Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Physical Sciences and Mathematics Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 781 - 810 of 2268

Full-Text Articles in Physical Sciences and Mathematics

Semantic Segmentation On Remotely Sensed Images Using Deep Convolutional Encoder-Decoder Neural Network, Teerapong Panboonyuen Jan 2019

Semantic Segmentation On Remotely Sensed Images Using Deep Convolutional Encoder-Decoder Neural Network, Teerapong Panboonyuen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

One of the fundamental tasks in remote sensing is the semantic segmentation of the aerial and satellite images. It plays a vital role in applications, such as agriculture planning, map updates, route optimization, and navigation. The state-of-the-art model is the Deep Convolutional Encoder-Decoder (DCED). However, the accuracy is still limited since the architecture is not designed for recovering low-level features, e.g., river, low vegetation on remotely sensed images, and the training data in this domain are deficient. In this dissertation, we aim to propose the semantic segmentation architecture in five aspects, designed explicitly for the remotely sensed field. First, we …


Semi-Supervised Deep Learning With Malignet For Bone Lesion Instance Segmentation Using Bone Scintigraphy, Terapap Apiparakoon Jan 2019

Semi-Supervised Deep Learning With Malignet For Bone Lesion Instance Segmentation Using Bone Scintigraphy, Terapap Apiparakoon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

One challenge in applying deep learning to medical imaging is the lack of labeled data. Although large amounts of clinical data are available, acquiring labeled image data is difficult, especially for bone scintigraphy (i.e., 2D bone imaging) images. Bone scintigraphy images are generally noisy, and ground-truth or gold standard information from surgical or pathological reports may not be available. We propose a novel neural network model that can segment abnormal hotspots and classify bone cancer metastases in the chest area in a semi-supervised manner. Our proposed model, called MaligNet, is an instance segmentation model that incorporates ladder networks to harness …


Path Exploration With Random Network Distillation On Multi-Agent Reinforcement Learning, Korawat Charoenpitaks Jan 2019

Path Exploration With Random Network Distillation On Multi-Agent Reinforcement Learning, Korawat Charoenpitaks

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Intrinsic motivation is one of the potential candidates to help improve performance of reinforcement learning algorithm in complex environments. The method enhances exploration capability without explicitly told by the creator and works on any environment. This is suitable in the case of multi-agent reinforcement learning where the environment complexity is more than usual. The research presents an exploration model using intrinsic motivation built from the random network distillation algorithm to improve the performance of multi-agent reinforcement learning and compare with the benchmark in different scenarios. The concept of clipping ratio is introduced to enforces the limit on optimization magnitude. Based …


Thai Scene Text Recognition, Thananop Kobchaisawat Jan 2019

Thai Scene Text Recognition, Thananop Kobchaisawat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Automatic scene text detection and recognition can benefit a large number of daily life applications such as reading signs and labels, and helping visually impaired persons. Reading scene text images becomes more challenging than reading scanned documents in many aspects due to many factors such as variations of font styles and unpredictable lighting conditions. The problem can be decomposed into two sub-problems: text localization and text recognition. The proposed scene text localization works at the pixel level combined with a new text representation and a fully-convolutional neural network. This method is capable of detecting arbitrary shape texts without language limitations. …


การเตรียมถ่านกัมมันต์จากไบโอชาร์และถ่านหินซับบิทูมินัส, นริศา เฉิดกุล Jan 2019

การเตรียมถ่านกัมมันต์จากไบโอชาร์และถ่านหินซับบิทูมินัส, นริศา เฉิดกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเตรียมถ่านกัมมันต์จากวัตุดิบต่างชนิดกัน สามารถจำแนกได้สองประเภทคือไบโอชาร์และถ่านหินซับบิทูมินัส ซึ่งไบโอชาร์ที่ทำการศึกษาประกอบด้วย 2 ชนิด ได้แก่ กะลาปาล์ม (องค์ประกอบลิกนินสูง) และไม้ไผ่ (องค์ประกอบเซลลูโลสสูง) ที่ผ่านกระบวนการเผาเป็นถ่านชาร์แล้ว โดยตัวแปรที่ทำการศึกษาสำหรับการกระตุ้นไบโอชาร์ที่ส่งผลต่อสมบัติของถ่านกัมมันต์ที่ได้ คือ อุณหภูมิที่ใช้กระตุ้นในช่วง 800 – 900 องศาเซลเซียสและเวลาที่ใช้กระตุ้น 1 – 4 ชั่วโมง ภายใต้ไอน้ำร้อนยิ่งยวด ในส่วนของถ่านหินซับบิทูมินัสใช้โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์เป็นสารกระตุ้น โดยตัวแปรที่ทำการศึกษา ได้แก่ อัตราส่วนระหว่างโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ต่อถ่านหินที่ 0.2:1 0.4:1 และ 0.6:1 ที่อุณหภูมิในการกระตุ้นต่างกันในช่วง 650 – 850 องศาเซลเซียส เวลา 1 – 4 ชั่วโมง จากผลการทดลอง พบว่าภาวะที่เหมาะสมในการกระตุ้นถ่านกะลาปาล์ม ได้พื้นที่ผิวสูงสุด 441.02 ตารางเมตรต่อกรัม ที่อุณหภูมิที่ใช้กระตุ้น 1000 องศาเซลเซียสและเวลาที่ใช้กระตุ้น 4 ชั่วโมง ในขณะที่การกระตุ้นจากถ่านไม้ไผ่ ได้พื้นที่ผิวสูงสุด 712 ตารางเมตรต่อกรัม ที่อุณหภูมิที่ใช้กระตุ้น 900 องศาเซลเซียสและเวลาที่ใช้กระตุ้น 2 ชั่วโมง ในส่วนการกระตุ้นถ่านหินซับบิทูมินัสที่อัตราส่วนระหว่างโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ต่อถ่านหินซับบิทูมินัส 0.6:1 อุณหภูมิที่ใช้กระตุ้น 850 องศาเซลเซียสและเวลาที่ใช้กระตุ้น 3 ชั่วโมง ได้พื้นที่ผิวสูงสุดอยู่ที่ 1,107.39 ตารางเมตรต่อกรัม ซึ่งพบว่าอุณหภูมิที่ใช้กระตุ้น เวลาที่ใช้กระตุ้นในส่วนของไบโอชาร์ และอัตราส่วนระหว่างโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ต่อถ่านหินซับบิทูมินัส มีผลต่อการพัฒนาโครงสร้างรูพรุนของถ่านกัมมันต์ นอกจากนี้ยังพบว่าวัตถุดิบต่างชนิดกันส่งผลให้ถ่านกัมมันต์ที่ได้มีสมบัติต่างกัน


การเตรียมฟิล์มยางธรรมชาติที่มีสภาพไม่ชอบน้ำสูงโดยการกราฟต์ด้วยมอนอเมอร์ออร์กาโนซิลิกอน, พัชรรุจี งามดี Jan 2019

การเตรียมฟิล์มยางธรรมชาติที่มีสภาพไม่ชอบน้ำสูงโดยการกราฟต์ด้วยมอนอเมอร์ออร์กาโนซิลิกอน, พัชรรุจี งามดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ยางธรรมชาติที่มีสภาพไม่ชอบน้ำสูงสามารถเตรียมผ่านกระบวนการปรับปรุงสภาพผิวด้วยไฮดรอกซิเลชัน (hydroxylation) และการกราฟต์ (graft) ด้วยมอนอเมอร์ออร์กาโนซิลิกอน หลังจากเตรียมฟิล์มยางธรรมชาติวัลคาไนซ์ (vulcanized natural rubber, VNR) แล้วทำการปรับปรุงพื้นผิวฟิล์มยาง VNR ผ่านไฮดรอกซิเลชันเพื่อให้ได้เป็นยาง ธรรมชาติไฮดรอกซิเลต (hydroxylated natural rubber, VNR-OH) โดยใช้หมู่ไฮดรอกซิลเป็นตำแหน่งกัมมันต์ในการ กราฟต์กับมอนอเมอร์ออร์กาโนซิลิกอนประเภทต่างๆ ผ่านปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสและพอลิคอนเดนเซชัน ศึกษาผลของชนิด และความเข้มข้นของกรด รวมถึงเวลาที่ใช้ในการแช่กรดต่อปริมาณหมู่ไฮดรอกซิลบนโครงสร้างของฟิล์มยาง VNR-OH การแช่ฟิล์มยาง VNR ในสารละลายกรดซัลฟิวริก 75% โดยน้ำหนัก นาน 1 ชั่วโมง ทำให้ฟิล์มยาง VNR-OH ที่ได้มีปริมาณ ของหมู่ไฮดรอกซิลมากที่สุดเท่ากับ 7.83 โมล% สำหรับการวิเคราะห์ความไม่ชอบน้ำ พบว่าฟิล์มยาง VNR และ VNR-OH มีค่ามุมสัมผัสหยดน้ำเท่ากับ 97.3° และ 63.5° ตามลำดับ และภายหลังการกราฟต์ด้วย 3.70% โดยน้ำหนัก ของมอนอเมอร์ออร์กาโนซิลิกอนชนิดต่างๆ ได้แก่ เมทิลไตรเมทอกซีไซเลน (MTMS), เฮกซะเดซิลไตรเมทอกซีไซเลน (HDTMS) และ 3-(ไตรเมทอกซีไซลิล)โพรพิลเมทาคริเลท (MPS) เปรียบเทียบกับการใช้เมทิลไตรคลอโรไซเรน (MTCS) พบว่าฟิล์มยาง VNR-OH ที่กราฟต์ด้วย MTCS (VNR-OH-MTCS) ให้ค่ามุมสัมผัสหยดน้ำเพิ่มขึ้นเป็น 149° เมื่อศึกษา ปริมาณ MTCS ที่ความเข้มข้นต่างกัน (1-5% โดยน้ำหนักในตัวทำละลายเฮกเซน) พบว่าที่ 2% โดยน้ำหนักของ MTCS ในเฮกเซน ทำให้ฟิล์มยาง VNR-OH-MTCS ที่เตรียมได้มีค่ามุมสัมผัสหยดน้ำสูงที่สุดเท่ากับ 155° และพบว่าการนำฟิล์ม ยาง VNR ไปกราฟต์โดยตรงด้วย MTCS ที่ความเข้มข้นเดียวกัน (VNR-MTCS) ให้ค่ามุมสัมผัสหยดน้ำเพียง 118° แสดงให้ เห็นว่าหมู่ไฮดรอกซิลในโครงสร้างของฟิล์มยาง VNR-OH เป็นหมู่ฟังก์ชันที่ทำหน้าที่ในการเกิดปฏิกิริยากับ MTCS และ …


การศึกษาเชิงทฤษฎีของแอลดอลคอนเดนเซชันระหว่างเฟอร์ฟิวรัลกับ 2-บิวทาโนนบนออกไซด์ผสมแมกนีเซียม-อะลูมิเนียม, ภคินี มานะเจริญสุข Jan 2019

การศึกษาเชิงทฤษฎีของแอลดอลคอนเดนเซชันระหว่างเฟอร์ฟิวรัลกับ 2-บิวทาโนนบนออกไซด์ผสมแมกนีเซียม-อะลูมิเนียม, ภคินี มานะเจริญสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

หนึ่งในความท้าทายของการสังเคราะห์เชื้อเพลิงชีวภาพจากชีวมวลคือความสามารถเข้าใจสมบัติของตัวเร่งปฏิกิริยาเพื่อออกแบบโครงสร้าง พัฒนาประสิทธิภาพและความเลือกจำเพาะในการเร่งปฏิกิริยา งานวิจัยนี้ศึกษากลไลการเกิดปฏิกิริยาแอลดอลคอนเดนเซชันระหว่างเฟอร์ฟิวรัลกับ 2-บิวทาโนนบนออกไซด์ผสมแมกนีเซียม-อะลูมิเนียมวัฏภาคแบบสปิเนล (spinel MgAl2O4) ด้วยทฤษฎีฟังก์ชันนอลความหนาแน่นที่ระดับ M06-2X/6-31G ขั้นตอนในการเกิดปฏิกิริยาประกอบด้วย อีโนไลซันของ 2-บิวทาโนน การเติมเฟอร์ฟิวรัล และการขจัดน้ำ ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นมีสองเส้นทางโดยเกิดผ่านตำแหน่งเมทิลและเมทิลีนของอีโนเลตไอออนของ 2-บิวทาโนน ได้ผลิตภัณฑ์สุดท้ายเป็นสารประกอบคาร์บอนิลไม่อิ่มตัวโครงสร้างโซ่ตรงและโซ่กิ่ง ตามลำดับ จากผลการคำนวณพบว่าปฏิกิริยาการเติมเฟอร์ฟิวรัลเป็นขั้นตอนควบคุมอัตราการเกิดปฏิกิริยา ปฏิกิริยาอีโนไลซันของ 2-บิวทาโนนและการเติมเฟอร์ฟิวรัลที่ตำแหน่งเมทิลีนเกิดขึ้นได้เร็วกว่าตำแหน่งเมทิล ซึ่งสัมพันธ์กับค่าพลังงานก่อกัมมันต์ที่ต่ำกว่า เมื่อเปรียบเทียบผลการคำนวณที่ได้กับงานวิจัยก่อนหน้าบนแมกนีเซียมออกไซด์ (MgO) พบว่าปฏิกิริยาอีโนไลเซชันของ 2-บิวทาโนนบน MgAl2O4 เกิดขึ้นได้เร็วกว่า MgO ข้อมูลที่ได้ทำให้เข้าใจกลไกการเกิดปฏิกิริยาแอลดอลคอนเดนเซชันและอาจใช้เป็นแนวทางพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาให้เหมาะสม


เชื้อเพลิงเหลวสัดส่วนเบาโดยไพโรไลซิสนํ้ามันจากทะลายปาล์มเปล่าโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาผสม, สุดาพร สุนทร Jan 2019

เชื้อเพลิงเหลวสัดส่วนเบาโดยไพโรไลซิสนํ้ามันจากทะลายปาล์มเปล่าโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาผสม, สุดาพร สุนทร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตเชื้อเพลิงเหลวสัดส่วนเบา (C5-C15) โดยไพโรไลซิสน้ำมันจากทะลายปาล์มเปล่าโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาผสมในเครื่องปฏิกรณ์แบบแบตช์ ตัวเร่งปฏิกิริยาที่ใช้ประกอบด้วย แมกนีเซียมออกไซด์และถ่านกัมมันต์ที่ผสมกันในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 และนำมาผสมกับ 10% นิกเกิลบนตัวรองรับซีโอไลต์ HY ทำการทดลองเพื่อหาภาวะที่เหมาะสมที่ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงเหลวที่มีสัดส่วนเบามากที่สุด โดยการออกแบบการทดลองเชิงแฟกทอเรียลแบบ 2 ระดับ (2K factorial design) มีตัวแปรที่ทำการศึกษา คือ อุณหภูมิที่ใช้ในการทดลอง 420-450 องศาเซลเซียส เวลาที่ใช้ในการทดลอง 30-60 นาที ปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยาผสมร้อยละ 1-5 โดยน้ำหนัก และอัตราส่วนระหว่างแมกนีเซียมออกไซด์ที่ผสมกับถ่านกัมมันต์ และ10% นิกเกิลบนตัวรองรับซีโอไลต์ HY คือ 70 ต่อ 30 และ 30 ต่อ 70 เมื่อนำผลการทดลองที่ได้ไปวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม Design-Expert พบว่า ภาวะที่เหมาะสมคือ อุณหภูมิในการทำปฏิกิริยา 449.99 องศาเซลเซียส เวลาในการทำปฏิกิริยา 30 นาที ตัวเร่งปฏิกิริยาผสมร้อยละ 1 โดยน้ำหนัก อัตราส่วนระหว่างแมกนีเซียมออกไซด์ที่ผสมกับถ่านกัมมันต์ และ10% นิกเกิลบนตัวรองรับซีโอไลต์ HY คือ 32.51 ต่อ 67.49 จะได้ผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงเหลวร้อยละ 69.50 และร้อยละผลได้ของเชื้อเพลิงเหลวสัดส่วนเบา 64.17 โดยน้ำหนัก ผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงเหลวที่ได้ มีองค์ประกอบของคาร์บอนร้อยละ 84.93 ไฮโดรเจนร้อยละ 12.57 และออกซิเจนร้อยละ 2.51 ตรวจไม่พบค่าความเป็นกรดและมีค่าความร้อนเท่ากับ 42.50 เมกะจูลต่อกิโลกรัม


ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจในการแบ่งปันวิดีโอไวรัลบนสื่อสังคมออนไลน์, ณัฏฐ์พัชร์ พีรชัยเดโช Jan 2019

ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจในการแบ่งปันวิดีโอไวรัลบนสื่อสังคมออนไลน์, ณัฏฐ์พัชร์ พีรชัยเดโช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจที่จะแบ่งปันวิดีโอโฆษณาไวรัลบนสื่อสังคมออนไลน์ โดยได้ศึกษาตัวแปรที่สำคัญต่อความตั้งใจที่จะแบ่งปันวิดีโอไวรัลบนสื่อสังคมออนไลน์ 3 ตัวแปร ได้แก่ ลักษณะบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ อารมณ์ที่มีต่อการรับชมวิดีโอไวรัล และการรับรู้ถึงประโยชน์จากวิดีโอไวรัล โดยประชากรของงานวิจัยนี้คือผู้ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ที่ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ โดยไม่สามารถทราบขนาดของประชากร งานวิจัยนี้ได้ใช้วิดีโอไวรัล 3 วิดีโอ ซึ่งมาจากวิดีโอที่ได้กลายเป็นวิดีโอไวรัลบนสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศไทย งานวิจัยครั้งนี้ใช้การทดสอบสมมติฐานในการวิจัยโดยการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติคเพื่อค้นหาอิทธิพลของตัวแปรต้นต่อความตั้งใจในการแบ่งปันวิดีโอไวรัลบนสื่อสังคมออนไลน์ จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ลักษณะบุคลิกภาพในด้านความเห็นด้วยกับผู้อื่นและความมีจิตสำนึก รวมทั้งการรับรู้ถึงประโยชน์จากวิดีโอไวรัลเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการแบ่งปันวิดีโอ ผลลัพธ์ของงานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้สร้างวิดีโอบนสื่อสังคมออนไลน์เพื่อใช้ปรับปรุงวิดีโอให้กลายเป็นวิดีโอไวรัลได้ดีขึ้น


Policy For Sustainable Informal Transport - A Case Study Of Feeder Services In Bangkok, Thailand, Chutaporn Amrapala Jan 2019

Policy For Sustainable Informal Transport - A Case Study Of Feeder Services In Bangkok, Thailand, Chutaporn Amrapala

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

One informal public transport service in Bangkok is Silor (SR), given the meaning in Thai as four-wheeler. SR facilitates urban mobility both in terms of major travel mode and feeder bus and mass transit lines in the city. This research aims to investigate service characteristics and challenges of SR service, identify factors affecting the use and non-use of SR, explore travel behavior and attitudes to determine service delivery gaps in order to propose policy recommendations for the better functioning of SR service. Interviews are conducted through questionnaire survey to collect data from supply side, including drivers and regulators, and demand …


Petrography And Geochemistry Of Volcanic Rocks In Khao Sam Sip Area, Sa Kaeo Province, Maythira Sriwichai Jan 2019

Petrography And Geochemistry Of Volcanic Rocks In Khao Sam Sip Area, Sa Kaeo Province, Maythira Sriwichai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The volcanic rocks at Khao Sam Sip, Sa Kaeo province is part of the Loei-Phetchabun-Sa Kaeo Volcanic Belt. Based on field observation, petrographic and geochemical studies, the rocks in the study area can be divided into four rock units namely, 1) Basalt-andesite unit, 2) Polymictic andesitic unit, 3) Epiclastic unit, and 4) Clastic unit. Unit 1 is the lowest unit in sequence consisting of olivine-pyroxene-plagioclase basalt, pyroxene basalt, hornblende-plagioclase andesite, and plagioclase andesite. Unit 2 consists of polymictic andesitic breccia and polymictic andesitic sandstone. Unit 3 is epiclastic unit comprising of crystal-lithic sandstone and polymictic conglomerate. Units 4 includes fine-grained …


Characterization Of Dissolved Organic Matter In Treated Textile Wastewater From Membrane Bioreactor, Nichapach Puangmalai Jan 2019

Characterization Of Dissolved Organic Matter In Treated Textile Wastewater From Membrane Bioreactor, Nichapach Puangmalai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aims to investigate the DOM removal efficiency in textile wastewater by MBR at different sludge retention time. In addition, the characteristics of DOM was investigated by using resin fractionation and fluorescent excitation-emission matrix techniques. Textile wastewater was synthesized by using commercial dyes and used in all experiment. The characteristics of synthesis textile wastewater showed that the COD concentration was high as 2,000 mg/L. In addition, the DOC concentration in synthesis textile wastewater was also high at 466.1 mg/L. MBR was conducted under HRT 2.5 days and SRT was varied at 15 days, 30 days and infinite, respectively. MBR …


Pointwise Dimension Of Archimedean Copulas, Noppawit Yanpaisan Jan 2019

Pointwise Dimension Of Archimedean Copulas, Noppawit Yanpaisan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this thesis, we introduce the pointwise dimension of a bivariate copula C at (u,v) in [0, 1]2 via its C-volume. This quantity gives a broader view of probability mass distribution than the support of a copula, the smallest closed set on which the whole mass lies. We would like to study some fundamental properties of pointwise dimension, including the equality to pointwise exponent whenever both of them exist. After that, we investigate the behavior of the pointwise dimension of copulas constructed by various methods. In the last part, we compute the pointwise dimension of Archimedean copulas, an important class …


Solving Interval-Valued Returns Mean Absolute Deviation Portfolio Selection Model Under Basis Stability, Songkomkrit Chaiyakan Jan 2019

Solving Interval-Valued Returns Mean Absolute Deviation Portfolio Selection Model Under Basis Stability, Songkomkrit Chaiyakan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This work discusses a portfolio selection model with interval linear programming arising from the uncertainty of future rates of return and the disagreement over their estimates. The risk of the overall portfolio is proposed as an objective function to obtain a well-diversified portfolio with a certain threshold rate of return. The optimization problem employs mean absolute deviation as a risk measure for the sake of risk diversification and time complexity. The possible ranges of optimal portfolio returns and associated risks are derived. The duality theory contributes to an enclosure of the optimal portfolios. When the bounds on future rates of …


Logo Classification Of Amphetamines By Surf And Bag-Of-Features Model, Tharaphon Nitijiramon Jan 2019

Logo Classification Of Amphetamines By Surf And Bag-Of-Features Model, Tharaphon Nitijiramon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

An amphetamine is one of the drugs apprehended by the policemen in Thailand. At present, when an amphetamine drug seller is arrested, captured amphetamines are sent to the Scientific Crime Detection Center Region 1 to identify the amphetamines' source. Each drug is classified based on the printed character to relevant information from the source of drugs. For each case, a large volume of drugs is sent to be classified by only three staff members. It is a time-consuming task. In this work, we propose a framework for classifying the image of amphetamines based on their logo using the SURF and …


Stationary Test For First Order Autoregressive Model Subject To Sampling Errors, Weerapat Rattanachadjan Jan 2019

Stationary Test For First Order Autoregressive Model Subject To Sampling Errors, Weerapat Rattanachadjan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In 1979, Dickey and Fuller introduced a stationary test on the first order autoregressive model, AR(1), and limitting distribution of the estimator of autoregressive coefficient and the test statistics. The method has been applied to test the stationarity of the first order autoregressive time series model. However, the method has been applied regardless of sampling errors which usually occurs in data collection. autoregressive model subject to sampling errors.


Formaldehyde Fluorescent Sensors From 1,8-Naphthalimide Derivatives, Apicha Maharat Jan 2019

Formaldehyde Fluorescent Sensors From 1,8-Naphthalimide Derivatives, Apicha Maharat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Three derivatives of 1,8-naphthalimide were systematically designed and synthesized to investigate the effect of substitution pattern on their photophysical properties and sensing behaviors towards formaldehyde in aqueous media. The key substituents, the hydrazino (-NHNH2) and the 2-methoxyethylamino groups (-NHCH2CH2OCH3), were installed at the 4-position of 1,8-naphthalimide by a nucleophilic replacement, and at the imide position by a condensation reaction with 1,8-naphthalic anhydride precursor. All target compounds were obtained in good overall yields of 60-80%. Compounds with two hydrazine moieties (R3) showed excellent selective fluorescent responses towards formaldehyde with the 3.5-fold fluorescence enhancement in 5% aqueous acetic acid solution at 520 …


High Magnification Polymeric Lens For Smartphone Microscope, Wisansaya Jaikeandee Jan 2019

High Magnification Polymeric Lens For Smartphone Microscope, Wisansaya Jaikeandee

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this work, we present a facile method for fabrication of plano-convex lenses, using high reflective optical polymer (Polydimethylsiloxane, Sylgard 184 by Dow Corning, n ~1.42 and Norland Optical adhesive 61, NOA61 by Norland Products, ~1.56) under the confined sessile drop technique. The confined sessile drop technique is a facile method and an adjustable lens geometry through controlled the weight of liquid polymer on the lens substrate, as PMMA circular disk and Sylgard circular disk, with different diameter (2.5-6.0 mm). The liquid polymer was gradually spread and radially over the surface of the lens substrate, and resistance to spreading of …


Curling Probe Measurement In Plasma, Chatchai Sirithipvanich Jan 2019

Curling Probe Measurement In Plasma, Chatchai Sirithipvanich

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The curling probe is one of the active resonance absorption spectroscopic methods, the methods utilized the probe reflection coefficient spectrum to determine the plasma density. The proposed model of the curling probe uses the deviation of the most matched frequency, the frequency in which the minimum reflection coefficient occurs, when the probe is submerged in different mediums. The probe structure is simple and claimed to be robust and efficient. The experiments of a curling probe were performed and the simulations for the probe reflection coefficient for both previously reported probe and the constructed probe configuration have been conducted. The previously …


Multipole Resonance Probe Measurement In Plasma, Natthapong Jampaiboon Jan 2019

Multipole Resonance Probe Measurement In Plasma, Natthapong Jampaiboon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Active plasma resonance spectroscopy (APRS) is one of the interesting methods which could avoid plasma contamination problem occurs in a conventional Langmuir probe measurement. It is because the probe conductors are covered by a dielectric material. The APRS probe can be of any shape. A multipole resonance probe is a hemisphere APRS probe since a sphere imposes the simplest way to find an analytical solution by solving the Laplace equation in the spherical coordinates with the azimuthal symmetry. In this study, the APRS probes in the hemisphere, microstrip, and parallel rod shapes were constructed. Plasma density was obtained by using …


Supersymmetric Solutions Of Seven-Dimensional Gauged Supergravities And Ads7/Cft6 Duality, Patharadanai Nuchino Jan 2019

Supersymmetric Solutions Of Seven-Dimensional Gauged Supergravities And Ads7/Cft6 Duality, Patharadanai Nuchino

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Describing quantum field theory using the AdS/CFT duality can broaden string theory applications in the context of the holographic principle. This research study supersymmetric solutions of matter-coupled SO(4) and maximal gauged supergravities in seven dimensions of which the dual field theories are sixdimensional superconformal field theories (SCFTs). We find a large class of domain wall (DW) solutions in the maximal theory with various gauge groups. For SO(5) gauge group admitting an AdS7 vacuum, the solutions describe holographic renormalization group (RG) flows from an N = (2, 0) SCFT to non-conformal field theories (SQFTs) in six dimensions. For other gauge groups …


การเตรียมโคบอลต์-ซีเรียมออกไซด์บนผิวแมกซีน/แกรฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์เพื่อเป็นขั้วไฟฟ้าตัวเก็บประจุยิ่งยวด, กันตพัฒน์ ตรีพิริยะมงคล Jan 2019

การเตรียมโคบอลต์-ซีเรียมออกไซด์บนผิวแมกซีน/แกรฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์เพื่อเป็นขั้วไฟฟ้าตัวเก็บประจุยิ่งยวด, กันตพัฒน์ ตรีพิริยะมงคล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาวัสดุสำหรับตัวเก็บประจุยิ่งยวดที่มีประสิทธิภาพสูงจากการทำงานร่วมกันของวัสดุโคบอลต์-ซีเรียมออกไซด์บนวัสดุขั้วไฟฟ้านิกเกิลโฟมที่ผ่านการปรับปรุงผิวด้วยแมกซีน/แกรฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์ โดยวัสดุปรับปรุงผิวแมกซีนถูกสังเคราะห์จากกระบวนการสกัดอลูมิเนียมออกจากไทเทเนียมอลูมิเนียมคาร์ไบด์ ทำให้เกิดเป็นแมกซีนที่มีโครงสร้างระนาบชั้นสองมิติ และทำการเพิ่มระยะห่างของระนาบแมกซีนด้วยแช่ในสารละลายไดเมทิลซัลฟอกไซด์ และทำการแทรกแกรฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์ระหว่างระนาบแมกซีนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกลับมารวมตัวกันใหม่ โดยแกรฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์ถูกสังเคราะห์จากกระบวนการรีฟลักซ์แกรฟีนด้วยสารไทโอยูเรียที่เป็นแหล่งให้ธาตุไนโตรเจนและซัลเฟอร์ จากนั้นทำเตรียมขั้วไฟฟ้าด้วยกระบวนการหล่อหยดแมกซีน/แกรฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์ลงบนนิกเกิลโฟม โดยภาพสัณฐานวิทยาของขั้วไฟฟ้าที่ผ่านการปรับปรุงถูกยืนยันด้วยภาพจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดและการวิเคราะห์ธาตุเชิงพลังงาน นำขั้วที่ผ่านการปรับปรุงมาสังเคราะห์ด้วยกระบวนการทางฝังตัวทางเคมีไฟฟ้าของโคบอลต์ออกไซด์ และโคบอลต์-ซีเรียมออกไซด์ โดยศึกษาถึงระยะเวลาในการสังเคราะห์ด้วยกระบวนการฝังตัวทางเคมีไฟฟ้า และสัดส่วนของโคบอลต์-ซีเรียมออกไซด์ที่เหมาะสมในการให้ค่าการเก็บประจุไฟฟ้าสูงสุด จากการทดสอบสมบัติเคมีไฟฟ้าพบว่าที่สัดส่วนของการเตรียมสารละลายโคบอลต์ไนเตรตต่อซีเรียมไนเตรตที่ความเข้มข้น 0.5 โมลาร์ ในสัดส่วนปริมาตรที่ 90 ต่อ 10 สามารถให้ค่าการเก็บประจุจำเพาะที่สูงถึง 450 F/g ที่กระแสไฟฟ้า 1 แอมป์ต่อกรัม และผลการทดลองชี้ให้เห็นว่าการปรับปรุงผิวขั้วไฟฟ้านิกเกิลโฟมด้วยแมกซีน/แกรฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์สามารถเพิ่มความจุจำเพาะเมื่อเปรียบเทียบกับขั้วไฟฟ้านิกเกิลโฟมที่ไม่ได้ผ่านการปรับปรุง โดยผลรายงานวัสดุผสมที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถนำไปประยุกต์เป็นอุปกรณ์ตัวเก็บประจุยิ่งยวดที่มีประสิทธิภาพสูงได้


การสังเคราะห์พรีเคอร์เซอร์เชื้อเพลิงชีวภาพผ่านแอลดอลคอนเดนเซชันของเฟอร์ฟิวรัลและ 2-บิวทาโนนบนตัวเร่งปฏิกิริยา Srtio3/Sba-15, ธนัทย์ชัย มีมานะ Jan 2019

การสังเคราะห์พรีเคอร์เซอร์เชื้อเพลิงชีวภาพผ่านแอลดอลคอนเดนเซชันของเฟอร์ฟิวรัลและ 2-บิวทาโนนบนตัวเร่งปฏิกิริยา Srtio3/Sba-15, ธนัทย์ชัย มีมานะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาการสังเคราะห์พรีเคอร์เซอร์เชื้อเพลิงชีวภาพจากเฟอร์ฟิวรัลและ 2-บิวทาโนนผ่านแอลดอลคอนเดนเซชัน ตัวเร่งปฏิกิริยาที่ใช้ในแอลดอลคอนเดนเซชันเป็นโลหะออกไซด์ผสมที่ได้จากสตรอนเทียมไททาเนต (SrTiO3) ที่มีปริมาณสตรอนเทียมไททาเนตบนตัวรองรับ SBA15 ที่แตกต่างกัน (10%, 15%, 20% and 25%) และอัตราส่วนโดยโมลของ Sr : Ti ในช่วง 0.5 ถึง 2 ซึ่งเตรียมด้วยวิธีอิมเพรค จากนั้นนำมาเผาที่อุณหภูมิ 600 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 4 ชั่วโมง จากการศึกษาสมบัติกายภาพและเคมีของตัวเร่งปฏิกิริยาที่เตรียมได้ พบว่า 20STO(2:1)/SBA15 (ที่มีปริมาณสตรอนเทียมไททาเนตบนตัวรองรับร้อยละ 20 โดยน้ำหนัก และ อัตราส่วนโดยโมลของ Sr : Ti เท่ากับ 2) ซึ่งเตรียมด้วยวิธีอิมเพรค มีการกระจายตัวของสตรอนเทียมไททาเนตบนตัวรองรับ SBA15 ที่มีพื้นที่ผิวจำเพาะที่สูงและมีปริมาณตำแหน่งเบสรวมมากที่สุด แอลดอลคอนเดนเซชันของเฟอร์ฟิวรัลและ 2-บิวทาโนนเพื่อสังเคราะห์สารประกอบคาร์บอนิลไม่อิ่มตัวโซ่กิ่งทำในเครื่องปฏิกรณ์ออโตเคลฟภายใต้ความดันไนโตรเจน (10 บาร์) เมื่อวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ด้วยเทคนิคแก๊สโครมากราฟี-แมสสเปกโตสโกปี พบว่า ผลิตภัณฑ์หลักที่เกิดขึ้นเป็นสารประกอบคาร์บอนิลไม่อิ่มตัวที่มีโครงสร้างแบบโซ่ตรง และโซ่กิ่ง นอกจากนี้ยังพบผลิตภัณฑ์ C14 และ C13 ที่อุณหภูมิสูงและเวลาในการทำปฏิกิริยาที่นาน 20STO(2:1)/SBA15 เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่เหมาะสม โดยให้การเปลี่ยนของเฟอร์ฟิวรัลร้อยละ 53 โดยโมล และ ผลได้ของ C9B ร้อยละ 41 โดยโมล เมื่อใช้ภาวะที่เหมาะสม คือ ปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยา 5% โดยน้ำหนัก, อัตราส่วนโดยโมลของเฟอร์ฟิวรัลต่อ 2-บิวทาโนน 1:5, อุณหภูมิในการทำปฏิกิริยา 100 องศาเซลเซียส และเวลาในการทำปฏิกิริยา 5 ชั่วโมง


การจำลองซีเอฟดีของรีฟอร์มมิงมีเทนด้วยไอน้ำที่เพิ่มการดูดซับในเครื่องปฏิกรณ์ฟลูอิไดซ์เบดแบบติดตั้งแผ่นปะทะ, วทันยา ใยดำ Jan 2019

การจำลองซีเอฟดีของรีฟอร์มมิงมีเทนด้วยไอน้ำที่เพิ่มการดูดซับในเครื่องปฏิกรณ์ฟลูอิไดซ์เบดแบบติดตั้งแผ่นปะทะ, วทันยา ใยดำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปฏิกิริยารีฟอร์มิงมีเทนด้วยไอน้ำเป็นปฏิกิริยาที่สำคัญในโรงงานปิโตรเคมีเป็นอย่างยิ่งและเป็นกระบวนการผลิตไฮโดรเจนจากแก๊สธรรมชาติ โดยมีเทนจะทำปฏิกิริยากับไอน้ำร่วมด้วยตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิลเกิดเป็นไฮโดรเจน ผ่านการปรับปรุงคุณภาพ ผ่านการกำจัดสิ่งปนเปื้อนต่างๆ ที่มาจากน้ำมันดิบ เพื่อนำมาใช้เป็นสารตั้งต้นสำหรับการสังเคราะห์สารเคมี นอกจากนี้ไฮโดรเจนยังถูกจัดอยู่ในพลังงานทางเลือกที่กำลังได้รับความสนใจในปัจจุบัน จากงานวิจัยที่ผ่านมามีการศึกษาและปรับปรุงปฏิกิริยารีฟอร์มิงมีเทนด้วยไอน้ำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการเพิ่มขึ้น การดูดซับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาแบบสองหน้าที่ที่สามารถเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาและเป็นตัวดูดซับในเวลาเดียวกัน สมดุลปฏิกิริยาจะเปลี่ยนไปในทิศทางที่เกิดไฮโดรเจนเพิ่มขึ้น ตัวเร่งปฏิกิริยาที่นิยมใช้ ได้แก่ โดโลไมต์ และ แคลเซียมอะลูมิเนต โดยเรียกปฏิกิริยานี้ว่า ปฏิกิริยารีฟอร์มมิงมีเทนด้วยไอน้ำที่เพิ่มด้วยการดูดซับ งานวิจัยนี้ศึกษาแบบจำลองพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณของการรีฟอร์มมิงมีเทนด้วยไอน้ำที่เพิ่มด้วยการดูดซับในเครื่องปฏิกรณ์ฟลูอิไดซ์เบดแบบติดตั้งแผ่นปะทะ เพื่อช่วยลดการเกิดฟองแก๊ส เพิ่มการสัมผัสระหว่างแก๊สและของแข็ง ลดการย้อนกลับของของแข็ง และเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องปฏิกรณ์ พิจารณาผลของการเพิ่มจำนวนของแผ่นปะทะและศึกษาตัวแปรดำเนินการต่างๆ พบว่า การติดตั้งแผ่นปะทะจำนวนสองแผ่น ส่งผลให้สัดส่วนโดยโมลของไฮโดรเจนเพิ่มสูงขึ้นเป็น 0.93 และ ตัวแปรดำเนินการที่เหมาะสมได้แก่ ความเร็วที่ 0.1 เมตรต่อวินาที อุณหภูมิที่ 923 เคลวิน ความสูงของเบดที่ 35 เมตร และ สัดส่วนของไอน้ำและคาร์บอนที่ 4.0


ผลของตัวเร่งปฏิกิริยาต่อคุณภาพของน้ำมันชีวภาพจากไพโรไลซิสชิ้นไม้ยูคาลิปตัสและซังข้าวโพดในเครื่องปฏิกรณ์เบดนิ่ง, วรเวช ศรีปราโมช Jan 2019

ผลของตัวเร่งปฏิกิริยาต่อคุณภาพของน้ำมันชีวภาพจากไพโรไลซิสชิ้นไม้ยูคาลิปตัสและซังข้าวโพดในเครื่องปฏิกรณ์เบดนิ่ง, วรเวช ศรีปราโมช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาภาวะที่เหมาะสมสำหรับการไพโรไลซิสไม้ยูคาลิปตัสและซังข้าวโพดในเครื่องปฏิกรณ์แบบเบดนิ่ง พบว่าภาวะที่เหมาะสมสำหรับชีวมวลทั้งสองชนิดคือ เวลาทำปฏิกิริยาที่ 30 นาที อุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียส และขนาดอนุภาคของชีวมวลระหว่าง 0.50-0.71 มิลลิเมตร ส่วนอัตราการไหลแก๊สไนโตรเจนสำหรับไม้ยูคาลิปตัสคือ 120 มิลลิลิตรต่อนาที และสำหรับ ซังข้าวโพดคือ 80 มิลลิลิตรต่อนาที ให้ผลได้น้ำมันชีวภาพสูงสุดของไม้ยูคาลิปตัสและซังข้าวโพดที่ร้อยละ 31.69 และ 22.01 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ โดยน้ำมันชีวภาพจากชีวมวลทั้งสองชนิดให้ค่าความร้อนสูงขึ้นและใกล้เคียงกันคือ 23.14 และ 23.27 เมกะจูล/กิโลกรัม ตามลำดับ สอดคล้องกับอัตราส่วน H/C และ O/C ของน้ำมันชีวภาพจากชีวมวลทั้งสองชนิดที่มีค่าต่ำกว่าในชีวมวล เมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของน้ำมันชีวภาพพบว่าส่วนใหญ่เป็นสารในกลุ่มฟีนอล รองลงมาคือสารในกลุ่มกรดคาร์บอกซิลิก แอลดีไฮด์ อีเทอร์ คีโทน ไฮโดรคาร์บอน แซ็กคาไรด์ และสารที่มีปริมาณน้อยสุดคือสารในกลุ่มฟูแรน และจากการศึกษาผลของตัวเร่งปฏิกิริยาโดโลไมต์และเอฟซีซีใช้แล้ว พบว่าปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยาที่เหมาะสมสำหรับชีวมวลทั้งสองชนิดคือร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก และตัวเร่งปฏิกิริยาทั้งสองชนิดไม่มีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการลดออกซิเจนในน้ำมันชีวภาพ


สมบัติของพอลิแล็กทิกแอซิดเติมด้วยเซลลูโลส-กราฟต์-พอลิสไตรีน, วิมาลา กรินทร์ไตรทิพย์ Jan 2019

สมบัติของพอลิแล็กทิกแอซิดเติมด้วยเซลลูโลส-กราฟต์-พอลิสไตรีน, วิมาลา กรินทร์ไตรทิพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมและศึกษาสมบัติของพอลิแล็กทิกแอซิดผสมด้วยเซลลูโลส-กราฟต์-พอลิสไตรีน โดยสังเคราะห์เซลลูโลส-กราฟต์-พอลิสไตรีนด้วยวิธีแบบอิมัลชันพอลิเมอไรเซชัน การดัดแปรพื้นผิวของเซลลูโลสสามารถยืนยันได้จากการทดสอบเอกลักษณ์ด้วยเทคนิคเทคนิคอินฟราเรดสเปกโตรสโกปี และความเสถียรภาพทางความร้อนด้วยเทคนิควิเคราะห์น้ำหนักภายใต้ความร้อน (ทีจีเอ) จากนั้นนำไปผสมกับพอลิแล็กทิกแอซิดด้วยเครื่องอัดรีดสกรูคู่ ที่ร้อยละ 1 3 5 และ 10 โดยมวล นำคอมพอสิตที่ได้ขึ้นรูปเพื่อศึกษาสมบัติเชิงกล สัณฐานวิทยา ความร้อน การย่อยสลาย และการดูดซึมน้ำ จากการศึกษาพบว่าการเติมเซลลูโลส-กราฟต์-พอลิสไตรีนมีผลต่อความทนแรงกระแทก ความทนแรง ยังส์มอดุลัส และการยืด ณ จุดขาดเพิ่มขึ้น โดยการเติมเซลลูโลส-กราฟต์-พอลิสไตรีนที่ร้อยละ 3 โดยมวล ให้ค่าความทนแรงกระแทกของคอมพอสิตสูงสุด แต่ค่าการยืด ณ จุดขาดลดลง เมื่อนำมาศึกษาสมบัติทางความร้อนของคอมพอสิต พบว่า ความเสถียรทางความร้อนของพอลิเมอร์ผสมมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับพอลิแล็กทิกแอซิดบริสุทธิ์ สำหรับสมบัติการย่อยสลายด้วยวิธีการฝังกลบ และสมบัติการดูดซึมน้ำ พบว่า ปริมาณของเซลลูโลส-กราฟต์-พอลิสไตรีนที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ร้อยละน้ำหนักที่หายไปของวัสดุคอมพอสิตเมื่อถูกฝังกลบเพิ่มขึ้น และดูดซึมน้ำได้มากขึ้นเมื่อถูกแช่ในน้ำที่อุณหภูมิห้อง ตามลำดับ


ปริมาณการปลดปล่อยโลหะหนักและการรับสัมผัสผ่านทางการหายใจจากการรื้อแยกซากโทรทัศน์แบบไม่ถูกสุขลักษณะ, คคนานต์ โกญจนาวรรณ Jan 2019

ปริมาณการปลดปล่อยโลหะหนักและการรับสัมผัสผ่านทางการหายใจจากการรื้อแยกซากโทรทัศน์แบบไม่ถูกสุขลักษณะ, คคนานต์ โกญจนาวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณโลหะหนักทั้ง 11 ชนิดที่ดูดซับไว้บนอนุภาคฝุ่นที่มีขนาดต่ำกว่า 2.5 ไมโครเมตร (PM2.5) และระหว่าง 2.5 – 10 ไมโครเมตร (PM10-2.5) ที่เกิดจากการรื้อแยกซากโทรทัศน์แบบหลอดรังสีภาพคาโทด ณ ตำบลแดงใหญ่ อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์ แล้วนำไปคำนวณอัตราการปลดปล่อยโลหะหนักต่อผลิตภัณฑ์ และประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการได้รับสัมผัสโลหะหนักทางการหายใจ ทำการเก็บตัวอย่างอนุภาค PM2.5 และ PM10-2.5 จากการรื้อแยกซากโทรทัศน์ด้วยชุดปั๊มเก็บตัวอย่างอากาศเฉพาะบุคคลที่ต่อกับ Personal Modular Impactors (PMI) ภายในตู้ปิด (Chamber) ขนาด 0.6 ลูกบาศก์เมตร โดยแบ่งการเก็บตัวอย่างเป็น 2 รูปแบบ คือ เก็บตัวอย่างตลอดกระบวนการและแบบแยกขั้นตอน แต่ละรูปแบบใช้ตัวอย่างซากโทรทัศน์ 30 เครื่อง วิเคราะห์ปริมาณสารหนู แบเรียม เบริลเลียม แคดเมียม โครเมียม ทองแดง แมงกานีส นิกเกิล ตะกั่ว พลวง และสังกะสี ด้วยเครื่อง ICP-MS ผลการศึกษาพบว่าการรื้อแยกซากโทรทัศน์ทั้งสองรูปแบบปลดปล่อยตะกั่ว สังกะสี และแบเรียมสูงกว่าโลหะนักอื่นๆ ในขณะที่เบริลเลียมมีค่าต่ำกว่าขีดความสามารถที่เครื่องวัดได้ (ND) ปริมาณการปลดปล่อยโลหะหนักรวมทั้ง 10 ชนิดใน PM2.5 และ PM10-2.5 จากการรื้อแยกซากโทรทัศน์ในพื้นที่มีค่าเท่ากับ 1,499.60 และ 1,166.46 มิลลิกรัมต่อปี ตามลำดับ จากการประเมินความเสี่ยงของผู้รื้อแยกซากโทรทัศน์ในกรณีที่ได้รับสัมผัสโลหะหนักในระดับที่ปลดปล่อยจากการรื้อแยกซากโทรทัศน์ภายใน chamber ที่เป็นระบบปิดจำนวน 30 เครื่องต่อสัปดาห์ และทำงานต่อเนื่องเป็นเวลา 30 ปี ค่า HI ที่แสดงถึงระดับความเสี่ยงรวมจากการรับสัมผัสโลหะหนักที่ไม่ก่อมะเร็ง (สารหนู แบเรียม แคดเมียม โครเมียม ทองแดง แมงกานีส นิกเกิล ตะกั่ว พลวง และสังกะสี) ทั้งใน PM2.5 และ PM10-2.5 มีค่ามากกว่า 1 ซึ่งเกินเกณฑ์ที่ยอมรับได้ และระดับความเสี่ยงรวม …


Ecological Risk Assessment Of Heavy Metals In Soils From An Informal E-Waste Dismantling Site, Buriram Province, Thailand, Nisakorn Amphalop Jan 2019

Ecological Risk Assessment Of Heavy Metals In Soils From An Informal E-Waste Dismantling Site, Buriram Province, Thailand, Nisakorn Amphalop

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The research aimed to investigate the contamination and fractionations, and evaluate the ecological risk posed by heavy metals in the e-waste site in Daeng Yai and Ban Pao e-waste dismantling sites, Buriram Province, Thailand. The soil samples were taken from e-waste houses (EW), and e-waste open-burning sites (OB) as representatives of the e-waste sites, while soils from paddy fields (PF), non-e-waste houses, and groundwater wells represented the surrounding area, and the reference site was located 5 km away from the e-waste dismantling site. The soil samples were digested by aqua regia by the microwave digester for total heavy metal determination, …


การบำบัดสารหนูที่ปนเปื้อนในกากโลหกรรมจากการทำเหมืองทองคำด้วยหญ้าเนเปียร์แคระร่วมกับเทคนิคจลนศาสตร์ไฟฟ้า, กฤษฎี วานิชสวัสดิ์วิชัย Jan 2019

การบำบัดสารหนูที่ปนเปื้อนในกากโลหกรรมจากการทำเหมืองทองคำด้วยหญ้าเนเปียร์แคระร่วมกับเทคนิคจลนศาสตร์ไฟฟ้า, กฤษฎี วานิชสวัสดิ์วิชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ผลของปัจจัยทางจลนศาสตร์ไฟฟ้า (ปริมาณสนามไฟฟ้าที่ป้อนและชนิดขั้วอิเล็กโทรด) และลักษณะภาชนะที่ทดลองต่อการเคลื่อนที่ของสารหนูในวุ้น และกากโลหกรรม และ 2) ความสามารถของหญ้าเนเปียร์แคระร่วมกับการใช้จลนศาสตร์ไฟฟ้าในการดูดดึงสารหนูที่ปนเปื้อนในกากโลหกรรม และสะสมไว้ในส่วนเหนือกากโลหกรรม (ลำต้นและใบ) และส่วนใต้กากโลหกรรม (ราก) การศึกษาการเคลื่อนที่ของสารหนูในตัวกลางวุ้นที่มีการเติมสารหนูความเข้มข้น 50 มิลลิกรัมต่อลิตร และมีการป้อนสนามไฟฟ้าที่ 1 และ 2 โวลต์ต่อเซนติเมตร ที่ระยะเวลา 72 ชั่วโมงต่อเนื่อง พบว่า ในแต่ละชุดการทดลองมีแนวโน้มค่าของการเคลื่อนที่สารหนูที่คล้ายกัน คือ ในบริเวณที่ 1, 2, 3, 4, 6, 7, 8 และ 9 ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการวางขั้วแคโทด มีการสะสมสารหนูในปริมาณที่ต่ำ สำหรับบริเวณที่ 5 ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการวางขั้วแอโนด มีการสะสมสารหนูในปริมาณสูงที่สุด ผลการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเคลื่อนที่ของสารหนูในตัวกลางวุ้น พบว่า รูปแบบภาชนะทรงกลมและขั้วกราไฟท์ที่ป้อนสนามไฟฟ้าที่ 2 โวลต์ต่อเซนติเมตร ให้ประสิทธิภาพในการเคลื่อนที่ของสารหนูได้ดีที่สุด การเคลื่อนที่ของสารหนูในตัวกลางกากโลหกรรมที่มีความเข้มข้นของสารหนู 60.02 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ที่ถูกบำบัดด้วยการป้อนสนามไฟฟ้าที่ 1 และ 2 โวลต์ต่อเซนติเมตร ที่ระยะเวลา 3, 5 และ 7 วันต่อเนื่อง พบว่า ระยะเวลาที่ 5 วัน การป้อนสนามไฟฟ้าที่ 2 โวลต์ต่อเซนติเมตร มีผลต่อการเคลื่อนที่ของสารหนูดีที่สุด โดยเคลื่อนที่มาบริเวณระหว่างขั้วแอโนดและแคโทด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 63.07±1.60 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ในส่วนการบำบัดกากโลหกรรมที่ปนเปื้อนสารหนูด้วยหญ้าเนเปียร์แคระร่วมกับการใช้จลนศาสตร์ไฟฟ้าที่ปริมาณสนามไฟฟ้าแตกต่างกัน (0, 1, 2 และ 4 โวลต์ต่อเซนติเมตร) ที่ระยะเวลา 15, 30, 45, 60, 75, 90, 105 และ 120 วัน พบว่า พืชสามารถดูดดึงและสะสมสารหนูได้สูงที่สุดในส่วนรากของชุดการทดลองที่บำบัดด้วยสนามไฟฟ้า 1 โวลต์ต่อเซนติเมตร เป็นเวลา 90 …


การประเมินวัฏจักรชีวิตของการผลิตชิ้นงานโดยการขึ้นรูปด้วยเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3 มิติ, นภัสร์นันท์ ตติย์ธานุกุล Jan 2019

การประเมินวัฏจักรชีวิตของการผลิตชิ้นงานโดยการขึ้นรูปด้วยเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3 มิติ, นภัสร์นันท์ ตติย์ธานุกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลกระทบสิ่งแวดล้อมในกระบวนการได้มาของวัตถุดิบ การใช้งาน และการกำจัดซากชิ้นงาน ของการผลิตโมเดลที่วางโทรศัพท์ 1 ชิ้น โดยการขึ้นรูปด้วยเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ชนิด เอฟดีเอ็ม (การพิมพ์แบบใช้หัวฉีด) จำนวน 2 รุ่น คือ รุ่นที่ผลิตในประเทศไทย และรุ่นที่นำเข้าจากประเทศจีน ซึ่งขึ้นรูปด้วยพลาสติก 3 ชนิด คือ พีแอลเอ เอบีเอส และไนลอน โดยผลิตโมเดลขนาดเล็กและใหญ่ ซึ่งใช้ระยะเวลาการผลิตดที่แตกต่างกัน คือ 3 ชั่วโมง และ 6 ชั่วโมง โดยทำการลงพื้นที่เก็บข้อมูลมลพิษทางอากาศ และพลังงานไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจริงขณะใช้งานเครื่องพิมพ์ 3 มิติ และประเมินผลกระทบตลอดวัฏจักรชีวิตด้วยโปรแกรม Simapro 8.3 ด้วยวิธี IMPACT 2002+ รุ่น 2.13 ผลการศึกษาพบว่า การใช้งานของเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ส่งผลกระทบสิ่งแวดล้อมสูงสุดในขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นงานเนื่องจากการใช้พลังงานและการปลอดปล่อยสารอินทรีย์ระเหยง่าย รองลงมาคือ การจัดการผลิตภัณฑ์หลังการใช้งาน และการได้มาของวัตถุดิบ ตามลำดับ ซึ่งระยะเวลาการใช้งานที่เพิ่มขึ้น (6 ชม.) ทำให้ผลกระทบสิ่งแวดล้อมมีแนวโน้มสูง โดยพลาสติกไนลอนผลกระทบสูงกว่าพลาสติกพีแอลเอ ในด้านความเป็นพิษต่อระบบนิเวศทางน้ำ (Aquatic ecotoxicity) ด้านพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป (Non-renewable energy) และความเป็นพิษต่อระบบนิเวศทางบก (Terrestrial ecotoxicity) นอกจากนี้ในขั้นตอนการใช้งานเครื่องพิมพ์ 3 มิติ พบว่า วัสดุ PLA การใช้วัสดุส่งผลกระทบสูงกว่าการใช้ไฟฟ้า วัสดุ ABS และ Nylon การใช้ไฟฟ้าส่งผลกระทบสูงกว่าการใช้วัสดุ และการเปรียบเทียบผลกระทบสิ่งแวดล้อมของเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ทั้ง 2 รุ่น ส่งผลกระทบสิ่งแวดล้อมไม่ต่างกัน