Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Physical Sciences and Mathematics Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 631 - 660 of 2268

Full-Text Articles in Physical Sciences and Mathematics

ตัวเร่งปฏิกิริยาเคมีไฟฟ้าแพลทินัม/ทังสเตนคาร์ไบด์สำหรับปฏิกิริยารีดอกซ์ของไฮโดรเจน, อุไรวรรณ พวงจิตร Jan 2020

ตัวเร่งปฏิกิริยาเคมีไฟฟ้าแพลทินัม/ทังสเตนคาร์ไบด์สำหรับปฏิกิริยารีดอกซ์ของไฮโดรเจน, อุไรวรรณ พวงจิตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาวิธีการสังเคราะห์ตัวเร่งปฏิกิริยาแพลทินัมที่ปรับปรุงด้วยทังสเตนคาร์ไบด์บนตัวรองรับคาร์บอน (Pt/WC/C) สำหรับปฏิกิริยารีดอกซ์ของไฮโดรเจน ตัวแปรที่ศึกษา คือ อุณหภูมิที่ใช้ในการรีดิวซ์ WC ค่าพีเอชที่ใช้ในการเตรียม Pt/C และการเติม WC ในโครงสร้างของตัวเร่งปฏิกิริยา Pt/C พบว่าทังสเตนคาร์ไบด์ที่สังเคราะห์ผ่านกระบวนคาร์บอไนเซชันที่อุณหภูมิ 950 องศาเซลเซียส ภายใต้บรรยากาศอาร์กอน และผ่านกระบวนการรีดักชันที่อุณหภูมิ 850 องศาเซลเซียส ภายใต้บรรยากาศไฮโดรเจน ให้ร้อยละการเกิดขึ้นของผลึก WC มากที่สุดคือร้อยละ 79 โดยน้ำหนัก เมื่อพิจารณาผลของพีเอชในการสังเคราะห์ตัวเร่งปฏิกิริยาแพลทินัมบนตัวรองรับคาร์บอน (Pt/C) ด้วยเทคนิคพอลิออล ที่อุณหภูมิ 140 องศาเซลเซียส พบว่าที่ค่าพีเอชเท่ากับ 12 ให้ขนาดอนุภาคเฉลี่ยของตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีขนาดเล็กที่สุดคือ 3.65 ± 0.96 นาโนเมตร และมีการกระจายตัวที่สม่ำเสมอ เมื่อนำตัวเร่งปฏิกิริยา Pt มาปรับปรุงด้วย WC พบว่าตัวเร่งปฏิกิริยา Pt/WC/C ที่มี Pt ร้อยละ 15 โดยน้ำหนัก ให้กัมมันตภาพสำหรับปฏิกิริยารีดอกซ์ของไฮโดรเจนในสารละลายกรดซัลฟิวริก 0.5 โมลต่อลิตร สูงที่สุด และมีกัมมันตภาพใกล้เคียงกับตัวเร่งปฏิกิริยา Pt/C เชิงพาณิชย์ ที่มีแพลทินัมร้อยละ 20 โดยน้ำหนัก เนื่องจากการปรับปรุง Pt ด้วย WC สามารถช่วยเพิ่มค่าพื้นที่ผิวในการเกิดปฏิกิริยาเคมีไฟฟ้า นอกจากนี้ตัวเร่งปฏิกิริยา Pt/WC/C ที่มี Pt ร้อยละ 15 โดยน้ำหนัก ยังมีเสถียรภาพมากกว่าตัวเร่งปฏิกิริยา Pt/C เชิงพาณิชย์ เมื่อทดสอบด้วยเทคนิคไซคลิกโวลเเทมเมทรีในสารละลายกรดซัลฟิวริกเป็นจำนวน 1,000 รอบ


พลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณของรีฟอร์มมิงด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ของมีเทนในเครื่องปฏิกรณ์ ฟลูอิไดซ์เบดแบบหมุนเวียนภายใน, ดุลยพัฒน์ เทียมสกุล Jan 2020

พลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณของรีฟอร์มมิงด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ของมีเทนในเครื่องปฏิกรณ์ ฟลูอิไดซ์เบดแบบหมุนเวียนภายใน, ดุลยพัฒน์ เทียมสกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบัน แก๊สเรือนกระจกหลักที่ปลดปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศ คือ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และมีเทน เพื่อจัดการกับแก๊สเรือนกระจก เทคโนโลยีการดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จึงได้ถูกคิดค้นขึ้น อย่างไรก็ตาม การดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์นั้น แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ยังคงอยู่ในรูป CO2 จึงนำไปสู่เทคโนโลยีการนำแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มาใช้ประโยชน์ ที่เป็นการเปลี่ยนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่ดักจับได้เป็นสารอื่นที่มีมูลค่า ปฏิกิริยารีฟอร์มมิงด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ของมีเทน เป็นการทำปฏิกิริยาระหว่าง แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และมีเทน จะเห็นได้ว่าปฏิกิริยานี้เป็นการใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และมีเทนซึ่งเป็นสาเหตุหลักของแก๊สเรือนกระจก เครื่องปฏิกรณ์ฟลูอิไดซ์เบดแบบหมุนเวียนภายในเป็นเครื่องปฏิกรณ์ที่ได้รวมทั้งหอไรเซอร์ ไซโคลน หอดาวเนอร์ และท่อป้อนกลับ ไว้ในเครื่องปฏิกรณ์เครื่องเดียว ทำให้เครื่องปฏิกรณ์นี้สามารถดำเนินการได้ง่ายกว่าเครื่องปฏิกรณ์ฟลูอิไดซ์เบดแบบหมุนเวียนทั่วไป โดยเครื่องปฏิกรณ์ชนิดนี้ถูกแบ่ง ด้วยแผ่นกั้นเป็น 2 ฝั่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นไรเซอร์และดาวเนอร์ของระบบที่เชื่อมกันด้วยช่องบริเวณด้านล่างของ เครื่องปฏิกรณ์ ในงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาอุทกพลศาสตร์และปฏิกิริยารีฟอร์มมิงด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ของมีเทนที่เกิดขึ้นในเครื่องปฏิกรณ์ฟลูอิไดซ์เบดแบบหมุนเวียนภายในที่มีการออกแบบ ลักษณะตัวกระจายแก๊ส ความสูงของแผ่นกั้นระหว่างด้านไรเซอร์กับดาวเนอร์ ความกว้างของ loop seal และความกว้างของ ทางออกแก๊ส แตกต่างกัน ซึ่งได้ทำการศึกษาโดยใช้อนุภาคขนาด 200 ไมโครเมตร ความหนาแน่น 3000 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และมีอัตราการป้อนแก๊สด้านดาวเนอร์และด้านไรเซอร์เท่ากับ 0.3 เมตรต่อวินาที และ 1.37 เมตรต่อวินาที ตามลำดับ โดยใช้พลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณในการศึกษา พบว่า การออกแบบเครื่องปฏิกรณ์ฟลูอิไดซ์เบดแบบหมุนเวียนภายในที่เหมาะสม คือ ตัวกระจายแก๊สแบบยกระดับ สัดส่วนความสูงของเครื่องเป็น 2 เท่าของความสูงแผ่นกั้น สัดส่วนความกว้างของเบดเป็น 10 เท่าของ loop seal และสัดส่วนความกว้างของ freeboard zone เป็น 37.5 เท่าของช่องทางออกแก๊ส


สมรรถนะการถ่ายโอนมวลของการดูดซึมคาร์บอนไดออกไซด์ในเอมีนผสมสามชนิด Amp-Pz-Mea, สุกัญญา นาครักษ์ Jan 2020

สมรรถนะการถ่ายโอนมวลของการดูดซึมคาร์บอนไดออกไซด์ในเอมีนผสมสามชนิด Amp-Pz-Mea, สุกัญญา นาครักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาสมรรถนะการดูดซึมคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยเอมีนผสมสามชนิด AMP- PZ-MEA ในหอดูดซึมบรรจุวัสดุแบบจัดเรียงตัวเป็นระเบียบชนิด Sulzer DX ในเชิงสัมประสิทธิ์ การถ่ายโอนมวลรวม (KGav) และประสิทธิภาพการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ โดยมีพารามิเตอร์ ที่ศึกษา ได้แก่ ฟลักซ์สารละลายขาเข้า (A) ฟลักซ์แก๊สขาเข้า (B) CO2 loading ในสารละลาย ขาเข้า (C) และ h/h0 (D) โดยใช้การออกแบบการทดลองเชิงแฟคทอเรียลแบบสามระดับ เพื่อศึกษาอิทธิพลของพารามิเตอร์และอันตรกิริยาระหว่างพารามิเตอร์ รวมถึงหาภาวะที่เหมาะสม ในการดำเนินการ ผลการศึกษา พบว่า KGav และประสิทธิภาพการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ เพิ่มขึ้นเมื่อฟลักซ์สารละลายขาเข้าและ h/h0 เพิ่มขึ้น แต่ลดลงเมื่อ CO2 loading ในสารละลาย ขาเข้าเพิ่มขึ้น โดยการเพิ่มฟลักซ์แก๊สขาเข้าไม่ส่งผลต่อ KGav แต่ทำให้ประสิทธิภาพของการกำจัด คาร์บอนไดออกไซด์ลดลง เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) พบว่า พารามิเตอร์และอันตรกิริยาระหว่างพารามิเตอร์ที่ส่งผลต่อ KGav ได้แก่ A C D AC CD C2 และ D2 ส่วนพารามิเตอร์และอันตรกิริยาระหว่างพารามิเตอร์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการกำจัด คาร์บอนไดออกไซด์ คือ A B C D AC และ CD ทั้งนี้ ภาวะที่เหมาะสำหรับการดูดซึม คาร์บอนไดออกไซด์ด้วยเอมีนผสมสามชนิด AMP-PZ-MEA คือ ฟลักซ์สารละลาย 3.67 ลูกบาศก์ เมตรต่อตารางเมตร·ชั่วโมง-1 CO2 loading ในสารละลายขาเข้า 0.25 โมลคาร์บอนไดออกไซด์ต่อ โมลเอมีน และ h/h0 เท่ากับ 0.32 นอกจากนี้ KGav และ ประสิทธิภาพการกำจัด คาร์บอนไดออกไซด์ของการถ่ายโอนมวลด้วยเอมีนผสมสามชนิด AMP-PZ-MEA สูงกว่าเอมีน เกณฑ์เปรียบเทียบ 5 โมลาร์ MEA กว่า …


แพลเลเดียมรองรับด้วยวัสดุไฮบริด Wo3/C สำหรับเอทานอลอิเล็กโทรออกซิเดชัน, อติรัตน์ ศรีเพชรภูมิ Jan 2020

แพลเลเดียมรองรับด้วยวัสดุไฮบริด Wo3/C สำหรับเอทานอลอิเล็กโทรออกซิเดชัน, อติรัตน์ ศรีเพชรภูมิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของเอทานอลในเซลล์เชื้อเพลิงเอทานอลโดยตรงถือเป็นปัญหาสำคัญในเซลล์เชื้อเพลิงชนิดนี้เนื่องจากการแตกพันธะระหว่างคาร์บอนกับคาร์บอนนั้นทำได้ยากทำให้ปฏิกิริยาออกซิเดชันเกิดแบบไม่สมบูรณ์ ตัวเร่งปฏิกิริยาจึงเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของเอทานอลในงานวิจัยนี้ได้นำทังสเตนออกไซด์คาร์บอนไฮบริดมาใช้เป็นตัวรองรับสำหรับตัวเร่งปฏิกิริยาแพลเลเดียมซึ่งทังสเตนออกไซด์สามารถทำหน้าที่ได้ทั้งเป็นตัวรองรับและทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาร่วมให้กับตัวเร่งปฏิกิริยาแพลเลเดียม ปริมาณทังสเตนออกไซด์ที่ใช้ศึกษาคือร้อยละ 10 ถึง 50 โดยน้ำหนัก โดยเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยาแพลเลเดียม (Pd) ร้อยละ 20 โดยน้ำหนักบนตัวรองรับคาร์บอน (C) และทังสเตนออกไซด์คาร์บอนไฮบริด (WO3/C) จากผลการทดลองพบว่าตัวเร่งปฏิกิริยา Pd-WO3/C (ปริมาณทังสเตนออกไซด์ร้อยละ 10 ถึง 50 โดยน้ำหนัก) มีพื้นที่ผิวในการเกิดปฏิกิริยาได้มากกว่าตัวเร่งปฏิกิริยา Pd/C เนื่องจากขนาดอนุภาคของแพลเลเดียมที่เล็กและมีการกระจายตัวดีเมื่ออยู่บนตัวรองรับทังสเตนออกไซด์คาร์บอนไฮบริด เมื่อทดสอบกัมมันตภาพของตัวเร่งปฏิกิริยา Pd/C และ Pd-WO3/C สำหรับปฏิกิริยาออกซิเดชันของเอทานอลด้วยเทคนิคไซคลิกโวลแทมเมทรี (Cyclic Voltammetry, CV) พบว่าตัวเร่งปฏิกิริยา Pd-40%WO3/C ให้กัมมันตภาพในการเร่งปฏิกิริยาสูงสุด ให้ค่าความหนาแน่นของกระแสไฟฟ้าเท่ากับ 118.12 มิลลิแอมป์ต่อตารางเซนติเมตร เมื่อทดสอบเสถียรภาพสำหรับปฏิกิริยาออกซิเดชันของเอทานอล พบว่าตัวเร่งปฏิกิริยา Pd-40%WO3/C มีเสถียรภาพมากกว่าตัวเร่งปฏิกิริยา Pd/C ซึ่งแสดงถึงการทนต่อความเป็นพิษของสารตัวกลางที่อยู่บนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาโดยผลิตภัณฑ์หลักที่เกิดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันของเอทานอล คืออะซีเตต (CH3COO-)


การพัฒนาตัวแบบรู้จำบุคลิกภาพจากเสียงสนทนาในบริบทของศูนย์ให้บริการข้อมูลลูกค้า, นคร ศรีณรงค์ Jan 2020

การพัฒนาตัวแบบรู้จำบุคลิกภาพจากเสียงสนทนาในบริบทของศูนย์ให้บริการข้อมูลลูกค้า, นคร ศรีณรงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ศูนย์บริการข้อมูลลูกค้าเป็นช่องทางสำคัญในการติดต่อระหว่างภาคธุรกิจและลูกค้า ตัวชี้วัดที่สำคัญของการทำงานของศูนย์บริการข้อมูลลูกค้าคือความพึงพอใจของลูกค้า ข้อมูลหลักที่ได้จากศูนย์บริการข้อมูลลูกค้าคือเสียงสนทนา ทำให้ผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษาแนวทางในการสร้างตัวแบบรู้จำบุคลิกภาพจากเสียง ข้อมูลเสียงและเพศถูกเก็บจากหน่วยตัวอย่าง 92 คน พร้อมกับข้อมูลบุคลิกภาพโดยใช้แบบวัด MPI (Maudsley Personality Inventory) แบบวัดดังกล่าวแบ่งบุคลิกภาพออกเป็น 2 ด้าน คือด้าน E-scale (Extraversion และ Introversion) และ N-scale (Neuroticism และ Stability) ซึ่งนำมาใช้ในการพัฒนาตัวแบบจำแนกบุคลิกภาพทั้งสองด้าน เทคนิคที่ใช้ในการพัฒนาตัวแบบประกอบด้วย Logistic regression, SVM, Random forest และ Artificial neural network โดยพบว่าตัวแบบที่พัฒนาด้วยเทคนิค Artificial neural network มีประสิทธิภาพสูงสุดในการรู้จำ E-scale โดยมีค่า Positive predictive value (ค่าวัดประสิทธิภาพของ Introversion) เท่ากับ 0.71 และค่า Negative predictive value (ประสิทธิภาพของ Extraversion) เท่ากับ 0.75 ในส่วนของ N-scale ไม่พบตัวแบบที่พัฒนาด้วยเทคนิคใดมีประสิทธิภาพเพียงพอ ในการศึกษาครั้งนี้พบว่าบุคลิกภาพ Extraversion และ Introversion ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์กับงานภาคธุรกิจ สามารถรู้จำจากเสียงสนทนาในบริบทศูนย์บริการข้อมูลลูกค้า โดยสามารถนำไปใช้มอบหมายพนักงานที่มีบุคลิกภาพเหมือนกับลูกค้าเพื่อเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าในการติดต่อสื่อสาร ภาคธุรกิจยังสามารถนำข้อมูลบุคลิกภาพเหล่านี้ไปใช้ต่อยอดในการแนะนำผลิตภัณฑ์ หรือโฆษณา ให้เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละคน


การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการฟังเพลงสตรีมมิง และ บุคลิกภาพหลักห้าด้านของผู้ใช้สปอทิฟาย, ธนิต หงส์พนารักษ์ Jan 2020

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการฟังเพลงสตรีมมิง และ บุคลิกภาพหลักห้าด้านของผู้ใช้สปอทิฟาย, ธนิต หงส์พนารักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความเข้าใจในเชิงลึกเกี่ยวกับลูกค้า (Customer Insight) เป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญของทุกองค์กรธุรกิจ การเข้าใจลูกค้าเชิงลึกจะทำให้องค์กรวางแผนกลยุทธ์ในการทำการตลาดให้สอดคล้องกับสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายต้องการได้ ลักษณะบุคลิกภาพนั้นเป็นหนึ่งในความเข้าใจในเชิงลึกเกี่ยวกับลูกค้าที่เป็นประโยชน์ต่อการทำธุรกิจ งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการฟังเพลงผ่านตัวแปรคุณลักษณะของเสียง 9 ตัวแปร ได้แก่ (1) Acousticness (2) Danceability (3) Energy (4) Instrumentalness (5) Liveness (6) Speechiness (7) Valence (8) Tempo และ (9) Mode และลักษณะบุคลิกภาพหลักห้าด้าน ได้แก่ (1) เปิดรับประสบการณ์ (2) พิถีพิถัน (3) สนใจต่อสิ่งภายนอก (4) ยินยอมเห็นใจ (5) ไม่เสถียรทางอารมณ์ เก็บข้อมูลด้วยแบบทดสอบลักษณะบุคลิกภาพหลักห้าด้าน (กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือผู้ที่ใช้หรือเคยใช้บริการสตรีมมิงของสปอทิฟายภายใน 1 ปีที่ผ่านมาที่อยู่ใน เจเนอเรชัน Z (เกิดระหว่างปีพ.ศ. 2540 - 2552)) ร่วมกับประวัติการฟังเพลงผ่านบริการสปอทิฟายในระยะเวลา 3 เดือนล่าสุด ในงานวิจัยนี้ใช้การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันในการวิเคราะห์ตัวแปรเชิงปริมาณ และใช้วิธีของแครมเมอร์วี (Cramer’s V) วิเคราะห์ตัวแปรเชิงคุณภาพ ผลการวิเคราะห์พบว่า ลักษณะบุคลิกภาพแบบเปิดรับประสบการณ์มีความสัมพันธ์เชิงลบกับ Danceability และ Energy ลักษณะบุคลิกภาพแบบพิถีพิถันมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับ Liveness และมีความสัมพันธ์เชิงลบกับ Energy, Instrumentalness และ Tempo ลักษณะบุคลิกภาพแบบสนใจต่อสิ่งภายนอกมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับ Acousticness และมีความสัมพันธ์เชิงลบกับ Energy Liveness และ Speechiness ลักษณะบุคลิกภาพแบบไม่เสถียรทางอารมณ์มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับ Instrumentalness และงานวิจัยนี้ยังพบว่าความสัมพันธ์ระหวางพฤติกรรมการฟังเพลงและลักษณะบุคลิกภาพของกลุ่มตัวอย่างสถานะเพศชายและหญิงมีความต่างกัน


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจบริจาคโลหิตของประชากรกลุ่มเจเนอเรชั่นวายในกรุงเทพมหานคร ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19, ภูษณิศา นวลตา Jan 2020

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจบริจาคโลหิตของประชากรกลุ่มเจเนอเรชั่นวายในกรุงเทพมหานคร ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19, ภูษณิศา นวลตา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ การรับรู้ ทัศนคติ แรงจูงใจ ความกังวลต่อการระบาดของโรคโควิด-19 พฤติกรรมการใช้สื่อ และการตัดสินใจบริจาคโลหิตของประชากรกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย ในกรุงเทพมหานคร ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 และเพื่อหาความสัมพันธ์ของระดับความรู้ การรับรู้ ทัศนคติ แรงจูงใจ ความกังวลต่อการระบาดของโรคโควิด-19 และพฤติกรรมการใช้สื่อเกี่ยวกับการบริจาคโลหิตที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจบริจาคโลหิต กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชากรในกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 120 คน เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย 8 ส่วน คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการบริจาคโลหิต 3) แบบสอบถามการรับรู้เกี่ยวกับการบริจาคโลหิต 4) แบบสอบถามทัศนคติเกี่ยวกับการบริจาคโลหิต 5) แบบสอบถามแรงจูงใจเกี่ยวกับการบริจาคโลหิต 6) แบบสอบถามความกังวลต่อการระบาดของโรคโควิด-19 7) แบบสอบถามพฤติกรรมการใช้สื่อ 8) แบบสอบถามการตัดสินใจบริจาคโลหิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่าไค-สแควร์ (Chi – Square Test : - Test) และวัดระดับความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Cramer’s V ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้อยู่ในระดับปานกลาง, การรับรู้อยู่ในระดับสูง, ทัศนคติอยู่ในระดับสูง, แรงจูงใจอยู่ในระดับสูง, ความกังวลต่อการระบาดของโรคโควิด-19 อยู่ในระดับปานกลาง พฤติกรรมการใช้สื่ออยู่ในระดับต่ำ มีรูปแบบการใช้สื่อสังคมออนไลน์ และการตัดสินใจบริจาคโลหิตของประชากรกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย ในกรุงเทพมหานคร ส่วนมากตัดสินใจไม่บริจาคโลหิต ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 2) จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ การรับรู้ ทัศนคติ แรงจูงใจ ความกังวลต่อการระบาดของโรคโควิด-19 และพฤติกรรมการใช้สื่อกับการตัดสินใจบริจาคโลหิต พบว่า ความรู้มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจบริจาคโลหิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (= 23.079, p = 0.000) การรับรู้มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจบริจาคโลหิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (= 4.532, p …


การค้นคืนข้ามภาษาสำหรับคำทับศัพท์ภาษาไทย/อังกฤษโดยใช้ทรานฟอร์เมอร์, อภิชัจจ์ โชดกวณิชย์ Jan 2020

การค้นคืนข้ามภาษาสำหรับคำทับศัพท์ภาษาไทย/อังกฤษโดยใช้ทรานฟอร์เมอร์, อภิชัจจ์ โชดกวณิชย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การค้นคืนข้ามภาษานั้นเป็นงานที่ท้าทายในวิทยาการด้านการประมวลผลภาษาธรรมชาติของไทย ด้วยเหตุผลในด้านของความแตกต่างระหว่างภาษา เช่น การออกเสียง และ กฎการทับศัพท์ วิทยานิพนธ์เล่มนี้ได้นำเสนอ ขั้นตอนวิธีการค้นคืนข้ามภาษาสำหรับคำทับศัพท์ภาษาไทย/อังกฤษโดยใช้ทรานฟอร์เมอร์ วิธีการที่นำเสนอนี้ช่วยให้สามารถค้นคืนคำทับศัพท์ข้ามภาษาได้โดยไม่ต้องอาศัยพจนานุกรม ซึ่งการค้นคืนข้ามภาษาโดยไม่อาศัยพจนุกรมนั้นจำเป็นต้องใช้หลักการเข้ารหัสเสียงซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนเสียงอ่านของคำ จากผลการทดลองของโมเดลการเรียนรู้แบบกึ่งสอน (Semi-supervised) ด้วยวิธี K-Fold cross validation แสดงให้เห็นว่า ขั้นตอนวิธีการเข้ารหัสคำที่นำเสนอให้ค่าเฉลี่ยของค่าแม่นยำ ค่าเรียกคืน และค่า F1 อยู่ที่ 85.08%, 88.25% และ 86.63% ตามลำดับ สำหรับชุดข้อมูลภาษาไทย และค่าเฉลี่ยของค่าแม่นยำ ค่าเรียกคืน และค่า F1 ของชุดข้อมูลภาษาอังกฤษอยู่ที่ 80.44%, 87.15% และ 83.66% ตามลำดับ


การจำแนกรูปภาพเชิงความหมายของภาพติ่งเนื้อชนิดเซลล์แบ่งตัวแบบผิดปกติในกระเพาะอาหารตามเวลาจริงโดยใช้กระบวนการการเรียนรู้เชิงลึก, วิชยะ ศิริพบพร Jan 2020

การจำแนกรูปภาพเชิงความหมายของภาพติ่งเนื้อชนิดเซลล์แบ่งตัวแบบผิดปกติในกระเพาะอาหารตามเวลาจริงโดยใช้กระบวนการการเรียนรู้เชิงลึก, วิชยะ ศิริพบพร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ติ่งเนื้อชนิดเซลล์แบ่งตัวแบบผิดปกติในกระเพาะอาหารจัดอยู่ในประเภทรอยโรคชนิดหนึ่ง เนื่องจากรอยโรคชนิดนี้ตรวจพบได้ยาก ทำให้บ่อยครั้งทีมแพทย์มักจะตรวจไม่พบ และมีโอกาสสูงที่จะพัฒนากลายเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร ในปัจจุบัน กระบวนการการเรียนรู้เชิงลึกนั้น ไม่สามารถตรวจจับบริเวณที่เป็นตามเวลาจริงได้ ทำให้งานวิจัยส่วนใหญ่จะตรวจหลังจากทำหัถการ ทางผู้จัดทำ จึงเสนอแนวทางในการทำโมเดลใหม่ โดยเน้นไปที่การใช้งานตามเวลาจริง โดยนำภาพถ่ายรอยโรคความละเอียดสูง 802 ภาพ จากศูนย์ส่องกล้องโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มาทำการปรับปรุงโมเดล BiSeNet จากงานแข่งขัน โดยเพิ่มเทคนิคเพื่อช่วยเพิ่มความแม่นยำของโมเดล โดยการใช้การเรียนรู้แบบโอนถ่ายจากภาพการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนล่าง ใช้การปรับภาพแคลชเพื่อช่วยเพิ่มรายละเอียดของภาพ และใช้การเพิ่มข้อมูลเพื่อให้โมเดลมีความแม่นยำโดยที่มีภาพจำนวนน้อย โดยโมเดลที่ถูกปรับปรุงของผู้จัดทำนั้น สามารถรองรับการใช้งานจริงได้ โดยมีการประมวลผลอยู่ที่ 31.53 เฟรมต่อวินาจึงสาที และสามารถทำนายภาพที่มีรอยโรคได้แม่นยำถึงร้อยละ 93 ดั้งนั้น โมเดลของผู้จัดทำ จึงสามารถใช้งานได้ระหว่างการทำหัตถการ และสามารถทำนายรอยโรคได้แม่นยำใกล้เคียงกับโมเดลยอดนิยม ในตลาดปัจจุบัน


การผสมความรู้ทางวิทยาศาสตร์ก่อนหน้าเข้ากับการเรียนรู้เชิงลึกสำหรับพยากรณ์ปริมาณฝนในระยะสั้นจากภาพถ่ายเรดาร์, ภัทรพงษ์ ด่านพูนกิจ Jan 2020

การผสมความรู้ทางวิทยาศาสตร์ก่อนหน้าเข้ากับการเรียนรู้เชิงลึกสำหรับพยากรณ์ปริมาณฝนในระยะสั้นจากภาพถ่ายเรดาร์, ภัทรพงษ์ ด่านพูนกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การทำนายปริมาณน้ำฝนในระยะสั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำนายปริมาณน้ำฝนในอนาคตอันใกล้อย่างถูกต้องเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อในงานต่างๆ วิธีการดั้งเดิมทำนายผลโดยจำลองกระบวนการทางฟิสิกส์ที่ซับซ้อนหรือใช้การประมาณค่านอกช่วง โมเดลเชิงลึกที่ใช้ส่วนมากนั้นมักประสบความสำเร็จเพียงระดับหนึ่งเท่านั้นเนื่องจากความซับซ้อนของปัญหา ดังนั้นวิทยานิพนธ์นี้จึงเสนอวิธีการที่ผสมผสานระหว่างวิธีการทางวิทยาศาสตร์กับโมเดลเชิงลึกเพื่อใช้ประโยชน์จากทั้งสองศาสตร์ในการทำนาย โมเดลที่เสนอนี้มีโครงสร้างพื้นฐานบนวิธีการประมาณค่าเรดาร์นอกช่วงซึ่งเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย โดยผู้วิจัยได้ทำการผสมผสานโดยแทนที่ส่วนย่อยของวิธีการนี้ที่ทำหน้าที่คำนวณสนามการเคลื่อนไหวด้วยโมเดลเชิงลึกที่เป็นโมเดลแบบรูปตัวยู ในขณะคงส่วนหลังที่ใช้เทคนิคการบิดเบือนไว้เพื่อทำหน้าที่ประมาณค่านอกช่วง ในการทดลองผู้วิจัยได้สร้างชุดข้อมูลจำลองที่ลอกเลียนคุณสมบัติสำคัญจากภาพถ่ายเรดาร์และทำการทดลองทั้งบนชุดข้อมูลจำลองดังกล่าวและชุดข้อมูลภาพถ่ายเรดาร์ที่ประกอบด้วยเหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรง 7 กรณี นอกจากนี้ได้ทดลองใช้เทคนิคเปลี่ยนแปลงน้ำหนักของค่าสูญเสียเพื่อให้โมเดลมีประสิทธิภาพการทำนายฝนตกหนักสูงขึ้น จากผลการทดลองพบว่าวิธีการแบบผสมผสานที่เสนอให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่าวิธีการมาตรฐานในกรณีส่วนมากบนชุดข้อมูลทั้งคู่


การวิเคราะห์เครือข่ายสหสัมพันธ์ของหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, ณัฐพล ฐิตะวีระ Jan 2020

การวิเคราะห์เครือข่ายสหสัมพันธ์ของหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, ณัฐพล ฐิตะวีระ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้นำเสนอการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของหุ้น 100 ตัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยการใช้ข้อมูลราคาของหุ้น ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ 2563 งานวิจัยนี้นำเสนอการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ของหุ้น โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลอนุกรมเวลาแบบแยกองค์ประกอบเพื่อขจัดความผันผวนของข้อมูล งานวิจัยนี้ใช้เทคนิคไดนามิกไทม์วอร์ปปิงอัลกอริทึม เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของหุ้นแต่ละตัวเพื่อนำมาสร้างเครือข่าย และใช้วิธีการวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคม เพื่อวิเคราะห์ค่าความเป็นสูงกลาง ค่าความเป็นศูนย์กลางประเภทความเป็นค่าคั่นกลาง ค่าความเป็นศูนย์กลางประเภทความใกล้ชิด และการตรวจจับชุมชนโดยใช้เกอร์แวน - นิวแมนอัลกอริทึม โดยงานวิจัยนี้สามารถตรวจจับชุมชนได้ทั้งหมด 7 ชุมชน งานวิจัยนี้นำเสนอสร้างแบบจำลองแบบเพิ่มข้อมูลในการแยกราคาของหุ้นโดยใช้แบบจำลองความจำสั้นแบบยาว สามารถจำแนกได้ด้วยความแม่นยำร้อยละ 57.9% ซึ่งมีความใกล้เคียงกับแบบจำลองพื้นฐานสำหรับตลาดหุ้นอื่นๆ หลังจากทดลองเพิ่มชุดข้อมูลทดแทนที่ใช้ทดสอบจากหุ้นที่มีระยะห่างใกล้กันมากที่สุด 2 ตัวพบว่า สามารถจำแนกได้ด้วยความแม่นยำร้อยละ 60.3% และหลังจากทดลองเพิ่มชุดข้อมูลทดแทนที่ใช้ทดสอบจากหุ้นที่มีระยะห่างไกลกันมากที่สุด 2 ตัวพบว่า สามารถจำแนกได้ด้วยความแม่นยำร้อยละ 62.3%


การเรียนรู้ถ่ายโอนสำหรับการจำแนกประเภทภาพเนื้อลายหินอ่อนเทียมด้วยโครงข่ายประสาทคอนโวลูชัน, เกรซ พานิชกรณ์ Jan 2020

การเรียนรู้ถ่ายโอนสำหรับการจำแนกประเภทภาพเนื้อลายหินอ่อนเทียมด้วยโครงข่ายประสาทคอนโวลูชัน, เกรซ พานิชกรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบัน เทคนิคการประมวลผลภาพถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในหลากหลายอุตสาหกรรม หนึ่งในนั้นคือการควบคุมคุณภาพที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร ขณะเดียวกัน หนึ่งในปัญหาที่การเรียนรู้เชิงลึกสามารถนำมาใช้ตอบโจทย์ได้ดีเยี่ยมคือปัญหาการจำแนกรูปภาพ ในมุมมองของการเรียนรู้เชิงลึก ปัญหาที่หลากหลายของการจำแนกประเภทภาพสามารถแก้ไขได้อย่างรวดเร็วผ่านการเรียนรู้ถ่ายโอน งานวิจัยนี้จึงนำเสนอวิธีการประยุกต์ใช้เทคนิคการเรียนรู้ถ่ายโอนในการฝึกสอนแบบจำลองโครงข่ายคอนโวลูชันเชิงลึกเพื่อจำแนกภาพเนื้อลายหินอ่อนเทียมหรือเป็นเนื้อลายหินอ่อนแท้ แบบจำลองที่เทรนมาเรียบร้อยแล้วสามแบบจำลอง ประกอบด้วย วีจีจี16 เรสเน็ต50 และ อินเซปชันวี3 ได้ถูกเลือกมาใช้ในการทดลองเพื่อสร้างแบบจำลองทั้งหมด 4 ตัว ประกอบด้วย ซีเอ็นเอ็นปกติ ซีเอ็นเอ็น+วีจีจี16 ซีเอ็นเอ็น+เรสเน็ต50 และ ซีเอ็นเอ็น+อินเซปชันวี3 พบว่า สมรรถนะแบบจำลองซีเอ็นเอ็น+อินเซปชันวี3 ให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด จึงถูกเลือกนำไปปรับละเอียด การประเมินผลบนชุดข้อมูลทดสอบของแบบจำลองซีเอ็นเอ็น+อินเซปชันวี3ภายหลังการปรับแต่งให้ผลลัพธ์ค่าความแม่นยำที่ดีที่สุดคือ 96.7% เห็นได้ว่า แนวทางการจำแนกประเภทภาพที่นำเสนอมีความหวังสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ซื้อในการตรวจสอบเนื้อลายหินอ่อนเทียมที่อาจตั้งราคาสูงเกินจริง อันเป็นผลมาจากการฉีดไขมันให้มีลายมากมายสวยงาม ซึ่งจะทำให้เนื้อมีรสชาติดีขึ้นรวมทั้งสามารถตั้งราคาที่สูงขึ้นได้อีกด้วย


ระบบเพื่อตรวจสอบข่าวของการบริการข้อมูลจราจรทางอากาศระหว่างประเทศ, ศุภชัย เจียมวิจิตรกุล Jan 2020

ระบบเพื่อตรวจสอบข่าวของการบริการข้อมูลจราจรทางอากาศระหว่างประเทศ, ศุภชัย เจียมวิจิตรกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ระบบที่ใช้สนับสนุนข้อมูลในการทำงานของเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศ (Air Traffic Controller, ATC) ทำงานในส่วนของการส่งต่อความรับผิดชอบของเครื่องบินระหว่างประเทศ (ข่าว AIDC) พร้อมแสดงข้อมูลที่สำคัญ ปัจจุบันถ้าเกิดการส่งข่าว AIDC ไม่ครบทุกขั้นตอน ATC ต้องส่งต่อความรับผิดชอบผ่านทางโทรศัพท์ ซึ่งอาจจะเกิดความผิดพลาดจากเจ้าหน้าที่ งานวิจัยชิ้นนี้นำข่าว AIDC มาทำการตัดคำจากข้อความโดยใช้การกำหนดรูปแบบเพื่อค้นหากลุ่มคำ แล้วนำผลที่ได้มาตรวจสอบความครบถ้วนของกระบวนการการส่งข่าว AIDC ช่วยให้ ATC และ วิศวกรสามารถรับทราบรายละเอียดของเครื่องบินทุกลำ เพื่อประสานงานกับต่างประเทศได้ในทันที แม้ว่ากระบวนการถ่ายโอนความรับผิดชอบจะไม่สมบูรณ์ก็ตาม ผลจากงานวิจัยชิ้นนี้ช่วยให้สามารถแจ้งเตือน ATC และวิศวกรผู้เกี่ยวข้อง พร้อมบอกรายละเอียดได้อย่างถูกต้อง 100%


การประเมินความยั่งยืนตลอดวัฏจักรชีวิตและประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจของผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติก, ณัฐพงษ์ วิชัยอัชชะ Jan 2020

การประเมินความยั่งยืนตลอดวัฏจักรชีวิตและประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจของผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติก, ณัฐพงษ์ วิชัยอัชชะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การประเมินความยั่งยืนตลอดวัฏจักรชีวิตและการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจของผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติก กรณีศึกษาคือการผลิตเม็ดพลาสติกความหนาแน่นสูงและเม็ดพลาสติกความหนาแน่นต่ำ โดยศึกษาในด้านความยั่งยืนทั้งสามด้านได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อมใช้เครื่องมือการประเมินผลกระทบตลอดวัฏจักรชีวิต ด้านเศรษฐกิจใช้เครื่องมือการประเมินต้นทุนตลอดวัฏจักรชีวิต และด้านสังคมใช้การประเมินผลกระทบทางสังคม โดยนำผลการศึกษาไปประยุกต์ใช้เพื่อประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจของผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติกความหนาแน่นสูง และผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติกความหนาแน่นต่ำ นอกจากนี้ยังนำไปประยุกต์ใช้เพื่อประเมินความยั่งยืนตลอดวัฏจักรชีวิตด้วยวิธีระเบียบวิธีที่ช่วยในการสร้างการตัดสินใจกับการประเมินหลายส่วน (Multi-Criteria Decision Analysis) และการทำการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสีย(Actor Network Analysis) เพื่อวิเคราะห์การดำเนินการด้านความยั่งยืนของกรณีศึกษาผลการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมพบว่า ผลกระทบด้านการใช้พลังงานที่ใช้แล้วหมดไป มีสัดส่วนผลกระทบมากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญประมาณร้อยละ 50 เพราะเนื่องจากการผลิตเม็ดพลาสติกนั้นใช้วัตถุดิบจากแนฟทาและก๊าซธรรมชาติเป็นวัตถุดิบตั้งต้น โดยกิจกรรมที่ก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมมากที่สุดคือการได้มาของวัตถุดิบโดยสัดส่วนที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสูงถึงรอยละ 93-99 จากกิจกรรมทั้งหมดในการดำเนินการผลิตโดยมีค่าผลกระทบที่ใกล้เคียงกันทั้งการผลิตเม็ดพลาสติกทั้งสองชนิด ผลการประเมินด้านเศรษฐกิจ การศึกษาต้นทุนพบว่าต้นทุนที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มาจากต้นทุนในการดำเนินระบบร้อยละ 80 และต้นทุนด้านการบำรุงรักษาร้อยละ 20 โดยต้นทุนของเม็ดพลาสติกความหนาแน่นสูงจะสูงกว่าต้นทุนของเม็ดพลาสติกความหนาแน่นต่ำอยู่เล็กน้อย ผลการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ ระหว่างเม็ดพลาสติกความหนาแน่นสูงและเม็ดพลาสติกความหนาแน่นต่ำพบว่า ค่าประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจของเม็ดพลาสติกความหนาแน่นสูงจะมีค่า 5.55 ดีกว่าเม็ดพลาสติกความหนาแน่นต่ำคือ 4.8 อยู่เล็กน้อย ผลการประเมินผลกระทบทางด้านสังคมพบว่า กรณีศึกษาได้ดำเนินการได้ครบถ้วนตามตัวชี้วัดที่ทำการศึกษาทั้งหมด 13ตัวชี้วัดทางด้านสังคม โดยครอบคลุมกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคือ คนงาน ผู้บริโภค สังคม และชุมชนท้องถิ่น และผลความถึงพอใจจากการดำเนินการพบว่า คนงานมีความพึงพอใจในระดับสูงสุดในระดับพึงพอใจมาก ส่วนกลุ่มอื่นๆอยู่ในระดับดี การวิเคราะห์ผู้มีสวนได้ส่วนได้ส่วนเสียต่อการดำเนินการของบริษัท ในด้านนโยบาย สังคม และเศรษฐกิจ พบว่า การดำเนินการกรณีศึกษาต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่บังคับใช้เป็นลำดับแรกและมีการยกระดับตามมาตรฐานและข้อตกลงในระดับสากลอย่างต่อเนื่องโดยข้อจำกัดในการการค้าภายในประเทศไม่พบปัญหาจากการดำเนินการแต่สำหรับการค้ากับต่างประเทศมีการเรียกร้องการปฏิบัติตามมาตรฐานเพื่อลดข้อจำกัดและอุปสรรคทางการค้ากับต่างประเทศเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้โรงงานดำเนินการยกระดับมาตรฐานการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง การประเมินความยั่งยืนนั้นจำเป็นต้องทำการเปรียบเทียบเพื่อดูผลิตภัณฑ์ว่ามีความยั่งยืนมากเพียงใดตามตัวชี้วัด ผู้วิจัยจึงนำผลการศึกษาของเม็ดพลาสติกความหนาแน่นต่ำนำมาเปรียบเทียบแต่สิ่งที่เป็นข้อจำกัดคือผลกระทบทางด้านสังคมไม่สามารถทำการปันส่วนได้ในลักษณะเดียวกับผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมและทางด้านต้นทุน ทำให้ผลกระทบทางสังคมของเม็ดพลาสติกทั้งสองชนิดมีค่าผลกระทบเท่ากัน โดยผลการประเมินความยั่งยืนพบว่าเม็ดพลาสติกความหนาแน่นต่ำมีค่าความยั่งยืนที่มากกว่าหากประเมินด้วยวิธีที่ผู้วิจัยเลือกใช้


การประเมินความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน (Ldn) ในพื้นที่เกษตรกรรม จังหวัดสระบุรี เพื่อการจัดการทรัพยากรดินที่ยั่งยืน, นครินทร์ มูลรัตน์ Jan 2020

การประเมินความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน (Ldn) ในพื้นที่เกษตรกรรม จังหวัดสระบุรี เพื่อการจัดการทรัพยากรดินที่ยั่งยืน, นครินทร์ มูลรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการประเมินความเสื่อมโทรมของทรัพยากรที่ดิน ตามแนวคิด Land Degradation Neutrality (LDN) พื้นที่ศึกษาครอบคลุมพื้นที่เกษตรกรรม จังหวัดสระบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสถานะความเสื่อมโทรมของดิน และนำเสนอการพื้นฟูความเสื่อมโทรมของที่ดินบริเวณพื้นที่ศึกษา โดยกำหนดตัวชี้วัดทั้งหมด 3 ตัวชี้วัด ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน (LU) การเปลี่ยนแปลงผลิตภาพของที่ดิน (LP) และการเปลี่ยนแปลงปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ในดิน (SOC) ภายในช่วงเวลา พ.ศ. 2560 ถึง พ.ศ. 2563 ตัวชี้วัด LU และ LP ดำเนินการวิเคราะห์โดยใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม Landsat 8 วิเคราะห์หาการเปลี่ยนแปลงโดยใช้โปรแกรมทางสารสนเทศภูมิศาสตร์ (ArcMap version 10.7) ในขณะที่ตัวชี้วัด SOC มีการเก็บตัวอย่างดิน 2 ครั้ง ในพื้นที่เกษตรกรรมที่ระดับความลึก 30 ซม. ครั้งที่หนึ่งในปี พ.ศ.2560 โดยสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1 และครั้งที่สองในปี พ.ศ.2563 ซึ่งงานวิจัยนี้เก็บตัวอย่างซ้ำตำแหน่งเดิม การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของ SOC แบ่งออกเป็น 2 วิธี ได้แก่ collocated site และ interpolation การศึกษานี้ใช้หลักการ "one out, all out" ในการประเมินสถานะของ LDN จากการเปลี่ยนแปลงของตัวชี้วัดทั้งหมด ผลการศึกษาพบว่าพื้นที่สีเขียวของตัวชี้วัด LU เกิดการสูญเสียในเชิงพื้นที่ประมาณ 47 ตารางกิโลเมตร ตัวชี้วัด LP ที่ได้จากการวิเคราะห์ไม่ได้แสดงความแตกต่างของการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของพื้นที่สีเขียวมากนักในช่วงเวลาที่กำหนด ในขณะที่ตัวชี้วัด SOC แสดงการลดลงของปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ในดินร้อยละ -0.04 ถึง -0.2 จากการวิเคราะห์ 2 แบบ ทั้งนี้ การวิเคราะห์สถานะของ LDN พบสัญญาณของความเสื่อมโทรมทรัพยากรที่ดิน ใน 3 อำเภอของพื้นที่ศึกษา เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงลบในตัวชี้วัด SOC ควรใช้มาตรการถ่วงดุล และหลักการจัดการที่ดินอย่างยั่งยืนเข้ามาใช้ในพื้นที่ดังกล่าว


ผลของสารอีดีทีเอต่อการดูดดึงแคดเมียมในดินปนเปื้อนด้วยเฮมพ์, อชิรญาณ์ คเณศรักษพงษ์ Jan 2020

ผลของสารอีดีทีเอต่อการดูดดึงแคดเมียมในดินปนเปื้อนด้วยเฮมพ์, อชิรญาณ์ คเณศรักษพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาผลของสารอีดีทีเอต่อการดูดดึงแคดเมียมในดินปนเปื้อนด้วยเฮมพ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการใช้สารอีดีทีเอในการบำบัดดินปนเปื้อนด้วยการปลูกเฮมพ์ เพื่อศึกษาความสามารถของพืชในการดูดดึง และสะสมแคดเมียมไปไว้ส่วนต่าง ๆ และทำการประเมินความเสี่ยงจากการปลูกเฮมพ์ที่ผ่านการปลูกในดินปนเปื้อนแคดเมียม เพื่อใช้เป็นแนวทางในการนำไปใช้ประโยชน์ โดยแบ่งชุดการทดลองออกเป็น 4 ชุด ได้แก่ 1) ชุดควบคุมที่ 1 ดินไม่ปนเปื้อนแคดเมียม (C1) 2) ชุดควบคุมที่ 2 ดินปนเปื้อนแคดเมียม (C2) 3) ชุดดินปนเปื้อนแคดเมียมที่เติมสารอีดีทีเอ ในอัตราส่วน 1:1 โมล (T1) และ 4) ชุดดินปนเปื้อนแคดเมียมที่เติมสารอีดีทีเอ ในอัตราส่วน 1:2 โมล (T2) และทำการทดลองเป็นระยะเวลา 120 วัน โดยนับวันที่เพาะปลูกเมล็ดเฮมพ์ลงในกระถางเป็นวันแรกของการทดลอง และได้ทำการเก็บตัวอย่างดินและพืชที่ระยะเวลา 30, 60, 90 และ 120 วัน เพื่อวิเคราะห์ปริมาณการดูดดึงและสะสมแคดเมียมในส่วนใต้ดิน (ราก) และส่วนเหนือดิน (ลำต้นและใบ) ของเฮมพ์ ผลการศึกษาพบว่า เมื่อสิ้นสุดการทดลอง ชุดการทดลอง T1 เป็นชุดที่มีประสิทธิภาพในการบำบัดดินปนเปื้อนแคดเมียมสูงที่สุด อีกทั้งยังเป็นชุดการทดลองที่เฮมพ์มีการดูดดึงและสะสมแคดเมียมไปไว้ในส่วนต่าง ๆ สูงสุดเช่นกัน รองลงมาคือ ชุดการทดลอง C2>T2>C1 ตามลำดับ นอกจากนั้นยังพบว่าที่ระยะเวลา 120 วัน ชุดการทดลอง T1 มีปริมาณแคดเมียมสะสมในดินน้อยที่สุด เท่ากับ 30.03 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และพบว่า เฮมพ์มีความสามารถในการสะสมแคดเมียมในส่วนรากสูงที่สุดในทุกชุดการทดลอง รองลงมาคือ เปลือก>แกน>ใบ สาเหตุที่เฮมพ์ที่ปลูกในชุดการทดลอง T2 ซึ่งมีการเติมสารอีดีทีเอในปริมาณความเข้มข้นสูงนั้น มีการสะสมแคดเมียม (112.70 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) น้อยกว่าชุดการทดลอง T1 และ C2 ที่มีค่าการสะสมแคดเมียมในรากเท่ากับ 122.07 และ 116.55 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ นั้นอาจเกิดมาจากการเติมสารอีดีทีเอในปริมาณความเข้มข้นที่สูงเกินไป จึงส่งผลกระทบทำให้เกิดความเป็นพิษต่อพืช เมื่อทำการประเมินความเสี่ยงจากความเป็นพิษของแคดเมียมผ่านการกิน บริเวณส่วนเปลือก (เส้นใย) …


ผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบบูรณาการในการจัดการภัยพิบัติและอุบัติภัยหมู่ต่อสมรรถนะ ของทหารกองประจำการ: กรณีศึกษา มณฑลทหารบกที่ 21 จังหวัดนครราชสีมา, วีรยุทธ หมื่นบุญมี Jan 2020

ผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบบูรณาการในการจัดการภัยพิบัติและอุบัติภัยหมู่ต่อสมรรถนะ ของทหารกองประจำการ: กรณีศึกษา มณฑลทหารบกที่ 21 จังหวัดนครราชสีมา, วีรยุทธ หมื่นบุญมี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research design) แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง (One-group Pretest-posttest Design) เพื่อศึกษาสมรรถนะของทหารกองประจำการหลังการได้รับโปรแกรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ ในการจัดการภัยพิบัติและอุบัติภัยหมู่และเพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะของทหารกองประจำการก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการเรียนรู้ แบบบูรณาการในการจัดการภัยพิบัติและอุบัติภัยหมู่ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ ทหารกองประจำการ มณฑลทหารบกที่ 21 จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 40 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เข้าร่วมโปรแกรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ ในการจัดการภัยพิบัติและอุบัติภัยหมู่ เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูล ส่วนบุคคล 2) เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการทดลอง ได้แก่ 2.1) แบบประเมินสมรรถนะของทหารกองประจำการ มีค่าความเที่ยง เท่ากับ .77 และ 2.2) โปรแกรมการเรียนรู้แบบบูรณาการในจัดการภัยพิบัติและอุบัติภัยหมู่ต่อสมรรถนะของทหารกองประจำการ และ 3) เครื่องมือกำกับการทดลอง ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ก่อนเรียนและหลังเรียน (Pre-test and Post-test) มีค่าความเที่ยง เท่ากับ .91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปว่า 1. สมรรถนะของทหารกองประจำการหลังการได้รับโปรแกรมการเรียนรู้แบบบูรณาการในการจัดการภัยพิบัติและอุบัติภัยหมู่ มีค่าเฉลี่ยคะแนนสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการเรียนรู้แบบบูรณาการในการจัดการภัยพิบัติและอุบัติภัยหมู่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พบว่า คะแนนสมรรถนะของทหารกองประจำการหลังเข้าร่วมโปรแกรมการเรียนรู้แบบบูรณาการในการจัดการภัยพิบัติและอุบัติภัยหมู่ อยู่ในระดับสูง 2. สมรรถนะของทหารกองประจำการก่อนได้รับโปรแกรมการเรียนรู้แบบบูรณาการในการจัดการภัยพิบัติและอุบัติภัยหมู่ มีค่าคะแนนเฉลี่ย 25.15 ซึ่งพบว่าอยู่ในระดับต่ำ และหลังได้รับโปรแกรมการเรียนรู้แบบบูรณาการในการจัดการภัยพิบัติและอุบัติภัยหมู่ มีค่าคะแนนเฉลี่ย 45.08 ซึ่งพบว่าอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะของทหารกองประจำการหลังได้รับโปรแกรมการเรียนรู้แบบบูรณาการในการจัดการภัยพิบัติและอุบัติภัยหมู่สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการเรียนรู้แบบบูรณาการในการจัดการ ภัยพิบัติและอุบัติภัยหมู่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการเรียนรู้แบบบูรณาการในการจัดการภัยพิบัติและอุบัติภัยหมู่ตอบสนองต่อสมรรถนะ ของทหารกองประจำการได้มากขึ้น จึงส่งผลให้ค่าคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะของทหารกองประจำการสูงขึ้นหลังจากเข้าร่วมโปรแกรมการเรียนรู้แบบบูรณาการในการจัดการภัยพิบัติและอุบัติภัยหมู่


Insight Of Policy Support For Energy Efficiency Investment : Case Study Of Hotel Sector In Thailand, Athita Vivatpinyo Jan 2020

Insight Of Policy Support For Energy Efficiency Investment : Case Study Of Hotel Sector In Thailand, Athita Vivatpinyo

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study used the cost curve of energy efficiency measures to find the level of the cost of energy efficiency measures comparing with the energy price and the opportunities for policy change for enhancing energy efficiency implementation for the Thai hotel sector. The study was conducted in two parts. First, energy efficiency measures, investment costs, energy savings and related information were derived from three Department of Alternative Energy Development and Efficiency's projects, which are (1) Energy Efficiency Revolving Fund, (2) Energy Service Company Revolving Fund, (3) DEDE Demand Side Management Bidding. The cost curve of energy efficiency measures indicates that …


Conversion Of N-Pentane To Light Olefins Over Modified Zr/Hzsm-5-Based Catalysts, Bharanabha Makkaroon Jan 2020

Conversion Of N-Pentane To Light Olefins Over Modified Zr/Hzsm-5-Based Catalysts, Bharanabha Makkaroon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Ethylene and propylene are important raw materials for producing several types of chemicals and polymers. According to the increase of propylene demand in recent year, the P/E ratio was increased to 0.85. In order to meet the propylene demand, the development of hybrid HZSM-5 catalyst for catalytic cracking becomes more interesting owing to the cracking activity from HZSM-5 zeolite acid site and loaded metal on HZSM-5 that expected to promote the dehydrogenation activity to the catalyst which could possibly enhanced the P/E ratio. The alternative feedstock for this process is n-pentane which is the low-value product from distillation process. The …


Influence Of Mixed Anionic-Nonionic Surfactants On Methane Hydrate Formation : Suppression Of Foam Formation, Chakorn Viriyakul Jan 2020

Influence Of Mixed Anionic-Nonionic Surfactants On Methane Hydrate Formation : Suppression Of Foam Formation, Chakorn Viriyakul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Solidified natural gas (SNG) via clathrate hydrate is a new technology for natural gas storage with high energy content per unit volume, extremely safe, and ease to recover. Although SNG has several advantages, its limitation is low rate of hydrate formation. Sodium dodecyl sulfate (SDS) is well known as a kinetic promoter used to increase the hydrate formation rate. However, using SDS resulted in a large amount of foam during gas recovery. In order to alleviate this problem, mixtures of SDS with nonionic surfactants were investigated. Polyoxyethylene (n) lauryl ether (EO₃ and EO₅) and alkyl poly glycol (APG) were mixed …


Pyrrolidine As A Promoter For Methane Hydrate Formation: Comparative Study On The Thermodynamics, Kinetics, And Morphology With Tetrahydrofuran, Siravich Junthong Jan 2020

Pyrrolidine As A Promoter For Methane Hydrate Formation: Comparative Study On The Thermodynamics, Kinetics, And Morphology With Tetrahydrofuran, Siravich Junthong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Solidified natural gas (SNG) via clathrate hydrates has been proposed as an alternative approach for natural gas storage and transportation due to its numerous advantages. However, a slow hydrate formation rate and a requirement of operating conditions are the major limitations, which need to be improved to make SNG competitive in a large scale deployment. In this work, the roles of 5.56 mol% pyrrolidine were investigated for the methane hydrate formation in terms of thermodynamics and kinetics along with morphology. The results showed that pyrrolidine generally improved the thermodynamic stability of mixed methane hydrates, enhancing the formation at milder conditions …


Solid-Liquid-Polymer Mixed Matrix Membranes For Gas Separation: Silicone Rubber Membranes Filled With Nax And Ky Zeolites Adsorbed Peg, Sitthikiat Boonchoo Jan 2020

Solid-Liquid-Polymer Mixed Matrix Membranes For Gas Separation: Silicone Rubber Membranes Filled With Nax And Ky Zeolites Adsorbed Peg, Sitthikiat Boonchoo

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Carbon dioxide (CO₂) is one of the major constituents of natural gas and biogas. The presence of high CO₂ content causes some serious problems including reduction of heating value and corrosion of equipment's surface. Additionally, CO₂ emission is the main issue of the greenhouse effect. In consequence of these problems, membrane technologies have drawn much attention as potential techniques for gas separation. mixed matrix membranes (MMMs) have been studied and developed to provide the synergistic effect of inorganic and organic materials on membranes. In this study, PEG/NaX:KY/SR mixed matrix membranes (PZS MMMs) were prepared by the solution casting method using …


Production Of Bio-Jet Fuel From Palm Fatty Acid Distillate Over Teos-Modified Nipd/Zsm-5 Catalysts, Umbon Boonsard Jan 2020

Production Of Bio-Jet Fuel From Palm Fatty Acid Distillate Over Teos-Modified Nipd/Zsm-5 Catalysts, Umbon Boonsard

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Jet fuels are mainly derived from the refining of petroleum feedstock which has a negative impact to the environment as it emits greenhouse gases (GHG). Therefore, the development of an alternative and renewable jet fuel is an imminent concern of the aviation industry. One of the alternative jet fuel feedstocks is palm fatty acid distillate (PFAD) due to its relatively low cost. Bio-jet fuel can be produced via three reactions including deoxygenation, isomerization, and cracking. In this study, the bimetallic NiPd supported on ZSM-5 with various Si/Al ratios (23, 50, and 280) and modified ZSM-5 by TEOS were characterized by …


Stratigraphy And Volcanic Facies In Khao Noi Area, Tha Takiap District, Chachoengsao Province, Amporn Chaikam Jan 2020

Stratigraphy And Volcanic Facies In Khao Noi Area, Tha Takiap District, Chachoengsao Province, Amporn Chaikam

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The Khao Noi volcanics is in Tha Takiap district, Chachoengsao province, eastern Thailand. This volcanics is a part of the Lampang volcanic belt, a potential host rocks for mineralizations, especially gold and antimony epithermal style deposits. Based on field investigation, drill core logging, and petrographic study, the Khao Noi host volcanic sequence has a thickness of at least 150 meters. The sequence can be divided into three units, namely 1) Sedimentary unit (Unit 1), 2) Mafic-intermediate volcanic unit (Unit 2), and 3) Felsic volcanic unit (Unit 3). Unit 1 forms as a basement of the Khao Noi volcanic sequence and …


Predicting Football Match Result Using Fusion-Based Classification Model, Chananyu Pipatchatchawal Jan 2020

Predicting Football Match Result Using Fusion-Based Classification Model, Chananyu Pipatchatchawal

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Over the last decades, various football experts and researchers around the world seek to forecast football match result. Although there are multiple types of prediction models constructed for this purpose, most of them still depends on integrating in-game statistical numbers, such as number of successful passes in one game. This kind of information has huge positive impact on predicting outcome but is not desired as it requires the match to finish first. Thus, this thesis aims to propose more accurate models, which are not relied on in-game numbers. Two forms of fusion-based classification models are proposed in this study, including …


Detecting Faces With Covid Protection Masks From Images Shot In Public Places Using Neural Networks, Hangkai Wang Jan 2020

Detecting Faces With Covid Protection Masks From Images Shot In Public Places Using Neural Networks, Hangkai Wang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Since 2019, Covid-19 has become a common problem affecting all mankind. The disease has successfully spread all over the world. Wearing a mask can practically protect the infection. Thus, detecting people wearing and not wearing masks in public is essential. However, there is still some room to improve detection accuracy of the present methods. In this paper, the transfer learning model and FR-TSVM model are used to study the latest data of pneumonia epidemic situation in Covid-19. First, a data set of 11600 facial images wearing masks and not wearing masks in public was collected for training, testing, and validation. …


Cryptosystem For Textual Message By Using Malleable Neural Network With Secret Dimensions, Hangyi Wang Jan 2020

Cryptosystem For Textual Message By Using Malleable Neural Network With Secret Dimensions, Hangyi Wang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Most of the current cryptography is based on modulo computing with predefined public and private keys. The robustness of this approach is controlled by the size of the prime divider. The encryption and decryption processes of this modulo computing are rather fast and rather robust to any attack. However, it is still possible to crack the encrypted message by using meta-heuristic algorithm, very high performance parallel machines, and also quantum computing concept. This thesis takes another approach in order to enhance the robustness of encrypted messages by deploying the structure of a feedforward neural network with augmented secret dimensions concurred …


Electrocoagulation In Two Phase Separation For Manipulation Of Volatile Compound Profiles In Perfumes, Isaya Thaveesangsakulthai Jan 2020

Electrocoagulation In Two Phase Separation For Manipulation Of Volatile Compound Profiles In Perfumes, Isaya Thaveesangsakulthai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Electrocoagulation (EC) approach employing two aluminium electrodes and a two phase medium of aqueous solution of NaCl and hexane (2-phase-EC) was developed. The approach enabled electrochemical treatment of odor active compounds in perfume extract. The samples before and after 2-phase-EC at cathode, anode and between the two electrodes left for equilibrium after the treatment were analyzed by using solid phase micro extraction (SPME) and gas chromatography hyphenated with mass spectrometry (GC-MS). This allowed identification of volatile compounds in each sample based on comparison with MS and retention index database. After the treatment, the perfume smells were fresher, sweeter and more …


Development Of Cellulose As Substrates For Adsorbents And Sensors, Jadetapong Klahan Jan 2020

Development Of Cellulose As Substrates For Adsorbents And Sensors, Jadetapong Klahan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis deals with two parts of development of novel sensors based on cellulose substrate platform. The first part is the development of fluorescence sensors and adsorbents for metal ions using bacterial cellulose as the platform. The second part is the development of colorimetric sensors for smartphone detection of oil marker using filter paper as the platform. In the first part, bacterial cellulose (BC) has several advantageous properties over plant cellulose such as high purity, high surface area, high porosity, and high water-holding capacity due to its three-dimensional network of nanofibrils structure, that make BC appealing for applications related to …


Holographic Solutions From N=6, D=4 Gauged Supergravity, Jakkapat Seeyangnok Jan 2020

Holographic Solutions From N=6, D=4 Gauged Supergravity, Jakkapat Seeyangnok

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this thesis, we study holographic solutions of four-dimensional N = 6 gauged supergravity with SO(6) gauge group. The theory admits a unique N = 6 supersymmetric AdS4 vacuum dual to a three-dimensional N = 6 SCFT and gives us a number of supersymmetric domain walls interpolating between this AdS4 vacuum and singular geometries in IR with SO(2) × SO(4), U(3), SO(2) × SO(2) × SO(2), and SO(3) symmetries. These solutions describe RG flows from N = 6 SCFT in UV to non-conformal field theories driven by mass deformations. In particular, the solution with SO(2)×SO(4) symmetry coincides with the known …