Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Physical Sciences and Mathematics Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 1411 - 1440 of 2268

Full-Text Articles in Physical Sciences and Mathematics

การพัฒนากรอบการประเมินและวิเคราะห์แคปช่าแบบข้อความ, สรรัตน์ ชัยกรไพบูลย์ Jan 2017

การพัฒนากรอบการประเมินและวิเคราะห์แคปช่าแบบข้อความ, สรรัตน์ ชัยกรไพบูลย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เสนอกรอบการประเมินและวิเคราะห์แคปช่าแบบตัวอักษร การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อค้นหาข้อมูล ช้อปปิ้งออนไลน์ หรือทำธุรกรรมการเงินผ่านอินเทอร์เน็ตแบงค์กิ้ง บริการเหล่านี้ต้องการการรักษาความปลอดภัยเพื่อปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นความลับจาก สแปม การหลอกลวงจากแฮกเกอร์ที่สร้างเว็บปลอม แคปช่าได้ถูกนำมาใช้เพื่อตรวจสอบว่าผู้ใช้เป็นมนุษย์หรือจักรกล (บ็อท) เว็บไซต์จำนวนมากใช้แคปช่าแบบตัวอักษรสำหรับตรวจสอบพิสูจน์ตัวตนโดยให้ผู้ใช้พิมพ์ตัวอักษรตามอักขระบิดเบือนเป็นตัวอักษรหรือตัวเลขหรือตัวอักษรและตัวเลขในช่องข้อความ ในการทดลองผู้วิจัยกำหนดความยาวของแคปช่าแบบตัวอักษรโดยกำหนดความยาวอักษรที่ 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 และ 10 ที่มีรูปแบบเป็นภาษาอังกฤษตัวใหญ่ผสมตัวเลข ผู้วิจัยทำการเก็บรูปแคปช่าตามความยาวของแต่ละแบบจำนวนอย่างละ 1,000 รูป จากเว็บไซต์ BotDetect™ CAPTCHA เพื่อให้มนุษย์ทำแบบทดสอบผ่านเว็บไซต์ที่สร้างและจักรกล (บ็อท) Tesseract และ Free-OCR online ตอบรูปแคบช่าโดยชุดแคปช่าที่ใช้ทดสอบระหว่างมนุษย์และบ็อทใช้เป็นแบบทดสอบชุดเดียวกัน ผู้ทดสอบ 1 คน จะทำแบบทดสอบ 8 ข้อ ผู้วิจัยนำเสนอประสิทธิภาพแคปช่า (CAPTCHA EFFICIENCY (CE)) ที่ได้จากการตอบแคปช่าของมนุษย์และบ็อทมาคำนวณหาส่วนต่างระหว่างแคปช่าที่ดี (มนุษย์ตอบถูกและบ็อทตอบผิด) และแคปช่าที่ไม่ดี(บ็อทตอบถูกและมนุษย์ตอบผิด) สำหรับการประเมินผลเราประเมินผลจากความยาวตัวอักษรและตัวเลขจาก 3 4 5 6 7 8 9 และ 10 ผลที่ได้แสดงให้เห็นว่ามนุษย์ และ บ็อท Tesseract มีค่า CE เท่ากับ 0.842 ที่ความยาว 9 ตัวอักษร Human และ Free-OCR.com มี CE เท่ากับ 0.921 ที่ความยาว 4 ตัวอักษร


การค้นหาจุดสนใจโดยใช้ข้อมูลเชิงพื้นที่จากรถแท็กซี่ด้วยอัลกอริทึมการจัดกลุ่มตามความหนาแน่นที่กำหนดพารามิเตอร์แบบอัตโนมัติ, อุไรวรรณ์ อังคะเวย์ Jan 2017

การค้นหาจุดสนใจโดยใช้ข้อมูลเชิงพื้นที่จากรถแท็กซี่ด้วยอัลกอริทึมการจัดกลุ่มตามความหนาแน่นที่กำหนดพารามิเตอร์แบบอัตโนมัติ, อุไรวรรณ์ อังคะเวย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความเจริญของเมืองในปัจจุบันทำให้เกิดสถานที่ต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ห้างสรรพสินค้า สถานที่ท่องเที่ยว โรงแรม ร้านค้า ร้านอาหาร อาคารสำนักงาน หรือแม้แต่ลานกิจกรรมต่างๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นจุดที่ผู้คนมักไปรวมตัว สะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมของประชากร ข้อมูลเหล่านี้เป็นประโยชน์ในหลายด้านเช่น การวางแผนผังเมือง การวางแผนการจราจร การสำรวจโรคระบาด หรือวิเคราะห์การเกิดอาชญากรรมต่างๆ การสำรวจเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลเหล่านี้จำเป็นต้องอาศัยสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงตำแหน่งการเคลื่อนที่ของประชากร เช่น ข้อมูลจีพีเอสจากโทรศัพท์มือถือ ข้อมูลจากอุปกรณ์จีพีเอสที่ติดตามยานพาหนะ ข้อมูลจากการใช้บริการขนส่งสาธารณะของประชากรในเมืองใหญ่ รถแท็กซี่เป็นการขนส่งสาธารณะอีกประเภทหนึ่งที่ให้บริการอย่างกว้างขวางในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยลักษณะของการเคลื่อนที่ไปยังบริเวณต่างๆ ทุกพื้นที่ พบว่า ข้อมูลจีพีเอสจากการรับส่งผู้โดยสารของรถแท็กซี่ สามารถนำมาใช้เพื่อเป็นข้อมูลในการค้นหาบริเวณที่เป็นพื้นที่ที่น่าสนใจ งานวิจัยนี้ นำเสนอแนวทางในการค้นพบพื้นที่จุดสนใจโดยใช้เทคนิคการจัดกลุ่มข้อมูลด้วยอัลกอริทึมการแบ่งกลุ่มตามความหนาแน่น (DBSCAN) ในกรณีของชุดข้อมูลแท๊กซี่การกำหนดพารามิเตอร์เป็นเรื่องยากเพราะข้อมูลรับ - ส่ง ผู้โดยสารกระจายไปในพื้นที่ต่างๆ ที่แตกต่างกัน ดังนั้น งานวิจัยจึงพัฒนาวิธีการกำหนดพารามิเตอร์ที่เหมาะสมแบบอัตโนมัติเพื่อใช้ในการทำงานของอัลกอริทึมโดยการพิจารณาจากปริมาณและความหนาแน่นของข้อมูลในแต่ละพื้นที่ ผลการทดลองกับพื้นที่ตัวอย่างทำให้พบว่า สามารถค้นพบสถานที่ที่เป็นจุดสนใจ รวมถึงบริเวณพื้นที่ที่ประกอบด้วยจุดสนใจหลายๆจุดรวมกัน ดังนั้นวิธีการจากงานวิจัยนี้จึงเหมาะสำหรับการนำมาใช้เพื่อค้นหาจุดสนใจในกรุงเทพมหานคร แนวทางการศึกษาในอนาคต เราจะทดลองใช้วิธีนี้กับพื้นที่อื่นเพื่อค้นหาพื้นที่น่าสนใจสำหรับวิเคราะห์ทิศทางของการพัฒนาเมือง


พฤติกรรมการย่อยสลายทางชีวภาพและความเข้ากันได้ของพอลิแล็กทิกแอซิดที่เติมแต่งด้วยแอซิทิเลตเซลลูโลส, ธนา บุนนาค Jan 2017

พฤติกรรมการย่อยสลายทางชีวภาพและความเข้ากันได้ของพอลิแล็กทิกแอซิดที่เติมแต่งด้วยแอซิทิเลตเซลลูโลส, ธนา บุนนาค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ได้ทำการสังเคราะห์แอซิทิเลตเซลลูโลสด้วยปฏิกิริยาอะซิทิเลชันระหว่างเซลลูโลสเจลกับไวนิลอะซีเทต หลังจากนั้นทำการตรวจสอบด้วยเทคนิคฟูเรียร์ทรานสฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทรสโกปี พบว่าปรากฏพีกที่ต่ำแหน่ง 1740 cm­-1 ซึ่งแสดงถึงพันธะเอสเทอร์ของหมู่อะซิทิลอยู่บนสายโซ่ของเซลลูโลส และพบว่าพีกที่ต่ำแหน่งดังกล่าว มีความเข้มของพีกเพิ่มขึ้น ตามสัดส่วนของไวนิลอะซีเทต และพบว่าอัตราส่วนที่เกิดปฏิกริยาสูงที่สุดคืออัตราส่วนโดยโมลที่ 12 : 1 จึงยืนยันได้ว่าได้เซลลูโลสดัดแปรจากปฏิกิริยาอะซิทิลเลชันนี้ หลังจากทำการผสมพอลิแล็กทิกแอซิดกับแอซิทิเลตเซลลูโลสที่สังเคราะห์ได้ โดยทำการผสมแอซิทิเลตเซลลูโลสที่ร้อยละ 1, 3 และ 5 โดยมวลของพอลิแล็กทิกแอซิดผ่านเครื่องอัดรีดแบบสกรูคู่ และเมื่อทำการทดสอบสมบัติเชิงกล พบว่าที่สัดส่วนการเติมร้อยละ 1 (สูตร PLAACC1) สูตรผสมนี้มีความทนแรงดึง และค่ามอดุลัส ได้ดีขึ้นเมื่อเทียบกับพอลิแล็กทิกแอซิด เนื่องจากแอซิทิเลตเซลลูโลสเกิดการกระจายตัวที่ดีและแอซิทิเลตเซลลูโลสมีความสามารถในการยึดเกาะกับแมทริกซ์ได้อย่างสม่ำเสมอ แต่พบว่าสมบัติเชิงกลมีค่าที่ลดลงเมื่อเติมแอซิทิเลตเซลลูโลส ในจำนวนที่มากขึ้นเนื่องจากเกิดการเกาะกลุ่มกันของแอซิทิเลตเซลลูโลสที่ใหญ่ขึ้น และมีการยึดติดที่แย่ลง สุดท้ายการทดสอบการย่อยสลายโดยการฝังกลบในดินที่ผสมแบคทีเรีย Bacillus Licheniformis พบว่า ที่สัดส่วนการเติมร้อยละ 5 (สูตร PLAACC5) เกิดการย่อยสลายมากที่สุด ที่ระยะเวลา 90 วัน โดยพบรอยแตกและรูบนชิ้นตัวอย่าง ในทางกลับกัน พอลิแล็กทิกแอซิด และ ตัวอย่างในอัตราส่วนอื่นในดินควบคุมและดินที่ผสม แบคทีเรีย Bacillus Licheniformis ไม่พบการย่อยสลายที่ปรากฎชัดเจน กลไกการย่อยสลายดังกล่าวเกิดจากแอซิทิเลตเซลลูโลสที่มีปริมาณสูง สามารถดูดซึม น้ำ ความชื้น และแบคทีเรียในดินได้ดี จึงเกิดการปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสด้วยเอนไซม์ได้เป็นกรดแล็กทิกเกิดขึ้น ซึ่งกรดจะไปเร่งการย่อยสลายพอลิแล็กทิกแอซิดด้วยปฏิกิริยาไฮโดรไลติกดีเกรเดชันได้ปลายโซ่หมู่กรดคาร์บอกซิลิกเพิ่มขึ้นจนนำไปสู่การเร่งอัตราการสลายตัวของพอลิแล็กทิกแอซิดในสภาวะฝังกลบได้


การกำจัดสี Reactive Black 5 ในน้ำเสียสีย้อม โดยใช้ Pseudomonas Sp., ภัคพรรณ ปล้องนิราศ Jan 2017

การกำจัดสี Reactive Black 5 ในน้ำเสียสีย้อม โดยใช้ Pseudomonas Sp., ภัคพรรณ ปล้องนิราศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ใช้เทคโนโลยีทางชีวภาพเพื่อกำจัดสีย้อมในสารละลายสี โดยคัดเลือกเชื้อแบคทีเรียในกลุ่ม Pseudomonas sp. จำนวน 49 สายพันธุ์ (คัดเลือกมาจากคลังเชื้อจุลินทรีย์ใน Thailand Bioresource Research Center (TBRC) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ) มาทดลองเบื้องต้นในการกำจัดสีย้อม Reactive Black 5 ความเข้มข้น 100 มิลลิกรัมต่อลิตร ในอาหารเลี้ยงแบคทีเรีย (MSM, mineral salt medium) ที่ภาวะการบ่มแบบหยุดนิ่ง อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส และพีเอช 8 พบว่าเชื้อ Pseudomonas aeruginosa แสดงประสิทธิภาพสูงสุดในการกำจัดสีได้เท่ากับ 54.57 เปอร์เซ็นต์ ภายใน 24 ชั่วโมง จากนั้นจึงทดลองใช้เชื้อดังกล่าวในการกำจัดสี Reactive Black 5 ในสารละลายสีย้อมที่เหลือจากการย้อมจริงที่ใช้ด่างช่วยในการย้อม และปรับลดความเข้มข้นสีให้เป็น 100 มิลลิกรัมต่อลิตร ในอาหารเลี้ยงเชื้อและที่ภาวะการบ่มเดิม พบว่าเมื่อวิเคราะห์การกำจัดสีของแบคทีเรียในภาวะที่มีและไม่มีอาหารเลี้ยงเชื้อ แบคทีเรียดังกล่าวสามารถกำจัดสีย้อมในภาวะที่มีอาหารเลี้ยงเชื้อได้มากกว่าภาวะที่ไม่มีอาหาร 72.42 เปอร์เซ็นต์ ภายใน 48 ชั่วโมงของการบ่ม นอกจากนั้นเมื่อวิเคราะห์โครงสร้างของสีย้อมก่อนและหลังการกำจัดสีด้วยแบคทีเรียเพื่อศึกษากลไกการกำจัดสีโดยใช้เทคนิค FTIR และ HPLC พบว่าการใช้แบคทีเรียย่อยสลายสีย้อม Reactive Black 5 จะทำให้หมู่เอโซ (-N=N-) ของสีย้อมถูกทำลายและเปลี่ยนไปเป็นหมู่แอมิโน (-NH2) และมีผลิตภัณฑ์ของกรดออกซาลิกเกิดขึ้นหลังการกำจัดสีด้วยแบคทีเรียเป็นเวลา 5 วัน ทำให้เฉดสีในสารละลายสีย้อมมีสีอ่อนลง และเมื่อบ่มสารละลายสีในแบคทีเรียเป็นเวลา 6 วัน แบคทีเรียสามารถกำจัดสีได้ถึง 87.61 เปอร์เซ็นต์


การเตรียมแผ่นโปร่งแสงจากเซลลูโลสแอโรเจล, สาวิตรี สินธุ Jan 2017

การเตรียมแผ่นโปร่งแสงจากเซลลูโลสแอโรเจล, สาวิตรี สินธุ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาการเตรียมแผ่นเซลลูโลสโปร่งแสงจากเซลลูโลสแอโรเจลแบบเปียก ซึ่งเตรียมด้วยระบบโซเดียมไฮดรอกไซด์ยูเรีย ตามด้วยการแลกเปลี่ยนตัวทำละลายหลายๆรอบ โดยขั้นตอนแรกเริ่มด้วยการเตรียมสารละลายเซลลูโลสผักตบชวาหลังจากนั้นเทลงในแม่แบบพลาสติก สารละลายจะถูกทิ้งไว้จนกลายเป็นของแข็ง หลังจากนั้นทำการแลกเปลี่ยนตัวทำละลายด้วยน้ำเพื่อกำจัดโซเดียมไฮดรอกไซด์ยูเรียออกอย่างสมบูรณ์เพื่อที่จะได้แผ่นแอโรเจลแบบเปียกออกมา หลังจากนั้นทำการเติมพอลิเมอร์ที่มีค่าดัชนีการหักเหที่ใกล้เคียงกับเซลลูโลสลงไปในรูพรุนที่มีขนาด นาโน/ไมโครเมตร ซึ่งในงานวิจัยนี้จะใช้พอลิเมทิลเมทาคริเลท 2 ชนิด (Tg สูง และ Tg ต่ำ) ทำให้ได้แผ่นเซลลูโลสโปร่งแสงที่มีแสงส่องผ่านได้ร้อยละ 80-90 ตรงข้ามกับเซลลูโลสแอโรเจลที่มีการส่องผ่านของแสงต่ำ ประมาณร้อยละ 8.24 เท่านั้น หลังจากนั้นตรวจสอบค่าการนำความร้อน และค่าสัมประสิทธิ์การขยายตัวทางความร้อน พบว่าแผ่นโปร่งแสงที่เตรียมจากเรซินที่มีค่า Tg สูง จะมีค่าสัมประสิทธิ์การขยายตัวทางความร้อนต่ำกว่าเรซินทางการค้า (Tg ต่ำ) แสดงให้เห็นว่าอะคริลิกเรซินที่มีค่า Tg สูงจะสามารถต้านทานการเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้ดีกว่า ผลสรุปว่า แผ่นเซลลูโลสโปร่งแสงที่เตรียมจากอะคริลิกเรซินที่มีค่า Tg สูง จะมีความสามารถในการต้านทานความร้อนสูงกว่าเตรียมจากอะคริลิกเรซินที่มีค่า Tg ต่ำ


การดัดแปรไซแลนจากลำต้นข้าวโพดโดยใช้กรดซิตริก, สุชาวลี จีนาภักดิ์ Jan 2017

การดัดแปรไซแลนจากลำต้นข้าวโพดโดยใช้กรดซิตริก, สุชาวลี จีนาภักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวัสดุชนิดใหม่ที่มีความสามารถในการดักจับสารระเหยให้กลิ่นโดยนำมาจากของเหลือทิ้งทางการเกษตร โดยสกัดไซแลนจากลำต้นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ด้วยสารละลายด่าง ผลการวิเคราะห์หมู่ฟังก์ชันด้วยเทคนิคฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทรสโกปีแสดงให้เห็นว่าไซแลนที่สกัดได้มีหมู่ฟังก์ชันที่คล้ายคลึงกับไซแลนทางการค้า นำไซแลนที่สกัดได้มาดัดแปรด้วยปฏิกิริยาเคมีโดยใช้อัตราส่วนของไซแลนต่อกรดซิตริกเท่ากับ 1:1 1:3 1:5 1:7 และ 1:9 โดยน้ำหนัก เมื่อทดสอบระดับการแทนที่ของกรดซิตริกด้วยวิธีไทเทรตด้วยกรด-เบสพบว่าที่อัตราส่วนของไซแลนต่อกรดซิตริกเท่ากับ 1:5 โดยน้ำหนักมีระดับการแทนที่ของกรดซิตริกสูงที่สุด โดยมีค่าเท่ากับ 0.50 หรือคิดเป็นร้อยละ 26.11 นำไซแลนและไซแลนดัดแปรมาทดสอบเสถียรภาพทางความร้อนด้วยเครื่องวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักภายใต้ความร้อนพบว่า ไซแลนดัดแปรด้วยกรดซิตริกมีอุณหภูมิการสลายตัวมากกว่าไซแลนที่ยังไม่ผ่านการดัดแปร ส่วนผลการทดสอบความสามารถในการดักจับสารระเหยให้กลิ่นที่มีสภาพขั้วต่างกัน พบว่าไซแลนมีความสามารถในการดักจับสารระเหยที่มีขั้วได้ดีกว่าไซแลนดัดแปร และพบว่าไซแลนดัดแปรที่อัตราส่วนของไซแลนต่อกรดซิตริกเท่ากับ 1:1 มีความสามารถในการดักสารระเหยให้กลิ่นที่มีโครงสร้างเป็นไฮโดรคาร์บอนได้ดีกว่าไซแลน สำหรับผลการทดสอบความต้านทานแบคทีเรีย พบว่าไซแลนดัดแปรที่อัตราส่วนของไซแลนต่อกรดซิตริกเท่ากับ 1:3 นั้นสามารถยับยั้งแบคทีเรีย Bacillus subtillis และ Escherichia coli ได้ถึงร้อยละ 84.24 และร้อยละ 79.56 ตามลำดับ จากนั้นนำไซแลนและไซแลนดัดแปรมาทดสอบความต้านทานอนุมูลอิสระด้วยวิธี 1,1-Diphenyl-2-picryl-hydrazyl assay หรือ DPPH assay พบว่าไซแลนดัดแปรอัตราส่วนของไซแลนต่อกรดซิตริกเท่ากับ 1:1 มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด โดยมีค่า IC50 หรือความเข้มข้นของสารที่ต่ำที่สุดที่สามารถต้านอนุมูลอิสระได้ร้อยละ 50 เท่ากับ 0.56 จากผลการทดลองพบว่าไซแลนและไซแลนดัดแปรมีศักยภาพในการนำมาพัฒนาเพื่อการใช้งานในด้านการดักจับกลิ่นได้


การใช้สารดูดซับรังสียูวีและสารต้านอนุมูลอิสระสำหรับการปรับปรุงความคงทนต่อแสงของสีธรรมชาติบนเส้นด้ายฝ้ายและไหม, สุรพันธ์ เปล่งเจริญศิริชัย Jan 2017

การใช้สารดูดซับรังสียูวีและสารต้านอนุมูลอิสระสำหรับการปรับปรุงความคงทนต่อแสงของสีธรรมชาติบนเส้นด้ายฝ้ายและไหม, สุรพันธ์ เปล่งเจริญศิริชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่ย้อมด้วยสีย้อมธรรมชาติเป็นที่นิยมมากทั้งในและต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์ที่ใช้สีจากธรรมชาติยังคงมีปัญหาด้านความคนทนของสีต่อแสงซึ่งเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่สำคัญในการใช้งานในชีวิตประจำวัน งานวิจัยนี้แสดงการศึกษาสมบัติด้านความคงทนต่อแสงของสีย้อมธรรมชาติบนเส้นด้ายฝ้ายและไหมจากแหล่งให้สี 4 ชนิด ได้แก่ ครั่ง (สีแดงอมม่วง) เปลือกของต้นมะพูด (สีเหลือง) ดอกดาวเรือง (สีเหลือง) และเมล็ดคำแสด (สีส้ม) โดยศึกษาตั้งแต่การสกัดสีย้อมธรรมชาติ กระบวนการย้อมสีบนเส้นด้ายฝ้ายและไหม การมอร์แดนต์ วิธีการมอร์แดนต์ (พร้อม/หลังการย้อม) และทดสอบความคงทนของสีต่อแสงเพื่อคัดเลือกสีบนเส้นด้ายที่มีความคงทนต่อแสงน้อยที่สุดมาปรับปรุงให้เส้นด้ายย้อมสีมีความคงทนต่อแสงมากขึ้นหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงของสีน้อยลง จากผลการวิจัยพบว่าการย้อมสีธรรมชาติจำเป็นต้องมีการมอร์แดนต์ โดยที่การย้อมสีจากครั่งและเปลือกของต้นมะพูดใช้การมอร์แดนต์พร้อมการย้อม การย้อมสีจากดอกดาวเรืองและเมล็ดคำแสดใช้การมอร์แดนต์หลังการย้อม จากการศึกษาความคงทนของสีต่อแสงของเส้นด้ายฝ้ายและไหมย้อมสีธรรมชาติทั้ง 4 ชนิด พบว่าสีย้อมจากเมล็ดคำแสดมีความคงทนของสีต่อแสงน้อยที่สุด ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงทำการปรับปรุงความคงทนของสีย้อมจากเมล็ดคำแสดต่อแสงบนเส้นด้ายฝ้ายและไหมโดยวิธีการตกแต่งสำเร็จต่างๆ (ตกแต่งสำเร็จก่อน/พร้อม/หลังการย้อม) ด้วยสารดูดซับรังสียูวีทางการค้า Rayosan®C Paste และสารต้านอนุมูลอิสระชนิดไวตามินซี (กรดแอสคอร์บิก) ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า การตกแต่งสำเร็จหลังการย้อมบนเส้นด้ายฝ้ายและไหมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระความเข้มข้น 20 กรัมต่อลิตร และ 10 กรัมต่อลิตร ตามลำดับ ทำให้สีบนเส้นด้ายมีการเปลี่ยนแปลงหลังการตกแต่งสำเร็จน้อยที่สุดและช่วยทำให้ความคงทนของสีต่อแสงเพิ่มขึ้นมากที่สุด การทดสอบสมบัติด้านอื่นๆ ของเส้นด้าย พบว่าการตกแต่งสำเร็จทำให้สมบัติด้านความคงทนต่อการซักของสีบนเส้นด้ายดีมากขึ้น แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อความแข็งแรงและร้อยละการยืดตัวของเส้นด้าย


การปรับปรุงคุณภาพน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วด้วยการสกัดด้วยตัวทำละลาย, พาทินี พิพัฒน์กิจโชติ Jan 2017

การปรับปรุงคุณภาพน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วด้วยการสกัดด้วยตัวทำละลาย, พาทินี พิพัฒน์กิจโชติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การปรับปรุงคุณภาพน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วด้วยการสกัดด้วยตัวทำละลายเป็นกระบวนการแยกสิ่งปนเปื้อนออกจากน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน โดยน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานจะละลายในตัวทำละลายและตัวทำละลายจะทำลายเสถียรภาพระหว่างน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานและสิ่งปนเปื้อนเป็นผลทำให้สิ่งปนเปื้อนตกตะกอน ส่งผลทำให้ความหนืดของน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานดีขึ้น งานวิจัยนี้ใช้ตัวทำละลาย 4 ชนิด ได้แก่ เฮกเซน บิวทานอล เฮกซานอล และเฮกเซนผสมเฮกซานอล อัตราส่วนตัวทำละลายต่อน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วเป็น 1:1 ถึง 5:1 อุณหภูมิในการสกัด ได้แก่ อุณหภูมิห้อง 40°C 50°C และ 60°C และการเติมและไม่เติมโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ โดยพารามิเตอร์ที่เปรียบเทียบได้แก่ ปริมาณโลหะ น้ำ และเถ้า จากการศึกษาพบว่าตัวทำละลายที่เหมาะสมในการปรับปรุงคุณภาพน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้ว คือ เฮกเซนและบิวทานอล โดยภาวะที่เหมาะสมในการใช้เฮกเซนเป็นตัวทำละลาย คือ อัตราส่วนตัวทำละลายต่อน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้ว 4:1 อุณหภูมิในการสกัดคือ อุณหภูมิที่ 40°C จะได้น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานที่สกัดได้ที่มีความหนืดอยู่ในมาตรฐานน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานกรุ๊ป-1 150SN (28-33 cSt) และภาวะที่เหมาะสมในการใช้บิวทานอลเป็นตัวทำละลาย คือ อัตราส่วนตัวทำละลายต่อน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้ว 3:1 อุณหภูมิในการสกัดคือ 40°C จะได้น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานที่สกัดได้ที่มีความหนืดอยู่ในมาตรฐานน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานกรุ๊ป-1 150SN นอกจากนี้ยังพบว่าการใช้บิวทานอลเป็นตัวทำละลายจะได้น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานที่สกัดได้ที่มีปริมาณสิ่งปนเปื้อน ได้แก่ น้ำ โลหะ และเถ้า ต่ำกว่าน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานที่สกัดได้โดยใช้เฮกเซนเป็นตัวทำละลาย


การดูดดึงไซยาไนด์ แมงกานีส และสารหนูด้วยพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่ จากกากโลหกรรมเหมืองแร่ทองคำ, เรวดี ศรีนุ้ยคง Jan 2017

การดูดดึงไซยาไนด์ แมงกานีส และสารหนูด้วยพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่ จากกากโลหกรรมเหมืองแร่ทองคำ, เรวดี ศรีนุ้ยคง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยต่อการดูดดึงไซยาไนด์ แมงกานีส และสารหนูด้วยพืชใบเลี้ยง เดี่ยว ได้แก่ หญ้าแฝก และไผ่ป่า และพืชใบเลี้ยงคู่ ได้แก่ กระถินเทพา และกระถินยักษ์ บริเวณบ่อเก็บกากโลหกรรม จากการทำเหมืองแร่ทองคำ และศึกษาปริมาณการดูดดึงและสะสมไซยาไนด์ แมงกานีส และสารหนู ในส่วนต่างๆ ของพืชทดลอง คือ ส่วนเหนือดิน และส่วนใต้ดิน สำหรับพืชใบเลี้ยงเดี่ยว และส่วนราก ลำต้น และใบ สำหรับพืชใบเลี้ยงคู่ รวมทั้งศึกษาปริมาณการสะสมไซยาไนด์ แมงกานีส และสารหนูในกากโลหกรรม แบ่งชุดการทดลองออกเป็นการปลูกพืชในพื้นที่แปลงทดลอง (In-situ) และการปลูกพืชในโรงเรือนทดลอง (Ex-situ) โดยได้ทำการศึกษา 180 วัน และทำการเก็บตัวอย่างทุกๆ 30 วัน ผลการศึกษาปริมาณการสะสมไซยาไนด์ แมงกานีส และสารหนูในกากโลหกรรม พบว่า มีแนวโน้มของการสะสมลดลงเมื่อระยะเวลาของการทดลองเพิ่มขึ้นทั้งในชุดทดลองในพื้นที่แปลงทดลอง และชุดทดลองในโรงเรือนทดลอง ส่วนปริมาณการดูดดึงและสะสมไซยาไนด์ แมงกานีส และสารหนู ในส่วนต่างๆ ของพืชทดลอง ที่ระยะเวลาของการทดลอง 180 วัน พบว่า หญ้าแฝก และกระถินเทพา ชุดทดลองในโรงเรือนทดลองที่ใส่ปุ๋ยเคมี มีความสามารถในการดูดดึงสารหนู แมงกานีส และไซยาไนด์ได้สูงกว่าชุดทดลองในโรงเรือนทดลองที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ และชุดทดลองในพื้นที่แปลงทดลอง โดยพบว่า หญ้าแฝกสามารถดูดดึงและสะสมสารหนูและแมงกานีสไว้ในส่วนใต้ดินสูงที่สุด เท่ากับ 7.07 และ 17.03 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ และสามารถดูดดึงและสะสมไซยาไนด์ได้สูงที่สุดในส่วนเหนือดิน เท่ากับ 6.43 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สำหรับกระถินเทพาสามารถดูดดึงและสะสมสารหนูและแมงกานีสไว้ในส่วนใบ เท่ากับ 5.64 และ 40.51 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ และสามารถดูดดึงและสะสมไซยาไนด์ได้สูงที่สุดในส่วนลำต้น เท่ากับ 0.24 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ดังนั้น กระถินเทพาซึ่งเป็นพืชใบเลี้ยงคู่ และหญ้าแฝกซึ่งเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว เป็นพืชที่มีศักยภาพสูงในการดูดดึงสารพิษ หรือช่วยในการลดปริมาณโลหะหนักดังกล่าวได้ ประกอบกับพืชดังกล่าวเป็นพืชท้องถิ่น (Native Plants) ดังนั้นผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาดินปนเปื้อนไซยาไนด์แมงกานีส และสารหนูในพื้นที่อื่นๆ ได้ และควรเพิ่มประสิทธิภาพการดูดดึงและสะสมโลหะหนักด้วยการใส่ปุ๋ยเคมี


การบำบัดสารหนูที่ปนเปื้อนในน้ำด้วยแมงกานีสออกไซด์และโครงข่ายเหล็ก-อินทรีย์ที่เคลือบบนวัสดุรองรับ, นิชาภา สุพรรณฝ่าย Jan 2017

การบำบัดสารหนูที่ปนเปื้อนในน้ำด้วยแมงกานีสออกไซด์และโครงข่ายเหล็ก-อินทรีย์ที่เคลือบบนวัสดุรองรับ, นิชาภา สุพรรณฝ่าย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการกำจัดสารหนูด้วยกระบวนการร่วมระหว่างปฏิกิริยาออกซิเดชันและการดูดซับภายใต้ระบบการไหลต่อเนื่อง โดยใช้แมงกานีสออกไซด์ (K-OMS2) เป็นตัวออกซิไดซ์ As(III) เป็น As(V) แล้วดูดซับ As(V) ที่เปลี่ยนรูปจาก As(III) ด้วยโครงข่ายเหล็ก-อินทรีย์ (Fe-BTC) K-OMS2 และ Fe-BTC ที่ใช้งานในคอลัมน์จะถูกขึ้นรูปด้วยการเคลือบบนผิวเม็ดเซรามิกโดยเทคนิคการเขย่าหมุนรอบเชิงกล ในอัตราส่วน K-OMS2 และ Fe-BTC ต่อเม็ดเซรามิก 1:10 1:50 และ 1:100 โดยน้ำหนัก ผลการศึกษาสมบัติทางกายภาพและเคมีด้วยเทคนิค SEM-EDS และ Micro-XRF พบว่าอัตราส่วนการเคลือบ 1:50 เป็นอัตราส่วนที่เหมาะที่สุด การหาประจุที่ผิว พบว่าสารทั้งสองชนิดมีประจุที่ผิวเป็นลบที่ pH 6-8 โดยมีค่า pHpzc= 5 ผลการทดสอบการออกซิเดชันของ As(III) ด้วย K-OMS2 และการดูดซับ As(V) แบบกะ โดย Fe-BTC ที่ pH 5 6 7 และ 8 ให้ประสิทธิภาพสูงสุดที่ pH 5 และ 8 ตามลำดับ โดยมีจลนพลศาสตร์เป็นแบบ Pseudo second order และ Pseudo first order ตามลำดับ ส่วนการทดสอบภายใต้ระบบการไหลต่อเนื่อง พบว่าภาวะทดสอบเหมาะสมในทั้งสองคอลัมน์ ได้แก่ ความเข้มข้นเริ่มต้น As(V) 5 mg/L ความยาวเบด 15 cm และอัตราการไหล 5 mL/min โดยเมื่อทำการศึกษาทีละคอลัมน์ K-OMS2 ยังคงมีประสิทธิภาพในการออกซิไดซ์ As(III) สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ 3 รอบ และมีการชะละลายของไอออน Mn และ K ที่ไม่เกินค่ามาตรฐานน้ำใต้ดิน ส่วนคอลัมน์ Fe-BTC มีจลนพลศาสตร์การดูดซับเข้ากับแบบจำลองของ …


Pulmonary Lesion Texture Classification From Endobronchialultrasonogram Using Texture Analysis, Banphatree Khomkham Jan 2017

Pulmonary Lesion Texture Classification From Endobronchialultrasonogram Using Texture Analysis, Banphatree Khomkham

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aims to develop a method to help distinguish the appearance of pulmonary lesions from a high-frequency sound (Endobronchial Ultrasound—EBUS) image. According to medical information, the appearance of smooth or rough texture of a lesion can significantly indicate that it is malignant or benign. In this study, the features that are used in the classification are divided into 3 groups: group 1 consists of 22 standard features, group 2 consists of the proposed features extracted from the weighted sum of the upper and lower GLCM which consists 12 features, and group 3 is the combination of group 1 and …


Explicit Formula For Conditional Expectations Of Product Of Polynomial And Exponential Function Of Affine Transform Of Extended Cox-Ingersoll-Ross Process, Phiraphat Sutthimat Jan 2017

Explicit Formula For Conditional Expectations Of Product Of Polynomial And Exponential Function Of Affine Transform Of Extended Cox-Ingersoll-Ross Process, Phiraphat Sutthimat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this thesis an explicit formula for conditional expectations of the product of polynomial and exponential function of an affine transform is derived under the extended function of an transform is derived under the extended Cox-Ingersoll-Ross (ECIR) process. By applying the Feynman-Kac theorem, the explicit formula is revealed from the solution of the corresponding partial differential equation. To support the validity of the obtained results, we, herein, conduct Monte Carlo simulations to investigate the accuracy of the explicit formula.


Mathematical Models For Treatment Time Of Pathogenic Infection In Blood After Antibiotics Administration, Panit Suavansri Jan 2017

Mathematical Models For Treatment Time Of Pathogenic Infection In Blood After Antibiotics Administration, Panit Suavansri

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective in this thesis is to create a mathematical model to predict the period of time needed to clear out the pathogens from the bloodstream after the patient receives certain antibiotics. The result will lead to the time where the drug administration can be terminated. This research is to compute the densities of bacteria and malaria in bloodstream at any given time and to compare this level with the actual results of the patient's blood sampling, which was sent to the laboratory for investigation. The laboratory process of the blood sampling will usually take more than 2-3 days to …


Catalytic Hydrogenation Of Carbon Dioxide For Hydrocarbon Synthesis, Nuttakorn Boreriboon Jan 2017

Catalytic Hydrogenation Of Carbon Dioxide For Hydrocarbon Synthesis, Nuttakorn Boreriboon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Catalytic hydrogenation can turn CO2 into hydrocarbon fuel. The development of the catalysts for CO2 hydrogenation has become important since the catalysts are critical for selective production of more higher hydrocarbons for practical application. In this work, the titania supported monometallic and bimetallic Fe-M (M = Co and Cu) catalysts were synthesized and tested for CO2 hydrogenation at 573 K and 1.1 MPa. Among the monometallic catalysts (Fe, Co and Cu/TiO2), only Fe/TiO2 catalyst exhibited some selectivity to higher hydrocarbons, while Co/TiO2 and Cu/TiO2 catalysts were highly selective only to CH4 and CO, respectively. The addition of a small amount …


Synthesis Of Bi- And Trifunctional Mesoporous Silica-Based Catalyst And Application In One-Pot Cascade Reactions, Apichat Klayanon Jan 2017

Synthesis Of Bi- And Trifunctional Mesoporous Silica-Based Catalyst And Application In One-Pot Cascade Reactions, Apichat Klayanon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This work reports the synthesis and full characterization of bifunctional mesoporous silica supported acid (-SO3H)-base (-NH2) catalysts and trifunctional mesoporous silica supported acid-base-metal catalysts as well as their applications. A series of bifunctional catalysts were synthesized with different site separations, acid loadings, base loadings and types of aminosilane, namely N2SA2, SA0.5N0.5, SA0.5N2, SA1N2, SA2N2, SA0.5N4, SA0.5NN4 and SA0.5NNN4, via a co-condensation and post-synthetic grafting methods and were characterized by XRD, FT-IR, N2 adsorption-desorption, SEM, TEM, TGA and XPS techniques. The well-ordered hexagonal mesoporous structure was preserved throughout the synthesis where the synthesized materials exhibited small kidney-bean-shaped rod and highly ordered …


Development Of Microfluidic Analytical Device For Detection Of Sulfur-Containing Compounds Using Raman Spectroscopy, Duangtip Lawanstiend Jan 2017

Development Of Microfluidic Analytical Device For Detection Of Sulfur-Containing Compounds Using Raman Spectroscopy, Duangtip Lawanstiend

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this work, microfluidic systems coupled with Raman detection for analytical applications were developed using both off-chip and on-chip synthesized nanoporous Ag microstructures (np-AgMSs) as SERS substrates. Off-chip synthesized np-AgMSs were used as on-chip SERS substrates for determination of glutathione (GSH) using a reversed reporting technique. The np-AgMSs were drop casted onto the cross channel of a microfluidic device. R6G (a Raman reporter) interacted with the embedded np-AgMSs in the microchannel to form R6G-np-AgMSs which provided high SERS signal. Then, R6G in the R6G-np-AgMSs complex was replaced by GSH, causing the decrease in SERS signal which was related to the …


Chemical Constituents From The Roots Of Calophyllum Calaba L., Fuengfa Laopian Jan 2017

Chemical Constituents From The Roots Of Calophyllum Calaba L., Fuengfa Laopian

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Phytochemical investigation of the CH2Cl2 extract from the roots of C. calaba let to the isolation of three new xanthone derivatives, namely calaxanthones A-C (1-3), along with twenty nine known xanthones (4-32). The structures of all isolated compounds were fully characterized using spectroscopic data (1D and 2D NMR) as well as comparison with the previous literature data. Moreover, all isolated compounds were assessed for their in vitro cytotoxicity against the KB, HeLa S-3, HT29, MCF-7 and HepG2 human cancer cell lines. The tested compounds mostly showed moderate to inactive against these five cell lines, except compounds 3 showed potent cytotoxicity …


Synthesis And Optical Properties Of Pyrrolidinyl Peptide Nucleic Acid Carrying Fluorescence Nucleobases, Duangrat Nim-Anussornkul Jan 2017

Synthesis And Optical Properties Of Pyrrolidinyl Peptide Nucleic Acid Carrying Fluorescence Nucleobases, Duangrat Nim-Anussornkul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Pyrrolidinyl peptide nucleic acid bearing D-prolyl-2-aminocyclopentanecarboxylic acid backbone (acpcPNA) is a nucleic acid mimic that shows superior binding affinity, stability and specificity to complementary DNA than the original PNA. This research focuses on the development of hybridization responsive fluorescence acpcPNA probes bearing fluorescent nucleobases that exhibit fluorescence increase upon hybridization to a specific nucleobase in the DNA target. The acpcPNA carrying the fluorescent nucleobases were synthesized via two different approaches, namely 1) pre-synthesized fluorescence PNA monomer as a building block that was subsequently incorporated into the PNA by solid phase synthesis and 2) post-synthetic modification of acpcPNA carrying a reactive …


Synthesis Of Cationic Cdse/Zns Quantum Dots And Applications In Dna Detection, Jamornpan Yangcharoenyuenyong Jan 2017

Synthesis Of Cationic Cdse/Zns Quantum Dots And Applications In Dna Detection, Jamornpan Yangcharoenyuenyong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Semiconductor nanoparticles or quantum dots (QDs), especially CdSe/ZnS QDs, are of great interest in bioapplications due to their unique size-dependent optical properties and photo-stability. One of the plausible applications of QDs is DNA detection using QDs as a novel fluorescence tool for sensing of DNA using the electrostatic interaction between negative charge of DNA and positive charge on QDs surface. In this work, CdSe/ZnS QDs were synthesized using a hot-solution decomposition process resulting in hydrophobic CdSe/ZnS QDs. To obtain water-soluble and cationic QDs, the surface of QDs were modified with poly(ethylene)imine (PEI) via micelle formation. Because of hydrophilicity of PEI …


Enantiomeric Separation Of Alcohols By Gas Chromatography And Qspr Study To Predict Enantiomeric Separation, Kittiyakorn Toboonpha Jan 2017

Enantiomeric Separation Of Alcohols By Gas Chromatography And Qspr Study To Predict Enantiomeric Separation, Kittiyakorn Toboonpha

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Enantiomeric separation of 55 alcohols (13 aliphatic alcohols and 42 alcohols of aromatic structure) was studied by gas chromatography using octakis(2,3-di-O-acetyl-6-O-tert-butyldimethylsilyl)-γ-CD (or GSiAc) as a chiral stationary phase. For separation under temperature program, 44 alcohols could be enantioseparated. The only aliphatic alcohol that could be completely separated into their enantiomers was 2-hexanol. Twenty-five alcohols, based on 1-phenylethanol, were selected to study under isothermal conditions. For halogen-substituted 1-phenylethanols, temperature strongly affected enantioselectivities of para-substituted alcohols. However, temperature affected enantioselectivities of methyl- or trifluoromethyl-substituted alcohols at ortho-position more than other positions. For para-substituted alcohols, enantioseparations could be improved with the substituent in …


Adsorption Of Paraquat Herbicide In Water Using Humic Acids Supported On Sludge From Tap Water Production Entrapped In Alginate Beads, Munlika Suksai Jan 2017

Adsorption Of Paraquat Herbicide In Water Using Humic Acids Supported On Sludge From Tap Water Production Entrapped In Alginate Beads, Munlika Suksai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Adsorption of paraquat in water using humic acids supported on sludge from tap water production or alum sludge entrapped in alginate beads has been studied. The adsorbent was characterized by Fourier transform infrared spectroscopy showing that it composes of humic acids, alum sludge and alginate in beads. Afterwards, the type and amount of adsorbents were studied including bare alginate beads, humic acids-alginate beads, alum sludge-alginate beads, alum sludge-humic acids-alginate beads-1 and alum sludge-humic acids-alginate beads-2. These adsorbents were subjected to the paraquat adsorption study in aqueous solutions. The results showed that all adsorbents can adsorb paraquat, especially the alum sludge-humic …


New Edta-Based Drug Delivery Carrier, Nathapong Pangkom Jan 2017

New Edta-Based Drug Delivery Carrier, Nathapong Pangkom

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Most of the anticancer drugs are insoluble in water, unspecified to target site and degradable under acidic conditions in the stomach, resulting in decreasing their activities and increasing the side effects. To overcome these problems, drug delivery carriers were used to overcome these problems. Most of the drug delivery carriers were prepared by polymeric micelle systems. However, that of polymeric micelle systems are difficult to synthesize into the random polymers, where different units are aligned on a polymer chain in a random manner, immature drug-incorporation technology and possible chronic liver toxicity due to slow metabolic process. Therefore, the enhancement of …


Preparation Of Rigid Polyurethane Foams Catalyzed By Metal-Alkanolamine Complexes, Nuttapong Jongjitsatitmun Jan 2017

Preparation Of Rigid Polyurethane Foams Catalyzed By Metal-Alkanolamine Complexes, Nuttapong Jongjitsatitmun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this research, the catalysts for preparation of rigid polyurethane (RPUR) foams were developed in order to reduce odor as compared with commercial catalyst as dimethyl-cyclohexylamime (DMCHA). The investigated catalysts were metal-alkanolamine complexes in ethylene glycol solution, namely Cu(OAc)₂(EA)₂ and Zn(OAc)₂(EA)₂, where OAc = acetate and EA = ethanolamine. These complexes were further used as catalysts in the preparation of rigid polyurethane foams without purification. Characterization of metal-alkanolamine complexes were done using UV-visible spectroscopy, FTIR spectroscopy and mass spectrometry. Physical and mechanical properties of RPUR foams were studied. The reaction times of the foam formation were studied. The data were …


Characterization Of Aroma-Active Volatile Compounds In Tom Yum Soup By Gas Chromatography-Mass Spectrometry Combined With Sensory Evaluation Techniques, Pannipa Janta Jan 2017

Characterization Of Aroma-Active Volatile Compounds In Tom Yum Soup By Gas Chromatography-Mass Spectrometry Combined With Sensory Evaluation Techniques, Pannipa Janta

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Gas chromatography-mass spectrometry/olfactometry coupled with headspace-solid phase microextraction (HS-SPME-GC-O/MS) was applied for the characterization of volatile compounds in Tom Yum soup and its individual ingredients including lemongrass, kaffir lime leaf, chili, fish sauce and lime juice. Using HS-SPME with a 50/30 µm DVB/CAR/PDMS fiber and an extraction temperature of 40 °C for 50 min, along with an HP-5MS capillary column programmed from 50 to 200 °C at 3 °C/min and an MS electron impact ionization at -70 eV, 101 peaks in the HS-SPME-GC-MS chromatogram of Tom Yum soup were detected, and 96 volatile compounds were identified including alcohols, aldehydes, esters, …


Colorimetric Detection Of Cyanide Ions Using Complex Formation And Ctab-Coated Silica, Patita Salee Jan 2017

Colorimetric Detection Of Cyanide Ions Using Complex Formation And Ctab-Coated Silica, Patita Salee

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research presents a new colorimetric method of cyanide detection in solution and water samples based on the extraction of dicyano-bis-(1,10-phenanthroline)-iron(II) complex onto CTAB-coated silica. The complex was formed at pH 10 by using phosphate buffer via the complex formation between tris-(1,10-phenanthroline)-Iron(II) (ferroin) with cyanide ions in CTAB media. When the complex was extracted onto CTAB-coated silica, it resulted in a color change of the material from pale yellow to purple. The changing of color corresponded to cyanide concentration which could be observed by naked-eyes and the color intensity was determined by Image J. The effects of various parameters were …


Fabrication Of Silver Nanofilament Based On Silver Sulfide Solid Electrolyte For Tip-Enhanced Raman Spectroscopy, Phichaya Fueaimi Jan 2017

Fabrication Of Silver Nanofilament Based On Silver Sulfide Solid Electrolyte For Tip-Enhanced Raman Spectroscopy, Phichaya Fueaimi

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Surface science analysis is the crucial fundamental of nanoscale study. The techniques combined morphological and compositional study on the surface are the promising technique. Tip-enhanced Raman spectroscopy (TERS) is the coupling of atomic force microscopy (AFM) and Raman spectroscopy which give the 3D- images and bonding information in ambient conditions. Furthermore, TERS tip is an ideal tool for the high enhancement and spatial resolution. Nowadays, TERS tip fabrication is still challenged. There are three main challenges that are high enhancement factor of the TERS tip, reproducibility of the tip and in-depth understanding of TERS process. We introduce the simple method …


Fluoride Encapsulation In Calcium Matrix, Piyada Dissara Jan 2017

Fluoride Encapsulation In Calcium Matrix, Piyada Dissara

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Fluoride ion (F-) is an important ingredient in a toothpaste. It protects caries by reacting with hydroxyapatite [Ca10(PO)4(OH)2] in tooth enamel to form insoluble fluorapatite [Ca10(PO)4(F)2]. Unfortunately, F- also easily interacts with calcium species in a toothpaste, and then it is deactivated. In this work, we focus on the encapsulation of F- in a shellac bead by using a simple extrusion method. To construct shellac beads, an aqueous solution of F- is injected into an ethanolic solution of shellac. The shellac beads are formed due to insolubility of shellac in water. Then, the beads are transferred into DI water for …


Colorimetric Detection Of Cysteine Using Silver-Hydroxyapatite Nanoparticles, Retno Prasetia Jan 2017

Colorimetric Detection Of Cysteine Using Silver-Hydroxyapatite Nanoparticles, Retno Prasetia

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Cysteine is a sulphur-containing amino acid that acts as an effective antioxidant in human body. An excessive amount of cysteine leads to cystine formation that causes the stone formation in kidney, bladder, and ureters. A new method was developed for detection of cysteine in urine samples based on the aggregation of silver nanoparticles (AgNPs) on Hydroxyapatite (HAp) in the presence of cysteine. Transmission Electron Microscope (TEM) was used to observe the morphology of prepared HAp and AgNPs on HAp. The presence of cysteine of different concentrations resulted in different cluster sizes of AgNPs on HAp and hence different solid color. …


Synthesis And Supramolecular Polymerization Of Peptide Nucleic Acid-Containing Monomer, Ruttiyakorn Donthongkwa Jan 2017

Synthesis And Supramolecular Polymerization Of Peptide Nucleic Acid-Containing Monomer, Ruttiyakorn Donthongkwa

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Nucleobase-induced self-assembly interaction, have gained much attention as potential non-covalent driving force for generating interesting assembled structures. Pyrrolidinyl peptide nucleic acid (PNA), with (2′R,4′R)-prolyl/(1S,2S)-2-aminocyclopentanecarboxylic acid backbone (acpcPNA) has shown the recognition with complementary nucleic acids following Watson-Crick base rules. Another PNA system having different stereochemistry on proline ring with a backbone of (2′R,4′S)-prolyl/(1S,2S)-2-aminocyclopentanecarboxylic acid backbone (epi-acpcPNA) can undergo self-pairing. Here in this work, both acpcPNA- and epi-acpcPNA-functionalized monomers consisting of two PNA segments joined together by a flexible polyethylene glycol linker were prepared on solid support, purified by high performance liquid chromatography (HPLC) and characterized by MALDI-TOF mass spectrometry. The …


Synthesis Of Copper-Selenium Complex, Sakvarit Nitrathorn Jan 2017

Synthesis Of Copper-Selenium Complex, Sakvarit Nitrathorn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research proposed to synthesize metal-organic frameworks (MOFs) from selenium-containing ligands and to study crystal structures of synthesized MOFs. MOFs can be designed in many ways, depended on types of metal center and linkage ligands. Selenium-containing organic molecules were rarely found, but they were a good choice for medical field. In this work, we tried to synthesize selenium-containing ligands from Schiff base reaction and Friedel-Craft acylation. However, the reactions were unsuccessful. In the other hand, we synthesized a coordination compound from commercial ligands, selenite ion from sodium selenite and seleno-L-cystine, which is amino acid. The experiment results showed that dark …