Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Physical Sciences and Mathematics Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 1291 - 1320 of 2268

Full-Text Articles in Physical Sciences and Mathematics

Selection Problems In O-Minimal Structures, Saronsad Sokantika Jan 2017

Selection Problems In O-Minimal Structures, Saronsad Sokantika

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this dissertation, we improve the Definable Michael's Selection Theorem in o-minimal expansions of real closed fields. Then applications of this theorem are established; for instance, we prove the following statement: Let be an o-minimal expansion of and T be a definable set-valued map where n = 1 or m=1. If T has a continuous selection, then T has a definable continuous selection. Moreover, we prove the statement: Let be an o-minimal expansion of a real closed field and be a closed subset of Rn. If T: E --> Rm is a definable continuous set-valued map and T is bounded …


Designing Packing Boxes To Minimize Number Of Box Types, Teeradech Laisupannawong Jan 2017

Designing Packing Boxes To Minimize Number Of Box Types, Teeradech Laisupannawong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In a product packing procedure, many types of packing boxes may be used if a factory has several kinds of goods or products. The cost spent for many types of boxes is added to the manufacturing cost. However, it would be more efficient in the aspects of the cost reduction and the production management if we can design reasonable box sizes and can minimize the number of box types for packing goods. In this work, we propose a heuristic rectangular box design algorithm for packing each kind of rectangular goods when the number of goods per box is given. The …


Microencapsulation Of Eugenol In Polyelectrolyte Complexes Of Chitosan And Alginate, Chamaiporn Supachettapun Jan 2017

Microencapsulation Of Eugenol In Polyelectrolyte Complexes Of Chitosan And Alginate, Chamaiporn Supachettapun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Eugenol is widely used in several applications such as food activity packaging to prolong shelf life of fruits and vegetables because of its antimicrobial activity. However, eugenol is easy to decompose, leading to reduce its activity. In this work, we prepared eugenol loaded alginate-chitosan microparticles in order to solve this problem and controlled release essential oil using ionic gelation technique. The effect of concentration of eugenol (0.1-0.5 g), calcium chloride (0.5 – 8 %W/V) and surfactant (2-10% W/V) was investigated. The results showed that the optimum condition was eugenol 0.1 g, calcium chloride 2% W/V and surfactant 4% W/V. The …


Water/Dust Repellent Coatings For Wood Surface From 3-Aminopropyltriethoxy Silane-Quat 188, Tanate Tubtimtong Jan 2017

Water/Dust Repellent Coatings For Wood Surface From 3-Aminopropyltriethoxy Silane-Quat 188, Tanate Tubtimtong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Wetting and dust fouling on wood surface are big problems because of hydroxyl group and static charge on its surface. These problems could be minimized by surface modification which decreasing of hydroxyl groups and increasing of positive charges on wood surface. Many researches were reported about wetting issue but there were few studies directly involved to dust problem. In this research, 3-aminopropyltriethoxy silane (APTES) and 3-chloro-2-hydroxypropyltrimethyl ammonium chloride (Q188) were used to modify hydroxyl groups on wood surface to enhance wetting and dust repellency behavior of wood. The APTES-treated woods (AW) were prepared by immersion solution method and then were …


Effect Of Tio2 Morphology On Efficiency Of Ch3nh3pbi3 Perovskite Solar Cells, Ramon Songtanasit Jan 2017

Effect Of Tio2 Morphology On Efficiency Of Ch3nh3pbi3 Perovskite Solar Cells, Ramon Songtanasit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

A TiO2 compact (cp) layer or blocking layer (bl) plays a crucial role in a hybrid organic-inorganic lead halide perovskite solar cell (PSC) because it prevents the carrier recombination at the interface of fluorine-doped tin oxide (FTO) and perovskite layers. In this work, fabrication, characterizations of cp-TiO2 and their effects on the PSC were studied. The cp-TiO2 layers in this work were fabricated by radio frequency (RF)-magnetron sputtering method and spin coating method with various conditions. The cp-TiO2 layer was incorporated into the PSC device structure consisting of Au/spiro-OMeTAD/MAPbI3/mp-TiO2/cp-TiO2/FTO. For the sputtering method, cp-TiO2 could selectively block the transport of …


การแปลงเว็บแอปพลิเคชันบนพื้นฐานจาวาสคริปต์ให้เป็นเดสก์ท็อปข้ามแพลตฟอร์มด้วยอิเล็กตรอน, กิตติ เกร็ดพัฒนกุล Jan 2017

การแปลงเว็บแอปพลิเคชันบนพื้นฐานจาวาสคริปต์ให้เป็นเดสก์ท็อปข้ามแพลตฟอร์มด้วยอิเล็กตรอน, กิตติ เกร็ดพัฒนกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีหลายแนวทางได้เกิดขึ้นเพื่อปรับเปลี่ยนแอปพลิเคชันที่มีอยู่ไปสู่โปรแกรมที่มีฐานร่วมกัน ในบรรดาแนวทางต่างๆ อิเล็กตรอนเป็นกรอบงานหนึ่งที่แพร่หลายรู้จักกันดีสำหรับนักพัฒนาเว็บเพื่อใช้สร้างเดสก์ท็อปแอปลิเคชันข้ามแพลตฟอร์ม ด้วยเว็บเทคโนโลยีต่างๆ ที่คุ้นเคย ได้แก่ เอชทีเอ็มแอล ซีเอสเอส และจาวาสคริปต์ งานวิจัยนี้จึงได้นำเสนอแนวทางสำหรับการแปลงเว็บแอปพลิเคชันที่พัฒนาด้วยจาวาสคริปต์ให้เป็นเดสก์ท็อปแอปพลิเคชันที่สามารถประมวลผลได้บนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ แม็คโอเอส และลินุกซ์ เดสก์ท็อปแอปพลิเคชันที่เป็นผลลัพธ์จากการแปลงจะยังคงประกอบด้วยซอร์สโค้ดชุดเดิมที่สามารถพัฒนาได้ต่อไป


การแปลงไทมด์เพทริเน็ตให้เป็นอีเวนท์บีโดยอัตโนมัติสำหรับการทวนสอบเชิงรูปนัย, ชลิกา ศักดิ์สุภาวัฒนกุล Jan 2017

การแปลงไทมด์เพทริเน็ตให้เป็นอีเวนท์บีโดยอัตโนมัติสำหรับการทวนสอบเชิงรูปนัย, ชลิกา ศักดิ์สุภาวัฒนกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โดยทั่วไปการออกแบบซอฟต์แวร์เป็นขั้นตอนที่สำคัญในกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ ความถูกต้องของพฤติกรรมของระบบซอฟต์แวร์แบบเรียลไทม์มีความสัมพันธ์กับเวลาของการทำงานของระบบ หากพบข้อผิดพลาดหลังจากการพัฒนาซอฟต์แวร์จะทำให้มีผลกระทบที่ต้องสูญเสียอย่างมาก จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำการทวนสอบแบบจำลองของการออกแบบ เพื่อหาจุดผิดพลาดก่อนที่จะลงเมื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ วิทยานิพนธ์นี้จึงนำเสนอทางเลือกในการทวนสอบเชิงรูปนัยโดยใช้ไทมด์เพทริเน็ตในการสร้างแบบจำลองเชิงรูปนัย ซึ่งในปฏิบัติแล้วไทมด์เพทริเน็ตเป็นวิธีการเชิงรูปนัยที่ใช้สัญลักษณ์กราฟิกสำหรับจำลองโครงสร้างของระบบ ซึ่งทำให้สามารถเข้าใจพฤติกรรมของระบบได้ง่าย แต่ไทมด์เพทริเน็ตยังขาดการแสดงส่วนของข้อมูลที่ใช้ภายในระบบและยังไม่ได้มีการปรับแต่งใดๆ หากระบบมีขนาดใหญ่และมีความซับซ้อนมาก อาจจะเกิดปัญหาการระบบของสถานะได้ State explosion อีกทางเลือกของวิธีการเชิงรูปนัยพบว่าอีเวนท์บี เป็นวิธีการเชิงรูปนัยที่นิยมสำหรับการทวนสอบการทำงานของระบบโดยสนใจข้อมูลภายในระบบอีกทั้งสนับสนุนการปรับแต่งของระบบซอฟต์แวร์แบบเรียลไทม์ โดยใช้วิธีการพิสูจน์ทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ ซึ่งจะทำให้ไม่เกิดปัญหาการระเบิดของสถานะในระหว่างการทวนสอบ อย่างไรก็ตามการเขียนอีเวนท์บีไม่ง่ายนักเนื่องจากต้องมีทักษะทางด้านคณิตศาสตร์สำหรับการเขียนอีเวนท์บีเพื่อทวนสอบระบบ งานวิทยานิพนธ์นี้จึงเสนอเครื่องมือการแปลงไทมด์เพทริเน็ตให้เป็นอีเวนท์บีโดยอัตโนมัติสำหรับการทวนสอบเชิงรูปนัย โดยสนใจแบบจำลองไทมด์เพทริเน็ตที่มีค่าน้ำหนักโทเค็นที่มีค่าเท่ากับ 1 เท่านั้น และกฎการแปลงส่วนประกอบไทมด์เพทริเน็ตให้เป็นอีเวนท์บีทั้งหมด 7 ข้อ ข้อมูลนำเข้าเครื่องมือการแปลงจะเป็นแบบจำลองไทมด์เพทริเน็ตที่อยู่ในรูปแบบแฟ้มเอกสารเอกซ์เอ็มแอล และเครื่องมือจะดำเนินการแปลงโดยใช้กฎการแปลงที่ได้นิยามขึ้นมา เพื่อแปลงแบบจำลองไทมด์เพทริเน็ตให้เป็นอีเวนท์บีได้โดยอัตโนมัติ เมื่อได้ผลลัพธ์การแปลงอีเวนท์บีเรียบร้อยแล้ว จะดำเนินการทวนสอบด้วยเครื่องมือโรดิน เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของวิธีการแปลงโดยใช้เครื่องมือการแปลงและทวนสอบการทำงานของระบบ


การจำแนกคุณภาพการใช้งานและปัญหาของเกมแอ็คชัน จากบทวิจารณ์ของผู้ใช้ด้วยการทำเหมืองข้อความ, อตินัติ์ วัฒนบุรานนท์ Jan 2017

การจำแนกคุณภาพการใช้งานและปัญหาของเกมแอ็คชัน จากบทวิจารณ์ของผู้ใช้ด้วยการทำเหมืองข้อความ, อตินัติ์ วัฒนบุรานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ข้อมูลความคิดเห็นของผู้ใช้ที่มีต่อเกมคือบทวิจารณ์เกมที่ปรากฏบนเว็บไซต์ต่างๆ จากผู้ใช้เกม สามารถระบุถึงความพึงพอใจของผู้ใช้ในการใช้ซอฟต์แวร์เกม และนำมาช่วยในการระบุความต้องการเชิงคุณภาพของซอฟต์แวร์เกม อย่างไรก็ตามบทวิจารณ์เกมจากผู้ใช้เกมนั้นมีจำนวนมากตามความนิยมของเกม รวมทั้งมีจำนวนที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องและเป็นภาษาธรรมชาติ ซึ่งมีความแตกต่างกันตามแต่ลักษณะการเขียนของผู้เขียนบทวิจารณ์ มักไม่มีการสรุปว่าเป็นประโยคที่กล่าวถึงประเภทของคุณภาพและปัญหาของเกมในเรื่องใด และมีความคิดเห็นเป็นเชิงบวกหรือเชิงลบ การที่จะจำแนกประโยคจากบทวิจารณ์เกมในด้านคุณภาพและปัญหาจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรด้านมนุษย์และเวลา งานวิทยานิพนธ์นี้จึงเสนอวิธีการจำแนกประโยคของบทวิจารณ์เกมแอ็คชันด้วยวิธีการทำเหมืองข้อความ ซึ่งบทวิจารณ์เกมประเภทแอ็คชันได้ถูกเลือกมาใช้เพราะเกมแอ็คชันเป็นประเภทของเกมที่ได้รับความนิยมสูง โดยงานวิทยานิพนธ์นี้แบ่งเป็น 5 ขั้นตอนคือ 1) การระบุและนิยามปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพของเกมและปัญหาของเกม 2) การสร้างคลังคำศัพท์ของปัจจัยที่นิยามไว้ด้วย การสกัดคำอธิบายการระบุและนิยามปัจจัย การสกัดจากบทวิจารณ์เกม และการใช้เครื่องมือเวิร์ดเน็ตในการขยายคลังคำศัพท์ 3) การวิเคราะห์เพื่อจำแนกประโยคของบทวิจารณ์ทั้งในด้านความคิดเห็นเชิงบวกและเชิงลบ และด้านปัจจัยที่นิยามไว้ 4) การพัฒนาเครื่องมือตามแนวคิดที่นำเสนอ 5) การประเมินประสิทธิผลของเครื่องมือด้วยการทดลองจากการคำนวณค่าความแม่นยำ โดยการตรวจสอบการจำแนกประโยคของบทวิจารณ์เกมโดยเครื่องมือเปรียบเทียบกับการจำแนกโดยผู้เชี่ยวชาญ ประสิทธิผลของเครื่องมือในการจำแนกได้เหมือนกันทั้งหมดกับผู้เชี่ยวชาญในรูปของค่าความแม่นยำเฉลี่ย ของการจำแนกความคิดเห็นเชิงบวกและเชิงลบมีค่าร้อยละ 59.51 ของการจำแนกปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพของเกมและปัญหาของเกมมีค่าร้อยละ 64.46 และ 81.01 ตามลำดับ


ผลของความถี่ และจังหวะของดนตรีพื้นหลังต่อการรับรู้การผ่านไปของเวลา, ปวีย์ เพชรรักษ์ Jan 2017

ผลของความถี่ และจังหวะของดนตรีพื้นหลังต่อการรับรู้การผ่านไปของเวลา, ปวีย์ เพชรรักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ต่างไม่ชอบการรอคอยที่ต้องใช้เวลานาน เสียงดนตรีสามารถเข้ามาช่วยทำผู้ใช้รู้สึกใช้เวลารอคอยสั้นกว่าเดิม โดยการศึกษานี้นำเสียงมาใช้ร่วมกับแถบแสดงความก้าวหน้ามุ่งศึกษาไปที่เรื่องของความถี่และจังหวะของดนตรีพื้นหลัง การศึกษานี้ประกอบด้วยการทดลองสองการทดลอง โดยการทดลองแรกเป็นการประเมินเวลา และในการทดลองที่สอง เป็นการเปรียบเทียบการรับรู้ถึงระยะเวลาในการรอคอย การทดลองทั้งสองแสดงให้เห็นว่าเสียงดนตรีทำให้การรับรู้การผ่านไปของเวลาแตกต่างกันเมื่อทำการเปรียบเทียบ เช่น เสียงดนตรีทำให้คนรู้สึกว่ารอคอยสั้นกว่าการไม่ใช้เสียงอะไรเลย เป็นต้น นอกจากนั้นแสดงให้เห็นว่าการนำความถี่และจังหวะของเสียงมาช่วยในการออกแบบเสียงดนตรีมีผลต่อการรับรู้การผ่านไปของเวลาแตกต่างกันหลายระดับ


ไฮโดรจิเนชันของคาร์บอนไดออกไซด์เป็นโอเลฟินส์บนตัวเร่งปฏิกิริยาเหล็กและโคบอลต์บนคาร์บอน, เจนจิรา รัตถิวัลย์ Jan 2017

ไฮโดรจิเนชันของคาร์บอนไดออกไซด์เป็นโอเลฟินส์บนตัวเร่งปฏิกิริยาเหล็กและโคบอลต์บนคาร์บอน, เจนจิรา รัตถิวัลย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมคาร์บอนทรงกลมในการนำมาใช้เป็นตัวรองรับสำหรับการเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยาและศึกษากระบวนการไฮโดรจิเนชันของคาร์บอนไดออกไซด์เป็นโอเลฟินส์บนตัวเร่งปฏิกิริยาเหล็กและโคบอลต์บนคาร์บอนทรงกลมที่เตรียมได้ โดยสามารถเตรียมคาร์บอนทรงกลมจากไซโลสด้วยวิธีไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอไนเซชัน โดยตัวเร่งปฏิกิริยาโคบอลต์ที่เตรียมจากตัวรองรับคาร์บอนทรงกลม (10%Co/CS-IMP) มีประสิทธิภาพที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับตัวเร่งปฏิกิริยาโคบอลต์ที่เตรียมจากตัวรองรับเส้นใยซิลิกาและซิลิกา (10%Co/SF-IMP, 10%Co/SiO2-IMP) จากนั้นทำการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะเดี่ยว (10%Co/CS-IMP) และตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะคู่ที่มีตัวส่งเสริม (10%(Co-Fe)/K/CS-IMP) พบว่า ตัวส่งเสริมโพแทสเซียมช่วยทำให้ปฏิกิริยาเกิดสารไฮโดรคาร์บอนโอเลฟินส์ ทำการเปรียบเทียบการเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยาด้วยวิธีเคลือบฝัง (Impregnation, IMP) และวิธีไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอไนเซชัน (Hydrothermal carbonization, HC) พบว่าวิธีเคลือบฝังให้ตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีประสิทธิภาพในการเร่งปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชันของคาร์บอนไดออกไซด์ และจากการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการทำปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชันของคาร์บอนไดออกไซด์ พบว่า ที่ความดันที่ 25 บาร์, อุณหภูมิที่ใช้ทำปฏิกิริยา เท่ากับ 300 องศาเซลเซียส, ค่าอัตราส่วนของน้ำหนักตัวเร่งปฏิกิริยาต่ออัตราเร็วของสารป้อน (W/F) เท่ากับ 10 กรัม(ตัวเร่งปฏิกิริยา)·ชั่วโมง/โมล โดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา 15%(Co-Fe)/K/CS-IMP ให้ประสิทธิภาพที่ดีที่สุดในการเร่งปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชันของคาร์บอนไดออกไซด์ โดยให้ค่าร้อยละการเปลี่ยนของคาร์บอนไดออกไซด์ที่สูงที่สุด เท่ากับ ร้อยละ 59.98 มีค่าร้อยละการเลือกเกิดและร้อยละผลผลิตของสารไฮโดรคาร์บอนโอเลฟินส์ เท่ากับ ร้อยละ 11.17 และ 6.50 ตามลำดับ และทำการศึกษาคุณลักษณะของตัวเร่งปฏิกิริยาด้วยเทคนิคการวิเคราะห์อุณหภูมิของการรีดิวซ์ตัวเร่งปฏิกิริยา, เทคนิคการดูดซับทางกายภาพด้วยแก๊สไนโตรเจน, เทคนิคการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ และการศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด


ไฮโดรจิเนชันบางส่วนของไบโอดีเซลโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิลบนตัวรองรับคาร์บอน, รุ่งทิวา โกศล Jan 2017

ไฮโดรจิเนชันบางส่วนของไบโอดีเซลโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิลบนตัวรองรับคาร์บอน, รุ่งทิวา โกศล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ไบโอดีเซล เป็นอีกหนึ่งพลังงานทางเลือกที่ได้รับความนิยมในการค้นคว้าและวิจัยเป็นจำนวนมาก โดยหนึ่งในพืชเกษตรกรรมที่ถูกนำมาผลิตไบโอดีเซล คือปาล์มน้ำมัน แม้ว่าไบโอดีเซลมีสมบัติที่สามารถใช้ทดแทนน้ำมันดีเซลที่ได้จากแหล่งปิโตรเลียมได้ แต่ไบโอดีเซลก็ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของค่าความเสถียรต่อการทำปฏิกิริยากับออกซิเจนและค่าการไหลเท ณ อุณหภูมิต่ำ ซึ่งสามารถปรับปรุงสมบัติโดยปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชันบางส่วน งานวิจัยนี้ได้ศึกษาปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชันบางส่วนของไบโอดีเซลด้วยตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิลโดยมีคาร์บอนเป็นตัวรองรับ ภายใต้การทดลองที่ความดัน 3 บาร์ และ 5 บาร์ อุณหภูมิ 80, 100 และ 120 องศาเซลเซียส ใช้น้ำหนักของตัวเร่งปฏิกิริยาต่อน้ำหนักไบโอดีเซลที่ 1, 3 และ 5 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก สภาวะการทดลองดังกล่าวนี้ใช้เพื่อปรับปรุงข้อจำกัดของไบโอดีเซล นอกจากนี้ยังศึกษาผลของการเติมโลหะแมกนีเซียมในการเลือกเกิดซิส-ทรานส์ไอโซเมอร์ โดยผ่านกระบวนการไฮโดรจิเนชันบางส่วนของไบโอดีเซล โดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิลบนตัวรองรับคาร์บอนและเติมโลหะแมกนีเซียมด้วยวิธีการจุ่มชุ่ม ตัวเร่งปฏิกิริยาและไบโอดีเซลจะถูกวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือวิเคราะห์พื้นผิว ก๊าซโครมาโทกราฟี เอกซเรย์ดิฟแฟรกชัน เครื่องมือวิเคราะห์พฤติกรรมการรีดักชันโดยก๊าซไฮโดรเจน เทคนิควิเคราะห์ปริมาณพันธะคู่ด้วยไอโอดีน เครื่องมือวิเคราะห์สัณฐานตัวเร่งปฏิกิริยา และเครื่องมือวิเคราะห์สมบัติไบโอดีเซล จากผลการศึกษาทั้งหมดพบว่าตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิลบนตัวรองรับคาร์บอนและเติมโลหะแมกนีเซียม สามารถลดปริมาณของคาร์บอน 18 อะตอม แบบอิ่มตัว ให้ปริมาณคาร์บอน 18 อะตอมที่มีพันธะคู่หนึ่งตำแหน่งแบบซิสไอโซเมอร์มากขึ้น และลดปริมาณคาร์บอน 18 อะตอมที่มีพันธะคู่หนึ่งตำแหน่งแบบทรานส์ไอโซเมอร์ ซึ่งส่งผลดีต่อสมบัติไบโอดีเซลมากกว่าการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิลบนตัวรองรับคาร์บอนที่ไม่มีการเติมโลหะแมกนีเซียม.


การเตรียมเเละสมบัติของพอลิแล็กทิกแอซิด/ยางธรรมชาติอิพ็อกซิไดซ์/นาโนซิลิกาคอมพอสิต, อรรถพล มงคลวัย Jan 2017

การเตรียมเเละสมบัติของพอลิแล็กทิกแอซิด/ยางธรรมชาติอิพ็อกซิไดซ์/นาโนซิลิกาคอมพอสิต, อรรถพล มงคลวัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของงานนี้ คือ การปรับปรุงความเหนียวและเสถียรภาพทางความร้อนของพอลิแล็กทิกแอซิดด้วยการเติมยางธรรมชาติอิพ็อกซิไดซ์และนาโนซิลิกา โดยยางธรรมชาติอิพ็อกซิไดซ์ถูกเตรียมจากน้ำยางธรรมชาติผ่านกระบวนการ อิน ซิทู อิพ็อกซิเดชัน โดยใช้กรดฟอร์มิก 0.5 โมลาร์ และไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 0.75 โมลาร์ ที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 4 ชั่วโมง จากการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคฟูเรียร์แทรนสฟอร์มสเปกโทรสโกปี พบว่า ยางธรรมชาติอิพ็อกซิไดซ์มีปริมาณหมู่อิพ็อกไซด์ร้อยละ 30 โดยโมล จากนั้นยางธรรมชาติอิพ็อกซิไดซ์ที่เตรียมได้ถูกนำไปผสมกับพอลิแล็กทิกแอซิดที่ปริมาณต่างๆ (ร้อยละ 10, 20 และ 30 โดยน้ำหนัก) ในเครื่องผสมแบบปิดตามด้วยเครื่องอัดแบบ จากผลการทดสอบ พบว่า การเติมยางธรรมชาติอิพ็อกซิไดซ์ลงในพอลิแล็กทิกแอซิด ส่งผลให้ความทนแรงกระแทกและการยืดตัว ณ จุดขาดได้รับการปรับปรุง หากแต่ความทนแรงดึง ยังส์มอดุลัสและเสถียรภาพทางความร้อนลดลง และเนื่องด้วยพอลิเมอร์ผสม 80/20 พอลิแล็กทิกแอซิด/ยางธรรมชาติอิพ็อกซิไดซ์ มีความทนแรงกระแทกและการยืดตัว ณ จุดขาดสูงที่สุด (16.4 เมกะปาสคาล และร้อยละ 7.8 ตามลำดับ) จึงได้ถูกเลือกเพื่อนำไปเตรียมคอมพอสิตด้วยนาโนซิลิกาที่สามอัตราส่วน (1, 2 และ 3 ส่วนโดยน้ำหนักต่อเรซินร้อยส่วน) จากผลการทดลอง พบว่า ความทนแรงกระแทกและเสถียรภาพทางความร้อนของคอมพอสิตได้รับการปรับปรุงเมื่อเปรียบเทียบกับพอลิเมอร์ผสม 80/20 พอลิแล็กทิกแอซิด/ยางธรรมชาติอิพ็อกซิไดซ์ โดยการเติมนาโนซิลิกาที่ปริมาณ 2 ส่วนโดยน้ำหนักต่อเรซินร้อยส่วน พบว่า ความทนแรงกระแทกและเสถียรภาพทางความร้อนสูงที่สุด นอกจากนี้ สมบัติเชิงกลและสมบัติทางความร้อนของ 80/20/2 พอลิแล็กทิกแอซิด/ยางธรรมชาติอิพ็อกซิไดซ์/นาโนซิลิกาคอมพอสิตที่เตรียมด้วยกระบวนการผสมเเบบหลอมเหลว ถูกนำไปเปรียบเทียบกับคอมพอสิตที่เตรียมด้วยการผสมยางธรรมชาติอิพ็อกซิไดซ์และนาโนซิลิกาในภาวะเลเท็กซ์ ที่ปริมาณซิลิกาเท่าๆ กัน พบว่า การเตรียมคอมพอสิตในภาวะเลเท็กซ์มีสมบัติเชิงกลและสมบัติทางความร้อนต่ำกว่าการเตรียมคอมพอสิตในภาวะหลอมเหลว เมื่อพิจารณาที่ปริมาณนาโนซิลิกาในคอมพอสิตเท่าๆ กัน


การหาโมทีฟและดิสคอร์ดสำหรับอนุกรมเวลา โดยใช้เมทริกซ์โพรไฟล์แบบประมาณ, กรกฎ ปริวัฒนศักดิ์ Jan 2017

การหาโมทีฟและดิสคอร์ดสำหรับอนุกรมเวลา โดยใช้เมทริกซ์โพรไฟล์แบบประมาณ, กรกฎ ปริวัฒนศักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การค้นพบโมทีฟคือการค้นหารูปแบบซึ่งเป็นลำดับย่อยที่อยู่ในข้อมูลอนุกรมเวลา การค้นพบโมทีฟเป็นปัญหาที่สำคัญในการทำเหมืองข้อมูลอนุกรมเวลาเนื่องจากสามารถประยุกต์ใช้ได้ในหลาย ๆ ขอบเขตความรู้ ในขณะเดียวกันการค้นพบดิสคอร์ดซึ่งก็เป็นวิธีการที่นิยมในการค้นหาความผิดปกติในข้อมูลอนุกรมเวลาด้วยเช่นกัน วิธีการหนึ่งที่ให้ผลลัพธ์สำหรับปัญหาการค้นพบโมทีฟและดิสคอร์ดได้ดีคือเมทริกซ์โพรไฟล์ เนื่องจากสามารถแก้ทั้งสองปัญหาได้โดยง่ายเพียงแค่คำนวณเมทริกซ์โพรไฟล์เท่านั้น อย่างไรก็ตามเวลาที่ใช้ในการคำนวณมีค่าสูงเมื่อข้อมูลอนุกรมเวลาใหญ่ขึ้น นอกจากนั้นเมทริกซ์โพรไฟล์ยังต้องการการกำหนดค่าพารามิเตอร์ความยาวของโมทีฟและดิสคอร์ดซึ่งผู้ใช้ไม่สามารถทราบได้แน่นอน งานวิจัยนี้จึงนำเสนอเมทริกซ์โพรไฟล์แบบประมาณสำหรับทั้งสองปัญหาซึ่งลดเวลาในการคำนวณและยังคงให้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงเดิมและนำเสนออัลกอริทึมสำหรับการค้นพบโมทีฟที่ไม่ต้องกำหนดค่าพารามิเตอร์ความยาวของโมทีฟอีกด้วย จากผลการทดลองบนข้อมูลสังเคราะห์และข้อมูลจริงพบว่า เมทริกซ์โพรไฟล์แบบประมาณสามารถลดเวลาในการคำนวณได้เป็นจำนวนมากและยังคงได้โมทีฟและดิสคอร์ดผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงกับเมทริกซ์โพรไฟล์ นอกจากนั้นอัลกอริทึมการค้นพบโมทีฟที่นำเสนอยังให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องบนความยาวที่เหมาะสมโดยไม่จำเป็นต้องกำหนดค่าพารามิเตอร์ความยาวของโมทีฟก่อน


การพัฒนากรอบงานความสามารถด้านการเขียนโปรแกรม จากความถนัดและทักษะ, ชัยวัฒน์ ฉวีวรรณ Jan 2017

การพัฒนากรอบงานความสามารถด้านการเขียนโปรแกรม จากความถนัดและทักษะ, ชัยวัฒน์ ฉวีวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเรียนการสอนการเขียนโปรแกรมจะมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถเขียนโปรแกรมเพื่อนำไปใช้แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่สามารถแก้ด้วยภาษาโปรแกรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทางผู้สอนจึงมักจะสอนการเขียนโปรแกรมในรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงให้คำแนะนำการใช้เครื่องมือทางภาษาโปรแกรมให้แก่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะในการเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ไขปัญหาที่หลากหลาย แต่เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนนั้นมีพื้นฐาน และความถนัดในการเขียนโปรแกรมที่แตกต่างกัน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการค้นหาความถนัด และประเมินทักษะของผู้เรียน เพื่อเป็นข้อมูลให้กับครูผู้สอนรับทราบถึงทักษะของผู้เรียนแต่ละคน และยังทำให้สามารถเข้าไปเสริมในเรื่องที่ผู้เรียนเกิดความไม่เข้าใจให้มีความเข้าใจมากขึ้นเพื่อที่จะสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการเขียนโปรแกรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในงานวิจัยชิ้นนี้ได้มีการนำเสนอแนวคิด และวิธีการในการค้นหาความถนัด และประเมินทักษะในการเขียนโปรแกรม โดยที่ทางด้านการค้นหาความถนัดนี้จะพิจารณาจาก 4 คุณลักษณะได้แก่ 1) ผลจากการเปรียบเทียบระหว่างวัตถุประสงค์การสอนกับโปรแกรมที่ผู้เรียนการเขียนโปรแกรมเขียนขึ้น 2) การใช้เครื่องมือทางภาษาเขียนโปรแกรม 3) หมายเหตุที่ได้จากการตรวจ และ 4) ความยากง่ายทางการอ่านของรหัสต้นฉบับ และทางด้านการประเมินทักษะทางด้านการเขียนโปรแกรมจะพิจารณาจาก เวลาที่ผู้เรียนการเขียนโปรแกรมใช้ไปในการเขียนโปรแกรม 1 ข้อ และจำนวนครั้งของการส่งโปรแกรม โดยผลลัพธ์ที่ได้จากงานวิจัยชิ้นนี้คือแนวคิด และวิธีการในการค้นหาความถนัด และประเมินทักษะในการเขียนโปรแกรมที่สามารถนำไปปรับใช้ในการเรียนการสอนการเขียนโปรแกรมได้ อีกทั้งผลลัพธ์ที่ได้จากการค้นหาความถนัด และประเมินทักษะทางด้านการเขียนโปรแกรมยังเป็นข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อครูผู้สอนการเขียนโปรแกรมในการเสริมสร้างทักษะในการเขียนโปรแกรมให้แก่ผู้เรียนเขียนโปรแกรม


ไดนามิกไทม์วอร์ปปิงถ่วงน้ำหนักแบบเพิ่มสมรรถนะสำหรับการจำแนกประเภทอนุกรมเวลา, พิชามญชุ์ อนันตเศรษฐ์ Jan 2017

ไดนามิกไทม์วอร์ปปิงถ่วงน้ำหนักแบบเพิ่มสมรรถนะสำหรับการจำแนกประเภทอนุกรมเวลา, พิชามญชุ์ อนันตเศรษฐ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ไดนามิกไทม์วอร์ปปิงเป็นมาตรวัดระยะห่างซึ่งเป็นที่นิยมและใช้กันอย่างแพร่หลายสำหรับการจำแนกประเภทข้อมูลอนุกรมเวลาเนื่องจากความยืดหยุ่นและความทนทานต่อข้อมูลในหลากหลายกรณีอันเป็นคุณสมบัติหลักของไดนามิกไทม์วอร์ปปิง อย่างไรก็ตามไดนามิกไทม์วอร์ปปิงอาจนำไปสู่การยืดหดที่มากจนเกินไปส่งผลให้แนวการปรับตรงของจุดหลายจุดบนอนุกรมเวลาหนึ่งสู่จุดเพียงจุดเดียวบนอีกอนุกรมเวลาหนึ่งและอาจส่งผลให้เกิดการจำแนกประเภทผิดพลาดเมื่อนำไปใช้ในการจำแนกประเภทอนุกรมเวลา ซึ่งปัญหาดังกล่าวถือเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้มีงานวิจัยมากมายถูกนำเสนอออกมาเพื่อใช้แก้ปัญหา หนึ่งในนั้นคือการเสนอไดนามิกไทม์วอร์ปปิงถ่วงน้ำหนักแบบต่างๆ ซึ่งสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้เป็นอย่างดีแต่กลับต้องแลกมาด้วยตัวแปรเสริมที่ยากต่อการหาค่าที่เหมาะสม เพื่อขจัดปัญหาดังกล่าว วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงได้เสนอมาตรวัดระยะห่างที่ยังคงคุณสมบัติที่ดีของไดนามิกไทม์วอร์ปปิงฉบับดั้งเดิมเอาไว้อีกทั้งสามารถแก้ปัญหาแนวการปรับตรงที่ผิดพลาดของไดนามิกไทม์วอร์ปปิงแบบดั้งเดิมได้ โดยอาศัยหลักการของไดนามิกไทม์วอร์ปปิงถ่วงน้ำหนักแต่ไม่จำเป็นต้องหาค่าของตัวแปรเสริมเช่นไดนามิกไทม์วอร์ปปิงถ่วงน้ำหนักแบบอื่นๆ ภายใต้ชื่อไดนามิกไทม์วอร์ปปิงถ่วงน้ำหนักแบบเพิ่มสมรรถนะ ที่นอกจากจะให้ประสิทธิภาพในการจำแนกประเภทอนุกรมเวลาให้ดีขึ้นแล้ว ก็ยังคงไว้ด้วยความซับซ้อนของเวลาที่เท่ากันกับไดนามิกไทม์วอร์ปปิงแบบดั้งเดิมอีกด้วย


จุดพร้อมโยงที่ปลอดภัยด้วยการพิสูจน์ตัวจริงแบบหลายปัจจัยผ่านเอ็นเอฟซีบนสมาร์ตโฟน, วิภพ โพธิ์มาก Jan 2017

จุดพร้อมโยงที่ปลอดภัยด้วยการพิสูจน์ตัวจริงแบบหลายปัจจัยผ่านเอ็นเอฟซีบนสมาร์ตโฟน, วิภพ โพธิ์มาก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบัน เทคโนโลยีเครือข่ายแบบไร้สายเป็นองค์ประกอบสำคัญของธุรกิจ สถานที่ทำงานบางแห่งมีนโยบายให้พนักงานนำอุปกรณ์ที่เป็นของตนเองเพื่อเข้าถึงสารสนเทศและใช้งานแอปพลิเคชันต่างๆของบริษัท หลายองค์กรได้จัดเตรียมระบบเครือข่ายไร้สายภายในองค์กร เพื่อสนับสนุนการเชื่อมต่อให้กับอุปกรณ์ขนาดเล็กและความสะดวกในการจัดการ อย่างไรก็ตาม ความปลอดภัยของเครือข่ายองค์กรจำเป็นต้องมีการจำกัดสิทธิ์ที่เข้มงวด เนื่องจากข้อมูลสำคัญจำนวนมากจะถูกถ่ายโอนผ่านเครือข่ายไร้สาย ดังนั้น การพิสูจน์ตัวจริงถูกมองว่าเป็นหน้าด่านแรกของการป้องกันการเข้าถึงที่ไม่มีสิทธิซึ่งสามารถลดภัยคุกคามต่อเครือข่ายไร้สายได้ WPA2 Enterprise กับมาตรฐาน 802.1X มักถูกนำมาใช้เพื่อจัดการขั้นตอนพิสูจน์ตัวจริงบนเครือข่ายด้วยกรอบงาน EAP โดยเฉพาะกรอบงานประเภท EAP-TLS ที่ใช้ใบรับรองในการพิสูจน์ตัวจริงร่วมกัน ซึ่งให้ความปลอดภัยสูงแต่การใช้งานจริงมีความยุ่งยาก เนื่องจากการจัดการใบรับรองลูกข่าย ด้วยเหตุนี้ การจัดการข้อมูลใบรับรองสำหรับผู้ใช้ทั้งหมดจึงเป็นเรื่องยุ่งยากต่อผู้ดูแลระบบ และผู้ใช้มักจะประสบกับกระบวนการพิสูจน์ตัวจริงที่ซับซ้อน เช่น การติดตั้งใบรับรอง การกำหนดการตั้งค่าเครือข่าย เป็นต้น เพื่อลดภาระในการจัดการใบรับรองของผู้ดูแลระบบ และเพื่อสนับสนุนนโยบายความปลอดภัยเครือข่ายไร้สายระดับสูง งานวิจัยนี้จึงนำเสนอแนวทางการพิสูจน์ตัวจริงกับจุดพร้อมโยงเครือข่ายไร้สายในองค์กรด้วยการใช้เทคโนโลยีเอ็นเอฟซีร่วมกับการพิสูจน์ตัวจริงแบบหลายปัจจัย สำหรับแลกเปลี่ยนข้อมูลใบรับรองและข้อมูลการตั้งค่าเครือข่าย ระบบถูกพัฒนาบนสมาร์ตโฟนแอนดรอยด์ที่สนับสนุนเอ็นเอฟซีโดยใช้งานร่วมกับสถาปัตยกรรมเครือข่ายไร้สายจำลองที่ใช้การตรวจสอบสิทธิ์แบบ WPA2-802.1X กับ EAP-TLS ทั้งนี้ แนวทางที่นำเสนอได้ถูกประเมินด้วย ตัววัดเวลาใช้งานจริงในการติดต่อเข้าถึงเครือข่ายไร้สาย และแบบสอบถามการประเมินประสบการณ์การใช้งานจากผู้ใช้


การวิเคราะห์ทวิตเตอร์ในเหตุการณ์สวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช, อารยา พุดตาล Jan 2017

การวิเคราะห์ทวิตเตอร์ในเหตุการณ์สวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช, อารยา พุดตาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากเหตุการณ์การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมิทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในวันที่ 13 ตุลาคม 2559 ซึ่งถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อคนไทยเป็นอย่างมาก จึงทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในทวิตเตอร์หลายประการ ทั้งในด้านปริมาณการทวีตและรีทวีต ข้อความในทวีตซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างจากเหตุการณ์อื่น ๆ ลักษณะการเกิดขึ้นของเหตุการณ์ย่อยต่าง ๆ ลักษณะของพฤติกรรมการรีทวีตของผู้ใช้ในแต่ละกลุ่ม รวมไปถึงลักษณะของการกระจายข้อมูลของผู้ใช้โดยพิจารณาจากตำแหน่งที่ตั้ง เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ปรากฏการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้นในทวิตเตอร์ งานวิจัยนี้จึงถูกออกแบบขึ้นเพื่อเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล โดยเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านเว็บไซต์ (Web Crawler) ร่วมกับ ฟังก์ชันค้นหาขั้นสูงของทวิตเตอร์ (https://twitter.com/search-advanced) ผ่านการค้นหาจากคำสำคัญและแฮชแท็กที่เกี่ยวข้องกับในหลวงรัชกาลที่ 9 เพื่อนำมาวิเคราะห์และเปรียบเทียบคุณลักษณะต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในทวิตเตอร์ โดยพิจารณาจากจำนวนรีทวีต คำ และแฮชแท็กที่เกิดขึ้น อีกทั้งยังพบเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยตรง ผู้วิจัยจึงเสนอวิธีที่จะสามารถสกัดและค้นหาเหตุการณ์ย่อย ๆ จากทวิตเตอร์ และนอกจากนี้ยังได้วิเคราะห์พฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้เปรียบเทียบกับการทวีตตามปกติ และวิเคราะห์การกระจายข้อมูลโดยพิจารณาจากตำแหน่งที่ตั้งอีกด้วย


วัสดุเชิงประกอบแกรฟีนเจือไนโตรเจน/โคบอลต์และแมงกานีสออกไซด์/พอลิพีร์โรลสำหรับการประยุกต์เป็นตัวเก็บประจุยิ่งยวด, เวสารัช เสมอชีพ Jan 2017

วัสดุเชิงประกอบแกรฟีนเจือไนโตรเจน/โคบอลต์และแมงกานีสออกไซด์/พอลิพีร์โรลสำหรับการประยุกต์เป็นตัวเก็บประจุยิ่งยวด, เวสารัช เสมอชีพ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาวัสดุสำหรับใช้เป็นตัวเก็บประจุยิ่งยวดที่มีประสิทธิภาพสูงจากแกรฟีนเจือไนโตรเจนซึ่งมีกลไกการเก็บประจุแบบสองชั้นร่วมกับพอลิพิร์โรลและโลหะออกไซด์ผสมซึ่งมีกลไกการเก็บประจุแบบซูโดคาแพซิทีฟ โดยเริ่มจากนำแกรฟีนมารีฟลักซ์ร่วมกับเมลามีนในน้ำที่อุณหภูมิ 97 °C เป็นเวลา 12 ชั่วโมง ทำให้เกิดการเจือไนโตรเจนเข้าไปในโครงสร้างของแกรฟีน การเจือไนโตรเจนเข้าไปในแกรฟีนนี้ได้รับการยืนยันด้วยเทคนิคอินฟราเรดสเปกโทรสโกปีและเทคนิคเอกซ์เรย์โฟโตอิเล็กตรอนสเปกโทรสโกปี จากนั้นสังเคราะห์พอลิพิร์โรลลงบนพื้นผิวของแกรฟีนเจือไนโตรเจนโดยใช้แอมโมเนียมเพอร์ซัลเฟตภายใต้คลื่นความถี่สูง เพื่อให้เกิดชั้นของพอลิพิร์โรลที่ปกคลุมพื้นผิวของแกรฟีนเจือไนโตรเจนได้อย่างสม่ำเสมอและทั่วถึง เมื่อนำแกรฟีนเจือไนโตรเจนที่เคลือบด้วยพอลิพิร์โรลที่กระจายตัวอย่างสม่ำเสมอไปทดสอบด้วยเทคนิคกัลวาโนสแททิกชาร์จ-ดิสชาร์จพบว่าให้ค่าการเก็บประจุจำเพาะที่ดีโดยมีค่าสูงถึง 150.63 F/g ที่กระแสไฟฟ้า 1 A/g ส่วนโลหะออกไซด์ผสมเตรียมจากโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนส (KMnO4) และโคบอลต์ไนเตรตเฮกซะไฮเดรต (Co(NO3)2·6H2O) ใช้เทคนิคไฮโดรเทอร์มัลที่อุณหภูมิ 120 °C 4 ชั่วโมง ที่อัตราส่วนโดยโมลที่เท่ากัน เพื่อเปลี่ยนธาตุทั้งสองให้กลายเป็นเป็นอนุภาคของโลหะออกไซด์ผสม โลหะออกไซด์ผสมที่ได้ (MnCo2O4) มีสัณฐานวิทยาที่ดีและเกิดกลไกการเก็บประจุแบบซูโดคาร์ปาซิเทอร์ได้ดีกว่าแมงกานีสออกไซด์หรือโคบอลต์ออกไซด์ที่ใช้วิธีเดียวกันในการสังเคราะห์ และเมื่อนำแกรฟีนเจือไนโตรเจนที่เคลือบด้วยพอลิพิร์โรลมาผสมกับโลหะออกไซด์ผสม พบว่าที่อัตราส่วนร้อยละ 60 เป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุด โดยให้ค่าการเก็บประจุสูงถึง 217.5 F/g ที่กระแสไฟฟ้า 1 A/g ผลการทดลองชี้ให้เห็นว่าวัสดุที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถนำไปประยุกต์เป็นตัวเก็บประจุยิ่งยวดที่มีประสิทธิภาพสูงได้


การเตรียมและสมบัตินำไฟฟ้าของผงถ่านกัมมันต์กราฟต์ด้วยพอลิแอนิลีน, สิริญญา โสตถิอุดม Jan 2017

การเตรียมและสมบัตินำไฟฟ้าของผงถ่านกัมมันต์กราฟต์ด้วยพอลิแอนิลีน, สิริญญา โสตถิอุดม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เตรียมผงถ่านกัมมันต์กราฟต์ด้วยพอลิแอนิลีน โดยเริ่มจากดัดแปรพื้นผิวผงถ่านกัมมันต์ด้วยปฎิกิริยาไนเตรชัน (กรดไนตริกและกรดซัลฟิวริกเข้มข้น) ตามด้วยปฎิกิริยารีดักชันด้วยโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์/แอมโมเนีย เพื่อได้หมู่ไนโตรและอะมิโนบนผิวของผงถ่านกัมมันต์ตามลำดับ ยืนยันการพบหมู่ฟังก์ชันได้ด้วยเทคนิคฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์มอินฟาเรดสเปกโทรสโคปี และ โปรตอนเอ็นเอ็มอาร์ จากนั้นทำการต่อกิ่งพอลิแอนิลีนลงบนผิวของผงถ่านกัมมันต์ที่มีหมู่ฟังก์ชันเอมีน ด้วยปฏิกิริยาออกซิเดชันพอลิเมอร์ไรเซชัน ที่มีแอมโมเนียมเปอร์ซัลเฟตเป็นตัวเริ่มปฏิกิริยา จะได้ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 3 แบบ คือ AC/PANi, AC-NO₂/PANi และ AC-NH₂/PANi หรือ AC-NH₂-g-PANi ที่อัตราส่วนโดยน้ำหนัก 1:0.1, 1:0.2, 1:0.25, 1:0.3, 1:0.4 และ 1:0.5 วิเคราะห์สัณฐานวิทยาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด พบว่าพอลิแอนิลีนสามารถปกคลุมอยู่บนพื้นผิวของ AC-NO₂ ซึ่งเป็นผงถ่านกัมมันต์ที่ผ่านการดัดแปรได้ เนื่องจากพอลิแอนิลีนสามารถมีแรงยึดเหนี่ยวกับ AC-NO₂ ด้วยพันธะไดโพลหรือแรงดึงดูดระหว่างขั้วตรงตำแหน่งหมู่ไนโตรของผงถ่านกัมมันต์ ในขณะที่ AC-NH₂/PANi พบว่ามีการต่อกิ่งจากหลักฐานเอ็นเอ็มอาร์ และจากภาพที่ถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด พบว่าพอลิแอนิลีนอยู่ในรูปเส้นใยที่ปกคลุมพื้นผิวผงถ่านกัมมันต์อย่างชัดเจน และที่พอลิแอนิลีนความเข้มข้นต่ำจะได้เส้นใยนาโนพอลิแอนิลีนที่มีพื้นที่ผิวที่มากที่สุด และด้วยพอลิแอนิลีนที่อยู่ในรูปเส้นใยนาโนที่เกาะบนพื้นผิวผงถ่านกัมมันต์จะส่งผลให้มีค่าความสามารถในการเก็บประจุสูงถึง 858.8 ฟารัด/กรัม ซึ่งจะตรงข้ามกับเส้นใยของพอลิแอนิลีนที่มีขนาดใหญ่จะส่งผลให้มีค่าความสามารถในการเก็บประจุได้ต่ำกว่า คือ 425.4 ฟารัด/กรัม


การสร้างแบบจำลองด้วยโพรเมลาเพื่อทวนสอบซิกแนลแทรนซิชันกราฟในการสร้างวงจรอสมวาร, คณุตม์ บุญเรืองขาว Jan 2017

การสร้างแบบจำลองด้วยโพรเมลาเพื่อทวนสอบซิกแนลแทรนซิชันกราฟในการสร้างวงจรอสมวาร, คณุตม์ บุญเรืองขาว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การทวนสอบวงจรอสมวารนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งในขั้นตอนการออกแบบเพื่อความถูกต้องในการทำงานของสัญญาณ โดยวงจรจะถูกออกแบบในขั้นต้นด้วยซิกแนลแทรนซิชันกราฟ วิทยานิพนธ์ใช้ประโยชน์จากเทคนิคการตรวจสอบแบบจำลองเพื่อทวนสอบซิกแนลแทรนซิชันกราฟในคุณสมบัติซึ่งประกอบด้วย คุณสมบัติความปลอดภัย คุณสมบัติไลฟ์เนส คุณสมบัติความทนทาน คุณสมบัติความต้องกัน และคุณสมบัติการกำหนดสถานะสมบูรณ์ ซึ่งซิกแนลแทนซิชันกราฟประกอบด้วยประเภทวัฏจักรเชิงเดี่ยว และประเภทวัฏจักรหลากหลาย ในขั้นแรกซิกแนลแทรนซิชันกราฟจะถูกแปลงเป็นรหัสโพรเมลาแบบจำลองโครงสร้าง และแบบจำลองวัฏจักรที่มีจุดยอดไม่ซ้ำกัน จากนั้นจึงนำซิกแนลแทรนซิชันกราฟไปแปลงเป็นตรรกะเวลาเชิงเส้นซึ่งประกอบด้วยคุณสมบัติความปลอดภัย คุณสมบัติไลฟ์เนส คุณสมบัติความทนทาน คุณสมบัติความต้องกัน และคุณสมบัติการกำหนดสถานะที่สมบูรณ์ จากนั้นคุณสมบัติความปลอดภัยจะทวนสอบโดยนำรหัสโพรเมลาแบบจำลองโครงสร้าง และตรรกะเวลาเชิงเส้นของคุณสมบัติความปลอดภัยไปทวนสอบโดยเครื่องมือสปินจะได้ผลการทวนสอบของคุณสมบัติ คุณสมบัติไลฟ์เนสจะทวนสอบโดยนำรหัสโพรเมลาแบบจำลองโครงสร้าง และตรรกะเวลาเชิงเส้นของคุณสมบัติไลฟ์เนสไปทวนสอบโดยเครื่องมือสปินจะได้ผลการทวนสอบของคุณสมบัติ คุณสมบัติความทนทานจะทวนสอบโดยนำรหัสโพรเมลาแบบจำลองโครงสร้าง และตรรกะเวลาเชิงเส้นของคุณสมบัติความทนทานไปทวนสอบโดยเครื่องมือสปินจะได้ผลการทวนสอบของคุณสมบัติ คุณสมบัติความต้องกันจะทวนสอบโดยนำรหัสโพรเมลาแบบแบบจำลองวัฏจักรที่มีจุดยอดไม่ซ้ำกัน และตรรกะเวลาเชิงเส้นของคุณสมบัติความต้องกันไปทวนสอบโดยเครื่องมือสปินจะได้ผลการทวนสอบของคุณสมบัติ ในขั้นสุดท้ายคุณสมบัติการกำหนดสถานะที่สมบูรณ์จะนำรหัสโพรเมลาแบบแบบจำลองวัฏจักรที่มีจุดยอดไม่ซ้ำกัน และตรรกะเวลาเชิงเส้นของการกำหนดสถานะที่สมบูรณ์มาเพื่อหาความสัมพันธ์เชิงล็อคและทวนสอบโดยเครื่องมือสปิน จากนั้นจึงนำผลที่ได้จากการจำลองมาตรวจสอบในเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นจึงได้คำตอบของการทวนสอบคุณสมบัตินี้ อย่างไรก็ตามเทคนิคของงานวิจัยนี้ยังไม่เป็นอัตโนมัติในบางคุณสมบัติ


การคัดแยกไวรัสคอมพิวเตอร์จากรหัสฐานสอง, ประสิทธิ์ อุษาฟ้าพนัส Jan 2017

การคัดแยกไวรัสคอมพิวเตอร์จากรหัสฐานสอง, ประสิทธิ์ อุษาฟ้าพนัส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้นำเสนอการใช้การเรียนรู้แบบมีผู้สอนเพื่อตรวจจับไฟล์ไวรัสคอมพิวเตอร์ที่ไม่เคยพบมาก่อนแบบ static ผู้วิจัยได้ทดสอบกับตัวแยกประเภทจำนวน 3 แบบ คือ random forest, multilayer perceptron และ extreme gradient boosting ชุดข้อมูลประกอบด้วย 6319 ไฟล์ executable แต่ละไฟล์ถูกสกัดด้วย objdump แล้วจัดเรียงตามคะแนน TF-IDF เพื่อหา feature ที่เหมาะสม ผลลัพธ์เปรียบเทียบด้วย F1-score คือ สามารถใช้ตัวแยกประเภทแบบ random forest ร่วมกับข้อมูลที่มี 20 attribute ได้ 0.937 F1-score ซึ่งมากกว่าบรรทัดฐานอยู่ 0.031 F1-score และ สามารถใช้ตัวแยกประเภทแบบ extreme gradient boosting ร่วมกับข้อมูลที่มี 500 attribute ได้ 0.962 F1-score ซึ่งมากกว่าบรรทัดฐานอยู่ 0.041 F1-score จึงสรุปได้ว่าวิธีการในงานวิจัยนี้สามารถเพิ่ม precision และ recall ของการแยกประเภทได้


การพัฒนาระบบสารสนเทศปรับเปลี่ยนตามแบบการประเมินของครูสำหรับการประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษา, พิทยา ระยับศรี Jan 2017

การพัฒนาระบบสารสนเทศปรับเปลี่ยนตามแบบการประเมินของครูสำหรับการประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษา, พิทยา ระยับศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบสำหรับระบบ ฯ ด้านข้อมูลนำเข้า กระบวนการ และการนำเสนอผล 2) พัฒนาระบบ ฯ 3) ประเมินคุณภาพของระบบ ฯ และ 4) ศึกษาผลจากการใช้ระบบ ฯ ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ของครู การวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 ระยะ แต่ละระยะเก็บข้อมูลกับครูมัธยมศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและโรงเรียนสาธิตสังกัดสำนักงานการอุดมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร การวิจัยระยะที่ 1 ประกอบด้วยผู้ให้ข้อมูลคือ ครูมัธยมศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ รวมทั้งสิ้น 16 คน เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม และประเมินคุณภาพของระบบ ฯ โดยผู้เชี่ยวชาญ ส่วนระยะที่ 2 เก็บข้อมูลกับครูและนักเรียนมัธยมศึกษาที่เป็นอาสาสมัครในการทดลองใช้ระบบ ฯ รวมทั้งสิ้น 50 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความพึงพอใจและประสิทธิภาพของระบบ ฯ สำหรับครู และแบบสัมภาษณ์นักเรียนสำหรับการใช้ระบบสารสนเทศ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้จะวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพจะใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และสรุปข้อมูลแบบนิรนัย ผลการวิจัยพบว่า 1. ระบบ ฯ ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) ระบบลงทะเบียนและการเข้าสู่ระบบของผู้ใช้ สำหรับเก็บข้อมูลพื้นฐานของผู้ใช้เพื่อจำแนกและกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงและจัดการข้อมูลในระบบ (2) ระบบจัดการรายวิชาและชั้นเรียน ที่มีการเก็บข้อมูลสำหรับการประเมินผลการเรียนรู้ ได้แก่ ประเภทการประเมิน รูปแบบการให้ผลประเมิน ผลป้อนกลับของครู (คุณภาพ จุดเด่นและข้อควรปรับปรุง และข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา) และผลสะท้อนกลับของนักเรียนที่มีต่อผลการประเมินและการจัดการเรียนรู้ของครู และ (3) ระบบรายงานผลที่มีการรายงานสารสนเทศเกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนทั้งในระดับชั้นเรียน และรายบุคคล และมีสารสนเทศเชิงเปรียบเทียบระหว่างผลการประเมินของนักเรียนเป็นรายบุคคลกับภาพรวมทั้งชั้นเรียน จำแนกระบบ ฯ ตามผู้ใช้งานออกเป็น 2 ระบบคือ ระบบสำหรับครูและระบบสำหรับนักเรียน โดยประกอบด้วย 11 ระบบย่อย ได้แก่ (1) ระบบการลงทะเบียนผู้ใช้และการเข้าสู่ระบบ (2) ระบบการจัดการห้องเรียน (3) ระบบการจัดกลุ่มนักเรียน (4) ระบบการสร้างภาระงานและผลป้อนกลับ (5) …


การขจัดสีย้อมในน้ำเสียจากอุตสาหกรรมกระดาษไหว้เจ้าโดยการดูดซับบนคอมพอสิตแร่ดิน-ไคโตซาน, วิศรุต ม่วงรักษ์ Jan 2017

การขจัดสีย้อมในน้ำเสียจากอุตสาหกรรมกระดาษไหว้เจ้าโดยการดูดซับบนคอมพอสิตแร่ดิน-ไคโตซาน, วิศรุต ม่วงรักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการขจัดสีย้อมรีแอคทีฟเรด 120 ในน้ำ โดยการดูดซับบนตัวดูดซับคอมพอสิตแร่ดิน-ไคโตซาน และเปรียบเทียบกับตัวดูดซับไคโตซาน ซึ่งการทดลองนี้จะศึกษาการดูดซับแบบกะ โดยตัวแปร ที่ศึกษาในการทดลอง คือ ปริมาณตัวดูดซับ ความเข้มข้นเริ่มต้นของสารละลายสีย้อม ค่าความเป็นกรดด่าง โดยเวลาที่ใช้ในการดูดซับ ตั้งแต่ 15 นาทีถึง 420 นาที จากการวิเคราะห์คุณลักษณะของตัวดูดซับโดยใช้ใช้เทคนิคฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทรสโกปี (FTIR) พบว่าตัวดูดซับคอมพอสิตแร่ดิน-ไคโตซานจะมีลักษณะสเปกตรัมเฉพาะที่สะท้อนถึงตัวดูดซับไคโตซานและตัวดูดซับแร่ดินอย่างชัดเจน เมื่อพิจารณาพื้นที่ผิวการดูดซับโดยใช้เทคนิคการดูดซับ/การคายซับไนโตรเจน พบว่าแนวโนมของการเพิ่มสัดส่วนของแร่ดินจะช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวให้กับตัวดูดซับคอมพอสิตแร่ดิน-ไคโตซาน ส่งผลให้ตัวดูดซับคอมพอสิตแร่ดิน-ไคโตซาน มีพื้นที่ผิวที่สูงกว่าตัวดูดซับไคโตซาน เนื่องจากไคโตซานเข้าไปแทรกในโครงสร้างของแร่ดิน สามารถอธิบายด้วยเทคนิคเอกซเรย์ฟลูออเรสเซนต์ (XRF) ทำให้โครงสร้างของแร่ดินเกิดการขยายขนาดขึ้น สำหรับผลจากการศึกษาตัวแปรต่างๆ พบว่า ตัวดูดซับคอมพอสิตแร่ดิน-ไคโตซาน มีประสิทธิภาพในการกำจัดสีย้อมได้ดีกว่าตัวดูดซับไคโตซานและตัวดูดซับแร่ดิน ถึง 1.17 เท่า และ 1.88 เท่า ตามลำดับ การเพิ่มปริมาณตัวดูดซับจะช่วยลดระยะเวลาในการดูดซับให้เร็วยิ่งขึ้น สำหรับตัวดูดซับคอมพอสิตแร่ดิน-ไคโตซาน พบว่าสามารถกำจัดสีย้อมได้หมดสมบูรณ์ทุกความเข้มข้น และสามารถกำจัดสีย้อมได้ดีสำหรับทุกช่วงของค่าความเป็นกรดด่างที่ได้ศึกษาในงานวิจัย แบบจำลองสมดุลการดูดซับของตัวดูดซับคอมพอสิตแร่ดิน-ไคโตซาน สอดคล้องกับแบบจำลองการดูดซับของโกเบิลคอร์ริแกน จลนพลศาสตร์การดูดซับของตัวดูดซับคอมพอสิตแร่ดิน-ไคโตซาน มีอัตราเร็วของปฏิกิริยาการดูดซับสารละลายสีย้อมเป็นปฏิกิริยาอันดับสองเทียม นอกจากนี้ยังพบว่ากลไกในการควบคุมขั้นตอนการดูดซับคือ ขั้นตอนการของการแพร่ผ่านชั้นฟิล์ม และขั้นตอนของการแพร่ภายในรูพรุน สำหรับการศึกษาอุณหพลศาสตร์ของการดูดซับพบว่าตัวดูดซับคอมพอสิตแร่ดิน-ไคโตซาน สามารถเกิดขึ้นได้เองและเกิดขึ้นได้ดีที่อุณหภูมิสูง


ผลของข้อมูลป้อนกลับเชิงวิทัศน์บนจอแสดงผลต่อการรับรู้การรอคอยเมื่อการรับรู้ความไม่แน่นอนเป็นตัวแปรร่วม, ปิยาภรณ์ คุรุเสถียรพงศ์ Jan 2017

ผลของข้อมูลป้อนกลับเชิงวิทัศน์บนจอแสดงผลต่อการรับรู้การรอคอยเมื่อการรับรู้ความไม่แน่นอนเป็นตัวแปรร่วม, ปิยาภรณ์ คุรุเสถียรพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการกับความรู้สึกล่าช้าของผู้ใช้งาน ในบริบทของการดาวน์โหลดข้อมูลผ่านเว็บไซต์ โดยมีรูปแบบของข้อมูลป้อนกลับที่ต้องการศึกษาคือ แถบแสดงสถานะที่มีความยาวของการแสดงผลไม่เท่ากัน อัตราการแสดงความคืบหน้าของความสำเร็จสามแบบ ได้แก่แบบคงที่ แบบก้าวหน้า และแบบถดถอย ร่วมกับการเพิ่มข้อมูลป้อนกลับเชิงอักษร (การเพิ่มร้อยละของการดาวน์โหลดที่สำเร็จในการแสดงความคืบหน้าภายในแถบแสดงสถานะ) ทั้งนี้ตัวแปรทั้งหมดจะมีการพิจารณาถึงผลที่มีต่อการรับรู้การรอคอยร่วมกันโดยมีการรับรู้ความไม่แน่นอนเป็นตัวแปรร่วม การวิเคราะห์ความสัมพันธ์และผลของตัวแปรต่าง ๆ ในงานวิจัยนี้จะดำเนินการผ่านเว็บไซต์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เพื่อทดสอบ โดยประเภทของเว็บไซต์ที่ใช้ในการทดสอบ คือเว็บไซต์คลังข้อสอบออนไลน์ การเก็บข้อมูลมาจากหน่วยทดลองในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์จากหน่วยทดลองจำนวน 447 คน ผลการทดลองพบว่าการรับรู้การรอคอย ขึ้นอยู่กับอิทธิพลโดยตรงของความยาวของแถบแสดงสถานะ การเพิ่มสถานการณ์ดาวน์โหลดเชิงอักษร และการรับรู้ตวามไม่แน่นอน กล่าวคือ แถบแสดงสถานะแบบสั้น และการเพิ่มสถานะการดาวน์โหลดเชิงอักษร ส่งผลให้หน่วยตัวอย่างรับรู้การรอคอยสั้นกว่า ผลจากงานวิจัยนี้อาจจะนำไปปรับใช้เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ทั่วไปให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้งานเว็บไซต์มากยิ่งขึ้นโดยอาจจะลดระยะเวลารอการแสดงผล หรือปรับฟังก์ชันของอัตราการแสดงตัวชี้บอกความคืบหน้าของข้อมูลป้อนกลับ เพื่อให้ผู้ใช้งานเว็บไซต์รับรู้ความล่าช้าลดน้อยลง


แง่มุมในข้อความความคิดเห็นออนไลน์ที่มีผลต่อการรับรู้ประโยชน์ในเว็บไซต์แนะนำร้านอาหาร, สาริทธิ์ บุญชูสนอง Jan 2017

แง่มุมในข้อความความคิดเห็นออนไลน์ที่มีผลต่อการรับรู้ประโยชน์ในเว็บไซต์แนะนำร้านอาหาร, สาริทธิ์ บุญชูสนอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาแง่มุมในข้อความความคิดเห็นออนไลน์ที่มีผลต่อการรับรู้ประโยชน์ของความคิดเห็นในเว็บไซต์แนะนำร้านอาหาร โดยใช้ข้อมูลความคิดเห็นออนไลน์ที่ได้รับความอนุเคราะห์จากเว็บไซต์แนะนำร้านอาหารแห่งหนึ่ง จำนวน 20,000 ข้อความ ผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษาว่าจำนวนครั้งที่พบคำใน 5 แง่มุม คือ (1) รสชาติอาหาร (2) บริการ (3) บรรยากาศและการตกแต่งร้าน (4) ราคา และ (5) รายการอาหาร ส่งผลต่อการรับรู้ประโยชน์ของความคิดเห็นออนไลน์ในเว็บไซต์แนะนำร้านอาหารหรือไม่ รวมถึงสรุปเกี่ยวกับแง่มุมและระดับที่ส่งผลต่อการรับรู้ประโยชน์ของผู้อ่าน ในงานวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้ใช้เครื่องมือ Unsupervised-Aspect-Extraction (github.com/ruidan/Unsupervised-Aspect-Extraction) ในการจัดกลุ่มคำในแต่ละแง่มุมและใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลการรับรู้ประโยชน์ของความคิดเห็นจำนวน 350 ความคิดเห็นจากหน่วยตัวอย่างจำนวน 117 คน ผลการวิจัยพบว่าแง่มุมในข้อความคิดเห็นออนไลน์ที่ศึกษามีผลต่อการรับรู้ประโยชน์ของความคิดเห็น โดยมีค่า p-value เท่ากับ 0.021 แต่อย่างไรก็ตามจำนวนคำในทั้ง 5 แง่มุมยังอธิบายการรับรู้ประโยชน์ได้ไม่ดีเท่าที่ควร และมีเพียงตัวแปรเดียวคือ จำนวนครั้งที่พบคำในแง่มุมรสชาติอาหารในความคิดเห็นออนไลน์ที่มีผลต่อการรับรู้ประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือมีค่า p-value เท่ากับ 0.008


Separation Of Silver And Gold Ions/Nanoparticles In Water Using Chemically Modified-Silica For Spectrometric Detection, Pimpimon Anekthirakun Jan 2017

Separation Of Silver And Gold Ions/Nanoparticles In Water Using Chemically Modified-Silica For Spectrometric Detection, Pimpimon Anekthirakun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The separation of gold and silver ions/nanoparticles in water using chemically-modified silica and unmodified silica was investigated by solid-phase extraction (SPE) followed by the determination via inductively coupled plasma-optical emission spectrometry (ICP-OES). 1-Carboxymethyl-3-methylimidazolium chloride ionic liquid [MimCM]Cl and humic acid (HA) immobilized onto aminopropyl silica (SiAP) sorbents were successfully prepared for the separation of metal species. Ionic liquid modified-SiAP (SiAP-IL) sorbent was chosen for the separation of gold ions/nanoparticles, while humic acids modified-SiAP (SiAP-HA) sorbent was selected for silver ions/nanoparticles. Based on this proposed method, the metal ions were preferentially adsorbed onto the solid sorbent over the metal nanoparticles, thus …


Colorimetric Determination Of Thiocyanate Ion Using Modified Polymer Resins, Sujinda Khaosaard Jan 2017

Colorimetric Determination Of Thiocyanate Ion Using Modified Polymer Resins, Sujinda Khaosaard

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

A new method for thiocyanate determination in milk samples based on the formation of dithiocyanato dipyridine copper(II) [Cu(SCN)2(Py)2] complex on polymer resin surface is proposed. Amberlite XAD-7 resin on was modified with copper-pyridine complex and used as the material for detection. The color of resin changed from blue to green with the increase of thiocyanate concentration. It could be observed by naked-eye and the color intensity used as quantitative data was measured via Image-J software. The effect of various parameters was investigated including Cu2+ concentration, time for resin modification with reagents, sample volume, detection time and pyridine volume. Under the …


ผลของตัวเร่งปฏิกิริยาของสารประกอบเชิงซ้อนคอปเปอร์-แอมีนกับเทอเทียรีแอมีนต่อการเตรียมโฟมพอลิยูรีเทนแบบแข็ง, ชาภิชญ์ จันทรสร Jan 2017

ผลของตัวเร่งปฏิกิริยาของสารประกอบเชิงซ้อนคอปเปอร์-แอมีนกับเทอเทียรีแอมีนต่อการเตรียมโฟมพอลิยูรีเทนแบบแข็ง, ชาภิชญ์ จันทรสร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาเกี่ยวกับผลการเสริมกันของตัวเร่งปฏิกิริยาร่วมระหว่างสารประกอบเชิงซ้อนคอปเปอร์-แอมีนกับตัวเร่งปฏิกิริยาทางการค้าต่อการเตรียมโฟมพอลิยูรีเทนแบบแข็ง สารประกอบเชิงซ้อนคอปเปอร์-แอมีนที่สังเคราะห์ขึ้น คือ สารประกอบเชิงซ้อนคอปเปอร์-เอทิลีนไดแอมีน [Cu(OAc)2(en)2] และ สารประกอบเชิงซ้อนคอปเปอร์-ไตรเอทิลีนเตตระมีน [Cu(OAc)2(trien)] ในรูปแบบสารละลายในเอทิลีนไกลคอล ตัวเร่งปฏิกิริยาทางการค้าที่ใช้มี 3 ชนิด คือ ไดเมทิลไซโคลเฮกซิลแอมีน (DMCHA) และไตรเอทิลีนไดแอมีน (TEDA) ซึ่งเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาประเภทเทอเทียรีแอมีน และโพแทสเซียมออกโทเอต (KOct) พิสูจน์เอกลักษณ์ของสารประกอบเชิงซ้อนคอปเปอร์-แอมีนโดยใช้เทคนิคยูวี-วิสิเบิลสเปกโทรสโกปี และเอฟทีไออาร์สเปกโทรสโกปี ศึกษาการเตรียมโฟมพอลิยูรีเทนแบบแข็งด้วยระบบตัวเร่งปฏิกิริยาร่วม 6 ระบบ คือ Cu(OAc)2(en)2 : DMCHA, Cu(OAc)2(trien) : DMCHA, Cu(OAc)2(en)2 : TEDA, Cu(OAc)2(trien) : TEDA, Cu(OAc)2(en)2 : KOct และ Cu(OAc)2(trien) : KOct โดยศึกษาเวลาที่ใช้ในการเกิดปฏิกิริยา คือ เวลาเกิดครีม, เวลาเกิดเจล, เวลาที่โฟมไม่เกาะติดกับผิววัสดุ และเวลาที่โฟมหยุดฟู พิสูจน์เอกลักษณ์โฟมที่ได้ด้วยเอทีอาร์-เอฟทีไออาร์สเปกโทรสโกปี จากผลการทดลองพบว่าตัวเร่งปฏิกิริยาร่วม Cu(OAc)2(en)2 : DMCHA และ Cu(OAc)2(trien) : DMCHA สามารถเร่งปฏิกิริยาได้เร็วกว่าการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาชนิดเดียว คือ Cu(OAc)2(en)2 หรือ Cu(OAc)2(trien) หรือ DMCHA โดยดูได้จากเวลาที่โฟมไม่เกาะติดกับผิววัสดุมีค่าลดลง โฟมพอลิยูรีเทนแบบแข็งที่เตรียมได้จาก Cu(OAc)2(en)2 : DMCHA และ Cu(OAc)2(trien) : DMCHA มีสมบัติเชิงกายภาพและสมบัติเชิงกลที่ดีเทียบเท่ากับโฟมที่เตรียมจาก DMCHA


Photocatalytic Conversion Of Glycerol To Dihydroxyacetone, Trin Jedsukontorn Jan 2017

Photocatalytic Conversion Of Glycerol To Dihydroxyacetone, Trin Jedsukontorn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This work was carried out to convert glycerol to value-added compounds in liquid phase over TiO₂-based photocatalyst. The investigated parameters were catalyst dosage (1-3 g/L), H₂O₂ concentration (0.3-1.5 mol/L), UV light intensity (1.1-4.7 mW/cm²), reaction time (4-8 h) and electron acceptor types (O₂ and H₂O₂). It was found that TiO₂ in anatase phase can achieved the glycerol conversion of around 71.42% at catalyst dosage of 3 g/L, H₂O₂ concentration of 1.5 mol/L, UV light intensity 4.7 mW/cm² and reaction time 8 h. The addition of monometallic (bismuth, platinum, palladium, and gold) and bimetallic (gold-bismuth, gold-platinum, and gold-palladium) on TiO₂ can …


Synthesis Of Thiofuranosides By Dehydrative Glycosylation In Micellar Media, Trichada Ratthachag Jan 2017

Synthesis Of Thiofuranosides By Dehydrative Glycosylation In Micellar Media, Trichada Ratthachag

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Green and aqueous-based dehydrative glycosylation of thiofuranosides in micellar media was developed. The thiofuranosides are useful as precursors for carbohydrate synthesis, biological active molecules, and bio-surfactants. Dodecylbenzenesulfonic acid (DBSA), a commercially available Brønsted acid-surfactant, was employed to increase solubility of substrates and enhance rate of the glycosylation. Herein, we report the dehydrative glycosylation of furanosides and pyranosides with aliphatic, aromatic, and heterocyclic thiols in aqueous media to afford the thiofuranosides. Microwave irradiation led to improved yields and shorter reaction times. Other reaction parameters such as temperature and the amount of acid used were also optimized. Aliphatic and aromatic thiofuranosides were …