Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 1051 - 1080 of 5570

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลขององค์กรภาครัฐ (Digital Government Transformation) กรณีศึกษา สำนักงานการต่างประเทศ กรุงเทพมหานคร, อภิชัย กุญชรชัย Jan 2021

การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลขององค์กรภาครัฐ (Digital Government Transformation) กรณีศึกษา สำนักงานการต่างประเทศ กรุงเทพมหานคร, อภิชัย กุญชรชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลขององค์กรภาครัฐ (Digital Government Transformation) กรณีศึกษาสำนักงาน การต่างประเทศ กรุงเทพมหานคร ตามแนวทางแผนแม่บทเทคโนโลยีสารเทศและการสื่อสารของกรุงเทพมหานคร และศึกษาแนวทาง รวมถึงข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการดำเนินงานของสำนักงานการต่างประเทศ เพื่อมุ่งไปสู่การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลขององค์กรภาครัฐอย่างเป็นรูปธรรม โดยงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยคำถามแบบกึ่งมีโครงสร้างในการเก็บข้อมูล จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลของสำนักงานการต่างประเทศ กรุงเทพมหานคร และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา พรรณนาบรรยายข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการเปลี่ยนทางดิจิทัลของสำนักงานการต่างประเทศ คือ การให้ความสำคัญของผู้บริหารระดับสูงในการดำเนินนโยบายและการปฏิบัติ และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานด้านต่างประเทศที่เป็นตัวเร่งให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรดิจิทัล รวมไปถึงการบูรณาการข้อมูลอย่างเป็นระบบภายใต้โครงการระบบสารสนเทศด้านต่างประเทศของกรุงเทพมหานครจะทำให้การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลสามารถเกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น และในส่วนของปัจจัยที่เป็นอุปสรรคของการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลของสำนักงานการต่างประเทศ ได้แก่ ปัจจัยด้านความพร้อมและศักยภาพทรัพยากรของหน่วยงาน ที่ต้องมีการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลทั้งระบบการดำเนินการภายใน และระบบการให้บริการแก่ประชาชน นอกจากนี้ปัจจัยด้านความรู้และทักษะด้านดิจิทัลของบุคลากรที่ยังคงต้องมีการพัฒนาทักษะเพื่อรองรับกับเทคโนโลยีและรูปแบบงานยุคใหม่ที่มีความท้าทายมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารระดับสูงและผู้ปฎิบัติควรร่วมกันหารือและผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น การนำองค์ความรู้จากต่างประเทศด้านการพัฒนาดิจิทัลมาปรับใช้ ผ่านการประสานกับหน่วยงานหลักในการพัฒนาด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมการพัฒนากรุงเทพมหานครในฐานะเมืองหลวงของประเทศไปสู่เป้าหมาย “มหานครแห่งเอเชีย” โดยแท้จริง


กลไกที่รัฐบาลไทยใช้จัดการข้อเรียกร้องเพื่อเปลี่ยนแปลงนโยบายเกี่ยวกับสิทธิของนักเรียนศึกษากรณี ทรงผมนักเรียน (พฤษภาคม พ.ศ. 2563 – พฤศจิกายน พ.ศ. 2564), สิรวิชญ์ พิทักษ์ธำรง Jan 2021

กลไกที่รัฐบาลไทยใช้จัดการข้อเรียกร้องเพื่อเปลี่ยนแปลงนโยบายเกี่ยวกับสิทธิของนักเรียนศึกษากรณี ทรงผมนักเรียน (พฤษภาคม พ.ศ. 2563 – พฤศจิกายน พ.ศ. 2564), สิรวิชญ์ พิทักษ์ธำรง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งศึกษากลไกที่รัฐบาลไทยใช้เพื่อจัดการข้อเรียกร้องของภาคประชาสังคมเกี่ยวกับนโยบายทรงผมนักเรียนว่ามีรูปแบบและการทำงานอย่างไร ตลอดจนกลไกดังกล่าวส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการกำหนดนโยบายสาธารณะมากน้อยเพียงใด งานวิจัยชิ้นนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลบุคคลที่เกี่ยวข้องในกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 8 คน และนักเรียนผู้เรียกร้องด้วยวิธีการสัมภาษณ์และศึกษาข้อมูลจากบทสัมภาษณ์ในสื่อสังคมออนไลน์ ข้อค้นพบจากงานวิจัยชิ้นนี้คือข้อเรียกร้องเกี่ยวกับทรงผมนักเรียนถูกผลักดันโดยกลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคมที่ได้รับแรงสนับสนุนจากบริบททางการเมืองในช่วงปี พ.ศ. 2563 ที่นักเรียนนักศึกษามีการเคลื่อนไหวเรียกร้องทางการเมืองอย่างกว้างขวาง ประกอบกับการขยายตัวของสื่อสังคมออนไลน์ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้รับข้อเรียกร้อง / ร้องเรียนจากนักเรียนจำนวนมากโดยเฉพาะการปฏิบัติของสถานศึกษาซึ่งยังไม่สอดคล้องกับระเบียบทรงผมนักเรียนฉบับใหม่ และใช้กลไกที่เป็นทางการเพิ่มเติมนอกจากกลไกตรวจสอบเรื่องร้องเรียนตามระบบราชการเพื่อจัดการสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยใช้การเปิดรับฟังความคิดเห็นนักเรียน และการตั้งคณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนของนักเรียน ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการเลือกจัดการประเด็นเกี่ยวกับทรงผมนักเรียนเป็นลำดับแรก เนื่องจากได้รับการร้องเรียนจำนวนมากและแก้ไขได้ทันที ผลลัพธ์ของการจัดการข้อร้องเรียนคือการแก้ไขระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน พ.ศ. 2563 ให้รองรับความหลากหลายทางเพศ และระบุรูปแบบการมีส่วนร่วมที่ชัดเจนของนักเรียนและผู้เกี่ยวข้องในการกำหนดระเบียบทรงผมที่เฉพาะเจาะจงของสถานศึกษา ในภาพรวม กระทรวงศึกษาธิการพยายามใช้การมีส่วนร่วมของนักเรียนในการกำหนดนโยบายสาธารณะ แต่ผลลัพธ์ที่ได้ ไม่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพในร่างกายหรือทรงผมของนักเรียนเท่าที่ควร


การศึกษาการเคลื่อนย้ายของเสียข้ามแดนอย่างผิดกฎหมายในประเทศไทย, เชาว์วัศ สกุลวรวิทย์ Jan 2021

การศึกษาการเคลื่อนย้ายของเสียข้ามแดนอย่างผิดกฎหมายในประเทศไทย, เชาว์วัศ สกุลวรวิทย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง การศึกษาการเคลื่อนย้ายของเสียข้ามแดนอย่างผิดกฎหมายในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการเคลื่อนย้ายของเสียข้ามแดนอย่างผิดกฎหมายในประเทศไทย ศึกษาการบังคับใช้กฎหมาย ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากการบังคับใช้กฎหมาย ตลอดจนแสวงหาข้อเสนอแนะต่อการป้องกันและปราบปรามการเคลื่อนย้ายของเสียข้ามแดนอย่างผิดกฎหมายในประเทศไทยโดยใช้วิธีการในการดำเนินการวิจัย คือ การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 13 คน ประกอบด้วยพนักงานศุลกากร เจ้าพนักงานตำรวจ พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ พนักงานอัยการ เจ้าหน้าที่กรมควบคุมมลพิษ ผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม และผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายสิ่งแวดล้อม ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบของการเคลื่อนย้ายของเสียข้ามแดนอย่างผิดกฎหมายในประเทศไทยที่พบมากที่สุด คือ การนำเข้าเศษพลาสติก ด้วยการขนส่งทางเรือโดยบรรจุของเสียในตู้สินค้า ซึ่งมีประเทศต้นทางที่สำคัญ คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยผู้กระทำผิดใช้วิธีการฉ้อฉลทางเอกสารเป็นหลัก และเป็นการกระทำโดยองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ในขณะที่หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายก็เผชิญกับปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมาย อาทิเช่น ปัญหาช่องว่างของกฎหมายในเรื่องหลักเกณฑ์การเปรียบเทียบงดการฟ้องร้องตามกฎหมายศุลกากร เป็นต้น อันนำมาสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการงดการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้องเพื่อดำเนินคดีผู้กระทำผิดในชั้นศาล การนำพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พ.ศ. 2556 มาใช้ในการปราบปรามการเคลื่อนย้ายของเสียข้ามแดนอย่างผิดกฎหมายในประเทศไทย ตลอดจนการจัดการกับของเสียที่เป็นของกลางและของตกค้างด้วยการส่งกลับต้นทาง เป็นต้น


แนวทางการพัฒนาการดำเนินการของ “ศูนย์แคร์” กรมราชทัณฑ์, ปิยะวัฒน์ ปิ่นเจริญ Jan 2021

แนวทางการพัฒนาการดำเนินการของ “ศูนย์แคร์” กรมราชทัณฑ์, ปิยะวัฒน์ ปิ่นเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการทำงานของศูนย์แคร์ กรมราชทัณฑ์ วิเคราะห์สภาพปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการ และแนวทางการพัฒนาการดำเนินการของศูนย์แคร์ กรมราชทัณฑ์ การศึกษาใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับศูนย์แคร์ ซึ่งประกอบด้วย ผู้อำนวยการกองพฤตินิสัย ผู้ปฏิบัติงานศูนย์แคร์ในเรือนจำ 4 แห่ง คือ ทัณฑสถานหญิงพิษณุโลก เรือนจำกลางคลองเปรม เรือนจำกลางนครสวรรค์ และเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร จำนวน 16 คน หน่วยงานเครือข่ายที่ปฏิบัติงานร่วมกับศูนย์แคร์ จำนวน 7 คน และผู้พ้นโทษที่ได้รับความช่วยเหลือจากศูนย์แคร์ จำนวน 5 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) กระบวนการทำงานของศูนย์แคร์ กรมราชทัณฑ์ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ กระบวนการก่อนปล่อยตัว กระบวนการในวันปล่อยตัว และกระบวนการภายหลังปล่อยตัว 2) ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการของศูนย์แคร์ ได้แก่ ปัญหาด้านบุคลากร ปัญหาด้านการให้ข้อมูลของผู้ต้องขัง ปัญหาด้านสังคม และปัญหาด้านข้อกฎหมาย และ 3) แนวทางการพัฒนาการดำเนินการของศูนย์แคร์ คือ การเพิ่มบุคลากรในตำแหน่งนักสังคมสงเคราะห์ในเรือนจำ/ทัณฑสถานที่ยังขาดแคลน การให้ผู้พ้นโทษที่ได้รับความช่วยเหลือจากศูนย์แคร์เข้ามาบรรยายถึงประโยชน์ที่จะได้รับในการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง การจัดทำสื่อหรือกิจกรรมเพื่อเผยแพร่ตัวอย่างของผู้พ้นโทษที่สามารถกลับตัวได้ เพื่อให้สังคมเปลี่ยนทัศนคติ และการแก้ข้อกฎหมายเพื่อให้ผู้พ้นโทษได้มีโอกาสประกอบกิจการของตัวเองหรือได้รับการจ้างงานมากขึ้น


ความยุติธรรมกรุณา : กรณีศึกษาการช่วยเหลือผู้ประสบภัยถ้ำหลวง พ.ศ.2561, ชนุตร์ นาคทรานันท์ Jan 2021

ความยุติธรรมกรุณา : กรณีศึกษาการช่วยเหลือผู้ประสบภัยถ้ำหลวง พ.ศ.2561, ชนุตร์ นาคทรานันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ศึกษาประเด็นเรื่องความยุติธรรมจากกรณีศึกษาการกู้ภัยถ้ำหลวง พ.ศ. 2561 ศึกษาผ่านกรอบแนวคิด "ความยุติธรรมกรุณา" ในการตอบวัตถุประสงค์ 3 ข้อคือ 1. เพื่อศึกษาประเด็นเรื่องความยุติธรรม/ไม่ยุติธรรมที่ปรากฎจากการกู้ภัยถ้ำหลวง 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความยุติธรรมกับความกรุณาที่ปรากฎจากการกู้ภัยถ้ำหลวง 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความยุติธรรมกับความกรุณาในเชิงทฤษฎี ผลการศึกษาตอบวัตถุประสงค์ 3 ข้อดังนี้ 1. การกู้ภัยถ้ำหลวงก่อให้เกิดคำถามเกี่ยวกับ "ความไม่ยุติธรรมเปรียบเทียบ" 2. ผู้ประสบภัยถ้ำหลวงได้รับความช่วยเหลืออย่างมหาศาลทั้งในด้านทรัพยากรบุคคลและทรัพยากรวัตถุ ซึ่งถือว่าผู้ประสบภัยได้รับ "ความกรุณา" อย่างสูงจากการกู้ภัย ส่วนผู้ประสบภัยกรณีอื่นเช่นกรณีน้ำท่วมจังหวัดอุบลราชธานีในปี พ.ศ.2562 ได้รับการช่วยเหลือตามมาตรฐานที่ถูกต้องแล้ว แต่ก็เกิดคำถามเรื่อง "ความไม่ยุติธรรมเปรียบเทียบ" ในแง่ระดับความช่วยเหลือ 3. แนวคิดเรื่อง "ความยุติธรรมกรุณา" อธิบายว่า "ความไม่ยุติธรรมเปรียบเทียบ" เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ในกรณีของการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ด้วยเงื่อนไขสำคัญคือ 1. ความจำเป็นของผู้ประสบภัยในการได้รับความช่วยเหลือ 2. การช่วยเหลือต้องสร้างผลดีต่อสังคม มากกว่าสร้างผลเสียต่อสังคม 3. ผู้ไม่ได้รับความกรุณา จำเป็นต้องได้รับความยุติธรรมในตัวเอง


สงครามโลกครั้งที่ 1 กับการระบุตัวตนของสยามในสังคมระหว่างประเทศ, ศิวพล ชมภูพันธุ์ Jan 2021

สงครามโลกครั้งที่ 1 กับการระบุตัวตนของสยามในสังคมระหว่างประเทศ, ศิวพล ชมภูพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาสงครามโลกครั้งที่ 1 กับการระบุตัวตนของสยามในสังคมระหว่างประเทศผ่านกรอบแนวคิดเรื่องสังคมระหว่างประเทศของสำนักอังกฤษและแนวคิดเรื่องการระบุตัวตนของชาติ จากการศึกษาพบว่า สงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นจุดสัมฤทธิผลสูงสุดในกระบวนการระบุตัวตนของสยามในสังคมระหว่างประเทศอันเป็นผลมาจากการแสดงบทบาทระหว่างประเทศของการเป็นรัฐสมัยใหม่ อีกทั้งยังเป็นการแสดงผลของการผสมผสานความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของสถาบันระหว่างประเทศให้เป็นที่ประจักษ์แก่นานาอารยประเทศ ในอีกด้านหนึ่ง การระบุตัวตนของสยามจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้ถูกนำมาใช้เป็นโอกาสในการเมืองภายในด้วยการเสริมสร้างความสำคัญให้แก่ระบอบราชาธิปไตยและการยกพระราชสถานะของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวให้สูงเด่นยิ่งขึ้น


Impacts Of Bandwagon Effect And Product Type In Instagram Native Advertising On Generation Z Consumer's Behavior, Leiv Tore Kaltbeitzer Jan 2021

Impacts Of Bandwagon Effect And Product Type In Instagram Native Advertising On Generation Z Consumer's Behavior, Leiv Tore Kaltbeitzer

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this study was to investigate the impact of bandwagon effect and product type in Instagram native advertising on consumer behavior (i.e., ad intrusiveness, attitude towards the ad, attitude towards the brand, purchase intention and intention to share). Using an experimental method, a 2 (bandwagon effect: high and low) x 2 (product type: utilitarian and hedonic) factorial design was employed to collect data from 129 undergraduate students at The results indicated that bandwagon effect as well as product type have main effects on consumer behavior, in terms of intention to share and purchase intention, respectively. No interaction effect …


Factors Influencing Consumers’ Purchaseintention Towards Products Endorsed By Korean Boy Bands On Youtube, Wanthida Tiwari Jan 2021

Factors Influencing Consumers’ Purchaseintention Towards Products Endorsed By Korean Boy Bands On Youtube, Wanthida Tiwari

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of the study is the understand the factors that influence consumer purchase intention of products endorsed by Korean boy bands on YouTube and identify the weight of the attitude towards source characteristics, YouTube engagement, product involvement level and YouTube advertisement formats amongst each other and with purchase intention. The study was conducted in a quantitative approach from 408 respondents who have been exposed to YouTube ads in 2022. The results are as followed: (1) attractiveness was the highest scored sub-variable of source characteristics, along with clicking like for engagement, product placement for advertisement formats and low involvement product …


การเปิดรับการสื่อสารการตลาด ทัศนคติต่อแอปพลิเคชันชอปปิงออนไลน์ และการตัดสินใจซื้อเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาของผู้บริโภค, ปณิธิ เสกสรรค์วิริยะ Jan 2021

การเปิดรับการสื่อสารการตลาด ทัศนคติต่อแอปพลิเคชันชอปปิงออนไลน์ และการตัดสินใจซื้อเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาของผู้บริโภค, ปณิธิ เสกสรรค์วิริยะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับการสื่อสารการตลาด ทัศนคติต่อแอปพลิเคชันชอปปิงออนไลน์ และการตัดสินใจซื้อเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาผ่านแอปพลิเคชันชอปปิงออนไลน์ของผู้บริโภค การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาแบบวิจัยเชิงสำรวจ เก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริโภคที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป และเคยใช้งานแอปพลิเคชันชอปปิงออนไลน์ในช่วง 1 ปี ที่ผ่านมา จำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเปิดรับการสื่อสารการตลาดเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาผ่านแอปพลิเคชันชอปปิงออนไลน์ โดยรวมทุกด้าน อยู่ในระดับปานกลาง มีทัศนคติต่อแอปพลิเคชันชอปปิงออนไลน์ โดยรวมอยู่ในระดับเชิงบวก และมีการตัดสินใจซื้อเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาผ่านแอปพลิเคชันชอปปิงออนไลน์ โดยรวมอยู่ในระดับสูง ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า การเปิดรับการสื่อสารการตลาดเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาผ่านแอปพลิเคชันชอปปิงออนไลน์โดยรวม มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อแอปพลิเคชันชอปปิงออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์กันในทางบวก และอยู่ในระดับต่ำ ทัศนคติต่อแอปพลิเคชันชอปปิงออนไลน์มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาผ่านแอปพลิเคชันชอปปิงออนไลน์โดยรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์กันในทางบวก และอยู่ในระดับต่ำ


การเปิดรับสื่อ ความพึงพอใจ การรับรู้ความเสี่ยง และความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มกาแฟแบบสมัครสมาชิกจัดส่งถึงบ้าน, วรรษา รักหลวง Jan 2021

การเปิดรับสื่อ ความพึงพอใจ การรับรู้ความเสี่ยง และความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มกาแฟแบบสมัครสมาชิกจัดส่งถึงบ้าน, วรรษา รักหลวง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงปริมาณนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับสื่อ ความพึงพอใจ การรับรู้ความเสี่ยง และความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มกาแฟแบบสมัครสมาชิกจัดส่งถึงบ้าน โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และเคยพบเห็นสื่อเกี่ยวกับเครื่องดื่มกาแฟแบบสมัครสมาชิกจัดส่งถึงบ้านประเภทแคปซูลหรือถุงพร้อมดื่มในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างเปิดรับสื่อเกี่ยวกับเครื่องดื่มกาแฟแบบสมัครสมาชิกจัดส่งถึงบ้านโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) กลุ่มตัวอย่างพึงพอใจต่อสื่อเกี่ยวกับเครื่องดื่มกาแฟแบบสมัครสมาชิกจัดส่งถึงบ้านอยู่ในระดับมาก 3) กลุ่มตัวอย่างรับรู้ความเสี่ยงในการซื้อเครื่องดื่มกาแฟแบบสมัครสมาชิกจัดส่งถึงบ้านในระดับปานกลาง และ 4) กลุ่มตัวอย่างมีความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มกาแฟแบบสมัครสมาชิกจัดส่งถึงบ้านอยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1) การเปิดรับสื่อมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความพึงพอใจต่อสื่อเกี่ยวกับเครื่องดื่มกาแฟแบบสมัครสมาชิกจัดส่งถึงบ้าน 2) การเปิดรับสื่อมีความสัมพันธ์เชิงลบกับการรับรู้ความเสี่ยงในการซื้อเครื่องดื่มกาแฟแบบสมัครสมาชิกจัดส่งถึงบ้าน 3) การเปิดรับสื่อ ความพึงพอใจ และการรับรู้ความเสี่ยงมีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มแบบสมัครสมาชิกจัดส่งถึงบ้าน 4) กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุแตกต่างกันและกลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกันมีการเปิดรับสื่อแตกต่างกัน และ 5) กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาที่สำเร็จสูงสุดแตกต่างกันมีความตั้งใจซื้อแตกต่างกัน


การวิเคราะห์ภาพตัวแทนของผู้หญิงล้านนาในละครโทรทัศน์แนวย้อนยุคบริบทภาคเหนือ, วัชรวีร์ ไชยยายนต์ Jan 2021

การวิเคราะห์ภาพตัวแทนของผู้หญิงล้านนาในละครโทรทัศน์แนวย้อนยุคบริบทภาคเหนือ, วัชรวีร์ ไชยยายนต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพตัวแทนของผู้หญิงล้านนาในละครโทรทัศน์แนวย้อนยุคบริบทภาคเหนือ โดยศึกษาละครโทรทัศน์แนวย้อนยุคบริบทภาคเหนือจำนวน 3 เรื่อง ซึ่งออกอากาศทางช่อง 3HD ในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2553 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ แบ่งเป็น 3 ขั้นตอนคือ 1.การวิเคราะห์ตัวบทละคร 2.การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ผลิต ได้แก่ ผู้เขียนบทละครโทรทัศน์และผู้จัดละครโทรทัศน์ 3.การจัดกลุ่มสนทนาผู้ชมละครโทรทัศน์ที่เป็นผู้หญิงล้านนา ผลการวิจัยพบว่า ภาพตัวแทนของผู้หญิงล้านนาในละครโทรทัศน์แนวย้อนยุคบริบทภาคเหนือทั้ง 3 เรื่อง มีการสร้างภาพตัวแทนของความเป็นแม่ ความเป็นเมีย และความเป็นลูกสาว ซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากสถาบันครอบครัวทั้งสิ้น ผู้หญิงล้านนาส่วนใหญ่มีหน้าที่สนับสนุนความสำเร็จของคู่ครองและทำหน้าที่ดูแลทุกอย่างภายในบ้าน ดังนั้นการถ่ายทอดอุดมการณ์ทางความคิดจากรุ่นสู่รุ่นจึงตกเป็นหน้าที่ของผู้หญิง ภาพตัวแทนผู้หญิงล้านนาในละครบางเรื่องจึงแสดงออกถึงความเป็นแม่และความเป็นเมียควบคู่กัน ภาพตัวแทนของผู้หญิงล้านนาที่แสดงออกมา มีการประกอบสร้างภาพตัวแทนโดยการนำบริบทของวัฒนธรรมปัจจุบันผสมผสานเข้าไปกับวัฒนธรรมล้านนาแบบดั้งเดิม ดังนั้นภาพตัวแทนที่แสดง จึงเป็นสิ่งที่กระทบเข้าไปในการรับรู้และความรู้สึกของผู้ชม เนื่องจากภาพตัวแทนที่เห็นนั้นเป็นเหมือนภาพสะท้อนของตัวเอง ก่อให้เกิดการตั้งคำถามว่าเราควรทำหรือไม่ควรทำตามภาพสะท้อนที่เห็น และถ้าเราอยู่ ณ เวลานั้นในอดีต เราจะทำอย่างไร อีกประการ การสร้างภาพตัวแทนผู้หญิงล้านนาในละคร ได้สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นจริงทางสังคมในหลายแง่มุม เพราะสิ่งที่ปรากฏในละครบางอย่างยังคงอยู่ในปัจจุบัน


การสร้างสรรค์การแสดงเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวของพิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีน, อองฟอง เอี่ยมประพันธ์ Jan 2021

การสร้างสรรค์การแสดงเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวของพิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีน, อองฟอง เอี่ยมประพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีน เป็นพิพิธภัณฑ์เอกชนที่นำเสนอเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และประเพณีของชุมชนกุฎีจีน ผ่านนิทรรศการที่จัดแสดงวัตถุและป้ายคำบรรยายที่อธิบายวัตถุอย่างตรงไปตรงมาตามปกติ ซึ่งนับเป็นการสื่อสารตามรูปแบบของพิพิธภัณฑ์วิทยา (Museology) ที่มีเป้าหมายในการอนุรักษ์วัตถุอันเป็นมรดกสืบทอดของมนุษย์และเผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ด้านการศึกษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ (Creative Research) เพื่อสร้างสรรค์การแสดงเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวของพิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีน และเพื่อศึกษาทัศนคติของผู้เข้าชมต่อการแสดงรูปแบบพิพิธภัณฑ์นาฏกรรมตามแนวคิดพิพิธภัณฑ์สมัยใหม่ (New Museology) ที่ให้ความสำคัญกับผู้เข้าชมในฐานะผู้รับสารที่มีส่วนร่วมมากกว่าการพิจารณาเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์ โดยผู้วิจัยได้สร้างสรรค์การแสดงเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวของพิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีน 1 เรื่อง เพื่อศึกษากระบวนการสร้างสรรค์ผ่านขั้นเตรียมการแสดง ขั้นจัดการแสดง และขั้นหลังการแสดง ผลการวิจัยพบว่า การแสดงรูปแบบพิพิธภัณฑ์นาฏกรรมได้ทำหน้าที่ในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการสื่อสารเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวที่เป็นประวัติศาสตร์ท้องถิ่นหรือวิถีชุมชนได้ในเชิงของภาพ อารมณ์ และความรู้สึก ซึ่งสะท้อนให้เห็นบริบทแวดล้อมในมิติต่าง ๆ ผ่านเครื่องแต่งกาย อุปกรณ์ประกอบฉาก และบทสนทนาของตัวละคร รวมถึงเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นให้ผู้เข้าชมอยากศึกษาเรียนรู้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม การคัดเลือกประเด็นหรือเนื้อหาในการนำเสนอผ่านการแสดงเพื่อให้ผู้เข้าชมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชุมชนกุฎีจีน ควรคำนึงถึงกลุ่มผู้เข้าชมเป้าหมายเป็นหลัก เพราะผู้เข้าชมที่มีอายุ ความรู้ และประสบการณ์ที่แตกต่างกัน ย่อมมีผลต่อการรับรู้ที่แตกต่างกันด้วย


ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบเสริมอำนาจกับความสามารถในการปรับตัวด้านอาชีพ โดยมีความงอกงามในงานเป็นตัวแปรส่งผ่าน, กฤตยา จรัสพรธัญญา Jan 2021

ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบเสริมอำนาจกับความสามารถในการปรับตัวด้านอาชีพ โดยมีความงอกงามในงานเป็นตัวแปรส่งผ่าน, กฤตยา จรัสพรธัญญา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กระแสการเปลี่ยนแปลงของสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน สร้างความท้าทายต่อการปรับตัวทางอาชีพแก่บุคลากร งานวิจัยที่ผ่านมาพบความสำคัญของภาวะผู้นำของหัวหน้าและการรับรู้ความงอกงามในงานของพนักงาน มีส่วนผลักดันให้บุคลากรนำทรัพยากรทางจิตเชิงบวกของตน มาพัฒนาเป็นความสามารถในการปรับตัว เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในสายอาชีพ โดยเฉพาะพนักงานในกลุ่มสายงานบริการ ซึ่งมีหน้าที่ลำดับแรกคือปฏิสัมพันธ์กับผู้มาขอรับบริการ ที่มีความต้องการหลากหลาย จึงต้องเรียนรู้ที่จะปรับวิธีการทำงาน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบเสริมอำนาจ กับความสามารถในการปรับตัวด้านอาชีพ โดยมีความงอกงามในงานเป็นตัวแปรส่งผ่าน ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถามออนไลน์จากพนักงานในสายงานบริการ เช่น นักการตลาดและพนักงานไอที ที่ปฏิบัติงานในองค์การภาคเอกชนในประเทศไทย จำนวน 241 คน จากการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการถดถอย พบว่า ภาวะผู้นำทำนายความสามารถในการปรับตัวด้านอาชีพในเชิงบวก (β = .28, p < .001) ผ่านตัวแปรความงอกงามในงานซึ่งเป็นการส่งผ่านแบบสมบูรณ์ (full mediation) (effect = .19, se = .06, 95% CI: .09, .32) ผลการวิจัยเผยให้เห็นว่า หัวหน้างานที่เน้นให้อำนาจการตัดสินใจในหน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงานแต่ละคน จะช่วยให้เกิดความงอกงามในงาน รับรู้ถึงพลังชีวิตและการเรียนรู้ อันจะนำไปสู่ความสามารถในการปรับตัวด้านอาชีพ ดังนั้นเพื่อให้พนักงานในสายงานบริการเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในอาชีพ องค์การควรส่งเสริมให้พนักงานมีความงอกงามในงาน ผ่านการพัฒนารูปแบบผู้นำแบบเสริมอำนาจในกลุ่มหัวหน้างาน


ประสบการณ์ทางจิตใจของนักเคลื่อนไหวรุ่นใหม่, ณัชฌา ลงทอง Jan 2021

ประสบการณ์ทางจิตใจของนักเคลื่อนไหวรุ่นใหม่, ณัชฌา ลงทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยคเชิงคุณภาพในครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแนวปรากฎการณ์วิทยาเชิงตีความ (Interpretative Phenomenological Analysis: IPA) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ทางจิตใจของนักเคลื่อนไหวรุ่นใหม่ ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งมีโครงสร้าง (semi-structured interview) กับนักกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางสังคม อายุระหว่าง 18-25 ปี ที่ยังคงมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางสังคมอย่างต่อเนื่อง จำนวน 6 ราย โดยผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบ 3 ประเด็นหลัก คือ 1) แรงจูงใจให้เข้ามาเป็นนักเคลื่อนไหวทางสังคม ประกอบด้วย การปลูกฝังภายในครอบครัว การได้รับผลกระทบจากสภาพสังคมที่เป็นอยู่ ความห่วงใยต่อสังคม และการรับรู้ข่าวสารและข้อมูลที่เกี่ยวกับประเด็นที่ออกมาขับเคลื่อน 2) ปัญหาและแนวทางการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นกับนักเคลื่อนไหวทางสังคม ประกอบไปด้วย ปัญหาและความท้าทายที่เกิดขึ้นและแนวทางการจัดการกับปัญหา 3) สิ่งที่ทำให้ยังคงเป็นนักเคลื่อนไหวทางสังคม ประกอบด้วย ประสบการณ์ที่ทำให้เกิดความรู้สึกทางบวก รับรู้ได้ถึงความเปลี่ยนแปลงของสังคม ความหมายและคุณค่าในตนเอง และสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเป็นนักเคลื่อนไหว ซึ่งผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ในการเพิ่มความเข้าใจในประสบการณ์ทางจิตใจที่เกิดขึ้นกับนักเคลื่อนไหวทางสังคม และเป็นแนวทางในการพัฒนาส่งเสริมการดูแลสุขภาพจิตให้แก่นักเคลื่อนไหวรุ่นใหม่ ในฐานะกลุ่มคนที่มีความตั้งใจที่จะพัฒนาสังคมให้ดีขึ้น มีพลังใจในการเดินไปบนเส้นทางที่พวกเขาเลือกได้อย่างมั่นคง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทั้งส่วนร่วมและการเห็นคุณค่าในตนเอง


อิทธิพลของปฏิสัมพันธ์สามทาง ระหว่างข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทาย ความมีอิสระในการทำงาน และการใช้จุดแข็ง ต่อความเพลินในงาน, นัทชนันท์ แทนวิสุทธิ์ Jan 2021

อิทธิพลของปฏิสัมพันธ์สามทาง ระหว่างข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทาย ความมีอิสระในการทำงาน และการใช้จุดแข็ง ต่อความเพลินในงาน, นัทชนันท์ แทนวิสุทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความเพลินในงานเป็นสภาวะเชิงบวกที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลจดจ่อกับงานอย่างลึกซึ้ง รู้สึกเพลิดเพลินและมีแรงจูงใจที่จะทำงานนั้นอย่างต่อเนื่อง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเกิดความเพลินในงานภายใต้ทฤษฎีข้อเรียกร้องในงานและทรัพยากรในงาน โดยทดสอบอิทธิพลของปฏิสัมพันธ์สามทางระหว่างข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทาย ความมีอิสระในการทำงาน และการใช้จุดแข็ง ที่มีต่อความเพลินในงาน โดยกำหนดสมมติฐานว่า ความสัมพันธ์ระหว่างข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทายและความเพลินในงานจะมีความแตกต่างกันระหว่างการใช้จุดแข็งในระดับสูงและต่ำ ณ ระดับความมีอิสระในการทำงานสูง จากการศึกษาพนักงานบริษัทเอกชนในประเทศไทยจำนวน 222 คนด้วยสถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเชิงชั้นพบว่า (1) ความมีอิสระในการทำงานด้านการตัดสินใจมีอิทธิพลกำกับทางลบต่อความสัมพันธ์ระหว่างข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทายและความเพลินในงาน (β = -.20, p < .05, f2 = .02) (2) ความมีอิสระในการทำงานด้านการกำหนดวิธีการทำงานมีอิทธิพลกำกับทางบวกต่อความสัมพันธ์ระหว่างข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทายและความเพลินในงาน (β = .22, p < .05, f2 = .02) และ (3) ปฏิสัมพันธ์สามทางระหว่างข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทาย ความมีอิสระในการทำงานด้านการตัดสินใจ และการใช้จุดแข็ง มีอิทธิพลต่อความเพลินในงาน (β = -.31, p < .05, f2 = .03) โดยพบความสัมพันธ์ทางบวกระหว่างข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทายและความเพลินในงานเมื่อมีการใช้จุดแข็งสูง ณ ระดับความมีอิสระในการทำงานต่ำ ซึ่งปฏิสัมพันธ์ที่พบนี้ไม่สอดคล้องกับทิศทางของสมมติฐาน จึงสรุปได้ว่า การใช้จุดแข็งเป็นทรัพยากรในงานที่พนักงานที่มีอิสระในการตัดสินใจต่ำสามารถนำมาปรับใช้เพื่อให้เกิดความเพลินในงานมากขึ้น เมื่อเผชิญกับข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทายในระดับสูง


การเกิดปัญญาของผู้ให้การปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธที่มีประสบการณ์ในการทำงานสูง, วรากร ศรสุรินทร์ Jan 2021

การเกิดปัญญาของผู้ให้การปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธที่มีประสบการณ์ในการทำงานสูง, วรากร ศรสุรินทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การเกิดปัญญาในการทำงานของผู้ให้การปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธที่มีประสบการณ์ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพแนวปรากฏการณ์วิทยาแบบตีความ ผู้ให้ข้อมูลหลักคือผู้ให้การปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธที่มีประสบการณ์การทำงานด้านการปรึกษาแนวพุทธมาอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5 ปี จำนวน 6 ราย เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์โดยใช้คำถามแบบกึ่งโครงสร้าง ผลการวิจัยพบ 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) ความขุ่นใจที่รบกวนขณะทำงานและชีวิตส่วนตัว ซึ่งประกอบด้วย ความขุ่นใจ กวนใจขณะทำงานกับผู้มาปรึกษา (ใจไม่ว่าง ความคิดปั่นป่วน และรับรู้เรื่องราวของผู้รับบริการได้ไม่ชัด) และความทุกข์ใจ รบกวนชีวิตส่วนตัว (ครุ่นคิดในความผิดพลาดในการปรึกษา ไม่พอใจ สงสัย ผิดหวังในตัวเอง และกระตุ้นให้เกิดความทุกข์ใจอื่นๆ ร่วมด้วย) (2) การตระหนัก เข้าใจ มุ่งสู่การแก้ทุกข์ ซึ่งประกอบด้วย การตระหนัก ใส่ใจในทุกข์ที่เกิดขึ้น (สัมผัสรับรู้สภาวะความทุกข์ และเกิดแรงจูงใจที่จะสำรวจและจัดการความทุกข์) การใช้ใจที่สงบ ทบทวนทุกข์ เมื่อมีความพร้อม (ใส่ใจกับความสงบ ความพร้อม และสำรวจและทบทวนทุกข์ที่เกิดขึ้น) การมองเห็นความคาดหวังที่ซ้อนกับทุกข์ที่เกิด (เห็นว่าเหตุของทุกข์มาจากภายในใจ ไม่ตรงความจริง และเข้าไปจัดการกับความคาดหวัง) และการสะสางตะกอนทุกข์ที่กลับมากวนใจ (3) การสร้างเหตุปัจจัยที่เอื้อต่อการเกิดปัญญา ลดทุกข์ มองเห็นความจริง ซึ่งประกอบด้วย สะสมเหตุปัจจัยด้านกุศล ก่อให้เกิดปัญญา ลดทุกข์ (การมีสติสัมปชัญญะ เกิดปัญญาคลายทุกข์ และการใช้สติ สมาธิ และญาณ เห็นแจ้งความเป็นจริง) และการเห็นความจริง ใช้ชีวิตสอดคล้องปัจจุบันขณะ (การอยู่กับปัจจุบันขณะด้วยใจที่เบาสบาย สงบ และการตกผลึกบทเรียนในการคลี่คลายทุกข์) (4) การเห็นคุณค่า การเพาะบ่มสติและปัญญาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประกอบด้วย การมีสติและปัญญาเป็นรากฐานการทำงานและชีวิตส่วนตัว (เห็นว่าปัญญาสำคัญต่อผู้ให้การปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธและเห็นว่าปัญญาสำคัญต่อการดำเนินชีวิต) การฝึกฝนบ่มเพาะสติและปัญญาในชีวิตประจำวัน


ประสบการณ์ทางจิตใจภายหลังการรับบริการการปรึกษาเชิงจิตวิทยาในผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุข, ศิวพร อุดมสินานนท์ Jan 2021

ประสบการณ์ทางจิตใจภายหลังการรับบริการการปรึกษาเชิงจิตวิทยาในผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุข, ศิวพร อุดมสินานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ทางจิตใจในผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุขภายหลังการได้รับการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ผู้ให้ข้อมูลในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุขจำนวน 6 คน โดยการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง อันได้แก่ ทันตแพทย์ เภสัชกร กายภาพบำบัดและแพทย์แผนไทยประยุกต์ อายุระหว่าง 25-48 ปี ซึ่งเป็นผู้เคยมีประสบการณ์ในการรับบริการปรึกษาเชิงจิตวิทยาและสิ้นสุดการรับบริการแล้วระยะเวลา6 เดือน - 4 ปี จำนวนครั้งในการรับบริการปรึกษาเชิงจิตวิทยาโดยเฉลี่ย 3-4 sessions เพื่อทำการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง การเก็บรวมรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลตามแนวระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพรูปแบบปรากฎการณ์วิทยา โดยผู้วิจัยได้ทำการถอดเทปบันทึกการสนทนาแบบคำต่อคำ เพื่อนำมาถอดความ จัดหมวดหมู่และสรุปประเด็น ผลการศึกษาวิจัยพบ 3 ประเด็นหลักคือ (1) การตระหนักรู้ต่อปัญหาที่เผชิญ ประกอบด้วย การรับรู้ปัญหา ความรู้สึกต่อปัญหาที่เผชิญ ความพยายามออกจากปัญหาและความต้องการหลุดพ้นจากวงจรของปัญหา (2) การเข้าถึงแหล่งความช่วยเหลือแบบเป็นทางการ ประกอบด้วย ช่องทางการเข้าถึงแหล่งความช่วยเหลือแบบเป็นทางการ การรับรู้ที่มีต่อการปรึกษาเชิงจิตวิทยา การรับรู้ที่มีต่อแหล่งช่วยเหลือช่องทางอื่นและสิ่งสกัดกั้นในการเข้าถึงแหล่งความช่วยเหลือ (3) การเติบโตและงอกงามภายหลังก้าวข้ามผ่านปัญหา ประกอบด้วยความเข้าใจที่เกิดขึ้นในตนเองในการเผชิญปัญหาอย่างเหมาะสม ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการเติบโตและงอกงามทางจิตใจและความงอกงามภายหลังการก้าวข้ามผ่านปัญหา ผลการศึกษาวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ให้เกิดการบูรณาการในโครงการหรืองานวิจัยที่ส่งเสริมและดูแลสุขภาพทางจิตใจของผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุขในครั้งต่อไป


การต่อรองอัตลักษณ์มุสลิมในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรมผ่านภาพยนตร์ของยาสมิน อะห์หมัด, โรสนี แกสมาน Jan 2021

การต่อรองอัตลักษณ์มุสลิมในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรมผ่านภาพยนตร์ของยาสมิน อะห์หมัด, โรสนี แกสมาน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง “การต่อรองอัตลักษณ์มุสลิมในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรมผ่านภาพยนตร์ของยาสมิน อะห์หมัด” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิหลังและแรงบันดาลใจที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์ของยาสมิน อะห์หมัด และศึกษาการต่อรองอัตลักษณ์มุสลิมในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรมของประเทศมาเลเซียผ่านภาพยนตร์ของยาสมิน อะห์หมัด โดยวิเคราะห์บริบทของภาพยนตร์ จำนวน 6 เรื่อง ได้แก่ Rabun (2003) Sepet (2004) Gubra (2006) Mukhsin (2007) Muallaf (2008) และ Talentime (2009) ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกบุคคลใกล้ชิด นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญด้านภาพยนตร์มาเลเซีย รวมทั้งศึกษาเอกสารและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า ภูมิหลังและแรงบันดาลใจที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์ภาพยนตร์ของยาสมิน อะห์หมัด แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1) การเลี้ยงดูฟูมฟักจากครอบครัว 2) การศึกษาหลักธรรมคำสอนของศาสนาต่างๆ และ 3) สุนทรียภาพจากประสบการณ์ตรงและคนใกล้ชิด ส่วนการต่อรองอัตลักษณ์มุสลิมในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรมผ่านภาพยนตร์ของยาสมิน อะห์หมัด มี 3 คุณลักษณะ คือ 1) อัตลักษณ์มุสลิมที่สังคมคาดหวัง 2) อัตลักษณ์มุสลิมที่สังคมไม่พึงประสงค์ และ 3) อัตลักษณ์มุสลิมที่ประกอบสร้างขึ้นใหม่ โดยปรากฏใน 2 รูปแบบ คือ 1) การต่อรองกับมนุษย์ ได้แก่ การยืดหยุ่นต่อขนบธรรมเนียม วิถีปฏิบัติ และจารีตที่สังคมคาดหวัง ซึ่งมักปรากฏในเชิงกายภาพ และ 2) การต่อรองกับพระเจ้า ได้แก่ การกระทำสิ่งซึ่งขัดแย้ง หรือหมิ่นเหม่ต่อหลักการศาสนา โดยต่อรองกับหลักการและเงื่อนไขศาสนาภายใต้กรอบศีลธรรม มนุษยธรรม และการเอาตัวรอดจากสถานการณ์คับขันในชีวิต ซึ่งชี้ให้เห็นความหลากหลายของมุสลิมในด้านวิถีปฏิบัติที่มิได้มีเฉพาะด้านดีหรือชั่วเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการผสมผสานตัวตนเข้ากับเบ้าหลอมทางศาสนา ตำแหน่งแห่งที่ บทบาททางสังคมอันเชื่อมโยงกับกระแสโลกสมัยใหม่และการแลกรับวัฒนธรรมอื่นรอบตัว อัตลักษณ์มุสลิมที่ปรากฏจึงลื่นไหล แปรเปลี่ยน และถูกปรับปรุงเพื่อประยุกต์ให้เข้ากับแต่ละสถานการณ์ในชีวิต


การเปิดรับข่าวสารและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้งานสินทรัพย์ดิจิทัล ของกลุ่มผู้บริโภคเจเนอเรชันวาย, กฤตธี เปี่ยมสง่า Jan 2021

การเปิดรับข่าวสารและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้งานสินทรัพย์ดิจิทัล ของกลุ่มผู้บริโภคเจเนอเรชันวาย, กฤตธี เปี่ยมสง่า

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำรวจ การเปิดรับข่าวสารและอธิบายปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้งานสินทรัพย์ดิจิทัลของกลุ่มผู้บริโภคเจเนอเรชันวาย ใช้รูปแบบงานวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ และเก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามออนไลน์ ผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริโภคเจเนอเรชันวาย จำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความถี่ในการเปิดรับข่าวสารสินทรัพย์ดิจิทัลผ่านสื่อไม่มีปฏิสัมพันธ์และสื่อมีปฏิสัมพันธ์ในระดับปานกลาง ความคาดหวังในประสิทธิภาพ ความคาดหวังในความพยายาม คุณค่าราคา การรับรู้ความเสี่ยง และการรับรู้ว่าน่าไว้วางใจ จัดอยู่ในระดับมาก มีเพียง อิทธิพลทางสังคม ที่จัดอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนความตั้งใจใช้สินทรัพย์ดิจิทัลของกลุ่มตัวอย่าง ในภาพรวมพบว่าจัดอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้งานสินทรัพย์ดิจิทัลของกลุ่มตัวอย่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้งานสินทรัพย์ดิจิทัล ได้แก่ ความคาดหวังในประสิทธิภาพ (ß = 0.334) การรับรู้ว่าน่าไว้วางใจ (ß = 0.261) และอิทธิพลทางสังคม (ß = 0.156) โดยสมการความสัมพันธ์สามารถอธิบายได้ร้อยละ 50.8 (R2 = 0.508)


บทบาทของตัวละครเจ้าหญิงดิสนีย์ในการเรียนรู้และสร้างอัตลักษณ์ของวัยรุ่นเพศหญิงในสังคมไทย, กฤติญา สาริกา Jan 2021

บทบาทของตัวละครเจ้าหญิงดิสนีย์ในการเรียนรู้และสร้างอัตลักษณ์ของวัยรุ่นเพศหญิงในสังคมไทย, กฤติญา สาริกา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และตีความบทบาทและอัตลักษณ์ของตัวละครเจ้าหญิงดิสนีย์ที่มีต่อการเรียนรู้และประกอบสร้างอัตลักษณ์ของวัยรุ่นเพศหญิงในสังคมไทย เพื่อได้องค์ความรู้คุณค่าบทบาทและอัตลักษณ์ของตัวละครเจ้าหญิงดิสนีย์สามารถนำไปต่อยอดในการผลิตสื่อที่มีเนื้อหาเพื่อส่งเสริมทัศนคติที่เป็นประโยชน์และประยุกต์เข้ากับสื่อใหม่ๆ ตามกระแสโลกาภิวัตน์ในอนาคตอย่างเหมาะสม โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วย การวิเคราะห์ตัวบท ทั้งภาพยนตร์กับบทบาทและอัตลักษณ์ของเจ้าหญิงดิสนีย์ด้วยการสัมภาษณ์แบบเชิงลึกจากผู้ให้เสียงพากย์ภาษาไทยของตัวละคร และการเรียนรู้โดยศึกษาจากแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้โดยการสังเกตหรือการเลียนแบบกับวัยรุ่นเพศหญิงกลุ่มเป้าหมายด้วยวิธีการสนทนากลุ่มรวมกับการเล่าเรื่องแบบอัตลักษณ์ ผลการวิจัยสรุปว่า บทบาทและอัตลักษณ์ของตัวละครเจ้าหญิงดิสนีย์เป็นส่วนในการสร้างการเรียนรู้ให้กับวัยรุ่นเพศหญิงในสังคมไทยตั้งแต่วัยเด็กเป็นต้นมาจากบทบาทและภาพพจน์ที่ตนสนใจและจดจำได้เกี่ยวกับ 1) เจ้าหญิงดิสนีย์มีความโดดเด่น 2) ชอบเพลงเจ้าหญิงดิสนีย์ 3) ความชื่นชอบในเจ้าหญิงดิสนีย์ 4) เจ้าหญิงดิสนีย์มีความเชื่อมโยงกับตนเอง 5) อยากเป็นเหมือนเจ้าหญิงดิสนีย์ 6) เจ้าหญิงดิสนีย์สร้างคุณค่าให้ โดยเลือกเลียนแบบบทบาทที่มีความใฝ่รู้ เดินทางออกไปเปิดโลกทัศน์ มีความกล้าหาญต่อสู้เพื่ออิสรภาพ และภาพพจน์เพียงบางส่วนประกอบสร้างเป็นส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์ตนเองแล้วให้คุณค่าในการสร้างพลังบวกเพื่อใช้ชีวิตให้มีความสุข ในสังคมไทยควรจะมีการผลิตสื่อตัวละครเป็นแบบที่สร้างคุณค่าในลักษณะเจ้าหญิงดิสนีย์และให้ความสำคัญกับการรับรู้สื่อของเด็กเพื่อให้เติบโตมามีทัศนคติในเชิงบวกเป็นผลดีให้กับสังคม


ความแตกต่างของระดับการสนับสนุนการเคลื่อนไหวของตราสินค้าเพื่อการสมรสเท่าเทียมต่อคุณค่าตราสินค้าและความตั้งใจซื้อของกลุ่มเจนเนเรชั่นแซด, กิตติภูมิ ลมุลพจน์ Jan 2021

ความแตกต่างของระดับการสนับสนุนการเคลื่อนไหวของตราสินค้าเพื่อการสมรสเท่าเทียมต่อคุณค่าตราสินค้าและความตั้งใจซื้อของกลุ่มเจนเนเรชั่นแซด, กิตติภูมิ ลมุลพจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความแตกต่างระหว่างกลุ่มผู้บริโภคที่มีระดับการสนับสนุนต่างกันต่อคุณค่าตราสินค้าและความตั้งใจซื้อสินค้าหรือการบริการจากตราสินค้าที่เคลื่อนไหวเพื่อการสมรสเท่าเทียม และความสัมพันธ์ของคุณค่าตราสินค้ากับความตั้งใจซื้อสินค้าหรือการบริการจากตราสินค้าที่เคลื่อนไหวเพื่อการสมรสเท่าเทียม ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ เทคนิคการสำรวจ ด้วยแบบสอบถามออนไลน์ มีกลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิต นักศึกษาเจนเนเรชั่นแซดอายุระหว่าง 18 – 24 ปี ที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในประเทศไทย และเลือก แสนสิริ เป็นตราสินค้าสำหรับการวิจัยโดยกระจายแบบสอบถามผ่านช่องทางทวิตเตอร์ในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 ได้รับแบบสอบถามที่สมบูรณ์จำนวน 421 ชุด ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการสนับสนุนต่างกันจะรับรู้คุณค่าตราสินค้าโดยรวมและรายด้านทุกด้านของตราสินค้าที่เคลื่อนไหวเพื่อการสมรสเท่าเทียม ต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยค่าเฉลี่ยระดับการสนับสนุนของกลุ่มที่มีท่าทีสนับสนุนมากสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับการสนับสนุนของกลุ่มที่มีท่าทีสนับสนุนน้อยในทุกด้าน และกลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการสนับสนุนต่างกันจะมีความตั้งใจซื้อสินค้าหรือการบริการจากตราสินค้าที่เคลื่อนไหวเพื่อการสมรสเท่าเทียมต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 โดยค่าเฉลี่ยระดับการสนับสนุนของกลุ่มที่มีท่าทีสนับสนุนมากสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับการสนับสนุนของกลุ่มที่มีท่าทีสนับสนุนน้อย ทั้งนี้คุณค่าตราสินค้ามีความสัมพันธ์ในระดับสูงกับความตั้งใจซื้อสินค้าหรือการบริการจากตราสินค้าที่เคลื่อนไหวเพื่อการสมรสเท่าเทียม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นอกจากนี้ ยังพบว่า กลุ่มตัวอย่างไม่แน่ใจว่าเคยได้ยินหรือเห็นการเคลื่อนไหวของตราสินค้าต่อประเด็นที่เป็นกระแสในปัจจุบัน และเชื่อว่าตราสินค้ามีหน้าที่ในการเป็นกระบอกเสียงให้กับสังคมและย่อมทำให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น รวมถึงจะมีแนวโน้มมากขึ้นที่จะซื้อสินค้าหรือบริการจากตราสินค้าที่ออกมาแสดงจุดยืนตรงกัน และจะสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้จะมีแนวโน้มน้อยลงที่จะสนับสนุนตราสินค้าที่ออกมาแสดงจุดยืนในทางตรงกันข้าม


การเล่าเรื่องและการสื่อสารค่านิยมในละครแนววิชาชีพของเกาหลีใต้, ชนาพร ธราวรรณ Jan 2021

การเล่าเรื่องและการสื่อสารค่านิยมในละครแนววิชาชีพของเกาหลีใต้, ชนาพร ธราวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการเล่าเรื่องและการสื่อสารค่านิยมในละครแนววิชาชีพของเกาหลีใต้ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนางานสร้างสรรค์งานละครโทรทัศน์ประเทศไทยและเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับค่านิยมและวัฒนธรรมในละครโทรทัศน์ของเกาหลีใต้ ผ่านการศึกษาตัวบทประกอบกับการสัมภาษณ์เชิงลึกจากตัวแทนของผู้ชมหรือผู้เขียนรีวิวละครเกาหลีใต้และนักวิชาการด้านเกาหลีศึกษาเพื่อเพิ่มมุมมองในการวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ ผลการวิจัยพบว่าละครแนววิชาชีพของเกาหลีใต้การเล่าเรื่องมีการผสมผสานการเล่าเรื่องในรูปแบบที่หลากหลาย นอกเหนือจากการนำเสนอแนววิชาชีพเพียงอย่างเดียว มีการใช้ตัวละครนำที่เป็นเพศตรงกันข้ามเป็นหลักในการเผชิญกับปัญหา โดยไม่จำเป็นต้องมีความรักแบบชายหญิงเข้ามาเกี่ยวข้อง และมีการใช้สัญญะมาช่วยเข้าในสร้างตัวละคร รวมถึงใช้เรื่องราวภูมิหลังของตัวละครมาเป็นความสามารถในการปฏิบัติวิชาชีพ ในส่วนของการสื่อสารค่านิยมทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านปัจเจกและกลุ่ม ด้านครอบครัว ด้านเพศ และด้านการทำงาน พบว่ามีการสื่อสารผ่านกลวิธีการเล่าเรื่องผ่านบทสนทนาและตัวละครเป็นหลัก แต่มีการใช้กลวิธีการสื่อสารอื่นเข้ามาเพิ่มมิติในการสื่อสารคุณลักษณะของค่านิยม และคุณลักษณะของค่านิยมภายในละครส่วนมากยังคงสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อดั้งเดิมจากลัทธิของขงจื๊อ แต่ได้นำเสนอมุมมองการเปลี่ยนแปลงผ่านยุคสมัยและการเปลี่ยนแปลงผ่านการสร้างสิทธิและทางเลือกให้กับตัวละคร โดยใช้วิชาชีพของตัวละครหลักเข้ามามีส่วนช่วยเพื่อชี้ให้เห็นถึงมุมมองที่แตกต่างเพื่อคลี่คลายสถานการณ์


รูปแบบการค้าและศักยภาพการส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญของประเทศไทย: การวิเคราะห์แบบจำลองแรงโน้มถ่วงกับกระแสการค้าที่เป็นศูนย์, วีระชัย เพ็งเปิ้น Jan 2021

รูปแบบการค้าและศักยภาพการส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญของประเทศไทย: การวิเคราะห์แบบจำลองแรงโน้มถ่วงกับกระแสการค้าที่เป็นศูนย์, วีระชัย เพ็งเปิ้น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของข้าว ยางพารา และมันสำปะหลัง อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะหลังจากปี พ.ศ.2552 แนวโน้มการส่งออกสินค้าเกษตรของประเทศไทยเริ่มอยู่ในทิศทางที่ลดลง อันเป็นผลมาจากการมีคู่แข่งทางการค้าที่มากขึ้นทั้งจากประเทศในภูมิภาคอาเซียน แอฟริกา และยุโรปตะวันออก ดังนั้น การศึกษาถึงปัจจัยที่กำหนดการส่งออกสินค้าเกษตรของประเทศไทยจึงมีความสำคัญเพื่อเป็นแนวทางวางนโยบายในการส่งเสริมความสามารถการแข่งขันด้านการส่งออกสินค้าเกษตร นอกจากนี้ หากพิจารณางานศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศ สิ่งที่เป็นประเด็นสำคัญคือข้อมูลกระแสการค้าที่มีความสมมาตรหรือมีการค้าตลอดช่วงเวลา อย่างไรก็ตาม การเกิดข้อมูลกระแสการค้าที่เป็นศูนย์เป็นสิ่งที่พบได้บ่อยในข้อมูลการค้าระหว่างประเทศ อันเป็นผลจากการที่ประเทศต้นทางมีการค้ากับประเทศคู่ค้าไม่พร้อมกัน หรือประเทศคู่ค้าบางประเทศไม่มีการค้าในบางช่วงเวลา งานศึกษาก่อนหน้านี้พยายามจัดการกับปัญหาข้อมูลกระแสการค้าที่เป็นศูนย์ด้วยการละทิ้งข้อมูลการค้าที่เป็นศูนย์หรือการแทนที่ข้อมูลการค้าที่เป็นศูนย์ด้วยค่าข้อมูลที่เป็นบวกจำนวนที่น้อยแล้วประมาณค่าในรูปแบบสมการเชิงเส้นตรง ซึ่งวิธีการดังกล่าวอาจไม่เหมาะสมเนื่องจากก่อให้เกิดปัญหาความอคติของข้อมูล (Selection Bias) การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอเทคนิคการประมาณค่าแบบจำลองแรงโน้มถ่วงกับกระแสการค้าที่เป็นศูนย์ในสินค้าเกษตรสำคัญของประเทศไทย ได้แก่ ยางพารา ข้าว และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ลักษณะข้อมูลแบบพาเนลรายปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2543-2562 ด้วยวิธี Heckman Selection Model เพื่อจัดการกับปัญหา Selection Bias รวมถึงประยุกต์ใช้ Heterogeneous Firm Model จากงานศึกษาของ Helpman, Melitz and Rubinstein (2008) เพื่อจัดการกับปัญหา Heterogeneous Bias โดยการเพิ่มตัวแปรระดับผลิตภาพ (Productivity Threshold) ในแบบจำลองที่สะท้อนว่า ประเทศไทยตัดสินใจส่งออกสินค้าเกษตรเมื่อระดับผลิตภาพสูงมากเกินกว่าต้นทุนทางการค้า จากการศึกษาพบว่า การประมาณค่าแบบจำลองได้รับผลกระทบจากปัญหา Selection Bias และปัญหา Heterogenous Bias ในสินค้าเกษตรทั้ง 3 รายการ โดยปัจจัยที่กำหนดให้ประเทศไทยตัดสินใจส่งออกสินค้าเกษตรพิจารณาจากขนาดเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า ระยะห่างระหว่างประเทศ และระดับการเปิดประเทศเป็นหลัก อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรแยกรายสินค้าพบว่า ยางพารา ควรให้ความสำคัญกับขนาดเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าควบคู่กับการให้ความสำคัญกับนโยบายของภาครัฐที่สนับสนุนการผลิตและการตลาดโดยพิจารณาถึงราคาซื้อขายยางพารา ควรยกระดับการเปิดประเทศและสนับสนุนการค้ากับประเทศคู่ค้าเพื่อนบ้านให้มากขึ้น สำหรับข้าว ควรให้ความสำคัญกับขนาดเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า การยกระดับผลิตภาพแรงงานการผลิตข้าวของเกษตรกร และขยายการค้าด้วยการยกระดับการเปิดประเทศที่มากขึ้น และสำหรับผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ควรให้ความสำคัญกับขนาดเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าและสนับสนุนการค้ากับประเทศคู่ค้าเพื่อนบ้านให้มากขึ้นเช่นกัน


การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การและความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงองค์การ โดยมีความคล่องตัวของพนักงานเป็นตัวแปรกำกับ, รุ้งรัชนี ลีวงศ์เจริญ Jan 2021

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การและความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงองค์การ โดยมีความคล่องตัวของพนักงานเป็นตัวแปรกำกับ, รุ้งรัชนี ลีวงศ์เจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ในการศึกษาวิจัยเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การและความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงองค์การ โดยมีความคล่องตัวของพนักงานเป็นตัวแปรกำกับ ผู้เข้าร่วมการวิจัยในครั้งนี้คือ พนักงานปฎิบัติงานในกลุ่มธุรกิจธนาคารพาณิชย์ของไทยสาขาต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานครทั้งหมด 5 องค์การ โดยมีผู้เข้าร่วมการวิจัยทั้งสิ้น 306 คน เก็บรวบรวมข้อมูลผ่านแบบสอบถามออนไลน์ และทำการวิเคราะห์สมมติฐานด้วยการทดสอบตัวแปรกำกับ ผ่านการวิเคราะห์การถดถอยพหุเชิงชั้นในโปรแกรม SPSS ซึ่งผลการวิจัยในครั้งนี้พบว่า บรรยากาศองค์การด้านมนุษยสัมพันธ์ และด้านระบบเปิดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงองค์การในบางด้าน ในขณะที่ด้านกระบวนการภายในมีความสัมพันธ์ทางลบกับความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงองค์การบางด้าน ส่วนด้านการกำหนดเป้าหมายอย่างมีเหตุผลพบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงองค์การแต่อย่างใด นอกจากนี้สำหรับบทบาทการเป็นตัวแปรกำกับของความคล่องตัวของพนักงานพบว่า ความสามารถเชิงรุกเป็นตัวแปรกำกับทางบวกในความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การด้านมนุษยสัมพันธ์และความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงองค์การในบางด้าน ส่วนความยืดหยุ่นเป็นตัวแปรกำกับทางบวกในความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การด้านระบบเปิดและความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงองค์การในบางด้าน และความคล่องตัวของพนักงานทั้งด้านความสามารถเชิงรุก การปรับตัว และความยืดหยุ่นก็ยังเป็นตัวแปรกำกับที่ช่วยลดความสัมพันธ์ทางลบระหว่างบรรยากาศองค์การด้านกระบวนการภายในและความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงองค์การในบางด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติอีกด้วย กล่าวคือพนักงานที่มีความคล่องตัวในระดับสูง มีแนวโน้มที่จะมีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงองค์การสูงกว่าพนักงานที่มีความคล่องตัวในระดับต่ำ ดังนั้นความคล่องตัวของพนักงานจึงถือเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงองค์การเช่นกัน


Queering The Migrant Experience: Gay Filipino Workers’ Performance Of Gender And Sexual Identities In Bangkok, Hans Kevin Madanguit Jan 2021

Queering The Migrant Experience: Gay Filipino Workers’ Performance Of Gender And Sexual Identities In Bangkok, Hans Kevin Madanguit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The Philippine migration scholarship heavily focuses on heteronormative issues that depict the migrant workers as heterosexuals. Due to this trend, there is a scarcity of studies on overseas Filipino workers who identify as part of the Lesbian, Gay, Bisexual, Transgender, and Queer (LGBTQ+) Community. Hence, this qualitative research focuses on eleven documented Filipino workers in Thailand who are males assigned at birth and identify as gay homosexuals. Individual informal interviews were employed to investigate how they practice their non-normative gender and sexuality, given their multiple yet intersectional social identities in a country with vibrant queer cultures. It also probes the …


Governmentality In The Context Of Japan-Funded Farm-To-Market Road (Fmr) In Agdangan Quezon Province, Philippines, Ma. Josephine Therese Emily Teves Jan 2021

Governmentality In The Context Of Japan-Funded Farm-To-Market Road (Fmr) In Agdangan Quezon Province, Philippines, Ma. Josephine Therese Emily Teves

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Recent studies have focused on the role of Official Development Assistance (ODA) in financing infrastructural projects and rural development programs. This study demonstrates how Japanese and Filipino aid authorities facilitated a Japan ODA-funded Farm-to-Market Road (FMR) subproject as a solution aiming to achieve the Agrarian Reform Community’s (ARC) overall poverty reduction and rural economic growth agenda to contribute to this literature. Drawing on Foucault's governmentality, Escobar’s development discourse, and Li’s “The Will to Improve,” this study shows ODA as an alliance emphasizing power relations and analyzing processes and interactions within the ODA-funded FMR subproject management stages. This study also examines …


A Study Of Covid-19 Crisis Communication In Myanmar (January 2020-January 2021) : Divergences Between Ministry Of Health And Sports And State Counsellor, Aye Pa Pa Moe Jan 2021

A Study Of Covid-19 Crisis Communication In Myanmar (January 2020-January 2021) : Divergences Between Ministry Of Health And Sports And State Counsellor, Aye Pa Pa Moe

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Effective crisis communication is critical in a country like Myanmar, which has a vulnerable population and a newly democratically elected government. During the COVID-19 pandemic, Myanmar's government established multi communication channels to interact directly with its citizens and other actors, including government agencies, allowing for active stakeholder participation in crisis management. The purpose of this research is to identify the Myanmar government's crisis communication strategy in managing the COVID issue at the national level from January 2020 to January 2021. The study will take a three-stage approach to crisis management, with pre-crisis, crisis, and post-crisis stages. It also explored Myanmar's …


Decision On Later Life Migration Of Myanmar Migrant Workers In Ranong Province, Thailand, Pyone Thidar Aung Jan 2021

Decision On Later Life Migration Of Myanmar Migrant Workers In Ranong Province, Thailand, Pyone Thidar Aung

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Over the past five decades, international migration has grown worldwide (IOM, 2022). At the same time, global human life expectancy has been increasing on average because of better health care and improved medical care. Becoming older while being a migrant creates more challenges and vulnerabilities in everyday life. This study examines factors impacting their later life migration or settlement through Myanmar migrant workers in Ranong Province, Thailand. The empirical evidence is gathered from the survey using structured questionnaires and in-depth interviews. The result of the binary logistic regression study indicated that living conditions, receiving working skills in Thailand, political and …


ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) กับการปฎิบัติหน้าที่ของอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) : กรณีศึกษา อปพร. เทศบาลตำบลน้ำคำ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ และอปพร. เทศบาลตำบลเมืองขุขันธ์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ, ศิรินภา เสริมศรี Jan 2021

ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) กับการปฎิบัติหน้าที่ของอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) : กรณีศึกษา อปพร. เทศบาลตำบลน้ำคำ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ และอปพร. เทศบาลตำบลเมืองขุขันธ์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ, ศิรินภา เสริมศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับอาสาสมัครป้องกันภัย ฝ่ายพลเรือนกับการปฎิบัติหน้าที่ของอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรณีศึกษา อปพร. เทศบาลตำบลน้ำคำ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ และอปพร. เทศบาลตำบลเมืองขุขันธ์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนกับการปฎิบัติหน้าที่ของอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนและเพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติหน้าที่ของอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน โดยการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์รายบุคคล คือ นายกเทศมนตรีตำบล หัวหน้าฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ สมาชิก อปพร. ดีเด่น และประชาชนที่รับบริการ ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนกับการปฎิบัติหน้าที่ของอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรณีศึกษา อปพร. เทศบาลตำบลน้ำคำ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ และอปพร. เทศบาลตำบลเมืองขุขันธ์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ พบว่า มี 3 ประเด็นหลัก คือ 1. ด้านการจัดการงานอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน 2. ด้านการบริหารจัดการองค์กรของท้องถิ่น 3. ด้านการบริการประชาชน จากผลการศึกษาในครั้งนี้ หน่วยงานสามารถนำผลการศึกษามาเป็นแนวทางข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติหน้าที่ของอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนทั้งในปัจจุบันและอนาคต พร้อมทั้งแนวทางปฏิบัติที่ดีต่อการพัฒนาอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนที่มีความจำเป็นต่อไป


การเปิดรับข่าวสาร และรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคกลุ่ม "ยังก์โอลด์" (Young Old), วรารัตน์ วัฒนเลิศพงศ์ Jan 2021

การเปิดรับข่าวสาร และรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคกลุ่ม "ยังก์โอลด์" (Young Old), วรารัตน์ วัฒนเลิศพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการเปิดรับข่าวสาร และเพื่ออธิบายรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคกลุ่ม “ยังก์โอลด์” (Young Old) ซึ่งเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทย เกิดในช่วงปี พ.ศ. 2496 - 2505 ยังใช้ชีวิตด้วยความคล่องแคล่ว กระฉับกระเฉง เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม รู้สึกว่าตนเองไม่แก่ อยากเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่างอายุ 60 - 69 ปี จำนวน 450 คน วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยวิธีการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive analysis) และการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor analysis) ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคกลุ่ม “ยังก์โอลด์” (Young Old) มีการเปิดรับข่าวสารผ่านสื่อบุคคลอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ลูกหลาน ญาติ และเพื่อน ขณะที่มีการเปิดรับข่าวสารผ่านสื่อใหม่ในระดับปานกลาง โดย 3 อันดับแรก ได้แก่ ไลน์ เฟซบุ๊ก และยูทูบ และมีการเปิดรับข่าวสารผ่านสื่อดั้งเดิมในระดับปานกลาง โดย 3 อันดับแรก ได้แก่ โทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์ รูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคกลุ่ม “ยังก์โอลด์” (Young Old) สามารถแบ่งได้เป็น 5 กลุ่ม ดังนี้ 1. กลุ่มหัวสมัยใหม่ ใส่ใจคุณภาพชีวิตที่ดี 2. กลุ่มไม่สนใจใคร ใส่ใจเพียงตนเอง 3. กลุ่มตามกระแสและแคร์ภาพลักษณ์ 4. กลุ่มใช้ชีวิตให้สุด ไม่หยุดอยู่ที่บ้าน 5. กลุ่มสังคมมิตรภาพและธรรมชาติกลมเกลียว