Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 2401 - 2430 of 5570

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

การเปรียบเทียบผลกระทบของมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีแบบต่าง ๆ ต่อการส่งออกทูน่ากระป๋องในประเทศไทย, เค้นท์ สเคาว์เทิ่น Jan 2018

การเปรียบเทียบผลกระทบของมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีแบบต่าง ๆ ต่อการส่งออกทูน่ากระป๋องในประเทศไทย, เค้นท์ สเคาว์เทิ่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลกระทบของมาตรการกีดกันการค้าที่มิใช่ภาษีประเภทต่าง ๆ ต่อมูลค่าการส่งออกทูน่ากระป๋องของประเทศไทย โดยผ่านแบบจำลองแรงโน้มถ่วง (Gravity Model) โดยใช้ข้อมูลจาก 14 ประเทศคู่ค้าสำคัญของประเทศไทยแบบรายปี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2006-2015 ซึ่งผลการศึกษาพบว่า มาตรการกีดกันการค้าที่มิใช่ภาษีที่นานาชาติใช่กับสินค้าทูน่ากระป๋อง (HS code: 160414) ไม่ส่งผลเสียกับมูลค่าการส่งออกทูน่ากระป๋องของประเทศไทย แต่กลับส่งผลทำให้มูลค่าการส่งออกทูน่ากระป๋องของไทยเพิ่มขึ้น ซึ่งขัดแย้งกับแนวคิดการใช้มาตรการกีดกันการค้าที่มิใช่ภาษี เนื่องจาก มาตรฐานสินค้าทูน่ากระป๋องของประเทศไทยสูงกว่าข้อกำหนด กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของมาตรการกีดกันการค้าที่มิใช่ภาษีที่นานาประเทศบังคับใช้กับประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยไม่ได้รับผลกระทบในขณะที่ประเทศอื่น ๆ ประสบปัญหานี้ นอกจากนี้ มาตรการกีดกันการค้าที่มิใช่ภาษีที่ส่งผลกระทบต่อมูลค่าการส่งออกทูน่ากระป๋องมากที่สุดคือ มาตรการกีดกันการค้าที่มิใช่ภาษีประเภทจำกัดปริมาณ (Quantitative Restrictions :QR) เนื่องจาก มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีประเภทจำกัดปริมาณที่สำคัญไม่ส่งผลต่อประเทศไทยแต่ส่งผลกับคู่แข่งของไทย คือ มาตรการห้ามนำเข้าทูน่ากระป๋องที่มีวัตถุดิบจากการทำประมงอวนล้อมของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้รับการประสานงานแก้ไขโดยสมาคมอุตสาหกรรมทูน่ากระป๋องไทยเรียบร้อย แต่ประเทศผู้ส่งออกทูน่ากระป๋องประเทศอื่น ๆ ยังคงประสบปัญหานี้อยู่ ทำให้ในตลาดสหรัฐอเมริกามีทูน่ากระป๋องจากประเทศคู่แข่งของไทยน้อย จึงทำให้ทูน่ากระป๋องของไทยมีส่วนแบ่งตลาดที่มากขึ้นและมูลค่าการส่งออกทูน่ากระป๋องที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย


การติดตามนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2555-2557, ทนาย เพิ่มพูล Jan 2018

การติดตามนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2555-2557, ทนาย เพิ่มพูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ติดตามการขับเคลื่อน ผลผลิต และผลลัพธ์ของนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2555 – 2557 (2) วิเคราะห์อุปสรรคในการขับเคลื่อนนโยบายฯ และ (3) สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ไขอุปสรรคในการขับเคลื่อนนโยบายฯ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงผสม ประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์ รวมทั้งการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลและแบบสอบถาม ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ในการติดตามการขับเคลื่อนนโยบายด้านทรัพยากรที่ใช้เพียงพอแต่ยังขาดความสมดุลระหว่างด้านความมั่นคงและการพัฒนา ด้านเส้นทางนโยบายมีความเชื่อมโยงและเหมาะสม ด้านกระบวนการและกลไกสอดคล้องกันแต่ยังบูรณาการไม่สมบูรณ์ ด้านภาคีได้รับความร่วมมือดีขึ้นจากประชาชน ภาคประชาสังคม เอกชน และต่างประเทศ ส่วนขบวนการลดการก่อเหตุรุนแรงแต่เปลี่ยนมาต่อสู้ทางความคิดอย่างเปิดเผยมากขึ้น ในการติดตามผลผลิต เหตุการณ์ความรุนแรง การสูญเสียประชากรและเจ้าหน้าที่ความมั่นคงมีแนวโน้มลดลง ส่วนการสิ้นเปลืองยุทโธปกรณ์และงบประมาณมีแนวโน้มสูงขึ้น และในการติดตามผลลัพธ์ มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับ"ปานกลาง"ทั้งในด้านการบรรลุวัตถุประสงค์ ความเท่าเทียม และเสรีภาพ (2) อุปสรรคที่สำคัญคืออุปสรรคในการบูรณาการให้การจัดสรรทรัพยากรมีสัดส่วนด้านความมั่นคงและการพัฒนาที่เหมาะสมภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมทั้งบูรณาการกลไกความมั่นคงและการพัฒนา และอุปสรรคจากการที่ต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ หรือภาคประชาสังคมอาจถูกขบวนการใช้เป็นเครื่องมือในการต่อสู้ทางการเมืองได้ (3) ข้อเสนอแนวทางแก้ไขอุปสรรคควรปรับปรุงให้การขับเคลื่อนนโยบายมีความสมดุลระหว่างด้านความมั่นคงและพัฒนา ให้กลไกและภาคีในการขับเคลื่อนนโยบายมีพื้นฐานความเข้าใจที่ถูกต้อง และปรับปรุงให้กระบวนการและกลไกในการขับเคลื่อนนโยบายมีประสิทธิภาพ


ปัจจัยทางจิตวิทยากับผลต่อการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุ, ชานนท์ ศิริธร Jan 2018

ปัจจัยทางจิตวิทยากับผลต่อการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุ, ชานนท์ ศิริธร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) ศึกษาลักษณะการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุ 2.) เพื่อศึกษาปัจจัยทางจิตวิทยาทั้งภายในและภายนอกกับผลต่อการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุ 3.) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยทางจิตวิทยาภายใน ปัจจัยทางจิตวิทยาภายนอก และการรับรู้คุณลักษณะของนวัตกรรม และ 4.) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการเห็นคุณค่าในตนเองและความพึงพอใจในชีวิต ระหว่างผู้สูงอายุที่มีปริมาณความเข้มข้นในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ระดับมากกับผู้สูงอายุที่มีปริมาณความเข้มข้นในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ระดับน้อย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุทั้งชายและหญิงที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป โดยทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้สูงอายุ รวมทั้งสิ้น 25 คน จากนั้นทำการวิจัยเชิงสำรวจกับผู้สูงอายุที่มีปริมาณความเข้มข้นในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ระดับมาก และผู้สูงอายุที่มีปริมาณความเข้มข้นในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ระดับน้อย รวมทั้งสิ้น 730 คน ซึ่งทั้งหมดอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า ผู้สูงอายุตัดสินใจใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์เนื่องจากแรงกระตุ้นจากเพื่อน ลูกหลาน และบุคคลที่ชื่นชอบ โดยจะใช้งานใน 4 ลักษณะ ได้แก่ ใช้สร้างความสัมพันธ์กับคนอื่น ใช้หาข้อมูลข่าวสาร ใช้แสดงอารมณ์ความรู้สึก และใช้สร้างความภูมิใจในตน โดยปัจจัยที่แตกต่างกันอย่างมากระหว่างผู้สูงอายุที่ใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์กับผู้ที่ไม่ได้ใช้งานคือ การรับรู้ความสามารถของตน (Self-efficacy) นอกจากนี้ยังพบว่า การใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ช่วยส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเกิดการสร้างเสริมพลังในตนเอง (Self-Empowerment) โดยเฉพาะในการหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่งส่งผลทำให้ผู้สูงอายุเรียนรู้การดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น นำมาซึ่งการเห็นคุณค่าในตนเองและความพึงพอใจในชีวิต ส่วนในการวิจัยเชิงปริมาณ ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณพบว่า ตัวแปรที่มีประสิทธิภาพในการพยากรณ์การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุมากที่สุดคือ ปัจจัยทางจิตวิทยาภายในตัวผู้สูงอายุ (Adjust R2 = .325) ซึ่งพยากรณ์ได้ที่ร้อยละ 32.5 ถัดมาคือ ปัจจัยทางจิตวิทยาภายนอกตัวผู้สูงอายุ (Adjust R2 = .313) ซึ่งพยากรณ์ได้ที่ร้อยละ 31.3 และคุณลักษณะของนวัตกรรม (Adjust R2 = .187) ซึ่งพยากรณ์ได้ที่ร้อยละ 18.7 ตามลำดับ


The Volatility Of Equity Flows In Asean Emerging Markets, Supatchaya Ketchan Jan 2018

The Volatility Of Equity Flows In Asean Emerging Markets, Supatchaya Ketchan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The volatility of foreign equity flows into and out of ASEAN emerging markets is a source of concerned for macroeconomic and financial stability. This thesis uses the DCC-MGARCH model examine the volatility co-movement of daily net foreign equity flows for four ASEAN emerging economies (Thailand, Malaysia, Indonesia and the Phillipines) from 1st October 2009 to 28th December 2018. Furthermore, the SUR model is employed to understand which global and domestic macroeconomics factors may affect the volatility of net foreign equity flows. Overall, we find a slowdown of net equity flows to these ASEAN emerging markets especially since 2015 with the …


Sex-Composition Of Children And Fertility Desire In Vietnam, Hai Yen Thi Nguyen Jan 2018

Sex-Composition Of Children And Fertility Desire In Vietnam, Hai Yen Thi Nguyen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis aims to investigate whether the variation in sex composition of children can explain the variation of Vietnamese women's fertility desire. Vietnam has experienced rapid fertility decline since the middle of the 20th century but within a broader context of strong cultural norms regarding son preference. Thus, the sex composition of children is one of the key determinants of reproductive behavior within Vietnam. To my knowledge, no previous study has examined the relationship between sex composition of children and women's fertility desires in Vietnam. Using data from the 2014 Vietnam Multiple Indicator Cluster Survey (MICS) I investigate the association …


Economic Security And Development: The Impacts Of Inca Inchi Contract-Farming As An Agricultural Business Model In Kachin State, Myanmar, Zaw Ban Jan 2018

Economic Security And Development: The Impacts Of Inca Inchi Contract-Farming As An Agricultural Business Model In Kachin State, Myanmar, Zaw Ban

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In Myanmar, Inca Inchi is one of the new economic businesses that made changes to the agriculture sector with both its advantages to the quality of life of the people and a high selling price which generates an economic benefit. This study tries to explore the overall social and economic impact that Inca Inchi contract-farming as a business model has had on the security and development specifically for the farmers who signed the contracts with the Inca Inchi companies in the Kachin state, Myanmar. Sample size in Myitkyina Township represented total population. Quantitative data collection method based on primary data …


การปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงระหว่างพิจารณาคดีในประเทศไทยตามข้อกำหนดกรุงเทพ (Bangkok Rules), สตรีรัตน์ แสงวิเชียร์ Jan 2018

การปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงระหว่างพิจารณาคดีในประเทศไทยตามข้อกำหนดกรุงเทพ (Bangkok Rules), สตรีรัตน์ แสงวิเชียร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง "การปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงระหว่างพิจารณาคดีในประเทศไทยตามข้อกำหนด (Bangkok Rules" นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงระหว่างพิจารณาคดีในทัณฑสถานหญิงและเรือนจำที่ควบคุมผู้ต้องขังหญิงในประเทศไทยและแนวทางการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงระหว่างพิจารณาคดีในประเทศไทยให้สอดคล้องตามข้อกำหนดกรุงเทพ (Bangkok Rules) การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ต้องขังหญิงระหว่างพิจารณาคดีที่อาศัยอยู่ในเรือนจำ/ทัณฑสถานตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปจำนวน 9 คน ผู้ซึ่งถูกควบคุมตัวอยู่ในทัณฑสถานหญิงธนบุรี เรือนจำกลางสมุทรสงคราม และเรือนจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อีกทั้งสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานรวม 6 คน และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านทัณฑวิทยา ผลการศึกษาพบว่าปัญหาการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงระหว่างพิจารณาคดีในทัณฑสถานหญิงและเรือนจำ ได้แก่ ปัญหาด้านสถานที่คับแคบไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ต้องขัง ส่งผลให้ไม่สามารถแยกคุมขังได้ รวมถึงพื้นที่ไม่มีสัดส่วนในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้านงบประมาณจากรัฐไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ต้องขัง ระยะเวลาทำกิจกรรมส่วนตัวไม่เพียงพอ/การไม่มีน้ำใช้ คุณภาพอาหารของเรือนจำบางแห่งไม่เหมาะสม การเยี่ยมญาติของเรือนจำบางแห่งแตกต่างจากที่อื่น ซึ่งให้เยี่ยมน้อยเกินไป ผู้ต้องขังที่ป่วยเป็นโรคเฉพาะไม่ได้รับการรักษาอย่างเต็มที่ อีกทั้งเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ต้องขังและขาดเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง และขาดมาตรการทางเลือกในการเลี่ยงผู้กระทำผิดเข้าสู่เรือนจำ การค้นพบที่สำคัญในการวิจัยครั้งนี้คือ เรื่องการตรวจค้นตัวผู้ต้องขังที่อดีตเคยมีการค้นลุกล้ำเข้าไปในร่างกาย ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นอย่างยิ่ง โดยจากการศึกษาไม่พบการปฏิบัติเช่นนั้นแก่ผู้ต้องขังแล้ว ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษา มีดังนี้ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 1)ข้อเสนอให้มีการลดการควบคุมผู้ต้องขังหญิงระหว่างพิจารณาคดีในเรือนจำ 2)ข้อเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพรบ.ราชทัณฑ์ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงระหว่างพิจารณาคดีให้มีความชัดเจน 3)ควรมีการใช้มาตรการเลี่ยงโทษจำคุก ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการต่อทัณฑสถาน 1)ควรเพิ่มอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ในสัดส่วนที่มากขึ้น 2) ควรเพิ่มเวลาการทำกิจกรรมส่วนตัว ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการต่อเรือนจำชายที่มีแดนหญิง 1) ควรเพิ่มอัตรากำลังเจ้าหน้าที่และเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ 2)ควรปรับปรุงคุณภาพและปริมาณของอาหารให้เพิ่มมากขึ้น 3) ควรเพิ่มการเยี่ยมญาติ 4) ควรให้เจ้าหน้าที่คัดกรองผู้ต้องขังหญิงระหว่างพิจารณาคดีที่มีโรคประจำตัวเพื่อรับการรักษาที่ต่อเนื่องและป้องกันไม่ให้มีอาการที่รุนแรงมากขึ้น


การคุ้มครองสิทธิและการเข้าถึงความยุติธรรมของคนไร้ที่พึ่งในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง, ภีมกร โดมมงคล Jan 2018

การคุ้มครองสิทธิและการเข้าถึงความยุติธรรมของคนไร้ที่พึ่งในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง, ภีมกร โดมมงคล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเรื่อง "การคุ้มครองสิทธิและการเข้าถึงความยุติธรรมของคนไร้ที่พึ่งในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค้นคว้า กฎหมาย หลักการ แนวปฏิบัติเพื่อคุ้มครองสิทธิ สภาพปัญหา สาเหตุ อุปสรรค ผลกระทบ การเยียวยา สถานการณ์การละเมิดสิทธิและการเข้าไม่ถึงความยุติธรรม และเสนอแนะแนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสมต่อการคุ้มครองสิทธิและการเข้าถึงความยุติธรรมของคนไร้ที่พึ่งในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาโดยใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed method) คือเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ รวมถึงการศึกษาทบทวนเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Documentary research) ตามแนวคิดการคุ้มครองสิทธิและการเข้าถึงความยุติธรรม ผลการวิจัยสรุปสาระสำคัญได้ 2 ประการดังต่อไปนี้ ประการแรก การถูกละเมิดสิทธิ (Rights Infringement) พบปัญหาหลายประการทั้งด้านกฎหมาย นโยบาย การปฏิบัติและองค์ความรู้ เช่น (1) พ.ร.บ คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 กีดกันคนบางกลุ่มออกจากสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งเนื่องจากกฎหมายคุ้มครองเฉพาะกลุ่มที่เกี่ยวข้อง (2) สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งมีกฎระเบียบมากเกินไป ขาดการเชื่อมโยงฐานข้อมูลและขาดระเบียบวิธีการปฏิบัติงานที่ชัดเจนระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (3) คนไร้ที่พึ่งส่วนใหญ่ขาดการรับรู้เรื่องสิทธิของตนเอง (4) เจ้าหน้าที่และบุคลากรไม่เพียงพอ ขาดองค์ความรู้ และทักษะการปฏิบัติงานด้านสังคมสงเคราะห์ ประการที่สอง การเข้าไม่ถึงความยุติธรรม (Inaccessibility to justice) พบปัญหาหลายประการ เช่น (1) เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้วิธีการล่อลวงและควบคุมตัวคนไร้ที่พึ่งเพื่อเข้าสู่กระบวนการคัดกรองคุณสมบัติโดยปราศจากความยินยอม (2) การเลือกปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ในบางสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง (3) สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งยังขาดมาตรการ หลักเกณฑ์และกองทุนการเยียวยากรณีคนไร้ที่พึ่งที่ได้รับการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสม (4) คนไร้ที่พึ่งไม่กล้าร้องเรียนปัญหาเนื่องจากเกรงผลกระทบต่อการใช้บริการ ผลการวิจัยในครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงกฎหมาย นโยบาย ระเบียบ กลไกลและหลักการปฏิบัติในการคุ้มครองสิทธิและการเข้าถึงความยุติธรรมของคนไร้ที่พึ่งในอนาคต


Health Consciousness And The Theory Of Planned Behavior: The Role Of Health Consciousness With The On-Campus Use Of Reusable Water Bottle Among Chulalongkorn Freshmen, Aruch Patumtaewapibal Jan 2018

Health Consciousness And The Theory Of Planned Behavior: The Role Of Health Consciousness With The On-Campus Use Of Reusable Water Bottle Among Chulalongkorn Freshmen, Aruch Patumtaewapibal

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Use of reusable water container on Chulalongkorn University campus, though is pro-environmental, is currently limited among the students. The present study investigated antecedents of such behavior, using the theory of planned behavior (TPB) with health consciousness as an addition to the model. One-hundred and twenty Chulalongkorn freshmen filled out a TPB-based questionnaire with a health consciousness scale. Data analyses using LISREL reveal an excellent fit for the TPB model. Specifically, attitude, perceived norms, and perceived behavioral control significantly and positively predicted intention and the behavior. Health consciousness indirectly influence intention and behavior via attitude, perceived norms, and perceived behavioral control. …


Indonesia's Role In Humanitarian Crisis In Rakhine State Of Myanmar (2012- 2017), Muhammad Indrawan Jatmika Jan 2018

Indonesia's Role In Humanitarian Crisis In Rakhine State Of Myanmar (2012- 2017), Muhammad Indrawan Jatmika

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis begins with the question of why does Indonesia consider the humanitarian crisis that occurred in Rakhine State of Myanmar as a very important issue and needs to be taken seriously by conducting soft power diplomacy and humanitarian assistance to address the crisis? Indonesia has the rational choice of conducting soft diplomacy in the form of bilateral and multilateral responses, as well as providing humanitarian assistance in the crisis that occurred in Rakhine state. Theoretical discussion of this paper is carried out on the theory by William D Coplin on various factors that influence the process of foreign policy …


ความไม่สมมาตรของข้อมูลในการประกันภัยพืชผลของไทย: กรณีศึกษา โครงการประกันภัยข้าวนาปี, ดามพ์ ไข่มุกด์ Jan 2018

ความไม่สมมาตรของข้อมูลในการประกันภัยพืชผลของไทย: กรณีศึกษา โครงการประกันภัยข้าวนาปี, ดามพ์ ไข่มุกด์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภัยพิบัติทางธรรมชาติสร้างความเสียหายต่อผลผลิตของเกษตรกรเฉลี่ย 7,253 ล้าน/ปี ทำให้ภาครัฐต้องช่วยเหลือเกษตรกรในการบริหารความเสี่ยงโดยใช้การประกันภัยพืชผล แต่ระบบประกันภัยพืชผลยังประสบกับปัญหาบริบทของเกษตรกรในแต่ละพื้นที่ที่มีความแตกต่างกัน ความไม่สมมาตรของข้อมูลอาจเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหา การศึกษานี้จึงให้ความสำคัญกับปัญหาความไม่สมมาตรของข้อมูลที่เกิดในโครงการประกันภัยพืชผลของเกษตรกรในพื้นที่ความเสี่ยงที่แตกต่างกัน โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้เพาะปลูกข้าว 379 ครัวเรือน เพื่อนำมาวิเคราะห์ Adverse Selection และ Moral Hazard โดยใช้แบบจำลอง Ordered Logit และการหาค่าคาดหมายของผลตอบแทน อีกทั้งทำการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลในการเข้าร่วมโครงการประกันภัยพืชผล โดยใช้แบบจำลอง Binary Logit ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าปัจจัยที่ส่งผลในการเข้าร่วมโครงการฯ คือ การอุดหนุนค่าเบี้ยจากภาครัฐและประสบการณ์ในการเผชิญภัยพิบัติที่มากขึ้น และพบการเกิด Adverse Selection ในระดับพื้นที่ โดยพื้นที่ความเสี่ยงสูงมีการกระจุกของพื้นที่เอาประกันมากกว่าพื้นที่ความเสี่ยงต่ำ ทำให้ค่าคาดหมายของผลตอบแทนในการดำเนินโครงการฯ ขาดทุน สำหรับการเกิด Moral Hazard พบว่า เกษตรกรในพื้นที่ความเสี่ยงระดับสูงเห็นช่องโหว่ในการตรวจสอบความเสียหายทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการชดเชยที่เพิ่มขึ้น สำหรับพื้นที่ความเสี่ยงระดับกลาง พบว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงต้นทุนในการใช้สารเคมี แต่ในพื้นที่ความเสี่ยงระดับต่ำ ไม่พบการเกิด Moral Hazard จะเห็นได้ว่า หลักเกณฑ์ของโครงการนำสู่การเกิดความไม่สมมาตรของข้อมูล ดังนั้นการกำหนดหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมกับบริบทของเกษตรกรในแต่ละพื้นที่จึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อลดปัญหาดังกล่าว


“สันติภาพของเธอ”: การเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพของสตรีในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย, ภัสสรา บุญญฤทธิ์ Jan 2018

“สันติภาพของเธอ”: การเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพของสตรีในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย, ภัสสรา บุญญฤทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานศึกษานี้มีวัตถุประสงค์สี่ประการคือ 1) อธิบายพัฒนาการการปฏิบัติการทางสังคมของกลุ่มผู้หญิงคณะทำงานวาระผู้หญิงชายแดนใต้ 2) สังเคราะห์ความหมายของสันติภาพของคณะทำงานวาระผู้หญิงชายแดนใต้ 3) วิเคราะห์การทำงานของคณะทำงานวาระผู้หญิงชายแดนใต้ ในการขับเคลื่อนประเด็นสันติภาพที่สัมพันธ์กับมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (the United Nations Security Council: UNSC) หมายเลข 1325 และ 4) วิเคราะห์เงื่อนไขที่เอื้ออำนวยและที่ท้าทายการดำเนินกิจกรรมเพื่อสันติภาพของกลุ่มผู้หญิงภาคประชาสังคมในนามของคณะทำงานวาระผู้หญิงชายแดนใต้ ผลการศึกษาพบว่าคณะทำงานวาระผู้หญิงชายแดนใต้ก่อตัวขึ้นโดยอาศัยความสัมพันธ์เชิงเครือข่ายที่เกิดขึ้นทั้งก่อนสถานการณ์ความไม่สงบระลอกใหม่ในปี 2547 ผ่านการชักจูงของเจ้าหน้าที่แหล่งทุนและการเชิญชวนปากต่อปากของพวกเธอในช่วงเวลาที่สุกงอมเพื่อสร้างเวทีเชิงประเด็นของผู้หญิงที่ขับเคลื่อนประเด็นสันติภาพให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้นกว่าที่ผ่านมา งานด้านสันติภาพและความหมายสันติภาพของพวกเธอเติบโตจากสันติภาพประเด็นเย็นเช่นงานเยียวยาไปสู่งานสันติภาพประเด็นร้อนคือประเด็นความมั่นคงสะท้อนจากผลลัพธ์การทำงานของพวกเธอนั่นคือข้อเสนอพื้นที่สาธารณะปลอดภัยและข้อเสนอสภาวะที่เอื้อต่อการสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนใต้ การทำงานของพวกเธอเมื่อพิจารณาตามมติ 1325 พบว่าต้องเจอกับข้อท้าทายมากมายทั้งข้อท้าทายภายในองค์กรและอีกทั้งยังพบว่าพวกเธอต้องทำงานต่อรองกับนโยบายระดับชาติด้านความมั่นคงที่เลี่ยงการเรียกพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยคำว่าพื้นที่ขัดแย้งทางกำลังอาวุธและปัญหาการขาดความตระหนักรู้มิติความสัมพันธ์หญิงชายในพื้นที่ แต่ด้วยข้อสนับสนุนหลายๆประการและการเรียนรู้ที่จะประนีประนอมกับข้อท้าทายต่างๆ ทำให้พวกเธอได้ก้าวออกมาจากการทำงานสันติภาพแบบไม่เป็นทางการซึ่งเป็นการเปลี่ยนสถานะจากผู้ที่อยู่วงนอกของกระบวนการสันติภาพมาเป็นตัวแสดงที่กำลังเคลื่อนที่เข้าสู่วงในของกระบวนการสันติภาพ


ปัจจัยทางเศรษฐกิจสังคมกับความคิดเห็นของประชาชนในการไม่เคารพกฎหมาย กรณีศึกษา พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 : บทบังคับการสวมหมวกนิรภัยของผู้ใช้รถจักรยานยนต์, รัชมงคล มงคลดาว Jan 2018

ปัจจัยทางเศรษฐกิจสังคมกับความคิดเห็นของประชาชนในการไม่เคารพกฎหมาย กรณีศึกษา พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 : บทบังคับการสวมหมวกนิรภัยของผู้ใช้รถจักรยานยนต์, รัชมงคล มงคลดาว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจัยทางเศรษฐกิจสังคมกับความคิดเห็นของประชาชนในการไม่เคารพกฎหมาย กรณีศึกษา พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 : บทบังคับการสวมหมวกนิรภัยของผู้ใช้รถจักรยานยนต์ มุ่งศึกษาบริบทเชิงเศรษฐกิจและสังคมที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามกฎหมายในบทบังคับการสวมหมวกนิรภัยในกลุ่มผู้ใช้รถจักรยานยนต์ โดยศึกษากลุ่มตัวอย่างในชุมชนเขตเมืองและชุมชนนอกเขตเมืองเปรียบเทียบความแตกต่างของทัศนคติ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการรับรู้ข่าวสาร ด้านการวางแผนร่วมกัน และด้านการปฏิบัติและควบคุม ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตามกฎหมาย ผลการศึกษาพบว่า ความแตกต่างของบริบททางเศรษฐกิจและสังคมส่งผลต่อทัศนคติการปฏิบัติตามกฎหมายจราจร โดยชุมชนนอกเขตเมืองสนับสนุนการสวมหมวกนิรภัยมากกว่าชุมชนเขตเมือง ทั้งนี้ การสื่อสารสร้างการรับรู้ข่าวสารภายในชุมชนสามารถสร้างพฤติกรรมเคารพกฎหมายจราจรในชุมชนนอกเขตเมืองได้ดีกว่า และแม้ว่าชุมชนเขตเมืองมีช่องทางให้เสนอความคิดเห็นอย่างสะดวก แต่การวางแผนร่วมกันภายในชุมชนเพื่อกำหนดแนวทางส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัยยังคงน้อยกว่าชุมชนนอกเขตเมือง นอกจากนี้ ระดับการมีส่วนร่วมกับเจ้าหน้าที่เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยนั้น ชุมชนนอกเขตเมืองมีระดับการลงมือปฏิบัติมากกว่า โดยชุมชนเขตเมืองมีแนวโน้มเพียงแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเท่านั้น การพิจารณากำหนดกลไกและนโยบายส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัย เพื่อลดอุบัติเหตุ จึงต้องปรับแต่งให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละชุมชน กล่าวคือ ในชุมชนเขตเมืองควรใช้กลไกการบังคับใช้กฎหมายที่เคร่งครัดของเจ้าหน้าที่ และในชุมชนนอกเขตเมือง ควรส่งเสริมระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนในการกำกับควบคุมพฤติกรรมของผู้ใช้รถจักรยานยนต์


ค่าจ้างและความต้องการทำงานเพิ่มของแรงงานนอกระบบ: กรณีศึกษาในประเทศไทย, ผกามาศ เลียงธนะฤกษ์ Jan 2018

ค่าจ้างและความต้องการทำงานเพิ่มของแรงงานนอกระบบ: กรณีศึกษาในประเทศไทย, ผกามาศ เลียงธนะฤกษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ด้วยเหตุที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยที่แรงงานมีแนวโน้มลดลง การหาแรงงานมาทดแทนในตลาดแรงงานจึงเป็นประเด็นที่ควรศึกษา เนื่องจากแรงงานที่ต้องการจะทำงานเพิ่มกว่าร้อยละ 80 เป็นแรงงานนอกระบบ การศึกษาครั้งนี้จึงสนใจศึกษาปัจจัยที่ส่งอิทธิพลต่อความต้องการจะทำงานเพิ่มของแรงงานนอกระบบ โดยเฉพาะค่าจ้าง ทั้งระดับค่าจ้าง และประเภทค่าจ้างที่ได้รับ (รายเดือน/ไม่ใช่รายเดือน) รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ทางประชากร เศรษฐกิจ และสังคม โดยใช้ข้อมูลการสำรวจแรงงานนอกระบบ พ.ศ.2560 สำรวจโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่าง คือ แรงงานนอกระบบที่เป็นลูกจ้าง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Multiple linear regression และ Tobit Model ผลการศึกษา พบว่า ค่าจ้างเป็นปัจจัยหลักที่ส่งอิทธิพลต่อความต้องการจะทำงานเพิ่ม ผู้ที่มีรายได้จากค่าจ้างเมื่อเทียบกับผู้อื่นน้อยกว่า 1,000 บาทต่อเดือน มีความต้องการจะทำงานเพิ่มมากกว่า 4.9 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งเป็นไปตามทฤษฎีการโค้งกลับของเส้นอุปทานแรงงาน และผู้ที่ได้รับค่าจ้างประเภทรายชั่วโมง และผู้ที่ได้รับค่าจ้างประเภทรายวันหรือรายสัปดาห์จะมีความต้องการทำงานเพิ่มมากกว่าผู้ที่ได้รับค่าจ้างประเภทรายเดือน 57.1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และ 26.7 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ตามลำดับ ข้อค้นพบนี้ของแรงงานนอกระบบของไทยสอดคล้องกับแนวคิดตามทฤษฎี Instant Gratification ที่ยิ่งระยะเวลาในการรอผลตอบแทนยิ่งน้อยความต้องการจะทำงานเพิ่มยิ่งสูงมากขึ้นมาก และหากศึกษาเฉพาะกลุ่มลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างแบบไม่ใช่รายเดือน พบว่า ผู้ที่ได้รับค่าจ้างแบบไม่ใช่รายเดือนและมีทักษะแรงงานในระดับสูงมีความต้องการจะทำงานเพิ่มมากกว่าผู้ที่มีทักษะต่ำ 30.2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์


What Is The Composition Of Skill Shortages Among Craft And Related Trades Workers In Thailand., Chanticha Chaipairinsiri Jan 2018

What Is The Composition Of Skill Shortages Among Craft And Related Trades Workers In Thailand., Chanticha Chaipairinsiri

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aims to examine the causes of skills shortages among craft and related trades workers in Thailand, to identify the main skills shortages in various occupations, and to identify the policy solutions and the types of workers that need to be encouraged. This thesis thus aims at filling this information gap and testing the consistency of the results by measuring the labour shortages and skills shortages and investigating the policy recommendations that can be successfully implemented. The policy recommendations are focused on improving the efficiency of the labour force of Thailand, particularly through investment in education, which can help …


Economic Effects Of Social Capital, Roman Dennis Bausch Jan 2018

Economic Effects Of Social Capital, Roman Dennis Bausch

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis investigates economic effects of social capital in three separate studies. The first two studies deal with the effect of social capital on two factors that pave the way for fiscal stress, informality and fiscal cyclicality. While the shadow economy as a form of tax evasion deteriorates public revenues, a cyclical behavior of fiscal policy often goes along with an extension of lasting financial obligations in economic good times which makes public budgets vulnerable in following downturns. The third study focusses on the occurrence of fiscal stress which lends itself as research object for the analysis of the overall …


ปฏิสัมพันธ์ของการจัดการเชิงสุขภาวะในเรือนจำ: ศึกษากรณีประสบการณ์ของผู้ต้องขัง "กะเทย" และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ, ใจเอื้อ ชีรานนท์ Jan 2018

ปฏิสัมพันธ์ของการจัดการเชิงสุขภาวะในเรือนจำ: ศึกษากรณีประสบการณ์ของผู้ต้องขัง "กะเทย" และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ, ใจเอื้อ ชีรานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัย "ปฏิสัมพันธ์ของการจัดการเชิงสุขภาวะในเรือนจำ : ศึกษากรณีประสบการณ์ของผู้ต้องขัง "กะเทย" และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาถึงประสบการณ์ของผู้ต้องขังกะเทย (เส้นทางชีวิต ประสบการณ์ชีวิตการเป็นกะเทย การต่อรอง ปฏิสัมพันธ์ การรับรู้อัตลักษณ์ สังคมและวัฒนธรรมในเรือนจำ) และประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ (สัมพันธภาพเชิงอำนาจ การบริหารจัดการ ระเบียบข้อบังคับ) ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นเชิงสุขภาวะ ตลอดจนวิเคราะห์ถึงปฏิสัมพันธ์ของการจัดการเชิงสุขภาวะในเรือนจำระหว่างผู้ต้องขังกะเทยและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ อันจะนำไปสู่แนวทางการจัดการเชิงสุขภาวะในเรือนจำที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของผู้ต้องขัง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ตามแนวคิดปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenology Approach) เป็นการศึกษาปรากฎการณ์ชีวิตที่บุคคลได้ประสบมา (Life Experience) โดยมีผู้ต้องขัง "กะเทย" และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ ซึ่งเป็นตัวแสดงหลักในการทำหน้าที่ผู้ถ่ายทอดเรื่องเล่า จากประสบการณ์ในการถูกคุมขังในเรือนจำและจากประสบการณ์การปกครองดูแล ให้คำปรึกษา ใกล้ชิดกับผู้ต้องขัง "กะเทย" โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ (Informal Interview) การสัมภาษณ์ เชิงลึก (In-depth Interview) ประกอบกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participation Observation) โดยใช้วิธีการเลือกสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ในเรือนจำจังหวัดอุทัยธานี จากการกำหนดคุณลักษณะของประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยและเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 2 กลุ่ม คือผู้ต้องขังกะเทยและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ ผลการศึกษาพบว่าองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในการศึกษาปฏิสัมพันธ์ของการจัดการเชิงสุขภาวะในเรือนจำ คือ มิติของความเป็นมนุษย์ โดยมีกลุ่มบุคคลสำคัญสองกลุ่มคือ "ผู้ต้องขัง" และ "เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ" การจัดการเชิงสุขภาวะในเรือนจำจะเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดนั้น ขึ้นอยู่กับปฏิสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติและผู้ต้องขัง ซึ่งต่างมีความต้องการเชิงสุขภาวะที่ดี อุปสรรคสำคัญในการจัดการเชิงสุขภาวะของผู้ต้องขังกะเทย มาจากการขาดความตระหนักในสิทธิความเป็นมนุษย์ที่ครอบคลุมการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังที่มีความหลากหลายทางเพศ และข้อจำกัดทางกฎหมาย นโยบาย และระเบียบข้อบังคับที่สอดคล้องกับเพศกำเนิดเท่านั้น ข้อเสนอแนะจากการศึกษา การสร้างความตระหนักในสิทธิความเป็นมนุษย์ การทบทวนและปรับปรุงกฎหมาย รวมถึงนโยบายต่าง ๆ ของกรมราชทัณฑ์ให้มีความสอดคล้องและครอบคลุมถึงการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังกะเทยหรือผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ เพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดตามมาตรฐานสากล


Coping With Drug Abuse In Shan State, Thiri - Jan 2018

Coping With Drug Abuse In Shan State, Thiri -

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

As we look around the study area, especially in the mountain areas and control over the ethnic armed groups areas, it is not hard to see the drug users and the other chemical substances selling and opium cultivation in the mountain areas. According to the drug dependents the opium cultivation can earn more money and easier than the other crops. As Lashio situated on the China- Myanmar Border Highway Road, China is the main producer of the chemical substances and importer to Myanmar. Because of the geographical situation, the study area is abundant in drug substances and chemical tablets. Heroin …


ข่าวและกิจกรรม รอบรั้วโครงการ Jan 2018

ข่าวและกิจกรรม รอบรั้วโครงการ

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


"รอบตัวเรา" วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศ, ทวีวงศ์ ศรีบุรี Jan 2018

"รอบตัวเรา" วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศ, ทวีวงศ์ ศรีบุรี

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


ระบบนิเวศเมือง : องค์ประกอบภูมิทัศน์กับการบริการเชิงนิเวศ, ดนัย ทายตะคุ, มิ่งขวัญ นันทวิสัย, ภาวดี อังศุสิงห์ Jan 2018

ระบบนิเวศเมือง : องค์ประกอบภูมิทัศน์กับการบริการเชิงนิเวศ, ดนัย ทายตะคุ, มิ่งขวัญ นันทวิสัย, ภาวดี อังศุสิงห์

UNISEARCH (Unisearch Journal)

ระบบนิเวศเมือง (urban ecology) มีความหลากหลายขององค์ประกอบภูมิทัศน์ ซึ่งเกิดจากการรวมกลุ่มกันขององค์ประกอบทางธรรมชาติและองค์ประกอบที่มนุษย์สร้างขึ้นดังจะเห็นได้จากสิ่งปกคลุมดิน (land cover)ในพื้นที่เมือง ทั้งอาคาร พื้นดาดแข็ง พืชพรรณ และน้ำ ประกอบกันเป็นผืนโมเสก (mosaic) หรือผืนภูมิทัศน์ขององค์ประกอบที่หลากหลาย (Forman, 1986) ดังนั้น การทำความเข้าใจองค์ประกอบภูมิทัศน์ของเมืองโดยการจำแนกสิ่งปกคลุมดินจึงมีความสำคัญ เพื่อให้สามารถเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างและรูปแบบขององค์ประกอบภูมิทัศน์ (landscape element) กับบทบาทเชิงนิเวศ (landscape function)และการบริการเชิงนิเวศ (ecosystem services) ของแต่ละองค์ประกอบได้ ซึ่งจะสามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อช่วยในการวางแผนและออกแบบระบบนิเวศเมืองให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกระบวนการเชิงนิเวศซึ่งจะส่งผลดีต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ และคุณภาพชีวิตที่ดีต่อคนในพื้นที่เมืองต่อไป


แนะนำโครงการ Good Walk เมืองเดินได้-เมืองเดินดี การศึกษาศักยภาพการเข้าถึงสาธารณูปการที่ส่งเสริมการเดินเท้าและดัชนีศักยภาพการเดินเท้า, นิรมล กุลศรีสมบัติ, พรสรร วิเชียรประดิษฐ์, อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ Jan 2018

แนะนำโครงการ Good Walk เมืองเดินได้-เมืองเดินดี การศึกษาศักยภาพการเข้าถึงสาธารณูปการที่ส่งเสริมการเดินเท้าและดัชนีศักยภาพการเดินเท้า, นิรมล กุลศรีสมบัติ, พรสรร วิเชียรประดิษฐ์, อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


บทบรรณาธิการ Jan 2018

บทบรรณาธิการ

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


การออกแบบพัฒนากังหันพลังน้ำเพื่อเศรษฐกิจแบบพอเพียง หมู่บ้านโป่งลึก-บ้านบางกลอย, สุพรรณี บุญเพ็ง Jan 2018

การออกแบบพัฒนากังหันพลังน้ำเพื่อเศรษฐกิจแบบพอเพียง หมู่บ้านโป่งลึก-บ้านบางกลอย, สุพรรณี บุญเพ็ง

UNISEARCH (Unisearch Journal)

บ้านโป่งลก (หมู่ที่ 2) และบ้านบางกลอย (หมู่ที่ 1) อยู่ในตำบลห้วยแม่เพรียง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานประมาณ 50 กิโลเมตร บริเวณที่ตั้งของหมู่บ้านติดอยู่กับแม่นํ้าเพชรบุรีตอนต้น พื้นที่มีความสูงจากระดับนํ้าทะเลปานกลางประมาณ 150 เมตร (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธ์พืช, 2560) ประชาชนที่อาศัยอยู่ในทั้งสองหมู่บ้านเป็นชาวปกาเกอะญอที่ย้ายลงมาจากบางกลอยบน (หรือกเรียกว่า ใจแผ่นดิน) มีชวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีความเชื่อในเรื่องผีสาง นางไม้ เจ้าที่เจ้าทาง เจ้าป่า เจ้าเขา และนับถือศาสนาพุทธและคริสต์ แม่น้ำเพชรบุรี เปรียบเสมือนสายธารแห่งชีวิตของคนในพื้นที่บ้านโป่งลึก-บ้านบางกลอย ปัญหาที่สำคัญมากปัญหาหนึ่ง ของชุมชนบ้านโป่งลึก-บ้านบางกลอย คือ การผันน้ำจากแม่นํ้าเพชรบุรีขึ้นมาใช้ในการอุปโภคบริโภคและเพื่อการเกษตรกรรม เนื่องจากพื่นที่พักอาศัยและพื้นที่ทำกินของชุมชนที่ได้รับสิทธิในการถือครองที่ดินเพื่อการทำกินนั้น (พื่นที่ CN) เป็นพื้นที่ ที่อยู่ในระดับที่สูงกว่าแม่นํ้าเพชรบุรีมาก นอกจากนั้น การที่ไฟฟ้าและน้ำประปายังเข้าไม่ถึง ทำให้การทำเกษตรกรรม สามารถทำได้เฉพาะในฤดูฝน เท่านั้น ส่งผลใหัรายได้ต่อครัวเรือนอยู่ในระดับต่ำ แต่ละครัวเรือนจึงมีฐานะยากจน จึงมีการเข้าไปทำงานรับจ้างใช้แรงงานในเมืองแทนการทำเกษตรกรรมกันเป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามยังคงมี อีกร้อยกว่าหลังคาเรือนที่ยังคงอาศัยอยู่ในหมู่บ้านและส่วนใหญ่ยังประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งมีความจำเป็นต้อง ใช้น้ำในการอุปโภคบริโภคและเกษตรกรรม โดยวิธีการผันน้ำ/ดึงน้ำขึ้นไปใช้ โดยการใช้เครื่องปั๊มนํ้าแบบเครื่องยนต์ที่ต้อง ใช้น้ำมันเข้ามาใช้ในหมู่บ้าน ซึ่งมีทั้งที่เป็นของส่วนรวมและมีเพียงไม่กี่เครื่องที่เป็นของส่วนตัว ในปัจจุบัน การสูบนํ้าเพื่อใช้ในระบบประปาหมู่บ้านมีการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ (solar cell) เป็นหลัก ชึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งนี้ การใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์เพื่อสูบนํ้าจะขึ้นอยู่กับแสงแดดที่มีในแต่ละวัน หากวันใดเเสงแดดน้อยหรือไม่มีแสงแดดจะไม่สามารถสูบน้ำได้ นอกจากนั้น ปั๊มเครื่องสูบนํ้าชนิดจุ่มหรือปั๊มซับเมอร์ส (submersible pump) ยังพบว่าเกิดปัญหาบ่อย ๆ ระบบการทำงานในช่วงแรกที่ยังไม่เสถียรนัก ทำให้ไม่สามารถสูบน้ำขึ้นมาได้ในปริมาณที่มากพอกับความต้องการใช้น้ำได้ จึงเกิดผลกระทบกับเกษตรกรที่ทำการเพาะปลูกหลังทำนา ซึ่งไม่สามารกทำการเกษตรได้ตลอดปี อีกทั้ง เชลล์ผลิตพลังงานแสงอาทิตย์เป็นอุปกรณ์ที่มีราคาแพงและยากต่อการช่อมบำรุง ด้วยตนเอง ดังนั้น การใช้กังหันพลังน้ำ จึงเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งสำหรับเกษตรกรในพื้นที่


เทคโนโลยีชีวภาพสำหรับการผลิต สารเพิ่มมูลค่าจากชีวมวลพืช ที่พบในประเทศไทย, วิชาณี แบนคีรี, พงศ์ธาริน โล่ห์ตระกูล, หรรษา ปุณณะพยัคฆ์, สีหนาท ประสงค์สุข Jan 2018

เทคโนโลยีชีวภาพสำหรับการผลิต สารเพิ่มมูลค่าจากชีวมวลพืช ที่พบในประเทศไทย, วิชาณี แบนคีรี, พงศ์ธาริน โล่ห์ตระกูล, หรรษา ปุณณะพยัคฆ์, สีหนาท ประสงค์สุข

UNISEARCH (Unisearch Journal)

การพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางชีวภาพที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากชีวมวลพืช เป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญประการหนึ่งต่อการพัฒนาประเทศในปัจจุบัน เนื่องจากประเทศไทยมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเกษตรทำให้มีของเสียรอกำจัดหลังการแปรรูปจำนวนมาก ซึ่งระบบการจัดการส่วนใหญ่นิยม เผาเพื่อทำลายหรือให้ได้พลังงานกลับมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งสร้างมลภาวะแก่สิ่งแวดล้อม รวมทั้งเป็นการใช้ประโยชน์ อย่างไม่เต็มศักยภาพ เนื่องจากชีวมวลพืชเหล่านี้ประกอบด้วยสารอินทรีย์ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ จึงเป็นแหล่งวัตถุดิบ ที่สามารถผลิตพลังงานทางเลือกและสารที่มีมูลค่าในเชิงอุตสาหกรรมได้ ดังนั้นทางหน่วยปฏิบัติการวิจัยการใช้ประโยชน์ จากชีวมวลพืช ภาควิชาพฤกษศาสตร์ จึงมุ่งเน้นในการวิจัยถึงศักยภาพของชีวมวลพืชที่พบในประเทศต่อการนำไปใช้ เป็นแหล่งวัตถุดิบ รวมทั้งพัฒนาเทคโนโลยีและกระบวนการผลิตสารมีมูลค่าที่เหมาะสมต่อชีวมวลพืชแต่ละชนิด โดยจุดมุ่งหมายในการวิจัยเพื่อใช้ประโยชน์ชีวมวลพืชอย่างสูงสุดโดยที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดและคุ้มทุนในการพัฒนาเทคโนโลยีสู่ภาคอุตสาหกรรมต่อไป


ตัวรับรู้ชีวภาพบนพื้นฐานปฏิกิริยาของเอนไซม์สำหรับการตรวจวัดสารเคมีกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์แกโนฟอสเฟต, บุษยรัตน์ ธรรมพัฒนกิจ, ชลธิชา สาหับ, ธรรมนูญ หนูจักร, ธวัชชัย ตันฑุลานิ Jan 2018

ตัวรับรู้ชีวภาพบนพื้นฐานปฏิกิริยาของเอนไซม์สำหรับการตรวจวัดสารเคมีกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์แกโนฟอสเฟต, บุษยรัตน์ ธรรมพัฒนกิจ, ชลธิชา สาหับ, ธรรมนูญ หนูจักร, ธวัชชัย ตันฑุลานิ

UNISEARCH (Unisearch Journal)

ปัจจุบันสารเคมีกำจัดศัตรูพืชืถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลายทำให้ผลผลิติที่ได้มีโอกาสปนเปื้อนสารเคมีเหล่านี้ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค การตรวจวัดสารเคมีกำจัดศัตรูพืชด้วยเทคนิคที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพในการคัดกรอง จะมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงที่ผู้บริโภคจะได้รับจากสารเคมีดังกล่าว ในงานวิจัยนี้คณะผู้วิจัยได้พัฒนาตัวรับรู้ชีวภาพ (biosensor) ในรูปแบบใหม่สำหรับตรวจวัดยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์แกโนฟอสเฟต(Organophosphate Pesticides: OPs) อย่างจำเพาะมุ่งเน้นการศึกษากราฟีนควอนตัมดอท (GrapheneQuantum Dots: GQDs) ซึ่งเป็นวัสดุในระดับนาโนที่ให้สัญญาณแสงฟลูออเรสเซนต์สูง เตรียมง่าย ราคาถูกอีกทั้งไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม โดยได้นำเอากลไกการยับยั้ง การทำงานของเอนไซม์ชนิดอะซิติลโคลีนเอสเทอเรส(Acetylcholinesterase: AChE) ซึ่งมีมากในระบบประสาทของสิ่งมีชีวิตมาประยุกต์ใช้ โดยอาศัยบทบาทการทำงานของเอนไซม์ 2 ชนิด คือ อะซิติลโคลีนเอสเทอเรสและโคลีนเอสเทอเรส (Cholinesterase: CHOx) ซึ่งจะผลิตไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H2O2) ณ สภาวะปกติ ในขณะเดียวกันการผลิตไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่ลดลงเมื่อ มีออร์แกโนฟอสเฟตในระบบ จะส่งผลต่อสัญญาณแสงฟลูออเรสเซนต์ของกราฟีนควอนตัมดอท นำไปสู่การตรวจวัดหาปริมาณของยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์แกโนฟอสเฟตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยความรู้และข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยนี้จะมีส่วนสำคัญในการตรวจวัดหาปริมาณยาฆ่าแมลงในอาหาร แหล่งน้ำ และสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ได้ในอนาคต


สัมภาษณ์ ถอดบทเรียน : การพัฒนางานวิจัยสู่การนำไปใช้เพื่อการพัฒนาประเทศ, สุพจน์ วัฒนะพันธ์ศักด์ิ Jan 2018

สัมภาษณ์ ถอดบทเรียน : การพัฒนางานวิจัยสู่การนำไปใช้เพื่อการพัฒนาประเทศ, สุพจน์ วัฒนะพันธ์ศักด์ิ

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


กิจกรรม Unisearch Jan 2018

กิจกรรม Unisearch

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


An Assessment Of Climate Variability On Farmers' Livelihoods Vulnerability In Ayeyarwady Delta Of Myanmar, Naw M. Lar, Nathsuda Pumijumnong, Raywadee Roachanakanan, Noppol Arunrat, Soe Tint Jan 2018

An Assessment Of Climate Variability On Farmers' Livelihoods Vulnerability In Ayeyarwady Delta Of Myanmar, Naw M. Lar, Nathsuda Pumijumnong, Raywadee Roachanakanan, Noppol Arunrat, Soe Tint

Applied Environmental Research

This study assesses the vulnerability of farm households in the Ayeyarwady Region, Myanmar. Fifty-nine farm households were purposively sampled to conduct a questionnaire survey, and secondary data were collected in 2016. In order to assess variability in household vulnerability, the Livelihood Vulnerability Index (LVI), based on five types of 'capital' as identified in the Sustainable Livelihoods Framework, was adopted and modified according to the local context. Vulnerability scores ranged from 0 (low vulnerability) to 1 (highly vulnerable), with an average LVI of 0.442, indicating moderate overall vulnerability across the study area. Regarding the five types of 'capital', households were most …


Evaluation Of Greenhouse Gas Emissions From Municipal Solid Waste (Msw) Management: Case Study Of Lampang Municipality, Thailand, Pantitcha Outapa, Veerapas Na Roi-Et Jan 2018

Evaluation Of Greenhouse Gas Emissions From Municipal Solid Waste (Msw) Management: Case Study Of Lampang Municipality, Thailand, Pantitcha Outapa, Veerapas Na Roi-Et

Applied Environmental Research

The issue of greenhouse gas (GHG) emissions from municipal solid waste (MSW) is important in the context of climate change. Reduction of GHGs from waste disposal systems is one of the management strategies forming part of Thailand's National Economic and Social Development Plan. This project evaluated emissions from a municipal solid waste system covering transportation and disposal in Lampang Municipality, northern Thailand. GHG emissions from transportation were estimated by the Institute for Global Environmental Strategies (IGES) based on the travel distance of the vehicles, using a vehicle emission model and vehicle fuel consumption. GHG emissions during the disposal process were …