Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Physical Sciences and Mathematics Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2022

Discipline
Institution
Keyword
Publication
Publication Type
File Type

Articles 16921 - 16950 of 18311

Full-Text Articles in Physical Sciences and Mathematics

Job-Candidate Classifying And Ranking System With Machine Learning Method, Thapanee Boonchob Jan 2022

Job-Candidate Classifying And Ranking System With Machine Learning Method, Thapanee Boonchob

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Finding suitable candidates for an open job position could be a repetitive and time-consuming task, especially from a large pool of candidates. Besides, this task could truly make fair screening and shortlisting tedious. Losing the opportunity to hire top talent candidates due to the slow screening process or the wrong selection by human error is unacceptable. This paper presented a method for human resources to categorize and select the top candidates for job opening they applied for. The proposed system directed to alter a machine learning algorithm to classify the candidate into groups i) shortlist and ii) not-suitable. The productive …


Effect Of Peptide Hydrolysates From Riceberry On Reducing Endoplasmic Reticulum Stress In Cells, Theeranuch Jaroenchuensiri Jan 2022

Effect Of Peptide Hydrolysates From Riceberry On Reducing Endoplasmic Reticulum Stress In Cells, Theeranuch Jaroenchuensiri

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Oxidative stress, resulting from an imbalance between reactive oxygen species (ROS) and antioxidants, contributes to diseases and induces endoplasmic reticulum (ER) stress. Antioxidants can mitigate ER stress. We investigated synthetic peptides from riceberry rice hydrolysates against ER stress. Ten peptides were evaluated for toxicity and antioxidant activity in SH-SY5Y and L929 cell lines. Peptides ID 3 to ID 5 ,and ID 10 showed significant antioxidant activity protecting cells from oxidative stress induced by IAA and H2O2. These peptides alleviated ER stress induced by TM, as observed through fluorescence microscopy analysis using ConA dye. Peptides ID 3 to 5 reduced ConA …


Selective Conversion Of Cellulose Into 5-Hydroxymethylfurfural Over Modified Zeolite Catalysts In A Biphasic Solvent System, Oluwaseyi Ojelabi Jan 2022

Selective Conversion Of Cellulose Into 5-Hydroxymethylfurfural Over Modified Zeolite Catalysts In A Biphasic Solvent System, Oluwaseyi Ojelabi

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Lignocellulosic biomass mainly composed of cellulose which can be transformed through various thermochemical processes such as catalytic depolymerization, acid-catalyzed dehydration, pyrolysis, gasification, etc., into high-value chemicals for sustainable development and bio-based economy. 5-Hydroxymethylfurfural (HMF) is one of the potential platform bio-chemicals that can be obtained directly from lignocellulosic biomass via catalytic depolymerization and/or acid-catalyzed dehydration using a bifunctional catalyst for the manufacture of various renewable products. Protonic zeolites are bifunctional solid acid catalysts and are well known for their remarkable properties. Their large surface area could enable molecules to diffuse in and out of their pore systems. Moreso, their acidic …


Silver Bow Creek/Butte Area Npl Site Butte Priority Soils Operable Unit, Pioneer Technical Services, Inc. Jan 2022

Silver Bow Creek/Butte Area Npl Site Butte Priority Soils Operable Unit, Pioneer Technical Services, Inc.

Silver Bow Creek/Butte Area Superfund Site

No abstract provided.


การใช้การคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาโมไบล์แอปพลิเคชันของศูนย์พัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่, กัญญณัฐ โภคาพันธ์ Jan 2022

การใช้การคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาโมไบล์แอปพลิเคชันของศูนย์พัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่, กัญญณัฐ โภคาพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภาคการเกษตรของประเทศไทยเป็นตัวขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ เนื่องจากเป็นรากฐานของการสร้างความมั่นคงทางอาหารของประเทศและของโลก และประชากรส่วนใหญ่ของประเทศอยู่ในภาคการผลิตทางการเกษตร จากสถิติการเกษตรและสหกรณ์ของสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่า เกินกว่าครึ่งหนึ่งของเกษตรกรทั้งประเทศเป็นกลุ่มที่มีอายุตั้งแต่ 46 ปีขึ้นไป ดังนั้น การพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ขึ้นมาทดแทนนับเป็นอีกหนึ่งหัวใจที่สำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาภาคการเกษตรของประเทศไทย การพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ด้วยการพัฒนาและฝึกอบรมอย่างเหมาะสมเป็นการพัฒนาคนรุ่นใหม่ที่มีใจรักการเกษตร ให้รู้จักบริหารจัดการการเกษตรด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ อยู่ได้ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบัน สามารถต่อยอดไปสู่การเป็นผู้ประกอบการที่สามารถพึ่งพาตนเอง และเป็นผู้นำทางการเกษตรในท้องถิ่นสืบต่อรุ่นเก่าได้ ในช่วงเริ่มแรกเกษตรกรรุ่นใหม่จะเป็นศูนย์กลางและออกแบบการเรียนรู้งานด้านเกษตรกรรมด้วยตนเอง ในปัจจุบันมีการต่อยอดและพัฒนาให้เกษตรกรรุ่นใหม่เหล่านี้สามารถจัดตั้งศูนย์พัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับเกษตรกรในรุ่นต่อ ๆ ไป ระบบต้นแบบของโครงการนี้ถูกสร้างจากเครื่องมือ “Figma” จะช่วยให้สามารถนำไปพัฒนาโมไบล์แอปพลิเคชันของศูนย์พัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ที่ใช้ได้จริง และตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้


การใช้การคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันสำหรับงานตรวจสอบภายในของมหาวิทยาลัย, กิตติธัช นะยะเนตร Jan 2022

การใช้การคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันสำหรับงานตรวจสอบภายในของมหาวิทยาลัย, กิตติธัช นะยะเนตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี ผู้บริหารไม่สามารถควบคุมดูแลรายละเอียดการปฏิบัติงานของหน่วยงานในองค์กรได้อย่างทั่วถึง การตรวจสอบภายในจึงเข้ามามีบทบาทยิ่งขึ้นในการเป็นเครื่องมือเพื่อตรวจสอบและควบคุมให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับหน่วยงานตรวจสอบภายในของมหาวิทยาลัยเองก็ต้องมีการปรับตัวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น พร้อมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนองค์กรให้สามารถบรรลุเป้าหมายได้ตามวัตถุประสงค์ ปัจจุบันหน่วยงานตรวจสอบภายในของมหาวิทยาลัยยังประสบปัญหาในการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในเนื่องจากยังไม่มีการพัฒนาโปรแกรมสำหรับการตรวจสอบภายในขึ้นมาใช้งานโดยเฉพาะ ทำให้การจัดการภายในหน่วยงานยังไม่เป็นระบบและการติดต่อประสานงานกับหน่วยรับตรวจก็ทำได้ยาก โครงการพิเศษนี้จึงได้นำหลักการคิดเชิงออกแบบและหลักการตรวจสอบภายในมาใช้เพื่อพัฒนาระบบต้นแบบ โดยให้ผู้ใช้งานระบบจริงร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อให้ได้เว็บแอปพลิเคชันที่ช่วยในการปฏิบัติงานตรวจสอบของผู้ตรวจสอบภายใน และทำให้การประสานงานระหว่างหน่วยงานตรวจสอบภายในของมหาวิทยาลัยและหน่วยรับตรวจมีความคล่องตัวและสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น


คลังข้อมูลและระบบสนับสนุนการตัดสินใจของธุรกิจศูนย์รับดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยพักฟื้น, ชัชสุดา เมืองมูล Jan 2022

คลังข้อมูลและระบบสนับสนุนการตัดสินใจของธุรกิจศูนย์รับดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยพักฟื้น, ชัชสุดา เมืองมูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยประชากรผู้สูงอายุในปี 2565 นั้น คิดเป็น 18.3% ของประชากรทั้งหมด ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุจึงเป็นหนึ่งในธุรกิจที่เข้ามามีบทบาทอย่างยิ่งต่อสังคมไทยในปัจจุบัน มีหน้าที่ในการดูแลด้านสุขภาพให้กับผู้สูงอายุเพื่อดูแล ป้องกัน และรักษาโรคภัยยามเจ็บป่วย ดังนั้นหากผู้ประกอบการ สามารถบริหารจัดการธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งเข้าใจพฤติกรรมของผู้เข้ารับบริการ จะช่วยทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจ รวมถึงสามารถรักษาผู้เข้ารับบริการเดิมไปพร้อมกับสร้างฐานผู้เข้ารับบริการใหม่ได้ ซึ่งการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้เป็นเครื่องมือในการสนับสนุนการวิเคราะห์จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถวิเคราะห์ข้อมูลในมุมมองต่าง ๆ ที่ช่วยสนับสนุนให้ผู้บริหารตัดสินใจ วางแผนเชิงกลยุทธ์ เพื่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ และสร้างความก้าวหน้าในธุรกิจได้ โครงการ "คลังข้อมูลและระบบสนับสนุนการตัดสินใจของธุรกิจศูนย์รับดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยพักฟื้น" ประกอบด้วย 5 ระบบหลัก ได้แก่ ระบบวิเคราะห์การบริการ ระบบวิเคราะห์ผู้เข้ารับบริการ ระบบวิเคราะห์ลูกจ้าง ระบบวิเคราะห์ความพึงพอใจ ระบบวิเคราะห์รายได้และกำไรขั้นต้น โดยระบบพัฒนาขึ้นบนระบบจัดการฐานข้อมูล Microsoft SQL Server 2019 โดยใช้โปรแกรม Tableau Desktop Edition 2021.3 ในการพัฒนาระบบธุรกิจอัจฉริยะ ระบบสารสนเทศจากโครงการพิเศษนี้จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถมองเห็นภาพรวมของการทำธุรกิจและแนวโน้มของธุรกิจ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจ และส่งผลให้สามารถวางแผนกลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย


การใช้การคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันของธุรกิจที่ปรึกษากฎหมาย, ณพพงค์ เมฆมัธยันห์ Jan 2022

การใช้การคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันของธุรกิจที่ปรึกษากฎหมาย, ณพพงค์ เมฆมัธยันห์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ธุรกิจด้านกฎหมายมีแนวโน้มเติบโตมากขึ้น เนื่องจากจำนวนคดีความที่เข้าสู่การพิจารณาในชั้นศาล และจำนวนการจัดตั้งธุรกิจใหม่ที่มีมากขึ้น จึงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเติบโตของธุรกิจด้านกฎหมาย ซึ่งผู้ที่ต้องการดำเนินธุรกิจล้วนต้องใช้บริการจากธุรกิจด้านกฎหมาย เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างถูกต้อง ทำให้ธุรกิจด้านกฎหมายเข้ามามีบทบาทในฐานะผู้ให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมายแก่ผู้ประกอบธุรกิจมากขึ้น ในการดำเนินธุรกิจที่ปรึกษากฎหมายให้สามารถสร้างความพึงพอใจแก่ผู้ใช้บริการนั้น จำเป็นต้องปรับรูปแบบการทำงาน เพื่อให้รองรับปริมาณความต้องการใช้บริการที่เพิ่มสูงขึ้นและให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ธุรกิจที่ปรึกษากฎหมายจึงควรนำเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการบริหารจัดการงานกฎหมายให้ครบทุกด้าน โดยโครงการ “การใช้การคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันของธุรกิจที่ปรึกษากฎหมาย” ประกอบไปด้วยระบบต้นแบบ 6 ระบบ ได้แก่ ระบบบันทึกงานคดีความ ระบบรายงานคดี ระบบบันทึกงานกฎหมาย ระบบบริหารงานสัญญา ระบบรายงานกฎหมายใหม่ ระบบรายงานคำพิพากษาศาลฎีกา ระบบต้นแบบที่ได้จากโครงการนี้ จะช่วยทำให้การดำเนินงานของธุรกิจที่ปรึกษากฎหมาย ประสบความสำเร็จและรองรับการก้าวไปสู่โลกดิจิตอลมากขึ้น ซึ่งจะเป็นต้นแบบให้สำหรับธุรกิจที่ปรึกษากฎหมายได้เว็บแอปพลิเคชันที่ตอบโจทย์และตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น


การใช้การคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาโมไบล์แอปพลิเคชันของการบริหารจัดการเงินส่วนบุคคล, ธนพร สุวัฒนวงศ์ชัย Jan 2022

การใช้การคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาโมไบล์แอปพลิเคชันของการบริหารจัดการเงินส่วนบุคคล, ธนพร สุวัฒนวงศ์ชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในยุคปัจจุบัน ความมั่นคงทางการเงินเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต และเป็นตัวกำหนดคุณภาพชีวิตในอนาคต หลังการแพร่ระบาดของโรคโควิท-19 คนไทยได้ให้ความสำคัญถึงการออมเงินสำรองมากขึ้น แต่เราพบว่ายังมีคนไทยจำนวนมากที่ยังมีเงินออมไม่เพียงพอ ทั้งเงินออมระยะสั้นอย่างกรณีหากขาดรายได้กระทันหัน และเงินออมระยะยาวอย่างเงินออมเพื่อการเกษียณ เราจึงจำเป็นจะต้องหาตัวช่วยในการสร้างวินัยในการออมที่มีประสิทธิผลมากขึ้น โดยเริ่มจากการพัฒนาเครื่องมือที่สามารถบันทึกรายรับรายจ่าย และประเมินสถานะทางการเงินด้วยตนเองอย่างสะดวกสบาย และรวดเร็วกว่าเดิม ในการพัฒนาโมไบล์แอปพลิเคชันของการบริหารจัดการเงินส่วนบุคคลที่สามารถสนับสนุนการออมของคนไทยได้อย่างเต็มที่ เราจำเป็นต้องนำหลักการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking), ระบบแนะนำ (Recommendation Systems) และระบบแปลงไฟล์ภาพให้เป็นข้อความโดยอัตโนมัติ (Optical Character Recognition) มาใช้ร่วมกัน จึงจะสามารถสร้างระบบต้นแบบที่ตอบโจทย์การใช้งานของผู้ใช้งานได้มากที่สุด ระบบต้นแบบของโครงการนี้ถูกสร้างจากเครื่องมือ Figma ที่สามารถทำงานได้รวดเร็ว และใช้ได้กับทุกระบบปฏิบัติการ เหมาะสมกับการนำไปพัฒนาเพื่อให้ใช้งานได้จริงสะดวกที่สุด ซึ่งในที่สุด จะช่วยดึงศักยภาพการบริหารเงินออมด้วยตัวเองของคนไทยออกมาได้


คลังข้อมูลและระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับการขนส่งทางอากาศของประเทศไทย, นฤมล เหลืองประเสริฐ Jan 2022

คลังข้อมูลและระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับการขนส่งทางอากาศของประเทศไทย, นฤมล เหลืองประเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อุตสาหกรรมการบิน เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมระดับโลก เป็นตัวแปรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ที่เชื่อมโยงผู้คน วัฒนธรรม และธุรกิจต่างๆ ทั่วทั้งทวีปเข้าไว้ด้วยกัน และจากสถานการณ์การเติบโตของอุตสาหกรรมการบินทั่วโลกที่มีแนวโน้มสูงขึ้นตามการเติบโตของเศรษฐกิจโลกตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา อุตสาหกรรมการบินจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญในการนำระบบบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการตัดสินใจ ผ่านการแลกเปลี่ยน แบ่งปัน และบูรณาการข้อมูลร่วมกัน เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียในอุตสาหกรรมการบิน (Aviation Stakeholders) มองเห็นภาพรวม ความเชื่อมโยง และสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมการบิน เพื่อหาแนวทางการบริหารจัดการองค์กรให้เป็นไปตามกลยุทธ์และบรรลุเป้าหมายขององค์กร และเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมการบินไทยให้ทัดเทียมกับนานาชาติ โครงการ “คลังข้อมูลและระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับการขนส่งทางอากาศของประเทศไทย” ประกอบด้วย 5 ระบบหลัก ประกอบด้วย ระบบวิเคราะห์การขนส่งทางอากาศของโลก ระบบวิเคราะห์การขนส่งทางอากาศของประเทศไทย ระบบวิเคราะห์ส่วนแบ่งทางการตลาดของสายการบินและเส้นทางบิน ระบบวิเคราะห์ค่าโดยสารเส้นทางบินภายในประเทศ และระบบวิเคราะห์การรายงานความปลอดภัยการบินทั่วโลก โดยระบบได้ถูกพัฒนาขึ้นบนฐานข้อมูล Microsoft SQL Server Management Studio 18 และใช้โปรแกรม Tableau Desktop 2020.4 ในการจัดทำระบบวิเคราะห์และแสดงผลข้อมูล ระบบสารสนเทศจากโครงการพิเศษนี้จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถวิเคราะห์ข้อมูลในหลากหลายมุมมองได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว นำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจการบินได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ รวมถึงการสร้างประโยชน์โดยรวมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่อุตสาหกรรมการบินไทย


คลังข้อมูลและระบบสนับสนุนการตัดสินใจของธุรกิจให้เช่าคลังสินค้าและโรงงาน, นิธิศักดิ์ กฤตติกากุล Jan 2022

คลังข้อมูลและระบบสนับสนุนการตัดสินใจของธุรกิจให้เช่าคลังสินค้าและโรงงาน, นิธิศักดิ์ กฤตติกากุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้มีอุตสาหกรรมบางประเภทเกิดการหยุดชะงัก (Disruption) อย่างไรก็ตามจากวิกฤตินี้ก็ยังทำให้อุตสาหกรรมที่มุ่งเน้นใช้เทคโนโลยีมีโอกาสในการเติบโตมากขึ้น และยังมีผลให้ผู้ประกอบการหลาย ๆ แห่งเริ่มหันมาสนใจช่องทางการขายสินค้าทางออนไลน์มากขึ้น ทำให้เกิดความต้องการในการหาพื้นที่สำหรับจัดเก็บสินค้า ซึ่งสามารถสร้างโอกาสให้กับธุรกิจคลังสินค้าให้เช่าได้ ดังนั้นธุรกิจคลังสินค้าและโรงงานสำหรับให้เช่าจึงต้องเริ่มมองหาเครื่องมือเพื่อช่วยในการวิเคราะห์ วางแผน และตัดสินใจเพื่อให้การดำเนินธุรกิจในอนาคตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น โดยสามารถรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ และสามารถมองหาโอกาสจากสถานการณ์นั้นๆ ได้อย่างรวดเร็ว โครงการ “คลังข้อมูลและระบบสนับสนุนการตัดสินใจของธุรกิจคลังสินค้าและโรงงานสำหรับให้เช่า” นี้ประกอบด้วย 5 ระบบหลัก ได้แก่ ระบบวิเคราะห์รายได้ค่าเช่าและบริการ และกำไรขั้นต้น ระบบวิเคราะห์อัตราเช่าใช้พื้นที่ ระบบวิเคราะห์ต้นทุนการเช่าและบริการ ระบบวิเคราะห์ผู้เช่า และระบบวิเคราะห์ต้นทุนการก่อสร้าง โดยแต่ละระบบถูกพัฒนาขึ้นบนระบบจัดการฐานข้อมูล Microsoft SQL Server 2019 และใช้เครื่องมือ Tableau Desktop 2020.4 ในการจัดทำแดชบอร์ดการวิเคราะห์ ระบบที่พัฒนาขึ้นนี้จะช่วยให้ผู้บริหาร และผู้จัดการแผนกต่าง ๆ สามารถวิเคราะห์ข้อมูลในหลายมุมมอง ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ภายใต้ฐานข้อมูลเดียวกันเพื่อใช้สนับสนุนการวิเคราะห์ วางแผน และตัดสินใจเพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล รวมถึงการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ


การใช้การคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาโมไบล์แอปพลิเคชันสำหรับการวางแผนพัฒนาพนักงานรายบุคคลในองค์กร, พลอยพิสุทธิ์ ทิมขลิบ Jan 2022

การใช้การคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาโมไบล์แอปพลิเคชันสำหรับการวางแผนพัฒนาพนักงานรายบุคคลในองค์กร, พลอยพิสุทธิ์ ทิมขลิบ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันการพัฒนาพนักงานในองค์กรมีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น พนักงานมองหาการพัฒนาที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะบุคคลมากกว่าแผนการพัฒนาที่ทุกคนได้รับการเรียนรู้คล้าย ๆ กันเช่นที่ผ่านมา จึงทำให้หลายองค์กรหันมาให้ความสำคัญกับ การวางแผนพัฒนาพนักงานรายบุคคล ที่มุ่งเน้นให้พนักงานเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการวางแผน และกำหนดความต้องการในการพัฒนาทางสายอาชีพและการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองมากขึ้น องค์กรใดที่มีการบริหารจัดการการพัฒนาพนักงานรายบุคคลที่มีประสิทธิภาพจึงมีข้อได้เปรียบ และสามารถดึงดูดพนักงานให้เข้ามาร่วมงานกับองค์กรได้มากกว่า ดังนั้นการหาระบบหรือเครื่องมือที่ถูกออกแบบมาได้ตอบโจทย์ หรือตรงกับความต้องการในการบริหารจัดการเรื่องการพัฒนาพนักงานรายบุคคลในองค์กรได้นั้น จึงเป็นสิ่งที่หลายองค์กรมองหา โครงการนี้จึงนำ กระบวนการคิดเชิงออกแบบ หรือ Design Thinking มาประยุกต์ใช้ในการทำความเข้าใจและหาความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้งานระบบทั้ง 3 ฝ่าย นั่นคือ พนักงาน หัวหน้างาน และเจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล เพื่อออกแบบระบบต้นแบบของโมไบล์แอปพลิเคชันสำหรับการวางแผนพัฒนาพนักงานรายบุคคลในองค์กรที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของพนักงานและองค์กรให้ได้มากที่สุด ระบบต้นแบบของโมไบล์แอปพลิเคชันสำหรับการวางแผนพัฒนาพนักงานรายบุคคลในองค์กรนี้จึงเป็นส่วนสำคัญในการบริหารจัดการการเรียนรู้และการพัฒนาในองค์กรให้มีระบบ ใช้งานง่าย และตอบโจทย์ความต้องการในการพัฒนาพนักงานรายบุคคลในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ


กระบวนการและแบบจำลองสำหรับการคัดกรองเพื่อการจัดการคุณภาพข้อมูลในคราวด์ซอร์สซิงแพลตฟอร์ม, กฤตย์ กังวาลพงศ์พันธุ์ Jan 2022

กระบวนการและแบบจำลองสำหรับการคัดกรองเพื่อการจัดการคุณภาพข้อมูลในคราวด์ซอร์สซิงแพลตฟอร์ม, กฤตย์ กังวาลพงศ์พันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยคราวด์ซอร์สซิงเป็นวิธีที่โดยทั่วไปมีความเร็วมากกว่า มีต้นทุนต่ำกว่า และมีความหลากหลายมากกว่าวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม คราวด์ซอร์สซิงอาจเผชิญกับปัญหาคุณภาพ เช่น การติดป้ายกำกับผิดหรือการนำมาใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม ดังนั้น กระบวนการควบคุมคุณภาพเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับแพลตฟอร์มคราวด์ซอร์สซิง วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาค้นคว้าอุปสรรคและวิธีการแก้ไขที่เป็นไปได้ในการจัดการคุณภาพของผู้ใช้งานแพลตฟอร์มคราวด์ซอร์สซิง ส่วนแรกเน้นวิธีการเพิ่มกระบวนการในคราวด์ซอร์สซิง โดยศึกษา 3 วิธี ได้แก่ 1. งานที่จำเป็นต้องทำก่อน 2. คำถามมาตรฐานแบบทองคำ และ 3. การทำซ้ำของข้อมูล พบว่างานที่จำเป็นต้องทำก่อนเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อคัดกรองให้ได้ผู้ปฏิบัติงานที่มีคุณภาพสูง โดยควรเน้นไปที่ลักษณะเฉพาะและรายละเอียดของงาน คำถามที่ตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างงานดีกว่าคำถามแบบชัดเจนในการตรวจสอบด้วยคำถามมาตรฐานทองคำ ผู้ตรวจสอบข้อมูลคนเดียวอาจนำไปสู่การปรับปรุงคุณภาพข้อมูลได้มากที่สุด ส่วนที่สองคือ การใช้แบบจำลองการเรียนรู้ของเครื่องที่ใช้ข้อมูลพฤติกรรมในการทำนายคุณภาพของข้อมูล ซึ่งวิธีนี้ยังช่วยคัดกรองข้อมูลคุณภาพต่ำออกไปได้โดยไม่เสียทรัพยากรเพิ่มเติม


การทำนายค่าฝุ่น Pm2.5 ทั้งในเชิงแผนที่และเชิงเวลาด้วยเทคนิคการเรียนรู้เชิงลึก, ณัฏฐ์ ศิริสัมพันธ์ Jan 2022

การทำนายค่าฝุ่น Pm2.5 ทั้งในเชิงแผนที่และเชิงเวลาด้วยเทคนิคการเรียนรู้เชิงลึก, ณัฏฐ์ ศิริสัมพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

PM2.5 เป็นอนุภาคขนาดเล็กที่มีส่วนทำให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศในประเทศไทย การหายใจนำฝุ่น PM2.5 เข้าไปสามารถทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาได้ เช่น โรคทางเดินหายใจและโรคหัวใจเสื่อมสภาพ รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร งานวิจัยนี้เสนอแบบจำลองที่ใช้การเรียนรู้เชิงลึกเพื่อทำนายค่าฝุ่น PM2.5 ในระดับประเทศซึ่งเป็นการทำนายทั้งในเชิงพื้นที่และเวลา โดยแบบจำลองที่นำเสนอมีชื่อว่า SimVP-CFLL-ML มีพื้นฐานมาจากแบบจำลองการทำนายวิดีโอที่เรียกว่า "SimVP" และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำนายค่าฝุ่น PM2.5 ในช่วงที่มีค่าฝุ่นสูง SimVP ได้มีการพัฒนาเพิ่มเติมสองประการ คือ 1.Cross-Feature Learning Layer (CFLL) ซึ่งใช้ 1x1 convolution layer เพื่อเรียนรู้ความสัมพันธ์ของคุณลักษณะและ 2.Masking Layer (ML) ซึ่งใช้สำหรับคำนวณค่าลอสเฉพาะส่วนที่สำคัญที่ต้องการทำนาย โดยในที่นี้คือส่วนที่เป็นประเทศไทย การทดลองดำเนินการโดยใช้ข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากกรมควบคุมมลพิษของประเทศไทยและโครงการ Sensor For All (SFA) ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าแบบจำลองของเราเหนือกว่าแบบจำลองพื้นฐานทั้งหมด โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องการจำแนกช่วงที่ค่าฝุ่นมีค่าสูง แบบจำลองของเราได้ผลลัพธ์ค่าคะแนน F1 สูงกว่าแบบจำลองพื้นฐานที่ดีที่สุดถึง 3.51%


ไวยากรณ์ไฮเพอร์แมพสำหรับแมพเชิงต้นไม้อันดับเคเชิงระนาบ, วรวุฒิ โคเมฆารัตน์ Jan 2022

ไวยากรณ์ไฮเพอร์แมพสำหรับแมพเชิงต้นไม้อันดับเคเชิงระนาบ, วรวุฒิ โคเมฆารัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิศวกรและนักวิทยาศาสตร์ต่างเผชิญกับปัญหาที่มีโครงสร้างซับซ้อนมากยิ่งขึ้น และต้องการเครื่องมือทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะสมเพื่ออธิบายปัญหาเหล่านี้ แม้กราฟจะเป็นเครื่องมือที่นิยมใช้แสดงระบบที่ซับซ้อน แต่ก็ยังขาดส่วนประกอบบางอย่างที่สำคัญต่อการรับรู้ความซับซ้อนของวัตถุทางเรขาคณิต ซึ่งสามารถแสดงแทนได้ด้วยแมพและไฮเพอร์แมพ เนื่องจากมีองค์ประกอบหลักที่เรียกว่า หน้า เพิ่มเติมจากส่วนประกอบพื้นฐานอื่น ๆ ในกราฟ จึงเป็นเครื่องมือที่ครอบคลุมและยืดหยุ่นยิ่งขึ้นในการแสดงและวิเคราะห์โครงสร้างเชิงเรขาคณิต งานวิจัยนี้จะเสนอแนวทางใหม่ในการผลิตแมพโดยใช้ไวยากรณ์ไฮเพอร์แมพ โดยปรับการดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับไฮเพอร์แมพให้นิยามบนจุดยอดและหน้า แทนวิธีการเดิมซึ่งนิยามบนจุดยอดและเส้นเชื่อม เพื่อให้มีความยืดหยุ่นในการควบคุมและจัดการเกี่ยวกับหน้าของไฮเพอร์แมพ เนื่องจากหน้ามีบทบาทสำคัญในการนิยามไฮเพอร์แมพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของแมพเชิงระนาบ ไวยากรณ์ที่นำเสนอในงานนี้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการทำความเข้าใจและตรวจจับโครงสร้างย่อยของไฮเพอร์แมพ โดยยกตัวอย่างการสร้างแมพเชิงระนาบของกราฟเชิงต้นไม้อันดับเค (เมื่อเคเป็นจำนวนเต็มบวกที่มีค่าไม่เกินสาม) โดยใช้ไวยากรณ์ไฮเพอร์แมพที่มีเพียงกฎการผลิตเดียว ผลการวิจัยแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการนำไวยากรณ์ที่นำเสนอในงานนี้ไปใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาคุณสมบติและโครงสร้างของแมพเชิงระนาบ รวมถึงการนำไปประยุกต์ใช้ในสายงานต่าง ๆ เช่น วิทยาการคอมพิวเตอร์ ทอพอโลยี และทฤษฎีกราฟ


การปรับปรุงความสามารถในการพยากรณ์แบบไบนารี่โดยใช้การเรียนรู้เมตาแบบถ่วงน้ำหนักแบบปรับสำหรับการจำแนกความยากจนระดับครัวเรือนในประเทศไทย, ธารินทร์ สุขเนาว์ Jan 2022

การปรับปรุงความสามารถในการพยากรณ์แบบไบนารี่โดยใช้การเรียนรู้เมตาแบบถ่วงน้ำหนักแบบปรับสำหรับการจำแนกความยากจนระดับครัวเรือนในประเทศไทย, ธารินทร์ สุขเนาว์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความยากจนในระดับครัวเรือนและเสนอวิธีการเปรียบเทียบและปรับปรุงความสามารถในการพยากรณ์แบบไบนารี่โดยใช้การเรียนรู้เมตาแบบถ่วงน้ำหนักแบบปรับจากการคำนวนค่าถ่วงน้ำหนักวิธีที่ดีที่สุดสำหรับการจำแนกความยากจนระดับครัวเรือนในประเทศไทย โดยนำเสนอวิธีการสองขั้นตอน คือนำตัววัดประสิทธิภาพการทำนายมาใช้ในการคำนวณค่าถ่วงน้ำหนักแบบปรับ ซึ่งนำมาใช้เสมือนเป็นค่าถ่วงน้ำหนักเริ่มต้นที่ให้กับแต่ละตัวแบบ จากนั้นจึงทำนายผลด้วยวิธีการวิเคราะห์การถดถอยลอจิสติกอีกขั้นตอนหนึ่ง งานวิจัยนี้ศึกษาการคำนวณค่าถ่วงน้ำหนักแบบปรับจากตัววัดประสิทธิภาพการทำนายใน 3 กรณี ได้แก่ 1. การใช้ค่า AUC 2. การใช้ค่า F1-Score โดยพิจารณาจุดตัด 0.5 และ 3. การใช้ค่า F1-Score โดยพิจารณาค่าจุดตัดที่เหมาะสมที่สุดจากดัชนีโยเดนที่สูงสุด นอกจากนี้ เนื่องจากชุดข้อมูลสำรวจประชากรรายครัวเรือนในระดับพื้นที่มีความไม่สมดุลของระดับความยากจน จึงใช้เทคนิค SMOTE ในการจัดการกับข้อมูลที่ไม่สมดุล ทั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการเปรียบเทียบผลลัพธ์จากชุดข้อมูลก่อนและหลังใช้เทคนิค SMOTE ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความยากจนในระดับครัวเรือนสูงมีหลายปัจจัย อาทิ อายุของหัวหน้าครัวเรือน จำนวนผู้ที่ได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในครัวเรือน,ค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคในครัวเรือน เป็นต้น และวิธีการคำนวณค่าถ่วงน้ำหนักแบบปรับจากตัววัดประสิทธิภาพ F1-Score ที่จุดตัด 0.5 มีประสิทธิภาพสูงสุดจากการพิจารณาด้วยค่าความแม่นยำในชุดข้อมูลตั้งต้นก่อนใช้เทคนิค SMOTE อย่างไรก็ตาม จากการทดสอบในชุดข้อมูลที่มีการจัดการกับข้อมูลที่ไม่สมดุลด้วยวิธี SMOTE พบว่า ประสิทธิภาพในการทำนายไม่ปรากฏว่าวิธีการคำนวณค่าถ่วงน้ำหนักแบบปรับจากตัววัดประสิทธิภาพแบบใดแบบหนึ่งที่มีประสิทธิภาพสูงสุดอย่างชัดเจน


การประเมินความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศสำหรับพื้นที่เพาะปลูกข้าวและความพร้อมในการจัดการของหน่วยงานภาครัฐ: กรณีศึกษาเกาะลมบก ประเทศอินโดนีเซีย, ดอสมายา แอนเดรียอานี Jan 2022

การประเมินความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศสำหรับพื้นที่เพาะปลูกข้าวและความพร้อมในการจัดการของหน่วยงานภาครัฐ: กรณีศึกษาเกาะลมบก ประเทศอินโดนีเซีย, ดอสมายา แอนเดรียอานี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนับเป็นประเด็นสำคัญที่ถูกอภิปรายว่าเป็นปัจจัยขับเคลื่อนต่อการเกิดอุบัติการณ์ภัยธรรมชาติ โดยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อทุกมิติของชีวิตมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านความมั่นคงด้านอาหาร ทั้งนี้ พื้นที่เพาะปลูกข้าวนับเป็นพื้นที่ที่ถูกคุกคามมากที่สุดเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ำฝนและอุณหภูมิอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ บทบาทของรัฐบาลจึงมีความสำคัญในการลดความสูญเสียที่เกิดจากภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะการยกระดับความสามารถในการปรับตัวของชุมชนท้องถิ่นต่อภัยธรรมชาติ วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือการประเมินผลกระทบของภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่เพาะปลูกข้าว และประเมินความพร้อมของรัฐบาลระดับท้องถิ่นในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและอันตรายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยคัดเลือก เกาะลมบก ของประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นพื้นที่เกาะเล็กๆ และมีความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ระเบียบวิธิวิจัยของการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ การประยุกต์ใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (Analytical Hierarchy Process: AHP) ร่วมกับระบบข้อมูลทางภูมิศาสตร์ (GIS) ในการประเมินความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั้งจากผลกระทบจากอุทกภัย ภัยแล้ง และดินถล่ม ขณะเดียวกัน การศึกษานี้อาศัยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ (n=15) เพื่อประเมินความพร้อมของรัฐบาลท้องถิ่นในการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาศัยการสัมภาษณ์ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ด้านการเพาะปลูก การจัดการภัยพิบัติ และการจัดการน้ำ โดยผลการวิจัยพบว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 88.18 ของเกาะลมบกมีความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศระดับปานกลาง และ พื้นที่เพาะปลูกข้าวเกือบทั้งหมดร้อยละ 96.56 มีความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศระดับปานกลางเช่นกัน ผลการสัมภาษณ์พบว่า ความพร้อมของรัฐบาลท้องถิ่นในการจัดการกับภัยอันตรายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีอย่างจำกัด โดยเฉพาะประเด็นด้านงบประมาณและทรัพยากรบุคคล โดยผลการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์สำหรับหน่วยงานท้องถิ่นในการดำเนินกิจกรรมการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่างๆ และเป็นกลยุทธ์ในการคาดการณ์ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่เพาะปลูกข้าวของเกาะลมบก ประเทศอินโดนีเซียต่อไป.


Numerical Algorithm For Heat Equation With Moving Boundary Using Finite Integration Method With Chebyshev Polynomial Expansion, Warunya Wong-U-Ra Jan 2022

Numerical Algorithm For Heat Equation With Moving Boundary Using Finite Integration Method With Chebyshev Polynomial Expansion, Warunya Wong-U-Ra

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


การศึกษาเปรียบเทียบของพอลิโพรพิลีนรีไซเคิลเทอร์มอพลาสติกวัลคาไนเซตจากยางธรรมชาติและจากยางอีพีดีเอ็ม, ทีปกร พันธ์พรม Jan 2022

การศึกษาเปรียบเทียบของพอลิโพรพิลีนรีไซเคิลเทอร์มอพลาสติกวัลคาไนเซตจากยางธรรมชาติและจากยางอีพีดีเอ็ม, ทีปกร พันธ์พรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงสมบัติของพอลิโพรพิลีนรีไซเคิลโดยการเตรียมเป็นเทอร์มอพลาสติกอิลาสโตเมอร์ และเทอร์มอพลาสติกวัลคาไนเซตด้วยยางธรรมชาติและยางอีพีดีเอ็มในอัตราส่วนต่าง ๆ โดยพอลิโพรพิลีนรีไซเคิลและยางถูกผสมด้วยสามอัตราส่วน ได้แก่ 90/10, 80/20 และ 70/30 โดยน้ำหนักในเครื่องผสมแบบปิดที่อุณหภูมิ 170 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 นาที ตามด้วยการอัดขึ้นรูป จากผลการทดลองพบว่าการเติมยางธรรมชาติหรือยางอีพีดีเอ็มช่วยปรับปรุงความทนแรงกระแทกและการยืดตัว ณ จุดขาด ขณะที่ความทนแรงดึง ยังส์มอดุลัส และความแข็งลดลง อย่างไรก็ตามเทอร์มอพลาสติกอิลาสโตเมอร์ที่เติมยางอีพีดีเอ็มแสดงสมบัติเหนือกว่าเทอร์มอพลาสติกอิลาสโตเมอร์ที่เติมยางธรรมชาติที่อัตราส่วนเดียวกันเนื่องจากมีความเข้ากันได้กับพอลิโพรพิลีนรีไซเคิลมากกว่า ซึ่งยืนยันได้จากสมบัติสัณฐานวิทยา และในบรรดาเทอร์มอพลาสติกอิลาสโตเมอร์ทั้งหมด พอลิโพรพิลีนรีไซเคิล/ยางที่อัตราส่วน 80/20 มีสมบัติเชิงกลที่เหมาะสมจึงถูกเลือกมาเตรียมเป็นเทอร์มอพลาสติกวัลคาไนเซตโดยการเติมเพอร์ออกไซด์เป็นสารเชื่อมขวางที่อัตราส่วน 1 และ 2 ส่วนต่อยางร้อยส่วน เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสมบัติเชิงกล สมบัติทางความร้อน และสัณฐานวิทยาของเทอร์มอพลาสติกอิลาสโตเมอร์และเทอร์มอพลาสติกวัลคาไนเซตพบว่ายังส์มอดุลัสของเทอร์มอพลาสติกวัลคาไนเซตสูงกว่าเทอร์มอพลาสติกอิลาสโตเมอร์เนื่องจากการเชื่อมขวาง อย่างไรก็ตามสมบัติอื่น ๆ ลดลงเมื่อเทียบกับเทอร์มอพลาสติกอิลาสโตเมอร์เพราะการตัดขาดของสายโซ่โดยเพอร์ออกไซด์


การพัฒนาซอฟต์เซ็นเซอร์สำหรับการทำนายพารามิเตอร์ของการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์โดยใช้โครงข่ายประสาทเทียม, พงศ์พล ธวัชบัณฑิต Jan 2022

การพัฒนาซอฟต์เซ็นเซอร์สำหรับการทำนายพารามิเตอร์ของการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์โดยใช้โครงข่ายประสาทเทียม, พงศ์พล ธวัชบัณฑิต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับโรงงานอุตสาหกรรมนั้นเป็นกระบวนการที่สำคัญในการลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นแก๊สเรือนกระจกในแก๊สไอเสียก่อนส่งออกสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งการรู้ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกดูดซับและเวลาที่การดูดซับเข้าสู่สมดุลจึงเป็นประโยชน์ในการวางแผนการดำเนินงานในอุตสาหกรรม ดังนั้นในงานวิจัยนี้ ศึกษาและพัฒนาโครงข่ายประสาทเทียมสามารถทำนายพารามิเตอร์ของการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ โครงข่ายประสาทเทียมที่พัฒนาด้วยโครงสร้างที่มีจำนวนชั้นซ่อน 2 ชั้นซ่อน ในแต่ละชั้นซ่อนประกอบด้วย 10 เซลล์ประสาท และฟังก์ชันกระตุ้นในชั้นซ่อนและชั้นส่งออกคือฟังก์ชันแทนซิกมอยด์มีประสิทธิภาพสูงที่สุด จากนั้นนำโครงข่ายประสาทเทียมที่มีโครงสร้างดังกล่าวไปใช้ในการศึกษาผลของสมการทางจลนศาสตร์และนำตัวแปรส่งออกไปแทนค่าในสมการทางจลนศาสตร์เพื่อสร้างเส้นโค้งของดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ เส้นโค้งที่สร้างจากสมการของปฏิกิริยาอันดับหนึ่งเทียมมีค่าเฉลี่ยของค่า R-square สูงสุดคือ 0.8731 และค่าเฉลี่ยของค่า RMSE ต่ำที่สุดคือ 0.2358 จากนั้นนำโครงข่ายประสาทเทียมไปพัฒนาซอฟต์เซ็นเซอร์โดยเริ่มจากการแปลงโครงข่ายประสาทเทียมให้เป็นโปรแกรมที่เป็นภาษาไพทอน และนำโปรแกรมนี้ไปใส่ใน Raspberry pi 4 model b ตัวแปรนำเข้าทั้งหมดจะถูกคำนวณผ่านโครงข่ายประสาทเทียมที่ได้แปลงเป็นภาษาไพทอนแล้ว และส่งค่าตัวแปรส่งออกไปแสดงค่าผ่านแพลตฟอร์ม Grafana ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่สะดวกและรวดเร็ว และสามารถรายงานค่าในเวลาจริงได้


การหาภาวะเหมาะที่สุดในการะบวนการผลิตยางรีเคลมสำหรับขยะยางที่ประกอบด้วยยางธรรมชาติและยางอีพีดีเอ็ม, ภัสรา สุวรรณสิงห์ Jan 2022

การหาภาวะเหมาะที่สุดในการะบวนการผลิตยางรีเคลมสำหรับขยะยางที่ประกอบด้วยยางธรรมชาติและยางอีพีดีเอ็ม, ภัสรา สุวรรณสิงห์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาภาวะที่เหมาะสมของเครื่องอัดรีดแบบสกรูคู่สำหรับเตรียมยางรีเคลมจากขยะยาง 2 ชนิด ประกอบด้วยขยะยางที่มียางธรรมชาติเป็นองค์ประกอบหลักและขยะยางอีพีดีเอ็ม ผลการวิเคราะห์การสลายตัวด้วยความร้อนโดยเทคนิคเทอร์โมกราวิเมทริกแอนนาไลซิส พบว่าขยะยางที่มียางธรรมชาติเป็นองค์ประกอบหลักและขยะยางอีพีดีเอ็มมีสัดส่วนของเนื้อยางอยู่ที่ร้อยละ 53.5 และ 56.0 ตามลำดับ สำหรับการเตรียมยางรีเคลมจากขยะยางที่มียางธรรมชาติเป็นองค์ประกอบหลักภาวะของเครื่องอัดรีดแบบสกรูคู่ที่ได้ทำการศึกษาคือ ความเร็วรอบในการหมุนของสกรูที่ 150, 200 และ 250 rpm โดยแต่ละความเร็วรอบจะใช้อุณหภูมิโซนผสมที่ 200, 225 และ 250 องศาเซลเซียส ในขณะที่การเตรียมยางรีเคลมจากขยะยางอีพีดีเอ็มจะใช้ความเร็วรอบในการหมุนของสกรูเหมือนกับกรณีแรก แต่อุณหภูมิโซนผสมจะอยู่ที่ 250, 275 และ 300 องศาเซลเซียส ผลการศึกษาพบว่า การเพิ่มความเร็วรอบในการหมุนของสกรูและอุณหภูมิโซนผสมส่งผลทำให้ยางรีเคลมทั้งสองชนิดมีความหนืดมูนีลดลง เมื่อนำยางรีเคลมที่ได้ไปขึ้นรูปตามมาตรฐาน ISO/TS 16095:2021 และทดสอบสมบัติเชิงกล พบว่ายางรีเคลมจากขยะยางที่มียางธรรมชาติเป็นองค์ประกอบหลักที่เตรียมที่ภาวะความเร็วรอบในการหมุนของสกรูที่ 250 rpm และอุณหภูมิโซนผสมที่ 200 องศาเซลเซียส และขยะยางอีพีดีเอ็มที่เตรียมที่ภาวะความเร็วรอบในการหมุนของสกรูที่ 150 rpm และอุณหภูมิโซนผสมที่ 275 องศาเซลเซียส จะมีความต้านทานต่อแรงดึงและระยะยืด ณ จุดขาด สูงที่สุด ทั้งนี้เป็นผลมาจากยางรีเคลมทั้ง 2 ชนิด ที่ได้จากภาวะข้างต้นมีร้อยละการดีวัลคาไนซ์สูงที่สูด ทำให้มีสภาพเป็นเทอร์โมพลาสติกสูงที่สุด เมื่อนำไปขึ้นรูปซ้ำจึงให้สมบัติเชิงกลดีที่สุด เมื่อนำภาวะข้างต้นไปศึกษาอิทธิพลของชนิดและปริมาณสารรีเคลมประเภทเททระเบนซิลไทยูแรมไดซัลไฟด์และเททระไอโซบิวทิลไทยูแรมไดซัลไฟด์ พบว่ายางรีเคลมคงรูปจากขยะยางที่มียางธรรมชาติเป็นองค์ประกอบหลักและยางรีเคลมคงรูปจากขยะยางอีพีดีเอ็มที่เติมสารรีเคลมชนิดเททระไอโซบิวทิลไทยูแรมไดซัลไฟด์ 1 และ 3 ส่วนในร้อยส่วนของยางจะมีความต้านทานต่อแรงดึงและระยะยืด ณ จุดขาด สูงที่สุดทั้งสองชนิดที่เติม ทั้งนี้เป็นผลมาจากยางรีเคลมดังกล่าวมีร้อยละการดีวัลคาไนซ์สูงที่สูด เมื่อนำยางรีเคลมทั้ง 2 ชนิดที่ไปใช้ทดแทนยางบริสุทธิ์ตามสูตรที่กำหนด พบว่าเมื่อเพิ่มปริมาณยางรีเคลมเป็นผลให้สมบัติเชิงกลของยางคงรูปลดลงตามลำดับ อย่างไรก็ตามพบว่าที่มีการใช้ยางรีเคลมทดแทนยางบริสุทธิ์จะได้ยางคงรูปมีความต้านทานต่อการเสื่อมสภาพเนื่องจากความร้อนสูงที่ขึ้น


การจำแนกพฤติกรรมการนอนหลับตามการจัดกลุ่มของคุณภาพการนอนหลับ, ปวรรัตน์ ขุมเงิน Jan 2022

การจำแนกพฤติกรรมการนอนหลับตามการจัดกลุ่มของคุณภาพการนอนหลับ, ปวรรัตน์ ขุมเงิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การนอนหลับเป็นกิจกรรมสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิต ซึ่งความสำคัญของการนอนหลับคือการฟื้นฟู ซ่อมแซมเซลล์ภายในร่างกายและเตรียมพร้อมพลังงานสำหรับการเริ่มต้นในวันถัดไป การนอนหลับที่ดีสามารถสื่อได้ถึงสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่แข็งแรงโดยสามารถวัดได้จากคุณภาพการนอนหลับ การศึกษาทั่วไปจะนิยมใช้ข้อมูลทั้งหมดในการสอนแบบจำลองแต่ในการศึกษานี้เชื่อว่ารูปแบบการนอนหลับในแต่ละบุคคลจะมีความแตกต่างกัน ดังนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ขอเสนอการจำแนกพฤติกรรมการนอนหลับตามการจัดกลุ่มของคุณภาพการนอนหลับ ขั้นตอนแรกคือการจัดกลุ่มคนที่มีรูปแบบการนอนหลับที่คล้ายคลึงกันโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบหลักและอัลกอริทึมเคมีน ต่อมาใช้อัลกอริทึมการถดถอยโลจิสติกและการป่าแแบบสุ่มในการจำแนกพฤติกรรมการนอนหลับ หลังจากนั้นทดสอบประสิทธิภาพการวิเคราะห์ของแบบจำลองด้วยการตรวจสอบไขว้แบบดึงข้อมูลออกทีละตัว จากผลการทดลองพบว่าค่าความแม่นยำแบบจำลองของอัลกอริทึมการป่าแแบบสุ่มในทุกกลุ่มให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าแบบจำลองของการถดถอยโลจิสติกระหว่าง 2.1% ถึง 7.6%


การจำแนกระดับความคิดในการฆ่าตัวตายจากข้อความทวิตเตอร์โดยใช้การเรียนรู้ของเครื่อง, พันธพร เบ็ญจไชยรัตน์ Jan 2022

การจำแนกระดับความคิดในการฆ่าตัวตายจากข้อความทวิตเตอร์โดยใช้การเรียนรู้ของเครื่อง, พันธพร เบ็ญจไชยรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความคิดฆ่าตัวตายเป็นหนึ่งในภาวะสุขภาพจิตที่สำคัญอย่างมากในสังคมไทย ในปัจจุบันคนที่มีความคิดฆ่าตัวตายได้มีการแสดงความรู้สึกออกมาผ่านสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ในวิทยานิพนธ์นี้จึงได้มีแนวคิดในการนำเอาเทคนิคการประมวลผลภาษาธรรมชาติและการเรียนรู้ของเครื่อง มาใช้ในการจำแนกข้อความที่เป็นภาษาไทยบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ทวิตเตอร์เพื่อตรวจหาระดับความคิดฆ่าตัวตายทั้ง 6 ระดับ ได้แก่ 1) อยากตาย, 2) คิดฆ่าตัวตายแต่ยังไม่มีรายละเอียดที่เจาะจง, 3) คิดฆ่าตัวตายโดยกล่าวถึงวิธีการ แต่ยังไม่มีแผนและยังไม่ส่อเจตนาที่จะลงมือ, 4) คิดฆ่าตัวตายโดยมีเจตนาที่จะลงมือ ยังไม่มีแผนที่เจาะจง, 5) คิดฆ่าตัวตายโดยมีแผนที่เจาะจงและมีเจตนาที่จะลงมือ และ 6) อื่น ๆ (ไม่ใช่ความคิดฆ่าตัวตาย) โดยใช้อัลกอริทึมแอลเอสทีเอ็ม, เอสวีเอ็ม, แรนดอมฟอเรสต์ และ เอกซ์จีบูสต์ จากการประเมินผลพบว่าอัลกอริทึมแอลเอสทีเอ็มมีประสิทธิภาพโดยรวมดีที่สุด โดยมีค่าความเที่ยงเป็น 93.68% ค่าเรียกคืนเป็น 94.25% ค่าเอฟวันเป็น 93.88% และค่าความแม่นเป็น 95.05% งานวิจัยนี้ได้พัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อใช้ทำนายระดับความคิดฆ่าตัวตายจากข้อความของผู้ใช้ที่โต้ตอบกับเว็บแอปพลิเคชัน เพื่อเสนอแนวทางการช่วยเหลือตัวเองในเบื้องต้นหรือให้คำแนะนำได้อย่างเหมาะสมตามระดับความคิดฆ่าตัวตายนั้น ๆ ตลอดจนให้ความรู้เกี่ยวกับความคิดด้านลบและวิธีการจัดการความคิดลบอัตโนมัติของตนเอง และมีช่องทางการติดต่อโรงพยาบาลและเบอร์ฉุกเฉินให้แก่ผู้ที่มีความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายสูง เพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงความช่วยเหลือได้ทันที


ระบบการนับยานพาหนะแยกตามประเภทสำหรับวีดิทัศน์จราจรหลายมุมมอง, วิชุกร คันธินทระ Jan 2022

ระบบการนับยานพาหนะแยกตามประเภทสำหรับวีดิทัศน์จราจรหลายมุมมอง, วิชุกร คันธินทระ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การบริหารจัดการการจราจรถือเป็นความท้าทายสำคัญสำหรับเมืองขนาดใหญ่ในปัจจุบัน ข้อมูลปริมาณความหนาแน่นของยานพาหนะจะมีส่วนช่วยในการวางแผนจัดการจราจร อาทิเช่น การวางแผนระยะเวลาในการเปิด-ปิดไฟจราจรให้เหมาะสมตามปริมาณความหนาแน่นของยานพาหนะ เป็นต้น ปัจจุบันเราใช้คนในการประเมินจำนวนยานพาหนะซึ่งเกิดความล่าช้า และผิดพลาด ทำให้ไม่เหมาะสมในนำข้อมูลไปใช้ในการบริหารจัดการจราจร งานวิจัยนี้นำเสนอระบบนับแยกประเภทยานพาหนะจากวีดิทัศน์บันทึกภาพของกล้องจราจร โดยระบบจะประกอบด้วย object detection และ object tracking จากการทดสอบจะพบว่า YOLOX ทำประสิทธิภาพได้ดีกว่า YOLOv3 มากถึง 26.80% สำหรับชุดข้อมูลภาพมุมข้าง และ 8.34% สำหรับกรณีมุมบน เนื่องจาก YOLOX มีการแยกส่วนของ head ออกเป็น box classification และ box regression ซึ่งมีส่วนช่วยเพิ่มความแม่นยำ และ ByteTrack มีความเหมาะสมในการใช้ในการติตามวัตถุ object tracking อันเนื่องจาก ByteTrack สามารถในการจัดการการบดบังได้ดีกว่า Centroid track โดย ByteTrack จะการทำนายพิกัดของวัตถุที่เกิดการสูญหายขณะถูกบดบังด้วยเทคนิค kalman filter ทำให้ระบบสามารถติดตามวัตถุได้ต่อเนื่องเมื่อการบดบังสิ้นสุดลง จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า การทำงานกันระหว่าง YOLOX และ ByteTrack ประกอบกับการนับแบบมี ROI จะช่วยให้ระบบคัดแยกประเภทยานพาหนะ และนับยานพาหนะตามประเภทมีค่าความผิดพลาดที่ต่ำอยู่ที่ 16.67% สำหรับวีดิทัศน์มุมข้างและ 23.40% สำหรับวีดิทัศน์มุมบน โดยระบบที่นำเสนอนี้สามารถใช้ในการช่วยติดตามดูแลสภาพจราจรในระบบขนส่งอัจฉริยะได้


การพยากรณ์จำนวนผู้ป่วย Covid-19 ประเทศไทยโดยการใช้ข้อมูลจากหลายประเทศ, สิรธีร์ วรธรรมทองดี Jan 2022

การพยากรณ์จำนวนผู้ป่วย Covid-19 ประเทศไทยโดยการใช้ข้อมูลจากหลายประเทศ, สิรธีร์ วรธรรมทองดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ได้แพร่กระจายไปทั่วโลกตั้งแต่ปีพ.ศ.2562 การศึกษานี้ได้ทำการพยากรณ์ผู้ป่วยจากโรคโควิด-19ของประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลตั้งแต่ วันที่ 22 มกราคม พ.ศ.2563 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2564 ซึ่งมีจำนวนข้อมูลอยู่ 710 วัน โดยข้อมูลสาธารณะจากมหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอปคินส์ ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) ในการพยากรณ์จำนวนผู้ป่วยในประเทศเพื่อเป็นหนึ่งในข้อมูลในการช่วยรัฐบาลออกนโยบายการจัดการทรัพยากรเพื่อรับมือกับโรคระบาด การศึกษานี้ได้ใช้วิธีการจัดกลุ่มเคมีน (K-Means) ในการจัดกลุ่มของประเทศที่มีรูปแบบของจำนวนผู้ป่วยจากโรคคล้ายกันกับประเทศไทย ผลจากการจัดกลุ่มมีประเทศที่อยู่ใน Cluster เดียวกันกับประเทศไทยทั้งหมด 8 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น (Japan), มาเลเซีย (Malaysia), ฟิลิปปินส์ (Philippines) ,บังกลาเทศ (Bangladesh) ,คิวบา (Cuba) ,อิรัก (Iraq) ,เม็กซิโก (Mexico) และ เวียดนาม (Vietnam) อยู่ในกลุ่มเดียวกับประเทศไทย จากนั้นทำการจับคู่ระหว่างประเทศไทยและประเทศที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ใช้โมเดลหน่วยความจำระยะสั้นยาว (Long Short-Term Memory) เพื่อพยากรณ์จำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ของประเทศไทย ผลจากโมเดลแสดงได้ว่าการใช้ข้อมูลคู่ประเทศไทยและบังกลาเทศ ญี่ปุ่น และเม็กซิโกมีค่าเฉลี่ยของร้อยละความผิดพลาดสัมบูรณ์ (Mean Absolute Percentage Error) น้อยที่สุดตามลำดับ เมื่อเทียบกับการใช้ข้อมูลแค่ประเทศไทยอย่างเดียว


Atlantic Richfield Response To Comments Bpsou Draft Final Data Management Plan, Atlantic Richfield Company Jan 2022

Atlantic Richfield Response To Comments Bpsou Draft Final Data Management Plan, Atlantic Richfield Company

Silver Bow Creek/Butte Area Superfund Site

No abstract provided.


Strengthening Local Government To Enhance Flood Risk Management:A Case Study Of Xay District, Lao Pdr., Souksamay Manhmanyvong Jan 2022

Strengthening Local Government To Enhance Flood Risk Management:A Case Study Of Xay District, Lao Pdr., Souksamay Manhmanyvong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The Xay district of Lao PDR is vulnerable to flooding because around 80% of the total geographic area consists of mountains, rivers, and tributaries. While the district has limited coping capability. Therefore, strengthening the local government to enhance flood risk management was investigated in the present study with the following four objectives. Desk research, on-site observation, in-depth interviews, and expert focus group were used for data collection. The study found that local people always suffer from flooding in the Xay district almost every year because the district locates on a high mountain surrounded by canals and a high population along …


Surface-Enhanced Raman Scattering Technique For Nanoplastics Detection, Boonphop Chaisrikhwun Jan 2022

Surface-Enhanced Raman Scattering Technique For Nanoplastics Detection, Boonphop Chaisrikhwun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The size-dependent effect of nanoplastics (NPLs) restricts the quantification of NPLs by surface-enhanced Raman scattering (SERS) technique. In this study, we successfully established an innovative preparation method to eliminate this effect. This developed SERS method allowed us to quantify 100-, 300-, 600-, and 800-nm polystyrene nanospheres (PSNSs) in diverse aqueous conditions at a low concentration. The SERS substrate was easily fabricated and used as NPLs signal enhancement with sputtering gold particles onto a glass cover slide. By preconcentrating and dissolving PSNSs in toluene, SERS technique can be successfully quantify NPLs at extremely low concentrations with a limit of detection (LOD) …


Enzyme-Free Hydrogen Peroxide Sensor From Dual-Shaped Plasmonic Silver Nanoparticles, Charles Oliver Avenido Jan 2022

Enzyme-Free Hydrogen Peroxide Sensor From Dual-Shaped Plasmonic Silver Nanoparticles, Charles Oliver Avenido

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

A novel growth-based strategy for the determination of hydrogen peroxide has been developed using a mixture of silver nanospheres (AgNSs) and citrate-capped silver nanoprisms (AgNPrs). The unique ability of hydrogen peroxide to oxidize silver nanoparticles and reduce silver metal consequently was exploited to produce a highly sensitive and selective sensor (AgNSs/NPrs). Citrate-capping of the AgNPrs only allows the lateral growth that resulted in a red shift and intensity enhancement of the in-plane dipole plasmon resonance (IPDPR) band. Consequently, distinct hues from yellow, orange, red, purple to blue were produced from the diluted sensors. Ratiometric analysis was employed to quantify H2O2 …


Cyanide Fluorescent Sensors From Indolium-Fluorophore Conjugates, Siraporn Soonthonhut Jan 2022

Cyanide Fluorescent Sensors From Indolium-Fluorophore Conjugates, Siraporn Soonthonhut

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Indolium conjugated with three fluorophores including julolidine, triphenylamine, and pyrene (INJ, INT, INP) were successfully synthesized via condensation reaction with an excellent yield over 80%. All of derivatives were fully characterized and investigated the photophysical properties revealing that synthesized indolium-fluorophore conjugates has a negligible quantum yield. All synthesized compounds expressed the great selectivity toward cyanide ion indicating by colorimetric and fluorescence signal change due to internal charge transfer process (ICT) was interrupted. The sensitivity on cyanide detection was carried on both colorimetric and fluorescence mode resulting the excellent sensitivity on INT and INJ which can be operated for analysis of …