Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2020

Discipline
Institution
Keyword
Publication
Publication Type
File Type

Articles 24181 - 24210 of 25131

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

การเล่าเรื่องและการสร้างตัวละครหลักของละครโทรทัศน์แนวโรแมนติกคอมเมดี้ตามแบบฉบับละครช่อง 7hd, จิดาภา ธนโรจน์ Jan 2020

การเล่าเรื่องและการสร้างตัวละครหลักของละครโทรทัศน์แนวโรแมนติกคอมเมดี้ตามแบบฉบับละครช่อง 7hd, จิดาภา ธนโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเล่าเรื่องและการสร้างตัวละครหลักของละครโทรทัศน์แนวโรแมนติกคอมเมดี้ตามแบบฉบับละครช่อง 7HD โดยศึกษาละครโทรทัศน์แนวโรแมนติกคอมเมดี้จำนวน 5 เรื่อง ซึ่งออกอากาศทางช่อง 7HD ในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพทั้งการวิเคราะห์เนื้อหาละครและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ผลิตละคร ได้แก่ ผู้จัดละคร ผู้กำกับการแสดงและผู้เขียนบทละคร ผลการวิจัยพบว่า การเล่าเรื่องของละครโทรทัศน์แนวโรแมนติกคอมเมดี้ทั้ง 5 เรื่อง ส่วนใหญ่นำเสนอเรื่องราวที่มีแก่นเรื่องเกี่ยวกับความรักและศีลธรรมเป็นหลัก ซึ่งนอกจากความรักของตัวละครหลักแล้วยังนำเสนอเรื่องราวที่สอดคล้องกับความรักความผูกพันภายในครอบครัวด้วย การดำเนินเรื่องราวมีโครงเรื่องไม่ซับซ้อนอาศัยความขัดแย้งระหว่างบุคคล ความขัดแย้งภายในจิตใจเป็นหลัก แต่สำหรับละครบางเรื่องมีการใช้ความขัดแย้งประเภทพลังธรรมชาติและพลังเหนือธรรมชาติเข้ามาผสมผสานด้วย ส่วนมุมมองการเล่าเรื่องอาศัยการเล่าเรื่องแบบผู้รอบรู้เป็นหลักสำคัญตลอดการเล่าเรื่องราวประกอบกับการเล่าเรื่องแบบความทรงจำในอดีตของตัวละครเป็นบางช่วง เพื่อให้การเล่าเรื่องมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น การสร้างตัวละครหลัก แต่ละตัวละครจะมีทั้งคุณลักษณะของตัวละคร ได้แก่ ลักษณะทางกายภาพ ประเภทและรายละเอียดของลักษณะนิสัย และเรื่องราวของตัวละคร ได้แก่ สถานภาพ อาชีพ ลักษณะทางสังคม ความเชื่อและทัศนคติ เป้าหมายของตัวละคร ปรากฏให้เห็นแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับเรื่องราวของละคร โดยภาพรวมของตัวละครหลักพบว่า ลักษณะทางกายภาพของตัวละครมีความหลากหลายมากขึ้นอย่างชัดเจน หน้าตาของพระเอกและนางเอกมีทั้งแบบไทยและแบบลูกครึ่งต่างชาติ ส่วนลักษณะนิสัยของตัวละครหลัก พระเอกเป็นคนจิตใจดี สุภาพบุรุษ แสดงออกชัดเจนตรงไปตรงมา รักครอบครัวและรักเดียวใจเดียว นางเอกเป็นคนจิตใจดี ฉลาดทันคน ค่อนข้างเข้มแข็ง มีเหตุผลและแสดงออกชัดเจนตรงไปตรงมาเช่นเดียวกัน ละครโทรทัศน์แนวโรแมนติกคอมเมดี้ตามแบบฉบับละครช่อง 7HD พบสูตรการสร้างสรรค์ละคร 2 สูตร ได้แก่ สูตรที่ 1 ละครโทรทัศน์แนวโรแมนติกคอมเมดี้ที่มีสัดส่วนของโรแมนติกคอมเมดี้เป็นหลักและสูตรที่ 2 ละครโทรทัศน์แนวโรแมนติกคอมเมดี้ที่มีส่วนผสมของแนวเรื่องประเภทอื่น โดยความถนัดของผู้กำกับละครแต่ละคนมีผลต่อการสร้างสรรค์ละครแนวนี้และในอนาคตมีแนวโน้มของการสร้างสรรค์บทละครแบบเขียนขึ้นใหม่มากกว่าการใช้เค้าโครงเรื่องเก่า


แบบจำลองการคาดคะเนปัจจัยที่เป็นข้อบ่งชี้ลักษณะอาชญากรรมลูกผสมในสังคมไทย, ดิเรกฤทธิ์ บุษยธนากรณ์ Jan 2020

แบบจำลองการคาดคะเนปัจจัยที่เป็นข้อบ่งชี้ลักษณะอาชญากรรมลูกผสมในสังคมไทย, ดิเรกฤทธิ์ บุษยธนากรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่อง แบบจำลองการคาดคะเนปัจจัยที่เป็นข้อบ่งชี้ลักษณะอาชญากรรมลูกผสมในสังคมไทย มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อ (1) ศึกษาปัญหาอาชญากรรมลูกผสมที่เป็นปัญหาสำคัญในสังคมไทย (2) สร้างแบบจำลองการคาดคะเนปัจจัยที่เป็นข้อบ่งชี้ลักษณะอาชญากรรมลูกผสมที่ใช้ในการจำแนก และอธิบายความสัมพันธ์และ/หรือหลักฐานในการยอมรับว่าเป็นอาชญากรรมลูกผสมในสังคมไทย และ (3) ศึกษาแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมลูกผสมในสังคมไทย ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานของการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยเน้นการวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลักสำคัญจากเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน กรมสอบสวนคดีพิเศษ จำนวน 400 คน ซึ่งใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น (IOC = 0.868, Reliability = 0.981) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่า ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ปัจจัยบ่งชี้ลักษณะอาชญากรรมลูกผสมในสังคมไทยโดยใช้ตัวแบบสมการเชิงโครงสร้าง ในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้เทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ปฏิบัติงานระดับผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับปัญหาอาชญากรรมลูกผสมในสังคมไทย จำนวน 15 คน ซึ่งใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา เพื่ออธิบายและยืนยันความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากการวิจัยเชิงปริมาณ รวมทั้งเป็นส่วนเสริมหรือส่วนเติมเต็มความสมบูรณ์ถูกต้องของงานวิจัย ผลการวิจัย พบว่า ปัญหาอาชญากรรมในสังคมไทยมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบด้านปัญหาอาชญากรรมลูกผสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.18) ซึ่งเป็นอาชญากรรมมากกว่ารูปแบบเดียว ที่เกิดจากการผสมผสานกันระหว่างอาชญากรรมรูปแบบเดิมและอาชญากรรมรูปแบบใหม่ เป็นอาชญากรรมลูกผสมพื้นฐาน อาชญากรรมลูกผสมขั้นสูง อาชญากรรมลูกผสมอื่น ๆ และในอนาคต โดยปรากฏลักษณะสำคัญของปัญหาอาชญากรรมลูกผสมในมิติด้านต่าง ๆ ได้แก่ ผู้กระทำผิดหรืออาชญากรมีการรวมตัวกันเป็นเครือข่าย/องค์กรมากขึ้น ข้ามรัฐ/ไร้พรมแดน พึ่งพาเทคโนโลยี วิธีการที่หลากหลาย/ซับซ้อน ส่งผลกระทบในวงกว้าง ไม่จำกัดช่วงเวลาและสถานที่ สร้างการเลียนแบบ เข้าถึงเป้าหมายได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องเผชิญหน้ากับเป้าหมาย คุ้มค่ามากที่สุดในการก่อเหตุต่อครั้ง เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวัน ติดตามตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษได้ยาก ทำให้สูญเสียบุคลากรและงบประมาณจำนวนมากในการปราบปราม ป้องกันและแก้ไข ซึ่งการสร้างแบบจำลองการคาดคะเนปัจจัยบ่งชี้ลักษณะอาชญากรรมลูกผสมในสังคมไทยตามสมมติฐาน มีความสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงประจักษ์ (p-value = 0.881, Chi-square / df = 0.920, CFI = 0.95, GFI = 0.96, AGFI = 0.95, RMSEA = 0.000, SRMR = 0.040) สรุปได้ว่า ปัญหาอาชญากรรมลูกผสมในสังคมไทยได้รับอิทธิพลรวม …


ความสัมพันธ์ระหว่างภาระงานกับความเหนื่อยหน่ายในงาน โดยมีกลยุทธ์การเผชิญปัญหาแบบมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาและการสนับสนุนทางสังคมภายในองค์การเป็นตัวแปรกำกับ, สุดาทิพย์ วรเนติโพธิ์ Jan 2020

ความสัมพันธ์ระหว่างภาระงานกับความเหนื่อยหน่ายในงาน โดยมีกลยุทธ์การเผชิญปัญหาแบบมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาและการสนับสนุนทางสังคมภายในองค์การเป็นตัวแปรกำกับ, สุดาทิพย์ วรเนติโพธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความเหนื่อยหน่ายในงานเป็นอาการจากการทำงานที่เป็นที่รู้จักมากขึ้น เนื่องจากความเหนื่อยหน่ายในงานส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและจิตใจ รวมถึงประสิทธิภาพในการทำงาน ในอดีตพบว่าข้อเรียกร้องในงานเป็นสาเหตุหนึ่งในการเกิดความเหนื่อยหน่ายในงาน โดยสิ่งที่สามารถยับยั้งการเกิดความเหนื่อยหน่ายในงานได้คือทรัพยากรที่เอื้อต่องาน ตามทฤษฎีโมเดลข้อเรียกร้องในงานและแหล่งทรัพยากรที่เอื้อต่องาน การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและยืนยันทฤษฎีโมเดลข้อเรียกร้องในงานและแหล่งทรัพยากรที่เอื้อต่องาน โดยเน้นถึงความสัมพันธ์ระหว่างข้อเรียกร้องในงาน คือ ภาระงานและความเหนื่อยหน่ายในการทำงาน ที่มีตัวแปรกำกับเป็นทรัพยากรที่เอื้อต่องาน คือ การสนับสนุนทางสังคมในองค์การ และในการศึกษาครั้งนี้ได้เสริมทรัพยากรบุคคล คือ กลยุทธ์การเผชิญปัญหาแบบมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหา เข้ามาช่วยลดความสัมพันธ์ระหว่างภาระงานกับความเหนื่อยหน่ายในงาน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาในครั้งนี้คือข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ ที่มีอายุงานราชการไม่ต่ำกว่า 1 ปี จำนวน 260 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) มาตรวัดความเหนื่อยหน่ายในงาน 2) มาตรวัดภาระงาน 3) มาตรวัดการสนับสนุนทางสังคมในองค์การ และ 4) มาตรวัดกลยุทธ์การเผชิญปัญหาแบบมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหา ผลการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าการปฏิสัมพันธ์สามทางระหว่างภาระงาน การสนับสนุนทางสังคมในองค์การ และกลยุทธ์การเผชิญปัญหาแบบมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาสามารถทำนายผลของความเหนื่อยหน่ายในงาน โดยความสัมพันธ์ทางบวกระหว่างภาระงานและความเหนื่อยหน่ายในงานจะลดลง เมื่อกลยุทธ์การเผชิญปัญหาแบบมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหามีระดับสูงร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมในองค์การมีระดับสูง (β = -1.55, p < 0.05) กล่าวคือ ข้าราชการที่มีการสนับสนุนทางสังคมในองค์การร่วมกับกลยุทธ์การเผชิญปัญหาแบบมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาในระดับสูง มีแนวโน้มที่จะมีความเหนื่อยหน่ายในงานต่ำกว่าข้าราชการที่มีการสนับสนุนทางสังคมในองค์การและกลยุทธ์การเผชิญปัญหาแบบมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาในระดับต่ำ ข้อค้นพบนี้ยืนยันได้ว่าโมเดลข้อเรียกร้องในงานและแหล่งทรัพยากรที่เอื้อต่องานที่เสริมกลยุทธ์การเผชิญปัญหาแบบมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาในฐานะทรัพยากรบุคคลสามารถยับยั้งอิทธิพลทางบวกระหว่างภาระงานต่อความเหนื่อยหน่ายในงาน


ผลกระทบของการจัดสรรน้ำต่อระบบเศรษฐกิจ โดยใช้ตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตระหว่างภาค, รุจินันท์ ขุนศรี Jan 2020

ผลกระทบของการจัดสรรน้ำต่อระบบเศรษฐกิจ โดยใช้ตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตระหว่างภาค, รุจินันท์ ขุนศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ทรัพยากรน้ำเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญในการผลิตสินค้าและบริการให้กับภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ การจัดสรรทรัพยากรน้ำจึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบเศรษฐกิจ การศึกษานี้ได้พัฒนาเครื่องมือที่มีความเชื่อมโยงระหว่างภาคเศรษฐกิจและความต้องการใช้น้ำเข้าด้วยกัน โดยนำตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตระหว่างภาค (Multi-Regional Input-Output Model: MRIO) ของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2555 มาผนวกกับข้อมูลปริมาณการใช้น้ำของสาขาการผลิต กลายเป็นตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตระหว่างภาคแบบไฮบริด (Multi-Regional Hybrid Input-Output Model) 47 สาขาการผลิต แบ่งเป็น 7 ภูมิภาค (ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคใต้ และกรุงเทพมหานครและปริมณฑล) วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ 1) วิเคราะห์ตัวชี้วัดการใช้น้ำของสาขาการผลิต ประกอบด้วย ความต้องการใช้น้ำ ผลกระทบย้อนกลับของการใช้น้ำ และความเข้มข้นในการใช้น้ำของสาขาการผลิต และ 2) ประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการจัดสรรทรัพยากรน้ำในสถานการณ์ภัยแล้ง โดยใช้เครื่องมือ Multi-Regional Hybrid Input-Output Analysis ผลการศึกษา พบว่า ภาคเกษตรกรรม (สาขาการทำนา) เป็นสาขาการผลิตที่มีความต้องการใช้น้ำมากที่สุด มีค่าผลกระทบย้อนกลับของการใช้น้ำและมีความเข้มข้นในการใช้น้ำสูง ภาครัฐควรมีแนวทางการปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิตให้สามารถใช้น้ำในการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และผลการจำลองสถานการณ์จัดสรรทรัพยากรน้ำ พบว่า สถานการณ์ที่ 3 การลดการใช้น้ำภาคอุตสาหกรรมทั้งประเทศ ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงมูลค่าผลผลิต รายได้จากการจ้างงาน และมูลค่าเพิ่มของประเทศมากที่สุด (ลดลงร้อยละ 31.03 ร้อยละ 12.39 และร้อยละ 15.67 ตามลำดับ) และสถานการณ์ที่ 2 การลดการใช้น้ำภาคเกษตรกรรมทั้งประเทศ ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงมูลค่าผลผลิต รายได้จากการจ้างงาน และมูลค่าเพิ่มของประเทศน้อยที่สุด (ลดลงร้อยละ 0.70 ร้อยละ 1.03 และร้อยละ 1.15 ตามลำดับ) โดยภาคใต้ได้ผลกระทบมากที่สุดจากการลดการใช้น้ำภาคเกษตรกรรม นำมาสู่ประเด็นการกระจายรายได้ไม่เป็นธรรม ภาครัฐควรมีแนวทางในการชดเชยรายได้ให้แก่เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการจัดสรรทรัพยากรน้ำที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้เกษตรเหล่านี้มีรายได้ไม่แตกต่างจากเดิมมากนัก พร้อมทั้งปรับปรุงนโยบายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น


ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง รัฐ ทุน เมือง และชนบท ในการเมืองเรื่องไฟป่าและหมอกควันร่วมสมัย: กรณีศึกษาสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควัน จ.เชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2535 - มิถุนายน 2563, มัทนา ปัญญาคำ Jan 2020

ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง รัฐ ทุน เมือง และชนบท ในการเมืองเรื่องไฟป่าและหมอกควันร่วมสมัย: กรณีศึกษาสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควัน จ.เชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2535 - มิถุนายน 2563, มัทนา ปัญญาคำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่าง รัฐ ทุน เมือง และชนบท ในการเมืองเรื่องไฟป่าและหมอกควัน จ.เชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2535 – 2563 โดยมีคำถามว่า “รัฐ ทุน เมืองและชนบท มีปฏิสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างกันต่อประเด็นปัญหาไฟป่าและหมอกควัน จ.เชียงใหม่ ที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2535 - มิถุนายน 2563 อย่างไร” ผลการศึกษาพบว่า ตัวแสดงที่เข้ามามีปฏิสัมพันธ์ในการเมืองเรื่องไฟป่าและหมอกควันไม่ได้มีเพียง รัฐ ทุน และชนบทเท่านั้นที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ชนบทและก่อให้เกิดการใช้ไฟในพื้นที่มากขึ้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุไฟป่า แต่ในปัจจุบันตัวแสดงใหม่ที่เข้ามามีบทบาทคือภาคเมือง อันเกิดจากการขยายตัวของเมืองที่มีลักษณะเศรษฐกิจในรูปแบบการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว หรือปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "เอกนครระดับภาค" เมื่อหมอกควันเข้ามากระทบกับเมือง จึงทำให้ภาคเมืองเข้ามามีบทบาทเชิงวาทกรรมเชิงข้อเรียกร้องและการผลักดันในการจัดการกับปัญหา ภาคเมืองได้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มด้วยกันคือ 1. ภาคเมืองที่ไม่ได้มีการรวมตัวกันอย่างชัดเจนมีข้อเรียกร้องที่กดทับชนบท ภายใต้วาทกรรม “ผู้คนที่อยู่ในเขตป่าเป็นก่อให้เกิดไฟป่า” โดยสนับสนุนข้อเรียกร้องว่าด้วยการห้ามเผา ซึ่งสอดรับกับการจัดการปัญหาของรัฐที่ช่วงเวลาที่ผ่านมา ในขณะที่ ภาคเมืองรูปแบบที่ 2 คือ ภาคเมืองที่มีการรวมตัวกันอย่างชัดเจนหรือกลุ่มสภาลมหายใจพยายามต่อต้านกับวาทกรรมภาคเมืองกลุ่มแรก “ทุกคนเป็นต้นตอของปัญหาฝุ่นควัน” และพยายามผลักดันวิธีการจัดการปัญหาแบบการจัดการไฟ (fire management) แต่อย่างไรก็ตาม ภาคเมืองทั้ง 2 รูปแบบมีลักษณะและท่าทีที่ประนีประนอมกับรัฐและร่วมมือกับรัฐ โดยที่ไม่ท้าทายต่อระบอบรัฐราชการรวมศูนย์อำนาจ และไม่ได้สร้างข้อเรียกร้องเรื่องการกระจายอำนาจ


ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านลักษณะของผู้ประกอบการกับความเต็มใจในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล โดยมีการรับรู้ความเสี่ยงออนไลน์ด้านความเป็นส่วนบุคคลเป็นตัวแปรส่งผ่าน, พธู พิมพ์ระเบียบ Jan 2020

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านลักษณะของผู้ประกอบการกับความเต็มใจในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล โดยมีการรับรู้ความเสี่ยงออนไลน์ด้านความเป็นส่วนบุคคลเป็นตัวแปรส่งผ่าน, พธู พิมพ์ระเบียบ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านลักษณะของผู้ประกอบการบนสื่อออนไลน์และความเต็มใจในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล โดยมีการรับรู้ความเสี่ยงออนไลน์ด้านความเป็นส่วนบุคคลเป็นตัวแปรส่งผ่าน ผ่านการทำแบบสอบถามออนไลน์ ในจำนวน 354 กลุ่มตัวอย่างผู้มีประสบการณ์ท่องอินเตอร์เน็ต รวม 1,062 ชุดข้อมูล จากการสุ่มแบบสะดวก โดยมีสมมติฐานงานวิจัยคือ ปัจจัยด้านลักษณะของผู้ประกอบการที่สูง จะทำให้การรับรู้ความเสี่ยงออนไลน์ด้านความเป็นส่วนบุคคลต่ำ ส่งผลให้ความเต็มใจในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลสูงขึ้น จากการทดสอบสมมติฐานอาจกล่าวได้ว่า การรับรู้ความเสี่ยงออนไลน์ด้านความเป็นส่วนบุคคลเป็นตัวแปรส่งผ่านระหว่างปัจจัยด้านลักษณะของผู้ประกอบการทั้งแบบแยกปัจจัยและรวมปัจจัยกับความเต็มใจในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล แต่อย่างไรก็ตามทิศทางของความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยด้านลักษณะของผู้ประกอบการ และความเต็มใจในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ที่มีการรับรู้ความเสี่ยงออนไลน์ด้านความเป็นส่วนบุคคลเป็นตัวแปรส่งผ่าน ไม่เป็นไปตามสมมติฐานของงานวิจัย ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ผลการศึกษาเพิ่มเติมบนพื้นฐานการทบทวนวรรณกรรมและศึกษาให้มีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านลักษณะของผู้ประกอบการและความเต็มใจในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคค โดยมีการรับรู้ความเสี่ยงออนไลน์เป็นตัวแปรกำกับ ผลการวิจัยพบอิทธิพลกำกับของการรับรู้ความเสี่ยงออนไลน์ ระหว่างปัจจัยด้านลักษณะของผู้ประกอบการกับความเต็มใจในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล


อิทธิพลของเจตคติต่อเงิน ความตึงเครียดทางการเงิน และความหมายในชีวิตที่มีต่อภาวะซึมเศร้าของคนทำงานที่มีหนี้สิน, ชลพรรษ จรัญพงษ์ Jan 2020

อิทธิพลของเจตคติต่อเงิน ความตึงเครียดทางการเงิน และความหมายในชีวิตที่มีต่อภาวะซึมเศร้าของคนทำงานที่มีหนี้สิน, ชลพรรษ จรัญพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่อเงิน ความตึงเครียดทางการเงิน และความหมายในชีวิต ต่อภาวะซึมเศร้าของทำงานที่มีภาวะหนี้สิน โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นคนทำงานที่มีหนี้สินอายุเฉลี่ย 30.74±4.8 ปี จำนวน 201 คน เก็บข้อมูลด้วยวิธีการเก็บแบบรายสะดวก วิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรพบว่าเจตคติต่อเงินแบบการหลีกเลี่ยงเงินมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .285, p < .01) เจตคติต่อเงินแบบการบูชาเงินมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .303, p < .01) และเจตคติต่อเงินแบบเงินคือสถานะมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .178, p < .05) ความตึงเครียดทางการเงินมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .460, p < .01) ความหมายในชีวิตมีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.804, p < .01) โดยที่เจตคติต่อเงิน ความตึงเครียดทางการเงิน และความหมายในชีวิต สามารถร่วมกันทำนายภาวะซึมเศร้าในคนทำงานที่มีหนี้สินได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R2 = .680, p < .01) โดยผลกระทบทางการเงินจากสถานการณ์ COVID-19, เจตคติต่อเงิน, ความตึงเครียดทางการเงิน, และความหมายในชีวิต ร่วมกันทำนายความแปรปรวนของภาวะซึมเศร้าร้อยละ 69.5 (R2 = .695, p < .01) เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยมาตรฐาน (β) ของแต่ละตัวแปรทำนาย พบว่า ความหมายในชีวิตมีน้ำหนักค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยมาตรฐานสูงที่สุด (β = -.75, p < .01) รองลงมาคือผลกระทบทางการเงินจากสถานการณ์ COVID-19 (β = .14, p < .01) และความตึงเครียดทางการเงิน (β = .13, p < .01) โดยเจตคติต่อเงินทั้ง 4 แบบ ไม่สามารถทำนายตัวแปรตามได้อย่างมีนัยสำคัญ


Ang Tula, Ang Katawan, At Ang Dahas Sa Panitikan: Isang Pagbasa Sa Panitikang Bunga Ng Insidente Ng Sexual Harassment Sa Loob Ng Inww, Martina M. Herras Jan 2020

Ang Tula, Ang Katawan, At Ang Dahas Sa Panitikan: Isang Pagbasa Sa Panitikang Bunga Ng Insidente Ng Sexual Harassment Sa Loob Ng Inww, Martina M. Herras

Filipino Faculty Publications

No abstract provided.


พลวัตของการจัดทำข้อตกลงการค้าและความร่วมมือระหว่างสหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรป ภายหลังเบร็กซิท, ปัญฐ์พิกา ภิรัฐพงศ์ธนากร Jan 2020

พลวัตของการจัดทำข้อตกลงการค้าและความร่วมมือระหว่างสหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรป ภายหลังเบร็กซิท, ปัญฐ์พิกา ภิรัฐพงศ์ธนากร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเจรจาข้อตกลงการค้าและความร่วมมือระหว่างสหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรปภายหลังเบร็กซิท เมื่อประชากรร้อยละ 51.9 ของ สหราชอาณาจักรได้ลงประชามติแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป ในปี 2559 โดยใช้ทฤษฎีเกมสองระดับของโรเบิร์ต พัตนัม อธิบายปัจจัยและตัวแสดงทางการเมืองภายในประเทศและระหว่างประเทศ ที่มีผลตั้งแต่เริ่มกระบวนการเจรจาจนถึงการบรรลุข้อตกลง โดยเฉพาะการนำกลยุทธ์ แบตน่า มาใช้ในการเจรจาต่อรองในจุดที่ยอมรับร่วมกันของแต่ละฝ่าย ให้เห็นชอบกับข้อตกลงที่สามารถมีความเป็นไปได้ และได้ทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับข้อตกลง สารนิพนธ์นี้ยังได้ใช้แนวคิดการพึ่งพาอาศัยกันอย่างสลับซับซ้อน ของโรเบิร์ต โคเฮน และโจเซฟ นาย มาพิจารณาในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างสหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรป นำมาสู่การใช้นโยบายการค้าร่วมกันผ่านระบบเศรษฐกิจตลาดเดียว โดยสหราชอาณาจักรยังคงเป็นสมาชิกตลาดเดียวและสหภาพศุลกากร ไปจนถึงสิ้นสุดระยะเวลาการเปลี่ยนผ่านสิ้นปี 2563 ทั้งนี้ข้อตกลง TCA จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2564 ภายหลังจากที่สองฝ่ายให้สัตยาบันครบถ้วนเรียบร้อย อย่างไรก็ดี ภายใต้ข้อตกลง TCA ยังคงมีประเด็นคงค้าง อาทิ ไอร์แลนด์เหนือ และการทำประมง ซึ่งถือได้ว่าเป็นงานที่ท้าทายสำหรับทั้งสองฝ่ายในอนาคต


จีนในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eec) กับการวางสมดุลในนโยบายต่างประเทศไทยต่อมหาอำนาจ, ภูริจักษ์ วิมลาภิรัต Jan 2020

จีนในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eec) กับการวางสมดุลในนโยบายต่างประเทศไทยต่อมหาอำนาจ, ภูริจักษ์ วิมลาภิรัต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาความสำคัญของประเทศจีน ที่ได้ “ปักหมุด” ทางยุทธศาสตร์การเข้ามาลงทุนในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ของประเทศไทย โดยใช้กรอบแนวคิดของการป้องกันความเสี่ยง (Hedging) ที่เป็นการเข้ารวมกลุ่มสมัครพรรคพวกกับรัฐที่เข้มแข็งกว่าเพื่อผลประโยชน์ (Bandwagoning For Profit) มาเพื่อวิเคราะห์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทยและประเทศจีน โดยเป้าหมายสำคัญในการป้องกันความเสี่ยงที่จะทำให้ประเทศไทยเกิดสภาวะพึ่งพาต่อประเทศใดประเทศหนึ่งมากเกินไป จนอาจจะทำให้เสียสมดุลที่ส่งผลกระทบต่ออธิปไตยและผลประโยชน์แห่งชาติของประเทศไทย จากการศึกษาพบว่า นโยบายต่างประเทศของไทยได้หันเข้าหาประเทศจีนมากกว่าสหรัฐฯอย่างชัดเจน ซึ่งได้ส่งผลกระทบให้ประเทศไทยเสียสมดุล (Balance) ในความสัมพันธ์ระหว่างมหาอำนาจขั้วตรงข้ามไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จนทำให้ประเทศไทยต้องพบกับความเสี่ยง และความยากลำบากจากการขาดอิสระในการกำหนดนโยบายต่างประเทศที่จะต้องยึดถือเอาลำดับความสำคัญ (Prioritize) ในการรักษาความสัมพันธ์ที่มีกับประเทศจีนเป็นหลัก จึงมีข้อเสนอแนะในการยึดจุดยืนของประเทศไทยจากการที่อยู่ในยุทธศาสตร์ของมหาอำนาจทั้งสอง (Cooperative Security Locations) โดยหากประเทศไทยดำเนินนโยบายต่างประเทศที่รักษาสมดุลระหว่างมหาอำนาจทั้งสองได้อย่างดี ย่อมจะก่อให้เกิดผลประโยชน์แห่งชาติสูงสุดแก่ประเทศไทย รัฐบาลไทยจึงต้องตระหนักถึงความสำคัญในประเด็นนี้ก่อนที่จะสายเกินไป เพื่อที่จะนำพาประเทศไปในทิศทางที่ถูกต้อง และสร้างสมดุลอันนำมาซึ่งความมั่นคง รวมถึงการผลักดันด้านเศรษฐกิจให้กับประเทศไทย ภายใต้บริบทยุคโลกาภิวัตน์ในปัจจุบัน


A Case Study On Financial Analysis Of Sunsweet Public Company Limited, Nuttakritta Neamaum Jan 2020

A Case Study On Financial Analysis Of Sunsweet Public Company Limited, Nuttakritta Neamaum

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Sunsweet Public Company Limited, a Thai manufacturers/export, is listed capital of 215 Million Baht and is located in Sanpatong district, Chiang Mai province. The nature of business is to manufacture and distribute processed sweet corn and agricultural products, including sourcing the food and agricultural products. Its vision is to lead a sweet corn business that operates the vertically integrated business and focuses on innovation, modern technology, and enhancement to international standards. The company had success in foreign markets in over 50 countries worldwide with more than 200 customers with the export value's market share at 4% in 2019. This paper …


Marketing Analysis Of Fu Anna Home Textile Co., Ltd., Jue Lin Jan 2020

Marketing Analysis Of Fu Anna Home Textile Co., Ltd., Jue Lin

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

With the rapid development of China's national economy, the domestic consumer goods market is growing prosperous. At the same time, the home textile industry is showing a thriving scene. However, it is also facing a crisis of increasing complexity in the living environment. Therefore, if a company wants to gain a comparative advantage in the existing objective environment, it needs to formulate a strategic plan suitable for the current situation and enhance its core competitiveness.This research takes the marketing strategy analysis of Fu Anna household products Co., Ltd. as the theme. It will analyze the external and internal environment of …


การออกแบบสารในการสื่อสารภาวะวิกฤตของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.), ธวัช เวศตัน Jan 2020

การออกแบบสารในการสื่อสารภาวะวิกฤตของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.), ธวัช เวศตัน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่องการออกแบบสารในการสื่อสารภาวะวิกฤตของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 2 ประการ ได้แก่ (1) เพื่อวิเคราะห์การออกแบบสารในการสื่อสารภาวะวิกฤตของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) และ (2) เพื่อวิเคราะห์กลวิธีทางภาษาในการสื่อสารภาวะวิกฤตของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผลวิจัยพบว่าเมื่อเกิดภาวะวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รัฐบาลได้มีการจัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ขึ้นมาเพื่อบริหารจัดการภาวะวิกฤตดังกล่าว ในการสื่อสารกับประชาชนนั้น การออกแบบสารประกอบไปด้วยการให้ข้อมูล และการโน้มน้าวใจในกระบวนการออกแบบสารนอกจากการเลือกประเด็นที่นำเสนอโดยคณะทำงาน ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนนำ มีลักษณะสร้างความเข้าใจในปัญหา โดยมีความจำเป็นเร่งด่วน โดยใช้แนวคิดการสื่อสารจากแหล่งเดียวอย่างเป็นทางการ ซึ่งจะสามารถควบคุมความถูกต้องของเนื้อหา สร้างความชัดเจนในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีหลักการที่ทีมงานออกแบบสาร ของ ศบค. ได้จัดทำไว้ ส่วนเนื้อหา มีลักษณะสร้างความเข้าในในภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้น รวมถึงแนวทางการแก้ปัญหาที่รัฐบาลได้เตรียมไว้ ซึ่งการรายงานข้อมูลเท็จจริง สารต้องมีความน่าสนใจ เข้าถึงได้ง่าย สามารถตีความได้ ประมวลผลได้ ทําให้ผู้รับสารมีความเข้าใจในความหมายที่สารกํากับไว้ได้ และส่วนสรุป มีลักษณะเป็นการนำเสนอแนวทางแก้ไข สร้างทัศนคติให้ผู้รับสารได้ตระหนักถึงความอันตรายกับเหตุการณ์การแพร่ของโรคระบาดที่เกิดขึ้น ผู้ออกแบบสารจะต้องตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของข้อมูล เพราะสารที่รออกแบบย่อมส่งกระทบกับผู้รับสารนอกเหนือจากความเข้าใจในสารที่ตรงแล้ว สารนั้นจะต้องสร้างความรู้ สร้างการรับรู้ และสร้างทัศนคติกับผู้รับสาร แล้วยังมีการใช้ทำเนียบภาษาทางการแพทย์ และสาธารณสุข รวมถึงการใช้คำคล้องจองอีกด้วย


ความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ลูกค้าจากช่องทางที่หลากหลาย ภาพลักษณ์ตราสินค้า และความตั้งใจซื้อของลูกค้าโพเมโล่, สิริมา ชำนาญศิลป์ Jan 2020

ความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ลูกค้าจากช่องทางที่หลากหลาย ภาพลักษณ์ตราสินค้า และความตั้งใจซื้อของลูกค้าโพเมโล่, สิริมา ชำนาญศิลป์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสบการณ์ลูกค้าจากช่องทางที่หลากหลาย ภาพลักษณ์ตราสินค้า และความตั้งใจซื้อของลูกค้าโพเมโล่ 2) เพื่อสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ลูกค้าจากช่องทางที่หลากหลาย ภาพลักษณ์ตราสินค้า และความตั้งใจซื้อของลูกค้าโพเมโล่ และ 3) เพื่อสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างภาพลักษณ์ตราสินค้า และความตั้งใจซื้อของลูกค้าโพเมโล่ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 200 คน ซึ่งเป็นเพศหญิงที่มีอายุระหว่าง 18 – 40 ปี อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร และต้องมีบัญชีสมาชิกโพเมโล่ (Pomelo Account) ที่สมัครผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของตราสินค้าโพเมโล่ อีกทั้งยังต้องเคยเข้าไปดูสินค้า สอบถามข้อมูล หรือรับบริการต่าง ๆ ที่หน้าร้านโพเมโล่ รวมถึงต้องเคยซื้อสินค้าโพเมโล่อย่างน้อย 1 ชิ้น ภายในระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา โดยผลการวิจัยพบว่า ประสบการณ์ลูกค้าจากช่องทางที่หลากหลายมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับภาพลักษณ์ตราสินค้า และความตั้งใจซื้อสินค้าโพเมโล่ของกลุ่มตัวอย่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และภาพลักษณ์ตราสินค้าโพเมโล่ก็มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับความตั้งใจซื้อสินค้าโพเมโล่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน นอกจากนี้ ยังพบว่า มิติด้านเฉพาะบุคคลของประสบการณ์ลูกค้าที่หลากหลายมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับภาพลักษณ์ตราสินค้าโพเมโล่ และความตั้งใจซื้อมากที่สุด ในขณะที่มิติด้านความใกล้ชิดของภาพลักษณ์ตราสินค้าโพเมโล่มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับความตั้งใจซื้อสินค้าโพเมโล่ของกลุ่มตัวอย่างมากที่สุด


สัมพันธบทและการดัดแปลงบทเพลงจากนวนิยายเรื่อง “จุฬาตรีคูณ”, ณัฐญ์นิษฐา ไชยรัตน์ Jan 2020

สัมพันธบทและการดัดแปลงบทเพลงจากนวนิยายเรื่อง “จุฬาตรีคูณ”, ณัฐญ์นิษฐา ไชยรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะสัมพันธบทในนวนิยายเรื่องจุฬาตรีคูณ 2) เพื่อศึกษาลักษณะเนื้อหาและวิธีการดัดแปลงบทเพลงที่มาจากนวนิยายเรื่องจุฬาตรีคูณ ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์ตัวบท และศึกษาจากแหล่งข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องจุฬาตรีคูณ กามนิต-วาสิฏฐี และนาร์ซิสซัส รวมถึงเพลงชุดจุฬาตรีคูณ จำนวน 5 บทเพลง ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะสัมพันธบทในนวนิยายเรื่องจุฬาตรีคูณที่พบมากที่สุดคือ การคงเดิม และการดัดแปลง โดยเรื่องกามนิต-วาสิฏฐี ได้มีอิทธิพลต่อเรื่องจุฬาตรีคูณมากกว่าเรื่องนาร์ซิสซัส ซึ่งเรื่องจุฬาตรีคูณรับเอาลักษณะเด่นหลายส่วนจากเรื่องกามนิต-วาสิฏฐี มาใช้ทั้งโครงเรื่องหลัก แก่นเรื่องความรัก ความลุ่มหลง จนไปสู่ความทุกข์และความหายนะ ความขัดแย้งในจิตใจและความขัดแย้งระหว่างคนกับคน ด้านตัวละครก็มีลักษณะเด่นของนิสัย อารมณ์ความรู้สึกนึกคิด พฤติกรรมของตัวละครเอก ส่วนฉากและบรรยากาศ ก็มีการกล่าวถึงดินแดนชมพูทวีป รวมไปถึงมุมมองการเล่าเรื่อง สำหรับเรื่องนาร์ซิสซัส ในจุฬาตรีคูณได้คงเดิมแก่นเรื่องความงาม ความลุ่มหลง จนไปสู่ความทุกข์และความหายนะ รวมถึงสถานที่ที่เป็นแหล่งน้ำโดยเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาและเป็นจุดจบของตัวละครเอก เมื่อจุฬาตรีคูณเก็บส่วนสำคัญต่างๆจากทั้งสองเรื่องไว้แล้ว ก็ได้นำองค์ประกอบเหล่านั้นมาดัดแปลงจนเกิดเป็นชิ้นงานที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดัดแปลงตัวละครเอก “นาร์ซิสซัส” ให้กลายเป็น “ดารารายพิลาส” และการทำให้ “แม่น้ำจุฬาตรีคูณ” กลายเป็นฉากสำคัญของเรื่อง ในส่วนของลักษณะเนื้อหาและวิธีการดัดแปลงบทเพลงพบว่า ทุกบทเพลงมีเนื้อหาเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆของเรื่องทั้งหมด โดยสามารถเรียงร้อยต่อเนื่องกันตามลำดับเหตุการณ์ในนวนิยายตั้งแต่ต้นจนจบ สำหรับการใช้ภาษาพบว่ามีการใช้ภาพพจน์บุคคลวัต มากที่สุด และรสในวรรณคดีที่ปรากฏมากที่สุดคือ กรุณารส ด้านวิธีการดัดแปลงบทเพลงพบว่า มีลักษณะของการคงเดิมอยู่ในทุกบทเพลง โดยองค์ประกอบที่เปลี่ยนแปลงมากที่สุดคือ บทสนทนา ซึ่งมีครบทั้งการคงเดิม การตัดทิ้งหรือการลดทอน การเพิ่มเติมหรือการขยาย และการสลับหรือการปรับเปลี่ยน บทสนทนาถือเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการนำมาใช้สร้างสรรค์เป็นเนื้อเพลง โดยเฉพาะการเป็นบทเพลงเพื่อประกอบการแสดงละครวิทยุที่ผู้ประพันธ์บทเพลงได้เน้นให้เห็นความสำคัญของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้ฟังเกิดจินตภาพ รับรู้ได้ถึงนาฏการต่างๆ รวมทั้งอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดของตัวละคร ลักษณะสัมพันธบทและการดัดแปลงในงานวิจัยที่เกิดขึ้นนี้ ได้ย้ำเตือนให้เข้าใจเสมอว่าในการผลิตหรือสร้างสรรค์ผลงานจากสิ่งที่เคยมีมาแล้วนั้นไม่ใช่เป็นการเลียนแบบหรือคัดลอก แต่ถือเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นปกติในแวดวงของศิลปะแขนงต่างๆซึ่งสามารถหลอมรวมให้เป็นหนึ่งเดียวกันได้ ด้วยวิธีการสร้างสรรค์จากแรงบันดาลใจ รวมถึงประสบการณ์ต่างๆที่ผู้ผลิตผลงานนำมาปะติดปะต่อ รวบรวมเข้าไว้ด้วยกัน และประยุกต์จนเกิดเป็นผลงานในรูปแบบอื่นๆต่อไป


การขับเคลื่อนสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน กรณีศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ปาริฉัตร บัวเข็ม Jan 2020

การขับเคลื่อนสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน กรณีศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ปาริฉัตร บัวเข็ม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์แนวทางในการขับเคลื่อนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการขับเคลื่อนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ใช้วิธีการศึกษาจากการค้นคว้าจากเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่าการให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่ยั่งยืนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเริ่มขึ้นเมื่อ สิบปีก่อน ได้ออกแบบ ‘ผังแม่บทจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 100 ปี’ เพื่อวางรากฐานเรื่องสิ่งแวดล้อมขั้นพื้นฐานอย่างเรื่องการวางผังอาคารให้สอดคล้องกับพื้นที่สีเขียว และมีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องสู่ “มหาวิทยาลัยสีเขียว” และ "มหาวิทยาลัยที่ยั่งยืน" โดยการดำเนินงานอยู่ภายใต้คณะกรรมการนโยบายมหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืนเพื่อดูแลโครงการความยั่งยืนทั้งหมดในวิทยาเขต แบ่งเป็น 5 กลุ่มคือ 1) ด้านกายภาพและโครงสร้างพื้นฐาน 2) ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากร 3) ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร 4) ด้านการการเรียน การสอน และวิจัย และ 5) ด้านการบริหาร ธรรมาภิบาล และการมีส่วนร่วม ซึ่งแบ่งการทำงานออกเป็น 2 ส่วนสำคัญคือการดำเนินงานภายใต้คณะกรรมการนโยบายมหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืนซึ่งทำหน้าที่ผลักดันโครงการ กิจกรรมที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และการทำงานของสำนักงานยุทธศาสตร์และการขับเคลื่อนซึ่งเป็นหน่วยงานที่จัดเก็บข้อมูลการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอีกหนึ่งหน้าที่สำคัญคือการนำส่งข้อมูลแก่ THE Impact Ranking และปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญในการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนคือ ความเข้าใจในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ


การถอดบทเรียนเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ : กรณีศึกษากองวินัยและเสริมสร้างจริยธรรม สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร, พรรณปพร ด่านพิทักษ์ Jan 2020

การถอดบทเรียนเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ : กรณีศึกษากองวินัยและเสริมสร้างจริยธรรม สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร, พรรณปพร ด่านพิทักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาประเภทและลักษณะปัญหาและความสำเร็จเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย 2) เพื่อศึกษาสาเหตุของปัญหาและความสำเร็จเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย และ 3) เพื่อได้ข้อสรุปจากการถอดบทเรียนและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการกรุงเทพมหานคร โดยการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการการศึกษาด้วยการสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ลักษณะปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยของ คือ ความล่าช้าที่เกิดขึ้นจากการจัดทำเอกสารผิดรูปแบบ การดำเนินการไม่ถูกต้องตามขั้นตอน ไม่มีคนให้คำแนะนำ และไม่มีมาตรฐาน ส่วนลักษณะความสำเร็จคือ ความรวดเร็วที่เกิดขึ้นจากการจัดทำเอกสารถูกต้อง และคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือ สำหรับสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น เนื่องจากขาดความรู้ ทัศนคติเชิงลบ ความสัมพันธ์และการแบ่งงานภายในหน่วยงาน ส่วนสาเหตุของความสำเร็จ เนื่องจากอัตรากำลังมีเพิ่มมากขึ้น และความเอาใจใส่ของผู้บังคับบัญชา สรุปออกมาเป็นบทเรียน ได้ดังนี้ (1) มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับดำเนินการทางวินัย (2) มีโครงสร้างและการแบ่งงานกันภายในหน่วยงานเหมาะสม (3) บุคลากรที่เกี่ยวข้องมีพฤติกรรมเชิงบวกต่องานวินัย (4) ความเข้าใจกันระหว่างหน่วยงาน และ (5) ความเอาใจใส่ของผู้บังคับบัญชา และนำไปสู่ข้อเสนอแนะ อันได้แก่ (1) การปรับปรุงและจัดการองค์ความรู้ เช่น การอบรม และจัดทำคู่มือ (2) การปรับปรุงตัวบทกฎหมายของกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย (3) การปรับปรุงโครงสร้างและการแบ่งงานกันภายในหน่วยงาน และ (4) ควรส่งเสริมให้บุคลากรในองค์กร ทั้งผู้บังคับบัญชา และบุคลากรทุกคนมีความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติที่ดีในงานด้านวินัย


การนำนโยบายด้านการเฝ้าระวังและป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรไปปฏิบัติกรณีศึกษาสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสุรินทร์, สมทัศน์ อย่างสุข Jan 2020

การนำนโยบายด้านการเฝ้าระวังและป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรไปปฏิบัติกรณีศึกษาสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสุรินทร์, สมทัศน์ อย่างสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายการนํานโยบายไปปฏิบัติของสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสุรินทร์ในด้านการเฝ้าระวังและป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร พร้อมทั้งวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเอกสารและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับนโยบายด้านการเฝ้าระวังและป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ผลการศึกษาวิจัยพบว่า นโยบายด้านการเฝ้าระวังและป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร มีการดำเนินงานในรูปแบบคณะกรรมการระดับแห่งชาติ โดยใช้แผนเตรียมความพร้อมเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (Contingency plan) และแนวทางเวชปฏิบัติของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (Clinical practice guideline) ตามแบบการบริหารจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยหรือภัยพิบัติ (Disaster Risk Management: DRM) นโยบายยังเน้นความร่วมมือและบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่การผลิตสุกร การนำนโยบายไปปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จเกิดจาก 1) การมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายจากระดับล่างขึ้นบน (Bottom up approach) 2) การปฏิบัติตามมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด 3) การจัดกลุ่มพื้นที่ตามระดับความเสี่ยงของโรคเพื่อกำหนดมาตรการและจัดสรรทรัพยากรที่เหมาะสม 4) โครงสร้างการทำงานแบบบูรณาการที่ยืดหยุ่น คล่องตัวรวดเร็ว และมีลักษณะเครือข่ายเฝ้าระวังโรคในพื้นที่ 5) รูปแบบการสื่อสารนโยบายแบบเชิงรุก (Pro-active) และมีกลยุทธ์สร้างการตื่นรู้ในภาคประชาชน (Public awareness) 6) การสร้างรับรู้ของผู้นำนโยบายไปปฏิบัติและการพัฒนาบุคลากรที่ต่อเนื่องสม่ำเสมอ 7) การส่งเสริมผลักดันให้เกษตรกรปรับระบบการเลี้ยงสุกรให้มีระบบป้องกันโรค (Biosecurity) ขั้นพื้นฐาน ตามมาตรา 7 ตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 ในระบบป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม (Good farming management: GFM) 8) การติดตามและประเมินผลนโยบายร่วมกันในหน่วยงาน และ 9) การทำงานเชิงรุกในพื้นที่เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรตลอดห่วงโซ่การผลิตสุกร


การรับรู้และตอบสนองต่อภาวะวิกฤตองค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการในกลุ่ม Generation X และ Millennials: กรณีศึกษา บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน), ภูริตา เพรียวพานิช Jan 2020

การรับรู้และตอบสนองต่อภาวะวิกฤตองค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการในกลุ่ม Generation X และ Millennials: กรณีศึกษา บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน), ภูริตา เพรียวพานิช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ เรื่อง "การรับรู้และตอบสนองต่อภาวะวิกฤตองค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการในกลุ่ม Generation X และ Millennials: กรณีศึกษา บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบว่า ช่วงวัยที่แตกต่างกันมีผลต่อการรับรู้และตอบสนองต่อภาวะวิกฤตองค์กรเหมือนหรือแตกต่างกัน หรือไม่ อย่างไร โดยการศึกษาครั้งนี้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม โดยใช้แบบสอบถาม ประกอบการสัมภาษณ์ในการเก็บข้อมูล ทั้งนี้ ได้มีการศึกษาปัจจัยอื่น รวมด้วย อันได้แก่ เพศ ประสบการณ์ทำงาน และลักษณะงาน โดยผลการศึกษาพบว่า ช่วงวัยที่แตกต่างกันไม่ส่งผลต่อการรับรู้และตอบสนองภาวะวิกฤตองค์กร ทว่า ลักษณะงานที่แตกต่างกันมีการตอบสนองต่อการจัดการภาวะวิกฤตองค์กรแตกต่างกัน ทั้งนี้ ในส่วนของการสัมภาษณ์พบว่า การสื่อสารหรือการประชาสัมพันธ์ภาวะวิกฤตองค์กร ทั้งการมีช่องทางที่หลากหลาย และการให้ข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้อง และชัดเจน จะเป็นประโยชน์ต่อพนักงานและช่วยให้พนักงานเข้าใจสถานการณ์และตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น


การศึกษาผลกระทบของการปฏิรูปโครงสร้างภาษีทางอ้อมของอินเดีย ที่เป็นโอกาสต่อนักลงทุนไทย, จิรเมธ แสงไกร Jan 2020

การศึกษาผลกระทบของการปฏิรูปโครงสร้างภาษีทางอ้อมของอินเดีย ที่เป็นโอกาสต่อนักลงทุนไทย, จิรเมธ แสงไกร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาผลกระทบของการปฏิรูปโครงสร้างภาษีทางอ้อมของอินเดีย ที่เป็นโอกาสต่อนักลงทุนไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างภาษีทางอ้อมเดิมของอินเดียกับภาษีสินค้าและบริการ ศึกษาว่าการจัดเก็บภาษีสินค้าและบริการ (Goods and Services Tax : GST) สามารถส่งเสริมการลงทุนด้านการผลิตภายในอินเดียอย่างไร และเป็นข้อมูลสำหรับการตัดสินใจของผู้ประกอบการไทยถึงความคุ้มค่าในการลงทุนดำเนินกิจการที่ไทยมีความเชี่ยวชาญในประเทศอินเดีย โดยการศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงผสมระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Qualitative Research) ที่ทำการศึกษาเอกสารทางวิชาการ ประกาศของรัฐบาลอินเดีย รวมถึงข้อมูลข่าวสารจากอินเทอร์เน็ต ควบคู่กับการสัมภาษณ์เชิงลึกจากบุคคลเป้าหมาย เพื่อสร้างตัวแบบคำนวณภาระทางภาษีของภาษีทางอ้อม โดยเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการจัดเก็บภาษีสินค้าและบริการของอินเดีย พบว่า การจัดเก็บภาษีสินค้าและบริการ เป็นไปตามหลักการจัดเก็บภาษีที่ดี ซึ่งเป็นภาษีที่มีความเรียบง่าย (Simple) ฐานภาษีกว้าง (Tax base) และอัตราภาษีต่ำ (Low Rate) มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับระบบการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีทางอ้อมอื่น ๆ เดิม รวมทั้งมีการนำระบบเครดิตภาษี (Input Tax Credit : ITC) มาใช้ ส่งผลให้ราคาสินค้าและบริการในอินเดียมีแนวโน้มถูกลง การประกาศใช้ภาษีดังกล่าวเป็นหนึ่งในมาตรการภายใต้การดำเนินนโยบาย Make in India ที่จะดึงดูดให้นักลงทุนมาลงทุนในอินเดียมากขึ้น และจะเป็นโอกาสสำคัญให้ผู้ประกอบการ ชาวไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอุตสาหกรรมการเกษตร การแปรรูปอาหาร การบริการด้านการท่องเที่ยว รวมถึงกลุ่มอุตสาหกรรมด้านการแพทย์ ให้สามารถขยายการลงทุนไปยังอินเดีย เพื่อสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยมากขึ้น


ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้วัฒนธรรมองค์การกับทัศนคติเกี่ยวกับการกลายเป็นองค์กรแห่งความสุขกรณีศึกษาสำนักงานเลขานุการตำรวจแห่งชาติ, กรวรรณ ฟักสุบรรณ์ Jan 2020

ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้วัฒนธรรมองค์การกับทัศนคติเกี่ยวกับการกลายเป็นองค์กรแห่งความสุขกรณีศึกษาสำนักงานเลขานุการตำรวจแห่งชาติ, กรวรรณ ฟักสุบรรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการรับรู้วัฒนธรรมองค์การและทัศนคติเกี่ยวกับองค์กรแห่งความสุข รวมถึงศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้วัฒนธรรมองค์การกับทัศนคติเกี่ยวกับองค์กรแห่งความสุขของข้าราชการตำรวจในสำนักงานเลขานุการตำรวจแห่งชาติ การวิจัยในครั้งนี้เป็นเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากข้าราชการตำรวจทั้งหมดที่ปฏิบัติงานในสำนักงานเลขานุการตำรวจแห่งชาติ (จำนวน 110 คน) ในขณะเดียวกันสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยดำเนินการสัมภาษณ์ โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากข้าราชการตำรวจที่เป็นตัวแทนของแต่ละตำแหน่งตั้งแต่ตำแหน่งผู้บังคับการจนถึงผู้บังคับหมู่จำนวน 6 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร เพศหญิง มีอายุระหว่าง 20-30 ปี โดยมีรายได้อยู่ที่ 10,001-20,000 บาทต่อเดือน ปฏิบัติงานอยู่ในฝ่ายอำนวยการ และมีประสบการณ์ปฏิบัติงาน 12 ปีขึ้นไป 2) ข้าราชการตำรวจมีการรับรู้วัฒนธรรมองค์การในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และมีการรับรู้วัฒนธรรมองค์การแบบเครือญาติมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3) ข้าราชการตำรวจมีทัศนคติเกี่ยวกับการกลายเป็นองค์กรแห่งความสุขในภาพรวมระดับปานกลางและมีทัศนคติเกี่ยวกับการกลายเป็นองค์กรแห่งความสุขในด้านคุณธรรมและความกตัญญู (Happy Soul) มากที่สุด 4) การรับรู้วัฒนธรรมองค์การแบบปรับตัวมีความสัมพันธ์ทางบวกกับทัศนคติเกี่ยวกับองค์กรแห่งความสุขในภาพรวมมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับการรับรู้วัฒนธรรมองค์การด้านอื่นๆ


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ด้านการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.), พิณนภา เพชรศิริ Jan 2020

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ด้านการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.), พิณนภา เพชรศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ เพื่อศึกษาระดับการรับรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของพนักงานการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ด้านการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของพนักงานการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ผู้วิจัยได้เลือกใช้การวิจัยเชิงสำรวจด้วยแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษากับพนักงานการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จำนวน 288 คน และใช้สถิติเชิงพรรณนาด้วยการบรรยายในลักษณะค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน ด้วยการใช้ T-test และการวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการศึกษาพบว่าการรับรู้ด้านการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ด้านการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของพนักงานการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้แก่ ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กร คือ ด้าน Accountability และปัจจัยด้านสื่อ คือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์


แนวทางการพัฒนากองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 2 ให้เป็นองค์กรที่มีสมรรถนะในการปฏิบัติงานสูงและเป็นต้นแบบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ, ปฐมพงษ์ กรัณย์พิศุทธิ์ Jan 2020

แนวทางการพัฒนากองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 2 ให้เป็นองค์กรที่มีสมรรถนะในการปฏิบัติงานสูงและเป็นต้นแบบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ, ปฐมพงษ์ กรัณย์พิศุทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ 1) ลักษณะการปฏิบัติงานของกองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 2 ในปัจจุบัน 2) ปัญหาที่เป็นอุปสรรคในการปฏิบัติงานของกองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 2 ที่เผชิญในอดีต ปัจจุบันและอนาคตและ 3) แนวทางการพัฒนากองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 2 ให้เป็นองค์กรที่มีสมรรถนะในการปฏิบัติงานสูงและเป็นต้นแบบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ การศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยผู้ให้สัมภาษณ์คือเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับต่าง ๆ ภายในกองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 2 ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะการปฏิบัติงานของกองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 2 ในปัจจุบัน “มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบสืบสวนคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา การสืบสวนการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา กฎหมายอื่นที่มีโทษทางอาญา รวมถึงพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ ตลอดจนคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาซึ่งกองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 2 ในปัจจุบันมีเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ 8 จังหวัดภาคตะวันออกได้แก่ จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรีและสระแก้ว 2) ปัญหาที่เป็นอุปสรรคในการปฏิบัติงานของกองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 2 ที่เผชิญประกอบด้วยปัญหาด้านงบประมาณ ความเชี่ยวชาญ บุคลากร การบริหารและการทำงานเป็นทีมและ 3) แนวทางการพัฒนากองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 2 ให้เป็นองค์กรที่มีสมรรถนะในการปฏิบัติงานสูงและเป็นต้นแบบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติประกอบด้วยด้านการพัฒนาการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ด้านความเชี่ยวชาญในอาชีพ ด้านจริยธรรม ด้านการทำงานเป็นทีม ด้านการบริหาร (วิสัยทัศน์/นโยบาย) และด้านทรัพยากร (งบประมาณ/เครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์)


What Is The Impact Of Tourism Infrastructure Development On The International Tourism Inflow In Thailand During 2008 To 2019?, Wucaihong Huang Jan 2020

What Is The Impact Of Tourism Infrastructure Development On The International Tourism Inflow In Thailand During 2008 To 2019?, Wucaihong Huang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Tourism has become a main income factor of national revenue in Thailand. Tourism infrastructure is the important foundation for Thailand to improve its attractiveness around the world. This study firstly employed a SWOT analysis to show the current insight of tourism infrastructure in Thailand. The key findings of this study showed that transport infrastructure, ICT infrastructure and medical infrastructure have positive impacts on international tourism inflows in Thailand during 2008 to 2019 by employing an extending gravity model. Thus, the tourism planners should generate ICT promote, transport development and medical tourism into policies planning. Tourism policy makers in Thailand should …


Ethnicity And Migration ─ The Concentration And Dispersion Of Foreign-Born Asians And Hispanics In The United States, Shuang Li Jan 2020

Ethnicity And Migration ─ The Concentration And Dispersion Of Foreign-Born Asians And Hispanics In The United States, Shuang Li

Electronic Theses and Dissertations

Immigration from Asia and Latin America has rapidly changed the race and ethnic composition of the non-White population in the United States. This dissertation examines the question of race/ethnicity, nativity, and how acculturation and socioeconomic characteristics impact residential outcomes for Asian and Hispanic immigrants, a process often termed as residential assimilation. It also tests the effectiveness of spatial assimilation, segmented assimilation, and resurgent ethnicity theories for understanding residential segregation across metropolitan neighborhoods. Three sets of analyses are presented in this dissertation. The first set of analyses studies the nativity difference in residential segregation levels between Asians and Hispanics from non-Hispanic …


Estrategias De Acción Para La Equidad De Género En El Sector Minero En Boyacá: Caso De Estudio Sogamoso, Helena Victoria Daza Lagos Jan 2020

Estrategias De Acción Para La Equidad De Género En El Sector Minero En Boyacá: Caso De Estudio Sogamoso, Helena Victoria Daza Lagos

Negocios y Relaciones Internacionales

Este trabajo es el resultado de una investigación cualitativa descriptiva que busca identificar las estrategias de acción más relevantes que implementan los actores gubernamentales y no gubernamentales que permiten forjar el camino para lograr una equidad de género en el sector minero en Sogamoso, Boyacá. La recolección de datos se llevó a cabo mediante la realización de 13 observaciones y entrevistas semiestructuradas a representantes de los sectores: estatal, académico, sociedad civil y sector productivo con mayor experticia en el tema de género en el sector minero en la zona. Entre los hallazgos más relevantes se encuentra la representatividad de diez …


Cooperación Internacional Al Desarrollo No Gubernamental: Estudio De Caso Ong Manos Unidas En Colombia 2011-2013, Angel Ferney López Casallas, Laura Camila Mendoza Hernández Jan 2020

Cooperación Internacional Al Desarrollo No Gubernamental: Estudio De Caso Ong Manos Unidas En Colombia 2011-2013, Angel Ferney López Casallas, Laura Camila Mendoza Hernández

Negocios y Relaciones Internacionales

La Cooperación Internacional para el Desarrollo ha sido una herramienta utilizada por los Estados y por instituciones como las Organizaciones No Gubernamentales en la solución de los retos globales cómo la pobreza extrema. En dicha cooperación se evidencia que los países de renta media como Colombia reciben cada vez menos ayuda a medida que crece su economía, a pesar de contar con un índice alto de desigualdad. En este escenario, ha sido relevante el papel de las ONG por la autonomía que tienen respecto a los Estados en cuanto a las poblaciones de interés a quienes les brindan ayuda. Por …


Movilización Estudiantil En Colombia Y Chile (1990-2018) : Apuestas Reformistas A La Agenda Neoliberal Del Sistema Educativo, Omar Leonardo Dávila Granados, Yessenia Herrera Patiño Jan 2020

Movilización Estudiantil En Colombia Y Chile (1990-2018) : Apuestas Reformistas A La Agenda Neoliberal Del Sistema Educativo, Omar Leonardo Dávila Granados, Yessenia Herrera Patiño

Negocios y Relaciones Internacionales

Dada la implementación de las políticas neoliberales a principios de los años 90 en Chile (posterior a la finalización de su dictadura) y en Colombia (a través de una nueva Constitución Política), some de los Movimientos Estudiantiles de these countries, un sable: la Revolución Pingüina y el Movimiento del 2001 en Chile; y la Mesa Amplia Nacional Estudiantil (MANE) y la Unión Nacional de Estudiantes de Educación Superior (UNEES) en Colombia, se han posicionado como fuertes opositores del funcionamiento del Sistema Educativo, el cual ha recibido las consecuencias de la implementación de estas políticas. En este contexto, la monografía indaga …


La Comisión Para El Esclarecimiento De La Verdad, La Convivencia Y La No Repetición En Colombia: Un Análisis A Sus Modalidades De Cooperación, Lizeth Stephanie Muñoz Tovar, Daniela Alexsandra Amado Bocanegra Jan 2020

La Comisión Para El Esclarecimiento De La Verdad, La Convivencia Y La No Repetición En Colombia: Un Análisis A Sus Modalidades De Cooperación, Lizeth Stephanie Muñoz Tovar, Daniela Alexsandra Amado Bocanegra

Negocios y Relaciones Internacionales

El gobierno de Juan Manuel Santos, en su segundo mandato, decidió enfocar su política de Estado en la realización del proceso de paz con la entonces guerrilla más antigua: Las FARC EP. Dicho proceso necesitó de la cooperación internacional desde sus inicios por parte de otros países, en los planes de acción para su continuidad, así como para la creación de nuevas instituciones como la Jurisdicción Especial para la paz (JEP) y la Comisión para el Esclarecimiento de la Verdad (CEV). Este trabajo analiza mediante la cooperación técnica y financiera las modalidades de cooperación internacional empleadas por La Comisión para …


Un Espacio De Interculturalidad A Través Del Análisis De La Agenda De Política Migratoria Colombiana Y La Actual Migración Venezolana, Paula Tatiana Guerrero Mora, Ana María Jaramillo Peñuela, David Felipe Pulido Rozo Jan 2020

Un Espacio De Interculturalidad A Través Del Análisis De La Agenda De Política Migratoria Colombiana Y La Actual Migración Venezolana, Paula Tatiana Guerrero Mora, Ana María Jaramillo Peñuela, David Felipe Pulido Rozo

Negocios y Relaciones Internacionales

Esta investigación busca comprender la problemática generada por la crisis migratoria venezolana dentro de Colombia, específicamente en Bogotá, como una oportunidad hacia un espacio intercultural y cómo este fenómeno incide en la toma de decisiones del Estado Colombiano y su respuesta para generar este espacio, como lo ha venido realizando el Estado de Chile dentro de sus entidades en materia de políticas migratorias. En primer lugar, se pretende relacionar la agenda de política exterior colombiana en materia migratoria con el actual fenómeno de migración venezolano, desarrollando un análisis desde la disciplina de las relaciones internacionales dentro del marco de una …