Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Physical Sciences and Mathematics Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2019

Discipline
Institution
Keyword
Publication
Publication Type
File Type

Articles 14581 - 14610 of 15927

Full-Text Articles in Physical Sciences and Mathematics

รีแฟคทอริงแบบเอ็กซ์แทรกต์แพ็กเกจโดยใช้การตรวจหาคอมมิวนิตีสำหรับแพ็กเกจขนาดใหญ่เกิน, บุณยไชย จันทร์เทียน Jan 2019

รีแฟคทอริงแบบเอ็กซ์แทรกต์แพ็กเกจโดยใช้การตรวจหาคอมมิวนิตีสำหรับแพ็กเกจขนาดใหญ่เกิน, บุณยไชย จันทร์เทียน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อาคิเทกเจอร์สเมลเป็นการออกแบบโครงสร้างสถาปัตยกรรมที่ไม่ดีซึ่งเปิดเผยถึงผลกระทบด้านลบต่อคุณภาพซอฟต์แวร์และยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดข้อบกพร่องตามมาในอนาคต งานวิจัยที่ผ่านมาได้กำหนดและนำเสนออาคิเทกเจอร์สเมลไว้ในหลายรูปแบบและแต่ละรูปแบบส่งผลกระทบต่อคุณภาพซอฟต์แวร์ในมุมที่แตกต่างกัน กระบวนการรีแฟคทอริงเชิงสถาปัตยกรรมเป็นกระบวนการที่ใช้กำจัดอาคิเทกเจอร์สเมลและปรับปรุงคุณภาพของระบบโดยไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการทำงานของระบบ อย่างไรก็ตามการกำจัดอาคิเทกเจอร์สเมลรูปแบบหนึ่งอาจก่อให้เกิดอาคิเทกเจอร์สเมลในรูปแบบอื่นขึ้นในระบบ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพซอฟต์แวร์ งานวิจัยนี้นำเสนอวิธีการในการรีแฟคทอริงสำหรับแพ็กเกจขนาดใหญ่เกินซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของอาคิเทกเจอร์สเมล โดยใช้การตรวจหาคอมมิวนิตีในกระบวนการรีแฟคทอริงแบบเอ็กซ์แทรกต์แพ็กเกจ กระบวนการนี้ใช้สำหรับการแยกแพ็กเกจที่ถูกตรวจพบอาคิเทกเจอร์สเมลรูปแบบแพ็กเกจขนาดใหญ่เกินให้มีขนาดเล็กลง และหลีกเลี่ยงผลกระทบอื่น ๆ จากอาคิเทกเจอร์สเมลบนพื้นฐานการพึ่งพา โดยมุ่งเน้นที่อาคิเทกเจอร์สเมลรูปแบบอันสเตเบิลดีเพนเดนซี วิธีการที่นำเสนอนี้ได้ให้แนวทางที่เป็นไปได้ที่จะแก้ไขผลกระทบจากอาคิเทกเจอร์สเมลรูปแบบแพ็กเกจขนาดใหญ่เกิน ซึ่งสามารถประเมินผลโดยการเปรียบเทียบจำนวนอาคิเทกเจอร์สเมลที่ตรวจพบและค่าตัวชี้วัดซอฟต์แวร์ ก่อนและหลังใช้กระบวนการรีแฟคทอริง นอกจากนี้ในงานวิจัยนี้ยังพัฒนาเครื่องมือบนพื้นฐานของวิธีการที่นำเสนอเพื่อที่จะเสนอวิธีการรีแฟคทอริงและสนับสนุนนักพัฒนาเพื่อปรับปรุงคุณภาพซอฟต์แวร์โดยการแก้ไขผลกระทบจากอาคิเทกเจอร์สเมลรูปแบบแพ็กเกจขนาดใหญ่เกินในระหว่างขั้นตอนการพัฒนาและการบำรุงรักษา


เครื่องมือทางชีวสารสนเทศเพื่อตรวจหาการแปรผันเชิงโครงสร้างทางพันธุกรรม, ศักยภาพ ผิวเหลือง Jan 2019

เครื่องมือทางชีวสารสนเทศเพื่อตรวจหาการแปรผันเชิงโครงสร้างทางพันธุกรรม, ศักยภาพ ผิวเหลือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแปรผันเชิงโครงสร้างทางพันธุกรรมคือการเปลี่ยนแปลงลำดับเบสของจีโนมที่ครอบคลุมบริเวณกว้าง การแปรผันเชิงโครงสร้างเหล่านี้มีโอกาสที่จะเกี่ยวข้องกับการเกิดโรค ดังนั้นการตรวจหาการแปรผันเชิงโครงสร้างจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการหาสาเหตุของโรค อย่างไรก็ตามเครื่องมือสำหรับตรวจหาการแปรผันเชิงโครงสร้างที่มีอยู่มีประสิทธิภาพแตกต่างกันไปในการตรวจหาการแปรผันเชิงโครงสร้างแต่ละประเภท รวมทั้งไม่สามารถตรวจหาการแปรผันได้ครอบคลุมในตำแหน่งส่วนใหญ่ที่ได้ยืนยันจากการทดลองในห้องปฏิบัติการ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอวิธีการทางคอมพิวเตอร์เพื่อตรวจหาการแปรผันเชิงโครงสร้างที่เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพความครอบคลุม โดยพยายามรักษาความแม่นยำของการแปรผันเชิงโครงสร้างที่ตรวจพบผ่านการวิเคราะห์คู่รีด การแตกรีด และการนับรีด เพื่อรวบรวมหลักฐานที่แสดงความเป็นไปได้ในการเกิดการแปรผันเชิงโครงสร้างแต่ละประเภทในแต่ละบริเวณของจีโนม และนำเสนอวิธีการคัดกรองเบรกเอ็นด์ที่แสดงถึงตำแหน่งเริ่มต้นและตำแหน่งสิ้นสุดของการเกิดการแปรผันประเภทต่างๆ วิธีการกรองจะทำการแบ่งตัวอย่างเป็นบล็อกๆ ข้อมูลของบล็อกประกอบไปด้วย จำนวนรีดที่แมพได้ในบล็อกนั้นและจำนวนการแปรผันเชิงโครงสร้างของแต่ละประเภทภายในบล็อก การคัดกรองเบรกเอ็นด์จะอาศัยข้อมูลทั้งจากบล็อกที่เบรกเอ็นด์อยู่และบล็อกที่อยู่ติดกัน ผลลัพธ์จากการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีการที่นำเสนอกับ SvABA DELLY GROM LUMPY และ Wham พบว่าวิธีการที่นำเสนอได้ผลลัพธ์ดีกว่าเครื่องมืออื่นๆ ในส่วนของความแม่นยำในการตรวจหาลำดับเบสที่เกิดความซ้ำเป็นชุดติดๆกันและลำดับเบสที่เกิดการกลับด้าน และความครบถ้วนในส่วนของการตรวจหาลำดับเบสที่ถูกเพิ่มเข้ามาสำหรับชุดข้อมูลจริง NA12878 และ HG00514 ที่ใช้ในการทดสอบ


หน่วยความจำระยะสั้นแบบยาวแบบสองทิศทางกับกลไกจุดสนใจสำหรับการทำนายความล้มเหลวของรีโมทคอมเพรสเซอร์โดยใช้การสกัดลักษณะสำคัญร่วมกับเทคนิคการลดข้อมูล, วิระศักดิ์ ชมภู Jan 2019

หน่วยความจำระยะสั้นแบบยาวแบบสองทิศทางกับกลไกจุดสนใจสำหรับการทำนายความล้มเหลวของรีโมทคอมเพรสเซอร์โดยใช้การสกัดลักษณะสำคัญร่วมกับเทคนิคการลดข้อมูล, วิระศักดิ์ ชมภู

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ รีโมทคอมเพรสเซอร์ถือเป็นอุปกรณ์สำคัญ ซึ่งความล้มเหลวของอุปกรณ์ที่มีความรุนแรงระดับสูงสามารถทำให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมได้ วิศวกรต้องใช้ข้อมูลจากเครื่องมือวัดหลายจุดเพื่อวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติในการวางแผนการบำรุงรักษาและการดำเนินงาน แต่เมื่อข้อมูลมีปริมาณมหาศาลจึงเป็นความท้าทายอย่างยิ่งในการวิเคราะห์โดยมนุษย์ ดังนั้นการทำนายความล้มเหลวล่วงหน้าของรีโมทคอมเพรสเซอร์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอ หน่วยความจำระยะสั้นแบบยาวแบบสองทิศทางกับกลไกจุดสนใจ ซึ่งมีความสามารถในการเรียนรู้ที่มีการอ้างอิงระยะยาวของข้อมูลอนุกรมเวลาและกลไกจุดสนใจที่ช่วยเพิ่มช่วยให้แบบจำลองสามารถเลือกลำดับของเอาต์พุตที่เหมาะสม และเสริมประสิทธิภาพโดยใช้โครงข่ายคอนโวลูชันในการสลัดคุณลักษณะสำคัญอย่างอัตโนมัติจากคุณลักษณะท้องถิ่นที่อิสระต่อเวลา เพื่อเสริมประสิทธิภาพความครอบคลุมแก่แบบจำลอง วิทยานิพนธ์นี้ยังได้นำเสนอเทคนิคการลดข้อมูล เพื่อปรับปรุงประสิทธิโดยแสดงประสิทธิผลของกระบวนการฝึกด้วยชุดข้อมูลขนาดใหญ่ ผู้วิจัยประเมินประสิทธิภาพของวิธีการที่นำเสนอโดยใช้ชุดข้อมูลจริงของรีโมทคอมเพรสเซอร์ เปรียบเทียบคะแนน F1 กับแบบจำลองการเรียนรู้ของเครื่องและแบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียมหลากหลายสถาปัตยกรรม ผลการลดลองชี้ให้เห็นว่าวิธีการที่นำเสนอนี้มีประสิทธิภาพการทำนายความล้มเหลวของรีโมทคอมเพรสเซอร์ที่เหนือกว่าวิธีอื่น


การใช้กลุ่มของภาพฉากเพื่อจำแนกวิดีโอจากรายการโทรทัศน์, อิทธิศักดิ์ เผือกศรี Jan 2019

การใช้กลุ่มของภาพฉากเพื่อจำแนกวิดีโอจากรายการโทรทัศน์, อิทธิศักดิ์ เผือกศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้นำเสนอวิธีการจำแนกวิดีโอ ด้วยเทคนิคแบบจำลองคอนโวลูชันสองมิติ และการเรียนรู้แบบกึ่งกำกับ โดยทั่วไปการจำแนกวิดีโอที่มีประสิทธิภาพสูง ถูกนำเสนอโดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบลึก อย่างไรก็ตามจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนวิดีโอในปัจจุบัน การเรียนรู้ของแบบจำลองเพื่อจำแนกวิดีโอจำเป็นต้องใช้ประสิทธิภาพในการประมวลผลสูง งานวิจัยนี้จึงนำเสนอวิธีการเรียนรู้ด้วยแบบจำลองคอนโวลูชันสองมิติโดยใช้การซ้อนทับกันของภาพฉาก และการจัดกลุ่มของภาพฉากด้วยแผนที่จัดระเบียบด้วยตนเองก่อนนำไปสร้างแบบจำลองจำแนกประเภทรายการ โดยการสร้างแบบจำลองประเภทรายการถูกนำเสนอใน 4 รูปแบบ ประกอบด้วย การออกเสียง การคำนวณค่าความวุ่นวาย การเรียนรู้ด้วยแบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียม การเรียนรู้ด้วยหน่วยความจำระยะสั้นแบบยาว อีกทั้งยังประเมินจำนวนภาพฉากสำหรับการประมวลผลในการจัดกลุ่มโดยเปรียบเทียบระหว่างระยะเวลาการเรียนรู้และความแม่นยำ วิธีการในงานวิจัยนี้ถูกนำเสนอด้วยประเมินจากการเรียนรู้ด้วยชุดข้อมูลวิดีโอจำนวน 18 ประเภท 912 วิดีโอ จากรายการโทรทัศน์ ในการประเมินด้วยการประเมินผลแบบไขว้ จำนวน 5 โฟลด์ วิธีการในงานวิจัยนี้มีความแม่นยำเฉลี่ยร้อยละ 71.98 และใช้เวลาในการเรียนรู้โดยเฉลี่ยประมาณ 40 นาที นอกจากนี้ยังเปรียบเทียบกับการเรียนรู้ด้วยแบบจำลองอื่นๆ อาทิ แบบจำลองคอนโวลูชันสามมิติ และแบบจำลองคอนโวลูชันร่วมกับหน่วยความจำระยะสั้นแบบยาว รวมถึงประเมินผลกับชุดข้อมูลพื้นฐาน Hollywood2 ซึ่งการเรียนรู้มีความแม่นยำเฉลี่ยร้อยละ 93.72


พอลิอะนิลีน/เหล็กออกไซด์/รีดิวซ์แกรฟีนออกไซด์เจือไนโตรเจนคอมพอสิตเพื่อเป็นขั้วไฟฟ้าตัวเก็บประจุยิ่งยวด, กัณจน์ชญาน์ ทุ่งส่วย Jan 2019

พอลิอะนิลีน/เหล็กออกไซด์/รีดิวซ์แกรฟีนออกไซด์เจือไนโตรเจนคอมพอสิตเพื่อเป็นขั้วไฟฟ้าตัวเก็บประจุยิ่งยวด, กัณจน์ชญาน์ ทุ่งส่วย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในงานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาขั้วประจุไฟฟ้ายิ่งยวดจากวัสดุเหล็กออกไซด์/ไนโตรเจนเจือรีดิวซ์ แกรฟีนออกไซด์/พอลิอะนิลีน โดยมีการใช้สารสกัดเซริซินจากกระบวนการลอกกาวไหมเป็นแหล่งไนโตรเจนอะตอมในการเจือ ซึ่งจากกระบวนการเตรียมไนโตรเจนเจือรีดิวซ์แกรฟีนออกไซด์ด้วยกระบวนการรีฟลักซ์และรีดิวซ์ด้วยกรดวิตามินซี พบว่าสามารถเจือไนโตรเจนถึง 11.68% ในโครงสร้างของไนโตรเจนเจือรีดิวซ์แกรฟีนออกไซด์ที่สังเคราะห์ได้ วัสดุขั้วไฟฟ้าเหล็กออกไซด์/ไนโตรเจนเจือรีดิวซ์แกรฟีนออกไซด์/พอลิอะนิลีนคอมพอสิตที่ได้จากการพอกพูนทางไฟฟ้าเคมีแสดงลักษณะสัณฐานวิทยาของนาโนไฟบริลพอลิอะนิลีนร่วมกับโครงสร้างแผ่นไนโตรเจนเจือรีดิวซ์แกรฟีนออกไซด์ และถูกยืนยันองค์ประกอบต่าง ๆ ด้วยเทคนิคการวัดการกระจายพลังงานของรังสีเอกซ์ ฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์มอินฟราเรดสเปกโตรสโคปี และการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ เมื่อนำขั้วไฟฟ้าที่เตรียมได้จากวัสดุไนโตรเจนเจือรีดิวซ์วัสดุพอลิอะนิลีน แกรฟีนออกไซด์/พอลิอะนิลีน และเหล็กออกไซด์/ไนโตรเจนเจือรีดิวซ์แกรฟีนออกไซด์/พอลิอะนิลีนคอมพอสิตมาประเมินความประสิทธิภาพในการกักเก็บพลังงาน พบว่าให้ค่าเก็บประจุที่ 151.76, 190 และ221 ฟารัดต่อกรัมที่ 1 แอมป์ต่อกรัมตามลำดับ บ่งชี้ถึงประสิทธิภาพในการกักเก็ลพลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นเมื่อมีการเติมไนโตรเจนเจือรีดิวซ์แกรฟีนออกไซด์ และเหล็กออกไซด์ นอกจากนี้ขั้วเหล็กออกไซด์/ไนโตรเจนเจือรีดิวซ์แกรฟีนออกไซด์/พอลิอะนิลีนคอมพอสิตยังสามารถแสดงเสถียรภาพของประสิทธิภาพต่อรอบการใช้งานทางไฟฟ้าได้สูงถึงร้อยละ 79 หลังการใช้งาน 5000 รอบ ซึ่งจากผลการทดลองบ่งชี้ให้เห็นขั้วไฟฟ้าเหล็กออกไซด์/ไนโตรเจนเจือรีดิวซ์แกรฟีนออกไซด์/พอลิอะนิลีนคอมพอสิตมีความเหมาะสมในการนำไปประยุกต์ใช้ในขัอุปกรณ์กักเก็บพลังงานชนิดตัวเก็บประจุยิ่งยวดประสิทธิภาพสูง


การประยุกต์กากหม้อกรองจากโรงงานน้ำตาลเพื่อเป็นวัสดุเพาะเมล็ดโดยผ่านกระบวนการไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอไนเซชัน, ชนิตสิรี สุเมธี Jan 2019

การประยุกต์กากหม้อกรองจากโรงงานน้ำตาลเพื่อเป็นวัสดุเพาะเมล็ดโดยผ่านกระบวนการไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอไนเซชัน, ชนิตสิรี สุเมธี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตไฮโดรชาร์จากกากหม้อกรองเหลือทิ้งโรงงานน้ำตาล เพื่อให้เป็นวัสดุเพาะเมล็ดคล้ายพีทมอส ด้วยกระบวนการไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอไนเซชันภายใต้อุณหภูมิ 160 180 และ 200 องศาเซลเซียส ที่เวลา 1 2 และ 3 ชั่วโมง และอัตราส่วนกากหม้อกรองต่อน้ำกลั่น 1:5 1:10 และ 1:15 ผลการศึกษาพบว่า สภาวะไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอไนเซชันที่เหมาะสม คือการทำปฏิกิริยาที่อุณหภูมิ 180 องศาเซลเซียส เวลา 3 ชั่วโมง อัตราส่วนกากหม้อกรองต่อน้ำกลั่น 1:5 ร้อยละผลผลิตที่ได้เป็น 84 เมื่อทดสอบทางสถิติพบว่าลักษณะสมบัติของไฮโดรชาร์และพีทมอสส่วนใหญ่ค่าไม่แตกต่างกัน ได้แก่ ค่าความสามารถในการอุ้มน้ำสูงสุดเป็น 4.57 และ 3.93 กรัมต่อกรัม ค่าความพรุนทั้งหมดร้อยละ 45.3 และ 38.9 ค่าช่องว่างขนาดใหญ่ร้อยละ 2.8 และ 3.0 และค่าช่องว่างขนาดเล็กร้อยละ 42.4 และ 35.7 ค่าการนำไฟฟ้า 151 และ 140 ไมโครซีเมนส์ต่อเซนติเมตร ปริมาณไนโตรเจนร้อยละ 1.34 และ1.51 ฟอสฟอรัส 188.18 และ 413.73 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และโพแทสเซียม 146.70 และ 372.08 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ จากนั้นนำไฮโดรชาร์และพีทมอสทดสอบปลูกกับพืชสองชนิดพบว่า ต้นอ่อนทานตะวันในวัสดุไฮโดรชาร์และพีทมอส ได้ค่าเปอร์เซ็นต์การงอกร้อยละ 95.31 และ 90.63 ในขณะที่ผักกาดหอมพันธุ์กรีนโอ๊คในวัสดุไฮโดรชาร์และพีทมอส ได้ค่าเปอร์เซ็นต์การงอกร้อยละ 89.06 และ 87.50 ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงสรุปได้ว่าไฮโดรชาร์มีความสามารถในการเพาะเมล็ดได้เหมือนกับพีทมอส นอกจากนี้ ต้นทุนค่าการดำเนินงานในการผลิตไฮโดรชาร์เท่ากับ 54.64 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งมีราคาต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับพีทมอสที่ขายตามท้องตลาดที่ 80 บาทต่อกิโลกรัม


การผลิตก๊าซชีวภาพจากการหมักร่วมกากของเสียจากโรงงานแป้งมันสำปะหลังดัดแปรร่วมกับตะกอนเลนจากบ่อเลี้ยงกุ้ง, ปิยะวดี ศรีวิชัย Jan 2019

การผลิตก๊าซชีวภาพจากการหมักร่วมกากของเสียจากโรงงานแป้งมันสำปะหลังดัดแปรร่วมกับตะกอนเลนจากบ่อเลี้ยงกุ้ง, ปิยะวดี ศรีวิชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการหมักร่วมระหว่างกากตะกอนแป้ง (Starch sludge, SS) กับตะกอนสลัดจ์ (Activated biosludge, ABS) จากระบบบำบัดน้ำเสียแอกติเวเต็ดสลัดจ์ของโรงงานแป้งมันสำปะหลังดัดแปร และตะกอนเลน (Shrimp pond sediment, SPS) จากบ่อเลี้ยงกุ้งทะเล ด้วยระบบถังหมักไร้ออกซิเจนแบบสองขั้นตอน ซึ่งได้ทำการทดลองเบื้องต้นด้วยวิธีบีเอ็มพีโดยออกแบบการทดลองแบบประสมส่วนกลาง และมีการใช้หลักการพื้นผิวตอบสนองของโปรแกรม Design Expert (Trial version 10) เพื่อเลือกอัตราส่วนการหมักร่วมที่เหมาะสม พบว่าที่อัตราส่วน (SS:SPS และ SS:ABS) เท่ากับ 1:0 และ 1:1 มีความเหมาะสม เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการผลิตก๊าซชีวภาพสูง และระบบมีความเสถียรภาพ โดยอัตราส่วนดังกล่าวถูกนำไปใช้ในการเดินระบบหมักกรดด้วยถังปฎิกรณ์กวนสมบรูณ์แบบแบทซ์ โดยศึกษาผลของของแข็งระเหยเริ่มต้น (TVS) ซึ่งพบว่า TVS เริ่มต้นร้อยละ 2 อัตราส่วนการหมักร่วม 1:1 ของ SS:SPS และ SS:ABS มีความเหมาะสม เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการผลิตกรดไขมันระเหยสูง เท่ากับ 319 และ 353 กรัมอะซิติก/กิโลกรัมของของแข็งระเหยเริ่มต้น ตามลำดับ อีกทั้งยังพบว่าถังหมักกรดมีเสถียรภาพมากกว่าการหมัก SS เพียงอย่างเดียว และน้ำหมักกรดที่ผลิตได้จากถัง CSTR ถูกนำไปใช้เพื่อศีกษาผลของอัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์เริ่มต้น (OLR) ที่มีต่อประสิทธิภาพการผลิตก๊าซชีวภาพของถังหมักก๊าซโดยใช้ถังปฎิกรณ์ไร้อากาศแบบแผ่นกั้น (ABR) โดยพบว่าเมื่อเพิ่ม OLR ของทั้งสองชุดการหมักร่วม จะส่งผลให้ประสิทธิภาพการผลิตก๊าซชีวภาพลดลง และคุณภาพของน้ำที่ปล่อยออกแย่ลง และพบว่าที่ OLR 0.2 Kg COD/m3.day มีประสิทธิภาพในการผลิตก๊าซชีวภาพสูงสุด เท่ากับ 404 และ 367 L/Kg TVSadded สำหรับการหมักร่วมของ SS:SPS และ SS:ABS ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าอัตราส่วนดังกล่าวมีร้อยละมีเทนสูงเท่ากับ 69.30 และ 72.06 ตามลำดับ


สถานการณ์และข้อเสนอแนะเพื่อส่งเสริมเอสเอ็มอีให้เป็นอุตสาหกรรมสีเขียว กรณีศึกษาอุตสาหกรรมสาขาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, ภูริตา นรนาถตระกูล Jan 2019

สถานการณ์และข้อเสนอแนะเพื่อส่งเสริมเอสเอ็มอีให้เป็นอุตสาหกรรมสีเขียว กรณีศึกษาอุตสาหกรรมสาขาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, ภูริตา นรนาถตระกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีเป้าหมายในการศึกษาสถานการณ์และแนวทางการส่งเสริมนโยบายอุตสาหกรรมสีเขียวของประเทศไทยให้เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) งานวิจัยได้ประยุกต์ใช้การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) และ SWOT เพื่อการวิเคราะห์ปัจจัย โอกาส และอุปสรรค ที่มีต่อการพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวของ SMEs ในสาขาการผลิตผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ได้วิเคราะห์และพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อส่งเสริม SMEs ให้เป็นอุตสาหกรรมสีเขียวในประเทศไทยให้มีเพิ่มมากขึ้น ผลการศึกษาจากการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง SMEs พบว่า กลุ่มปัจจัยด้านเศรษฐกิจ กลุ่มปัจจัยด้านสังคม กลุ่มปัจจัยด้านทรัพยากรภายในองค์กร มีผลต่อการตัดสินใจพัฒนาองค์กรเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวของกลุ่ม SMEs ที่ศึกษา โดยมีปัจจัยด้านการเงินเป็นอุปสรรคที่มีความสำคัญเป็นลำดับที่ 1 รองลงมาเป็นปัจจัยด้านเศรษฐกิจและปัจจัยด้านบุคลากร เป็นอุปสรรคที่มีความสำคัญเป็นลำดับที่ 2 และที่ 3 ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง พบว่า ปัจจัยย่อยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจของ SMEs ในการพัฒนาองค์กรตามหลักการอุตสาหกรรมสีเขียวมากที่สุด ได้แก่ การที่อุตสาหกรรมสีเขียวถูกกำหนดเป็นเงื่อนไขทางการค้า ความเข้มงวดของกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม และ ผู้บริโภคมีความต้องการอุตสาหกรรมสีเขียว แนวทางการส่งเสริม SMEs ให้เป็นอุตสาหกรรมสีเขียว ควรใช้กลไกทางกฎหมายและเศรษฐศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจให้ SMEs ปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยการกำหนดกฎระเบียบบังคับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว และการกำหนดภาษีสินค้าในอัตราที่แตกต่างกันกับสินค้าผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์เพื่อยกระดับความตระหนักและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน


ผลของปุ๋ยคอกมูลวัวและถ่านชีวภาพจากไม้กระถินต่อการยับยั้งการเคลื่อนที่ของสารหนูและแมงกานีสในกากโลหกรรมจากการทำเหมืองแร่ทองคำด้วยหญ้าเนเปียร์แคระ, อโณทัย โกวิทย์วิวัฒน์ Jan 2019

ผลของปุ๋ยคอกมูลวัวและถ่านชีวภาพจากไม้กระถินต่อการยับยั้งการเคลื่อนที่ของสารหนูและแมงกานีสในกากโลหกรรมจากการทำเหมืองแร่ทองคำด้วยหญ้าเนเปียร์แคระ, อโณทัย โกวิทย์วิวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของปุ๋ยคอกมูลวัว และถ่านชีวภาพจากไม้กระถินต่อการยับยั้งการเคลื่อนที่ของสารหนู และแมงกานีสในกากโลหกรรมปนเปื้อนจากบ่อกักเก็บกากโลหกรรม บริเวณพื้นที่ศักยภาพแหล่งแร่ทองคำด้วยหญ้าเนเปียร์แคระในโรงเรือนทดลอง โดยแบ่งชุดการทดลองออกเป็น 4 ชุดการทดลอง ได้แก่ 1) ชุดควบคุม (ไม่มีการเติมปุ๋ยคอกและถ่านชีวภาพ) 2) ชุดการทดลองเติมปุ๋ยคอก 3) ชุดการทดลองเติมถ่านชีวภาพ และ 4) ชุดการทดลองเติมปุ๋ยคอกร่วมกับถ่านชีวภาพ ในอัตรา 1, 3 และ 5 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก โดยในแต่ละชุดการทดลองทำการเก็บตัวอย่างทุก ๆ 30 วัน เป็นระยะเวลา 120 วัน และทำการศึกษาปริมาณการดูดดึงและสะสมสารหนู และแมงกานีสในส่วนเหนือกากโลหกรรม (ลำต้นและใบ) และส่วนใต้กากโลหกรรม (ราก) ของหญ้าเนเปียร์แคระ ผลการศึกษาพบว่า เมื่อสิ้นสุดการทดลอง ชุดควบคุมมีการดูดดึงและสะสมสารหนู และแมงกานีสได้สูงที่สุด ในขณะที่ชุดการทดลองที่มีการเติมถ่านชีวภาพที่อัตรา 5 เปอร์เซ็นต์ สามารถช่วยลดปริมาณการสะสมสารหนู และแมงกานีสในพืชส่วนเหนือกากโลหกรรม และส่วนใต้กากโลหกรรมได้สูงที่สุด คิดเป็น 63.93 และ 78.64 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และสามารถช่วยลดการดูดดึงและสะสมแมงกานีสในส่วนใต้กากโลหกรรม และส่วนเหนือกากโลหกรรมของพืชได้มากที่สุด คิดเป็น 69.93 และ 72.54 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และเมื่อนำมาวิเคราะห์การกระจายตัว และการสะสมสารหนูและแมงกานีส ด้วยเทคนิคไมโครเอกซ์เรย์ฟลูออเรสเซนส์ (SR-XRF) พบว่า ไม่สามารถระบุการกระจายตัว และการสะสมสารหนูในพืชได้ เนื่องจากระดับความเข้มข้นของสารหนูในพืชนั้นต่ำเกินกว่าที่สามารถตรวจวัดได้ หากแต่หญ้าเนเปียร์แคระในชุดการทดลองที่มีการเติมถ่านชีวภาพในอัตรา 5 เปอร์เซ็นต์ พบว่า มีการกระจายตัว และสะสมแมงกานีส และธาตุอื่น ๆ ได้แก่ แคลเซียม เหล็ก และซัลเฟอร์ น้อยกว่าชุดควบคุม และพบการสะสมธาตุดังกล่าวในบริเวณเนื้อเยื่อชั้นนอกเป็นหลัก ผลการศึกษารูปฟอร์มทางเคมีของสารหนู และแมงกานีสในตัวอย่างพืชและกากโลหกรรม ด้วยเทคนิคเอกซเรย์แอบซอร์บชั่นสเปคโตรสโกปี (SR-XAS) พบว่า การเติมปุ๋ยคอกและถ่านชีวภาพ ไม่ทำให้สารหนูและแมงกานีสที่ปนเปื้อนในกากโลหกรรมเปลี่ยนรูปฟอร์มทางเคมีแต่อย่างใด จึงสามารถสรุปได้ว่า การเติมถ่านชีวภาพ 5 เปอร์เซ็นต์ มีประสิทธิภาพในการตรึงสารหนู และแมงกานีสได้ดีที่สุด ผลการศึกษาในครั้งนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ดินปนเปื้อนบริเวณพื้นที่ของการทำเหมือง …


การวิเคราะห์เชิงปริภูมิ-กาลและแบบจำลองเพื่อความยั่งยืนของพื้นที่ป่าและเมืองชายฝั่งอันดามัน: กรณีศึกษาจังหวัดกระบี่, อลิษา สหวัชรินทร์ Jan 2019

การวิเคราะห์เชิงปริภูมิ-กาลและแบบจำลองเพื่อความยั่งยืนของพื้นที่ป่าและเมืองชายฝั่งอันดามัน: กรณีศึกษาจังหวัดกระบี่, อลิษา สหวัชรินทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิเคราะห์เชิงปริภูมิ-กาล และแบบจำลองเพื่อการจัดการพื้นที่ชายฝั่งอย่างยั่งยืน เป็นงานวิจัยสหสาขาวิชาด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม นิเวศวิทยาภูมิทัศน์ ผังเมือง และการจัดการชายฝั่ง เพื่อนำเสนอแนวทางการทำงานด้านสิ่งแลดล้อม โดยใช้มุมมองทางภูมิสถาปัตยกรรม เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชายฝั่ง วิเคราะห์โครงสร้างและรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนปริภูมิกับกระบวนการทำงานของระบบนิเวศป่าชายเลนและเมืองชายฝั่ง และเสนอแบบจำลองทางเลือกในการวางแผนภูมิทัศน์เมืองชายฝั่ง เพื่อให้เกิดการพัฒนาชายฝั่งอย่างยั่งยืน โดยใช้ข้อมูลการสำรวจระยะไกลมาแปลความลักษณะของสิ่งปกคลุมดิน ด้วยโปรแกรม ArcGIS และวิเคราะห์ด้วยดัชนีชี้วัดภูมิทัศน์ เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของแบบแผนปริภูมิในระดับภูมิภาคชายฝั่งอันดามันทั้ง 6 จังหวัดและระดับภูมิภาคเมืองกระบี่ แล้วนำเสนอกระบวนการวางผังภูมินิเวศ ที่ช่วยบรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อมเชิงพื้นที่จากการขยายเมือง บรรเทาความรุนแรงของภัยธรรมชาติ ลดความขัดแย้งจากการใช้ประโยชน์ที่ดิน และสามารถรับมือกับความไม่แน่นอนของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ โดยประยุกต์ใช้ยุทธศาสตร์การวางผัง ร่วมกับการวิเคราะห์ศักยภาพและข้อจำกัดของระบบนิเวศเมืองในการบริการระบบนิเวศ รวบรวมผลการวิเคราะห์ออกมาเป็นแบบจำลองทางเลือกในการพัฒนาภูมิภาคเมืองชายฝั่งที่จะเป็นแนวทางพื้นฐานของการวางผังภูมิภาคเมืองชายฝั่ง โดยยุทธศาสตร์ “โครงข่ายแห่งโอกาส” สร้างโครงข่ายภูมิทัศน์หลากประโยชน์ เป็นแบบจำลองการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพในการทำงานของสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศสูงสุด และสามารถนำไปมาพัฒนาพื้นที่ภูมิภาคเมืองกระบี่ ในรูปแบบผังภูมิทัศน์ 3 ระบบ ได้แก่ ระบบน้ำ ระบบพื้นที่สีเขียว และระบบเมือง แต่ละระบบมีกลยุทธ์ทางเลือกในการพัฒนา 4 รูปแบบ เป็นลำดับขั้นได้แก่ พัฒนาผืนระบบนิเวศ พัฒนาทางเชื่อมนิเวศ พัฒนาเป็นโครงข่าย และพัฒนาแบบองค์รวม แต่ละรูปแบบมีบทบาทหน้าที่ คุณลักษณะทางกายภาพแตกต่างกัน ที่สามารถนำไปกำหนดทิศทางการพัฒนาและประยุกต์ใช้กับเมืองชายฝั่งอื่นๆ เพื่อความยั่งยืนของทั้งเมืองและสิ่งแวดล้อมชายฝั่ง


การเตือนการพลิกคว่ำแบบทริปเเละแบบอันทริปด้วยโครงข่ายประสาทเเบบเวลาจริง, ไกรฤกษ์ ตรีทิพสุนทร Jan 2019

การเตือนการพลิกคว่ำแบบทริปเเละแบบอันทริปด้วยโครงข่ายประสาทเเบบเวลาจริง, ไกรฤกษ์ ตรีทิพสุนทร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ระบบป้องกันการพลิกคว่ำสำคัญมากสำหรับความปลอดภัยของผู้ขับขี่ การพัฒนาระบบป้องกันการพลิกคว่ำต้องการการประเมินความเสี่ยงในการพลิกคว่ำ ความยากของการประเมินความเสี่ยงคือ การที่ไม่รู้ความสูงจุดศูนย์ถ่วงของรถ หรือน้ำหนักของรถในขณะนั้น เป็นต้น งานวิจัยนี้จะพัฒนาการคาดเดาการพลิกคว่ำโดยที่ไม่รู้ตัวแปรข้างต้น โดยโครงข่ายประสาทใช้ค่าจากเซนเซอร์ที่ติดตั้งบนรถ การทดลองจะใช้โมเดลของรถยนต์ SUV เนื่องจากมีจุดศูนย์ถ่วงที่สูงกว่ารถยนต์ประเภทอื่น การทดสอบใช้รถทดสอบอัตราส่วน 1:5 โดยใช้ทฤษฎีบักกิงแฮมพาย และรถทดสอบได้ติดตั้งเซนเซอร์วัดความเร่ง 5 จุด และไจโรสโกป 1 จุด การเตือนการพลิกคว่ำ แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ปลอดภัย, มีความเสี่ยง และมีความเสี่ยงสูง โดยระบบสามารถเตือนการพลิกคว่ำได้ทั้งแบบทริป และอันทริป ทริป คือการเข้าโค้งและสะดุดหลุม หรือสิ่งกีดขวาง อันทริปคือการเข้าโค้งด้วยความเร็วสูง การเตือนการพลิกคว่ำใกล้เคียงกับค่าดัชนีการพลิกคว่ำที่วัดได้จริง การทดลองด้วยข้อมูลจากโปรแกรมจำลอง “CarSim” งานวิจัยนี้ใช้โครงข่ายประสาทแบบวนกลับ โดยใช้ข้อมูลจากเซนเซอร์ที่ติดตั้งบนตัวรถ ผู้วิจัยทดสอบ และเปรียบเทียบ ชนิดของโครงข่ายประสาท โครงสร้างของโครงข่ายประสาท และข้อมูลรับเข้าที่แตกต่างกัน โดยโครงข่ายประสาทที่เหมาะสมกับการคาดเดาแบบทริปคือแทนเจนต์มีรากที่สองของค่าเฉลี่ยความผิดพลาดกำลังสอง (RMSE) อยู่ที่ 3.66x10-4 และ GRU เหมาะสำหรับการคาดเดาแบบอันทริป โดยมีรากที่สองของค่าเฉลี่ยความผิดพลาดกำลังสองอยู่ที่ 0.131x10-2


การประเมินการส่งผ่านข้อมูลส่วนตัวของเเอปพลิเคชันโดยวิเคราะห์จากนโยบายความเป็นส่วนตัว, เมธัส นาคเสนีย์ Jan 2019

การประเมินการส่งผ่านข้อมูลส่วนตัวของเเอปพลิเคชันโดยวิเคราะห์จากนโยบายความเป็นส่วนตัว, เมธัส นาคเสนีย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โมไบล์เเอปพลิเคชันในปัจจุบันได้ขอเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้บริการเพื่อที่จะนำข้อมูลเหล่านี้ไปพัฒนาการให้บริการ เช่น ข้อมูลส่วนตัว อีเมล ซึ่งการนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้มีทั้งจุดประสงค์ในการใช้ข้อมูลในทางที่ดีเเละไม่ดี จึงเป็นเรื่องที่ผู้ใช้บริการควรตระหนักถึง ทั้งนี้ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบรายละเอียดการนำข้อมูลไปใช้จากเเหล่งที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย ได้เเก่ นโยบายความเป็นส่วนตัว เเต่เนื่องจากนโยบายความเป็นส่วนตัวมีข้อความที่ยาวเเละทำความเข้าใจได้ยาก ผู้ใช้บริการอาจพลาดส่วนสำคัญจากการอ่านนโยบายความเป็นส่วนตัวได้ ดังนั้นวิทยานิพนธ์นี้จึงได้ตั้งข้อสมมุติฐานเพื่อทำการพิสูจน์สมมุติฐานว่าการประเมินการส่งผ่านข้อมูลส่วนตัวของเเอปพลิเคชันสามารถวิเคราะห์ได้จากข้อความในนโยบายความเป็นส่วนตัวหรือไม่ โดยการใช้การเรียนรู้ด้วยเครื่องเข้ามาช่วยเพื่อที่จะประเมินการส่งผ่านของข้อมูลส่วนตัวเเทนการอ่านจากนโยบายความเป็นส่วนตัว


เครื่องมือทดสอบแบบจำลองบีพีเอ็มเอ็นด้วยวีคมิวเทชัน, ชาตรี งามเบญจวงศ์ Jan 2019

เครื่องมือทดสอบแบบจำลองบีพีเอ็มเอ็นด้วยวีคมิวเทชัน, ชาตรี งามเบญจวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แบบจำลองบีพีเอ็มเอ็นเป็นแบบจำลองที่ใช้สำหรับอธิบายกระบวนการทางธุรกิจ และถูกพัฒนาให้สามารถประมวลผลได้บนเครื่องประมวลผลแบบจำลอง จึงจำเป็นต้องทดสอบความถูกต้องของแบบจำลองตามเงื่อนไขทางธุรกิจ นักทดสอบจึงได้นำเสนอวิธีการสร้างกรณีทดสอบที่แตกต่างกัน รวมถึงใช้การทดสอบมิวเทชัน เพื่อประเมินคุณภาพของกรณีทดสอบ แต่จุดด้อยของการทดสอบมิวเทชันยังต้องใช้แรงงาน และทรัพยากรที่ค่อนข้างสูง งานวิจัยนี้ได้นำเสนอการนำตัวดำเนินการมิวเทชันของแบบจำลองบีพีเอ็มเอ็นมาประยุกต์กับการทดสอบวีคมิวเทชัน และยังเสนอเครื่องมือวีมูบีพีเอ็มเอ็นที่ใช้ในการสร้างมิวแตนท์ และทดสอบมิวแตนท์ได้อย่างอัตโนมัติกับเครื่องประมวลผลแบบจำลองบีพีเอ็มเอ็น โดยเครื่องมือสามารถรายงานผลลัพธ์ ได้แก่ จำนวนมิวแตนท์ที่กำจัดได้ จำนวนมิวแตนท์ที่ยังคงอยู่ เวลาที่ใช้ในการทดสอบ คะแนนมิวเทชัน และประสิทธิภาพของกรณีทดสอบ หลังจากผู้วิจัยได้ทดสอบเครื่องมือกับแบบจำลองตัวอย่างทั้งหมด 8 แบบจำลอง เครื่องมือสามารถสร้างมิวแตนท์ได้ครบถ้วน 25 ตัวดำเนินการ และทดสอบกับเครื่องประมวลผลแบบจำลองได้ทั้งหมด 13 ตัวดำเนินการ


การสร้างแบบจำลองเชิงรูปนัยของเครือข่ายแถวคอยแบบหลายหน่วยบริการ โดยใช้สโตแคสติกเพทริเน็ตส์, พิมพร บุญอินทร์ Jan 2019

การสร้างแบบจำลองเชิงรูปนัยของเครือข่ายแถวคอยแบบหลายหน่วยบริการ โดยใช้สโตแคสติกเพทริเน็ตส์, พิมพร บุญอินทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ระบบเครือข่ายแถวคอยเชิงรูปนัยครอบคลุมแบบจำลองระดับสูง เพื่อช่วยในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของความพร้อมใช้งานของลูกค้าที่เข้ามารับบริการ และทรัพยากรที่ให้บริการ ผู้ออกแบบกระบวนการทางธุรกิจสามารถปรับการสร้างเครือข่ายแถวคอยเพื่อรับมือกับข้อจำกัดด้านเวลาในลักษณะแบบสุ่ม ผู้วิจัยตั้งเป้าหมายที่จะจัดทำสโตแคสติกแถวคอยเชิงรูปนัยแบบหลายหน่วยบริการในวิทยานิพนธ์นี้ เพื่อรองรับระบบเครือข่ายแถวคอยที่ซับซ้อนแบบหลายหน่วยบริการ พฤติกรรมการให้บริการแบบสุ่มจะถูกพิจารณาและแปลงเป็นสโตแคสติกเพทริเน็ตส์ ชุดของกฎการจับคู่ถูกกำหนดเพื่อแปลงเครือข่ายแถวคอยแบบหลายหน่วยบริการเป็นสโตแคสติกเพทริเน็ตส์ อีกทั้งผู้วิจัยได้สาธิตการสร้างกราฟมาร์คอฟพร้อมการแจกแจงความน่าจะเป็นของเครือข่ายแถวคอย


Holographic Renormalization Group Flows From N=2 4d Gauged Supergravity, Nutthapat Loonrasri Jan 2019

Holographic Renormalization Group Flows From N=2 4d Gauged Supergravity, Nutthapat Loonrasri

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In quantum field theories, interactions between particles can be studied by using Feynman diagrams. Calculating loop Feynman diagrams results in infinite values. This problem can be solved by using a process of renormalization that is the method of removing an infinity. Changing a physical system under different scales forms a group called renormalization group. Some renormalization group flows (RG flows) describe deformations of a conformal field theory (CFT) to another conformal or non-conformal theories, resulting in the deformations of a UV conformal fixed point to another fixed point or a non-conformal phase in the IR. In this work, we study …


เครื่องมือประเมินความสามารถในการใช้งานเชิงฮิวริสติกสำหรับแอปพลิเคชันแอนดรอยด์เพื่อเด็กอายุ 6 – 12 ปี, ณัฏฐิกา ศรีเกียรติวงศ์ Jan 2019

เครื่องมือประเมินความสามารถในการใช้งานเชิงฮิวริสติกสำหรับแอปพลิเคชันแอนดรอยด์เพื่อเด็กอายุ 6 – 12 ปี, ณัฏฐิกา ศรีเกียรติวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การออกแบบโมไบล์แอปพลิเคชันสำหรับเด็กนั้นมีความแตกต่างจากการออกแบบโมไบล์แอปพลิเคชันสำหรับผู้ใช้งานที่เป็นผู้ใหญ่เนื่องจากเด็กมีพฤติกรรมและพัฒนาการที่ต่างกับผู้ใหญ่ และยังต้องคำนึงถึงประสบการณ์ของผู้ใช้และความสามารถในการใช้งานอีกด้วย การประเมินเชิงฮิวริสติกเป็นวิธีการประเมินความสามารถในการใช้งานส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ที่ได้รับความนิยม โดยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านความสามารถในการใช้งานทำการเปรียบเทียบการออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้กับแนวทางการออกแบบหรือฮิวริสติกว่ามีความขัดแย้งกับแนวทางการออกแบบแต่ละข้อหรือไม่ แต่เนื่องจากแนวทางการออกแบบมีเป็นจำนวนมากจึงทำให้เป็นภาระในการประเมิน ทำให้บ่อยครั้งเกิดการตรวจพบข้อผิดพลาดได้ไม่ครบถ้วน จึงทำให้การประเมินเชิงฮิวริสติกมีประสิทธิภาพไม่ดีนัก งานวิจัยนี้ได้ทำการรวบรวมและปรับปรุงแนวทางการออกแบบความสามารถในการใช้งานเชิงฮิวริสติกสำหรับโมไบล์แอปพลิเคชันเพื่อเด็กอายุ 6–12 ปี มาจากหลายแหล่ง แล้วนำไปประเมินความเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้สำหรับโมไบล์แอปพลิเคชัน แนวทางการออกแบบที่ได้จะแบ่งออกเป็น 12 หมวด รวมทั้งหมด 94 รายการ จากนั้นได้ทำการพัฒนาเครื่องมือประเมินความสามารถในการใช้งาน ซึ่งสามารถประเมินจากรหัสต้นฉบับของแอปพลิเคชันแอนดรอยด์ตามแนวทางการออกแบบเฉพาะในส่วนที่สามารถตรวจสอบได้อย่างอัตโนมัติจำนวน 25 รายการ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ประเมินในการประเมินความสามารถในการใช้งานส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ จากการทดสอบการประเมินความสามารถในการใช้งานของ 5 แอปพลิเคชันสำหรับเด็กบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ตามรายการประเมิน 25 รายการที่สามารถตรวจสอบได้อย่างอัตโนมัติพบว่า เครื่องมือสามารถตรวจหาข้อผิดพลาดในการออกแบบที่ผู้ประเมินทั้งที่เป็นผู้มีประสบการณ์ด้านการออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้และที่เป็นนักพัฒนาแอปพลิเคชันไม่สามารถตรวจพบได้ ในขณะที่เครื่องมือเองยังมีข้อจำกัดที่ทำให้ตรวจไม่พบข้อผิดพลาดที่ผู้ประเมินตรวจพบได้เช่นกัน ถึงอย่างนั้นก็ตามค่าเฉลี่ยของจำนวนจุดที่พบข้อผิดพลาดในการออกแบบเมื่อประเมินด้วยเครื่องมือมีค่ามากกว่าค่าเฉลี่ยของผู้ประเมินทั้งสองกลุ่มที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และจากการทดสอบประสิทธิภาพด้านเวลายังพบว่า เครื่องมือสามารถช่วยลดเวลาในการประเมินได้อีกด้วย


ตัวสร้างสตับและไดร์เวอร์สำหรับการทดสอบรวมของคลาสจากแผนภาพลำดับและแผนภาพคลาส, พีรวุฒิ เหลืองเรืองโรจน์ Jan 2019

ตัวสร้างสตับและไดร์เวอร์สำหรับการทดสอบรวมของคลาสจากแผนภาพลำดับและแผนภาพคลาส, พีรวุฒิ เหลืองเรืองโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ นักเขียนโปรแกรมแต่ละคนอาจจะเขียนโปรแกรมแต่ละส่วนเสร็จไม่พร้อมกัน หากต้องรอนักเขียนโปรแกรมทุกคนเขียนโปรแกรมเสร็จสิ้นจึงเริ่มการทดสอบจะเป็นการเสียเวลา การทดสอบซอฟต์แวร์จึงเริ่มทันทีเมื่อรหัสต้นฉบับบางส่วนพัฒนาเสร็จสิ้น ซึ่งสตับและไดร์เวอร์จะถูกนำมาใช้แทนมอดูลที่ยังพัฒนาไม่เสร็จ อย่างไรก็ตามสตับและไดร์เวอร์เป็นรหัสต้นฉบับเสียเปล่าที่ถูกสร้างเพื่อใช้เพียงครั้งเดียวและไม่สามารถนำมาใช้กับโครงการอื่น ๆ ได้ การสร้างสตับและไดร์เวอร์จึงควรใช้ความพยายามในการพัฒนาให้น้อยที่สุด งานวิจัยก่อนหน้าได้นำเสนอตัวสร้างสตับและไดร์เวอร์โดยใช้ข้อมูลจากแผนภาพลำดับและแผนภาพคลาส ซึ่งมีข้อจำกัดด้านการสร้างสตับและไดร์เวอร์สำหรับคลาสนามธรรม คลาสภายใน และอินเตอร์เฟส รวมทั้งสามารถเลือกคลาสภายใต้การทดสอบได้เพียงคลาสเดียวและไม่สามารถสร้างกรณีทดสอบได้ โดยงานวิจัยนี้จะพัฒนาตัวสร้าง สตับและไดร์เวอร์ที่แก้ไขข้อจำกัดของงานวิจัยดังกล่าว ผู้ทดสอบสามารถสร้างสตับและไดร์เวอร์สำหรับการทดสอบรวมของคลาสโดยนำเข้าแผนภาพลำดับและแผนภาพคลาสในรูปเอกซ์เอ็มแอล จากนั้นตัวสร้างจะประมวลผลแผนภาพและสร้างกราฟการเรียกใช้งานขึ้นมา ผู้ทดสอบสามารถเลือกกคลาสภายใต้การทดสอบได้ตั้งแต่หนึ่งคลาสขึ้นไป และตัวสร้างจะรวบรวมสตับและไดร์เวอร์ที่ต้องใช้ทดสอบคลาสที่เลือกและสร้างรหัสต้นฉบับของสตับและไดร์เวอร์ขึ้นมาเพื่อทดสอบคลาสเหล่านั้น นอกจากนี้ตัวสร้างจะสุ่มค่าของข้อมูลทดสอบได้แก่ข้อมูลนำเข้าและผลลัพธ์ที่คาดหวังลงไปในไดร์เวอร์ จากนั้นตัวสร้างจะส่งออกไฟล์รหัสต้นฉบับเพื่อการทดสอบรวมคลาสดังกล่าว ซึ่งสตับและไดร์เวอร์ที่สร้างขึ้นมาจะนำไปทดสอบรวมกับกรณีศึกษา 3 กรณี ซึ่งพบว่าสตับและไดร์เวอร์ที่ถูกสร้างขึ้นสามารถแทนที่คลาสที่ยังพัฒนาไม่เสร็จได้


การแปลงกระแสงานยอร์ลที่มีเงื่อนไขเวลาไปเป็นสโตแคสติกเพทริเน็ตส์ทั่วไป, สุพัตรา บุญญะวัตร Jan 2019

การแปลงกระแสงานยอร์ลที่มีเงื่อนไขเวลาไปเป็นสโตแคสติกเพทริเน็ตส์ทั่วไป, สุพัตรา บุญญะวัตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันโลกทางธุรกิจมีการแข่งขันกันอยู่ตลอดเวลา ผู้ประกอบการทางธุรกิจจึงจำเป็นต้องมีการวางแผนและการบริหารจัดการเวลา ทรัพยากร รวมไปถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ในปัจจุบันมีเครื่องมือที่ช่วยในการจำลองกระบวนการทางธุรกิจ เช่น แผนภาพบีพีเอ็มเอ็น บีเพล และกระแสงานยอว์ล เป็นต้น แต่เครื่องมือดังกล่าวยังไม่สามารถระบุเวลาเฉลี่ยของแต่ละงานในการพัฒนาระบบได้ งานวิทยานิพนธ์นี้ได้เสนอการแปลงกระแสงานยอว์ลไปเป็นสโตแคสติกเพทริเน็ตแบบทั่วไป ซึ่งในงานวิทยานิพนธ์นี้เลือกใช้กระแสงานยอว์ลมาใช้ในการสร้างแบบจำลองกระบวนการทางธุรกิจเพราะกระแสงานยอว์ลมีเครื่องมือ YAWL Editor ที่มีฟีเจอร์ในการตรวจสอบคุณสมบัติของแบบจำลองที่สร้างขึ้น เช่น ตรวจสอบสภาวะติดตายของระบบ เป็นต้น ถึงแม้ว่ากระแสงานยอว์ลจะมีฟีเจอร์ที่ดีดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น แต่กระแสงานยอว์ลไม่สามารถวิเคราะห์ข้อจำกัดด้านเวลาได้ ดังนั้นในงานวิทยานิพนธ์นี้จึงได้เสนอการแปลงกระแสงานยอว์ลที่มีเงื่อนไขของเวลาไปเป็นสโตแคสติกเพทริเน็ตส์ทั่วไป โดยผู้วิจัยจะเพิ่มค่าเฉลี่ยของเวลาเข้าไปในสัญลักษณ์ของกระแสงานยอว์ลมาตรฐานหลังจากที่แปลงเป็นสโตแคสติกเพทริเน็ตส์ทั่วไปแล้ว โดยใช้การวิเคราะห์ความน่าจะเป็นของเวลาในรูปแบบความน่าจะเป็นที่มีการแจกแจงแบบเอ็กโพเนนเชียลในการสาธิตการใช้งานโมเดล


การเตรียมและสมบัติของเซลลูโลสจากผักตบชวา/ว่านหางจระเข้ไฮโดรเจล, เฟรินส์ ภู่ทอง Jan 2019

การเตรียมและสมบัติของเซลลูโลสจากผักตบชวา/ว่านหางจระเข้ไฮโดรเจล, เฟรินส์ ภู่ทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในงานวิจัยนี้ได้เตรียมเซลลูโลสไฮโดรเจลจากสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์/ยูเรียโดยใช้เซลลูโลสจากผักตบชวาที่สกัดได้จากกระบวนการทางเคมีและเพิ่มเสถียรภาพด้วยบอแรกซ์ซึ่งเป็นสารเชื่อมขวางที่สามารถละลายได้ในระบบ จากผลการทดลองพบว่าความหนืดของสารละลาย การดูดซึมน้ำ การส่องผ่านของแสง และร้อยละความเครียดจากการกดของไฮโดรเจลเพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างความเป็นรูพรุนภายในไฮโดรเจล การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากการเชื่อมขวางของสายโซ่เซลลูโลสด้วยบอแรกซ์ นอกจากนี้การเติมบอแรกซ์ยังส่งผลให้ไฮโดรเจลมีสมบัติการต้านเชื้อแบคทีเรียสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส และเนื่องด้วยเซลลูโลสไฮโดรเจลที่เติมบอแรกซ์ปริมาณ 3 เท่า (ไฮโดรเจล 1/3) มีการดูดซึมน้ำและร้อยละความเครียดจากการกดที่เหมาะสมจึงถูกเลือกเพื่อเตรียมเซลลูโลส/ว่านหางจระเข้ไฮโดรเจลโดยการแช่ในสารละลายว่านหางจระเข้ที่ความเข้มข้นร้อยละ 5 และ 10 ของว่านหางจระเข้ในน้ำ พบว่าการแช่เซลลูโลสไฮโดรเจลในสารละลายว่านหางจระเข้นั้นไม่ส่งผลต่อสมบัติการดูดซึมน้ำและร้อยละความเครียดจากการกด นอกจากนี้สมบัติการต้านเชื้อแบคทีเรียของเซลลูโลสไฮโดรเจลไม่ได้รับการปรับปรุงโดยการแช่ในสารละลายว่านหางจระเข้


การผลิตน้ำมันชีวภาพจากไพโรไลซิสของไม้ยางพาราและเหง้ามันสำปะหลังโดยใช้นิกเกิลโดโลไมต์ในเครื่องปฏิกรณ์เบดนิ่ง, กิตติเดช ประเสริฐทวีพร Jan 2019

การผลิตน้ำมันชีวภาพจากไพโรไลซิสของไม้ยางพาราและเหง้ามันสำปะหลังโดยใช้นิกเกิลโดโลไมต์ในเครื่องปฏิกรณ์เบดนิ่ง, กิตติเดช ประเสริฐทวีพร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กระบวนการผลิตน้ำมันชีวภาพจากการไพโรซิสของไม้ยางพาราและเหง้ามันสำปะหลังในเครื่องปฏิกรณ์เบดนิ่ง ถูกใช้ในการศึกษาหาภาวะดำเนินการที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ปริมาณผลได้ที่ดีที่สุดสำหรับน้ำมันชีวภาพ จากการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา ตัวอย่างเช่น FCC, โดโลไมต์ และนิกเกิลโดโลไมต์ โดยทดลองในเครื่องปฏิกรณ์เบดนิ่ง มีปัจจัยต่างๆประกอบด้วย ขนาดอนุภาคตั้งแต่ 0.250-2.000 มิลลิเมตร อุณหภูมิ 400-600 องศาเซลเซียส เวลาที่ 45-90 นาที และ อัตราการไหลไนโตรเจนที่ 60-180 มิลลิลิตรต่อนาที ผลการศึกษาพบว่าภาวะดำเนินการที่ดีที่สุดคือ ขนาดอนุภาคเฉลี่ยที่ 0.355-0.710 มิลลิเมตร และ 0.850-2.000 มิลลิเมตร ตามลำดับ ที่อุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียส เวลาในการทำปฏิกิริยา 45 นาที และอัตราการไหลของแก๊สไนโตรเจนที่ 60 มิลลิลิตรต่อนาที ซึ่งภาวะดำเนินการดังกล่าวให้ปริมาณร้อยละผลได้ของน้ำมันชีวภาพร้อยละ 39.48 และ 40.39 ของไม้ยางพาราและเหง้ามันสำปะหลังตามลำดับ ซึ่งเมื่อศึกษาอิทธิพลของตัวเร่งปฏิกิริยาในกระบวนการไพโรไรซิสพบว่าปริมาณน้ำมันชีวะภาพลดลงเมื่อตัวเร่งปฏิกิริยาถูกเติมเข้าไปในระบบ ในขณะที่ร้อยละผลได้ของปริมาณแก๊สเพิ่มขึ้นแก๊สสูงสุดโดยวัดได้ที่ร้อยละ 39.30 และ 33.37 ของไม้ยางพาราและเหง้ามันสำปะหลังตามลำดับ นอกจากนี้พบว่าในน้ำมันชีวภาพมีองค์ประกอบหลักคือ แอลเคน อะโรมาติก สารประกอบไนโตรเจเนต และสารประกอบออกซิเจเนต ในขณะที่แก๊สมีองค์ประกอบของแก๊สมีเทน เป็นองค์ประกอบหลัก


การเตรียมและการตอบสนองโดยการเปลี่ยนสีของวัสดุเชิงประกอบระดับนาโนเมตรพอลิไดแอเซทิลีน/ผลึกนาโนซิงก์ออกไซด์, ณัฐกานต์ ประกอบแก้ว Jan 2019

การเตรียมและการตอบสนองโดยการเปลี่ยนสีของวัสดุเชิงประกอบระดับนาโนเมตรพอลิไดแอเซทิลีน/ผลึกนาโนซิงก์ออกไซด์, ณัฐกานต์ ประกอบแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาวิธีการสังเคราะห์ผลึกนาโนซิงก์ออกไซด์และเตรียมเป็นวัสดุเชิงประกอบระดับนาโนเมตรพอลิไดแอซิทิลีน/ผลึกนาโนซิงก์ออกไซด์ ในการสังเคราะห์ผลึกนาโนซิงก์ออกไซด์ จากซิงก์แอซีเทตดีไฮเดรตและเททระแอมโมเนียมไฮดรอกไซด์ เพนทะไฮเดรต โดยใช้ระยะเวลาในการทำปฏิกิริยาตั้งแต่ 1 ถึง 2880 นาที พบว่าจะได้ผลึกนาโนซิงก์ออกไซด์ที่มีขนาดอนุภาค 2 ถึง 6 นาโนเมตร จากนั้นนำมาเตรียมเป็นวัสดุเชิงประกอบระดับนาโนเมตรพอลิไดแอซิทิลีน/ผลึกนาโนซิงก์ออกไซด์ โดยใช้ 10,12-pentacosadiynoic acid (PCDA) เป็นไดแอเซทิลีนมอนอเมอร์ และทำการทดสอบสมบัติการตอบสนองโดยการเปลี่ยนสีของวัสดุเชิงประกอบต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ค่าความเป็นกรด-เบส และการเติมกรด/เบสอินทรีย์ จากการศึกษาพบว่า พอลิไดแอซิทีลีน/ผลึกนาโนซิงก์ออกไซด์เกิดการเปลี่ยนสีจากสีน้ำเงินเป็นม่วงที่อุณหภูมิต่ำกว่าพอลิไดแอซิทีลีน/ซิงก์ออกไซด์(65 นาโนเมตร) ที่มีการศึกษามาก่อนหน้านี้ โดยพอลิไดแอซิทีลีน/ผลึกนาโนซิงก์ออกไซด์เกิดการเปลี่ยนสีที่อุณหภูมิ 65 ถึง 70 องศาเซลเซียส และเป็นการเปลี่ยนสีแบบผันกลับได้ ในขณะที่พอลิไดแอซิทีลีน/ซิงก์ออกไซด์(65 นาโนเมตร) เกิดการเปลี่ยนสีที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส และพบว่า พอลิไดแอซิทีลีน/ผลึกนาโนซิงก์ออกไซด์ มีความไวในการตอบสนองต่อกรดไฮโดรคลอริก โซเดียมไฮดรอกไซด์ กรดซาลิซิลิก และออกทิลเอมีน สูงกว่าอีกด้วย ซึ่งจากการวิเคราะห์โครงสร้างบ่งชี้ว่า สายโซ่หลักคอนจูเกตของพอลิไดแอซิทีลีน/ผลึกนาโนซิงก์ออกไซด์มีความผ่อนคลายมากกว่า และปฏิสัมพันธ์อิออนิกระหว่างส่วนหัวของพอลิไดแอซิทีลีนและพื้นผิวอนุภาคซิงก์ออกไซด์มีความแข็งแรงน้อยกว่า ดังนั้นพอลิไดแอซิทีลีน/ผลึกนาโนซิงก์ออกไซด์จึงถูกรบกวนจากสิ่งกระตุ้นภายนอกได้ในระดับที่สูงกว่าพอลิไดแอซิทีลีน/ซิงก์ออกไซด์(65 นาโนเมตร)


การเตรียมสีน้ำทาภายนอกที่มีสมบัติสะท้อนความร้อนและเป็นฉนวนความร้อนโดยใช้ผงอะลูมิเนียมและนาโนเซลลูโลส, ธนิกานต์ ขุนภักดี Jan 2019

การเตรียมสีน้ำทาภายนอกที่มีสมบัติสะท้อนความร้อนและเป็นฉนวนความร้อนโดยใช้ผงอะลูมิเนียมและนาโนเซลลูโลส, ธนิกานต์ ขุนภักดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในงานวิจัยนี้ได้เตรียมสีน้ำทาภายนอกที่ประกอบด้วยผงอะลูมิเนียมและนาโนเซลลูโลส (ทั้งนาโนเซลลูโลสที่ได้จากแบคทีเรียซึ่งเตรียมผ่านวิธีสะโคบี (SCOBY) และนาโนเซลลูโลสจากพืช) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงสมบัติการสะท้อนความร้อนและสมบัติการเป็นฉนวนความร้อนของสีทาภายนอก ซึ่งสีที่เตรียมได้จะนำมาเคลือบบนกระเบื้องแผ่นเรียบและทิ้งไว้ให้สีแห้งสนิทเป็นระยะเวลา 168 ชั่วโมงก่อนนำมาทดสอบ ผลการทดสอบพบว่าสีที่ผสมระหว่างผงอะลูมิเนียมและนาโนเซลลูโลสมีประสิทธิภาพในการสะท้อนความร้อนและการเป็นฉนวนความร้อนที่ไม่ดีเนื่องจากการออกแบบการทดลองที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นจึงมีการศึกษานาโนเซลลูโลสที่เหมาะสมเพิ่มเติมเพื่อใช้เป็นฉนวนในการทดสอบนี้ โดยศึกษาทั้งนาโนเซลลูโลสจากแบคทีเรียและจากพืช จากนั้นจึงเตรียมสีโดยเติมนาโนเซลลูโลสจากแบคทีเรียที่เตรียมผ่านวิธีสะโคบีลงในสีร้อยละ 0.19 กรัมโดยน้ำหนัก ร้อยละ 0.38 กรัมโดยน้ำหนัก ร้อยละ 0.58 กรัมโดยน้ำหนัก และร้อยละ 0.82 กรัมโดยน้ำหนัก และเติมนาโนเซลลูโลสจากพืชที่ร้อยละ 0.50 กรัมโดยน้ำหนัก ร้อยละ 1.01 กรัมโดยน้ำหนัก ร้อยละ 1.51 กรัมโดยน้ำหนัก และร้อยละ 2.16 กรัมโดยน้ำหนัก ทดลองเทียบกับสีสูตรมาตรฐานที่ไม่ได้มีการเติมนาโนเซลลูโลส ผลทดสอบพบว่าค่าร้อยละความความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างแผ่นทดสอบด้านบนที่ได้รับความร้อนจากหลอดไฟโดยตรงและด้านล่างแผ่นทดสอบของสีสูตรมาตรฐานมีค่าเท่ากับร้อยละ 3.67 ส่วนสีที่มีการเติมนาโนเซลลูโลสจากแบคทีเรียซึ่งเตรียมผ่านวิธีสะโคบีมีค่าความแตกต่างร้อยละ 8.16 ร้อยละ 6.21 ร้อยละ 7.70 และ ร้อยละ 12.41 ตามลำดับ นาโนเซลลูโลสจากพืชมีค่าความแตกต่างร้อยละ 0.50 ร้อยละ 1.01 ร้อยละ 1.51 และร้อยละ 2.16 ตามลำดับ ส่วนสีกันความร้อนตามท้องตลาดมีค่าเท่ากับร้อยละ 8.24 ซึ่งจากผลการทดสอบพบว่าการเติมนาโนเซลลูโลสสามารถปรับปรุงสมบัติการเป็นฉนวนความร้อนได้เมื่อเทียบกับสีสูตรมาตรฐานปกติเนื่องมาจากสมบัติการนำความร้อนที่ต่ำของนาโนเซลลูโลส


สมบัติของพอลิแล็กทิกแอซิดผสมด้วยยางธรรมชาติ-กราฟต์-พอลิอะคริลิกแอซิด, ธมลวรรณ อุดมกิจปัญญา Jan 2019

สมบัติของพอลิแล็กทิกแอซิดผสมด้วยยางธรรมชาติ-กราฟต์-พอลิอะคริลิกแอซิด, ธมลวรรณ อุดมกิจปัญญา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของงานนี้ คือ การปรับปรุงสมบัติเชิงกล และสมบัติทางความร้อนของพอลิแล็กทิกแอซิดด้วยการเติมยางธรรมชาติ-กราฟต์-พอลิอะคริลิกแอซิด โดยยางธรรมชาติ-กราฟต์-พอลิอะคริลิกแอซิดถูกเตรียมจากน้ำยางธรรมชาติผ่านปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบอิมัลชัน โดยใช้กรดอะคริลิกร้อยละ 50, 70 และ 90 โดยน้ำหนักเนื้อยางแห้ง ที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 ชั่วโมง จากวิเคราะห์ด้วยเทคนิคฟูเรียร์แทรนสฟอร์มสเปกโทรสโกปี พบว่า พอลิอะคริลิกแอซิดถูกกราฟต์อยู่บนสายโซ่ของยางธรรมชาติแล้ว จากนั้นยางธรรมชาติ-กราฟต์-พอลิอะคริลิกแอซิดที่เตรียมได้ถูกนำไปผสมกับพอลิแล็กทิกแอซิดที่ปริมาณต่างๆ (ร้อยละ 10, 20 ,30 และ 40 โดยน้ำหนัก) โดยใช้เครื่องผสมแบบปิด และขึ้นรูปเป็นชิ้นทดสอบด้วยเครื่องฉีดแบบ จากการทดสอบสมบัติเชิงกล พบว่าการเติมยางธรรมชาติ-กราฟต์-พอลิอะคริลิกลงในพอลิแล็กทิกแอซิด ส่งผลต่อค่าความทนแรงกระแทก และการยืดตัว ณ จุดขาด โดยที่เมื่อมีปริมาณยางธรรมชาติ-กราฟต์-พอลิอะคริลิกเพิ่มขึ้น จะทำให้ค่าความทนแรงกระแทกและการยืดตัว ณ จุดขาด เพิ่มขึ้น แต่ความทนแรงดึง และยังส์มอดุลัสมีค่าลดลงเมื่อเติมยางธรรมชาติ-กราฟต์-พอลิอะคริลิก ดังนั้นพอลิเมอร์ผสม 70/30 พอลิแล็กทิกแอซิดผสมยางธรรมชาติ-กราฟต์-พอลิอะคริลิกแอซิด70 มีความทนแรงกระแทกและการยืดตัว ณ จุดขาดสูงที่สุด (11.3 กิโลจูลต่อตารางเมตร และร้อยละ 11.05 ตามลำดับ) จากการทดสอบสมบัติทางความร้อน พบว่าการเติมยางธรรมชาติ-กราฟต์-พอลิอะคริลิกแอซิดลงในพอลิแล็กทิกแอซิดส่งผลให้เสถียรภาพทางความร้อนของพอลิแล็กทิกแอซิดเพิ่มขึ้น โดยที่ปริมาณการเติมยางธรรมชาติ-กราฟต์-พอลิอะคริลิก ร้อยละ 40 จะทำให้พอลิเมอร์ผสมมีเสถียรภาพทางความร้อนดีที่สุด ส่วนพฤติกรรมทางความร้อนของพอลิเมอร์ผสมเมื่อเติมยางธรรมชาติ-กราฟต์-พอลิอะคริลิกแอซิดลงในพอลิแล็กทิกแอซิดนั้น พบว่าไม่ส่งผลต่ออุณหภูมิเปลี่ยนคล้ายแก้ว และอุณหภูมิการหลอมเหลวผลึก แต่ส่งผลให้อุณหภูมิการเกิดผลึกเย็นเพิ่มขึ้น และยังส่งผลให้ปริมาณผลึกลดลงเหลือ จากงานวิจัยนี้พบว่าการเติมยางธรรมชาติ-กราฟต์-พอลิอะคริลิก เป็นการช่วยปรับปรุงความเหนียว และเสถียรภาพทางความร้อนให้กับพอลิแล็กทิกแอซิด


การเตรียมฟิล์มพอลิเมอร์จากยางธรรมชาติผสมแป้งมันฝรั่ง, นัทรี ฉัตรยาลักษณ์ Jan 2019

การเตรียมฟิล์มพอลิเมอร์จากยางธรรมชาติผสมแป้งมันฝรั่ง, นัทรี ฉัตรยาลักษณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ที่จะเตรียมแผ่นฟิล์มพอลิเมอร์ผสมจากยางธรรมชาติผสมแป้งมันฝรั่งที่อัตราส่วนต่างๆ กันตั้งแต่ 100/0, 90/10, 80/20, 70/30, 60/40 และ 50/50 โดยการทดลองสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน สำหรับ 2 ส่วนแรก จะเป็นแผ่นฟิล์มยางธรรมชาติผสมแป้งมันฝรั่งทั้งที่เติมและไม่เติมกลีเซอรอล โดยส่วนแรกเตรียมได้จากการผสมสารแขวนลอยของน้ำแป้งกับน้ำยางธรรมชาติโดยจะเรียกว่า latex mixing จากนั้นทำให้แห้งแล้วนำไปผสมกับสารเคมียางในเครื่องผสมแบบสองลูกกลิ้ง ในขณะที่ส่วนที่สองยางธรรมชาติจะถูกผสมกับแป้งมันฝรั่งในเครื่องผสมแบบปิด โดยจะเรียกว่า dry mixing จากนั้นนำไปผสมกับสารเคมียางในเครื่องผสมแบบสองลูกกลิ้งต่อไป และในส่วนที่สามจะเป็นการเติมสารคู่ควบไซเลน Si-69 แทนกลีเซอรอล จากนั้นทำการขึ้นรูปตัวอย่างแผ่นฟิล์มเพื่อนำไปทดสอบสมบัติทางกายภาพ เชิงกลและความร้อนด้วยแม่พิมพ์แบบกดอัดที่อุณหภูมิ 155 oC จากการตรวจสอบแผ่นฟิล์มด้วยตาเปล่าจะเห็นได้ว่า แผ่นฟิล์มยางธรรมชาติผสมแป้งมันฝรั่งที่เตรียมได้จากเทคนิกการผสมแบบ dry mixing เกิดการแยกเฟสระหว่างยางธรรมชาติและแป้งมันฝรั่งน้อยกว่าที่เตรียมได้จากเทคนิกการผสมแบบ latex mixing นอกจากนี้ยังพบว่าการเติมกลีเซอรอลช่วยลดการเกาะกลุ่มกันของแป้งมันฝรั่งได้ จากการทดสอบการบวมตัวในน้ำพบว่า การเติมแป้งมันฝรั่งทำให้แผ่นฟิล์มยางธรรมชาติผสมแป้งมันฝรั่งดูดซับน้ำได้และปริมาณการดูดซับน้ำเพิ่มขึ้นตามปริมาณแป้งที่เติม โดยที่อัตราส่วนยางธรรมชาติต่อแป้งมันฝรั่งเดียวกัน แผ่นฟิล์มยางธรรมชาติผสมแป้งมันฝรั่งที่เตรียมได้จากเทคนิกการผสมแบบ latex mixing มีการดูดซับน้ำได้สูงกว่าแผ่นฟิล์มยางธรรมชาติผสมแป้งมันฝรั่งเตรียมได้จากเทคนิกการผสมแบบ dry mixing และการดูดซับน้ำเพิ่มขึ้นเมื่อมีการเติมกลีเซอรอล เมื่อทำการทดสอบสมบัติเชิงกล พบว่าการเติมแป้งมันฝรั่งทำให้แผ่นฟิล์มมีสมบัติเชิงกลลดลง ยิ่งเติมมากก็ยิ่งลดลงมาก แผ่นฟิล์มยางธรรมชาติผสมแป้งมันฝรั่งที่เตรียมได้จากเทคนิกการผสมแบบ dry mixing มีความทนต่อแรงดึงและความต้านทานต่อการฉีกขาดสูงกว่าแผ่นฟิล์มยางธรรมชาติผสมแป้งมันฝรั่งที่เตรียมได้จากเทคนิกการผสมแบบ latex mixing แต่ให้ความแข็งที่ต่ำกว่า การเติมกลีเซอรอลช่วยเพิ่มความทนต่อแรงดึงและความต้านทานต่อการฉีกขาดแต่ลดความแข็งของแผ่นฟิล์ม สำหรับการสลายตัวทางความร้อนพบว่า การเติมแป้งมันฝรั่งลงในแผ่นฟิล์มยางธรรมชาติทั้งที่เติมและไม่เติม กลีเซอรอลจากเทคนิกการเตรียมทั้ง 2 แบบ ส่งผลให้ยางธรรมชาติซึ่งเป็นเฟสหลักมีแนวโน้มที่จะสลายตัวที่อุณหภูมิที่สูงขึ้น เมื่อเติมสารคู่ควบไซเลน Si-69 แทนการเติมกลีเซอรอล พบว่าแผ่นฟิล์มยางธรรมชาติผสมแป้งมันฝรั่งที่ได้มีความสามารถในการดูดซับน้ำและความทนต่อแรงดึงที่ดียิ่งขึ้น แต่ความต้านทานต่อการฉีกขาดกลับมีค่าต่ำที่สุด


การพัฒนาวิธีการตรวจวัดสารหน่วงการติดไฟโบรมิเนเทตในพอลิสไตรีนชนิดทนแรงกระแทกสูงด้วยวิธีเอ็กซ์เรย์ฟลูออเรสเซนซ์สเปกโทรเมตรี, พลวัต สิงหเสมานนท์ Jan 2019

การพัฒนาวิธีการตรวจวัดสารหน่วงการติดไฟโบรมิเนเทตในพอลิสไตรีนชนิดทนแรงกระแทกสูงด้วยวิธีเอ็กซ์เรย์ฟลูออเรสเซนซ์สเปกโทรเมตรี, พลวัต สิงหเสมานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาวิธีสำหรับการตรวจวัดสารหน่วงติดไฟที่มีธาตุโบรมีนเป็นองค์ประกอบในตัวอย่างพอลิสไตรีนชนิดทนแรงกระแทกสูง โดยใช้วิธีเอ็กซ์เรย์ฟลูออเรสเซนซ์สเปกโทรเมตรี (XRF) ปัญหาของการตรวจวัดด้วยวิธีนี้ต้องใช้วัสดุมาตรฐาน (Reference materials, RM) ที่เหมาะสมโดยต้องมีลักษณะ และองค์ประกอบที่มีความใกล้เคียงกับตัวอย่างมากที่สุด งานวิจัยนี้จึงศึกษาการเตรียมวัสดุมาตรฐานปฐมภูมิและทุติยภูมิซึ่งเป็นสารเติมแต่งที่ใช้ในการผลิตจริง ในช่วงความเข้มข้นของโบรมีน 1-13% โดยน้ำหนัก ซึ่งครอบคลุมช่วงความเข้มข้นที่ใช้ในการผลิตจริง โดยเตรียมวัสดุมาตรฐานด้วยเครื่องผสมพอลิเมอร์แบบไม่ต่อเนื่อง บดวัสดุมาตรฐานภายใต้ไนโตรเจนเหลว และอัดขึ้นรูปเป็นแผ่น จากนั้นนำไปสร้างกราฟมาตรฐาน และวิเคราะห์ด้วยวิธีเอ็กซ์เรย์ฟลูออเรสเซนซ์สเปกโทรเมตรี กราฟมาตรฐานที่ทั้งหมดมีความเป็นเส้นตรงดี (r2 > 0.995) ทดสอบความแม่น (Accuracy) และความเที่ยง (Precision) ของการทดสอบ โดยใช้สารอ้างอิงมาตรฐานภายใน (In-house reference materials) ที่มีความเข้มข้นของโบรมีน 10% โดยน้ำหนัก ค่าความแม่นรายงานด้วยค่าร้อยละการคืนกลับ (%Recovery) อยู่ในช่วง 98.6 - 104.1% และ ความผิดพลาดสัมพัทธ์ (Relative error) อยู่ในช่วง 0.44 – 4.15 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ความเที่ยงรายงานด้วยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพันธ์ (%RSD) อยู่ในช่วง 0.12 – 0.62 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ค่าขีดจำกัดต่ำสุดของการตรวจวัด (Limit of detection, LOD) อยู่ในช่วง 0.32 – 0.45 % โบรมีนโดยน้ำหนัก วัสดุมาตรฐานที่เตรียมขึ้นมีความเป็นเนื้อเดียวกันสูงทั้งภายในชุดผสม และระหว่างชุดผสม อีกทั้งยังมีความเสถียรสูง ไม่มีความแตกต่างของความเข้มของสัญญาณเอกซ์เรย์ที่วัดได้ตลอดระยะเวลา 6 เดือน วิธีที่พัฒนาขึ้นเป็นวิธีที่ไม่ทำลายตัวอย่าง สามารถวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ เตรียมตัวอย่างได้ง่าย สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับตัวอย่างจริง ทั้งงานควบคุมคุณภาพ และวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้


การกำจัดโมโนกลีเซอไรด์ชนิดอิ่มตัวในไบโอดีเซลด้วยการดูดซับและผลต่อสมบัติที่อุณหภูมิต่ำของน้ำมันไบโอดีเซลผสม, พีระภักดิ์ ศรีขวัญใจ Jan 2019

การกำจัดโมโนกลีเซอไรด์ชนิดอิ่มตัวในไบโอดีเซลด้วยการดูดซับและผลต่อสมบัติที่อุณหภูมิต่ำของน้ำมันไบโอดีเซลผสม, พีระภักดิ์ ศรีขวัญใจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โมโนกลีเซอไรด์ชนิดอิ่มตัว (Saturated monoglyceride; SMG) คือสาเหตุหลักของการเกิดตะกอนเหนือจุดขุ่นในไบโอดีเซล (B100) ซึ่งนำไปสู่ปัญหาการอุดตันไส้กรองในเครื่องยนต์ดีเซล ในงานวิจัยนี้ทำการศึกษาผลกระทบของ SMG ใน B100 ช่วงความเข้มข้น 0.0-0.7 wt% ที่มีต่อจุดขุ่นในไบโอดีเซลผสม B7, B10 และ B20 ที่ใช้น้ำมันดีเซลมาตรฐานยูโร4 และ ยูโร5 ที่มีความเข้มข้นของแอโรแมติกสูงและต่ำตามลำดับ พบว่า SMG มีผลต่อจุดขุ่นในไบโอดีเซลผสมมาตรฐานยูโร5 มากกว่า การเพิ่มความเข้มข้นของ SMG ที่ช่วงความเข้มข้นต่ำในไบโอดีเซลผสมจะทำให้ค่าจุดขุ่นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ การกำจัด SMG ใน B100 ด้วยการดูดซับโดยใช้ตัวดูดซับซีโอไลต์ธรรมชาติที่มีราคาถูกกว่าตัวดูดซับทางการค้า Magnesium silicate (MS) และ Silica gel พบว่าประสิทธิภาพการดูดซับของตัวดูดซับ MS ดีกว่าตัวดูดซับซีโอไลต์ธรรมชาติในการกำจัด SMG ใน B100 ที่อุณหภูมิ 45 oC เมื่อพัฒนาความจุในการดูดซับ SMG ของซีโอไลต์ธรรมชาติ NZ-325m โดยการบำบัดด้วยกรดไนตริก 1 M ที่อุณหภูมิ 60 oC เป็นเวลา 6 ชั่วโมง ทำให้พื้นที่ผิวจำเพาะของตัวดูดซับเพิ่มขึ้นเป็น 141.85 m2/g และยังเพิ่มปริมาณ SiO2 ที่วิเคราะห์จากเทคนิค X-ray fluorescence spectroscopy เนื่องจากผลกระทบจากการกำจัดอะลูมิเนียมในโครงสร้าง นอกจากนี้ยังพบว่าความจุการดูดซับ SMG มีค่าเท่ากับ 38.0 mgSMG/gads ในขณะที่สามารถลดปริมาณ SMG ใน B100 จาก 0.7 wt% เป็น 0.5 wt% เมื่อใช้ตัวดูดซับ 5 wt% ที่สภาวะการดูดซับ 45 oC เป็นเวลา 50 นาที ผลที่ตามมาหลังจากนำไปผสมเป็น B7 พบว่าจุดขุ่นลดลงอย่างมีนัยสำคัญ


Boundaries Of Overlapping Reuleaux Triangles, Jirapat Kaewkam Jan 2019

Boundaries Of Overlapping Reuleaux Triangles, Jirapat Kaewkam

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

where R1 and R2 are two congruent Reuleaux triangle such that Int(R1)∩Int(R2) ̸= ∅. Denote ∂Ri and Int(Ri) the boundary and the interior of Ri , respectively. We finish the proof when R2 is a translated copy R1 and we obtain some interesting results when R1 and R2 intersect in general position.


Binomial Characterizations Of Inner Product Spaces, Saranyachakri Roekrit Jan 2019

Binomial Characterizations Of Inner Product Spaces, Saranyachakri Roekrit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

We study the sufficient conditions for a normed space to be an inner product space. We found that some characterizations of inner product spaces are in a form [equation] satisfy some algebraic conditions. We then introduce some characterizations of inner product spaces relating to the binomial identity and conclude that a nomed linear space (X,II.II) is an inner product space if there exist positive integers k and m with 2m


Generalized Topologies Induced By Monotonic Maps And Hereditary Classes, Sahawat Wongkhunen Jan 2019

Generalized Topologies Induced By Monotonic Maps And Hereditary Classes, Sahawat Wongkhunen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

It is shown in [3] that every generalized topology can be extended to a new one by using hereditary classes, called a generalized topology via a hereditary class. Following [5], the continuity on generalized topological spaces via hereditary classes was studied. In this thesis, we introduce the notion of generalized topological spaces induced by monotonic maps and hereditary classes and provide some of their properties. Also, we define and study the continuity on generalized topological spaces induced by monotonic maps and hereditary classes in various situations. Finally, we study some properties and characterizations of generalized topological spaces induced by monotonic …


Aircraft Detection Using Single Shot Scale-Invariant Face Detector With Viridis Saliency Map From Remote Sensing Image, Teepakorn Lilek Jan 2019

Aircraft Detection Using Single Shot Scale-Invariant Face Detector With Viridis Saliency Map From Remote Sensing Image, Teepakorn Lilek

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Aircraft detection from remote sensing images is a useful task and essential in many fields; for example, in the military, aircraft detection systems are used to search and inspect an enemy aircraft from remote sensing images. Nowadays, aircraft detection from remote sensing images has gained increasing research attention because this task is very challenging. This task is difficult due to many occurred problems in remote sensing images, such as a shadow, a complicated background, and various aircraft scales. In this research, we create a Viridis saliency map using many techniques from image processing such as color mapping, morphological image processing, …