Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 1171 - 1200 of 5570

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

ประสบการณ์ของนักจิตวิทยาการปรึกษาที่ให้บริการผ่านช่องทางออนไลน์, เมย์ลภัส บุญสิทธิ์วิจิตร Jan 2021

ประสบการณ์ของนักจิตวิทยาการปรึกษาที่ให้บริการผ่านช่องทางออนไลน์, เมย์ลภัส บุญสิทธิ์วิจิตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ของนักจิตวิทยาการปรึกษาที่ให้บริการผ่านช่องทางออนไลน์ ด้วยระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพแนวปรากฏการณ์วิทยาเชิงตีความ โดยเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง 6 ราย มีเกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง คือ มีประสบการณ์ให้การปรึกษาไม่ต่ำกว่า 2,000 ชั่วโมง โดยมีประสบการณ์การให้การปรึกษารูปแบบวีดีโอ ผลการวิจัยสามารถแบ่งได้ 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) ลักษณะการรับรู้ประสบการณ์ในการให้บริการจิตวิทยาการปรึกษาออนไลน์ พบว่า นักจิตวิทยาคิดเปรียบเทียบการให้บริการรูปแบบออนไลน์กับรูปแบบพบหน้า การประเมินประโยชน์และข้อจำกัดของจิตวิทยาการปรึกษาออนไลน์ และมีระดับการยอมรับบริการรูปแบบออนไลน์ที่หลากหลาย (2) จุดเน้นในกระบวนการจิตวิทยาการปรึกษาออนไลน์ พบว่ามีการให้ความสำคัญต่อ การปรับสภาวะจิตใจ การเตรียมพื้นที่ที่เหมาะสม การจัดเตรียมอุปกรณ์ และการเตรียมแก่ผู้รับบริการ (3) อุปสรรคของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาในรูปแบบออนไลน์ พบอุปสรรคทั้งจากปัจจัยภายนอกและภายใน อาทิ สถานที่รับบริการไม่มีความเป็นส่วนตัว ความไม่เชี่ยวชาญในอุปกรณ์เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสาร สัญญาณอินเตอร์เน็ตไม่เสถียร ความเหนื่อยล้าทางร่างกาย การรับรู้อวัจนภาษาที่จำกัด ความยากในการใช้เทคนิคจิตวิทยาการปรึกษาผ่านออนไลน์ การขาดการเชื่อมโยงอารมณ์ความรู้สึกที่ลึกซึ้งผ่านจอภาพ (4) กระบวนการรับมือแก้ไขปัญหาผ่านการยอมรับในข้อจำกัดและใช้ทรัพยากรที่มีในการแก้ไขและป้องกัน โดยอาศัยความรู้ประสบการณ์ด้านจิตวิทยาการปรึกษาและศาสตร์อื่น


อิทธิพลของแรงจูงใจในการทำกิจกรรมร่วมกับคนรัก และแรงจูงใจในการขยายตัวตน ต่อความน่าตื่นเต้นของกิจกรรม, ชนาฎา เคหะทัต Jan 2021

อิทธิพลของแรงจูงใจในการทำกิจกรรมร่วมกับคนรัก และแรงจูงใจในการขยายตัวตน ต่อความน่าตื่นเต้นของกิจกรรม, ชนาฎา เคหะทัต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

คู่รักที่คบหากันเป็นเวลานานมักเผชิญกับปัญหาความเบื่อหน่ายในความสัมพันธ์ และพบว่าคุณภาพของความสัมพันธ์มักลดถอยลงเมื่อเวลาผ่านไป โมเดลการขยายตัวตนให้หลักฐานว่าการทำกิจกรรมที่น่าตื่นเต้นร่วมกับคนรักช่วยส่งเสริมคุณภาพและความพึงพอใจในความสัมพันธ์ได้ โดยความน่าตื่นเต้นเป็นกลไกที่ทำให้คู่รักได้รับผลดีจากการได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งช่วยให้ความสัมพันธ์สดใหม่และลดความเบื่อหน่ายได้ อีกทั้งพบว่าแรงจูงใจแบบเข้าหา (การทำกิจกรรมโดยมุ่งเน้นผลดี) และแรงจูงใจในการขยายตัวตน (ความชอบความแปลกใหม่) ยังกระตุ้นให้บุคคลแสวงหาการทำกิจกรรมที่แปลกใหม่และน่าตื่นเต้น แม้การศึกษาก่อนหน้าพบว่าแรงจูงใจทั้งสองเป็นปัจจัยที่อาจส่งผลต่อความน่าตื่นเต้นของการทำกิจกรรมร่วมกับคนรักได้ แต่ยังขาดการศึกษาเชิงทดลองและการศึกษาถึงประเด็นดังกล่าวยังมีน้อย ผู้วิจัยออกแบบการทดลองเพื่อศึกษาผลของแรงจูงใจเข้าหาแบบต่างๆ และแรงจูงใจในการขยายตัวตน ที่มีต่อระดับความน่าตื่นเต้นของกิจกรรม ผู้เข้าร่วมการวิจัย (n = 131) ทำแบบสอบถามออนไลน์ ตอบมาตรวัดความพึงพอใจในความสัมพันธ์ มาตรวัดแรงจูงใจในการขยายตัวตน จากนั้นถูกสุ่มเข้าเงื่อนไขการชี้นำแรงจูงใจแบบเข้าหาในการทำกิจกรรมร่วมกับคนรักที่มุ่งเน้นผลดีต่อความสัมพันธ์ ต่อคนรัก หรือต่อตนเอง โดยเขียนถึงกิจกรรมใหม่อะไรก็ได้ที่อยากทำกับคนรัก ตอบคำถามตรวจสอบผลการจัดกระทำ และตอบมาตรวัดความน่าตื่นเต้นของกิจกรรม หลังจากนั้นถูกสุ่มเข้าเงื่อนไขอีกครั้ง แต่อาจเป็นเงื่อนไขเดียวกับครั้งแรกหรือไม่ก็ได้ โดยครั้งนี้เขียนถึงการไปเที่ยวประเทศที่ไม่เคยไปด้วยกัน ตอบคำถามตรวจสอบผลการจัดกระทำและตอบมาตรวัดความน่าตื่นเต้นของกิจกรรมอีกครั้ง ผลจากการวิเคราะห์ถดถอยแบบลำดับขั้น ไม่พบว่าประเภทของแรงจูงใจเข้าหามีผลให้ความน่าตื่นเต้นของกิจกรรมแตกต่างกัน โดยไม่ว่าบุคคลจะใช้แรงจูงใจแบบเข้าประเภทใดก็ตามก็มีผลให้กิจกรรมมีความน่าตื่นเต้นอยู่ในระดับสูง และพบอิทธิพลทางบวกของแรงจูงใจในการขยายตัวตนต่อความน่าตื่นเต้นของกิจกรรมที่ผู้ร่วมวิจัยเลือกเองโดยไม่ได้จำกัดเฉพาะการเที่ยวต่างประเทศ กล่าวคือบุคคลที่มีแรงจูงใจในการขยายตัวตนในระดับสูงมีแนวโน้มที่จะทำกิจกรรมที่มีความน่าตื่นเต้นสูง ผลที่พบเป็นประโยชน์ต่อการรักษาความสัมพันธ์ในคู่รักผ่านการนำแรงจูงใจแบบเข้าหาไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน การส่งเสริมให้บุคคลมีแรงจูงใจในการขยายตัวตนหรือทำสิ่งใหม่ ๆ ร่วมกันยังเป็นอีกปัจจัยที่นำไปสู่การทำกิจกรรมที่น่าตื่นเต้นมากขึ้น และการหมั่นทำกิจกรรมที่มีความน่าตื่นเต้นร่วมกับคนรัก ซึ่งเป็นผลดีต่อการรักษาความสัมพันธ์และกระตุ้นให้ความสัมพันธ์ยังสดใหม่ในระยะยาว


อิทธิพลของความหลากหลายทางการรู้คิดต่อพฤติกรรมการแบ่งปันความรู้ โดยมีความขัดแย้งในเรื่องงานและความขัดแย้งในเรื่องความสัมพันธ์เป็นตัวแปรส่งผ่าน และมีงานที่ต้องพึ่งพาซึ่งกันและกันเป็นตัวแปรกำกับ, ชนาพร ประพันธ์กาญจน์ Jan 2021

อิทธิพลของความหลากหลายทางการรู้คิดต่อพฤติกรรมการแบ่งปันความรู้ โดยมีความขัดแย้งในเรื่องงานและความขัดแย้งในเรื่องความสัมพันธ์เป็นตัวแปรส่งผ่าน และมีงานที่ต้องพึ่งพาซึ่งกันและกันเป็นตัวแปรกำกับ, ชนาพร ประพันธ์กาญจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พฤติกรรมการแบ่งปันความรู้ เป็นพฤติกรรมสำคัญที่นำมาสู่การเพิ่มความสามารถในการแก้ไขปัญหา ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมในงาน ซึ่งเกิดประโยชน์โดยตรงต่อองค์การในการอาศัยศักยภาพของความรู้จากบุคลากรมาประยุกต์ใช้ โดยเฉพาะในบริบทของการทำงานปัจจุบันที่ผู้คนมีความหลากหลายทางความคิดที่เพิ่มสูงขึ้น งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความหลากหลายทางการรู้คิดและพฤติกรรมการแบ่งปันความรู้ โดยมีความขัดแย้งในเรื่องงานและความขัดแย้งในเรื่องความสัมพันธ์เป็นตัวแปรส่งผ่านในเส้นทางคู่ขนาน (dual-pathway) และมีงานที่ต้องพึ่งพาซึ่งกันและกันเป็นตัวแปรกำกับ จากการศึกษาบุคลากรที่ปฏิบัติงานเป็นทีมในองค์การเอกชนในประเทศไทย จำนวน 224 คน ด้วยการทดสอบการเป็นตัวแปรส่งผ่านอย่างมีเงื่อนไข (moderated mediation) ผ่านโปรแกรมเสริม PROCESS ใน SPSS ผลการวิจัยพบว่า ความหลากหลายทางการรู้คิดมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการแบ่งปันความรู้ โดยมีความขัดแย้งทั้งสองรูปแบบเป็นตัวแปรส่งผ่านแบบสมบูรณ์ (full mediation) กล่าวคือ ความขัดแย้งในเรื่องงานเป็นตัวแปรส่งผ่านความสัมพันธ์ทางบวก ในขณะที่ความขัดแย้งในเรื่องความสัมพันธ์เป็นตัวแปรส่งผ่านความสัมพันธ์ทางลบ แต่ไม่พบอิทธิพลทางอ้อมเชิงเงื่อนไขของงานที่ต้องพึ่งพาซึ่งกันและกันในความสัมพันธ์ระหว่างความหลากหลายทางการรู้คิดและพฤติกรรมการแบ่งปันความรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การศึกษาแสดงให้เห็นว่า ความขัดแย้งในเรื่องงานเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนให้บุคลากรที่มีการรับรู้ถึงความแตกต่างทางการรู้คิดภายในทีมระดับสูงมีแนวโน้มที่จะแสดงพฤติกรรมการแบ่งปันความรู้ขึ้น ซึ่งองค์การควรตระหนักถึงความสำคัญของแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหาในงานและการบริหารทีมทำงานเพื่อสนับสนุนการแบ่งปันความรู้ให้เกิดขึ้นในการทำงานร่วมกันของบุคลากรที่มีความหลากหลายในองค์การ


ความสัมพันธ์ระหว่างความเหงา การเห็นคุณค่าในตนเอง แรงจูงใจในการสื่อสารออนไลน์ การนิยามตนเองและการเผชิญกับความเหงา ในนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี, ชวนฟ้าชม นาวาบุญนิยม Jan 2021

ความสัมพันธ์ระหว่างความเหงา การเห็นคุณค่าในตนเอง แรงจูงใจในการสื่อสารออนไลน์ การนิยามตนเองและการเผชิญกับความเหงา ในนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี, ชวนฟ้าชม นาวาบุญนิยม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเหงา การเห็นคุณค่าในตนเอง แรงจูงใจในการสื่อสารออนไลน์ การนิยามตนเองและการเผชิญกับความเหงาในนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ มีกลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีในเขตกรุงเทพฯ จำนวน 179 คน มีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 20.24 ปี (SD = 1.50) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1. แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล, 2. มาตรวัดความเหงา, 3. มาตรวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง, 4. มาตรวัดแรงจูงใจในการสื่อสารออนไลน์, 5. มาตรวัดการนิยามตนเอง และ 6. มาตรวัดการเผชิญกับความเหงา วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงบรรยาย ค่าสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียรสันและการวิเคราะห์การถอดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบสหสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของความเหงากับการเห็นคุณค่าในตนเอง (r(177) = -.59, p < .01) แรงจูงใจในการสื่อสารออนไลน์เพื่อพบปะผู้คน (r(177) = -.24, p < .01) แรงจูงใจในการสื่อสารออนไลน์เพื่อคงรักษาความสัมพันธ์เดิม (r(177) = -.28, p < .01) การนิยามตนเองแบบพึ่งพาตนเอง (r(177) = -.19, p < .01) พบสหสัมพันธ์ทางบวกของการเผชิญความเหงาด้วยกลวิธีทางบวกมีกับความเหงาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r(177) = .19, p < .01) ไม่พบนัยสำคัญทางสถิติในความสัมพันธ์ระหว่างความเหงากับการนิยามตนเองแบบพึ่งพากันและกันกับความเหงา (r(177) = -.10, p = .09) แรงจูงใจในการสื่อสารออนไลน์เพื่อชดเชยการขาดทักษะทางสังคม (r(177) = -.12, p = .06) การเผชิญความเหงาด้วยกลวิธีทางลบ (r(177) = -.07, p = .16) ตัวแปรทำนายทั้งหมดสามารถร่วมกันทำนายความแปรปรวนของความเหงาในนิสิตระดับปริญญาตรีได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ร้อยละ 42.3 (R2 = .40, p < .001)


ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการแสดงบทบาทผู้ปกป้อง หรือผู้สังเกตการณ์ในเหตุการณ์รังแกในโรงเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย, ญาดา หิรัญยะนันท์ Jan 2021

ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการแสดงบทบาทผู้ปกป้อง หรือผู้สังเกตการณ์ในเหตุการณ์รังแกในโรงเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย, ญาดา หิรัญยะนันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของความร่วมรู้สึกทางอารมณ์ เจตคติที่มีต่อการต่อต้านการรังแก การรู้สึกรับผิดชอบ การรับรู้การยอมรับจากเพื่อน การรับรู้ความคาดหวังของเพื่อน ความรุนแรงของเหตุการณ์ กับพฤติกรรมการปกป้องเหยื่อในรูปแบบการแสดงบทบาทเป็นผู้ปกป้องและผู้สังเกตการณ์ในเหตุการณ์การรังแกรูปแบบต่างๆ โดยมีผู้เข้าร่วมงานวิจัยคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย อายุระหว่าง 15-19 ปี จำนวน 222 คน ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์สมการถดถอยโลจิสติกด้วยการใส่ตัวแปรทำนายเป็นลำดับขั้น (Hierarchical logistic regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า อัตราการแสดงบทบาทผู้ปกป้องสำหรับสถานการณ์การรังแกทางคำพูด สังคม และร่างกาย คิดเป็นร้อยละ 89.2 89.2 และ 89.6 ตามลำดับ โดยความรุนแรงของเหตุการณ์มีความสัมพันธ์กับการแสดงบทบาทผู้ปกป้องในสถานการณ์การรังแกทุกประเภทอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และสามารถทำนายอัตราการแสดงบทบาทผู้ปกป้องสำหรับสถานการณ์การรังแกทางคำพูด ทางสังคม และทางร่างกาย ได้เพิ่มขึ้นจากสัดส่วนพื้นฐานเป็นร้อยละ 91.4 89.6 และ 89.6 ตามลำดับ กล่าวคือ หากผู้เห็นเหตุการณ์รับรู้ว่าสถานการณ์นั้นมีความรุนแรงจะตัดสินใจช่วยเหลือเหยื่อมากกว่านักเรียนที่คิดว่าเหตุการณ์นั้นไม่รุนแรง โดยผลการวิจัยสามารถนำไปประยุกต์สำหรับการพัฒนาโปรแกรมการต่อต้านการรังแกในสถานศึกษาสำหรับนักเรียนที่เห็นเหตุการณ์โดยสร้างเสริมการตระหนักรู้ถึงความรุนแรงของเหตุการณ์รังแก ซึ่งจะช่วยเพิ่มพฤติกรรมของผู้ปกป้องให้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย


อิทธิพลของประสบการณ์การถูกกีดกันต่อภาวะซึมเศร้าในคนกลุ่มน้อยทางเพศวิถีโดยมีการรับเอามุมมองทางลบต่อการรักเพศเดียวกันมาเป็นส่วนหนึ่งของตนเป็นตัวแปรส่งผ่านและความรู้สึกเชื่อมโยงกับชุมชนเป็นตัวแปรกำกับ, ณัชชา ศรีพิบูลพานิช Jan 2021

อิทธิพลของประสบการณ์การถูกกีดกันต่อภาวะซึมเศร้าในคนกลุ่มน้อยทางเพศวิถีโดยมีการรับเอามุมมองทางลบต่อการรักเพศเดียวกันมาเป็นส่วนหนึ่งของตนเป็นตัวแปรส่งผ่านและความรู้สึกเชื่อมโยงกับชุมชนเป็นตัวแปรกำกับ, ณัชชา ศรีพิบูลพานิช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์การถูกกีดกัน ภาวะซึมเศร้า การรับเอามุมมองทางลบต่อการรักเพศเดียวกันมาเป็นส่วนหนึ่งของตน และความรู้สึกเชื่อมโยงกับชุมชนในคนกลุ่มน้อยทางเพศวิถี เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามทางช่องทางออนไลน์ในกลุ่มตัวอย่างคนกลุ่มน้อยทางเพศวิถี จำนวน 263 คน มีอายุเฉลี่ย 27.06 ปี (SD = 6.21) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) ข้อคำถามคัดกรอง 2) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 3) แบบวัดภาวะซึมเศร้า 4) แบบวัดประสบการณ์การถูกกีดกัน 5) แบบวัดการรับเอามุมมองทางลบต่อการรักเพศเดียวกันมาเป็นส่วนหนึ่งของตน และ 6) แบบวัดความรู้สึกเชื่อมโยงกับชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสมการถดถอยเชิงพหุ ตามแนวคิด Conditional PROCESS Model เพื่อทดสอบอิทธิพลส่งผ่านที่มีอิทธิพลกำกับ ผลการวิจัยพบว่าประสบการณ์การถูกกีดกันมีอิทธิพลทางตรงต่อภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (b = .359, p < .05) แต่ไม่พบอิทธิพลทางอ้อมของประสบการณ์การถูกกีดกันต่อภาวะซึมเศร้าผ่านการรับเอามุมมองทางลบต่อการรักเพศเดียวกันมาเป็นส่วนหนึ่งของตน (b = .012, p = .101) และไม่พบอิทธิพลกำกับของความรู้สึกเชื่อมโยงกับชุมชนในความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์การถูกกีดกันกับภาวะซึมเศร้า (b = -.087, p = .114) และความสัมพันธ์ระหว่างการรับเอามุมมองทางลบต่อการรักเพศเดียวกันมาเป็นส่วนหนึ่งของตนกับภาวะซึมเศร้า (b = .098, p = .329)


ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้แบรนด์นายจ้างกับผลการปฏิบัติงานของพนักงานคนพิการโดยมีการรับรู้ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับสภาพแวดล้อมเป็นตัวแปรส่งผ่าน, ณิชชารีย์ เป็นเอกชนะศักดิ์ Jan 2021

ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้แบรนด์นายจ้างกับผลการปฏิบัติงานของพนักงานคนพิการโดยมีการรับรู้ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับสภาพแวดล้อมเป็นตัวแปรส่งผ่าน, ณิชชารีย์ เป็นเอกชนะศักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้แบรนด์นายจ้างกับผลการปฏิบัติงานของพนักงานคนพิการโดยมีการรับรู้ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับสภาพแวดล้อมเป็นตัวแปรส่งผ่าน เก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถามอิเล็กทรอนิกส์จากพนักงานคนพิการของบริษัท Vulcan coalition จำนวน 267 คน ผลการวิจัย พบว่า การรับรู้ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับสภาพแวดล้อมในมิติของการรับรู้ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับงานมีอิทธิพลส่งผ่านระหว่างการรับรู้แบรนด์นายจ้างกับผลการปฏิบัติงานของพนักงานคนพิการใน 2 มิติ ได้แก่ ผลการปฏิบัติงานในการทำงานตามงานและผลการปฏิบัติงานตามบริบท กล่าวคือ ผลการปฏิบัติงานของพนักงานคนพิการในองค์กร Vulcan coalition นั้นมีอิทธิพลมาจากการรับรู้แบรนด์นายจ้างของพนักงานคนพิการ ผ่านตัวแปรส่งผ่านการรับรู้ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับงาน โดยพนักงานคนพิการที่มีการรับรู้แบรนด์นายจ้างจะส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานคนพิการ ซึ่งหากมีการรับรู้ได้ถึงความสอดคล้องหรือความเหมาะสมระหว่างบุคคลกับงาน จะช่วยให้ปฏิบัติงานได้ตามศักยภาพและความสามารถ ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานคนพิการที่มากขึ้น อีกนัยหนึ่งคือ ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้แบรนด์นายจ้างกับผลการปฏิบัติงานของพนักงานคนพิการจะมากขึ้นเมื่อพนักงานคนพิการรับรู้ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับงาน องค์กรควรมีการส่งเสริมและสร้างการรับรู้ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับงานมากขึ้น เพื่อทำให้ผลการปฏิบัติงานของพนักงานคนพิการมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดีมากขึ้น อีกทั้งการสร้างการรับรู้แบรนด์นายจ้างที่ดีต่อพนักงานคนพิการ


ความสัมพันธ์ระหว่างความเพียรกับการรับรู้ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับองค์การ โดยมีรูปแบบองค์การและความฉลาดทางวัฒนธรรมเป็นตัวแปรกำกับ, นลิน มนัสไพบูลย์ Jan 2021

ความสัมพันธ์ระหว่างความเพียรกับการรับรู้ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับองค์การ โดยมีรูปแบบองค์การและความฉลาดทางวัฒนธรรมเป็นตัวแปรกำกับ, นลิน มนัสไพบูลย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเพียรกับการรับรู้ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับองค์การ โดยแยกเป็น 2 การศึกษา ใช้สถิติถดถอยพหุคูณแบบเชิงชั้นในการวิเคราะห์ข้อมูล การศึกษาที่ 1 ศึกษาอิทธิพลกำกับของรูปแบบองค์การ (เปรียบเทียบระหว่างองค์การสัญชาติไทยและองค์การสัญชาติญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย) โดยเก็บแบบสอบถามจากพนักงานชาวไทยจากองค์การสัญชาติไทยจำนวน 63 คน จากองค์การสัญชาติญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยจำนวน 68 คน รวม 131 คน ผลพบว่า ความเพียรมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับองค์การ (β = .24, p < .01, f2 = .05) รูปแบบองค์การไม่ได้มีอิทธิพลกำกับต่อความสัมพันธ์ดังกล่าว ส่วนการศึกษาที่ 2 ศึกษาอิทธิพลกำกับความฉลาดทางวัฒนธรรมโดยเก็บแบบสอบถามจากพนักงานชาวไทยในองค์การสัญชาติญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยจำนวน 183 คน ผลพบว่า ความเพียรมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับองค์การ (β = .23, p < .01, f2 = .08) โดยความฉลาดทางวัฒนธรรมด้านแรงจูงใจทางวัฒนธรรมเท่านั้นที่มีอิทธิพลทางบวกต่อความสัมพันธ์ดังกล่าว (β = .24, p < .01, f2 = .04) ทั้งองค์การสัญชาติไทยและองค์การสัญชาติญี่ปุ่นจึงควรสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ช่วยพัฒนาความเพียรของบุคลากร เพื่อให้พนักงานเกิดการรับรู้ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับองค์การ องค์การสัญชาติญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยควรรับสมัครผู้ที่มีความฉลาดทางวัฒนธรรมด้านแรงจูงใจทางวัฒนธรรมในระดับสูงเข้ามาทำงาน รวมถึงจัดฝึกอบรมเพื่อช่วยพัฒนาความฉลาดทางวัฒนธรรมด้านแรงจูงใจทางวัฒนธรรมให้แก่พนักงาน สร้างแรงจูงใจในการทำงานร่วมกับชาวญี่ปุ่นเพื่อส่งเสริมให้เกิดการรับรู้ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับองค์การอันจะส่งผลดีต่อองค์การต่อไป


การวิเคราะห์ศักยภาพในการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาโดยใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ, เปรมใจ ซิบเข Jan 2021

การวิเคราะห์ศักยภาพในการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาโดยใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ, เปรมใจ ซิบเข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าในประเทศไทยมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น แต่เชื้อเพลิงที่ใช้เพื่อผลิตไฟฟ้าในประเทศส่วนมากยังเป็นเชื้อเพลิงจากทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไปซึ่งสร้างมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม และส่งผลเสียต่อสุขภาพของมนุษย์ ประกอบกับแนวโน้มการลดลงของต้นทุนระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ทำให้การใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตไฟฟ้าได้รับความนิยมในปัจจุบัน งานวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลหลังคาอาคารเพื่อการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ วิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่สำหรับการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาด้วยปัจจัยทางกายภาพและปัจจัยทางเทคนิคโดยใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ และพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันแสดงปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้และระดับศักยภาพของพื้นที่ มีพื้นที่ศึกษาอยู่ที่ ตำบลท่าอิฐ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี การพัฒนาฐานข้อมูลหลังคาอาคารใช้การจำแนกขอบเขตหลังคาด้วยเทคนิควิธีการเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) โดยสร้างแบบจำลองเพื่อวาดขอบเขตหลังคาอาคารโดยใช้ข้อมูลจากภาพถ่ายจากดาวเทียม WorldView-3 จากนั้นจึงนำฐานข้อมูลไปใช้วิเคราะห์พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ และศักยภาพของพื้นที่ในการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่หลังคาทั้งหมดในพื้นที่ศึกษามีขนาดรวม 749,563.23 ตารางเมตร สามารถคำนวณค่าพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาได้ 86.14 กิกะวัตต์-ชั่วโมงต่อปี หมู่บ้านที่มีระดับศักยภาพในการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ในระดับสูง ได้แก่ บ้านคลองชมพู่ และบ้านลาดสิงห์ ซึ่งมีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าได้จากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ได้มากกว่า 20 กิกะวัตต์-ชั่วโมงต่อปี ผลการวิจัยนี้สามารถประยุกต์ใช้เพื่อแนวทางในการพัฒนาฐานข้อมูล การประมาณค่าพลังงาน และศักยภาพในการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ในพื้นที่อื่นได้


การประเมินผลกระทบของน้ำท่วมฉับพลันต่อภาคการท่องเที่ยว: กรณีศึกษาจังหวัดน่าน, จุติมา สุตตเขตต์ Jan 2021

การประเมินผลกระทบของน้ำท่วมฉับพลันต่อภาคการท่องเที่ยว: กรณีศึกษาจังหวัดน่าน, จุติมา สุตตเขตต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

น้ำท่วมฉับพลันเป็นภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นทุกปีในประเทศไทยโดยเฉพาะจังหวัดน่าน ผลกระทบจากภัยดังกล่าวสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในหลายภาคส่วน รวมถึงภาคการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นภาคส่วนที่สร้างรายได้จำนวนมากให้กับจังหวัด เพราะน่านมีทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมอันมีค่า อย่างไรก็ตามทรัพยากรดังกล่าวมีความอ่อนไหวต่อปัญหาน้ำท่วมฉับพลันซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมฉับพลันในจังหวัดน่านโดยใช้แบบจำลองดัชนีชี้วัดศักยภาพการเกิดน้ำท่วมฉับพลัน (Flash Flood Potential Index) และการสร้างแบบจำลองประเมินผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวโดยมีองค์ประกอบของภาคส่วนการท่องเที่ยวที่มีผลต่อความอ่อนไหวของน้ำท่วม นำมาวิเคราะห์บนระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ผลการวิเคราะห์ พบว่า พื้นที่ส่วนใหญ่ที่มีความอ่อนไหวต่อการเกิดน้ำท่วมฉับพลันเป็นพื้นที่ทางตอนเหนือของจังหวัดน่าน คือ อำเภอสองแคว อำเภอบ่อเกลือ อำเภอปัว และอำเภอทุ่งช้าง รวมถึงอำเภอเมืองน่าน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความลาดชันมาก และเป็นบริเวณที่มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปีสูงกว่าบริเวณอื่น ในส่วนผลการศึกษาด้านการประเมินผลกระทบของการเกิดน้ำท่วมฉับพลันต่อภาคการท่องเที่ยวในจังหวัดน่าน พบว่า พื้นที่ที่มีโอกาสได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ ตำบลดู่ใต้ ตำบลไชยสถาน ตำบลผาสิงห์ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน ตำบลม่วงตึ๊ด ตำบลฝายแก้วในอำเภอภูเพียง และ ตำบลปัว อำเภอปัว เนื่องจากมีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญและที่พักจำนวนมาก ผลที่ได้จากการวิจัยนี้ สามารถเป็นแนวทางให้กับหลายภาคส่วนในการวางแผนเพื่อการเตือนภัย ลดความเสียหายจากภัยพิบัติ และป้องกันความเสียหายอันอาจจะเกิดกับแหล่งท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง


การหยั่งความลึกน้ำทะเลจากการรับรู้ระยะไกลในอ่าวไทยด้วยภาพถ่ายดาวเทียมแลนด์แซท 8, ชนัตถพงศ์ เสืองามเอี่ยม Jan 2021

การหยั่งความลึกน้ำทะเลจากการรับรู้ระยะไกลในอ่าวไทยด้วยภาพถ่ายดาวเทียมแลนด์แซท 8, ชนัตถพงศ์ เสืองามเอี่ยม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การสำรวจแผนที่ทะเลของประเทศไทยในปัจจุบันมีข้อจำกัดด้านทรัพยากรที่ใช้ในการสำรวจและด้านบุคลากร ทำให้ไม่สามารถสำรวจปรับปรุงแผนที่ทะเลให้มีความทันสมัยและครอบคลุมทั่วประเทศ จึงมีความจำเป็นในการหาเครื่องมือหรือวิธีการในการช่วยหาความลึกน้ำทะเลที่ให้ค่าความถูกต้องของความลึก ประหยัด และรวดเร็วในการสำรวจ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้ภาพถ่ายดาวเทียม Landsat 8 ในการวิเคราะห์หาค่าความลึกน้ำทะเลในอ่าวไทย จำนวน 3 พื้นที่ ซึ่งอ้างอิงขอบเขตตาม แผนที่เดินเรือ ได้แก่ พื้นที่อ่าวไทยรูปตัว ก (ทางเข้าแม่น้ำเจ้าพระยา) พื้นที่อ่าวไทยฝั่งตะวันออก (เกาะสะบ้า ถึง เกาะจิกนอก) และพื้นที่อ่าวไทยฝั่งตะวันตก (อ่าวชุมพร) ด้วยเทคนิคการสร้างแผนที่ความลึกน้ำทะเลด้วยวิธี Satellite Derived Bathymetry (SDB) ร่วมกับแบบจำลองอัตราส่วนช่วงคลื่น (Log-Band Ratio Method) เพื่อให้ได้ความลึกน้ำทะเลที่มีความแม่นยำสูงเมื่อเทียบฐานข้อมูลแผนที่เดินเรือจากการสำรวจด้วยวิธีการหยั่งน้ำด้วยเสียงแบบลำคลื่นเดียว ผลวิจัยพบว่าค่าความลึกน้ำทะเลจากภาพถ่ายดาวเทียมช่วงระดับความลึก 0 – 15 เมตร ในพื้นที่อ่าวไทยรูปตัว ก พื้นที่อ่าวไทยฝั่งตะวันออก และพื้นที่อ่าวไทยฝั่งตะวันตก มีค่าสัมประสิทธิ์ตัวกำหนด (R2) เท่ากับ 0.8621, 0.9130 และ 0.9304 ตามลำดับ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการหยั่งความลึกน้ำทะเลด้วยวิธีการ SDB ร่วมกับแบบจำลองอัตราส่วนช่วงคลื่นในทะเลอ่าวไทยทั้ง 3 พื้นที่ กับความลึกน้ำสำรวจด้วยวิธีการหยั่งน้ำด้วยเสียงแบบลำคลื่นเดียวมีความสอดคล้องกันสูงโดยเฉพาะพื้นที่อ่าวไทยฝั่งตะวันตก ดังนั้นวิธีการ SDB ร่วมกับแบบจำลองอัตราส่วนช่วงคลื่นจึงสามารถใช้เป็นเครื่องมือหรือวิธีการทางเลือกในการสนับสนุนการสำรวจแผนที่อุทกศาสตร์ในพื้นที่ที่ต้องการทราบค่าความลึกในช่วงความลึกน้ำไม่เกิน 15 เมตร โดยเฉพาะพื้นที่น้ำตื้นหรือชายฝั่งทะเลที่มีข้อมูลอุทกศาสตร์อยู่เพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยได้เป็นอย่างดี


การศึกษาความสัมพันธ์ของความซับซ้อนของงาน การมีอำนาจตัดสินใจในงาน การจัดการทรัพยากรเพื่อปรับตัวกับอายุที่เพิ่มขึ้นและความผูกพันในงานของผู้ใหญ่วัยกลางคน โดยมีการรับรู้โอกาสในการทำงานเป็นตัวแปรกำกับ, ปัทมา นามทอง Jan 2021

การศึกษาความสัมพันธ์ของความซับซ้อนของงาน การมีอำนาจตัดสินใจในงาน การจัดการทรัพยากรเพื่อปรับตัวกับอายุที่เพิ่มขึ้นและความผูกพันในงานของผู้ใหญ่วัยกลางคน โดยมีการรับรู้โอกาสในการทำงานเป็นตัวแปรกำกับ, ปัทมา นามทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของความซับซ้อนของงาน การมีอำนาจตัดสินใจในงาน การจัดการทรัพยากรเพื่อปรับตัวกับอายุที่เพิ่มขึ้น และความผูกพันในงานของผู้ใหญ่วัยกลางคน โดยมีการรับรู้โอกาสในการทำงานเป็นตัวแปรกำกับ ซึ่งได้ทำการศึกษาโดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้ใหญ่วัยกลางคนจำนวน 200 คน ลักษณะโดยส่วนใหญ่ของกลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง (ร้อยละ 62.50) มีอายุระหว่าง 40-44 ปี (ร้อยละ 45.50) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 46.50) อายุงานในองค์การปัจจุบันอยู่ระหว่าง 1-10 ปี (ร้อยละ 38.50) ประเภทขององค์กรที่ทำงานเป็นภาครัฐ (ร้อยละ 70.00) และตำแหน่งงานที่ทำคือพนักงานระดับปฏิบัติ (ร้อยละ 60.00) จากนั้นนำข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างดังกล่าวมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานรวมทั้งการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่าตัวแปรอิสระทั้ง 3 ตัวแปร ได้แก่ ความซับซ้อนของงาน การมีอำนาจตัดสินใจในงาน และการจัดการทรัพยากรเพื่อปรับตัวกับอายุที่เพิ่มขึ้นมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันในงาน โดยมีรายละเอียดค่าทางสถิติดังนี้ ความซับซ้อนของงาน (B = .187, p < .01) การมีอำนาจตัดสินใจในงาน (B = .348, p < .01) และการจัดการทรัพยากรเพื่อปรับตัวกับอายุที่เพิ่มขึ้น (B = .240, p < .05) มีความสัมพันธ์ทางบวกและร่วมกันอธิบายความผูกพันในงาน ซึ่งตัวแปรอิสระทุกตัวสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความผูกพันในงานได้ร้อยละ 31.7 ในขณะที่การรับรู้โอกาสในการทำงานไม่ได้มีบทบาทในฐานะตัวแปรกำกับของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นทั้ง 3 ตัวแปร ได้แก่ ความซับซ้อนของงาน (B = .014, n.s.) การมีอำนาจตัดสินใจในงาน (B = -.025, n.s.) และการจัดการทรัพยากรเพื่อปรับตัวกับอายุที่เพิ่มขึ้น (B = .104, n.s.) ที่มีความสัมพันธ์ต่อความผูกพันในงาน โดยประโยชน์จากงานวิจัยที่ได้นี้ทำให้ทราบถึงปัจจัยที่แสดงถึงทิศทางและระดับความสัมพันธ์ของความผูกพันในงานของผู้ใหญ่วัยกลางคน สำหรับการประยุกต์ใช้ในองค์กร คือ การให้ความสำคัญกับการพัฒนาบริบทต่าง ๆ ในการทำงานให้มีความสอดคล้องกับพนักงานในแต่ละช่วงวัย ทั้งในด้านลักษณะของงาน (Work Characteristics) ได้แก่ ความซับซ้อนของงาน และการมีอำนาจตัดสินใจในงาน รวมถึงกลยุทธ์การสูงวัยอย่างประสบความสำเร็จ (Successful aging strategies) ซึ่งเป็นการจัดการทรัพยากรเพื่อปรับตัวกับอายุที่เพิ่มขึ้น ในการสร้างแรงจูงใจคนทำงานวัยกลางคนในการพัฒนาการทำงานและดึงศักยภาพการทำงานของบุคคลช่วงวัยกลางคนให้สูงขึ้น ซึ่งปัจจัยที่กล่าวไปข้างต้นนั้นเป็นสิ่งที่บุคคลควรตระหนักเช่นเดียวกัน เพื่อส่งเสริมความผูกพันในงานที่สะท้อนถึงประสิทธิภาพในการทำงานและการมีสุขภาวะจิตที่ดีในการทำงาน


ประสบการณ์สัมพันธภาพการบำบัดของนักจิตวิทยาการปรึกษา, ศุภกร ปิญะภาณุกัญจณ์ Jan 2021

ประสบการณ์สัมพันธภาพการบำบัดของนักจิตวิทยาการปรึกษา, ศุภกร ปิญะภาณุกัญจณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสบการณ์สัมพันธภาพการบำบัดของนักจิตวิทยาการปรึกษา วัสดุและวิธีการ ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแนวปรากฏการณ์วิทยาเชิงตีความ โดยการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยใช้คำถามกึ่งโครงสร้าง โดยมีผู้เข้าร่วมวิจัยคือนักจิตวิทยาการปรึกษาจำนวน 6 ราย ซึ่งมีประสบการณ์ในการทำงานมาตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปนับตั้งแต่จบการศึกษาระดับมหาบัณฑิตและยังคงให้บริการปรึกษาอยู่ ผลการศึกษา พบประเด็นสำคัญ 4 ประเด็น ได้แก่ กระบวนการสัมพันธภาพการบำบัด ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในสัมพันธภาพการบำบัด ปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมในการสังเกตสัมพันธภาพการบำบัด และลักษณะของสัมพันธภาพการบำบัด สรุป ผลการวิจัยแสดงให้เห็นรายละเอียดสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดของนักจิตวิทยาการปรึกษาซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อนักจิตวิทยาการปรึกษาในการรับรู้และตระหนักถึงสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในกระบวนการบำบัด


อิทธิพลของปฏิสัมพันธ์สามทาง ระหว่างข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทาย ข้อเรียกร้องในงานที่เป็นอุปสรรค และความสามารถในการฟื้นพลัง ต่อความเหนื่อยหน่าย, สุชาดา ศรีจำปา Jan 2021

อิทธิพลของปฏิสัมพันธ์สามทาง ระหว่างข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทาย ข้อเรียกร้องในงานที่เป็นอุปสรรค และความสามารถในการฟื้นพลัง ต่อความเหนื่อยหน่าย, สุชาดา ศรีจำปา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหนื่อยหน่ายตามทฤษฎีข้อเรียกร้องในงานและทรัพยากรในงาน โดยทดสอบอิทธิพลของปฏิสัมพันธ์สามทางระหว่างข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทาย ข้อเรียกร้องในงานที่เป็นอุปสรรค และความสามารถในการฟื้นพลังที่มีต่อความเหนื่อยหน่ายด้วยสถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเชิงชั้น โดยแยกศึกษาสององค์ประกอบของความเหนื่อยหน่าย ได้แก่ ความรู้สึกอ่อนล้าและการเมินเฉยต่องาน ในกลุ่มพนักงานบริษัทเอกชนในประเทศไทยจำนวน 200 คน ผลการวิจัยพบอิทธิพลทางตรง ดังนี้ 1) ข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทายมีอิทธิพลทางบวกต่อความรู้สึกอ่อนล้า (β = .13, p < .05) 2) ข้อเรียกร้องในงานที่เป็นอุปสรรคมีอิทธิพลทางบวกต่อความรู้สึกอ่อนล้า (β = .24, p < .01) และมีอิทธิพลทางบวกต่อการเมินเฉยต่องาน (β = .37, p < .01) 3) ความสามารถในการฟื้นพลังมีอิทธิพลทางลบต่อความรู้สึกอ่อนล้า (β = -.61, p < .01) และมีอิทธิพลทางลบต่อการเมินเฉยต่องาน (β = -.76, p < .01) สำหรับปฏิสัมพันธ์สามทางระหว่างข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทาย ข้อเรียกร้องในงานที่เป็นอุปสรรค และความสามารถในการฟื้นพลังที่มีต่อความเหนื่อยหน่าย ไม่พบอิทธิพลกำกับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่อย่างไรก็ตาม พบว่า ข้อเรียกร้องในงานที่เป็นอุปสรรคมีอิทธิพลกำกับทางบวกต่อความสัมพันธ์ระหว่างข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทายกับการเมินเฉยต่องาน (β = .17, p < .05) ผลการวิเคราะห์เพิ่มเติม พบว่า ณ ระดับของข้อเรียกร้องในงานที่เป็นอุปสรรคต่ำ มีอิทธิพลกำกับความสัมพันธ์ระหว่างข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทายต่อการเมินเฉยต่องานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β = -.25, p < .01) กล่าวคือ การเมินเฉยต่องานของพนักงานจะลดลง ภายใต้เงื่อนไขของข้อเรียกร้องในงานที่เป็นอุปสรรคอยู่ในระดับต่ำและข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทายอยู่ในระดับสูง


ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับอารมณ์ ความเครียด การรับรู้ความสามารถของตนเอง และการฟื้นคืนพลังของบุคลากรที่ทำงานด้านการบินช่วงสถานการณ์ Covid-19, อโนชา ศรีสะอาด Jan 2021

ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับอารมณ์ ความเครียด การรับรู้ความสามารถของตนเอง และการฟื้นคืนพลังของบุคลากรที่ทำงานด้านการบินช่วงสถานการณ์ Covid-19, อโนชา ศรีสะอาด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1.) ความสัมพันธ์ของการฟื้นคืนพลังกับความเครียด การรับรู้ความสามารถของตนเอง และการกำกับอารมณ์ทั้งแบบปรับมุมมองความคิดและแบบเก็บกด และ 2.) การทำนายการฟื้นคืนพลังจากปัจจัยเหล่านี้ ดำเนินการวิจัยโดยเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่างบุคลากรที่ทำงานด้านการบินช่วงสถานการณ์ COVID-19 จำนวน 149 คน กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามออนไลน์ถึงข้อมูลเกี่ยวกับตัวแปรในข้างต้น ข้อมูลที่ได้รับมาถูกวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมานด้วยสหสัมพันธ์เพียร์สันและวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณด้วยการใส่ตัวแปรอิสระเข้าพร้อมกัน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า การฟื้นคืนพลังมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความเครียด การรับรู้ความสามารถของตนเอง การกำกับอารมณ์แบบปรับมุมมองความคิด แต่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการฟื้นคืนพลังและการกำกับอารมณ์แบบเก็บกด ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณพบว่าปัจจัยเหล่านี้รวมถึงการกำกับอารมณ์แบบเก็บกด ร่วมกันทำนายความแปรปรวนของการฟื้นคืนพลังได้ร้อยละ 59 (R² = .59, p < .001)


ผลของโปรแกรมการปรับงานต่องานที่มีความหมายโดยมีความสอดคล้องระหว่างบุคคลและงาน เป็นตัวแปรส่งผ่าน, อภินัทธ์ ตรีวิโรจน์ Jan 2021

ผลของโปรแกรมการปรับงานต่องานที่มีความหมายโดยมีความสอดคล้องระหว่างบุคคลและงาน เป็นตัวแปรส่งผ่าน, อภินัทธ์ ตรีวิโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับงานต่องานที่มีความหมาย โดยมีความสอดคล้องระหว่างบุคคลและงานเป็นตัวแปรส่งผ่าน โดยตั้งสมมติฐานว่า พฤติกรรมการปรับงาน ความสอดคล้องระหว่างบุคคลและงาน และงานที่มีความหมายของผู้เข้าร่วมโปรแกรมการปรับงาน จะมีระดับเพิ่มขึ้นหลังได้รับโปรแกรมการปรับงาน การวิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยกึ่ง ทดลองในสนาม แบบเปรียบเทียบผลก่อนและหลังรับโปรแกรมการปรับงาน และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม (two group pretest-posttest design) โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานบริษัทแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 54 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 26 คน และกลุ่มควบคุม 28 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการปรับงานที่ออกแบบโดยมีพื้นฐานแนวคิดจากรูปแบบโปรแกรมฝึกฝนการปรับงาน (The Job Crafting Exercise) และใช้เนื้อหาในการปรับงานตามแนวคิดการปรับงานเพื่อสร้างสมดุลระหว่างข้อเรียกร้องและทรัพยากรในงาน (JD-R Model) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบความแปรปรวนซ้ำ (RM ANOVA) และสถิติทดสอบที (Independent t test) พบว่า ระดับของพฤติกรรมการปรับงาน ความสอดคล้องระหว่างบุคคลและงาน และงานที่มีความหมาย ในกลุ่มทดลอง เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหลังรับโปรแกรม ในทางกลับกัน ค่าคะแนนของตัวแปรทั้ง 3 ไม่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มควบคุม นอกจากนั้น ผลของการทดสอบอิทธิพลส่งผ่านโดยใช้ PROCESS macro ยังพบอิทธิพลทางอ้อม (Indirect effect) ของโปรแกรมการปรับงานต่องานที่มีความหมาย โดยมีความสอดคล้องระหว่างบุคคลและงานเป็นตัวแปรส่งผ่านอย่างสมบูรณ์ (Full mediation) จึงสรุปได้ว่า โปรแกรมการปรับงานสามารถเพิ่มระดับงานที่มีความหมายได้โดยมีความสอดคล้องระหว่างบุคคลและงานเป็นตัวแปรส่งผ่าน


“ที่นี่ไม่ได้แจกกัญชา แจกน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น”: ความเลื่อนไหลและกระบวนการทางสังคมของกัญชา, ศุภรดา เฟื่องฟู Jan 2021

“ที่นี่ไม่ได้แจกกัญชา แจกน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น”: ความเลื่อนไหลและกระบวนการทางสังคมของกัญชา, ศุภรดา เฟื่องฟู

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาวัฒนธรรมชาติและกระบวนการทางสังคมของกัญชา ผ่านการสำรวจกิจกรรมจัดหา แปรรูปและแจกจ่ายกัญชาที่วัดแห่งหนึ่งในจังหวัดภาคกลาง ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562 - พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 โดยดำเนินการอย่างเป็นปฏิปักษ์ต่อกฎหมายป้องปรามยาเสพติดของไทย ผู้วิจัยอาศัยแนววิเคราะห์เชิงวัตถุ-สัญญะและกรอบคิดเรื่องวัฒนธรรมชาติในการสำรวจปรากฎการณ์ดังกล่าว โดยเสนอว่ากัญชาเป็นวัตถุที่มีความเลื่อนไหลและหลากหลาย ทั้งในรูปแบบของวัตถุศักดิ์สิทธิ์ สินค้า ยารักษาโรค และสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนบุญ นอกจากนี้ผู้วิจัยเสนอว่า ปรากฏการณ์ผิดกฎหมายดังกล่าวดำรงอยู่ได้จากกระบวนการประกอบสร้างความศักดิ์สิทธิ์ที่มีลักษณะจำเพาะสองรูปแบบขึ้น ภายใต้พิธีกรรมแจกจ่ายกัญชาสองลักษณะ กล่าวคือ การประกอบสร้างความศักดิ์สิทธิ์แบบผูกขาดในพิธีกรรมเชิงการแพทย์ และการประกอบสร้างความศักดิ์สิทธิ์แบบรวบรวมในพิธีกรรมศาสนา กระบวนการทางสังคมของกัญชาดังกล่าวได้สะท้อนให้เห็นความพร่าเลือนและคร่อมข้ามของกรอบคิดทวิลักษณ์และปริมณฑลที่แน่นิ่ง ตายตัวต่าง ๆ ทั้งรัฐ/ราษฎร์ วิทยาศาสตร์/ศาสนา สาธารณะ/ส่วนตัว และได้นำไปสู่การขยับขยายเข้าใจต่อเรื่องการสั่งจ่ายยา โดยพิจารณาอิทธิพลของตัวแสดงที่ไม่ใช่มนุษย์ในบริบทด้วย


กระบวนการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัล: การวิเคราะห์เพื่อพัฒนาเชิงนโยบาย, กานต์ ศรีสุวรรณ Jan 2021

กระบวนการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัล: การวิเคราะห์เพื่อพัฒนาเชิงนโยบาย, กานต์ ศรีสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอขั้นตอนของกระบวนการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัลในประเทศไทย กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนปัญหาและอุปสรรค เพื่อนำไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบายในการปรับปรุงกฎหมายและพัฒนากระบวนการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐาน โดยเนื้อหาเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของพยานหลักฐานดิจิทัล กระบวนการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัล ประเด็นปัญหาและอุปสรรคจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ข้อเสนอเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพจากเอกสาร การลงพื้นที่สัมภาษณ์เชิงลึกและกรณีศึกษา จากการศึกษาพบว่า กระบวนการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัลในประเทศไทย 4 ขั้นตอน มีปัญหาและอุปสรรค คือ 1) การรวบรวมพยานหลักฐาน มีปัญหาในการรวบรวมพยานหลักฐานให้สมบูรณ์ขณะเกิดเหตุโดยไม่ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไข 2) การเก็บรักษาพยานหลักฐาน ไม่เป็นไปตามมาตรฐานการจัดเก็บ และการจัดการพยานหลักฐานดิจิทัล 3) การวิเคราะห์พยานหลักฐานดิจิทัล บุคลากรบางส่วนขาดความเชี่ยวชาญที่จำเป็นเฉพาะด้าน 4) การนำเสนอผลพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัล มีการโต้แย้ง หรือขาดน้ำหนักในการรับฟังในชั้นพิจารณาคดี ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ คือ ควรมีการปรับปรุงพัฒนากระบวนการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัลในประเทศไทยให้มีมาตรฐานการปฏิบัติที่ชัดเจนในทั้ง 4 ขั้นตอนให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล บุคลากรควรได้รับการอบรมเพิ่มเติมในประเด็นความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อช่วยลดปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน มีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสนับสนุนให้มีการจัดตั้งสภาวิชาชีพนิติวิทยาศาสตร์ และจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะที่ทำหน้าที่ในการกำกับดูแล โดยเริ่มต้นจากการส่งเสริมบทบาทของศูนย์ดิจิทัลฟอเรนสิกส์ที่มีอยู่เดิม เพื่อให้การป้องกันปราบปรามอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยมีประสิทธิภาพมากขึ้น การวิจัยนี้ ได้รับการสนับสนุนทุนการศึกษาจากทุนการศึกษาหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต “100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” (The 100th Anniversary Chulalongkorn University Fund for Doctoral Scholarship) และทุน 90 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช [The 90th Anniversary of Chulalongkorn University Fund (Ratchadaphiseksomphot Endowment Fund)]


สายลับกับการสืบสวนปราบปรามอาชญากรรมยาเสพติดในประเทศไทย, กิตติภพ บัวคลี่ Jan 2021

สายลับกับการสืบสวนปราบปรามอาชญากรรมยาเสพติดในประเทศไทย, กิตติภพ บัวคลี่

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่องสายลับกับการสืบสวนปราบปรามอาชญากรรมยาเสพติดในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความเป็นมาและบทบาทของสายลับในการสืบสวนปราบปรามอาชญากรรมยาเสพติดในประเทศไทย พร้อมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่สืบสวนกับบุคคลที่เป็นสายลับในการทำงานปราบปรามยาเสพติด เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการนำสายลับมาใช้ในการสืบสวนปราบปรามอาชญากรรมยาเสพติด โดยเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเชิงเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่รัฐ สายลับ และบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม จำนวนทั้งสิ้น 27 ท่าน ผลการศึกษาพบว่า สายลับเป็นกลวิธีในการหาข่าวที่ปรากฏหลักฐานมาตั้งแต่สมัยบรรพกาล ตราบจนกระทั่งสังคมมีพัฒนาการทางด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา วิธีการใช้สายลับจึงได้ถูกนำมาปรับใช้ในการทำงานสืบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งมีภารกิจรักษาความสงบเรียบร้อยภายในรัฐและการควบคุมอาชญากรรม บทบาทที่คาดหวังของสายลับคือ การกระทำใด ๆ ที่ตอบสนองต่อภารกิจการสืบสวนปราบปรามยาเสพติดตามที่เจ้าหน้าที่ต้องการ ซึ่งเป็นงานที่เจ้าหน้าที่ไม่อาจกระทำได้โดยฐานะของเจ้าหน้าที่เองหรืออาจต้องใช้ระยะเวลานาน บทบาทความสำคัญของสายลับส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับมุมมองของเจ้าหน้าที่แต่ละบุคคลซึ่งมีลักษณะเป็นอัตวิสัย รูปแบบของความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่สืบสวนกับบุคคลที่เป็นสายลับจะแตกต่างกันไปในแต่ละคู่สัมพันธ์ การใช้สายลับได้ก่อให้เกิดผลกระทบในหลายด้าน เป็นต้นว่า สายลับต้องอยู่ในวัฏจักรของการกระทำความผิดและมีโอกาสกลับไปกระทำความผิดซ้ำ และด้วยลักษณะที่เป็นความลับทำให้การตรวจสอบความโปร่งใสของการทำงานเป็นได้ยากอันส่งผลกระทบต่อสังคมและกระบวนการยุติธรรมทางอาญาหลายประการ แนวทางพัฒนาการสืบสวนโดยวิธีใช้สายลับที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยจึงควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 หมวด 1 ว่าด้วยการสืบสวน โดยให้ระบุถึงการสืบสวนโดยวิธีใช้สายลับ พัฒนาระบบงานยุติธรรมทางอาญาให้ทุกฝ่ายยึดหลักการค้นหาความจริงในเนื้อหา และสร้างมาตรการกำกับดูแลให้ดียิ่งขึ้น


อาชญากรรมสิ่งแวดล้อม: กรณีศึกษาผลกระทบของการลักลอบนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ ในประเทศไทย, นภัสสร เปียจันทร์ Jan 2021

อาชญากรรมสิ่งแวดล้อม: กรณีศึกษาผลกระทบของการลักลอบนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ ในประเทศไทย, นภัสสร เปียจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่องอาชญากรรมสิ่งแวดล้อม: กรณีศึกษาผลกระทบของการลักลอบนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและผลกระทบของการลักลอบนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ศึกษาปัจจัยของการลักลอบนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยและเสนอแนะแนวทางและมาตรการในการป้องกันและแก้ไขการลักลอบนําเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยให้สอดคล้องกับอนุสัญญาบาเซล (Basel Convention) โดยเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเชิงเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญในหน่วยงานภาครัฐบาลและภาคประชาสังคม จำนวน 10 ราย ผลการศึกษาพบว่า สภาพปัญหาการลักลอบนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์เริ่มมาจากการที่ประเทศจีนมีประกาศห้ามนำเข้าขยะรีไซเคิลอย่างเด็ดขาดในปี พ.ศ. 2560 และปัญหาการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอยู่เดิมของประเทศไทย ทำให้ปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยมีจำนวนสูงมากขึ้น พบการลักลอบโดยการสำแดงเท็จ การดำเนินการส่วนใหญ่มักยุติที่ชั้นศุลกากรโดยไม่เข้าสู่กระบวนการทางอาญาแม้จะมีกฎหมายระบุไว้ การลักลอบนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ สุขภาพ สังคม ชุมชน และเศรษฐกิจของประเทศ สำหรับปัจจัยของการลักลอบนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์นั้น มีทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ ปัจจัยด้านพื้นที่ ปัจจัยด้านการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย ปัจจัยด้านการบังคับใช้กฎหมาย และปัจจัยด้านความคุ้มค่า ผลการศึกษาแนวทางในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการลักลอบนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์มีทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการปฏิบัติงาน และการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย/นโยบาย/มาตรการ และการบังคับใช้อย่างเคร่งครัด และการสร้างจิตสำนึก และการตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมให้มากยิ่งขึ้น


Factors Affecting Ptt Stock Price And Effects From Government Policy, Pharisa Chaisuwan Jan 2021

Factors Affecting Ptt Stock Price And Effects From Government Policy, Pharisa Chaisuwan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

PTT is one of the important listed companies on the Stock Exchange of Thailand, and PTT is Thailand’s number one energy and petrochemical business. This study intends to examine the impact of macroeconomics factors and government policy on the PTT stock price. The first part examines the macroeconomic factors, which are interest rate, consumer price index, exchange rate, and gold price, using the data from 2010 to 2020. The ordinary least square between PTT stock price and all variables show that PTT stock price and only consumer price index are positively related. If the consumer price index or price level …


Health-Conscious Pet Owner And Premium Pet Food Purchasing In Thailand, Potjaman Khongthon Jan 2021

Health-Conscious Pet Owner And Premium Pet Food Purchasing In Thailand, Potjaman Khongthon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In Thailand, the market value of premium pet food has been significantly increasing overtime. Simultaneously, consumers also increasingly demand healthy food to satisfy healthy lifestyle which is trendy nowadays. This phenomenon seems to grow with the same direction so the purpose of this study is to investigate the influence of health-consciousness lifestyle on the food choice for pets by using the logistic regression. The questionnaire was distributed to pets’ owners who keep dogs or cats or keep both. The result shows that health-conscious pet owners are more likely to purchase premium pet food. In addition, the owners who have pet …


Does Increasing Inflation Lead To Income Inequality In Thailand And South-East Asia?, Panipuk Maneethai Jan 2021

Does Increasing Inflation Lead To Income Inequality In Thailand And South-East Asia?, Panipuk Maneethai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Increasing income inequality has negative effects on human well-being and the nation's economic development. Understanding how income inequality is affected by various economic factors is the first step toward alleviating it. Previously, inflation, economic and technology development, and the openness to globalization have been suggested to affect income inequality in various developed nations. In this work, we are interested in developing countries in south-east asia. In Thailand, we found that the inflation rate had a positive impact on income inequality in recent years (2000-2020), yet had the opposite impact in earlier years (1980-1999). On the other hand, we found the …


Marketing Strategy Analysis Of Thailand’S Tourism During Covid-19 Pandemic: A Case Study On Phuket Sandbox, Michela Pia Di Cecco Dortona Jan 2021

Marketing Strategy Analysis Of Thailand’S Tourism During Covid-19 Pandemic: A Case Study On Phuket Sandbox, Michela Pia Di Cecco Dortona

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This paper utilizes three marketing tools in order to identify the marketing strategy of the Phuket Sandbox scheme. It aims to discover the target group of consumers, strengths and weaknesses of the scheme, and the type of tourism products that the Phuket Sandbox has to offer to tourists. The main findings are that the destination is strong in its medical and cultural tourism products but may suffer from crime events and degradation of tourism resources. Another finding suggests that tourists who visit Phuket through the Phuket sandbox scheme falls into the middle and upper class category within generations Z, Y, …


Impact Of Covid-19 Outbreak On Export Values Of Industrial Products From Thailand To China, Burapas Yotwilai Jan 2021

Impact Of Covid-19 Outbreak On Export Values Of Industrial Products From Thailand To China, Burapas Yotwilai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The study of impact of COVID-19 outbreak on export values of industrial product from Thailand to China focused on illustrating how large the effect is and investigating the influencing factors. The monthly data during 2017 to 2021 were used in the multiple regression model to analyze factors affecting Thailand export values to China especially industrial product. This study also indicated the impact of COVID-19 pandemic on other main exported products. The findings of this study showed that the COVID-19 pandemic had no statistically significant impact on export vales for all sectors. However, the result of this study also found real …


The Application Of Marketing Analysis : A Case Study Of Starbucks In The Us, Norke Lama Sherpa Jan 2021

The Application Of Marketing Analysis : A Case Study Of Starbucks In The Us, Norke Lama Sherpa

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Starbucks Corporation is an American multinational with coffee stores all across the world and is the leading market share in a retail coffee stores. In this Individual Study I will be assessing the marketing strategy of Starbucks in the USA by applying SWOT analysis, Marketing Mix 4ps, and Porter's 5 forces. A qualitative Literature Review of previous studies was used as a methodology to assess the marketing strategies of Starbucks. Furthermore, in order to find which marketing strategy Starbucks can implement to increase its market share, I used the Quantitative Strategic Planning Matrix (QSPM), and External and Internal Factor Evaluation …


The Effects Of Marketing Mix Factors And Brand Equity Factors On Huawei Brand's Consumer Purchasing Decision Process In Bangkok, Pakapol Uksornsuwan Jan 2021

The Effects Of Marketing Mix Factors And Brand Equity Factors On Huawei Brand's Consumer Purchasing Decision Process In Bangkok, Pakapol Uksornsuwan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aims to evaluate the effects of Marketing Mix factors and Brand Equity factors on Huawei Brand's Consumer Purchasing Decision Process in Bangkok. It uses questionnaires to collect data from a sample group of 400 people using Huawei products in Bangkok from 2019 to 2022 via the Google form platform. and use statistical methods to analyze and test the hypothesis. It finds under marketing mix that respondents pay most attention to product, followed by place, price, and promotion respectively. However, under the brand equity that respondents pay most attention to brand awareness, followed by brand association, brand loyalty, and …


Does Thailand’S New Electric Vehicle Policy Affect Battery Electric Vehicle (Bev) Adoption?, Apinya Thitiphatthanawanit Jan 2021

Does Thailand’S New Electric Vehicle Policy Affect Battery Electric Vehicle (Bev) Adoption?, Apinya Thitiphatthanawanit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Transportation accounted for about 27 per cent of the total Greenhouse gas emissions in the United States. The shift from Internal Combustion Engine vehicles (ICEs) to a cleaner vehicle type such as Battery Electric Vehicles (BEV), could potentially reduce the air pollution and Greenhouse gases released into the atmosphere, thus, slowing down the pace of global warming. However, most people still have doubts on the reliability and prices of the BEVs. Many governments in developed countries such as Norway have proved that government incentives policy can be used to incentivize the BEV adoption. This paper analyzes particularly on the case …


The 7ps Marketing Mix Of Koi Thé That Affect Consumer’S Purchase Decisions In Bangkok, Varith Romyanan Jan 2021

The 7ps Marketing Mix Of Koi Thé That Affect Consumer’S Purchase Decisions In Bangkok, Varith Romyanan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Currently, bubble tea has become some of the most famous beverages that people prefer to drink worldwide, especially in Thailand. The bubble tea shop business market has consecutively high competition, in terms of consumers having different choices of beverages to consume and also in terms of owners that have more competitors. KOI Thé is possibly one the most popular bubble tea chain in Thailand. In consequence, this paper's purpose can be classified into two categories. First, to examine the impact of components of the 7Ps marketing mix on consumers' purchasing decisions of KOI Thé. Second, to examine the influence of …


Financial Risk Warning Of Listed Real Estate Companies In China, Huimin Zhou Jan 2021

Financial Risk Warning Of Listed Real Estate Companies In China, Huimin Zhou

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The main methods of this analysis include principal component analysis and binary logistic regression, and the essence of the study is to predict and find out which financial factors will lead to the financial and credit risks of real estate companies. This paper examines the real estate companies listed on the main board of China in the A-share market, and the financial data analysis period is from 2014 to 2020. Through empirical analysis, it can be found that cash profit rate, sales profit rate, sales cash rate and operating profit rate have the greatest impact on the accuracy of financial …