Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 2041 - 2070 of 5570

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการตรวจติดตามผลภายหลังการอนุญาตของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, วงศธร รังสิมันต์ Jan 2019

ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการตรวจติดตามผลภายหลังการอนุญาตของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, วงศธร รังสิมันต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการในกองตรวจการมาตรฐาน 1-3 สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (2) เพื่อศึกษาปัจจัยลักษณะบุคคล ปัจจัยการปฏิบัติงาน ปัจจัยแรงจูงใจ และปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการตรวจติดตามภายหลังการอนุญาตของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการเสริมสร้างประสิทธิภาพการตรวจติดตามภายหลังการอนุญาตของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ข้าราชการที่ปฏิบัติงานในกองตรวจการมาตรฐาน 1-3 สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ที่มีตำแหน่งต่ำกว่าผู้อำนวยการกองลงมา จำนวน 68 คน การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสม เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าสถิติทดสอบแบบทีเทส เอฟเทส และค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ปัจจัยลักษณะบุคคลด้านเพศที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อประสิทธิภาพการตรวจติดตามผลภายหลังการอนุญาตของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) ปัจจัยการปฏิบัติงานด้านการบังคับใช้กฎหมาย มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการตรวจติดตามผลภายหลังการอนุญาตของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (4) ปัจจัยจูงใจไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการตรวจติดตามผลภายหลังการอนุญาต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (5) ปัจจัยอื่น ๆ ไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการตรวจติดตามผลภายหลังการอนุญาตของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


การวิเคราะห์การให้ความสำคัญต่อนโยบายด้านต่าง ๆ ของรัฐบาลที่มาจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ศึกษาผ่านรายการคืนความสุขให้คนในชาติ, ปฐมพร คงนุช Jan 2019

การวิเคราะห์การให้ความสำคัญต่อนโยบายด้านต่าง ๆ ของรัฐบาลที่มาจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ศึกษาผ่านรายการคืนความสุขให้คนในชาติ, ปฐมพร คงนุช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง “การวิเคราะห์การให้ความสำคัญต่อนโยบายด้านต่าง ๆ ของรัฐบาลที่มาจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ศึกษาผ่านรายการคืนความสุขให้คนในชาติ” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบายของรัฐบาลที่มาจากคณะรักษาความมั่นคงแห่งชาติ ผ่านรายการคืนความสุขให้คนในชาติ ที่นำเสนอโดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ กับความสอดคล้องของเหตุผลการรัฐประหารของคณะรักษาความมั่นคงแห่งชาติ (22 พฤษภาคม 2557) ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยในเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จากการศึกษาพบว่า นโยบายของรัฐบาลที่มาจากคณะรักษาความมั่นคงแห่งชาติ จำแนกเป็น 11 ด้าน ทั้งนี้ ในรายการคืนความสุขให้คนในชาติ พบว่า เนื้อหาของรายการสะท้อนถึงการให้ความสำคัญกับนโยบายด้านที่ (6) การเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ มากที่สุด ส่วนความสอดคล้องของนโยบายกับเหตุผลการเข้าควบคุมอำนาจการปกครองประเทศ ปี 2557 ได้แก่ นโยบายด้านที่ (2) การรักษาความมั่นคงของรัฐและการต่างประเทศ (3) การลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ (4) การศึกษาและเรียนรู้ การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม (6) การเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ (7) การส่งเสริมบทบาทและการใช้โอกาสในประชาคมอาเซียน (9) การรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากรและการสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์กับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน (10) การส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาลและการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ และ (11) การปรับปรุงกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม และไม่สอดคล้องกับนโยบายด้านที่ (1) การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ (5) การยกระดับคุณภาพบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพของประชาชน และ (8) การพัฒนาและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม


การสื่อสารยุคดิจิทัลกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทย เขตคลองเตย จังหวัดกรุงเทพมหานคร, วริษฐา จีนโต Jan 2019

การสื่อสารยุคดิจิทัลกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทย เขตคลองเตย จังหวัดกรุงเทพมหานคร, วริษฐา จีนโต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่อง “การสื่อสารยุคดิจิทัลกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพนักงานการท่าเรือแห่ง ประเทศไทย เขตคลองเตย จังหวัดกรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ด้านสุขภาพของพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทย และศึกษาปัจจัยการใช้สื่อสังคมด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทย เขตคลองเตย จังหวัดกรุงเทพมหานคร ที่ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน(Mixed Method) คือ วิจัยเชิงปริมาณและวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสำรวจด้วยแบบสอบถามออนไลน์ จำนวน 100 ชุด สถิติที่ใช้ประกอบด้วยสถิติเชิงบรรยาย (Descriptive statistics) ได้แก่ สถิติค่าความถี่(Frequency) ค่าร้อยละ(Percent) ค่าเฉลี่ย(Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard deviation) สถิติเชิงอนุมาน (Inferential statistics) ได้แก่ การทดสอบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่มีความเป็นอิสระต่อกัน(Independent Sample T-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว(One way ANOVA) การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียรสัน(Pearson’s Correlation) และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียแมน(Spearman’s Correlation) ผลการเก็บข้อมูลจากการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 100 คน พบว่า พนักงานการท่าเรือแห่ง ประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ช่วงอายุ 30-39 ปี มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี ส่วนใหญ่มีรายได้ต่อเดือนตั้งแต่ 20,001-30,000 บาท และผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัว คิดเป็นร้อยละ 78 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อรับข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพผ่านสื่อเฟซบุ๊ก(Facebook) คิดเป็นร้อยละ 86 ส่วนการรับข้อมูลด้านสุขภาพผ่านสื่อออนไลน์ของหน่วยงานการท่าเรือฯ ส่วนใหญ่รับสื่อผ่านช่องทางไลน์(Line) จากหน่วยงานสำนักแพทย์และอนามัยการท่าเรือแห่งประเทศไทย ได้รับประโยชน์ด้านความรู้เบื้องต้นในการดูแลสุขภาพและสังเกตความผิดปกติของตนเอง ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพด้านการป้องกันโรคอยู่ในระดับสูง ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุและรายได้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพด้านการป้องกันโรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทัศนคติการรับข่าวสารด้านสุขภาพผ่านสื่อออนไลน์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพด้าน การจัดการความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความถี่ของสื่อสุขภาพออนไลน์ของหน่วยงาน การท่าเรือฯที่กระตุ้นให้มีการดูแลสุขภาพมากขึ้นมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพด้านการจัดการความเครียดและการป้องกันโรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


กรอบความคิด (Mindset) กับผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงาน กรณีศึกษา บุคลากรสายสนับสนุนภายใต้สำนักงานมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อังศวีร์ เครือแก้ว Jan 2019

กรอบความคิด (Mindset) กับผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงาน กรณีศึกษา บุคลากรสายสนับสนุนภายใต้สำนักงานมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อังศวีร์ เครือแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ครั้งนี้เป็นการศึกษากรอบความคิดกับผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนภายใต้สำนักงานมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับกรอบความคิดและเปรียบเทียบระดับกรอบความคิด ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานและผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงาน ศึกษาความสัมพันธ์กรอบความคิดกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน และศึกษาความสัมพันธ์กรอบความคิดกับผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงาน ผลการศึกษาสามารถสรุปได้ดังนี้ 1) ปัจจัยด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง ระดับ P และลักษณะงานที่แตกต่างกันมีกรอบความคิดไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนปัจจัยด้านอายุงานที่แตกต่างกันมีกรอบความคิดแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานโดยภาพรวมมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับกรอบความคิด ที่ระดับ Growth Mindset with some Fixed ideas โดยสัมพันธ์กันในระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับกรอบความคิด ที่ระดับ Strong Growth Mindset และระดับ Fixed Mindset with some Growth ideas 3) กรอบความคิด (mindset) ระดับ Strong Growth Mindset ระดับ Growth Mindset with some Fixed ideas และระดับ Fixed Mindset with some Growth ideas ทั้ง 3 ระดับ ไม่มีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงาน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ 4) กรอบความคิด (mindset) ระดับ Strong Growth Mindset ระดับ Growth Mindset with some Fixed ideas และระดับ Fixed Mindset with some Growth ideas ทั้ง 3 ระดับ ไม่มีความสัมพันธ์กับผลการประเมินประจำปีเช่นกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้


แนวทางในการปฏิบัติของกรมราชทัณฑ์ต่อผู้ต้องขังหญิงที่เคยตกเป็นเหยื่อความรุนแรงในครอบครัว, จุฑามาศ จุลจันทรังษี Jan 2019

แนวทางในการปฏิบัติของกรมราชทัณฑ์ต่อผู้ต้องขังหญิงที่เคยตกเป็นเหยื่อความรุนแรงในครอบครัว, จุฑามาศ จุลจันทรังษี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อศึกษาบทบาทของกรมราชทัณฑ์เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงที่เคยตกเป็นเหยื่อความรุนแรงในครอบครัว เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงที่เคยตกเป็นเหยื่อความรุนแรงในครอบครัว และเพื่อพัฒนาแนวทางการปฏิบัติของกรมราชทัณฑ์ต่อผู้ต้องขังหญิงที่เคยตกเป็นเหยื่อความรุนแรงในครอบครัว โดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 ท่าน ได้แก่ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านอาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา ผู้อำนวยการและเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการจากทัณฑสถานหญิงชลบุรี ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า บทบาทของกรมราชทัณฑ์ในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงที่เคยตกเหยื่อความรุนแรงในครอบครัวภายใต้การดูแลของกรมราชทัณฑ์ปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังที่ยึดหลักสิทธิมนุษยชนตามกฎหมายรัฐธรรมนูญและข้อกำหนดกรุงเทพ (Bangkok Rules) เป็นหลักการสำคัญในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงมีบทบาทสำคัญ 5 ด้าน ได้แก่ 1) บทบาทด้านการจำแนกและรับตัวผู้ต้องขังหญิง 2) บทบาทด้านสุขภาพอนามัย 3) บทบาทด้านการจัดการสภาพแวดล้อมและอาคารสถานที่ 4) บทบาทด้านการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะอาชีพเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย และ5) บทบาทด้านการติดตามหลังพ้นโทษ นอกจากนี้พบว่าการปฏิบัติงานของกรมราชทัณฑ์ปัจจุบันมีปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งจากภายในและจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของกรมราชทัณฑ์ ทั้งนี้กรมราชทัณฑ์ควรประสานความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ เพื่อยกระดับคุณภาพการดูแลผู้ต้องขังหญิงที่กระทำผิดเนื่องจากเคยตกเป็นเหยื่อความรุนแรงในครอบครัวอย่างเหมาะสมต่อไป


ความกลัวต่อการตัดสินใจกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดของผู้ต้องขังที่เคยกระทำผิดซ้ำ, จุฬารัตน์ รัฐพิทักษ์สันติ Jan 2019

ความกลัวต่อการตัดสินใจกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดของผู้ต้องขังที่เคยกระทำผิดซ้ำ, จุฬารัตน์ รัฐพิทักษ์สันติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเรื่อง “ความกลัวต่อการตัดสินใจกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดของผู้ต้องขังที่เคยกระทำผิดซ้ำ” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความกลัวต่อการตัดสินใจกระทำผิดซ้ำ ประเภทความกลัวต่อการตัดสินใจกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังที่กระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติด และใช้ผลการศึกษาเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังและผู้พ้นโทษเพื่อป้องกันการกระทำผิดซ้ำ การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) และใช้วิธีการเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือผู้ต้องขังที่เคยกระทำผิดซ้ำตั้งแต่ 1 ครั้งขึ้นไป จำนวน 9 คน ในเรือนจำพิเศษมีนบุรี ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังที่เคยกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติด คือ ปัจจัยด้านภูมิหลัง ได้แก่ ครอบครัว การศึกษา สภาพแวดล้อม การคบเพื่อน อาชีพ และรายได้ ปัจจัยด้านจิตใจ ได้แก่ การคิดก่อนกระทำผิด ความรู้สึกแปลกแยก และปัจจัยด้านสังคม ได้แก่ ความกดดันทางสังคม พันธะทางสังคม ประสบการณ์การใช้ชีวิตในเรือนจำ ประสบการณ์การใช้ชีวิตหลังได้รับการปล่อยตัวก่อนกระทำผิดซ้ำ และการถูกตีตรา 2) ความกลัวที่มีผลต่อการตัดสินใจกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดมากที่สุดคือความกลัวต่อการสูญสิ้นอัตตา รองลงมาคือความกลัวต่อการสูญเสียที่เกี่ยวกับชีวิตกับความกลัวต่อการโดนทอดทิ้ง และความกลัวต่อการสูญเสียอิสรภาพของตนเอง โดยความกลัวต่อความพิกลพิการไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติด ข้อเสนอแนะต่อแนวทางในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังและผู้พ้นโทษของการศึกษานี้ ได้แก่ การนำปัจจัยด้านต่าง ๆ เช่น ครอบครัว ศาสนา อาชีพ และรายได้ มาใช้ในการส่งเสริมและพัฒนาพฤติกรรมของผู้ต้องขัง นำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนการคืนคนดีสู่สังคม และลดอุปสรรคที่ส่งผลให้เกิดความกลัวต่อการตัดสินใจกระทำผิดซ้ำ เช่น ความกดดันทางสังคม การถูกตีตรา เพื่อให้ผู้ต้องขังและผู้พ้นโทษสามารถรับมือกับความกลัวต่อการตัดสินใจกระทำผิดซ้ำได้อย่างถูกต้อง


พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550: จากเจตนารมณ์สู่การปฏิบัติ, ฐานา วิบูลย์ภาณุเวช Jan 2019

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550: จากเจตนารมณ์สู่การปฏิบัติ, ฐานา วิบูลย์ภาณุเวช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและสถานการณ์ของสตรีที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว หลังจากที่มีการนำพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ไปบังคับใช้ 2) เพื่อศึกษาแนวคิด ที่มา เจตนารมณ์และกระบวนการออกพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 โดยศึกษาเปรียบเทียบจากปฏิญญาว่าด้วยการขจัดความรุนแรงต่อสตรี (Declaration on the Elimination of Violence Against Women) 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และผลกระทบต่อหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมาย สตรีที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรง และผลกระทบต่อสังคม ในการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 และ 4) เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของกระบวนการออกกฎหมายและบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวเพื่อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงพัฒนากระบวนการออกกฎหมาย และการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อเสริมพลังสตรีที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรง โดยผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ และใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interviews) เพื่อรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่าเจตนารมณ์ในการออกกฎหมายคือ 1) เพื่อเปิดโอกาสให้รัฐและประชาชนเข้ามามีส่วนในการรักษาสิทธิต่อเด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัวได้รับความคุ้มครองจากการใช้ความรุนแรงและการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม 2) เพื่อใช้กฎหมายคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวแทนการใช้กฎหมายอาญา กรณีการกระทำความรุนแรงในครอบครัว 3) เพื่อแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิด และปกป้องคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรง 4) เพื่อรักษาสถานภาพความเป็นครอบครัว เมื่อนำพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ไปใช้บังคับ พบว่ามีปัญหาหลัก 5 ประการ ดังนี้ 1) ในมาตรา 5 ต้องให้มีการร้องทุกข์ให้เป็นคดีก่อนแล้วจึงมีกลไกในการคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว การฟื้นฟูและปรับปรุงพฤติกรรม 2) เปิดโอกาสให้ยอมความได้ในทุกชั้นของกระบวนการยุติธรรม 3) เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่ประสานกันระหว่างหน่วยงานเป็นไปด้วยความยากลำบาก 4) ความไม่รู้กฎหมายของประชาชน และ 5) มีงบประมาณไม่เพียงพอสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการ สิ่งเหล่านี้ควรเร่งแก้ไขปรับปรุงให้กฎหมายมีความชัดเจน สร้างแนวทางการปฏิบัติงานให้เจ้าหน้าที่ ตลอดจนสร้างความรู้เรื่องกฎหมายให้ประชาชนทุกกลุ่มเข้าถึงได้เพื่อให้ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงสามารถใช้กฎหมายดังกล่าวเพื่อปกป้องสิทธิของตนเองได้


การศึกษามาตรการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ต่อสถาบันการเงิน, ปรมัตถ์ ไวรักษ์ Jan 2019

การศึกษามาตรการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ต่อสถาบันการเงิน, ปรมัตถ์ ไวรักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของธนาคารกลางของไทยในการกำกับดูแลสถาบันการเงินต่อการบังคับใช้มาตรการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และศึกษาถึงแนวทางการสร้างความร่วมมือระหว่างกลุ่มสถาบันการเงิน โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยเทคนิคการวิจัยเอกสารร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึก จากกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม แบ่งเป็น ผู้ปฏิบัติงานในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศกลุ่มสถาบันการเงิน ผู้ปฏิบัติงานจากสายงานกระบวนการยุติธรรมหรือสายกฎหมาย และผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านการจัดการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ผลการศึกษา พบว่า 1) บทบาทที่สำคัญของธนาคารกลางของไทย คือ การวางกรอบแนวทางการรับมือภัยคุกคามไซเบอร์ โดยมีการกำหนดเป็นมาตรการและนโยบายต่าง ๆ ร่วมกับการตรวจสอบกำกับดูแล และการเผยแพร่ความรู้ให้แก่ภาคประชาชน 2) ธนาคารกลางของไทยมีการสร้างความร่วมมือกับกลุ่มสถาบันการเงินและองค์กรอื่น ๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อแบ่งปันข้อมูลข่าวสารด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดทักษะความรู้ใหม่ ๆ ในการร่วมมือกันแก้ปัญหาภัยคุกคามไซเบอร์ ข้อเสนอแนะจากการศึกษานี้สามารถแบ่งได้เป็น 2 ด้าน คือ ด้านการปฏิบัติการ สถาบันการเงินควรมีการฝึกซ้อมรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ ไปพร้อมกับการสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ภาคประชาชนในเชิงรุก รวมทั้งสร้างเครือข่ายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในภาคการเงิน ด้านการออกนโยบาย เสนอให้เพิ่มบทลงโทษสถาบันการเงินจากการไม่ปฏิบัติตามมาตรการที่บังคับใช้ และเสนอให้มีการสร้างความร่วมมือกับภาครัฐปรับหลักสูตรการเรียนการสอนให้มีบทเรียนเกี่ยวกับภัยคุกคามไซเบอร์และมาตรการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์


การนำนโยบายเพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาแรงงานเด็กข้ามชาติในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล, ปานชนก ชูหนู Jan 2019

การนำนโยบายเพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาแรงงานเด็กข้ามชาติในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล, ปานชนก ชูหนู

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำนโยบายและแผนระดับชาติเพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายมาปฏิบัติกับแรงงานเด็กข้ามชาติในกิจการอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล พร้อมทั้งศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการมาปฏิบัติ โดยวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่เก็บข้อมูลด้วยเทคนิคการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์แบบเชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 4 กลุ่มประชากรที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการในส่วนขององค์กรภาครัฐ 9 คน เจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชน จำนวน 3 คน เจ้าหน้าที่องค์การระหว่างประเทศ จำนวน 1 คน และ ตัวแทนนายจ้างในสถานประกอบกิจการแปรรูปสัตว์น้ำ จำนวน 3 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพปัญหาการละเมิดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย กอปรกับการให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 182 จึงก่อให้เกิดนโยบายและแผนระดับชาติฯ ฉบับนี้ขึ้นมา 2) การนำนโยบายและแผนระดับชาติฯ ไปปฏิบัตินั้นดำเนินงานผ่าน 5 ยุทธศาสตร์ คือ การป้องกันการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย การช่วยเหลือและคุ้มครองแรงงานเด็กจากการทำงานในรูปแบบที่เลวร้าย การพัฒนาและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาความร่วมมือระหว่างองค์กรภาคีเครือข่าย การพัฒนาระบบบริหารจัดการและการติดตามประเมินผล และ 3) ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดปัญหาและอุปสรรคต่อการนำนโยบายและแผนระดับชาติฯ ไปปฏิบัติที่สามารถแบ่งออกเป็น 5 ปัจจัยคือ 1. ความสามารถในการจัดการปัญหา คือ การจัดการปัญหาของการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย ความซับซ้อนเชิงพฤติกรรมของนายจ้าง ลูกจ้าง และเจ้าหน้าที่ผู้เข้าไปตรวจสอบและดำเนินการทางกฎหมายกับสถานประกอบกิจการ 2. ลักษณะของตัวนโยบายและแผนระดับชาติฯ คือการตรานโยบายและแผนระดับชาติฯ ที่ไม่เอื้อต่อการแก้ไขปัญหา การเขียนรายละเอียดของการนำไปปฏิบัติแบบภาพกว้าง 3.หน่วยงานที่นำนโยบายและแผนระดับชาติฯ ไปปฏิบัติ คือ การขาดความเข้าใจและความรู้สึกผูกพันในการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4.บุคลากรที่นำนโยบายและแผนระดับชาติฯ ไปปฏิบัติ คือการไม่เข้าใจในรายละเอียดและขอบข่ายงาน อาจมีผลมาจากความไม่ชัดเจนในตัวของนโยบายฯ และ 5. การติดตาม ประเมินผล การนำนโยบายและแผนระดับชาติฯ ที่ส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาและอุปสรรคในการนำไปปฏิบัติได้อย่างไม่เป็นรูปธรรม คือ ปัญหาในส่วนของการรวบรวมข้อมูล ความล่าช้าในการรายงานของหน่วยงานภาคีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และการจัดทำฐานข้อมูลเพื่อความสะดวกในการตรวจสอบย้อนกลับ


การวิเคราะห์บทบาทและการทำหน้าที่ “คนกลาง” ในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์, มณีรัตน์ ชื่นเจริญ Jan 2019

การวิเคราะห์บทบาทและการทำหน้าที่ “คนกลาง” ในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์, มณีรัตน์ ชื่นเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากผลการศึกษาพบว่าสภาพปัญหาและอุปสรรคในการทำหน้าที่ของคนกลางภายในหน่วยงานของกระบวนการยุติธรรมในสังคมไทยนั้นเกิด คนกลางยังขาดความรู้ความเข้าใจในหลักการพื้นฐานของกระบวนการยุติธรรมอย่างแท้จริง ในด้านบุคลากรปฏิบัติงานนั้นพบปัญหาในเรื่องคุณสมบัติ เทคนิค ทักษะ การสมัครใจ และความเป็นกลางของคนกลาง การมีบุคลากรที่ไม่เพียงพอ และค่าตอบแทนของบุคลากรในการปฏิบัติงานยังไม่เหมาะสม ในส่วนของปัญหาและอุปสรรคด้านกระบวนการและการบริหารจัดการในการดำเนินงานนั้นหากคนกลางไม่เตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่กระบวนการและในระหว่างการดำเนินการไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้ก็จะทำให้กระบวนการฯ ไม่สำเร็จ ส่วนทางด้านปัญหาและอุปสรรคด้านนโยบายนั้นพบว่าขาดนโยบาย แนวทาง การติดตามประเมินผลและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ต่อเนื่อง ส่วนผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบการทำหน้าที่ของคนกลางในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ระหว่างหน่วยงานกระบวนการยุติธรรมของสังคมไทยและหลักการพื้นฐานฯ ขององค์การสหประชาชาติพบว่าการทำหน้าที่ของคนกลางนั้นมีความสอดคล้องกับหลักการพื้นฐานฯ โดยคนกลางจะมีบทบาทและทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเตรียมการประชุม ดำเนินการประชุม ทำการประเมินและตอบสนองต่อความต้องการของแต่ละฝ่าย พร้อมทั้งพัฒนาและดำเนินการตามแผนลดความเสี่ยง และปฏิบัติต่อผู้เข้าร่วมอย่างเป็นธรรม บริหารจัดการเวลาให้เพียงพอสำหรับกระบวนการเพื่อให้ประสบความสำเร็จ และมีการติดตามผลทั้งกับผู้กระทำความผิดเพื่อให้มั่นใจว่าได้ปฏิบัติตามข้อตกลงแล้ว และกับผู้เสียหายว่าได้รับการชดใช้เยียวยาตามข้อตกลง ในส่วนของข้อเสนอแนะและแนวทางที่เหมาะสมในการทำหน้าที่คนกลางในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์นั้นพบว่าคนกลางควรมีองค์ความรู้และเข้าใจในหลักการอย่างแท้จริง และควรให้มีการเพิ่มบุคลาการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งจะต้องผ่านการฝึกอบรม เทคนิค และทักษะ รวมทั้งจะต้องมีนโยบายอย่างต่อเนื่องในการให้ความสำคัญและการใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์


การตีความสรรพนามสะท้อนรูปอ้างตามในภาษาไทย, กษิดิ์เดช ทรัพย์วัฒนไพศาล Jan 2019

การตีความสรรพนามสะท้อนรูปอ้างตามในภาษาไทย, กษิดิ์เดช ทรัพย์วัฒนไพศาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษา 1) การตีความสรรพนามสะท้อนรูปอ้างตามในภาษาไทย อันได้แก่ สรรพนามสะท้อนรูปเดี่ยว ตัวเอง และสรรพนามสะท้อนรูปประสม ตัวเขาเอง ตามข้อค้นพบของ Hoonchamlong (1991) ที่เสนอไว้ว่าสรรพนามสะท้อนรูปเดี่ยวใช้อ้างถึงรูปที่ถูกแทนที่เป็นประธานภายในอนุพากย์เดียวกันเท่านั้น ขณะที่สรรพนามสะท้อนรูปประสมสามารถใช้อ้างถึงรูปที่ถูกแทนที่เป็นประธานหรือกรรมที่ปรากฏภายในหรือภายนอกอนุพากย์เดียวกันก็ได้ และ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตีความสรรพนามสะท้อนรูปเดี่ยว ตัวเอง และสรรพนามสะท้อนรูปประสม ตัวเขาเอง อันได้แก่ ปัจจัยความเป็นประธาน และปัจจัยระยะห่างจากรูปอ้างตาม ผู้วิจัยใช้วิธีการทดสอบการตีความภายหลังด้วยแบบสอบถาม เพื่อทดสอบความเป็นไปได้ของการตีความสรรพนามสะท้อนรูปอ้างตามในภาษาไทยว่าเป็นไปตามข้อเสนอของ Hoonchamlong (1991) หรือไม่ ผลจากแบบสอบถามพบว่าปัจจัยความเป็นประธานของรูปที่ถูกแทนส่งผลต่อการตีความสรรพนามสะท้อนทั้งรูปเดี่ยวและรูปประสมให้อ้างถึงรูปที่ถูกแทนที่ทำหน้าที่เป็นประธานมากกว่ารูปที่ถูกแทนที่ทำหน้าที่เป็นกรรม และปัจจัยระยะห่างจากรูปอ้างตามก็ส่งผลต่อการตีความสรรพนามสะท้อนทั้งรูปเดี่ยวและรูปประสมให้อ้างถึงรูปที่ถูกแทนที่ทำหน้าที่เป็นประธานภายในอนุพากย์เดียวกันมากกว่ารูปที่ถูกแทนที่ทำหน้าที่เป็นประธานภายนอกอนุพากย์ นอกจากนี้ ผู้วิจัยใช้การทดลองทางภาษาศาสตร์จิตวิทยาแบบกำหนดเวลาอ่านด้วยตัวเอง เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการประมวลผลในระยะเวลาจริงของสรรพนามสะท้อนรูปอ้างตามในภาษาไทย การทดลองที่ 1 ศึกษาปัจจัยความเป็นประธาน ผลจากการทดลองพบว่าปัจจัยความเป็นประธานเอื้อต่อการประมวลผลประโยคที่ ตัวเอง และ ตัวเขาเอง อ้างถึงประธานได้เร็วกว่ากรรม การทดลองที่ 2 ศึกษาปัจจัยระยะห่างจากรูปอ้างตาม ผลจากการทดลองพบว่าปัจจัยระยะห่างจากรูปอ้างตามเอื้อต่อการประมวลผลประโยคที่ ตัวเอง และ ตัวเขาเอง อ้างถึงประธานภายในอนุพากย์เดียวกันได้เร็วกว่าประธานภายนอกอนุพากย์ อย่างไรก็ดี ปัจจัยทั้ง 2 ข้างต้นมีแนวโน้มที่จะส่งผลต่อการตีความสรรพนามสะท้อนรูปประสมมากกว่าสรรพนามสะท้อนรูปเดี่ยว กล่าวโดยสรุป งานวิจัยนี้ไม่เป็นไปตามข้อเสนอของ Hoonchamlong (1991) กล่าวคือทั้งสรรพนามสะท้อนรูปเดี่ยวและรูปประสมนั้นต่างมีแนวโน้มที่จะอ้างถึงรูปที่ถูกแทนที่ทำหน้าที่เป็นประธานมากกว่ากรรม หรือรูปที่ถูกแทนที่เป็นประธานภายในอนุพากย์เดียวกันมากกว่าประธานภายนอกอนุพากย์ นอกจากนี้ ในช่วงระยะเวลาหนึ่งของการทำความเข้าใจประโยคนั้น สรรพนามสะท้อนรูปประสมมีความไวต่อการตีความให้อ้างถึงรูปที่ถูกแทนที่ทำหน้าที่เป็นประธาน หรือรูปที่ถูกแทนที่เป็นประธานภายในอนุพากย์เดียวกันมากกว่าสรรพนามสะท้อนรูปเดี่ยว


การวิเคราะห์แบบรูปการกระจายทางพื้นที่และผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมของนักเรียนข้ามชาติในอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร, จริญา บุญส่ง Jan 2019

การวิเคราะห์แบบรูปการกระจายทางพื้นที่และผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมของนักเรียนข้ามชาติในอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร, จริญา บุญส่ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์แบบรูปการกระจายทางพื้นที่และผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมของนักเรียนข้ามชาติ ในอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร โดยแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 2 ส่วน คือ การวิเคราะห์แบบรูปการกระจายทางพื้นที่ของนักเรียนข้ามชาติที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยใช้โปรแกรมระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ พบว่าแบบรูปการกระจายของนักเรียนข้ามชาติสัญชาติเมียนมาในพื้นที่ศึกษาเป็นแบบเกาะกลุ่ม ส่วนแบบรูปการกระจายทางพื้นที่ของนักเรียนข้ามชาติลาว และกัมพูชา พบว่าเป็นแบบสุ่มทั้ง 2 สัญชาติ และวิเคราะห์ผลกระทบในด้านเศรษฐกิจและสังคมผ่านมุมมองของครูจากการมีนักเรียนข้ามชาติเข้าศึกษาร่วมกับนักเรียนไทยและมุมมองของผู้ปกครองของนักเรียนไทยที่มีบุตรหลานเรียนร่วมกับนักเรียนข้ามชาติ โดยวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามด้วยวิธีการทางสถิติ ทำการสำรวจด้วยแบบสอบถามจากครูและผู้ปกครองของนักเรียนไทยจำนวน 423 คน พบว่า ผลกระทบด้านเศรษฐกิจในมุมมองของครูเป็นผลกระทบในด้านบวกระดับน้อย โดยประเด็นที่ครูให้ผลกระทบด้านบวกมากที่สุด คือ การที่จำนวนนักเรียนข้ามชาติเพิ่มขึ้นส่งผลให้โรงเรียนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเงินสนับสนุนในส่วนต่าง ๆ ทั้งจากภาครัฐและเอกชน และในมุมมองของผู้ปกครองเป็นผลกระทบด้านลบระดับมาก โดยประเด็นที่ผู้ปครองให้ผลกระทบด้านลบมากที่สุด คือ เงินยากจนที่รัฐบาลจัดสรรให้สำหรับเด็กยากจนส่วนใหญ่จะตกไปอยู่กับเด็กข้ามชาติมากกว่าเด็กไทย เนื่องจากสภาพความเป็นอยู่และอาชีพของผู้ปกครอง ส่วนผลกระทบในด้านสังคมพบว่า ในมุมมองของครูเป็นผลกระทบในด้านลบระดับน้อย ประเด็นที่ครูให้ผลกระทบด้านลบมากที่สุด คือ การที่นักเรียนข้ามชาติไม่มีเอกสารยืนยันตัวตนหรือหลักฐานในการสมัครเรียนไม่ครบถ้วน ทำให้เกิดปัญหาในการบันทึกและส่งต่อข้อมูลเมื่อจบการศึกษา แต่ในมุมมองของผู้ปกครองกับพบว่ามีผลกระทบทั้งด้านบวกและลบพอ ๆ กัน


พฤติกรรมของประชาชนต่อสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารในกรุงเทพมหานคร, วิภาวี โถหินัง Jan 2019

พฤติกรรมของประชาชนต่อสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารในกรุงเทพมหานคร, วิภาวี โถหินัง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะข้อมูลประชากรศาสตร์ของประชาชนต่อพฤติกรรมการบริโภคในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาลักษณะข้อมูลประชากรศาสตร์ของประชาชนต่อสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารในกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน ต่อระดับสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารในกรุงเทพมหานคร 4) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการความมั่นคงทางอาหารของกรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลประชากรศาสตร์ของประชาชนและพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน ส่งผลต่อสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารในภาพรวมของกรุงเทพมหานครอยู่ใน “ระดับปานกลาง” โดยมีค่าเฉลี่ยความมั่นคงเท่ากับ 1.96 และกรุงเทพมหานครได้มีการบริหารจัดการความมั่นคงทางอาหารภายใต้แผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2556 - 2575) โดยมีเป้าหมายให้กรุงเทพมหานครเป็นมหานครแห่งเอเชียข้อเสนอแนะจากการศึกษา คือ 1) ด้านนโยบาย 1.1) กรุงเทพมหานครควรเพิ่มโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้ประชาชนทั่วไปโดยแบ่งกลุ่มเป้าหมายตามช่วงวัย และจัดทำโครงการฉลากอาหารทางเลือกเพื่อสุขภาพ (Healthier Choice) 1.2) รัฐบาลควรให้กรุงเทพมหานครเป็นโครงการนำร่องด้านความสะอาดและปลอดภัยของอาหารเพื่อให้มีเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ 2) ด้านบริหาร กรุงเทพมหานครควรปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การจ้างบุคลากรให้เหมาะสมและเพียงพอต่อการทำงาน 3) ด้านวิชาการกรุงเทพมหานครควรต้องมีการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหารเพื่อเตรียมรับมือกับความไม่มั่นคงทางอาหารทั้งในระยะสั้นและระยะยาว


ความเข้าใจเกี่ยวกับการคลังและงบประมาณและการมีส่วนร่วมของประชาชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย, ศิริพร จันทนสกุลวงศ์ Jan 2019

ความเข้าใจเกี่ยวกับการคลังและงบประมาณและการมีส่วนร่วมของประชาชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย, ศิริพร จันทนสกุลวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาการเปิดเผยข้อมูลด้านการคลังและงบประมาณ ความเข้าใจเกี่ยวกับการคลังและงบประมาณ การมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนและงบประมาณ และความพอใจทางการคลังและงบประมาณของประชาชนในเขตรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่อนท้องถิ่น และ2) เพื่อศึกษารูปแบบโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่าง การเปิดเผยข้อมูลด้านการคลังและงบประมาณ ความเข้าใจเกี่ยวกับการคลังและงบประมาณ และการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนและงบประมาณที่ส่งผลต่อความพอใจทางการคลังและงบประมาณ ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสานเชิงสำรวจ ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพใช้หน่วยในการวิเคราะห์ระดับกลุ่ม รวบรวมข้อมูลจากจากกรณีศึกษา 4 แห่ง คือเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด เทศบาลเมืองราชบุรี เทศบาลเมืองวังน้ำเย็น และเทศบาลเมืองกำแพงเพชร โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพและนำไปใช้ออกแบบวิธีและเครื่องมือในเชิงปริมาณ ซึ่งใช้หน่วยการวิเคราะห์ระดับปัจเจกบุคคล ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนกับประชาชนที่อยู่อาศัยในเขตเทศบาลเมืองทั้ง 4 แห่ง ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,512 คน ผลการวิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง (Strructural equation model : SEM) พบว่ารูปแบบโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการเปิดเผยข้อมูลด้านการคลังและงบประมาณ ความเข้าใจเกี่ยวกับการคลังและงบประมาณ และการมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการจัดทำแผนและงบประมาณ สามารถอธิบายความแปรปรวนของความพอใจทางการคลังและงบประมาณได้ร้อยละ 12 (R2 = 0.12) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .01


ผลกระทบของภาษีความหวานต่อราคา : กรณีศึกษาเครื่องดื่มในประเทศไทย, ธนัชพร ทิพย์กาญจนกุล Jan 2019

ผลกระทบของภาษีความหวานต่อราคา : กรณีศึกษาเครื่องดื่มในประเทศไทย, ธนัชพร ทิพย์กาญจนกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของภาษีความหวานต่อราคาเครื่องดื่ม ผ่านการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของราคาและภาระภาษีที่ถูกส่งผ่านไปยังผู้บริโภค โดยใช้ข้อมูลราคาขายปลีกของเครื่องดื่มจากกระทรวงพานิชย์ ในช่วงเวลาก่อนและหลังการเก็บภาษีความหวานรอบที่สอง 6 เดือน ซึ่งงานวิจัยนี้จะใช้วิธี difference-in-differences ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยมีกลุ่มทดลองคือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ซึ่งกลุ่มทดลองข้างต้นนี้จะถูกแบ่งเป็นกลุ่มย่อยตามปริมาณน้ำตาลที่มีในเครื่องดื่มนั้น ๆ ได้แก่กลุ่มเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลสูงมาก สูง ปานกลาง ต่ำ และต่ำมาก ตามลำดับ และทำการเทียบเครื่องดื่มกลุ่มทดลองแต่ละกลุ่มกับน้ำดื่มที่เป็นกลุ่มควบคุม ผลพบว่าในภาพรวมของราคาเครื่องดื่มที่ถูกเก็บภาษีมีการปรับตัวสูงขึ้น คิดเป็นประมาณ 0.227 บาท/100 มิลลิลิตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลปานกลางมีการเปลี่ยนแปลงของราคามากที่สุด รองลงมาคือเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลต่ำ และเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลต่ำมากตามลำดับ ส่วนเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลสูงและสูงมากไม่พบการเปลี่ยนแปลงของราคา และพบว่าในภาพรวมของเครื่องดื่มที่ถูกเก็บภาษีทั้งหมดมีการผลักภาระไปยังผู้บริโภคประมาณ 854% โดยเครื่องดื่มที่มีการผลักภาระภาษีไปยังผู้บริโภคมากที่สุดคือเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลต่ำมาก รองลงมาคือเครื่องเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลต่ำ และเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลปานกลางตามลำดับ ส่วนเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลสูงและสูงมากไม่พบการผลักภาระภาษีไปยังผู้บริโภค


The Impact Of Playful Ironic Branded Entertainment On Consumer Behavior, Phubest Phirakulwanich Jan 2019

The Impact Of Playful Ironic Branded Entertainment On Consumer Behavior, Phubest Phirakulwanich

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this study was to investigate the impact of playful ironic branded entertainment on consumer behavior, including understanding, attitude toward the brand, attitude toward the branded entertainment, source characteristics, and purchase intention, on a low-involvement product, Milo, a chocolate malt beverage. Pre-experimental setting, with static group design, was employed to collect data from 120 undergraduate students at the Faculty of Economics, Thammasat University, during April 2020. The result indicated that both playful ironic branded entertainment and non-playful ironic branded entertainment gave similar impacts on consumer behavior. Attitude toward the brand was the only sub-variable that the playful ironic …


นโยบายต่างประเทศไทย : การสมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ (1945-1946), ธนชัย นิสยันต์ Jan 2019

นโยบายต่างประเทศไทย : การสมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ (1945-1946), ธนชัย นิสยันต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาการสมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติของประเทศไทยในปี 1946 ความเป็นสมาชิกภาพขององค์การสหประชาชาติช่วยในการดำรงสถานะความเป็นรัฐเอกราชของประเทศไทยในช่วงสงครามโลก ดังจะเห็นได้ว่า ประเทศไทยไม่เป็นรัฐ ผู้แพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 เช่น ในกรณีของประเทศเยอรมนีและประเทศญี่ปุ่น ผลจากการแพ้สงครามทำให้ทั้งสองประเทศดังกล่าวถูกยึดครองโดยฝ่ายสัมพันธมิตร แต่ประเทศไทยไม่ถูกกระทำเช่นนั้น นอกจากนี้ความเป็นสมาชิกภาพขององค์การสหประชาชาติยังช่วยเปลี่ยนแปลง ภาพลักษณ์ของประเทศไทยจากความเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดกับประเทศญี่ปุ่นในช่วงสงครามอีกด้วย


การเปิดรับ ความผูกพัน และความรู้ของผู้ติดตามเฟซบุ๊กแฟนเพจของ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน), คมกฤษ ทองคำ Jan 2019

การเปิดรับ ความผูกพัน และความรู้ของผู้ติดตามเฟซบุ๊กแฟนเพจของ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน), คมกฤษ ทองคำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และอธิบายสาระของเนื้อหาและรูปแบบการนำเสนอบน เฟซบุ๊กแฟนเพจ “AOT Official” และเพื่อสำรวจ การเปิดรับ ความผูกพันต่อเนื้อหา และความรู้เกี่ยวกับ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ของผู้ติดตามเพจ โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน เริ่มจากการวิเคราะห์เอกสาร (Document Analysis) บนเฟซบุ๊กแฟนเพจ “AOT Official” ระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ.2562 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ.2563 โดยมีจำนวนโพสต์ทั้งหมด 307 โพสต์ และการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุระหว่าง 18 ขึ้นไป และเป็นสมาชิกเฟซบุ๊กแฟนเพจ “AOT Official” จำนวน 262 คน ผลการวิเคราะห์เอกสารพบว่า เฟซบุ๊กแฟนเพจ “AOT Official” นำเสนอสาระของเนื้อหาประเภทการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสังคมมากที่สุด รองลงมาคือ ประเภทข้อมูลเพื่อแสดงให้เกิดการยอมรับและการเป็นผู้เชี่ยวชาญ และประเภทข้อมูลที่แสดงถึงการให้บริการสนามบิน โดยสาระของเนื้อหา 8 ใน 10 ประเภท เป็นสาระของเนื้อหาที่เป็นการสื่อสารเพื่อประชาสัมพันธ์องค์กรและสร้างภาพลักษณ์ ในส่วนของรูปแบบการนำเสนอเนื้อหาบนเฟซบุ๊กแฟนเพจ “AOT Official” ที่พบมากที่สุดคือ การแชร์โพสต์ (Shared Post) รองลงมาคือ รูปแบบการนำเสนอเนื้อหาแบบรูปภาพ (Photos) การโพสต์แบบลิงก์ (Links) ตามด้วยรูปแบบวิดีโอ (Videos) และการอัปเดตสถานะ ตามลำดับ ผลการวิจัยเชิงสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างเปิดรับเนื้อหาโดยพบเห็นโพสต์จากหน้า News Feed ของตนเองอยู่ในระดับ 2 - 3 วันต่อสัปดาห์ ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างใช้ระยะเวลาในการเปิดรับในแต่ละครั้งอยู่ระหว่าง 1 นาทีขึ้นไป – 5 นาที นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างมีความผูกพันต่อเนื้อหาบนเฟซบุ๊กแฟนเพจ “AOT Official” โดยรวมอยู่ในระดับต่ำและแสดงออกโดยการกดไลก์มากที่สุด ในขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) อยู่ในระดับสูง ผลการทดสอบสมมติฐานสรุปว่า การเปิดรับเนื้อหามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความผูกพันต่อเนื้อหาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งนี้เป็นความสัมพันธ์ระดับปานกลาง โดยมีทิศทางแบบแปรผันตามกัน ความผูกพันต่อเนื้อหามีความสัมพันธ์กับความรู้เกี่ยวกับ …


Access To Higher Education, Job Mismatch, And Wage Penalties In Thailand, Palita Saripan Jan 2019

Access To Higher Education, Job Mismatch, And Wage Penalties In Thailand, Palita Saripan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study considers whether close proximity to higher education institutions increases the probability of earning a bachelor’s degree, overeducation, and horizontal mismatch between degree and occupation. Using data from the 2015 and 2016 Labor Force Survey of the National Statistical Office of Thailand, and jobs data from the Ministry of Labor, we find that individuals living in provinces with research or Rajabhat universities are more likely to earn a bachelor’s degree, but does not increase the probability of being overeducated for their job. In addition, we find larger overeducation penalties in provinces with universities. Finally, qualitative analysis shows that demand …


ผู้มีอิทธิพลทางความคิดระดับจุลภาคแนวไลฟ์สไตล์บนอินสตาแกรม การสื่อสารผ่านภาพ และความผูกพันของผู้ติดตาม, พีร์ บุญวิวัฒนาการ Jan 2019

ผู้มีอิทธิพลทางความคิดระดับจุลภาคแนวไลฟ์สไตล์บนอินสตาแกรม การสื่อสารผ่านภาพ และความผูกพันของผู้ติดตาม, พีร์ บุญวิวัฒนาการ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลเชิงลึกของผู้มีอิทธิพลทางความคิดระดับจุลภาคแนวไลฟ์สไตล์บนอินสตาแกรม การสื่อสารผ่านภาพ และความผูกพันของผู้ติดตาม โดยใช้วิธีวิจัย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) สัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าของเพจไลฟ์สไตล์ 3 เพจ และวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้อง 2) วิเคราะห์ภาพโดยใช้ชุดภาพบนหน้าหลักจากแต่ละเพจ 3 ภาพ 3) สัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ติดตามเพจที่มีความผูกพันสูง 15 คน ผลการวิจัยด้านข้อมูลเชิงลึกพบว่า ผู้มีอิทธิพลทางความคิดระดับจุลภาคแนวไลฟ์สไตล์บน อินสตาแกรม มีภูมิหลังที่สนใจกิจกรรมนอกห้องเรียน เป็นกลุ่มคนเจเนอเรชั่นวายที่เติบโตในเมืองหลวง มีการศึกษาสูง และเป็นผู้ที่มีความสามารถพิเศษ มีที่มาจากการเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการเล่นแอปพลิเคชันอินสตาแกรม โดยจุดเปลี่ยนเริ่มขึ้นจากการทดลองเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ มีแนวคิดหลักในการนำเสนอเนื้อหาที่ให้พลังด้านบวกและเอกลักษณ์ส่วนตัวของตัวเอง ผลงานมีการสื่อสารแบบตรงประเด็นชัดเจน รวมถึงมีเทคนิคที่ช่วยส่งเสริมให้ผลงานมีความน่าสนใจมากขึ้น มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นในด้านความสดใสร่าเริงและความเป็นตัวของตัวเอง มีไลฟ์สไตล์ที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวและชอบไปร้านกาแฟ การสื่อสารผ่านภาพบนอินสตาแกรมเพจไลฟ์สไตล์พบว่า ด้านเนื้อหามีการสื่อความหมายโดยตรง และชัดเจน ด้านของสีมีการใช้โทนพาสเทลที่มีความละมุน ด้านการจัดองค์ประกอบเชิงพื้นที่จะมีการสร้างจุดสนใจในภาพเสมอ ด้านแสงมีการใช้แสงแบบนุ่มนวลที่มีความสว่าง และด้านการแสดงออกของอารมณ์ภาพในภาพรวมจะสื่อถึงไลฟ์สไตล์ที่มีความสดใส ความเยาว์วัยและเป็นด้านบวก ด้านความผูกพันของผู้ติดตามที่มีต่อเนื้อหาพบว่า ผู้ติดตามมีการกดถูกใจเป็นประจำ กดบันทึกและแบ่งปันเนื้อหาค่อนข้างบ่อย แต่มีการแสดงความคิดเห็นที่ค่อนข้างน้อย ส่วนความผูกพันของผู้ติดตามที่มีต่อตัวบุคคลพบว่า ผู้ติดตามมีการสร้างความผูกพันใกล้ชิด เนื่องจากต้องการติดตามเนื้อหาอย่างใกล้ชิดและไม่ให้พลาด ผู้ติดตามมีความหลงใหลและชื่นชอบในตัวตนของเจ้าของเพจ และผู้ติดตามเกิดความผูกมัดที่มีความตั้งใจจะติดตามและสนับสนุนเจ้าของเพจตลอดไป


การเปิดรับ ทัศนคติ และการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคที่มีต่อโฆษณาเครื่องสำอางเกาหลีที่มี“กนมีนัม” (Flower Boy) เป็นผู้นำเสนอ, เวธกา พฤษศิริสมบัติ Jan 2019

การเปิดรับ ทัศนคติ และการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคที่มีต่อโฆษณาเครื่องสำอางเกาหลีที่มี“กนมีนัม” (Flower Boy) เป็นผู้นำเสนอ, เวธกา พฤษศิริสมบัติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เอกสารมี วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อวิเคราะห์รูปแบบของโฆษณาเครื่องสำอางเกาหลีที่มี “กนมีนัม” เป็น ผู้นำเสนอสินค้าที่เผยแพร่บนอินสตาแกรมและเฟซบุ๊กของตราสินค้า และการวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิธี การวิจัยเชิงสำรวจเพื่อสำรวจและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับ ทัศนคติ และการตัดสินใจซื้อของ ผู้บริโภคที่มีต่อโฆษณาเครื่องสำอางเกาหลีที่มี “กนมีนัม” เป็นผู้นำเสนอสินค้า ใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็น เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คนที่มีอายุ 23-39 ปีและอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า โฆษณาเครื่องสำอางเกาหลีที่มี “กนมีนัม” เป็นผู้นำเสนอสินค้าจำแนกได้เป็น 26 รูปแบบ โดยรูปแบบที่ใช้มากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) โฆษณาที่ใช้จุดดึงดูดใจด้านดาราและผู้รับรองสินค้า (Star Appeals and Testimonials) ร่วมกับวิธีนำเสนอความคิดสร้างสรรค์แบบจินตภาพ (Imagery) อันดับที่ 2) โฆษณาที่ใช้จุดดึงดูดใจด้านดาราและผู้รับรองสินค้า (Star Appeals and Testimonials) ร่วมกับวิธีนำเสนอความคิดสร้างสรรค์แบบการใช้บุคคลอ้างอิงหรือผู้นำเสนอสินค้า (Testimonial/Presenter) อันดับที่ 3) โฆษณาที่ใช้จุดดึงดูดใจด้านคุณภาพ (Quality Appeals) ร่วมกับวิธีนำเสนอความคิดสร้างสรรค์แบบการใช้บุคคลอ้างอิงหรือผู้นำเสนอสินค้า (Testimonial/Presenter) และผลการวิจัยเชิงสำรวจพบว่า ผู้บริโภคมีระดับการเปิดรับโฆษณาสูง มีทัศนคติเชิงบวกต่อโฆษณาและมีการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางที่มี “กนมีนัม” เป็นผู้นำเสนอสินค้าอยู่ในระดับสูง ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า การเปิดรับโฆษณาเครื่องสำอางที่มี “กนมีนัม” เป็นผู้นำเสนอสินค้ามีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อโฆษณาของผู้บริโภค กล่าวคือ หากผู้บริโภคมีการเปิดรับโฆษณาสูงจะมีทัศนคติเชิงบวกต่อโฆษณาด้วย และทัศนคติต่อโฆษณามีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อ โดยหากผู้บริโภคมีทัศนคติเชิงบวกต่อโฆษณาเครื่องสำอางที่มี “กนมีนัม” เป็นผู้นำเสนอสินค้าจะมีแนวโน้มการตัดสินใจซื้อสินค้าสูงตามไปด้วย


การเตรียมความพร้อมของบุคลากรภาครัฐไทยสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล, ณภัทช์ฐนัน ศักดิ์เจริญกุล Jan 2019

การเตรียมความพร้อมของบุคลากรภาครัฐไทยสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล, ณภัทช์ฐนัน ศักดิ์เจริญกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางปฏิบัติเพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะเทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรภาครัฐและเพื่อวิเคราะห์กระบวนการการพัฒนาทักษะเทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรภาครัฐด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ การรวบรวมข้อมูลใช้วิธีศึกษาเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึก และสังเกตการณ์ ผู้วิจัยเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลโดยยึดตามวัตถุประสงค์ ได้แก่ กลุ่มแรก ผู้กำหนดนโยบายและทิศทางของหน่วยงานที่รับผิดชอบการพัฒนาบุคลากรภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรภาครัฐ และกลุ่มสอง ผู้รับผิดชอบนำนโยบายการพัฒนาทักษะเทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรภาครัฐจากฝ่ายบริหารไปปฏิบัติและควบคุมการทำงานของหน่วยงานให้เป็นไปตามนโยบาย รวมทั้งหมด 6 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การกำหนดรหัสและจัดกลุ่มข้อมูลเชิงคุณภาพและใช้เทคนิควิเคราะห์ตามประเภทเนื้อหาโดยจำแนกข้อมูลผ่านการวิเคราะห์คำหลัก แล้วนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ การศึกษาพบว่า (1) แนวทางปฏิบัติเพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของบุคลากรภาครัฐเพื่อรองรับการเป็นรัฐบาลดิจิทัล ได้มีการกำหนดแนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีดิจิทัลภาครัฐออกเป็น 3 ระยะได้แก่ ระยะเริ่มต้น, ระยะการพัฒนา และระยะสมบูรณ์ มากกว่านั้นได้แบ่งกลุ่มเป้าหมายการพัฒนาทักษะดิจิทัลของบุคลากรภาครัฐเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารระดับสูง, กลุ่มผู้อำนวยการ, ผู้ทำงานด้านนโยบายและงานวิชาการ, ผู้ทำงานด้านบริการ, ผู้ปฏิบัติงานเฉพาะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และผู้ปฏิบัติงานอื่นๆ โดยจำแนกบทบาทและพฤติกรรมที่คาดหวังของบุคลากรแต่ละกลุ่มในการปรับเปลี่ยนภาครัฐเป็นรัฐบาลดิจิทัลรวม 18 บทบาท รวมทั้งกำหนดทักษะด้านดิจิทัลของบุคลากรภาครัฐออกเป็น 5 มิติการเรียนรู้ 7 กลุ่มทักษะ และ (2) กระบวนการพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีของบุคลากรภาครัฐมีกลไกในการพัฒนา 3 กลไก คือ การฝึกอบรมแบบเข้าชั้นเรียน, การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการปรับโครงสร้างหน่วยงาน เมื่อคาดการณ์อีก 10 ปีข้างหน้า พ.ศ. 2569 การพัฒนาโดยการฝึกอบรมทั้งการเข้าชั้นเรียนและการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ที่กำหนดไว้น่าจะไม่เพียงพอต่อการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะดิจิทัลตามที่กำหนด ภาครัฐควรการนำบล็อกเชนแบบคอนซอเทียมมาประยุกต์ใช้เพื่อรวบรวมหลักสูตรฝึกอบรม


กระบวนการสร้างกรอบโครงความคิดของขบวนการเสื้อแดง จังหวัดขอนแก่น, ชุติเดช สำเร็จ Jan 2019

กระบวนการสร้างกรอบโครงความคิดของขบวนการเสื้อแดง จังหวัดขอนแก่น, ชุติเดช สำเร็จ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ อธิบายความขัดแย้งทางการเมืองไทยในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ผ่านการวิเคราะห์ขบวนการเสื้อแดง จังหวัดขอนแก่น โดยใช้ทฤษฎีกรอบโครงความคิด (framing) เป็นเครื่องมือหลักในการทำความเข้าใจขบวนการ วิธีการดำเนินเลือกใช้การวิจัยด้านเอกสาร (documentary research) การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-dept interview) ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า (oral history) และการสนทนากลุ่ม (focus group) ของผู้นำและมวลชนคนเสื้อแดงจังหวัดขอนแก่น งานศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่ากรอบโครงความคิดของความอยุติธรรม (injustice frame) เป็นกรอบโครงความคิดหลัก (master frame) ของขบวนการเสื้อแดงเชื่อมโยงรวบรวมความคิดทางการเมืองของชาวบ้านที่หลากหลาย อยู่กระจัดกระจายและอ่อนแอได้ กรอบโครงความคิดที่ถูกสร้างขึ้นได้ร้อยรัดทัศนคติที่แตกต่างกันของปัจเจกบุคคล และสร้างความหมายร่วมกันของคนเสื้อแดงลุกขึ้นมามีปฏิบัติการทางการเมือง อย่างไรก็ตามกระบวนการสร้างกรอบโครงความคิดของขบวนการเสื้อแดงก็มิได้เป็นไปอย่างง่ายดาย แต่ทว่างานศึกษานี้ค้นพบกระบวนการตอบโต้กรอบโครงความคิด (counter framing) การปะทะ ต่อสู้ ต่อรองของมวลชนในฐานะผู้กระทำการทางการเมือง (political actor) มวลชนมิได้นำเชื่อกรอบโครงความคิดที่ถูกผลิตขึ้นอย่างง่ายดาย จนในบางครั้งมวลชนเองก็มีความพยายามที่จะลบล้างเพื่อสร้างกรอบโครงความคิดใหม่ขึ้นมาทดแทน (reframing)


ทรราชในปรัชญาการเมืองของฮอบส์, หัสนัย สุขเจริญ Jan 2019

ทรราชในปรัชญาการเมืองของฮอบส์, หัสนัย สุขเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์ที่จะศึกษารากฐานที่มาและความเข้าใจของการที่ฮอบส์สลายเส้นแบ่งระหว่างรูปแบบการปกครองที่ถูกและรูปแบบการปกครองที่ผิด/บกพร่อง อันนำไปสู่รูปแบบการปกครองของฮอบส์ที่ปฏิเสธการดำรงอยู่ของทรราช ผลการศึกษาพบว่า ในทรรศนะของฮอบส์นั้น เขาได้เสนอว่า ชื่อเรียกของรูปแบบการปกครองนั้นไม่ได้มีความหมายอะไรมากไปกว่าชื่อเรียกที่ประชาชนรู้สึกชอบหรือไม่ชอบเท่านั้น ดังนั้น ชื่อเรียกของรูปแบบการปกครองจึงไม่ได้มีสาระสำคัญอะไรเลย ทั้งนี้ รากฐานความคิดดังกล่าวมาจากความคิดของฮอบส์เรื่องธรรมชาติของมนุษย์ซึ่งวางอยู่บนฐานคำอธิบายมนุษย์อันมีลักษณะเชิงกลไก สำหรับฮอบส์แล้ว มนุษย์ถูกขับเคลื่อนด้วยความเกลียดชัง (ความตาย) และความปรารถนาอยาก (อำนาจ ชื่อเสียง ความรุ่งโรจน์) มนุษย์แต่ละคนต่างเป็นผู้กำหนดนิยามความหมายของคุณธรรมและศีลธรรมด้วยตนเอง กระทั่งนำไปสู่สภาวะธรรมชาติที่เรียกได้ว่าเป็นสงครามของทุก ๆ คนต่อต้านทุก ๆ คน ในสภาวะเช่นนั้นมนุษย์ทุกคนเต็มไปด้วยความรู้สึกกลัวในความตายอันทารุณโหดร้าย ความกลัวดังกล่าวเป็นแรงผลักดันให้มนุษย์ใช้สิทธิตามธรรมชาติในการรักษาชีวิตของตนเองให้รอดพ้นจากความตาย และความกลัวดังกล่าวยังเป็นแรงผลักดันไปสู่การสร้างองค์อธิปัตย์หรือรัฐขึ้นมา ทั้งนี้ ไม่ว่าประชาชนจะเรียกองค์อธิปัตย์ว่าอะไรนั้นไม่ได้มีความสำคัญอะไรเลย สิ่งที่สำคัญเพียงประการเดียวเท่านั้น คือ อำนาจสูงสุดเบ็ดเสร็จขององค์อธิปัตย์ที่สามารถสร้างให้เกิดสันติสุขและความสงบเรียบร้อย ภายใต้รูปแบบการปกครองดังกล่าวนี้ ประชาชนล้วนอยู่ภายใต้อำนาจและเจตจำนงขององค์อธิปัตย์ อย่างไรก็ดี แม้ว่าฮอบส์จะปฏิเสธการมีอยู่ของทรราช แต่นักวิชาการปัจจุบันจำนวนหนึ่งตีความว่า ปรัชญาการเมืองของฮอบส์เป็นรากฐานอันหนึ่งที่รองรับทรราชสมัยใหม่


The Relationship Between Brand Experience And Brand Equity Of Marimekko, Bundaree Deewong Jan 2019

The Relationship Between Brand Experience And Brand Equity Of Marimekko, Bundaree Deewong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objectives of this research are as of following: to explore brand experience and brand equity of Marimekko and to explore the relationship among these two variables. The respondents of this research are two hundred and three Thai women who are first-jobbers, living in Bangkok, aged between 18 to 25 years old and recently bought Marimekko’s products in the past six months. The results depicted that the respondents had a positive opinion on brand experience of Marimekko (M = 3.67). Emotional experience receives the highest mean score (M = 4.18). In contrast, the lowest mean score was social experience (M …


เส้นทางชีวิตของนักโทษหญิงที่กระทำผิดซ้ำคดียาเสพติด, ตฤณห์ โพธิ์รักษา Jan 2019

เส้นทางชีวิตของนักโทษหญิงที่กระทำผิดซ้ำคดียาเสพติด, ตฤณห์ โพธิ์รักษา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง เส้นทางชีวิตการกระทำผิดของผู้ต้องขังหญิงที่กระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติด เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บข้อมูลจากผู้ต้องขังหญิงจำนวน 7 คน จากทัณฑสถานหญิงกลาง กรุงเทพมหานคร การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเส้นทางชีวิตการกระทำผิดของผู้ต้องขังหญิงที่กระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติด โดยก่อคดีตั้งแต่ครั้งยังเป็นเด็กและเยาวชน และเพื่อศึกษามูลเหตุจูงใจของการก่ออาชญากรรมของผู้ต้องขังหญิงที่กระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติด โดยก่อคดีตั้งแต่ครั้งยังเป็นเด็กและเยาวชน จากนั้นจะเป็นการศึกษาเพื่อสร้างแนวทางในการป้องกันการกระทำผิดของเด็ก เยาวชนและผู้หญิง ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังหญิงในคดีเกี่ยวกับยาเสพติด โดยก่อคดีแรกครั้งยังเป็นเด็กและ เยาวชน มีมูลเหตุจูงใจมาจากปัจจัยด้านอายุ ครอบครัว กลุ่มเพื่อนในขณะที่เริ่มเสพยาเสพติด สภาพจิตใจ สภาพสังคม การศึกษา การติดยาและการบำบัด และสภาพเศรษฐกิจ โดยเรียงลำดับจากมูลเหตุจูงใจที่เกี่ยวข้องจากมากไปน้อยตามลำดับ มูลเหตุจูงใจด้านอายุที่เริ่มเสพยาเสพติด ผลการศึกษาพบว่า ยิ่งกรณีมีการเริ่มใช้ยาเสพติดอายุน้อยเท่าใดก็จะมีโอกาสเสพติดต่อเนื่องไปยาวนานเท่านั้น ซึ่งกรณีศึกษาทุกรายไม่ได้เข้ารับการบำบัดให้เลิกเสพอย่างเด็ดขาดตั้งแต่ครั้งแรก ส่งผลให้เมื่อพ้นโทษ จึงกลับมาเสพ และกระทำผิดซ้ำ มูลเหตุจูงใจรองลงมาได้แก่ครอบครัว การขาดการดูแลเอาใจใส่ และไม่มีความผูกพันกับครอบครัว ส่งผลให้กรณีศึกษา เข้าสู่วงจรยาเสพติดได้ง่าย ไม่มีสมาชิกในครอบครัวคอยสอดส่องดูแล หรือห้ามปราม ถัดมาคือกลุ่มเพื่อน ซึ่งพบว่า เป็นมูลเหตุจูงใจที่มีอิทธิพลมากที่สุด ในการชักชวนให้กรณีศึกษาเริ่มลองยาเสพติด มูลเหตุจูงใจถัดมา ได้แก่สภาพจิตใจของกรณีศึกษา จากการศึกษาพบว่า กรณีศึกษามักมีปัญหาทางด้านครอบครัวเป็นจุดเริ่มต้น ตัวอย่างเช่น ความไม่พอใจ ที่บิดาของตนมีภรรยาใหม่ จึงแสดงความก้าวร้าวและก่อปัญหา หรือ การที่กรณีศึกษาเคยโดนลวนลามทางเพศโดยญาติผู้ใหญ่ที่อาศัยอยู่ภายในบ้านเดียวกัน ปัญหาเหล่านี้ส่งผลร้ายต่อสภาพจิตใจอย่างมาก และเมื่อไม่สามารถพึ่งพิงคนในครอบครัวได้ การหันหน้าไปหาเพื่อนที่มีปัญหาเหมือนกัน หรือ หันมาใช้ยาเสพติดช่วยให้ผ่านช่วงเวลาเลวร้ายไปในแต่ละวัน จึงทางออกสำหรับกรณีศึกษา และมูลเหตุจูงใจอื่น ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการกระทำผิดซ้ำได้แก่ สภาพสังคม การศึกษา การติดยาและการบำบัด และสภาพเศรษฐกิจ ตามลำดับ ข้อเสนอแนะของการวิจัยพบว่าแนวทางในการป้องกันการกระทำผิดของเด็ก เยาวชนและผู้หญิง ได้แก่ การบำบัดให้หายขาดตั้งแต่ครั้งแรกของการเสพยาเสพติด รวมถึงการทบทวนการลงโทษแบบเดิม ร่วมกับการปรับใช้ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดกรุงเทพฯ (Bangkok Rules) และการร่วมมือกันของทุกภาคส่วนทั้งรัฐบาล เอกชน และชุมชนเอง ช่วยกันสอดส่องดูแล เฝ้าระวังพฤติกรรมของเด็กในชุมชน พร้อมทั้งให้ความรู้ถึงโทษของยาเสพติด มีการฝึกงานอาชีพที่เป็นที่ต้องการของตลาด มีการพบปะเยี่ยมเยียนสมาชิกในชุมชนจากผู้นำของชุมชนเป็นประจำ และให้โอกาสกลับคืนสู่สังคมสำหรับสมาชิกที่ผิดพลาด เพื่อป้องกันปัญหาการกระทำผิดซ้ำอย่างถาวร


แนวทางการพัฒนาระบบฐานข้อมูลการขึ้นทะเบียนผู้กระทําผิดทางเพศ และการแจ้งเตือนต่อสาธารณชนของสํานักงานตํารวจแห่งชาติ, นพรัตน์ บุญถนอม Jan 2019

แนวทางการพัฒนาระบบฐานข้อมูลการขึ้นทะเบียนผู้กระทําผิดทางเพศ และการแจ้งเตือนต่อสาธารณชนของสํานักงานตํารวจแห่งชาติ, นพรัตน์ บุญถนอม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง แนวทางการพัฒนาระบบฐานข้อมูลการขึ้นทะเบียนผู้กระทำผิดทางเพศและการแจ้งเตือนต่อสาธารณชนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา สาเหตุ และลักษณะเฉพาะของการกระทำผิดทางเพศ รวมถึงมาตรการป้องกันปราบปรามการกระทำผิดทางเพศที่มีอยู่ในปัจจุบัน ศึกษาหลักการ แนวคิด รูปแบบ และวิธีการนำระบบขึ้นทะเบียนผู้กระทำผิดทางเพศและการแจ้งเตือนต่อสาธารณชนมาใช้ในการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดทางเพศ ที่ได้ดุลยภาพระหว่างการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมกับสิทธิเสรีภาพของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อให้ทราบแนวทางในการที่จะนำ “การขึ้นทะเบียนผู้กระทำผิดทางเพศและการแจ้งเตือนต่อสาธารณชน” มาใช้พัฒนาฐานข้อมูลการกระทำผิดทางเพศในกระบวนการยุติธรรมของไทยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการค้นคว้าเอกสารวิชาการ กฎหมาย และระเบียบต่างๆ ประกอบกับการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและหาแนวทางสรุป ผลการวิจัยพบว่า การกระทำผิดทางเพศเป็นพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ เกิดขึ้นจากความผิดปกติทางจิตใจ หากไม่ได้รับการรักษาหรือดำเนินการอย่างเหมาะสม จะทำให้มีความเสี่ยงที่จะกระทำผิดทางเพศซ้ำเมื่อกลับเข้ามาสู่สังคมได้ ซึ่งในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ประเทศฝรั่งเศส และอีก 27 ประเทศ มีระบบการขึ้นทะเบียนผู้กระทำผิดทางเพศและการแจ้งเตือนต่อสาธารณชน เป็นมาตรการหนึ่งในการดำเนินการกับผู้กระทำผิดทางเพศเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำผิดทางเพศซ้ำ แต่ประเทศไทยยังไม่มีมาตรการดังกล่าว ดังนั้น ผู้วิจัยเห็นว่าประเทศไทยควรตรากฎหมายในการขึ้นทะเบียนผู้กระทำผิดทางเพศและการแจ้งเตือนต่อสาธารณชนขึ้นเพื่อให้การป้องกันปราบปรามการกระทำผิดทางเพศในประเทศไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยกำหนดให้กองทะเบียนประวัติอาชญากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นหน่วยงานในการจัดเก็บและบริหารข้อมูล มีการบูรณาการข้อมูลผู้กระทำผิดทางเพศกับฐานข้อมูลทะเบียนประวัติอาชญากรเดิม แบ่งประเภทผู้กระทำผิดทางเพศตามความรุนแรงของการกระทำผิด และกำหนดระยะเวลาการขึ้นทะเบียน 5 ปี 15 ปี และ 25 ปี ตามลำดับ สำหรับการเปิดเผยข้อมูล ผู้วิจัยกำหนดให้มีการเปิดเผยข้อมูลผู้กระทำผิดทางเพศที่มีความรุนแรงและกระทำต่อเหยื่อที่เป็นเด็กเท่านั้น เพื่อรักษาดุลยภาพของความปลอดภัยของสมาชิกในสังคมโดยรวมและสิทธิ เสรีภาพของผู้กระทำผิดทางเพศ โดยผู้วิจัยได้กำหนดให้มี การจำกัดถิ่นที่อยู่ การจำกัดอาชีพ และการควบคุมการเดินทางระหว่างประเทศด้วย อันเป็นการเพิ่มความปลอดภัยในสังคม และประสิทธิภาพการป้องกันการกระทำผิดทางเพศ


Human Rights Due Diligence: Participation And Innovation In Multi-National Business In Thailand, William Midwinter Jan 2019

Human Rights Due Diligence: Participation And Innovation In Multi-National Business In Thailand, William Midwinter

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The United Nations Guiding Principles (UNGPs) for Business and Human Rights has contributed to the way in which businesses engage with, and understand human rights, and has been most notable at the Multinational Corporations (MNC) level. A key duty placed on businesses is the expectation that they will conduct human rights due diligence (HRDD) across their supply chains. This multifaceted process involves the identification of actual or potential human rights impacts that the business may have in their supply chains, drawing heavily on notions of transparency, traceability and stakeholder engagement, and is the focus of this thesis. Concentrating specifically on …


Expectations And Reality In Meeting Financial Needs Of Thai Elderly : A Gender Perspective, Phantira Soontornsittipong Jan 2019

Expectations And Reality In Meeting Financial Needs Of Thai Elderly : A Gender Perspective, Phantira Soontornsittipong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Using the 2007 Survey of Knowledge and Attitudes on Elderly Issues surveying respondents aged 50 to 59 and the 2017 Survey of Older Persons in Thailand surveying respondents aged 60 to 69, this study identified a cohort to examine the gap between reality and expectations of Thai elderly males and females with regards to financial sources in meeting financial needs at old age with emphasis placed on the effect of regions and education. Three models of OLS dummy regression were ran to find the magnitude, sign, and significance of the reality-expectations gap. The results of the study found that the …


พฤติกรรมและทัศนคติต่อการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Payment) และต่อระบบภาษี ของผู้ประกอบอาชีพในเศรษฐกิจนอกระบบ กรณีศึกษา ผู้ประกอบการออนไลน์, ชญานิน แก้วหาญ Jan 2019

พฤติกรรมและทัศนคติต่อการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Payment) และต่อระบบภาษี ของผู้ประกอบอาชีพในเศรษฐกิจนอกระบบ กรณีศึกษา ผู้ประกอบการออนไลน์, ชญานิน แก้วหาญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและทัศนคติต่อ (1) การใช้งานระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) (2) การชำระภาษี ของผู้ประกอบการออนไลน์ที่อยู่ในเศรษฐกิจนอกภาคทางการ และ (3) เพื่อศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างทั้งสองส่วนข้างต้น โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้ประกอบการออนไลน์ที่อยู่ในเศรษฐกิจนอกระบบ จำนวน 10 ราย เก็บข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง โดยจำแนกเนื้อหาในการเก็บข้อมูลตามคำถามในการวิจัยและทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แนวคิดทฤษฎีตามกรอบแนวคิดมาเชื่อมโยงความสัมพันธ์เพื่อตอบคำถามของงานวิจัยดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีพฤติกรรมและทัศนคติต่อการใช้งาน e-Payment ที่เป็นไปตามความยอมรับและตั้งใจใช้งานเทคโนโลยี จากการเห็นประโยชน์ คุณค่า มีความคุ้นชินในการใช้งาน รวมถึงความมีอิทธิพลของสังคมที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการใช้งาน ในส่วนของผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ในการใช้งาน พบว่าเกิดจากความไม่รู้เทคโนโลยีและวิธีการใช้งาน (2) ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่มีประสบการณ์ในการยื่นแสดงรายได้จากกิจการออนไลน์ เนื่องด้วยรายได้ยังไม่เข้าข่ายที่จะต้องชำระภาษี และความไม่เชื่อมั่นถึงประโยชน์จากการนำเงินภาษีไปใช้ ส่วนรายที่มีประสบการณ์ในการแจ้งยื่นรายได้เนื่องด้วยเหตุผลที่ต้องการทำตามกฎหมายให้ถูกต้องและเกรงกลัวต่อโทษปรับ (3) ผู้ประกอบการที่มีแนวโน้มจะเข้าสู่ระบบภาษี เป็นผู้ประกอบการที่กิจการเติบโตในระดับหนึ่ง มีรายได้ที่เข้าข่ายจะต้องชำระภาษี และต้องการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับกิจการ กลุ่มนี้มีพฤติกรรมและทัศนติต่อการใช้งาน e-Payment ที่ดีและพร้อมเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีหรือใช้ e-Payment ที่อาจเชื่อมโยงไปสู่การชำระภาษี (4) ผู้ประกอบการที่ยังไม่มีแนวโน้มจะเข้าสู่ระบบ แม้ว่าจะมีพฤติกรรมเชิงบวกต่อการใช้ e-Payment แต่ด้วยเหตุผลที่รายได้ยังไม่เข้าข่ายต้องเสียภาษี จึงไม่มีความพร้อมใช้เทคโนโลยีหรือใช้ระบบ e-Payment ที่อาจเชื่อมโยงไปสู่การชำระภาษี เนื่องจากมองว่าเป็นภาระต้นทุนเพิ่มในการศึกษาและการใช้งาน