Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 1741 - 1770 of 5570

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

The Relationship Of Agricultural Growth, Price, Wages And Poverty Reduction Of Thai Rice Farmers, Pitcha Pongpanstaporn Jan 2020

The Relationship Of Agricultural Growth, Price, Wages And Poverty Reduction Of Thai Rice Farmers, Pitcha Pongpanstaporn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In recent years Thai population has increased year by year, this would also increase the demand for food as well. The sources of those foods come from agriculture. Agricultural production has been a great interest to economists studying the process of development and growth. There are many types of agricultural productivity which are interesting, I would like to focus specifically on rice which is the major economic crop in Thailand and have the largest farm area. The objective of this study is to study the relationship of agricultural growth by considering the relationship between productivity with price, wage and poverty …


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการเรียนรู้ผ่านระบบการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ (E-Learning) กรณีศึกษา : การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.), พิชชาพร สงวนศักดิ์โยธิน Jan 2020

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการเรียนรู้ผ่านระบบการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ (E-Learning) กรณีศึกษา : การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.), พิชชาพร สงวนศักดิ์โยธิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความสำเร็จของการเรียนรู้ผ่านระบบการเรียนรู้ออนไลน์ กฟผ. หรือ EGAT Learning Space (ELS) 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการเรียนรู้ผ่านระบบ ELS และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาบุคลากรผ่านระบบ ELS ผู้วิจัยใช้การดำเนินการวิจัย 2 รูปแบบ ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงาน กฟผ. ที่ผ่านการฝึกอบรมในระบบ ELS จำนวน 409 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (SPSS) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเฉลี่ย 1 กลุ่มตัวอย่างกับค่าทดสอบ การทดสอบค่าเฉลี่ยของ 2 กลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวเพื่อทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยในประชากร 3 กลุ่มขึ้นไป และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ เครื่องมือในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงาน กฟผ. ที่มีประสบการณ์การฝึกอบรมในระบบ ELS จำนวน 10 คน และวิเคราะห์เนื้อหาพร้อมเขียนสรุปผลในเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า 1) ระดับความสำเร็จของการเรียนรู้ผ่านระบบการเรียนรู้ออนไลน์ กฟผ. หรือ EGAT Learning Space (ELS) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันมีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการเรียนรู้ผ่านระบบ ELS ไม่แตกต่างกัน 3) ปัจจัยด้านคุณลักษณะของผู้เข้าอบรมมีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการเรียนรู้ผ่านระบบ ELS 4) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานมีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการเรียนรู้ผ่านระบบ ELS


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวในการมาเที่ยวชมสวนสัตว์เปิดเขาเขียว จังหวัดชลบุรี, กรกนก หะวานนท์ Jan 2020

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวในการมาเที่ยวชมสวนสัตว์เปิดเขาเขียว จังหวัดชลบุรี, กรกนก หะวานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวในการมาเที่ยวชมสวนสัตว์เปิดเขาเขียว จังหวัดชลบุรี เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านกายภาพมีอิทธิพลมากที่สุด ในขณะที่ปัจจัยด้านการตลาดและเทคโนโลยีมีอิทธิพลน้อยที่สุด สะท้อนถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของสวนสัตว์ตามลำดับ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวคิดการจัดส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix : 7Ps) นำไปสู่การสร้างกลยุทธ์ในการพัฒนากิจการสวนสัตว์เปิดเขาเขียวในรูปแบบของ TOWS Matrix พบ 4 กลยุทธ์ที่สำคัญ ได้แก่ 1) กลยุทธ์เชิงรุก การสร้างคอนเทนต์ใหม่และการทำตลาดเชิงรุก 2) กลยุทธ์เชิงแก้ไข การพัฒนาสวนสัตว์รูปแบบใหม่ (Smart Zoo) 3) กลยุทธ์เชิงป้องกัน การโฆษณาและประชาสัมพันธ์เพื่อรักษากลุ่มลูกค้าเดิม โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่เพิ่งเริ่มต้นสร้างครอบครัวและมีบุตรเล็กเดินทางมาจากกรุงเทพและชลบุรี รวมทั้งการขยายกลุ่มลูกค้าใหม่ 4) กลยุทธ์เชิงรับ การวิจัยทางการตลาดเพื่อหาจุดขาย ในขณะเดียวกันการเติบโตทางเศรษฐกิจที่กำลังจะมาพร้อมกับรถไฟฟ้าความเร็วสูงถือเป็นโอกาสในการพัฒนากิจการสวนสัตว์ แต่การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ (Aged Society) เป็นหนึ่งภัยคุกคามที่น่าจับตามอง สวนสัตว์เปิดเขาเขียวจึงควรหากลยุทธ์ในการเชื่อมโยงการคมนาคมระหว่างสถานีรถไฟฟ้ากับแหล่งท่องเที่ยวอื่นในชุมชน รวมทั้งออกแบบพื้นที่ใช้สอยสำหรับผู้สูงอายุ ท้ายที่สุดแล้วทุกกลยุทธ์ที่กล่าวมาจะเป็นแนวทางในการพัฒนากิจการสวนสัตว์เปิดเขาเขียวให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมที่ช่วยสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าของคนไทยและชาวต่างชาติในภูมิภาคอาเซียนต่อไป


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของพนักงาน กรณีศึกษา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยสำนักงานกลาง, บุรพัชร์ ด่านวิไล Jan 2020

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของพนักงาน กรณีศึกษา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยสำนักงานกลาง, บุรพัชร์ ด่านวิไล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเรื่อง "ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของพนักงาน กรณีศึกษา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สำนักงานกลาง" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการคงอยู่ของพนักงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สำนักงานกลาง และเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของพนักงานฯ ใน กฟผ. การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถาม คือ พนักงานประจำที่ปฏิบัติงานอยู่ใน กฟผ. สำนักงานกลาง จำนวน 376 คน และกลุ่มตัวอย่างในการสัมภาษณ์ คือ พนักงานฯ จำนวน 10 คน เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วจึงนำมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และพยากรณ์ด้วยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า ระดับการคงอยู่ของพนักงานฯ อยู่ในระดับมาก ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของพนักงานฯ มี 6 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงาน ปัจจัยความต่อเนื่องในการจ่ายค่าตอบแทนและความมั่นคงในงาน ปัจจัยการจ่ายค่าตอบแทน ปัจจัยโอกาสก้าวหน้าในงาน และปัจจัยความมุ่งมั่นและภาวะผู้นำของผู้บังคับบัญชาส่งผลต่อการคงอยู่ของพนักงานฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 และปัจจัยความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและผู้บังคับบัญชา ส่งผลต่อการคงอยู่ของพนักงานฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมกิจกรรมของนิสิตระดับปริญญาตรีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กิตติธัช ทองจีน Jan 2020

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมกิจกรรมของนิสิตระดับปริญญาตรีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กิตติธัช ทองจีน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ มุ่งศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมตามประเภทกิจกรรมนิสิตระดับปริญญาตรีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สามารถนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนา ส่งเสริม ปรับปรุงการจัดกิจกรรมนิสิตให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่มวลนิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่างแท้จริง จากการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ศึกษาอยู่ชั้นปี 3 ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มีการเข้าร่วมกิจกรรมระหว่าง 1-3 ครั้งต่อภาคการศึกษา มีเกรดเฉลี่ยระหว่าง 3.01-3.50 และเป็นผู้มีรายได้เพียงพอต่อสิ่งที่มีราคาแพงบางครั้ง ปัจจัยด้านแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมกิจกรรมนิสิต ด้านการมีส่วนร่วมในสังคม ด้านการยอมรับจากสังคม ด้านความรับผิดชอบ และด้านมิตรภาพจากเพื่อนนิสิต พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนปัจจัยด้านสื่อประชาสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมกิจกรรมนิสิต พบว่า สื่อประเภทสื่อบุคคลอยู่ในระดับปานกลาง และสื่อที่ไม่ใช่บุคคล อยู่ในระดับปานกลางเช่นกัน


ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศในยุค New Normal กรณีศึกษา ศูนย์ควบคุมจราจรทางอากาศเส้นทางบินกรุงเทพ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด, เมธา สุธาพันธ์ Jan 2020

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศในยุค New Normal กรณีศึกษา ศูนย์ควบคุมจราจรทางอากาศเส้นทางบินกรุงเทพ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด, เมธา สุธาพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศในยุค New Normal 2) พัฒนาปรับปรุงลักษณะการทำงานจากปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงไป และ 3) หาแนวทางจัดการความเครียด โดยได้ทำการศึกษาผ่านแบบสอบถามจำนวน 152 คน และบทสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 10 คน ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1) เจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศส่วนใหญ่มีระดับความเครียดในการปฏิบัติงานยุค New Normal อยู่ในระดับเครียดปานกลาง 2) ปัจจัยที่เกี่ยวกับงาน ปัจจัยที่เกี่ยวกับปัจเจกบุคคล ปัจจัยที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม และปัจจัยที่มีผลมาจากยุค New Normal มีความสัมพันธ์กับความเครียด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยปัจจัยที่เกี่ยวกับปัจเจกบุคคล มีความสัมพันธ์กับความเครียดในการปฏิบัติงานมากที่สุด มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.586 3) ปัจจัยที่เกี่ยวกับปัจเจกบุคคล ปัจจัยที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม และปัจจัยที่มีผลมาจากยุค New Normal ส่งผลต่อความเครียดในการปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยตัวแปรต้นหรือปัจจัยที่สนใจในการวิจัยทั้ง 4 ตัวนี้ สามารถทำนายตัวแปรตามหรือระดับความเครียดในการปฏิบัติงานได้ 45.6% และ 4) วิธีการจัดการความเครียดในการปฏิบัติงานส่วนมากคือ การพักผ่อนและทำกิจกรรมกับครอบครัว ส่วนวิธีการจัดการความเครียดขององค์การคือ การจัดตารางปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับปริมาณเที่ยวบินที่ลดน้อยลง


ปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติการคงอยู่ของข้าราชการชั้นสัญญาบัตร สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม, พิชญา แสงแก้ว Jan 2020

ปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติการคงอยู่ของข้าราชการชั้นสัญญาบัตร สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม, พิชญา แสงแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาสถานภาพส่วนบุคคลที่มีผลต่อทัศนคติการคงอยู่ของข้าราชการชั้นสัญญาบัตร 2. เพื่อศึกษาปัจจัยแรงจูงใจและปัจจัยการรับรู้การสนับสนุนจากหน่วยงานที่มีต่อทัศนคติการคงอยู่ของข้าราชการชั้นสัญญาบัตร ของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม โดยเป็นการวิจัยแบบผสมในเชิงปริมาณและคุณภาพ ผลการศึกษาเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่างข้าราชการชั้นสัญญาบัตร จำนวน 360 คนพบว่าปัจจัยสถานภาพส่วนบุคคลด้านชั้นการศึกษาและชั้นยศมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ ปัจจัยแรงจูงใจด้านความรับผิดชอบและปัจจัยการรับรู้การสนับสนุนจากหน่วยงานด้านการเห็นคุณค่าการปฏิบัติงานเป็นปัจจัยภายในที่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติการคงอยู่ ทั้งนี้ ผลการศึกษาเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ข้าราชการชั้นสัญญาบัตรที่ลาออกจำนวน 3 คน พบว่าปัจจัยที่ส่งเสริมต่อการคงอยู่ส่วนใหญ่เป็นปัจจัยภายนอก ได้แก่ ปัจจัยแรงจูงใจด้านการมีส่วนร่วมและด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา และปัจจัยการรับรู้การสนับสนุนด้านสภาพแวดล้อมภายในหน่วยงาน ส่วนปัจจัยที่ไม่เกื้อกูลต่อการคงอยู่ ได้แก่ ปัจจัยแรงจูงใจด้านกฎระเบียบที่เข้มงวด ปัจจัยการรับรู้การสนับสนุนด้านการประเมินผลภายใต้ระบบอุปถัมภ์ ทั้งนี้ ระบบการคัดเลือกกำลังพลที่มีความสามารถและทัศนคติเชิงบวก ถือเป็นกลไกสำคัญที่มีต่อการส่งเสริมปัจจัยแรงจูงใจและปัจจัยการรับรู้การสนับสนุนที่มีต่อทัศนคติการคงอยู่ในองค์กร


ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการเบิกจ่ายงบประมาณของจังหวัดสระบุรี, ปราณี เรืองอรุณกิจ Jan 2020

ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการเบิกจ่ายงบประมาณของจังหวัดสระบุรี, ปราณี เรืองอรุณกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีเป็นการศึกษาประสิทธิภาพการเบิกจ่ายงบประมาณในส่วนของงบจังหวัด (Area) ที่จังหวัดสระบุรีได้รับการจัดสรร เนื่องจากงบจังหวัดเป็นงบที่ใช้สำหรับภารกิจในเชิงพื้นที่ กระจายลงสู่พื้นที่เป้าหมายโดยตรง และประชาชนในพื้นที่ มีส่วนร่วมในกระบวนการงบประมาณ อันเป็นรากฐานสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนตามบริบทของแต่ละพื้นที่ ในปีงบประมาณ 2562- 2563 จังหวัดสระบุรีมีผลการเบิกจ่ายงบประมาณจังหวัดเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ โดยมีผลการเบิกจ่ายสูงถึงร้อยละ 100 ซึ่งถือเป็นปรากฏการณ์ที่ควรนำมาถอดเป็นบทเรียน ผู้วิจัยในฐานะเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรมีความสนใจศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการเบิกจ่าย โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลปฐมภูมิ และข้อมูลทุติยภูมิ และทำการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มเป้าหมาย ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการเบิกจ่ายงบประมาณของจังหวัดสระบุรี ได้ยึดหลักการบริหาร POLC อันประกอบด้วย การวางแผน (Planning) การจัดองค์การ (Organizing) การนำ (Leading) และการควบคุม (Controlling) สำหรับปัจจัยสำคัญ ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการเบิกจ่ายงบประมาณของจังหวัดสระบุรี คือ จังหวัดสระบุรี มีข้อได้เปรียบในเชิงยุทธศาสตร์ของพื้นที่ นอกจากนี้ จังหวัดสระบุรีมีผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งเป็นผู้นำที่มีลักษณะโดดเด่น คือ มีวิสัยทัศน์ เป็นผู้ฟังที่ดี มีความยืดหยุ่น ใช้คนเป็น ทำงานเก่ง เชี่ยวชาญพื้นที่ มุ่งเน้นผลลัพธ์ในการทำงาน และมีส่วนสำคัญในการดึงศักยภาพของทรัพยากรที่มีอยู่นำไปใช้ในการบริหารงานคลังและการบริหารราชการแผ่นดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานที่บ้าน(Work From Home) ของพนักงานของรัฐในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19: กรณีศึกษาสถาบันพระปกเกล้า, เบญจมาศ บุ้งรุ่ง Jan 2020

ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานที่บ้าน(Work From Home) ของพนักงานของรัฐในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19: กรณีศึกษาสถาบันพระปกเกล้า, เบญจมาศ บุ้งรุ่ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานที่บ้าน (Work From Home) ของพนักงานของรัฐในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส covid-19: กรณีศึกษาสถาบันพระปกเกล้าเป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ประกอบด้วยการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มประชากรที่เป็นพนักงานของรัฐสังกัดสถาบันพระปกเกล้า จำนวน 178 คน โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานที่บ้าน (Work From Home) ของพนักงานสถาบันพระปกเกล้าในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส covid-19 2. เพื่อศึกษาถึงระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานแบบปกติ และการปฏิบัติงานที่บ้าน (Work From Home) ในครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ของพนักงานสถาบันพระปกเกล้า 3. เพื่อเปรียบเทียบระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานแบบปกติ และการปฏิบัติงานที่บ้าน (Work From Home) ในครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ของพนักงานสถาบันพระปกเกล้า 4. เพื่อวิเคราะห์และเสนอแนวทางในการส่งเสริมประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานที่บ้าน (Work From Home) ของพนักงานสถาบันพระปกเกล้าในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส covid-19 ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานที่บ้าน (Work from home) ในภาพรวม WFH ครั้งที่ 1 (เดือนมีนาคม-เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563) อยู่ในระดับมาก (Mean=3.43, S.D. = 0.59) ส่วน WFH ครั้งที่ 2 (เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564) อยู่ในระดับมาก (Mean=3.42, S.D. = 0.60) และระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานแบบปกติ (Onsite) ในภาพรวมอยู่ในระดับมา (Mean=3.78, S.D. = 0.58) กับการปฏิบัติงานที่บ้าน (Work From Home) ในภาพรวม WFH ครั้งที่ 1 …


ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการขับเคลื่อนนโยบายยาเสพติดสู่พืชเศรษฐกิจ กรณีศึกษา กัญชง ภายใต้การบริหารงานของ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.), ปานธิดา วัชระคิรินทร์ Jan 2020

ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการขับเคลื่อนนโยบายยาเสพติดสู่พืชเศรษฐกิจ กรณีศึกษา กัญชง ภายใต้การบริหารงานของ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.), ปานธิดา วัชระคิรินทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการขับเคลื่อนนโยบายยาเสพติดสู่พืชเศรษฐกิจ กรณีศึกษา กัญชง วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนนโยบายยาเสพติดสู่พืชเศรษฐกิจ และสังเคราะห์แนวทางการพัฒนาการขับเคลื่อนนโยบายยาเสพติดสู่พืชเศรษฐกิจ การวิจัยใช้แนวทางเชิงคุณภาพ ด้วยการค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ นโยบายและกฎหมายด้านยาเสพติด ใช้เทคนิควิจัยการสัมภาษณ์ โดยสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ของสำนักงาน ป.ป.ส. ที่ทำงานในการขับเคลื่อนนโยบายยาเสพติดสู่พืชเศรษฐกิจ รวมทั้งสิ้น 20 คน จากผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านทิศทางการปรับเปลี่ยนของนโยบายยาเสพติดโลก ปัจจัยด้านผู้บริหารฝ่ายการเมือง ปัจจัยด้านผู้บริหาร ป.ป.ส. ปัจจัยด้านผู้ปฏิบัติงาน ป.ป.ส. ปัจจัยด้านกลุ่มทุน ปัจจัยด้านเกษตรกร และปัจจัยด้านกฎหมาย เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการขับเคลื่อนนโยบายยาเสพติดสู่พืชเศรษฐกิจ กรณีศึกษา กัญชง โดยทุกปัจจัยจะส่งผลต่อกันในลักษณะ 3 ระดับ ได้แก่ ระดับที่ 1 กระแสปัญหา ส่งผลต่อระดับที่ 2 กระแสนโยบายและการเมืองของชนชั้นนำ และส่งผลต่อระดับที่ 3 การตอบสนองนโยบายของ สำนักงาน ป.ป.ส. ปัญหาและอุปสรรคในการขับเคลื่อนกัญชงสู่พืชเศรษฐกิจ ประกอบด้วย กฎหมายที่ไม่เอื้ออำนวยในการขับเคลื่อนกัญชงสู่พืชเศรษฐกิจ การขาดหน่วยงานหลักในการผลักดันกัญชงสู่พืชเศรษฐกิจ และการขาดองค์ความรู้เกี่ยวกับกัญชง ทั้งนี้ ข้อเสนอแนะ คือ ควรมีแนวทางการพัฒนาด้านผู้บริหาร ควรให้การผลักดันนโยบายส่งเสริมกัญชงให้เป็นพืชเศรษฐกิจ ด้านผู้ปฏิบัติงานต้องทำงานเชิงรุกและขับเคลื่อนนโยบายให้บรรลุตามเป้าหมาย ด้านกลุ่มทุน ความรู้เกี่ยวกับระเบียบ การอนุญาต การผลิต และกระบวนการผลิต ควรมีการอบรมแก่ผู้เกี่ยวข้องเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมาย ด้านเกษตรกร ควรศึกษากฎหมายกัญชงให้ชัดเจน และปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ หน่วยงานหลัก ควรเป็นสำนักงาน ป.ป.ส. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงอุตสาหกรรม และบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


ปัญหาสำหรับการกำกับดูแลกิจการ การพนัน:กรณีศึกษาการเล่นพนันชนไก่ในประเทศไทย, ภูมิพัฒน์ ตุ้ยสาร Jan 2020

ปัญหาสำหรับการกำกับดูแลกิจการ การพนัน:กรณีศึกษาการเล่นพนันชนไก่ในประเทศไทย, ภูมิพัฒน์ ตุ้ยสาร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัญหาการคอร์รัปชันในแวดวงธุรกิจการพนันบ่อนชนไก่ สาเหตุมาจากระบบบริหารราชการแบบดั้งเดิมบนพื้นฐานวัฒนธรรมสังคมอุปถัมภ์ โดยมีกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เอื้อต่อการโกงกินอย่างเป็นระบบของขบวนการคอร์รัปชัน เปิดช่องให้ผู้ประกอบการผูกขาด (Monopoly) การใช้ทรัพยากรของรัฐ (ใบอนุญาต/เจ้าหน้าที่รัฐ) เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ให้กับตนเอง และเอื้อต่อการใช้ดุลยพินิจ (Discretion) อนุมัติ/อนุญาตของผู้มีอำนาจในระบบราชการ เพื่อแสวงหารายได้จากงานบริการประชาชนและนำรายได้จากเศรษฐกิจนอกระบบที่ผิดกฎหมายนั้นต่อยอดแสวงหายศถาบรรดาศักดิ์ ฉะนั้นหากคาดหวังให้การคอร์รัปชันบรรเทาเบาบางลง ต้องลดช่องว่างระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับผู้ประกอบกิจการบ่อนชนไก่ โดยนำเอาแนวทางการบริหารระบบราชการที่มุ่งเน้นการให้บริการแก่ประชาชน ในฐานะเป็นพลเมือง สร้างกลไกในการเข้าถึงบริการจากหน่วยงานภาครัฐที่สะดวก เช่น จัดตั้งสำนักงานให้บริการแบบครบวงจร เป็นต้น รวมทั้ง การถ่ายโอนอำนาจการตัดสินใจบางเรื่องที่อยู่กับผู้บริหารระดับสูง ให้แก่เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ ซึ่งจะทำให้ลดช่องว่างระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับผู้ประกอบกิจการบ่อนชนไก่ ทั้งนี้ การพัฒนาระบบการบริหารงานราชการให้สอดคล้องและคล่องตัวกับงานบริการประชาชนในยุคปัจจุบันจะทำให้เกิดงานให้บริการแก่ประชาชนมีความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น ถือเป็นการสร้างหลักประกันให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจบ่อนชนไก่ ซึ่งนำไปสู่การประกอบธุรกิจบ่อนชนไก่อย่างถูกกฎหมาย


ภาวะหมดไฟในการทำงานของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคกรณีศึกษาสายงานการไฟฟ้า ภาค 3, พฤกษา พฤทธิสาริกร Jan 2020

ภาวะหมดไฟในการทำงานของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคกรณีศึกษาสายงานการไฟฟ้า ภาค 3, พฤกษา พฤทธิสาริกร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความต้องการของงาน ระดับทรัพยากรในงานและระดับภาวะหมดไฟในการทำงาน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความต้องการของงานและทรัพยากรในงานกับภาวะหมดไฟในการทำงานของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กรณีศึกษาสายงานการไฟฟ้าภาค 3 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในสังกัดสายงานการไฟฟ้าภาค 3 จำนวน 1,010 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และนำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย 2 กลุ่มตัวอย่าง (Independent t-test) การวิเคราะห์เปรียบเทียบความแปรปรวน (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Correlation) ผลการศึกษา พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีระดับความต้องการของงานโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีระดับทรัพยากรในงานโดยรวมอยู่ในระดับค่อนข้างสูง และมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหมดไฟในการทำงานต่ำ ซึ่งเมื่อพิจารณาภาวะหมดไฟในการทำงานเป็นรายด้าน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความเสี่ยงที่เกิดภาวะหมดไฟในการทำงานต่ำ ทั้ง 3 ด้าน ; ด้านความรู้สึกอ่อนล้า ด้านการเมินเฉย และด้านการลดคุณค่าความสำเร็จในตนเอง 2) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟในการทำงาน คือ อายุ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ระดับตำแหน่ง 3) ความต้องการของงานโดยรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะหมดไฟในการทำงาน 4) ทรัพยากรในงานโดยรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะหมดไฟในการทำงาน


มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดกับการเติบโตของอุตสาหกรรมเหล็กไทย, วรรัมภา ศรีปานันท์ Jan 2020

มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดกับการเติบโตของอุตสาหกรรมเหล็กไทย, วรรัมภา ศรีปานันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษามาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดกับการเติบโตของอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศไทยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์แนวทางการเติบโตของอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศไทยจากการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด และเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดให้มีประสิทธิภาพในการสร้างความเป็นธรรมทางการค้า โดยใช้วิธีการวิจัยทางเอกสาร และการรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก ประกอบด้วย ข้าราชการผู้ปฏิบัติงานในกองปกป้องและตอบโต้ทางการค้า หัวหน้าแผนกวิจัยและข้อมูลอุตสาหกรรม สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหล็กไทย และผู้บริโภค มีกรอบแนวคิดในการศึกษาคือตัวแบบ CIPP (Context-Input-Process-Product Model) ผลการศึกษาพบว่าองค์ประกอบในการใช้มาตรการ ได้แก่สภาพแวดล้อม ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต มีผลต่อความสำเร็จในการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดเพื่อขจัดความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่อุตสาหกรรมเหล็ก ทำให้อุตสาหกรรมเหล็กในประเทศกลับมามีส่วนแบ่งตลาดและยอดขายเพิ่มขึ้น รวมถึงส่งผลต่อเนื่องให้อุตสาหกรรมเหล็กในประเทศได้มีการพัฒนานวัตกรรม


มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) : ความเชื่อมั่นและผลลัพธ์ด้านการยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์, ธนภูมิ เครื่องทิพย์ Jan 2020

มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) : ความเชื่อมั่นและผลลัพธ์ด้านการยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์, ธนภูมิ เครื่องทิพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งตอบคำถามที่ว่า ผู้ผลิตและผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทต่าง ๆ มีความเชื่อมั่นในเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) มากน้อยเพียงใด เพราะเหตุใด และการพัฒนาเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ชุมชนมีคุณภาพสูงขึ้นและแข่งขันได้มากขึ้นหรือไม่ อย่างไร โดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับการรับรองมาตรฐานในฐานะเครื่องมือเชิงนโยบายของภาครัฐ และแนวคิดเกี่ยวกับการตลาด การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และความสามารถในการแข่งขันในตลาดมาเป็นแนวทางการทำวิจัย งานวิจัยชิ้นนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ ข้อค้นพบของงานวิจัยชิ้นนี้คือ การได้มาซึ่งเครื่องหมาย มผช. เป็นประโยชน์ต่อการสร้างแบรนด์และกิจกรรมทางการตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมที่ต้องอาศัยหน้าร้าน ผู้ผลิตรายใหญ่ที่อยู่ในตลาดมานานแล้วมีแนวโน้มจะได้รับประโยชน์จากการขอ มผช. มากกว่าผู้ผลิตหน้าใหม่หรือผู้ผลิตรายเล็ก ในส่วนของผู้บริโภค แม้ว่าเครื่องหมาย มผช.จะไม่เป็นที่รู้จักหรือสนใจมากนัก เพราะผู้บริโภคสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนมักเลือกซื้อสินค้าจากความประทับใจในอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ชุมชนมากกว่าการดูเครื่องหมาย แต่ผู้บริโภคสินค้าบางชนิด เช่น ผ้าไหม เห็นว่าเครื่องหมาย มผช. จะช่วยให้ตัวเองเลือกซื้อสินค้าได้ดีขึ้น ในส่วนของกระบวนการขอมาตรฐาน พบว่า ผู้ผลิตที่ได้รับการรับรองเครื่องหมาย มผช. พึงพอใจกับการให้บริการของภาครัฐในกระบวนการรับรองค่อนข้างมาก ซึ่งความพึงพอใจนี้ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในเครื่องหมาย มผช. ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะคือ สมอ. ควรปรับระยะเวลาการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ให้สั้นลงเพื่อให้ทันต่อความต้องการของผู้ผลิตชุมชน เนื่องจาก เครื่องหมาย มผช.ส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันและช่องทางการตลาดเพิ่มมากขึ้น และควรดำเนินการด้านประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคที่นิยมเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชน ทั้งนี้เพื่อให้เครื่องหมาย มผช. เป็นที่รู้จัก ผู้บริโภคเชื่อมั่นและสามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีคุณภาพสูงขึ้น


มุมมองต่อการเลือกเข้าทำงานในบรรษัทข้ามชาติด้านธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค: กรณีศึกษาแผนกฝ่ายขาย บริษัท Mars Thailand Inc., นฤเบศร์ ชมภูทอง Jan 2020

มุมมองต่อการเลือกเข้าทำงานในบรรษัทข้ามชาติด้านธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค: กรณีศึกษาแผนกฝ่ายขาย บริษัท Mars Thailand Inc., นฤเบศร์ ชมภูทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อทราบถึงองค์ประกอบของแรงจูงใจที่ส่งผลต่อมุมมองการเลือกเข้าทำงานของบุคลากรแผนกฝ่ายขาย กรณีบรรษัทข้ามชาติด้านธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค บริษัท มาร์ส ไทยแลนด์ อิงค์ 2. เพื่อมีแนวทางในการนำเสนอแบรนด์นายจ้าง (Employer branding) ให้ตรงกลุ่มผู้สมัคร และ3. เพื่อสร้างความเข้มแข็งต่อการวางแผนกลยุทธ์แบรนด์นายจ้าง (Employer branding) ให้กับองค์การ กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมี 10 ราย โดยแบ่งเป็นบุคลากรแผนกฝ่ายขาย บริษัท มาร์ส ไทยแลนด์ อิงค์ จำนวน 5 ราย บุคลากรฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล บริษัท มาร์ส ไทยแลนด์ อิงค์ จำนวน 3 ราย และบริษัทจัดหางาน จำนวน 2 ราย วิธีวิจัย คือการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบรายบุคคล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษาพบว่า 1. องค์ประกอบของแรงจูงใจที่ส่งผลต่อมุมมองการเลือกเข้าทำงานของบุคลากรแผนกฝ่ายขาย คือชื่อเสียงขององค์การ การเสนอค่าจ้าง และการได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสม รวมไปถึงความรู้สึกการเป็นส่วนหนึ่งขององค์การในการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ 2. องค์การมีการนำเสนอภาพลักษณ์แบรนด์นายจ้างผ่านมุมมองของบุคลากรต่อความภาคภูมิใจในการได้เป็นส่วนหนึ่งขององค์การผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ อย่างไรก็ตามบุคลากรแผนกฝ่ายขายรับรู้ถึงภาพลักษณ์แบรนด์นายจ้างผ่านเครือข่ายสังคมออฟไลน์ หรือเครือข่ายในการทำงานของตนมากกว่าเครือข่ายสังคมออนไลน์ และ3. องค์การสร้างเสริมแผนกลยุทธ์แบรนด์นายจ้างผ่านการบริหารจัดการทุนมนุษย์ด้านกระบวนการสรรหาเพื่อให้ได้มาซึ่งบุคลากรที่มีคุณสมบัติตามที่องค์การต้องการด้วยวิธีการตรวจสอบประวัติภูมิหลัง และมุมมองในการทำงานจากบุคคลอ้างอิง


รูปแบบการปฏิบัติงานจากที่พักอาศัย (Work From Home) ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019: ศึกษากรณีสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), นวีนา วรรธนผลากูร Jan 2020

รูปแบบการปฏิบัติงานจากที่พักอาศัย (Work From Home) ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019: ศึกษากรณีสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), นวีนา วรรธนผลากูร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่องรูปแบบการปฏิบัติงานจากที่พักอาศัย (Work from Home) ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019: ศึกษากรณีสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ชิ้นนี้ มุ่งตอบคำถามที่ว่ารูปแบบการ Work from Home ของบุคลากร สสวท. เป็นอย่างไร สามารถแบ่งได้กี่รูปแบบ โดยใช้แนวคิดทฤษฎีว่าด้วยหลักการ Telework หรือ Work from Home และการ Work from Home ในฐานะมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) โดยการสัมภาษณ์รายบุคคล ข้อค้นพบของงานวิจัยชิ้นนี้ คือ รูปแบบการปฏิบัติงานจากที่พักอาศัย (Work from Home) ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของบุคลากรสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) มี 2 รูปแบบ คือ 1) รูปแบบพฤติกรรมที่ทำงานอดิเรกมากขึ้น และ 2) รูปแบบพฤติกรรมที่ใช้เวลาในการทำงานนานขึ้น โดยรูปแบบพฤติกรรมแบบที่หนึ่ง พบได้มากในกลุ่มบุคลากรที่มีทัศนคติและความรู้สึกเชิงบวกต่อการ Work from Home กลุ่มบุคลากรที่ใช้จ่ายมากขึ้น และกลุ่มบุคลากรที่มองว่าผลการปฏิบัติงานของตนไม่แตกต่างจากเดิม ส่วนรูปแบบพฤติกรรมแบบที่สอง พบได้ในกลุ่มบุคลากรที่มีค่าใช้จ่ายไม่ต่างจากเดิม และบุคลากรที่มองว่าผลการปฏิบัติงานของตนดีขึ้น โดยผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ คือ สสวท. อาจกำหนดให้การ Work from Home เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการทำงานของบุคลากร สสวท. ในอนาคต โดยเฉพาะกับบุคลากรที่มีความพร้อม มีทัศนคติเชิงบวกต่อการทำงานที่บ้าน และมีผลการปฏิบัติงานที่ดีขึ้นเมื่อทำงานที่บ้าน


วิกฤตใหม่ วิถีปกติใหม่: การปรับตัวด้านการทำงานของนักวิเทศสัมพันธ์ภายใต้การจัดการภาวะวิกฤตของสำนักงานการต่างประเทศ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานคร ในช่วงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19), กรกฎ หนูเกื้อ Jan 2020

วิกฤตใหม่ วิถีปกติใหม่: การปรับตัวด้านการทำงานของนักวิเทศสัมพันธ์ภายใต้การจัดการภาวะวิกฤตของสำนักงานการต่างประเทศ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานคร ในช่วงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19), กรกฎ หนูเกื้อ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการปรับตัวด้านการทำงานของนักวิเทศสัมพันธ์กับแนวทางการจัดการภาวะวิกฤตของสำนักงานการต่างประเทศ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานคร ในช่วงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ลักษณะปัญหาและความท้าทายของหน่วยงาน คือ การทำงานในรูปแบบเดิมมีการปรับเปลี่ยนเป็นรูปแบบออนไลน์ ส่วนการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของหน่วยงาน พบว่า หน่วยงานมีจุดแข็ง คือ บุคลากรมีความรับผิดชอบสูง มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเมืองพี่เมืองน้องต่างประเทศ และมีความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษและการใช้เทคโนโลยี จุดอ่อน คือ การขาดความพร้อมด้านเทคโนโลยีของกรุงเทพมหานครและข้อจำกัดของระเบียบราชการที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน โอกาส ได้แก่ บุคลากรมีโอกาสในการพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเองได้มากขึ้นและหน่วยงานมีเครือข่ายระหว่างประเทศที่เข้มแข็ง ส่วนอุปสรรค ได้แก่ ผู้บริหารและบุคลากรกรุงเทพมหานครอาจมีความสนใจในงานต่างประเทศน้อยลง กรุงเทพมหานครขาดการจัดทำระบบฐานข้อมูลกลาง และหน่วยงานต่างประเทศขาดความพร้อมที่จะดำเนินงานร่วมกับกรุงเทพมหานคร ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการปรับตัวด้านการทำงานของนักวิเทศสัมพันธ์กับแนวทางการจัดการภาวะวิกฤตของสำนักงานการต่างประเทศ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานคร เป็นไปด้วยดี มีความยืดหยุ่น และมีประสิทธิภาพ ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยเพิ่มเติมในอนาคต ควรมีการศึกษาการปรับตัวด้านการทำงานของนักวิเทศสัมพันธ์และการเปรียบเทียบการทำงานทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ภายหลังทุกประเทศทั่วโลกสามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้เรียบร้อยแล้ว


The Ways Of Improving Competitiveness Of Thailand Textile Industry Enterprises, Chun Zhou Jan 2020

The Ways Of Improving Competitiveness Of Thailand Textile Industry Enterprises, Chun Zhou

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

COVID-19 has spread globally at an alarming rate, bringing a strong negative impact to the world economy at a time when the global economy is in a long-term downturn and struggling to find growth drivers. The topic of this article is how to improve the international competitiveness of Thailand's traditional industry the textile industry when the tourism economy suffers a severe setback. Thailand's textile industry has grown rapidly as a typical developing country, owing to its unique geographical location and climatic conditions (Vogel & Watchravesringkan, 2019). It has developed a distinct textile culture, and its competitiveness in the international market …


ศึกษาปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานโครงการส่งเสริมความยั่งยืนของการพัฒนาเมืองในอนาคต กรณีศึกษา เทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี, สุชาวดี ขวัญเมือง Jan 2020

ศึกษาปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานโครงการส่งเสริมความยั่งยืนของการพัฒนาเมืองในอนาคต กรณีศึกษา เทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี, สุชาวดี ขวัญเมือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานโครงการส่งเสริมความยั่งยืนของการพัฒนาเมืองในอนาคต กรณีศึกษา เทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานของโครงการส่งเสริมความยั่งยืนของการพัฒนาเมืองในอนาคตของเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี 2) เพื่อศึกษาถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินโครงการส่งเสริมความยั่งยืนของการพัฒนาเมืองในอนาคตของเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี การศึกษาในครั้งนี้อาศัยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ กลุ่มผู้บริหารระดับสูง กลุ่มผู้บริหารระดับกลาง กลุ่มหัวหน้าและคณะทำงาน และกลุ่มผู้นำชุมชน รวมทั้งสิ้น 21 คน ใช้เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึกและสัมภาษณ์กลุ่ม โดยใช้แนวคำถามการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างแล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลและตรวจสอบข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานของโครงการส่งเสริมความยั่งยืนของการพัฒนาเมืองในอนาคตของเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี โดยยึดตามกรอบแนวคิดการวิจัย ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ให้ความเห็นต่อเป็นปัจจัยความสำเร็จสามอันดับแรกว่าเกิดจาก (1) การสนับสนุนจากผู้บริหาร (2) งบประมาณ (3) การมีส่วนร่วมของประชาชน รวมทั้งการได้รับความร่วมมือจากองค์กรต่างประเทศในการจัดหางบประมาณ การสร้างทรัพยากรบุคคลในชุมชนและการสื่อสารกับคนในชุมชนเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการดำเนินงานของโครงการ


สมรรถนะของข้าราชการกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง เพื่อรองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก กรณีศึกษา ด่านศุลกากรมาบตาพุด จังหวัดระยอง, เบญจาวัลย์ ศรีโยธี Jan 2020

สมรรถนะของข้าราชการกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง เพื่อรองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก กรณีศึกษา ด่านศุลกากรมาบตาพุด จังหวัดระยอง, เบญจาวัลย์ ศรีโยธี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะของข้าราชการตำแหน่งนักวิชาการศุลกากร สังกัดด่านศุลกากรมาบตาพุดในปัจจุบัน และในอนาคตเพื่อรองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก โดยมีกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 10 ราย ประกอบไปด้วย 3 กลุ่มคือ 1) กลุ่มผู้ปฏิบัติราชการ ณ ด่านฯ มาบตาพุด 4 ราย 2) หน่วยงานราชการอื่นที่มีการประสานงานกับนักวิชาการศุลกากรด่านฯ มาบตาพุด 2 ราย และ 3) กลุ่มภาคเอกชน เป็นผู้ประกอบการหรือบริษัทที่ได้รับการบริการจากด่านศุลกากรมาตาพุด แบ่งตามกลุ่มประเภทผลิตภัณฑ์ที่นำเข้า- ส่งออก หรือมีการใช้สิทธิประโยชน์ต่างๆ ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร 4 ราย โดยใช้วิจัยแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และนำศึกษามาวิเคราะห์และสรุปผลตามการทบทวนวรรณกรรมและแนวคิดสมรรถนะภายใต้คำจำกัดความของ ก.พ. โดยการเปรียบเทียบกับสมรรถนะเดิมเพื่อหาสมรรถนะใหม่เพื่อเติมเต็มการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นสำหรับการรองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกในอนาคต ผลการวิจัยพบว่าสมรรถนะของข้าราชการด่านฯ ศุลกากรมาบตาพุด ตำแหน่งนักวิชาการศุลกากร ที่ควรเพิ่มเติมจากปัจจุบันเพื่อรองรับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการยกระดับศักยภาพของประเทศให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก ประกอบไปด้วย 1) ความรู้เรื่องการบูรณาการการใช้สิทธิประโยชน์ใน EEC สิทธิประโยชน์ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สิทธิประโยชน์ทางศุลกากร และสิทธิประโยชน์อันเกี่ยวกับกรมสรรพากรเพื่อธิบายให้กับผู้มารับบริการ 2) ทักษะภาษาจีนและทักษะภาษารัสเซียเพื่อการสื่อสารและบริการกลุ่มผู้ลงทุนจากสองประเทศนี้ซึ่งมีจำนวนมากขึ้น 3) ทักษะการใช้เครื่องมือที่ทันสมัยและมีนวัตกรรมเช่นนวัตกรรมระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์และระบบอัจฉริยะต่างๆ โดยมีความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศและภาคเอกชนด้วย


สมรรถนะหลักที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ตามรูปแบบมาตรฐานการปฏิบัติ (Sop) ภายใต้ New Normal: กรณีศึกษาข้าราชการตำรวจตรวจคนเข้าเมือง กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 2, ภาวไล เสมพูน Jan 2020

สมรรถนะหลักที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ตามรูปแบบมาตรฐานการปฏิบัติ (Sop) ภายใต้ New Normal: กรณีศึกษาข้าราชการตำรวจตรวจคนเข้าเมือง กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 2, ภาวไล เสมพูน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระดับประสิทธิการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจตรวจคนเข้าเมือง และเพื่อศึกษาสมรรถนะหลักที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามรูปแบบมาตรฐานการปฏิบัติ (SOP) ภายใต้ New Normal ของข้าราชการตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ผ่านการวิจัยแบบผสม ซึ่งเป็นการใช้วิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ระดับผู้บริหาร ระดับหัวหน้างาน และวิจัยเชิงปริมาณ โดยการแจกแบบสอบถามให้ข้าราชการตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณก่อนเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงสถิติ และเพื่อให้ทราบถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรต้นที่มีผลต่อตัวแปรตาม จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้ไปหาข้อมูลเชิงคุณภาพเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากมุมมองของระดับผู้บริหารและหัวหน้างาน ผลจากการศึกษาพบว่า ข้าราชการตำรวจตรวจคนเข้าเมือง กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 2 มีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามรูปแบบมาตรฐาน (SOP) ภายใต้ New Normal โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.01 ลักษณะส่วนบุคคลที่แตกต่างกันของข้าราชการตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ทำให้ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามรูปแบบมาตรฐาน (SOP) ภายใต้ New Normal แตกต่างกัน โดยพบว่า ด้านอายุ ด้านเงินเดือนค่าตอบแทน และด้านการเข้ารับการอบรมฯ ที่แตกต่างกัน ประทำให้ประสิทธิภาพการปฏิบัติตามรูปแบบมาตรฐาน (SOP) แตกต่างกัน สมรรถนะหลักที่แตกต่างกัน ทำให้ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามรูปแบบมาตรฐาน (SOP) ภายใต้ New Normal ของข้าราชการตำรวจตรวจคนเข้าเมือง กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 2 แตกต่างกัน โดยพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะหลักและประสิทธิภาพการปฏิบัติตามรูปแบบมาตรฐาน (SOP) ของข้าราชการตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ในภาพรวมมีความสัมพันธ์กันในทางบวก โดยมีความสัมพันธ์กันในระดับที่ค่อนข้างสูง (r = 0.688)


แนวทางการพัฒนาการบริหารงบประมาณและการจัดทำแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดกรณีศึกษากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 1 (ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง)​, จิรัฏฐิกา ภานุกรกุล Jan 2020

แนวทางการพัฒนาการบริหารงบประมาณและการจัดทำแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดกรณีศึกษากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 1 (ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง)​, จิรัฏฐิกา ภานุกรกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารงบประมาณและการจัดทำแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด กรณีศึกษากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 1 (ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง)​ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ เพื่อศึกษาวิเคราะห์การจัดทำแผนและงบประมาณของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 1 เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดทำแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 1 และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารงบประมาณของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 1 การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลจากการใช้แบบสอบถาม จำนวน 76 ชุด จากผู้ปฏิบัติงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดทำแผนและงบประมาณของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 1 และในการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 6 ท่าน คือ ผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญ และผู้มีความรู้ด้านการจัดทำแผนและงบประมาณของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 1 ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความเห็นด้วยเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำแผนและงบประมาณของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 1 ในด้านกระบวนการจัดทำแผนและงบประมาณ การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ความพร้อมของบุคลากร และประเด็นการพัฒนา อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน และเมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำแผนและงบประมาณของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 1 จำแนกตามตัวแปรสถานที่ปฏิบัติงาน พบว่า ในภาพรวมสถานที่ปฏิบัติงานที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำแผนและงบประมาณของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 1 ไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อวิเคราะห์เป็นรายด้านพบว่า สถานที่ปฏิบัติงานที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อระดับความเห็นด้วยกับประเด็นความพร้อมของบุคลากรที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยจังหวัดฉะเชิงเทรามีความเห็นด้วยกับประเด็นความพร้อมของบุคลากร มากกว่าจังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง โดยปัญหาและอุปสรรคในการจัดแผนและงบประมาณของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 1 พบว่า ระยะเวลาในการจัดทำแผนและงบประมาณมีจำกัด ประกอบกับปัญหาบุคลากรมีจำนวนไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน ส่งผลให้การจัดทำโครงการบางครั้งขาดการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียด เพื่อให้ได้มาซึ่งแผนงานและโครงการที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 1 โดยผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่เห็นว่าในการพัฒนาการบริหารงบประมาณและการจัดทำแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 1 ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากร ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุผลสัมฤทธิ์ของพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 1


แนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานของกรมศุลกากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามการลักลอบส่งออกยาเสพติดทางไปรษณีย์, รชต ลีละวงศ์ Jan 2020

แนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานของกรมศุลกากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามการลักลอบส่งออกยาเสพติดทางไปรษณีย์, รชต ลีละวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการปฏิบัติงานของกรมศุลกากรในการป้องกันและปราบปรามการลักลอบส่งออกยาเสพติดทางไปรษณีย์ 2) วิเคราะห์หาแนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานของกรมศุลกากรในการป้องกันและปราบปรามการลักลอบส่งออกยาเสพติดทางไปรษณีย์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ข้าราชการกรมศุลกากร ข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ข้าราชการตำรวจจากกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติดและเจ้าหน้าที่บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด จำนวน 7 ท่าน ผลการศึกษา พบว่า การดำเนินงานของกรมศุลกากรในการป้องกันและปราบปรามการลักลอบส่งออกยาเสพติดทางไปรษณีย์มีความร่วมมือ การติดต่อสื่อสารและสัมพันธภาพระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นไปด้วยดี อย่างไรก็ตามเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบยังมีไม่เพียงพอและไม่ทันสมัยรวมถึงจำนวนบุคลากรไม่เพียงพอต่อปริมาณการส่งออกพัสดุไปรษณีย์ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและไม่สอดคล้องกับแนวคิดการลดอัตรากำลังของภาครัฐและงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้นจึงต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญในงานและพัฒนาความร่วมมือระหว่างกรมศุลกากรกับสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในด้านการข่าว การขยายผลจับกุมรวมถึงการทำลายเครือข่ายยาเสพติด ทั้งนี้ในกระบวนการปฏิบัติงานพบปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญคือ การขาดระบบข้อมูลส่งออกไปรษณีย์ล่วงหน้า ทำให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรต้องคัดเลือกและประเมินความเสี่ยงของพัสดุไปรษณีย์จากรายละเอียดหน้ากล่องพัสดุ สำหรับข้อเสนอแนะคือ การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เก็บข้อมูลความเสี่ยงจากพัสดุไปรษณีย์ส่งออก ได้แก่ รายละเอียดของผู้ฝากส่ง ผู้รับและรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าเพื่อให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรสามารถประเมินระดับความเสี่ยงของพัสดุไปรษณีย์ก่อนพัสดุไปรษณีย์มาถึงศูนย์คัดแยกเพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการคัดแยกและการคัดเลือกตรวจสินค้าสามารถดำเนินการได้ตรงเป้าหมายรวมถึงการยกระดับการตรวจสินค้าให้มีมาตรฐานมากยิ่งขึ้น


แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการคุณภาพองค์การวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล สู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูงด้านสถาบันการศึกษานานาชาติ, พรนภัสส์ พราหมณ์โชติ Jan 2020

แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการคุณภาพองค์การวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล สู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูงด้านสถาบันการศึกษานานาชาติ, พรนภัสส์ พราหมณ์โชติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1 เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันในการบริหารจัดการคุณภาพของวิทยาลัยนานาชาติ ม.มหิดล 2 เพื่อวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค และปัจจัยสนับสนุนการพัฒนาการบริหารจัดการคุณภาพวิทยาลัยนานาชาติฯ สู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูงด้านสถาบันการศึกษานานาชาติ 3 เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการคุณภาพวิทยาลัยนานาชาติฯ สู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูงด้านสถาบันการศึกษานานาชาติ การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องร่วมกับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกที่มีอิทธิพลต่อองค์การ ใช้เทคนิคการวิจัยการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญด้านเกณฑ์ประเมิน ผู้บริหาร และการสนทนากลุ่มกับผู้ปฏิบัติการ รวมทั้งสิ้น 28 คนโดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ จากผลการวิจัยพบว่า วิทยาลัยนานาชาติฯ มีการพัฒนาการบริหารจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์การตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพ ประกอบด้วยเกณฑ์ 7 หมวด ได้แก่ 1 การนำองค์กร 2 การวางแผนเชิงกลยุทธ์ 3 การให้ความสำคัญกับลูกค้า 4 การวัด วิเคราะห์ และการจัดการความรู้ 5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล 6 การจัดการกระบวนการ 7 ผลลัพธ์ มาเป็นแนวปฏิบัติหลักในการขับเคลื่อนองค์การเพื่อมุ่งไปสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูง นอกจากเกณฑ์ทั้ง 7 แล้วยังมีเกณฑ์ที่อิงกับแนวคิด World Class University เข้ามามีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางและทบทวนกระบวนการด้านการวางแผนผลิตภัณฑ์และบริการของผู้นำซึ่งทุกประเทศกำลังเผชิญกับความท้าทาย ข้อจำกัดในการวิจัยครั้งนี้ คือ การขาดความเชื่อมโยงของผลลัพธ์ เนื่องจากขาดการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงาน ข้อเสนอแนะ คือ ควรมีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ และการบริหารผลลัพธ์ให้มีความเชื่อมโยงและสอดรับกับกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงโลก


Usability Of Mobile Banking Application Toward Thai Banking Customer Loyalty, Nalatporn Chaimongkol Jan 2020

Usability Of Mobile Banking Application Toward Thai Banking Customer Loyalty, Nalatporn Chaimongkol

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Mobile banking has become increase in its popularity and become more important for Thai people. Traditional banking seems to be fading out and Mobile banking application is widely used. This study consider how service usability, relationship quality, and banking image could impact banking customer loyalty. The online survey from 304 respondents was collected to investigate and explain the relationship of each factors toward Thai banking customer loyalty. The result from multiple regression analysis indicates that service usability, relationship quality, and banking image have significant effect on building customer loyalty. While other control variables such as gender, education, age, occupation, frequency, …


แนวทางการพัฒนาระบบการบริหารจัดการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลเจดีย์หัก จังหวัดราชบุรี, ณัฐพล ตั้งสุนทรธรรม Jan 2020

แนวทางการพัฒนาระบบการบริหารจัดการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลเจดีย์หัก จังหวัดราชบุรี, ณัฐพล ตั้งสุนทรธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ระบบการบริหารเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ SWOT, เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพเกี่ยวกับระบบการบริหารเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2561-2563, และเพื่อสังเคราะห์แนวทางการพัฒนาระบบการบริหารเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลเจดีย์หัก จังหวัดราชบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานดังกล่าว และการสำรวจรวมถึงการสัมภาษณ์ผู้สูงอายุภายในพื้นที่ดังกล่าวที่ได้รับเบี้ยยังชีพ ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุมีระดับความพึงพอใจดังนี้ ด้านหลักการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ด้านการติดตามและประเมินผลอยู่ในระดับปานกลาง ด้านคุณสมบัติและการรับจดทะเบียนผู้สูงอายุ ด้านขั้นตอนการดำเนินงาน รวมถึงด้านบุคลากรอยู่ในระดับมาก และด้านการจ่ายเงินอยู่ในระดับมากที่สุด สำหรับการสัมภาษณ์ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานพบว่ามีความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า ผู้สูงอายุที่มีจำนวนมาก การขาดแคลนบุคลากร และระยะเวลาในการปฏิบัติงานมีจำกัด คือปัญหาสำคัญในระบบการบริหารเบี้ยยังชีพ ดังนั้นงานวิจัยชิ้นนี้จึงมีข้อเสนอแนะว่าองค์การบริหารส่วนตำบลเจดีย์หักควรมีการเพิ่มอัตราบุคลากร การพัฒนาความรู้ของบุคลากร การเพิ่มอัตราเบี้ยยังชีพ การประเมินและติดตามผลอย่างต่อเนื่อง รวมถึงควรมีการศึกษาเปรียบเทียบกับองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นแห่งอื่นในพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อนำไปสู่แนวทางการพัฒนาระบบการบริหารเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลเจดีย์หัก จังหวัดราชบุรีต่อไป


แนวทางพัฒนาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐกรณีศึกษา: การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, เลิศภิรักษ์ เลิศกมลสิน Jan 2020

แนวทางพัฒนาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐกรณีศึกษา: การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, เลิศภิรักษ์ เลิศกมลสิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์เรื่อง แนวทางพัฒนาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ กรณีศึกษา: การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาในการดำเนินงานจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุของ กฟผ. และเสนอแนะแนวทางพัฒนางานจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุ โดยศึกษาด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ จากเอกสารที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์แบบเชิงลึกจากบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับงานจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุของ กฟผ. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรค ตลอดจนเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุของ กฟผ. จากการศึกษาพบว่า กฟผ. มีการดำเนินงานจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภายใต้พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 อย่างเคร่งครัด มีการออกระเบียบและคำสั่งหน่วยงานเพื่อกำกับดูแลให้การดำเนินงานจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุมีความคุ้มค่า โปร่งใส มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถตรวจสอบได้ตามหลักแนวคิดการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ อย่างไรก็ตาม เมื่อวิเคราะห์การดำเนินงานจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุของ กฟผ. ผ่านแนวคิดห่วงโซ่แห่งคุณค่าทำให้พบปัญหาในการดำเนินงาน ซึ่งได้แก่ 1) รูปแบบในการดำเนินงานจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุบางขั้นตอนมีการดำเนินงานแบบเชิงรับ ส่งผลให้การดำเนินงานจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรจะเป็น 2) ขาดการบริหารจัดการคลังพัสดุที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เกิดความล่าช้าในการดำเนินงานด้านพัสดุ 3) เกิดความล่าช้าในงานด้านเอกสาร เนื่องจากบางงานต้องใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางและดุลยพินิจสูง 4) ผู้ปฏิบัติงานบางส่วนขาดความรู้ความเข้าใจใน ระเบียบและแนวทางการปฏิบัติงานจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุ 5) กฟผ. มีโครงสร้างองค์การขนาดใหญ่ มีหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดความยุ่งยากและซับซ้อนในการกำกับดูแลภาพรวมงาน 6) ขาดการพัฒนาระบบหรือนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินงานจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุต่อยอดจากระบบการวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กรที่ กฟผ. ใช้อยู่ในปัจจุบัน ผลจากการศึกษาพบว่า กฟผ. สามารถปรับปรุงและพัฒนาการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุผ่านหลัก Balanced Scorecard (BSC) ซึ่งกล่าวถึง มุมมองในการควบคุมและประเมินประสิทธิภาพการทำงานขององค์การ โดยหากมองในมุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนาและการพัฒนาปัจจัยอื่นๆที่ช่วยเหลือในการทำงาน จะส่งผลให้มีการพัฒนากระบวนการทำงานเกิดเป็นผลการดำเนินงานที่ดี นำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงานด้านอื่นขององค์การ สร้างความน่าเชื่อถือและความความมั่นใจให้แก่ประชาชนและประโยชน์ต่อประเทศ


แนวทางในการสนับสนุนการพัฒนาทักษะบุคลากรในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Savvy) ตามแผนงาน Digital Competency: กรณีศึกษา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.), วิทิตา จันทรวารีเลขา Jan 2020

แนวทางในการสนับสนุนการพัฒนาทักษะบุคลากรในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Savvy) ตามแผนงาน Digital Competency: กรณีศึกษา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.), วิทิตา จันทรวารีเลขา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง แนวทางในการสนับสนุนการพัฒนาทักษะบุคลากรในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Savvy) ตามแผนงาน Digital Competency: กรณีศึกษา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบายการพัฒนาทักษะการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Savvy) ของ กฟผ. ปัญหาและอุปสรรคของแผนการดำเนินงานด้าน Digital Competency และเสนอแนะแนวทางในการสนับสนุนการพัฒนาทักษะบุคลากรในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Savvy ด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผู้วิจัยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวนทั้งสิ้น 16 คน แบ่งเป็น บุคลากรการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย3 กลุ่ม คือ ระดับผู้บริหาร (3 คน) ระดับหัวหน้าแผนก (3 คน) ระดับผู้ปฏิบัติงาน (9 คน) นอกจากนี้ ยังสัมภาษณ์นักวิชาการที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัล อีก 1 คน ผลการศึกษา พบว่า (1) การรับรู้แนวทางการเสริมสร้างบุคลากรให้มีความรู้และทักษะการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Savvy) ผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่ไม่ได้มีการรับรู้แนวทางการเสริมสร้างบุคลากรให้มีความรู้และทักษะดิจิทัล เนื่องจากไม่ค่อยมีการสื่อสารนโยบายเกี่ยวกับการเสริมสร้างทักษะการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งนี้ บุคลากรทุกระดับเห็นความสำคัญของการมีทักษะทางด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital savvy) ในการส่งผลต่อการทำงานของตนเองรวมทั้ง ส่งผลถึงประสิทธิภาพโดยรวมขององค์กร (2) ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานตามแผนงาน Digital Competency ให้ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย คือ ทัศนคติส่วนบุคคล หรือ Mindset ในการเรียนรู้และเปิดใจยอมรับการเปลี่ยนแปลง โดยต้องทำให้บุคลากรเห็นความสำคัญของการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้งาน (3) แนวทางการพัฒนา/ปรับปรุงทักษะการประยุกต์ใช้ดิจิทัลของบุคลากร กฟผ. มีความคาดหวังว่า บุคลากรในองค์กรต้องสามารถใช้งานในโปรแกรมขั้นพื้นฐานที่องค์กรกำหนดไว้ และควรมีระดับทักษะตามค่าคาดหวังที่กำหนดไว้ในสมรรถนะหลักขององค์กร (Core Competency) สำหรับข้อเสนอแนะในการศึกษาวิจัย มุ่งเน้นไปที่การปรับเปลี่ยนทัศนคติของบุคลากรในองค์กรให้เป็นกรอบความคิดเติบโต (Growth Mindset) ด้วยวิธีการต่าง ๆ ได้แก่ การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรให้เป็น Digital Culture การทำให้เห็นถึงประโยชน์ของดิจิทัล (Digital Benefits) การรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ (Ownership Mindset) …


What Is The Impact Of Culture Fator On Tongrentang's International Marketing Strategy In Thailand?, Yijun Yue Jan 2020

What Is The Impact Of Culture Fator On Tongrentang's International Marketing Strategy In Thailand?, Yijun Yue

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Traditional Chinese medicine ( TCM)enterprises is one of the most popularnational industry in China TONG REN TANG should overcome the cultural barriersand be accepted by the people of the world, including the Thailand It not onlybegood at the revitalization of China’s national economy, but also helpful tospreadChinese excellent national culture, In reality, our Chinese enterprises for a longtimeface huge challenges due to the influences of cultural differences, in order torealizethe cross-cultural international marketing, must consider all aspects, then TongRenTang can get the correct strategies In this paper, internationalization of Tong Ren Tang would be analyzed, wecansee that pharmaceutical industry have …


What Is The Impact Of Digital Disruption On Bec World’S Advertising Revenues During 2014 – 2019?, Karnmanee Pongtiyapaiboon Jan 2020

What Is The Impact Of Digital Disruption On Bec World’S Advertising Revenues During 2014 – 2019?, Karnmanee Pongtiyapaiboon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Recent digital disruption has negatively affected BEC World’s annual advertising revenues, especially the past six years. The company has implemented several strategies in order to maintain its business. However, it has been unclear which strategies are successful in terms of boosting up the company’s annual advertising revenues. This paper has adopted a piecewise regression model in order to see if there is a relationship between BEC World’s annual advertising revenues and digital disruption along with SWOT and Five-Force analysis so as to see if there are any relevant factors affecting the company’s annual advertising revenues. The study has revealed that …