Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Physical Sciences and Mathematics Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2019

Discipline
Institution
Keyword
Publication
Publication Type
File Type

Articles 14611 - 14640 of 15927

Full-Text Articles in Physical Sciences and Mathematics

Spectra Of Unitary Cayley Graphs Of Matrices Over Finite Commutative Rings, Jitsupat Rattanakangwanwong Jan 2019

Spectra Of Unitary Cayley Graphs Of Matrices Over Finite Commutative Rings, Jitsupat Rattanakangwanwong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

For a finite ring R with identity, the unitary Cayley graph of R, CR, is the graph with vertex set R and for each x, y ∈ R, x and y are adjacent if and only if x − y is a unit of R. In this thesis, we determine some eigenvalues of CMn(F) , where F is a finite field, by using the additive characters and use these eigenvalues to analyze strong regularity, hyperenergetic graphs and Ramanujan graphs. Next, we extend the results to CMn(R) , where R is a local ring. We characterize all local rings R and …


Covers For Leo Moser's Worm Problem, Thitipong Kanchai Jan 2019

Covers For Leo Moser's Worm Problem, Thitipong Kanchai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Leo Moser’s worm problem was posted in 1966 stating that “What is the region of the smallest area that can cover every unit are?”. In 2018, N. Ploymaklam and W. Wichiramala illustrated a new cover, which is currently smallest. Their cover was adapted from the cover of R. Norwood and G. Poole. In this work, we modify the region from the work of R. Norwood and G. Poole and the work of N. Ploymaklam and W. Wichiramala. Our regions are modified by changing their upper boundary. However, the regions remain satisfying properties in the work of R. Norwood and G. …


Classification Of Aircraft With Shadow Using Keypoint Descriptor From Remote Sensing Images, Natnicha Meeboonmak Jan 2019

Classification Of Aircraft With Shadow Using Keypoint Descriptor From Remote Sensing Images, Natnicha Meeboonmak

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Presently, aircraft classification from remote sensing images is widely used in military and civilian. However, aircraft type classification is still challenging to discriminate. The reason is that the aircraft displayed in the image has different in color, shape, size, and orientation. Moreover, there is the shadow appeared over and behind the aircraft that obscures some details of aircraft. Therefore, this work proposes the classification of aircraft with shadow method. This method modifies the deeply supervised salient object detection with short connections to make the aircraft be outstanding from the shadow and other objects in the background and then segment it. …


Development Of Facial Expression Detection Model For Stroke Patients, Rawinan Praditsangthong Jan 2019

Development Of Facial Expression Detection Model For Stroke Patients, Rawinan Praditsangthong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

A stroke patient should be cared and treated closely since the patient cannot speak, communicate, and move the body when needed. In addition, the number of stroke patients is increasing in Thailand and around the world. Unfortunately, the number of medical staffs does not vary by the number of stroke patient. Thus, the aim of this research is to develop a facial expression detection model for stroke patients during their treatments. This research proposes the facial expression detection model for stroke patients from facial features, such as Interpalpebral Fissure (IPF), Palpebral Fissure Length (PFL), Palpebral Fissure Region (PFR), Inner Brow …


Normalized Hodge Laplacian Matrix And Its Spectrum, Nalinpat Ponoi Jan 2019

Normalized Hodge Laplacian Matrix And Its Spectrum, Nalinpat Ponoi

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


Polyvinyl Alcohol/Starch Modified Cotton Thread For Glucose Distance-Based Colorimetric Detection, Pornchanok Punnoy Jan 2019

Polyvinyl Alcohol/Starch Modified Cotton Thread For Glucose Distance-Based Colorimetric Detection, Pornchanok Punnoy

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this thesis, polyvinyl alcohol (PVA) and starch modified cotton thread was developed as a cotton thread-based device for distance-based colorimetric detection of hydrogen peroxide (H2O2) and glucose. PVA and starch, the biocompatible polymers, were modified on a cotton thread to enhance the enzymatic stability and reagent immobilization efficiency. The colorimetric glucose detection of the device was based on a bienzymatic reaction involving glucose oxidase (GOx) and horseradish peroxidase (HRP), incorporated with potassium iodide (KI) as an indicator, which was oxidized by H2O2 to provide blue-black color band of an iodine–starch complex. The length of color band on the cotton …


Effects Of Synthetic Glyceryl Ester Additives On Cold Flow Properties Of Diesel Oil, Ruchapong Kaweewut Jan 2019

Effects Of Synthetic Glyceryl Ester Additives On Cold Flow Properties Of Diesel Oil, Ruchapong Kaweewut

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The synthesis of solketal derivatives with some selected fatty acid (stearic acid, palmitic acid, lauric acid, myristic acid, oleic acid and linolenic acid) to glyceryl esters was conducted. All compounds were characterized by spectroscopic means. Cold flow properties of diesel oil with these glyceryl ester additives were studied in terms of pour point (PP). Glyceryl laurate was the most effective pour point decreasing at 1,000 mg/kg (DPP = 3°C). However, the blended diesel of 1,000 mg/kg glyceryl laurate could not commercialize finishing product because that was hazy diesel at room temperature. The combination of glyceryl laurate and commercial additive was …


Continuous Flow Selective Hydrogenation Of 5-Hydroxymethylfurfural To 2.5-Dimethylfuran Using Pd-Cu/Reduced Graphene Oxde Catalysts, Sareena Mhadmhan Jan 2019

Continuous Flow Selective Hydrogenation Of 5-Hydroxymethylfurfural To 2.5-Dimethylfuran Using Pd-Cu/Reduced Graphene Oxde Catalysts, Sareena Mhadmhan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

2,5-Dimethylfuran (DMF) has been considered a promising biofuel, potentially derived from biomass. There have been various reports on DMF production from hydrogenation of 5-hydroxymethylfurfural (HMF). However, most reports employed high hydrogen pressure, long reaction times, and reactions under batch reactor. In this study, Pd-Cu bimetallic catalysts incorporated on reduced graphene oxide (RGO) were used for hydrogenation of HMF to DMF using 2-propanol as hydrogen donor under continuous flow system. Synthesized catalysts were characterized by N2 physisorption, scanning electron microscopy-energy dispersive X-ray spectroscopy (SEM-EDX), X-ray diffraction (XRD), X-ray photoelectron spectroscopy (XPS), transmission electron microscopy (TEM), and temperature programmed reduction of hydrogen …


Magnetic Nanoparticles Stabilized By Phosphorylcholine-Containing Polymer For Antibody Free C-Reactive Protein Detection, Suttawan Saipia Jan 2019

Magnetic Nanoparticles Stabilized By Phosphorylcholine-Containing Polymer For Antibody Free C-Reactive Protein Detection, Suttawan Saipia

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aims to develop a simple, yet effective assay for C-reactive protein (CRP) detection based on a combination of magnetic separation and antibody-free colorimetric assay. Magnetic nanoparticles stabilized with phosphorylcholine-containing polymer, poly[methacrylic acid)-ran-(methacryloyloxyethyl phosphorylcholine)] (PMAMPC-MNPs) were prepared by co-precipitation of ferric and ferrous salts in the presence of PMAMPC. Carboxyl groups in the methacrylic acid (MA) repeat units chelate with Fe atoms during MNPs formation while the methacryloyloxyethyl phosphorylcholine (MPC) repeat units provide specifically binding sites and conjugate with CRP in presence of Ca2+. The PMAMPC-MNPs were characterized by ATR-FTIR, TEM, DLS, TGA and XRD. To determine the CRP …


Ads₄/Cft₃ Holography From Four-Dimensional Gauged Supergravity, Khem Upathambhakul Jan 2019

Ads₄/Cft₃ Holography From Four-Dimensional Gauged Supergravity, Khem Upathambhakul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

We study holographic RG flows from N = 3 and N = 4 gauged supergravities in four dimensions. The scalar manifold of N = 3 gauged supergravity is in the form of the coset space G/H = SU(3, n)/SU(3) × SU(n) × U(1). Possible gauge groups, in this study, are given by SO(3) × SO(3), SO(3, 1), SO(2, 2), SO(2, 1) × SO(2, 2), and SL(3, R). We then study N = 4 gauged supergravity from type II compactification on T⁶/Z₂ × Z₂ with non-semisimple gaugings. The scalar manifold of N = 4 gauged supergravity is in the form of …


Effects Of Magnesium Substitution On Electronic Properties Of Calcium Difluoride, Natthasart Chintananon Jan 2019

Effects Of Magnesium Substitution On Electronic Properties Of Calcium Difluoride, Natthasart Chintananon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

We use density functional theory to find the phase transitions of CaF2. The results show that CaF2 adopts the fluorite structure, with the space group Fm-3m, in the range 0f 0-8 GPa and transforms into the cotunnite structure, with the space group Pnma, above 8 GPa. The electronic band structure of the Pnma-CaF2 structure expresses an insulating phase, and the bandgap collapses under pressure above 70 GPa. In this work, we proposed a new decoration of Ca/Mg-substituted fluorides MgxCa1-xF2, using the cluster expansion technique which is commonly used to study alloys. We found that the Mg0.25Ca0.75F2, with a Pm structure, …


Structural Phase Transitions And Electronic Properties Of Li2o2 And Na2o2 Under High Pressure For Co2 Capture Application, Pornmongkol Jimlim Jan 2019

Structural Phase Transitions And Electronic Properties Of Li2o2 And Na2o2 Under High Pressure For Co2 Capture Application, Pornmongkol Jimlim

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Since pressure induces exotic chemical and physical properties of materials, investigation of the high-pressure effect on structural phase transition and the related properties is paramount. Structural phase transitions and electronic properties of Li2O2 and Na2O2 under high pressure were investigated using first-principles calculations based on the density functional theory. Structural phase transitions of Li2O2 up to 500 GPa were predicted at ~75 GPa from the P63/mmc to the P21 structures and at ~136 GPa from the P21 to the P21/c structures. The calculated band gaps of all phases increase with elevated pressure. At 11 and 40 GPa, the band gaps …


Charged Fermion In Two-Dimensional Wormhole With Axial Magnetic Field, Trithos Rojjanason Jan 2019

Charged Fermion In Two-Dimensional Wormhole With Axial Magnetic Field, Trithos Rojjanason

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

We investigate the effects of magnetic field on a charged fermion in a (1+2)-dimensional wormhole. Applying external magnetic field along the axis direction of the wormhole, the Dirac equation is set up and analytically solved in two scenarios, constant magnetic flux and constant magnetic field through the throat of the wormhole. For the constant magnetic flux scenario, the system can be solved analytically and exact solutions are found. For the constant magnetic field scenario, with the short wormhole approximation, the quantized energies and eigenstates are obtained. The system exhibits both the spin-orbit coupling and the Landau quantization for the stationary …


Structural Deviation Of Hydrogenated Graphene And Multi-Layer Graphene Under High Pressure, Teerachote Pakornchote Jan 2019

Structural Deviation Of Hydrogenated Graphene And Multi-Layer Graphene Under High Pressure, Teerachote Pakornchote

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Graphene, a layer of graphite, has marvelous properties that can enhance the performance of its composite materials. To broaden the capability of its applications, the adatoms are introduced onto graphene to create such distinguish property. Hydrogenated graphene is a hydrogen deposition on graphene forming sp3-hybridization between carbon and hydrogen atoms and deviating the structure of graphene. Partial hydrogenation induces the energy gap and the magnetization of graphene which opens the door to many applications, e.g. semiconducting and spintronic devices. The properties of hydrogenated graphene can be tuned by either plasma bombarding or thermal annealing to raise or reduce, respectively, the …


การออกแบบกระบวนการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์หลังการเผาไหม้ของโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมจากแก๊สธรรมชาติโดยใช้ K2co3/Γ-Al2o3, กนกพล โรจนกิจ Jan 2019

การออกแบบกระบวนการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์หลังการเผาไหม้ของโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมจากแก๊สธรรมชาติโดยใช้ K2co3/Γ-Al2o3, กนกพล โรจนกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันโลกเผชิญกับภาวะโลกร้อน ทำให้การดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ก่อนที่แก๊สร้อนจะถูกปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศเป็นสิ่งที่จำเป็น ในงานวิจัยที่ผ่านมาได้มีการศึกษากระบวนการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยตัวดูดซับของแข็งแทนที่กระบวนการดูดซึมด้วยสารละลายเอมีน และศึกษาความเป็นไปได้ทางพลังงาน ในขณะที่ความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ยังไม่เป็นที่สนใจ ในการวิจัยนี้จะทำการศึกษาความเป็นไปได้ทางพลังงานและเศรษฐศาสตร์ของแบบจำลองกระบวนการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์หลังกระบวนการเผาไหม้ด้วยตัวดูดซับของแข็งที่ถูกจำลองด้วย Aspen Plus V.11.0 ที่ใช้ข้อมูลจากการทดลองของตัวดูดซับ K2CO3/ γ-Al2O3 ที่ปรับปรุงด้วยสารละลายเอมีน 3 ชนิด MEA, MDEA และ AMP จากการศึกษาพบว่าตัวดูดซับ K2CO3/γ-Al2O3 ที่ผ่านกระบวนการปรับปรุงสารละลายเอมีนมีความสามารถในการดูดซับสูงขึ้นกว่าเดิม โดยตัวดูดซับ K2CO3/γ-Al2O3 ที่ผ่านกระบวนการปรับปรุงด้วยสารละลายเอมีน ชนิด MDEA สามารถดักจับคาร์บอนไดออกไซด์มีปริมาณมากที่สุด โดยความสามารถในการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น ร้อยละ 28.81 จากนั้นนำข้อมูลจากการทดลองมาใช้ในแบบจำลองโรงไฟฟ้าที่มีระบบดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ พบว่าแบบจำลองกระบวนการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยตัวดูดซับของแข็งสามารถดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ร้อยละ 91.43 โดยมีประสิทธิภาพเอ็กเซอร์จีร้อยละ 29.24 และมีอัตราการคืนทุนที่ร้อยละ 6.55 ซึ่งดีกว่ากระบวนการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยสารละลายเอมีนชนิด MEA ที่มีประสิทธิภาพเอ็กเซอร์จีร้อยละ 28.27 และอัตราการคืนทุนที่ร้อยละ 3.98


สหสัมพันธ์สำหรับทำนายความเร็วต่ำสุดในการเกิดฟลูอิไดเซชันของอนุภาคที่มีการกระจายขนาดต่างกัน, กฤติน ก่อเกิด Jan 2019

สหสัมพันธ์สำหรับทำนายความเร็วต่ำสุดในการเกิดฟลูอิไดเซชันของอนุภาคที่มีการกระจายขนาดต่างกัน, กฤติน ก่อเกิด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การกระจายขนาดของอนุภาคเป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่ออุทกพลศาสตร์ภายในเครื่องปฏิกรณ์ฟลูอิไดซ์เบด งานวิจัยนี้ ศึกษาผลของการกระจายขนาดของอนุภาค และ ผลของสภาวะดำเนินการ ที่มีต่อความเร็วต่ำสุดในการเกิดฟลูอิไดเซชัน โดยศึกษาทรายที่มีขนาดอนุภาคเฉลี่ยแตกต่างกัน 3 ขนาด รูปแบบการกระจายขนาดของอนุภาคแตกต่างกัน 5 รูปแบบ ปริมาณของอนุภาคของแข็งในช่วง 1 ถึง 3 กิโลกรัม และ อุณหภูมิของอนุภาคของแข็งในช่วง 30 ถึง 120 องศาเซลเซียส ผลที่ได้พบว่า ความเร็วต่ำสุดในการเกิดฟลูอิไดเซชันสำหรับอนุภาคของแข็งที่มีรูปแบบการกระจายขนาดกว้าง มีค่าต่ำกว่าความเร็วต่ำสุดในการเกิดฟลูอิไดเซชันสำหรับอนุภาคของแข็งที่มีรูปแบบการกระจายขนาดแคบ เนื่องจากการใส่อนุภาคขนาดเล็กลงไปในระบบมากขึ้นจะช่วยให้พฤติกรรมที่เกิดขึ้นภายในเครื่องปฏิกรณ์ฟลูอิไดซ์เบดดีขึ้น โดยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์ความเบ้ของรูปแบบการกระจายขนาดของอนุภาคส่งผลต่อความเร็วต่ำสุดในการเกิดฟลูอิไดเซชันเช่นกัน ความเร็วต่ำสุดในการเกิดฟลูอิไดเซชันมีค่าต่ำลงเมื่ออุณหภูมิของอนุภาคของแข็งสูงขึ้น ขณะที่ความเร็วต่ำสุดในการเกิดฟลูอิไดเซชันจะมีค่าสูงขึ้นเมื่อขนาดอนุภาคของแข็งเฉลี่ย และปริมาณอนุภาคของแข็งเริ่มต้นเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การสร้างสหสัมพันธ์โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยไม่เชิงเส้นแบบพหุโดยใช้ข้อมูลจากการทดลอง และการใช้โครงข่ายประสาทเทียม สามารถใช้ในการทำนายค่าความเร็วต่ำสุดในการเกิดฟลูอิไดเซชันได้ทั้งสองวิธี เนื่องจากให้ค่าความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ยที่ใกล้เคียงกัน


ผลของชาร์จากชีวมวลต่อการผลิตน้ำมันดิบชีวภาพโดยไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชัน, กัปตัน สมบูรณชนะชัย Jan 2019

ผลของชาร์จากชีวมวลต่อการผลิตน้ำมันดิบชีวภาพโดยไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชัน, กัปตัน สมบูรณชนะชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลทำให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเกิดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมาก พลังงานจากชีวมวลเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่จะช่วยลดปัญหาข้างต้นกระบวนการไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชันเป็นกระบวนการแปลงสภาพชีวมวลเป็นเชื้อเพลิงเหลวที่น่าสนใจ กระบวนการนี้ให้ร้อยละผลได้น้ำมันดิบชีวภาพที่สูงกว่ากระบวนการไพโรไลซิส การใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาร่วมในกระบวนการไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชันสามารถปรับปรุงคุณภาพน้ำมันดิบชีวภาพและผลได้ของน้ำมันดิบชีวภาพได้ ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงสนใจศึกษาการนำชาร์จากชีวมวลมาใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา การทดลองดำเนินการในเครื่องปฏิกรณ์ความดันสูงแบบกะที่อุณหภูมิ 300-350 องศาเซลเซียส ที่ความดันเริ่มต้น 2 เมกะพาสคัล โดยใช้เวลาในการทำปฏิกิริยา 60 นาที จากผลทดลองพบว่าเมื่อใช้ชาร์ชานอ้อย และ ถ่านกัมมันต์ ให้ร้อยละผลได้น้ำมันดิบชีวภาพเพิ่มขึ้น เนื่องจากชาร์ชานอ้อย และ ถ่านกัมมันต์ มีผลในการเร่งปฏิกิริยาการแตกตัวของชีวมวล และจากผลของอุณหภูมิในการทำปฏิกิริยาที่อุณหภูมิ 300 และ 350 องศาเซลเซียส พบว่าเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นผลได้น้ำมันดิบชีวภาพจะลดลงและผลิตภัณฑ์ที่เป็นแก๊สเพิ่มขึ้น จากการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันดิบชีวภาพด้วยเทคนิค GC / MS พบว่าองค์ประกอบของคีโตนเพิ่มขึ้น ในขณะที่สารประกอบไฮโดรคาร์บอนลดลง แสดงให้เห็นว่า ชาร์ช่วยส่งเสริมปฏิกิริยาการสลายตัวของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน นอกจากนี้ยังมีการศึกษาผลของการเติมโพแทสเซียมบนชาร์ชานอ้อย ชาร์กะลามะพร้าว และ ถ่านกัมมันต์ พบว่าโพแทสเซียมบนชาร์ทุกชนิดส่งผลให้ร้อยละผลได้น้ำมันดิบชีวภาพเพิ่มสูงขึ้น


การผลิตไฮโดรเจนพร้อมกับการสลายสารอินทรีย์จากน้ำเสียของการผลิตไบโอดีเซลโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงกึ่งตัวนำแบบคู่ควบ, ณภัทร ชื่นอังกูร Jan 2019

การผลิตไฮโดรเจนพร้อมกับการสลายสารอินทรีย์จากน้ำเสียของการผลิตไบโอดีเซลโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงกึ่งตัวนำแบบคู่ควบ, ณภัทร ชื่นอังกูร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษากัมมันตภาพในการผลิตไฮโดรเจนพร้อมกับการสลายสารอินทรีย์จากน้ำเสียของการผลิตไบโอดีเซลโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงกึ่งตัวนำแบบคู่ควบ ตัวแปรที่ศึกษา คือ ชนิดและปริมาณของตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงกึ่งตัวนำแบบคู่ควบ (Bi₂O₃ Nb₂O₅ และ WO₃) และความเข้มข้นของ H₂O₂ (0.1 - 0.7 โมลต่อลิตร) พบว่าตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงกึ่งตัวนำแบบคู่ควบ Bi₂O₃/TiO₂ ที่ร้อยละ 5 โดยโมล สามารถผลิตไฮโดรเจนได้มากที่สุด (948 ไมโครโมลต่อชั่วโมง) ในขณะที่ตัวเร่งปฏิกิริยา WO₃/TiO₂ ที่ร้อยละ 5 โดยโมล สามารถลดค่าซีโอดีในน้ำเสียได้มากที่สุด (ร้อยละ 29.1) เมื่อใช้น้ำเสียที่ผ่านการเจือจาง 3.3 เท่า ปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสง 4 กรัมต่อลิตร ความเข้มแสง 5.93 มิลลิวัตต์ต่อตารางเซนติเมตร ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส (อุณหภูมิห้อง) เป็นเวลา 4 ชั่วโมง และพบว่าการใช้ H₂O₂ ร่วมกับตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงกึ่งตัวนำแบบคู่ควบทำให้สามารถผลิตไฮโดรเจนพร้อมกับการสลายสารอินทรีย์ได้มากขึ้น โดยการใช้ H₂O₂ เข้มข้น 0.3 โมลต่อลิตร ร่วมกับตัวเร่งปฏิริยา Bi₂O₃/TiO₂ ที่ร้อยละ 5 โดยโมล สามารถผลิตไฮโดรเจนได้ 6,316 ไมโครโมลต่อชั่วโมง ลดซีโอดีได้ร้อยละ 28.7 ลดน้ำมันและไขมันได้ร้อยละ 20.0 และสีของน้ำเสียที่ผ่านกระบวนการมีความเข้มเพียง 15 หน่วยแพลทินัม-โคบอลต์


การดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์โดยใช้โพแทสเซียมคาร์บอเนตบนตัวรองรับแกมมาอะลูมินาและการฟื้นฟูสภาพตัวดูดซับของแข็งในเครื่องปฏิกรณ์ฟลูอิไดซ์เบด, ชาติยา ตรีพูนสุข Jan 2019

การดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์โดยใช้โพแทสเซียมคาร์บอเนตบนตัวรองรับแกมมาอะลูมินาและการฟื้นฟูสภาพตัวดูดซับของแข็งในเครื่องปฏิกรณ์ฟลูอิไดซ์เบด, ชาติยา ตรีพูนสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันโลกต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรง เนื่องจากการปล่อยแก๊สเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศสูงขึ้น โดยเฉพาะแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ดังนั้นเทคโนโลยีการดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จึงมีความสำคัญในการลดปริมาณการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งการใช้ตัวดูดซับของแข็งในการดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นทางเลือกหนึ่งที่มีความเหมาะสม ในงานวิจัยนี้ทำการศึกษาผลกระทบของตัวแปรดำเนินการต่าง ๆ ในการฟื้นฟูสภาพตัวดูดซับของแข็งโพแทสเซียมคาร์บอเนตบนตัวรองรับแกมมาอะลูมินาในเครื่องปฏิกรณ์ฟลูอิไดซ์เบด เพื่อหาภาวะที่เหมาะสมและสร้างจลนพลศาสตร์ของการฟื้นฟูสภาพ โดยตัวแปรดำเนินการที่ทำการศึกษาได้แก่ ขนาดอนุภาค 90 109 และ 124 ไมโครเมตร อุณหภูมิที่ใช้ในการฟื้นฟูสภาพ 100 200 และ 300 องศาเซลเซียส และความดันเริ่มต้นที่ใช้ในการฟื้นฟูสภาพ 0.35 0.61 และ 0.88 บาร์ ผลที่ได้พบว่า ขนาดอนุภาคไม่ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการฟื้นฟูสภาพตัวดูดซับของแข็งในภาวะดำเนินการที่อุณหภูมิการฟื้นฟูสภาพสูงและความดันเริ่มต้นในการฟื้นฟูสภาพต่ำ อุณหภูมิที่ใช้ในการฟื้นฟูสภาพมีผลเชิงบวกต่อการฟื้นฟูสภาพตัวดูดซับของแข็ง เมื่ออุณหภูมิที่ใช้ในการฟื้นฟูสภาพเพิ่มขึ้น ความสามารถในการฟื้นฟูสภาพของตัวดูดซับสูงขึ้น ส่วนความดันเริ่มต้นที่ใช้ในการฟื้นฟูสภาพมีผลเชิงลบต่อการฟื้นฟูสภาพตัวดูดซับของแข็ง นั่นคือเมื่อความดันเริ่มต้นที่ใช้ในการฟื้นฟูสภาพมีต่ำ ความสามารถในการฟื้นฟูสภาพของตัวดูดซับสูงขึ้น ดังนั้น ภาวะที่เหมาะสมในการฟื้นฟูสภาพสำหรับตัวดูดซับของแข็งชนิดนี้ อุณหภูมิที่ใช้ในการฟื้นฟูสภาพเท่ากับ 300 องศาเซลเซียส และความดันเริ่มต้นเท่ากับ 0.35 บาร์ แบบจำลองปฏิกิริยาที่เหมาะสมสำหรับใช้อธิบายจลนพลศาสตร์ของการฟื้นฟูสภาพตัวดูดซับของแข็งคือแบบจำลองปฏิกิริยาอันดับสองเทียม


การเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยา Nicos สำหรับแบตเตอรี่สังกะสี-อากาศที่ประจุไฟฟ้าได้, ณัฐสิทธิ์ ตั้งเอี่ยมสกุล Jan 2019

การเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยา Nicos สำหรับแบตเตอรี่สังกะสี-อากาศที่ประจุไฟฟ้าได้, ณัฐสิทธิ์ ตั้งเอี่ยมสกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การสังเคราะห์นิกเกิลโคบอลต์ซัลไฟด์ (NiCoS) บนตัวรองรับคาร์บอนที่สังเคราะห์ด้วยวิธี ไฮโดรเทอร์มอลและโซลโวเทอร์มอล เพื่อใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาสองหน้าที่สำหรับปฏิกิริยาออกซิเจน รีดักชัน (oxygen reduction, ORR) และออกซิเจนอีโวลูชัน (oxygen evolution, OER) เพื่อใช้ งานกับแบตเตอรี่สังกะสี-อากาศขั้นทุติยภูมิ จากการทดลองพบว่าการสังเคราะห์ตัวเร่งปฏิกิริยา นิกเกิลโคบอลต์ซัลไฟด์บนตัวรองรับคาร์บอน (NiCo₂S₄/CB) โดยใช้ตัวทำละลายเป็นเอทิลีนไกลคอลมีประสิทธิภาพในการเร่งปฏิกิริยาออกซิเจนรีดัชันและออกซิเจนอีโวลูชันได้ดีกว่าสังเคราะห์ ด้วยตัวทำละลายน้ำ นอกจากนี้ยังศึกษาผลของตัวรองรับคาร์บอน (CB) ตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิล โคบอลต์ซัลไฟด์ที่มีตัวรองรับคาร์บอน (NiCo₂S₄/CB) ให้ประสิทธิภาพดีกว่าที่ไม่มีตัวรองรับ คาร์บอน และยังสังเคราะห์ตัวเร่งปฏิกิริยาด้วยอัตราส่วน นิกเกิล/โคบอลต์ อื่น ๆ พบว่า นิกเกิล โคบอลต์ซัลไฟด์บนตัวรองรับคาร์บอน (NiCo₂S₄/CB) มีประสิทธิภาพในการเร่งปฏิกิริยาสูงที่สุด ยัง สูงกว่าตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิลโคบอลต์ออกไซด์บนตัวรองรับคาร์บอน (NiCo₂O₄/CB) ที่นิยมใช้งาน ในปัจจุบัน เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับตัวเร่งปฏิกิริยาแพลทินัมบนตัวรองรับคาร์บอนเชิงพาณิชย์ (Pt/C) แม้ว่านิกเกิลโคบอตล์ซัลไฟต์บนตัวรองรับคาร์บอน (NiCo₂S₄/CB) จะยังมีความสามารถใน การเร่งปฏิกิริยาออกซิเจนรีดักชันด้อยกว่า แต่สำหรับปฏิกิริยาออกซิเจนอีโวลูชัน นิกเกิลโคบอตล์ซัลไฟต์บนตัวรองรับคาร์บอนมีประสิทธิภาพในการเร่งปฏิกิริยาสูงกว่าแพลทินัมบนตัวรองรับ คาร์บอนเชิงพาณิชย์ (Pt/C) มาก ในส่วนของการทดสอบประสิทธิภาพของแบตเตอรี่สังกะสี-อากาศ พบว่าแบตเตอรี่สังกะสี-อากาศ ที่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาแพลทินัมบนตัวรองรับคาร์บอนเชิงพาณิชย์ (Pt/C) ให้ศักย์ไฟฟ้าและความหนาแน่นพลังงานสูงกว่าแบตเตอรี่สังกะสี-อากาศที่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา นิกเกิลโคบอลต์ซัลไฟด์บนตัวรองรับคาร์บอน (NiCo₂S₄/CB) แต่เสถียรภาพและการนำกลับมาใช้ งานซ้ำ มีจำนวนรอบที่ต่ำกว่า


มีเทนเนชันของคาร์บอนไดออกไซด์โดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาฐานนิกเกิลบนตัวรองรับอะลูมินาเตรียมโดยแม่แบบไคโตซาน, ณัฐฐินันท์ แพงจีน Jan 2019

มีเทนเนชันของคาร์บอนไดออกไซด์โดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาฐานนิกเกิลบนตัวรองรับอะลูมินาเตรียมโดยแม่แบบไคโตซาน, ณัฐฐินันท์ แพงจีน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปฏิกิริยามีเทนเนชันของคาร์บอนไดออกไซด์เป็นหนึ่งวิธีการเปลี่ยนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ไปเป็นแก๊สมีเทนภายใต้ภาวะบรรยากาศ แต่ข้อจำกัดด้านการเลือกเกิดมีเทนที่อุณหภูมิต่ำจึงได้พัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น งานวิจัยนี้ใช้ไคโตซานเพื่อเป็นแม่แบบสำหรับการสังเคราะห์ตัวรองรับอะลูมินาด้วยวิธีโซล-เจลซึ่งจะเป็นตัวรองรับให้แก่ตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิล และวิเคราะห์คุณลักษณะเฉพาะของตัวเร่งปฏิกิริยาด้วยเทคนิค XRD, TGA, N2 physisorption, CHN analysis, H2-TPR และ NH3-TPD พบว่าตัวเร่งปฏิกิริยาที่เตรียมได้มีพื้นที่ผิวจำเพาะสูงและมีความสามารถการถูกรีดิวซ์ที่อุณหภูมิต่ำ จากนั้นศึกษาความสามารถการเกิดปฏิกิริยาโดยรายงานผลในรูปของร้อยละการเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์และร้อยละการเลือกเกิดมีเทน เมื่อโหลดนิกเกิลที่ร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก บนตัวรองรับอะลูมินาที่เตรียมในสารละลายทั้งสองที่ความเข้มข้น 7 โมลาร์ พบว่าการเตรียมในสารละลายแอมโมเนียมไฮดรอกไซด์มีความว่องไวต่อการเกิดปฏิกิริยามากกว่า เมื่อเปลี่ยนระดับการโหลดนิกเกิลจากร้อยละ 0 ถึง 14 โดยน้ำหนัก บนตัวรองรับอะลูมินาที่เตรียมในสารละลายแอมโมเนียมไฮดรอกไซด์ความเข้มข้น 7 โมลาร์ พบว่าตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิลที่ร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก แสดงความสามารถการเกิดปฏิกิริยาสูงกว่าชนิดอื่น โดยให้ร้อยละการเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์และร้อยละการเลือกเกิดมีเทน 69.5 และ 97.4 อุณหภูมิ 350 องศาเซลเซียส ตามลำดับ ผลการเตรียมตัวรองรับอะลูมินาในสารละลายแอมโมเนียมไฮดรอกไซด์ที่ความเข้มข้น 3 5 และ 7 โมลาร์ เมื่อโหลดนิกเกิลที่ร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก การเตรียมที่ 3 โมลาร์ แสดงความสามารถการเกิดปฏิกิริยาสูงกว่าเนื่องจากมีพื้นที่จำเพาะสูงกว่า การเติมตัวสนับสนุนซีเรียมออกไซด์ร้อยละ 10 โดยน้ำหนักช่วยกระตุ้นให้ค่าการเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์และค่าการเลือกเกิดมีเทนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 86.7 และ 99.5 ที่อุณหภูมิ 325 องศาเซลเซียส ตามลำดับ โดยมีเสถียรภาพตลอดช่วงการทดลอง 24 ชั่วโมง


การขจัดกำมะถันและไนโตรเจนแบบดูดซับของน้ำมันดีเซลโดยใช้ซีโอไลต์วายแบบแลกเปลี่ยนไอออนในระบบสองขั้นตอน, บวรชัย เจริญธีรบูรณ์ Jan 2019

การขจัดกำมะถันและไนโตรเจนแบบดูดซับของน้ำมันดีเซลโดยใช้ซีโอไลต์วายแบบแลกเปลี่ยนไอออนในระบบสองขั้นตอน, บวรชัย เจริญธีรบูรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบัน หลายประเทศให้ความสำคัญเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมด้านมลพิษทางอากาศเพิ่มมากขึ้น และหนึ่งในปัญหาสำคัญด้านมลพิษทางอากาศ คือ สารประกอบกำมะถันและสารประกอบไนโตรเจนที่เกิดจากการเผาไหม้น้ำมันดีเซลและเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องควบคุมอย่างเข้มงวด การดูดซับเป็นหนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพในการลดระดับของสารประกอบกำมะถันและสารประกอบไนโตรเจนในน้ำมันดีเซล ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นไปที่ประสิทธิภาพการดูดซับของวายซีโอไลท์ที่แลกเปลี่ยนไอออนด้วยโลหะหลายชนิด เช่น Na-Y, Ni-Y, Cu-Y, Co-Y, La-Y, Ce-Y และ Fe-Y ที่มีผลต่อการขจัดสารประกอบกำมะถัน และการขจัดสารประกอบกอบไนโตรเจน ใช้ระบบขั้นตอนเดียวและระบบสองขั้นตอน ภายใต้ภาวะแวดล้อมในระบบคอลัมน์แบบระบบขั้นตอนเดียวโดยซีโอไลต์ La-Y มีประสิทธิภาพการดูดซับสารประกอบไนโตรเจนที่ดีที่สุดในน้ำมันจำลองที่ 4 และ ซีโอไลต์ Na-Y มีความสามารถในการดูดซับสารประกอบกำมะถันสูงที่สุดในน้ำมันจำลองที่ 1 และสำหรับระบบสองขั้นตอน ในขั้นตอนแรกจะบรรจุ La-Y ซีโอไลต์ สำหรับการการขจัดสารประกอบไนโตรเจน และคอลัมน์ที่สองบรรจุซีโอไลต์ Na-Y สำหรับการขจัดสารประกอบกำมะถันในน้ำมันจำลองที่ 4 และพบว่ามีค่าร้อยละการดูดซับของสารประกอบควิโนลีน อินโดวและอะคริดีนเท่ากับ 65.6, 49.2 และ 39.9 ตามลำดับ และร้อยละในการดูดซับของสารประกอบไดเบนโซไทโอฟีน (DBT) และ 4,6 ไดเมทิลไดเบนโซไทโอฟีน (4,6-DMDBT) คือ 38.8 และ 37.7 ตามลำดับ จากผลการทดลองพบว่าระบบคอลัมน์แบบสองขั้นตอนโดยใช้ซีโอไลต์ La-Y และ Na-Y เป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับการดูดซับสารประกอบกำมะถัน และสารประกอบไนโตรเจนของน้ำมันดีเซล ทั้งนี้ยังสามารถเพิ่มอุณหภูมิในการดูดซับเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการดูดซับในระบบขั้นตอนเดียว และระบบสองขั้นตอน และนอกจากนี้ยังสามารถนำตัวดูดซับกลับมาใช้ใหม่ได้ด้วยวิธีสกัดด้วยตัวทำละลายในระบบสองขั้นตอน


นิกเกิลโคบอลต์ซัลไฟด์บนรีดิวซ์แกรฟีนออกไซด์ที่เจือด้วยไนโตรเจนเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงไฟฟ้าของปฏิกิริยาออกซิเจนสำหรับแบตเตอรี่ซิงค์-อากาศที่ประจุไฟซ้ำได้, พรพิพัฒน์ สุวรรณรักษ์ Jan 2019

นิกเกิลโคบอลต์ซัลไฟด์บนรีดิวซ์แกรฟีนออกไซด์ที่เจือด้วยไนโตรเจนเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงไฟฟ้าของปฏิกิริยาออกซิเจนสำหรับแบตเตอรี่ซิงค์-อากาศที่ประจุไฟซ้ำได้, พรพิพัฒน์ สุวรรณรักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันมีความต้องการใช้พลังเพิ่มมากขึ้นในทุกปีส่งผลให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับพลังงานหมุนเวียนเพิ่มมากขึ้น แต่พลังงานหมุนเวียนเหล่านี้มีอัตราการผลิตพลังงานไม่ คงที่ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม จึงต้องอาศัยระบบกักเก็บพลังงานเข้ามาช่วย ด้วย สาเหตุนี้จึงส่งผลให้เกิดการพัฒนาของเทคโนโลยีในด้านอุปกรณ์กักเก็บพลังงานควบคู่ไปด้วย แบตเตอรี่สังกะสี–อากาศเป็นหนึ่งในแบตเตอรี่โลหะ–อากาศที่ได้รับความสนใจอย่างมากด้วย เหตุผลคือ ให้พลังงานสูง มีความเสถียรภาพ ความเร็วในการเกิดปฏิกิริยา และความสามารถในการ ผันกลับของปฏิกิริยา นอกจากนี้สังกะสียังเป็นธาตุที่มีปริมาณมากในโลก มีราคาถูก และมีความ ปลอดภัยในการใช้งาน แบตเตอรี่สังกะสี–อากาศแบบทุติยภูมิสามารถจ่ายและประจุไฟฟ้าได้ผ่าน ปฏิกิริยาออกซิเจนรีดักชันและปฏิกิริยาการเกิดออกซิเจน แต่อย่างไรก็ตามปฏิกิริยาทั้งสองนี้เกิดขึ้น เองได้ช้าจึงต้องมีตัวเร่งปฏิกิริยามาช่วยให้เกิดปฏิกิริยาได้เร็วขึ้น นิกเกิลโคบอลต์ซัลไฟด์เป็นตัวเร่ง ปฏิกิริยาที่ได้รับความสนใจเนื่องจากมีประสิทธิภาพในการเร่งปฏิกิริยาทั้งสองได้ดี และมีราคาถูก ซึ่งในงานวิจัยนี้จะสังเคราะห์นิกเกิลโคบอลต์ซัลไฟด์ที่รองรับด้วยรีดิวซ์แกรฟีนออกไซด์และรีดิวซ์แกรฟีนออกไซด์ที่เจือด้วยไนโตรเจนเพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการเร่งปฏิกิริยาออกซิเจนเปรียบเทียบ กับตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงพาณิชย์ แพลทินัมบนคาร์บอน ผลการทดลองพบว่าตัวเร่งปฏิกิริยาที่ สังเคราะห์ได้ทั้ง 2 ชนิด มีประสิทธิภาพในการเร่งปฏิกิริยาออกซิเจนได้ดีใกล้เคียงกัน แต่มี ประสิทธิภาพต่ำกว่าแพลทินัมบนคาร์บอนสำหรับปฏิกิริยาออกซิเจนรีดักชัน และเมื่อนำตัวเร่ง ปฏิกิริยาที่สังเคราะห์ได้ทั้ง 2 ชนิด มาใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในแบตเตอรี่สังกะสี–อากาศ เปรียบเทียบผลกับแพลทินัมบนคาร์บอน พบว่าแบตเตอรี่ที่ใช้แพลทินัมบนคาร์บอนมีประสิทธิภาพ ที่สูงกว่า แต่มีความทนทานในการใช้งานต่ำกว่ามาก


การสังเคราะห์ 5-ไฮดรอกซีเมทิลเฟอร์ฟิวรัลจากกลูโคสโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาซีโอไลต์ Husy, พิมลพรรณ เล็กสมบูรณ์ Jan 2019

การสังเคราะห์ 5-ไฮดรอกซีเมทิลเฟอร์ฟิวรัลจากกลูโคสโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาซีโอไลต์ Husy, พิมลพรรณ เล็กสมบูรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาการดัดแปรสภาพกรดของซีโอไลต์ HUSY ผ่านการล้างด้วยสารละลายกรด และศึกษาการสังเคราะห์ 5-ไฮดรอกซีเมทิลเฟอร์ฟิวรัล (HMF) จากกลูโคสโดยใช้ซีโอไลต์ HUSY เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ในการสังเคราะห์ HMF จากกลูโคสเกิดผ่านปฏิกิริยา 2 ขั้นตอน ได้แก่ ปฏิกิริยาไอโซเมอไรเซชันของกลูโคสเป็นฟรุกโตส และปฏิกิริยาดีไฮเดรชันของฟรุกโตสไปเป็น HMF โดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยากรดชนิดลิวอิส และกรดชนิดกรดบรอนสเตดตามลำดับ จากการศึกษาสมบัติทางกายภาพและเคมีของซีโอไลต์ HUSY พบว่าซีโอไลต์ HUSY ที่ผ่านการดัดแปรสภาพกรดมีปริมาณอะลูมิเนียมลดลง พร้อมกับเกิดการสูญเสียโครงสร้างผลึกซีโอไลต์ จากการศึกษาหมู่ฟังก์ชันพบว่าซีโอไลต์ HUSY ที่ผ่านการแปรสภาพกรดมีหมู่ฟังก์ชันหมู่ไฮดรอกซิลของตำแหน่งกรดชนิดบรอนสเตดและกรดชนิดลิวอิสที่เปลี่ยนแปลงไป และจากการศึกษาสภาพกรดของซีโอไลต์ HUSY ที่ผ่านการแปรสภาพกรด พบว่ามีแนวโน้มของปริมาณกรดรวมลดลง ขณะที่สัดส่วนของปริมาณตำแหน่งกรดแก่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และปริมาณตำแหน่งกรดชนิดบรอนสเตดและกรดชนิดลิวอิสมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในการสังเคราะห์ HMF จากกลูโคส พบว่าการเปลี่ยนกลูโคสมีความสัมพันธ์กับปริมาณตำแหน่งกรดแก่ในตัวเร่งปฏิกิริยาซีโอไลต์ HUSY และผลได้ของ HMF มีความสัมพันธ์กับสัดส่วนระหว่างปริมาณตำแหน่งตำแหน่งกรดชนิดบรอนสเตดกับกรดชนิดลิวอิส (สัดส่วน B/L) ซึ่งพบว่าตัวเร่งปฏิกิริยาซีโอไลต์ HUSY-0.1N-80 ที่มีสัดส่วน B/L เท่ากับ 3.17 ทำให้ได้ผลได้ของ HMF สูงที่สุด และสภาวะการสังเคราะห์ HMF พบว่าตัวเร่งปฏิกิริยาซีโอไลต์ HUSY-0.1N-80 ปริมาณ 0.25 กรัม สังเคราะห์ที่อุณหภูมิ 170 องศาเซลเซียสเป็นระยะเวลา 60 นาที เป็นสภาวะที่เหมาะสมที่สุด โดยมีการเปลี่ยนของกลูโคส และผลได้ของ HMF เท่ากับ 99.6% และ 65.6% ตามลำดับ


การเปลี่ยนกลูโคสเป็น 5-ไฮดรอกซีเมทิลเฟอร์ฟิวรัลโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาไนโอเบียมรองรับด้วยคาร์บอน/ซิลิกานาโนคอมพอสิต, รุจีลักษณ์ คุ้มโห้ Jan 2019

การเปลี่ยนกลูโคสเป็น 5-ไฮดรอกซีเมทิลเฟอร์ฟิวรัลโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาไนโอเบียมรองรับด้วยคาร์บอน/ซิลิกานาโนคอมพอสิต, รุจีลักษณ์ คุ้มโห้

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาการสังเคราะห์ 5-ไฮดรอกซีเมทิลเฟอร์ฟิวรัล (HMF) จากกลูโคสในระบบตัวทำละลาย 2 วัฏภาค (biphasic system) วัฏภาคหนึ่งเป็นน้ำซึ่งอิ่มตัวด้วยโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) และอีกวัฏภาคคือเตตระไฮโดรฟิวแรน (THF) ซึ่งเป็นตัวทำละลายอินทรีย์ โดยใช้ไนโอเบียมรองรับด้วยเฮกซะกอนอลมีโซพอรัสซิลิกา (Nb/HMS) และมีโซพอรัสคาร์บอน/ซิลิกานาโนคอมพอสิต (Nb/MCS) เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำการศึกษาสมบัติทางกายภาพและเคมีของตัวเร่งปฏิกิริยาที่เตรียมได้ด้วยเทคนิคต่างๆ จากการศึกษาพบว่า Nb/MCS มีพื้นที่ผิวจำเพาะสูง (ประมาณ 400 ตารางเมตรต่อกรัม) และมีขนาดรูพรุนน้อยกว่า 2 นาโนเมตร อีกทั้งยังแสดงสมบัติเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาของแข็งชนิดกรด Nb/MCS มีสมบัติความเป็นกรดสูงกว่า Nb/HMS เนื่องจากพื้นผิวของตัวรองรับ MCS มีหมู่ฟังก์ชันของออกซิเจน ได้แก่ หมู่ไฮดรอกซิล (-OH) และหมู่คาร์บอกซิล (-COOH) ซึ่งมีสมบัติเป็นกรดบรอนสเตด อีกทั้งการมีคาร์บอนในโครงสร้างของ MCS ส่งผลให้ Nb/MCS มีความชอบน้ำลดลง และศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนของกลูโคสไปเป็น HMF ได้แก่ ชนิดของตัวรองรับ, ปริมาณไนโอเบียมบนตัวรองรับ, อุณหภูมิและเวลาในการทำปฏิกิริยา และปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยา จากการศึกษาพบว่า Nb/MCS มีสมรรถนะเชิงเร่งดีกว่า Nb/HMS เนื่องจาก Nb/MCS มีสภาพกรดที่เหมาะสมกว่า อีกทั้งความไม่ชอบน้ำของตัวรองรับ MCS สามารถช่วยยับยั้งการเกิดปฏิกิริยารีไฮเดรชันของ HMF เปลี่ยนไปเป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้อื่น ๆ เช่น ฮิวมิน เป็นต้น และ Nb/MCS ที่มีปริมาณไนโอเบียมบนตัวรองรับร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก (10 wt% Nb/MCS) เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่เหมาะสมที่สุดในการสังเคราะห์ HMF จากกลูโคส โดยให้การเปลี่ยนของกลูโคสร้อยละ 93.2 โดยโมล และผลได้ของ HMF ร้อยละ 57.5 โดยโมล เมื่อใช้ภาวะที่เหมาะสมคือ ปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยา 0.018 กรัม, อุณหภูมิในการทำปฏิกิริยา 190 องศาเซลเซียส และเวลาในการทำปฏิกิริยา 1 ชั่วโมง


ผลของน้ำต่อกลีเซอโรไลซิสแบบไม่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาของน้ำมันปาล์มสำหรับการผลิตมอนอกลีเซอไรด์, อิทธิฤทธิ์ พิไชยอ้น Jan 2019

ผลของน้ำต่อกลีเซอโรไลซิสแบบไม่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาของน้ำมันปาล์มสำหรับการผลิตมอนอกลีเซอไรด์, อิทธิฤทธิ์ พิไชยอ้น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาการผลิตมอนอกลีเซอไรด์ผ่านปฏิกิริยากลีเซอโรไลซิสของน้ำมันปาล์ม แบบไม่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา โดยมีไอโซโพรพานอลเป็นตัวทำละลายโดยตัวแปรที่นำมาศึกษา ได้แก่ อุณหภูมิที่ใช้ในการทำปฏิกิริยา (220 240 และ 260 องศาเซลเซียส) เวลาในการทำปฏิกิริยา (30 90 และ 150 นาที) อัตราส่วนโดยโมลของไอโซโพรพานอลต่อกลีเซอรอลต่อน้ำมันปาล์ม (X:5:1) (0 15 และ 30) ปริมาตรของสารที่ใส่ในเครื่องปฏิกรณ์ (ร้อยละ 40 60 และ 80) พบว่าภาวะที่ให้ ร้อยละมอนอกลีเซอไรด์สูงสุดคือ อุณหภูมิที่ใช้ในการทำปฏิกิริยา 260 องศาเซลเซียส เวลาในการ ทำปฏิกิริยา 150 นาที ปริมาตรของสารที่ใส่ในเครื่องปฏิกรณ์อยู่ที่ร้อยละ 40 และอัตราส่วนโดยโมล ของไอโซโพรพานอลต่อกลีเซอรอลต่อน้ำมันปาล์มอยู่ที่ 15:5:1 โดยให้ร้อยละมอนอกลีเซอไรด์ เท่ากับ 54.12 ร้อยละไดกลีเซอไรด์เท่ากับ 3.96 ร้อยละกรดไขมันเท่ากับ 0.40 ร้อยละไตรกลีเซอไรด์ เท่ากับ 15.67 และร้อยละของไอโซโพรพิลเอสเทอร์เท่ากับ 13.20 โดยปัจจัยสำคัญที่ได้จากงานวิจัยนี้ ได้แก่ อุณหภูมิที่ใช้ในการทำปฏิกิริยา เวลาในการทำปฏิกิริยา อัตราส่วนโดยโมลของไอโซโพรพานอล ต่อกลีเซอรอลต่อน้ำมันปาล์ม และปริมาตรของสารที่ใส่ในเครื่องปฏิกรณ์ จากภาวะที่ให้ร้อยละ มอนอกลีเซอไรด์สูงสุดได้มีการเปรียบเทียบการใช้กลีเซอรอลดิบเป็นสารตั้งต้นพบว่า ได้ร้อยละ มอนอกลีเซอไรด์เท่ากับ 31.59 และร้อยละไอโซโพรพิลเอสเทอร์เท่ากับ 51.76 ซึ่งไอโซโพรพานอล สามารถใช้เป็นตัวทำละลายในปฏิกิริยากลีเซอโรไลซิสของน้ำมันปาล์มแบบไม่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาได้ เนื่องจากช่วยลดความหนืดและเพิ่มการถ่ายโอนมวลของสารตั้งต้นได้ โดยน้ำส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสของไตรกลีเซอไรด์และประพฤติตัวเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา


ผลกระทบของคุณลักษณะแชทบอทต่อการรับรู้ของผู้เยี่ยมชมโซเชียลคอมเมิร์ซ, ณัฐ ปานมโนธรรม Jan 2019

ผลกระทบของคุณลักษณะแชทบอทต่อการรับรู้ของผู้เยี่ยมชมโซเชียลคอมเมิร์ซ, ณัฐ ปานมโนธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ด้วยการเติบโตของแชทบอทในธุรกิจโซเชียลคอมเมิร์ซ และความสามารถของหลักภาษาไทย งานวิจัยนี้จึงมีจุดมุ่งหมายในการวิเคราะห์และเปรียบเทียบผลกระทบของคุณลักษณะของแชทบอท ได้แก่ การรับรู้เพศ และการรับรู้ความเป็นทางการ ที่มีต่อความพึงพอใจและการรับรู้คุณภาพบริการโดยใช้แบบจำลอง SERVQUAL ในขณะที่ผู้เยี่ยมชมใช้แชทบอทเลือกซื้อสินค้าผ่านร้านค้าบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ และมีตัวแปรกำกับ ได้แก่ เพศของผู้เยี่ยมชม โดยในการทดลอง หน่วยตัวอย่างแต่ละคนจะได้รับหนึ่งในสี่แบบจำลองแชทบอทด้วยการสุ่ม ได้แก่ (1) เพศหญิง เป็นทางการ (2) เพศชาย เป็นทางการ (3) เพศหญิง ไม่เป็นทางการ และ (4) เพศชาย ไม่เป็นทางการ และได้รับคำชี้แจงในการค้นหาราคาสินค้าในร้านค้าออนไลน์บน Facebook ที่กำหนด งานวิจัยแสดงถึงผลกระทบการรับรู้ความเป็นทางการของแชทบอทที่มีต่อการรับรู้คุณภาพบริการในด้านความน่าเชื่อถือกับการสร้างความมั่นใจในภาพรวม รวมถึงผลกระทบการรับรู้ความเป็นทางการของแชทบอทต่อความพึงพอใจเพิ่มเติมในผู้เยี่ยมชมเพศชาย ถึงแม้ว่าจะไม่มีการพบผลกระทบของการรับรู้เพศแชทบอทที่มีต่อตัวแปรตาม แต่งานวิจัยนี้ก็ได้พบผลกระทบร่วมของคุณลักษณะแชทบอทที่มีต่อการรับรู้คุณภาพบริการด้านการสร้างความมั่นใจ ผลของงานวิจัยแนะนำให้ใช้แชทบอทเพศชายที่ใช้ภาษาเป็นทางการในการเป็นผู้ให้บริการผู้เยี่ยมชมโซเชียลคอมเมิร์ซเพศหญิงและเพศชาย


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจกลับมาใช้งานและความตั้งใจในการบอกต่อเว็บไซต์คราวด์ฟันดิงรูปแบบบริจาคเพื่อการกุศลที่ผสมผสานการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์, ภัทรา อาวะกุลพาณิชย์ Jan 2019

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจกลับมาใช้งานและความตั้งใจในการบอกต่อเว็บไซต์คราวด์ฟันดิงรูปแบบบริจาคเพื่อการกุศลที่ผสมผสานการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์, ภัทรา อาวะกุลพาณิชย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา วิเคราะห์และเปรียบเทียบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจกลับมาใช้งานและความตั้งใจในการบอกต่อเว็บไซต์คราวด์ฟันดิงรูปแบบบริจาคเพื่อการกุศลที่ผสมผสานการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผู้วิจัยมุ่งศึกษาตัวแปรที่เกี่ยวข้องได้แก่ (1) ปัจจัยด้านการกุศล (ปัจจัยภายใน คือ ความเข้าใจผู้อื่น ความเอื้อเฟื้อ และความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน และ ปัจจัยภายนอก ได้แก่ ภาพลักษณ์ขององค์กร) และ (2) ปัจจัยด้านการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ปัจจัยภายใน ได้แก่ ความสนใจและความอยากรู้ และ ปัจจัยภายนอก ได้แก่ ความสนุก คุณภาพเนื้อหาการเรียนรู้ และความน่าดึงดูดใจของสื่อการเรียนมัลติมีเดีย) โดยมีตัวแปรกำกับ ได้แก่ เพศของผู้ใช้งาน และเก็บข้อมูลจากหน่วยตัวอย่างกลุ่มเจเนอเรชันวายเป็นเพศชายจำนวน 101 คน และเพศหญิงจำนวน 101 คน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลในภาพรวม พบว่า ตัวแปรต้นทั้ง 8 ตัวมีอิทธิพลเชิงบวกต่อตัวแปรตาม ได้แก่ ความตั้งใจกลับมาใช้งาน และความตั้งใจในการบอกต่อ โดยพบว่า ปัจจัยความสนุกมีอิทธิพลเชิงบวกสูงสุดต่อความตั้งใจกลับมาใช้งาน และ ปัจจัยคุณภาพเนื้อหาการเรียนรู้ มีอิทธิพลเชิงบวกสูงสุดต่อความตั้งใจในการบอกต่อ เมื่อเพศของผู้ใช้งานเป็นเพศชาย พบว่า ปัจจัยความสนุก มีอิทธิพลเชิงบวกสูงสุดต่อความตั้งใจกลับมาใช้งานและความตั้งใจในการบอกต่อ และเมื่อเพศของผู้ใช้งานเป็นเพศหญิง พบว่า ปัจจัยภาพลักษณ์องค์กร มีอิทธิพลเชิงบวกสูงสุดต่อความตั้งใจกลับมาใช้งาน และ ปัจจัยคุณภาพเนื้อหาการเรียนรู้ มีอิทธิพลเชิงบวกสูงสดต่อความตั้งใจในการบอกต่อ


Amplitude-Preserved Processing Of The Blackfoot 10 Hz Seismic Data, Bader Mohammed A Algarni Jan 2019

Amplitude-Preserved Processing Of The Blackfoot 10 Hz Seismic Data, Bader Mohammed A Algarni

Masters Theses

"The broadband 3C-2D seismic survey was acquired in the Blackfoot Field in southern Alberta. The single-component 10 Hz geophone data were reprocessed to increase vertical resolution and provide a better seismic image of the incised valley channel fill deposits in the Glauconitic Formation. The amplitude-preserved seismic processing of the data was followed by the Kirchhoff prestack time migration. The processing parameters and algorithms used were based on parameter optimization approach. Elevation statics and surface consistent residual statics were utilized to remove near surface delays in the data. Seismic noise, such as ground roll and air blast, were attenuated effectively by …


Removal Of Antimony And Bismuth From Copper Electrorefining Electrolyte By Two Proprietary Solvent Extraction Extractants, Andrew Artzer Jan 2019

Removal Of Antimony And Bismuth From Copper Electrorefining Electrolyte By Two Proprietary Solvent Extraction Extractants, Andrew Artzer

Masters Theses

"Antimony and bismuth are two of the most problematic impurities in copper electrorefining (ER). Because of this, much research has been done investigating the ways to remove them. Processes that are currently being used industrially include anode additions, liberators, ion exchange (IX), and solvent extraction (SX). Of these, liberators and anode additions are the most common while SX is the least, mostly being used for arsenic removal. There are other methods that have been evaluated, but are not in commercial use. These include the use of various electrolyte additives, and adsorbents such as bentonite clay and heavy metal sulfates.

Two …