Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 2341 - 2370 of 5570

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

การปกครองตามธรรมชาติ: กฏเหล็กสามข้อของการปกครองแบบผสม, เอกลักษณ์ ไชยภูม Jan 2018

การปกครองตามธรรมชาติ: กฏเหล็กสามข้อของการปกครองแบบผสม, เอกลักษณ์ ไชยภูม

Journal of Social Sciences

บทความชิ้นนี้นำเสนอกรอบแนวคิดเรื่องการปกครองตามธรรมชาติในฐานะที่เป็นฐานคิดของทฤษฎีการปกครองแบบผสมผ่านสิ่งที่เรียกว่า “กฎเหล็กของการปกครองแบบผสม” ที่เกิดขึ้นจากเงื่อนไขเฉพาะและธรรมชาติที่แตกต่างกันขององค์ประกอบภายในการปกครองแบบผสม อันประกอบด้วย (1) กฎเหล็กของมหาชน (2) กฎเหล็กของกลุ่มคน และ (3) กฎเหล็กของเอกบุคคล โดยกฎเหล็กประการแรกเกี่ยวข้องกับกลไกสร้างความชอบธรรมให้แก่ระบอบการเมืองต่างๆ ในขณะที่กฎเหล็กข้อที่สองเกี่ยวข้องกับส่วนที่เป็นกลไกการทำงานจริงของระบอบการเมืองที่จำเป็นต้องอาศัยคนจำนวนน้อยในการปฏิบัติหน้าที่เฉพาะและเพื่อให้การบังคับใช้กฎเกณฑ์ต่างๆ ของรัฐบาลดำเนินต่อไปได้ กฎเหล็กประการสุดท้ายอาจพิจารณาผ่านปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "การผงาดของรัฐบาลโดยคนคนเดียว" ในยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งเป็นอีกเงื่อนไขหนึ่งที่ทำให้ระบอบการเมืองทุกระบอบต้องมีกลไกที่คอยเติมเต็มช่องว่างในการใช้อำนาจบริหารของรัฐสมัยใหม่ และรวมถึงอำนาจในสภาวะฉุกเฉินอย่างทันท่วงทีที่ปรากฏในรูปของผู้เผด็จการตามรัฐธรรมนูญ


การเผาป่า และหมอกควันข้ามแดน : กรณีศึกษาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันในประเทศอินโดนีเซีย, พรรณชฎา ศิริวรรณบุศย์, ภูมิ มูลศิลป์ Jan 2018

การเผาป่า และหมอกควันข้ามแดน : กรณีศึกษาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันในประเทศอินโดนีเซีย, พรรณชฎา ศิริวรรณบุศย์, ภูมิ มูลศิลป์

Journal of Social Sciences

มลพิษจากหมอกควันข้ามแดนเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในภูมิภาคอาเซียนซึ่งมีระดับความร ุนแรงที่แตกต่างกันในแต่ละปี สถานการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจากการตัดไม้ทำลายป่า และเผาป่าไม้ในบริเวณพื้นที่ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เพื่อเป็นการถางพื้นที่เตรียมที่ดินไว้ใช้ในการเพาะปลูกพืชทางการเกษตร เช่น ไม้เนื้อแข็งเพื่อนำเยื่อไม้ไปทำกระดาษ ยางพารา และที่สำคัญอย่างยิ่งคือปาล์มน้ำมัน พื้นที่ที่ถูกเผาบางส่วนถูกเผาโดยชาวนาหรือชาวสวนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ แต่บางพื้นที่ที่ถูกเผาเป็นบริเวณกว้างอยู่ในเขตพื้นที่ของบริษัทที่ทำอุตสาหกรรมทางการเกษตรขนาดใหญ่ การเผาพื้นที่แบบผิดกฎหมายลักษณะนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศอินโดนีเซีย หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องเชื่อว่าเป็นต้นเหตุสำคัญของปัญหามลพิษจากหมอกควันข้ามแดนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ งานวิจัยฉบับนี้จึงมุ่งเน้นศึกษาต้นเหตุของปัญหาหมอกควันข้ามแดนดังกล่าว โดยใช้ทฤษฎีระบบอุปถัมภ์ เพื่ออธิบายถึงต้นเหตุของปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาหมอกควันของรัฐบาลอินโดนีเซียจากอดีตถึงปัจจุบัน และในบทสรุปสุดท้ายของการวิจัย ผู้วิจัยได้สังเคราะห์ผลการวิจัยเพื่อให้ข้อเสนอแนะต่อนโยบายของประเทศไทยและอาเซียนในการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันข้ามแดนในภูมิภาคอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป


ความชอบธรรมและการล้มล้างทรราช : มุมมองของลัทธิขงจื่อในประวัติศาสตร์จีน, สยุมพร ฉันทสิทธิพร Jan 2018

ความชอบธรรมและการล้มล้างทรราช : มุมมองของลัทธิขงจื่อในประวัติศาสตร์จีน, สยุมพร ฉันทสิทธิพร

Journal of Social Sciences

แหล่งที่มาของความชอบธรรมในการปกครองตามมุมมองของลัทธิขงจื่อมีแหล่งที่มาจากสองแหล่งคือ อาณัติแห่งฟ้าและคุณธรรมส่วนบุคคลของผู้ปกครอง ลัทธิขงจื่อถือว่าผู้ปกครองทุกคนไม่ว่าเถลิงสู่อำนาจด้วยการสืบสันตติวงศ์หรือจากการกำราบทรราช ล้วนถือว่าได้รับอาณัติแห่งฟ้าด้วยกันทั้งสิ้น แต่คุณธรรมส่วนบุคคลเป็นปัจจัยสำคัญที่ตัดสินว่าผู้ปกครองผู้นั้นจะรักษาอาณัติแห่งฟ้าได้หรือไม่ และเพื่อควบคุมผู้ปกครองให้อยู่ในครรลองคลองธรรม แม้ปรัชญาการปกครองของลัทธิขงจื่อจะมีความเป็นอนุรักษ์นิยมอย่างสูง ภายใต้การอ้างอิงคุณธรรมจริยธรรมและการยึดมั่นจารีตอย่างเคร่งครัด แต่กลับนำเสนอวาทกรรมต่อต้านอำนาจเพื่อนำไปสู่การล้มล้างการปกครองอย่างมีความชอบธรรมด้วยเช่นกัน


การเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยเปรียบเทียบ: แง่คิดต่อความล้มเหลวในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยของไทย, สิริพรรณ นกสวน สวัสดี Jan 2018

การเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยเปรียบเทียบ: แง่คิดต่อความล้มเหลวในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยของไทย, สิริพรรณ นกสวน สวัสดี

Journal of Social Sciences

การเปรียบเทียบด้วยวิธี "ความแตกต่างมากที่สุดเพื่ออธิบายผลลัพธ์ร่วมกัน" จากประสบการณ์ของเกาหลีใต้ อินโดนีเซีย อาร์เจนตินา ชิลี ตูนิเซีย ไนจีเรีย ยูเครน และโปแลนด์ พบว่าปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยในช่วงคลื่นลูกที่ 3 คือ 1. การผนึกกำลัง และการประนีประนอมของพลังฝ่ายค้านที่ต้องการประชาธิปไตย 2. บทบาทของผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ จริงใจต่อการวางรากฐานระบอบประชาธิปไตย 3. ความเห็นพ้องยอมรับทั้งเนื้อหาและกระบวนการร่าง/แก้ไขรัฐธรรมนูญ 4. กองทัพอยู่ภายใต้รัฐบาลพลเรือน 5. จัดให้มีการเลือกตั้งโดยเร็วตามควร การศึกษาเปรียบเทียบเช่นนี้ชี้ให้เห็นว่าความล้มเหลวในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยของไทย มีที่มาจากความแตกแยกและทะเลาะกันเองในฝ่ายที่สนับสนุนประชาธิปไตย ไม่ปรากฏช ัดว่าผู้นำทางการเมืองทั้งที่มาจากการเลือกตั้งและชนชั้นนำในสังคมมีเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นในการวางรากฐานประชาธิปไตย ขาดฉันทามติในการปฏิรูปรัฐธรรมนูญการดำรงอยู่ของกองทัพเหนือรัฐบาลพลเรือน และการที่การเลือกตั้งของไทยยังไม่เป็นสถาบันที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นเครื่องมือในการแก้วิฤตการเมืองและเป็นปัจจัยเบื้องต้นของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย


จากปฐมบทประชาธิปไตยสู่ทางสองแพร่งของเสรีประชาธิปไตย: เส้นนทางของ 'ประชาธิปไตย' ในตะวันตก, เอกลักษณ์ ไชยภูมี Jan 2018

จากปฐมบทประชาธิปไตยสู่ทางสองแพร่งของเสรีประชาธิปไตย: เส้นนทางของ 'ประชาธิปไตย' ในตะวันตก, เอกลักษณ์ ไชยภูมี

Journal of Social Sciences

จุดประสงค์หลักของบทความชิ้นนี้คือการเขียนชีวประวัติและประวัติศาสตร์ของการใช้คำ "ประชาธิปไตย" ในโลกตะวันตกตั้งแต่ยุคโบราณ ด้วยการอธิบายและจัดประเภทข้อถกเถียงและข้อโต้แย้งในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับจุดกำเนิดและความรับรู้ที่มีต่อคำประชาธิปไตยในแต่ละยุคสมัย เพื่อที่จะนำไปสู่การทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงนัยยะของคำและความหมายที่เกิดจากการนำคำดังกล่าวมาใช้ตลอดระยะเวลาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน โดยข้อเสนอหลักของบทความชิ้นนี้คือ คำว่าประชาธิปไตยได้ถูกนำไปใช้ทางการเมืองทั้งจากฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านระบอบประชาธิปไตยนับตั้งแต่ที่คำคำนี้อุบัติขึ้น จนกระทั่งอิทธิพลของนักปรัชญาการเมืองอย่างเพลโตและอาริสโตเติลที่ทำให้เกิดกระแสที่พิจารณาประชาธิปไตยในแง่ลบขึ้นด้วยการจัดประเภทประชาธิปไตยไว้ในฐานะรูปแบบการปกครองที่ไม่ดี ซึ่งวิธีคิดดังกล่าวดำรงอยู่เรื่อยมาตลอดระยะเวลาในยุคสมัยกลาง จนกระทั่งถึงศตวรรษที่ 18 ที่ซึ่งเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงในสองฟากฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกได้ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงนัยยะของประชาธิปไตย และสร้างความหมายที่ดีขึ้นจากการนำคำว่าประชาธิปไตยไปสัมพันธ์กับระบอบการปกครองแบบตัวแทนหรือประชาธิปไตยตัวแทน อันเป็นคำที่ได้รับความนิยมในศตวรรษที่ 19 ก่อนที่จะกลายเป็นคำที่แพร่หลายอย่างชัดเจนภายหลังสงครามโลกทั้งสองครั้ง ซึ่งปูทางไปสู่การเป็น "กฎเกณฑ์หนึ่งเดียวของบ้านเมือง" ของระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบันและนำมาซึ่งปัญหาทางสองแพร่งที่เกิดขึ้นภายในตัวระบอบเสรีประชาธิปไตยเองในท้ายที่สุด


ร่มเกล้าชาวจุฬาฯ : ความบันเทิงเชิงยุทธศาสตร์: เรียนรู้จากมหาธีรราชนิพนธ์ ตอนที่ 1, ชัชพล ไชยพร Jan 2018

ร่มเกล้าชาวจุฬาฯ : ความบันเทิงเชิงยุทธศาสตร์: เรียนรู้จากมหาธีรราชนิพนธ์ ตอนที่ 1, ชัชพล ไชยพร

Jamjuree Journal

No abstract provided.


บันทึกจดหมายเหตุ : พระตำหนักใหม่ วังสระปทุม, พีรศรี โพวาทอง Jan 2018

บันทึกจดหมายเหตุ : พระตำหนักใหม่ วังสระปทุม, พีรศรี โพวาทอง

Jamjuree Journal

No abstract provided.


เรื่องเล่าชาวจุฬาฯ : ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ Jan 2018

เรื่องเล่าชาวจุฬาฯ : ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้

Jamjuree Journal

No abstract provided.


จามจุรีรำลึก : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงบำรุงภาษาและวรรณกรรม, ทองต่อ กล้วยไม้ ณ อยุธยา Jan 2018

จามจุรีรำลึก : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงบำรุงภาษาและวรรณกรรม, ทองต่อ กล้วยไม้ ณ อยุธยา

Jamjuree Journal

No abstract provided.


บันทึกจดหมายเหตุ : พระราชวังดุสิต, บัณฑิต จุลาสัย, รัชดา โชติพานิช Jan 2018

บันทึกจดหมายเหตุ : พระราชวังดุสิต, บัณฑิต จุลาสัย, รัชดา โชติพานิช

Jamjuree Journal

No abstract provided.


จุฬาฯ วันนี้ นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบามสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สุชาดา กีระนันทน์ Jan 2018

จุฬาฯ วันนี้ นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบามสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สุชาดา กีระนันทน์

Jamjuree Journal

No abstract provided.


การจัดการฟาร์มโคนมด้วยเทคโนโลยีแบบประณีต, ชัยเดช อินทร์ชัยศรี, ปิยะณัฐ ประสมศรี Jan 2018

การจัดการฟาร์มโคนมด้วยเทคโนโลยีแบบประณีต, ชัยเดช อินทร์ชัยศรี, ปิยะณัฐ ประสมศรี

UNISEARCH (Unisearch Journal)

ในปี พ.ศ. 2568 จะปีการเปิดเสรีให้กับผลิตภัณฑ์นมเป็นสินค้าปลอดภาษีทั้งการนำเข้า-ส่งออกโดยสมบูรณ์ ซึ่งจะเกิดผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบต่อประเทศไทย สำหรับผลกระทบทางบวก คือ ประเทศไทยมีโอกาสในการส่งออก ผลิตภัณฑ์น้ำนมไปยังตลาดที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ในขณะที่ผลกระทบทางลบที่อาจเกิดขึ้น คือ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์นมของ ประเทศไทยอาจไม่สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ ส่งผลให้เกษตรกรอาจต้องเลิกกิจการและเลิกอาชีพการเลี้ยงโคนม อันเป็นผลมาจากประสิทธิภาพการผลิตในระดับฟาร์มโคนมทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพที่ค่อนข้างต่ำ ปัญหาการขาดแคลน แรงงานที่รวมถึงแรงงานต่างด้าวที่ทยอยกลับประเทศ การขาดเกษตรกรรุ่นใหม่ที่จะสืบสานอาชีพของครอบครัว ประกอบกับ การที่สังคมไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (aging society) การประกอบอาชีพโดยใช้แรงงานเป็นหลักเช่นเดียวกับในอดีต ไม่อาจจูงใจให้คนรุ่นใหม่เข้าสู่อาชีพนี้ได้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากประเทศไทยมีความได้เปรียบในด้านพื้นที่ตั้ง ที่เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งปัจจุบันได้มีการส่งออกผลิตภัณฑ์นมไปยังประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีมูลค่า มากกว่าหนึ่งหมื่นล้านบาทต่อปี จึงเป็นโอกาสในการขยายตลาดไปยังประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้น รวมทั้ง การส่งออกไปยังตลาดขนาดใหญ่ เช่น ประเทศจีน และตลาดที่มีศักยภาพที่จะซื้อผลิตภัณฑ์นมจากประเทศไทย เช่น สิงคโปร์ บรูไน มาเลเชีย และฮ่องกง เป็นต้น จากสถานการณ์ดังกล่าว ทั้งนี้ ภายใต้ภาวะคุกคามต่อความอยู่รอดของอุตสาหกรรมโคนม และอาชีพการเลี้ยงโคนมของประเทศไทย รวมทั้ง การใช้โอกาสการเปิดการค้าเสรีผลิตภัณฑ์นมเพื่อเป็นประโยชน์ในการขยายตลาดการส่งออกของไทย อุตสาหกรรมการเลี้ยงโคนมของประเทศไทยจึงมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงและ การจัดการฟาร์มโคนม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพการผลิต ให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและทันต่อสถานการณ์ ก่อนที่จะสูญเสียโอกาสเหล่านี้ไป


ทุนวัฒนธรรมท้องถิ่น ธุรกิจศิลป์สากล, พัดชา อุทิศวรรณกุล Jan 2018

ทุนวัฒนธรรมท้องถิ่น ธุรกิจศิลป์สากล, พัดชา อุทิศวรรณกุล

UNISEARCH (Unisearch Journal)

จากนโยบายของประเทศไทยที่ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานวัฒนธรรมตามแนวทางของแนวคิดเศรษฐกิจ สร้างสรรค์และวัฒนธรรมสร้างสรรค์ (Creative and Cultural Economy) โดยการนำทุนทางวัฒนธรรมของประเทศ มาสร้างคุณค่าทางสังคมและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ การให้ความสำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์จึงมุ่งไป ที่การเชื่อมโยงระหว่างทุน 6 ทุน คือ ทุนธรรมชาติ ทุนกายกาพ ทุนสังคม ทุนมนุษย์ ทุนการเงิน และทุนวัฒนธรรม โดยทุนวัฒนธรรมเป็นจุดศูนย์กลางที่เชื่อมโยงกับทุนประเภทอื่น ๆ เพราะทุนวัฒนธรรมเปรียบเสมือนกิจกรรมต้นน้ำ ในห่วงโซ่มูลค่าของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ทั้งนี้ เมื่อประเทศไทยจะก้าวย่างเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 สิ่งหนึ่ง ที่ได้กำหนดไว้เป็นเสาหลักที่ 2 ในเรื่องประชาคมสังคมและวัฒนธรรมที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมุ่งเน้นความร่วมมือเฉพาะด้านเพื่อผลักดันให้ประขาชนมีสภาพความเป็นอยู่ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) ที่กำหนดให้ มีการสนับสนุนทางด้านวัฒนธรรมเพื่อนำมาใช้ประโยชน์อย่างบูรณาการ เกื้อกูลกัน นำความรู้ และสร้างจุดแข็งของ อัตลักษณ์ไทยบนฐานนวัตกรรมที่เข้มแข็งเพื่อเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในภูมิภาค (สิรางค์ กลั่นคำสอน, 2555)


นวัตกรรมการพัฒนาอุปกรณ์ในระบบของไหลจุลภาคสำหรับคัดแยก จัดเก็บและเพาะเลี้ยง เซลล์มะเร็งในรูปเซลล์เดี่ยวเพื่อศึกษาพฤติกรรมทางชีวภาพเซลล์มะเร็งชนิดกลมของสุนัข, อัจฉริยา ไศละสูต, ธีระยุทธ แก้วอมตวงศ์, ประพฤติดี ปิยะวิริยะกุล, อลงกรณ์ พิมพ์พิณ, วีระยุทธ ศรีธุระวานิช, วุฒินันท์ เจียมศักดิ์ศิริ, วิศรุต ศรีพุ่มไข่, วิน บรรจงปรุ, จักรพงษ์ ศุภเดช, จิรวัฒน์ จันต๊ะวงค์, ชาญเดช หรูอนันต์, มยุรี ชนะสกุลนิยม Jan 2018

นวัตกรรมการพัฒนาอุปกรณ์ในระบบของไหลจุลภาคสำหรับคัดแยก จัดเก็บและเพาะเลี้ยง เซลล์มะเร็งในรูปเซลล์เดี่ยวเพื่อศึกษาพฤติกรรมทางชีวภาพเซลล์มะเร็งชนิดกลมของสุนัข, อัจฉริยา ไศละสูต, ธีระยุทธ แก้วอมตวงศ์, ประพฤติดี ปิยะวิริยะกุล, อลงกรณ์ พิมพ์พิณ, วีระยุทธ ศรีธุระวานิช, วุฒินันท์ เจียมศักดิ์ศิริ, วิศรุต ศรีพุ่มไข่, วิน บรรจงปรุ, จักรพงษ์ ศุภเดช, จิรวัฒน์ จันต๊ะวงค์, ชาญเดช หรูอนันต์, มยุรี ชนะสกุลนิยม

UNISEARCH (Unisearch Journal)

โครงการนี้เป็นนวัตกรรมการวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน โดยประยุกต์เทคโนโลยีการสร้างระบบขนาดจุลภาคและความรู้ทางวิศวกรรมเครื่องกลในส่วนของการออกแบบระบบของไหลจุลภาค เพื่อสร้างองค์ความรู้เชิงบูรณาการทางชีววิทยาระดับเซลล์เดี่ยว การศึกษาได้ใช้เซลล์มะเร็งชนิดกลมสุนัขเป็นต้นแบบ องค์ความรู้ที่ได้จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาพฤติกรรมทางชีวภาพของเซลล์มะเร็งทั้งในมนุษย์และสัตว์ในระดับที่สูงขึ้นต่อไป


การพัฒนาหุ่นยนต์เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, กฤษณา พิรเวช, วิบูลย์ แสงวีระพันธุ์ศิริ Jan 2018

การพัฒนาหุ่นยนต์เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, กฤษณา พิรเวช, วิบูลย์ แสงวีระพันธุ์ศิริ

UNISEARCH (Unisearch Journal)

โรคหลอดเลือดสมองเป็นภัยที่กำลังคุกคามประชากรทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ทั้งนี้เพราะโรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการเสียชีวิต อันดับต้น ๆ ผู้ที่รอดชีวิตจากโรคนี้จะได้รับผลกระทบทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมในผู้ป่วยบางรายเกิดความพิการกลายเป็นภาระให้กับคนในครอบครัว ทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้ผู้ป่วยขาดความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันและการทำงาน กระทบต่อการใช้ชีวิตในสังคมและคุณภาพชีวิต (สำนักโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรค, 2560)การฟื้นฟูสมรรถภาพของแขนและขาข้างอ่อนแรงเพื่อช่วยให้เกิดการฟื้นตัวดีและฟื้นตัวเร็วขึ้นมีหลากหลายวิธีการใช้หุ่นยนต์เพื่อการฟื้นฟู เป็นวิธีหนึ่งที่นำมาใช้ในปัจจุบันการใช้หุ่นยนต์เพื่อการฟื้นฟูช่วยให้ผู้ป่วยที่ยังมีการฟื้นตัวของประสาทสั่งการน้อย สามารถฝึกการใช้งานแขน/ขาซ้ำ ๆ(repetition) ได้เป็นจำนวนครั้งที่มากกว่าเมื่อเทียบกับการฝึกแบบดั้งเดิมทำให้เกิดทักษะการใช้งานแปรผันตามจำนวนครั้งที่ฝึกร่วมกับมีระบบเกมและการให้ข้อมูลตอบกลับ (feedback)ทำให้การฝึกน่าสนใจ สนุก และท้าทาย ลักษณะดังกล่าวช่วยให้การฟื้นฟู มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้การใช้เทคโนโลยีป้อนกลับสัญญาณชีวภาพ (Biofeedback technology) โดยการอ่านสัญญาณบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง (electroencephalogramหรือ EEG) ที่ใช้เสริมระบบการใช้หุ่นยนต์เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพรวมทั้งใช้เพื่อควบคุมแขน/ขาหุ่นยนต์ เพื่อให้ได้ประสิทธิผลในการฟื้นฟู ที่ดีและแตกต่างภายใต้สมมติฐานของการเพิ่มการเปลี่ยนแปลงการทำ งานและการสร้างเครือข่ายของเซลสมอง(brain plasticity) เมื่อผู้ป่วยมีการฟื้นตัวของประสาทสั่งการมากขึ้น การใช้หุ่นยนต์ที่มีระบบตรวจจับสัญญาณต่าง ๆ ทำให้สามารถรับรู้ได้ถึงแรงตอบรับ รวมทั้งตำแหน่งและความเร็วในการเคลื่อนที่ของผู้ใช้ นำมาสู่การติดตั้งระบบติดตามพัฒนาการของผู้ใช้เฉพาะบุคคล (patient progressionsupervising system) ซึ่งจะบันทึกและติดตามพัฒนาการของผู้ใช้แต่ละบุคคล และปรับเปลี่ยนลักษณะการเคลื่อนไหวรวมทั้งแรงที่หุ่นยนต์สร้างขึ้นตามกำลังกล้ามเนื้อที่เปลี่ยนแปลงไปการฝึกด้วยเกมร่วมกับการฟื้นฟูสมรรถภาพเป็นแนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพที่แพร่หลายในปัจจุบันระบบเกมคอมพิวเตอร์ประกอบการฟื้นฟู สามารถนำเสนอเกมเพื่อกระตุ้นและจูงใจผู้ป่วยให้รับบริการในสภาพแวดล้อมที่ไม่เพิ่มความเครียดพร้อมกับเป็นการลดความเบื่อหน่ายจากการฝึกนั้นจึงจำเป็นต้องหากิจกรรมทำให้ผู้เล่นรู้สึกว่าได้ทำสิ่งใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา ดั้งนั้นการนำเกมเข้ามาช่วยสร้างแรงจูงใจในการฝึกจึงกลายเป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งระบบเกมที่ถูกออกแบบอย่างเหมาะสม จะช่วยลดความเบื่อหน่ายและสร้างแรงจูงใจใหผู้ป่วยอยากฝึกทำให้ผู้ป่วยสนุกกับการรักษาและเกิดความต้องการในการใช้อุปกรณ์อย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถใช้งานระบบได้นานขึ้น ช่วยให้การฟื้นฟูมีประสิทธิภาพมากขึ้นในปัจจุบันการพัฒนาแขนหุ่นยนต์แบบโครงร่าง หรือ หุ่นยนต์แบบสวมใส่ (exoskeleton) ที่ครอบคลุมการฝึกข้อไหล่ ข้อศอกแขนท่อนล่างและข้อมือ และหุ่นยนต์แบบขารวมทั้งแขนหุ่นยนต์แบบจับที่ปลาย (end effector) ยังมีการศึกษาไม่มากนัก ดั้งนั้นการพัฒนาหุ่นยนต์ในลักษณะดังกล่าวจะเป็นการส่งเสริมเทคโนโลยีทางวิศวกรรมการแพทย์ของประเทศไทยให้ทัดเทียมกับระดับนานาชาติ และทำให้ผู้ป่วยในประเทศไทยมีโอกาสเข้าถึงบริการทางการฟื้นฟู สมรรถภาพด้วยหุ่นยนต์ดังกล่าวมากขึ้น


กระบวนการผลิตนาโนคริสตัลจากแบคทีเรียเซลลูโลสเพื่อการสังเคราะห์ตัวนำ€ส่งยารักษาโรคมะเร็ง, ปรัชญาวดี สิงห์สา, หทัยกานต์ มนัสปิยะ Jan 2018

กระบวนการผลิตนาโนคริสตัลจากแบคทีเรียเซลลูโลสเพื่อการสังเคราะห์ตัวนำ€ส่งยารักษาโรคมะเร็ง, ปรัชญาวดี สิงห์สา, หทัยกานต์ มนัสปิยะ

UNISEARCH (Unisearch Journal)

หนึ่งในผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์จากสิ่งมีชีวิตที่พบมากในธรรมชาติ คือ เซลลูโลส (cellulose) ซึ่งได้รับความสนใจอย่างยิ่งในการพัฒนาวัสดุที่มีคุณสมบัติพิเศษ เช่น วัสดุยั่งยืนที่สามารถผลิตทดแทนได้ง่าย รวมทั้งมีความเข้ากันได้ดีกับสิ่งมีชีวิต โดยทั่วไปต้นไม้และพืช คือ แหล่งผลิตสำคัญของเซลลูโลส แต่ในปัจจุบันนี้เซลลูโลสที่มาจากแบคทีเรีย (Bacterial Cellulose: BC) ได้มีความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากความบริสุทธิ์ของเซลลูโลสที่ผลิตได้ที่สูงกว่าไม่มีสารเจือปนอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องมีขั้นตอนกำจัดเพิ่มเติม ลักษณะของเซลลูโลสที่มาจากแบคทีเรียเป็นโครงสร้างตาข่ายสามมิติ (ribbon-like 3D network) ที่ประกอบด้วยเส้นใยไฟเบอร์เล็ก ๆ (microfibril) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-4 นาโนมิเตอร์ มีโครงสร้างที่แข็งแรงมีรูพรุนสูงมีความสามารถอุ้มน้ำได้สูง และมีความเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตต่ำ จึงได้รับ ความนิยมนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และยาที่หลากหลาย รวมทั้งใช้เป็นวัสดุตั้งต้นในการผลิตนาโนคริสตัล จากเซลลูโลส ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการทำเกษตรกรรมเป็นรายได้หลักของประเทศ มีซากพืชเหลือใช้ทั้งจากเกษตรกรรมและการผลิตอาหารมากมายมหาศาล ซึ่งซากพืชเหล่านี้ เป็นแหล่งสำคัญของเซลลูโลสทั้งสิ้น แต่เราจะสกัดเซลลูโลสจากซากพืชเหล่านั้นได้อย่างไร จึงต้องอาศัยความรู้จากงานวิจัยช่วยพัฒนาเปลี่ยนซากของเสียจากการเกษตรให้กลายเป็นวัสดุขั้นสูง เป็นการเพิ่มมูลค่า สร้างรายได้ให้กับประเทศ


การพัฒนากระบวนการฉีดขึ้นรูปวัสดุผงสำหรับแบร็กเกตเซรามิกทันตกรรม, ณัฏฐิตา ชวนเกริกกุล Jan 2018

การพัฒนากระบวนการฉีดขึ้นรูปวัสดุผงสำหรับแบร็กเกตเซรามิกทันตกรรม, ณัฏฐิตา ชวนเกริกกุล

UNISEARCH (Unisearch Journal)

ผลิตภัณฑ์แบร็กเกตเซรามิกทันตกรรม เป็นวัสดุทางการแพทย์ที่มีการนำเข้าจากต่างประเทศและมีราคาสูง การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตขึ้นภายในประเทศจะทำให้เกิดการสร้างองค์ความรู้เพื่อเป็นฐานในการพัฒนาประเทศ รวมทั้งทำให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมทางวัสดุศาสตร์ ซึ่งมีศักยภาพสามารถนำไปต่อยอดเพื่อประยุกต์ใช้เพิ่มความเข้มแข็งของภาคอุตสาหกรรมของประเทศและลดการนำ เข้าสินค้าจากต่างประเทศ เมื่อพิจารณาลักษณะรูปร่าง รูปทรง และขนาดของแบร็กเกตเซรามิกแล้ว กระบวนการที่เหมาะสมในการใช้ผลิตชิ้นส่วนนี้ ได้แก่ กระบวนการฉีดขึ้นรูปวัสดุผง (powder injection moulding) ซึ่งเป็นกรรมวิธีที่เหมาะสำหรับการผลิตชิ้นส่วนที่มีขนาดเล็กและมีรูปร่างซับซ้อนกระบวนการฉีดขึ้นรูปวัสดุผงนี้เป็นกระบวนการผลิตที่ได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายในการผลิต ผลิตภัณฑ์คุณ ภาพสูงสามารถผลิตได้ในปริมาณมาก ช่วยลดของเสียที่เกิดในระหว่างการผลิตเมื่อเปรียบเทียบกับการผลิตโดยวิธีอื่่น ๆ ดังนั้น กระบวนการฉีดขึ้นรูปวัสดุผง จึงเหมาะสมในการนำ มาพัฒนาเพื่อขึ้นรูปชิ้นงานแบร็กเกตเซรามิกทันตกรรม


การพัฒนาวัสดุโฟโตคะตะลิสต์ประสิทธิภาพสูงที่ตอบสนองต่อแสงช่วงที่ตามองเห็น, พรนภา สุจริตวรกุล Jan 2018

การพัฒนาวัสดุโฟโตคะตะลิสต์ประสิทธิภาพสูงที่ตอบสนองต่อแสงช่วงที่ตามองเห็น, พรนภา สุจริตวรกุล

UNISEARCH (Unisearch Journal)

มลพิษสิ่งแวดล้อมทางน้ำและอากาศ อันเนื่องมาจากกิจกรรมประจำวันของมนุษย์และอุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นปัญหาใหญ่ระดับโลกที่ส่งผลกระทบต่อสุขอนามัยของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตบนโลก โดยประเทศไทยอยู่ในอันดับต้นที่ประสบปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้การพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนับว่ามีบทบาทสำคัญในการที่จะช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยนักวิจัยได้พยายามทำการศึกษาพัฒนากระบวนการและวัสดุเพื่อช่วยในการบำบัดมลพิษ เหล่านั้นซึ่งหนึ่งในกระบวนการที่มีการศึกษากันแพร่หลายปัจจุบัน ได้แก่ กระบวนการโฟโตคะตะไลซิส (photocatalysis)เนื่องจากเป็นกระบวนการที่มีประสิทธิภาพสูงในการย่อยสลายสารอินทรีย์ที่เป็นพิษทั้งในน้ำและอากาศ โดยไม่ต้องใช้พลังงานและสารเคมี และไม่ก่อให้เกิดผลผลิตที่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งนับเป็นเทคโนโลยีสะอาด โดยหัวใจสำคัญของกระบวนการนี้ คือ วัสดุตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสง(photocatalyst) ซึ่งปัจจุบัน การพัฒนาวัสดุตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงให้มีศักยภาพในการตอบสนองต่อแสงในช่วงความยาวคลื่นที่ตามองเห็น (Viable-light region) เพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นพลังงานธรรมชาติที่ยั่งยืนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เป็นงานวิจัยที่กำลังได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง


การพัฒนาเมืองอัจฉริยะด้วยการพัฒนาย่านนวัตกรรม, ปรีชญา สิทธิพันธุ์, สุธี อนันต์สุขสมศรี Jan 2018

การพัฒนาเมืองอัจฉริยะด้วยการพัฒนาย่านนวัตกรรม, ปรีชญา สิทธิพันธุ์, สุธี อนันต์สุขสมศรี

UNISEARCH (Unisearch Journal)

ในปัจจุบันหลายหน่วยงานของภาครัฐและเอกชนต่างกล่าวถึงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (smart city) ที่เป็นแนวคิด ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและข้อมูลสารสนเทศในการช่วยบริหารจัดการเมืองให้มีประสิทธิภาพ ประชาชนมี คุณภาพชีวิตที่ดีปลอดภัยและเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ที่มีการพัฒนาอยู่เสมอ แต่ทว่า แนวทางการพัฒนาเมืองสู่เมืองอัจฉริยะนั้น เป็นไปได้หลายแนวทาง ซึ่งแต่ละแนวทางอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงและความไม่แน่นอน ดังนั้นเทคโนโลยีอัจฉริยะที่จะถูกนำมาใช้นั้นควรต้องผ่านการทดสอบและปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่เมืองนั้น ๆ กล่าวคือ จำเป็นต้องมีการนำร่อง ดำเนินการในพื้นที่ต้นแบบ เพื่อให้เทคโนโลยีอัจฉริยะได้ตอบสนองหรือแก้ไขประเด็นปัญหาในพื้นที่ได้อย่างเป็นรูปธรรม และยั่งยืน ดังนั้น ในการลงทุนพัฒนาเมืองอัจฉริยะนั้นอาจไม่จำเป็นต้องทุ่มงบประมาณทั้งหมดไปกับการลงทุนในเทคโนโลยี อัจฉริยะหรือ การติดตั้งระบบตรวจสอบและกล้องวีดิโอไว้ทุกหัวมุมถนนให้ทั่วทั้งเมืองในทันที แต่อาจเริ่มจากพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ในเมืองก่อน


การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ, นพนันท์ ตาปนานนท์ Jan 2018

การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ, นพนันท์ ตาปนานนท์

UNISEARCH (Unisearch Journal)

แนวนโยบายการพัฒนาด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศที่มุ่งเน้นการคมนาคมขนส่งทางราง ทั้งที่เป็นรถไฟฟ้า ขนส่งมวลชน รถไฟทางคู่ และรถไฟความเร็วสูง นอกจากจะส่งผลต่อความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยแล้ว ยังส่งผล ต่อประสิทธิภาพในการใช้พลังงานซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อันเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศและภัยทางธรรมชาติที่มีความรุนแรงเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การพัฒนาด้านการคมนาคมขนส่งทางราง ย่อมจะส่งผลต่อศักยภาพในการพัฒนาบริเวณพื้นที่โดยรอบสถานี ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจร (Transit Oriented Development: TOD) ระหว่างการคมนาคมขนส่งทางรางกับการคมนาคมขนส่งรูปแบบอื่น ๆ ทั้งการคมนาคมขนส่งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศที่เพิ่มขึ้น ทั้งภายในเมืองและระหว่างเมืองกับภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศและระหว่างประเทศ การพัฒนาบริเวณพื้นที่โดยรอบสถานีซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจร นอกจากจะส่งผลต่อการพัฒนาทางด้าน เศรษฐกิจจากการคมนาคมขนส่งที่มีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยแล้ว ยังอาจนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ตลอดจนผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการใช้พลัง งานที่เพิ่มมากขึ้นทั้งการคมนาคมขนส่ง และการใช้พลังงานในอาคารรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งการศึกษาความเป็นไปได้และออกแบบแนวคิดการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) เพื่อให้มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลหรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology: ICT) จะนำมาซึ่งความรู้และความเข้าใจในการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีซึ่งเป็น จุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจรเพื่อผลต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป


อาคารคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์เพื่อการพัฒนาสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะ, อรทัย ชวาลภาฤทธิ์, นันทมล ลิมป์พิทักษ์พงศ์ Jan 2018

อาคารคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์เพื่อการพัฒนาสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะ, อรทัย ชวาลภาฤทธิ์, นันทมล ลิมป์พิทักษ์พงศ์

UNISEARCH (Unisearch Journal)

การเพิ่มขึ้นของผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกทั้งในแง่ของขนาดและความถี่ ส่งผลให้นานาประเทศมีความตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญในการร่วมมือแก้ไขปัญหามากขึ้น เป็นที่ทราบ กันดีว่าสาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเกิดจากการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ที่ ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศ ข้อมูลรายงานก๊าซเรือนกระจกล่าสุดของประเทศไทย ระบุว่า ใน พ.ศ. 2556 ประเทศไทยมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวม 318.66 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่า (MtCO2e) โดยสามในสี่ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกมาจากภาคพลังงาน (Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning (ONEP), 2017) แม้ว่าในปัจจุบันได้มีการส่งเสริม ให้มีการใช้พลังงานทางเลือกและ/หรือมีการนำนวัตกรรมต่าง ๆ เข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อลดผลกระทบจาก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ทว่าการดำเนินงานดังกล่าวก็ยังไม่สามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้ ตามเป้าหมายที่ระบุไว้ในพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol)


ผลของการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ต่อคุณภาพชีวิตและคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุในเขตเมือง, ณัฏฐา ฐานีพานิชสกุล, สัตตมาส ลรรพรัตน์, รัตนี คำมูลคร, รัชฎาภรณ์ อึ้งเจริญ Jan 2018

ผลของการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ต่อคุณภาพชีวิตและคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุในเขตเมือง, ณัฏฐา ฐานีพานิชสกุล, สัตตมาส ลรรพรัตน์, รัตนี คำมูลคร, รัชฎาภรณ์ อึ้งเจริญ

UNISEARCH (Unisearch Journal)

ในปัจจุบัน Smart City หรือเมืองอัจฉริยะเป็นหนึ่งกระแสที่กำลังพัฒนากันทั่วโลก ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้กับเมืองเพื่อให้มีความน่าอยู่ มีความสะดวกสบาย สามารถเข้าถึงบริการสาธารณะของเมืองได้อย่างรวดเร็วซึ่งส่งผลถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ของประชากรเมืองในยุคการสื่อสารไร้สายเช่นนี้ โทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่ได้ถูกนำมาใช้เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาเมืองอัจริยะด้วยสังคมไทยเริ่มก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยมาตั้งแต่ปี 2548 อันเป็นผลจากการที่อัตราการเกิดของคนไทยลดลงรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงของยุคโลกาภิวัฒน์ ที่ทำให้ปัจจุบันการติดต่อสื่อสารผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของหลายคนมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มวัยสูงอายุ จากการสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือนประจำปี 2558 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าแนวโน้มของการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 66.40 ในปี 2554 เป็นร้อยละ 79.30 ในปี 2558 ซึ่งมีอัตราการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปี ละประมาณร้อยละ 3.23 นอกจากนี้การสำรวจยังพบว่ากรุงเทพมหานครมีผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 90.30 (สำนักงานสถิติแห่งชาติ 2558)คงปฏเสธไม่ได้ว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นเครื่องมือหนึ่งที่นอกจากจะมีไว้ในการติดต่อ สื่อสารกับบุตร หลาน ครอบครัวเพื่อนได้ง่ายแล้ว ยังเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่ช่วยอำนวยความสะดวกสบาย แต่อย่างไรก็ตามการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่นั้นไม่เพียงแต่ส่งผลต่อการเชื่อมโยงด้านการติดต่อสื่อสาร ยังสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพในหลายด้าน เช่น ภาวะการนอนหลับ ภาวะซึมเศร้า อาการปวดหัว และการทำงานของสมอง เป็นต้น (Seitz et al., 2005) นอกจากนี้ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในผู้สูงอายุของประเทศญี่ปุ่น พบว่าผู้สูงอายุเพศชายที่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่จะมีภาวะซึมเศร้าในระดับต่ำกว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ และการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ส่งผลต่อการส่งเสริมภาวะด้านจิตใจ ด้านการเข้าสังคมของผู้สูงอายุเพศหญิงอีกด้วย (Minagawa and Saito, 2014)จากผลกระทบทางสุขภาพกายและจิตใจทั้งทางบวกและลบของการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในผู้สูงอายุ การศึกษาวิจัยในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้โทรศัพ ท์เคลื่อนที่ต่อคุณภาพชีวิต และคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อให้ผลงานวิจัยนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนเมืองได้ต่อไป


ฉลาดสร้างสรรค์สุขภาพดีเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของเมืองอัจฉริยะ, สุธีวัน โล่ห์สุวรรณ, สุนทร บุญญาธิการ Jan 2018

ฉลาดสร้างสรรค์สุขภาพดีเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของเมืองอัจฉริยะ, สุธีวัน โล่ห์สุวรรณ, สุนทร บุญญาธิการ

UNISEARCH (Unisearch Journal)

การสร้างสรรค์เมืองอัจฉริยะ (Smart City) ที่ดีต้องคำนึงถึงคุณภาพชีวิตที่ดี โดยเฉพาะด้านสุขภาพของชาวเมือง การเปลี่ยนวิถีชีวิตจากสังคมเกษตรในอดีตมาสู่สังคมเมืองอัจฉริยะแห่ง อนาคตวิถีชีวิตการกินและการทำกิจกรรมย่อมมีการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ วิถีชีวิตในเมือง ส่วนมากจะบริโภคอาหารที่ให้พลังงานสูงแต่ขาดการออกกำลังกาย ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases: NCDs)ซึ่งแนวทางในการแก้ไขพฤติกรรมเสี่ยงนี้ สามารถทำได้โดยนวัตกรรมการออกแบบสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นให้เกิดการออกกำลังกาย ฝังลงในกิจวัตรประจำวันแบบไม่รู้สึกตัว และการมีสภาพแวดล้อมที่ดีในเมืองสามารถส่งผลที่ดีกับองค์ประกอบอัจฉริยะหลักอื่น ๆ ของเมืองได้โครงการวิจัย ประกอบด้วย 3 โครงการวิจัยย่อย คือ 1) การวิจัยการออกแบบโดยแฝงกิจกรรมออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ (ระยะที่ 2) 2) การวิจัยดัชนีระบบนิเวศยุคใหม่เพื่อความยั่งยืน (ระยะที่ 2) และ 3) การวิจัย และอบรมเพื่อการออกแบบอย่างยั่งยืน (ระยะที่ 2) โดยวัตถุประสงค์ของการวิจัยประกอบด้วย 3 ประเด็นหลัก คือการออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดกิจกรรมการออกกำลังกายแฝง การออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อลดการใช้พลังงานและพัฒนาดัชนีประเมินระบบนิเวศอย่างยั่งยืน และการรวบรวมต่อยอดและขยายผลองค์ความรู้แบบบูรณาการ ที่ผู้อบรมสัมมนาได้รับรู้และสัมผัสผ่านกิจกรรม เกิดความเข้าใจและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้


การสื่อสารการตลาดแนวใหม่ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในเรื่องราวของสินค้าและการตัดสินใจ, วรวรรณ องค์ครุฑรักษา Jan 2018

การสื่อสารการตลาดแนวใหม่ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในเรื่องราวของสินค้าและการตัดสินใจ, วรวรรณ องค์ครุฑรักษา

UNISEARCH (Unisearch Journal)

โครงการศึกษาวิจัยเรื่อง "การสื่อสารการตลาดแนวใหม่เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในเรื่องราวของสินค้าและการตัดสินใจซื้อ" จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ เป็นการวิจัยนำร่องเพื่อให้ทราบถึงวิธีการสื่อสารโดยการใช้สื่อต่างๆ การสื่อสารการตลาดแนวใหม่เพื่อสร้างแนวทางการทำธุระกินใหม่ ๆ โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์จากสื่อใหม่ เช่น สื่อสังคมออนไลน์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบ วิธีการ และช่องทางในการสื่อสารการตลาดแนวใหม่ที่เหมาะสมในยุคสังคมออนไลน์ และเพื่อใช้เป็นแนวทางนำร่องในการสร้างความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สื่อใหม่ในองค์กรธุรกิจ ผลการวิจัยจากโครงการนี้ อาจนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารแนวใหม่ผ่านการเล่าเรื่อง (storytelling) สำหรับสินค้า ที่ต้องการปรับตัวให้เข้าสู่เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (creative economy) เน้นการสื่อสารที่ใช้เนื้อหาและเรื่องราวที่สร้างสรรค์เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความประทับใจและเพิ่มคุณค่าให้สินค้ามากยิ่งขึ้น ความเชื่อมั่นในเรื่องราวของสินค้าที่เกิดขึ้นในใจของผู้บริโภค ผ่านการเล่าเรื่องถือเป็นการสื่อสารที่โน้มน้าวด้วยข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง ไม่บิดเบือนใดๆ เป้นการสร้างอารมณ์ร่วมเพื่อให้เกิดการคล้อยตามและมีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค โดยกระตุ้นเกิดความรู้การจดจำ และความสนใจต่อสินค้า ซึ่งจะเป็นารสนับสนุนการทำเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ได้อย่างกลมกลืนเป็นไปนิศทางเดียวกัน


โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับคนเมือง, จักรกฤษณ์ ดวงพัสตรา Jan 2018

โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับคนเมือง, จักรกฤษณ์ ดวงพัสตรา

UNISEARCH (Unisearch Journal)

โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับคนเมือง มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดแสดงนิทรรศการให้ความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาสำหรับประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ้งมีแนวโน้มพึ่งพาเทคโนโลยีที่สะดวกสบายอันนำไปสู่การนำเข้าและบริโภคทรัพยากรจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันก็มีโอกาสในการใช้เทคโนโลยีทำลายสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ รวมถึงไม่มีการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมภูมิปัญญาของชุมชนท้องถิ่น ส่งผลให้ประเทศไทยสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับคนเมือง เพื่อส่งเสริมการกระตุ้นให้สังคมคนเมืองตระหนักถึงการใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางชีวภาพที่มีความหลากหลายด้วยภูมิปัญญาชุมชนและท้องถิ่น เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ ด้วยสถานที่ที่คนเมืองเข้าถึงง่าย มีความน่าสนใจเชื่อมโยงถึงวิถีชีวิตคนเมืองโดยการออกแบบจัดสรรพื้นที่อย่างน่าสนใจมีประสิทธิภาพ เพื่อให้คนเมืองได้รับองค์ความรู้ในเรื่องของความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) ซึ่งมีพันธกิจในการส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มมูลค่าการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นและธุรกิจชีวภาพด้วยการใช้สหวิทยาการที่เกี่ยวข้อง เห็นความสำคัญของการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ฯ โดยนำเสนอกรอบแนวคิดรูปแบบนิทรรศการที่เหมาะสม ทำเลที่ตั้งที่เอื้อต่อการเข้าถึงของคนเมือง และความคุ้มค่าทางการเงินในการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ฯ


บทบรรณาธิการ, บรรณาธิการ Jan 2018

บทบรรณาธิการ, บรรณาธิการ

Journal of Social Sciences

No abstract provided.


มิติระหว่างประเทศในตุลาการภิวัฒน์, วีระ สมบูรณ์ Jan 2018

มิติระหว่างประเทศในตุลาการภิวัฒน์, วีระ สมบูรณ์

Journal of Social Sciences

บทความชิ้นนี้วิเคราะห์อธิบายมิติระหว่างประเทศซึ่งสัมพันธ์กับตุลาการภิวัตน์ เริ่มจากแนวพินิจเกี่ยวกับตุลาการภิวัตน์ในฐานะส่วนหนึ่งในกระบวนการประกอบสร้างของการจัดการปกครอง พัฒนาการช่วงที่ผ่านมานับแต่สิ้นสุดสงครามเย็นและกระแสโลกาภิวัตน์ ทำให้มิติระหว่างประเทศมีผลสำคัญต่อการจัดวางหลักการและแนวปฏิบัติของตุลาการภิวัตน์ทั่วโลก จากนั้นจึงอภิปรายมิติระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ปทัสถานระหว่างประเทศ เศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศ และโลกาภิวัตน์ทางตุลาการ โดยนำเสนอกรณีศึกษาหลายประเทศจากอดีตจนถึงช่วงที่ผ่านมา เพื่อชี้ว่าตุลาการภิวัตน์ผนวกกับผลกระทบของมิติระหว่างประเทศ ได้กลายเป็นส่วนสำคัญของแนวทางร่วมสมัยในการแก้ไขความตึงเครียดทางการเมืองในสังคมช่วงเปลี่ยนผ่าน กระบวนการนี้นำมาซึ่งการเผยแพร่รับเอาปทัสถานและแนวปฏิบัติเข้าสู่ระดับภายในประเทศและท้องถิ่น การวิเคราะห์จึงจำเป็นต้องพิจารณาจริงจังถึงบริบททางประวัติศาสตร์และการใช้ประโยชน์ทางการเมืองซึ่งเกี่ยวข้องด้วย ตุลาการภิวัตน์ยังคงอยู่ต่อไป และพัฒนาการซึ่งสัมพันธ์กับมิติระหว่างประเทศยังต้องการการศึกษาและทำความเข้าใจมากขึ้น


ที่พรมแดนระหว่างอนุภูมิภาคเอเชียใต้และอาเซียน: มองอินเดียเชื่อมต่อเมียนมาร์ เพื่อมุ่งหน้าไปด้วยกัน, อภิรัฐ คำวัง Jan 2018

ที่พรมแดนระหว่างอนุภูมิภาคเอเชียใต้และอาเซียน: มองอินเดียเชื่อมต่อเมียนมาร์ เพื่อมุ่งหน้าไปด้วยกัน, อภิรัฐ คำวัง

Journal of Social Sciences

จากความร่วมมือระหว่างอาเซียน-อินเดีย และจากกระบวนการพัฒนาประเทศภายในอินเดีย ได้ผลักดันให้อินเดียเร่งรัดพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะพรมแดนอินเดีย-เมียนมาร์ เพื่อเชื่อมต่อทางกายภาพสู่อาเซียนด้วยทางหลวงไตรภาคี อินเดีย-เมียนมาร์-ไทย การพัฒนาดังกล่าวเป็นที่มาของการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพทางด้านสังคมศาสตร์ครั้งนี้ ซึ่งให้ความสนใจต่อพรมแดนระหว่างสองภูมิภาค จึงได้ค้นคว้าข้อมูลพื้นฐานด้านสังคมและเศรษฐกิจตามแนวพรมแดน โดยศึกษาเอกสารและศึกษาภาคสนามที่พรมแดนของอินเดีย ทำให้ทราบถึงสภาพความเป ็นจริงที่ตลาดพรมแดนและความก้าวหน้า โดยท่อนเดียเตรียมจะเปิดประตูสู่อาเซียนที่รัฐมณีปุระ ส่วนพรมแดนแห่งอื่นคงเปิดพื้นที่เฉพาะพ่อค้าท้องถิ่นกลุ่มชาติพันธุ์ยังไม่ยกระดับเป็นพรมแดนนานาชาติ จึงเป็นประเด็นที่จะต้องมีการตกลงระหว่างอินเดียกับเมียนมาร์เพื่อนำไปสู่ผลสำเร็จของการเชื่อมต่อดังกล่าว ทั้งนี้ ผลการศึกษาคาดหวังว่าจะช่วยส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับอินเดียมากยิ่งขึ้น รวมทั้งเป็นประโยชน์ต่อการเตรียมความพร้อมของไทยก่อนการเปิดทางหลวงไตรภาคี


ยักษ์ที่เท้าทำด้วยดินเหนียว: บทวิจารณ์ของ Leo Strauss กับความง่อนแง่นขององค์ความรู้ในการวิจัยเชิงปริมาณ?, เอกพลณัฐ ณัฐพัทธนันท์ Jan 2018

ยักษ์ที่เท้าทำด้วยดินเหนียว: บทวิจารณ์ของ Leo Strauss กับความง่อนแง่นขององค์ความรู้ในการวิจัยเชิงปริมาณ?, เอกพลณัฐ ณัฐพัทธนันท์

Journal of Social Sciences

มนุษย์โดยทั่วไปต่างหวาดกลัวความไม่แน่นอนในชีวิต พวกเขาจึงคาดหวังที่จะสามารถคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ และสามารถเตรียมพร้อมรับมือปัญหาที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้าได้ทันท่วงที เพื่อจะได้ทำให้อนาคตของพวกเขากลายเป็นสิ่งที่ดี ซึ่งแนวทางดังกล่าวทำให้ "วิทยาศาสตร์" สามารถตอบโจทย์ความต้องการดังกล่าวได้ เพราะเป็นแนวทางการศึกษาที่มีกฎระเบียบเคร่งครัด สามารถคาดการณ์และทำนายปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้นตามธรรมชาติในอนาคตได้ แต่ถึงแม้ว่าการทดลองทางวิทยาศาสตร์จำนวนมากจะสร้างความศรัทธาให้กับมนุษยชาติ จนกระทั่งมีการนำแนวทางการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์เข้าไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาสาขาวิชาต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง ในลักษณะของการทำวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีการใช้เทคนิคทางสถิติเป็นเครื่องมือในการทดสอบสมมติฐานของการวิจัย แต่แล้วหลักการแบบวิทยาศาสตร์ที่สวยหรู ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง "ความเป็นกลาง" (neutrality) และเรื่อง “ความเป็นภววิสัย” (objectivity) ก็ต้องถูกทำให้มัวหมองไป เมื่อการศึกษาดังกล่าวหลีกหนีไม่พ้นอคติ หรืออารมณ์ความรู้สึกของผู้วิจัยที่เป็นปุถุชนผู้สร้างกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ขึ้นมา ก่อให้เกิดความไม่ลงรอยกันทั้งในทางหลักการและในทางปฏิบัติเกี่ยวกับการทดสอบสมมติฐานและการสร้างข้อสรุปผลการวิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้ที่ทำได้อย่างมากเพียงแค่การอาศัย "ความน่าจะเป็นทางสถิติ" ซึ่งก็คือ การคาดการณ์ว่าปรากฏการณ์ที่ศึกษาจะเกิดขึ้นจริงบนฐานของความไม่แน่นอนนั่นเองแต่ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบันได้ทำให้ปัญหาดังกล่าวลดลง คำปรามาสของ ลีโอ สเตราส์ ที่ว่าองค์ความรู้สมัยใหม่เปรียบเสมือนยักษ์ที่เท้าเป็นดินเหนียวจึงต้องถูกนำกลับมาพิจารณาใหม่อีกครั้ง


บทบรรณาธิการ, บรรณาธิการ Jan 2018

บทบรรณาธิการ, บรรณาธิการ

Journal of Social Sciences

No abstract provided.