Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Mass Communication

Institution
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type
File Type

Articles 931 - 960 of 39950

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

Ua19/16/2 Golf Press Releases, Wku Athletic Media Relations Jan 2022

Ua19/16/2 Golf Press Releases, Wku Athletic Media Relations

WKU Archives Records

Press releases, photos and game statistics for WKU golf team in 2022.


Ua19/16/2 Athletics Press Releases, Wku Athletic Media Relations Jan 2022

Ua19/16/2 Athletics Press Releases, Wku Athletic Media Relations

WKU Archives Records

Press releases regarding general activities of the WKU Athletics Department for 2022.


ผลของประเภทผู้สนับสนุนสินค้าในโฆษณาสินค้าแฟชั่นและประเภทบัญชีอินสตาแกรมต่อการตอบสนองของผู้บริโภค, ณัฏฐริณีย์ รินศิริกุล Jan 2022

ผลของประเภทผู้สนับสนุนสินค้าในโฆษณาสินค้าแฟชั่นและประเภทบัญชีอินสตาแกรมต่อการตอบสนองของผู้บริโภค, ณัฏฐริณีย์ รินศิริกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลอง แบบ 2x2 แฟคเทอเรียล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบหลักและผลกระทบร่วมกันของประเภทผู้สนับสนุนสินค้าในโฆษณาสินค้าแฟชั่น(บุคคลที่มีชื่อเสียง และบุคคลธรรมดา) และประเภทบัญชีอินสตาแกรม (บัญชีอินสตาแกรมของตราสินค้า และบัญชีอินสตาแกรมของผู้สนับสนุนสินค้า) ที่มีต่อการตอบสนองของผู้บริโภค ได้แก่ ทัศนคติต่องานโฆษณา ทัศนคติต่อตราสินค้า ความสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริง และความตั้งใจซื้อ โดยเก็บข้อมูลกับนิสิตที่ศึกษาในระดับชั้นปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์หาวิทยาลัย จำนวน 129 คน ในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2566 ผลการวิจัยพบว่า ประเภทผู้สนับสนุนสินค้าในโฆษณาสินค้าแฟชั่นส่งผลกระทบหลักต่อการตอบสนองของผู้บริโภค ในด้านทัศนคติต่องานโฆษณา ความสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริง และความตั้งใจซื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ประเภทบัญชีอินสตาแกรมนั้นไม่ส่งผลกระทบหลักต่อการตอบสนองด้านใด ๆ ของผู้บริโภค นอกจากนั้น ประเภทผู้สนับสนุนสินค้าในโฆษณาสินค้าแฟชั่น และประเภทบัญชีอินสตาแกรม ยังส่งผลกระทบร่วมกันต่อการตอบสนองของผู้บริโภคในด้านทัศนคติต่องานโฆษณาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


Digital News Literacy And Social Work: Core Competencies, Cynthia H. Nover Jan 2022

Digital News Literacy And Social Work: Core Competencies, Cynthia H. Nover

The Journal of Sociology & Social Welfare

Digital news refers to online news, television news, and other electronic sources where individuals can gather information about the world around them. As college students increasingly get their news from online sources and comedy television, it is important for students to have appropriate media literacy skills to evaluate content. The relationship between news literacy skills and core competencies of social work education is discussed in this paper, with recommendations for incorporating news literacy in the classroom.


Role Of Celebrities In Creating Brand Advocacy: An Analysis Of Social Media Users In Pakistan, Syeda Batool Abbas, Usamah Iyyaz Billah Jan 2022

Role Of Celebrities In Creating Brand Advocacy: An Analysis Of Social Media Users In Pakistan, Syeda Batool Abbas, Usamah Iyyaz Billah

Business Review

The purpose of this research study is to investigate the role of celebrities in creating brand advocacy for mobile phones amongst social media users of Pakistan. The role of celebrities has been tested through the constructs of celebrity attractiveness, trustworthiness and expertise while brand trust has been added as a mediator. The study variables of the research have been empirically tested for the first time for the mobile phone industry and from social media users. The theoretical framework was developed based on relevant research on the study topic. Research design of the study is Quantitative, one-shot, cross-sectional in nature. Data …


Ua19/16/2 Track & Field Press Releases, Wku Athletic Media Relations Jan 2022

Ua19/16/2 Track & Field Press Releases, Wku Athletic Media Relations

WKU Archives Records

Press releases, photos and game statistics for WKU track & field team in 2022.


Ua19/16/2 Football Press Releases, Wku Athletic Media Relations Jan 2022

Ua19/16/2 Football Press Releases, Wku Athletic Media Relations

WKU Archives Records

Press releases, photos and game statistics for WKU football team in 2022.


Ua19/16/2 Baseball Press Releases, Wku Athletic Media Relations Jan 2022

Ua19/16/2 Baseball Press Releases, Wku Athletic Media Relations

WKU Archives Records

Press releases, photos and game statistics for WKU baseball team in 2022


ทัศนคติด้านความหลากหลายและความเท่าเทียมทางเพศของผู้ผลิตและผู้รับชมสื่อซีรีส์วาย เรื่อง คินน์พอร์ช เดอะ ซีรีส์ (Kinnporsche The Series), ธนายุทธ ฐากูรอรรถยา Jan 2022

ทัศนคติด้านความหลากหลายและความเท่าเทียมทางเพศของผู้ผลิตและผู้รับชมสื่อซีรีส์วาย เรื่อง คินน์พอร์ช เดอะ ซีรีส์ (Kinnporsche The Series), ธนายุทธ ฐากูรอรรถยา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

รายงานนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาทัศนคติด้านความหลากหลายทางและความเท่าเทียมเพศของผู้ผลิตและผู้รับชมสื่อซีรีส์วาย เรื่องคินน์พอร์ช เดอะ ซีรีส์ (KinnPorsche The series) ในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการผลิตสื่อซีรีส์วายที่มีเนื้อหาส่งเสริมความเข้าใจด้านความหลากหลายและความเท่าเทียมทางเพศ ผลการวิจัยพบว่า สื่อซีรีส์วายเรื่องคินน์พอร์ช เดอะ ซีรีส์ มีการนำเสนอถึงความหลากหลายและความเท่าเทียมทางเพศที่แตกต่างจากสื่อซีรีส์อื่นๆ เช่น ตัวละครที่บ่งบอกเพศที่เป็นเกย์อย่างชัดเจน เป็นต้น มีการให้ความสำคัญกับอาชีพและอำนาจแก่เพศหญิงและเพศหลากหลาย ในขณะเดียวกันกลุ่มนักรณรงค์และผู้รับชมมองว่ามีการนำเสนอที่ดีแต่ยังขาดมิติทางเพศหลากหลายอื่น ๆ ไม่ได้นำเสนอประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริงเท่าที่ควร ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดในอุตสาหกรรมซีรีส์วาย มีความเข้าใจในเรื่องความหลากหลายแลความเท่าเทียมทางเพศ มีทัศนคติในเชิงบวก กล่าวคือ มีการเปิดรับเรื่องความหลากหลายทางเพศ และยินดีหากทุกเพศได้รับสิทธิอย่างเท่าเทียมทั้งทางกฎหมายและสังคม จากผลการวิจัยพบว่า แนวทางในการผลิตสื่อซีรีส์วายในอนาคต ยังต้องคงไว้ในรูปแบบของสื่อบันเทิง เพื่อจรรโลงใจ ในขณะเดียวกันก็สามารถเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับยุคสมัยและกระแสของสังคม โดยไม่ยัดเยียดเนื้อหา เลือกใช้วิธีการสอดแทรกที่แยบยล เช่น การปรับคาแรคเตอร์ของตัวละครหลัก ให้มีน้ำหนักความเท่าเทียมทางเพศใกล้เคียงกัน การเพิ่มความหลากหลายของเพศตัวละคร และที่สำคัญคือพยายามไม่สร้างภาพจำผิดๆให้กับสังคม


การใช้สื่อในกลุ่มพนักงานที่ปรึกษาด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์และทัศนคติต่อความสมดุลในการทำงาน, จิราวุธ เธียรประพันธ์ Jan 2022

การใช้สื่อในกลุ่มพนักงานที่ปรึกษาด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์และทัศนคติต่อความสมดุลในการทำงาน, จิราวุธ เธียรประพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้สื่อในกลุ่มพนักงานที่ปรึกษาด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์และทัศนคติต่อความสมดุลในการทำงาน โดยต้องการสำรวจพฤติกรรมของพนักงานองค์กรที่ปรึกษาด้านประชาสัมพันธ์เพื่อนำมาเป็นพื้นฐานการวางแผนการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพภายในองค์กร และต้องการให้การทำงานของพนักงานภายในองค์กรเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความสุขในการทำงาน โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานที่ทำงานในองค์กรที่ปรึกษาด้านประชาสัมพันธ์ จำนวน 200 คน ทั้งหมด 3 ระดับ แบ่งเป็นพนักงานระดับผู้บริหาร จำนวน 40 คน ระดับกลาง 80 คน และระดับต้น จำนวน 80 คน เพื่อเป็นการวิจัยนำร่อง ผลการศึกษาจากงานวิจัยพบว่า ลักษณะทางประชากรของกลุ่มตัวอย่างพนักงานที่ปรึกษาด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 200 คน เป็นเพศหญิงมากที่สุด ทำงานในสายงาน Account Management และมีอายุการทำงานระหว่าง 5-10 ปี มีความถี่โดยรวมในการใช้สื่อภายในองค์กรในระดับใช้งานเป็นประจำในทุกวัน (ค่าเฉลี่ย=3.85) ผ่านโปรแกรมส่งข้อความแบบทันที (Instant Messaging Program) เป็นประจำและบ่อยครั้งมากต่อวัน (ค่าเฉลี่ย=4.60) ในเวลาทำงานช่วงเช้า (09.00 - 12.00 น.) เป็นอันดับ 1 โดยมีระยะเวลาโดยเฉลี่ยในการใช้สื่อประมาณ 8-12 ชั่วโมงต่อวันผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ของบริษัทมากที่สุด และพึงพอใจในการใช้งานสื่อภายในองค์กรโดยรวมในระดับพึงพอใจมาก (ค่าเฉลี่ย=3.88) ซึ่งพึงพอใจในการใช้งานโปรแกรมส่งข้อความแบบทันที (Instant Messaging Program) ในระดับพึงพอใจมาก (ค่าเฉลี่ย=4.15) เช่นเดียวกัน ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติต่อความสมดุลในการทำงานโดยรวมเป็นบวกและมีความสมดุลในการทำงานมาก (ค่าเฉลี่ย=3.61) โดยเฉพาะด้านความผูกพันจิตใจ (ค่าเฉลี่ย=3.69), ด้านความพึงพอใจ (ค่าเฉลี่ย=3.58) และด้านเวลา (ค่าเฉลี่ย=3.56) ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า การใช้สื่อในกลุ่มพนักงานขององค์กรที่ปรึกษาด้านประชาสัมพันธ์ ไม่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อความสมดุลในการทำงานในสายวิชาชีพประชาสัมพันธ์ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน=0.094) และกลุ่มพนักงานขององค์กรที่ปรึกษาด้านประชาสัมพันธ์ที่มีอายุงานแตกต่างกัน มีการใช้สื่อในที่ทำงานที่ไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 เช่นเดียวกับทัศนคติต่อความสมดุลในการทำงานในสายวิชาชีพประชาสัมพันธ์ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 จึงไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้


The Hong Kong Consumers' Perceptions Of Boys' Love Dramas And Their Attitudes Toward Thailand And The Gay Community, Chung Yan Chan Jan 2022

The Hong Kong Consumers' Perceptions Of Boys' Love Dramas And Their Attitudes Toward Thailand And The Gay Community, Chung Yan Chan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aimed to explore Hong Kong consumers' perceptions and attitudes toward Thai Boys' Love (BL) dramas, Thailand, and the gay community. To conduct the research, a qualitative approach is used with the instrument of in-depth interviews. A total of twelve Hong Kong consumers participated in this study. They are aged between 18-30 years old. The results depicted that Over-the-top (OTT) streaming platforms and reference groups contributed to the distribution and exposure of Thai BL dramas in the Hong Kong market. Aesthetic elements, actors, storyline, and Thailand culture are the elements that attract participants to watch Thai BL dramas continually. …


The Personal Branding On Social Media Of Tilly Birds, Joshuachidchanok Podlas Jan 2022

The Personal Branding On Social Media Of Tilly Birds, Joshuachidchanok Podlas

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this study was to examine Tilly Birds’ personal branding via their official social media platforms, and to study the personal branding construction strategy of Tilly Birds A mixed method was used to carry out this research. A content analysis as well as an in-depth interview. The first method involved the researcher doing content analysis on Tilly Birds' primary social media platforms: Twitter, Facebook, and Instagram. The researcher examined all of the posts from July to September. Following the content analysis, an in-depth interview was done to acquire a better understanding of the personal branding produced for Tilly …


The Influence Of Human-Like Virtual Influencers On Intention To Purchase Beauty Products Among Chinese Female Gen Z, Sheng Liu Jan 2022

The Influence Of Human-Like Virtual Influencers On Intention To Purchase Beauty Products Among Chinese Female Gen Z, Sheng Liu

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objectives of this research include exploring consumers’ perceived trust, brand awareness, and purchase intention via human-like virtual influencers; and examining the influence of human-like virtual influencers on consumers’ perceived trust, brand awareness, and purchase intention based on the empirical research, especially by adapting the SMIV model. A total of 260 Chinese female Gen Z respondents between the ages of 18 and 25 were eligible to complete an online questionnaire survey. The results depicted that human-like virtual influencers’ informative value (β= 0.196 p < .001) and entertainment value (β= 0.181 p < .001), trustworthiness (β= 0.142 p < .01), similarity (β= 0.115 p < .05), and attractiveness (β= 0.292 p < .001) to the audiences strongly influence their trust in branded posts, which further influence purchase intentions (β= 0.198, p < .01).


Consumers’ Attitudes Towards Human And Ai Customer Service By Booking.Com, Warit Chiang Jan 2022

Consumers’ Attitudes Towards Human And Ai Customer Service By Booking.Com, Warit Chiang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

First and foremost, I would like to thank my advisor, Dr. Teerada Chongkolrattanaporn, Assistant Professor. Thank you for your steady guidance, patience, encouragement, and support. I've felt confident and at ease throughout the entire process thanks to your guidance. This professional project could not have been completed without your assistance. Thank you for reading my revisions at such late hours and providing me with timely, constructive feedback. I feel truly blessed and honored to have been your advisee; may this work bear witness to your exceptional counsel. My heartfelt appreciation goes to all committee members, especially Associate Professor Dr. Smith …


การจัดการการสื่อสารของเครือข่ายกลุ่มแฟนดอมชาวไทยเพื่อสนับสนุนศิลปินไทยในประเทศจีน, ชวัลอร โภวาที Jan 2022

การจัดการการสื่อสารของเครือข่ายกลุ่มแฟนดอมชาวไทยเพื่อสนับสนุนศิลปินไทยในประเทศจีน, ชวัลอร โภวาที

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การจัดการเครือข่าย กลวิธีการสื่อสารภายในกลุ่ม ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการการสื่อสารของกลุ่มแฟนดอมชาวไทยเพื่อสนับสนุนศิลปินไทยในประเทศจีน งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์เนื้อหาของแต่ละกลุ่ม ร่วมกับสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากแฟนคลับ 2 กลุ่ม ผู้นำกลุ่มและแอดมินบ้านแฟนเบสของกลุ่ม 2 กลุ่ม รวมทั้งหมด 16 คน ผลการวิจัยพบว่า แฟนดอมมีการจัดการเครือข่ายผ่านพื้นที่สื่อออนไลน์ในการสร้างกิจกรรม เพื่อสนับสนุน สร้างชื่อเสียงของศิลปิน และสร้างความสัมพันธ์แฟนดอมผ่านรูปแบบเครือข่ายการสื่อสารแบบทุกช่องทาง ที่ทำให้สมาชิกทั้งหมดในแฟนดอมสามารถทำการสื่อสารได้อย่างอิสระผ่านสื่อออนไลน์ สร้างความสัมพันธ์ในเครือข่ายให้ดียิ่งขึ้น แฟนดอมจะมีการจัดการปัญหาและอุปสรรคอยู่เสมอ เพื่อรักษาเครือข่าย ชื่อเสียงศิลปิน เพิ่มความสัมพันธ์ของสมาชิกของแฟนดอมให้เหนี่ยวแน่นยิ่งขึ้น และช่วยให้แฟนดอมสามารถธำรงต่อไปได้ยาวนาน


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภค, ธาณุพรรณ ณ สงขลา Jan 2022

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภค, ธาณุพรรณ ณ สงขลา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิธีการสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่ออธิบายความห่วงใยต่อสิ่งแวดล้อม ทัศนคติต่อการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า บรรทัดฐานกลุ่ม การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม การรับรู้คุณค่า และความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภค 2) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของความห่วงใยต่อสิ่งแวดล้อมที่มีต่อ ทัศนคติต่อการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า บรรทัดฐานกลุ่ม การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม และการรับรู้คุณค่าของผู้บริโภค 3) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของทัศนคติต่อการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า บรรทัดฐานกลุ่ม การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม และการรับรู้คุณค่า ที่มีต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภค โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคชาวไทยเจเนอเรชันเอกซ์ (Generation X) และผู้บริโภคเจเนอเรชันวาย (Generation Y) จำนวนทั้งสิ้น 500 คน ซึ่งต้องมีช่วงอายุอยู่ระหว่าง 27 - 58 ปี ไม่ได้เป็นเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้า และต้องเคยได้ยินหรือรู้จักเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้า โดย ผลวิจัยพบว่า ความห่วงใยต่อสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อ การรับรู้คุณค่า การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม ทัศนคติต่อการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า และบรรทัดฐานกลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ ยังพบอีกว่า การรับรู้คุณค่า บรรทัดฐานกลุ่ม และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ทัศนคติต่อการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าไม่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า


การเปิดรับ ทัศนคติ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคที่มีต่อโฆษณาในรูปแบบวิดีโอสั้นบนแอปพลิเคชันติ๊กต๊อกของผลิตภัณฑ์ความงาม, นวียา แดงบุหงา Jan 2022

การเปิดรับ ทัศนคติ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคที่มีต่อโฆษณาในรูปแบบวิดีโอสั้นบนแอปพลิเคชันติ๊กต๊อกของผลิตภัณฑ์ความงาม, นวียา แดงบุหงา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากร การเปิดรับ ทัศนคติ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคที่มีต่อโฆษณาในรูปแบบวิดีโอสั้นบนแอปพลิเคชันติ๊กต๊อกของผลิตภัณฑ์ความงาม รวมถึงเพื่ออธิบายอิทธิพลของการเปิดรับและทัศนคติของผู้บริโภคต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ความงาม งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ ด้วยการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามออนไลน์ จากกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร และเคยเห็นโฆษณาแบบวิดีโอสั้นของผลิตภัณฑ์ความงามบนติ๊กต๊อก จำนวนทั้งสิ้น 400 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริโภคที่มีอาชีพแตกต่างกัน มีการเปิดรับโฆษณาในรูปแบบวิดีโอสั้นของผลิตภัณฑ์ความงามบนติ๊กต๊อกแตกต่างกัน 2) ผู้บริโภคที่มีเพศและอาชีพแตกต่างกัน มีทัศนคติต่อโฆษณาในรูปแบบวิดีโอสั้นของผลิตภัณฑ์ความงามบนติ๊กต๊อกแตกต่างกัน 3) ผู้บริโภคที่มีเพศและอาชีพแตกต่างกัน มีความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ความงามแตกต่างกัน 4) ปัจจัยด้านการเปิดรับและทัศนคติมีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ความงาม โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001


กลวิธีการเล่าเรื่องจากประสบการณ์ตรงของผู้ประพันธ์ในวรรณกรรมโรคซึมเศร้า, นันทพร ตงสาลี Jan 2022

กลวิธีการเล่าเรื่องจากประสบการณ์ตรงของผู้ประพันธ์ในวรรณกรรมโรคซึมเศร้า, นันทพร ตงสาลี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการเล่าเรื่องของหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการถ่ายทอดประสบการณ์ตรงของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าและความคิดเห็นของผู้รับสาร โดยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้วิธีการศึกษาเนื้อหาจากวรรณกรรมร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกกับนักเขียนและผู้รับสาร ผลการวิจัยพบว่า 1) หนังสือที่เขียนโดยผู้ประพันธ์ชาวไทยทุกเรื่องเล่าถึงบรรยากาศภายในบ้านและปัญหาความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าเรื่องเล่าของผู้ประพันธ์ชาวไทยผูกติดกับปัญหาครอบครัว และสถานที่ที่พบการเล่าถึงรองลงมาคือโรงพยาบาลที่ผู้ประพันธ์เข้ารับการรักษาโรคซึมเศร้า 2) หนังสือฉบับแปลที่เขียนโดยผู้ประพันธ์ชาวเกาหลีใต้เล่าถึงบรรยากาศภายในบ้านและปัญหาความสัมพันธ์ภายในครอบครัวเช่นเดียวกับที่พบในเรื่องเล่าที่เขียนโดยผู้ประพันธ์ชาวไทย อาจสันนิษฐานได้ว่าด้วยค่านิยมการเลี้ยงดูของครอบครัวชาวเอเชียที่ใกล้เคียงกันจึงทำให้เกิดลักษณะร่วมนี้ขึ้น ในขณะที่เรื่องที่เขียนโดยชาวตะวันตก ไม่ได้เล่าถึงรายละเอียดเกี่ยวกับครอบครัวเท่าใดนัก เน้นไปที่การเล่าถึงสภาพสังคมที่ให้ค่ากับวัตถุจนเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้คนในสังคมและนำไปสู่การป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ทั้งนี้ แก่นความคิดหลักที่พบในทุกเรื่องที่นำมาศึกษาคือการมีความหวังที่ผู้ป่วยจะสามารถรักษาโรคซึมเศร้าให้หายหรือมีอาการดีขึ้นได้ ขณะเดียวกันผู้ป่วยไม่ได้กำลังเผชิญกับโรคนี้อยู่เพียงลำพัง อย่างน้อยยังมีผู้ประพันธ์ที่กำลังเผชิญและต่อสู้กับโรคนี้อยู่ด้วยเช่นกัน หนังสือประเภทนี้จึงเป็นเหมือนเพื่อนที่เข้าใจสิ่งที่ผู้ป่วยกำลังเผชิญอยู่และคอยเป็นกำลังใจให้ และ 3) ผู้รับสารคิดว่าหนังสือประเภทนี้เป็นประโยชน์ต่อทุกคน แต่ที่ควรอ่านเป็นพิเศษคือครอบครัวและคนที่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยเพื่อที่จะได้เข้าใจและระวังไม่กระทำการใดๆ ที่อาจเป็นการซ้ำเติมให้ผู้ป่วยมีอาการแย่ลง ขณะเดียวกันผู้ที่ต้องระวังความเหมาะสมของเนื้อหาและสภาพจิตใจของตนเองเป็นพิเศษก่อนอ่านคือผู้อ่านที่เป็นผู้ป่วยและสภาพจิตใจยังไม่มั่นคงนัก เนื่องจากเนื้อหาของบางเรื่องอาจกระตุ้นให้นึกถึงเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีตได้


อิทธิพลของคุณลักษณะของผู้มีอิทธิพลทางความคิดด้านสุขภาพ ต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค, ปภัสราภา ศิริสุนทร Jan 2022

อิทธิพลของคุณลักษณะของผู้มีอิทธิพลทางความคิดด้านสุขภาพ ต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค, ปภัสราภา ศิริสุนทร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา: 1) คุณลักษณะของผู้มีอิทธิพลทางความคิดด้านสุขภาพ (ได้แก่ ความน่าเชื่อถือ ความเชี่ยวชาญ ความน่าไว้วางใจ ความน่าดึงดูดใจ ความชื่นชอบ ความเหมือนกับกลุ่มเป้าหมาย และความคุ้นเคย) ทัศนคติ (ได้แก่ ทัศนคติต่อผู้มีอิทธิพลทางความคิดด้านสุขภาพ และทัศนคติต่อตราสินค้า) และพฤติกรรมของผู้บริโภค (ได้แก่ ความตั้งใจซื้อ และการสื่อสารแบบบอกต่อผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์) และ 2) อิทธิพลของคุณลักษณะของผู้มีอิทธิพลทางความคิดด้านสุขภาพ ต่อทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์ จาก 1) กลุ่มตัวอย่างที่ติดตามคุณเบเบ้ (ธันย์ชนก ฤทธินาคา) ที่มีอายุระหว่าง 24 - 30 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิง ที่รับชมคลิปวิดีโอจำนวนอย่างน้อย 3 ครั้งใน 1 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 292 คน และ 2) กลุ่มตัวอย่างที่ติดตามคุณดาว (วิภา อาทิตย์อุไร) และรับชมคลิปวิดีโอจำนวน 3 ครั้งใน 1 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 298 คน รวมทั้งหมด 590 คน ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะของผู้มีอิทธิพลทางความคิดด้านสุขภาพ ทัศนคติ และพฤติกรรมผู้บริโภคของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนั้น คุณลักษณะของผู้มีอิทธิพลทางความคิดด้านสุขภาพ ด้านความน่าไว้วางใจ และด้านความน่าดึงดูดใจมีอิทธิพลต่อทัศนคติมากที่สุด ในขณะที่ด้านความเหมือนกับกลุ่มเป้าหมายมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคมากที่สุด และสุดท้ายทัศนคติยังมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคอีกด้วย


Brand Communication With Transmedia Storytelling Of Riot Games: Transmedia Engagement, Brand Attitudes, And Brand Experience., Hao-When Tsai Jan 2022

Brand Communication With Transmedia Storytelling Of Riot Games: Transmedia Engagement, Brand Attitudes, And Brand Experience., Hao-When Tsai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study seeks to understand how brands communicate through the application of transmedia storytelling from the message and to the receivers. While existing studies mainly aim at conceptualizing the term ‘transmedia storytelling’, this study explores the term from a game-centric narrative perspective. Using Riot Games as a case study due to its global success and popularity, this research applies a qualitative mixed-method approach of documentary research (qual) and in-depth interview (QUAL). The investigation places special emphasis on undercovering consumer attitude and experience upon engagement with brand transmedia stories. To do so, Jenkins’ (2003) concept of transmedia storytelling was adopted as …


Turning The Tides: An Inoculation Theory And Theory Of Planned Behavior Approach To Developing Mental Health Help-Seeking Interventions For Gen Z, Sarah Ann Geegan Jan 2022

Turning The Tides: An Inoculation Theory And Theory Of Planned Behavior Approach To Developing Mental Health Help-Seeking Interventions For Gen Z, Sarah Ann Geegan

Theses and Dissertations--Communication

Extensive research, predating and during the COVID-19 pandemic, demonstrates the rising prevalence of anxiety and depression among Gen Z college students in the United States—findings which are accompanied by rising rates of suicide, the second leading cause of death among people aged 15-24. Although college campuses often offer mental health resources, the number of college students utilizing them is significantly less than the number of students reporting mental health challenges. A dearth of empirical evidence, focused on Gen Z specifically, exists as a basis for developing interventions to address this issue. This investigation addressed this gap through two component studies. …


Q/A: A Semiotic Deconstruction Of Narrative Transportation On Episodic Television, Josh Grube Jan 2022

Q/A: A Semiotic Deconstruction Of Narrative Transportation On Episodic Television, Josh Grube

Masters Theses

Narrative transportation is a captivating phenomenon in which an audience member psychologically departs from material reality and immerses into the narrative world (Gerrig, 1993). Existing literature on narrative transportation mostly consists of audience-level studies, primarily focused on the phenomenon’s persuasive effects and audience attributes that mediate their ability to be transported. From a theoretical media perspective, transportation is conceived as an aspect of the larger audience cultivation process (Gerbner, 1998) due to its persuasive influence, revealing the importance of viewing it from the textual level. This thesis fills a significant gap in narrative transportation theory by examining television narratives through …


Brand Image Of Nike Products Among Consumer Generation Z In Thailand, Zhefu Murong Jan 2022

Brand Image Of Nike Products Among Consumer Generation Z In Thailand, Zhefu Murong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this research was to study the brand image of Nike products among consumer generation Z in Thailand. Based on the quantitative research approach, two hundred of Nike's current consumers aged between 18 to 25 years old in Thailand, who had purchased/owned Nike’s products before, were asked to complete an online questionnaire to study the brand image. The research findings illustrated that most of Nike's generation Z consumers considered Nike to own a positive brand image. The result of the study in each brand image factor shows that most of the respondents have positive attitude toward Nike whether …


ความรุนแรงบนฐานเพศสภาพในซีรีส์วาย, ปณต สิริจิตราภรณ์ Jan 2022

ความรุนแรงบนฐานเพศสภาพในซีรีส์วาย, ปณต สิริจิตราภรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรุนแรงบนฐานเพศสภาพที่ปรากฏในซีรีส์วาย ผลกระทบจากการนำเสนอความรุนแรงดังกล่าวและแนวทางในการนำเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเพศหลากหลายในซีรีส์วายให้มีความเหมาะสมตามมาตรฐานจริยธรรมสื่อ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ตัวบทซีรีส์วาย รวมถึงสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มนักสิทธิมนุษยชน นักกิจกรรมด้านความเป็นธรรมทางเพศ และกลุ่มผู้ชมที่ทำงานภายใต้เครือข่ายภาคประชาสังคมด้านสิทธิความหลากหลายทางเพศ ที่เป็นบุคคลเพศหลากหลาย ผลการวิจัยพบว่า ความรุนแรงบนฐานเพศสภาพที่ปรากฏในซีรีส์วาย มีดังนี้ 1) การใช้กำลังประทุษร้าย 2) การแสดงออกถึงความเหยียดหยามทางวาจา 3) การกระทำทางเพศอันปราศจากความยินยอม 4) การปฏิบัติต่อคู่รักเสมือนอีกฝ่ายเป็นสมบัติของตน และ 5) การแบ่งแยกบทบาททางเพศ โดยที่ความรุนแรงเหล่านี้มักถูกนำเสนอออกมาในเชิงโรแมนติไซส์ อันเป็นการลดทอนความรุนแรงลง รวมทั้งยังละเลยที่จะถ่ายทอดให้เห็นถึงผลกระทบที่ตามมาของความรุนแรงนั้น ๆ ซึ่งการนำเสนอเช่นนี้ส่งผลกระทบดังนี้ คือ 1) ปัญหาความรุนแรงบนฐานเพศสภาพถูกลดความสำคัญ 2) สร้างภาพจำหรือภาพลักษณ์เหมารวมให้กับกลุ่มบุคคลเพศหลากหลาย 3) สร้างความกดดันแก่บุคคลเพศหลากหลาย ให้พยายามเปลี่ยนแปลงตนเองเพื่อให้ได้รับการยอมรับ และ 4) เรื่องสิทธิต่าง ๆ ของบุคคลเพศหลากหลายถูกละเลย ในส่วนของแนวทางการนำเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเพศหลากหลาย พบว่ามีแนวทางดังนี้ 1) การสร้างสรรค์เนื้อหาสื่อที่เกี่ยวข้องกับบุคคลเพศหลากหลายควรจะมีความหลากหลายมากขึ้น อาทิ ด้านตัวละคร ด้านเนื้อหา 2) สื่อควรนำเสนอประเด็นความรุนแรงบนฐานเพศสภาพออกมาอย่างครอบคลุมรอบด้าน และ 3) การอาศัยความร่วมมือหรือการมีส่วนร่วมจากฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลิตสื่อที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับบุคคลเพศหลากหลายให้มีความสร้างสรรค์


Credibility Of Travel Influencer On Millennial Traveling Behavior, Papitchayapa Boonsub Jan 2022

Credibility Of Travel Influencer On Millennial Traveling Behavior, Papitchayapa Boonsub

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objectives of this study was to understand the credibility of travel influencers among millennial travelers and how they motivate millennial travelers' travel behavior. It is based on a qualitative methodology that involves use of in-depth interviews. Twelve millennial travelers both domestic and international between the ages of 25 and 40 were interviewed. They had to organize the trip within a year and follow to travel influencers. This study employed a question guideline as the research instrument based on four dimension which are demographics and media usages, attitude towards travel influences, source of credibility, and travel behavior. The findings revealed …


Millennial Consumers' Behavior On Purchasing Amulet Jewelry, Nuanhatai Tantayotai Jan 2022

Millennial Consumers' Behavior On Purchasing Amulet Jewelry, Nuanhatai Tantayotai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this research is to study millennial consumers’ behavior on purchasing amulet jewelry. Qualitative method was used to collect data from 15 Thai Generation Y females, aged between 25 and 34 years old, living in Bangkok, Thailand, and purchased amulet jewelry at least once within the year 2022. The findings indicate that millennial consumers spend over eight hours per day on social media. They prefer online marketing communication content that is short, precise, and easy to understand. In term of beliefs, consumers believe that wearing amulet jewelry can make them confident, enhance their prosperity and fortune, help businesses …


อิทธิพลของการเปิดรับการสื่อสารของผู้มีอิทธิพลทางความคิด ภาวะกลัวตกกระแสจากสื่อสังคมออนไลน์ที่มีต่อความตั้งใจซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, พัณณ์ชิตา สุประการ Jan 2022

อิทธิพลของการเปิดรับการสื่อสารของผู้มีอิทธิพลทางความคิด ภาวะกลัวตกกระแสจากสื่อสังคมออนไลน์ที่มีต่อความตั้งใจซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, พัณณ์ชิตา สุประการ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษาการเปิดรับการสื่อสารของผู้มีอิทธิพลทางความคิดที่มีเนื้อหาเพื่อสิ่งแวดล้อม ภาวะกลัวตกกระแส ภาวะความสุขจากการตกกระแส ความอ่อนล้าจากสื่อสังคมออนไลน์ และความตั้งใจซื้อสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อม (2) เพื่อสำรวจอิทธิพลของการเปิดรับการสื่อสารของผู้มีอิทธิพลทางความคิดที่มีเนื้อหาเพื่อสิ่งแวดล้อม ภาวะกลัวตกกระแส ภาวะความสุขจากการตกกระแส และความอ่อนล้าจากสื่อสังคมออนไลน์ ที่มีต่อความตั้งใจซื้อสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อม ผู้วิจัยศึกษาโดยใช้แบบสอบถามสำรวจแบบออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นช่วงอายุ 18 – 43 ปี โดยวิเคราะห์ด้วยวิธีการสถิติการวิเคราะห์การถดถอยแบบเส้นตรงพหุคูณ (Multiple Linear Regression) ซึ่งผลการวิจัยพบว่าการเปิดรับการสื่อสารของผู้มีอิทธิพลทางความคิด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.32 ภาวะกลัวตกกระแสจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.36 ภาวะมีความสุขจากการตกกระแสจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.92 ภาวะอ่อนล้าจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.81 และความตั้งใจซื้อสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภค มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ โดยการเปิดรับการสื่อสารจากผู้มีอิทธิพลทางความคิดที่มีเนื้อหาเพื่อสิ่งแวดล้อม มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นตราสินค้าสามารถนำผลการวิจัยนี้มาประยุกต์เป็นกลยุทธ์การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ด้วยการใช้ผู้มีอิทธิพลทางความคิดที่มีเนื้อหาเพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อทำให้การสื่อสารการตลาดของตราสินค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น


ทัศนคติต่อโฆษณาแฝงในเนื้อหาในบริการโอทีทีแบบเก็บค่าสมาชิกการหลีกเลี่ยงโฆษณา การยอมรับด้านสิทธิ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค, มัควัฒน์ บุญอาจ Jan 2022

ทัศนคติต่อโฆษณาแฝงในเนื้อหาในบริการโอทีทีแบบเก็บค่าสมาชิกการหลีกเลี่ยงโฆษณา การยอมรับด้านสิทธิ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค, มัควัฒน์ บุญอาจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจการเปิดรับ ทัศนคติต่อโฆษณาแฝงในเนื้อหาในบริการโอทีทีแบบเก็บค่าสมาชิก การหลีกเลี่ยงโฆษณา การยอมรับด้านสิทธิ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค 2) อธิบายความแตกต่างของทัศนคติต่อโฆษณาแฝงในเนื้อหาในบริการโอทีทีแบบเก็บค่าสมาชิก การหลีกเลี่ยงโฆษณา การยอมรับด้านสิทธิ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษาแตกต่างกันและ 3) อธิบายอิทธิพลของทัศนคติต่อโฆษณาแฝงในเนื้อหาในบริการโอทีทีแบบเก็บค่าสมาชิก การหลีกเลี่ยงโฆษณา การยอมรับด้านสิทธิ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค เป็นการวิจัยเชิงปริมาณในรูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูล จำนวนรวม 200 คน วิเคราะห์ด้วยสถิติอ้างอิงเพื่อทดสอบความแตกต่างด้วยวิธีวิเคราะห์ t-test และ One Way ANOVA ทดสอบอิทธิพลของตัวแปรด้วยวิธีการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Linear Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างรับชมเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิกด้วยโทรศัพท์สมาร์ทโฟนมากที่สุด มีความถี่ในการรับชมเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิกเฉลี่ย 4 วันต่อสัปดาห์ และในแต่ละวันรับชม 2-3 ชั่วโมง มีทัศนคติโดยรวมต่อโฆษณาแฝงในเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิกอยู่ในระดับปานกลาง มีพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงโฆษณาแฝงในเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิกโดยรวมอยู่ในระดับบางครั้ง มีการยอมรับด้านสิทธิของผู้บริโภคโดยรวมต่อโฆษณาแฝงจากการรับชมเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิกอยู่ในระดับมาก และมีความตั้งใจซื้อสินค้าหรือบริการโฆษณาแฝงจากการรับชมเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิกโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานสรุปได้ว่า ผู้บริโภคที่มีเพศและระดับการศึกษาแตกต่างกันมีพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงการรับชมโฆษณาแฝงในเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิกแตกต่างกัน และอายุแตกต่างกันมีทัศนคติต่อโฆษณาแฝงในเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิกแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้พบว่า ทัศนคติต่อโฆษณาแฝงในเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิก (β = 0.516) มีอิทธิพลเชิงบวก ในขณะที่พฤติกรรมการหลีกเลี่ยงการรับชมโฆษณาแฝงจากการรับชมเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิก (β = -0.128) มีอิทธิพลเชิงลบต่อการตั้งใจซื้อสินค้าโฆษณาแฝงจากการรับชมเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การสื่อสารอัตลักษณ์ของผู้เข้าร่วมงานเทศกาลดนตรี Wonderfruit, วรณัน ปิญญาวงค์ Jan 2022

การสื่อสารอัตลักษณ์ของผู้เข้าร่วมงานเทศกาลดนตรี Wonderfruit, วรณัน ปิญญาวงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของการศึกษาเกี่ยวกับการสื่อสาร อัตลักษณ์ และประสบการณ์อัตลักษณ์ของผู้เข้าร่วมเทศกาลดนตรี Wonderfruit จากการรวบรวมและศึกษาข้อมูลด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพผ่านการวิเคราะห์รูปแบบและวิธีการสื่อสารอัตลักษณ์รวมถึงตัวตนรวมถึงการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เข้าร่วมงาน ผลการวิจัยพบว่า การสื่อสารอัตลักษณ์และประสบการณ์ตัวตนของผู้เข้าร่วมเทศกาลดนตรีแบ่งออกเป็น เป็น 2 ระยะ มีสองบทบาทในการสื่อสารตัวตนของผู้เข้าร่วมงาน Wonderfruit: กลุ่มที่ 1 เป็นตัวตนของ "ผู้นำ" และ "อิสระ" สำหรับผู้เข้าร่วมที่ค้นหาข้อมูลการเข้าร่วมด้วยตนเอง มีอำนาจคัดเลือกกลั่นกรองข้อมูล สามารถคิด วิเคราะห์ รวบรวมข้อมูลที่จำเป็นต่อการเข้าร่วมเทศกาลดนตรีได้ด้วยตนเอง และกลุ่มที่ 2 ตัวตนของผู้เข้าร่วมเทศกาลดนตรีในฐานะ "ผู้พึ่งพา" และ "เพื่อน" กลุ่มผู้เข้าร่วมที่มีเพื่อนและบุคคลใกล้ชิดต้องการข้อมูลเกี่ยวกับเทศกาลดนตรี Wonderfruit กลุ่มนี้มักจะได้รับข้อมูลจากเพื่อนและคนใกล้ชิด ประสบการณ์ตัวตนของผู้เข้าร่วม จากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เข้าร่วมงาน Wonderfruit ส่วนใหญ่ พบว่าผู้เข้าร่วมมีประสบการณ์ทั้งหมด 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ ประสบการณ์ตัวตนของการเป็น “การมีปฎิสัมพันธ์กับเพื่อน” และ “คนรักเพื่อน” ข้อสุดท้ายคือประสบการณ์ตัวตนของการเป็น “ผู้แสวงหาประสบการณ์ใหม่ทางดนตรี” คือเน้นสัมผัสหรือเข้าร่วมดูสถานที่ โปรดักชั่น บรรยากาศด้วยตนเอง ผู้เข้าร่วมกำลังแสวงหาความรู้ใหม่ทางดนตรี ฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ ผู้เข้าร่วมเทศกาลดนตรีกลุ่มนี้ต้องการสัมผัสประสบการณ์ดนตรีใหม่ๆ พร้อมที่จะเรียนรู้และแสวงหาเพิ่มเติม


ภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิด ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคซีรีส์วาย, ธีระเดช พรหมมะ Jan 2022

ภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิด ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคซีรีส์วาย, ธีระเดช พรหมมะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่อง “ภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิด ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคซีรีย์วาย” ใช้ระเบียบวิธีแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ในรูปแบบเชิงคุณภาพ (Qualitative) และเชิงปริมาณ (Quantitative) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิดซีรีส์วาย ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิดของซีรีส์วายและทัศนคติต่อองค์ประกอบซีรีส์วายของผู้บริโภค และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิดของซีรีส์วายและพฤติกรรมของผู้บริโภค การศึกษาครั้ง ได้ศึกษาซีรีส์วายทั้งหมด 3 ประเทศแหล่งกำเนิด ได้แก่ ซีรีส์วายประเทศไทย ซีรีส์วายประเทศญี่ปุ่น และซีรีส์วายประเทศเกาหลีใต้ โดยมีการเก็บข้อมูลใน 2 รูปแบบได้แก่การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Dept Interview) จากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านซีรีส์วายหรือผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมซีรีส์วาย ทั้งหมด 4 คน ซึ่งบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกัน ได้แก่ ผู้ผลิต สื่อ นักการตลาด และนักวิชาการ ในส่วนของเชิงปริมาณใช้เครื่องมือแบบสอบถามออนไลน์ในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการรับชมซีรีส์วาย โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 400 คน งานวิจัยครั้งนี้ใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Person’s Product Moment Correlation Coefficient) เพื่อใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน ผลการวิจัยพบว่า ภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิดซีรีส์วาย มีความสัมพันธ์กับทัศนคติของผู้บริโภคต่อองค์ประกอบซีรีส์วายโดยตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันในระดับสูง และภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิดของซีรีส์วายมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคโดยตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันในระดับต่ำ