Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Physical Sciences and Mathematics Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2017

Discipline
Institution
Keyword
Publication
Publication Type
File Type

Articles 11191 - 11220 of 12521

Full-Text Articles in Physical Sciences and Mathematics

การพัฒนากรอบงานความสามารถด้านการเขียนโปรแกรม จากความถนัดและทักษะ, ชัยวัฒน์ ฉวีวรรณ Jan 2017

การพัฒนากรอบงานความสามารถด้านการเขียนโปรแกรม จากความถนัดและทักษะ, ชัยวัฒน์ ฉวีวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเรียนการสอนการเขียนโปรแกรมจะมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถเขียนโปรแกรมเพื่อนำไปใช้แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่สามารถแก้ด้วยภาษาโปรแกรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทางผู้สอนจึงมักจะสอนการเขียนโปรแกรมในรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงให้คำแนะนำการใช้เครื่องมือทางภาษาโปรแกรมให้แก่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะในการเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ไขปัญหาที่หลากหลาย แต่เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนนั้นมีพื้นฐาน และความถนัดในการเขียนโปรแกรมที่แตกต่างกัน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการค้นหาความถนัด และประเมินทักษะของผู้เรียน เพื่อเป็นข้อมูลให้กับครูผู้สอนรับทราบถึงทักษะของผู้เรียนแต่ละคน และยังทำให้สามารถเข้าไปเสริมในเรื่องที่ผู้เรียนเกิดความไม่เข้าใจให้มีความเข้าใจมากขึ้นเพื่อที่จะสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการเขียนโปรแกรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในงานวิจัยชิ้นนี้ได้มีการนำเสนอแนวคิด และวิธีการในการค้นหาความถนัด และประเมินทักษะในการเขียนโปรแกรม โดยที่ทางด้านการค้นหาความถนัดนี้จะพิจารณาจาก 4 คุณลักษณะได้แก่ 1) ผลจากการเปรียบเทียบระหว่างวัตถุประสงค์การสอนกับโปรแกรมที่ผู้เรียนการเขียนโปรแกรมเขียนขึ้น 2) การใช้เครื่องมือทางภาษาเขียนโปรแกรม 3) หมายเหตุที่ได้จากการตรวจ และ 4) ความยากง่ายทางการอ่านของรหัสต้นฉบับ และทางด้านการประเมินทักษะทางด้านการเขียนโปรแกรมจะพิจารณาจาก เวลาที่ผู้เรียนการเขียนโปรแกรมใช้ไปในการเขียนโปรแกรม 1 ข้อ และจำนวนครั้งของการส่งโปรแกรม โดยผลลัพธ์ที่ได้จากงานวิจัยชิ้นนี้คือแนวคิด และวิธีการในการค้นหาความถนัด และประเมินทักษะในการเขียนโปรแกรมที่สามารถนำไปปรับใช้ในการเรียนการสอนการเขียนโปรแกรมได้ อีกทั้งผลลัพธ์ที่ได้จากการค้นหาความถนัด และประเมินทักษะทางด้านการเขียนโปรแกรมยังเป็นข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อครูผู้สอนการเขียนโปรแกรมในการเสริมสร้างทักษะในการเขียนโปรแกรมให้แก่ผู้เรียนเขียนโปรแกรม


ไดนามิกไทม์วอร์ปปิงถ่วงน้ำหนักแบบเพิ่มสมรรถนะสำหรับการจำแนกประเภทอนุกรมเวลา, พิชามญชุ์ อนันตเศรษฐ์ Jan 2017

ไดนามิกไทม์วอร์ปปิงถ่วงน้ำหนักแบบเพิ่มสมรรถนะสำหรับการจำแนกประเภทอนุกรมเวลา, พิชามญชุ์ อนันตเศรษฐ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ไดนามิกไทม์วอร์ปปิงเป็นมาตรวัดระยะห่างซึ่งเป็นที่นิยมและใช้กันอย่างแพร่หลายสำหรับการจำแนกประเภทข้อมูลอนุกรมเวลาเนื่องจากความยืดหยุ่นและความทนทานต่อข้อมูลในหลากหลายกรณีอันเป็นคุณสมบัติหลักของไดนามิกไทม์วอร์ปปิง อย่างไรก็ตามไดนามิกไทม์วอร์ปปิงอาจนำไปสู่การยืดหดที่มากจนเกินไปส่งผลให้แนวการปรับตรงของจุดหลายจุดบนอนุกรมเวลาหนึ่งสู่จุดเพียงจุดเดียวบนอีกอนุกรมเวลาหนึ่งและอาจส่งผลให้เกิดการจำแนกประเภทผิดพลาดเมื่อนำไปใช้ในการจำแนกประเภทอนุกรมเวลา ซึ่งปัญหาดังกล่าวถือเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้มีงานวิจัยมากมายถูกนำเสนอออกมาเพื่อใช้แก้ปัญหา หนึ่งในนั้นคือการเสนอไดนามิกไทม์วอร์ปปิงถ่วงน้ำหนักแบบต่างๆ ซึ่งสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้เป็นอย่างดีแต่กลับต้องแลกมาด้วยตัวแปรเสริมที่ยากต่อการหาค่าที่เหมาะสม เพื่อขจัดปัญหาดังกล่าว วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงได้เสนอมาตรวัดระยะห่างที่ยังคงคุณสมบัติที่ดีของไดนามิกไทม์วอร์ปปิงฉบับดั้งเดิมเอาไว้อีกทั้งสามารถแก้ปัญหาแนวการปรับตรงที่ผิดพลาดของไดนามิกไทม์วอร์ปปิงแบบดั้งเดิมได้ โดยอาศัยหลักการของไดนามิกไทม์วอร์ปปิงถ่วงน้ำหนักแต่ไม่จำเป็นต้องหาค่าของตัวแปรเสริมเช่นไดนามิกไทม์วอร์ปปิงถ่วงน้ำหนักแบบอื่นๆ ภายใต้ชื่อไดนามิกไทม์วอร์ปปิงถ่วงน้ำหนักแบบเพิ่มสมรรถนะ ที่นอกจากจะให้ประสิทธิภาพในการจำแนกประเภทอนุกรมเวลาให้ดีขึ้นแล้ว ก็ยังคงไว้ด้วยความซับซ้อนของเวลาที่เท่ากันกับไดนามิกไทม์วอร์ปปิงแบบดั้งเดิมอีกด้วย


จุดพร้อมโยงที่ปลอดภัยด้วยการพิสูจน์ตัวจริงแบบหลายปัจจัยผ่านเอ็นเอฟซีบนสมาร์ตโฟน, วิภพ โพธิ์มาก Jan 2017

จุดพร้อมโยงที่ปลอดภัยด้วยการพิสูจน์ตัวจริงแบบหลายปัจจัยผ่านเอ็นเอฟซีบนสมาร์ตโฟน, วิภพ โพธิ์มาก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบัน เทคโนโลยีเครือข่ายแบบไร้สายเป็นองค์ประกอบสำคัญของธุรกิจ สถานที่ทำงานบางแห่งมีนโยบายให้พนักงานนำอุปกรณ์ที่เป็นของตนเองเพื่อเข้าถึงสารสนเทศและใช้งานแอปพลิเคชันต่างๆของบริษัท หลายองค์กรได้จัดเตรียมระบบเครือข่ายไร้สายภายในองค์กร เพื่อสนับสนุนการเชื่อมต่อให้กับอุปกรณ์ขนาดเล็กและความสะดวกในการจัดการ อย่างไรก็ตาม ความปลอดภัยของเครือข่ายองค์กรจำเป็นต้องมีการจำกัดสิทธิ์ที่เข้มงวด เนื่องจากข้อมูลสำคัญจำนวนมากจะถูกถ่ายโอนผ่านเครือข่ายไร้สาย ดังนั้น การพิสูจน์ตัวจริงถูกมองว่าเป็นหน้าด่านแรกของการป้องกันการเข้าถึงที่ไม่มีสิทธิซึ่งสามารถลดภัยคุกคามต่อเครือข่ายไร้สายได้ WPA2 Enterprise กับมาตรฐาน 802.1X มักถูกนำมาใช้เพื่อจัดการขั้นตอนพิสูจน์ตัวจริงบนเครือข่ายด้วยกรอบงาน EAP โดยเฉพาะกรอบงานประเภท EAP-TLS ที่ใช้ใบรับรองในการพิสูจน์ตัวจริงร่วมกัน ซึ่งให้ความปลอดภัยสูงแต่การใช้งานจริงมีความยุ่งยาก เนื่องจากการจัดการใบรับรองลูกข่าย ด้วยเหตุนี้ การจัดการข้อมูลใบรับรองสำหรับผู้ใช้ทั้งหมดจึงเป็นเรื่องยุ่งยากต่อผู้ดูแลระบบ และผู้ใช้มักจะประสบกับกระบวนการพิสูจน์ตัวจริงที่ซับซ้อน เช่น การติดตั้งใบรับรอง การกำหนดการตั้งค่าเครือข่าย เป็นต้น เพื่อลดภาระในการจัดการใบรับรองของผู้ดูแลระบบ และเพื่อสนับสนุนนโยบายความปลอดภัยเครือข่ายไร้สายระดับสูง งานวิจัยนี้จึงนำเสนอแนวทางการพิสูจน์ตัวจริงกับจุดพร้อมโยงเครือข่ายไร้สายในองค์กรด้วยการใช้เทคโนโลยีเอ็นเอฟซีร่วมกับการพิสูจน์ตัวจริงแบบหลายปัจจัย สำหรับแลกเปลี่ยนข้อมูลใบรับรองและข้อมูลการตั้งค่าเครือข่าย ระบบถูกพัฒนาบนสมาร์ตโฟนแอนดรอยด์ที่สนับสนุนเอ็นเอฟซีโดยใช้งานร่วมกับสถาปัตยกรรมเครือข่ายไร้สายจำลองที่ใช้การตรวจสอบสิทธิ์แบบ WPA2-802.1X กับ EAP-TLS ทั้งนี้ แนวทางที่นำเสนอได้ถูกประเมินด้วย ตัววัดเวลาใช้งานจริงในการติดต่อเข้าถึงเครือข่ายไร้สาย และแบบสอบถามการประเมินประสบการณ์การใช้งานจากผู้ใช้


การวิเคราะห์ทวิตเตอร์ในเหตุการณ์สวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช, อารยา พุดตาล Jan 2017

การวิเคราะห์ทวิตเตอร์ในเหตุการณ์สวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช, อารยา พุดตาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากเหตุการณ์การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมิทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในวันที่ 13 ตุลาคม 2559 ซึ่งถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อคนไทยเป็นอย่างมาก จึงทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในทวิตเตอร์หลายประการ ทั้งในด้านปริมาณการทวีตและรีทวีต ข้อความในทวีตซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างจากเหตุการณ์อื่น ๆ ลักษณะการเกิดขึ้นของเหตุการณ์ย่อยต่าง ๆ ลักษณะของพฤติกรรมการรีทวีตของผู้ใช้ในแต่ละกลุ่ม รวมไปถึงลักษณะของการกระจายข้อมูลของผู้ใช้โดยพิจารณาจากตำแหน่งที่ตั้ง เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ปรากฏการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้นในทวิตเตอร์ งานวิจัยนี้จึงถูกออกแบบขึ้นเพื่อเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล โดยเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านเว็บไซต์ (Web Crawler) ร่วมกับ ฟังก์ชันค้นหาขั้นสูงของทวิตเตอร์ (https://twitter.com/search-advanced) ผ่านการค้นหาจากคำสำคัญและแฮชแท็กที่เกี่ยวข้องกับในหลวงรัชกาลที่ 9 เพื่อนำมาวิเคราะห์และเปรียบเทียบคุณลักษณะต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในทวิตเตอร์ โดยพิจารณาจากจำนวนรีทวีต คำ และแฮชแท็กที่เกิดขึ้น อีกทั้งยังพบเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยตรง ผู้วิจัยจึงเสนอวิธีที่จะสามารถสกัดและค้นหาเหตุการณ์ย่อย ๆ จากทวิตเตอร์ และนอกจากนี้ยังได้วิเคราะห์พฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้เปรียบเทียบกับการทวีตตามปกติ และวิเคราะห์การกระจายข้อมูลโดยพิจารณาจากตำแหน่งที่ตั้งอีกด้วย


วัสดุเชิงประกอบแกรฟีนเจือไนโตรเจน/โคบอลต์และแมงกานีสออกไซด์/พอลิพีร์โรลสำหรับการประยุกต์เป็นตัวเก็บประจุยิ่งยวด, เวสารัช เสมอชีพ Jan 2017

วัสดุเชิงประกอบแกรฟีนเจือไนโตรเจน/โคบอลต์และแมงกานีสออกไซด์/พอลิพีร์โรลสำหรับการประยุกต์เป็นตัวเก็บประจุยิ่งยวด, เวสารัช เสมอชีพ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาวัสดุสำหรับใช้เป็นตัวเก็บประจุยิ่งยวดที่มีประสิทธิภาพสูงจากแกรฟีนเจือไนโตรเจนซึ่งมีกลไกการเก็บประจุแบบสองชั้นร่วมกับพอลิพิร์โรลและโลหะออกไซด์ผสมซึ่งมีกลไกการเก็บประจุแบบซูโดคาแพซิทีฟ โดยเริ่มจากนำแกรฟีนมารีฟลักซ์ร่วมกับเมลามีนในน้ำที่อุณหภูมิ 97 °C เป็นเวลา 12 ชั่วโมง ทำให้เกิดการเจือไนโตรเจนเข้าไปในโครงสร้างของแกรฟีน การเจือไนโตรเจนเข้าไปในแกรฟีนนี้ได้รับการยืนยันด้วยเทคนิคอินฟราเรดสเปกโทรสโกปีและเทคนิคเอกซ์เรย์โฟโตอิเล็กตรอนสเปกโทรสโกปี จากนั้นสังเคราะห์พอลิพิร์โรลลงบนพื้นผิวของแกรฟีนเจือไนโตรเจนโดยใช้แอมโมเนียมเพอร์ซัลเฟตภายใต้คลื่นความถี่สูง เพื่อให้เกิดชั้นของพอลิพิร์โรลที่ปกคลุมพื้นผิวของแกรฟีนเจือไนโตรเจนได้อย่างสม่ำเสมอและทั่วถึง เมื่อนำแกรฟีนเจือไนโตรเจนที่เคลือบด้วยพอลิพิร์โรลที่กระจายตัวอย่างสม่ำเสมอไปทดสอบด้วยเทคนิคกัลวาโนสแททิกชาร์จ-ดิสชาร์จพบว่าให้ค่าการเก็บประจุจำเพาะที่ดีโดยมีค่าสูงถึง 150.63 F/g ที่กระแสไฟฟ้า 1 A/g ส่วนโลหะออกไซด์ผสมเตรียมจากโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนส (KMnO4) และโคบอลต์ไนเตรตเฮกซะไฮเดรต (Co(NO3)2·6H2O) ใช้เทคนิคไฮโดรเทอร์มัลที่อุณหภูมิ 120 °C 4 ชั่วโมง ที่อัตราส่วนโดยโมลที่เท่ากัน เพื่อเปลี่ยนธาตุทั้งสองให้กลายเป็นเป็นอนุภาคของโลหะออกไซด์ผสม โลหะออกไซด์ผสมที่ได้ (MnCo2O4) มีสัณฐานวิทยาที่ดีและเกิดกลไกการเก็บประจุแบบซูโดคาร์ปาซิเทอร์ได้ดีกว่าแมงกานีสออกไซด์หรือโคบอลต์ออกไซด์ที่ใช้วิธีเดียวกันในการสังเคราะห์ และเมื่อนำแกรฟีนเจือไนโตรเจนที่เคลือบด้วยพอลิพิร์โรลมาผสมกับโลหะออกไซด์ผสม พบว่าที่อัตราส่วนร้อยละ 60 เป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุด โดยให้ค่าการเก็บประจุสูงถึง 217.5 F/g ที่กระแสไฟฟ้า 1 A/g ผลการทดลองชี้ให้เห็นว่าวัสดุที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถนำไปประยุกต์เป็นตัวเก็บประจุยิ่งยวดที่มีประสิทธิภาพสูงได้


การเตรียมและสมบัตินำไฟฟ้าของผงถ่านกัมมันต์กราฟต์ด้วยพอลิแอนิลีน, สิริญญา โสตถิอุดม Jan 2017

การเตรียมและสมบัตินำไฟฟ้าของผงถ่านกัมมันต์กราฟต์ด้วยพอลิแอนิลีน, สิริญญา โสตถิอุดม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เตรียมผงถ่านกัมมันต์กราฟต์ด้วยพอลิแอนิลีน โดยเริ่มจากดัดแปรพื้นผิวผงถ่านกัมมันต์ด้วยปฎิกิริยาไนเตรชัน (กรดไนตริกและกรดซัลฟิวริกเข้มข้น) ตามด้วยปฎิกิริยารีดักชันด้วยโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์/แอมโมเนีย เพื่อได้หมู่ไนโตรและอะมิโนบนผิวของผงถ่านกัมมันต์ตามลำดับ ยืนยันการพบหมู่ฟังก์ชันได้ด้วยเทคนิคฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์มอินฟาเรดสเปกโทรสโคปี และ โปรตอนเอ็นเอ็มอาร์ จากนั้นทำการต่อกิ่งพอลิแอนิลีนลงบนผิวของผงถ่านกัมมันต์ที่มีหมู่ฟังก์ชันเอมีน ด้วยปฏิกิริยาออกซิเดชันพอลิเมอร์ไรเซชัน ที่มีแอมโมเนียมเปอร์ซัลเฟตเป็นตัวเริ่มปฏิกิริยา จะได้ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 3 แบบ คือ AC/PANi, AC-NO₂/PANi และ AC-NH₂/PANi หรือ AC-NH₂-g-PANi ที่อัตราส่วนโดยน้ำหนัก 1:0.1, 1:0.2, 1:0.25, 1:0.3, 1:0.4 และ 1:0.5 วิเคราะห์สัณฐานวิทยาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด พบว่าพอลิแอนิลีนสามารถปกคลุมอยู่บนพื้นผิวของ AC-NO₂ ซึ่งเป็นผงถ่านกัมมันต์ที่ผ่านการดัดแปรได้ เนื่องจากพอลิแอนิลีนสามารถมีแรงยึดเหนี่ยวกับ AC-NO₂ ด้วยพันธะไดโพลหรือแรงดึงดูดระหว่างขั้วตรงตำแหน่งหมู่ไนโตรของผงถ่านกัมมันต์ ในขณะที่ AC-NH₂/PANi พบว่ามีการต่อกิ่งจากหลักฐานเอ็นเอ็มอาร์ และจากภาพที่ถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด พบว่าพอลิแอนิลีนอยู่ในรูปเส้นใยที่ปกคลุมพื้นผิวผงถ่านกัมมันต์อย่างชัดเจน และที่พอลิแอนิลีนความเข้มข้นต่ำจะได้เส้นใยนาโนพอลิแอนิลีนที่มีพื้นที่ผิวที่มากที่สุด และด้วยพอลิแอนิลีนที่อยู่ในรูปเส้นใยนาโนที่เกาะบนพื้นผิวผงถ่านกัมมันต์จะส่งผลให้มีค่าความสามารถในการเก็บประจุสูงถึง 858.8 ฟารัด/กรัม ซึ่งจะตรงข้ามกับเส้นใยของพอลิแอนิลีนที่มีขนาดใหญ่จะส่งผลให้มีค่าความสามารถในการเก็บประจุได้ต่ำกว่า คือ 425.4 ฟารัด/กรัม


การสร้างแบบจำลองด้วยโพรเมลาเพื่อทวนสอบซิกแนลแทรนซิชันกราฟในการสร้างวงจรอสมวาร, คณุตม์ บุญเรืองขาว Jan 2017

การสร้างแบบจำลองด้วยโพรเมลาเพื่อทวนสอบซิกแนลแทรนซิชันกราฟในการสร้างวงจรอสมวาร, คณุตม์ บุญเรืองขาว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การทวนสอบวงจรอสมวารนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งในขั้นตอนการออกแบบเพื่อความถูกต้องในการทำงานของสัญญาณ โดยวงจรจะถูกออกแบบในขั้นต้นด้วยซิกแนลแทรนซิชันกราฟ วิทยานิพนธ์ใช้ประโยชน์จากเทคนิคการตรวจสอบแบบจำลองเพื่อทวนสอบซิกแนลแทรนซิชันกราฟในคุณสมบัติซึ่งประกอบด้วย คุณสมบัติความปลอดภัย คุณสมบัติไลฟ์เนส คุณสมบัติความทนทาน คุณสมบัติความต้องกัน และคุณสมบัติการกำหนดสถานะสมบูรณ์ ซึ่งซิกแนลแทนซิชันกราฟประกอบด้วยประเภทวัฏจักรเชิงเดี่ยว และประเภทวัฏจักรหลากหลาย ในขั้นแรกซิกแนลแทรนซิชันกราฟจะถูกแปลงเป็นรหัสโพรเมลาแบบจำลองโครงสร้าง และแบบจำลองวัฏจักรที่มีจุดยอดไม่ซ้ำกัน จากนั้นจึงนำซิกแนลแทรนซิชันกราฟไปแปลงเป็นตรรกะเวลาเชิงเส้นซึ่งประกอบด้วยคุณสมบัติความปลอดภัย คุณสมบัติไลฟ์เนส คุณสมบัติความทนทาน คุณสมบัติความต้องกัน และคุณสมบัติการกำหนดสถานะที่สมบูรณ์ จากนั้นคุณสมบัติความปลอดภัยจะทวนสอบโดยนำรหัสโพรเมลาแบบจำลองโครงสร้าง และตรรกะเวลาเชิงเส้นของคุณสมบัติความปลอดภัยไปทวนสอบโดยเครื่องมือสปินจะได้ผลการทวนสอบของคุณสมบัติ คุณสมบัติไลฟ์เนสจะทวนสอบโดยนำรหัสโพรเมลาแบบจำลองโครงสร้าง และตรรกะเวลาเชิงเส้นของคุณสมบัติไลฟ์เนสไปทวนสอบโดยเครื่องมือสปินจะได้ผลการทวนสอบของคุณสมบัติ คุณสมบัติความทนทานจะทวนสอบโดยนำรหัสโพรเมลาแบบจำลองโครงสร้าง และตรรกะเวลาเชิงเส้นของคุณสมบัติความทนทานไปทวนสอบโดยเครื่องมือสปินจะได้ผลการทวนสอบของคุณสมบัติ คุณสมบัติความต้องกันจะทวนสอบโดยนำรหัสโพรเมลาแบบแบบจำลองวัฏจักรที่มีจุดยอดไม่ซ้ำกัน และตรรกะเวลาเชิงเส้นของคุณสมบัติความต้องกันไปทวนสอบโดยเครื่องมือสปินจะได้ผลการทวนสอบของคุณสมบัติ ในขั้นสุดท้ายคุณสมบัติการกำหนดสถานะที่สมบูรณ์จะนำรหัสโพรเมลาแบบแบบจำลองวัฏจักรที่มีจุดยอดไม่ซ้ำกัน และตรรกะเวลาเชิงเส้นของการกำหนดสถานะที่สมบูรณ์มาเพื่อหาความสัมพันธ์เชิงล็อคและทวนสอบโดยเครื่องมือสปิน จากนั้นจึงนำผลที่ได้จากการจำลองมาตรวจสอบในเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นจึงได้คำตอบของการทวนสอบคุณสมบัตินี้ อย่างไรก็ตามเทคนิคของงานวิจัยนี้ยังไม่เป็นอัตโนมัติในบางคุณสมบัติ


การคัดแยกไวรัสคอมพิวเตอร์จากรหัสฐานสอง, ประสิทธิ์ อุษาฟ้าพนัส Jan 2017

การคัดแยกไวรัสคอมพิวเตอร์จากรหัสฐานสอง, ประสิทธิ์ อุษาฟ้าพนัส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้นำเสนอการใช้การเรียนรู้แบบมีผู้สอนเพื่อตรวจจับไฟล์ไวรัสคอมพิวเตอร์ที่ไม่เคยพบมาก่อนแบบ static ผู้วิจัยได้ทดสอบกับตัวแยกประเภทจำนวน 3 แบบ คือ random forest, multilayer perceptron และ extreme gradient boosting ชุดข้อมูลประกอบด้วย 6319 ไฟล์ executable แต่ละไฟล์ถูกสกัดด้วย objdump แล้วจัดเรียงตามคะแนน TF-IDF เพื่อหา feature ที่เหมาะสม ผลลัพธ์เปรียบเทียบด้วย F1-score คือ สามารถใช้ตัวแยกประเภทแบบ random forest ร่วมกับข้อมูลที่มี 20 attribute ได้ 0.937 F1-score ซึ่งมากกว่าบรรทัดฐานอยู่ 0.031 F1-score และ สามารถใช้ตัวแยกประเภทแบบ extreme gradient boosting ร่วมกับข้อมูลที่มี 500 attribute ได้ 0.962 F1-score ซึ่งมากกว่าบรรทัดฐานอยู่ 0.041 F1-score จึงสรุปได้ว่าวิธีการในงานวิจัยนี้สามารถเพิ่ม precision และ recall ของการแยกประเภทได้


การพัฒนาระบบสารสนเทศปรับเปลี่ยนตามแบบการประเมินของครูสำหรับการประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษา, พิทยา ระยับศรี Jan 2017

การพัฒนาระบบสารสนเทศปรับเปลี่ยนตามแบบการประเมินของครูสำหรับการประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษา, พิทยา ระยับศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบสำหรับระบบ ฯ ด้านข้อมูลนำเข้า กระบวนการ และการนำเสนอผล 2) พัฒนาระบบ ฯ 3) ประเมินคุณภาพของระบบ ฯ และ 4) ศึกษาผลจากการใช้ระบบ ฯ ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ของครู การวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 ระยะ แต่ละระยะเก็บข้อมูลกับครูมัธยมศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและโรงเรียนสาธิตสังกัดสำนักงานการอุดมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร การวิจัยระยะที่ 1 ประกอบด้วยผู้ให้ข้อมูลคือ ครูมัธยมศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ รวมทั้งสิ้น 16 คน เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม และประเมินคุณภาพของระบบ ฯ โดยผู้เชี่ยวชาญ ส่วนระยะที่ 2 เก็บข้อมูลกับครูและนักเรียนมัธยมศึกษาที่เป็นอาสาสมัครในการทดลองใช้ระบบ ฯ รวมทั้งสิ้น 50 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความพึงพอใจและประสิทธิภาพของระบบ ฯ สำหรับครู และแบบสัมภาษณ์นักเรียนสำหรับการใช้ระบบสารสนเทศ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้จะวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพจะใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และสรุปข้อมูลแบบนิรนัย ผลการวิจัยพบว่า 1. ระบบ ฯ ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) ระบบลงทะเบียนและการเข้าสู่ระบบของผู้ใช้ สำหรับเก็บข้อมูลพื้นฐานของผู้ใช้เพื่อจำแนกและกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงและจัดการข้อมูลในระบบ (2) ระบบจัดการรายวิชาและชั้นเรียน ที่มีการเก็บข้อมูลสำหรับการประเมินผลการเรียนรู้ ได้แก่ ประเภทการประเมิน รูปแบบการให้ผลประเมิน ผลป้อนกลับของครู (คุณภาพ จุดเด่นและข้อควรปรับปรุง และข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา) และผลสะท้อนกลับของนักเรียนที่มีต่อผลการประเมินและการจัดการเรียนรู้ของครู และ (3) ระบบรายงานผลที่มีการรายงานสารสนเทศเกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนทั้งในระดับชั้นเรียน และรายบุคคล และมีสารสนเทศเชิงเปรียบเทียบระหว่างผลการประเมินของนักเรียนเป็นรายบุคคลกับภาพรวมทั้งชั้นเรียน จำแนกระบบ ฯ ตามผู้ใช้งานออกเป็น 2 ระบบคือ ระบบสำหรับครูและระบบสำหรับนักเรียน โดยประกอบด้วย 11 ระบบย่อย ได้แก่ (1) ระบบการลงทะเบียนผู้ใช้และการเข้าสู่ระบบ (2) ระบบการจัดการห้องเรียน (3) ระบบการจัดกลุ่มนักเรียน (4) ระบบการสร้างภาระงานและผลป้อนกลับ (5) …


การขจัดสีย้อมในน้ำเสียจากอุตสาหกรรมกระดาษไหว้เจ้าโดยการดูดซับบนคอมพอสิตแร่ดิน-ไคโตซาน, วิศรุต ม่วงรักษ์ Jan 2017

การขจัดสีย้อมในน้ำเสียจากอุตสาหกรรมกระดาษไหว้เจ้าโดยการดูดซับบนคอมพอสิตแร่ดิน-ไคโตซาน, วิศรุต ม่วงรักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการขจัดสีย้อมรีแอคทีฟเรด 120 ในน้ำ โดยการดูดซับบนตัวดูดซับคอมพอสิตแร่ดิน-ไคโตซาน และเปรียบเทียบกับตัวดูดซับไคโตซาน ซึ่งการทดลองนี้จะศึกษาการดูดซับแบบกะ โดยตัวแปร ที่ศึกษาในการทดลอง คือ ปริมาณตัวดูดซับ ความเข้มข้นเริ่มต้นของสารละลายสีย้อม ค่าความเป็นกรดด่าง โดยเวลาที่ใช้ในการดูดซับ ตั้งแต่ 15 นาทีถึง 420 นาที จากการวิเคราะห์คุณลักษณะของตัวดูดซับโดยใช้ใช้เทคนิคฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทรสโกปี (FTIR) พบว่าตัวดูดซับคอมพอสิตแร่ดิน-ไคโตซานจะมีลักษณะสเปกตรัมเฉพาะที่สะท้อนถึงตัวดูดซับไคโตซานและตัวดูดซับแร่ดินอย่างชัดเจน เมื่อพิจารณาพื้นที่ผิวการดูดซับโดยใช้เทคนิคการดูดซับ/การคายซับไนโตรเจน พบว่าแนวโนมของการเพิ่มสัดส่วนของแร่ดินจะช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวให้กับตัวดูดซับคอมพอสิตแร่ดิน-ไคโตซาน ส่งผลให้ตัวดูดซับคอมพอสิตแร่ดิน-ไคโตซาน มีพื้นที่ผิวที่สูงกว่าตัวดูดซับไคโตซาน เนื่องจากไคโตซานเข้าไปแทรกในโครงสร้างของแร่ดิน สามารถอธิบายด้วยเทคนิคเอกซเรย์ฟลูออเรสเซนต์ (XRF) ทำให้โครงสร้างของแร่ดินเกิดการขยายขนาดขึ้น สำหรับผลจากการศึกษาตัวแปรต่างๆ พบว่า ตัวดูดซับคอมพอสิตแร่ดิน-ไคโตซาน มีประสิทธิภาพในการกำจัดสีย้อมได้ดีกว่าตัวดูดซับไคโตซานและตัวดูดซับแร่ดิน ถึง 1.17 เท่า และ 1.88 เท่า ตามลำดับ การเพิ่มปริมาณตัวดูดซับจะช่วยลดระยะเวลาในการดูดซับให้เร็วยิ่งขึ้น สำหรับตัวดูดซับคอมพอสิตแร่ดิน-ไคโตซาน พบว่าสามารถกำจัดสีย้อมได้หมดสมบูรณ์ทุกความเข้มข้น และสามารถกำจัดสีย้อมได้ดีสำหรับทุกช่วงของค่าความเป็นกรดด่างที่ได้ศึกษาในงานวิจัย แบบจำลองสมดุลการดูดซับของตัวดูดซับคอมพอสิตแร่ดิน-ไคโตซาน สอดคล้องกับแบบจำลองการดูดซับของโกเบิลคอร์ริแกน จลนพลศาสตร์การดูดซับของตัวดูดซับคอมพอสิตแร่ดิน-ไคโตซาน มีอัตราเร็วของปฏิกิริยาการดูดซับสารละลายสีย้อมเป็นปฏิกิริยาอันดับสองเทียม นอกจากนี้ยังพบว่ากลไกในการควบคุมขั้นตอนการดูดซับคือ ขั้นตอนการของการแพร่ผ่านชั้นฟิล์ม และขั้นตอนของการแพร่ภายในรูพรุน สำหรับการศึกษาอุณหพลศาสตร์ของการดูดซับพบว่าตัวดูดซับคอมพอสิตแร่ดิน-ไคโตซาน สามารถเกิดขึ้นได้เองและเกิดขึ้นได้ดีที่อุณหภูมิสูง


ผลของข้อมูลป้อนกลับเชิงวิทัศน์บนจอแสดงผลต่อการรับรู้การรอคอยเมื่อการรับรู้ความไม่แน่นอนเป็นตัวแปรร่วม, ปิยาภรณ์ คุรุเสถียรพงศ์ Jan 2017

ผลของข้อมูลป้อนกลับเชิงวิทัศน์บนจอแสดงผลต่อการรับรู้การรอคอยเมื่อการรับรู้ความไม่แน่นอนเป็นตัวแปรร่วม, ปิยาภรณ์ คุรุเสถียรพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการกับความรู้สึกล่าช้าของผู้ใช้งาน ในบริบทของการดาวน์โหลดข้อมูลผ่านเว็บไซต์ โดยมีรูปแบบของข้อมูลป้อนกลับที่ต้องการศึกษาคือ แถบแสดงสถานะที่มีความยาวของการแสดงผลไม่เท่ากัน อัตราการแสดงความคืบหน้าของความสำเร็จสามแบบ ได้แก่แบบคงที่ แบบก้าวหน้า และแบบถดถอย ร่วมกับการเพิ่มข้อมูลป้อนกลับเชิงอักษร (การเพิ่มร้อยละของการดาวน์โหลดที่สำเร็จในการแสดงความคืบหน้าภายในแถบแสดงสถานะ) ทั้งนี้ตัวแปรทั้งหมดจะมีการพิจารณาถึงผลที่มีต่อการรับรู้การรอคอยร่วมกันโดยมีการรับรู้ความไม่แน่นอนเป็นตัวแปรร่วม การวิเคราะห์ความสัมพันธ์และผลของตัวแปรต่าง ๆ ในงานวิจัยนี้จะดำเนินการผ่านเว็บไซต์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เพื่อทดสอบ โดยประเภทของเว็บไซต์ที่ใช้ในการทดสอบ คือเว็บไซต์คลังข้อสอบออนไลน์ การเก็บข้อมูลมาจากหน่วยทดลองในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์จากหน่วยทดลองจำนวน 447 คน ผลการทดลองพบว่าการรับรู้การรอคอย ขึ้นอยู่กับอิทธิพลโดยตรงของความยาวของแถบแสดงสถานะ การเพิ่มสถานการณ์ดาวน์โหลดเชิงอักษร และการรับรู้ตวามไม่แน่นอน กล่าวคือ แถบแสดงสถานะแบบสั้น และการเพิ่มสถานะการดาวน์โหลดเชิงอักษร ส่งผลให้หน่วยตัวอย่างรับรู้การรอคอยสั้นกว่า ผลจากงานวิจัยนี้อาจจะนำไปปรับใช้เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ทั่วไปให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้งานเว็บไซต์มากยิ่งขึ้นโดยอาจจะลดระยะเวลารอการแสดงผล หรือปรับฟังก์ชันของอัตราการแสดงตัวชี้บอกความคืบหน้าของข้อมูลป้อนกลับ เพื่อให้ผู้ใช้งานเว็บไซต์รับรู้ความล่าช้าลดน้อยลง


แง่มุมในข้อความความคิดเห็นออนไลน์ที่มีผลต่อการรับรู้ประโยชน์ในเว็บไซต์แนะนำร้านอาหาร, สาริทธิ์ บุญชูสนอง Jan 2017

แง่มุมในข้อความความคิดเห็นออนไลน์ที่มีผลต่อการรับรู้ประโยชน์ในเว็บไซต์แนะนำร้านอาหาร, สาริทธิ์ บุญชูสนอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาแง่มุมในข้อความความคิดเห็นออนไลน์ที่มีผลต่อการรับรู้ประโยชน์ของความคิดเห็นในเว็บไซต์แนะนำร้านอาหาร โดยใช้ข้อมูลความคิดเห็นออนไลน์ที่ได้รับความอนุเคราะห์จากเว็บไซต์แนะนำร้านอาหารแห่งหนึ่ง จำนวน 20,000 ข้อความ ผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษาว่าจำนวนครั้งที่พบคำใน 5 แง่มุม คือ (1) รสชาติอาหาร (2) บริการ (3) บรรยากาศและการตกแต่งร้าน (4) ราคา และ (5) รายการอาหาร ส่งผลต่อการรับรู้ประโยชน์ของความคิดเห็นออนไลน์ในเว็บไซต์แนะนำร้านอาหารหรือไม่ รวมถึงสรุปเกี่ยวกับแง่มุมและระดับที่ส่งผลต่อการรับรู้ประโยชน์ของผู้อ่าน ในงานวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้ใช้เครื่องมือ Unsupervised-Aspect-Extraction (github.com/ruidan/Unsupervised-Aspect-Extraction) ในการจัดกลุ่มคำในแต่ละแง่มุมและใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลการรับรู้ประโยชน์ของความคิดเห็นจำนวน 350 ความคิดเห็นจากหน่วยตัวอย่างจำนวน 117 คน ผลการวิจัยพบว่าแง่มุมในข้อความคิดเห็นออนไลน์ที่ศึกษามีผลต่อการรับรู้ประโยชน์ของความคิดเห็น โดยมีค่า p-value เท่ากับ 0.021 แต่อย่างไรก็ตามจำนวนคำในทั้ง 5 แง่มุมยังอธิบายการรับรู้ประโยชน์ได้ไม่ดีเท่าที่ควร และมีเพียงตัวแปรเดียวคือ จำนวนครั้งที่พบคำในแง่มุมรสชาติอาหารในความคิดเห็นออนไลน์ที่มีผลต่อการรับรู้ประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือมีค่า p-value เท่ากับ 0.008


Separation Of Silver And Gold Ions/Nanoparticles In Water Using Chemically Modified-Silica For Spectrometric Detection, Pimpimon Anekthirakun Jan 2017

Separation Of Silver And Gold Ions/Nanoparticles In Water Using Chemically Modified-Silica For Spectrometric Detection, Pimpimon Anekthirakun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The separation of gold and silver ions/nanoparticles in water using chemically-modified silica and unmodified silica was investigated by solid-phase extraction (SPE) followed by the determination via inductively coupled plasma-optical emission spectrometry (ICP-OES). 1-Carboxymethyl-3-methylimidazolium chloride ionic liquid [MimCM]Cl and humic acid (HA) immobilized onto aminopropyl silica (SiAP) sorbents were successfully prepared for the separation of metal species. Ionic liquid modified-SiAP (SiAP-IL) sorbent was chosen for the separation of gold ions/nanoparticles, while humic acids modified-SiAP (SiAP-HA) sorbent was selected for silver ions/nanoparticles. Based on this proposed method, the metal ions were preferentially adsorbed onto the solid sorbent over the metal nanoparticles, thus …


Queryable Compression For Massively Streaming Social Networks, Chandra N. Sekharan, Sridhar Radhakrishnan, Ben Nelson, Amlan Chatterjee Jan 2017

Queryable Compression For Massively Streaming Social Networks, Chandra N. Sekharan, Sridhar Radhakrishnan, Ben Nelson, Amlan Chatterjee

Computer Science: Faculty Publications and Other Works

The social networks of today are a set of massive, dynamically changing graph structures. Each of these graphs contain a set of nodes (individuals) and a set of edges among the nodes (relationships). The choice of representation of a graph determines what information is easy to obtain from it. However, many social network graphs are so large that even their basic representations (e.g. adjacency lists) do not fit in main memory. Hence an ongoing field of study has focused on designing compressed representations of graphs that facilitate certain query functions.This work is based on representing dynamic social networks that we …


Microwave-Induced Bismuth Triiodide-Catalyzed Facile Synthesis Of Octahydroxanthenes, Ashlee Chavez, Jessica Cruz, Alexdra Munoz, Ram Naresh Yadav, Debasish Bandyopadhyay, Bimal K. Banik Jan 2017

Microwave-Induced Bismuth Triiodide-Catalyzed Facile Synthesis Of Octahydroxanthenes, Ashlee Chavez, Jessica Cruz, Alexdra Munoz, Ram Naresh Yadav, Debasish Bandyopadhyay, Bimal K. Banik

Chemistry Faculty Publications and Presentations

Microwave-induced reaction of 1,3-cyclohexanedione with numerous aldehydes using bismuth iodide is performed successfully toward the synthesis of important octahydroxanthenes. A most probable mechanism is suggested to explain the formation of products.


Carbon Dioxide-Mediated Preparation Of Pyrroles In Water Following Paal Knorr Method, Ram Naresh Yadav, Bimal K. Banik Jan 2017

Carbon Dioxide-Mediated Preparation Of Pyrroles In Water Following Paal Knorr Method, Ram Naresh Yadav, Bimal K. Banik

Chemistry Faculty Publications and Presentations

Carbon dioxide-mediated new reaction of 2,5-hexanedione and primary amino compounds in water-THF produced N-substituted pyrroles in excellent yield. This method for the preparation of pyrroles is novel, simple, and efficient.


Non-Traditional Examination: A Study To Improve Academic And Research Performance Of Undergraduate Organic Chemistry Students#, Bimal K. Banik, Ram Naresh Yadav, Sunena Chandra Jan 2017

Non-Traditional Examination: A Study To Improve Academic And Research Performance Of Undergraduate Organic Chemistry Students#, Bimal K. Banik, Ram Naresh Yadav, Sunena Chandra

Chemistry Faculty Publications and Presentations

An investigation of conducting a presentation examination instead of a classical written examination method on academic and research performance of undergraduate chemistry students was performed at the University of Texas-Pan American. The results suggest that chemistry students do much better in the presentation examination compared to the written examination at the advanced organic chemistry course. But, the performances of the students in the lower level courses are mixed. However, students do much better in research work when presentation examination was conducted.


Identification And Characterization Of A Chemical Compound That Inhibits Methionyl-Trna Synthetase From Pseudomonas Aeruginosa, Sara Robles, Yanmei Hu, Tahyra Resto, Frank Dean, James M. Bullard Jan 2017

Identification And Characterization Of A Chemical Compound That Inhibits Methionyl-Trna Synthetase From Pseudomonas Aeruginosa, Sara Robles, Yanmei Hu, Tahyra Resto, Frank Dean, James M. Bullard

Chemistry Faculty Publications and Presentations

Background: Pseudomonas aeruginosa is an opportunistic pathogen problematic in causing nosocomial infections and is highly susceptible to development of resistance to multiple antibiotics. The gene encoding methionyl-tRNA synthetase (MetRS) from P. aeruginosa was cloned and the resulting protein characterized.

Methods: MetRS was kinetically evaluated and the KM for its three substrates, methionine, ATP and tRNAMet were determined to be 35, 515, and 29 μM, respectively. P. aeruginosaMetRS was used to screen two chemical compound libraries containing 1690 individual compounds.

Results: A natural product compound (BM01C11) was identified that inhibited the aminoacylation function. The compound inhibited P. aeruginosa MetRS with an …


Magnet Design For The Storage Ring Of Turkay, Zafer Nergi̇z Jan 2017

Magnet Design For The Storage Ring Of Turkay, Zafer Nergi̇z

Turkish Journal of Physics

In synchrotron light sources the radiation is emitted from bending magnets and insertion devices (undulators, wigglers) placed on the storage ring by accelerating charged particles radially. The frequencies of produced radiation can range over the entire electromagnetic spectrum and have polarization characteristics. In synchrotron machines, the electron beam is forced to travel on a circular trajectory by the use of bending magnets. Quadrupole magnets are used to focus the beam. In this paper, we present the design studies for bending, quadrupole, and sextupole magnets for the storage ring of the Turkish synchrotron radiation source (TURKAY), which is in the design …


Remarks On The Treatments Of Nonsolvable Potentials, Bülent Gönül, Yücel Cançeli̇k Jan 2017

Remarks On The Treatments Of Nonsolvable Potentials, Bülent Gönül, Yücel Cançeli̇k

Turkish Journal of Physics

A recently introduced scheme is extended to propose an algebraic nonperturbative approach for the analytical treatment of Schrödinger equations with nonsolvable potentials involving an exactly solvable potential form together with an additional potential term. As an illustration the procedure is successfully applied to the Cornell potential by means of very simple algebraic manipulations. However, instead of providing numerical eigenvalues for the only consideration of the small strength of the related linear potential as in the previous reports, the present model puts forward a clean route to interpret related experimental or precise numerical results involving a wide range of the linear …


Achieving Carrier And Photon Confinement In Ga(Nasp)/Algap/Gap Qws On Si Substrates, Ömer Lütfi̇ Ünsal, Beşi̇re Gönül Jan 2017

Achieving Carrier And Photon Confinement In Ga(Nasp)/Algap/Gap Qws On Si Substrates, Ömer Lütfi̇ Ünsal, Beşi̇re Gönül

Turkish Journal of Physics

A detailed comparative theoretical analysis on both carrier and photon confinement of dilute nitride direct bandgap GaN$_{x}$As$_{1-x-y}$P$_{y}$ with that of GaAs$_{1-y}$P$_{y}$ on Si substrates is presented. Model calculations indicate that optical confinement factor of GaAs$_{1-y}$P$_{y}$/GaP is greater than that of GaN$_{x}$As$_{1-x-y}$P$_{y}$/GaP for all concentrations. We have demonstrated that one can improve the optical confinement factor of GaN$_{x}$As$_{1-x-y}$P$_{y}$/GaP by using an Al$_{z}$Ga$_{1-z}$P cladding layer.


On The Calculus Of Parameterized Fractal Curves, Alireza Khalili Golmankaneh Jan 2017

On The Calculus Of Parameterized Fractal Curves, Alireza Khalili Golmankaneh

Turkish Journal of Physics

In this paper, we apply $F^{\alpha}$-calculus on the fractal Koch and Ces\`{a}ro curves with different dimensions. A generalized Newton's second law on the fractal Koch and Ces\`{a}ro curves is given. Density of the moving particles absorbed on fractal Ces\`{a}ro are derived. Illustrative examples are given to present the details of $F^{\alpha}$-integrals and $F^{\alpha}$-derivatives.


Calculation Of The Frequency Shifts And Damping Constant For The Raman Modes (A$_{1g}$, B$_{1})$ Near The Tetragonal-Cubic Transition In Srtio$_{3}$, Ali̇ Ki̇raci, Hasan Hami̇t Yurtseven Jan 2017

Calculation Of The Frequency Shifts And Damping Constant For The Raman Modes (A$_{1g}$, B$_{1})$ Near The Tetragonal-Cubic Transition In Srtio$_{3}$, Ali̇ Ki̇raci, Hasan Hami̇t Yurtseven

Turkish Journal of Physics

Raman shifts of the soft mode A$_{1g}$ and the B$_{1}$ mode are calculated at various pressures at room temperature for the cubic-tetragonal transition (P$_{C}$ = 9.5 GPa) in SrTiO$_{3}$. This calculation is performed using the observed volume data through the mode Grüneisen parameters of A$_{1g}$ and B$_{1}$, which vary with pressure, by fitting to the experimental wavenumbers in this crystalline system. Calculated Raman shifts are then used as order parameters to predict the pressure dependence of the damping constant and the inverse relaxation time for the cubic-tetragonal transition in SrTiO$_{3}$. Our predictions from the pseudospin-phonon coupling and the energy fluctuation …


Temperature Measurements In A Manufactured Rf Plasma Jet In Various Ar/N$_{2}$ Mixtures, Mohammad Nasir Rostami Ravari, Alireza Ganjovi, Farideh Shojaei, Amir Falahat Jan 2017

Temperature Measurements In A Manufactured Rf Plasma Jet In Various Ar/N$_{2}$ Mixtures, Mohammad Nasir Rostami Ravari, Alireza Ganjovi, Farideh Shojaei, Amir Falahat

Turkish Journal of Physics

In this paper, using the optical emission spectroscopy technique, a comparative study is performed on the argon excitation and nitrogen vibrational temperatures in the plasma discharge medium of a manufactured RF plasma jet. The argon contribution in the Ar/N$_{2}$ mixture is varied from 70% to 98% and the obtained optical emission spectra from argon and molecular nitrogen are analyzed. The highest emission intensities of neutral argon (Ar I) are recorded in the wavelength range of 790-850 nm. It is seen that, at the higher argon percentages in the mixture, the emission intensity from all the formed species in the plasma …


Determination Of Height Profile From A Two-Dimensional Fringe Signal Using A Two-Dimensional Continuous Wavelet Transform, Özlem Kocahan Yilmaz Jan 2017

Determination Of Height Profile From A Two-Dimensional Fringe Signal Using A Two-Dimensional Continuous Wavelet Transform, Özlem Kocahan Yilmaz

Turkish Journal of Physics

The main objective of this study was 3-dimensional (3D) profile measurements with standard fringe projection, consisting of a CCD and a projector. For obtaining height information of objects pixel by pixel, phases have to be calculated from the images taken by the fringe projection technique. In this study, the 2-dimensional continuous wavelet transform (2D CWT) phase method was used for phase extraction. 1D and 2D CWT analyses of noisy images were compared in simulations performed for a 2-dimensional fringe signal by introducing the carrier frequencies in two spatial directions, $x $ and $y$. Profile measurement of an object was made …


Organic Geochemical Characteristics And Depositional Environment Of Lower-Middle Miocene Küçükkuyu Formation, Edremit Gulf, Nw Turkey, Ayşe Bozcu Jan 2017

Organic Geochemical Characteristics And Depositional Environment Of Lower-Middle Miocene Küçükkuyu Formation, Edremit Gulf, Nw Turkey, Ayşe Bozcu

Turkish Journal of Earth Sciences

The Lower-Middle Miocene Küçükkuyu Formation crops out extensively in the Edremit Gulf area (NW Turkey). In this study, shale samples from this unit were investigated to evaluate source rock characteristics, depositional conditions, and hydrocarbon potential. Outcrop samples of the Küçükkuyu Formation were taken from different locations and analyzed by Rock-Eval pyrolysis, vitrinite reflectance (Ro), stable carbon isotope (δ13C), total sulfur (TS), gas chromatography (GC), and gas chromatography-mass spectrometry (GC-MS). The total organic carbon (TOC) values range from 0.23 to 6.1 wt.% with an average of 1.76 wt.% for the northern samples and 0.24 to 2.82 wt.% with an average of …


Higher-Resolution Biostratigraphy For The Kinta Limestone And An Implication For Continuous Sedimentation In The Paleo-Tethys, Western Belt Of Peninsular Malaysia, Haylay Tsegab Gebretsadik, Chow Weng Sum, Gatovsky A.Yuriy, Aaron W. Hunter, Jasmi Ab Talib, Solomon Kassa Jan 2017

Higher-Resolution Biostratigraphy For The Kinta Limestone And An Implication For Continuous Sedimentation In The Paleo-Tethys, Western Belt Of Peninsular Malaysia, Haylay Tsegab Gebretsadik, Chow Weng Sum, Gatovsky A.Yuriy, Aaron W. Hunter, Jasmi Ab Talib, Solomon Kassa

Turkish Journal of Earth Sciences

The paleogeography of the juxtaposed Southeast Asian terranes, derived from the northeastern margins of Gondwana during the Carboniferous to Triassic, resulted in complex basin evolution with massive carbonate deposition on the margins of the Paleo-Tethys. Due to the inherited structural and tectonothermal complexities, discovery of diagnostic microfossils from these carbonates has been problematic. This is particularly the case for the Kinta Limestone, a massive Paleozoic carbonate succession that covers most of the Kinta Valley in the central part of the Western Belt of Peninsular Malaysia. Owing to the complex structural and igneous events, as well as extensive diagenetic alterations, establishing …


Evaluation Of Hydrogeochemical And Isotopic Properties Of The Geothermal Waters In The East Of Mount Sabalan, Nw Iran, Rahim Masoumi, Ali Asghar Calagari, Kamal Siahcheshm, Soheil Porkhial Jan 2017

Evaluation Of Hydrogeochemical And Isotopic Properties Of The Geothermal Waters In The East Of Mount Sabalan, Nw Iran, Rahim Masoumi, Ali Asghar Calagari, Kamal Siahcheshm, Soheil Porkhial

Turkish Journal of Earth Sciences

The Mount Sabalan district is regarded as the best place to investigate geothermal activities in northwest Iran. Since the last episode of volcanic activity in the Plio-Quaternary time, hot springs and surficial steams as conspicuous manifestation of geothermal activities have appeared around the slopes of Mount Sabalan. The hot fluids circulating in this geothermal field contains anions chiefly of HCO3- and Cl-; however, SO42- content in some water samples is relatively high, imparting sulfate characteristics to such fluids. Geothermometric studies provided compelling evidence for estimation of the reservoir temperature (~150 °C) in the study areas. Thus, in this respect, the …


Developing A Gis Tool For Infinite Slope Stability Analysis (Gis-Tissa), Jonathon Sanders Jan 2017

Developing A Gis Tool For Infinite Slope Stability Analysis (Gis-Tissa), Jonathon Sanders

Dissertations, Master's Theses and Master's Reports

The Probabilistic Infinite Slope Analysis model (PISA-m) is a widely used computer program that uses infinite slope equations to calculate the spatially varying Factor of Safety of slopes. ESRI’s ArcGIS software and accompanying geoprocessing tools have become a mainstay in spatial data processing, and received full support for Python with the release of version 10. With many of the geoprocessing tools now available as a Python function, the software can be used for physics-based spatial landslide hazard analysis. A model that mimics PISA-m and its processing of normally distributed soil properties was created using the Python utility as a tool …


Massively Parallel Algorithms For Point Cloud Based Object Recognition On Heterogeneous Architecture, Linjia Hu Jan 2017

Massively Parallel Algorithms For Point Cloud Based Object Recognition On Heterogeneous Architecture, Linjia Hu

Dissertations, Master's Theses and Master's Reports

With the advent of new commodity depth sensors, point cloud data processing plays an increasingly important role in object recognition and perception. However, the computational cost of point cloud data processing is extremely high due to the large data size, high dimensionality, and algorithmic complexity. To address the computational challenges of real-time processing, this work investigates the possibilities of using modern heterogeneous computing platforms and its supporting ecosystem such as massively parallel architecture (MPA), computing cluster, compute unified device architecture (CUDA), and multithreaded programming to accelerate the point cloud based object recognition. The aforementioned computing platforms would not yield high …