Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 1681 - 1710 of 5570

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

How Does The Hotel Reviews From Websites Affect The Rate Of Hotel Booking Of Centara Hotels And Resorts?, Kamolluck Nganthanaphanich Jan 2020

How Does The Hotel Reviews From Websites Affect The Rate Of Hotel Booking Of Centara Hotels And Resorts?, Kamolluck Nganthanaphanich

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In recent years, online channel becomes a platform to generate sales. Before deciding to purchase customer will consult with reviews on internet. As customer tend to participate in the internet of things, this paper applies the factors impact customer decision on booking intention. The purpose of this experiment approach is to examine the influencing factors of occupancy rate in order to analyze performance of hotel. The research presents the result of regression that has been tested through the paper along with hypotheses related to the booking intention. As deluxe hotel could impact customer who prefer quality rather concern about the …


How Does Tongrentang's Pharmaceutical Business Integrates With The Company's Mission To Maintain Its Leading Position?, Wei Chen Jan 2020

How Does Tongrentang's Pharmaceutical Business Integrates With The Company's Mission To Maintain Its Leading Position?, Wei Chen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Entering the 21st century, enterprises are facing a rapidly changing and uncertain global competitive environment. Product technology has been constantly updated and improved, and the pace of industrial upgrading and transformation has been accelerated. In the new competitive environment, the key to the success of an enterprise is the goal, truly in-depth, comprehensive, in-depth analysis of the enterprise's internal and external environment, use their own advantages, tap the potential of the enterprise, timely seize the opportunity, avoid threats, and develop the enterprise's Core technology. In order to create the core technology and competitive advantage of the enterprise, it is necessary …


A Case Study On Descriptive Analysis Of Marketing And Business Strategy For Ptg Energy In 2013 Toward Business Performance, Nirapa Ruengwutisakulchai Jan 2020

A Case Study On Descriptive Analysis Of Marketing And Business Strategy For Ptg Energy In 2013 Toward Business Performance, Nirapa Ruengwutisakulchai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Corporate strategy is a key factor to drive company business performance which can be measured by several factors. Effective strategies can lead to positive business performance in several dimensions as well as creating a strong brand. Strong brand also enhances positive evaluations of brand awareness, product quality and customer perception. Hence, re-branding is also important to create a strong brand to adapt to the recent world. This paper will focus on three main corporate strategies which are petrol station expansion, max card membership enhancement, and non-oil business expansion in order to support rebranding campaign of PTG Energy Public Company Limited …


How Manufacturing Company Catching Up In Emerging Markets By Using Diversification Strategy? -A Case Study Of Thailand Malee Group, Zhongbing Shi Jan 2020

How Manufacturing Company Catching Up In Emerging Markets By Using Diversification Strategy? -A Case Study Of Thailand Malee Group, Zhongbing Shi

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This paper uses the theory about the diversification strategy as a foundation, by conducting a case study research methodology to explore the diversification strategy of manufacturing company in emerging markets, to present empirical examples in regards of the diversification (product and international diversification) process of Malee Group company of Thailand. The paper attempts to determine whether Malee Group has successful catching up in emerging markets through Product and international diversification, and what approach used by Malee group in pursuit of its diversification strategy and the factors considered by Malee Group in selecting market segment or countries to diversify into. The …


How Minimum Wage And Labor Skill Affected Thailand Direct Investment Abroad (Tdi) During 2010-2019?, Paemala Namkaew Jan 2020

How Minimum Wage And Labor Skill Affected Thailand Direct Investment Abroad (Tdi) During 2010-2019?, Paemala Namkaew

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Nowadays Thailand experienced with an upward trend for direct investment abroad (TDI) while there is an upward and downward trend for foreign direct investment (FDI) into Thailand. However, the amount of outward flows for foreign direct investment in Thailand still far behind other developed countries in Asia such as Japan or Singapore. Moreover, Thailand also facing with labor shortage for skilled labor since there is a mismatch between the worker’s skill that company required, and the skills possessed by the workers. Furthermore, with the increasing rate of Thailand’s minimum wage rate makes the country has higher minimum wage when compared …


How The Minimum Wage Change Affect To The Revenue Of The Property Development Companies In Thailand?, Siravit Srichomngam Jan 2020

How The Minimum Wage Change Affect To The Revenue Of The Property Development Companies In Thailand?, Siravit Srichomngam

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This paper has a purpose to test the relationship between the minimum wage change and the revenue of property development companies that join the stock market in Thailand for more than 10 years. Moreover, this paper still has an investigation for proving the result of testing. This paper used the revenue property development companies which join the stock market in Thailand for more than 10 years which the data which be used from 2010 to 2019. The Thai annual average minimum wage information is gathered from the macroeconomic website from 2010 to 2019. The relationship between the minimum wage and …


How To Creat Malee's Fruit Juice For Maximum Value In The Domestic Market?--A Case Study Of Malee Group Public Company Limited, Hong Xu Jan 2020

How To Creat Malee's Fruit Juice For Maximum Value In The Domestic Market?--A Case Study Of Malee Group Public Company Limited, Hong Xu

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Social progress has accelerated the pace of people's life and work, and consumers are more inclined to buy products that are convenient and beneficial to health. At present, the fruit juice industry in Thailand is in a rapid development period, the number of fruit juice manufacturers is increasing and many food factories are beginning to turn to the fruit juice market to occupy a certain share, so the variety of fruit juice products is increasingly rich and the pressure of enterprise competition is increasing. Malee Group Public Company Limited (Hereinafter referred to as “Malee Group”) is one of the largest …


Impact Of Implementing Lean Six Sigma On Profitability - A Case Study Of Bjc’S Glass Packaging Division, Mengyuan Wu Jan 2020

Impact Of Implementing Lean Six Sigma On Profitability - A Case Study Of Bjc’S Glass Packaging Division, Mengyuan Wu

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this paper is to assess the impact of implementing LSS in manufacturing glass packaging on profitability in BJC’s glass packaging division, and to explore the CSFs for implementation of LSS in BJC context. Also, described the industry trend of implementing LSS in the future. Line chart and pie chart is used to display and analyze the company's relevant data from 2006-2019 and the operating profit ratio, ratio of profits to cost and expense (RPCE), and return on total assets ratio (ROA) are will be calculated and analyzed to assess the impact of implementing LSS on profitability of …


การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในจีน, ปภินวิช ปวินท์วรกุล Jan 2020

การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในจีน, ปภินวิช ปวินท์วรกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดดของจีนในศตวรรษที่ 21 ส่งผลให้จีนกลายเป็นผู้ปล่อยมลพิษมากที่สุดในโลก หลายประเทศมีข้อกังวลเรื่องการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมของจีนและเรียกร้องให้จีนหันมาให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น หากจีนจะรักษาบทบาทในฐานะมหาอำนาจของโลกในยุคปัจจุบัน จีนจำเป็นต้องแสดงความรับผิดชอบต่อประชาคมโลกขณะที่ผลจากการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศทำให้จีนเผชิญปัญหามลพิษทางอากาศที่เลวร้ายส่งผลให้ประชาชนได้รับผลกระทบด้านสุขภาพอย่างรุนแรง ดังนั้น งานวิจัยครั้งนี้ได้ทำการศึกษาการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมและการใช้มาตรการทางนโยบายสาธารณะ โดยวิเคราะห์ว่าผู้นำจีนให้ความสำคัญในการออกกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและนำไปสู่การดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างไร การศึกษาครั้งนี้ จะมุ่งเน้นศึกษาการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในจีน โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) อธิบายแนวทางการจัดการปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศจีน 2) วิเคราะห์กระบวนการการออกฎหมายและการบังคับใช้ในการจัดการปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศจีน และ 3) ประเมินผลสำเร็จของการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในจีนในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ผลการศึกษาพบว่าจีนมีความพยายามในการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในประเทศเพื่อรักษาความชอบธรรมของการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ที่เป็นอำนาจการผูกขาดในบริหารประเทศ จากนโยบาย Green China ของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง โดยมีการออกกฎหมายและมาตรการในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ภายในประเทศ และมีการสร้างการรับรู้ให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการจัดการขยะอย่างจริงจังทำให้ปริมาณขยะภายในประเทศลดลง อย่างไรก็ตาม การดำเนินการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมของจีนในต่างประเทศยังไม่มีการความร่วมมืออย่างจริงจัง และการห้ามนำเข้าขยะของจีนส่งผลให้ขยะเหล่านั้นถูกส่งมายังประเทศในอาเซียนแทนทำให้การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในบริบทระหว่างประเทศของจีนยังถือว่ายังไม่ประสบผลสำเร็จอย่างยั่งยืน


การจัดการแรงงานข้ามชาติโรฮิงญาของประเทศมาเลเซีย, บูรณิจฉ์ ตันติวุฒิพงศ์ Jan 2020

การจัดการแรงงานข้ามชาติโรฮิงญาของประเทศมาเลเซีย, บูรณิจฉ์ ตันติวุฒิพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาการจัดการแรงงานข้ามชาติโรฮิงญาของประเทศมาเลเซีย โดยศึกษาความมั่นคงของมนุษย์ต่อการจัดการแรงงานชาวโรฮิงญาประเทศมาเลเซีย เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์แนวทางการจัดการแก้ไขปัญหาด้านแรงงานทั้งจากรัฐบาลมาเลเซีย และองค์กรนอกภาครัฐ ภายใต้กรอบแนวคิดความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security) ที่มีพื้นฐานมาจากแนวคิด (Critical Security) และแนวคิดการย้ายถิ่นเป็นส่วนประกอบของการวิเคราะห์ จากการศึกษาพบว่า ประเทศมาเลเซียได้มีบทบาทสำคัญต่อการจัดการแรงงาน จากการดำเนินการด้านนโยบายหรือการจัดการ โดยการให้ความช่วยเหลือแรงงานทำให้สามารถดำรงชีวิตตามแนวทางขั้นพื้นฐานตามหลักสิทธิมนุษยชน และความมั่นคงของมนุษย์ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ปลอดภัย ผ่านมาตรการทางด้านกฎหมายต่างๆ ทำให้แรงงานต่างชาติสามารถได้รับสิทธิ์เช่นเดียวกับแรงงานมาเลเซียภายใต้พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การรับเงินทดแทนหรือประกันสังคม รวมทั้ง ได้มีการลงนามในตราสารด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศหลายฉบับ รวมถึง อนุสัญญาพื้นฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ILO ว่าด้วยการบังคับใช้แรงงาน ทำให้มาเลเซียทราบถึงมาตรการที่รัฐดำเนินการเพื่อปกป้องแรงงานข้ามชาติ แม้ว่ารัฐบาลมาเลเซียได้ให้ความสำคัญต่อความมั่นคงมนุษย์ของแรงงานต่างชาติ แต่ยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากลเท่าที่ควร จึงเกิดเป็นการประสานความร่วมมือร่วมกันระหว่างรัฐบาลมาเลเซีย กับองค์กรนอกภาครัฐ อย่าง สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ หรือ UNHCR และ กลุ่มเคลื่อนไหวด้านแรงงานในประเทศมาเลเซีย อย่างกลุ่ม Tenaganita ที่ได้มีการสนับสนุนให้มีการจัดการแก้ไขปัญหาตามแบบสากล เพื่อให้มีกรอบแนวทางการดำเนินการไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้ องค์กรนอกภาครัฐเป็นเพียงแค่ส่วนส่งเสริมแต่ไม่สามารถเข้าไปแทรกแซงการเมืองภายในของมาเลเซียได้ ทำให้การจัดการแรงงานต่างชาติจึงยังเป็นการให้ความสำคัญ และพึ่งพาภาครัฐมากกว่าที่จะเป็นการเน้นบทบาทของแรงงานอย่างแท้จริง


Influence Of Online Shopping Channel On Sales Volume Of Beauty Products During Covid-19, Vichayada Vorapongpisut Jan 2020

Influence Of Online Shopping Channel On Sales Volume Of Beauty Products During Covid-19, Vichayada Vorapongpisut

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Increasing numbers of online shopping users during COVID-19 have accelerated the growth of e-commerce, especially in the beauty sector in Thailand. The Uses and Gratifications Theory (UGT) and the Technology Acceptance Model (TAM) are combined in this study to produce an integrated model that predicts beauty product online sales, measured by a behavioral usage of online shopping for the purchase of beauty products in the context of COVID-19. The total number of respondents from the online survey is from 365 online beauty shoppers in Bangkok, aged 16 and above. By conducting a multiple linear regression analysis, the empirical results support …


การดำเนินมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของไทยต่อเกาหลีเหนือ (ค.ศ. 2007-2019), ภาสุรี พัฒนาวิสุทธิ์ Jan 2020

การดำเนินมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของไทยต่อเกาหลีเหนือ (ค.ศ. 2007-2019), ภาสุรี พัฒนาวิสุทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาการดำเนินมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของไทยต่อเกาหลีเหนือในช่วงปี 2007-2019 จากการที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) ได้มีการรับรองข้อมติเพื่อตอบโต้การทดลองขีปนาวุธและระเบิดนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ ซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงรวมถึงสันติภาพระหว่างประเทศ ในฐานะที่ไทยเป็นรัฐสมาชิกสหประชาชาติ จึงมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตามข้อมติของ UNSC ซึ่งเป็นไปตามข้อที่ 25 ของกฎบัตรสหประชาชาติในการดำเนินมาตรการคว่ำบาตรต่อเกาหลีเหนือ ซึ่งที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2007 ไทยมีการดำเนินการตามข้อมติของ UNSC ในการคว่ำบาตรต่อเกาหลีเหนือมาโดยตลอด มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย เช่น กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงกลาโหม กระทรวงคมนาคม เป็นต้น ในการปฏิบัติตามข้อมติดังกล่าวและปรับปรุงข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามประกาศของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ซึ่งการดำเนินมาตรการจะต้องมีความสอดคล้องกับกฎหมายภายในของประเทศไทยเช่นกัน ทั้งนี้ผลการศึกษาชี้ให้เห็นการดำเนินมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของไทยต่อเกาหลีเหนือ ในช่วงปี 2007-2019 และพบว่าทั้งไทยและเกาหลีเหนือไม่ได้มีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันมากขนาดนั้นในด้านเศรษฐกิจ ดังนั้น จึงส่งผลกระทบต่อการดำเนินมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของไทยต่อเกาหลีเหนือค่อนข้างน้อย ทั้งนี้ การดำเนินมาตรการคว่ำบาตรของไทยไม่ได้ส่งผลกระทบในแง่ร้ายกับไทยในด้านการค้า เพราะไทยและเกาหลีเหนือมีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันค่อนข้างน้อย เนื่องจากที่ผ่านมาเกาหลีเหนือไม่ใช่ประเทศคู่ค้าหลักในด้านการค้าของไทย ไทยก็ไม่ได้เสียผลประโยชน์อะไรมากนัก และประเทศคู่ค้าที่ไทยพึ่งพาเป็นหลัก คือ จีน สหรัฐ ญี่ปุ่น เป็นต้น ส่วนประเทศที่เกาหลีเหนือมีการพึ่งพาทางการค้าเป็นหลักคือ จีน อินเดีย รัสเซีย เป็นต้น โดยจะเห็นว่าอิทธิพลของสถาบันระหว่างประเทศอย่างสหประชาชาติและกฎหมายระหว่างประเทศอาจเป็นแรงจูงใจหนึ่งในการที่ไทยต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบในการดำเนินมาตรการคว่ำบาตรต่อเกาหลีเหนือ รวมถึงเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีต่อบทบาทของไทยในเวทีสหประชาชาชาติ เพื่อสร้างความร่วมมือและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างไทยกับนานาชาติ ให้เกิดความมั่นคงและสันติภาพในอนาคต


การทูตทางเศรษฐกิจของไทยต่อแอฟริกา: กรณีศึกษาการเปิดสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงมาปูโต โมซัมบิก, ปรภัส แท่นธัญลักษณ์ Jan 2020

การทูตทางเศรษฐกิจของไทยต่อแอฟริกา: กรณีศึกษาการเปิดสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงมาปูโต โมซัมบิก, ปรภัส แท่นธัญลักษณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์นี้ศึกษาการทูตทางเศรษฐกิจของไทยต่อแอฟริกาโดยใช้การเปิดสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงมาปูโต โมซัมบิก เป็นกรณีศึกษา วัตถุประสงค์การวิจัยของสารนิพนธ์มุ่งตอบคำถาม 2 ข้อ คือ (1) ทำไมรัฐบาลไทยสมัยนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จึงเลือกโมซัมบิกเป็นจุดดำเนินนโยบายการทูตเชิงรุกด้านเศรษฐกิจของไทยต่อแอฟริกา และใช้การผลักดันการเปิดสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงมาปูโต เป็นเครื่องมือสำหรับขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว (2) เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และรัฐบาลที่เข้ามาใหม่เปลี่ยนแนวทางดำเนินนโยบายต่อแอฟริกาจากการทูตเศรษฐกิจเชิงรุกมาเป็นความร่วมมือเพื่อการพัฒนาและการทูตสาธารณะ บทบาทและแนวทางดำเนินยุทธศาสตร์ของสถานเอกอัครราชทูตไทยที่โมซัมบิกมีการปรับตัวอย่างไร จากการศึกษาด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ สารนิพนธ์ได้ข้อค้นพบว่ารัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ดำเนินนโยบายรุกแอฟริกาทางเศรษฐกิจด้วยการเปิดสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงมาปูโต เป็นการสนับสนุนภาคธุรกิจที่เข้าไปสกัดวัตถุดิบและทรัพยากรในโมซัมบิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคธุรกิจอัญมณี ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลและมีการปรับแนวทางดำเนินนโยบาย จุดมุ่งหมายเดิมที่ต้องการใช้สถานทูตเป็นจุดประสานการดำเนินการทูตเศรษฐกิจเชิงรุกและสนับสนุนการขยายความร่วมมือด้านการค้าการลงทุน เพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรและวัตถุดิบลดความสำคัญลง แนวทางดำเนินยุทธศาสตร์ของสถานทูตไทยที่มาปูโตเปลี่ยนมาเน้นความร่วมมือเพื่อการพัฒนาผสานกับการทูตสาธารณะ เพื่อมุ่งให้ความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศทั้งสองเป็นเงื่อนไขสนับสนุนการแก้ไขปัญหาให้แก่ภาคธุรกิจที่เข้าไปสกัดทรัพยากรในโมซัมบิก จากข้อค้นพบข้างต้นสารนิพนธ์มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายดังนี้ (1) กระทรวงการต่างประเทศควรทำงานร่วมกับหน่วยงานด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศของไทย เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การทูตทางเศรษฐกิจของไทยต่อแอฟริกาให้มีความต่อเนื่อง มีตัวชี้วัดประสิทธิภาพและสัมฤทธิผลของมาตรการดำเนินยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน (2) กระทรวงการต่างประเทศควรผลักดันให้หน่วยงานด้านส่งเสริมการค้าและการลงทุนทั้งของภาครัฐและภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในการทูตเศรษฐกิจเชิงรุกต่อแอฟริกาให้มากขึ้น รวมทั้งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างภาคเอกชนไทยกับภาคเอกชนในแอฟริกา (3) เปลี่ยนจุดเน้นในการใช้ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างไทยกับประเทศในแอฟริกาในกรอบของการทูตสาธารณะมาเป็นการใช้ความร่วมมือเพื่อการพัฒนา เป็นกลไกขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ของการทูตเศรษฐกิจเชิงรุก


การทูตสาธารณะกับกิจการพลเรือนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : ศึกษายุทธศาสตร์ การทูตสาธารณะของกองทัพไทยในปฏิบัติการรักษาสันติภาพที่ดาร์ฟูร์ภายใต้ Unamid, พงศ์เชษฐ พรหมรักษ์ Jan 2020

การทูตสาธารณะกับกิจการพลเรือนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : ศึกษายุทธศาสตร์ การทูตสาธารณะของกองทัพไทยในปฏิบัติการรักษาสันติภาพที่ดาร์ฟูร์ภายใต้ Unamid, พงศ์เชษฐ พรหมรักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของสารนิพนธ์นี้เพื่อพิจารณาเป้าหมายและการดำเนินการตามยุทธศาสตร์การทูตสาธารณะของกองทัพไทยในระหว่างการเข้าร่วมการปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในดาร์ฟูร์ภายใต้ UNAMID การวิจัยนี้ศึกษาการริเริ่มการทูตสาธารณะที่ผ่านมาของประเทศไทย รวมถึงการผสานกิจการพลเรือนในยุทธศาสตร์ความมั่นคงภายใน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพร่วมกับการวิเคราะห์เอกสาร การศึกษานี้มีข้อค้นพบหลัก ได้แก่ ก) ยุทธศาสตร์การทูตสาธารณะของกองทัพไทยในระหว่างปฏิบัติรักษาสันติภาพที่ดาร์ฟูร์ ได้ผสานการดำเนินงานด้านกิจการพลเรือนเข้ากับโครงการความช่วยเหลือด้านการพัฒนา เพื่อแสดงคุณค่าและประโยชน์ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการสนับสนุนความเป็นอยู่ที่ดีทางด้านเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ; ข) กลุ่มเป้าหมายหลักของการทูตสาธารณะคือ หน่วยงานต่างๆด้านการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ กองกำลังของประเทศอื่นๆ ในการปฏิบัติการรักษาสันติภาพ และประเทศภายในกรอบความร่วมมือแบบใต้ - ใต้ ค) จุดมุ่งหมายหลักของยุทธศาสตร์การทูตสาธารณะคือ การส่งเสริมการยอมรับของนานาชาติต่อความพร้อมของประเทศไทย ในการสนับสนุนความร่วมมือด้านการพัฒนาระหว่างประเทศ และความสามารถของกองทัพไทยในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงภายใน โดยใช้การดำเนินการกิจการพลเรือนตามแนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สารนิพนธ์นี้ สรุปด้วยข้อเสนอแนะด้านนโยบายสำหรับการทูตสาธารณะของประเทศไทยในอนาคต ซึ่งมีส่วนที่ต้องปรับปรุงคือ ควรมีการประชาสัมพันธ์งานกิจการพลเรือนของกองทัพไทยที่มีหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักนิยมและการถ่ายทอดความรู้ให้กับหน่วยงานของซูดาน ส่วนของข้อเสนอแนะเพิ่มเติมคือ กองทัพไทยควรขับเคลื่อนการทูตสาธารณะผ่านงานด้านกิจการพลเรือนเพื่อสนับสนุนการดำเนินนโยบายต่างประเทศ และการดำเนินการกิจการพลเรือนในปฏิบัติการรักษาสันติภาพซึ่งเป็นจุดแสดงสมรรถนะด้านความมั่นคง


การทูตเพื่อการพัฒนาของไทยต่อสาธารณรัฐเคนยา, อลงกรณ์ วัตตธรรม Jan 2020

การทูตเพื่อการพัฒนาของไทยต่อสาธารณรัฐเคนยา, อลงกรณ์ วัตตธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาการดำเนินนโยบายการทูตเพื่อการพัฒนาของไทยต่อภูมิภาคแอฟริกา โดยใช้สาธาณรัฐเคนยาเป็นกรณีศึกษา มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำความเข้าใจต่อการนำความร่วมมือเพื่อการพัฒนามาใช้ในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยในฐานะเครื่องมือการทูตสาธารณะที่หวังผลประโยชน์ในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะต่อเคนยาซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศเชิงยุทธศาสตร์ของไทย ผ่านการศึกษารูปแบบและกลไกการดำเนินนโยบายการต่างประเทศของไทยต่อภูมิภาคแอฟริกา การประมวลกิจกรรมความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของไทยต่อเคนยา ตลอดจนปัจจัยที่สร้างโอกาสและความท้าทายจากการดำเนินงานดังกล่าว โดยใช้แนวคิดการทูตสาธารณะเป็นกรอบในการวิเคราะห์ จากการศึกษาด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ สารนิพนธ์ได้ข้อค้นพบว่านับตั้งแต่ไทยใช้นโยบายมองตะวันตก เป็นต้นมา ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาได้ถูกกำหนดให้เป็นเครื่องมือสำคัญทางยุทธศาสตร์ของไทยต่อภูมิภาคแอฟริกาเพื่อนำไปสู่ผลประโยชน์ทางด้านการค้าการลงทุนและการแสวงหาพันธมิตรในเวทีระหว่างประเทศ โดยไทยใช้รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนผ่านตัวบุคคลและช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีต่อเคนยา และมีความสอดคล้องกับวาระการพัฒนาขององค์การสหประชาชาติ แต่การให้ความช่วยเหลือมีปริมาณน้อยและมีเพียงรูปแบบเดียวจึงทำให้ไม่สามารถเชื่อมโยงไปสู่ผลประโยชน์ทางการค้าการลงทุนได้ ประกอบกับการขาดความชัดเจนของเป้าหมายในการดำเนินงานและความต่อเนื่องทางการเมืองภายในของไทยก็ทำให้การดำเนินนโยบายในลักษณะเชิงรุกไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร การดำเนินงานจึงเป็นไปเพียงเพื่อตอบสนองต่อกระแสการพัฒนาขององค์การสหประชาติ และการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ภาพกว้างของรัฐบาลที่อยู่ในส่วนความรับผิดของกระทรวงการต่างประเทศ มากกว่าการมุ่งหวังผลประโยชน์จากการใข้เครื่องมือการทูตนี้อย่างมีประสิทธิภาพ จากข้อค้นพบข้างต้น สารนิพนธ์มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายดังนี้ 1 ไทยควรเน้นการกระชับความสัมพันธ์ของผู้นำระดับสูงที่แสดงถึงเจตจำนงทางการเมืองเพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญของการดำเนินโยบายให้มีความต่อเนื่องและมีพลวัต 2 สถาบันหลักที่มีส่วนในการตัดสินใจเชิงนโยบายของรัฐควรศึกษาผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนินงานด้านนี้เพื่อนำไปสู่การกำหนดเป็นนโยบายที่มีแบบแผนการปฏิบัติงานอย่างเป็นรูปธรรม สำหรับข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัตินั้น ไทยควรใช้การทูตเพื่อการพัฒนาในการต่อยอดไปสู่การทูตสาธารณะรูปแบบอื่น ๆ เช่นการทูตสาธารณสุข การทูตด้านการศึกษา รวมถึงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาของไทยในเคนยาเพื่อเป็นจุดเชื่อมโยงการทูตสาธารณะของไทยในภูมิภาคแอฟริกาตะวันออก


การฝึกร่วมผสมทางทหาร Cobra Gold ในฐานะเครื่องมือตอบสนองมหายุทธศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา, สุวิทย์ ไท้ทอง Jan 2020

การฝึกร่วมผสมทางทหาร Cobra Gold ในฐานะเครื่องมือตอบสนองมหายุทธศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา, สุวิทย์ ไท้ทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์นี้มุ่งค้นหาอรรถประโยชน์ของการฝึกร่วมผสมทางทหาร Cobra Gold ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีและมีประเทศไทยและสหรัฐอเมริกาเป็นเจ้าภาพร่วม การฝึกดังกล่าวได้ดำเนินมากว่าสี่สิบปีและเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความร่วมมือทางทหารระหว่างสหรัฐอเมริกากับประเทศไทยที่มีมาอย่างยาวนาน สหรัฐอเมริกาใช้การฝึกดังกล่าวเป็นกิจกรรมในการฝึกฝนกำลังพลของตนเองและชาติพันธมิตรเพื่อดำรงความพร้อมในการปฏิบัติภารกิจ ปัจจุบันการฝึกได้ขยายจากการฝึกแบบทวิภาคีมาเป็นพหุภาคีและมีชาติสมาชิกเข้าร่วมการฝึกถึง 27 ประเทศ แม้จะเป็นการฝึกทางทหารที่มีความสำคัญต่อสหรัฐอเมริกาอย่างยิ่ง แต่เมื่อประเทศไทยมีการรัฐประหารในปี ค.ศ.2006 และปี ค.ศ.2014 สหรัฐอเมริกาเองซึ่งมีหน้าที่ในการสนับสนุนและรักษาคุณค่าแบบเสรีนิยมประชาธิปไตย จึงต้องพิจารณาว่าจะยกเลิกการฝึกร่วมผสมทางทหารภายหลังการรัฐประหารทั้งสองครั้งหรือไม่ สารนิพนธ์นี้เสนอว่า การที่สหรัฐอเมริกาตัดสินใจให้มีการฝึกร่วมผสมทางทหาร Cobra Gold ภายหลังการรัฐประหารทั้งสองครั้ง เป็นผลมาจากการที่การฝึกดังกล่าวเป็นเครื่องมือตอบสนองต่อการดำเนินมหายุทธศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาสองประการ ได้แก่การมุ่งสู่ความเป็นเลิศทางทหาร และการสร้างและรักษาระบบพันธมิตรของตนไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้บริบทความมั่นคงที่มีการผงาดขึ้นของจีนมาเป็นมหาอำนาจที่ท้าทายสถานภาพของสหรัฐอเมริกา


การสมานลักษณ์ของชาวอินเดียพลัดถิ่นในกรุงเทพมหานคร, ปิยมาส วงศ์พลาดิสัย Jan 2020

การสมานลักษณ์ของชาวอินเดียพลัดถิ่นในกรุงเทพมหานคร, ปิยมาส วงศ์พลาดิสัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ในหัวข้อ “การสมานลักษณ์ของชาวอินเดียพลัดถิ่นในกรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจพลวัตความหลากหลายของชาวอินเดียในสังคมไทย และเพื่อศึกษาการสมานลักษณ์ของชาวอินเดียที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร โดยแบ่งชาวอินเดียออกเป็นสองกลุ่มคือ หนึ่ง กลุ่มชาวอินเดียที่ครอบครัวย้ายถิ่นเข้ามายังกรุงเทพมหานครก่อนศตวรรษที่ 21 หรือกลุ่มชาวไทยเชื้อสายอินเดีย และสอง กลุ่มชาวอินเดียที่ย้ายถิ่นเข้ามายังกรุงเทพมหานครในศตวรรษที่ 21 โดยสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับวิถีชีวิต ความคิด ความเชื่อ และประสบการณ์ในการอาศัยในกรุงเทพมหานคร เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างและความความสอดคล้องของการพลัดถิ่นและการสมานลักษณ์ของทั้งสองกลุ่ม ว่ามีการปรับตัวเข้าสู่สังคมกรุงเทพมหานครอย่างไร สารนิพนธ์ฉบับนี้ใช้กรอบทฤษฎีคนพลัดถิ่น (Diaspora theory) วิเคราะห์การรักษาอัตลักษณ์ของชาวอินเดียในกรุงเทพมหานคร และใช้กรอบทฤษฎีการสมานลักษณ์ (Assimilation theory) วิเคราะห์การเรียนรู้และปรับตัวของชาวอินเดียในกรุงเทพมหานคร รวมถึงการปรับตัวในฝั่งของสังคมไทยที่รับเอาชาวอินเดียเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในสังคมกรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบว่า ชาวอินเดียที่ย้ายถิ่นเข้ามายังกรุงเทพมหานครในศตวรรษที่ 21 สามารถคงอัตตลักษณ์บ้านเกิดไว้ได้ดีกว่า เนื่องจากยังรักษาสัมพันธ์กับบ้านเกิดไว้ได้อย่างแนบแน่นและมองว่าอินเดียเป็นมาตุภูมิที่แท้จริง ขณะที่ชาวอินเดียที่ครอบครัวย้ายถิ่นเข้ามายังกรุงเทพมหานครก่อนศตวรรษที่ 21 แม้จะไม่ได้มีการรักษาสัมพันธ์กับประเทศอินเดียได้อย่างแนบแน่น แต่ก็สามารถคงอัตลักษณ์บางประการไว้ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะวิถีปฏิบัติทางศาสนา เนื่องจากมีการสร้างชุมชนชาวอินเดียที่มีศูนย์กลางทางศาสนาหลายแห่งในกรุงเทพมหานคร และมีการส่งต่อเรื่องราวและวิถีปฏิบัติภายในครอบครัวไว้ อย่างไรก็ตาม ชาวอินเดียที่ครอบครัวย้ายถิ่นเข้ามายังกรุงเทพมหานครก่อนศตวรรษที่ 21 มีการสมานลักษณ์กับสังคมกรุงเทพมหานครได้เป็นอย่างดีเช่นกัน เนื่องจากถือเป็นพลเมืองไทยที่เกิดและเติบโตในประเทศไทย หรือเรียกว่า “กลุ่มชาวไทยเชื้อสายอินเดีย” อีกทั้งคนส่วนใหญ่ในกรุงเทพมหานครและมุมมองของรัฐไทยมองว่าการเข้ามาของชาวอินเดียเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อกัน จึงถือเป็นการสมานลักษณ์จากทั้งสองฝั่งอย่างกลมกลืน ส่วนชาวอินเดียที่ย้ายถิ่นเข้ามายังกรุงเทพมหานครในศตวรรษที่ 21 มีการสมานลักษณ์ในระดับผิวเผิน เนื่องจากระยะเวลาที่เข้ามาในกรุงเทพมหานครเป็นเพียงระยะสั้น ๆ และมีจุดประสงค์เพื่อประกอบอาชีพในระยะหนึ่งเท่านั้น ซึ่งความแตกต่างของการรักษาอัตลักษณ์และสมานลักษณ์ของชาวอินเดียทั้งสองกลุ่ม ชี้ให้เห็นว่า สาเหตุในการย้ายถิ่นและระยะเวลาในการอยู่อาศัยในดินแดนใหม่ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเข้มข้นในการคงอัตลักษณ์บ้านเกิดและการสมานลักษณ์ของชาวอินเดียกับสังคมไทย


ความพยายามจัดการปัญหาเกาหลีเหนือลักพาตัวชาวญี่ปุ่นภายใต้รัฐบาลอาเบะ ชินโซ ปี 2018-2019, ธนิดา ปะวะโข Jan 2020

ความพยายามจัดการปัญหาเกาหลีเหนือลักพาตัวชาวญี่ปุ่นภายใต้รัฐบาลอาเบะ ชินโซ ปี 2018-2019, ธนิดา ปะวะโข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีมุ่งศึกษาท่าทีของรัฐบาลอาเบะ ชินโซ ต่อเกาหลีเหนือ ในเรื่องของการจัดการปัญหาการลักพาตัวชาวญี่ปุ่นต่อเกาหลีเหนือในช่วง ค.ศ. 2018 และ ค.ศ. 2019 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุที่รัฐบาลอาเบะ แสดงท่าที่ระแวดระวังต่อเกาหลีเหนือในประเด็นการจัดการการลักพาตัว โดยใน ค.ศ. 2018 เกาหลีเหนือมีท่าทีเป็นมิตรต่อสหรัฐฯ และยินยอมในการยุติการพัฒนาโครงการนิวเคลียร์ ทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นมีท่าทีระแวดระวังเกาหลีเหนือ เพราะเชื่อว่าเกาหลีเหนือไม่ได้จริงใจต่อการเป็นมิตรกับสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลญี่ปุ่นจึงใช้โอกาสนี้ ให้ทางสหรัฐฯ ช่วยเจรจาให้เกาหลีเหนือเร่งคลี่คลายประเด็นการลักพาตัว แม้สหรัฐฯ ช่วยญี่ปุ่นแล้ว แต่เกาหลีเหนือกลับไม่ยอมเจรจากับญี่ปุ่น ยิ่งทำให้รัฐบาลอาเบะ กังวลต่อพฤติกรรมเกาหลีเหนือ จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยภายในประเทศมีผลต่อการแสดงออกต่อนโยบายต่างประเทศ โดยในกรณีนี้ ได้แก่ ทัศนะผู้นำของอาเบะ ที่มีแนวคิดอนุรักษ์นิยมของพรรค LDP ร่วมสนับสนุนในด้านยุทธศาสตร์ความมั่นคง ทำให้เขามีทัศนะแข็งกร้าวต่อเกาหลีเหนือ และต้องการขยายขอบเขตหน้าที่ของกองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่น (SDF) และยังมีปัจจัยภายในจากภาคประชาสังคมคือ กลุ่มสมาคม Kazokukai กับ Sukukai ที่มีบทบาทในการผลักดันให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาการลักพาตัว และ กลุ่มสื่อมวลชนญี่ปุ่น ที่ขยายประเด็นการลักพาตัวและยังทำให้ประชาชนรับรู้ในปัจจุบัน ปัจจัยทั้งหมดนี้เป็นตัวแปรสำคัญในการผลักดันให้รัฐบาลญี่ปุ่นมีท่าทีระแวดระวังต่อเกาหลีเหนือ


คาลินินกราดกับนโยบายความมั่นคงของรัสเซียและองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ(นาโต) : ความเปลี่ยนแปลงหลังการขยายสมาชิกภาพขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือในปี ค.ศ.2004, ศิริชัย จันทวงษ์ Jan 2020

คาลินินกราดกับนโยบายความมั่นคงของรัสเซียและองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ(นาโต) : ความเปลี่ยนแปลงหลังการขยายสมาชิกภาพขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือในปี ค.ศ.2004, ศิริชัย จันทวงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงนโยบายความมั่นคงของรัสเซียและนาโตต่อคาลินินกราด หลังการขยายสมาชิกภาพของนาโตในปี ค.ศ. 2004 เพื่อแสดงข้อจำกัดของทฤษฎีสัจนิยมเชิงรุกของจอห์น เมียร์ไชเมอร์ ภายหลังรัฐบอลติกทั้งสามแยกตัวเป็นประเทศเอกราชจากสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1990-91 และเข้าเป็นสมาชิกนาโตในปี ค.ศ. 2004 ส่งผลให้พื้นที่คาลินินกราด ซึ่งเป็นเมืองท่าที่ปราศจากน้ำแข็งของรัสเซียเพียงแห่งเดียวในทะเลบอลติก กลายเป็นพื้นที่กึ่งถูกปิดล้อมและยิ่งมีความอ่อนไหวต่อความมั่นคงของรัสเซียนับจากนั้น สารนิพนธ์ได้ถกเถียงว่า สัจนิยมเชิงรุกมีข้อจำกัดในการอธิบายนโยบายความมั่นคงของรัสเซียและนาโตต่อคาลินินกราด จากข้อเสนอของเมียร์ไชเมอร์ นโยบายความมั่นคงที่ดีที่สุดของมหาอำนาจในสภาวะอนาธิปไตยระหว่างประเทศ คือการขยายอำนาจให้มากที่สุด และการสกัดตัดทอนอิทธิพลของฝ่ายตรงข้ามให้เหลือน้อยที่สุดด้วยการหาทางทำให้มหาอำนาจฝ่ายนั้นอ่อนแอลงไปในทุกทาง อย่างไรก็ตาม ผลการวิเคราะห์การดำเนินนโยบายทั้งของรัสเซียและนาโตในกรณีคาลินินกราดพบข้อจำกัดของสัจนิยมเชิงรุกของเมียร์ไชเมอร์ อย่างน้อย 4 ประการ ประการแรก เป้าหมายพื้นฐานของรัฐต่างๆในสภาวะอนาธิปไตยระหว่างประเทศคือความมั่นคงมากกว่าความต้องการเป็นเจ้า รัฐจึงใช้เครื่องมือที่ต่างออกไปจากยุทธศาสตร์การขยายอำนาจในการป้องกันตนเองและเสริมสร้างความมั่นคงในภาวะอนาธิปไตย ประการที่สอง จากสมมติฐานของเมียร์ไชเมอร์ที่ว่า รัฐเป็นตัวแสดงที่มีเหตุผล กรณีศึกษาที่ยกมาพบว่ารัสเซียและรัฐสมาชิกนาโตในยุโรปต่างตระหนักถึงความเป็นไปได้อย่างมาก ที่จะเกิดภาวการณ์ความมั่นคงที่ลำบากและอันตรายต่อทุกฝ่าย ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเลือกนโยบายก้าวร้าวและยั่วยุในกรณีคาลินินกราด ทุกฝ่ายยังได้ตระหนักถึงผลประโยชน์ร่วมกันที่จะได้รับจากความร่วมมือในหลายๆด้าน ประการที่สาม แม้ว่ามีตัวแสดงสนับสนุนบางหน่วย สำหรับยุทธศาสตร์เชิงรุกดังที่เมียร์ไชเมอร์ได้กล่าวถึงในทฤษฎี แต่สถานะของนโยบายนั้นไม่ได้รับฉันทานุมัติและกระบวนการกำหนดนโยบายของแต่ละประเทศยังประกอบด้วยผลประโยชน์ที่หลากหลาย แนวคิดทางยุทธศาสตร์จำนวนมาก ที่จะใช้สานต่อและปกป้องผลประโยชน์เหล่านั้น นอกเหนือไปจากทางเลือกที่ก้าวร้าวทางทหาร ประการที่สี่ เพื่อลดความเสียหายจากสภาวะอนาธิปไตยจากการทำให้ภาวการณ์ทางความมั่นคงในบอลติกเลวร้ายลง รัฐสมาชิกนาโตและสหภาพยุโรปเลือกใช้ความร่วมมือทางการพัฒนาเป็นเวทีนโยบายหลักเพื่อขยายประเด็นความร่วมมือด้านอื่นๆกับรัสเซีย ด้วยความคาดหวังจะเปลี่ยนคาลินินกราดและทะเลบอลติกเป็นพื้นที่แห่งผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองฝ่าย


ทาสกลางทะเล: บทบาทของรัฐและนายทุนกับการขูดรีดแรงงานบนเรือประมงสัญชาติไต้หวัน, มาริสา สกุลชัย Jan 2020

ทาสกลางทะเล: บทบาทของรัฐและนายทุนกับการขูดรีดแรงงานบนเรือประมงสัญชาติไต้หวัน, มาริสา สกุลชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ไต้หวันเป็นหนึ่งในหลายประเทศที่พบปัญหาการค้าทาสกลางทะเล แรงงานจำนวนมากถูกกดขี่ และละเมิดสิทธิภายใต้ห่วงโซ่การผลิตของอุตสาหกรรมประมง ตั้งแต่กระบวนการจ้างงาน กลไกการผลิตจนได้สินค้าออกสู่ตลาด แม้ว่าภายหลังการปลดใบเหลืองจากสหภาพยุโรปปี 2016 เป็นต้นมา ไต้หวันจะมีการปฏิรูปกฎระเบียบเพื่อจัดการกับปัญหาการใช้แรงงานบังคับ แต่ผลปรากฏว่าในปัจจุบันยังคงพบปัญหาการละเมิดสิทธิและขูดรีดแรงงานประมง สารนิพนธ์ฉบับนี้จึงมุ่งศึกษารูปแบบการใช้แรงงานบังคับบนเรือประมงสัญชาติไต้หวัน และการดำเนินนโยบายรัฐที่ส่งผลต่อนายทุนและแรงงานประมงสมัยรัฐบาลไช่ อิงเหวินระหว่างปี ค.ศ.2016 – 2021 โดยใช้กรอบแนวคิดรัฐเสรีนิยมใหม่เพื่ออธิบายพฤติกรรมของรัฐในกระบวนการกดขี่แรงงานภายใต้ห่วงโซ่อุปทานโลกและใช้แนวคิดเรื่อง “ระยะทาง” มาอธิบายในมิติการเคลื่อนย้ายภายในห่วงโซ่การผลิต จากการศึกษาพบว่า รัฐมีบทบาทสำคัญต่อการเกิดปัญหาการขูดรีดแรงงานประมงต่างชาติบนเรือประมงสัญชาติไต้หวัน ซึ่งมีส่วนช่วยในการอำนวยความสะดวกแก่กลุ่มทุนภายในห่วงโซ่การผลิตของอุตสาหกรรมประมงซึ่งอยู่ในพื้นที่ยกเว้นจากรัฐในการตรวจสอบและปราศจากกฎหมายควบคุม โดยใช้ช่องว่างด้านระยะทางทั้งในด้านเชิงกายภาพ เชิงความรู้ และเชิงกฎหมาย ในการละเมิดและกดขี่แรงงานประมงข้ามชาติเพื่อตอบสนองต่อผลประโยชน์รัฐซึ่งเกี่ยวข้องกับกลุ่มทุน


นโยบายซาอุดิอาระเบียต่อความขัดแย้งในเยเมน ระหว่าง ค.ศ. 2018-2019, ณัฐภัทร ศิวะพรชัย Jan 2020

นโยบายซาอุดิอาระเบียต่อความขัดแย้งในเยเมน ระหว่าง ค.ศ. 2018-2019, ณัฐภัทร ศิวะพรชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์มุ่งศึกษานโยบายซาอุดิอาระเบียต่อความขัดแย้งในเยเมนระหว่าง ค.ศ. 2018 - 2019 เพื่อวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้ซาอุดิอาระเบียต้องให้ความสำคัญกับเยเมน โดยผู้วิจัยใช้แนวคิดเขตอิทธิพล (Sphere of influence) ของ Paul Keal เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ การศึกษาครั้งนี้พบว่าซาอุดิอาระเบียดำเนินนโยบายต่อเยเมนเพื่อรักษาเยเมนไว้เป็นเขตอิทธิพล ไม่ให้ศัตรู รวมถึงพันธมิตรของซาอุดิอาระเบียเองเข้ามาขยายอิทธิพลในเยเมนได้


บทบาทการเมืองของคู่สมรสนายกรัฐมนตรีในเวทีระหว่างประเทศ : กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหว่าง ละเอียด พิบูลสงคราม และนราพร จันทร์โอชา, วิลาสินี พวงมาลัย Jan 2020

บทบาทการเมืองของคู่สมรสนายกรัฐมนตรีในเวทีระหว่างประเทศ : กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหว่าง ละเอียด พิบูลสงคราม และนราพร จันทร์โอชา, วิลาสินี พวงมาลัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์เล่มนี้ได้ศึกษาถึงบทบาทและอิทธิพลทางการเมืองของคู่สมรสนายกรัฐมนตรีไทย ในการส่งเสริม สนับสนุนงานของนายกรัฐมนตรีและรัฐบาล ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ โดยมีกรณีศึกษาคือ ละเอียด พิบูลสงคราม และ นราพร จันทร์โอชา ที่มีความแตกต่างกันทั้งในด้านของบริบทระหว่างประเทศ วิธีการ และอุดมการณ์ที่คู่สมรสนายกรัฐมนตรีใช้ในการส่งเสริมบทบาทและอิทธิพลของตนในเวทีระหว่างประเทศ โดยงานชิ้นนี้ได้ใช้กรอบแนวคิดด้วยกัน 3 กรอบเพื่อประกอบในการวิเคราะห์บทบาทและอิทธิพลทางการเมืองระหว่างประเทศของคู่สมรสนายกรัฐมนตรี ได้แก่ การทูตเชิงวัฒนธรรม ชาตินิยม และสตรีนิยม โดยงานชิ้นนี่มุ่งเน้นที่จะนำเสนอด้วยกัน 3 อย่าง ได้แก่1)ข้อมูลบทบาทและอิทธิพลทางการเมืองในเวทีระหว่างประเทศของคู่สมรสนายกรัฐมนตรี 2) การศึกษาวิเคราะห์ภารกิจ/กิจกรรมและบทบาทของคู่สมรสนายกรัฐมนตรีในการส่งเสริม สนับสนุน และขับเคลื่อนภาพลักษณ์ของไทยในเวทีระหว่างประเทศ และ 3)เปรียบเทียบและวิเคราะห์บทบาทของละเอียดและนราพร ในการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลภายใต้บริบทการเมืองรัฐนิยมและความเป็นชาตินิยมของไทยในเวทีระหว่างประเทศ


บทบาทของศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ กองบัญชาการกองทัพไทยในการเก็บกู้ทุ่นระเบิด ตามอนุสัญญาออตตาวาระหว่าง พ.ศ. 2553-2563, พิชชาพร อุปพงศ์ Jan 2020

บทบาทของศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ กองบัญชาการกองทัพไทยในการเก็บกู้ทุ่นระเบิด ตามอนุสัญญาออตตาวาระหว่าง พ.ศ. 2553-2563, พิชชาพร อุปพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาบทบาทของศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ กองบัญชาการกองทัพไทยในการปฏิบัติตามพันธกรณีข้อที่ 5 อนุสัญญาออตตาวาด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการเก็บกู้ทุ่นระเบิดร่วมกับศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติกัมพูชาและวิเคราะห์การเสริมสร้างความร่วมมือดังกล่าวและอุปสรรคด้วยทฤษฎีเสรีนิยมเชิงสถาบันและทฤษฎีระบอบ โดยมองทฤษฎีระบอบในกรอบของเสรีนิยมเชิงสถาบัน จากการศึกษาพบว่า ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ กองบัญชาการกองทัพไทยเป็นตัวแสดงที่มีบทบาทในการธำรงไว้ซึ่งระบอบห้ามทุ่นระเบิดด้วยการพยายามปฏิบัติตามพันธกรณีในอนุสัญญาออตตาวา เพื่อให้สามารถกำจัดทุ่นระเบิดในพื้นที่ประเทศไทยให้หมดไปซึ่งรวมไปถึงพื้นที่ที่ยังไม่ได้รับการปักปันเขตแดนในชายแดน ไทย-กัมพูชา ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือด้านการเก็บกู้ทุ่นระเบิดกับศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิด กัมพูชา ซึ่งเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมผ่านโครงการนำร่องด้านความร่วมมือในการเก็บกู้ทุ่นระเบิดตามแนวชายแดนไทย – กัมพูชา เมื่อปรับใช้ทฤษฎีเสรีนิยมเชิงสถาบันและทฤษฎีระบอบเข้ากับผลการศึกษาจากข้อมูลเชิงปฐมภูมิและทุติยภูมิพบว่าศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ กองบัญชาการกองทัพไทยประสบความสำเร็จในฐานะตัวแสดงที่ริเริ่มและปฏิบัติในโครงการดังกล่าวซึ่งสามารถสนับสนุนความร่วมมือระหว่างทั้งสองหน่วยงานได้เนื่องจากสามารถสร้างความรู้และความเข้าใจให้กับตัวแสดงภายในประเทศอื่นๆที่มีอิทธิพลต่อการสร้างความร่วมมือของทั้งสองหน่วยงาน อย่างไรก็ตาม พบว่ามีอุปสรรคในการเสริมสร้างความร่วมมือเช่นกัน ได้แก่ ความไม่ไว้วางใจและความหวาดระแวงของฝ่ายกัมพูชา การขาดเอกภาพของหน่วยงานในประเทศกัมพูชา สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19และการปรับเปลี่ยนวงรอบการบังคับบัญชาของคณะผู้บังคับบัญชาการของศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ กองบัญชาการกองทัพไทย


บทบาทของสหรัฐฯในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ระหว่างปี ค.ศ. 2009 - 2020, จิราภรณ์ จรูญชาติ Jan 2020

บทบาทของสหรัฐฯในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ระหว่างปี ค.ศ. 2009 - 2020, จิราภรณ์ จรูญชาติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การรุกเข้าพื้นที่อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงของจีน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายไหม ที่เชื่อมโยงทางบกและทางทะเล ตามยุทธศาสตร์ข้อริเริ่มแถบและเส้นทาง (Belt and Road Initiative : BRI) รวมถึง การสร้างเขื่อนบนลำน้ำโขง ระหว่างปี ค.ศ. 2009-2020 ส่งผลให้สหรัฐฯ ตระหนักถึงอิทธิพลของจีนจากยุทธศาสตร์ BRI และศักยภาพทางเศรษฐกิจของจีนที่เพิ่มมากขึ้นจนสามารถขยายอำนาจครอบคลุมหลายพื้นที่ที่เป็นเขตอิทธิพลของสหรัฐฯในภูมิภาคนี้ ดังนั้น สารนิพนธ์ฉบับนี้ จึงจัดทำขึ้นเพื่ออธิบายท่าทีของสหรัฐฯที่ต้องการคงบทบาทความเป็นประเทศมหาอำนาจหลักในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และตอบโต้จีนผ่านแนวทางการถ่วงดุลอำนาจ โดยการสร้างกลไกความร่วมมือในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และการเลือกใช้แนวทาง Buck-Passing ในการผลักภาระให้กับประเทศพันธมิตร โดยเฉพาะ ญี่ปุ่น อินเดีย และเกาหลีใต้ รวมถึง กรอบความร่วมมืออื่นๆ ในการรับมือกับอิทธิพลของจีน มากกว่าการผลักดันกลไกความร่วมมือในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงของตนเพียงอย่างเดียว


บทบาทของอาเซียนในการผลักดันให้เกิดการลงนาม ในข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค, อนัญญา กิติศรี Jan 2020

บทบาทของอาเซียนในการผลักดันให้เกิดการลงนาม ในข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค, อนัญญา กิติศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาบทบาทของอาเซียนในการผลักดันให้เกิดการลงนามในข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) ภายใต้แนวคิดความเป็นแกนกลางของอาเซียน จากการที่อาเซียนเป็นผู้นำในภูมิภาคในการประสานความร่วมมือกับประเทศมหาอำนาจภายนอกภูมิภาคผ่านกลไกต่างๆ ที่มีอาเซียนเป็นแกนนำ โดยอาเซียนมีสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ TAC ซึ่งเป็นหลักการดำเนินความสัมพันธ์ในภูมิภาคกับคู่เจรจานอกภูมิภาค เพื่อให้คู่เจรจาฯ ยอมรับหลักการที่อาเซียนเป็นผู้กำหนด ก่อนดำเนินความร่วมมือใดๆ รวมถึงในการประชุมหารือภายใต้กรอบความร่วมมือที่อาเซียนเป็นผู้ริเริ่ม อาเซียนมีบทบาทในการกำหนดวาระการประชุม การเป็นประธานการประชุม ซึ่งจะดำเนินการโดยประเทศที่เป็นสมาชิกอาเซียนเท่านั้น โดยข้อตกลง RCEP เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญต่อการรักษาความเป็นแกนกลางของอาเซียน ในการเป็นกรอบความร่วมมือที่อาเซียนมีบทบาทนำต่อการริเริ่มและผลักดันให้เกิดการเจรจาหารือ จากการที่อาเซียนได้พัฒนาไปสู่ประชาคมอาเซียน ข้อตกลงนี้จึงมีส่วนสำคัญต่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในการเป็นกลไกขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศนอกกลุ่มอาเซียน และขับเคลื่อนให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเศรษฐกิจ


บทบาทของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (Aun) ต่อกระบวนการพัฒนาสู่ความเป็นนานาชาติด้านการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เทียนทอง วชิรวิชัย Jan 2020

บทบาทของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (Aun) ต่อกระบวนการพัฒนาสู่ความเป็นนานาชาติด้านการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เทียนทอง วชิรวิชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาบทบาทของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน หรือ AUN ต่อกระบวนการพัฒนาสู่ความเป็นนานาชาติด้านการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 2 ประการ คือ เพื่อศึกษากระบวนการดำเนินงานและบทบาทของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนต่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะองค์กรระหว่างประเทศที่สนับสนุนทางด้านการศึกษาแก่สมาชิกในภูมิภาค และเพื่อศึกษาปัจจัยเกื้อหนุนและ/หรืออุปสรรคต่อการดำเนินงานของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนในการส่งเสริมกระบวนการพัฒนาสู่ความเป็นนานาชาติของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีว่าด้วยเรื่องของการสร้างเครือข่าย (Networking) การบูรณาการภายในภูมิภาค (Regional Integration) และ ความเป็นนานาชาติของสถาบันอุดมศึกษา (Internationalization of Higher Education) เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ จากการศึกษาพบว่า AUN มีบทบาททางอ้อมในการส่งเสริมความเป็นนานาชาติของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยผ่าน การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างกันของสมาชิกที่มีเป้าประสงค์เดียวกันในหัวเรื่องต่างๆอย่าง AUN Thematic Network ที่นำมาสู่การเกิดขึ้นของบูรณาการในระดับภูมิภาคซึ่งได้สร้างมาตรฐานและแนวทางการพัฒนาสำหรับสมาชิกให้เป็นไปในรูปแบบเดียวกัน โดยเชื่อมโยงกับองค์ความรู้จากภายนอกภูมิภาคที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล แต่ยังคงไว้ซึ่งความเป็นแกนกลางของอาเซียนในการดำเนินกิจกรรมและโครงการต่างๆ ผ่านกลไกที่มีอยู่แล้วหรือพัฒนาขึ้นเอง ทั้งนี้ ปัจจัยเกื้อหนุนที่สำคัญต่อการดำเนินงานของ AUN เพื่อส่งเสริมความร่วมมือของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือเรื่องของทำเลที่ตั้ง ความสอดคล้องทางด้านนโยบายกับรัฐไทย และความเข้าใจของรัฐบาลไทยในการให้อิสระต่อการบริหารจัดการตนเอง ส่วนอุคสรรคสำคัญต่อการดำเนินงานของ AUN คือเรื่องของงบประมาณสนับสนุนที่มีจำนวนน้อยหากเทียบกับสัดส่วนของโครงการและกิจกรรมในแต่ละปี จึงทำให้เกิดความล่าช้าและการติดขัดในการบริหารจัดการ


บทบาทของเพนตากอนในภาพยนตร์ฮอลลีวูดกับนโยบายต่อต้านการก่อการร้ายภายใต้สมัยประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช, นุดาภา เดชทรัพย์ Jan 2020

บทบาทของเพนตากอนในภาพยนตร์ฮอลลีวูดกับนโยบายต่อต้านการก่อการร้ายภายใต้สมัยประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช, นุดาภา เดชทรัพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาบทบาทของเพนตากอนในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ฮอลลีวูดที่มีความเกี่ยวเนื่องกับนโยบายต่อต้านการก่อการร้ายสืบเนื่องจากเหตุการณ์ 9/11 ภายใต้สมัยประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช โดยเป็นการศึกษาเพื่อตอบคำถามว่า "ในยุคหลังเหตุการณ์ 9/11 เพนตากอนดำเนินงานกับฮอลลีวูดอย่างไร และทำไมเพนตากอนถึงให้การสนับสนุนภาพยนตร์ฮอลลีวูด" ผู้วิจัยได้นำกรอบแนวคิด "กลุ่มอุตสาหกรรมบันเทิงทางทหาร" (Military-Entertainment Complex) เข้ามาใช้ในการวิเคราะห์เพื่อหาคำตอบสำหรับคำถามข้างต้น ซึ่งผลการศึกษาพบว่า หลังเกิดเหตุการณ์ 9/11 เพนตากอนดำเนินงานกับฮอลลีวูดโดยการเข้าไปกำกับบทและเนื้อหาในภาพยนตร์ที่ผู้สร้างยินยอมที่จะปรับบทตามที่เพนตากอนต้องการเพื่อควบคุมภาพลักษณ์ (Controlling Images) ของกองทัพให้ออกมาในเชิงบวกรวมถึงให้เนื้อหามีความสอดคล้องกับนโยบายและบริบททางการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงหลังเหตุการณ์ 9/11 โดยทางทีมผู้ผลิตภาพยนตร์จะได้รับการสนับสนุนยุทธภัณฑ์ทางทหาร และกำลังคนเป็นการตอบแทน


บทบาทและผลประโยชน์ของจีนกับการให้ความช่วยเหลือด้านภัยพิบัติแผ่นดินไหวต่อประเทศไทย, นฤมล ทีระฆัง Jan 2020

บทบาทและผลประโยชน์ของจีนกับการให้ความช่วยเหลือด้านภัยพิบัติแผ่นดินไหวต่อประเทศไทย, นฤมล ทีระฆัง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาถึงบทบาทของจีนในการให้ความช่วยเหลือด้านภัยพิบัติแผ่นดินไหวแก่ประเทศไทย ภายใต้บันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างกองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว แห่งประเทศไทย กับสำนักงานแผ่นดินไหวจังหวัดกวางตุ้ง ประเทศจีน และวิเคราะห์ถึงผลประโยชน์ที่เป็นไปได้ของประเทศจีน จากการให้ความช่วยเหลือดังกล่าว โดยใช้วิธีการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ภายใต้กรอบแนวคิดเรื่องอำนาจละมุน (soft power) เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ ผลการศึกษา พบว่า การให้ความช่วยเหลือจากจีน นอกจากเรื่องการให้ทุนในการศึกษาดูงาน อบรม สัมมนา แก่เจ้าหน้าที่ของประเทศไทยแล้ว ยังได้ให้ทุนในการติดตั้งสถานีและเครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหวและตรวจการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกจำนวน 4 สถานี โดยผลประโยชน์ที่จีนได้รับแบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ (1) ผลประโยชน์โดยตรงด้านแผ่นดินไหว คือ การสร้างเครือข่ายข้อมูลแผ่นดินไหวระหว่างประเทศที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างขึ้น เป็นการพัฒนาประสิทธิภาพของระบบการเตือนภัยแผ่นดินไหว (2) ผลประโยชน์ทางอ้อมในด้านเศรษฐกิจและสังคม คือ การสร้างความเชื่อมั่นในความปลอดภัยต่อนักธุรกิจและนักท่องเที่ยวจีนในประเทศไทย ความสัมพันธ์ทางการทูตที่ดี การส่งเสริมสินค้าเทคโนโลยีแผ่นดินไหวจากจีน และ (3) ผลประโยชน์อื่น ๆ ที่เป็นไปได้ คือ การได้รับข้อมูลด้านตำแหน่งที่ตั้งทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่ใต้ดิน และข้อมูลด้านพิกัดภูมิศาสตร์อย่างละเอียด ซึ่งผลประโยชน์ใน 2 ประการหลังนี้สอดคล้องกับแนวความคิดอำนาจละมุนที่การให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศไทย นำไปสู่ความเป็นไปได้ผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องต่อกันมาต่อประเทศจีน


ประชานิยมขวาจัดและการเหยียดสีผิวในสมัยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์, ณัฐวรา สนิทวงศ์ Jan 2020

ประชานิยมขวาจัดและการเหยียดสีผิวในสมัยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์, ณัฐวรา สนิทวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ชิ้นนี้มุ่งศึกษาระบอบประชานิยมขวาจัดในสมัยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งช่วยส่งเสริมให้กระแสการเหยียดเชื้อชาติเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่ฝังรากลึกในสังคมอเมริกันมากขึ้น การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีการวิเคราะห์บทบาทของอุดมการณ์ประชานิยมที่ทรัมป์และพรรครีพับลิกันใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างฐานอำนาจทางการเมืองในสองกรณีหลัก ประการแรก ได้แก่ การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งในปี ค.ศ. 2016 ทรัมป์ได้ปลุกกระแสนิยมในมวลชนคนผิวขาวภายใต้คำขวัญ “Make America Great Again”เพื่อโน้มน้าวให้ประชาชนเชื่อมั่นว่าทรัมป์จะสามารถเข้ามาเปลี่ยนแปลงทางการเมืองโดยมุ่งปกป้องผลประโยชน์ของคนขาวเป็นสำคัญ ประการที่สอง คือการผลิตซ้ำแนวคิดคนขาวเป็นใหญ่และวาทกรรมเกลียดชังคนต่างชาติพันธุ์ เพื่อสร้างความชอบธรรมในการดำเนินนโยบายประชานิยมขวาจัดที่เอื้อประโยชน์ต่อคนอเมริกันผิวขาวเป็นสำคัญ ผู้เขียนต้องการชี้ให้เห็นว่าระบอบประชานิยมขวาจัดของทรัมป์คือกลไกในการบริหารประเทศภายใต้ชุดความเชื่อว่าคนขาวเท่านั้นที่เป็นเจ้าของประเทศ จึงนำไปสู่การสรรสร้างนโยบายที่แฝงไปด้วยอคติทางชาติพันธุ์ ทั้งนโยบายภายในและนโยบายต่างประเทศ ก่อให้เกิดการกีดกันสิทธิและเสรีภาพของพลเมืองชาวแอฟริกัน-อเมริกัน และกลุ่มชนชาติอื่นที่มิใช่คนขาว ดังนั้น นโยบายประชานิยมในสมัยทรัมป์จึงเป็นตัวแปรสำคัญที่ผลักให้กระแสการเหยียดเชื้อชาติในสหรัฐอเมริกาขยายไปสู่ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง และส่งผลให้ความไม่เท่าเทียมทางเชื้อชาติยังคงเป็นปัญหาเรื้อรังมาจนถึงทุกวันนี้


ระบบการอนุญาตจ้างงานแรงงานต่างชาติของเกาหลีใต้ กับการแก้ปัญหาแรงงานไทยเข้าเมืองผิดกฎหมาย, พีระพัฒน์ เชียงแสน Jan 2020

ระบบการอนุญาตจ้างงานแรงงานต่างชาติของเกาหลีใต้ กับการแก้ปัญหาแรงงานไทยเข้าเมืองผิดกฎหมาย, พีระพัฒน์ เชียงแสน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัญหาแรงงานไทยลักลอบเข้าไปทำงานอย่างผิดกฎหมายในประเทศเกาหลีใต้นั้นมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การลักลอบทำงานผิดกฎหมายส่งผลเสียต่อตัวแรงงานและประเทศชาติ สารนิพนธ์เล่มนี้ศึกษาถึงสาเหตุของปัญหาและการดำเนินการแก้ไขปัญหาของเกาหลีใต้ ผ่านแนวคิดการเคลื่อนย้ายแรงงานของระบบโลก เพื่อทำความเข้าใจปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของแรงงานและการรับมือต่อปัญหาของเกาหลีใต้ โดยอาศัยการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ทบทวนงานศึกษาที่เกี่ยวข้อง ศึกษาข้อมูลเชิงสถิติและข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ จากสื่อข้อมูลออนไลน์จากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กระทรวงแรงงาน หน่วยงานสถิติประเทศเกาหลีใต้และหน่วยงานอื่น ๆ จากผลการวิจัยพบว่า สาเหตุสำคัญของการตัดสินใจลักลอบทำงานผิดกฎหมายเกิดจากค่าจ้างที่ได้รับจากการทำงานในเกาหลีใต้สูงกว่าไทยเป็นอย่างมาก ประกอบกับกระบวนการในการจัดส่งแรงงานของระบบการอนุญาตจ้างงาน (EPS) นั้นอยู่ในระดับต่ำ ทั้งเงื่อนไข ขั้นตอน และกระบวนการการจัดส่งแรงงานภายใต้ระบบการอนุญาตจ้างที่เป็นแนวทางถูกกฎหมาย กลับกลายเป็นอุปสรรคและสร้างปัญหา ผลักดันให้แรงงานไทยตัดสินใจเลือกที่จะลักลอบทำงานอย่างผิดกฎหมายเพื่อเลี่ยงระบบการส่งตัวที่ไร้ประสิทธิภาพ ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งฝั่งไทยและเกาหลีใต้ต้องร่วมมือกันแก้ปัญหาอย่างใกล้ชิด ถึงแม้ว่าข้อจำกัดในการแก้ปัญหานั้นยังคงมีอยู่มากมายก็ตาม