Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 3091 - 3120 of 5570

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

เรื่องเล่าชาวจุฬาฯ : ศูนย์พัฒนกิจและนิสิตเก่าสัมพันธ์, ทัศนะ พิทักษ์อรรณพ Jan 2015

เรื่องเล่าชาวจุฬาฯ : ศูนย์พัฒนกิจและนิสิตเก่าสัมพันธ์, ทัศนะ พิทักษ์อรรณพ

Jamjuree Journal

No abstract provided.


การออกแบบ (Detail Design) อาคารสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคให้เป็นอาคารเขียว (Green Building) เพื่อรับการรับรองมาตรฐาน Leed, อรรจน์ เศรษฐบุตร Jan 2015

การออกแบบ (Detail Design) อาคารสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคให้เป็นอาคารเขียว (Green Building) เพื่อรับการรับรองมาตรฐาน Leed, อรรจน์ เศรษฐบุตร

UNISEARCH (Unisearch Journal)

ด้วยความมุ่งมั่นในการให้บริการพลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) จึงมีนโยบายผลักดันให้อาคารของ กฟภ. เป็นอาคารที่อนุรักษ์พลังงานและ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีแก่สาธารณะทางด้านการใช้พลังงาน อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในปี 2554 กฟภ. ได้ว่าจ้าง Chula Unisearch ให้เป็น ที่ปรึกษาในการศึกษาแนวทางการปรับปรุงอาคาร 4 (LED) โซน A ที่สำนักงานใหญ่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ให้เป็นอาคารเขียวตามมาตราฐานของ Leadership in Energy and Environmental Design for Existing Building Operations and Maintenances (LEED EBOM) รวมถึงทำการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายและผลตอบแทนเบื้องต้นของการปรับปรุงอาคารให้เป็น อาคารเขียวตามมาตรฐาน LEED ในระดับ Gold และ Platinum โดยพิจารณาทั้งในส่วนของการ ออกแบบสถาปัตยกรรม วิศวกรรม และการตกแต่งภายในที่เพิ่มจากส่วนของการประหยัดพลังงานเพื่อ ให้เป็นอาคารเขียวในระดับสากล


การออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูภูมิทัศน์ถนนอุทยาน, จามรี อาระยานิมิตสกุล, ชุติมา สุรเชษฐพงษ์ Jan 2015

การออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูภูมิทัศน์ถนนอุทยาน, จามรี อาระยานิมิตสกุล, ชุติมา สุรเชษฐพงษ์

UNISEARCH (Unisearch Journal)

เนื่องด้วยถนนอุทยาน เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร อยู่ใกล้เขตพระราชฐานและอยู่ในเส้นทางเสด็จพระราชดำเนิน รวมทั้ง ยังเป็นที่รองรับงานพระราชพิธีต่างๆ ของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักงานเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร จึงมอบหมายให้ Chula Unisearch ทำการออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูภูมิทัศน์ถนนอุทยานให้เกิดความร่มรื่นสวยงาม และมีเอกลักษณ์โดดเด่น โดยกำหนด แนวคิดในการปรับปรุงภูมิทัศน์ถนนอุทยาน ให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่โดยรอบ และแนวทางในการออกแบบพื้นที่ให้เป็นถนนที่มี ความงดงาม เสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจให้กับประชาชนทั่วไป ในขณะที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของถนนอุทยานไว้เช่นเดิม ทั้งนี้ พื้นที่โครงการประกอบด้วย ถนนอุทยานทั้งสาย โดยเริ่มต้นจากถนน พุทธมณฑลสาย 4 สิ้นสุดที่ถนนพุทธมณฑลสาย 3 ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร ระยะทางยาว 3,561 เมตร และอยู่ในพื้นที่ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ระยะทางยาว 300 เมตร ซึ่งมีขอบเขตการดำเนินการ และส่วนประกอบของโครงการ คือ 1) งานวางแผนแนวความคิดออกแบบผังบริเวณ (Conceptual designs and detail designs) โดยดำเนินการสำรวจสภาพ พื้นที่จริงเพื่อศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลทางกายภาพและสิ่งแวดล้อม เก็บรวบรวมข้อมูลโครงการและแผนพัฒนาพื้นที่ต่างๆ วิเคราะห์และ ระบุสภาพปัญหาในพื้นที่ อุปสรรค พร้อมเสนอแนวแก้ไขปัญหา จัดประชุมปรึกษาประสานงานกำหนดขอบเขตให้สอดคล้องกับ วัตถุประสงค์และความต้องการ นำเสนอและสรุปแนวทางในการเลือกวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง รวมทั้งรายละเอียดการออกแบบพัฒนา แบบภูมิสถาปัตยกรรมขั้นสุดท้าย และสรุปการศึกษาโครงการ วางแนวคิดและออกแบบพัฒนาผังบริเวณ และออกแบบในรายละเอียด 2) งานเขียนแบบก่อสร้าง (Construction drawing and documentations) โดยจัดทำแผนงานการดำเนินการ จัดทำ รายละเอียดประมาณราคาก่อสร้างและเอกสารประกอบการประมูล (B.O.Q.)จัดทำแบบสำหรับก่อสร้างและแบบขยายในรายละเอียด


บ้านและอาคาร, อรรจน์ เศรษฐบุตร Jan 2015

บ้านและอาคาร, อรรจน์ เศรษฐบุตร

UNISEARCH (Unisearch Journal)

จากการที่ภาคที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร โดยเฉพาะในเขตเมืองใหญ่ ตลอดจนสภาพการแข่งขนั ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ นำรูปแบบสถาปัตยกรรมจากตะวันตกมาปลูกสร้างบ้านให้ ทันสมัย ตามค่านิยมของสังคม โดยไม่ได้คำนึง ถึง สภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกัน ส่งผลให้สิ้นเปลืองพลังงานในการทำความเย็นภายในตัวอาคาร ประกอบกับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทำให้เกิดการตื่นตัวในการออกแบบที่อยู่อาศัยที่ช่วยลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งการก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น


การวิเคราะห์ข้อมูลแผ่นดินไหวเพื่อศึกษาผลกระทบจาก พิบัติภัยสึนามิ, ปัญญา จารุศิริ, สันติ ภัยหลบลี้ Jan 2015

การวิเคราะห์ข้อมูลแผ่นดินไหวเพื่อศึกษาผลกระทบจาก พิบัติภัยสึนามิ, ปัญญา จารุศิริ, สันติ ภัยหลบลี้

UNISEARCH (Unisearch Journal)

หลังจากประเทศไทยและประเทศต่างๆ รอบมหาสมุทรอินเดีย ได้รับผลกระทบจากพิบัติภัยสึนามิ ซึ่งเป็นผล มาจากแผ่นดินไหวขนาด 9.0 ริกเตอร์ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ภาครัฐและภาคประชาชนต่างตระหนัก ถึงความสำคัญของพิบัติภัยที่เกิดขึ้น ซึ่งนอกจากชีวิตและทรัพย์สินที่สูญเสียไปกับคลื่นสึนามิแล้ว ทรัพยากรทาง กายภาพอย่างพื้นที่ตามแนวชายฝั่งยังถูกกัดเซาะเสียหายอย่างรุนแรง ด้วยเหตุนี้ เพื่อเป็นการประเมินพิบัติภัย สึนามิที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นในการประเมินพิบัติภัยแผ่นดินไหวตามแหล่งกำเนิด แผ่นดินไหวที่อาจส่งผลกระทบด้านพิบัติภัยสึนามิต่อแนวชายฝั่งของประเทศไทย โดยมีกรอบการทำงานหลักคือ 1) วิเคราะห์พฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหว และ 2) ประเมินพื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดแผ่นดินไหวในอนาคต


การออกแบบก่อสร้างอาคารที่ทำการศาลปกครองในภูมิภาค, พูลศักดิ์ เพียรสุสม Jan 2015

การออกแบบก่อสร้างอาคารที่ทำการศาลปกครองในภูมิภาค, พูลศักดิ์ เพียรสุสม

UNISEARCH (Unisearch Journal)

ด้วยภารกิจด้านการส่งเสริมโอกาสในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางปกครองของประชาชน ด้วยการเพิ่ม ช่องทางในการเข้าถึง และเสริมสร้างประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการ โดยเฉพาะการจัดสภาพแวดล้อมของศาลปกครอง ให้เอื้อต่อการให้บริการประชาชนและผู้ปฏิบัติงาน ให้สามารถเร่งรัดงานคดีปกครอง และสามารถสนับสนุนการดำเนินงาน ของตุลาการศาลปกครองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามแผนยุทธศาสตร์ศาลปกครอง สำนักงานศาลปกครองจึงได้วางแผน ในการก่อสร้างที่ทำการศาลปกครองในภูมิภาคไว้ทั้งสิ้น 8 แห่ง ประกอบด้วย ศาลปกครองขอนแก่น ศาลปกครองเพชรบุรี ศาลปกครองภูเก็ต ศาลปกครองสุพรรณบุรี ศาลปกครองนครสวรรค์ ศาลปกครองพิษณุโลก ศาลปกครองอุดรธานี และ ศาลปกครองยะลา โดยได้มอบหมายให้ Chula Unisearch เป็นที่ปรึกษาในการสำรวจศึกษาวิจัย และให้คำปรึกษาด้านเทคนิค วิศวกรรมและสถาปัตยกรรม โครงการก่อสร้างศาลปกครองในภูมิภาค จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ อาคารที่ทำการศาลปกครอง เพชรบุรี ศาลปกครองขอนแก่น และศาลปกครองภูเก็ต โดยให้คงรักษารูปแบบสถาปัตยกรรมภายนอกให้ใกล้เคียงกับอาคาร เดิมให้มากที่สุด


หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับ เมืองสุขภาวะ, พนิต ภู่จินดา Jan 2015

หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับ เมืองสุขภาวะ, พนิต ภู่จินดา

UNISEARCH (Unisearch Journal)

เมืองสุขภาวะ หมายถึง เมืองที่เอื้ออำนวยต่อการสร้างภาวะแห่งการมีความสุขให้กับประชากรเมืองทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ เป็นเมืองที่ส่งเสริมให้ประชากรมีร่างกายที่แข็งแรงและมีความสุขภายใต้บริบทของความเป็นอยู่แบบเมือง ทั้งนี้ การใช้ชีวิตอยู่ในสังคมเมือง ไม่ใช่วิถีตามธรรมชาติของมนุษย์ที่อาศัยอยูกั่บธรรมชาติซึ่งห่างไกลจากมลภาวะที่เกิดจากการรวมตัวกันเกินกว่าความสามารถในการรองรับตามปกติของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ เนื่องจากแต่เดิมมนุษย์มีความเป็นอยู่ตามแรงผลักดันของสัญชาตญาณของความอยู่รอดเป็นหลัก โดยมีการเคลื่อนไหวร่างกายอยู่ตลอดเวลาเพื่อทำกิจกรรมที่ใช้แรงงานในลักษณะของสังคมเกษตรกรรมในพื้นที่ชนบทแต่เมื่อสังคมมนุษย์พัฒนาสู่การเป็นสังคมเมือง มนุษย์ต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบความเป็นอยู่จากชนบทเข้าสู่เมือง เปลี่ยนมามีวิถีชีวิตที่รีบเร่งและเผชิญกับความเครียดสูง ต้องแย่งชิงทรัพยากรต่างๆเพื่อให้อยู่รอดในสังคมที่มีทรัพยากรขาดแคลน อยู่ในสังคมที่มีกฎระเบียบที่เคร่งครัดเพื่อความสงบสุขและความเป็นธรรมในสังคม มีความเป็นอยู่ที่แออัด อยู่กับแหล่งที่ก่อให้เกิดมลพิษห่างไกลจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่มีคุณภาพ นำมาสู่การเกิดทุพภาวะที่มีลักษณะเฉพาะของประชากรเมือง เช่น การขาดพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจที่ได้มาตรฐาน การขาดกิจกรรมทางกาย (Inactive Physical Activity) ดังนั้น วิถีชีวิตแบบเมืองและการขาดพื้นที่ที่ส่งเสริมให้เกิดการมีสุขภาวะและสิ่งแวดล้อมกายภาพที่ดี ทั้งในเชิงคุณภาพ ปริมาณ และการเข้าถึง จึงนำมาสู่ประเด็นปัญหาสุขภาพเมือง


การใช้ดนตรีบำบัดในผู้ป่วยโรคไต ขณะฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, บุษกร บิณฑสันต์ Jan 2015

การใช้ดนตรีบำบัดในผู้ป่วยโรคไต ขณะฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, บุษกร บิณฑสันต์

UNISEARCH (Unisearch Journal)

ดนตรีเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยแต่ละสังคมจะมีวัฒนธรรมดนตรี ที่แตกต่างกันอันเป็นภาพสะท้อนวิถีชีวิตมนุษย์ของสังคมนั้นๆ มนุษย์แต่ละเผ่าพันธุ์สร้างงานดนตรีขึ้นตามจินตนาการที่ มีเอกลักษณ์ของตนเพื่อบรรยายอารมณ์ความรู้สึก และสะท้อนภาพวิถีชีวิตความเป็นอยู่ออกมาเป็นเสียงดนตรี โดยใช้ ความสั้นยาวของจังหวะ และการร้อยเรียงเสียงสูงต่ำ เพื่อแสดงให้เห็นภาพพจน์ตามจินตนาการของผู้ประพันธ์ แล้วจึง ถ่ายทอดบทเพลงต่อๆ กันไป วัตถุประสงค์ในการใช้ดนตรีของมนุษย์มีหลากหลาย เช่น นำมาใช้ในการประกอบพิธีกรรม ตามความเชื่อดั้งเดิม ใช้เป็นเครื่องผ่อนคลายให้ผู้คนในสังคม เป็นต้น นอกจากนี้ ดนตรียังมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทาง ร่างกาย จิตใจ และการทำงานของสมองในหลายๆ ด้าน เช่น 1) ผลของดนตรีต่อร่างกาย สามารถทำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงของอัตราการหายใจ อัตราการเต้นของชีพจร ความดันโลหิต การตอบสนองของม่านตา ความตึงตัวของ กล้ามเนื้อ และการไหลเวียนเลือด 2) ผลของดนตรีต่อจิตใจและสมอง สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ สติสัมปชัญญะ จินตนาการ การรับรู้สภาพความเป็นจริง และการสื่อสารทางอวัจนะภาษา เป็นต้น ดนตรีบำบัด (Music Therapy) จึงกลายเป็นศาสตร์อีกแขนงหนึ่งที่เข้ามามีบทบาทในการช่วยบำบัดรักษาความผิดปกติทางร่างกาย ทางอารมณ์ และทางสังคม ซึ่งมีการศึกษาและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ ทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศในแถบยุโรป รวมทั้งประเทศญี่ปุ่น สำหรับประเทศไทย งานด้านดนตรีบำบัดนับว่าอยู่ในขั้นเริ่มต้น เนื่องจากขาดการสนับสนุนจากผู้กำหนดนโยบาย คือ รัฐบาล โดยในสังคมเมืองใหญ่ ดังเช่น กรุงเทพมหานคร ด้วยมลภาวะที่เกิดขึ้นจากสิ่งแวดล้อม ตลอดจนภาระทาง ด้านการงานที่รัดตัว ทำ ให้เกิดภาวะความเครียดแก่ผู้คนในชุมชนเมือง ทั้งนี้ จากข้อมูลพบว่า ในสถานพยาบาลของรัฐ มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมลภาวะที่ส่งผลต่อสุขภาพกาย และความตึงเครียดที่ส่งผล ต่อสุขภาพจิต ด้วยเหตุนี้งานวิจัยด้านดนตรีบำบัดจึงมีความจำเป็นที่สมควรได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นโครงการนำร่องใน ประเทศไทย ในการที่จะนำกิจกรรมดนตรีไปใช้เพื่อการบำบัด และเป็นทางเลือกในการบำบัดจิตใจผู้ป่วยขณะรักษาตัวอยู่ ในโรงพยาบาล


วิจัยและพัฒนากลไกรองรับยุทธศาสตร์ด้านการตลาดนมโคสดแท้ 100% ของประเทศไทย, นพรัตน์ รุ่งอุทัยศิริ, ต่อศักดิ์ โชติมงคล, ปสุตา ปัญญาทิพย์ Jan 2015

วิจัยและพัฒนากลไกรองรับยุทธศาสตร์ด้านการตลาดนมโคสดแท้ 100% ของประเทศไทย, นพรัตน์ รุ่งอุทัยศิริ, ต่อศักดิ์ โชติมงคล, ปสุตา ปัญญาทิพย์

UNISEARCH (Unisearch Journal)

"ประเทศจะพัฒนาได้ ต่อเมื่อคนในประเทศต้องมีสุขภาพดีเสียก่อน" นี่คือ พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เมื่อครั้งเริ่มครองราชย์ ในพระราชวโรกาสที่พระเจ้าเฟรเดอริค ที่ 9 แห่ง ประเทศเดนมาร์ค เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศไทยใน พ.ศ. 2505 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงขอพระราชทานโคนม 1 คู่ เพื่อมาทดลองเลี้ยงในเขตร้อนชื้นเช่นประเทศไทย และในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2505 ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จฯ ทรงเปิดฟาร์มโคนมและศูนย์ฝึกอบรมการเลี้ยงโคนมไทย-เดนมาร์คจากวันนั้น อาชีพเกษตรกรรมการเลี้ยงโคนมจึงได้ถือกำเนิดขึ้นในประเทศไทย


บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ : นวัตกรรมเพื่อการพัฒนากำลังคนของชาติ, ชัชวิทย์ อาภรณ์เทวัญ, พิสัยรัตน์ เสถียรรุ่งเรือง, สุทธิพงษ์ มีสิทธิกุล Jan 2015

บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ : นวัตกรรมเพื่อการพัฒนากำลังคนของชาติ, ชัชวิทย์ อาภรณ์เทวัญ, พิสัยรัตน์ เสถียรรุ่งเรือง, สุทธิพงษ์ มีสิทธิกุล

UNISEARCH (Unisearch Journal)

บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-learning เป็นการ ผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการศึกษา สื่อการเรียนรู้ต่างๆ อาทิ สไลด์ และวิดีโอ จะถูกผลิต ให้อยู่ในรูปแบบดิจิตัลและนำส่งให้ผู้เรียนผ่านทาง อินเทอร์เน็ต ผู้เรียนจึงสามารถเข้าถึงระบบ E-Learning ได้จากทุกสถานที่และทุกเวลา ถึงแม้ว่า E-Learning จะมีจุดเริ่มต้นมาจากสถาบันการศึกษาเพื่อเสริม การเรียนแบบปกติในห้องเรียน แต่ความสำเร็จที่แท้จริง ในการประยุกต์ใช้ E-Learning นั้นไม่ได้จำกัดอยู่แค่ใน แวดวงการศึกษาเท่านั้นดังจะเห็นได้ว่า ในศตวรรษที่ 20 องค์กรขนาดใหญ่ประสบกับปัญหาที่ต้องอบรม บุคลากรจำนวนมาก การอบรมแบบปกติที่มีลักษณะ คล้ายกับห้องเรียนใช้เวลามากและไม่คุ้มค่า เมื่อเทียบกับ งบประมาณที่ต้องใช้ ในทางตรงกันข้าม E-Learning ได้ถูกนำมาใช้โดยการผนวกเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ากับกระบวนการฝึกอบรมและการวัดผล โดยสื่อการ เรียนรู้จะถูกผลิตในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ จากนั้น จึงติดตั้งสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Courseware) ลงบนเว็บไซต์ด้วยซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า ระบบจัดการเรียนรู้ (Learning Management System) หรือ LMS และ เปิดให้ผู้อบรมลงทะเบียนใช้คอร์สแวร์ (Courseware) ผ่านทางคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ E-Learning หมายรวมถึง การวัดผลการเรียนรู้ และการสอบเพื่อวัดขีดสมรรถนะด้วย โดยในกรณีนี้ ต้องใช้คลังข้อสอบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Item Bank) เพื่อจัดเก็บข้อทดสอบที่มีจำนวนมากอย่างเป็นระบบ ชุดทดสอบซึ่งประกอบด้วยข้อทดสอบจำนวนหนึ่ง (เช่น 1 ชุดทดสอบ ประกอบด้วย 100 ข้อทดสอบ) จะถูกสุ่ม จากคลังข้อสอบตามเงื่อนไขที่กำหนด เช่น ขอบเขต และ ความยาก เป็นต้น ภายหลังการสอบ ค่าสถิติต่างๆ เช่น ดรรชนีความยาก และดรรชนีอำนาจจำแนก จะถูกคำนวนผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกขั้นตอน ยกเว้นการทำข้อสอบ ที่ส่วนใหญ่ยังนิยมใช้กระดาษ คำถามและกระดาษคำตอบ แต่การทำข้อสอบบน คอมพิวเตอร์ก็กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้น และจะเข้ามา แทนที่การสอบด้วยกระดาษในอนาคต


เทคโนโลยีการสำรวจด้วยภาพถ่ายจากอากาศยานไร้นักบิน Uav Photogrammetry Technology, วิชัย เยี่ยงวีรชน Jan 2015

เทคโนโลยีการสำรวจด้วยภาพถ่ายจากอากาศยานไร้นักบิน Uav Photogrammetry Technology, วิชัย เยี่ยงวีรชน

UNISEARCH (Unisearch Journal)

อากาศยานไร้นักบิน (Unmanned Aerial Vehicle, UAV) ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในงานหลายๆ ด้านในปัจจุบัน ซึ่งรวมถึงการนำมาใช้ ในงานการสำรวจด้วยภาพถ่าย (photogrammetry) ด้วยการติดกล้องถ่ายรูปดิจิตอลทั่วไป เพื่อทำการถ่ายภาพและนำมาประมวลผลภาพ ซึ่งให้ผลลัพธ์ 3 ลักษณะ คือ แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ (orthophoto) แบบจำลองข้อมูลจุดความสูงเชิงพื้นผิว (Digital Surface Model, DSM) และแบบจำลองสามมิติ (3D model) โดยการใช้ UAV ในงานสำรวจด้วยภาพถ่ายนั้นเหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีขนาดเล็ก เนื่องจากมีพิสัยการบินครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1-5 ตารางกิโลเมตร ขึ้นอยู่กับชนิดและระบบของ UAV ขณะที่ UAV ต้นทุนต่ำมีการพัฒนาที่ดีขึ้น ทำให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลง และมีประสิทธิภาพในการผลิตผลลัพธ์ที่สามารถให้ความถูกต้องทางตำแหน่งสูงขึ้นในระดับน้อยกว่า 10 เซนติเมตรได้ ทั้งนี้ ผู้ใช้ต้องมีการวางแผนการบินอย่างเหมาะสม รวมทั้งมีความเข้าใจในหลักการและวิธีการ ประมวลภาพด้วยซอฟต์แวร์สำหรับงานสำรวจด้วยภาพถ่ายจากอากาศยานไร้นักบิน


การค้นคืนคำถามที่พบบ่อยโดยการวัดระยะห่างในกราฟออนโทโลยี, สุกรี สินธุภิญโญ, ชนาวีร์ ซีจันทรา Jan 2015

การค้นคืนคำถามที่พบบ่อยโดยการวัดระยะห่างในกราฟออนโทโลยี, สุกรี สินธุภิญโญ, ชนาวีร์ ซีจันทรา

UNISEARCH (Unisearch Journal)

บ่อยครั้งการทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ หรือการทำงานที่ต้องสัมพันธ์กับกฎระเบียบจำนวนมาก ที่ผู้ใช้ ต้องอาศัยข้อมูลพื้นฐานที่มีอยู่แล้วเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน โดยทั่วไปแล้ว สำหรับผู้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เมื่อเกิด ปัญหาหรือต้องการความช่วยเหลือในการใช้งาน ผู้ใช้ส่วนใหญ่จะเข้าไปค้นหาคำตอบในฐานความรู้ที่เรียกว่า คำถามที่พบบ่อย (Frequently Asked Questions: FAQ) ซึ่งอาจไม่พบสิ่งที่ต้องการค้นหาจริงๆ เนื่องจากหลายสาเหตุ เช่น ใช้คำค้นไม่ตรงกับฐานความรู้ที่มีอยู่ หรือไม่ทราบว่าสิ่งที่ตนเองต้องการค้นหานั้น ตรงกับศัพท์เทคนิค (Technicalterms) คำใด รวมถึงการสะกดคำค้นหาผิดเล็กๆ น้อยๆ ที่ทำให้คำค้นไม่ตรงกับฐานความรู้นอกจากนี้ ในการพัฒนาระบบและเตรียมข้อมูลคำถามที่พบบ่อย บ่อยครั้งที่เนื้อหาของคำถามที่พบบ่อย มักเป็นข้อมูลที่เจาะจงเฉพาะเรื่องมากเกินไป และเมื่อองค์กรมีผลิตภัณฑ์หลายประเภทมากขึ้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีระบบค้นคืนคำถามที่พบบ่อย (FAQ) เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้ แต่คำสำคัญในการค้นหามักไม่ใช้คำที่เฉพาะเจาะจง ทำให้การค้นหาส่วนใหญ่จึงไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ เช่น คำถามที่พบบ่อยของ ไมโครซอฟต์ หากค้นคำว่า "blue screen" https://support.microsoft.com/en-us/search?query=bluescreen จะพบว่ามีผลลัพธ์ที่ไม่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก อันเนื่องมาจากสาเหตุหลายประการ ดังนั้น การค้นคืนข้อมูลจึงต้องมีการพัฒนาวิธีการค้นหา เพื่อช่วยค้นหาคำถามที่พบบ่อย จากคำสำคัญ (Keyword) ที่ไม่เจาะจงได้


Book Review: Premjai Vungsiriphisal, Dares Chusri, And Supang Chantavanich, Eds., Humanitarian Assistance For Displaced Persons From Myanmar, Min Ma Jan 2015

Book Review: Premjai Vungsiriphisal, Dares Chusri, And Supang Chantavanich, Eds., Humanitarian Assistance For Displaced Persons From Myanmar, Min Ma

Asian Review

No abstract provided.


บทบรรณาธิการ, บรรณาธิการ Jan 2015

บทบรรณาธิการ, บรรณาธิการ

Journal of Social Sciences

No abstract provided.


The Emergence Of Public-Private-Social Partnership (Ppsp) In Very Small Power Producer (Vspp) Industry: A Case Study Of Mae Jo Micro-Hydro Power Project: The Implication For Environmental Governance, Thita Orn-In Jan 2015

The Emergence Of Public-Private-Social Partnership (Ppsp) In Very Small Power Producer (Vspp) Industry: A Case Study Of Mae Jo Micro-Hydro Power Project: The Implication For Environmental Governance, Thita Orn-In

Journal of Social Sciences

Electricity from renewable sources produced by Very Small Power Producer (VSPP) is a promising scheme that not only strengthens energy security, but also provides solutions to the problem of sustainability and environmental governance. In the future, community's VSPPs will be an important contributing factor for Thailand's 25 percent Renewable Energy production to be met, but currently this issue received inadequate attention. A study at Mae Kam Pong's Micro Hydro power project was conducted in order to illustrate that multi-partner governance. This community's VSPP project marks a new paradigm of decentralized, inclusive and green energy production. Success, challenges as well as …


Social Enterprise And Promotion Of Safe Migration Among Returned Migrants: Case Studies Of A Credit Union In Bone District Of South Sulawesi Province Indonesia, Fatimana Agustinanto Jan 2015

Social Enterprise And Promotion Of Safe Migration Among Returned Migrants: Case Studies Of A Credit Union In Bone District Of South Sulawesi Province Indonesia, Fatimana Agustinanto

Journal of Social Sciences

Indonesia is one of the largest sending countries of migrant workers in the Southeast Asia Region. There are approximately 4.3 million documented and 1.7 million undocumented Indonesian migrant workers living abroad (U.S. Department of State, 2012). Unfortunately, significant numbers of them migrated unsafely thus vulnerable to be trafficked in the destination countries. The Government of Indonesia and civil society organizations have been working together to promote safe migration and address human trafficking. This paper is trying to (1) examine civil society group involvement in promoting safe migration, (2) investigate credit union roles in promoting safe migration through economic security, and …


The Making Of Southeast Asia, Sida Sornsri Jan 2015

The Making Of Southeast Asia, Sida Sornsri

Journal of Social Sciences

This book, "The making of Southeast Asia," is composed of 9 chapters. The introduction in chapter one covers region, regionalism and regional identity which concentrate on unity in diversity, interaction and identity. The author explores the issue of identity in the international relations of Southeast Asia, which is understood as "Regional Identity." He argues "the regionness and regional identity have lurked beneath the surface of major issues in the foreign policy and international relations of Southeast Asia States." I agreed with the author's major issues, such as the end of the Vietnam War, the Vietnamese invasion of Cambodia and the …


Education For Disaster Risk Reduction Toward Change: The Case Of The 'Climate Change Academy' In Albay Province, Philippines, Claudine Claridad Tanvir Jan 2015

Education For Disaster Risk Reduction Toward Change: The Case Of The 'Climate Change Academy' In Albay Province, Philippines, Claudine Claridad Tanvir

Journal of Social Sciences

The increasing frequency of disaster risks due to natural hazards such as typhoons that hit the Philippines over the past years has become a major concern of disaster risk reduction managers especially in the Province of Albay - a typhoon highway of the country. Local and national legislations have begun to address this issue by means of capacitating the local government units (LGUs) so that communities can prepare, respond and recover (better) from the impact of disasters. The purpose of this paper is to examine the contribution of the government-led education program through the 'Climate Change Adaptation and Disaster Risk …


Rethinking Modernization Theory In The Study Of Thai Politics, Noppon Phon-Amnuai Jan 2015

Rethinking Modernization Theory In The Study Of Thai Politics, Noppon Phon-Amnuai

Journal of Social Sciences

This article is set out to understand the nature of Modernization theory by arguing that the widely used concepts of modernization theory in a study of Thai politics have failed to explain the behavior of the middle-class and the emergences of authoritarianism in the last decade. This is because scholars have embraced only "mainstream Modernization", which emphasizes the fact that the correlation between economic development and democracy is relevant and positive. And the middle-class are celebrated as the leading actor in bringing about democracy. However, this is just one point of view. In fact, according to modernization theory, the correlation …


ความได้เปรียบในสนามเลือกตั้งของทายาทตระกูล นักการเมือง Advantages Of Dynastic Candidates In An Election, สติธร ธนานิธิโชติ Jan 2015

ความได้เปรียบในสนามเลือกตั้งของทายาทตระกูล นักการเมือง Advantages Of Dynastic Candidates In An Election, สติธร ธนานิธิโชติ

Journal of Social Sciences

การสืบทอดอำนาจทางการเมืองจากรุ่นสู่รุ่นในวงสัตระภูลผู้นำทางการเมืองหรือการสถาปนา “ตระคูล นักการเมือง” นั้น เป็นปรากฏการณ์ที่สามารถพบเห็นไดในแทบทุกสังคมการเมือง บทความนี้มุ่งค้นหาคำตอบ ว่าการเป็นสมาซิกในตระภูลนักการเมืองทำให้ทายาทของตระภูลนักการเมืองมีโอกาสที่ดีในการได้รับการเสือกตั้ง เป็นสมาซิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่ อย่างไร อาศัยการวิเคราะห์ข้อยูลสมาซิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตที่ได้รับการเสือกตั้งเมือวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 เฉพาะสมาซิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาเป็น ครั้งแรก หรือที่บทความนี้เรียกว่า สมาซิกสภาผู้แทนราษฎร “หนำใหม่” โดยอาศัยวิธีการทางสถิติ ได้แก่ การวิเคราะห์เปรยบเทียบค่าเฉลี่ย (00๓กลโ6 ๓©ลก) และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรครั้งละหลายๆ ตัว (๓ฟใ!Vลโเลใ© ลกลเVร15) บทความนี้ค้นพบว่าสมาซิกสภาผู้แทนราษฎรหนำใหม่ที่เป็นทายาทของตระถูลเ นักการเมืองได้รับการเสือกตั้งเข้ามาด้วยคะแนนนิยมโดยเฉลี่ยสูงกว่าสมาซิกสภาผู้แทนราษฎรหนำใหม่ที่ไม่มี สายสัมพันธ์แบบตระภูลนักการเมือง นอกจากนี้การเป็นสมาซิกในตระคูลนักการเมืองยังเป็นปัจจัยที่มีผล ต่อการได้รับคะแนนและสัดส่วนคะแนนที่สูงของสมาซิกสภาผู้แทนราษฎรเคียงคู่กับปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ พรรคการเมืองที,สังกัด และพื้นที่ที่ลงสมัคร สะท้อนให้เห็นว่าการเป็นสมาซิกในตระภูลนักการเมืองนั้นยังมี ความสำคัญต่อชัยชนะในการเสือกตั้งของนักการเมืองไทยอยู่ โดยเฉพาะสำหรับนักการเมืองที่เป็นทายาทของ ตระคูลนักการเมือง ถึงแม้ว่าจะมิใช่ปัจจัยเดียวและไม่ใช่ปัจจัยที่สำคัญที่สุดก็ตาม


แนวคิดและหลักการว่าด้วยการละเมิดอำนาจรัฐสภา The Concept Of Contempt Of Parliament, พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย Jan 2015

แนวคิดและหลักการว่าด้วยการละเมิดอำนาจรัฐสภา The Concept Of Contempt Of Parliament, พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย

Journal of Social Sciences

ปัญหาความไม่มีประสิทธิภาพในการทำหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติเป็นประเด็นสำคัญต่อการเมือง การปกครองของประเทศ ซึ่งประเทศอย่างอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และแคนาดา ต่างตระหนักในปัญหาดังกล่าว ส่งผลให้มีการคิดค้นกลไกบางอย่างขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาความล้มเหลวในการปฏิบัติภารกิจของรัฐสภาผ่านหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญอย่าง “การละเมิดอำนาจรัฐสภา” ที่ให้อำนาจรัฐสภาลงโทษผู้ขัดขวางการทำหน้าที่ของ รัฐสภาได้ จนกระทั่งในปัจจุบัน ทั้งสามประเทศนี้ได้รับการยกย่องจากนานาประเทศว่าเป็นประเทศที่มีฝ่าย นิติบัญญัติที่เข้มแข็ง ทำงานได้เป็นอย่างดีมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดี เมื่อมาสำรวจตรวจสอบแนวคิดว่าด้วยการละเมิดอำนาจรัฐสภาในประเทศไทยแล้วกลับไม่ พบ แนวคิดและหลักการนี้จึงไม่เป็นที่รู้จักมักคุ้นเสียเท่าใด ยังมิพักที่จะต้องกล่าวถึงการนำเอาหลักการนี้มา ประยุกต์ใช้กับการทำหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติของประเทศที่ยังคงประสบปัญหามาโดยตลอด เพื่อแก้ไขปัญหา ความไม่มีประสิทธิภาพของรัฐสภาไทย ประเทศไทยจึงควรมีกฎหมายและกลไกต่างๆ รองรับแนวคิดและ หลักการว่าด้วยการละเมิดอำนาจรัฐสภา


พินิจวิกฤตยูเครน, ทิพรัตน์ บุบผะศิริ Jan 2015

พินิจวิกฤตยูเครน, ทิพรัตน์ บุบผะศิริ

Journal of Social Sciences

กรณีวิกฤตการเมืองภายในกรณี Euromaidan ยูเครนส่งผลต่อความสัมพันธ์กับรัสเชียและการเมือง ภายในยุโรปนั้นมืที่มาที่ซับซ้อนเป็นผลจากปัจจัยด้านชาติพันธ์ ประวิติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และเศรษฐกิจ ปัจจัย ดังกล่าวทำให้ซาวยูเครนไม่เคยและไม่ได้เป็นหนึ่งเดียวกันโดยเฉพาะระหว่างยูเครนด้านตะวันตกและตะวันออก ยูเครนตะวันออก ภาคใต้ รวมถึงคาบสมุทรใครเมียมีความผูกพันกับรัสเชียอย่างมาก ต่างจากยูเครนตะวันตก ที่มองว่าประวัติศาสตร์ของตนนั้นแยกจากรัสเชียซัดเจน ทำให้ซาวยูเครนทั้งสองกลุ่มเห็นต่างกันในการดำเนิน ความสัมพันธ์กับรัสเชีย ในขณะที่รัสเชียมองว่าเกียรติภูมิในฐานะมหาอำนาจของรัสเชียอันถือว่าตนเป็น ศูนย์กลางของชาติพันธุ์รัสและนิกายออร์โธดอกซ์ตะวันออกมืเคียฟ ยูเครนตะวันออก และไครเมียร่วมอยู่ด้วย ตลอด ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของยูเครนยังมีความสำคัญด้านยุทธศาสตร์ความมั่นคงและด้านเศรษฐกิจต่อรัสเชีย ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้แม้ยูเครนจะได้แยกตัวออกจากสหภาพโซเวียต (อันมีรสเชียเป็นศูนย์กลาง) เป็นชาติ เอกราชแต่รัสเชียยังคงต้องการคงอิทธิพลเหนึอยูเครนโดยมิอาจยินยอมให้มหาอำนาจอื่นใดเข้ามาสร้างอิทธิพล แข่งได้ วิกฤตยูเครนจึงเป็นวิกฤตการเมืองภายในที่ต่อเนื่องส่งผลให้เกิดวิกฤตภูรณภาพแห่งดินแดนที่เกี่ยวข้อง กับการเมืองระหว่างประเทศ


Renewable Energy Development And Environmental Justice In Thailand: A Case Of Biomass Power Plant In Roi-Et Province, Yeji Yoo Jan 2015

Renewable Energy Development And Environmental Justice In Thailand: A Case Of Biomass Power Plant In Roi-Et Province, Yeji Yoo

Journal of Social Sciences

This paper reviews the policies and practices of renewable energy development and biomass power projects in Thailand. Thailand has allowed private power producers to generate energy from biomass, as an important source of renewable energy, in order to increase energy security and to reduce CO2 emissions. However, some biomass projects in Thailand have resulted in negative environmental effects and social problems, such as air pollution and health problems for villagers near the projects, which thus create environmental injustices. Applying the concept of environmental justice, the research examines impacts and benefits of the biomass project on the environment through a case …


Revisiting Democratization In Myanmar And Indonesia From A Comparative Perspective, Thu Thi Anh Nguyen Jan 2015

Revisiting Democratization In Myanmar And Indonesia From A Comparative Perspective, Thu Thi Anh Nguyen

Journal of Social Sciences

Southeast Asia is one of the most interesting spots for democratization in the world today. The regional diversity is made up by: Indonesia, the world's third largest democratic nation, the Philippines, Asia's oldest democracy, and the consolidated democracies of Malaysia, Thailand, and other types of authoritarian rule. Besides this diversity, the transition from authoritarian rule to democracy in the region also attracts academic attention. Myanmar and Indonesia are good examples of the political transformation from the authoritarianism under the military government to democratic forms of government. However, after the resignation of Ne-Win in 1988, Burma still remained a military dictatorship, …


กำเนิดและความย้อนแย้งของเสรีประชาธิปไตย* Origins And Paradox Of Liberal Democracy, สมเกียรติ วันทะนะ Jan 2015

กำเนิดและความย้อนแย้งของเสรีประชาธิปไตย* Origins And Paradox Of Liberal Democracy, สมเกียรติ วันทะนะ

Journal of Social Sciences

งานวิจัยนี้ต้องการตอบคำถามสำคัญสองประการ คือ หนึ่ง ระบอบเสรีประชาธิปไตยมีกำเนิดมาจาก บริบทแบบใด และสอง ทำไมความเชื่อมั่นต่อระบอบนี้ของประซาซนในประเทศประชาธิปไตยชั้นนำทั้งหลายจึง ลดลงอย่างรวดเร็ว ในสอง-สามทศวรรษที่ผ่านมา วิธีวิจัยใช้การวิเคราะห์จากเอกสารเพื่อหาคำอธิบายที่แสดง ความเป็นเหตุเป็นผลในแบบประวิติศาสตร์เปรียบเทียบ ผลการวิจัยพบว่าบริบทที่เป็นบ่อเกิดให้แก'ระบอบเสรีประชาธิปไตย คือ รัฐชาติที่พัฒนาขึ้นก่อนในยุโรป ตะวันตกในศตวรรษที่ 19 และครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 หลังสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐชาติในยุโรปตะวันตก ต้องทำสงครามเย็น (ค.ศ. 1950-1990) กับรัฐชาติในค่ายคอมมิวนิสต์ ทำให้แบบแผนของรัฐชาติแบบเสรีนิยม เปลี่ยนแปลงเช้าสู่แบบแผนของรัฐชาติแบบสวัสดิการซึงมีผลให้เกิดรัฐบาลขนาดใหญ่ (big government) หลัง สงครามเย็นยุติลง สภาพการแข่งขันกันอย่างรุนแรงระหว่างประเทศต่างๆ ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และ การปฏิวัติทางการสื่อสาร ทำให้ทั้งรัฐชาติและระบอบเสรีประชาธิปไตยแบบเดิมกลายเป็นสิงที่แข็งกระด้างเกิน กว่าที่จะเช้ากับสภาพแวดล้อมแบบใหม่ได้ จึงเกิดสภาวะย้อนแย้ง (paradox) และความเคลื่อนไหวเพื่อหาทาง เลือกแบบอื่นๆ ในปัจจุบัน


ฤๅหาใช่เพียงร่างทรง: แนวทางเชิงวิพากษ์ ในการศึกษาสถาบันตุลาการ, ภูริ ฟูวงศ์เจริญ Jan 2015

ฤๅหาใช่เพียงร่างทรง: แนวทางเชิงวิพากษ์ ในการศึกษาสถาบันตุลาการ, ภูริ ฟูวงศ์เจริญ

Journal of Social Sciences

สถาบันตุลาการไม่ได้แค่บังคับใช้กฏหมายแบบภววิสัยโดยไม่สนหน้าอินทร์หน้าพรหมอะไร งานศึกษาเชิงวิพากษ์จำนวนมากเน้นย้ำข้อเท็จจริงที่ว่าผู้พิพากษานั้นมิได้เป็นเพียงผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค พฤติกรรมและรูปแบบการตัดสินใจของพวกเขามักถูกกำหนดโดยปัจจัยหลากหลาย นอกเหนือไปจากปัจจัยทางกฏหมาย ด้านนหนึ่ง “ตัวแบบเชิงทัศนคติ” เจาะจงไปที่อิทธิพลของแรงจูงใจส่วนบุคคล อย่างค่านิยมเชิงอุดมการณ์ เป้าหมายทางอาชีพ ความเชื่อทางศาสนา และการรับรู้เรื่องบทบาทหน้าที่ ขณะที่อีกด้านนหนึ่ง “ตัวแบบเชิงกลยุทธ์” โต้แย้งว่า ศาลมีแนวโน้มคำนวณ และประพฤติตัวแบบคิดหน้าคิดหลัง เพื่อปกป้องผลประโยชน์ทางสถาบันของตน ในเวลาเดียวกัน สถาบันตุลาการก็ยังฝังตัวอยู่ในระบบการเมือง ศาลในหลายประเทศได้เป็นดั่งผู้มีสิทธิขาดเหนือนโยบายสำคัญๆ ตั้งแต่ด้านนสังคมไปจนถึงด้านนการเงิน บทความนี้จะชี้ให้เห็นว่าสถาบันตุลาการทั้งหลายสามารถมีความเป็นการเมืองมากเพียงใด พร้อมกับทบทวนแนวทางเชิงวิพากษ์สำหรับทำความเข้าใจธรรมชาติทางการเมืองของสถาบันดังกล่าว


Christian Faith-Based Development: A Case Study Of World Vision Foundation Of Thailand In Karen Hill Tribe Communities, Phoebe Yee Kai Ling Jan 2015

Christian Faith-Based Development: A Case Study Of World Vision Foundation Of Thailand In Karen Hill Tribe Communities, Phoebe Yee Kai Ling

Journal of Social Sciences

There is a need to understand how faith-based development organisations (FBDOs) express their religious identity, values and beliefs in development practice. Using the World Vision Foundation of Thailand (WVFT) as a case study, this paper examines the extent to which Christian values, beliefs and identity shape the international organisation's understanding of its development programme with Karen hill-tribe communities in Mae Sariang, northern Thailand. This paper analyses World Vision's concepts of 'transformational development' (TD), 'Christian Witness' and church partnerships in practice, where development is not only the improvement of material well-being of the poor, but also their experience with God and …


Fractionation And Mobility Of Lead In Klity Creek Riverbank Sediments, Kanchanaburi, Thailand, Teerawit Poopa, Prasert Pavasant, Vorapot Kanokkantapong, Bunyarit Panyapinyopol Jan 2015

Fractionation And Mobility Of Lead In Klity Creek Riverbank Sediments, Kanchanaburi, Thailand, Teerawit Poopa, Prasert Pavasant, Vorapot Kanokkantapong, Bunyarit Panyapinyopol

Applied Environmental Research

The sequential extraction method was employed to investigate the distribution and chemical fractions of lead (Pb) in Klity Creek sediments, Kanchanaburi, Thailand with the main objective to define the lead mobility in sediment and potential bioavailability in relation to sediment contamination levels. Samples were collected from a total of twelve sampling sites distributed from upstream of the polluted zone until the final downstream point at Srinakarin Reservoir. The results showed that the background value of total lead concentration in the sediments from this area was higher than those reported from other locations in Thailand. Sequential extraction results revealed that lead …


A Study Of Residual Cyanides And Potential Stabilities In Tailings Storage Facility Of Gold Mining Operation, Suwanit Parinyachet, Quanchai Leepowpanth Jan 2015

A Study Of Residual Cyanides And Potential Stabilities In Tailings Storage Facility Of Gold Mining Operation, Suwanit Parinyachet, Quanchai Leepowpanth

Applied Environmental Research

The study aimed to investigate residual cyanides and their potential stabilities in tailings from a gold processing plant deposited in the Tailings Storage Facility (TSF) of a gold mining site. For this purpose, several samples of tailings were taken from the recently abandoned TSF to a depth of 2.5 meters, representing 1 to 2 years old tailings. The samples were analyzed for pH, metals, residual cyanides, and Net Acid Generation Test (NAG test). The results showed that, in all samples, pH values were neutral to slightly alkaline. Fe concentrations were relatively high (22,800-35,000 mg kg-1) indicating that Fe can readily …


Satoyama Agricultural Development Tool (Sadt) For Collaborative Assessment Of Hilltribe Communities In Chiang Mai: Case Studies Of Mueang Ang, Nhong Lom And Pa Kea Noi, Devon R. Dublin, Jarunee Pilumwong, Sumamas Chaiwong, Thitima Jantakoson, Anchan Chompupoung, Noriyuki Tanaka Jan 2015

Satoyama Agricultural Development Tool (Sadt) For Collaborative Assessment Of Hilltribe Communities In Chiang Mai: Case Studies Of Mueang Ang, Nhong Lom And Pa Kea Noi, Devon R. Dublin, Jarunee Pilumwong, Sumamas Chaiwong, Thitima Jantakoson, Anchan Chompupoung, Noriyuki Tanaka

Applied Environmental Research

The Satoyama Agricultural Development Tool (SADT) is based on five perspectives identified by the International Partnership for the SatoyamaInitiative (IPSI). To determine itsefficiency in indigenous communities, case studies were undertaken inthree hilltribe com-munities: Mueang Ang, Nhong Lom and Pa Kea Noi, located in the province of Chiang Mai, northern Thailand. Satoyama analysis was conducted in each village by officers attached to the Royal Project Foundation (RPF) and the Highland Research and Development Institute (HRDI) operating out of the stations of Inthanon and Mae Hae. These were compared with similar analysis done by villagers of each village studied. Results showed uniformity …