Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Physical Sciences and Mathematics Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 181 - 210 of 2268

Full-Text Articles in Physical Sciences and Mathematics

Finite Integration Method Using Chebyshev Expansion For Solving Heat Equation With Non-Local Boundary Conditions, Thanakorn Prasansri Jan 2022

Finite Integration Method Using Chebyshev Expansion For Solving Heat Equation With Non-Local Boundary Conditions, Thanakorn Prasansri

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


Numerical Algorithm For Heat Equation With Moving Boundary Using Finite Integration Method With Chebyshev Polynomial Expansion, Warunya Wong-U-Ra Jan 2022

Numerical Algorithm For Heat Equation With Moving Boundary Using Finite Integration Method With Chebyshev Polynomial Expansion, Warunya Wong-U-Ra

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


การศึกษาเปรียบเทียบของพอลิโพรพิลีนรีไซเคิลเทอร์มอพลาสติกวัลคาไนเซตจากยางธรรมชาติและจากยางอีพีดีเอ็ม, ทีปกร พันธ์พรม Jan 2022

การศึกษาเปรียบเทียบของพอลิโพรพิลีนรีไซเคิลเทอร์มอพลาสติกวัลคาไนเซตจากยางธรรมชาติและจากยางอีพีดีเอ็ม, ทีปกร พันธ์พรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงสมบัติของพอลิโพรพิลีนรีไซเคิลโดยการเตรียมเป็นเทอร์มอพลาสติกอิลาสโตเมอร์ และเทอร์มอพลาสติกวัลคาไนเซตด้วยยางธรรมชาติและยางอีพีดีเอ็มในอัตราส่วนต่าง ๆ โดยพอลิโพรพิลีนรีไซเคิลและยางถูกผสมด้วยสามอัตราส่วน ได้แก่ 90/10, 80/20 และ 70/30 โดยน้ำหนักในเครื่องผสมแบบปิดที่อุณหภูมิ 170 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 นาที ตามด้วยการอัดขึ้นรูป จากผลการทดลองพบว่าการเติมยางธรรมชาติหรือยางอีพีดีเอ็มช่วยปรับปรุงความทนแรงกระแทกและการยืดตัว ณ จุดขาด ขณะที่ความทนแรงดึง ยังส์มอดุลัส และความแข็งลดลง อย่างไรก็ตามเทอร์มอพลาสติกอิลาสโตเมอร์ที่เติมยางอีพีดีเอ็มแสดงสมบัติเหนือกว่าเทอร์มอพลาสติกอิลาสโตเมอร์ที่เติมยางธรรมชาติที่อัตราส่วนเดียวกันเนื่องจากมีความเข้ากันได้กับพอลิโพรพิลีนรีไซเคิลมากกว่า ซึ่งยืนยันได้จากสมบัติสัณฐานวิทยา และในบรรดาเทอร์มอพลาสติกอิลาสโตเมอร์ทั้งหมด พอลิโพรพิลีนรีไซเคิล/ยางที่อัตราส่วน 80/20 มีสมบัติเชิงกลที่เหมาะสมจึงถูกเลือกมาเตรียมเป็นเทอร์มอพลาสติกวัลคาไนเซตโดยการเติมเพอร์ออกไซด์เป็นสารเชื่อมขวางที่อัตราส่วน 1 และ 2 ส่วนต่อยางร้อยส่วน เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสมบัติเชิงกล สมบัติทางความร้อน และสัณฐานวิทยาของเทอร์มอพลาสติกอิลาสโตเมอร์และเทอร์มอพลาสติกวัลคาไนเซตพบว่ายังส์มอดุลัสของเทอร์มอพลาสติกวัลคาไนเซตสูงกว่าเทอร์มอพลาสติกอิลาสโตเมอร์เนื่องจากการเชื่อมขวาง อย่างไรก็ตามสมบัติอื่น ๆ ลดลงเมื่อเทียบกับเทอร์มอพลาสติกอิลาสโตเมอร์เพราะการตัดขาดของสายโซ่โดยเพอร์ออกไซด์


การพัฒนาซอฟต์เซ็นเซอร์สำหรับการทำนายพารามิเตอร์ของการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์โดยใช้โครงข่ายประสาทเทียม, พงศ์พล ธวัชบัณฑิต Jan 2022

การพัฒนาซอฟต์เซ็นเซอร์สำหรับการทำนายพารามิเตอร์ของการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์โดยใช้โครงข่ายประสาทเทียม, พงศ์พล ธวัชบัณฑิต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับโรงงานอุตสาหกรรมนั้นเป็นกระบวนการที่สำคัญในการลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นแก๊สเรือนกระจกในแก๊สไอเสียก่อนส่งออกสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งการรู้ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกดูดซับและเวลาที่การดูดซับเข้าสู่สมดุลจึงเป็นประโยชน์ในการวางแผนการดำเนินงานในอุตสาหกรรม ดังนั้นในงานวิจัยนี้ ศึกษาและพัฒนาโครงข่ายประสาทเทียมสามารถทำนายพารามิเตอร์ของการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ โครงข่ายประสาทเทียมที่พัฒนาด้วยโครงสร้างที่มีจำนวนชั้นซ่อน 2 ชั้นซ่อน ในแต่ละชั้นซ่อนประกอบด้วย 10 เซลล์ประสาท และฟังก์ชันกระตุ้นในชั้นซ่อนและชั้นส่งออกคือฟังก์ชันแทนซิกมอยด์มีประสิทธิภาพสูงที่สุด จากนั้นนำโครงข่ายประสาทเทียมที่มีโครงสร้างดังกล่าวไปใช้ในการศึกษาผลของสมการทางจลนศาสตร์และนำตัวแปรส่งออกไปแทนค่าในสมการทางจลนศาสตร์เพื่อสร้างเส้นโค้งของดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ เส้นโค้งที่สร้างจากสมการของปฏิกิริยาอันดับหนึ่งเทียมมีค่าเฉลี่ยของค่า R-square สูงสุดคือ 0.8731 และค่าเฉลี่ยของค่า RMSE ต่ำที่สุดคือ 0.2358 จากนั้นนำโครงข่ายประสาทเทียมไปพัฒนาซอฟต์เซ็นเซอร์โดยเริ่มจากการแปลงโครงข่ายประสาทเทียมให้เป็นโปรแกรมที่เป็นภาษาไพทอน และนำโปรแกรมนี้ไปใส่ใน Raspberry pi 4 model b ตัวแปรนำเข้าทั้งหมดจะถูกคำนวณผ่านโครงข่ายประสาทเทียมที่ได้แปลงเป็นภาษาไพทอนแล้ว และส่งค่าตัวแปรส่งออกไปแสดงค่าผ่านแพลตฟอร์ม Grafana ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่สะดวกและรวดเร็ว และสามารถรายงานค่าในเวลาจริงได้


ผลของชาร์ที่กระตุ้นด้วยโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์และไอน้ำต่อการผลิตน้ำมันดิบชีวภาพจากชานอ้อยโดยไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชัน, สราวรรณ ทรัพย์พันธ์ Jan 2022

ผลของชาร์ที่กระตุ้นด้วยโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์และไอน้ำต่อการผลิตน้ำมันดิบชีวภาพจากชานอ้อยโดยไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชัน, สราวรรณ ทรัพย์พันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พลังงานจากชีวมวลเป็นพลังงานทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความสนใจเพื่อแก้ปัญหาและข้อจำกัดจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชัน (Hydrothermal liquefaction, HTL) เป็นกระบวนการแปรรูปชีวมวลเป็นเชื้อเพลิงเหลว เนื่องด้วยกระบวนการนี้ยังสามารถปรับปรุงคุณภาพของน้ำมันและปริมาณน้ำมันได้ด้วยการใส่ตัวเร่งปฏิกิริยาลงไปในกระบวนการ ซึ่งตัวเร่งปฏิกิริยาที่น่าสนใจคือ ชาร์ เนื่องจากมีสมบัติเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา สามารถผลิตได้ง่ายจากชีวมวล และ ราคาถูก อีกทั้งยังไม่มีงานวิจัยที่ศึกษาผลของชาร์ ที่ส่งเสริมการเร่งปฏิกิริยาในกระบวนการไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชัน งานวิจัยนี้จึงสนใจในการนำชานอ้อยและชาร์ มาเป็นสารป้อนร่วมในกระบวนการไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชัน โดยใช้ชาร์มากระตุ้นด้วยไอน้ำและใช้โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) เป็นตัวช่วยกระตุ้น เพื่อนำมาเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตน้ำมันดิบชีวภาพจากชานอ้อยโดยกระบวนการ HTL โดยขั้นตอนในงานวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ขั้นแรก ขั้นของการกระตุ้น เป็นการกระตุ้นถ่านชาร์ด้วยโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์และไอน้ำ ซึ่งจะศึกษาผลของอัตราส่วนระหว่างโพแทสเซียมและถ่านชาร์ที่ร้อยละ 2.5 และ 5 โดยน้ำหนัก และผลของอุณหภูมิในการกระตุ้นที่ 700, 800 และ 900 องศาเซลเซียส พบว่า เมื่อใช้อุณหภูมิในการกระตุ้นสูงขึ้น ร้อยละผลได้ของถ่านชาร์หลังการกระตุ้นจะลดลง ส่วนในขั้นที่ 2 เป็นการทำไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชัน โดยดำเนินการในเครื่องปฏิกรณ์ความดันสูงแบบแบตช์ที่อุณหภูมิ 300 และ 325 องศาเซลเซียส ที่ความดันเริ่มต้น 2 เมกะพาสคัล โดยใช้เวลาในการทำปฏิกิริยา 60 นาที พบว่า ร้อยละผลได้ของน้ำมันดิบชีวภาพจะเพิ่มขึ้น เมื่อใช้ชานอ้อยร่วมกับชาร์ที่ถูกกระตุ้นด้วยไอน้ำและโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ เนื่องจากชาร์มีผลในการเร่งปฏิกิริยาการแตกตัวของชีวมวล อีกทั้งโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ยังช่วยเสริมการทำงานร่วมกับชานอ้อยได้ดียิ่งขึ้น โดยให้ร้อยละน้ำมันดิบชีวภาพสูงถึง 29.91% ในส่วนของอุณหภูมิในการทำปฏิกิริยาที่ 300 และ 325 องศาเซลเซียส พบว่าเมื่อใช้อุณหภูมิในการทำปฏิกิริยาที่สูงขึ้นร้อยละผลได้ของน้ำมันดิบจะเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ เมื่อใช้ชาร์ที่ถูกกระตุ้นด้วยไอน้ำและโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ร่วมในกระบวนการไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชัน จะส่งผลช่วยปรับปรุงคุณภาพของน้ำมันชีวภาพ โดยพิจารณาจากค่าความร้อนสูง


ไฮโดรเจนจากกลีเซอรอลและพลาสติกด้วยรีฟอร์มมิงด้วยไอน้ำที่เสริมด้วยการดูดซับบน Ni/Ca-Mof, จิรัชฌา เก้าเอี้ยน Jan 2022

ไฮโดรเจนจากกลีเซอรอลและพลาสติกด้วยรีฟอร์มมิงด้วยไอน้ำที่เสริมด้วยการดูดซับบน Ni/Ca-Mof, จิรัชฌา เก้าเอี้ยน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ทำการศึกษาการผลิตไฮโดรเจนจากกระบวนการรีฟอร์มมิงด้วยไอน้ำที่เสริมด้วยการดูดซับบนตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิล/อลูมินา-แคลเซียมมอฟ ซึ่งการทดลองถูกดำเนินการในเครื่องปฏิกรณ์แบบเบดนิ่งชนิดสองขั้น โดยศึกษาผลของตัวดูดซับแคลเซียมมอฟที่ส่งผลต่อการผลิตไฮโดรเจนด้วยกระบวนการรีฟอร์มมิงด้วยไอน้ำที่เสริมด้วยการดูดซับ โดยเปรียบเทียบการใช้ตัวดูดซับแคลเซียมมอฟ, ตัวดูดซับแคลเซียมออกไซด์ และไม่ใช้ตัวดูดซับ จากผลการทดลองพบว่า การใช้ตัวดูดซับแคลเซียมมอฟ ส่งผลให้องค์ประกอบและผลได้ของไฮโดรเจนมีค่าสูงขึ้นอย่างชัดเจน นอกจากนี้การศึกษาผลของการใช้พลาสติกที่แตกต่างกันสามชนิด ได้แก่ พอลิเอทิลีน, พอลิโพรพิลีนและพอลิสไตรีน ที่ใช้เป็นสารป้อนร่วมกับกลีเซอรอลด้วยตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิล/อลูมินา-แคลเซียมมอฟ พบว่าการผลิตไฮโดรเจนจากพอลิเอทิลีนร่วมกับ กลีเซอรอล ให้องค์ประกอบและผลได้ของไฮโดรเจนมีค่าสูงที่สุด รองลงมาเป็นพอลิโพรพิลีนและพอลิสไตรีนตามลำดับ นอกจากนี้ผลของอุณหภูมิไพโรไลซิสที่อุณหภูมิ 600 และ 700 องศาเซลเซียส โดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิล/อลูมินา-แคลเซียมมอฟ พบว่า องค์ประกอบของไฮโดรเจนและผลได้ไฮโดรเจนมีค่าสูงสุดที่ร้อยละ 46.76 โดยโมล และ 22.91 มิลลิโมลต่อกรัม แต่อย่างไรก็ตามผลของอุณหภูมิรีฟอร์มมิงที่อุณหภูมิ 700 และ 800 องศาเซลเซียส โดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิล/อลูมินา-แคลเซียมมอฟ ให้ผลได้และองค์ประกอบของไฮโดรเจนมีค่าลดลง เนื่องจากการเสื่อมสภาพของตัวเร่งปฏิกิริยา


การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันกากกาแฟบดโดยเอทานอลภาวะเหนือวิกฤต, ณัฐกิตติ์ เจริญดี Jan 2022

การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันกากกาแฟบดโดยเอทานอลภาวะเหนือวิกฤต, ณัฐกิตติ์ เจริญดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ไบโอดีเซล (Biodiesel) เป็นหนึ่งในพลังงานทางเลือกชีวภาพที่สามารถผลิตได้จากแหล่งพลังงานหมุนเวียนเช่น น้ำมันพืช และไขมันสัตว์ ในกระบวนการผลิตไบโอดีเซลพบปัญหาด้านราคาต้นทุนวัตถุดิบที่มีราคาสูงซึ่งคิดเป็นร้อยละ 70 ของต้นทุนทั้งหมด กากกาแฟเป็นของเสียหลักจากกระบวนการผลิตกาแฟซึ่งมีองค์ประกอบของไขมันอยู่ร้อยละ 18 ถึง 20 ของน้ำหนัก ทำให้สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตไบโอดีเซลเพื่อลดต้นทุนการผลิตได้อีกทางหนึ่ง งานวิจัยนี้ศึกษากระบวนการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันกากกาแฟบดด้วยเอทานอลภาวะเหนือวิกฤตในเครื่องปฏิกรณ์แบบแบตช์ และแบบต่อเนื่อง และหาภาวะที่ให้ร้อยละกรดไขมันเอทิลเอสเทอร์ (Fatty acid ethyl ester, FAEE) สูงสุด จากผลการทดลองพบว่าปริมาณน้ำมันกากกาแฟบดสูงสุดที่สามารถสกัดด้วยวิธีซอกห์เลตโดยใช้ตัวทำละลายเอทานอลได้ปริมาณน้ำมันกากกาแฟบดร้อยละ 27.67 ของน้ำหนักกากกาแฟบด ในกระบวนการผลิตไบโอดีเซลด้วยเครื่องปฏิกรณ์แบบแบตช์ พบว่าปริมาณกรดไขมันเอทิลเอสเทอร์จะเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิและเวลาในการทำปฏิกิริยาเพิ่มขึ้น โดยที่อุณหภูมิ 275 องศาเซลเซียส และเวลาในการทำปฏิกิริยา 40 นาที จะให้ปริมาณกรดไขมันเอทิลเอสเทอร์สูงสุดร้อยละ 88.37 สำหรับกระบวนการผลิตไบโอดีเซลด้วยเครื่องปฏิกรณ์แบบต่อเนื่อง พบว่าเมื่อเพิ่มอัตราการไหลจะทำให้เวลาของสารตั้งต้นในเครื่องปฏิกรณ์ลดลง ส่งผลทำให้ปริมาณกรดไขมันเอทิลเอสเทอร์มีปริมาณลดลง ที่อุณหภูมิ 325 องศาเซลเซียส อัตราการไหล 2 กรัมต่อนาที และเวลาของสารตั้งต้นในเครื่องปฏิกรณ์ 25.16 นาที จะให้ปริมาณกรดไขมันเอทิลเอสเทอร์ที่สูงสุดร้อยละ 83.35


ผลของตัวทำละลายต่อการขนส่งไอออนและสภาพแวดล้อมการละลายสำหรับแบตเตอรี่สังกะสีไอออน, วรัญญา ชาระวงค์ Jan 2022

ผลของตัวทำละลายต่อการขนส่งไอออนและสภาพแวดล้อมการละลายสำหรับแบตเตอรี่สังกะสีไอออน, วรัญญา ชาระวงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ใช้การจำลองพลวัตเชิงโมเลกุลศึกษาผลของตัวทำละลายอินทรีย์เดี่ยว ตัวทำละลายอินทรีย์ผสม และโครงสร้างส่วนต่อประสานระหว่างของแข็งกับสารละลาย อิเล็กโทรไลต์ (solid electrolyte interphase, SEI) ที่มีต่อสมบัติการขนส่งและสภาพแวดล้อมการละลายของไอออนในสารละลายอิเล็กโทรไลต์สำหรับแบตเตอรี่สังกะสีไอออน สารละลาย อิเล็กโทรไลต์ประกอบด้วยเกลือซิงค์ไตรฟลูออโรมีเทนซัลโฟเนตหรือซิงค์ไตรเฟลต (Zn(OTf)2) ความเข้มข้น 1 M ในตัวทำละลายเอทิลีนคาร์บอเนต (EC) โพรพิลีนคาร์บอเนต (PC) ไดเมทิลฟอร์มาไมด์ (DMF) และไดเมทิลคาร์บอเนต (DMC) ชนิดตัวทำละลายมีผลต่อการนำพาไอออนในสารละลายอิเล็กโทรไลต์อย่างมาก ค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ของ Zn2+ และ OTf– ใน DMC สูงกว่าระบบที่ใช้ DMF, PC และ EC เป็นตัวทำละลาย ตามลำดับ โดย Zn(OTf)2 ใน DMC ให้ค่าการนำไฟฟ้าของไอออนสูงสุด 7.14 mS/cm ชั้นการละลายแรกของ Zn2+ ในตัวทำละลายทั้ง 4 ชนิดมีลักษณะคล้ายกัน โดย Zn2+ ถูกล้อมรอบด้วยตัวทำละลาย 3-4 โมเลกุล และดึงดูดกับ OTf– 1 โมเลกุล ในระบบตัวทำละลายผสม EC:DMC = 1:2 ค่าการนำไฟฟ้าของไอออนเพิ่มขึ้น ~5.3 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับระบบตัวทำละลายเดี่ยว EC เนื่องจาก DMC ช่วยลดความหนืดของสารละลายอิเล็กโทรไลต์และอันตรกิริยาระหว่างคู่ไอออน โครงสร้าง SEI มีผลต่อการนำพา Zn2+ ไปยังขั้วอิเล็กโทรด ในโครงสร้าง SEI ชนิดซิงค์ออกไซด์ (ZnO) Zn2+ เกิดอันตรกิริยาที่แข็งแรงกับอะตอมออกซิเจนของ ZnO ทำให้การสะสม Zn2+ ณ บริเวณรอยต่อระหว่างขั้วอิเล็กโทรดกับ SEI มีปริมาณน้อยกว่าโครงสร้างชนิดซิงค์เมทอกไซด์ (Zn(OCH3)2) ซิงค์คาร์บอเนต (ZnCO3) และ ซิงค์ฟลูออไรด์ (ZnF2)


พลาสมาดรายรีฟอร์มมิงของมีเทนเป็นแก๊สสังเคราะห์บนตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิล/เส้นใยซิลิกา, อริสา ธมาภรณ์ Jan 2022

พลาสมาดรายรีฟอร์มมิงของมีเทนเป็นแก๊สสังเคราะห์บนตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิล/เส้นใยซิลิกา, อริสา ธมาภรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการผลิตแก๊สสังเคราะห์จากปฏิกิริยาดรายรีฟอร์มมิงของมีเทนภายใต้เครื่องปฏิกรณ์พลาสมาชนิดไดอิเล็กทริกแบริเออร์ดีสชาร์จร่วมกับตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิลบนตัวรองรับเส้นใยซิลิกา (SF) และเม็ดซิลิกาที่มีรูพรุน (SP) ทั้งนี้ตัวรองรับเส้นใยซิลิกาที่ใช้ถูกสังเคราะห์ด้วยเทคนิคโซล-เจลร่วมกับเทคนิคอิเล็กโตรสปินนิง และตัวเร่งปฏิกิริยา Ni/SF และ Ni/SP ถูกเตรียมด้วยวิธีการแช่จุ่มแบบเปียกพอดี โดยผลการวิเคราะห์ลักษณะเฉพาะของตัวเร่งปฏิกิริยาด้วยเทคนิค BET, SEM-EDS และ XRD พบว่าลักษณะเฉพาะของตัวเร่งปฏิกิริยา Ni/SF และ Ni/SP มีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะการโหลดปริมาณโหลดนิกเกิลที่แตกต่างกันบนตัวรองรับตัวเร่งปฏิกิริยา ซึ่งการเพิ่มปริมาณโหลดนิกเกิลบนตัวรองรับเส้นใยซิลิกามีผลทำให้พื้นที่ผิวจำเพาะเพิ่มขึ้น ส่วนผลการทดสอบปฏิกิริยาดรายรีฟอร์มมิงของมีเทนได้ศึกษาถึงอิทธิพลของปริมาณโหลดนิกเกิลบนตัวรองรับซิลิกา (5, 10 และ 15 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก) ชนิดของตัวรองรับ (SF และ SP) รูปแบบการบรรจุตัวเร่งปฏิกิริยาในเครื่องปฏิกรณ์พลาสมา (บรรจุแบบบางส่วนและแบบเต็ม) และความต่างศักย์ไฟฟ้าที่ใช้ (10, 13 และ 15 กิโลโวลต์) ที่มีต่อประสิทธิภาพโดยรวมของระบบ พบว่าปริมาณโหลดนิกเกิลที่ต่างกันบนตัวรองรับซิลิกาและชนิดของตัวรองรับมีบทบาทอย่างมีนัยสำคัญต่อประสิทธิภาพโดยรวมของระบบ มากไปกว่านั้นการบรรจุตัวเร่งปฏิกิริยาแบบบางส่วนในเครื่องปฏิกรณ์พลาสมาและการเพิ่มความต่างศักย์ไฟฟ้าที่ใช้ให้ผลเชิงบวกต่อการปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวม โดยสภาวะที่เหมาะสมที่สุดในงานวิจัยนี้คือ การบรรจุตัวเร่งปฏิกิริยา 10%Ni/SF แบบบางส่วน ที่ความต่างศักย์ไฟฟ้า 15 กิโลโวลต์ ซึ่งให้ค่าคอนเวอร์ชันของมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์ ผลผลิตผลิตภัณฑ์แก๊สสังเคราะห์ อัตราส่วนโดยโมลของไฮโดรเจนต่อคาร์บอนมอนอกไซด์และประสิทธิภาพการใช้พลังงานสูงที่สุด


การจำลองการรั่วไหลของน้ำมันบริเวณอ่าวไทยตอนบน, กิตติยา แย้มภิรมย์ศรี Jan 2022

การจำลองการรั่วไหลของน้ำมันบริเวณอ่าวไทยตอนบน, กิตติยา แย้มภิรมย์ศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สถิติการเกิดน้ำมันรั่วไหลในประเทศไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันของกรมเจ้าท่า พบว่าเกิดน้ำมันที่รั่วไหลในทะเลอ่าวไทยตอนบนหลายครั้ง โดยมีสาเหตุมาจากเรือขนส่งสินค้า เรือขนถ่ายน้ำมัน เกิดอุบัติเหตุกลางทะเล อันเป็นผลมาจากความชำรุดของอุปกรณ์เดินเรือ หรือสภาพภูมิอากาศที่ไม่ดีต่อการเดินเรือ ยังส่งผลกระทบต่อชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อมอย่างมาก เพราะบริเวณอ่าวไทยตอนบนมีพื้นที่ชุมชนชายฝั่งทะเล และแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจำลองการรั่วไหลของน้ำมันบริเวณอ่าวไทยตอนบน โดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ในการคาดการณ์การเคลื่อนที่ของคราบน้ำมันที่รั่วไหลในทะเล ประกอบด้วยแบบจำลอง 3 ชนิด คือแบบจำลอง SWAN ใช้ในการจำลองคลื่นที่เกิดจากลม, แบบจำลอง Delft3D ใช้ในการจำลองกระแสน้ำเนื่องจากอิทธิพลของน้ำขึ้นน้ำลงและคลื่นลม และแบบจำลอง GNOME ใช้ในการจำลองการรั่วไหลของน้ำมันในทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนบน ผลของแบบจำลองแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การจำลองคลื่นและกระแสน้ำ และการจำลองการเคลื่อนที่ของคราบน้ำมันที่รั่วไหลในทะเลอ่าวไทยตอนบน ความสูงคลื่นนัยสำคัญเป็นผลที่ได้การจำลองคลื่นด้วยแบบจำลอง SWAN มีการปรับเทียบและสอบทานข้อมูลจากแบบจำลองกับข้อมูลตรวจวัดจากทุ่นสมุทรศาสตร์ของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิศาสตร์สารสนเทศ ในปี พ.ศ.2540 – 2545 ที่สถานีสถานีหัวหิน, สถานีเพชรบุรี และสถานีเกาะสีชัง กระแสน้ำเนื่องจากน้ำขึ้นน้ำลงและกระแสน้ำสุทธิที่เป็นผลรวมของน้ำขึ้นน้ำลงและคลื่นลมจากแบบจำลอง Delft3D ถูกปรับเทียบและสอบทานโดยใช้ระดับน้ำจากแบบจำลองกับข้อมูลระดับน้ำทำนายของกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ในปี พ.ศ. 2549 – 2559 ที่สถานีหัวหิน, สถานีสันดอนเจ้าพระยา, สถานีเกาะสีชัง และสถานีอ่าวสัตหีบ จากการศึกษาคลื่นและกระแสน้ำพบว่ากระแสน้ำที่เป็นอิทธิพลหลักบริเวณอ่าวไทยตอนบนคือกระแสน้ำเนื่องจากอิทธิพลของน้ำขึ้นน้ำลง จึงใช้กระแสน้ำเนื่องจากน้ำขึ้นน้ำลงในการศึกษาการเคลื่อนที่ของคราบน้ำมันที่รั่วไหลในทะเลต่อไป การศึกษาการเคลื่อนที่ของคราบน้ำมันที่รั่วไหลในทะเลอ่าวไทย ทำการปรับเทียบและสอบทานแบบจำลอง GNOME ด้วยข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) ในช่วงเกิดเหตุการณ์น้ำมันรั่วบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ.2562 พบว่าการเคลื่อนที่ของคราบน้ำมันมีทิศทางสอดคล้องกับทิศทางของลม ในการศึกษานี้ประยุกต์ใช้แบบจำลองโดยการวิเคราะห์การเคลื่อนที่ของคราบน้ำมันในช่วงน้ำเกิดและน้ำตายรายเดือน ทำให้สามารถประมาณช่วงเวลาและตำแหน่งที่น้ำมันเคลื่อนที่กระทบชายฝั่งทะเล และสรุปได้ว่าการเคลื่อนที่ของคราบน้ำมันที่รั่วไหลมีการเปลี่ยนแปลงตามปัจจัยของชนิดน้ำมัน, คุณสมบัติการแพร่กระจายของน้ำมัน, ข้อมูลลม และข้อมูลกระแสน้ำในทะเล


คุณสมบัติและทักษะที่จำเป็นสำหรับสกรัมมาสเตอร์ในความคาดหวังของผู้ร่วมทีมสกรัม, อริณชาดา อัศวรัตนมนตรี Jan 2022

คุณสมบัติและทักษะที่จำเป็นสำหรับสกรัมมาสเตอร์ในความคาดหวังของผู้ร่วมทีมสกรัม, อริณชาดา อัศวรัตนมนตรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิธีการทำงานแบบสกรัม (Scrum Methodology) เป็นหนึ่งในวิธีการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบอไจล์ (Agile Software Development) ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทีมพัฒนาซอฟต์แวร์แบบสกรัม เป็นทีมที่สามารถจัดการตนเองได้ กล่าวคือ สมาชิกของทีมรู้บทบาทหน้าที่ของตนเองและทํางานแบบ “ข้ามฟังก์ชันงาน” (Cross-Functional) ไม่มีการกำหนดหน้าที่ หรือตําแหน่งงานภายในทีมกันอย่างชัดเจนตายตัว มีเพียงแค่การกําหนดบทบาทหลักๆ ไว้ 3 บทบาทเท่านั้น คือ ทีมนักพัฒนา (Development Team) สกรัมมาสเตอร์ (Scrum Master) และเจ้าของผลิตภัณฑ์ (Product Owner) ส่งผลให้ผู้ร่วมทีมสกรัมต้องทํางานที่หลากหลาย ทั้งที่ตนเองถนัดและไม่ถนัด ดังนั้นสกรัมมาสเตอร์จําเป็นต้องมีทักษะที่เพียงพอ เพื่อช่วยให้ผู้ร่วมทีมสกรัมสามารถทํางานตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ร่วมกันได้ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ใช้การเก็บข้อมูลจากการตอบแบบสอบถามออนไลน์และการใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล จากบริษัทที่ใช้วิธีการทำงานแบบสกรัมพัฒนาซอฟต์แวร์ในไทย ใช้เวลาในการเก็บข้อมูล 3 เดือน ผลการวิจัย พบว่าทักษะที่จำเป็นสำหรับสกรัมมาสเตอร์จากมุมมองผู้ร่วมทีมสกรัมของบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ในไทย (1) สกรัมมาสเตอร์มองว่า วิธีการทำงานแบบสกรัม (Scrum Process) สำคัญที่สุดสำหรับทักษะด้านเทคนิค เช่นเดียวกับมุมมองของเจ้าของผลิตภัณฑ์ และทักษะการทำความเข้าใจ (Understanding Skills) สำคัญที่สุดสำหรับจรณทักษะ (2) เจ้าของผลิตภัณฑ์มองว่า ความมุ่งมั่น (Commitment, Responsibility) สำคัญที่สุดสำหรับจรณทักษะ (3) ทีมนักพัฒนามองว่า เครื่องมือรวบรวมโค้ด (code) ที่ได้รับการพัฒนาจากสมาชิกเเต่ละคนในทีมให้เป็นชิ้นเดียว (Continuous Integration Tools) สำคัญที่สุดสำหรับทักษะด้านเทคนิค และการทำงานเป็นทีม (Teamwork) สำคัญที่สุดสำหรับจรณทักษะ โดยรวมแล้วผู้ร่วมทีมสกรัมให้ความสำคัญกับทักษะด้านเทคนิค และจรณทักษะไม่แตกต่างกัน งานวิจัยนี้สามารถนำไปใช้กับการพิจารณาคุณสมบัติของสกรัมมาสเตอร์


การหาภาวะเหมาะที่สุดในการะบวนการผลิตยางรีเคลมสำหรับขยะยางที่ประกอบด้วยยางธรรมชาติและยางอีพีดีเอ็ม, ภัสรา สุวรรณสิงห์ Jan 2022

การหาภาวะเหมาะที่สุดในการะบวนการผลิตยางรีเคลมสำหรับขยะยางที่ประกอบด้วยยางธรรมชาติและยางอีพีดีเอ็ม, ภัสรา สุวรรณสิงห์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาภาวะที่เหมาะสมของเครื่องอัดรีดแบบสกรูคู่สำหรับเตรียมยางรีเคลมจากขยะยาง 2 ชนิด ประกอบด้วยขยะยางที่มียางธรรมชาติเป็นองค์ประกอบหลักและขยะยางอีพีดีเอ็ม ผลการวิเคราะห์การสลายตัวด้วยความร้อนโดยเทคนิคเทอร์โมกราวิเมทริกแอนนาไลซิส พบว่าขยะยางที่มียางธรรมชาติเป็นองค์ประกอบหลักและขยะยางอีพีดีเอ็มมีสัดส่วนของเนื้อยางอยู่ที่ร้อยละ 53.5 และ 56.0 ตามลำดับ สำหรับการเตรียมยางรีเคลมจากขยะยางที่มียางธรรมชาติเป็นองค์ประกอบหลักภาวะของเครื่องอัดรีดแบบสกรูคู่ที่ได้ทำการศึกษาคือ ความเร็วรอบในการหมุนของสกรูที่ 150, 200 และ 250 rpm โดยแต่ละความเร็วรอบจะใช้อุณหภูมิโซนผสมที่ 200, 225 และ 250 องศาเซลเซียส ในขณะที่การเตรียมยางรีเคลมจากขยะยางอีพีดีเอ็มจะใช้ความเร็วรอบในการหมุนของสกรูเหมือนกับกรณีแรก แต่อุณหภูมิโซนผสมจะอยู่ที่ 250, 275 และ 300 องศาเซลเซียส ผลการศึกษาพบว่า การเพิ่มความเร็วรอบในการหมุนของสกรูและอุณหภูมิโซนผสมส่งผลทำให้ยางรีเคลมทั้งสองชนิดมีความหนืดมูนีลดลง เมื่อนำยางรีเคลมที่ได้ไปขึ้นรูปตามมาตรฐาน ISO/TS 16095:2021 และทดสอบสมบัติเชิงกล พบว่ายางรีเคลมจากขยะยางที่มียางธรรมชาติเป็นองค์ประกอบหลักที่เตรียมที่ภาวะความเร็วรอบในการหมุนของสกรูที่ 250 rpm และอุณหภูมิโซนผสมที่ 200 องศาเซลเซียส และขยะยางอีพีดีเอ็มที่เตรียมที่ภาวะความเร็วรอบในการหมุนของสกรูที่ 150 rpm และอุณหภูมิโซนผสมที่ 275 องศาเซลเซียส จะมีความต้านทานต่อแรงดึงและระยะยืด ณ จุดขาด สูงที่สุด ทั้งนี้เป็นผลมาจากยางรีเคลมทั้ง 2 ชนิด ที่ได้จากภาวะข้างต้นมีร้อยละการดีวัลคาไนซ์สูงที่สูด ทำให้มีสภาพเป็นเทอร์โมพลาสติกสูงที่สุด เมื่อนำไปขึ้นรูปซ้ำจึงให้สมบัติเชิงกลดีที่สุด เมื่อนำภาวะข้างต้นไปศึกษาอิทธิพลของชนิดและปริมาณสารรีเคลมประเภทเททระเบนซิลไทยูแรมไดซัลไฟด์และเททระไอโซบิวทิลไทยูแรมไดซัลไฟด์ พบว่ายางรีเคลมคงรูปจากขยะยางที่มียางธรรมชาติเป็นองค์ประกอบหลักและยางรีเคลมคงรูปจากขยะยางอีพีดีเอ็มที่เติมสารรีเคลมชนิดเททระไอโซบิวทิลไทยูแรมไดซัลไฟด์ 1 และ 3 ส่วนในร้อยส่วนของยางจะมีความต้านทานต่อแรงดึงและระยะยืด ณ จุดขาด สูงที่สุดทั้งสองชนิดที่เติม ทั้งนี้เป็นผลมาจากยางรีเคลมดังกล่าวมีร้อยละการดีวัลคาไนซ์สูงที่สูด เมื่อนำยางรีเคลมทั้ง 2 ชนิดที่ไปใช้ทดแทนยางบริสุทธิ์ตามสูตรที่กำหนด พบว่าเมื่อเพิ่มปริมาณยางรีเคลมเป็นผลให้สมบัติเชิงกลของยางคงรูปลดลงตามลำดับ อย่างไรก็ตามพบว่าที่มีการใช้ยางรีเคลมทดแทนยางบริสุทธิ์จะได้ยางคงรูปมีความต้านทานต่อการเสื่อมสภาพเนื่องจากความร้อนสูงที่ขึ้น


การจำแนกประเภทแบบหลายฉลากของบทความในฐานข้อมูลวารสารวิชาการไทยจากบทคัดย่อ, จินตรัย พุทธิพรชัย Jan 2022

การจำแนกประเภทแบบหลายฉลากของบทความในฐานข้อมูลวารสารวิชาการไทยจากบทคัดย่อ, จินตรัย พุทธิพรชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทความวิจัยของไทยที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทำให้การจัดหมวดหมู่เป็นหมวดหมู่ย่อยเป็นเรื่องที่ท้าทาย ซึ่งต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญและต้องใช้เวลามากในการจัดประเภทบทความประเภทต่าง ๆ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงนำเสนอวิธีการและเทคนิคในการจำแนกบทความวิทยาการคอมพิวเตอร์แบบหลายฉลากในวารสารไทยและนำเสนอการเปรียบเทียบวิธีการต่าง ๆ สำหรับการจำแนกประเภทหลายฉลาก คือ Binary Relevance (BR), Classifier Chains (CC) และ Label Power-set (LP) ด้วยวิธีการตัดคำที่ใช้ตัวแยกประเภทซัพพอร์ตเวกเตอร์แมชชีน พบว่าวิธีการ CC-SVM-RBF kernel ร่วมกับวิธีการตัดคำภาษาไทย pythainlp และ TF-IDF ให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดสำหรับ ตัวชี้วัดประสิทธิภาพการเลือกตอบตามตัวอย่าง และ ตัวชี้วัดประสิทธิภาพการจำแนกประเภทหลายฉลาก โดยมี ML-accuracy = 0.578, Subset accuracy = 0.300, ค่าเรียกคืน = 0.670 และ ค่าเฉลี่ยไมโครสำหรับค่าเรียกคืน = 0.670 อย่างไรก็ตามวิธีการ BR-SVM-RBF kernel ร่วมกับวิธีการตัดคำภาษาไทย pythainlp ให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดสำหรับ ตัวชี้วัดประสิทธิภาพการเลือกตอบตามตัวอย่าง และ ตัวชี้วัดประสิทธิภาพการจำแนกประเภทหลายฉลาก คือ Hamming loss = 0.106, ค่าแม่นยำ = 0.735, ตัววัด F1 = 0.665, ค่าเฉลี่ยไมโครสำหรับค่าแม่นยำ = 0.586 และ ค่าเฉลี่ยไมโครสำหรับตัววัด F1 = 0.715 งานในอนาคตควรปรับปรุง Subset accuracy สำหรับแบบจำลองการจำแนกประเภทหลายฉลากในภาษาไทย


การสกัดกิจกรรมสำคัญจากคำพิพากษาศาลฎีกา เพื่อสร้างรายงานประจำวันสำหรับตำรวจ, ณภัทร งามสดใส Jan 2022

การสกัดกิจกรรมสำคัญจากคำพิพากษาศาลฎีกา เพื่อสร้างรายงานประจำวันสำหรับตำรวจ, ณภัทร งามสดใส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีเป้าหมายที่จะหาแนวทางแก้ปัญหาการบันทึกรายงานประจำวันของตำรวจ ที่จะช่วยให้พนักงานสอบสวนสามารถบันทึกรายงานประจำวันได้สะดวกมากยิ่งขึ้น โดยการสกัดสาระสำคัญทางคดีจากคำพิพากษาศาลฎีกาและคดีที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างคำทั้งหมดที่ปรากฎบนคำพิพากษา และระบุค่าความสำคัญเหล่านั้นโดยใช้เทคนิคทางกราฟ ได้แก่ ค่ากลางคั่นกลาง (Betweenness Centrality) ค่ากลางเพจแรงก์ (PageRank) ค่ากลางความเป็นศูนย์กลาง (Degree Centrality) ค่ากลางความใกล้ (Closeness Centrality) และ ค่ากลางไอเกนเวกเตอร์ (Eigenvector Centrality) เพื่อนำมาสร้างกราฟสรุปสำหรับการสร้างรายงานประจำวัน ทั้งนี้ วิธีการสร้างรายงานประจำวัน ผู้วิจัยออกแบบขั้นตอนวิธีสำหรับการท่องไปในกราฟสรุป เพื่อให้ได้ใจความสำคัญที่สามารถนำมาเป็นรายละเอียดหรือพฤติการณ์ที่ปรากฎอยู่บนรายงานประจำวัน


การปรับปรุงประสิทธิภาพการทำนายคะแนนคุณภาพชีวิตด้วยโมเดลแบบลำดับและการกลั่นความรู้, ธนสิทธิ์ ฤทธิ์ธนโสภณ Jan 2022

การปรับปรุงประสิทธิภาพการทำนายคะแนนคุณภาพชีวิตด้วยโมเดลแบบลำดับและการกลั่นความรู้, ธนสิทธิ์ ฤทธิ์ธนโสภณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภายในเมืองใหญ่ความเป็นอยู่อาศัยที่ดีของผู้อยู่อาศัยเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมการออกแบบเมืองและการพัฒนาอย่างยั่งยืนจึงเป็นหัวข้อที่สำคัญอย่างมาก คุณภาพชีวิตถูกใช้เป็นดัชนีชี้วัดความมีประสิทธิภาพของปัจจัยด้านปริมาณและคุณภาพของผังเมืองสำหรับผู้อยู่อาศัยภายในเมือง อีกทั้งคุณภาพชีวิตของผู้เดินทางเท้าก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน แนวคิดด้านความสามารถในการเดินจะเป็นตัวประเมินและวิเคราะห์คุณภาพชีวิตในฉากการเดิน อย่างไรก็ตามการทำแบบสอบถามเป็นสิ่งที่มีค่าใช้จ่ายและเวลาที่ต้องใช้สูง รวมถึงข้อจำกัดต่างๆในการประเมินพื้นที่ เพื่อที่จะจัดการกับข้อจำกัดเหล่านี้ งานวิจัยนี้ได้นำเสนอวิธีการที่นำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้ในการช่วยประเมินวัดผลความสามารถในการเดิน โดยที่มีการเก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถามด้วยอุปกรณ์ความจริงเสมือน (VR) อีกทั้งงานวิจัยนี้ได้นำเสนอวิธีการถอดข้อมูลและการฝึกสอนแบบจำลองด้วยโครงข่ายประสาทเทียม convolutional เชิงลึก (Deep convolutional neural networks : DCNNs) ซึ่งใช้ในการทำนายผลคะแนนคุณภาพชีวิต รวมถึงนำวิธีการกลั่นข้อมูลเพื่อช่วยในการลดขนาดและเวลาในการประมวลผลของแบบจำลองลงทำให้ประสิทธิภาพของแบบจำลองดียิ่งขึ้น จากตัวอย่างผลการทดลองพบว่าวิธีการที่ได้นำเสนอนั้นสามารถนำไปใช้งานได้จริงและสามารถใช้เป็นหนึ่งในวิธีการทางเลือกที่สามารถช่วยเหลือในงานด้านคุณภาพชีวิตได้


การจำแนกพฤติกรรมการนอนหลับตามการจัดกลุ่มของคุณภาพการนอนหลับ, ปวรรัตน์ ขุมเงิน Jan 2022

การจำแนกพฤติกรรมการนอนหลับตามการจัดกลุ่มของคุณภาพการนอนหลับ, ปวรรัตน์ ขุมเงิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การนอนหลับเป็นกิจกรรมสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิต ซึ่งความสำคัญของการนอนหลับคือการฟื้นฟู ซ่อมแซมเซลล์ภายในร่างกายและเตรียมพร้อมพลังงานสำหรับการเริ่มต้นในวันถัดไป การนอนหลับที่ดีสามารถสื่อได้ถึงสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่แข็งแรงโดยสามารถวัดได้จากคุณภาพการนอนหลับ การศึกษาทั่วไปจะนิยมใช้ข้อมูลทั้งหมดในการสอนแบบจำลองแต่ในการศึกษานี้เชื่อว่ารูปแบบการนอนหลับในแต่ละบุคคลจะมีความแตกต่างกัน ดังนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ขอเสนอการจำแนกพฤติกรรมการนอนหลับตามการจัดกลุ่มของคุณภาพการนอนหลับ ขั้นตอนแรกคือการจัดกลุ่มคนที่มีรูปแบบการนอนหลับที่คล้ายคลึงกันโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบหลักและอัลกอริทึมเคมีน ต่อมาใช้อัลกอริทึมการถดถอยโลจิสติกและการป่าแแบบสุ่มในการจำแนกพฤติกรรมการนอนหลับ หลังจากนั้นทดสอบประสิทธิภาพการวิเคราะห์ของแบบจำลองด้วยการตรวจสอบไขว้แบบดึงข้อมูลออกทีละตัว จากผลการทดลองพบว่าค่าความแม่นยำแบบจำลองของอัลกอริทึมการป่าแแบบสุ่มในทุกกลุ่มให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าแบบจำลองของการถดถอยโลจิสติกระหว่าง 2.1% ถึง 7.6%


การจำแนกระดับความคิดในการฆ่าตัวตายจากข้อความทวิตเตอร์โดยใช้การเรียนรู้ของเครื่อง, พันธพร เบ็ญจไชยรัตน์ Jan 2022

การจำแนกระดับความคิดในการฆ่าตัวตายจากข้อความทวิตเตอร์โดยใช้การเรียนรู้ของเครื่อง, พันธพร เบ็ญจไชยรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความคิดฆ่าตัวตายเป็นหนึ่งในภาวะสุขภาพจิตที่สำคัญอย่างมากในสังคมไทย ในปัจจุบันคนที่มีความคิดฆ่าตัวตายได้มีการแสดงความรู้สึกออกมาผ่านสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ในวิทยานิพนธ์นี้จึงได้มีแนวคิดในการนำเอาเทคนิคการประมวลผลภาษาธรรมชาติและการเรียนรู้ของเครื่อง มาใช้ในการจำแนกข้อความที่เป็นภาษาไทยบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ทวิตเตอร์เพื่อตรวจหาระดับความคิดฆ่าตัวตายทั้ง 6 ระดับ ได้แก่ 1) อยากตาย, 2) คิดฆ่าตัวตายแต่ยังไม่มีรายละเอียดที่เจาะจง, 3) คิดฆ่าตัวตายโดยกล่าวถึงวิธีการ แต่ยังไม่มีแผนและยังไม่ส่อเจตนาที่จะลงมือ, 4) คิดฆ่าตัวตายโดยมีเจตนาที่จะลงมือ ยังไม่มีแผนที่เจาะจง, 5) คิดฆ่าตัวตายโดยมีแผนที่เจาะจงและมีเจตนาที่จะลงมือ และ 6) อื่น ๆ (ไม่ใช่ความคิดฆ่าตัวตาย) โดยใช้อัลกอริทึมแอลเอสทีเอ็ม, เอสวีเอ็ม, แรนดอมฟอเรสต์ และ เอกซ์จีบูสต์ จากการประเมินผลพบว่าอัลกอริทึมแอลเอสทีเอ็มมีประสิทธิภาพโดยรวมดีที่สุด โดยมีค่าความเที่ยงเป็น 93.68% ค่าเรียกคืนเป็น 94.25% ค่าเอฟวันเป็น 93.88% และค่าความแม่นเป็น 95.05% งานวิจัยนี้ได้พัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อใช้ทำนายระดับความคิดฆ่าตัวตายจากข้อความของผู้ใช้ที่โต้ตอบกับเว็บแอปพลิเคชัน เพื่อเสนอแนวทางการช่วยเหลือตัวเองในเบื้องต้นหรือให้คำแนะนำได้อย่างเหมาะสมตามระดับความคิดฆ่าตัวตายนั้น ๆ ตลอดจนให้ความรู้เกี่ยวกับความคิดด้านลบและวิธีการจัดการความคิดลบอัตโนมัติของตนเอง และมีช่องทางการติดต่อโรงพยาบาลและเบอร์ฉุกเฉินให้แก่ผู้ที่มีความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายสูง เพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงความช่วยเหลือได้ทันที


ระบบการนับยานพาหนะแยกตามประเภทสำหรับวีดิทัศน์จราจรหลายมุมมอง, วิชุกร คันธินทระ Jan 2022

ระบบการนับยานพาหนะแยกตามประเภทสำหรับวีดิทัศน์จราจรหลายมุมมอง, วิชุกร คันธินทระ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การบริหารจัดการการจราจรถือเป็นความท้าทายสำคัญสำหรับเมืองขนาดใหญ่ในปัจจุบัน ข้อมูลปริมาณความหนาแน่นของยานพาหนะจะมีส่วนช่วยในการวางแผนจัดการจราจร อาทิเช่น การวางแผนระยะเวลาในการเปิด-ปิดไฟจราจรให้เหมาะสมตามปริมาณความหนาแน่นของยานพาหนะ เป็นต้น ปัจจุบันเราใช้คนในการประเมินจำนวนยานพาหนะซึ่งเกิดความล่าช้า และผิดพลาด ทำให้ไม่เหมาะสมในนำข้อมูลไปใช้ในการบริหารจัดการจราจร งานวิจัยนี้นำเสนอระบบนับแยกประเภทยานพาหนะจากวีดิทัศน์บันทึกภาพของกล้องจราจร โดยระบบจะประกอบด้วย object detection และ object tracking จากการทดสอบจะพบว่า YOLOX ทำประสิทธิภาพได้ดีกว่า YOLOv3 มากถึง 26.80% สำหรับชุดข้อมูลภาพมุมข้าง และ 8.34% สำหรับกรณีมุมบน เนื่องจาก YOLOX มีการแยกส่วนของ head ออกเป็น box classification และ box regression ซึ่งมีส่วนช่วยเพิ่มความแม่นยำ และ ByteTrack มีความเหมาะสมในการใช้ในการติตามวัตถุ object tracking อันเนื่องจาก ByteTrack สามารถในการจัดการการบดบังได้ดีกว่า Centroid track โดย ByteTrack จะการทำนายพิกัดของวัตถุที่เกิดการสูญหายขณะถูกบดบังด้วยเทคนิค kalman filter ทำให้ระบบสามารถติดตามวัตถุได้ต่อเนื่องเมื่อการบดบังสิ้นสุดลง จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า การทำงานกันระหว่าง YOLOX และ ByteTrack ประกอบกับการนับแบบมี ROI จะช่วยให้ระบบคัดแยกประเภทยานพาหนะ และนับยานพาหนะตามประเภทมีค่าความผิดพลาดที่ต่ำอยู่ที่ 16.67% สำหรับวีดิทัศน์มุมข้างและ 23.40% สำหรับวีดิทัศน์มุมบน โดยระบบที่นำเสนอนี้สามารถใช้ในการช่วยติดตามดูแลสภาพจราจรในระบบขนส่งอัจฉริยะได้


การพยากรณ์จำนวนผู้ป่วย Covid-19 ประเทศไทยโดยการใช้ข้อมูลจากหลายประเทศ, สิรธีร์ วรธรรมทองดี Jan 2022

การพยากรณ์จำนวนผู้ป่วย Covid-19 ประเทศไทยโดยการใช้ข้อมูลจากหลายประเทศ, สิรธีร์ วรธรรมทองดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ได้แพร่กระจายไปทั่วโลกตั้งแต่ปีพ.ศ.2562 การศึกษานี้ได้ทำการพยากรณ์ผู้ป่วยจากโรคโควิด-19ของประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลตั้งแต่ วันที่ 22 มกราคม พ.ศ.2563 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2564 ซึ่งมีจำนวนข้อมูลอยู่ 710 วัน โดยข้อมูลสาธารณะจากมหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอปคินส์ ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) ในการพยากรณ์จำนวนผู้ป่วยในประเทศเพื่อเป็นหนึ่งในข้อมูลในการช่วยรัฐบาลออกนโยบายการจัดการทรัพยากรเพื่อรับมือกับโรคระบาด การศึกษานี้ได้ใช้วิธีการจัดกลุ่มเคมีน (K-Means) ในการจัดกลุ่มของประเทศที่มีรูปแบบของจำนวนผู้ป่วยจากโรคคล้ายกันกับประเทศไทย ผลจากการจัดกลุ่มมีประเทศที่อยู่ใน Cluster เดียวกันกับประเทศไทยทั้งหมด 8 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น (Japan), มาเลเซีย (Malaysia), ฟิลิปปินส์ (Philippines) ,บังกลาเทศ (Bangladesh) ,คิวบา (Cuba) ,อิรัก (Iraq) ,เม็กซิโก (Mexico) และ เวียดนาม (Vietnam) อยู่ในกลุ่มเดียวกับประเทศไทย จากนั้นทำการจับคู่ระหว่างประเทศไทยและประเทศที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ใช้โมเดลหน่วยความจำระยะสั้นยาว (Long Short-Term Memory) เพื่อพยากรณ์จำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ของประเทศไทย ผลจากโมเดลแสดงได้ว่าการใช้ข้อมูลคู่ประเทศไทยและบังกลาเทศ ญี่ปุ่น และเม็กซิโกมีค่าเฉลี่ยของร้อยละความผิดพลาดสัมบูรณ์ (Mean Absolute Percentage Error) น้อยที่สุดตามลำดับ เมื่อเทียบกับการใช้ข้อมูลแค่ประเทศไทยอย่างเดียว


การประเมินความเสี่ยงต่อระบบนิเวศของไมโครพลาสติกและยาตกค้างในกลุ่มยา ต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์จากระบบบำบัดน้ำเสียโรงพยาบาล, จิรายุ เรียบร้อย Jan 2022

การประเมินความเสี่ยงต่อระบบนิเวศของไมโครพลาสติกและยาตกค้างในกลุ่มยา ต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์จากระบบบำบัดน้ำเสียโรงพยาบาล, จิรายุ เรียบร้อย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

น้ำเสียจากโรงพยาบาลมีการปนเปื้อนไมโครพลาสติกและยาตกค้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาตกค้างในกลุ่มยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ งานวิจัยนี้ได้ทำการเก็บตัวอย่างน้ำและตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสียโรงพยาบาลบริเวณ น้ำเข้าระบบ บ่อเติมอากาศ บ่อตกตะกอน บ่อเติมคลอรีน และน้ำทิ้ง ในช่วงวันธรรมดาและวันหยุดสุดสัปดาห์ 4 ช่วงเวลา ในเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2565 เพื่อศึกษาความแตกต่างของปริมาณลักษณะของไมโครพลาสติก และยาตกค้างกลุ่มยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ในน้ำทิ้งและบนพื้นผิวไมโครพลาสติก รวมทั้งประเมินความเสี่ยงต่อระบบนิเวศของไมโครพลาสติกและยาตกค้างที่ปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม ผลการศึกษาความเข้มข้นใน น้ำเสีย น้ำทิ้ง ตะกอน และประสิทธิภาพการบำบัดช่วงวันธรรมดาและวันหยุดสุดสัปดาห์มีค่าอยู่ในช่วง 125±1.89-133±8.54 ชิ้น/ลิตร 32±3.10-34±3.11 ชิ้น/ลิตร 4,007±244.63-4,371±246.70 ชิ้น/กิโลกรัม น้ำหนักแห้ง และ 73.85%-74.11% ตามลำดับ ไมโครพลาสติกส่วนใหญ่ในน้ำทิ้งและตะกอนเป็นไมโครพลาสติกชนิดเส้นใย สีดำ ขนาดในช่วง 20-100 ไมครอน และเป็นพอลิเมอร์ชนิดพอลิเอไมด์ การปนเปื้อนยาต้านการอักเสบทั้งสามชนิด ได้แก่ Ibuprofen Naproxen และ Diclofenac ในน้ำทิ้ง อยู่ในช่วง 1.97-2 µg/l, 0.25-0.51 µg/l และ 1.74-1.76 µg/l ตามลำดับ ประสิทธิภาพการบำบัด Ibuprofen Naproxen และ Diclofenac ช่วงวันธรรมดาและวันหยุดสุดสัปดาห์มีค่าอยู่ในช่วง 57.08%- 61.22%, 80.23%- 85.08% และ 55.88%- 62.17% ตามลำดับ ปริมาณยาต้านการเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์บนพื้นผิวไมโครพลาสติกอยู่ในช่วง 1.66-1.68 µg/l, 0.05-0.07 µg/l และ 1.22-1.23 µg/l ตามลำดับ การประเมินความเสี่ยงอันตรายของพอลิเมอร์ (H index) ศักยภาพในการก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อระบบนิเวศของ(PER) ของไมโครพลาสติกอยู่ในระดับความเสี่ยงสูง และสัดส่วนความเสี่ยงอันตราย (HQ) ของ Diclofenac เกิดความเสี่ยงสูงต่อสัตว์น้ำหลายชนิด


อิทธิพลของลักษณะเชิงปริมาณของรากแสมขาวต่อการตกตะกอนในแปลงปลูกป่าชายเลน จังหวัดสมุทรปราการ, ศราวรรณ หงษ์วิเศษ Jan 2022

อิทธิพลของลักษณะเชิงปริมาณของรากแสมขาวต่อการตกตะกอนในแปลงปลูกป่าชายเลน จังหวัดสมุทรปราการ, ศราวรรณ หงษ์วิเศษ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ระบบนิเวศป่าชายเลนนอกจากมีบทบาทสำคัญในการเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอน ยังช่วยรักษาเสถียรภาพของพื้นที่ชายฝั่งผ่านกระบวนการตกตะกอน การฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่งด้วยการปลูกป่าชายเลนจึงมีส่วนช่วยบรรเทาการ กัดเซาะชายฝั่ง โครงสร้างพืชพรรณโดยเฉพาะส่วนของรากมีบทบาทต่อการตกตะกอนในป่าชายเลน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของลักษณะเชิงปริมาณของรากแสมขาว (Avicennia alba) ต่อการตกตะกอนตามระยะห่างจากชายฝั่งในแปลงปลูกป่าชายเลนบางปู จังหวัดสมุทรปราการ ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2563 ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ผลการศึกษาพบว่าลักษณะเชิงปริมาณของรากหายใจแบบ pneumatophore ของแสมขาวมีความผันแปรตามระยะห่างจากชายฝั่ง โดยความสูง ความหนาแน่น พื้นที่หน้าตัดรวม ปริมาตรรวม และพื้นที่ผิวรวมของรากหายใจมีค่าลดลงเมื่อระยะห่างจากชายฝั่งมากขึ้น ขณะที่พื้นที่หน้าตัดของลำต้นและความหนาแน่นของกล้าไม้มีแนวโน้มมากขึ้นเมื่อระยะห่างจากชายฝั่งเพิ่มขึ้น ผลการศึกษาอัตราการตกตะกอนพบว่าบริเวณแปลงปลูกป่าชายเลนมีค่ามากกว่าบริเวณหาดโคลนที่ไม่มีพืชปกคลุม และมีค่ามากที่ระยะ 50 และ 70 เมตรจากชายฝั่งทะเล (0.1231±0.02 และ 0.1114±0.04 กรัมต่อเซนติเมตรต่อวัน ตามลำดับ) นอกจากนี้พบว่าลักษณะเชิงปริมาณของรากหายใจแบบ pneumatophore (ได้แก่ ความสูง พื้นที่ผิวรวม และปริมาตรรวม) มีความสัมพันธ์เชิงลบกับอัตราการตกตะกอน กล่าวได้ว่าโครงสร้างพืชพรรณส่วนเหนือดินเพิ่มความปั่นป่วนของมวลน้ำ ทำให้ตะกอนขนาดเล็กแขวนลอยนานขึ้นและถูกพัดพาไปด้านในของแปลงปลูก ส่วนรากใต้ดินโดยเฉพาะรากฝอยมีความหนาแน่นมากในบริเวณที่ห่างจากชายฝั่งและมีสหสัมพันธ์เชิงบวกกับสัดส่วนโคลน (อนุภาคดินเหนียวรวมกับทรายแป้ง) แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการยึดจับตะกอนของรากฝอย สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงระดับความสูงของพื้นที่สุทธิในแปลงปลูกที่มีค่าเป็นบวกและผันแปรอยู่ในช่วงแคบกว่าบริเวณหาดโคลน นั่นคือมีการสะสมของตะกอนในพื้นที่แปลงปลูก แต่เกิดการกัดเซาะบริเวณหาดโคลนเนื่องจากมีค่าสุทธิเป็นลบ จึงสรุปได้ว่าลักษณะเชิงปริมาณของรากหายใจแบบ pneumatophore และรากใต้ดินของ แสมขาวมีอิทธิพลต่อการตกตะกอนในแปลงปลูกป่าชายเลนบางปู โดยทำหน้าที่ร่วมกับลำต้นและกล้าไม้ช่วยส่งเสริมการสะสมของตะกอน เกิดเสถียรภาพของตะกอนให้คงอยู่ในพื้นที่ป่า แปลงปลูกป่าชายเลนจึงช่วยบรรเทาการกัดเซาะชายฝั่ง ในระยะยาวได้อย่างยั่งยืน อีกทั้งความสามารถในการสะสมตะกอนนี้ยังใช้เป็นดัชนีชี้วัดผลสัมฤทธิ์ของการปลูกฟื้นฟู ป่าชายเลนในแง่ของนิเวศบริการได้อีกด้วย


Indoor And Outdoor Localization In An Unknown Environment With Window Detection For Unmanned Aerial Vehicles, Laphonchai Jirachuphun Jan 2022

Indoor And Outdoor Localization In An Unknown Environment With Window Detection For Unmanned Aerial Vehicles, Laphonchai Jirachuphun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this thesis, we design and build a system for unmanned aerial vehicles (UAVs). We combine, adjust and improve existing open-source algorithms for localization tasks in an indoor and outdoor environment with window detection for transitioning between the two environments. For outdoor localization, we mainly use GPS, while for indoor localization, we use Extended Kalman Filter (EKF). However, for the transitioning area where the GPS is unreliable and the environment has too few structures for EKf, we use an opening such as a window or a door for localization with a stereo camera. We compare our technique with GPS only, …


Policy Implications Of Urban Greening To Sustainable Gentrification: A Case Study Of Quezon City, Philippines, Joachim James De Castro Jan 2022

Policy Implications Of Urban Greening To Sustainable Gentrification: A Case Study Of Quezon City, Philippines, Joachim James De Castro

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Rapid urbanization entails a number of urban problems that need to be confronted. There is a call to utilize urban spaces while observing the pillars of sustainability wherein the harmony among aspects such as economic, social, and environmental must be achieved. Urban greening, a tool for urban planning is one of the solutions being seen by different stakeholders globally in addressing urban problems. However, in the process of urban development, gentrification, an unchecked phenomenon arises. The movement of middle class people to either developed or redeveloped urban areas can possibly entail social issues such as displacement and exclusivity of urban …


Assessment Of Municipality Roles In Adaptation To Climate Change: A Case Study From Mangalsen Municipality Of Acchham Nepal., Samridhi Kharel Jan 2022

Assessment Of Municipality Roles In Adaptation To Climate Change: A Case Study From Mangalsen Municipality Of Acchham Nepal., Samridhi Kharel

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis aims to 1) analyze the impact of climate change on agriculture, 2) explore adaptation initiatives being applied and potential ways to cope with it 3) understand Mangalsen Municipality’s role in solving the climate change issues 4) assess climate induce vulnerabilities which affect farming communities. 110 household surveys, 30 key informant surveys, 6 focus group discussions, and informal direct field observation were undertaken from 1 December 2021- 30 January 2022 for primary data collection, whereas secondary data were collected from journals, newspapers, and research papers. SPSS and MS excel were used for data analysis and interpretation. The study area's …


Degradation Of Di (2-Ethylhexyl) Phthalate By Marine Sediment Bacteria And Identification Of Key Degraders And Degradative Genes, Ritu Ningthoujam Jan 2022

Degradation Of Di (2-Ethylhexyl) Phthalate By Marine Sediment Bacteria And Identification Of Key Degraders And Degradative Genes, Ritu Ningthoujam

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Di (2-ethylhexyl) phthalate (DEHP) is a toxic phthalate ester (PAE) plasticizer that is predominantly detected in marine sediment and biota. DEHP degradation by bacteria from several environments has been studied, but very little is known about marine sediment bacteria that can degrade DEHP and other PAEs. Therefore, in this study, we enriched a bacterial consortium C10 that can degrade four PAEs of varying alkyl chain lengths (DEHP, dibutyl phthalate, diethyl phthalate, and dimethyl phthalate ; separately and as a mixture) from marine sediment. The major bacterial genera in C10 during the degradation of the PAEs were Glutamicibacter, Ochrobactrum, Pseudomonas, Bacillus, …


Strengthening Local Government To Enhance Flood Risk Management:A Case Study Of Xay District, Lao Pdr., Souksamay Manhmanyvong Jan 2022

Strengthening Local Government To Enhance Flood Risk Management:A Case Study Of Xay District, Lao Pdr., Souksamay Manhmanyvong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The Xay district of Lao PDR is vulnerable to flooding because around 80% of the total geographic area consists of mountains, rivers, and tributaries. While the district has limited coping capability. Therefore, strengthening the local government to enhance flood risk management was investigated in the present study with the following four objectives. Desk research, on-site observation, in-depth interviews, and expert focus group were used for data collection. The study found that local people always suffer from flooding in the Xay district almost every year because the district locates on a high mountain surrounded by canals and a high population along …


Surface-Enhanced Raman Scattering Technique For Nanoplastics Detection, Boonphop Chaisrikhwun Jan 2022

Surface-Enhanced Raman Scattering Technique For Nanoplastics Detection, Boonphop Chaisrikhwun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The size-dependent effect of nanoplastics (NPLs) restricts the quantification of NPLs by surface-enhanced Raman scattering (SERS) technique. In this study, we successfully established an innovative preparation method to eliminate this effect. This developed SERS method allowed us to quantify 100-, 300-, 600-, and 800-nm polystyrene nanospheres (PSNSs) in diverse aqueous conditions at a low concentration. The SERS substrate was easily fabricated and used as NPLs signal enhancement with sputtering gold particles onto a glass cover slide. By preconcentrating and dissolving PSNSs in toluene, SERS technique can be successfully quantify NPLs at extremely low concentrations with a limit of detection (LOD) …


Enzyme-Free Hydrogen Peroxide Sensor From Dual-Shaped Plasmonic Silver Nanoparticles, Charles Oliver Avenido Jan 2022

Enzyme-Free Hydrogen Peroxide Sensor From Dual-Shaped Plasmonic Silver Nanoparticles, Charles Oliver Avenido

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

A novel growth-based strategy for the determination of hydrogen peroxide has been developed using a mixture of silver nanospheres (AgNSs) and citrate-capped silver nanoprisms (AgNPrs). The unique ability of hydrogen peroxide to oxidize silver nanoparticles and reduce silver metal consequently was exploited to produce a highly sensitive and selective sensor (AgNSs/NPrs). Citrate-capping of the AgNPrs only allows the lateral growth that resulted in a red shift and intensity enhancement of the in-plane dipole plasmon resonance (IPDPR) band. Consequently, distinct hues from yellow, orange, red, purple to blue were produced from the diluted sensors. Ratiometric analysis was employed to quantify H2O2 …


Synthesis Of Functionalized Porphyrins For Application As Soft Materials, Dumrongsak Aryuwananon Jan 2022

Synthesis Of Functionalized Porphyrins For Application As Soft Materials, Dumrongsak Aryuwananon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The series of functionalized porphyrins was designed and synthesized by varying para-substituents on meso-position of porphyrin ring as ether, ester, and urea with three different long alkyl chains (3-5, 7-9, 11). Afterwards, metalation of porphyrin derivatives by some 3d metals to serve as soft materials, liquid crystal, and axial ligands were introduced to provide spin-crossover property. Each series of functionalized porphyrin derivatives with three different chain lengths (3-5, 7-9, 11) and their Co(II) (3-5a,7-9a), Ni(II) (3-5b,7-9b), and Fe (III) (3-5c,7-9c) complexes were characterized by spectroscopic techniques consisting of NMR, IR, UV-visible and MS. The desired compounds were studied their mesomorphic …


Dna-Templated Synthesis Of Cationic Styryl Dyes, Kriangsak Faikhruea Jan 2022

Dna-Templated Synthesis Of Cationic Styryl Dyes, Kriangsak Faikhruea

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Styryl dye is a class of pi-conjugated dye that shows several desirable optical properties, such as high photostability, solvatochromic characteristics, and high fluorescence quantum yields. Due to the responsiveness to the binding with the target biomolecules such as nucleic acids, some of these dyes have been widely employed for biomolecular detection and cellular imaging. These dyes are typically synthesized via an aldol-type reaction between a methyl heterocycle and an aromatic aldehyde in the presence of acid or base as a catalyst. However, the conventional method of synthesizing these dyes is inefficient, time-consuming, and involves the use of excessive chemicals, as …