Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 1021 - 1050 of 5570

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

The Relationship Between Ewom Credibility, Consumer’S Trust, And Intention To Visit A Café Based On The Café Story Facebook Page, Nutchawee Ahrivorayapong Jan 2021

The Relationship Between Ewom Credibility, Consumer’S Trust, And Intention To Visit A Café Based On The Café Story Facebook Page, Nutchawee Ahrivorayapong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purpose of this research is to explore eWOM credibility, consumer’s trust, and intention to visit a café based on the Café Story Facebook page and to explore the relationship between these three variables. This research employs a quantitative approach through an online survey, data are collected from 250 target samples who are Thai millennials, aged between 25-40 years old, and follow the Café Story Facebook page. The findings depict that the respondents considered eWOM on the Café Story Facebook page highly credible (M = 4.36). The respondents also highly trust the page (M = 4.19), with cognitive trust receiving …


The Relationship Between Chinese Consumers' Exposure To Taobao Live Streaming Of Thai Brands And Their Purchase Behavior, Chen Lin Jan 2021

The Relationship Between Chinese Consumers' Exposure To Taobao Live Streaming Of Thai Brands And Their Purchase Behavior, Chen Lin

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objectives of this research were to examine Chinese consumers' exposure to Taobao live streaming of Thai brands, Chinese consumers' purchase behavior of Thai brands via Taobao and test the relationship between these two variables. This research utilizes quantitative methods by collecting the data through online questionnaires. With the collected questionnaires of 203 respondents, aged between 18-40 years old who have watched Taobao live streaming of Thai brands recently. The findings indicated most of respondents sometimes watch Taobao live streaming of Thai brands (M = 2.83), and their watching time was less than two hours (M = 2.49). The results …


นโยบายต่างประเทศของฟิลิปปินส์ต่อจีนสมัยประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตอร์เต ในระหว่าง ค.ศ.2016-2021: ความต่อเนื่องและการเปลี่ยนแปลง, กมลรัตน์ สุขิโต Jan 2021

นโยบายต่างประเทศของฟิลิปปินส์ต่อจีนสมัยประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตอร์เต ในระหว่าง ค.ศ.2016-2021: ความต่อเนื่องและการเปลี่ยนแปลง, กมลรัตน์ สุขิโต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ศึกษาแนวคิดของประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบายต่างประเทศเพื่อสร้างสมดุลระหว่างความมั่นคงกับผลประโยชน์ของชาติและเพื่อทำความเข้าใจบริบทการเมืองระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาว่าเพราะเหตุใดนโยบายต่างประเทศของฟิลิปปินส์ต่อจีนในสมัยของนายดูเตอร์เตจึงเปลี่ยนท่าทีจากแข็งกร้าวเป็นประนีประนอม ในระหว่าง ค.ศ.2016-2021 สารนิพนธ์ฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่เน้นวิเคราะห์ข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งเอกสารวิชาการ งานวิจัย และข้อมูลข่าวในสื่อต่างๆ โดยใช้กระบวนการศึกษาสภาพทางจิตวิทยาการเมืองของผู้นำโลก (The Political Psychology of World Leaders) ของ วาลเลอรี่ ฮัดสัน (Valerie Hudson) ที่อธิบายถึงพฤติกรรมการตอบสนองทางจิตวิทยาของผู้นำที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกดำเนินนโยบายต่างประเทศอย่างใดอย่างหนึ่ง ผลการศึกษาพบว่านายดูเตอร์เตปรับท่าทีหลายครั้งในนโยบายต่างประเทศต่อจีน เริ่มจากสร้างความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรและสร้างสรรค์มากขึ้น พยายามมีส่วนร่วมกับจีนเพื่อแสวงหาผลประโยชน์และลดแรงกดดันจากกรณีพิพาททางทะเลในอดีตเมื่อเทียบกับจุดยืนที่คงความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกาไว้ แต่ก็แสดงจุดยืนในเรื่องกรณีพิพาททางทะเลว่าฟิลิปปินส์จะไม่ยอมรับการดำเนินการใดๆของจีนที่จะล้ำเส้นในพื้นที่สิทธิ์ทางทะเล ความคิดและการแสดงออกในนโยบายของนายดูเตอร์เตนั้นมาจากแนวคิดชาตินิยมของเขาและความเข้าใจรับรู้ผ่านประสบการณ์ของตนเองในอดีตต่อสถานการณ์ต่างประเทศของฟิลิปปินส์ ที่นำมาตีความการตัดสินใจกำหนดนโยบายต่างประเทศโดยเลือกระบุตนเองให้เข้ากับบทบาท สถานภาพที่ต้องการ เลือกเป้าหมาย เลือกวิธีกระทำ เพื่อให้บรรลุถึงความพอใจในความเป็นตัวตนของตนเองเพราะต้องการให้ประชาชนยอมรับว่านโยบายต่างประเทศที่ดำเนินต่อจีนนั้นเหมาะสมและชอบธรรมภายใต้การเป็นผู้นำฟิลิปปินส์ของเขา


นโยบาย The Great Firewall กับความสำเร็จของ Unicorn จีน, พิมพ์ใจ วรรณพงษ์ Jan 2021

นโยบาย The Great Firewall กับความสำเร็จของ Unicorn จีน, พิมพ์ใจ วรรณพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของจีนที่มีผลต่อความสำเร็จของสตาร์ทอัพจีนระดับยูนิคอร์น (Startup Unicorn) :โดยจากการพิจารณาผ่านคำอธิบายในทฤษฎีรัฐพัฒนา (Developmental state) และแนวคิดด้านการรักษาความมั่นคงของประเทศ ปัจจัยที่สำคัญเกิดจากการที่รัฐบาลจีนต้องการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ จึงสนับสนุนด้านพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของจีนโดยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน จัดตั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และส่งเสริมด้านการพัฒนาธุรกิจจนทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการขยายตัวของธุรกิจสตาร์ทอัพในจีน นอกจากนี้ ปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งเกิดจากการใช้นโยบาย The Great Firewall of China ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการรักษาอำนาจอธิปไตยทางอินเตอร์เน็ต (Internet sovereignty) แต่กลับส่งผลทางอ้อมในการกีดกันบริษัทจากต่างชาติที่เป็นคู่แข่งของบริษัทสตาร์ทอัพในจีน ทำให้บริษัทสตาร์ทอัพของจีนสามารถเติบโตขึ้นเป็นระดับยูนิคอร์น


ความท้าทายของประเทศไทยในการบังคับใช้ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและ สิทธิทางการเมือง (Iccpr) ต่อเหตุการณ์ชุมนุมในสมัยรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา พ.ศ.2562-2564., วิลาสินี จันทร์วุฒิวงศ์ Jan 2021

ความท้าทายของประเทศไทยในการบังคับใช้ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและ สิทธิทางการเมือง (Iccpr) ต่อเหตุการณ์ชุมนุมในสมัยรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา พ.ศ.2562-2564., วิลาสินี จันทร์วุฒิวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษา ความท้าทายของประเทศไทยในการบังคับใช้กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง ข้อที่21 (ICCPR) ต่อเหตุการณ์ชุมนุม ในสมัยรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา พ.ศ.2562-2564 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการบังคับใช้กฎหมายที่เกินกว่าความจำเป็นจากเหตุการณ์การชุมนุมในห้วงเวลานี้ และมุ่งเน้นถึงความสำคัญของหลักสิทธิมนุษยชน และเสรีภาพต่อการแสดงออกทางการเมืองของประชาชน เพื่อให้เข้าใจถึงปัญหาและอุปสรรค อันเป็นความท้าทายของประเทศไทยในการปรับใช้กติการะหว่างประเทศ ว่าเพราะเหตุใดถึงไม่สามารถบังคับใช้กับประเทศไทยได้โดยสมบูรณ์ ต่อการเกิดขึ้นของสถานการณ์ความรุนแรงของผู้บังคับใช้กฎหมายที่ลิดรอนเสรีภาพ รวมถึงยังสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สิน และชีวิตของประชาชนอย่างประจักษ์ นับเป็นการละเมิดสิทธิพลเมืองภายใต้กติการะหว่างประเทศ ดังนั้นผู้เขียนจึงนำแนวคิด ระบอบระหว่างประเทศเชิงซ้อน (International regime complex) มาศึกษาถึงปรากฎการณ์ดังกล่าว ซึ่งจากการศึกษาพบว่า กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง มิได้มีความสอดคล้องกับผลประโยชน์แห่งชาติของประเทศไทย เเละการไม่มีอำนาจศูนย์กลางในการบังคับใช้กฎหมายต่อผู้ละเมิด ส่งผลให้ประเทศไทยยังคงละเมิดกติกาดังกล่าวได้ ซึ่งการไม่ยึดโยงกับเจตนารมณ์ด้านสิทธิมนุษยชนอันเป็นจุดมุ่งหมายหลักของความร่วมมือระหว่างประเทศนี้ นับเป็นความท้าทายที่สำคัญของประเทศไทย


ทิศทางความร่วมมือด้านพลังงานของไทยกับญี่ปุ่นในช่วงการเปลี่ยนผ่านทางพลังงาน, เวทิศ ธนกรดิษฐ์ Jan 2021

ทิศทางความร่วมมือด้านพลังงานของไทยกับญี่ปุ่นในช่วงการเปลี่ยนผ่านทางพลังงาน, เวทิศ ธนกรดิษฐ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจะตอบคำถามว่า แนวคิดเรื่องการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานโลก ส่งผลกระทบต่อความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างไทยและญี่ปุ่นอย่างไร จากการศึกษาพบว่า การเปลี่ยนผ่านทางพลังงานโลก ทำให้ทั้งประเทศไทยและญี่ปุ่นกำหนดเป้าหมายด้านพลังงานไปในทิศทางเดียวกันเพื่อมุ่งไปสู่การสร้างนโยบายด้านพลังงานที่สอดรับกับกรอบการเปลี่ยนผ่านพลังงานโลก โดยญี่ปุ่นได้วางตัวเองเป็นผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลงนโยบายพลังงานในภูมิภาคเอเชีย และเข้ามาให้ความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีแก่ประเทศต่าง ๆ รวมถึงการสร้างความร่วมมือด้านพลังงานกับประเทศไทย ซึ่งเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของญี่ปุ่นในภูมิภาค ลักษณะเช่นนี้ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มของการพึ่งพิงระหว่างประเทศ และอาจเป็นเครื่องมือกำหนดความร่วมมือด้านพลังงานอื่น ๆ ของทั้งสองต่อไปในอนาคต


อุตสาหกรรมภาพยนตร์กับ Soft Power ของจีน: กรณีศึกษาภาพยนต์ของ เจียจางเค่อ, ธนาภัทร ธานีรัตน์ Jan 2021

อุตสาหกรรมภาพยนตร์กับ Soft Power ของจีน: กรณีศึกษาภาพยนต์ของ เจียจางเค่อ, ธนาภัทร ธานีรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบายและข้อจำกัดในการเผยแพร่วัฒนธรรมของจีนผ่านภาพยนตร์ ศึกษาจุดแข็งและจุดอ่อนของการดำเนินนโยบายเผยแพร่วัฒนธรรมของจีนผ่านภาพยนตร์ และศึกษาผลกระทบต่อภาพลักษณ์จีนในเวทีระหว่างประเทศต่อการเผยแพร่ภาพยนตร์ที่สะท้อนภาพลักษณ์ทางสังคมจีน ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพแบบวิจัยเชิงเอกสารเป็นหลัก โดยเน้นนโยบายและยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของจีน และผลงานภาพยนตร์ของ เจีย จางเค่อ 3 เรื่อง ได้แก่ Still Life (2006), 24 City (2008) และ A Touch of Sin (2013) มาประกอบการวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า บทบาทภาพยนตร์อาจเป็นเครื่องมือของรัฐในการทำหน้าที่ในแง่ของ Soft Power ที่รัฐพยายามพัฒนาภาพลักษณ์ของชาติ แต่ผลลัพธ์จากการที่จีนพยายามทุ่มเทกับการใช้ทรัพยากรดังกล่าวไม่สามารถทำให้ประเทศในเวทีระหว่างประเทศคล้อยตามได้เสมอไป เพราะภาพยนตร์ไม่ใช่เป็นเครื่องมือที่น่าเชื่อถือในการส่งเสริมภาพลักษณ์หรือเอกลักษณ์ของประเทศให้ดีขึ้น (เพื่อจุดประสงค์การเพิ่ม Soft Power) ดังนั้นการผลิตหรือส่งออกภาพยนตร์ที่มากขึ้นไม่ได้หมายถึงการเพิ่ม Soft Power เสมอไป ซึ่งเจียได้แสดงให้เห็นว่าบทบาทของภาพยนตร์เป็นได้มากกว่าแค่เครื่องมือของรัฐเพื่อการส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีและการสร้างอำนาจให้กับรัฐ การที่ประเทศใดประเทศหนึ่งมีอุตสาหกรรมบันเทิงที่น่าดึงดูดอาจสวนทางกับภาพลักษณ์ที่ดีที่รัฐพยายามส่งเสริม หรือสิ่งที่น่าดึงดูดกลับกลายมาจากภาพยนตร์ไม่ใช่เพราะแรงดึงดูดจากประเทศนั้น


การรับรู้แบรนด์องค์กร การรับรู้ความเสี่ยงเรื่อง พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และความตั้งใจในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน), ดุริยภัทร ศรีรัตนพงศ์ Jan 2021

การรับรู้แบรนด์องค์กร การรับรู้ความเสี่ยงเรื่อง พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และความตั้งใจในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน), ดุริยภัทร ศรีรัตนพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับการรับรู้แบรนด์องค์กร การรับรู้ความเสี่ยงเรื่อง พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และความตั้งใจในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการธนาคารกสิกรไทย และ (2) อิทธิพลของการรับรู้แบรนด์องค์กร และการรับรู้ความเสี่ยงเรื่อง พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่มีต่อความตั้งใจในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการธนาคารกสิกรไทย ผู้วิจัยเลือกแนวเชิงบุกเบิก (Exploratory Approach) ด้วยวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) และเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Questionnaire) จากผู้ใช้บริการธนาคารกสิกรไทยที่มีการทำธุรกรรมกับทางธนาคารไม่น้อยกว่า 1 ปี โดยนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ผ่านวิธีการทางสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร่วมกับสถิติเชิงอนุมานด้วยวิธีการวิเคราะห์แบบการถดถอยแบบพหุ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า (1) การรับรู้แบรนด์องค์กร การรับรู้ความเสี่ยงเรื่อง พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และความตั้งใจในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการธนาคารกสิกรไทย อยู่ในระดับที่ดีมาก และ (2) การรับรู้แบรนด์องค์กร การรับรู้ความเสี่ยงเรื่อง พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีผลต่อความตั้งใจเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการธนาคารกสิกรไทยที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05


พฤติกรรมและความผูกพันของผู้ใช้งานต่อแอปพลิเคชัน Tiktok, จิตวัฒน์ สารตันติพงศ์ Jan 2021

พฤติกรรมและความผูกพันของผู้ใช้งานต่อแอปพลิเคชัน Tiktok, จิตวัฒน์ สารตันติพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมและความผูกพันของผู้ใช้งานต่อแอปพลิเคชัน TikTok และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมและความผูกพันของผู้ใช้งานต่อแอปพลิเคชัน TikTok โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 219 คน อายุระหว่าง 18 – 37 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ใช้งานในช่วงวัย Generation Y และ Z ที่เคยใช้งานแอปพลิเคชัน TikTok ไม่น้อยกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ในระยะเวลา 2 เดือนที่ผ่านมา ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ผลการวิจัยวิจัยพบว่า ผู้ใช้งานมีพฤติกรรมการใช้งานแอปพลิเคชัน TikTok ทั้งด้านการรับรู้ ทัศนคติ ความตั้งใจใช้งาน และความพึงพอใจค่อนข้างมาก นอกจากนั้น พฤติกรรมการใช้งานยังมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความผูกพันต่อแอปพลิเคชัน TikTok อันประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ในด้านความคิด ความรู้สึก และการกระทำ กล่าวคือ ผู้ใช้งานมีพฤติกรรมต่อแอปพลิเคชัน TikTok มากเพียงใด ก็จะยิ่งส่งผลต่อความผูกพันของผู้ใช้งานต่อแอปพลิเคชัน TikTok สูงเช่นเดียวกัน ขณะที่ช่วงวัย Generation Z มีพฤติกรรมการใช้งานในด้านความตั้งใจใช้งานมากกว่าช่วงวัย Generation Y อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


การใช้สตรีทอาร์ตเพื่อเป็นกลยุทธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยว, ปิยะธิดา ขันสิงหา Jan 2021

การใช้สตรีทอาร์ตเพื่อเป็นกลยุทธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยว, ปิยะธิดา ขันสิงหา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะสำรวจการสื่อสารความคิดเห็นบนสื่อออนไลน์ของนักท่องเที่ยวที่มีต่อภาพสตรีทอาร์ตในเมืองท่องเที่ยวในประเทศไทยเพื่อเข้าใจแนวทางการสร้างสรรค์ภาพสตรีทอาร์ตสำหรับเป็นกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยเลือกสำรวจความคิดเห็นที่เกี่ยวกับสตรีทอาร์ตในพื้นที่เมืองรอง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรีมาวิเคราะห์รูปแบบการตอบรับและการสื่อสารการรับรู้ภาพสตรีทอาร์ตของนักท่องเที่ยวจากการรีวิวแหล่งท่องเที่ยวผ่าน Google Maps Review ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2560 ถึง 15 มิถุนายน 2565 การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยอาศัยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Leximancer วิเคราะห์ข้อความและเนื้อหาหลักที่ปรากฏในกลุ่มตัวอย่าง ประกอบการการวิเคราะห์ด้วยการลงรหัสเพื่อศึกษาเนื้อหาภาพภาพที่นำมาใช้ในรีวิว รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 512 ชิ้น ผลการศึกษาพบว่านักท่องเที่ยวนิยมแสดงออกผ่านรูปภาพมากกว่าแสดงความคิดเห็นด้วยข้อความ และมีจำนวนน้อยที่แสดงความเห็นผ่านทั้งรูปภาพและข้อความ ในส่วนของการวิเคราะห์ข้อความแสดงความคิดเห็น 103 ข้อความด้วยโปรแกรม Leximancer จำแนกประเด็นสำคัญ (Theme) ได้ 5 ประเด็น ได้แก่ 1. Beautiful (ความสวยงาม) 2. Food (อาหาร) 3. Painting (ภาพวาด) 4. Town (เมือง) 5. Care (การดูแล) ภาพวาดสตรีทอาร์ตมีความสวยงาม องค์ประกอบของภาพสตรีทอาร์ตเรื่องราวท้องถิ่น และวิถีชีวิตของเมืองและสะท้อนจิตวิญญาณแห่งพื้นที่ ภาพสตรีทอาร์ตจึงเป็นสื่อกลางในการสื่อสารเชื่อมโยงความเป็นเมืองเข้ากับประสบการณ์นักท่องเที่ยวได้ ในส่วนการวิเคราะห์รูปภาพ ผู้วิจัยพบว่าเนื้อหาของภาพสตรีทอาร์ต 409 ภาพที่นักท่องเที่ยวให้ความนิยมและชื่นชอบในการเลือกถ่ายภาพมาเพื่อประกอบการรีวิวในสื่อสังคมออนไลน์นั้น จำแนกเป็น 6 หมวดหมู่ ได้แก่ 1. คาแรคเตอร์ 2. สัญลักษณ์ทางภาษา 3. อัตลักษณ์ท้องถิ่น 4. คนกับวิถีชีวิต 5. ประวัติศาสตร์ และ 6. การสะท้อนปัญหาสังคม อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะมีเนื้อหาที่สะท้อนความเป็นชุมชนอยู่มากมาย แต่จะพบว่านักท่องเที่ยวนิยมถ่ายเฉพาะภาพถ่ายสตรีทอาร์ตโดด ๆ มากกว่ามีทีท่าปฏิสัมพันธ์กับเนื้อหาในภาพสตรีทอาร์ต ผู้วิจัยเห็นว่าการใช้สตรีทอาร์ตเป็นกลยุทธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวนั้นเป็นไปได้ หากใช้ความสวยงามของภาพสตรีทอาร์ตเป็นจุดดึงดูดความสนใจ ควบคู่ไปกับเนื้อหาที่สะท้อนความเป็นชุมชน ความคิดสร้างสรรค์ผ่านคาแรคเตอร์และการเล่าเรื่อง แต่การใช้สตรีทอาร์ตต้องเชื่อมโยงกับปัจจัยด้านการท่องเที่ยวอื่น ๆ ประกอบด้วยหากต้องการสร้างประสบการณ์ที่น่าจดจำแก่นักท่องเที่ยวกับเมืองที่ไปเยี่ยมชม


กลยุทธ์การสื่อสารผ่านผู้มีอิทธิพลทางความคิดเสมือนจริงของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน), อธิวัฒน์ คชภูมิ Jan 2021

กลยุทธ์การสื่อสารผ่านผู้มีอิทธิพลทางความคิดเสมือนจริงของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน), อธิวัฒน์ คชภูมิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณลักษณะของผู้มีอิทธิพลทางความคิดเสมือนจริง 2) ประโยชน์ในการใช้งานผู้มีอิทธิพลทางความคิดเสมือนจริง และ 3) กลยุทธ์การสื่อสารผ่านผู้มีอิทธิพลทางความคิดเสมือนจริงของเอไอเอส โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary research) จากเอกสารที่เกี่ยวข้อง รวมถึงศึกษาชิ้นงานในรูปแบบต่างๆ ควบคู่กับการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ผู้ให้ข้อมูลหลัก 3 กลุ่มตามคุณสมบัติที่ได้กำหนดไว้ ได้แก่ นักสื่อสารแบรนด์ของเอไอเอส เจ้าหน้าที่ของเซีย แบงคอก (SIA Bangkok) และผู้เชี่ยวชาญด้านผู้มีอิทธิพลทางความคิดเสมือนจริงจากบริษัทสื่อโฆษณาดิจิทัล หรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษา พบว่าผู้มีอิทธิพลทางความคิดเสมือนจริง (Virtual influencer) มีคุณลักษณะสำคัญ 3 ด้าน ได้แก่ คุณลักษณะด้านความเหมือนมนุษย์ คุณลักษณะด้านความควบคุมได้ และคุณลักษณะด้านการให้ประสบการณ์ที่แปลกใหม่ ในส่วนของประโยชน์ในการใช้งานผู้มีอิทธิพลทางความคิดเสมือนจริง มีแนวทางการใช้งานใน 3 ด้าน ประกอบด้วย การรีวิวสินค้าและบริการ การใช้เพื่อเป็นตัวแทนของตราสินค้า และการสร้างความร่วมมือ ซึ่งทำให้เกิดประโยชน์ในเชิงภาพลักษณ์ตราสินค้า และในเชิงประสบการณ์ของผู้บริโภค ทั้งนี้ สำหรับกลยุทธ์การสื่อสารผ่านผู้มีอิทธิพลทางความคิดเสมือนจริงของเอไอเอส มีกลยุทธ์การสื่อสาร 4 ด้าน ได้แก่ กลยุทธ์การใช้ตัวแทนของแบรนด์เสมือนจริง กลยุทธ์การสื่อสารแบบเล่าเรื่อง กลยุทธ์การสื่อสารบนโลกออนไลน์ และกลยุทธ์การใช้ผู้มีชื่อเสียง โดยผสมผสานเครื่องมือสื่อสารการตลาด ได้แก่ การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ และการจัดกิจกรรม เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ด้านการสร้างภาพลักษณ์ตราสินค้าให้เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีความทันสมัย และสร้างประสบการณ์ใหม่ให้แก่ลูกค้าขององค์กร


ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความเชื่อมั่นของพนักงาน บริษัท การบินไทยจำกัด มหาชน เมื่อเข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างใหม่, สิตาภัค ประถมกรึก Jan 2021

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความเชื่อมั่นของพนักงาน บริษัท การบินไทยจำกัด มหาชน เมื่อเข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างใหม่, สิตาภัค ประถมกรึก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความเชื่อมั่นของพนักงานบริษัทการบินไทย จำกัด มหาชน เมื่อเข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างใหม่และเพื่อเป็นแนวทางการปรับปรุงและส่งเสริมความเชื่อมั่นของพนักงานต่อองค์กรของบริษัท การบินไทย จำกัด มหาชน เพื่อนำผลได้มามาใช้เป็นแนวทางในการเสริมสร้างความเชื่อของพนักงานต่อบริษัท และเพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาด้านทรัพยากรบุคคลต่อไป กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือพนักงานบริษัท การบินไทย จำกัด มหาชน รวมทั้งสิ้นจำนวน 400 คน การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล การวิจัย เชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบ่ียงเบนมาตรฐาน Independent Samples t-test, One-Way ANOVA และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน จากการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยด้านความผูกพัน มีความสัมพันธ์กับความเชื่อมั่นของพนักงาน โดยพนักงานปรารถนาที่จะเห็นบริษัทเปลี่ยนแปลงไปทางที่ดีขึ้นมากที่สุด 2) ปัจจัยด้านภาพลักษณ์มีความสัมพันธ์กับความเชื่อมั่นของพนักงานในระดับมาก โดยพนักงานเห็นว่าเป็นองค์กรที่ได้รับรางวัลและการรับรองตามมาตรฐานการบินมากมาย 3) ปัจจัยด้านการปรับโครงสร้างองค์กรมีความสัมพันธ์กับความเชื่อมั่นของพนักงานในระดับมาก โดยพนักงานเห็นด้วยกับการปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ในครั้งนี้ 4) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเชื่อมั่นของพนักงาน บริษัท การบินไทย จำกัด พบว่า ปัจจัยด้านภาวะผู้นำ ด้านความผูกพัน ด้านภาพลักษณ์ และด้านการปรับโครงสร้าง มีความสัมพันธ์ความเชื่อมั่นของพนักงาน บริษัทการบินไทย จำกัด มหาชน เมื่อเข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างใหม่อย่างมีนัยยะสำคัญที่ระดับ 0.01 5) แนวทางในการแก้ไขการส่งเสริมความเชื่อมั่นของพนักงานควรมีให้เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม จัดกิจกรรมเสริมสร้างการรับรู้ต่าง ๆ ร่วมกันมากขึ้น โดยเป็นไปอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้


การศึกษาความภาคภูมิใจที่มีต่ออาชีพของตน: กรณีศึกษาสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนจังหวัดนครนายก, วันชนะ วิชาชัย Jan 2021

การศึกษาความภาคภูมิใจที่มีต่ออาชีพของตน: กรณีศึกษาสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนจังหวัดนครนายก, วันชนะ วิชาชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาความภาคภูมิใจของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนจังหวัดนครนายกที่มีต่ออาชีพตน มีเนื้อหาเกี่ยวกับทัศนคติของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ สังกัดกระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศร่วมกับข้าราชการฝ่ายปกครอง วัตถุประสงค์ของการวิจัยมี 3 ประการ ได้แก่ 1.) เพื่อสำรวจความภาคภูมิใจของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนจังหวัดนครนายกที่มีต่ออาชีพของตน 2.) เพื่อเปรียบเทียบองค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีผลต่อความภาคภูมิใจของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนจังหวัดนครนายก 3.) เพื่อเสนอแนะแนวทางปรับปรุงและพัฒนาองค์ประกอบที่ส่งเสริมความภาคภูมิใจของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ใช้รูปแบบทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยวิธีการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม (Questionnaire) และการสัมภาษณ์ส่วนบุคคล (Private Interview) จากกลุ่มประชากรสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนจังหวัดนครนายก จำนวน 69 นาย ผลการศึกษาพบว่าสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนจังหวัดนครนายกมีความภาคภูมิใจในอาชีพของตนในระดับสูง ทั้งในภาพรวมและแต่ละองค์ประกอบของความถาคภูมิใจ 8 ด้าน ได้แก่ 1.) ด้านความรับผิดชอบต่อตนเอง 2.) ด้านการเคารพตนเอง 3.) ด้านความเชื่อมั่นในตนเอง 4.) ด้านการเห็นคุณค่าในตนเอง 5.) ด้านการได้รับการยอมรับจากผู้อื่น 6.) ด้านความกล้าแสดงออก 7.) ด้านการยอมรับตนเอง และ 8.) ด้านความพอใจในตนเอง ตามลำดับ โดยเหตุผลที่สำคัญเนื่องจากสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนจังหวัดนครนายก มองว่าอาชีพของตนเป็นอาชีพที่มีเกียรติ สามารถทำประโยชน์ให้แก่ประชาชนและสังคมส่วนรวม อีกทั้ง ยังเป็นอาชีพที่สามารถเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวได้


ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการฝึกอบรมและพัฒนานักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงโรงเรียนกีฬานครนนท์วิทยา 6, ณัฐวุฒิ โพธิ์นิ่มแดง Jan 2021

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการฝึกอบรมและพัฒนานักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงโรงเรียนกีฬานครนนท์วิทยา 6, ณัฐวุฒิ โพธิ์นิ่มแดง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรงเรียนกีฬานครนนท์วิทยา 6 เป็นโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในการฝึกอบรมและพัฒนานักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงในระดับเยาวชน จากผลงานความสำเร็จที่เป็นที่ประจักษ์ทั้งผลการแข่งขันของทีมในระดับประเทศและการติดทีมชาติชุดต่าง ๆ ของนักกีฬา จึงเป็นที่มาของการศึกษางานวิจัยชิ้นนี้ โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลในการฝึกอบรมและพัฒนาทีมนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงระดับเยาวชนจนประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องของโรงเรียนกีฬานครนนท์วิทยา 6 ซึ่งใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสัมภาษณ์กลุ่ม จากนั้นใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและการบรรยายอย่างลุ่มลึกเพื่อนำเสนอผลการศึกษา โดยใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีปัจจัยที่ส่งผลต่อการฝึกอบรมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของมันดี้ (R. Wayne Mondy) และโน (Robert M. Noe) มาประยุกต์ให้เข้ากับบริบทของทีมวอลเลย์บอลหญิงโรงเรียนกีฬานครนนท์วิทยา 6 ซึ่งประกอบไปด้วย (1) การสนับสนุนของผู้บริหารระดับสูง (2) ความทุ่มเทของผู้ฝึกสอน (3) การนำเทคโนโลยีมาใช้ (4) ความซับซ้อนขององค์กร (5) วิธีการถ่ายทอดความรู้ และ (6) การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มาใช้เป็นกรอบในการอธิบายผลการศึกษา ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการฝึกอบรมและพัฒนานักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงโรงเรียนกีฬานครนนท์วิทยา 6 ที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุดได้แก่ (1) ความทุ่มเทของผู้ฝึกสอน (2) การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และ (3) การสนับสนุนของผู้บริหารระดับสูง และจากการวิเคราะห์ของผู้วิจัยพบว่าปัจจัยความทุ่มเทของผู้ฝึกสอนเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการฝึกอบรมและพัฒนานักกีฬามากที่สุด สำหรับการวิจัยในอนาคตสามารถนำระเบียบวิธีวิจัยจากการศึกษาชิ้นนี้ไปใช้ในการศึกษาเทียบเคียงและประยุกต์เพื่อให้เข้ากับการศึกษาทีมวอลเลย์บอลระดับเยาวชนโรงเรียนอื่น ๆ ที่อยู่ในระดับเดียวกันเพื่อเป็นการพัฒนานักกีฬาวอลเลย์บอลในระดับเยาวชนโดยภาพรวมให้เกิดการแข่งขันเพื่อการพัฒนาศักยภาพของนักกีฬาให้สูงขึ้นได้


กระบวนการบริหารจัดการทุนจากรัฐบาลประเทศมุสลิมในแอฟริกาเหนือของกระทรวงศึกษาธิการ: ศึกษากรณีทุนรัฐบาลโมร็อกโก, ปาตีฮะห์ ดอเลาะ Jan 2021

กระบวนการบริหารจัดการทุนจากรัฐบาลประเทศมุสลิมในแอฟริกาเหนือของกระทรวงศึกษาธิการ: ศึกษากรณีทุนรัฐบาลโมร็อกโก, ปาตีฮะห์ ดอเลาะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการบริหารจัดการทุนการศึกษาจากรัฐบาลโมร็อกโกรวมทั้งศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคของกลไกการบริหารจัดการดังกล่าว เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการทุนรัฐบาลจากประเทศมุสลิมในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือของกระทรวงศึกษาธิการ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกระบวนการบริหารจัดการทุน ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการบริหารจัดการทุนการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการเป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของรัฐบาลไทยกับประเทศเจ้าของทุน ในที่นี้คือรัฐบาลโมร็อกโก กระบวนการดังกล่าวจึงเป็นงานที่ต้องมีการประสานงานร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานจุฬาราชมนตรี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสถานเอกอัครราชทูตโมร็อกโกประจำประเทศไทย สำหรับกระทรวงศึกษาธิการภารกิจในการบริหารจัดการทุนรัฐบาลโมร็อกโกเพิ่งเกิดขึ้นได้ไม่นานและปัจจุบันดำเนินการภายใต้กลไกขององค์การชั่วคราว และมีการขยายขอบเขตภารกิจเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากการประชาสัมพันธ์ทุนไปเป็นประชาสัมพันธ์ทุนและดำเนินการสอบคัดเลือกผู้สมัคร รวมทั้งได้มีการริเริ่มแลกเปลี่ยนทุนการศึกษาระหว่างกัน ด้วยภารกิจที่เพิ่มขึ้นประกอบกับกลไกองค์การแบบชั่วคราว ส่งผลให้การดำเนินงานในปัจจุบันประสบปัญหาการจัดสรรงบประมาณไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ขาดบุคลากรที่มีความรู้เฉพาะด้าน ขาดความต่อเนื่องในการติดตามและประเมินผล ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะว่าควรจัดสรรงบประมาณที่เหมาะสม จัดเตรียมบุคลากรผู้รับผิดชอบที่มีความรู้ความสามารถ พร้อมทั้งกำหนดรูปแบบและเงื่อนไขในการติดตามและประเมินผลโครงการเพื่อให้การดำเนินโครงการบรรลุผลตามที่กำหนด


การกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของกรมศุลกากร, ปุณยนุช ลอยมา Jan 2021

การกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของกรมศุลกากร, ปุณยนุช ลอยมา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาการกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของกรมศุลกากร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกำหนดตัวชี้วัดของกรมศุลกากรที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน และเพื่อให้ข้อเสนอแนะกับกรมศุลกากรในการปรับปรุงตัวชี้วัดให้เหมาะสม โดยการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือในการวิจัยคือ แบบสอบถามในรูปแบบของ Google Form กับกลุ่มตัวอย่างข้าราชการกรมศุลกากร จำนวน 400 คน และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับข้าราชการกรมศุลกากร จำนวน 5 คน (ระดับหัวหน้างาน จำนวน 2 คน และระดับชำนาญการ ปฏิบัติการ จำนวน 3 คน) ซึ่งจากการศึกษาพบว่า กรมศุลกากรมีการกำหนดตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการที่มีความชัดเจน เฉพาะเจาะจง สามารถวัดผลได้จริง มีกรอบระยะเวลาในการวัดที่ชัดจน ผู้ถูกวัดสามารถดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายได้ รวมถึงได้รับความเห็นชอบร่วมกันระหว่างผู้วัดกับผู้ถูกวัด อีกทั้งการกำหนดตัวชี้วัดนี้มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการดำเนินงานของกรมศุลกากรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงให้เห็นว่า การจะพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานของกรมฯ การกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานก็เป็นปัจจัยที่สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานได้ ข้อเสนอแนะที่จากการศึกษาคือ ผู้บริหารควรให้ความสำคัญในเรื่องของการกำหนดตัวชี้วัด มอบหมายให้กลุ่มพัฒนาระบบริหารร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดตั้งคณะทำงานหรือคณะกรรมการ กำหนดปฏิทินการดำเนินงาน จัดทำรายงานผลการศึกษาเกี่ยวกับการดำเนินงานของกรมศุลกากรในแต่ละภารกิจงาน เพื่อใช้ประกอบการกำหนดตัวชี้วัด กำหนดน้ำหนักในการประเมินผล นอกจากนี้ควรพัฒนากระบวนการสร้างความรับรู้ความเข้าใจให้กับข้าราชการได้ทราบถึงความสำคัญและความจำเป็นในการวัดผลการดำเนินงาน


ลักษณะภาวะผู้นำของข้าราชการฝ่ายปกครองระดับอำเภอ กรณีศึกษา ปลัดอำเภอฝ่ายปกครองและฝ่ายความมั่นคง จังหวัดนครปฐม, ปิยณัฐ ตรงศิริ Jan 2021

ลักษณะภาวะผู้นำของข้าราชการฝ่ายปกครองระดับอำเภอ กรณีศึกษา ปลัดอำเภอฝ่ายปกครองและฝ่ายความมั่นคง จังหวัดนครปฐม, ปิยณัฐ ตรงศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากการศึกษาเรื่องลักษณะภาวะผู้นำของข้าราชการฝ่ายปกครองระดับอำเภอ กรณีศึกษา ปลัดอำเภอฝ่ายปกครองและฝ่ายความมั่นคง จังหวัดนครปฐม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่าปลัดอำเภอฝ่ายปกครองและฝ่ายความมั่นคง จังหวัดนครปฐม มีรูปแบบภาวะผู้นำรูปแบบใด มีสถานการณ์กลุ่มที่ปลัดอำเภอทั้งสองเผชิญเป็นรูปแบบใด และรูปแบบภาวะผู้นำสอดคล้องกับสถานการณ์กลุ่มตามหลักประสิทธิภาพของทฤษฎีตัวแบบผู้นำตามสถานการณ์ของฟิดเลอร์หรือไม่ โดยผู้วิจัยใช้ทฤษฎีตัวแบบผู้นำตามสถานการณ์ของฟิดเลอร์ (Fiedler’s contingency model) ในการศึกษา และผู้วิจัยอาศัยการศึกษาข้อมูลภาคสนามด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่ม ซึ่งผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือผู้ใต้บังคับบัญชาของปลัดอำเภอในจังหวัดนครปฐม ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ปกครอง สมาชิกกองอาสารักษาดินแดนอำเภอ (อส.) และกำนันผู้ใหญ่บ้าน โดยผลการศึกษาพบว่า ปลัดอำเภอฝ่ายปกครอง มีรูปแบบภาวะผู้นำแบบมุ่งเน้นความสัมพันธ์ (Relationship-Oriented Leadership) และ ปลัดอำเภอฝ่ายความมั่นคงมีรูปแบบภาวะผู้นำแบบมุ่งเน้นงาน (Task-Oriented Leadership) ประกอบกับรูปแบบภาวะผู้นำของปลัดอำเภอฝ่ายปกครองและปลัดอำเภอฝ่ายความมั่นคงนั้นมีความสอดคล้องกับสถานการณ์กลุ่มที่ปลัดอำเภอทั้งสองเผชิญ ตามหลักประสิทธิภาพของทฤษฎีตัวแบบผู้นำตามสถานการณ์ของฟิดเลอร์ จึงกล่าวได้ว่า รูปแบบภาวะผู้นำที่ปลัดอำเภอฝ่ายปกครองและปลัดอำเภอฝ่ายความมั่นคง จังหวัดนครปฐม แสดงออกในการปฏิบัติงานร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชาหรือภายในพื้นที่ที่ปฏิบัติงานนั้น มีความเหมาะสมต่อบริบทหรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในพื้นที่อำเภอต่อผู้ใต้บังคับบัญชาตามหลักประสิทธิภาพของทฤษฎีตัวแบบผู้นำตามสถานการณ์ของฟิดเลอร์แล้ว


ประสิทธิผลของการนำกล้องโทรทัศน์วงจรปิดมาใช้ในการป้องกันอาชญากรรมกรณีศึกษา กองบังคับการตำรวจนครบาล 5, ปพนเอก บุญอนันต์ Jan 2021

ประสิทธิผลของการนำกล้องโทรทัศน์วงจรปิดมาใช้ในการป้องกันอาชญากรรมกรณีศึกษา กองบังคับการตำรวจนครบาล 5, ปพนเอก บุญอนันต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิผลของการนำกล้องโทรทัศน์วงจรปิดมาใช้ในการป้องกันอาชญากรรม เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคของการนำกล้องโทรทัศน์วงจรปิดมาใช้ในการป้องกันอาชญากรรมและเพื่อเสนอแนะแนวทางในการติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิดให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจในการป้องกันปัญหาอาชญากรรมซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสมประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิธีการเก็บแบบสอบถาม ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยกลุ่มเป้าหมายคือ ข้าราชการตำรวจในสังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 5 และโดยเครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามและสัมภาษณ์เชิงลึก ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิผลของการนำกล้องโทรทัศน์วงจรปิดมาใช้ในการป้องกันอาชญากรรมในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาแยกเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ ด้านการควบคุมอาชญากรรม การบริหารจัดการ เป้าหมาย/ผลลัพธ์และการบูรณการตามลำดับ 2) ปัญหาและอุปสรรคของการนำกล้องโทรทัศน์วงจรปิดมาใช้ในการป้องกันอาชญากรรม ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาแยกเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ ด้านระบบกล้อง ความเชี่ยวชาญ พื้นที่ สภาพแวดล้อม การถูกทำลาย การบูรณาการและความต่อเนื่องของโครงการตามลำดับและ 3) ข้อเสนอแนะแนวทางในการติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิดให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจในการป้องกันปัญหาอาชญากรรมประกอบด้วยด้านระบบควบคุม ด้านจำนวน/ปริมาณกล้องโทรทัศน์วงจรปิดและด้านงบประมาณ


แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการลักลอบหนีศุลกากรทางทะเล ภายใต้ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล, ภัคพล รัชตหิรัญ Jan 2021

แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการลักลอบหนีศุลกากรทางทะเล ภายใต้ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล, ภัคพล รัชตหิรัญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ประกอบด้วย 1) เพื่อศึกษาบทบาทและโครงสร้างองค์การของกรมศุลกากรและศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล 2) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคการปฏิบัติงานของกรมศุลกากรด้านการป้องกันและปราบปรามการลักลอบหนีศุลกากรทางทะเล ภายใต้ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล 3) เพื่อหาข้อเสนอแนะในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการลักลอบหนีศุลกากรทางทะเลของกรมศุลกากร ภายใต้ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการเก็บข้อมูลจากการค้นคว้าเอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก 8 คน ซึ่งครอบคลุมข้าราชการกรมศุลกากรและเจ้าหน้าที่จากศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ผลการศึกษา พบว่า กรมศุลกากรมีบทบาทในฐานะหน่วยงานหลักภายใต้ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล โดยมีกองสืบสวนและปราบปรามที่ทำหน้าที่ในด้านการป้องกันและปราบปรามการลักลอบหนีศุลกากรทางทะเล โดยปฏิบัติงานร่วมกับศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลเป็นหลัก ในด้านโครงสร้างองค์การนั้นกรมศุลกากรมีบทบาทในฐานะสำนักปฏิบัติการ 4 ที่มุ่งเน้นภารกิจด้านการป้องกันและปราบปรามการลักลอบหนีศุลกากรทางทะเลในรูปแบบของการบูรณาการ และได้มีการจัดทำแผนเผชิญเหตุ กรณีการลักลอบขนส่งอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงทางทะเล เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในการบูรณาการร่วมกันระหว่างทั้งหน่วยงานภายในศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับภาวะปกติจนถึงภาวะที่ไม่ปกติที่อาจส่งผลต่อความเสียหายของประเทศอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ในด้านการปฏิบัติงานนั้น พบข้อจำกัดและอุปสรรคที่สำคัญคือ การขาดแคลนเรือตรวจการณ์ สถานที่จอดเรือ และระบบเทคโนโลยีในการติดตามเรือ ที่มีความเหมาะสมในการปฏิบัติงานในบางพื้นที่ รวมทั้งจำนวนบุคลากรที่ไม่สอดคล้องกับปริมาณงาน และวัฒนธรรมในการบูรณาการร่วมกันที่ควรมีการพัฒนาในรูปแบบการยึดผลงานและบทบาทการมีส่วนร่วมของผู้นำองค์การอันจะนำมาสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานแบบบูรณาการมากยิ่งขึ้น


ความท้าทายในการวางแผนบริหารการจัดการศึกษาในยุคปกติใหม่: สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย, มนธีร์จุฑา ศักดิ์เมือง Jan 2021

ความท้าทายในการวางแผนบริหารการจัดการศึกษาในยุคปกติใหม่: สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย, มนธีร์จุฑา ศักดิ์เมือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการศึกษาภายในสำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย และเพื่อศึกษาผลที่เกิดขึ้นภายหลังการบริหารจัดการศึกษาของสำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัวโควิด-19 ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการดำเนินงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผลการศึกษาพบว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้น มีผลกระทบต่อการบริหารจัดการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ของสำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ ส่งผลให้ 1) สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์มีการปรับแนวทางการบริหารจัดการเรียนการสอนจากการเรียนในห้องเรียนจริงเป็นรูปแบบออนไลน์ทั้งหมดในระยะแรกของการแพร่ระบาด ซึ่งสามารถตอบรับการสถานการณ์ได้เหมาะสมในรายวิชาทฤษฎี แต่มีข้อจำกัดในรายวิชาปฏิบัติ 2) เกิดการปรับตัวของอาจารย์ นักศึกษา บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องต่อรูปแบบการบริการจัดการศึกษารูปแบบใหม่และสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่สามารถปรับตัวได้ มีนักศึกษาบางกลุ่มที่รู้สึกพอใจกับการเรียนในห้องเรียนจริงมากกว่า 3) มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสอนที่ทันสมัยมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเต็มรูปแบบ พบข้อจำกัดคือยังไม่สามารถจัดสรรทรัพยากรให้เพียงพอต่อความต้องการได้ และได้มีการแก้ไขโดยการให้ผู้ที่ไม่มีอุปกรณ์มาใช้งานในสถาบัน 4) มีการปรับเปลี่ยนวิธีการวัดและประเมินผลการศึกษาให้เหมาะสมกับรูปแบบการจัดการเรียนการสอน คณะผู้สอนมีอิสระในการกำหนดการวัดและประเมินผลการศึกษาให้เหมาะสมกับการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ภายใต้บริบทของรายวิชาและหลักสูตร 5) ผู้บริหารร่วมกับอาจารย์มีการวางแผนจัดการบริหารความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้าและปรับแก้ตามสถานการณ์ได้


ความท้าทายในการบังคับใช้กฎหมายในการควบคุมการชุมนุมสาธารณะในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019: มุมมองผู้บังคับใช้กฎหมายในพื้นที่สถานีตำรวจนครบาลดินแดง, พรรณิดา ศรีเลิศชัยวัฒน์ Jan 2021

ความท้าทายในการบังคับใช้กฎหมายในการควบคุมการชุมนุมสาธารณะในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019: มุมมองผู้บังคับใช้กฎหมายในพื้นที่สถานีตำรวจนครบาลดินแดง, พรรณิดา ศรีเลิศชัยวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในช่วงปี พ.ศ. 2562 - 2565 มีการชุมนุมเกิดขึ้นในประเทศไทย ทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดอื่น ๆ เป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการออกมาชุมนุมของกลุ่มเยาวชนที่เพิ่มสูงขึ้นรวมถึงเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้วย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการควบคุมการชุมนุมสาธารณะในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และ 2) เสนอแนวทางในการเพิ่มประสิทธิผลในการบังคับใช้กฎหมายในการควบคุมการชุมนุมสาธารณะในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผลการศึกษาพบว่า การบังคับใช้ พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 และข้อกำหนดตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องใช้ดุลยพินิจของตนเองในการควบคุมการชุมนุมสาธารณะ และข้อกำหนดดังกล่าวยังตัดทอนกระบวนการต่าง ๆ เกี่ยวกับการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ นำไปสู่การควบคุมการชุมนุมสาธารณะในหลายพื้นที่ รวมถึงพื้นที่รับผิดชอบของสถานีตำรวจนครบาลดินแดง ซึ่งเป็นจุดสำคัญที่กลุ่มเยาวชนมักมาชุมนุมไม่เป็นไปตามหลักความสมดุลระหว่างความมั่นคงของรัฐ และความปลอดภัยของประชาชน นอกจากนี้ข้อกำหนดดังกล่าวยังทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจขาดกรอบอันเป็นขั้นตอนการปฏิบัติ และเสี่ยงต่อการถูกฟ้องดำเนินคดี ข้อเสนอแนะคือรัฐควรให้แนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจนมากขึ้น เพื่อเลี่ยงการใช้ดุลยพินิจ ซึ่งเป็นอัตวิสัยส่วนบุคคลอันสามารถนำไปสู่ข้อโต้แย้งและผลทางกฎหมายอื่น ๆ ตามมา


คุณภาพการให้บริการผู้สูงอายุของสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร, สุทธินันทน์ รุ่งวิถีชัยพร Jan 2021

คุณภาพการให้บริการผู้สูงอายุของสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร, สุทธินันทน์ รุ่งวิถีชัยพร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมผทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ซึ่งวัตถุประสงค์ของวิจัยฉบับนี้ประกอบด้วยกัน 3 หัวข้อดังนี้ 1. เพื่อศึกษาคุณภาพการให้บริการผู้สูงอายุของสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยการรับรู้ข่าวสาร ส่งผลต่อคุณภาพการให้บริการผู้สูงอายุของสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร และ 3. เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการให้บริการผู้สูงอายุของสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร โดยกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ 1. ผู้สูงอายุที่มารับบริการที่สำนักงานเขตบางแคและบางเขน จำนวนเขตละ 100 คน โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และ 2. เจ้าหน้าที่สำนักงานเขตที่ให้บริการเกี่ยวกับผู้สูงอายุจากสำนักงานเขตอย่างละ 4 คน โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยในครั้งนี้ พบว่าคุณภาพการให้บริการผู้สูงอายุของทั้ง 2 สำนักงานเขตไม่มีความแตกต่างกัน (P>0.05) และอยู่ในระดับมากทั้งด้านประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และการตรวจสอบได้ ในส่วนของปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อคุณภาพการให้บริการในความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างคือ ช่วงอายุ สถานภาพ การประกอบอาชีพ และประเภทการให้บริการ และในปัจจัยการรับรู้ข่าวสารพบว่ามีความสัมพันธ์กันกับคุณภาพการให้บริการ แต่อยู่ในระดับน้อย (r<0.51) อีกทั้งพบความขัดแย้งกันของการตอบแบบสอบถามของผู้สูงอายุ เช่น การได้รับบริการที่คาดหวัง หรือการรับบริการทำให้ท่านมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ควรอยู่ในระดับที่สูงสุด เนื่องจากเป็นการสรุปผลรวมของแต่ละด้านของคุณภาพการให้บริการ เนื่องจากในส่วนของปลีกย่อยรายข้อได้คะแนนที่มากกว่า แต่พอมาสรุปผลรวมถึงให้คะแนนที่น้อยกว่า อีกทั้งในข้อ“ท่านคิดว่าการให้บริการเป็นไปอย่างทั่วถึง” เป็นระดับที่มีคะแนนมากที่สุด (x̄ = 2.91 S.D. = 0.68) แต่พบว่ามีผู้สูงอายุอยากให้ปรับปรุงด้านการประชาสัมพันธ์ ดังนั้นสรุปได้ว่าผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะเพิกเฉยต่อการวัดคุณภาพการให้บริการ ตรงกับทฤษฎี Public Choice กล่าวไว้ว่าควรนำเอาตัวแปรการที่ประชาชนละเลยการนำเอาอารมณ์และการเมืองเข้ามาช่วยในการประกอบการพิจารณา ส่งผลให้ผู้สูงอายุอาจมีความละเลยหรือไม่ใส่ใจในการตอบเพื่อสะท้อนความเป็นจริงที่ได้รับ ทำให้ผลการวัดคุณภาพการให้บริการออกมาเป็นระดับมากซึ่งอาจจะไม่ได้สะท้อนต่อความเป็นจริง ข้อเสนอแนะจากการศึกษาวิจัย 1. นำเอาหลักแนวคิดการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management) เป็นหัวใจหลักในการให้บริการ โดยสำนักงานเขตควรต้องมีการสำรวจความต้องการในการรับบริการของผู้สูงอายุอยู่เสมอ 2. การประชาสัมพันธ์ควรปรับให้เป็นเชิงรุกมากขึ้น โดยอาจจะพิจารณาจารนำเสนอการประชาสัมพันธ์ผ่านโปรแกรม และเพิ่มการลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์ และ 3. พิจารณาเข้าสัมภาษณ์กับทางผู้สูงอายุเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพนำมาประกอบการวิเคราะห์ผลการวิจัย


ประสิทธิภาพของรัฐบาลในการบริหารจัดการข้อปรึกษาหารือของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ส่งให้นายกรัฐมนตรีพิจารณา, เจษฎา ปาตุ้ย Jan 2021

ประสิทธิภาพของรัฐบาลในการบริหารจัดการข้อปรึกษาหารือของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ส่งให้นายกรัฐมนตรีพิจารณา, เจษฎา ปาตุ้ย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งตอบคำถามที่ว่า กระบวนการปรึกษาหารือของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นช่องทางที่มีประสิทธิภาพในการตอบสนองความต้องการและความเดือดร้อนของประชาชนจริงหรือไม่ โดยใช้แนวคิดวงจรนโยบาย (Policy Cycle) ของ Thomas R. Dye และใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างข้อปรึกษาหารือของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ส่งมาให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาในช่วงปี พ.ศ. 2562 ถึง พ.ศ. 2564 จำนวน 249 เรื่อง จากจำนวนทั้งหมด 658 เรื่อง แล้วบันทึกลักษณะต่าง ๆ ของข้อปรึกษาหารือ แต่ละเรื่องลงในแบบสำรวจ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยเก็บข้อมูลจากฐานข้อมูลของกองประสานงานการเมือง สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี งานวิจัยพบว่า กระบวนการดำเนินการตอบสนองข้อปรึกษาหารือมิได้นำไปสู่การกำหนดนโยบายเพื่อดำเนินการแก้ไขหรือตอบสนองความต้องการของประชาชน ถึงแม้ว่าจะมีการรายงานสรุปผลการดำเนินการจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องก็ตาม โดยมีข้อปรึกษาหารือจำนวนเพียง 5 เรื่องเท่านั้น คิดเป็นเพียงร้อยละ 2.01 ที่วาระนโยบายได้เข้าสู่ขั้นตอนการกำหนดนโยบาย และเข้าสู่การนำนโยบายไปปฏิบัติ โดยได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อแก้ไขปัญหา และเกิดผลลลัพธ์เชิงบวกอย่างเป็นรูปธรรมต่อพื้นที่ นอกจากนี้ มีข้อปรึกษาหารือจำนวนเพียง 4 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 1.61 ที่ได้เข้าสู่ขั้นตอนการนำนโยบายไปปฏิบัติโดยได้มีการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเกิดผลลัพธ์เชิงบวกอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ากระบวนการปรึกษาหารือของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นช่องทางที่ไม่มีประสิทธิภาพในการตอบสนองความต้องการและความเดือดร้อนของประชาชน ทั้งนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่าประชาชนควรใช้ช่องทางอื่น ๆ ที่กำหนดในรัฐธรรมนูญในการสะท้อนปัญหาหรือความต้องการมากกว่าจะให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสะท้อนความต้องการเหล่านั้นผ่านข้อปรึกษาหารือต่อรัฐสภา


บทบาทและหน้าที่ของสำนักงาน กสทช. ต่อการจัดระเบียบสายสื่อสาร, ณัชพนธ์ มีแสง Jan 2021

บทบาทและหน้าที่ของสำนักงาน กสทช. ต่อการจัดระเบียบสายสื่อสาร, ณัชพนธ์ มีแสง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ทางผู้วิจัยจึงมุ่งศึกษาบทบาทและหน้าที่ของสำนักงาน กสทช. ต่อการจัดระเบียบสายสื่อสารและแนวทางการจัดระเบียบสายสื่อสาร รวมถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ และปัญหาอุปสรรคที่ส่งผลกระทบต่อการจัดระเบียบสายสื่อสาร เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาศึกษาวิเคราะห์จัดทำแนวทางแก้ไขปัญหา และเป็นประโยชน์ทั้งในเชิงนโยบายและเชิงการปฏิบัติงานต่อหน่วยงานและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงภาคประชาสังคม โดยผู้วิจัยทำการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ และทำการรวบรวมข้อมูลด้านวิชาการและประสบการณ์ปฏิบัติงานในภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้อง พบว่าปัญหาสายสื่อสารไม่เป็นระเบียบเกิดขึ้นจากความไม่ต่อเนื่องของนโยบายและแนวปฏิบัติที่สัมพันธ์กันมาตั้งแต่การดำเนินงานตั้งแต่ยุคแรกเริ่มของกิจการโทรคมนาคมในประเทศไทย ที่ไม่ได้มีการวางแผนระยะยาวในการเตรียมการรองรับสายที่จะเพิ่มขึ้น หรือรวมถึงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของเทคโนโลยีในปัจจุบันและอนาคต ด้วยบทบาทของสำนักงาน กสทช. เป็นหน่วยงานกลางในการสนับสนุนการดำเนินงานของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานภาครัฐ และผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม รวมถึงหน่วยงานอื่นๆ ซึ่งการดำเนินการที่ผ่านมายังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ดังนั้นสำนักงาน กสทช. ควรปรับบทบาทตนเองจากเดิมที่เป็นผู้รวบรวมแผนงานไปสู่การเป็นผู้นำในการประสานความร่วมมือ และการกำหนดแนวนโยบายหรือแผนการดำเนินงานร่วมกับฝ่ายต่างๆ จึงต้องสร้างกระบวนการดำเนินงานที่เหมาะสม เพื่อลดความซ้ำซ้อน สร้างความเข้าใจร่วมกัน เพื่อให้การปฏิบัติงานประสบผลสำเร็จ โดยสรุปแล้วสำนักงาน กสทช. ต้องมีการสร้างรูปแบบการดำเนินงานให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันอย่างเป็นระบบและสร้างการดำเนินงานร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม อันจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติต่อไป


ประสิทธิภาพ​ของการยื่นแบบแสดงรายการภาษี​เงินได้บุคคลธรรมดา​ผ่านออนไลน์ในเขตกรุงเทพ​มหานคร, ธนวัฒน์ ไข่หนู Jan 2021

ประสิทธิภาพ​ของการยื่นแบบแสดงรายการภาษี​เงินได้บุคคลธรรมดา​ผ่านออนไลน์ในเขตกรุงเทพ​มหานคร, ธนวัฒน์ ไข่หนู

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านออนไลน์ ในเขตกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาปัญหาของการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านออนไลน์และกระบวนการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 3) ศึกษาสาเหตุของการเลือกไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านออนไลน์ และ 4) เสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านออนไลน์ โดยการวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิจัยแบบผสม เครื่องมือในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่างผู้ที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านออนไลน์ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน และเก็บข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ ผู้ที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ผ่านออนไลน์ จำนวน 5 คน ผู้ที่ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ผ่านออนไลน์ จำนวน 5 คน และเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร จำนวน 5 คน ผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิภาพของการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านออนไลน์ ในเขตกรุงเทพมหานครอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด โดยประสิทธิภาพด้านค่าใช้จ่ายมีค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านออนไลน์ ได้แก่ ปัจจัยด้านคุณภาพของระบบ ปัจจัยด้านคุณภาพของการบริการ และปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์ของระบบการยื่นแบบฯ ผ่านออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนปัญหาและข้อเสนอแนะของการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านออนไลน์ ที่มีความสำคัญและจำเป็นที่สุด คือ ด้านคุณภาพของระบบ ให้สามารถใช้งานได้ง่าย มีความเสถียร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านออนไลน์ให้มากยิ่งขึ้น


การช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 : กรณีศึกษา การช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการในจังหวัดสระบุรี, เพลิญเพ็ญ โพธารมภ์ Jan 2021

การช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 : กรณีศึกษา การช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการในจังหวัดสระบุรี, เพลิญเพ็ญ โพธารมภ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลกระทบของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ต่อประชาชนกลุ่มเปราะบางแต่ละประเภทคือ เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ยากไร้ ในจังหวัดสระบุรี แนวทาง ผลการดำเนินงานของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการในจังหวัดสระบุรีและปัญหาอุปสรรคของการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว รวมถึงศึกษาความเหมาะสมของแนวทางการดำเนินงานต่อผลกระทบ เพื่อนำไปปรับปรุงแนวทางการดำเนินงานของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ โดยงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ และดำเนินการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากบุคลากรกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ครัวเรือนบุคคลกลุ่มเปราะบางในจังหวัดสระบุรี และตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐอื่นๆในพื้นที่ ที่ร่วมดำเนินงาน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มเปราะบางแต่ละประเภทของจังหวัดสระบุรีนั้น ต่างก็ได้รับผลกระทบทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพ เช่นเดียวกัน แต่จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความเปราะบางของแต่ละกลุ่มว่ามีความสามารถในการรับมือได้มากน้อยเพียงใด สำหรับการดำเนินงานการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการในจังหวัดสระบุรีนั้น พบว่า มีปัญหาอุปสรรคด้านตัวโครงการ ที่เน้นแก้ปัญหาระยะสั้นและไม่ครอบคลุมกลุ่มเปราะบางทุกประเภท โดยถึงแม้ว่าการช่วยเหลือจะมีส่วนช่วยให้เกิดการบรรเทาผลกระทบและความไม่สะดวกในการใช้ชีวิตต่างๆ ให้ดีขึ้นได้ในระดับหนึ่ง แต่ผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือยังคงมีความยากลำบาก และผู้ที่ยากลำบากบางส่วนก็ไม่ได้รับการช่วยเหลือ ถึงแม้ว่าจะได้รับการช่วยเหลือทางด้านการเงินแต่ปริมาณเงินยังไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต ทำให้การช่วยเหลือไม่เพียงพอในการบรรเทาผลกระทบที่ได้รับ ดังนั้น กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ จึงควรมีมาตรการที่เป็นเชิงรุกมากขึ้นนอกเหนือจากการช่วยเหลือทางการเงิน รวมไปถึงนำปัญหาอุปสรรคอื่นๆ ที่พบไปปรับปรุงแนวทางนโยบายและการดำเนินงานให้ช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางให้ดียิ่งขึ้นในอนาคต เพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้นของนโยบายและการนำไปปฏิบัติ


การประยุกต์ใช้กรอบการบริหารจัดการแบบ P-O-L-C เพื่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน:กรณีศึกษาศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, ณัฐนนท์ เส้งวั่น Jan 2021

การประยุกต์ใช้กรอบการบริหารจัดการแบบ P-O-L-C เพื่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน:กรณีศึกษาศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, ณัฐนนท์ เส้งวั่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการ และแนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืนของศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภายใต้หลักการ POLC ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) แบบเผชิญหน้ากับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 10 คน ซึ่งแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ประกอบด้วย ฝ่ายปกครอง ตำรวจ สาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ใหญ่บ้าน และผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ทั้งนี้จากการศึกษาพบว่า การบริหารจัดการของศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอเสนาค่อนข้างมีความสอดคล้องกับหลักการบริหารจัดการแบบ POLC ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่มีส่วนช่วยกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน กล่าวคือศูนย์ดังกล่าวได้มีการวางมาตรการแก้ไขปัญหายาเสพติดใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการปราบปราม ด้านการป้องกัน และด้านการบำบัดรักษา เพื่อนำไปสู่แนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ การเตรียมการ การปฏิบัติ และการส่งต่อความยั่งยืน ทั้งนี้การศึกษาครั้งนี้พบว่าบทบาทภาวะผู้นำถือเป็นส่วนสำคัญในการประสานทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เข้ามาร่วมบูรณาการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ตั้งแต่ต้นจนจบ โดยการเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนการปฏิบัติ การกำหนดเป้าหมาย การกำหนดวัตถุประสงค์ การกำหนดโครงสร้าง การมอบหมายภารกิจหน้าที่ และการลงมือปฏิบัติ ตลอดจนการควบคุมการปฏิบัติเพื่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตามศูนย์ดังกล่าวยังขาดการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภายนอกอย่างยั่งยืน ได้แก่ สถาบันการศึกษา กรมราชทัณฑ์ และกรมคุมประพฤติ อีกทั้งยังขาดการกระตุ้นสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ปฏิบัติงาน ตลอดจนแนวโน้มการควบคุมการปฏิบัติในระยะยาวมีความเข้มข้นลดลง ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงโยกย้ายตำแหน่งของผู้อำนวยการศูนย์ดังกล่าว


กระบวนการส่งเสริมมาตรฐานโฮมสเตย์ไทยของกรมการท่องเที่ยว กรณีศึกษา โฮมสเตย์ในจังหวัดเชียงใหม่, จรัญญา เมืองถ้ำ Jan 2021

กระบวนการส่งเสริมมาตรฐานโฮมสเตย์ไทยของกรมการท่องเที่ยว กรณีศึกษา โฮมสเตย์ในจังหวัดเชียงใหม่, จรัญญา เมืองถ้ำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ความเหมาะสมแนวทางการส่งเสริมมาตรฐานโฮมสเตย์ไทยและปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อการสมัครเข้าร่วมการตรวจประเมินมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย เพื่อเสนอแนวทางพัฒนากระบวนการส่งเสริมมาตรฐานโฮมสเตย์ไทยให้มีประสิทธิภาพ และเพื่อส่งเสริมและพัฒนามาตรฐานโฮมสเตย์ไทยให้ตอบสนองการท่องเที่ยวในยุควิถีใหม่ พื้นที่ศึกษาของงานวิจัยนี้คือจังหวัดเชียงใหม่ และเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จากกรมการท่องเที่ยว ผู้บริหารจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเชียงใหม่ เจ้าหน้าที่จากสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงใหม่ สมาชิกกลุ่มโฮมสเตย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน สมาชิกโฮมสเตย์ที่ยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐาน รวมถึงนักท่องเที่ยวที่เคยเข้าพักโฮมสเตย์ที่ได้รับการรับรองและนักท่องเที่ยวที่ได้เข้าพักโฮมสเตย์ที่ยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการส่งเสริมมาตรฐานโฮมสเตย์มีผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชน เนื่องจากการมีส่วนร่วมของชุมชนมีส่วนทำให้เกิดมาตรฐานในการดำเนินการ และเมื่อโฮมสเตย์เข้าสู่มาตรฐานเป็นการยกระดับโฮมสเตย์ให้มีคุณภาพในการให้บริการ ในขณะเดียวกันมีการดำเนินการการมีส่วนร่วม ในการดำเนินการท่องเที่ยวในรูปแบบโฮมสเตย์ของชุมชนอยู่แล้ว และภาครัฐได้เข้าไปช่วยสนับสนุนและส่งเสริมศักยภาพ สร้างทักษะให้กับชุมชนในการให้บริการหรือสร้างจุดขายของโฮมสเตย์ ซึ่งพบว่ามีแนวทางที่เหมาะสม แต่ยังต้องมีการประชาสัมพันธ์เพื่อ สร้างการรับรู้ถึงมาตรฐานโฮมสเตย์ และเผยแพร่สร้างความเข้าใจให้แก่นักท่องเที่ยวและโฮมสเตย์เพิ่มมากขึ้น รวมถึงพัฒนาด้านองค์ความรู้ของบุคลากรในการเผยแพร่ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ทั้งโฮมสเตย์ในการเข้าสู่มาตรฐานและนักท่องเที่ยวในการเลือกเดินทางท่องเที่ยวในโฮมสเตย์ที่ได้รับมาตรฐานซึ่งจะเป็นสิ่งการันตีถึงการท่องเที่ยวอย่างปลอดภัยและถูกสุขอนามัย ในยุคการท่องเที่ยววิถีใหม่ (New Normal)


การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกรณีศึกษา ชุมชนกุฎีจีน, มนัส สามารถกุล Jan 2021

การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกรณีศึกษา ชุมชนกุฎีจีน, มนัส สามารถกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาลักษณะและรูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนกุฎีจีนเพื่อการพัฒนาชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนกุฎีจีน และ (3) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนกุฎีจีนให้มีความสนใจที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนกุฎีจีนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยได้ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน ผลการวิจัย สรุปได้ ดังนี้ 1. กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนกุฎีจีน พบว่า โครงการที่จัดทำขึ้นไม่ตรงตามความต้องการที่แท้จริงของประชาชน ขาดการสำรวจความต้องการของประชาชนในชุมชน มีรายละเอียดโครงการและวัตถุประสงค์ของโครงการที่ไม่ชัดเจน ด้านระดับการมีส่วนของประชาชน พบว่า ภาครัฐเปิดโอกาสให้ประชาชนในชุมชนกุฎีจีนเข้ามามีส่วนร่วม อยู่ในระดับของการให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนในพื้นที่ และระดับรับฟังความคิดเห็น 2. ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนกุฎีจีน ประกอบด้วย 5 ปัจจัย ดังนี้ (1) ปัจจัยผลักดันจากบุคคลอื่นโดยเฉพาะผู้นำ เป็นปัจจัยที่มีผลมากที่สุด (2) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ (ฐานะการเงินและครอบครัว) พบว่า หากประชาชนกลุ่มใดที่มีฐานะค่อนข้างยากจน จะทำให้ไม่มีเวลาว่างที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน (3) ปัจจัยภายในตัวบุคคล พบว่า การที่ประชาชนจะเข้ามามีส่วนร่วมส่วนใหญ่เกิดจากความรักความผูกพันในชุมชน (4) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมชุมชน พบว่า ผู้คนต่างถิ่นอพยพเข้าอยู่อาศัยในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมน้อย (5) ปัจจัยด้านนโยบายภาครัฐ พบว่า มีการกำหนดนโยบายในการพัฒนาจากบนลงล่าง (Top Down) แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มีดังนี้ (1) กำหนดนโยบายในการพัฒนาพื้นที่ชุมชนกุฎีจีนจากล่างขึ้นบน (Bottom up) (2) จัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวชุมชนกุฎีจีน (3) นโยบายของภาครัฐจะต้องมีความต่อเนื่อง (4) ปลูกฝังให้ประชาชนเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาชุมชน (5) จัดให้มีศูนย์ข้อมูลและแหล่งเรียนรู้ของชุมชน (6) จัดโครงข่ายการท่องเที่ยวชุมชนกุฎีจีน


มาตรการส่งเสริมการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Gi) ไทย : การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย, ปรีปรัชศ์ หนูขจร Jan 2021

มาตรการส่งเสริมการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Gi) ไทย : การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย, ปรีปรัชศ์ หนูขจร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้มุ่งศึกษาเกี่ยวกับมาตรการส่งเสริมการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ไทย ให้ครอบคลุมพื้นที่ 77 จังหวัด และตอบคำถามที่ว่าใครเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากมาตรการบ้าง และมีส่วนได้เสียอย่างไร โดยใช้แนวคิดผู้มีส่วนได้เสีย และแนวคิดภาระทางการบริหาร มาเป็นแนวทางการศึกษาวิจัย งานวิจัยฉบับนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เกี่ยวข้องกับมาตรการเป็นจำนวน 17 คน ผลการศึกษาพบว่าผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับมาตรการมีทั้งหมด 5 กลุ่ม ประกอบด้วย ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ หน่วยงานของรัฐ ที่ปรึกษา/ผู้เชี่ยวชาญ ห้างค้าปลีก และ ผู้บริโภค โดยผู้ที่ได้ประโยชน์จากมาตรการส่งเสริมการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์และแบกรับภาระต้นทุนทางการบริหารน้อยที่สุด ได้แก่ หน่วยงานของรัฐ เนื่องจากสามารถบรรลุเป้าหมายตามมาตรการ ที่ปรึกษา ผู้ได้รับประโยชน์จากเงินค่าจ้าง ความสัมพันธ์เชิงพื้นที่กับชุมชน และเรซูเม่ในการทำงานเชิงวิชาการ รวมทั้งห้างค้าปลีก ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากการกระจายสินค้า และสร้างภาพลักษณ์ที่เป็นมิตรกับชุมชน โดยผู้ที่ได้ทั้งประโยชน์และเสียประโยชน์ คือ ผู้ผลิต / ผู้ประกอบ ที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย สามารถเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้า ทำให้สินค้ามีมาตรฐาน รวมทั้งโอกาสในการขยายช่องทางการตลาดให้แก่สินค้า ทั้งนี้ ผู้ผลิต / ผู้ประกอบ ยังมีภาระทางการบริหารที่เกิดจากต้นทุนการเรียนรู้ ต้นทุนการปฎิบัติตามนโยบาย ต้นทุนค่าเสียโอกาส และต้นทุนทางจิตวิทยาที่ต้องแบกรับ โดยต้นทุนประเภทนี้เกิดกับสินค้าทุกกลุ่มประเภททั้งเกษตรกรรม หัตถกรรม และอุตสาหกรรม สำหรับผู้บริโภคก็เช่นกัน แต่ผู้บริโภคเป็นผู้ที่ได้ประโยชน์มากกว่าเสียประโยชน์ เนื่องจากผู้บริโภคมีเพียงภาระต้นทุนทางการเรียนรู้เท่านั้นที่ต้องแบกรับ