Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Physical Sciences and Mathematics Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 151 - 180 of 2268

Full-Text Articles in Physical Sciences and Mathematics

คลังข้อมูลและระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับการตรวจสอบภายในของธนาคารพาณิชย์, ชนนิกานต์ องอาจอมร Jan 2022

คลังข้อมูลและระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับการตรวจสอบภายในของธนาคารพาณิชย์, ชนนิกานต์ องอาจอมร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศได้มีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตและสังคมของมนุษย์ในเกือบทุกด้านการที่นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการดำเนินธุรกิจจะเป็นการสร้างโอกาสและช่วยให้การดำเนินงาน มีความสะดวก รวดเร็ว และตอบสนองกับรูปแบบการดำเนินงานขององค์กรในยุคดิจิทัล ส่วนงานตรวจสอบภายในซึ่งถือว่าเป็นส่วนงานหนึ่งที่เป็นกลไกสำคัญสำหรับธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ที่จะทำให้องค์กรเจริญเติบโตอย่างมั่นคงและน่าเชื่อถือนั้น มีวัตถุประสงค์ที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลในการดำเนินงานของธนาคารมาจัดเก็บให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลให้สะดวกต่อการนำไปใช้ในการวิเคราะห์ ในการตัดสินใจวางแผนการตรวจสอบภายในให้เป็นไปอย่างทันต่อเหตุการณ์ โดยมีการออกแบบ การสร้างรายงาน ที่มีความยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน ที่เกี่ยวข้อง โครงการ “คลังข้อมูลและระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับการตรวจสอบภายในของธนาคารพาณิชย์” นี้ประกอบด้วย 5 ระบบหลัก ได้แก่ ระบบวิเคราะห์ประเด็นข้อตรวจพบ ระบบวิเคราะห์ความคิดเห็นจากลูกค้าของธนาคาร ระบบวิเคราะห์เหตุการณ์ความเสียหายที่เกิดจากการปฏิบัติงาน ระบบวิเคราะห์เหตุการณ์ผิดปกติด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้รับตรวจ โดยระบบสารสนเทศนี้ถูกพัฒนาขึ้นโดยใช้ระบบจัดการฐานข้อมูล MS SQL Server Version 2019 และเครื่องมือต่าง ๆ ของชุดโปรแกรม Tableau Desktop Professional Edition Version 2020.4


คลังข้อมูลและระบบสนับสนุนการตัดสินใจของธุรกิจศูนย์รับดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยพักฟื้น, ชัชสุดา เมืองมูล Jan 2022

คลังข้อมูลและระบบสนับสนุนการตัดสินใจของธุรกิจศูนย์รับดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยพักฟื้น, ชัชสุดา เมืองมูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยประชากรผู้สูงอายุในปี 2565 นั้น คิดเป็น 18.3% ของประชากรทั้งหมด ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุจึงเป็นหนึ่งในธุรกิจที่เข้ามามีบทบาทอย่างยิ่งต่อสังคมไทยในปัจจุบัน มีหน้าที่ในการดูแลด้านสุขภาพให้กับผู้สูงอายุเพื่อดูแล ป้องกัน และรักษาโรคภัยยามเจ็บป่วย ดังนั้นหากผู้ประกอบการ สามารถบริหารจัดการธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งเข้าใจพฤติกรรมของผู้เข้ารับบริการ จะช่วยทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจ รวมถึงสามารถรักษาผู้เข้ารับบริการเดิมไปพร้อมกับสร้างฐานผู้เข้ารับบริการใหม่ได้ ซึ่งการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้เป็นเครื่องมือในการสนับสนุนการวิเคราะห์จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถวิเคราะห์ข้อมูลในมุมมองต่าง ๆ ที่ช่วยสนับสนุนให้ผู้บริหารตัดสินใจ วางแผนเชิงกลยุทธ์ เพื่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ และสร้างความก้าวหน้าในธุรกิจได้ โครงการ "คลังข้อมูลและระบบสนับสนุนการตัดสินใจของธุรกิจศูนย์รับดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยพักฟื้น" ประกอบด้วย 5 ระบบหลัก ได้แก่ ระบบวิเคราะห์การบริการ ระบบวิเคราะห์ผู้เข้ารับบริการ ระบบวิเคราะห์ลูกจ้าง ระบบวิเคราะห์ความพึงพอใจ ระบบวิเคราะห์รายได้และกำไรขั้นต้น โดยระบบพัฒนาขึ้นบนระบบจัดการฐานข้อมูล Microsoft SQL Server 2019 โดยใช้โปรแกรม Tableau Desktop Edition 2021.3 ในการพัฒนาระบบธุรกิจอัจฉริยะ ระบบสารสนเทศจากโครงการพิเศษนี้จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถมองเห็นภาพรวมของการทำธุรกิจและแนวโน้มของธุรกิจ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจ และส่งผลให้สามารถวางแผนกลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย


การใช้การคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาโมไบล์แอปพลิเคชันสำหรับการจัดการเวลาทำงานพนักงานในธุรกิจให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ, ชีวารัช จิรสรวงเกษม Jan 2022

การใช้การคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาโมไบล์แอปพลิเคชันสำหรับการจัดการเวลาทำงานพนักงานในธุรกิจให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ, ชีวารัช จิรสรวงเกษม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 นี้ หลายองค์กรได้มีการอนุญาตให้พนักงานทำงานที่บ้าน หรือ Work From Home ได้ อย่างไรก็ตาม พนักงานไม่จำเป็นต้องทำงานที่บ้านเพียงอย่างเดียว สามารถทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา เช่น ร้านอาหาร ร้านกาแฟ เป็นต้น แต่สำหรับองค์กรที่ดำเนินธุรกิจ เวลาการเข้าออกงานเป็นหนึ่งในเรื่องที่สำคัญของการทำงาน องค์กรต้องการให้พนักงานเข้าออกงานอย่างตรงเวลา และยังคงต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบขององค์กรอย่างเคร่งครัด ระบบการจัดการเวลาทำงานของพนักงานผ่านโทรศัพท์มือถือ หรือโมไบล์แอปพลิเคชันที่สามารถลงเวลาเข้าออกงาน ขอลางาน หรือขออนุมัติการทำงานล่วงเวลาผ่านระบบ ช่วยให้การลงเวลาเข้าออกงาน การลางาน และการขออนุมัติการทำงานล่วงเวลา มีความยืดหยุ่น สะดวก และง่ายดาย ส่งผลให้พนักงานสามารถปฏิบัติงานให้แก่องค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในการพัฒนาโมไบล์แอปพลิเคชันให้มีประสิทธิภาพ และสามารถตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้งานทุกกลุ่มได้ จำเป็นต้องนำหลักการคิดเชิงออกแบบ หรือ Design Thinking มาช่วยในการทำงานเพื่อช่วยให้เกิดกระบวนการคิดและออกแบบโดยเน้นไปที่พฤติกรรมของผู้ใช้งานเป็นหลัก โดยจะต้องเข้าใจความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เพื่อนำมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาระบบได้ ระบบต้นแบบของโครงการนี้ถูกสร้างจากเครื่องมือ Figma โดยจะสามารถเป็นระบบต้นแบบโมไบล์แอปพลิเคชันสำหรับการจัดการเวลาทำงานพนักงานในธุรกิจให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถใช้งานได้จริง โดยตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานทุกกลุ่มอย่างสูงสุด


การใช้การคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันของธุรกิจที่ปรึกษากฎหมาย, ณพพงค์ เมฆมัธยันห์ Jan 2022

การใช้การคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันของธุรกิจที่ปรึกษากฎหมาย, ณพพงค์ เมฆมัธยันห์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ธุรกิจด้านกฎหมายมีแนวโน้มเติบโตมากขึ้น เนื่องจากจำนวนคดีความที่เข้าสู่การพิจารณาในชั้นศาล และจำนวนการจัดตั้งธุรกิจใหม่ที่มีมากขึ้น จึงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเติบโตของธุรกิจด้านกฎหมาย ซึ่งผู้ที่ต้องการดำเนินธุรกิจล้วนต้องใช้บริการจากธุรกิจด้านกฎหมาย เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างถูกต้อง ทำให้ธุรกิจด้านกฎหมายเข้ามามีบทบาทในฐานะผู้ให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมายแก่ผู้ประกอบธุรกิจมากขึ้น ในการดำเนินธุรกิจที่ปรึกษากฎหมายให้สามารถสร้างความพึงพอใจแก่ผู้ใช้บริการนั้น จำเป็นต้องปรับรูปแบบการทำงาน เพื่อให้รองรับปริมาณความต้องการใช้บริการที่เพิ่มสูงขึ้นและให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ธุรกิจที่ปรึกษากฎหมายจึงควรนำเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการบริหารจัดการงานกฎหมายให้ครบทุกด้าน โดยโครงการ “การใช้การคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันของธุรกิจที่ปรึกษากฎหมาย” ประกอบไปด้วยระบบต้นแบบ 6 ระบบ ได้แก่ ระบบบันทึกงานคดีความ ระบบรายงานคดี ระบบบันทึกงานกฎหมาย ระบบบริหารงานสัญญา ระบบรายงานกฎหมายใหม่ ระบบรายงานคำพิพากษาศาลฎีกา ระบบต้นแบบที่ได้จากโครงการนี้ จะช่วยทำให้การดำเนินงานของธุรกิจที่ปรึกษากฎหมาย ประสบความสำเร็จและรองรับการก้าวไปสู่โลกดิจิตอลมากขึ้น ซึ่งจะเป็นต้นแบบให้สำหรับธุรกิจที่ปรึกษากฎหมายได้เว็บแอปพลิเคชันที่ตอบโจทย์และตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น


คลังข้อมูลและระบบสนับสนุนการตัดสินใจของธุรกิจร้านอาหาร, ณัฐกัณฑ์ อึ้งกาญจนากุล Jan 2022

คลังข้อมูลและระบบสนับสนุนการตัดสินใจของธุรกิจร้านอาหาร, ณัฐกัณฑ์ อึ้งกาญจนากุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันการแข่งขันทางการค้าในธุรกิจร้านอาหารในประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นมาก ผู้บริโภคมีตัวเลือกและช่องทางการซื้อสินค้าบริโภคที่หลากหลาย เพื่อตอบสนองความต้องการได้มากขึ้น รวมไปถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลกระทบต่อการการขายอาหารของธุรกิจร้านอาหารเป็นอย่างมาก จึงทำให้ธุรกิจร้านอาหารจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่ช่วยในการวิเคราะห์และตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจ เพื่อสรรหาสินค้าและการส่งเสริมการขายที่ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคและปรับเปลี่ยนแนวทางการตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วได้ โครงการ “คลังข้อมูลและระบบสนับสนุนการตัดสินใจของธุรกิจร้านอาหาร” นี้ประกอบด้วย 5 ระบบหลัก ได้แก่ ระบบวิเคราะห์การขาย (Sales Analysis System) ระบบวิเคราะห์กําไรและต้นทุน (Profit and Cost Analysis System) ระบบวิเคราะห์การส่งเสริมการขาย (Sales Promotion Analysis System) ระบบวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า (Customer Behavior Analysis System) ระบบวิเคราะห์ประสิทธิภาพของพนักงาน (Employee Performance Analysis System) ระบบได้พัฒนาขึ้นบนระบบจัดการฐานข้อมูล Microsoft SQL Server 2019 เครื่องมือที่ใช้ในการเตรียมข้อมูลโดย Microsoft Excel 2019 และ เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาและแสดงผลธุรกิจอัจฉริยะ Tableau Desktop Professional 2022.3 ระบบที่พัฒนาขึ้นนี้จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถวิเคราะห์ข้อมูลในมุมมองต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว เพื่อนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับการดำเนินธุรกิจ และสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในธุรกิจ


การใช้การคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาโมไบล์แอปพลิเคชันของการบริหารจัดการเงินส่วนบุคคล, ธนพร สุวัฒนวงศ์ชัย Jan 2022

การใช้การคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาโมไบล์แอปพลิเคชันของการบริหารจัดการเงินส่วนบุคคล, ธนพร สุวัฒนวงศ์ชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในยุคปัจจุบัน ความมั่นคงทางการเงินเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต และเป็นตัวกำหนดคุณภาพชีวิตในอนาคต หลังการแพร่ระบาดของโรคโควิท-19 คนไทยได้ให้ความสำคัญถึงการออมเงินสำรองมากขึ้น แต่เราพบว่ายังมีคนไทยจำนวนมากที่ยังมีเงินออมไม่เพียงพอ ทั้งเงินออมระยะสั้นอย่างกรณีหากขาดรายได้กระทันหัน และเงินออมระยะยาวอย่างเงินออมเพื่อการเกษียณ เราจึงจำเป็นจะต้องหาตัวช่วยในการสร้างวินัยในการออมที่มีประสิทธิผลมากขึ้น โดยเริ่มจากการพัฒนาเครื่องมือที่สามารถบันทึกรายรับรายจ่าย และประเมินสถานะทางการเงินด้วยตนเองอย่างสะดวกสบาย และรวดเร็วกว่าเดิม ในการพัฒนาโมไบล์แอปพลิเคชันของการบริหารจัดการเงินส่วนบุคคลที่สามารถสนับสนุนการออมของคนไทยได้อย่างเต็มที่ เราจำเป็นต้องนำหลักการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking), ระบบแนะนำ (Recommendation Systems) และระบบแปลงไฟล์ภาพให้เป็นข้อความโดยอัตโนมัติ (Optical Character Recognition) มาใช้ร่วมกัน จึงจะสามารถสร้างระบบต้นแบบที่ตอบโจทย์การใช้งานของผู้ใช้งานได้มากที่สุด ระบบต้นแบบของโครงการนี้ถูกสร้างจากเครื่องมือ Figma ที่สามารถทำงานได้รวดเร็ว และใช้ได้กับทุกระบบปฏิบัติการ เหมาะสมกับการนำไปพัฒนาเพื่อให้ใช้งานได้จริงสะดวกที่สุด ซึ่งในที่สุด จะช่วยดึงศักยภาพการบริหารเงินออมด้วยตัวเองของคนไทยออกมาได้


คลังข้อมูลและระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับการขนส่งทางอากาศของประเทศไทย, นฤมล เหลืองประเสริฐ Jan 2022

คลังข้อมูลและระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับการขนส่งทางอากาศของประเทศไทย, นฤมล เหลืองประเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อุตสาหกรรมการบิน เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมระดับโลก เป็นตัวแปรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ที่เชื่อมโยงผู้คน วัฒนธรรม และธุรกิจต่างๆ ทั่วทั้งทวีปเข้าไว้ด้วยกัน และจากสถานการณ์การเติบโตของอุตสาหกรรมการบินทั่วโลกที่มีแนวโน้มสูงขึ้นตามการเติบโตของเศรษฐกิจโลกตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา อุตสาหกรรมการบินจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญในการนำระบบบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการตัดสินใจ ผ่านการแลกเปลี่ยน แบ่งปัน และบูรณาการข้อมูลร่วมกัน เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียในอุตสาหกรรมการบิน (Aviation Stakeholders) มองเห็นภาพรวม ความเชื่อมโยง และสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมการบิน เพื่อหาแนวทางการบริหารจัดการองค์กรให้เป็นไปตามกลยุทธ์และบรรลุเป้าหมายขององค์กร และเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมการบินไทยให้ทัดเทียมกับนานาชาติ โครงการ “คลังข้อมูลและระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับการขนส่งทางอากาศของประเทศไทย” ประกอบด้วย 5 ระบบหลัก ประกอบด้วย ระบบวิเคราะห์การขนส่งทางอากาศของโลก ระบบวิเคราะห์การขนส่งทางอากาศของประเทศไทย ระบบวิเคราะห์ส่วนแบ่งทางการตลาดของสายการบินและเส้นทางบิน ระบบวิเคราะห์ค่าโดยสารเส้นทางบินภายในประเทศ และระบบวิเคราะห์การรายงานความปลอดภัยการบินทั่วโลก โดยระบบได้ถูกพัฒนาขึ้นบนฐานข้อมูล Microsoft SQL Server Management Studio 18 และใช้โปรแกรม Tableau Desktop 2020.4 ในการจัดทำระบบวิเคราะห์และแสดงผลข้อมูล ระบบสารสนเทศจากโครงการพิเศษนี้จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถวิเคราะห์ข้อมูลในหลากหลายมุมมองได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว นำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจการบินได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ รวมถึงการสร้างประโยชน์โดยรวมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่อุตสาหกรรมการบินไทย


คลังข้อมูลและระบบสนับสนุนการตัดสินใจของธุรกิจให้เช่าคลังสินค้าและโรงงาน, นิธิศักดิ์ กฤตติกากุล Jan 2022

คลังข้อมูลและระบบสนับสนุนการตัดสินใจของธุรกิจให้เช่าคลังสินค้าและโรงงาน, นิธิศักดิ์ กฤตติกากุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้มีอุตสาหกรรมบางประเภทเกิดการหยุดชะงัก (Disruption) อย่างไรก็ตามจากวิกฤตินี้ก็ยังทำให้อุตสาหกรรมที่มุ่งเน้นใช้เทคโนโลยีมีโอกาสในการเติบโตมากขึ้น และยังมีผลให้ผู้ประกอบการหลาย ๆ แห่งเริ่มหันมาสนใจช่องทางการขายสินค้าทางออนไลน์มากขึ้น ทำให้เกิดความต้องการในการหาพื้นที่สำหรับจัดเก็บสินค้า ซึ่งสามารถสร้างโอกาสให้กับธุรกิจคลังสินค้าให้เช่าได้ ดังนั้นธุรกิจคลังสินค้าและโรงงานสำหรับให้เช่าจึงต้องเริ่มมองหาเครื่องมือเพื่อช่วยในการวิเคราะห์ วางแผน และตัดสินใจเพื่อให้การดำเนินธุรกิจในอนาคตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น โดยสามารถรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ และสามารถมองหาโอกาสจากสถานการณ์นั้นๆ ได้อย่างรวดเร็ว โครงการ “คลังข้อมูลและระบบสนับสนุนการตัดสินใจของธุรกิจคลังสินค้าและโรงงานสำหรับให้เช่า” นี้ประกอบด้วย 5 ระบบหลัก ได้แก่ ระบบวิเคราะห์รายได้ค่าเช่าและบริการ และกำไรขั้นต้น ระบบวิเคราะห์อัตราเช่าใช้พื้นที่ ระบบวิเคราะห์ต้นทุนการเช่าและบริการ ระบบวิเคราะห์ผู้เช่า และระบบวิเคราะห์ต้นทุนการก่อสร้าง โดยแต่ละระบบถูกพัฒนาขึ้นบนระบบจัดการฐานข้อมูล Microsoft SQL Server 2019 และใช้เครื่องมือ Tableau Desktop 2020.4 ในการจัดทำแดชบอร์ดการวิเคราะห์ ระบบที่พัฒนาขึ้นนี้จะช่วยให้ผู้บริหาร และผู้จัดการแผนกต่าง ๆ สามารถวิเคราะห์ข้อมูลในหลายมุมมอง ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ภายใต้ฐานข้อมูลเดียวกันเพื่อใช้สนับสนุนการวิเคราะห์ วางแผน และตัดสินใจเพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล รวมถึงการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ


คลังข้อมูลและระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับการบริหารจัดการการดำเนินงานของธุรกิจโลจิสติกส์, บุญจิตตรี จิตตั้งบุญญา Jan 2022

คลังข้อมูลและระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับการบริหารจัดการการดำเนินงานของธุรกิจโลจิสติกส์, บุญจิตตรี จิตตั้งบุญญา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากการเติบโตของธุรกิจออนไลน์ในปัจจุบัน ส่งผลให้การจัดส่งสินค้าจากร้านค้าออนไลน์มาสู่ผู้บริโภคเพิ่มสูงขึ้น การเติบโตของธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์จึงเพิ่มสูงขึ้นด้วยตามลำดับ โดยในปี 2565 ธุรกิจขนส่งสินค้าจะมีการเติบโตถึง 10.4% (ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี, 2565) ซึ่งการเติบโตนี้เองนำมาสู่การแข่งขันของผู้ประกอบการที่สูงยิ่งขึ้น เพราะท่ามกลางการเพิ่มขึ้นของยอดใช้บริการ การจัดส่งสินค้าได้อย่างถูกต้อง ตรงเวลา และไม่มีความเสียหาย เป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซ (e-Commerce) ใช้ในการเลือกผู้ให้บริการขนส่งโลจิสติกส์ (กรวิท ชุณห์อนุรักษ์, 2562) การรักษาระดับการให้บริการที่มีประสิทธิภาพและมาตรฐาน จึงเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความไว้วางใจให้แก่ลูกค้า นำมาสู่การรักษาลูกค้ากลุ่มเดิมไว้ และเพิ่มความสามารถในการดึงดูดลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ ให้แก่ธุรกิจ ดังนั้น จึงเป็นที่มาของการพัฒนาระบบสารสนเทศของโครงการนี้ เพื่อให้ส่วนงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานของธุรกิจโลจิสติกส์ มีเครื่องมือที่ช่วยในการวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน ทั้งในแง่ของปริมาณและประสิทธิภาพ เพื่อให้ธุรกิจสามารถพัฒนาบริการได้อย่างตรงจุด รวมถึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการตัดสินใจเพื่อให้การบริหารจัดการของธุรกิจมีความแม่นยำและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โครงการ คลังข้อมูลและระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับการบริหารจัดการการดำเนินงานของธุรกิจโลจิสติกส์ นี้ประกอบด้วย 5 ระบบหลัก ได้แก่ (1) ระบบวิเคราะห์ภาพรวมของธุรกิจ (2) ระบบวิเคราะห์ลูกค้าของธุรกิจ (3) ระบบวิเคราะห์ประสิทธิภาพการขนส่งสินค้า (4) ระบบสนับสนุนการบริหารจัดการรถขนส่งสินค้า และ (5) ระบบวิเคราะห์ข้อร้องเรียน โดยระบบได้ถูกพัฒนาขึ้นบนฐานข้อมูล Microsoft SQL Server 2019 โดยใช้โปรแกรม Tableau Desktop 2022.2.2 ในการจัดทำระบบวิเคราะห์และแสดงผลข้อมูล


การใช้การคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันของโรงเรียนสอนเปียโน, ปุณยาพร จิตตวนิชประภา Jan 2022

การใช้การคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันของโรงเรียนสอนเปียโน, ปุณยาพร จิตตวนิชประภา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันมีธุรกิจโรงเรียนสอนดนตรีเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยาก เพียงแค่มีทำเลที่ตั้งที่ดี มีบุคลากรที่มีความสามารถ ก็สามารถดำเนินกิจการได้แล้ว แต่สิ่งที่ท้าทายในการดำเนินธุรกิจนี้คือ กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินงาน เช่น การรับสมัครนักเรียน การคัดเลือกและการจัดการครูผู้สอน การจัดการตารางสอน การจัดการเรื่องวันลาหยุดและเรียนชดเชยของนักเรียน การทำบัญชีรายรับรายจ่าย การประชาสัมพันธ์โรงเรียน เป็นต้น หากเจ้าของธุรกิจไม่มีกระบวนการในการดำเนินงานธุรกิจเหล่านี้ที่ชัดเจนและเป็นแบบแผน อาจจะทำให้ธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จ ไม่สามารถแข่งกับคู่แข่งในตลาดได้ เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้น การติดต่อสื่อสารกันระหว่างโรงเรียนสอนดนตรี ผู้ปกครอง นักเรียน และครูผู้สอนจึงเกิดขึ้นหลายช่องทาง เช่น Facebook, ไลน์ และ โทรศัพท์ เป็นต้น ซึ่งทำให้ข้อมูลต่าง ๆ กระจัดกระจายกันและไม่เป็นระเบียบ ทำให้เสียเวลาในการค้นหาข้อมูลและดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ดังนั้นการนำการคิดเชิงออกแบบมาประยุกต์กับเว็บแอปพลิเคชันของโรงเรียนสอนเปียโนจะทำให้เกิดเว็บแอปพลิเคชันต้นแบบที่ช่วยให้ธุรกิจโรงเรียนสอนดนตรีดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เว็บแอปพลิเคชันที่เป็นระบบต้นแบบที่ได้จากโครงการนี้ ถูกสร้างโดยใช้โปรแกรม Figma จะช่วยในการดำเนินงานของธุรกิจโรงเรียนสอนเปียโนและตอบโจทย์ผู้ปกครอง นักเรียน ครูผู้สอน และเจ้าของโรงเรียนของโรงเรียนสอนเปียโน


การใช้การคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาโมไบล์แอปพลิเคชันสำหรับการวางแผนพัฒนาพนักงานรายบุคคลในองค์กร, พลอยพิสุทธิ์ ทิมขลิบ Jan 2022

การใช้การคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาโมไบล์แอปพลิเคชันสำหรับการวางแผนพัฒนาพนักงานรายบุคคลในองค์กร, พลอยพิสุทธิ์ ทิมขลิบ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันการพัฒนาพนักงานในองค์กรมีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น พนักงานมองหาการพัฒนาที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะบุคคลมากกว่าแผนการพัฒนาที่ทุกคนได้รับการเรียนรู้คล้าย ๆ กันเช่นที่ผ่านมา จึงทำให้หลายองค์กรหันมาให้ความสำคัญกับ การวางแผนพัฒนาพนักงานรายบุคคล ที่มุ่งเน้นให้พนักงานเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการวางแผน และกำหนดความต้องการในการพัฒนาทางสายอาชีพและการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองมากขึ้น องค์กรใดที่มีการบริหารจัดการการพัฒนาพนักงานรายบุคคลที่มีประสิทธิภาพจึงมีข้อได้เปรียบ และสามารถดึงดูดพนักงานให้เข้ามาร่วมงานกับองค์กรได้มากกว่า ดังนั้นการหาระบบหรือเครื่องมือที่ถูกออกแบบมาได้ตอบโจทย์ หรือตรงกับความต้องการในการบริหารจัดการเรื่องการพัฒนาพนักงานรายบุคคลในองค์กรได้นั้น จึงเป็นสิ่งที่หลายองค์กรมองหา โครงการนี้จึงนำ กระบวนการคิดเชิงออกแบบ หรือ Design Thinking มาประยุกต์ใช้ในการทำความเข้าใจและหาความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้งานระบบทั้ง 3 ฝ่าย นั่นคือ พนักงาน หัวหน้างาน และเจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล เพื่อออกแบบระบบต้นแบบของโมไบล์แอปพลิเคชันสำหรับการวางแผนพัฒนาพนักงานรายบุคคลในองค์กรที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของพนักงานและองค์กรให้ได้มากที่สุด ระบบต้นแบบของโมไบล์แอปพลิเคชันสำหรับการวางแผนพัฒนาพนักงานรายบุคคลในองค์กรนี้จึงเป็นส่วนสำคัญในการบริหารจัดการการเรียนรู้และการพัฒนาในองค์กรให้มีระบบ ใช้งานง่าย และตอบโจทย์ความต้องการในการพัฒนาพนักงานรายบุคคลในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ


การใช้การคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาโมไบล์แอปพลิเคชันสำหรับการดูนก, พัชรพร สุดสาคร Jan 2022

การใช้การคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาโมไบล์แอปพลิเคชันสำหรับการดูนก, พัชรพร สุดสาคร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในสถานการณ์ความตึงเครียดทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ประชาชนโหยหาการพักผ่อนหย่อนใจ โดยเฉพาะการไปพักผ่อนท่ามกลางธรรมชาติ การดูนกเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งซึ่งนอกจากจะให้ความเพลิดเพลินสนุกสนานแล้ว ยังได้รับความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติ นกมีบทบาทสำคัญในการรักษาไว้ซึ่งสมดุลแห่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการดูนกเพื่อเรียนรู้และเข้าใจธรรมชาติของนก จะช่วยหล่อหลอมให้จิตใจของเรามีความสุข ผ่อนคลายจากความตึงเครียดในการทำงาน ได้สัมผัสกับอากาศที่บริสุทธิ์และธรรมชาติที่งดงามอีกด้วย เช่นเดียวกับธุรกิจการบริการหรือกิจกรรมอื่น ๆ การดูนกจำเป็นต้องมีแพลตฟอร์มรองรับผู้ใช้งานและทำให้กิจกรรมการดูนกเป็นที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้น เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างครอบคลุม แพลตฟอร์มนี้ควรสามารถอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งานด้วยการช่วยให้ข้อมูลข่าวสารการจัดกิจกรรม การจองที่พัก การให้คำแนะนำในการดูนก รวมไปถึงรวบรวมแหล่งสำหรับจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ในการดูนก จะทำให้กิจกรรมการดูนกเป็นที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้น โครงการ “การใช้การคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาโมไบล์แอปพลิเคชันสำหรับการดูนก” จึงได้จัดทำขึ้นด้วยเหตุผลดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ระบบต้นแบบโมไบล์แอปพลิเคชันสำหรับการดูนกที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน ต้นแบบนี้พัฒนาขึ้นโดยใช้การประยุกต์ใช้หลักการการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) และสร้างต้นแบบด้วยโปรแกรม Figma เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่สนใจเรื่องการดูนก โมไบล์แอปพลิเคชันนี้จะให้ข้อมูลทั้งด้านบริการและความรู้ ในรูปแบบของการเสนอและการจองเข้าร่วมกิจกรรมการดูนก การแนะนำแหล่งดูนก การจำแนกสายพันธุ์นก และการจำหน่ายสินค้าและของที่ระลึกที่เกี่ยวกับการดูนก โดยหวังว่าผู้ที่สนใจหรือกำลังเริ่มสนใจในการดูนกจะได้นำไปใช้ประโยชน์ให้การดูนกไม่ได้เป็นเรื่องยากอีกต่อไป


กระบวนการและแบบจำลองสำหรับการคัดกรองเพื่อการจัดการคุณภาพข้อมูลในคราวด์ซอร์สซิงแพลตฟอร์ม, กฤตย์ กังวาลพงศ์พันธุ์ Jan 2022

กระบวนการและแบบจำลองสำหรับการคัดกรองเพื่อการจัดการคุณภาพข้อมูลในคราวด์ซอร์สซิงแพลตฟอร์ม, กฤตย์ กังวาลพงศ์พันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยคราวด์ซอร์สซิงเป็นวิธีที่โดยทั่วไปมีความเร็วมากกว่า มีต้นทุนต่ำกว่า และมีความหลากหลายมากกว่าวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม คราวด์ซอร์สซิงอาจเผชิญกับปัญหาคุณภาพ เช่น การติดป้ายกำกับผิดหรือการนำมาใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม ดังนั้น กระบวนการควบคุมคุณภาพเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับแพลตฟอร์มคราวด์ซอร์สซิง วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาค้นคว้าอุปสรรคและวิธีการแก้ไขที่เป็นไปได้ในการจัดการคุณภาพของผู้ใช้งานแพลตฟอร์มคราวด์ซอร์สซิง ส่วนแรกเน้นวิธีการเพิ่มกระบวนการในคราวด์ซอร์สซิง โดยศึกษา 3 วิธี ได้แก่ 1. งานที่จำเป็นต้องทำก่อน 2. คำถามมาตรฐานแบบทองคำ และ 3. การทำซ้ำของข้อมูล พบว่างานที่จำเป็นต้องทำก่อนเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อคัดกรองให้ได้ผู้ปฏิบัติงานที่มีคุณภาพสูง โดยควรเน้นไปที่ลักษณะเฉพาะและรายละเอียดของงาน คำถามที่ตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างงานดีกว่าคำถามแบบชัดเจนในการตรวจสอบด้วยคำถามมาตรฐานทองคำ ผู้ตรวจสอบข้อมูลคนเดียวอาจนำไปสู่การปรับปรุงคุณภาพข้อมูลได้มากที่สุด ส่วนที่สองคือ การใช้แบบจำลองการเรียนรู้ของเครื่องที่ใช้ข้อมูลพฤติกรรมในการทำนายคุณภาพของข้อมูล ซึ่งวิธีนี้ยังช่วยคัดกรองข้อมูลคุณภาพต่ำออกไปได้โดยไม่เสียทรัพยากรเพิ่มเติม


การทำนายค่าฝุ่น Pm2.5 ทั้งในเชิงแผนที่และเชิงเวลาด้วยเทคนิคการเรียนรู้เชิงลึก, ณัฏฐ์ ศิริสัมพันธ์ Jan 2022

การทำนายค่าฝุ่น Pm2.5 ทั้งในเชิงแผนที่และเชิงเวลาด้วยเทคนิคการเรียนรู้เชิงลึก, ณัฏฐ์ ศิริสัมพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

PM2.5 เป็นอนุภาคขนาดเล็กที่มีส่วนทำให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศในประเทศไทย การหายใจนำฝุ่น PM2.5 เข้าไปสามารถทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาได้ เช่น โรคทางเดินหายใจและโรคหัวใจเสื่อมสภาพ รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร งานวิจัยนี้เสนอแบบจำลองที่ใช้การเรียนรู้เชิงลึกเพื่อทำนายค่าฝุ่น PM2.5 ในระดับประเทศซึ่งเป็นการทำนายทั้งในเชิงพื้นที่และเวลา โดยแบบจำลองที่นำเสนอมีชื่อว่า SimVP-CFLL-ML มีพื้นฐานมาจากแบบจำลองการทำนายวิดีโอที่เรียกว่า "SimVP" และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำนายค่าฝุ่น PM2.5 ในช่วงที่มีค่าฝุ่นสูง SimVP ได้มีการพัฒนาเพิ่มเติมสองประการ คือ 1.Cross-Feature Learning Layer (CFLL) ซึ่งใช้ 1x1 convolution layer เพื่อเรียนรู้ความสัมพันธ์ของคุณลักษณะและ 2.Masking Layer (ML) ซึ่งใช้สำหรับคำนวณค่าลอสเฉพาะส่วนที่สำคัญที่ต้องการทำนาย โดยในที่นี้คือส่วนที่เป็นประเทศไทย การทดลองดำเนินการโดยใช้ข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากกรมควบคุมมลพิษของประเทศไทยและโครงการ Sensor For All (SFA) ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าแบบจำลองของเราเหนือกว่าแบบจำลองพื้นฐานทั้งหมด โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องการจำแนกช่วงที่ค่าฝุ่นมีค่าสูง แบบจำลองของเราได้ผลลัพธ์ค่าคะแนน F1 สูงกว่าแบบจำลองพื้นฐานที่ดีที่สุดถึง 3.51%


ระบบสนับสนุนการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลลำดับซ้ำเรียงต่อเนื่องแบบสั้นสำหรับนิติวิทยาศาสตร์, ณัฏฐชัย กุลธรรมนิตย์ Jan 2022

ระบบสนับสนุนการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลลำดับซ้ำเรียงต่อเนื่องแบบสั้นสำหรับนิติวิทยาศาสตร์, ณัฏฐชัย กุลธรรมนิตย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ลำดับซ้ำเรียงต่อเนื่องแบบสั้น (Short Tandem Repeat) หรือเอสทีอาร์ (STR) เป็นลำดับที่ซ้ำกันเป็นชุด ๆ ที่พบได้ในจีโนม (Genome) ของมนุษย์และมีประโยชน์มากในนิติวิทยาศาสตร์ เช่น การยืนยันตัวบุคคล การหาความสัมพันธ์ทางเครือญาติ เทคโนโลยีการลำดับเบสยุคใหม่ (Next-Generaton Sequencing: NGS) เช่น ForenSeq Signature Prep สามารถหาลำดับ STRs และให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับโครงสร้างประชากรได้ ถึงแม้ว่าเอสทีอาร์ที่ได้จากเทคโนโลยีนี้จะมีประโยชน์มากมาย แต่ไม่มีแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สใดที่รวมการจัดการและการวิเคราะห์ข้อมูลของเอสทีอาร์ไว้ในแพลตฟอร์มเดียว ผู้ใช้งานอาจต้องใช้หลายโปรแกรมในการวิเคราะห์ข้อมูลเอสทีอาร์ จากนั้นรวบรวมผลลัพธ์ลงในฐานข้อมูลแยกหรือโฟลเดอร์ระบบไฟล์ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ระบบที่นำเสนอ STRategy เป็นเว็บแอพพลิเคชันที่มีระบบการจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลเอสทีอาร์ โดย STRategy อนุญาตให้ผู้ใช้งานเก็บข้อมูลลงฐานข้อมูลหลังจากนั้นระบบจะวิเคราะห์และแสดงผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ ระบบนี้ถูกออกแบบให้ใช้ในองค์กรหรือห้องปฏิบัติการ จึงมีระบบการกำหนดสิทธิผู้ใช้ระบบตามบทบาท (Role Based Access Control) เพื่อให้ผู้ใช้งานเข้าถึงข้อมูลตามสิทธิของแต่ละบุคคลเท่านั้น ระบบถูกออกแบบให้มีความยืดหยุ่นสูง และได้ปฏิบัติตามแนวคิดสถาปัตยกรรม 3-เลเยอร์ หลักการออกแบบโปรแกรมเชิงวัตถุ รวมถึงมีการใช้แบบรูป (Design patterns) ต่าง ๆ เพื่อรองรับการเพิ่มโมดูลการวิเคราะห์และโมดูลการแสดงผล รวมถึงการพัฒนาต่อยอดได้ง่ายในอนาคต


ไวยากรณ์ไฮเพอร์แมพสำหรับแมพเชิงต้นไม้อันดับเคเชิงระนาบ, วรวุฒิ โคเมฆารัตน์ Jan 2022

ไวยากรณ์ไฮเพอร์แมพสำหรับแมพเชิงต้นไม้อันดับเคเชิงระนาบ, วรวุฒิ โคเมฆารัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิศวกรและนักวิทยาศาสตร์ต่างเผชิญกับปัญหาที่มีโครงสร้างซับซ้อนมากยิ่งขึ้น และต้องการเครื่องมือทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะสมเพื่ออธิบายปัญหาเหล่านี้ แม้กราฟจะเป็นเครื่องมือที่นิยมใช้แสดงระบบที่ซับซ้อน แต่ก็ยังขาดส่วนประกอบบางอย่างที่สำคัญต่อการรับรู้ความซับซ้อนของวัตถุทางเรขาคณิต ซึ่งสามารถแสดงแทนได้ด้วยแมพและไฮเพอร์แมพ เนื่องจากมีองค์ประกอบหลักที่เรียกว่า หน้า เพิ่มเติมจากส่วนประกอบพื้นฐานอื่น ๆ ในกราฟ จึงเป็นเครื่องมือที่ครอบคลุมและยืดหยุ่นยิ่งขึ้นในการแสดงและวิเคราะห์โครงสร้างเชิงเรขาคณิต งานวิจัยนี้จะเสนอแนวทางใหม่ในการผลิตแมพโดยใช้ไวยากรณ์ไฮเพอร์แมพ โดยปรับการดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับไฮเพอร์แมพให้นิยามบนจุดยอดและหน้า แทนวิธีการเดิมซึ่งนิยามบนจุดยอดและเส้นเชื่อม เพื่อให้มีความยืดหยุ่นในการควบคุมและจัดการเกี่ยวกับหน้าของไฮเพอร์แมพ เนื่องจากหน้ามีบทบาทสำคัญในการนิยามไฮเพอร์แมพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของแมพเชิงระนาบ ไวยากรณ์ที่นำเสนอในงานนี้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการทำความเข้าใจและตรวจจับโครงสร้างย่อยของไฮเพอร์แมพ โดยยกตัวอย่างการสร้างแมพเชิงระนาบของกราฟเชิงต้นไม้อันดับเค (เมื่อเคเป็นจำนวนเต็มบวกที่มีค่าไม่เกินสาม) โดยใช้ไวยากรณ์ไฮเพอร์แมพที่มีเพียงกฎการผลิตเดียว ผลการวิจัยแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการนำไวยากรณ์ที่นำเสนอในงานนี้ไปใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาคุณสมบติและโครงสร้างของแมพเชิงระนาบ รวมถึงการนำไปประยุกต์ใช้ในสายงานต่าง ๆ เช่น วิทยาการคอมพิวเตอร์ ทอพอโลยี และทฤษฎีกราฟ


การแปลงกระแสงานยอว์ลที่มีข้อจำกัดช่วงเวลาไปเป็นไทมด์ออโตมาตา, ณรงค์กร วงศ์สิทธิไพฑูรย์ Jan 2022

การแปลงกระแสงานยอว์ลที่มีข้อจำกัดช่วงเวลาไปเป็นไทมด์ออโตมาตา, ณรงค์กร วงศ์สิทธิไพฑูรย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กระแสงานยอว์ลเป็นหนึ่งในกระแสงานทางธุรกิจที่ทันสมัย กระแสงานยอว์ลให้การแสดงเป็นภาพขั้นตอนกระแสงานของงานทางธุรกิจที่เข้าใจง่าย สามารถกำหนดเวลาการทำงานของงานภายในกระแสงานยอว์ลได้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จะเน้นให้นำกระแสงานยอว์ลทั่วไปมาเพิ่มขีดความสามารถโดยการเพิ่มข้อจำกัดแบบช่วงเวลาให้กับแต่ละสัญลักษณ์งานในกระแสงานยอว์ล ผ่านค่าเฉลี่ยของข้อจำกัดของช่วงเวลาในรูปของขอบเขตล่าง และขอบเขตบนของเวลาที่สามารถเสร็จสิ้นการทำงานถูกกำหนดให้กับงานทางธุรกิจแต่ละงานในกระแสงานเพื่อรับมือกับปัญหาที่ซับซ้อนมากขึ้นของประสิทธิภาพด้านเวลาในกระแสงานกระบวนการทางธุรกิจ ในการจำลองพฤติกรรมของกระแสงานยอว์ลที่มีข้อจำกัดช่วงเวลาจะถูกแปลงเป็นออโตมาตาที่กำหนดเวลาไว้ที่สอดคล้องกัน และจำลองโดยใช้เครื่องมือ UPPAAL วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีการเสนอชุดของกฎการแปลงเพื่อเป็นแนวทางในการแปลงของสัญลักษณ์ยอว์ลข้อจำกัดของช่วงเวลาให้อยู่ในรูปแบบของไทมด์ออโตมาตา และเสนอเว็บแอปพลิเคชันในการแปลงกระแสงานยอว์ลที่มีข้อจำกัดช่วงเวลาเป็นออโตมาตา โดยผลลัพธ์ที่เป็นไทมด์ออโตมาตาจะถูกแปลงอย่างถูกต้อง และจำลองโดยใช้เครื่องมือจำลอง UPPAAL


การเปรียบเทียบวิธีการคัดเลือกตัวแปรแบบรวมกลุ่ม สำหรับข้อมูลที่มีลักษณะการจำแนกแบบไบนารี, กรชนก ชมเชย Jan 2022

การเปรียบเทียบวิธีการคัดเลือกตัวแปรแบบรวมกลุ่ม สำหรับข้อมูลที่มีลักษณะการจำแนกแบบไบนารี, กรชนก ชมเชย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานศึกษานี้เปรียบเทียบวิธีการคัดเลือกตัวแปรแบบเดียว (Single-Feature Selection) และแบบรวมกลุ่ม (Ensemble Feature Selection) ซึ่งแบ่งเป็น 2 รูปแบบคือ รูปแบบการรวมลำดับความสำคัญของตัวแปรแล้วตามด้วยการเลือกจำนวนตัวแปรที่มีความสำคัญตามเกณฑ์ที่ระบุ (Design CT: Combination followed by Thresholding) และรูปแบบการการเลือกจำนวนตัวแปรที่มีความสำคัญตามเกณฑ์ที่ระบุแล้วตามด้วยการรวมเซตของตัวแปรที่มีความสำคัญดังกล่าว (Design TC: Thresholding followed by Combination) ผู้ศึกษาได้ใช้การคัดเลือกตัวแปรจากประเภท Filter Wrapper และ Embedded โดยใช้ 10-fold cross validation ในการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของ F1-score แทนประสิทธิภาพการทำนายและค่าเบี่ยงเบนของ F1-score แทนค่าความเสถียรของการทำนาย ผ่านข้อมูล 3 ชุดได้แก่ Parkinson's Disease dataset (จำนวนตัวแปรต้น(P)=ขนาดข้อมูล(N)), LSVT Voice Rehabilitation dataset (P>N) และ Colon Cancer dataset (P>>N) ใช้ XGBoost เป็นตัวแบบทำนาย จากการศึกษาภายใต้ขอบเขตดังกล่าวพบว่า การคัดเลือกตัวแปรแบบวิธีเดียวด้วย RFE จะให้ผลดีในชุดข้อมูลที่มีมิติมาก P>>N ในเกณฑ์ 2.5% 5% และ 10% แต่การคัดเลือกแบบรวมกลุ่มจะให้ผลการทำนายที่ต่างกันภายใต้ลักษณะมิติของชุดข้อมูลและเกณฑ์ที่เลือกใช้ สำหรับการรวมลำดับความสำคัญของตัวแปรในรูปแบบ Design CT ด้วยค่ากลางและค่าเฉลี่ยเลขคณิตที่เกณฑ์ log2(P) จะให้ผลการทำนายดีกว่าวิธีอื่นใน Design CT ในชุดข้อมูล P>>N แต่สำหรับชุดข้อมูล P=N และ P>N ผลการทำนายจากแต่ละวิธีใน Design CT เพิ่มประสิทธิภาพการทำนายเล็กน้อย และสำหรับ Design TC การรวมเซตของตัวแปรต้นที่มีความสำคัญด้วยวิธีอินเตอร์เซกและมัลติอินเตอร์เซกจะให้ผลดีกว่าวิธียูเนียน สำหรับชุดข้อมูล P>>N ในทุกเกณฑ์ …


การเปรียบเทียบสถาปัตยกรรมโครงข่ายประสาทคอนโวลูชัน 3 มิติ โดยการจำแนกโรคหลอดเลือดสมองจากภาพการฉายรังสีเอกซเรย์สมอง, ชานนท์ วรโชติสืบตระกูล Jan 2022

การเปรียบเทียบสถาปัตยกรรมโครงข่ายประสาทคอนโวลูชัน 3 มิติ โดยการจำแนกโรคหลอดเลือดสมองจากภาพการฉายรังสีเอกซเรย์สมอง, ชานนท์ วรโชติสืบตระกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แบบจำลองโครงข่ายคอนโวลูชัน หรือ ซีเอ็นเอ็น (Convolutional Neural Networks หรือ CNN) ได้รับการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในการจำแนกภาพ โดยเฉพาะในทางการแพทย์ ซึ่งปกติการจำแนกภาพทางการแพทย์นิยมใช้โครงข่ายคอนโวลูชั่น 2 มิติ แต่เนื่องจากข้อมูลภาพบางประเภท เช่น ภาพการฉายรังสีเอกซเรย์สมองมีลักษณะมองภาพ 3 มิติ ให้เป็นภาพ 2 มิติ ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงมีแนวคิดในการใช้โครงข่ายคอนโวลูชัน 3 มิติมาใช้ในการจำแนกภาพเพื่อนำเอาจุดเด่นจากความสามารถในการดึงคุณลักษณะความสัมพันธ์ในชั้นความลึกที่เพิ่มเข้ามาซึ่งมีความแตกต่างจากรูปแบบ 2 มิติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้แบบจำลองสามารถดึงคุณลักษณะสำคัญของภาพให้มีความหลากหลายมากขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพโครงข่ายคอนโวลูชัน 3 มิติ ร่วมกับแบบจำลองที่ถูกฝึกมาเรียบร้อยแล้ว (pre-trained model) 4 แบบจำลอง ประกอบไปด้วย อเล็กซ์เน็ต (Alexnet) วีจีจี-16 (Vgg-16) กูเกิลเน็ต (Googlenet) และเรสเน็ต (Resnet) เพื่อจำแนกข้อมูลภาพผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง และผู้ป่วยที่มีสุขภาพปกติ จากภาพฉายรังสีเอกซเรย์สมอง (CT-Scan) จากฐานข้อมูลเว็บไซด์ Kaggle ชุดข้อมูลประกอบด้วยภาพผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง 950 ภาพ จาก 40 คน และภาพผู้ป่วยสุขภาพปกติ 1551 ภาพ จาก 82 คน ซึ่งงานวิจัยนี้มีการปรับรายละเอียดโดยการนำจุดเด่นของแต่ละแบบจำลองมาใช้ และเพิ่มชั้นความลึกที่เป็นจุดเด่นของการค้นหาคุณลักษณะสำคัญของรูปแบบ 3 มิติ ร่วมกับการประมวลผลภาพล่วงหน้า (Image Preprocessing) และการทำการเพิ่มจำนวนข้อมูล (Data augmentation) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของแบบจำลอง จากนั้นเพื่อไม่ให้การทดลองโน้มเอียงต่อแต่ละแบบจำลอง มีการนำเทคนิค K-Fold Cross validation (K=5) มาเพื่อแก้ปัญหาในงานวิจัยชิ้นนี้ ในส่วนของการวัดประสิทธิภาพผลการทดลองใช้ Confusion matrix เป็นเครื่องมือในการประเมินประสิทธิภาพของแบบจำลอง ซึ่งพบว่าสมรรถนะแบบจำลองโครงข่ายคอนโวลูชันกูเกิลเน็ต 3 มิติ ให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด โดยผลการทดสอบการจำแนกภาพผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองจากภาพฉายรังสีเอกซเรย์ ให้ค่าความแม่นยำ ความเที่ยงตรง ค่าความครบถ้วน และ F1-Score ที่ 92.00% 94.01% 83.96% และ 88.70% …


การปรับปรุงความสามารถในการพยากรณ์แบบไบนารี่โดยใช้การเรียนรู้เมตาแบบถ่วงน้ำหนักแบบปรับสำหรับการจำแนกความยากจนระดับครัวเรือนในประเทศไทย, ธารินทร์ สุขเนาว์ Jan 2022

การปรับปรุงความสามารถในการพยากรณ์แบบไบนารี่โดยใช้การเรียนรู้เมตาแบบถ่วงน้ำหนักแบบปรับสำหรับการจำแนกความยากจนระดับครัวเรือนในประเทศไทย, ธารินทร์ สุขเนาว์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความยากจนในระดับครัวเรือนและเสนอวิธีการเปรียบเทียบและปรับปรุงความสามารถในการพยากรณ์แบบไบนารี่โดยใช้การเรียนรู้เมตาแบบถ่วงน้ำหนักแบบปรับจากการคำนวนค่าถ่วงน้ำหนักวิธีที่ดีที่สุดสำหรับการจำแนกความยากจนระดับครัวเรือนในประเทศไทย โดยนำเสนอวิธีการสองขั้นตอน คือนำตัววัดประสิทธิภาพการทำนายมาใช้ในการคำนวณค่าถ่วงน้ำหนักแบบปรับ ซึ่งนำมาใช้เสมือนเป็นค่าถ่วงน้ำหนักเริ่มต้นที่ให้กับแต่ละตัวแบบ จากนั้นจึงทำนายผลด้วยวิธีการวิเคราะห์การถดถอยลอจิสติกอีกขั้นตอนหนึ่ง งานวิจัยนี้ศึกษาการคำนวณค่าถ่วงน้ำหนักแบบปรับจากตัววัดประสิทธิภาพการทำนายใน 3 กรณี ได้แก่ 1. การใช้ค่า AUC 2. การใช้ค่า F1-Score โดยพิจารณาจุดตัด 0.5 และ 3. การใช้ค่า F1-Score โดยพิจารณาค่าจุดตัดที่เหมาะสมที่สุดจากดัชนีโยเดนที่สูงสุด นอกจากนี้ เนื่องจากชุดข้อมูลสำรวจประชากรรายครัวเรือนในระดับพื้นที่มีความไม่สมดุลของระดับความยากจน จึงใช้เทคนิค SMOTE ในการจัดการกับข้อมูลที่ไม่สมดุล ทั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการเปรียบเทียบผลลัพธ์จากชุดข้อมูลก่อนและหลังใช้เทคนิค SMOTE ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความยากจนในระดับครัวเรือนสูงมีหลายปัจจัย อาทิ อายุของหัวหน้าครัวเรือน จำนวนผู้ที่ได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในครัวเรือน,ค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคในครัวเรือน เป็นต้น และวิธีการคำนวณค่าถ่วงน้ำหนักแบบปรับจากตัววัดประสิทธิภาพ F1-Score ที่จุดตัด 0.5 มีประสิทธิภาพสูงสุดจากการพิจารณาด้วยค่าความแม่นยำในชุดข้อมูลตั้งต้นก่อนใช้เทคนิค SMOTE อย่างไรก็ตาม จากการทดสอบในชุดข้อมูลที่มีการจัดการกับข้อมูลที่ไม่สมดุลด้วยวิธี SMOTE พบว่า ประสิทธิภาพในการทำนายไม่ปรากฏว่าวิธีการคำนวณค่าถ่วงน้ำหนักแบบปรับจากตัววัดประสิทธิภาพแบบใดแบบหนึ่งที่มีประสิทธิภาพสูงสุดอย่างชัดเจน


การจำลองข้อมูลเพื่อประเมินประสิทธิภาพของการเลือกตัวอย่างแบบมีระบบชนิดผสม, นภสร รัตนวุฒิขจร Jan 2022

การจำลองข้อมูลเพื่อประเมินประสิทธิภาพของการเลือกตัวอย่างแบบมีระบบชนิดผสม, นภสร รัตนวุฒิขจร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของตัวประมาณค่าเฉลี่ยที่ได้จากการเลือกตัวอย่างแบบมีระบบชนิดผสม (Mixed Systematic Random Sampling : MRSS) กับการเลือกตัวอย่างแบบมีระบบชนิดวงกลม (Circular Systematic Sampling : CSS) และการเลือกตัวอย่างแบบมีระบบโดยใช้ช่วงเศษส่วน (Fractional Interval) สำหรับกรณีช่วงของการเลือกตัวอย่างไม่เป็นจำนวนเต็ม เมื่อประชากรมีแนวโน้มเชิงเส้น ด้วยค่าความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (Mean Square Error : MSE) และเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการเลือกตัวอย่างแบบมีระบบทั้ง 3 วิธีด้วยค่าประสิทธิภาพสัมพัทธ์ (Relative Efficiency : RE) โดยการจำลองข้อมูลของประชากรเป็น 3 ขนาด แบ่งเป็น ขนาดเล็กหลักร้อย ได้แก่ 300, 500 และ 700 ขนาดกลางหลักพัน ได้แก่ 3,000, 5,000 และ 7,000 ขนาดใหญ่หลักหมื่น ได้แก่ 30,000, 50,000 และ 70,000 ด้วยโปรแกรม R กำหนดขนาดตัวอย่างที่ทำให้สัดส่วนระหว่างขนาดประชากรและขนาดตัวอย่างไม่เป็นจำนวนเต็ม ทำซ้ำทั้งหมด 1,000 ครั้ง พบว่าการเลือกตัวอย่างแบบมีระบบด้วยวิธี MRSS มีค่า MSE สูงกว่าการเลือกตัวอย่างอีกทั้ง 2 วิธี แต่เมื่อค่า g = 2 จะทำให้ค่าของ MSE ของการเลือกตัวอย่างทั้ง 3 วิธีมีค่ามากขึ้น โดยที่ค่า MSE ของการเลือกตัวอย่างแบบมีระบบชนิดผสมมีค่าต่ำกว่าการเลือกตัวอย่างแบบมีระบบชนิดวงกลมและวิธีใช้ช่วงเศษส่วน ทั้งนี้เป็นผลเนื่องมาจากค่า g เป็นค่าที่กำหนดความเป็นเชิงเส้น เมื่อค่า g เพิ่มมากขึ้น ความเป็นเชิงเส้นของประชากรจะลดลง ทำให้ตัวประมาณค่าเฉลี่ยตัวอย่างที่คำนวณได้มีค่าต่างจากค่าเฉลี่ยประชากรมากตามไปด้วย จึงสามารถสรุปได้ว่าตัวประมาณค่าเฉลี่ยที่ได้จากวิธีการเลือกตัวอย่างแบบมีระบบชนิดผสม มีแนวโน้มที่จะให้ค่า MSE สูงที่สุด เมื่อเทียบกับการเลือกตัวอย่างแบบมีระบบชนิดวงกลมและการเลือกตัวอย่างแบบมีระบบโดยใช้ช่วงเศษส่วน


การพัฒนาเวิร์กโฟลว์สําหรับตัวแบบต้นไม้จําแนกประเภทที่ดีที่สุด, พงศ์ทวัส ฮั่นวัฒนวงศ์ Jan 2022

การพัฒนาเวิร์กโฟลว์สําหรับตัวแบบต้นไม้จําแนกประเภทที่ดีที่สุด, พงศ์ทวัส ฮั่นวัฒนวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเวิร์กโฟลว์สำหรับสร้างต้นไม้จำแนกประเภทที่ดีที่สุด ด้วยตัวแบบเชิงเส้นจำนวนเต็มแบบผสม ทำการประเมินประสิทธิภาพของตัวแบบต้นไม้จำแนกประเภทที่ดีที่สุดบนชุดข้อมูลเยอรมันเครดิต และขยายตัวแบบให้รองรับชุดข้อมูลที่ตัวแปรต้นมีค่าสูญหายจำนวนมาก จากการพัฒนาเวิร์กโฟลว์พบว่าการสร้างต้นไม้จำแนกประเภทที่ดีที่สุดโดยใช้ตัวแบบเชิงเส้นจำนวนเต็มแบบผสมในงานวิจัยของ Lin และ Tang (2021) และกำหนดค่าพารามิเตอร์ความซับซ้อนตั้งต้นเป็นค่าบวกใกล้เคียงศูนย์ให้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ จากการเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างตัวแบบต้นไม้จําแนกประเภทที่ดีที่สุดกับต้นไม้ตัดสินใจบนชุดข้อมูลเยอรมันเครดิต พบว่าต้นไม้จำแนกประเภทที่ดีที่สุดให้อัตราความถูกต้องสูงกว่าต้นไม้ตัดสินใจทั้งบนชุดข้อมูลสร้างตัวแบบและบนชุดข้อมูลทวนสอบ 0.4% ถึง 3.2% ข้อดีของการพัฒนาเวิร์กโฟลว์โดยใช้โปรแกรมหาคำตอบสำหรับปัญหาเชิงเส้นจำนวนเต็มแบบผสม คือความสามารถในการขยายตัวแบบให้รองรับเงื่อนไขเพิ่มเติมได้ ในงานวิจัยนี้จึงเสนอตัวแบบต้นไม้จำแนกประเภทที่ดีที่สุดที่ถูกขยายให้รองรับชุดข้อมูลที่มีตัวแปรต้นสูญหายจำนวนมาก และแสดงให้เห็นว่าตัวแบบที่ถูกขยายสามารถทำงานอย่างมีประสิทธิผลบนเวิร์กโฟลว์ที่พัฒนาขึ้น


การเปรียบเทียบวิธีการคัดเลือกตัวแปรสำหรับการถดถอยโลจิสติกในข้อมูลที่มีมิติสูง, รัชพงศ์ ปรัชญาเศรษฐ Jan 2022

การเปรียบเทียบวิธีการคัดเลือกตัวแปรสำหรับการถดถอยโลจิสติกในข้อมูลที่มีมิติสูง, รัชพงศ์ ปรัชญาเศรษฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Regularization เป็นวิธีการป้องกันปัญหา overfitting ด้วยการเพิ่มฟังก์ชันการลงโทษไปในตัวแบบเพื่อให้เกิดการคัดกรองตัวแปรเข้าสู่ตัวแบบ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีการคัดกรองตัวแปรสำหรับการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกในข้อมูลที่มีมิติสูง ด้วยการใช้ฟังก์ชันการลงโทษในรูปแบบ (1) L0-regularization (2) L1-regularization (3) L0L2-regularization การวิจัยนี้ใช้การจำลองข้อมูลเพื่อทำการทดสอบ 18 กรณี โดยกำหนดค่าที่ต่างกันประกอบด้วย จำนวนตัวแปรอิสระมีจำนวน 200, 500 และ 1000 ตัวแปร ความสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระมีค่าเท่ากับ 0, 0.5 และ 0.9 อัตราส่วนสัญญาณต่อสัญญาณรบกวนมีค่าเท่ากับ 1 และ 6 โดยจำลองข้อมูลแต่ละกรณีจำนวน 100 ชุด ในการศึกษานี้มุ่งเน้นที่การเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการคัดกรองตัวแปรของตัวแบบ และประสิทธิภาพในการทำนายของตัวแบบ ซึ่งเปรียบเทียบประสิทธิภาพในแต่ละวิธีด้วย ความผิดพลาดในการตรวจจับเชิงบวก ค่าเฉลี่ยแบบฮาร์โมนิคของค่าความแม่นยำและค่าความไว และ พื้นที่ใต้เส้นโค้ง จากการศึกษาพบว่าวิธี L0 มีความแม่นยำในการคัดกรองตัวแปรมากที่สุดเมื่อพิจารณาด้วยความผิดพลาดในการตรวจจับเชิงบวก เมื่อพิจารณาด้วยค่าเฉลี่ยแบบฮาร์โมนิคของค่าความแม่นยำและค่าความไว พบว่าวิธี L1 และ L0L2 มีประสิทธิภาพในการคัดกรองตัวแปรใกล้เคียงกัน แต่วิธี L0L2 จะมีประสิทธิภาพสูงกว่าเมื่อความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระมีค่าสูง และเมื่อพิจารณาประสิทธิภาพในการทำนายของตัวแบบด้วยพื้นที่ใต้เส้นโค้ง พบว่าวิธี L1 จะมีประสิทธิภาพสูงที่สุดในทุกกรณี


สมรรถนะดิจิทัลขององค์กรทหาร: การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและเชิงยืนยันพหุระดับ, รัมณรา สมประสงค์ Jan 2022

สมรรถนะดิจิทัลขององค์กรทหาร: การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและเชิงยืนยันพหุระดับ, รัมณรา สมประสงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สมรรถนะดิจิทัลขององค์กรทหารในปัจจุบันมีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานในยุคของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสังเคราะห์ตัวชี้วัดสมรรถนะดิจิทัลขององค์กรทหาร 2) เพื่อสำรวจองค์ประกอบพหุระดับสมรรถนะดิจิทัลขององค์กรทหาร 3) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องเชิงประจักษ์ขององค์ประกอบพหุระดับสมรรถนะดิจิทัลขององค์กรทหาร ตัวอย่างวิจัย เป็นบุคลากรระดับปฏิบัติการในองค์กรทหารสังกัดกระทรวงกลาโหม 50 หน่วยงาน จำนวน 860 คน สำหรับใช้ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจพหุระดับ และจำนวน 863 คน สำหรับใช้ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเพื่อการวิเคราะห์องค์ประกอบพหุระดับ คือแบบวัดสมรรถนะดิจิทัลขององค์กรทหาร ประกอบไปด้วย 2 ตอน คือ ข้อมูลพื้นฐานของกำลังพลผู้ตอบแบบสอบถาม และแบบวัดสมรรถนะดิจิทัลขององค์กรทหาร จำนวน 69 ข้อคำถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม IBM SPSS Statistics 22 และ MPlus6 ผลการวิจัยพบว่า (1) ตัวชี้วัดสมรรถนะดิจิทัลขององค์กรทหาร ประกอบไปด้วย 16 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) การวางแผนการใช้งานอุปกรณ์เทคโนโลยีดิจิทัลแบบบูรณาการ 2) การสืบค้นข้อมูลทางดิจิทัล 3) การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล 4) การใช้งานเทคโนโลยีเบื้องต้น 5) การแก้ปัญหาจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 6) การใช้อินทราเน็ตขององค์กร 7) การรักษาความลับในโลกไซเบอร์ 8) การจัดการไฟล์ดิจิทัลทางการทหาร 9) การเข้าถึงไฟล์ดิจิทัลในกรณีปฏิบัติงานนอกสถานที่ 10) การจัดการฐานข้อมูลทางการทหาร 11) การใช้สื่อดิจิทัลทางไกลเพื่อการสื่อสารทางการทหาร 12) การนำเสนอข้อมูลทางทหารในรูปแบบดิจิทัล 13) การสร้างสิ่งแวดล้อมทางดิจิทัลเพื่อการทำงาน 14) การตระหนักถึงความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ 15) การรักษามารยาทในสังคมดิจิทัล 16) เจตคติต่อการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในองค์กร (2) องค์ประกอบเชิงสำรวจพหุระดับสมรรถนะดิจิทัลขององค์กรทหาร มีจำนวน 3 โมเดล คือ 1) องค์ประกอบระดับระดับบุคคล 4 องค์ประกอบ ระดับองค์กร 1 องค์ประกอบ 2) องค์ประกอบระดับบุคคล 4 องค์ประกอบ ระดับองค์กร 2 องค์ประกอบ 3) องค์ประกอบระดับบุคคล …


การประเมินความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศสำหรับพื้นที่เพาะปลูกข้าวและความพร้อมในการจัดการของหน่วยงานภาครัฐ: กรณีศึกษาเกาะลมบก ประเทศอินโดนีเซีย, ดอสมายา แอนเดรียอานี Jan 2022

การประเมินความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศสำหรับพื้นที่เพาะปลูกข้าวและความพร้อมในการจัดการของหน่วยงานภาครัฐ: กรณีศึกษาเกาะลมบก ประเทศอินโดนีเซีย, ดอสมายา แอนเดรียอานี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนับเป็นประเด็นสำคัญที่ถูกอภิปรายว่าเป็นปัจจัยขับเคลื่อนต่อการเกิดอุบัติการณ์ภัยธรรมชาติ โดยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อทุกมิติของชีวิตมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านความมั่นคงด้านอาหาร ทั้งนี้ พื้นที่เพาะปลูกข้าวนับเป็นพื้นที่ที่ถูกคุกคามมากที่สุดเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ำฝนและอุณหภูมิอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ บทบาทของรัฐบาลจึงมีความสำคัญในการลดความสูญเสียที่เกิดจากภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะการยกระดับความสามารถในการปรับตัวของชุมชนท้องถิ่นต่อภัยธรรมชาติ วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือการประเมินผลกระทบของภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่เพาะปลูกข้าว และประเมินความพร้อมของรัฐบาลระดับท้องถิ่นในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและอันตรายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยคัดเลือก เกาะลมบก ของประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นพื้นที่เกาะเล็กๆ และมีความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ระเบียบวิธิวิจัยของการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ การประยุกต์ใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (Analytical Hierarchy Process: AHP) ร่วมกับระบบข้อมูลทางภูมิศาสตร์ (GIS) ในการประเมินความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั้งจากผลกระทบจากอุทกภัย ภัยแล้ง และดินถล่ม ขณะเดียวกัน การศึกษานี้อาศัยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ (n=15) เพื่อประเมินความพร้อมของรัฐบาลท้องถิ่นในการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาศัยการสัมภาษณ์ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ด้านการเพาะปลูก การจัดการภัยพิบัติ และการจัดการน้ำ โดยผลการวิจัยพบว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 88.18 ของเกาะลมบกมีความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศระดับปานกลาง และ พื้นที่เพาะปลูกข้าวเกือบทั้งหมดร้อยละ 96.56 มีความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศระดับปานกลางเช่นกัน ผลการสัมภาษณ์พบว่า ความพร้อมของรัฐบาลท้องถิ่นในการจัดการกับภัยอันตรายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีอย่างจำกัด โดยเฉพาะประเด็นด้านงบประมาณและทรัพยากรบุคคล โดยผลการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์สำหรับหน่วยงานท้องถิ่นในการดำเนินกิจกรรมการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่างๆ และเป็นกลยุทธ์ในการคาดการณ์ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่เพาะปลูกข้าวของเกาะลมบก ประเทศอินโดนีเซียต่อไป.


Options Portfolio Optimization And Hedging Of Exotic Options Written On Mini S&P 500 Index In An Illiquid Market With Conditional Value At Risk (Cvar), Benyanee Kosapong Jan 2022

Options Portfolio Optimization And Hedging Of Exotic Options Written On Mini S&P 500 Index In An Illiquid Market With Conditional Value At Risk (Cvar), Benyanee Kosapong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis investigates the derivatives for portfolio optimization. Risk measures such as Mean Variance (MV), Value-at-Risk (VaR), and Conditional Value-at-Risk (CVaR) are minimized. However, we focus primarily on CVaR because it is a coherent and convex risk measure. We adopt the method of Rockafellar and Uryasev (Journal of Risk 2, 3 (2000)), which minimizes CVaR for shares and convert this method to use with options written on the S&P500 Mini Index. The distribution is known and the index values are simulated by using the VG distribution, over CVaR constraints. In particular, the approach can be used for minimizing the CVaR …


Numerical Approximation To Ruin Probability Of Generalization Of Classical Risk Model, Kittiwat Woragate Jan 2022

Numerical Approximation To Ruin Probability Of Generalization Of Classical Risk Model, Kittiwat Woragate

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


Mass Ratio Variance Majority Cleansing And Minority Oversampling Technique For Class Imbalanced, Piboon Polvimoltham Jan 2022

Mass Ratio Variance Majority Cleansing And Minority Oversampling Technique For Class Imbalanced, Piboon Polvimoltham

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

A sampling method is one of the basic methods to deal with an imbalance problem appearing in machine learning. A dataset having an imbalance problem has a noticeably skewed distribution among different classes. There are three types of sampling techniques to solve this problem by balancing class distributions, undersampling technique, over-sampling technique, and combined sampling technique. In this research, the mass ratio variance scores of each data point of the same class are computed and used to remove noise from a majority class and synthesise instances from a minority class. The results of this proposed sampling technique improve recall over …


Stochastic Control Model With Carrying Capacity Of Population Management Policy For Squirrels In Durian Orchards, Sasiwimol Auepong Jan 2022

Stochastic Control Model With Carrying Capacity Of Population Management Policy For Squirrels In Durian Orchards, Sasiwimol Auepong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this thesis, the problem that squirrels ruin durian, which is an economic important fruit in Thailand, is considered. We seek for a strategy on squirrel elimination under the consideration that squirrels are not alien species in Thailand and also orchard ecosystem. The problem is solved through a stochastic control model. The population dynamics of squirrels is constructed as a controlled stochastic differential equation with carrying capacity, since we consider the squirrel population in a confined orchard. A performance index indicating the total benefit of a given squirrel elimination strategy is provided. The index comprises the countermeasure cost, resources loss, …


Random Forest Of Mixed Decision Trees And Minority Condensation Decision Trees For Class Imbalanced Problem, Suvaporn Homjandee Jan 2022

Random Forest Of Mixed Decision Trees And Minority Condensation Decision Trees For Class Imbalanced Problem, Suvaporn Homjandee

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.