Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Physical Sciences and Mathematics Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 811 - 840 of 2268

Full-Text Articles in Physical Sciences and Mathematics

ระบบการจัดการมูลค่าข้อมูลจากเกมสู่เกมด้วยบล็อกเชน, ชานน ยาคล้าย Jan 2019

ระบบการจัดการมูลค่าข้อมูลจากเกมสู่เกมด้วยบล็อกเชน, ชานน ยาคล้าย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แม้ว่าในปัจจุบันบล็อกเชนจะถูกนำมาใช้ประโยชน์ในหลายอุตสาหกรรม แต่ในอุตสาหกรรมเกมนั้น บล็อกเชนไม่ได้ถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางมากนัก นอกจากนี้ แม้ว่าในอุสาหกรรมเกมจะมีผู้เล่นอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ก็ยังไม่มีเกมหรือแพลตฟอร์มใดที่ให้สิทธิผู้เล่นในการเป็นเจ้าของสินทรัพย์หรือข้อมูลภายในเกมอย่างแท้จริง โดยแม้จะมีความพยายามในการระดมทุนเพื่อทำเกมหรือแพลตฟอร์มที่ให้ผู้เล่นได้มีโอกาสเป็นเจ้าของสินทรัพย์หรือข้อมูลภายในเกมอยู่บ้าง แต่ก็ยังคงอยู่ในขั้นตอนการทดลองที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ และผู้เล่นยังต้องพึ่งพาระบบนิเวศน์ของแพลตฟอร์มนั้น ๆ อีกด้วย ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผู้วิจัยจึงประสงค์ที่จะนำเสนอสถาปัตยกรรมกลางที่ทำให้ผู้เล่นเกมสามารถเป็นเจ้าของเวลาที่ตนเองใช้ภายในเกมได้โดยใช้บล็อกเชนสาธารณะ ทั้งผู้เล่นยังสามารถนำเวลาดังกล่าวไปใช้ในเกมอื่นได้ด้วย โดยใช้มาตราฐานโทเคนดิจิทัล ERC-20 บนอีเธอเรี่ยม นอกจากนี้ รูปแบบสถาปัตยกรรมที่นำเสนอดังกล่าวยังสามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกบล็อกเชนสาธารณะ และยังเป็นประโยชน์ต่อทุกองค์ประกอบของระบบนิเวศน์ อาทิเช่น ผู้เล่น บล็อกเชนโหนด และผู้พัฒนาเกม โดยผลการทดลองในงานวิทยานิพนธ์นี้ ยังแสดงว่าแนวความคิดดังกล่าวทำให้ผู้เล่นใช้เวลาในการเล่นเกมนานขึ้น และมีแนวโน้มที่จะอยากเล่นเกมใหม่ๆ ที่สามารถนำมูลค่าในเกมเดิมไปใช้ได้ แต่ทั้งนี้ยังมีปัจจัยหลายอย่างที่มีผล อาทิเช่น ประเภทของเกม การแลกเปลี่ยนค่าของเวลาภายในเกม เป็นต้น


เครื่องมือวิเคราะห์ผลกระทบต่อซอร์สโค้ดไฮเบอร์เนตและกรณีทดสอบสำหรับการเปลี่ยนแปลงสคีมาฐานข้อมูล, อมรรัตน์ ใจมูล Jan 2019

เครื่องมือวิเคราะห์ผลกระทบต่อซอร์สโค้ดไฮเบอร์เนตและกรณีทดสอบสำหรับการเปลี่ยนแปลงสคีมาฐานข้อมูล, อมรรัตน์ ใจมูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การออกแบบฐานข้อมูลเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาซอฟต์แวร์ เพราะมีการจัดการความสอดคล้องของข้อมูลและทำให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลไม่ได้อยู่ในสภาพที่ไม่ถูกต้อง โดยในแต่ละรอบของการพัฒนาซอฟต์แวร์จะมีเปอร์เซ็นต์ของความซับซ้อนและขนาดของฐานข้อมูลที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งการเปลี่ยนแปลงสคีมาฐานข้อมูลจะส่งผลกระทบต่อซอร์สโค้ดที่เกี่ยวข้องรวมไปถึงกรณีทดสอบที่มักจะนำไปสู่ความล้มเหลวของกระบวนการซอฟต์แวร์ได้ นักวิจัยบางคนวิเคราะห์ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโดยใช้เทคนิคต่าง ๆ เช่น การจัดการตัวกำหนดค่า การตรวจสอบความสัมพันธ์ในรูปแบบย้อนกลับ และการแบ่งส่วนของโปรแกรม เป็นการวิเคราะห์ผลกระทบเพื่อระบุปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการศึกษาเหล่านั้นไม่ได้เน้นถึงผลกระทบที่มีต่อซอร์สโค้ดและกรณีทดสอบ ดังนั้นงานวิจัยนี้นำเสนอเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ผลกระทบต่อซอร์สโค้ดไฮเบอร์เนตและกรณีทดสอบสำหรับการเปลี่ยนแปลงสคีมาฐานข้อมูล นอกจากนี้เครื่องมือยังสามารถแสดงให้ผู้ใช้ได้ทราบถึงตำแหน่งของผลกระทบที่เกิดขึ้นในซอร์สโค้ดและกรณีทดสอบรวมไปถึงตำแหน่งของซอร์สโค้ดและกรณีทดสอบที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขบนซอร์สโค้ดและการณีทดสอบที่ได้รับผลกระทบอีกด้วย สุดท้ายนี้เครื่องมือที่สร้างขึ้นจะถูกนำไปทดสอบกับกรณีศึกษา 3 กรณี ซึ่งพบว่าซอร์สโค้ดและกรณีทดสอบที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสคีมาฐานข้อมูลสามารถนำกลับไปใช้งานต่อได้อย่างสมบูรณ์เนื่องจากได้รับการปรับปรุงแก้ไขจากเครื่องมือที่สร้างขึ้น


การศึกษาเสียงกระตุ้นเพื่อการตรวจวัดโครงสร้างละเอียดของเสียงสะท้อนจากหูชั้นในแบบดีพีโอเออีในกบนาและกบวัว, เอกณัฐ ประวันตา Jan 2019

การศึกษาเสียงกระตุ้นเพื่อการตรวจวัดโครงสร้างละเอียดของเสียงสะท้อนจากหูชั้นในแบบดีพีโอเออีในกบนาและกบวัว, เอกณัฐ ประวันตา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เมื่อหูชั้นในถูกกระตุ้นด้วยเสียงสองความถี่ จะสามารถสร้างเสียงสะท้อนที่มีความถี่เป็นผลรวมเชิงเส้นของความถี่เสียงกระตุ้นทั้งสองได้ เรียกว่า เสียงสะท้อนจากหูชั้นในแบบดีพีโอเออี (Distortion Product Otoacoustic Emissions, DPOAEs) ซึ่งเสียงดังกล่าวสามารถตรวจวัดได้โดยการนำไมโครโฟนสอดเข้าไปในรูหู จากการทดลองในมนุษย์พบว่าระดับความเข้มของเสียงดีพีโอเออีที่ความถี่ 2f1-f2 สัมพันธ์กับความถี่ของเสียงกระตุ้นแบบคล้ายรายคาบ (quasi-periodic) โดยเรียกปรากฏการณ์ดังกล่าวว่า โครงสร้างละเอียดของเสียงสะท้อนจากหูชั้นในแบบดีพีโอเออี (DPOAE fine structure) โครงสร้างดังกล่าวอาจเกิดจากคลื่นตามขวางบนแผ่นเนื้อเยื่อบาซิลลาร์ (basilar membrane) ในอวัยวะรูปก้นหอย (cochlea) ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการทดลองวัดโครงสร้างละเอียดของเสียงดีพีโอเออีจากกบสองชนิด คือ กบนา (Chinese edible frog) และกบวัว (North American bullfrog) ที่หูชั้นในไม่สามารถเกิดคลื่นตามขวางได้ ผลการทดลองพบว่าหูชั้นในของกบนา สามารถสร้างโครงสร้างละเอียดของเสียงดีพีโอเออีได้ แม้ว่าโครงสร้างละเอียดนี้จะไม่พบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นนอกจากมนุษย์ก็ตาม ผลการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและผลการยับยั้งการสั่นของเยื่อแก้วหูอีกข้างหนึ่งบ่งชี้ว่า โครงสร้างละเอียดที่เกิดขึ้นในกบนาไม่ได้เกิดจากเรโซแนนซ์ ของเสียงดีพีโอเออีภายในหูชั้นกลางและช่องปาก เพื่ออธิบายกระบวนการเกิดโครงสร้างละเอียดของเสียงดีพีโอเออีในหูชั้นในของกบ เราได้พัฒนาแบบจำลองของระบบของตัวสั่นไม่เชิงเส้นในหนึ่งมิติที่เชื่อมต่อกันด้วยสปริง โดยผลการคำนวณในเบื้องต้นแสดงว่า เมื่อตัวสั่นมีการเรียงกันตามความถี่จำเพาะและได้รับแรงกระตุ้นที่เหมาะสม ระบบสามารถสร้างโครงสร้างละเอียดได้ ซึ่งเป็นผลจากการสั่นพ้องของระบบและการแทรกสอดของสัญญาณดีพีโอเออีที่ถูกสร้างจากตัวสั่นแต่ละตัว จากผลการศึกษาวิจัยในครั้งนี้เรานำเสนอทฤษฎีทางเลือกที่ใช้ในการอธิบายกระบวนการพื้นฐานในการเกิดโครงสร้างละเอียดของเสียงสะท้อนจากหูชั้นในแบบดีพีโอเออีในสำหรับสัตว์ที่ไม่ใช่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมได้


กลไกจุดสนใจแบบเน็ตเวิร์กละเอียดสำหรับการจำแนกประเภทของรูปภาพอาหาร, วศิณี นุชศิริ Jan 2019

กลไกจุดสนใจแบบเน็ตเวิร์กละเอียดสำหรับการจำแนกประเภทของรูปภาพอาหาร, วศิณี นุชศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบัน มีจำนวนรูปภาพอาหารมากมายที่ถูกอัพโหลดผ่านเครือข่ายสังคม โดยรูปภาพส่วนหนึ่งไม่ได้รับการระบุป้ายชื่ออาหาร การใช้แอปพลิเคชันสำหรับการจำแนกประเภทรูปภาพของอาหาร สามารถช่วยระบุป้ายชื่อ และจัดจำแนกประเภทของรูปภาพอาหารเหล่านั้นได้ ปัญหาของงานจำแนกประเภทของรูปภาพอาหาร จัดเป็นงานที่ค่อนข้างมีความซับซ้อน เนื่องจากจำนวนของประเภทอาหารมีมากกว่าหนึ่งร้อยประเภท และอาหารบางประเภทยังมีลักษณะที่แตกต่างกันเล็กน้อย ไม่ว่าจะเป็นประเภทของส่วนผสม หรือลักษณะการจัดวางจาน ซึ่งปัญหาเหล่านี้นำไปสู่งานที่เรียกว่า งานจำแนกประเภทรูปภาพแบบละเอียด (Fine-grained Image Classification) ในปัจจุบันแบบจำลองนิวรอลเน็ตเวิร์กแบบคอนโวลูชันเชิงเส้นคู่ (Bilinear Convolutional Neural Networks หรือ B-CNN) ถูกนำมาใช้ในการจำแนกประเภทของรูปภาพอาหาร เนื่องจากแบบจำลองนี้มีความแม่นยำในการจำแนกประเภทของรูปภาพสูง และสามารถสกัดลักษณะของรูปภาพออกมาอย่างหลากหลาย เพื่อโฟกัสรายละเอียดของอาหารในแต่ละประเภท แต่เนื่องจากคุณลักษณะของรูปภาพที่ถูกสกัดมานั้น บางลักษณะอาจจะไม่ได้มีความสำคัญต่อรูปภาพนั้น ๆ ด้วยเหตุผลดังกล่าว งานวิจัยนี้จึงได้นำเสนอกลไกจุดสนใจ (Attention Mechanism) มาสกัดลักษณะที่จำเพาะของรูปภาพอาหารในแต่ละประเภท อีกทั้งงานวิจัยนี้เลือกคอนโวลูชันเน็ตเวิร์กที่มีประสิทธิภาพในการจำแนกประเภทของรูปภาพดีกว่าคอนโวลูชันเน็ตเวิร์กแบบอื่น ๆ ในปัจจุบัน คือ อินเซ็บชันเวอร์ชันสาม และ อินเซ็บชันเรสเน็ตเวอร์ชันสอง (Inception-Resnet-v2 หรือ In-res-v2) มาเป็นตัวสกัดลักษณะของรูปภาพ โดยงานวิจัยนี้ได้ทำการทดลองกับชุดข้อมูลเชิงรูปภาพ จาก Wongnai ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันสำหรับการอัปโหลดรูปภาพอาหาร โดยผลการทดลองพบว่าแบบจำลองที่ได้นำเสนอ มีประสิทธิภาพในการจำแนกประเภทของรูปภาพอาหารได้อย่างถูกต้องแม่นยำมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับแบบจำลองอื่น ๆ


การสำรวจช่องโหว่เครือข่ายเพื่อการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยองค์กร, วิชสุนี ธีรรัชต์กาญจน์ Jan 2019

การสำรวจช่องโหว่เครือข่ายเพื่อการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยองค์กร, วิชสุนี ธีรรัชต์กาญจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ได้นำเสนอระบบที่ช่วยในการรวบรวม วิเคราะห์ และจำแนกรูปแบบการโจมตีไซเบอร์บนระบบปฏิบัติการยูนิกซ์หรือลินุกซ์ พฤติกรรมน่าสงสัยจะถูกรวบรวมผ่านทางฮันนีพอตที่ถูกติดตั้งไว้เป็นกับดักล่อเหยื่อผู้บุกรุกทางไซเบอร์ โดยข้อมูลจะถูกเก็บในรูปแบบของบันทึกจัดเก็บ ขั้นตอนกระบวนการหลังจากนั้นจะถูกสั่งการผ่านเชลล์สคริปต์เพื่อวิเคราะห์หารูปแบบการโจมตี จากการทดลองค้นพบลักษณะของคำสั่งการโจมตีที่มีความคล้ายกัน ซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มของคำสั่งออกเป็น 5 กลุ่มตามจุดมุ่งหมายการบุกรุก ประกอบด้วย 1. สืบค้นข้อมูลสารสนเทศ 2. ติดตั้งเครื่องมือ 3. โอนย้ายข้อมูล 4. เปลี่ยนแปลงข้อมูล 5. ยึดครองเครื่อง และอีก 2 กลุ่ม คือ กลุ่มของคำสั่งที่ผิดพลาด และกลุ่มของคำสั่งใหม่ที่ไม่เคยพบ สังเกตว่าแต่ละกลุ่มมีผลกระทบต่อระบบไม่เท่ากัน ไวรัสโททอลเปรียบเสมือนบริการฐานข้อมูลที่เก็บรวบรวมเอกลักษณ์ของไวรัสหลากหลายรูปแบบเอาไว้ เมื่อพบคำสั่งในกลุ่มเสี่ยง ระบบจะทำการเรียกใช้ไวรัสโททอลเอพีไอ เพื่อทำการแซนด์บ็อกซิ่ง หรือจำลองการดาวน์โหลด และติดตั้งไฟล์ในสภาพแวดล้อมเสมือนจริง เพื่อวิเคราะห์หารูปแบบการโจมตี ในกรณียูอาร์แอลหรือไฟล์ดังกล่าวเป็นไฟล์อันตราย ไวรัสโททอลจะส่งรายงานกลับมายังระบบที่พัฒนา และแจ้งเตือนไปที่ผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการเสริมกำลัง เตรียมป้องกัน และพัฒนาการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยองค์กรให้รัดกุมมากยิ่งขึ้น ผลจากการทดลองพบว่า ยูอาร์แอลหรือไฟล์ต่าง ๆ ที่ระบุอยู่ในคำสั่งของผู้บุกรุก 86% เป็นภัยคุกคาม


การจำแนกรุ่นอายุผู้ใช้งานเฟซบุ๊กไทย โดยใช้การเรียนรู้เชิงลึกร่วมกับความน่าจะเป็นของคำ, ศุภชัย ตั้งตรีรัตน์ Jan 2019

การจำแนกรุ่นอายุผู้ใช้งานเฟซบุ๊กไทย โดยใช้การเรียนรู้เชิงลึกร่วมกับความน่าจะเป็นของคำ, ศุภชัย ตั้งตรีรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เฟซบุ๊กเป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก นักการตลาดจึงต้องการใช้ข้อมูลเฟซบุ๊กจำนวนมากในการทำการตลาด ดังนั้นการวิเคราะห์รุ่นอายุของผู้ใช้งานเฟซบุ๊กจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อนำรุ่นอายุของผู้ใช้งานเฟซบุ๊กมาวิเคราะห์หากลุ่มเป้าหมายในการทำการตลาด ในงานวิจัยนี้ได้ทำการวิเคราะห์รุ่นอายุของผู้ใช้งานเฟซบุ๊กจากข้อมูลการโพสของผู้ใช้งาน โดยใช้การรวมกันระหว่างการเรียนรู้เชิงลึกกับข้อมูลความน่าจะเป็นของคำในแต่ละรุ่นอายุ ผลลัพธ์จากการทดลองได้ค่าความแม่นยำแบบต่อผู้ใช้เท่ากับ 82.90% และค่าความแม่นยำแบบต่อโพสต์เท่ากับ 52.48% ซึ่งได้ประสิทธิภาพดีกว่าการใช้แบบจำลองเพอร์เซ็ปตรอนหลายชั้น ,นิวรอลเน็ตเวิร์กคอนโวลูชัน ,หน่วยความจำระยะสั้นแบบยาว เพียงอย่างเดียว จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าการใช้ความน่าจะเป็นของคำในแต่ละรุ่นอายุเข้ามาช่วย ทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของแบบจำลองได้ดียิ่งขึ้น


การแบ่งส่วนโรคหลอดเลือดเจริญผิดปกติบนภาพกล้องแคปซูลโดยใช้โครงข่ายตัวเข้ารหัสตัวถอดรหัสที่เพิ่มประสิทธิภาพ, สิริชาติ กอบประดิษฐ์ Jan 2019

การแบ่งส่วนโรคหลอดเลือดเจริญผิดปกติบนภาพกล้องแคปซูลโดยใช้โครงข่ายตัวเข้ารหัสตัวถอดรหัสที่เพิ่มประสิทธิภาพ, สิริชาติ กอบประดิษฐ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคหลอดเลือดเจริญผิดปกติเป็นรอยแผลที่อาจเกิดขึ้นได้ในทางเดินอาหารส่วนล่าง ถึงแม้รอยแผลเหล่านี้จะไม่แสดงอาการเจ็บในผู้ป่วย แต่อาจเกิดการเลือดออกจากรอยแผลเหล่านี้ได้ หนึ่งในวิธีการตรวจสอบโรคนี้คือใช้การส่องกล้องแคปซูลไร้สายด้วยการกลืน ข้อมูลที่ได้จากการเก็บภาพภายในทางเดินอาหารจะมีปริมาณมากซึ่งจะมีทั้งภาพที่มีรอยโรคที่สนใจ และภาพที่ไม่มีรอยโรคปะปนกันอยู่ งานวิจัยการตรวจจับรอยโรคที่ได้ศึกษามานั้นมักมุ่งเน้นการสร้างแบบจำลองที่มีความแม่นยำในตรวจจับเฉพาะส่วนของภาพที่มีรอยโรคโดยเฉพาะ ไม่ได้ศึกษาการนำแบบจำลองไปใช้งานกับภาพส่วนที่ไม่มีรอยโรค วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้เห็นถึงส่วนที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพแก่แบบจำลองในการใช้งานในโลกจริงได้เหมาะสมขึ้น โดยนำเสนอวิธีการประมวลผลภาพเบื้องต้น และการเพิ่มกลไกจุดสนใจแก่แบบจำลอง นอกจากนี้ยังได้นำเสนอการสร้างแบบจำลอง 2 รูปแบบคือ แบบจำลองเรียงซ้อน และแบบจำลองร่วมกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในงานแบ่งส่วนโรคอีกด้วย การทดลองได้ทดสอบแบบชุดข้อมูลโรคหลอดเลือดเจริญผิดปกติ MICCAI 2017 และ MICCAI 2018 ผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่าแบบจำลองร่วมกันที่นำเสนอมีประสิทธิภาพดีที่สุด สามารถแบ่งส่วนภาพ และจำแนกประเภทภาพที่มีรอยโรค และไม่มีรอยโรคได้ด้วยค่าคะแนนมาตรวัดที่สูง


การจำแนกเพศจากชื่อผู้ใช้งานภาษาไทยบนเฟซบุ๊ก, สุพิชชา ยืนยงค์ Jan 2019

การจำแนกเพศจากชื่อผู้ใช้งานภาษาไทยบนเฟซบุ๊ก, สุพิชชา ยืนยงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอการนำการเรียนรู้ของเครื่องมาประยุกต์ในการจำแนกเพศผู้ใช้งานเฟซบุ๊กโดยใช้เพียงชื่อผู้ใช้งานเท่านั้น ซึ่งข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานของโซเชียลเนตเวิร์คมีความสำคัญในการนำมาวิเคราะห์ แต่บางครั้งไม่มีการเปิดเผยข้อมูล เช่น อายุ หรือเพศ โดยการศึกษาส่วนใหญ่มักจะนำเอาข้อความบนเว็บเพจมาวิเคราะห์ แต่การศึกษานี้เลือกใช้ชื่อผู้ใช้งานในการจำแนกเพศ โดยเพศสามารถอนุมานได้จากทั้งชื่อจริงและชื่อแฝงของผู้ใช้งาน โดยงานวิจัยนี้สนใจเฉพาะชื่อที่เป็นภาษาไทย ซึ่งชื่อของคนไทยจะมีรูปแบบที่สามารถแสดงตัวตนความเป็นเพศได้ การรวมกันของแบบจำลองสำหรับการจำแนกเพศจากชื่อผู้ใช้งานภาษาไทยบนเฟซบุ๊กที่แตกต่างกัน ในแต่ละแบบจำลองมีการเรียนรู้โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบจำลองเชิงทำนาย ได้แก่ การจำแนกเพศจากชื่อจริง การจำแนกเพศจากชื่อแฝง การจำแนกชื่อจริงและชื่อแฝง และการจำแนกชื่อทั้งหมด โดยผลการจำแนกทั้งหมดจะถูกรวมในแบบจำลองสุดท้าย เมื่อใช้วิธีนี้แบบจำลองมีความถูกต้องที่ 85.85% ซึ่งได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการจำแนกเพศโดยคน ที่มีความถูกต้องที่ 77.03%


การนำเสนอโหนดที่ซ่อนอยู่ในกราฟความสัมพันธ์ของผู้ใช้งานอินสตาแกรม, อรรมณี อุ่นเมือง Jan 2019

การนำเสนอโหนดที่ซ่อนอยู่ในกราฟความสัมพันธ์ของผู้ใช้งานอินสตาแกรม, อรรมณี อุ่นเมือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และ อินสตาแกรม เป็นแอปพลิเคชันที่ช่วยขยายเครือข่ายความสัมพันธ์ เพื่อการให้คำแนะนำผู้ใช้งานที่มีความเกี่ยวกัน เครื่อข่ายสังคมออนไลน์ต้องเข้าใจความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น จากการศึกษาจำนวนมากได้มีการค้นพบความสัมพันธ์ที่ไม่รู้จักกันระหว่างผู้ใช้ โดยใช้ตัวชี้วัดที่คล้ายคลึงกัน ตัวชี้วัดที่ใช้ความคล้ายคลึงกันที่ใช้บ่อยที่สุดคือเมทริกเพื่อนบ้าน อย่างไรก็ตามตัวชี้วัดดังกล่าวสันนิษฐานว่าเครือข่ายนั้นเป็นรูปแบบเอกพันธ์ ในขณะที่เครือข่ายสังคมออนไลน์ในโลกแห่งความเป็นจริงนั้นมีเอนทิตีและความสัมพันธ์หลายประเภททำให้ต่างกัน นอกจากนี้ยังพิจารณาข้อมูลโครงสร้างโดยไม่ใช้ประโยชน์จากข้อมูลบริบทของเครือข่าย ดังนั้นความสัมพันธ์ที่ค้นพบไม่มีความหมายที่ซ่อนอยู่ ในบทความนี้ผู้วิจัยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้งานอินสตาแกรม โดยพิจารณาทั้งข้อมูลเชิงโครงสร้างและเชิงบริบท เป็นผลให้ผู้วิจัยใช้ประโยชน์จากความหลากหลายของเครือข่ายและค้นพบโหนดที่ซ่อนอยู่ซึ่งมีความหมายของความสัมพันธ์ ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ในสองขั้นตอนดังนี้ 1. ผู้วิจัยพิจารณาข้อมูลโครงสร้างของเครือข่ายโดยใช้เพื่อนบ้านทั่วไประหว่างผู้ใช้สองคน ผู้วิจัยเลือกคู่ผู้ใช้ 13 อันดับแรกที่แบ่งปันเพื่อนบ้านที่พบมากที่สุดเพื่อดำเนินการขั้นตอนต่อไป 2. ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์เชิงบริบทระหว่างผู้ใช้แต่ละคนในคู่ผู้ใช้โดยใช้โพสต์และความคิดเห็น จากนั้นผู้วิจัยได้คำนวณความถี่คำของแต่ละโทเค็นในความคิดเห็น ผู้วิจัยสังเกตว่าโทเค็นที่มีค่าความถี่สูงจะแสดงข้อมูลเชิงบริบทระหว่างผู้ใช้สองคน ในที่สุดผู้วิจัยจะแสดงโทเค็นเหล่านี้เป็นโหนดที่ซ่อนอยู่ในความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้สองคนโดยใช้กราฟความสัมพันธ์ที่แตกต่างกัน


การเตรียมคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส/พอลิไวนิลแอลกอฮอล์/นาโนไททาเนียมไดออกไซด์ไฮโดรเจลสำหรับการประยุกต์ตกแต่งแผลที่มีสมบัติต้านแบคทีเรีย, วัชรพล ขำช้าง Jan 2019

การเตรียมคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส/พอลิไวนิลแอลกอฮอล์/นาโนไททาเนียมไดออกไซด์ไฮโดรเจลสำหรับการประยุกต์ตกแต่งแผลที่มีสมบัติต้านแบคทีเรีย, วัชรพล ขำช้าง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ทำการเตรียมคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส/พอลิไวนิลแอลกอฮอล์/นาโนไททาเนียมไดออกไซด์ไฮโดรเจลฟิล์มโดยใช้กรดซิตริกเป็นสารเชื่อมขวางสำหรับการประยุกต์ใช้เป็นวัสดุตกแต่งแผลจากนั้นทำการพิสูจน์เอกลักษณ์ดังนี้คือ การวิเคราะห์หมู่ฟังก์ชันโดยเทคนิค ATR-FTIR การวิเคราะห์ลักษณะสัณฐานวิทยาที่พื้นผิวโดยกล้องจุลทรรศน์อิเล็คตรอนแบบส่องกราด การทดสอบสมบัติการทนต่อแรงดึง การวิเคราะห์พฤติกรรมในการบวมตัว สัดส่วนการเกิดเจล ความสามารถในการกักเก็บยา ร้อยละการกักเก็บยา พฤติกรรมในการปลดปล่อยยา การต้านแบคทีเรียโดยวิเคราะห์จากร้อยละการลดลงของแบคทีเรีย โดยจากการพิสูจน์เอกลักษณ์พบว่า การเพิ่มขึ้นขององค์ประกอบพอลิไวนิลแอลกอฮอล์ในฟิล์มทำให้ได้ฟิล์มที่มีสัดส่วนในการเกิดเจลที่เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบฟิล์มที่ปริมาณกรดซิตริกเท่ากันในทางตรงกันข้ามพบว่าเมื่อเพิ่มปริมาณองค์ประกอบพอลิไวนิลแอลกอฮอล์ในฟิล์มทำให้ค่าสัดส่วนการบวมตัวของฟิล์มมีค่าที่น้อยลงเพราะว่าการเพิ่มปริมาณองค์ประกอบพอลิไวนิลแอลกอฮอล์ในฟิล์มทำให้เพิ่มระดับการเชื่อมขวางของฟิล์มจึงทำให้มีสัดส่วนการเกิดเจลที่เพิ่มขึ้นต่อมาจากเทคนิค ATR-FTIR ได้ยืนยันการเกิดการเชื่อมขวางระหว่างโมเลกุลคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสกับพอลิไวนิลแอลกอฮอล์โดยพันธะเอสเทอร์และสำหรับการทดสอบการทนต่อแรงดึงพบว่าค่าความคงทนต่อแรงดึง ค่าความเหนียว ค่าร้อยละการยืดตัว ณ จุดขาด ของฟิล์มมีค่าลดลงตามปริมาณการเพิ่มขึ้นขององค์ประกอบพอลิไวนิลแอลกอฮอล์ในการทดสอบฟิล์มแห้งต่อมาสำหรับการศึกษาพฤติกรรมในการกักเก็บยาของฟิล์มพบว่าฟิล์มทุกสูตรมีพฤติกรรมในการกักเก็บยาที่คล้ายคลึงกันและการศึกษาพฤติกรรมในการปลดปล่อยยาพบว่าฟิล์มทั้งหมดสามารถช่วยชะลอการปลดปล่อยยาเททราไซคลินให้ช้าลงได้สุดท้ายจากการทดสอบความสามารถในการต้านแบคทีเรียจากฟิล์มสูตร CMC 80/PVA 20/TiO2 2% พบว่าฟิล์มมีสมบัติต้านแบคทีเรียทั้งแกรมบวก (S. aureus) และ แกรมลบ (E.coli) โดยให้ค่าร้อยละการลดลงของแบคทีเรียเท่ากับ 100 เมื่อทดสอบตามมาตรฐาน JIS Z 2801 โดยสรุปจากข้อมูลผลการทดลองทั้งหมดทำให้สรุปได้ว่าไฮโดรเจลฟิล์มมีประสิทธิภาพที่เพียงพอในการนำไปประยุกต์ใช้เป็นวัสดุตกแต่งแผล


โครงการอิมพลีเมนท์ เอสเอพี อีซีซี 6.0 : โมดูลการบริหารจัดการวัตถุดิบของธุรกิจจัดจำหน่ายข้าวสาร, ณัฐญา เจริญสุข Jan 2019

โครงการอิมพลีเมนท์ เอสเอพี อีซีซี 6.0 : โมดูลการบริหารจัดการวัตถุดิบของธุรกิจจัดจำหน่ายข้าวสาร, ณัฐญา เจริญสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โครงการอิมพลีเมนท์ เอสเอพี อีซีซี 6.0: โมดูลการจัดการวัตถุดิบสำหรับธุรกิจจัดจำหน่ายข้าวสาร พัฒนาขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อกำหนดค่าการทำงานของซอฟต์แวร์วางแผนจัดการทรัพยากรขององค์กรให้ตรงกับความต้องการและสอดคล้องกับกระบวนการทางธุรกิจของบริษัทจัดจำหน่ายข้าวสารที่นำมาเป็นกรณีศึกษา เพื่อให้บริษัทมีระบบสารสนเทศแบบบูรณาการในการดำเนินงานร่วมกันในส่วนงานที่เกี่ยวข้อง มีการใช้ข้อมูลร่วมกันภายในบริษัท และสนับสนุนการออกรายงานสำหรับผู้บริหารเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ ตัดสินใจ และวางแผนการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ โครงการอิมพลีเมนท์ เอสเอพี อีซีซี 6.0: โมดูลการจัดการวัตถุดิบสำหรับธุรกิจจัดจำหน่ายข้าวสาร ประกอบด้วย 5 ระบบย่อย ได้แก่ ระบบจัดการข้อมูลหลักวัตถุดิบ ระบบจัดซื้อ ระบบการจัดการสินค้าคงคลัง ระบบการรับรู้หนี้การค้า และระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ โครงการนี้พัฒนาขึ้นโดยใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป SAP ECC 6.0 ระบบจัดการฐานข้อมูล Oracle 11g และระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows Server 2008 R2


Thai Stock Return Prediction Using Deep Learning Models With Stock Indicators And Textual Features, Tanawat Chiewhawan Jan 2019

Thai Stock Return Prediction Using Deep Learning Models With Stock Indicators And Textual Features, Tanawat Chiewhawan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Stock prediction task is notoriously challenging due to the uncertainty and dynamic external factor which influence the stock behavior. Recently, Deep learning research is gaining popularity on this task but often focuses on only a particular type of data; numeric indicators or textual information. Moreover, most researches focus on only a single stock or a market index. In this paper, we aim to predict multiple stock returns using both types of data. The model consists of dual-stage attention recurrent neural network, our proposed stock relation inference framework, and textual features integration. The proposed stock relation inference help tackles multiple time-series …


Suid Fossils And Sedimentology From The Chaloem Phra Kiat And Phimai Sandpits, Nakhon Ratchasima Province, Thunchanok Kawinate Jan 2019

Suid Fossils And Sedimentology From The Chaloem Phra Kiat And Phimai Sandpits, Nakhon Ratchasima Province, Thunchanok Kawinate

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The suid fossils were recorded in fluvial sediments at the Chaloem Phra Kiat and Phimai Districts, Nakhon Ratchasima Province. In this study, numerous suid fossils were identified systematically by the measurement and description in detail of the external morphology of teeth, and comparison with other related species. Sedimentary facies and facies association from stratigraphy of fluvial depositional environment from sandpits have also been studied. As a result, sediments from Chaloem Phra Kiat and Phimai sandpits comprise very fine to coarse-grained sand with dominate sedimentary structures of the fluvial deposits. The cumulative stratigraphical thickness of the studied successions was 12-15 m. …


Bioactive Compounds From Lichen Usnea Baileyi (Stirt.) Zahlbr. And Usnic Acid Derivatives, Kieu Van Nguyen Jan 2019

Bioactive Compounds From Lichen Usnea Baileyi (Stirt.) Zahlbr. And Usnic Acid Derivatives, Kieu Van Nguyen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The investigation of chemical constituents of lichen Usnea baileyi (Stirt.) Zahlbr. led to the isolation of ten new bisxanthones (US1−3, 5-11) and a new depsidone (US4). The structures were unambiguously established by the spectroscopic evidence including HRESIMS, 1D and 2D NMR, as well as comparison to literature data. Moreover, the absolute configurations were elucidated through ECD analyses, DFT-NMR calculations and subsequent DP4 probability score. The biological activities of isolated bisxanthones were evaluated for antiparasitic, cytotoxic (US1-3), antibacterial, and enzymatic inhibitory (tyrosinase and α-glucosidase) (US5-11) activities. The results revealed null to mild bioactivities against Plasmodium falciparum (antiparasitic activity) as well as …


Co-Creating Built Environment For Sustainable Development: A Case Study Of Ban Moh, Mahasarakham Province, Chainun Prompen Jan 2019

Co-Creating Built Environment For Sustainable Development: A Case Study Of Ban Moh, Mahasarakham Province, Chainun Prompen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Co-creation has been used widely in many fields, including innovation design, service design, and district development. In Thailand, many development projects apply co-creation as an approach to development. However, the academic knowledge about co-creating built environment in Thailand is limited and remains unclear. Therefore, this study aims to understand the processes and practices of co-creating built environment in the context of Thailand through the description and analysis of cases. The four case studies described here include the Chantaboon riverfront community in Chantaburi Province, Ban Pred Nai community in Trat Province, Ban Mun Kong project in Samut Prakan Province, and Pru …


Neotectonics And Pale Earthquakes Along Mae Hong Son Fault, Northern Thailand, Chanista Chansom Jan 2019

Neotectonics And Pale Earthquakes Along Mae Hong Son Fault, Northern Thailand, Chanista Chansom

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Mae Hong Son Fault (MHSF) is a north-south-trending active fault in Northern Thailand. Last earthquake occurred on February, 1975 with a magnitude of 5.6 at Ban Tha Song Young in Tak Province. This study aims to describe morphological characteristics of MHSF using high (12.5m) resolution Digital Elevation Model (DEM) and to evaluate paleoearthquake magnitudes, recurrence intervals, and slip rates of MHSF by excavating paleoearthquake trenches. According to morphotectonic analysis, offset streams, linear valleys, triangular facets and scarplets were formed as a result of dextral movement within the active fault zone. There are two separate basins associated with the MHSF, which …


การวิเคราะห์ความอ่อนไหวสำหรับการหาค่าเหมาะที่สุดของกระบวนการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยสารละลายโพแทสเซียมคาร์บอเนต, ฐาปณัฐ ชื่นพันธุ์ Jan 2019

การวิเคราะห์ความอ่อนไหวสำหรับการหาค่าเหมาะที่สุดของกระบวนการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยสารละลายโพแทสเซียมคาร์บอเนต, ฐาปณัฐ ชื่นพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กระบวนการดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยวิธีการดูดซึมทางเคมีเป็นหนึ่งในวิธีที่ถูกใช้ในกระบวนการบำบัดแก๊สเสียในระดับภาคอุตสาหกรรมเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หนึ่งในวิธีการศึกษาและพัฒนากระบวนการดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยวิธีการดูดซึมทางเคมีอย่างมีประสิทธิภาพ คือ การสร้างแบบจำลองในโปรแกรมคอมพิวเตอร์เนื่องจากช่วยลดค่าใช้จ่ายและเวลา นอกจากนี้ ยังได้รับการยอมรับในวงการวิศวกรรมเคมี ในงานวิจัยนี้ การวิเคราะห์ความอ่อนไหวด้วยวิธีการออกแบบการทดลองเชิงแฟกทอเรียลสองระดับของกระบวนการดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยสารละลายโพแทสเซียมคาร์บอเนตถูกจำลองโดยระบบสมดุลภายในโปรแกรม Aspen Plus โดยแบบจำลองสมบัติเชิงอุณหพลศาสตร์ ENRTL-RK เพื่อหาค่าเหมาะที่สุดและเปรียบเทียบผลของสถานการณ์ที่เหมาะที่สุดกับผลของกระบวนการดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยสารละลายโมโนเอทาโนลามีนจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษา พบว่า ประสิทธิภาพการดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ของสถานการณ์ที่มีค่าเหมาะที่สุดมีค่าร้อยละ 87.04 และมีค่าพลังงานจำเพาะต่อมวลคาร์บอนไดออกไซด์ที่เครื่องทำความร้อนของหอแยกเท่ากับ 2.17 GJ/T CO2 อีกทั้งมีค่าใช้จ่ายในการในการดำเนินการของกระบวนการกำจัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปีเท่ากับ 57.50 USD/T CO2 ซึ่งมีประสิทธิภาพการดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่สูงกว่าและค่าใช้จ่ายในการในการดำเนินการของกระบวนการดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปีที่ต่ำกว่าผลการจำลองกระบวนการดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยสารละลายโมโนเอทาโนลามีนจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีประสิทธิภาพการดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ร้อยละ 73.35 ค่าพลังงานจำเพาะต่อมวลคาร์บอนไดออกไซด์ที่เครื่องทำความร้อนของหอแยกเท่ากับ 4.73 GJ/T CO2 และมีค่าใช้จ่ายในการในการดำเนินการของกระบวนการกำจัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปีเท่ากับ 107.50 USD/T CO2


การเตรียมแมงกานีสไดออกไซด์บนผิวแมกซีน/แกรฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์ของขั้วแคโทดแบตเตอรี่สังกะสีไอออน, ภัสฐิรา แก้วพิจิตร Jan 2019

การเตรียมแมงกานีสไดออกไซด์บนผิวแมกซีน/แกรฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์ของขั้วแคโทดแบตเตอรี่สังกะสีไอออน, ภัสฐิรา แก้วพิจิตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเตรียมขั้วไฟฟ้าแมงกานีสไดออกไซด์และแมกซีน/แกรฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์ที่อัตราส่วนต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นขั้วแคโทดของแบตเตอรี่สังกะสีไอออน โดยแมกซีนถูกเตรียมจากไทเทเนียมอลูมิเนียมคาร์ไบด์ผ่านการสกัดชั้นได้สำเร็จ นอกจากนี้แกรฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์ถูกเตรียมได้จากแกรไฟต์ด้วยวิธีของฮัมเมอร์และนำมารีฟลักซ์กับไทโอยูเรีย จากนั้นผู้วิจัยได้ทำการศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของขั้วไฟฟ้าแมกซีน/แกรฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์ที่ให้ค่าการเก็บประจุไฟฟ้าสูงสุด โดยศึกษาที่อัตราส่วนของแมกซีน/แกรฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์ที่ 100:0, 95:5 และ 90:10 พบว่าที่กระแส 1 แอมแปร์ต่อกรัม แมกซีน/แกรฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์ที่ 95:5 มีค่าความจุจำเพาะของการกักเก็บพลังงานสูงที่สุดเท่ากับ 573 ฟารัดต่อกรัม ทำให้สามารถสรุปได้ว่าขั้วไฟฟ้าแมกซีน/แกรฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์ที่เหมาะสมที่สุดคือที่อัตราส่วน 95:5 จากนั้นนำอัตราส่วนดังกล่าวมาผสมกับแมงกานีสไดออกไซด์ชนิดเดลต้าที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นด้วยวิธีไฮโดรเทอร์มัล และขึ้นรูปเซลล์แบตเตอรี่สังกะสีไอออน ศึกษาที่อัตราส่วนของแมงกานีสไดออกไซด์และแมกซีน/แกรฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์ที่ 80:20, 85:15, 90:10 และ 95:5 พบว่าค่าความจุจำเพาะของการกักเก็บพลังงานที่กระแส 0.1 แอมแปร์ต่อกรัมมีค่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามผู้วิจัยได้ทำการทดสอบเสถียรภาพต่อรอบของเซลล์แบตเตอรี่ดังกล่าวจำนวน 500 รอบ พบว่าแมงกานีสไดออกไซด์และแมกซีน/แกรฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์ที่ 80:20 สามารถรักษาเสถียรภาพทางไฟฟ้าได้ดีที่สุด โดยสามารถคงค่าเก็บประจุพลังงานได้ถึง 42 มิลลิแอมแปร์-ชั่วโมงต่อกรัม หลังการใช้งาน 500 รอบ ทำให้สรุปได้ว่าขั้วไฟฟ้าแคโทดที่เหมาะสมที่สุดในการนำมาใช้เป็นแบตเตอรี่สังกะสีไอออนคือ แมงกานีสไดออกไซด์/แมกซีน/แกรฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์ที่ 80:20


การเตรียมพีเอ็มเอ็มเอ-ซิลิกานาโนคอมพอสิตผ่านราฟต์อิมัลชันพอลิเมอไรเซชันและไฮบริดเมมเบรนสำหรับเพอร์แวพอเรชัน, เกื้อชนม์ ศรีสัมฤทธิ์ Jan 2019

การเตรียมพีเอ็มเอ็มเอ-ซิลิกานาโนคอมพอสิตผ่านราฟต์อิมัลชันพอลิเมอไรเซชันและไฮบริดเมมเบรนสำหรับเพอร์แวพอเรชัน, เกื้อชนม์ ศรีสัมฤทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พีเอ็มเอ็มเอ-ซิลิกานาโนคอมพอสิตอิมัลชันถูกสังเคราะห์ผ่านราฟต์อิมัลชันพอลิเมอไรเซชันควบคู่กับเทคนิคดิฟเฟอเรนเชียลไมโครอิมัลชันพอลิเมอไรเซชัน งานวิจัยนี้ศึกษาผลของความเข้มข้นของสารมาโคร-ราฟต์ และปริมาณอนุภาคซิลิกา ต่อร้อยละการเปลี่ยนมอนอเมอร์ ขนาดอนุภาคเฉลี่ย และประสิทธิภาพการห่อหุ้มซิลิกา พบว่า พีเอ็มเอ็มเอ-ซิลิกา นาโนคอมพอสิตมีค่าร้อยละการเปลี่ยนมอนอเมอร์ที่สูง ขนาดอนุภาคเฉลี่ยมีค่า 57.6 นาโนเมตร ที่ภาวะการเติมอนุภาคซิลิการ้อยละ 10 โดยน้ำหนักของมอนอเมอร์ ภาพจากกล้องจุลทรรศน์ อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน แสดงลักษณะทางสัณฐานวิทยาของพีเอ็มเอ็มเอ-ซิลิกานาโนคอมพอสิตแสดง โครงสร้างอนุภาคแกน-เปลือกระดับนาโน จากนั้นเตรียมยางธรรมชาติ/พีเอ็มเอ็มเอ- ซิลิกาไฮบริดเมมเบรนด้วยวิธีผสมโดยตรง ผลที่ได้แสดงให้เห็นความสามารถ ในการพัฒนาสมบัติเชิงกลและสมบัติเชิงความร้อนของพีเอ็มเอ็มเอ-ซิลิกา นาโนคอมพอสิตในไฮบริดเมมเบรน และมากไปกว่านั้นการประยุกต์ใช้ไฮบริด เมมเบรนในกระบวนการเพอร์แวพอเรชัน อนุภาคพีเอ็มเอ็มเอ-ซิลิกานาโนคอมพอสิต สามารถเพิ่มค่าการซึมผ่านของน้ำและประสิทธิภาพการแยกใน ยางธรรมชาติ/พีเอ็มเอ็มเอ-ซิลิกาไฮบริดเมมเบรน โดยการปรับปรุงพื้นผิวของเมมเบรน ยางธรรมชาติให้มีค่าสมบัติชอบน้ำสูงขึ้น ดังนั้นพีเอ็มเอ็มเอ-ซิลิกานาโนคอมพอสิตมี ศักยภาพที่จะนำไปใช้เป็นสารตัวเติมประสิทธิภาพสูงสำหรับเทคโนโลยีการแยกสาร


การเปลี่ยนปาล์มโอเลอินเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพสำหรับอากาศยานบนนิกเกิลที่รองรับด้วยซีโอไลต์ชนิดบีตาและเอชวาย, ธนวัฒน์ สุขอนันต์ Jan 2019

การเปลี่ยนปาล์มโอเลอินเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพสำหรับอากาศยานบนนิกเกิลที่รองรับด้วยซีโอไลต์ชนิดบีตาและเอชวาย, ธนวัฒน์ สุขอนันต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้สนใจศึกษาการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพสำหรับอากาศยานที่มีเสถียรภาพในการทำปฏิกิริยากับออกซิเจน เพิ่มปริมาณโซ่กิ่ง โซ่ตรง และลดปริมาณอะโรมาติก จากปาล์มโอเลอินบนนิกเกิลที่รองรับด้วยซีโอไลต์ชนิดบีตาและเอชวาย ตัวแปรที่ศึกษาประกอบด้วย อุณหภูมิ 430 - 460 องศาเซลเซียส ปริมาณนิกเกิล ร้อยละ 0 – 15 โดยน้ำหนัก ความดันบรรยากาศไฮโดรเจนเริ่มต้น 0 – 10 บาร์ และน้ำหนักตัวเร่งปฏิกิริยา ร้อยละ 0 – 5 โดยน้ำหนัก ที่เวลาในการทดลอง 5 ชั่วโมง ภาวะที่เหมาะสมต่อการเกิดปฏิกิริยาแครกกิง ดีออกซิจีเนชั่น และไอโซเมอไรเซชั่นต่อการเกิดน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพสำหรับอากาศยาน คือ อุณหภูมิ 430 องศาเซลเซียส ที่ความดันไฮโดรเจนเริ่มต้น 10 บาร์ โดยใช้นิกเกิล ร้อยละ 5 โดยน้ำหนักบนซีโอไลต์ชนิดเอชวาย ปริมาณร้อยละ 5 โดยน้ำหนักเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เป็นเวลา 5 ชั่วโมง โดยให้ร้อยละผลได้ของผลิตภัณฑ์น้ำมัน 63 ร้อยละผลได้ของแก๊ส 30 และร้อยละผลได้ของของแข็ง 7 โดยน้ำหนัก ซึ่งองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์น้ำมันที่ได้มีร้อยละผลได้ของน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับอากาศยานร้อยละ 56 แก๊สโซลีนร้อยละ 28 ดีเซลร้อยละ13 และกากน้ำมันร้อยละ3 โดยการเลือกสรรของผลิตภัณฑ์น้ำมันเป็นดังนี้ ไฮโดรคาร์บอนโซ่ตรงร้อยละ 58 อะโรมาติกร้อยละ 23 และโซ่กิ่งร้อยละ 19 ตามลำดับ


การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพสำหรับอากาศยานจากน้ำมันปาล์มผ่านไฮโดรดีออกซิจิเนชันและไฮโดรไอโซเมอไรเซชัน, พชร ฉินทกานันท์ Jan 2019

การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพสำหรับอากาศยานจากน้ำมันปาล์มผ่านไฮโดรดีออกซิจิเนชันและไฮโดรไอโซเมอไรเซชัน, พชร ฉินทกานันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากความต้องการใช้น้ำมันอากาศยานที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนความตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากการเผาไหม้ ของเชื้อเพลิงฟอสซิล นานาประเทศจึงได้มีความพยายามที่จะผลิตน้ำมันอากาศยานชีวภาพเพื่อทดแทนการใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล อย่างไรก็ตามน้ำมันชีวภาพอากาศยานซึ่งผลิตด้วยน้ำมันปาล์มหรือไขมันสัตว์มักจะมีสมบัติด้อยในด้านการไหลที่อุณหภูมิต่ำ เนื่องจากมีจุดเยือกแข็งสูง ดังนั้นวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ เพื่อศึกษาและพัฒนากระบวนการผลิตน้ำมันชีวภาพอากาศยานจาก น้ำมันปาล์มโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาฐานซีโอไลต์ โดยต้องการให้น้ำมันชีวภาพที่ผลิตได้มีสัดส่วนของสารประกอบไอโซอัลเคน (isoalkanes) ในปริมาณมากเพื่อลดจุดเยือกแข็งของน้ำมันด้วยไฮโดรไฮเซอเมอไรเซชัน (hydroisomerization, HI) ของนอร์มัลอัลเคน ควบคู่ไปกับไฮโดรดีออกซิจิเนชัน (hydrodeoxygenation, HDO) และไฮโดรจิเนชัน (hydrogenation, HG) เพื่อกำจัดสารประกอบ ที่มีออกซิเจนและพันธะคู่ ในงานวิจัยนี้ ผลของตัวเร่งปฏิกิริยาซึ่งมีนิกเกิล (Ni) ปริมาณ 10% โดยน้ำหนักของตัวเร่งปฏิกิริยาบนตัว รองรับซีโอไลต์ทั้งหมดสี่ชนิด (NH₄-Beta, H-Beta, ZSM-5 และ Y) ต่อประสิทธิภาพในการทำปฏิกิริยาได้ถูกทดสอบ ตัวเร่งปฏิกิริยา นิกเกิลฐานซีโอไลต์ถูกเตรียมด้วยวิธีการฝังตัวแบบเอิบชุ่มพอดี (incipient-wetness impregnation) และในงานวิจัยนี้ยังได้ศึกษา การใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาแบบโลหะคู่ Pt-Ni ซึ่งมีสัดส่วนโดยมวลของ Pt/(Pt+Ni) ตั้งแต่ 0.05-0.15 และปริมาณโลหะสุทธิของตัวเร่ง ปฏิกิริยาถูกควบคุมที่ 10% โดยน้ำหนักของตัวเร่งปฏิกิริยา ตัวเร่งปฏิกิริยาจะถูกทดสอบกัมมันตภาพในกระบวนการผลิตน้ำมัน ชีวภาพอากาศยานในเครื่องปฏิกรณ์แบบกะ ผลของตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ อุณหภูมิ (300-380 องศาเซลเซียส), ความดัน แก๊สไฮโดรเจน (H₂) เริ่มต้น (25-40 บาร์), เวลาที่ใช้ในการทำปฏิกิริยา (2-8 ชั่วโมง) และปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยา (2.8-17.0% โดย น้ำหนักของน้ำมันปาล์ม) ต่อค่าการเลือกเกิดและผลได้ของผลิตภัณฑ์ได้ถูกตรวจสอบ ก่อนการทำปฏิกิริยาจะทำการรีดิวซ์ตัวเร่ง ปฏิกิริยาแบบอิน-ซิทู (in-situ reduction) ที่อุณหภูมิ 400 องศาเซลเซียส ด้วยความดันแก๊ส H₂ เริ่มต้น 10 บาร์ เป็นเวลา 2 ชั่วโมง จากผลการทดลองพบว่า สามารถผลิตน้ำมันชีวภาพอากาศยานซึ่งมีสัดส่วนโดยน้ำหนักของไอโซอัลเคน/นอร์มัลอัลเคน (iso/n) สูงที่สุด คือ 1.67 และมีปริมาณสารประกอบออกซิเจนและสารประกอบไม่อิ่มตัวในปริมาณต่ำ เมื่อใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา 10%Ni/NH₄-Beta ปริมาณ 5.7% โดยน้ำหนักของน้ำมันปาล์มภายใต้ความดันแก๊ส …


การทำนายยอดการดูวิดีโอโดยใช้การแบ่งกลุ่มยอดการดูวิดีโอและแบบจำลองเชิงเส้นหลายตัวแปร, เอกพล วงศ์ศุภรัตน์กุล Jan 2019

การทำนายยอดการดูวิดีโอโดยใช้การแบ่งกลุ่มยอดการดูวิดีโอและแบบจำลองเชิงเส้นหลายตัวแปร, เอกพล วงศ์ศุภรัตน์กุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในงานวิจัยนี้ เราตั้งเป้าหมายในการออกแบบแบบจำลองที่ทำนายยอดการดูระยะสั้นของวิดีโอบนยูทูบ เราเสนอแบบจำลองเอฟ7เอ็นเอ็มแอลซึ่งเป็นแบบจำลองที่สามารถจัดกลุ่มรูปแบบยอดการดูวิดีโอและกำจัดรูปแบบที่ผิดปกติ แบบจำลองนี้ประกอบด้วย 4 อย่าง อย่างแรกคือการจัดกลุ่มรูปแบบโดยใช้แบบจำลองการจัดกลุ่ม จากนั้นกลุ่มที่มีจำนวนน้อยซึ่งถูกกำหนดเป็นรูปแบบที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยจะถูกกำจัดออกไป ต่อมาจัดกลุ่มรูปแบบวิดีโอจากชุดข้อมูลทดสอบโดยใช้แบบจำลองเพื่อนบ้านใกล้เคียงที่สุด 1 อันดับ อย่างสุดท้ายคือรูปแบบแต่ละกลุ่มจะกลายเป็นชุดข้อมูลสำหรับแบบจำลองเชิงเส้นหลายตัวแปรซึ่งนำไปใช้ฝึกฝนเฉพาะกลุ่ม ผลการทดลองพบว่าแบบจำลองเอฟ7เอ็นเอ็มแอลที่ใช้แบบจำลองการจัดกลุ่มที่เหมาะสมทำให้ค่าความผิดพลาดจากการทำนายยอดการดูในวันที่ 30 ลดลง 27% จากแบบจำลองที่ดีที่สุดที่นำมาเปรียบเทียบจากงานวิจัยอื่น


โครงข่ายประสาทเทียมสำหรับพยากรณ์ราคาสูงสุดและราคาต่ำสุดบนตลาดอัตราแลกเปลี่ยน, ฆฤณ ชินประสาทศักดิ์ Jan 2019

โครงข่ายประสาทเทียมสำหรับพยากรณ์ราคาสูงสุดและราคาต่ำสุดบนตลาดอัตราแลกเปลี่ยน, ฆฤณ ชินประสาทศักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เปรียบเทียบโครงข่ายประสาทเทียม 4 แบบจำลองจากงานวิจัยต้นแบบ (I. โครงข่ายประสาทเทียมแบบส่งค่าย้อนกลับ II. โครงข่ายประสาทเทียมอย่างถูกต้องของเบส์ III. ขั้นตอนผสมผสานระหว่างการแยกส่วนประกอบของรูปแบบเชิงประจักษ์กับขั้นตอนโครงข่ายประสาทเทียมแบบความแรงของเวลาอย่างสุ่ม IV. ขั้นตอนผสมผสานระหว่างข้อมูลแบบสุ่มเชิงเวลาที่มีประสิทธิภาพกับโครงข่ายประสาทเทียมแบบเรเดียลเบซิสฟังก์ชัน) และงานวิจัยที่นำเสนอ 2 แบบจำลอง (I. ขั้นตอนผสมผสานระหว่างการแยกส่วนประกอบของรูปแบบเชิงประจักษ์, ข้อมูลแบบสุ่มเชิงเวลาที่มีประสิทธิภาพ และโครงข่ายประสาทเทียมแบบเรเดียลเบซิสฟังก์ชัน II. ขั้นตอนผสมผสานระหว่างการแยกส่วนประกอบของรูปแบบเชิงประจักษ์, ข้อมูลแบบสุ่มเชิงเวลาที่มีประสิทธิภาพ และโครงข่ายประสาทเทียมอย่างถูกต้องของเบส์) ในการพยากรณ์อัตราแลกเปลี่ยนของคู่สกุลเงิน ยูโร/ดอลลาร์สหรัฐ โดยการใช้อินพุตเป็นตัวบ่งชี้ทางเทคนิคและวัดประสิทธิภาพของแบบจำลองด้วยระบบจำลองการซื้อขาย ซึ่งประกอบด้วย กลยุทธการลงทุน วิธีจัดการความเสี่ยง และหลักการบริหารเงิน ผลการทดลองแสดงให้เป็นว่าโครงข่ายประสาทเทียมที่นำเสนอให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าแบบจำลองจากงานวิจัยต้นแบบ


เครื่องมือวิเคราะห์แบบรวมสำหรับการแปรผันของจำนวนชุดดีเอ็นเอบนลำดับเอ็กโซม, เสาวภาค จันทร์วิกูล Jan 2019

เครื่องมือวิเคราะห์แบบรวมสำหรับการแปรผันของจำนวนชุดดีเอ็นเอบนลำดับเอ็กโซม, เสาวภาค จันทร์วิกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาการแปรผันของจำนวนชุดดีเอ็นเอบนลำดับเอ็กโซม หรือที่เรียกว่าการศึกษาซีเอ็นวีบนเอ็กโซม เป็นหนึ่งในการศึกษาการแปรผันเชิงโครงสร้างของสารพันธุกรรมที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน การศึกษานี้สามารถช่วยนักวิจัยให้เข้าใจวิวัฒนาการของมนุษย์ การวินิจฉัยโรค และการตอบสนองต่อยาที่ใช้รักษาโรคได้ แต่ในขณะเดียวกันการศึกษานี้ก็เป็นเรื่องที่ท้าทายเนื่องจากกระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งเอ็กโซมมาพร้อมกับค่าผลบวกเท็จสูงมาก และเมื่อนำเอ็กโซมที่มีค่าผลบวกเท็จสูงนี้มาตรวจจับหาการแปรผันของจำนวนชุดดีเอ็นเอบนลำดับเอ็กโซมก็ยิ่งก่อให้เกิดค่าผลบวกเท็จสูงยิ่งขึ้น อีกทั้งการแปรผันนี้ยังมีคุณลักษณะที่หลากหลายทำให้นักวิจัยไม่สามารถสร้างเครื่องมือตรวจจับที่ครอบคลุมคุณลักษณะทั้งหมดได้ นักวิจัยได้พยายามจัดการกับปัญหานี้ด้วยการสร้างเครื่องมือตรวจจับการแปรผันจำนวนมากที่มีลักษณะการทำงานที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามยังไม่มีเครื่องมือตรวจจับการแปรผันเครื่องมือใดสามารถแก้ปัญหานี้ได้ อีกทั้งเครื่องมือตรวจจับการแปรผันส่วนใหญ่ขาดความสะดวก และความยืดหยุ่นในการใช้งาน เช่น ผู้ใช้ต้องติดตั้งเครื่องมือตรวจจับการแปรผันผ่านทางคอมมานไลน์ เครื่องมือตรวจจับไม่ให้คำอธิบายประกอบให้กับการแปรผันที่ตรวจจับได้ และไม่เปิดเผยข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล เป็นต้น จากปัญหาดังกล่าวผู้วิจัยจึงสร้างเครื่องมือตรวจจับการแปรผันของจำนวนชุดดีเอ็นเอบนลำดับเอ็กโซมแบบบูรณาการในรูปแบบเว็บแอปพลิเคชันซึ่งง่ายต่อการติดตั้งที่ชื่อว่า “อินซีเอ็นวี” เครื่องมือนี้สามารถรวมผลลัพธ์จากเครื่องมือตรวจจับซีเอ็นวีหลายเครื่องมือเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการตรวจจับการแปรผัน หาความสัมพันธ์ของการแปรผันจากหลายตัวอย่างเพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรค และจำกัดความเป็นไปได้ในการค้นพบการแปรผันตำแหน่งใหม่ที่ยังไม่เคยถูกรายงานในฐานข้อมูลการแปรผันทางพันธุกรรม เป็นต้น


Correlation Of Restitution Coefficient : Experiment And Computational Fluid Dynamics Simulation, Tarabordin Yurata Jan 2019

Correlation Of Restitution Coefficient : Experiment And Computational Fluid Dynamics Simulation, Tarabordin Yurata

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The computational fluid dynamics with the discrete element method (CFD-DEM) is widely used to predict the hydrodynamics profile of the multiphase flow of fluid-solid or fluidization process. The coefficient of restitution (COR) is one of the most important parameters which is vital for CFD-DEM simulation. This parameter denotes the ratio of the relative velocity after the collision to the relative velocity before the collision. The appropriate value of the coefficient of restitution must receive attention to obtain the realistic collision and hydrodynamics profile. However, this parameter is still selected by trial and error in traditional CFD-DEM due to the lacking …


Density Functional Theory Study Of Aldol Condensation Between Furfural And 2-Butanone Over Magnesium Oxide, Wilasinee Heebnak Jan 2019

Density Functional Theory Study Of Aldol Condensation Between Furfural And 2-Butanone Over Magnesium Oxide, Wilasinee Heebnak

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Understanding of mechanistic and thermodynamic insights of the aldol condensation reaction is crucial to efficient catalytic conversion of biomass-derived oxygenates to fuel-range hydrocarbons. In this study, the aldol condensation of furfural and 2-butanone on magnesium oxide (MgO) catalyst was investigated using density functional theory (DFT) calculations. Energy profiles were computed for elementary steps, including Step 1: Formation of 2-butanone enolate, Step 2: Enolate addition at the carbonyl group of adsorbed furfural, and Step 3: Dehydration to form the condensation product. The DFT results showed that the enolization of 2-butanone was the rate-determining step. The methyl enolate can bind to MgO …


Development Of Sensing Platforms Using Bulk Optode Technique For Detection Of Silver And Mercury Ions, Manoon Phichi Jan 2019

Development Of Sensing Platforms Using Bulk Optode Technique For Detection Of Silver And Mercury Ions, Manoon Phichi

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research described new analytical devices for Ag+ and Hg2+ detection using bulk optode technique. The optode containing 25,27-di(benzothiazolyl)-26,28-hydroxycalix[4]arene (CU1) as an ion-selective ionophore, chromoionophore XIV as a lipophilic pH indicator, and KTpClPB as an ion-exchanger was prepared and used as a sensing agent in the proposed devices. The optode sensors responded to Ag+ and Hg2+ by changing the color from blue to yellow. The colorimetric-based detection was carried out by using the proposed paper-based analytical device. A simple fabrication method was performed by simply dropping the cocktail onto the filter paper, and the detection method was easily performed by …


Paper-Based Arrays For Geographical Indication Of Turmerics, Monrawat Rauytanapanit Jan 2019

Paper-Based Arrays For Geographical Indication Of Turmerics, Monrawat Rauytanapanit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Geographical indications have gained increasing importance as a powerful marketing tool for highly valuable products especially foods. In this study, a synergistic combination of chemical reaction arrays on paper and chemometric analysis was used to uncover geographical indication of turmerics, an important food ingredient in several Asian cuisines. The key to effective differentiation was from the subtle differences in the compositions of the compounds found in turmeric samples, mainly curcumin and derivatives which were preliminarily confirmed by HPLC and LC-MS experiments. In addition, the differences in the major and minor components affect the reactivity and the pattern of obtained products …


Development Of Biosensor Using Pyrrolidinyl Pna For Screening Of Hepatitis C Virus Dna, Narathorn Nisab Jan 2019

Development Of Biosensor Using Pyrrolidinyl Pna For Screening Of Hepatitis C Virus Dna, Narathorn Nisab

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this work, a new paper-based analytical device (PAD) that relied on fluorescence measurement was developed for label-free detection of hepatitis C virus (HCV) DNA. Pyrrolidinyl peptide nucleic acid (acpcPNA) was covalently modified onto the patterned cellulose paper to act as a specific probe for capturing the HCV DNA target according to Watson−Crick base-paring rules. The single-stranded (ssDNA)-specific dye which can be electrostatically attached to the surface-bound DNA was employed as the signaling element for the fluorescence-based detection via a smartphone gadget and an iOS application. To acquire the optimal sensitivity, several experimental parameters, namely acpcPNA probe concentration, hybridization time, …


Structure And Hydration Property Of Low Molecular Weight Hyaluronic Acid By Molecular Dynamics Simulations, Panyakorn Taweechat Jan 2019

Structure And Hydration Property Of Low Molecular Weight Hyaluronic Acid By Molecular Dynamics Simulations, Panyakorn Taweechat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Hyaluronic acid (HA) is a biopolymer of disaccharide with two alternate glycosidic bonds, β(1,3) and β(1,4). It has a wide-range of applications in medicine, nutrition and cosmetics. A molecular dynamics (MD) study in aqueous condition presented here unveiled conformational variability in association with the flexibility of the glycosidic linkers, which depends on the number of disaccharide units. HA chain maintains a rigid rod-like conformation with short chain lengths i.e. with 1 to 10 disaccharide units. Crossover from a rod-like to a random-coil conformation is observed with increasing the chain length i.e. with 20-50 disaccharide units. MD and DFT calculations demonstrated …