Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 1861 - 1890 of 5570

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

Environmental Soil, Water, And Sediment Quality Of Dong Thang Landfill In Can Tho City, Vietnam, Huynh T. H. Nhien, Giao T. Nguyen May 2019

Environmental Soil, Water, And Sediment Quality Of Dong Thang Landfill In Can Tho City, Vietnam, Huynh T. H. Nhien, Giao T. Nguyen

Applied Environmental Research

This study is a preliminary assessment of water, soil, and bottom sediment quality at and around Dong Thang landfill in Co Do district, Can Tho city, Vietnam. Four canal water samples, one leachate sample, and three soil samples from the surrounding rice fields, two bottom sediment samples from the canals, and one bottom sediment sample from the leachate pond were examined for this purpose. The results revealed that the leachate sample contained six heavy metals (Mn, Fe, Cu, Zn, Cr, and Ni) with high electrical conductivity (EC), biochemical oxygen demand (BOD), chemical oxygen demand (COD), total suspended solids (TSS), ammonia …


ร่มเกล้าชาวจุฬาฯ พระบรมราชกุศโลบายของสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้าในการจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษก 2 ครั้ง, ชัชพล ไชยพร Jan 2019

ร่มเกล้าชาวจุฬาฯ พระบรมราชกุศโลบายของสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้าในการจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษก 2 ครั้ง, ชัชพล ไชยพร

Jamjuree Journal

No abstract provided.


จุฬาฯ วันนี้ ยุทธศาสตร์จุฬาฯ Chula Smart City Jan 2019

จุฬาฯ วันนี้ ยุทธศาสตร์จุฬาฯ Chula Smart City

Jamjuree Journal

No abstract provided.


บทบรรณาธิการ, แก้วใจ นาคสกุล Jan 2019

บทบรรณาธิการ, แก้วใจ นาคสกุล

Jamjuree Journal

No abstract provided.


รอบรั้วจามจุรี จุฬาฯเปิดหลักสูตรใหม่ "นวัตกรรมบูรณาการ" เริ่มเปิดเรียนปี 2562 นี้ Jan 2019

รอบรั้วจามจุรี จุฬาฯเปิดหลักสูตรใหม่ "นวัตกรรมบูรณาการ" เริ่มเปิดเรียนปี 2562 นี้

Jamjuree Journal

No abstract provided.


The Enactment Of Thailand's Inheritance Tax Law 2015 : A Policy Process Analysis, Pisanu Sangiampongsa Jan 2019

The Enactment Of Thailand's Inheritance Tax Law 2015 : A Policy Process Analysis, Pisanu Sangiampongsa

Journal of Social Sciences

For decades, the inheritance tax issue had never materialized into law in Thailand. It was only soon after the 2014 military coup by the National Council for Peace and Order that Prayut Chan-o-cha Government initiated the Inheritance Tax Bill. It became law approximately one year later. This present research study used Kingdon's (2003) Multiple Streams Model, and the related literature, along with empirical information from legislative documents and interviews with decisionmakers to explain theoretically and empirically the revitalization of the effort under the Prayut Government. Kingdon's Multiple Streams framework posits that confluence of three factors or Streams determines the prominence …


การท้าทายวาทกรรมความเป็นสากลของการบูรณาการประเด็นเพศภาวะเข้าสู่กระแสหลักขององค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ, ติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง Jan 2019

การท้าทายวาทกรรมความเป็นสากลของการบูรณาการประเด็นเพศภาวะเข้าสู่กระแสหลักขององค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ, ติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง

Journal of Social Sciences

บทความนี้มุ่งตั้งคำถามและท้าทายวาทกรรมความเป็นสากลของ "การบูรณาการประเด็นเพศภาวะเข้าสู่กระแสหลัก" (gender mainstreaming) อันเป็นการปฏิบัติและนโยบายที่สำคัญในการบรรลุความเท่าเทียมทางเพศภาวะขององค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (USAID) โดยใช้ทฤษฎี"ลัคนาภาวะ" หรือ "สภาวะทับซ้อน" (intersectionality) ในการบ่งชี้ว่า วาทกรรมดังกล่าวมิได้มีความเป็นสากล เนื่องด้วยปัจจัยที่สำคัญ 3 ประการ อันได้แก่ ประการแรก การให้ความสำคัญเพียงแค่ "เพศภาวะ" โดยลำพังอาจไม่เพียงพอต่อการทำความเข้าใจและแก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียมทางเพศภาวะในแต่ละสังคม เพราะเพศภาวะมิอาจแยกขาดจากคุณลักษณะทางสังคมอื่น ๆ ได้ประการที่สอง คุณลักษณะทางสังคมหรือหน่วยเชิงอัตลักษณ์ทางสังคมที่เรียกว่า "เพศภาวะ" ซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของวาทกรรมดังกล่าวไร้ซึ่งเอกภาพ และประการที่สาม"เพศภาวะ" มิใช่คุณลักษณะทางสังคมที่มีความเป็นสากล ฉะนั้น "การบูรณาการประเด็นเพศภาวะเข้าสู่กระแสหลัก" จึงควรเปลี่ยนแปลงแนวทางเดิมไปสู่ "การบูรณาการประเด็นเพศภาวะที่ทับซ้อนเข้าสู่กระแสหลัก" (intersectional gender mainstreaming)


ก้าวแรกของจีนในลาตินอเมริกา : การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับคิวบาและจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งในทศวรรษ 1960, สิทธิพล เครือรัฐติกาล Jan 2019

ก้าวแรกของจีนในลาตินอเมริกา : การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับคิวบาและจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งในทศวรรษ 1960, สิทธิพล เครือรัฐติกาล

Journal of Social Sciences

บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษาปัจจัยที่ทำให้จีนสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับคิวบาเมื่อ ค.ศ.1960 และปัจจัยที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองฝ่ายเสื่อมลงอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่ปีโดยอาศัยข้อมูลจากสิ่งพิมพ์ของทางการจีนและบันทึกความทรงจำของนักการทูตจีนที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า แม้เหมาเจ๋อตงจะไม่แน่ใจเกี่ยวกับการปฏิวัติของ ฟิเดล คาสโตร เมื่อ ค.ศ.1959 ว่าจะนำคิวบาไปสู่เส้นทางของลัทธิสังคมนิยมหรือไม่ แต่อย่างน้อยจุดยืนของคาสโตรที่ต่อต้านอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาทำให้เหมายอมมีความสัมพันธ์กับรัฐบาลปฏิวัติของคิวบาเพื่อให้จีนมีฐานที่มั่นทางการทูตแห่งแรกในซีกโลกตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในลาตินอเมริกาซึ่งเปรียบเสมือนสนามหลังบ้านของสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหภาพโซเวียต ประกอบกับการเมืองภายในของจีนที่รุนแรงขึ้นทำให้เมื่อถึงกลางทศวรรษ 1960 คาสโตรเลือกเข้าข้างสหภาพโซเวียต จีนจึงยุติความสัมพันธ์ในระดับพรรคต่อพรรคกับคิวบาเมื่อ ค.ศ.1966


เรื่องเล่าคนเคยอ้วน : การศึกษาเรือนร่างในสังคมนิยมความผอม, รัชพล แย้มกลีบ Jan 2019

เรื่องเล่าคนเคยอ้วน : การศึกษาเรือนร่างในสังคมนิยมความผอม, รัชพล แย้มกลีบ

Journal of Social Sciences

บทความนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อศึกษาและพิจารณาเรือนร่างในสังคมปัจจุบันผ่านประสบการณ์ของ "แมน" ชายหนุ่มที่สามารถเปลี่ยนเรือนร่าง ลดน้ำหนักอย่างสุดขั้วจากร่างอ้วน 140 กิโลกรัมที่สังคมมองว่าเป็นร่างที่ไม่เหมาะสม สู่เรือนร่างขนาด 75 กิโลกรัมที่สังคมมองว่าเหมาะสมกว่าโดยใช้ระยะเวลาเพียงไม่ถึงหนึ่งปีผ่านการเล่าเรื่องราวในชีวิตซึ่งเป็นวิธีศึกษาหนึ่งในงานวิจัยเชิงคุณภาพทางสังคมวิทยา โดยอาศัยแนวคิดของ มิแช็ล ฟูโกต์แอนโธนีกิดเดนส์และ จูดิธ บัตเลอร์มาใช้เป็นแนวทางในการอธิบายและทำความเข้าใจปรากฏการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นผู้กระทำทางสังคมและโครงสร้างทางสังคม ยิ่งไปกว่านั้นผลการศึกษายังชี้ให้เห็นว่าเรือนร่างมิได้เป็นเพียงวัตถุที่มีอยู่ตามธรรมชาติหรือเป็นเพียงสิ่งที่ถูกประกอบสร้างจากสังคมเพียงแค่อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น หากแต่เรือนร่างเป็นผลที่เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างทั้งธรรมชาติและสังคมอย่างเป็นกระบวนการ


อิสรภาพจากมโนทัศน์ทายาทความรุนแรง, นญา พราหมหันต์, ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์ Jan 2019

อิสรภาพจากมโนทัศน์ทายาทความรุนแรง, นญา พราหมหันต์, ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์

Journal of Social Sciences

มนุษย์เกิดมาพร้อมกับ "เจตจำนงเสรี" (free will) กล่าวคือ มนุษย์มีเสรีภาพในการตัดสินใจเลือกที่จะกระทำหรือไม่กระทำการสิ่งใดก็ได้บนเส้นทางชีวิตของตน แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลายอย่างซึ่งถือได้ว่าอยู่เหนือความสามารถในการเลือกของมนุษย์ หนึ่งในนั้นก็คือ "จุดเริ่มต้นแห่งชีวิต" หรือเราปราศจากเสรีภาพในการเลือกสภาพครอบครัวตั้งต้นของตนได้ แต่ครอบครัวนั้นกลับเป็นสถาบันทางสังคมที่มีความสำคัญและมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ทั้งชีวิต หากสถาบันพื้นฐานแห่งชีวิตและสังคมทำหน้าที่บกพร่องหรือรุนแรง แน่นอนว่าย่อมส่งผลกระทบต่อสถาบันทางสังคมอื่นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การศึกษานี้พบว่า ทฤษฎีทางสังคมวิทยาแบบดั้งเดิมที่กล่าวถึงการสืบทอดหรือการผลิตซ้ำความรุนแรง (reproduction of violence) ถูกทำให้มีน้ำหนักลดลงด้วยอิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างและบริบททางสังคมใน "ยุคหลังสังคม" (post-societal phase) โดยบทความนี้จะสะท้อนให้เห็นว่า แท้ที่จริงแล้วมนุษย์สามารถปลดปล่อยตัวเองออกจาก "มโนทัศน์ทายาทความรุนแรง" ซึ่งถูกปลูกฝังมาจากประสบการณ์ความรุนแรงในวัยเด็กได้ ไม่ว่าผู้นั้นจะเผชิญกับสถานการณ์เยี่ยงไรก็ตาม ทั้งนี้เนื่องจากมนุษย์เสมือนผลผลิตทางสังคมซึ่งมาพร้อมกับเมล็ดพันธุ์แห่งคุณค่าที่ทรงพลัง มีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงตนเองและมีความสามารถในการสร้างสรรค์สังคมไปในวิถีทางที่ดีขึ้นต่อไปได้


Under Drone Attacks: Lacan And Trauma In International Politics, Chyatat Supachalasai Jan 2019

Under Drone Attacks: Lacan And Trauma In International Politics, Chyatat Supachalasai

Journal of Social Sciences

บทความชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการทางความคิดที่พยายามจะเข้าใจสถานการณ์โลกและการเมืองระหว่างประเทศผ่านมุมมองแบบการตั้งคำถามเชิงวิพากษ์ทางปรัชญาและการคิดคำนึงเกี่ยวกับปัญหา บทความประสงค์ที่จะวิเคราะห์ความรุนแรงโดยรัฐและแผลใจที่เกิดขึ้นเป็นผลลัพธ์ด้วยการเพ่งประเด็นไปยังการใช้เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ (โดรน) ในบริบทของสงครามต่อสู้กับผู้ก่อการร้าย แนวทางการวิเคราะห์อาศัยมุมมองเชิงภูมิปัญญาของ ฌาคส์ ลาก็อง นักจิตวิเคราะห์แนววิพากษ์ชาวฝรั่งเศส ความคิดสามความคิดที่สำคัญของลาก็องเพื่อการวิเคราะห์ อันได้แก่ (1) the mirror-stage (2) the master-signifier (3) the sinthome นำไปสู่การทำความเข้าใจแผลใจในอีกมุมมองหนึ่งซึ่งสัมพันธ์อยู่กับการประกอบสร้างอัตวิสัยของชาวอเมริกันและการเปลี่ยนแปรในตัวคนผู้ซึ่งได้รับความทรมานใจจากการโจมตีของอากาศยานไร้คนขับ


วิทยาการจุฬาฯ นวัฒกรรมสำหรับผู้ป่วยสูงวัย ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น Jan 2019

วิทยาการจุฬาฯ นวัฒกรรมสำหรับผู้ป่วยสูงวัย ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น

Jamjuree Journal

No abstract provided.


วิทยาการจุฬาฯ Culine Tracking, ภาคภูมิ สมบูรณ์ Jan 2019

วิทยาการจุฬาฯ Culine Tracking, ภาคภูมิ สมบูรณ์

Jamjuree Journal

No abstract provided.


Communist Defeat In The Second Indochina War, Paul T. Carter Jan 2019

Communist Defeat In The Second Indochina War, Paul T. Carter

Asian Review

Once I talked with them (his North Vietnamese captors) about captured soldiers at the front line. They asked me which front line? I was thinking of Plain De Jars and Sky Line Ridge, so I told them. They laughed and told me that’s not the front line. They said their front line was Thailand. (Thai Forward Air Guide CROWBAR, captured by the North Vietnamese in Laos in 1972 and kept captive for over four years.) (Warriors Association 333 1987, 6)


เรื่องเล่าชาวจุฬาฯ จุฬา...สายใยแห่งวันวานสู่วันนี้, ธฤติมา โฆษิตชัยวัฒ์ Jan 2019

เรื่องเล่าชาวจุฬาฯ จุฬา...สายใยแห่งวันวานสู่วันนี้, ธฤติมา โฆษิตชัยวัฒ์

Jamjuree Journal

No abstract provided.


จุฬาฯ วิจัย บ้านปลอดภัยวัยเกษียณ, ไตรรัตน์ จารุทัศน์ Jan 2019

จุฬาฯ วิจัย บ้านปลอดภัยวัยเกษียณ, ไตรรัตน์ จารุทัศน์

Jamjuree Journal

No abstract provided.


ยุทธศาสตร์จุฬาฯ ใต้ร่มจามจุรีมหาวิทยาลัยสีเขียวอันดับ 1 ของประเทศ อันดับ 40 ของโลก Jan 2019

ยุทธศาสตร์จุฬาฯ ใต้ร่มจามจุรีมหาวิทยาลัยสีเขียวอันดับ 1 ของประเทศ อันดับ 40 ของโลก

Jamjuree Journal

No abstract provided.


บันทึกจุฬาฯ ศิลปกรรมสุโขทัยในตึกบัญชาการ, นภัส ขวัญเมือง Jan 2019

บันทึกจุฬาฯ ศิลปกรรมสุโขทัยในตึกบัญชาการ, นภัส ขวัญเมือง

Jamjuree Journal

No abstract provided.


Mental Health And Employment Status : Evidence From Thailand, Patchara Suwannasin Jan 2019

Mental Health And Employment Status : Evidence From Thailand, Patchara Suwannasin

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Mental health and mental disorder are significantly considered to be a worldwide issue nowadays such as depression and suicidal. Moreover, the problem of employment still occurs as an aspect of unemployment or employment status issues in those people who work in each economic sector. The objective of the study was to assess the impact of employment status on mental health and to investigate the relationship between personal characteristics and mental health in Thailand. Moreover, the channels that employment may affect mental health also were investigated in this study. A cross-sectional data, 2014 Thailand survey on conditions of society, culture, and …


การประเมินความพร้อมและความสำคัญของเทคโนโลยีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสำหรับภาคพลังงานและกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยด้วยวิธีการวิเคราะห์แบบหลายเกณฑ์, วีรินทร์ หวังจิรนิรันดร์, จักรพงศ์ พงศ์ธไนศวรรย, สุรชัย สถิตคุณารัตน์ Jan 2019

การประเมินความพร้อมและความสำคัญของเทคโนโลยีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสำหรับภาคพลังงานและกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยด้วยวิธีการวิเคราะห์แบบหลายเกณฑ์, วีรินทร์ หวังจิรนิรันดร์, จักรพงศ์ พงศ์ธไนศวรรย, สุรชัย สถิตคุณารัตน์

UNISEARCH (Unisearch Journal)

การประเมินความพร้อมและความสำคัญของเทคโนโลยีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการขับเคลื่อนให้เกิดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นไปตามเป้าหมาย ตามที่ประเทศไทยได้จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 20-25 จากกรณีปกติ ภายในปี ค.ศ. 2030 นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการกำหนดนโยบายการส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของประเทศไทยให้เป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลกและศักยภาพของประเทศไทย เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด รวมทั้งเพื่อให้เทคโนโลยีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ โดยพิจารณาความพร้อมในด้านต่าง ๆบนเป้าหมายที่ต้องการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและทำให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ การพัฒนาด้านสังคมและการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับความต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปพร้อม ๆ กัน งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ระดับความพร้อมและความสำคัญของเทคโนโลยีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในแต่ละชนิด โดยใช้วิธีการวิเคราะห์แบบหลายเกณฑ์ (Multi-Criteria Analysis: MCA)


ฟิล์มพลาสติกชีวภาพนาโนคอมพอสิตยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์, จิติมา ปรีชาวงศ์, วสุเทพ ฦาชา, มานิตย์ นิธิธนากุล Jan 2019

ฟิล์มพลาสติกชีวภาพนาโนคอมพอสิตยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์, จิติมา ปรีชาวงศ์, วสุเทพ ฦาชา, มานิตย์ นิธิธนากุล

UNISEARCH (Unisearch Journal)

อุตสาหกรรมพลาสติกมีการขยายตัวและเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วเนื่องจากพลาสติกถูกใช้เป็นวัสดุทดแทนวัสดุจากธรรมชาติ เช่น ไม้ โลหะ กระดาษ และแก้ว เป็นต้น อีกทั้งยังใช้เป็นวัสดุสำหรับใช้งานเฉพาะด้านในอุตสาหกรรมและในชีวิตประจำวันอีกด้วย ประกอบกับการที่พลาสติกเป็นวัสดุที่มีสมบัติเด่นหลายประการ เช่น ราคาถูก น้ำ หนักเบาและสะดวกต่อการประยุกต์ใช้งาน ผลิตภัณฑ์พลาสติกจึงถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวาง แต่จากสภาพปัญหามลพิษและภาวะโลกร้อนที่ทุกประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ส่งผลให้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาทิพลาสติกชีวภาพ (bioplastics) ซึ่งสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ มีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อแทนที่การใช้งานพลาสติกทั่วไป (conventional plastics) ที่ผลิตจากปิโตรเลียม ซึ่งไม่สามารถย่อยสลายตามธรรมชาติและก่อให้เกิดปัญหาขยะตกค้างในธรรมชาติ อีกทั้ง การกำจัดโดยการเผาไหม้ยังก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุของการเกิดปัญหาภาวะโลกร้อนตามมา


ความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้ถ่านชีวภาพเพื่อการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่เกษตรกรรมบนอาคารสูงในพื้นที่เมือง, เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม Jan 2019

ความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้ถ่านชีวภาพเพื่อการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่เกษตรกรรมบนอาคารสูงในพื้นที่เมือง, เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม

UNISEARCH (Unisearch Journal)

ถ่านชีวภาพ (biochar) เป็นวัสดุที่มีธาตุคาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลัก โครงสร้างประกอบด้วยคาร์บอนที่ยึดจับกันเป็นโครงสร้างอะโรมาติก (aromatic structure) ทำให้ถ่านชีวภาพเป็นวัสดุที่มีความเสถียรสูง (Schmidt & Noack, 2000;Lehmann, 2007; Glaser et al., 2002) จึงถูกย่อยสลายได้ยากในธรรมชาติ (Preston & Schmidt, 2006; Gul et al., 2015)ถ่านชีวภาพเป็นผลผลิตจากกระบวนการย่อยสลายมวลชีวภาพด้วยความร้อนที่อุณหภูมิตั้งแต่ 350-700 องศาเซลเซียสในสภาวะที่ไร้อากาศหรือมีอากาศเพียงเล็กน้อย หรือที่เรียกว่า กระบวนการไพโรไลซิส (Wijitkosum & Jiwnok, 2019;Sriburi & Wijitkosum, 2016; Brassard et al., 2016; Liu et al. 2014; Lehmann & Joseph, 2009) ทั้งนี้ คุณภาพของถ่านชีวภาพ ขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุดิบ (feedstock) และกระบวนการผลิต (process/procedures) (Cao et al., 2017;Sriburi & Wijitkosum, 2016; Graber et al., 2014) โดยวัตถุดิบที่นำมาใช้ผลิตถ่านชีวภาพส่วนใหญ่เป็นสารประกอบอินทรีย์ (Wijitkosum & Kallayasiri, 2015; Yooyen et al., 2015; Qambrani et al., 2017) ซึ่งในการศึกษาวิจัยเป็นการเลือกใช้วัสดุเหลือใช้จากเกษตรกรรม เช่น แกลบ เศษไม้ และเหง้ามันสำปะหลัง เป็นต้น


การประเมินขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ, ทวีวงศ์ ศรีบุรี Jan 2019

การประเมินขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ, ทวีวงศ์ ศรีบุรี

UNISEARCH (Unisearch Journal)

ประเทศไทยมีการขยายตัวของปริมาณนักท่องเที่ยวและรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นทุกปี แตที่่น่าสนใจ คือ จำนวนแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถรองรับนักท่องเที่ยวมีจำนวนเท่าเดิมโดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ทำให้แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงามบางแห่งมีจำนวนนักท่องเที่ยวเข้าไปในพื้นที่มากจนเกินขีดความสามารถในการรองรับได้ ทำให้เกิดปัญหาความแออัดของนักท่องเที่ยวในพื้นที่ และปัญหาด้านต่าง ๆ ตามมามากมาย เช่น การบริหารจัดการด้านความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว การใช้ประโยชน์ของทรัพยากรธรรมชาติ การทำ ลายความสวยงามและเอกลักษณ์ของธรรมชาติสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกไม่เพียงพอ ส่งผลให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ขยะมูลฝอย น้ำเสีย มลพิษทางอากาศ มลพิษทางเสียง เป็นต้น ในขณะเดียวกันจำนวนนักท่องเที่ยวที่มากเกินขีดความสามารถของแหล่งท่องเที่ยวยังเป็นต้นเหตุของการเกิดความเสื่อมโทรมของแหล่งท่องเที่ยว และส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต คุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวและพื้นที่ใกล้เคียง ตลอดจนส่งผลกระทบต่อทัศนคติและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวผู้มาเยี่ยมเยือน ซึ่งผลกระทบต่าง ๆ เหล่านี้จะนำไปสู่ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ รวมทั้ง ภาพลักษณ์ของการท่องเที่ยวของประเทศด้วย


การผลิตละครโทรทัศน์เพื่อการรับชมทั่วโลก, สุเนตร ชุตินธรานนท์, ฐณยศ โล่พัฒนานนท์, กฤษบดินทร์ วงค์คำ Jan 2019

การผลิตละครโทรทัศน์เพื่อการรับชมทั่วโลก, สุเนตร ชุตินธรานนท์, ฐณยศ โล่พัฒนานนท์, กฤษบดินทร์ วงค์คำ

UNISEARCH (Unisearch Journal)

ประเทศไทยร่ำรวยด้วยทรัพยากรทางวัฒนธรรมอันหลากหลาย วัฒนธรรมไทยจึงเป็นที่สนใจแก่ชาวต่างชาติจนสร้างรายได้ให้แก่ประเทศผ่านอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพื่อเน้นย้ำจุดแข็งทางวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของไทย รัฐบาลได้ประกาศใช้ยุทธศาสตร์การส่งออกวัฒนธรรม เรียกว่า "5F" อันได้แก่ การส่งออกอาหาร(food) ศิลปะการต่อสู้ (fighting) แฟชั่น (fashion)เทศกาล (festival) และภาพยนตร์ (film) (กระทรวงวัฒนธรรม, 2559) โดยให้สื่อบันเทิงจำพวกภาพยนตรีและละครโทรทัศน์ทำหน้าที่เป็นช่องทางหนึ่งในการเผยแพร่วัฒนธรรมทั้ง 5หากมองเฉพาะในบริบทของละครโทรทัศน์ ผู้ผลิตของไทยได้ประสบความสำเร็จในระดับภูมิภาคมาแล้วอย่างมากมาย การศึกษาโดย อัมพร จิรัฐติกร (2562) บ่งชี้ว่าละครโทรทัศน์ไทยได้รับความนิยมในประเทศเพื่อนบ้านรวมไปถึงประเทศจีน เป็นระยะเวลาหลายปี นั่นแสดงว่าไทยมีศักยภาพจะเป็นมหาอำนาจด้านละครไม่ต่างจากผู้เล่นรายสำคัญของโลก กระนั้น หากต้องการให้ละครโทรทัศน์ไทยเผยแพร่ภาพลักษณ์ทางวัฒนธรรมดังเป้าประสงค์ข้างต้นจำเป็นต้องมีการขบคิดไปอีกขั้นว่า ควรทำอย่างไรเพื่อให้ละครไทยสามารถประสบความสำเร็จในตลาดที่ใหญ่ขึ้นเหมือนในกรณีของสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้การศึกษาวิจัยเบื้องต้นเผยว่า คุณภาพของละครโทรทัศน์ไทยยังเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับการส่งออก ขนาดใหญ่ เนื่องจากละครไทยไม่เป็นที่ยอมรับในตลาดสากลด้วยเหตุว่าความสร้างสรรค์ของผู้จัดละครติดกับดักโครงเรื่องและแก่นเรื่องที่ซ้ำซาก งานส่วนใหญ่ของไทยนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการนอกใจ ประเด็นชู้สาว ความรุนแรงภาพนำเสนอบางอย่างบ่งบอกสภาพสังคมแบบชายเป็นใหญ่ หรือ มักกำหนดให้ตัวละครหญิงแสดงตนประหนึ่งวัตถุทางเพศ หรือ เป็นเหยื่อของความรุนแรงในขณะที่เนื้อเรื่องทั่วไปยังขาดค่านิยมเชิงวัฒนธรรมละครโทรทัศน์ไทยจึงยังไม่ใช่ผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งเสริมวัฒนธรรมสำหรับตลาดสากลซึ่งมีแนวโน้มปฏิเสธเนื้องานลักษณะดังกล่าวเพื่อปรับเปลี่ยนสถานการณ์ คณะผู้วิจัยเล็งเห็นว่าจำเป็นที่จะต้องมีการถอดบทเรียนจากงานยอดนิยมของต่างประเทศ ทั้งนี้ เพื่อให้ได้แนวทางสำหรับพัฒนาเนื้อหาละครไทยซึ่งจะเปิดทางให้แก่การเผยแพร่วัฒนธรรมผ่านสื่อละครต่อไป ดังนั้น คณะผู้วิจัยจึงได้ศึกษาเทคนิคการสร้างสรรค์โดยเลือกมาจากกรณีศึกษาต่าง ๆ ไม่ต่ำกว่า100 กรณี คัดเฉพาะกรณีที่เผยแพร่ในช่วงคริสตทศวรรษที่ 2000-2010 และมีหลักฐานด้านความสำเร็จ การถอดบทเรียนอาศัยวิธีวิเคราะห์เนื้อหางานละครร่วมกับการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างละครโทรทัศน์ของไทยและละครโทรทัศน์ต่างประเทศ ทั้งหมดช่วยให้คณะผู้วิจัยค้นพบเทคนิคสำคัญต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่การผลิตในภาคอุตสาหกรรม


มุมมองของเยาวชนไทยต่อเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์, พริมา สุวัณณาคาร, ราวีณา ปาวา, ลักษิกา อุดมศรีสำราญ, สรภพ เกียรติพงษ์สาร Jan 2019

มุมมองของเยาวชนไทยต่อเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์, พริมา สุวัณณาคาร, ราวีณา ปาวา, ลักษิกา อุดมศรีสำราญ, สรภพ เกียรติพงษ์สาร

UNISEARCH (Unisearch Journal)

การนิยามคำว่าครอบครัวนั้นเป็นเรื่องที่น่าสนใจและมีความแตกต่างหลากหลาย ครอบครัวเป็นหน่วยที่เล็ก และเป็นหน่วยพื้นฐานของหน่วยต่าง ๆ ของมนุษยชาติ ปัจเจกบุคคลตีความคำว่าครอบครัว แตกต่างกันด้วยปัจจัยและมุมมองต่าง ๆ ทั้งมุมมองด้านสายเลือด ทางประเพณี ทางวัฒนธรรม อีกทั้งมุมมองในเชิงสัญลักษณ์ หรือเชิงเปรียบเปรย และเป็นการยากที่จะนิยามครอบครัว "ทั่ว ๆ ไป" อย่างไรก็ตามความหลากหลายทางรูปแบบของครอบครัวยังเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ความก้าวหน้า ทางเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์(Assisted Reproductive Technologies: ARTs) นั้นมีส่วนทำให้เกิดรูปแบบครอบครัวใหม่ ๆ โดยเฉพาะการทำให้พ่อแม่บางคนเลือกที่จะมีลูกโดยไม่ใช้วิธีทางธรรมชาติเลย พัฒนาการเหล่านี้ในทางวิทยาศาสตร์การเจริญพันธุ์เปลี่ยนแปลง และส่งผลต่อการตัดสินใจเรื่องการสร้างครอบครัว ซึ่งควรมีการพูดคุยถึงพัฒนาการเหล่านี้ในทุก ๆ ระดับ ทั้งในระดับนโยบายและระดับปัจเจก ซึ่งหมายรวมถึงเยาวชนด้วยเพราะเยาวชนเหล่านี้เป็นตัวแปรที่สำคัญว่าหน่วยครอบครัวของสังคมในภายภาคหน้านั้นจะเป็นอย่างไรการให้เยาวชนมีส่วนร่วมในบทสนทนาทางนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวกับครอบครัวและเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์จึงมีความจำเป็นและสำคัญบทความนี้กล่าวถึงมุมมองของเยาวชนไทยต่อเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ และอนาคตของคำว่าครอบครัว ในมิติด้านจริยธรรม กฎหมาย และสังคม (Ethical, Legal and Social Implications: ELSIs)โดยใช้กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วม 3 ขั้นตอน


การสื่อสารระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกระบวนการดำเนินการวิจัย และการประเมินผลโครงการวิจัยด้านงานวิจัยนวัตกรรมเพื่อสังคมและชุมชนด้วยตัวแบบ Cipp Model, ขวัญรัฐ ส่วนพงษ์, สุทธิมา ชำนาญเวช, จินตนา บุญบงการ, ศศนันท์ วิวัฒนชาต, ชยุตม์ วะนา, กิตติยา วงศ์ณรงค์รักษ, อิสรา งามจรัสวาณิชย์ Jan 2019

การสื่อสารระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกระบวนการดำเนินการวิจัย และการประเมินผลโครงการวิจัยด้านงานวิจัยนวัตกรรมเพื่อสังคมและชุมชนด้วยตัวแบบ Cipp Model, ขวัญรัฐ ส่วนพงษ์, สุทธิมา ชำนาญเวช, จินตนา บุญบงการ, ศศนันท์ วิวัฒนชาต, ชยุตม์ วะนา, กิตติยา วงศ์ณรงค์รักษ, อิสรา งามจรัสวาณิชย์

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


แนวโน้มทิศทางและเทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้าในอนาคต, กุลยศ อุดมวงศ์เสรี Jan 2019

แนวโน้มทิศทางและเทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้าในอนาคต, กุลยศ อุดมวงศ์เสรี

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


การผลิตเชื้อเพลิงเหลวทดแทนดีเซลจากกระบวนการไพโรไลซิสขยะพลาสติกและชีวมวล, ประเสริฐ เรียบร้อยเจริญ Jan 2019

การผลิตเชื้อเพลิงเหลวทดแทนดีเซลจากกระบวนการไพโรไลซิสขยะพลาสติกและชีวมวล, ประเสริฐ เรียบร้อยเจริญ

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


การศึกษาและพัฒนาโครงข่ายการสัญจรและพื้นที่สาธารณะภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน, พนิต ภู่จินดา Jan 2019

การศึกษาและพัฒนาโครงข่ายการสัญจรและพื้นที่สาธารณะภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน, พนิต ภู่จินดา

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


Recording The Past Of "Peoples Without History": Southeast Asia’S Sea Nomads, Barbara Watson Andaya Jan 2019

Recording The Past Of "Peoples Without History": Southeast Asia’S Sea Nomads, Barbara Watson Andaya

Asian Review

This essay has been developed from the conviction that scholars of all disciplines, particularly from Southeast Asia, must work together to prioritize the task of recording the traditions of “marginalized peoples” before practices, beliefs and memories disappear completely. Although anthropologists dominate contemporary studies, historians have much to offer, especially in dealing with the relationship between such groups and the state. Here I provide a background to historical work on sea peoples, tracking the evolution of the now accepted view that, traditionally, they were respected by land-based states and that this relationship was mutually beneficial. However, the demise of reciprocity combined …