Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2019

Discipline
Institution
Keyword
Publication
Publication Type
File Type

Articles 29971 - 30000 of 32057

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

Asean Governance On Data Privacy : Challenges To Regional Protection Of Data Privacy And Personal Data In Cyberspace, Supatsara Chaipipat Jan 2019

Asean Governance On Data Privacy : Challenges To Regional Protection Of Data Privacy And Personal Data In Cyberspace, Supatsara Chaipipat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This independent_study explores how the cornerstone norms of the Association of Southeast Asian Nations (ASEAN), mostly referred as the ASEAN way, play significant role in forming the regional governance on data privacy and involves the answer that it poses challenges to the region in protecting their citizen’s personal data in cyberspace. This study investigates and compares the existing regimes regarding to data privacy in cyberspace at international, regional and domestic levels. To estimate the efficacy of ASEAN governance on data privacy and personal data protection, the analysis of study is based on the associations’ normative structure. Particularly, it searches what …


Is A Self-Employment Skilled Employment? - A Case Study Of Self-Employed With Bachelor’S Degree In Thailand, Kemmika Labkim Jan 2019

Is A Self-Employment Skilled Employment? - A Case Study Of Self-Employed With Bachelor’S Degree In Thailand, Kemmika Labkim

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In the paper, the research will be focused on self-employed occupations with a bachelor's degree in Thailand to look at the skills require for the self-employed to be hired. The researcher looks further into the Thai labor force survey conducted in 2016, the latest source. The survey shows in detail of self-employed occupations in Thailand with degrees with the total number of 2,284 people in 196 different occupations which counted only those who graduate from bachelor's and above. Hence, in this paper, the researcher looks upon three different sources of information: 2016 Thai labor force National Survey, the skill required …


The Effect Of Salary And Health Insurance Benefit On Job Satisfaction In Thailand, Nattapat Srivibha Jan 2019

The Effect Of Salary And Health Insurance Benefit On Job Satisfaction In Thailand, Nattapat Srivibha

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Human resources is the most significant factor in production function to exercise activities and operate the business. In order to maximize potential of employees, a good welfare and being taken care by a company are critical and will enhance employee satisfaction, resulted in employees' intention to become more accountable and dedicated to work. There are various factors that support employees' needs in fostering loyalty i.e. wages, health benefits, bonuses, scholarships, loan funds, etc. This study examines the effect of salary and health insurance on employee satisfaction in Thailand by exploring correlation between salary satisfaction and health insurance benefits satisfaction and …


Impact Of Women's Education On Marriage Outcomes, Nattamon Ungpraphakorn Jan 2019

Impact Of Women's Education On Marriage Outcomes, Nattamon Ungpraphakorn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In Thailand, marriage has been one of many women’s aspirations. However, nowadays women’s labor force participation has increased, and women have become more economically independent as a result of higher education attainment. An important question is whether these factors lead to an older age of marriage or even a choice remaining single. This paper analyzes how women’s education affects the marriage outcome and studies single women’s perspective towards marriage. Using data from survey of 422 women between the age of 22 and 60, we estimate the logistic regression of marriage outcome. We find that older women tend to remain single …


The Impact Of Flexible Working Time On Employees' Work-Life Balance: A Case Study Of A Kitchenware Manufacturing Company, Panisra Turakijkajohn Jan 2019

The Impact Of Flexible Working Time On Employees' Work-Life Balance: A Case Study Of A Kitchenware Manufacturing Company, Panisra Turakijkajohn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this study is to examine the effect of flexible working time on the employees’ work-life balance in case of a kitchenware manufacturing company in Bangkok by using data from 104 employees in a kitchenware manufacturing company in Bangkok during June 2020. The result shows that the perception on flexible working time has a positive and significant impact on the work -life balance of the employees. When classifying employees into two sub-groups by age, the perception on the flexibility of working time only has positive effect on work life balance of employees with age more than 30 years …


The Impact Of Playful Ironic Branded Entertainment On Consumer Behavior, Phubest Phirakulwanich Jan 2019

The Impact Of Playful Ironic Branded Entertainment On Consumer Behavior, Phubest Phirakulwanich

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this study was to investigate the impact of playful ironic branded entertainment on consumer behavior, including understanding, attitude toward the brand, attitude toward the branded entertainment, source characteristics, and purchase intention, on a low-involvement product, Milo, a chocolate malt beverage. Pre-experimental setting, with static group design, was employed to collect data from 120 undergraduate students at the Faculty of Economics, Thammasat University, during April 2020. The result indicated that both playful ironic branded entertainment and non-playful ironic branded entertainment gave similar impacts on consumer behavior. Attitude toward the brand was the only sub-variable that the playful ironic …


"ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกับนโยบายสัมปทานที่ดินทางเศรษฐกิจในกัมพูชา: ผลกระทบต่อความมั่นคงมนุษย์", ณัฐพล ยิ้มมาก Jan 2019

"ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกับนโยบายสัมปทานที่ดินทางเศรษฐกิจในกัมพูชา: ผลกระทบต่อความมั่นคงมนุษย์", ณัฐพล ยิ้มมาก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ชิ้นนี้มุ่งพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างประชาคมเศรษฐกิจของอาเซียน การลงทุนด้านการเกษตรของบริษัทมิตรผลในกัมพูชา กับนโยบายสัมปทานที่ดินทางเศรษฐกิจในกัมพูชา และวิเคราะห์ว่าความสัมพันธ์ดังกล่าวส่งผลกระทบด้านความมั่นคงมนุษย์ต่อชาวกัมพูชาและประชาชนในประเทศเพื่อนบ้านอย่างไร โดยสารนิพนธ์ชิ้นนี้ใช้กรอบสิทธิมนุษยชนด้านเศรษฐกิจและการเมืองในฐานะปัจจัยสำคัญสำหรับการส่งเสริมความมั่นคงมนุษย์ในการวิเคราะห์ จากการศึกษาพบว่าประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป็นนโยบายที่อำนวยความสะดวกและสร้างโอกาสให้แก่กลุ่มทุนภาคการเกษตรภายในภูมิภาคให้เข้าไปลงทุนและขยายฐานการผลิตในประเทศเพื่อนบ้าน โดยกลุ่มทุนภาคการเกษตรของไทยในกรณีนี้คือบริษัทมิตรผล ซึ่งมีศักยภาพสูง และมีความได้เปรียบเชิงเศรษฐกิจมากกว่าประเทศเพื่อนบ้าน จึงขยายการลงทุนและการผลิตอ้อยและน้ำตาลเข้าไปในกลุ่มประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม อย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ในส่วนของรัฐบาลกัมพูชาต้องการดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ โดยใช้ประโยชน์จากกรอบความร่วมมือของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ได้ประกาศโครงการสัมปทานที่ดินทางเศรษฐกิจเพื่อดึงดูดธุรกิจด้านการเกษตรให้เข้ามาลงทุนในกัมพูชา ซึ่งหมายถึงการขยายตัวของการเช่าพื้นที่ขนาดใหญ่เพื่อดำเนินโครงการเพาะปลูกพืชและทำอุตสาหกรรมเกษตร แต่กระบวนการดังกล่าวกลับสร้างผลกระทบด้านความมั่นคงมนุษย์ เกิดการละเมิดหลักสิทธิมนุษยชนจากปัญหาการแย่งยึดที่ดิน ด้วยวิธีการบังคับขับไล่ชาวบ้านจากที่ดิน และการใช้ความรุนแรง ทั้งยังทำให้เกิดปัญหามลภาวะหมอกควันข้ามพรมแดน ซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงมนุษย์ด้านสิ่งแวดล้อมภายในภูมิภาค ปรากฎการณ์ดังกล่าวนี้ขัดแย้งกับนโยบายของอาเซียนที่ระบุว่าจะมุ่งส่งเสริมหลักสิทธิมนุษยชน การพัฒนาที่ยั่งยืน และปกป้องสิ่งแวดล้อม ||รัฐศาสตรมหาบัณฑิต


ตำรวจกับอาชญากรรมข้ามชาติ: ข้อเสนอเพื่อปรับปรุงมาตรการของตำรวจในการจัดการกับปัญหาการสวมบัตรประชาชนและผู้เข้าเมืองผิดกฎหมายในประเทศไทย, เกียรติศักดิ์ เพชรพิมานสมุทร Jan 2019

ตำรวจกับอาชญากรรมข้ามชาติ: ข้อเสนอเพื่อปรับปรุงมาตรการของตำรวจในการจัดการกับปัญหาการสวมบัตรประชาชนและผู้เข้าเมืองผิดกฎหมายในประเทศไทย, เกียรติศักดิ์ เพชรพิมานสมุทร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวทางสำหรับสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการพัฒนา ระบบการประสานงานเพื่อจัดการปัญหาการสวมบัตรประชาชนและผู้เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย อันเป็นหนึ่งในปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงภายในของไทย และลักษณะของปัญหามีความซับซ้อนสูง สารนิพนธ์คำนึงถึงทั้งกระบวนการต้นทางของปัญหาความมั่นคงภายในดังกล่าว คือการที่กลุ่มอาชญากรรมใช้ช่องว่างทางกฎหมายและการทุจริตเพื่อลักลอบสวมบัตรประชาชน และในขั้นปลายทาง ทั้งที่เป็นผู้ใช้ประโยชน์จากการสวมบัตรและการลักลอบเข้าเมือง ได้แก่ ผู้ดำเนินธุรกิจผิดกฎหมายและกลุ่มอาชญากรรมข้ามชาติ และผู้ตกเป็นเหยื่อของกลุ่มอาชญากรรมดังกล่าว เพื่อให้การดำเนินการของรัฐในการป้องกัน สืบสวน และปราบปราม ผู้กระทำความผิดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการกับปัญหาในลักษณะเช่นนี้ต้องอาศัยการกำหนดมาตรการในการปฏิบัติและการประสานงานสำหรับหน่วยงานที่รับผิดชอบทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งไม่สามารถเป็นผู้รับผิดชอบเพียงลำพังได้ การศึกษาทั้งจากเอกสารคู่มือปฏิบัติงาน และการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง สารนิพนธ์มีข้อเสนอว่า เครื่องมือที่จะช่วยให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติปรับการจัดการปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติดังกล่าวได้อย่างสมเหตุสมผลและมีประสิทธิภาพมากขึ้นคือการพัฒนาคู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เป็นมาตรฐาน โดยยึดแนวทางสำคัญ 2 ประการ ได้แก่ หนึ่ง การสร้างมาตรฐานการดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอน (Standard Operating Procedures: SOPs) เกี่ยวกับมาตรการในการป้องกันปราบปรามและสืบสวนสอบสวน และ สอง การกำหนดแนวทางบูรณาการประสานความร่วมมือและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง (Inter- agency coordination) ในทุกขั้นตอน ประโยชน์ของคู่มือนี้นอกจากจะช่วยสำนักงานตำรวจแห่งชาติหลีกเลี่ยงการเมืองในระบบราชการอันเกิดจากปัญหาข้อขัดแย้งกับหน่วยงานของส่วนราชการอื่นเกี่ยวกับภารกิจหน้าที่และงบประมาณทรัพยากรแล้ว คู่มือดังกล่าวยังเป็นเครื่องมือสนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของส่วนงานราชการไทย ที่มีหน้าที่ดูแลปัญหาความมั่นคงข้ามชาติเพื่อรับมือกับปัญหาได้ในระยะยาว รวมถึงสามารถพัฒนาปรับปรุงต่อไปตามบริบทความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอนาคตด้วย


บทบาทของกลุ่มการเมืองในฟิลิปปินส์ต่อนโยบายของประธานาธิบดีดูเตอร์เตที่มีต่อจีน, กชพร สร้อยทอง Jan 2019

บทบาทของกลุ่มการเมืองในฟิลิปปินส์ต่อนโยบายของประธานาธิบดีดูเตอร์เตที่มีต่อจีน, กชพร สร้อยทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาบทบาทของกลุ่มการเมืองในฟิลิปปินส์ต่อนโยบายของประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตอร์เตที่มีต่อจีน โดยมุ่งพิจารณาบทบาทของกองทัพ รัฐสภา หน่วยงานราชการ ภาคประชาสังคม และสื่อมวลชน จากการศึกษาพบว่า ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยของฟิลิปปินส์ กลุ่มการเมืองภายในประเทศทำหน้าที่ตรวจสอบและถ่วงดุล (Checks and Balances) ทำให้ดูเตอร์เตไม่อาจดำเนินนโยบายต่อจีนตามที่มุ่งหวัง โดยดูเตอร์เตต้องการมีความใกล้ชิดกับจีนเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และไม่ต้องการนำปัญหาทะเลจีนใต้มาก่อให้เกิดความขัดแย้งกับจีนภายหลังศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ (Permanent Court of Arbitration – PCA) มีคำตัดสินข้อพิพาททะเลจีนใต้ที่ส่งผลในทางบวกต่อฟิลิปปินส์ กลุ่มการเมืองภายในเรียกร้องให้ดูเตอร์เตใช้คำตัดสินดังกล่าวเพื่อยืนยันอำนาจอธิปไตยของฟิลิปปินส์ เพื่อลดการแผ่ขยายอำนาจในทะเลจีนใต้ของจีน และตอบโต้พฤติกรรมรุกล้ำของจีนในน่านน้ำฟิลิปปินส์บริเวณทะเลจีนใต้ ขณะที่ดูเตอร์เตไม่ไม่ต้องการเผชิญหน้ากับจีน จึงใช้วิธีแสวงหาความร่วมมือกับจีน อย่างไรก็ตาม การดำเนินนโยบายของดูเตอร์เตทำให้ฟิลิปปินส์ดูเหมือนประเทศเล็กที่ต้องทำตัว อ่อนน้อมให้กับมหาอำนาจอย่างจีน ท่าทีดังกล่าวส่งผลให้กลุ่มและสถาบันการเมืองในประเทศมีปฏิกิริยาเชิงลบทั้งต่อดูเตอร์เตและจีน รวมถึงกระตุ้นกระแสชาตินิยมที่เรียกร้องให้รัฐบาลต้องมีจุดยืนที่แข็งกร้าวตอบโต้จีน ส่งผลให้ดูเตอร์เตต้องลดการโอนอ่อนให้กับจีน ในแง่นี้ชี้ว่า ระบอบประชาธิปไตยที่กลุ่มการเมืองและสถาบันที่ทำหน้าที่ตรวจสอบถ่วงดุลสามารถมีเสรีภาพในการทำหน้าที่ของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพนี้ ส่งผลให้ผู้นำต้องรับฟังข้อเรียกร้องของประชาชนในระดับหนึ่ง แม้ว่าผู้นำจะมีลักษณะอำนาจนิยมก็ตาม


นโยบาย "3 ไม่" ของเวียดนามกับความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงกับสหรัฐอเมริการะหว่างปี 2010-2019, ชภาภัทร โสตถิอนันต์ Jan 2019

นโยบาย "3 ไม่" ของเวียดนามกับความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงกับสหรัฐอเมริการะหว่างปี 2010-2019, ชภาภัทร โสตถิอนันต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การมีภัยคุกคามและผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ร่วมกันในทะเลจีนใต้ของเวียดนามกับสหรัฐอเมริกาเป็นปัจจัยขับเคลื่อนในความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงของทั้งสองประเทศอย่างต่อเนื่อง แต่เวียดนามยืนยันไม่เป็นพันธมิตรทางการทหารกับสหรัฐฯ เพื่อร่วมกันต่อต้านจีนโดยยึดนโยบาย “3 ไม่”กล่าวคือ ไม่เป็นพันธมิตรทางทหาร ไม่ให้ตั้งฐานทัพต่างชาติในประเทศ และไม่ร่วมมือกับรัฐหนึ่งเพื่อต่อต้านรัฐอื่น นโยบาย 3 ไม่จึงเป็นเครื่องมือในการรักษาความสัมพันธ์กับจีนควบคู่ไปกับพัฒนาความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงกับสหรัฐฯ สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษานโยบาย “3 ไม่” ของเวียดนามกับความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงกับสหรัฐอเมริการะหว่างปี 2010-2019 โดยประยุกต์ใช้แนวคิดเรื่องพันธมิตรทางทหารของเคนเน็ต วอลท์เพื่อเสนอว่าการใช้นโยบาย “3 ไม่” ทำให้เวียดนามยังรักษาความสัมพันธ์ในฐานะเพื่อนบ้านที่ดีกับจีนไว้ได้ พร้อม ๆ กับอนุญาตให้เวียดนามสามารถเข้าใกล้สหรัฐฯ ได้มากขึ้นด้วย และยังเป็นนโยบายที่เวียดนามใช้เพื่อป้องกันตนเองจากแรงกดดันและแสวงหาผลประโยชน์จากความสัมพันธ์กับสองมหาอำนาจ ทั้งนี้ แม้เวียดนามมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับสหรัฐฯ มากขึ้น แต่เวียดนามหลีกเลี่ยงคำและการกระทำที่เข้าข่ายการเป็นพันธมิตรทางทหาร โดยในการสร้างข้อตกลงทางการทหารอย่างไม่เป็นทางการกับสหรัฐฯ เวียดนามพยายามจำกัดให้อยู่ภายในขอบเขตของนิยามความเป็นหุ้นส่วน เพื่อยืนยันว่าตนยังคงยึดมั่นนโยบาย “3 ไม่” อย่างมั่นคง


การปรับเปลี่ยนมุมมองของอินเดียต่อโครงการขุดคลองไทย, เนตรทราย อ่วมงามอาจ Jan 2019

การปรับเปลี่ยนมุมมองของอินเดียต่อโครงการขุดคลองไทย, เนตรทราย อ่วมงามอาจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาการปรับเปลี่ยนมุมมองของอินเดียต่อโครงการขุดคลองไทย โดยวิเคราะห์การปรับเปลี่ยนมุมมองของอินเดีย ประวัติความขัดแย้งระหว่างจีนกับอินเดียที่กระทบต่อความมั่นคง รวมไปถึงเรื่องผลประโยชน์แห่งชาติของอินเดียผ่านมิติโครงการขุดคลองไทย โดยมีปัจจัยหลัก กล่าวคือบริบทใหม่ที่จีนเข้ามามีอิทธิพลในประเทศเพื่อนบ้านของอินเดีย ซึ่งเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่สำคัญของอินเดีย คือ บริเวณมหาสมุทรอินเดีย ผ่านยุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 โดยโครงการขุดคลองไทยเป็นหนึ่งในความคาดหวังของจีนที่พยายามผลักดันให้เป็นระเบียงเศรษฐกิจภาคพื้นทะเล การดำเนินการเชิงรุกของจีน รวมถึงท่าทีที่คลุมเครือของไทยและจีนในการดำเนินการโครงการนี้ การปล่อยกู้ การสนับสนุนเงินในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่มีข้อผูกมัดหากไม่เป็นไปตามข้อตกลง จีนจะดำเนินการเจรจาและควบคุมดูแลโครงการนั้นเอง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้อินเดียกังวลและปรับเปลี่ยนมุมมองต่อโครงการขุดคลองไทย ที่อาจจะส่งผลต่อความเสถียรภาพในภูมิภาค ความมั่นคงและผลประโยชน์แห่งชาติของอินเดีย


นโยบายการส่งออกยุทโธปกรณ์ไปยังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กับการเสริมสร้างความมั่นคงของญี่ปุ่น, แพรวพฤกษ์ จิตสกุลชัยเดช Jan 2019

นโยบายการส่งออกยุทโธปกรณ์ไปยังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กับการเสริมสร้างความมั่นคงของญี่ปุ่น, แพรวพฤกษ์ จิตสกุลชัยเดช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การอนุมัติ "หลักสามประการว่าด้วยการถ่ายโอนยุทโธปกรณ์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศ" ค.ศ. 2014 เกิดขึ้นสืบเนื่องจากการประกาศแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติโดยรัฐบาลอาเบะ เพื่อผ่อนปรนข้อจำกัดและขยายขอบเขตการส่งออกถ่ายโอนยุทโธปกรณ์ให้สอดรับกับนโยบายสันติภาพเชิงรุก และตอบสนองต่อสภาวการณ์ความมั่นคงปัจจุบัน สารนิพนธ์ฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาเพื่อตอบคำถามว่า การปรับนโยบายการส่งออกยุทโธปกรณ์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศของญี่ปุ่นไปยังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยการอนุมัติหลักสามประการฯ ค.ศ. 2014 นั้นตอบสนองต่อเป้าหมายยุทธศาสตร์ความมั่นคงของญี่ปุ่นอย่างไร ผลการศึกษาพบว่า การส่งออกยุทโธปกรณ์ของญี่ปุ่นไปยังประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นการผสมผสานทั้งการถ่ายโอนแบบให้เปล่าและการเสนอขายตามปกติ ควบคู่ไปกับการกระชับความสัมพันธ์ผ่านโครงการเสริมสร้างศักยภาพ และการแลกเปลี่ยนทางการทหารที่เกี่ยวเนื่องกับยุทโธปกรณ์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นนัยยะในการเสริมสร้างความมั่นคงของญี่ปุ่นด้วยการดำเนินนโยบาย "การประกันความเสี่ยง" หรือ Hedging โดยใช้การส่งออกยุทโธปกรณ์เป็นช่องทางหนึ่งในการขยายบทบาททางทหาร และสร้างเครือข่ายหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศที่มีแนวคิดทางความมั่นคงร่วมกัน เพื่อเป้าหมายในการถ่วงดุลอิทธิพลจีนไม่ให้สั่นคลอนสภาวะที่เป็นอยู่ในภูมิภาค และเป็นการเพิ่มทางเลือกในการรับมือกับความไม่แน่นอนของพันธมิตรสหรัฐฯ-ญี่ปุ่น


พื้นที่สาธารณะรูปแบบใหม่กับการสื่อสารทางการเมือง: ขบวนการร่มบนสื่อสังคมออนไลน์, พศพันธุ์ ศุขเกษม Jan 2019

พื้นที่สาธารณะรูปแบบใหม่กับการสื่อสารทางการเมือง: ขบวนการร่มบนสื่อสังคมออนไลน์, พศพันธุ์ ศุขเกษม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ขบวนการร่ม (Umbrella Movement) หรือการชุมนุมประท้วงในฮ่องกงในปี ค.ศ. 2014 เพื่อเรียกร้องให้ชาวฮ่องกงมีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้งผู้บริหารสูงสุด กลายมาเป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมซึ่งมีการเข้ายึดพื้นที่ในจุดที่สำคัญต่าง ๆ เพื่อกดดันรัฐบาลฮ่องกงรวมถึงรัฐบาลปักกิ่ง และในขณะเดียวกัน ได้มีการใช้พื้นที่บนสื่อสังคมออนไลน์ในการสร้างพื้นที่สาธารณะแบบเสมือนจริงเพื่อส่งเสริมขบวนการเคลื่อนไหว บทความวิชาการนี้ต้องการที่จะศึกษาลักษณะหรือรูปแบบการเคลื่อนไหวออนไลน์ของขบวนการร่มที่สอดคล้องกับขบวนการเคลื่อนไหวที่สำคัญในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกในห้วงเวลาเดียวกัน (ปี ค.ศ. 2011 - 2014) โดยเฉพาะการใช้แฮชแท็กผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของขบวนการร่มในการเชื่อมโยงผู้คนระหว่างกันจนกลายเป็น Hashtag activism ที่มีประสิทธิภาพในการผลักดันเสียงของประชาชนให้เป็นที่ถกเถียงบนพื้นที่สาธารณะ รวมถึงศึกษาการใช้มีมในขบวนการร่มซึ่งสะท้อนความคิดทางวัฒนธรรม สัญลักษณ์ หรือการปฏิบัติ ที่สามารถส่งความรู้สึกต่างๆ จากบุคคลหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งได้ ผ่านการเขียน พูด ท่าทาง ภาพล้อเลียน เป็นต้น สุดท้ายบทความชิ้นนี้ยังวิเคราะห์ข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวของขบวนการร่มบนสื่อออนไลน์


การดำเนินนโยบายของญี่ปุ่นต่อรัสเซียในยุคชินโซ อาเบะ: ประเด็นศึกษาข้อพิพาทเกาะทางตอนเหนือของญี่ปุ่น (2012 - 2019), พัชรพร มาลา Jan 2019

การดำเนินนโยบายของญี่ปุ่นต่อรัสเซียในยุคชินโซ อาเบะ: ประเด็นศึกษาข้อพิพาทเกาะทางตอนเหนือของญี่ปุ่น (2012 - 2019), พัชรพร มาลา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาการดำเนินนโยบายของญี่ปุ่นต่อรัสเซียในยุคของรัฐบาล ชินโซ อาเบะ ในประเด็นข้อพิพาทเกาะทางตอนเหนือของญี่ปุ่น ระหว่างปี 2012-2019 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และการดำเนินนโยบายต่างประเทศของญี่ปุ่นต่อรัสเซีย ในประเด็นข้อพิพาทเกาะทางตอนเหนือของญี่ปุ่น และวิเคราะห์ถึงแรงจูงใจในการดำเนินนโยบาย เข้าหารัสเซียของรัฐบาลอาเบะ ในปี 2012 – 2019 ผ่านกรอบแนวคิดการถ่วงดุลโดยใช้ไม้อ่อน (Soft balancing) จากการศึกษาพบว่า ในอดีตประเด็นพิพาทเกาะทางตอนเหนือเป็นประเด็นหลักในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นและรัสเซียและยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญในความสัมพันธ์มาอย่างยาวนาน อย่างไรก็ตามภายใต้บริบทภายในภูมิภาคที่จีนกลายเป็นตัวแสดงสำคัญที่เป็นภัยต่อความมั่นคงแห่งชาติ รัฐบาลอาเบะจึงดำเนินนโยบายเข้าหารัสเซียเพื่อถ่วงดุลอำนาจรวมถึงสกัดกั้นจีนเป็นหลักด้วยการดึงรัสเซียเข้ามาเป็นแนวร่วมในการถ่วงดุลซึ่งเป็นไปในทางอ้อมผ่านแนวทางใหม่ (New Approach) ด้วยการใช้เครื่องมือด้านเศรษฐกิจและการทูตเป็นหลัก และได้ปรับจุดยืนในประเด็นเกาะพิพาททางตอนเหนือจากเดิมที่เคยเป็นประเด็นหลักในความสัมพันธ์ให้กลายเป็นประเด็นที่มีความสำคัญรองลงมาเพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคในการสร้างความสัมพันธ์กับรัสเซีย ดังเช่นในอดีต


ภาษาเหยียดเม็กซิกันของประธานาธิบดีโดนัล ทรัมป์ ในฐานะวาทศิลป์แบบเจ้าจักรวรรดิ, ภครินทร์ เรืองศิริสุวรรณ Jan 2019

ภาษาเหยียดเม็กซิกันของประธานาธิบดีโดนัล ทรัมป์ ในฐานะวาทศิลป์แบบเจ้าจักรวรรดิ, ภครินทร์ เรืองศิริสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาความคล้ายคลึงกันทางวาทศิลป์ระหว่างศัพท์แสงของทรัมป์ที่มีต่อเม็กซิโกในปีค.ศ. 2017-2019 กับวาทศิลป์แบบเจ้าจักรวรรดิ สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาเพื่อตอบคำถามว่า ศัพท์แสงของทรัมป์มีความคล้ายคลึงกับวาทศิลป์แบบเจ้าจักรวรรดิอย่างไร และเม็กซิโกตอบสนองต่อศัพท์แสงที่สะท้อนการเหยียดผิวของทรัมป์อย่างไร โดยสารนิพนธ์เล่มนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่วิเคราะห์ข้อมูลผ่านคำแถลงการณ์อย่างเป็นทางการรวมทั้งสุนทรพจน์ของประธานาธิบดีโดนัล ทรัมป์ และเป็นการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แนวคิดของ David Spurr ที่เกี่ยวกับวาทศิลป์แบบเจ้าจักรวรรดิ คือ การนำเสนอวาทศิลป์ผ่านการสอดส่อง, การจำแนกแบ่งแยก, การลดคุณค่าและเหยียดอาณานิคม, การเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงของอาณานิคมไปเป็นตรงกันข้าม, การยืนยันสถานะของตะวันตกในการปกครองอาณานิคม และการกำหนดบริบททางเพศต่ออาณานิคม เป็นกรอบความคิด โดยผลการศึกษาพบว่า ศัพท์แสงของทรัมป์มีลักษณะคล้ายคลึงกับวาทศิลป์แบบเจ้าจักรวรรดิ ที่สะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดความเกลียดกลัวชาวต่างชาติ แนวคิดชาติภูมินิยม และลัทธิคนผิวขาวสูงส่งยิ่ง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯกับเม็กซิโก และนำไปสู่การตอบโต้กลับของเม็กซิโกในตอนแรก แต่ต่อมาในปี ค.ศ. 2019 ท่าทีการตอบโต้กลับของเม็กซิโกเปลี่ยนแปลงเป็นการส่งเสริมและการสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตที่ดีกับสหรัฐฯแทนที่การตอบโต้กลับด้วยความรุนแรง การตอบโต้กลับทางการทูตของเม็กซิโกจึงเป็นการเน้นย้ำถึงอำนาจที่เหนือกว่าของสหรัฐฯต่อเม็กซิโก ตลอดจนอำนาจทางวาทศิลป์แบบเจ้าจักรวรรดิผ่านการแสดงออกทางศัพท์แสงของทรัมป์ในปัจจุบัน


ข้อถกเถียงทางการเมืองในประเด็นการแต่งงานของคนเพศเดียวกันในแคนาดา, ธันยธรณ์ วัลไพจิตร Jan 2019

ข้อถกเถียงทางการเมืองในประเด็นการแต่งงานของคนเพศเดียวกันในแคนาดา, ธันยธรณ์ วัลไพจิตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันสังคมโลกเริ่มตื่นตัวในเรื่องของสิทธิความเท่าเทียมตามแนวทางด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติกันมากขึ้นในหลายประเด็น สิทธิความเท่าเทียมกันในเรื่องของการแต่งงานเป็นหนึ่งประเด็นที่หลายประเทศที่เป็นประเทศเสรีนิยมให้ความสนใจ ซึ่งตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมาการแต่งงานของคนเพศเดียวกันกลายเป็นปรากฎการณ์ทางสังคมใหม่ที่เป็นแนวโน้มระหว่างประเทศโดยเฉพาะในประเทศฝั่งตะวันตก ซึ่งการที่จะสามารถแต่งงานกันได้นั้นจะต้องได้มีกฎหมายที่เอื้อให้บุคคคลกลุ่มนี้สามารถแต่งงานได้ ประเทศแคนาดาเป็นประเทศที่เปิดเสรีและยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมนั้นเป็นประเทศแรก ๆ ในเวทีระหว่างประเทศที่มีการอนุญาตให้บุคคลที่มีเพศเดียวกันสามารถแต่งงานกันได้ ซึ่งมีการแก้ไขพระราชบัญญัติการแต่งงานที่ให้คำจำกัดความของคำว่าการแต่งงานจากที่ระบุว่า “ผู้ชาย” และ “ผู้หญิง” กลายเป็น “บุคคลสองคน” แทน อย่างไรก็ดีกระบวนการในการแก้ไขข้อกฎหมายล้วนแล้วต้องผ่านการพิจารณาซึ่งต้องมีผู้ที่เห็นชอบและไม่เห็นชอบและทั้งในรัฐสภาและในภาคประชาสังคม ความท้าทายเหล่านี้นำไปสู่ข้อถกเถียงทางการเมืองในประเด็นดังกล่าว สารนิพนธ์ฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาถึงประเด็นการถกเถียงกันในเรื่องความเท่าเทียมกันของการแต่งงานโดยศึกษาในเรื่องของการตีความสิทธิมนุษยชนที่เป็นภาษาด้านศีลธรรมระหว่างประเทศผ่านมุมมองเรื่องสิทธิของกลุ่มที่สนับสนุนและต่อต้านกฎหมายการแต่งงานของคนเพศเดียวกันของแคนาดา และเพื่อศึกษาถึงหลักหรือแนวคิดของการถกเถียงระหว่างผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการแต่งงานระหว่างผู้ที่มีเพศเดียวกัน โดยในการศึกษาได้นำกรอบแนวคิดทางสิทธิมนุษยชนที่สิทธิมนุษยชนถูกตีความได้ในหลายแง่มุมมองของแต่ละบุคคลหรือกลุ่มคน มาเป็นกรอบในการวิเคราะห์ถึงข้อถกเถียงของกลุ่มผู้สนับสนุนและกลุ่มผู้ที่ต่อต้านการแต่งงานของคนเพศเดียวกัน สารนิพนธ์ฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ที่มุ่งประเด็นเรื่องความเท่าเทียมกันทางเพศในเรื่องการแต่งงาน โดยเฉพาะการแต่งงานระหว่างคนเพศเดียวกันคือกลุ่ม LGBT โดยศึกษาจากมุมมองของตัวแทนของทั้งฝ่ายที่สนับสนุนและฝ่ายที่ต่อต้านการแต่งงานของคนเพศเดียวกัน และนำมาวิเคราะห์และอธิบายเชิงพรรณนา การศึกษาค้นคว้าสารนิพนธ์ฉบับนี้ได้ศึกษาจากเอกสารในรูปแบบทุติยภูมิ ได้แก่ เอกสารที่เกี่ยวกับกฎหมายการแต่งงานของแคนาดา หนังสือ บทความทางวิชาการ เว็บไซต์ที่เกี่ยวกับแคนาดาที่มีรัฐบาลแคนาดาสนับสนุน เว็บไซต์ที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียมทางเพศที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ศึกษา จากการศึกษาพบว่า ประการแรก การถกเถียงในเรื่องการแต่งงานของคนเพศเดียวกันอยู่ในประเด็นเรื่องสิทธิและฐานความคิดของตัวแสดงทั้งในรัฐสภาและประชาสังคมนั้นกลุ่มผู้สนับสนุนและผู้ที่ต่อต้านการแต่งงานของคนเพศเดียวกันเป็นเรื่องของการมองและตีความสิทธิที่แต่กต่างกัน ผู้ที่สนับสนุนในรัฐสภาคือพรรคเสรีนิยม ส่วนภาคประชาสังคมได้แก่ ผู้ที่เรียกร้องสิทธิการแต่งงานคือคู่รักร่วมเพศ และโบสถ์ในชุมชนเมืองโตรอนโตโดยใช้ภาษาสิทธิมนุษยชนว่าเป็นเรื่องของสิทธิความเท่าเทียมกันระหว่างบุคคล ส่วนผู้ที่ต่อต้านในรัฐสภาคือพรรคเสรีนิยมและในภาคประชาสังคมคือสมาคมเพื่อการแต่งงานและครอบครัวเมืองออนแทรีโอ โดยใช้ภาษาทางสิทธิมนุษยชนว่าเป็นเรื่องของสิทธิครอบครัวที่ควรสงวนการแต่งงานให้เฉพาะผู้หญิงและผู้ชายเท่านั้นเพราะครอบครัวเป็นสถาบันพื้นฐานของสังคม รวมถึงสิทธิเด็กที่ควรจะได้รับการเลี้ยงดูจากบิดามารดาที่เป็นเพศชายและหญิงด้วย ประการที่สอง รัฐบาลพยายามผลักดันให้ผู้ที่มีเพศเดียวกันแต่งงานกันได้ เพราะรัฐบาลต้องการที่จะเข้ามามีบทบาทเพื่อจัดระเบียบพฤติกรรมของกลุ่ม LGBT ให้อยู่ภายใต้บรรทัดฐานการรักร่วมเพศ หรือ Homonormativity ซึ่งเป็นความพยายามที่จะให้กลุ่ม LGBT เป็นคนปกติที่จะสามารถแต่งงานกันโดยการรับการรับรองของกฎหมายที่ผู้ที่เป็นกลุ่ม LGBT ที่ต้องการที่จะแต่งงานจึงจำเป็นต้องทำตามเงื่อนไขและข้อกำหนดของรัฐบาล ประการสุดท้าย ตัวแสดงในรัฐสภาและภาคประชาสังคมถึงแม้ว่าจะมีแนวคิดส่วนใหญ่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน แต่ในระดับปัจเจกบุคคลล้วนแล้วแต่มีมุมมองทางสิทธิมนุษยชนและใช้ภาษาทางสิทธิมนายชนตามมุมมองของตนเองได้ อีกทั้งยังแสดงให้เห็นว่าสิทธิมนุษยชนไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือของกลุ่มเสรีนิยมเพียงฝ่ายเดียวแต่กลายมาเป็นเครื่องมือเพื่อแสวงหาอำนาจทางการเมืองโดยฝ่ายอนุรักษ์นิยมในยุคปัจจุบันเช่นกัน


การสนับสนุนทางการเงินกับการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มรัฐอิสลาม, เปาว์ เชาวน์ประยูร Jan 2019

การสนับสนุนทางการเงินกับการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มรัฐอิสลาม, เปาว์ เชาวน์ประยูร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

นับตั้งแต่การประกาศก่อตั้งตัวเองเป็นรัฐของกลุ่มรัฐอิสลามระหว่าง ค.ศ. 2014 - ค.ศ. 2017 สังคมระหว่างประเทศได้เห็นการดำเนินกิจกรรมอย่างมีศักยภาพของกลุ่มรัฐอิสลามในด้านต่างๆ ทั้งในด้านการปฏิบัติการทางทหารและการแพร่ขยายอิทธิพล โดยกลุ่มรัฐอิสลามสามารถยึดและปกครองเมืองจำนวนมากทั้งในอิรักและซีเรีย และมีประชาชนในปกครองกว่าแปดล้านคน รวมถึงมีนักรบก่อการร้ายต่างชาติและกลุ่มหัวรุนแรงอื่นๆ ให้การสนับสนุนและสวามิภักดิ์อีกจำนวนมาก สารนิพนธ์นี้เล็งเห็นถึงความสำคัญของแหล่งเงินทุนและการสนับสนุนทางการเงินว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเพิ่มศักยภาพในการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มรัฐอิสลาม จึงมุ่งศึกษาถึงรูปแบบและวิธีการในการจัดหาเงินทุนเพื่อนำมาใช้ในการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มรัฐอิสลาม ซึ่งพบว่าความสามารถในการสร้างรายได้จำนวนมหาศาลด้วยตัวเองผ่านการกระทำความผิดรูปแบบต่างๆ ในพื้นที่ยึดครองอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มศักยภาพในการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มรัฐอิสลาม โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาระบบเศรษฐกิจภายนอกทำให้กลุ่มรัฐอิสลามไม่ได้รับผลกระทบจากมาตรการการตัดวงจรทางการเงินและการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่รัฐและองค์การระหว่างประเทศนำมาบังคับใช้กับกลุ่มรัฐอิสลามเท่าที่ควร และความสามารถในการหล่อเลี้ยงตัวเองได้ก็ทำให้กลุ่มรัฐอิสลามสามารถดำเนินกิจกรรมและกำหนดนโยบายได้อย่างอิสระและมีศักยภาพ


การปรับแนวทางความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมัยรัฐบาลชินโซ อาเบะ, อุมาพร เกตุสุวรรณ์ Jan 2019

การปรับแนวทางความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมัยรัฐบาลชินโซ อาเบะ, อุมาพร เกตุสุวรรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาความสัมพันธ์ของการปรับแนวทางการให้ความช่วยเหลืออย่างเป็นทางการ (ODA) ของญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ.2015 กับการดำเนินยุทธศาสตร์ของญี่ปุ่นในยุครัฐบาลชินโซ อาเบะต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยกรอบแนวคิดการถ่วงอำนาจแบบใช้ไม้อ่อน (soft balancing) เนื่องจากญี่ปุ่นใช้ ODA เป็นเครื่องมือดำเนินยุทธศาสตร์ต่างประเทศมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นพื้นที่เป้าหมายหลักของ ODA ญี่ปุ่นและมีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ความมั่นคงและเศรษฐกิจต่อญี่ปุ่น โดยการปรับแนวทาง ODA ของญี่ปุ่นต่อภูมิภาคดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการปรับเป้าหมายและแนวทางการดำเนินยุทธศาสตร์ของญี่ปุ่นต่อภูมิภาคในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งผลการศึกษาพบว่า รัฐบาลอาเบะใช้ ODA เป็นเครื่องมือสกัดกั้นการขยายอิทธิพลของจีนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมุ่งเสริมสร้างความเป็นแกนกลางของอาเซียน (ASEAN Centrality) และศักยภาพด้านการพัฒนาของประเทศในภูมิภาคด้วยการให้ ODA เพื่อให้อาเซียนและประเทศสมาชิกลดการพึ่งพาจีนและรักษาระเบียบของภูมิภาคที่เอื้อต่อผลประโยชน์ของญี่ปุ่น เนื่องจากการผงาดขึ้นมาของจีน โดยเฉพาะการขยายอิทธิพลทางทะเลและยุทธศาสตร์ Belt and Road เป็นประเด็นท้าทายต่อการดำเนินยุทธศาสตร์และอิทธิพลของญี่ปุ่นในภูมิภาค


แนวทางการขยายอิทธิพลของจีน : กรณีศึกษาธนาคารการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank), ตนุภัทร อักษรทอง Jan 2019

แนวทางการขยายอิทธิพลของจีน : กรณีศึกษาธนาคารการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank), ตนุภัทร อักษรทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการขยายอิทธิพลและบทบาทการนําของจีนในเวทีระหว่าง ประเทศในการก่อตั้งธนาคารการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank - AIIB) โดยพิจารณาผ่านคําอธิบายในทฤษฎีสัจนิยมใหม่ (neorealism) ของเคนเน็ธ เอ็น วอลทซ์ (Kenneth N. Waltz) สารนิพนธ์มีข้อเสนอว่า รัฐที่เปลี่ยนสถานะก้าวขึ้นมาเป็นรัฐมหาอํานาจจะหาทางขยายอิทธิพลระหว่างประเทศออกไป โดยแนวทางหนึ่งที่สําคัญได้แก่การสร้างกลไกเชิงสถาบันเพื่อรองรับการตอบสนองผลประโยชน์ของตนได้มากขึ้น วอลทซ์อธิบายว่าโครงสร้างของระบบระหว่างประเทศจะผลักดันรัฐต่างๆ ที่สัมพันธ์กันอยู่ในระบบด้วยกระบวนการอบรมกล่อมเกลา (socialization) ส่งผลให้รัฐนั้นเรียนรู้และเลียนแบบจากตัวแบบความสําเร็จของรัฐที่เป็นมหาอํานาจอยู่ก่อนแล้ว ทั้งแนวทางการขยายอิทธิพลและการสร้างกลไกเชิงสถาบันในลักษณะเดียวกันขึ้นมา สารนิพนธ์มีข้อค้นพบสอดคล้องกับข้อเสนอในทฤษฎีของ Waltz ข้างต้นว่า การจัดตั้งธนาคาร AIIB ของจีน เป็นแนวทางที่จีนใช้ขยายอิทธิพลระหว่างประเทศ โดยใช้ธนาคาร AIIB เป็นกลไกสร้างบทบาทการนําในเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ระดมและประสานความร่วมมือเพื่อการพัฒนากับประเทศอื่น และออกแบบโครงสร้างการบริหารธนาคารที่ทําให้จีนมีอํานาจควบคุมทิศทางการดําเนินงานของ AIIB ใกล้เคียงกับตัวแบบธนาคารโลกที่สหรัฐอเมริกาเคยทําสําเร็จมาแล้ว อย่างไรก็ดี สารนิพนธ์พบข้อจํากัดในคําอธิบายของ Waltz เช่นกัน นั่นคือทฤษฎีของ Waltz เป็นทฤษฎีระดับโครงสร้างระหว่างประเทศ ไม่ได้ให้ความสําคัญแก่ลักษณะของการเมือง การปกครองภายใน รวมทั้ง ค่านิยม อุดมการณ์ ซึ่งปัจจัย ภายในเหล่านี้จะเป็นตัวจํากัดว่าการเลียนแบบจากตัวแบบความสําเร็จที่ประเทศหนึ่งทําไว้ ประเทศที่เลียนแบบไม่สามารถ ถอดแบบออกมาให้เหมือนกันได้ทั้งหมด แม้ว่าธนาคาร AIIB จัดโครงสร้างการบริหารองค์กรใกล้เคียงกับธนาคารโลกอย่างมาก แต่เป้าหมายและแนวทางการดําเนินงานของ AIIB กับของธนาคารโลกไม่เหมือนกัน และสารนิพนธ์ได้ข้อสรุปว่า ลักษณะการเมืองภายในของมหาอํานาจมีความสัมพันธ์กับแนวทางของรัฐในการขยายอิทธิพล


บทบาทของจีนต่อการแก้ไขปัญหาชนกลุ่มน้อยในเมียนมาภายใต้รัฐบาลสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย, ธนกานต์ ปัญจลักษณ์ Jan 2019

บทบาทของจีนต่อการแก้ไขปัญหาชนกลุ่มน้อยในเมียนมาภายใต้รัฐบาลสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย, ธนกานต์ ปัญจลักษณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

นับตั้งแต่พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยเป็นผู้นำรัฐบาลเมียนมา ความสัมพันธ์ระหว่างเมียนมากับจีนได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทในกระบวนการเจรจาสันติภาพ ดังนั้นสารนิพนธ์ฉบันนี้จึงต้องการศึกษาบทบาทของจีนในกระบวนการเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลเมียนมาและชนกลุ่มน้อย เพื่อวิเคราะห์จุดมุ่งหมายและผลประโยชน์ของจีนในการเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการสันติภาพของเมียนมา รวมทั้งเพื่อเข้าใจปัจจัยที่มีผลต่อยุทธศาสตร์การดำเนินความสัมพันธ์ของเมียนมาต่อจีนภายใต้รัฐบาลสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย และผลพวงต่อกระบวนการสันติภาพ โดยใช้กรอบแนวคิดการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันในการวิเคราะห์ประเด็นดังกล่าว สารนิพนธ์ฉบับนี้เสนอว่าความไม่มั่นคงบริเวณชายแดนจีน–เมียนมา อันเกิดจากความขัดแย้งระหว่างชนกลุ่มน้อยที่ยังไม่ลงนามในข้อตกลงหยุดยิงทั่วประเทศกับกองทัพเมียนมา และผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจข้ามพรมแดนและความมั่นคงของจีนบริเวณชายแดนจีน-เมียนมา เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้จีนเข้ามามีบทบาทสนับสนุนกระบวนการสันติภาพทั้งทางการเมืองและการเงิน ขณะที่เมียนมามีข้อจำกัดเกี่ยวกับอิทธิพลเหนือชนกลุ่มน้อยฯ จีนกลับมีอิทธิพลต่อชนกลุ่มน้อยบริเวณชายแดนจีน-เมียนมาทั้งในด้านเศรษฐกิจและยุทธปัจจัย รัฐบาลเมียนมาจึงจำเป็นต้องพึ่งพาจีนในการกดดันชนกลุ่มน้อยให้ตกลงหยุดยิงและเข้าร่วมการเจรจาเพื่อสันติภาพอย่างเป็นทางการ ทั้งสองประเทศจึงคาดหวังว่าการร่วมมือกันในกรณีนี้จะนำไปสู่ผลประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย


นโยบายต่างประเทศไทย : การสมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ (1945-1946), ธนชัย นิสยันต์ Jan 2019

นโยบายต่างประเทศไทย : การสมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ (1945-1946), ธนชัย นิสยันต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาการสมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติของประเทศไทยในปี 1946 ความเป็นสมาชิกภาพขององค์การสหประชาชาติช่วยในการดำรงสถานะความเป็นรัฐเอกราชของประเทศไทยในช่วงสงครามโลก ดังจะเห็นได้ว่า ประเทศไทยไม่เป็นรัฐ ผู้แพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 เช่น ในกรณีของประเทศเยอรมนีและประเทศญี่ปุ่น ผลจากการแพ้สงครามทำให้ทั้งสองประเทศดังกล่าวถูกยึดครองโดยฝ่ายสัมพันธมิตร แต่ประเทศไทยไม่ถูกกระทำเช่นนั้น นอกจากนี้ความเป็นสมาชิกภาพขององค์การสหประชาชาติยังช่วยเปลี่ยนแปลง ภาพลักษณ์ของประเทศไทยจากความเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดกับประเทศญี่ปุ่นในช่วงสงครามอีกด้วย


การเปิดรับ ความผูกพัน และความรู้ของผู้ติดตามเฟซบุ๊กแฟนเพจของ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน), คมกฤษ ทองคำ Jan 2019

การเปิดรับ ความผูกพัน และความรู้ของผู้ติดตามเฟซบุ๊กแฟนเพจของ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน), คมกฤษ ทองคำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และอธิบายสาระของเนื้อหาและรูปแบบการนำเสนอบน เฟซบุ๊กแฟนเพจ “AOT Official” และเพื่อสำรวจ การเปิดรับ ความผูกพันต่อเนื้อหา และความรู้เกี่ยวกับ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ของผู้ติดตามเพจ โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน เริ่มจากการวิเคราะห์เอกสาร (Document Analysis) บนเฟซบุ๊กแฟนเพจ “AOT Official” ระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ.2562 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ.2563 โดยมีจำนวนโพสต์ทั้งหมด 307 โพสต์ และการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุระหว่าง 18 ขึ้นไป และเป็นสมาชิกเฟซบุ๊กแฟนเพจ “AOT Official” จำนวน 262 คน ผลการวิเคราะห์เอกสารพบว่า เฟซบุ๊กแฟนเพจ “AOT Official” นำเสนอสาระของเนื้อหาประเภทการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสังคมมากที่สุด รองลงมาคือ ประเภทข้อมูลเพื่อแสดงให้เกิดการยอมรับและการเป็นผู้เชี่ยวชาญ และประเภทข้อมูลที่แสดงถึงการให้บริการสนามบิน โดยสาระของเนื้อหา 8 ใน 10 ประเภท เป็นสาระของเนื้อหาที่เป็นการสื่อสารเพื่อประชาสัมพันธ์องค์กรและสร้างภาพลักษณ์ ในส่วนของรูปแบบการนำเสนอเนื้อหาบนเฟซบุ๊กแฟนเพจ “AOT Official” ที่พบมากที่สุดคือ การแชร์โพสต์ (Shared Post) รองลงมาคือ รูปแบบการนำเสนอเนื้อหาแบบรูปภาพ (Photos) การโพสต์แบบลิงก์ (Links) ตามด้วยรูปแบบวิดีโอ (Videos) และการอัปเดตสถานะ ตามลำดับ ผลการวิจัยเชิงสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างเปิดรับเนื้อหาโดยพบเห็นโพสต์จากหน้า News Feed ของตนเองอยู่ในระดับ 2 - 3 วันต่อสัปดาห์ ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างใช้ระยะเวลาในการเปิดรับในแต่ละครั้งอยู่ระหว่าง 1 นาทีขึ้นไป – 5 นาที นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างมีความผูกพันต่อเนื้อหาบนเฟซบุ๊กแฟนเพจ “AOT Official” โดยรวมอยู่ในระดับต่ำและแสดงออกโดยการกดไลก์มากที่สุด ในขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) อยู่ในระดับสูง ผลการทดสอบสมมติฐานสรุปว่า การเปิดรับเนื้อหามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความผูกพันต่อเนื้อหาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งนี้เป็นความสัมพันธ์ระดับปานกลาง โดยมีทิศทางแบบแปรผันตามกัน ความผูกพันต่อเนื้อหามีความสัมพันธ์กับความรู้เกี่ยวกับ …


ทัศนคติและการตอบสนองของกลุ่มผู้บริโภคที่ไม่ใช่แฟนคลับที่มีต่อการสื่อสารตราสินค้าบุคคล ลิซ่า แบล็กพิงก์, รัชนิดา เวชภูติ Jan 2019

ทัศนคติและการตอบสนองของกลุ่มผู้บริโภคที่ไม่ใช่แฟนคลับที่มีต่อการสื่อสารตราสินค้าบุคคล ลิซ่า แบล็กพิงก์, รัชนิดา เวชภูติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการเปิดรับตราสินค้าบุคคล ลิซ่า แบล็กพิงก์ ผ่านช่องทางออนไลน์ ทัศนคติที่มีต่อตราสินค้าบุคคล ลิซ่า แบล็กพิงก์ และการตอบสนองต่อการสื่อสารตราสินค้าบุคคล ลิซ่า แบล็กพิงก์ ของกลุ่มผู้บริโภคที่ไม่ใช่แฟนคลับ และเพื่ออธิบายความแตกต่างทางลักษณะประชากรและการเปิดรับตราสินค้าบุคคล ลิซ่า แบล็กพิงก์ ผ่านช่องทางออนไลน์ ทัศนคติต่อตราสินค้าบุคคล ลิซ่า แบล็กพิงก์ และการตอบสนองต่อการสื่อสารตราสินค้าบุคคล ลิซ่า แบล็กพิงก์ ของกลุ่มผู้บริโภคที่ไม่ใช่แฟนคลับ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้บริโภคที่ไม่ใช่แฟนคลับ ลิซ่า แบล็กพิงก์ จำนวน 200 คน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผู้บริโภคที่ไม่ใช่แฟนคลับ ลิซ่า แบล็กพิงก์ มีการเปิดรับตราสินค้าบุคคล ลิซ่า แบล็กพิงก์ ผ่านช่องทางออนไลน์ในระดับมากที่สุด ได้แก่เฟสบุ๊ก และในระดับรองลงมา คือ ยูทูบ อินสตาแกรม และกูเกิ้ล (โปรแกรมค้นหา) ตามลำดับ นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติต่อตราสินค้าบุคคล ว่าอยู่ในกระแสนิยม รองลงมา มีด้านความสามารถพิเศษด้านเต้น และรูปร่างหน้าตา ที่โดดเด่น มีเอกลักษณ์ จดจำง่าย และ มีการตอบสนองต่อการสื่อสารตราสินค้าบุคคล คือ สามารถจดจำตราสินค้าได้ในระดับสูงที่สุด ความแตกต่างทางลักษณะประชากรด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือนและด้านระดับการศึกษาของกลุ่มผู้บริโภคที่ไม่ใช่แฟนคลับมีความแตกต่างกันในการเปิดรับตราสินค้าบุคคล ลิซ่า แบล็กพิงก์ ผ่านช่องทางออนไลน์และการตอบสนองต่อการสื่อสารตราสินค้าบุคคลที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ ความแตกต่างทางลักษณะประชากรด้านระดับการศึกษามีความแตกต่างกันด้านทัศนคติที่มีต่อตราสินค้าบุคคล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05


การเปิดรับข่าวสารและการยอมรับนวัตกรรมบัตรเดบิตเพื่อการท่องเที่ยวของผู้บริโภค, ฉัตรพิไลย หอมไกรลาศ Jan 2019

การเปิดรับข่าวสารและการยอมรับนวัตกรรมบัตรเดบิตเพื่อการท่องเที่ยวของผู้บริโภค, ฉัตรพิไลย หอมไกรลาศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง “การเปิดรับข่าวสารและการยอมรับนวัตกรรมบัตรเดบิตเพื่อการท่องเที่ยวของผู้บริโภค” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับข่าวสารและการยอมรับนวัตกรรมของผู้บริโภค และความแตกต่างของลักษณะทางประชากรของผู้บริโภคต่อการเปิดรับข่าวสารและการยอมรับนวัตกรรมในการเลือกใช้บัตรเดบิตเพื่อการท่องเที่ยว โดยเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณซึ่งใช้วิธีรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามเก็บกลุ่มตัวอย่างจำนวน 204 คน ที่มีบัตรเดบิตเพื่อการท่องเที่ยวและเคยมีการใช้เพื่อซื้อสินค้าและบริการในต่างประเทศอย่างน้อย 1 ครั้งในช่วงเวลา 1 ปีที่ผ่านมา ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างให้คะแนนการเปิดรับข่าวสารผ่านช่องทางสื่อออนไลน์สูงที่สุด ในช่องทางการค้นหา (Search Engine) เช่น Google เป็นต้น, เฟซบุ๊ก, บล็อกเกี่ยวกับการท่องเที่ยว และเว็บไซต์ธนาคารผู้ให้บริการตามลำดับ และกลุ่มตัวอย่างยอมรับนวัตกรรมที่มีคุณลักษณะในประเด็นความสามารถเรียนรู้วิธีการใช้งานบัตรเดบิตเพื่อการท่องเที่ยวได้ด้วยตัวเอง การใช้งานบัตรเดบิตเพื่อการท่องเที่ยวทำให้การซื้อสินค้าและบริการในต่างประเทศเป็นไปได้โดยง่าย ความสามารถเห็นการเคลื่อนไหวของธุรกรรมได้ทันที และการมีความสะดวกสบายในการใช้บัตรเดบิตเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับซื้อสินค้าและบริการในต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ลักษณะทางประชากรด้าน เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ที่แตกต่างกันของผู้บริโภคไม่มีความแตกต่างในการเปิดรับข่าวสารและการยอมรับนวัตกรรมในการเลือกใช้บัตรเดบิตเพื่อการท่องเที่ยว


พฤติกรรมผู้บริโภคและคุณค่าตราสินค้าของแอปเปิ้ลวอทช์, ปรัชธินีย์ ชนะโอภาส Jan 2019

พฤติกรรมผู้บริโภคและคุณค่าตราสินค้าของแอปเปิ้ลวอทช์, ปรัชธินีย์ ชนะโอภาส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมผู้บริโภคต่อสินค้า Apple Watch ซึ่งได้แก่ การรับรู้ของผู้บริโภค ทัศนคติของผู้บริโภค พฤติกรรมการซื้อสินค้า และความพึงพอใจของผู้บริโภค และ 2) คุณค่าตราสินค้า Apple ของผู้บริโภค อันประกอบด้วย การตระหนักรู้ในตราสินค้า การเชื่อมโยงตราสินค้า คุณภาพของตราสินค้าที่ถูกรับรู้ และความภักดีต่อตราสินค้า โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเพศชายและเพศหญิง อายุระหว่าง 25-35 ปี จำนวน 211 คน ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร รวมถึงเป็นผู้ซื้อและใช้สินค้า Apple Watch มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคมีพฤติกรรมต่อ Apple Watch และคุณค่าตราสินค้าต่อ Apple ทั้ง 4 ตัวแปรย่อยในเชิงบวกทุกตัวแปรย่อยที่วัด นอกจากนั้น พฤติกรรมผู้บริโภคต่อสินค้า Apple Watch ทั้ง 4 ตัวแปรย่อย มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณค่าตราสินค้า Apple อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


กระบวนการคัดเลือก พัฒนาบทบาทนักแสดง และการเพิ่มมูลค่าให้กับนักแสดงซีรีส์วาย, ธันวา ว่องนราธิวัฒน์ Jan 2019

กระบวนการคัดเลือก พัฒนาบทบาทนักแสดง และการเพิ่มมูลค่าให้กับนักแสดงซีรีส์วาย, ธันวา ว่องนราธิวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษากระบวนการคัดเลือกนักแสดง และ การพัฒนาบทบาทนักแสดงสำหรับตัวละครคู่หลักในซีรีส์วาย และ เพื่อศึกษาการเพิ่มมูลค่าให้กับนักแสดงซีรีส์วาย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก และ การสังเกต กับบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องใน กระบวนการคัดเลือกนักแสดง พัฒนาบทบาทนักแสดง และ การเพิ่มมูลค่าให้กับนักแสดงซีรีส์วาย ได้แก่ ผู้กำกับซีรีส์วาย นักแสดงซีรีส์วาย ผู้จัดการนักแสดงซีรีส์วาย และ แบรนด์สินค้าที่ใช้นักแสดง ซีรีส์วายจำนวน 8 ท่าน จากซีรีส์ ด้ายแดง และ ธารไทป์ เดอะซีรีส์ ผลการวิจัยพบว่ากระบวนการคัดเลือกนักแสดงซีรีส์วายสามารถแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้การคัดเลือกแบบเปิด การคัดเลือกแบบปิด และ การคัดเลือกแบบผสม ซึ่งกระบวนการคัดเลือกนักแสดงซีรีส์วาย สามารถแบ่งได้เป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ การเตรียมการทดสอบนักแสดง การทดสอบนักแสดงซีรีส์วาย และ การพิจารณาการคัดเลือกนักแสดง ซึ่งมีข้อค้นพบที่แตกต่างกับซีรีส์ทั่วไปคือกระบวนการคัดเลือกนักแสดงซีรีส์วายต้องมีการศึกษานิยายวายเพื่อวิเคราะห์บทบาทนักแสดง และ ต้องมีการทดสอบในเรื่องของเคมีคู่ของนักแสดงซีรีส์วาย ในการพัฒนาบทบาทนักแสดงซีรีส์วายสามารถแบ่งได้เป็น 4 ขั้นตอนดังนี้ การเวิร์คช็อปด้านการแสดง การเตรียมบุคลิกภาพภายนอกให้ตรงตามตัวละคร การพัฒนาทักษะพิเศษให้กับนักแสดง และ การสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีของทีมงานซีรีส์วาย ซึ่งมีข้อค้นพบที่แตกต่างกับซีรีส์ทั่วไปตรงที่ ทีมงานซีรีส์วายควรมีการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีของทีมงานซีรีส์วายให้กับนักแสดง ในการเพิ่มมูลค่าให้กับนักแสดงซีรีส์วาย แบ่งได้เป็น 7 ขั้นตอนดังนี้ การพัฒนาทักษะให้กับตัวเอง การเตรียมตัวให้พร้อมเป็นส่วนหนึ่งกับแบรนด์สินค้า การใช้โซเชียลมีเดียในการเพิ่มมูลค่าให้กับนักแสดง การเดินสายโปรโมทกับสื่อมวลชน การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับนักแสดงซีรีส์วาย การทำให้เกิดกระแสกับคู่ของตัวเอง และ การสร้างผลงานใหม่ ๆ ซึ่งมีข้อค้นพบที่แตกต่างกับซีรีส์ทั่วไปตรงที่นักแสดงซีรีส์วายห้ามเปิดตัวคู่รักในที่สาธารณะ นักแสดงซีรีส์วายควรมีจิตสำนึก และ ความรู้เพื่อที่จะสามารถเพิ่มมูลค่า และ รักษาไว้ซึ่งมูลค่าที่สร้างไว้เกี่ยวกับเรื่อง 3 เรื่องดังต่อไปนี้ ความไวต่อวัฒนธรรม การสร้างการมีส่วนร่วม และ ความถูกต้องทางการเมือง


การเลือกเปิดรับ ความผูกพัน และการใช้ประโยชน์รายการ “R U Ok” บนยูทูบของคนวัยทำงาน, ทรรศสม เพชรพรหมศร Jan 2019

การเลือกเปิดรับ ความผูกพัน และการใช้ประโยชน์รายการ “R U Ok” บนยูทูบของคนวัยทำงาน, ทรรศสม เพชรพรหมศร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการเลือกเปิดรับ ความผูกพันและการใช้ประโยชน์รายการ R U OK บนยูทูบของคนวัยทำงาน และเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง การเลือกเปิดรับ ความผูกพัน และการใช้ประโยชน์รายการ R U OK บนยูทูบของคนวัยทำงาน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มผู้ฟังรายการ R U OK บนยูทูบ วัยทำงาน อายุ 23 – 45 ปี ฟังรายการ จำนวน 200 คน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการเลือกเปิดรับอยู่ในระดับต่ำ มีความถี่ในการรับฟังรายการ 1 วัน/สัปดาห์ ระยะเวลาการรับฟังรายการแต่ละครั้ง 21 – 30 นาที โดยมีลักษณะในการรับฟังรายการแบบรับฟังตั้งแต่ต้นตอน จนจบเป็นบางครั้ง ด้านความผูกพันพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความผูกพันต่อรายการ R U OK บนยูทูบโดยรวมอยู่ในระดับต่ำ กลุ่มตัวอย่างมีการใช้ประโยชน์รายการ R U OK บนยูทูบโดยรวมอยู่ในระดับสูง โดยเป็นการใช้ประโยชน์ด้านข่าวสาร ด้านการกำหนดเอกลักษณ์ของปัจเจกบุคคล ด้านการรวมกลุ่มและการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ด้านความบันเทิง และด้านการตัดสินใจ ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ความถี่ในการรับชมรายการ R U OK บนยูทูบ ไม่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันโดยรวมต่อรายการของผู้ฟังวัยทำงาน ในขณะที่ ความผูกพันต่อรายการ R U OK บนยูทูบโดยรวมมีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์จากการรับชมรายการ R U OK บนยูทูบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้เป็นความสัมพันธ์ระดับต่ำมากและมีทิศทางแบบแปรตามกัน เมื่อพิจารณาอย่างละเอียดพบว่า ความผูกพันโดยรวมมีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์ ด้านการตัดสินใจ ด้านการรวมกลุ่มและการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และด้านการกำหนดเอกลักษณ์ของปัจเจกบุคคล ขณะที่ด้านข่าวสารและด้านความบันเทิงพบว่าไม่มีความสัมพันธ์


การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ และภาพลักษณ์กองทัพเรือ ของผู้ใช้เฟซบุ๊กแฟนเพจกองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ, นงลักษณ์ จิตต์อารีย์ Jan 2019

การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ และภาพลักษณ์กองทัพเรือ ของผู้ใช้เฟซบุ๊กแฟนเพจกองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ, นงลักษณ์ จิตต์อารีย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) ด้วยการใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ (Online questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และทำการศึกษากับกลุ่มตัวอย่างเฉพาะผู้ติดตามเฟซบุ๊กแฟนเพจกองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ จำนวน 200 คน ช่วงเวลาที่เก็บแบบสอบถามคือเดือนมิถุนายน 2563 และประมวลผลข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS ผลการวิจัย มีดังนี้ 1) ผู้ติดตามเฟซบุ๊กแฟนเพจกองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ รู้จักเฟซบุ๊กแฟนเพจจากที่เพื่อนแบ่งปัน (Share) ข้อมูลในช่องทางออนไลน์ อาทิ เว็บไซต์ เฟซบุ๊ก ไลน์ เป็นต้น 2) ค่าเฉลี่ยการเปิดรับข่าวสารโดยรวมอยู่ในระดับน้อย 3) ความถี่ในการเห็นโพสต์จากหน้า New Feed 1 - 2 ครั้งต่อสัปดาห์ 4) ความถี่ในการเข้าชมแฟนเพจ 1 - 2 ครั้ง ต่อสัปดาห์ 5) ค่าเฉลี่ยระยะเวลาในการเข้าชมแฟนเพจแต่ละครั้งน้อยกว่า 15 นาที 6) มีความสนใจในเนื้อหาของเพจเรื่องการชี้แจงเหตุการณ์ที่สังคมกำลังให้ความสนใจเกี่ยวกับกองทัพเรือมากที่สุด 7) มีความรู้เกี่ยวกับกองทัพเรืออยู่ในระดับสูง 8) มีความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์กองทัพเรือในเชิงบวกอยู่ในระดับมากที่สุด 9) มีความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์กองทัพเรือในเชิงบวกด้านการดำเนินงานของกองทัพเรือมากที่สุด 10) การเปิดรับข่าวสาร ไม่มีความสัมพันธ์กับ ความรู้เกี่ยวกับกองทัพเรือ 11) การเปิดรับข่าวสาร มีความสัมพันธ์กับ ความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์กองทัพเรือ 12) ความรู้เกี่ยวกับกองทัพเรือ มีความสัมพันธ์กับ ความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์กองทัพเรือ


พฤติกรรมผู้ปกครองต่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยผ่านยูทูบ, ณัฐนรี ทินนโชติ Jan 2019

พฤติกรรมผู้ปกครองต่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยผ่านยูทูบ, ณัฐนรี ทินนโชติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้ปกครองต่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยผ่าน YouTube รวมถึงศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ปกครองต่อการรับชม YouTube ของเด็ก โดยเก็บข้อมูลกับผู้ปกครอง อายุระหว่าง 26 ถึง 56 ปี และมีบุตรหลานที่กำลังศึกษาในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึง 3 จำนวน 217 คน ผลการวิจัยพบว่า โดยรวมผู้ปกครองมีทัศนคติเชิงบวกต่อการรับชม YouTube ของเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทัศนคติด้านการรับชม YouTube ทำให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ๆ พัฒนาการด้านภาษา และพัฒนาการจากความรู้ต่างประเทศ และผู้ปกครองส่วนใหญ่มีพฤติกรรมเชิงบวกต่อการรับชม YouTube โดยเน้นไปที่ด้านการให้ความรู้กับเด็กเกี่ยวกับสื่อ นอกจากนี้ยังพบว่า ทัศนคติรวมและพฤติกรรมของผู้ปกครองต่อการรับชม YouTube ของเด็กมีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการให้บริการด้านสุขภาพจิตโครงการ Depress We Care ซึมเศร้า เราใส่ใจกรณีศึกษากลุ่มเป้าหมายข้าราชการตำรวจ, ณทชา เย็นทรวง Jan 2019

ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการให้บริการด้านสุขภาพจิตโครงการ Depress We Care ซึมเศร้า เราใส่ใจกรณีศึกษากลุ่มเป้าหมายข้าราชการตำรวจ, ณทชา เย็นทรวง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ข้าราชการตำรวจเป็นบุคลากรที่มีอำนาจหน้าที่ในการป้องกันปราบอาชญากรรม รวมทั้งอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชน เป็นอาชีพที่ได้รับความกดดันจากการทำงาน นำไปสู่ภาวะซึมเศร้า และปัญหาการเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลตำรวจ จึงได้จัดตั้งโครงการ Depress we care ซึมเศร้า เราใส่ใจ ขึ้นและสร้างช่องทางการให้บริการด้านสุขภาพจิตผ่านการส่งข้อความทางอินบ๊อกซ์เพจเฟสบุ๊คและสายด่วน เพื่อหวังที่จะแก้ปัญหาดังกล่าว ทว่ากลับมีข้าราชการตำรวจที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักเข้าร่วมโครงการและติดต่อเข้ามาน้อย สารนิพนธ์ฉบับนี้จึงทำขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่ออธิบายถึงสถานการณ์ ปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินการโครงการ ปัจจัยภายในและภายนอกที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโครงการ รวมถึงหาข้อเสนอแนะในการพัฒนาการดำเนินการในโครงการ ต่อกลุ่มเป้าหมายข้าราชการตำรวจให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิผล ผ่านการรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์ในกรอบซิปป์โมเดล ประกอบด้วยปัจจัยด้านบริบท ปัจจัยตัวป้อนเข้า ปัจจัยด้านกระบวนการ ที่ส่งผลต่อประสิทธิผล ซึ่งในการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การแจกแบบสอบถามแก่ข้าราชการตำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวน 385 คน ร่วมกับการสัมภาษณ์บุคลากรผู้ดำเนินโครงการ พบว่าปัจจัยด้านบริบทที่ขัดขวางเป็นปัจจัยทางสังคม ทั้งวัฒนธรรมองค์กร ทัศนคติของผู้บังคับบัญชาที่มีต่อผู้ที่เข้ารับการรักษา และความรู้ ความเข้าใจของข้าราชการตำรวจที่มีต่อโครงการ ส่วนปัจจัยตัวป้อนเข้าและปัจจัยด้านกระบวนการเองก็ยังต้องมีการเพิ่มเติมทรัพยากรบุคคลหากต้องการรองรับการให้บริการที่มีปริมาณมากขึ้นในอนาคต และต้องเพิ่มเติมการประชาสัมพันธ์ไปยังกลุ่มเป้าหมายมากขึ้นเพื่อขยายประสิทธิผลในการรับรู้โครงการให้มากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่ประสิทธิผลในการเข้าร่วม และผลลัพธ์สูงสุดในการลดการเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายของข้าราชการตำรวจต่อไป