายได้ ระบบที่นำเสนอในงานวิจัยนี้เป็นผลลัพธ์ของการติดตั้งหุ่นยนต์จริงในระบบซึ่งมีผู้ใช้งานและสภาพแวดล้อมจริง


กระบวนการจำแนกการเคลื่อนไหวมือด้วยสัญญาณคลื่นไฟฟ้าสมองสำหรับการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, อาภา สุวรรณรัตน์ Jan 2018

กระบวนการจำแนกการเคลื่อนไหวมือด้วยสัญญาณคลื่นไฟฟ้าสมองสำหรับการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, อาภา สุวรรณรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารระหว่างสมองและคอมพิวเตอร์ (Brain-Computer Interfaces - BCI) คือเทคโนโลยีที่เชื่อมต่อระหว่างสัญญาณคลื่นไฟฟ้าสมองกับอุปกรณ์ภายนอกต่างๆ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี BCI เพื่อการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟื้นฟูการการเคลื่อนไหวร่างกายส่วนรยางค์บน การฟื้นฟูด้วยเทคโนโลยี BCI มักทำโดยการฝึกจินตนาการการเคลื่อนไหว งานวิจัยนี้จึงพัฒนากระบวนการจำแนกการจินตนาการการเคลื่อนไหวด้วยสัญญาณคลื่นไฟฟ้าสมอง การจินตนาการการเคลื่อนไหวท่ากำและแบมือเป็นทั้งท่าพื้นฐานในการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและท่าพื้นฐานในงานวิจัยด้านนี้ ในขณะที่ท่ากระดกข้อมือขึ้นลงและท่าคว่ำและหงายมือเป็นท่าพื้นฐานในการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเช่นกัน จึงถูกเลือกมาใช้งานวิจัยนี้ งานวิจัยนี้มีผู้ร่วมทดลองสุขภาพดีทั้งหมด 11 คน การทดลองเริ่มจากท่ากำและแบมือ ท่ากระดกข้อมือขึ้นลง และท่าคว่ำและหงายมือตามลำดับ ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า ตัวจำแนก LDA และ SVM ให้ความแม่นยำในการจำแนกไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ การดึงคุณลักษณะ Filter Bank Common Spatial Pattern ให้ความแม่นยำในการจำแนกสูงกว่าการดึงคุณลักษณะ Whole Band Common Spatial Pattern อย่างมีนัยสำคัญ การจำแนกแบบขึ้นกับชุดทดลองให้ความแม่นยำในการจำแนกสูงกว่าการจำแนกแบบไม่ขึ้นกับชุดทดลองอย่างมีนัยสำคัญ ความแม่นยำในการจำแนกมีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อผู้ร่วมทดลองเข้าร่วมการทดลองมากขึ้น นอกจากนี้ ความแม่นยำในการจำแนกมีค่าสูงขึ้นเมื่อติดตั้งจำนวนช่องสัญญาณมากขึ้น เมื่อพิจารณาถึงความแม่นยำในการจำแนกร่วมกับเวลาและความสะดวกในการติดตั้งอุปกรณ์ ผลการทดลองจากงานวิจัยนี้สนับสนุนให้ติดตั้งช่องสัญญาณจำนวน 9 ตำแหน่ง นอกจากนี้ ผลการทดลองยังแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการจำแนกจินตนาการการเคลื่อนไหวแต่ละท่าซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณคลื่นไฟฟ้าสมองจากสมองซีกเดียวกัน


การผสานออนโทโลยีที่ต่างแบบกันโดยใช้การวิเคราะห์ฟอร์มัลคออนเซ็ปต์, จตุรดา ดียิ่ง Jan 2018

การผสานออนโทโลยีที่ต่างแบบกันโดยใช้การวิเคราะห์ฟอร์มัลคออนเซ็ปต์, จตุรดา ดียิ่ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความแพร่หลายของการนำเอาออนโทโลยีเข้ามาใช้ที่มีมากขึ้น ทำให้เกิดการซ้อนทับกันของ ออนโทโลยีมากขึ้นตามมา วิศวกรความรู้จึงได้เกิดแนวคิดที่จะนำเอาออนโทโลยีที่คล้ายคลึงกันเข้ามามีส่วนร่วมด้วยกัน ด้วยเหตุนี้แนวคิดการผสานออนโทโลยีจึงได้ถูกนำเสนอขึ้นมา อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอัลกอริทึมของการผสานออนโทโลยีในโดเมนที่แตกต่างกันเข้าด้วยกันยังมีให้เห็นไม่มากนัก ส่วนมากจะเป็นการนำเสนออัลกอริทึมของการผสานออนโทโลยีที่อยู่ภายใต้ขอบเขตโดเมนเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน ในงานวิจัยฉบับนี้ ผู้วิจัยมีเป้าหมายที่จะทำการผสานออนโทโลยีในโดเมนที่ต่างแบบกันแต่มีส่วนเกี่ยวข้องกันของข้อมูลโดยใช้หลักการการวิเคราะห์ฟอร์มัลคอนเซ็ปต์ โดยผู้วิจัยได้สร้างกรณีศึกษาด้วยการนำเอาข้อมูลยา และออนโทโลยีโรคมาผสานเข้าด้วยกัน และนำเสนอออกมาเป็นความเกี่ยวโยงกันของข้อมูลยาและโรคในรูปแบบของฟอมัลแลททิส จากนั้นกรณีศึกษาจะถูกประเมินความถูกต้องของผลลัพธ์ด้วยการเปรียบเทียบกับอ้างอิงข้อมูลการแนะนำทางการแพทย์ ผลของการทดสอบของกรณีศึกษาแสดงให้เห็นว่าวิธีการผสานออนโทโลยีโดยใช้การวิเคราะห์ฟอร์มัลคอนเซ็ปต์ที่ ผู้วิจัยนำเสนอนั้นนำมาซึ่งของมูลที่ถูกต้องตามการแนะนำทางการแพทย์ที่เปรียบเทียบ ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่าสามารถเป็นประโยชน์ในการสนับสนุนการทำงานวิศวกรความรู้ ในการผสานออนโทโลยีโดยใช้คุณลักษณะร่วมระหว่างออนโทโลยีในขอบเขตโดเมนต่างกัน


การรีแฟ็คเตอร์เว็บเซอร์วิสแบบประสานให้เป็นไมโครเซอร์วิส โดยการใช้แบบรูปการแยกออกเป็นส่วน, เมธาวี ทัศจันทร์ Jan 2018

การรีแฟ็คเตอร์เว็บเซอร์วิสแบบประสานให้เป็นไมโครเซอร์วิส โดยการใช้แบบรูปการแยกออกเป็นส่วน, เมธาวี ทัศจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สถาปัตยกรรมเชิงบริการ หรือ Service-oriented architecture (SOA) คือ การออกแบบเว็บเซอร์วิสให้มีการทำงานประสานกัน โดยโครงสร้างการออกแบบสถาปัตยกรรมนี้จะประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักได้แก่ ผู้รับบริการ (Service Client), ผู้ให้บริการ (Service Provider) และตัวกลาง (Service Broker) ซึ่งด้วยลักษณะการออกแบบที่อาศัยตัวกลางจึงเป็นสาเหตุให้การออกแบบด้วยสถาปัตยกรรมเชิงบริการไม่มีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง ปัจจุบันอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ได้มุ่งเน้นการพัฒนาซอฟต์แวร์สู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง และมุ่งเน้นให้ซอฟต์แวร์มีความยืดหยุ่นรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านธุรกิจ ซึ่งการออกแบบเว็บเซอร์วิสด้วยสถาปัตยกรรมเชิงบริการจึงไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการในส่วนนี้ได้ ในปัจจุบันจึงได้มีทางเลือกการออกแบบเว็บเซอร์วิสแบบใหม่ คือสถาปัตยกรรมไมโครเซอร์วิส โดยไมโครเซอร์วิสเป็นสถาปัตยกรรมการออกแบบที่มุ่งเน้นเรื่องความยืดหยุ่นในการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้ซอฟต์แวร์ที่ออกแบบด้วยสถาปัตยกรรมนี้สามารถปรับเปลี่ยน หรือแก้ไขเว็บเซอร์วิสได้โดยไม่ส่งผลกระทบกับระบบในวงกว้าง เนื่องจากไมโครเซอร์วิสเน้นการออกแบบเว็บเซอร์วิสให้มีขนาดเล็กลง แต่ละเซอร์วิสทำงานร่วมกันแบบกระจาย จึงส่งผลให้แต่ละไมโครเซอร์วิสค่อนข้างมีความอิสระต่อกันอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันการออกแบบไมโครเซอร์วิสยังคงเป็นเรื่องที่ท้าทายและไม่สามารถทำได้โดยง่าย ด้วยเหตุดังกล่าว งานวิจัยนี้จึงได้นำเสนอระเบียบวิธีในการสร้างเครื่องมือสำหรับรีแฟ็คเตอร์เว็บเซอร์วิสแบบเดิมที่ถูกเขียนด้วยภาษาดำเนินการทางธุรกิจ (BPEL) ให้เป็นไมโครเซอร์วิส ตามแบบรูปการแยกออกเป็นส่วน (Decomposition pattern) ของไมโครเซอร์วิส โดยกระบวนการรีแฟ็คเตอร์จะทำการพิจารณาร่วมกับรายการความสามารถทางธุรกิจ (Business Capabilities) ที่สกัดได้จากข้อมูลคำศัพท์และประโยคสถานการณ์ (Scenario)


การสกัดตัวยืนยงชนิดข้อมูลจากโพรเมลา, วิสุทธิ์ สุขศรีบางเตย Jan 2018

การสกัดตัวยืนยงชนิดข้อมูลจากโพรเมลา, วิสุทธิ์ สุขศรีบางเตย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ตัวยืนยงชนิดข้อมูลเป็นข้อมูลคงที่ซึ่งจะมีค่าคงอยู่ตลอดการทำงานของโปรแกรม ซึ่งอยู่ในรูปของตัวแปรหรือเงื่อนไข ที่อยู่ในความต้องการที่ได้กำหนดไว้แสดงด้วยสูตรแอลทีแอล ซึ่งระบุความถูกต้องของการทำงานของโปรแกรมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โปรแกรมซอฟต์แวร์จำนวนมากในปัจจุบันมุ่งเน้นเรื่องการปรับปรุงคุณภาพซอฟต์แวร์ ซึ่งการทวนสอบโปรแกรมซอฟต์แวร์ก็เป็นสิ่งสำคัญสำหรับองค์กร เนื่องจากการทวนสอบนั้นเป็นหนึ่งในวิธีที่ใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องของอัลกอริทึมภายใต้การทำงานของซอฟต์แวร์ ในทางปฏิบัตินั้นการเขียนสูตรแอลทีแอลด้วยตนเองนั้นเป็นสิ่งที่ยาก และมีความซับซ้อนสำหรับโค้ดโปรแกรม โพรเมลาแตกต่างจากภาษาอื่นๆ เพราะโพรเมลาสนับสนุนโปรแกรมที่มีการทำงานหลายอย่างพร้อมกัน บางครั้งก็จะมีการทำงานที่สอดแทรกหรือคาบเกี่ยวกัน ซึ่งในการทำงานหลายอย่างพร้อมๆกัน ส่งผลให้กระทบกับตัวแปรหรือฟังก์ชันอื่นๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดข้อผิดพลาด ทำให้โปรแกรมทำงานได้ไม่ถูกต้อง และคนทั่วไปมักไม่ค่อยตระหนักถึงการทวนสอบความถูกต้องของค่าที่ใช้ในโปรแกรม งานวิจัยนี้จึงได้นำเสนอวิธีการแบ่งส่วนของข้อมูล เพื่อสร้างตัวยืนยงชนิดข้อมูลจากโพรเมลา โดยอยู่ในรูปของสูตรแอลทีแอลขึ้นมาช่วยในการตรวจสอบความถูกต้องในการทำงานของโปรแกรม


การเปรียบเทียบแผนภาพลำดับยูเอ็มแอลเพื่อตามรอยการเปลี่ยนเเปลงข้อกำหนดทางเทคนิค, สุพัตรา อินศรี Jan 2018

การเปรียบเทียบแผนภาพลำดับยูเอ็มแอลเพื่อตามรอยการเปลี่ยนเเปลงข้อกำหนดทางเทคนิค, สุพัตรา อินศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แผนภาพลำดับมักนิยมใช้เพื่อจำลองปฏิสัมพันธ์ระหว่างวัตถุของคลาสภายในระบบสารสนเทศ งานวิจัยนี้นำเสนอวิธีการเเละได้พัฒนาเครื่องมือสำหรับเปรียบเทียบแผนภาพลำดับยูเอ็มแอล เพื่ออำนวยความสะดวกการตามรอยการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดทางเทคนิค โดยบันทึกการเปลี่ยนแปลงจะถูกสร้างขึ้นเพื่อรายงานส่วนต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบทั้งหมด นอกจากนี้ ระบบยังสามารถสร้างกราฟการตามรอยที่สัมพันธ์กับแผนภาพลำดับเวอร์ชันใหม่เพื่อแสดงความขึ้นต่อกันที่เป็นปัจจุบันระหว่างส่วนประกอบต่าง ๆ แนวทางระบบอัตโนมัติที่นำเสนอจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงกระบวนการซอฟต์แวร์ในด้านการวิเคราะห์ผลกระทบของการเปลี่ยนเเปลง รวมทั้งการได้ผลลัพธ์ที่สร้างขึ้นอย่างรวดเร็วจากระบบที่พัฒนาขึ้น จากเดิมที่เป็นงานเอกสารน่าเบื่อหน่ายเเละลดแนวโน้มความผิดพลาดของการทำงาน


การเปรียบเทียบวิธีการหาจุดเปลี่ยนแปลงแบบออฟไลน์ในข้อมูลอนุกรมเวลาที่มีความผันแปรไม่ปกติที่มีการแจกแจงปกติ 2 ตัวแปร, ปภาวิน เจริญชัยปิยกุล Jan 2018

การเปรียบเทียบวิธีการหาจุดเปลี่ยนแปลงแบบออฟไลน์ในข้อมูลอนุกรมเวลาที่มีความผันแปรไม่ปกติที่มีการแจกแจงปกติ 2 ตัวแปร, ปภาวิน เจริญชัยปิยกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการตรวจหาจุดเปลี่ยนแปลงของวิธี E-Divisive, e-cp3o และ ks-cp3o สำหรับข้อมูลอนุกรมเวลาที่มีความผันแปรไม่ปกติที่มีการแจกแจงปกติ 2 ตัวแปรซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงในค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวน หรือค่าสหสัมพันธ์ โดยทำการจำลองและเปรียบเทียบประสิทธิภาพโดยใช้ค่า Adjusted Rand Index และเปรียบเทียบจำนวนและตำแหน่งของจุดเปลี่ยนแปลงทั้งสามวิธีในข้อมูลจริง โดยข้อมูลเป็นข้อมูลสัญญาณชีพและข้อมูลปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 และเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของแต่ละช่วงโดยใช้การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยและความแปรปรวนของสองประชากร จากการศึกษาพบว่า เมื่อข้อมูลมีขนาดเล็ก (n = 90) วิธี e-cp3o และ ks-cp3o มีประสิทธิภาพในการตรวจหาจุดเปลี่ยนแปลงมากที่สุด (ค่า Adjusted Rand Index มีค่าเป็น 1) และพบว่าวิธี E-Divisive มีประสิทธิภาพสูงเฉพาะกรณีที่ข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงในค่าเฉลี่ย (ค่า Adjusted Rand Index มีค่าเข้าใกล้ 1) เมื่อข้อมูลมีขนาดมากขึ้น (n = 150 และ 300) วิธี E-Divisive มีประสิทธิภาพสูงที่สุดเมื่อข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงค่าเฉลี่ย และวิธี e-cp3o มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในกรณีอื่น ๆ การศึกษากับข้อมูลจริงซึ่งเป็นข้อมูลสัญญาณชีพ และข้อมูลปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 ซึ่งทำการตรวจหาจุดเปลี่ยนแปลงทั้งหมดในคราวเดียวและแบ่งข้อมูลออกเป็น 3 ส่วนก่อนแล้วจึงนำแต่ละส่วนมาตรวจหาจุดเปลี่ยนแปลง พบว่า วิธี E-Divisive และ ks-cp3o พบจำนวนจุดและตำแหน่งของจุดเปลี่ยนแปลงที่ใกล้เคียงกัน และการแบ่งข้อมูลออกเป็นช่วงย่อยก่อนจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการตรวจข้อมูลทั้งหมดในคราวเดียวกัน


การศึกษาเปรียบเทียบการประมาณค่าจากตัวแบบการถดถอย สำหรับข้อมูลที่มีการแจกแจงแบบล็อกนอร์มอล ที่ถูกตัดปลายทางขวาแบบสุ่มที่มีการแจกแจงแบบยูนิฟอร์ม, ธนาพิพัฒน์ ทรัพย์ครองชัย Jan 2018

การศึกษาเปรียบเทียบการประมาณค่าจากตัวแบบการถดถอย สำหรับข้อมูลที่มีการแจกแจงแบบล็อกนอร์มอล ที่ถูกตัดปลายทางขวาแบบสุ่มที่มีการแจกแจงแบบยูนิฟอร์ม, ธนาพิพัฒน์ ทรัพย์ครองชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการประมาณค่าจากตัวแบบความถดถอย เมื่อตัวแปรตามมีการแจกแจงแบบล็อกนอร์มอลและตัวแปรตามบางค่าเป็นข้อมูลที่ถูกตัดปลายทางขวาแบบที่ 1 ด้วยวิธีด้วยวิธีกำลังสองต่ำสุด (OLS), วิธีของแชตเทอร์จีและแมคลีช (CM) วิธีภาวะน่าจะเป็นสูงสุดด้วยขั้นตอนอีเอ็ม (MLE_EM) และวิธีภาวะน่าจะเป็นสูงสุดด้วยขั้นตอนอีเอ็มเมื่อมีการปรับค่าข้อมูลก่อนคำนวณ (MLE_EM_AD) ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาได้จากการจำลองข้อมูล 243 สถานการณ์ ขนาดตัวอย่าง (n) เท่ากับ 30, 50, 100 ร้อยละของตัวแปรตามที่ถูกตัดปลายทางขวา (r1) เท่ากับ 10, 20, 30 สัดส่วนช่วงเวลาที่เปิดรับผู้ป่วยต่อช่วงเวลาที่ติดตามการรอดชีวิต (r2) เท่ากับ 0.1, 0.2, 0.3 อัตราส่วนความแปรปรวนของตัวแปรอิสระตัวที่ 1 ต่อตัวแปรอิสระตัวที่ 2 คือ 1:1, 1:2, 1:5 และอัตราส่วนความแปรปรวนรวมของตัวแปรอิสระต่อความคลาดเคลื่อน คือ 2:1, 1:1, 1:2 จากการศึกษาพบว่า 1) วิธี MLE_EM และ MLE_EM_AD เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อตัวอย่างมีขนาดปานกลางและใหญ่ (n = 50, 100) หรือร้อยละของข้อมูลที่ถูกตัดปลายทางขวาปานกลางและมาก (r1 = 20%, 30%) ในทางกลับกัน 2) วิธี OLS เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อตัวอย่างมีขนาดเล็ก (n = 30) หรือตัวแปรอิสระมีการกระจายตัวน้อยกว่าความคลาดเคลื่อน แต่ CM มีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อตัวแปรอิสระมีการกระจายตัวมากกว่าหรือเท่ากับความคลาดเคลื่อน 3) ทุกวิธีมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อตัวอย่างมีขนาดใหญ่ขึ้น หรือตัวแปรถูกตัดปลายทางขวาน้อยลง หรือสัดส่วนช่วงเวลาที่เปิดรับผู้ป่วยต่อช่วงเวลาที่ติดตามการรอดชีวิตลดลง หรือความคลาดเคลื่อนกระจายตัวน้อยกว่าตัวแปรอิสระ


การศึกษาเปรียบเทียบการประมาณค่าจากตัวแบบการถดถอยสำหรับข้อมูลที่ถูกตัดปลายทางขวาแบบที่ 1 ที่มีการแจกแจงแบบล็อกนอร์มอล, ศิวพร ทิพย์พันธุ์ Jan 2018

การศึกษาเปรียบเทียบการประมาณค่าจากตัวแบบการถดถอยสำหรับข้อมูลที่ถูกตัดปลายทางขวาแบบที่ 1 ที่มีการแจกแจงแบบล็อกนอร์มอล, ศิวพร ทิพย์พันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบวิธีการประมาณค่าจากตัวแบบ การถดถอย เมื่อตัวแปรตามมีการแจกแจงแบบล็อกนอร์มอลและตัวแปรตามบางค่าเป็นข้อมูล ที่ถูกตัดปลายทางขวาแบบที่ 1 ด้วยวิธีกำลังสองต่ำสุด (OLS) วิธีภาวะน่าจะเป็นสูงสุด (MLE) วิธีของแชตเทอร์จีและแมคลีช (CM) และวิธีภาวะน่าจะเป็นสูงสุดด้วยขั้นตอนวิธีอีเอ็ม (MLE_EM) ข้อมูลในการศึกษาได้จากการจำลองข้อมูลจำนวน 81 สถานการณ์ สถานการณ์ละ 10,000 รอบ ขนาดตัวอย่าง (n) เท่ากับ 30, 50, 100 และเปอร์เซ็นต์การถูกตัดปลายทางขวาของตัวแปรตาม (r) เท่ากับ 10%, 20%, 30% และอัตราส่วนความแปรปรวนของตัวแปรอิสระตัวที่ 1 ต่อตัวแปรอิสระ ตัวที่ 2 คือ 1:1, 1:2, 1:5 และอัตราส่วนความแปรปรวนรวมของตัวแปรอิสระต่อความคลาดเคลื่อน คือ 2:1, 1:1, 1:2 จากการศึกษาพบว่า 1) วิธี MLE และวิธี MLE_EM มีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อตัวอย่างมีขนาดใหญ่ (n=100) หรือตัวแปรตามถูกตัดปลายทางขวามาก (r=30%) ในทางกลับกัน 2) วิธี OLS เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อตัวอย่างมีขนาดเล็ก (n=30) หรือตัวแปรตามถูกตัดปลายทางขวาน้อย (r=10%) และ 3) วิธี CM เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในสถานการณ์ที่เหลือ กล่าวคือ เมื่อตัวอย่างมีขนาดปานกลาง (n=50) หรือตัวแปรตามถูกตัดปลายทางขวาปานกลาง (r=20%) นอกจากนั้นพบว่า 4) ทุกวิธีมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อตัวอย่างมีขนาดใหญ่ขึ้นหรือตัวแปรตาม ถูกตัดปลายทางขวาน้อยลงหรือความคลาดเคลื่อนกระจายตัวน้อยกว่าตัวแปรอิสระ


Preparaton Of Selenium Nanoparticles Stabilized By Pullulan And Derivatives, Punnida Nonsuwan Jan 2018

Preparaton Of Selenium Nanoparticles Stabilized By Pullulan And Derivatives, Punnida Nonsuwan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The inorganic/organic selenium nanoparticles (SeNPs)/pullulan derivative hybrid material was obtained using a simple and green strategy. The chemical structure of pullulan, folic acid decorated cationic pullulan (FA-CP) was designed for stabilizing SeNPs. The SeNPs stabilized by FA-CP were observed after the addition of a cysteine hydrochloride solution into the solution mixture of Na2SeO3 and FA-CP. The results suggested that the concentrations of cysteine and stabilizer were the key factors to control the shape and morphology of SeNPs. The spherical SeNP/FA-CP was found in ratio of Na2SeO3 to cysteine was 1:1. It exhibited low toxicity against normal cells while higher toxicity …


การรีดิวซ์สีซัลเฟอร์โดยใช้น้ำตาลรีดิวซ์จากสารละลายหลังกำจัดสิ่งสกปรกเส้นด้ายสับปะรด, ณรงค์กร ตรีสาร Jan 2018

การรีดิวซ์สีซัลเฟอร์โดยใช้น้ำตาลรีดิวซ์จากสารละลายหลังกำจัดสิ่งสกปรกเส้นด้ายสับปะรด, ณรงค์กร ตรีสาร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในงานวิจัยนี้สารละลายหลังจากการกำจัดสิ่งสกปรกด้วยเอนไซม์ (มีน้ำตาลรีดิวซ์) ถูกใช้เพื่อ รีดิวซ์สี Sulfur Black BR สำหรับการย้อมเส้นด้ายสับปะรด ขั้นตอนแรกเส้นด้ายสับปะรดดิบถูกกำจัดสิ่งสกปรกด้วย มัลติเอนไซม์ (เพกติเนส เซลลูเลส และไซแลนเนส) ณ ภาวะที่เหมาะสมจากงานวิจัยก่อนหน้านี้ จากนั้นนำสารละลายหลังการกำจัดสิ่งสกปรกไปวิเคราะห์หาปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ และ ค่าศักย์การเกิดออกซิเดชัน-รีดักชัน (oxidation-reduction potential, ORP) ที่พีเอช 11 ณ เวลาต่างๆ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการรีดิวซ์สีซัลเฟอร์ สูตรที่เหมาะสมสำหรับการรีดิวซ์สี และการย้อมสีถูกวิเคราะห์รวมทั้งศึกษาสมบัติต่างๆของเส้นด้ายสับปะรดหลังการย้อมสี เช่น ความเข้มสี ค่าสี ร้อยละการผนึกสี ความคงทนของสีต่อการซักล้าง และความแข็งแรงของเส้นด้ายเปรียบเทียบกับเส้นด้ายสับปะรดย้อมด้วยสีที่ถูกรีดิวซ์ด้วยโซเดียมซัลไฟด์และด้วยกลูโคสจากภาวะที่เหมาะสม ผลการวิจัยพบว่า สารละลายหลังการกำจัดสิ่งสกปรกเส้นด้ายสับปะรดมีปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ประมาณ 153.43 มิลลิกรัม/50 มิลลิลิตร/ด้าย 1 กรัม หลังการรีดิวซ์สีด้วยน้ำตาลรีดิวซ์นี้ และย้อมสีบนเส้นด้ายสับปะรด พบว่า เส้นด้ายนี้มีสีเข้มกว่า (K/S= 14.35) เส้นด้ายย้อมด้วยสีที่ผ่านการรีดิวซ์ด้วยโซเดียมซัลไฟด์(K/S= 13.22) ในขณะที่เส้นด้ายย้อมด้วยสีที่ผ่านการรีดิวซ์ด้วยกลูโคสมีสีเข้มมากที่สุด (K/S= 20.42) เส้นด้ายย้อมด้วยสีที่ผ่านการรีดิวซ์ด้วยกลูโคสและน้ำตาลรีดิวซ์ (สารละลายหลังการกำจัดสิ่งสกปรก) ต่างมีร้อยละการผนึกสีสูงกว่า สีคงทนการซักล้างมากกว่าและเส้นด้ายหลังย้อมแข็งแรงมากกว่าเส้นด้ายย้อมสีที่ผ่านการรีดิวซ์ด้วยโซเดียมซัลไฟด์ นอกจากนี้ พบว่า ในระหว่างการรีดิวซ์สีด้วยสารรีดิวซ์ทั้งสามชนิด สารละลายสีต่างมีค่า ORP อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องการ คือ ระหว่าง -450 ถึง -680 มิลลิโวลต์ ณ พีเอช 11 ส่วนเวลาที่เหมาะสมสำหรับการรีดิวซ์สี Sulfur Black BR คือ เวลา 10 นาที สำหรับการรีดิวซ์ด้วยโซเดียมซัลไฟด์และด้วยกลูโคส และเวลา 20 นาที สำหรับการรีดิวซ์สีด้วยน้ำตาลรีดิวซ์ ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่า การรีดิวซ์สี Sulfur Black BR สามารถใช้กลูโคส และน้ำตาลรีดิวซ์แทนการใช้โซเดียมซัลไฟด์ โดยสามารถใช้รีดิวซ์สี และย้อมสีได้เส้นด้ายสมบัติต่างๆ ดีมาก อีกทั้งยังเป็นการใช้น้ำเสียจากการกำจัดสิ่งสกปรกเป็นวัตถุดิบในการรีดิวซ์สีซัลเฟอร์ และสามารถทำการกำจัดสิ่งสกปรก รีดิวซ์สี และย้อมสีบนเส้นด้ายสับปะรดในอ่างเดียวกัน โดยไม่ต้องทิ้งน้ำเสียเลย


Fully Automatic 3d Facial Cosmetic Surgery Simulation, Adawat Chanchua Jan 2018

Fully Automatic 3d Facial Cosmetic Surgery Simulation, Adawat Chanchua

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Before cosmetic surgery procedures, the patients are commonly involved in the consultation process using interviews and reference images. The reference images typically consist of pre-post surgery images of other patients, leading to misunderstandings between patients and the surgeon. This thesis presents a fully automatic pipeline to simulate the whole face of post-surgery results. We first establish a 3D face registration and alignment based on the face surgery procedures of the current day and then generate the delta image. We proposed the delta image to solve the lack of dataset dilemma of the pre-post surgery face images. We also propose a …