Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 1891 - 1920 of 5570

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

"รอบตัวเรา" งานวิจัยจากหิ้ง สู่ห้าง, ทวีวงศ์ ศรีบุรี Jan 2019

"รอบตัวเรา" งานวิจัยจากหิ้ง สู่ห้าง, ทวีวงศ์ ศรีบุรี

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


กิจกรรม Unisearch Jan 2019

กิจกรรม Unisearch

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


ข่าวและกิจกรรม รอบรั้วโครงการ Jan 2019

ข่าวและกิจกรรม รอบรั้วโครงการ

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


ข่าวและกิจกรรม รอบรั้วโครงการ Jan 2019

ข่าวและกิจกรรม รอบรั้วโครงการ

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


กิจกรรม Unisearch Jan 2019

กิจกรรม Unisearch

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


"รอบตัวเรา" พลังงาน เพื่อความยั่งยืน, ทวีวงศ์ ศรีบุรี Jan 2019

"รอบตัวเรา" พลังงาน เพื่อความยั่งยืน, ทวีวงศ์ ศรีบุรี

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


แนะนำโครงการ โครงการศึกษาพฤติกรรมระหว่างการประชุมเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายและลดพฤติกรรมเนือยนิ่งของประชากรกลุ่มวัยทำงาน, พนิต ภู่จินดา Jan 2019

แนะนำโครงการ โครงการศึกษาพฤติกรรมระหว่างการประชุมเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายและลดพฤติกรรมเนือยนิ่งของประชากรกลุ่มวัยทำงาน, พนิต ภู่จินดา

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


ข่าวและกิจกรรม รอบรั้วโครงการ Jan 2019

ข่าวและกิจกรรม รอบรั้วโครงการ

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


บทบรรณาธิการ, บรรณาธิการ Jan 2019

บทบรรณาธิการ, บรรณาธิการ

Journal of Social Sciences

No abstract provided.


พลวัตการเปลี่ยนแปลง การถดถอย และการฟื้นตัวของขบวนการต่อต้านทักษิณ, กนกรัตน์ เลิศชูสกุล Jan 2019

พลวัตการเปลี่ยนแปลง การถดถอย และการฟื้นตัวของขบวนการต่อต้านทักษิณ, กนกรัตน์ เลิศชูสกุล

Journal of Social Sciences

บทความชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยมุ่งวิเคราะห์พลวัตการเปลี่ยนแปลงภายในขบวนการต่อต้านทักษิณ โดยเฉพาะการการเสื่อมถอยของขบวนการภายใต้การนำของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย(พธม.) และการกลับมาประสบความสำเร็จภายใต้การนำของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ผ่านการตอบคำถาม 2 ข้อ หนึ่ง อะไรคือเงื่อนไข และพัฒนาการของความขัดแย้งและการถดถอยของขบวนการต่อต้านทักษิณภายใต้การนำของ พธม. สอง อะไรคือปัจจัยที่สำคัญในการฟื้นฟูและประสบความสำเร็จของขบวนการต่อต้านทักษิณอีกครั้งภายใต้การนำของ กปปส. ในการตอบคำถามสำคัญทั้ง 2 ทั้งนี้บทความวิจัยชิ้นนี้เสนอว่า ปัญหาความขัดแย้ง 3 มิติส่งผลให้เกิดปัญหาความแตกแยกและการถดถอยของขบวนการเคลื่อนไหวต่อต้านทักษิณภายใต้การนำการเคลื่อนไหวของ พธม. หนึ่ง ความขัดแย้งภายในขบวนการฯ ระหว่างแกนนำ พธม. กลุ่มเสรีนิยมและกลุ่มอนุรักษ์นิยมสุดขั้ว สอง ความขัดแย้งระหว่างแกนนำและมวลชนของทั้ง พธม. กับ พรรคประชาธิปัตย์สาม ความไม่ลงรอยกันของกลุ่มต่างๆ ในขบวนการต่อการจัดตั้ง "พรรคการเมืองใหม่" ในขณะที่การฟื้นตัวขึ้นอีกครั้งของขบวนการภายใต้การนำของ กปปส. เป็นผลจากเงื่อนไขและปัจจัย 6 ประการ ได้แก่การยุติบทบาทของ พธม. การเข้าร่วมขบวนการฯ อย่างเต็มตัวของแกนนำจากพรรคประชาธิปัตย์ความไม่พอใจของสาธารณะต่อการผลักดัน "พระราชบัญญัตินิรโทษกรรม" ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์การเคลื่อนไหวภายใต้โครงสร้างองค์กรการเคลื่อนไหวแนวใหม่ที่มีลักษณะ "หลวมและรองรับความหลากหลาย" การใช้แนวทาง "ชูประเด็นข้อเรียกร้องที่หลากหลาย" และการสร้างขบวนการทางการเมืองให้ดูไม่เป็นการเมือง ในการดึงดูดคนกรุงเทพฯ และชนชั้นกลางรุ่นใหม่ให้เข้าร่วมได้


ทุนนิยมคาสิโนชายแดนไทย : บททดลองเสนอทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองและทางเลือกนโยบายสาธารณะ, ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์, จิรายุทธ์ สีม่วง Jan 2019

ทุนนิยมคาสิโนชายแดนไทย : บททดลองเสนอทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองและทางเลือกนโยบายสาธารณะ, ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์, จิรายุทธ์ สีม่วง

Journal of Social Sciences

บทความนี้ต้องการชี้ให้เห็นถึงการดำเนินธุรกิจบ่อนคาสิโนชายแดนไทยที่อยู่ในรูปแบบทุนนิยมคาสิโนซึ่งสามารถอธิบายจากทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองเชิงวัฒนธรรม โดยบูรณาการระหว่างแนวคิดการสะสมทุนโดยการแย่งยึดกรรมสิทธิ์ของเดวิด ฮาร์วีมาใช้ในปริมณฑลทางวัฒนธรรม ทฤษฎีว่าด้วยการปฏิบัติการของปิแอร์บูร์ดิเยอ มาพิจารณาบทบาทของผู้กระทำการต่างๆ และแนวคิดสังคมเสี่ยงภัยของอูลริค เบค มาพิจารณาบริบทเชิงสนามพื้นที่ นอกจากนี้บทความยังนำเสนอทางเลือกนโยบายสาธารณะจากทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองเชิงวัฒนธรรมด้วย การวิเคราะห์ดังกล่าวมาจากข้อมูลที่ได้จากการวิจัยเชิงเอกสารและการสัมภาษณ์เจาะลึกในภาคสนาม พบว่ากลไกและกระบวนการสะสมทุนของคาสิโนชายแดนนั้นเป็นกระบวนการสะสมทุนเบื้องต้นในสถานการณ์ของโลกาภิวัตน์แนวเสรีนิยมใหม่ โดยเป็นการสะสมจากกลไกนอกเหนือจากเศรษฐกิจเป็นหลัก ส่วนกระบวนการช่วงชิงส่วนเกินในธุรกิจคาสิโนนั้นเป็นผลมาจากปัจจัยหลัก 2 ประการ คือ ความสามารถในการขับเคลื่อนในเวทีการพนันและโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงในการเล่นการพนัน วิเคราะห์สรุปได้ว่าข้อเสนอให้เปิดบ่อนคาสิโนได้อย่างถูกกฎหมายในสังคมไทยเป็น "การเพิ่มปัญหามากขึ้น" สำหรับสังคมไทยในปัจจุบัน หากในอนาคตมีการเปิดบ่อนคาสิโนจะต้องมีการสร้างเงื่อนไขให้เกิดระบบการพนันแบบรับผิดชอบและให้การศึกษาแก่พลเมืองให้รู้เท่าทันการพนันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในคาสิโน


คนชั้นกลางกรุงเทพฯ ผู้ไม่ยึดมั่นในระบอบ ประชาธิปไตยกับทฤษฎีการทำให้เป็นสมัยใหม่ (Modernization Theory), อภิชาต สถิตนิรามัย Jan 2019

คนชั้นกลางกรุงเทพฯ ผู้ไม่ยึดมั่นในระบอบ ประชาธิปไตยกับทฤษฎีการทำให้เป็นสมัยใหม่ (Modernization Theory), อภิชาต สถิตนิรามัย

Journal of Social Sciences

บทความนี้มีเป้าหมายสองประการคือ หนึ่ง ศึกษาชนชั้นกลางกรุงเทพฯ ที่เป็นผู้สนับสนุนขบวนการพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) และขบวนการคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) นั้นคือใคร มีลักษณะทางเศรษฐกิจสังคมอย่างไร และพวกเขามีทัศนะหรือค่านิยมที่ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยหรือไม่ อย่างไร สอง ปรับใช้ทฤษฎีการทำให้เป็นสมัยใหม่ (modernization theory) ทำความเข้าใจว่า เหตุใดพวกเขาจึงไม่ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตย เพื่อโต้แย้งว่าแนวคิดในสายนี้ หากตีความใหม่ ยังคงมีประโยชน์ในการเข้าใจบทบาทของชนชั้นกลางกับการเปลี่ยน (ไม่) ผ่านสู่ระบอบประชาธิปไตย


ความคลุมเครือของแนวคิดการแบ่งแยกอำนาจใน งานศึกษาการละเมิดอำนาจรัฐสภา: กรณีศึกษางานวิจัย เรื่อง "แนวคิดและหลักการว่าด้วยการละเมิด อำนาจรัฐสภา" ของ พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย, ชาย ไชยชิต Jan 2019

ความคลุมเครือของแนวคิดการแบ่งแยกอำนาจใน งานศึกษาการละเมิดอำนาจรัฐสภา: กรณีศึกษางานวิจัย เรื่อง "แนวคิดและหลักการว่าด้วยการละเมิด อำนาจรัฐสภา" ของ พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย, ชาย ไชยชิต

Journal of Social Sciences

ทฤษฎีการแบ่งแยกอำนาจระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ เป็นรากฐานของแนวคิดรัฐธรรมนูญนิยมสมัยใหม่ แม้จะเป็นแนวคิดทางรัฐธรรมนูญที่พัฒนาขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ18 แต่หลักการแบ่งแยกอำนาจก็ยังคงถูกยกมาอ้างในข้อโต้แย้งและวาทกรรมทางการเมืองในปัจจุบัน งานวิจัยเรื่อง แนวคิดและหลักการว่าด้วยการละเมิดอำนาจรัฐสภา เป็นตัวอย่างของความพยายามนำหลักการแบ่งแยกอำนาจมาปรับใช้ศึกษาการเมืองในมิติรัฐธรรมนูญของไทยอย่างเป็นระบบ แต่คำอธิบายหลักการแบ่งแยกอำนาจที่ปรากฏในงานวิจัยดังกล่าวสะท้อนถึงความเข้าใจที่คลุมเครือ ขาดมิติความซับซ้อนและพลวัตของทฤษฎี เนื่องจากปัจจุบันตัวแบบการแบ่งแยกองค์กรที่ทำหน้าที่ต่างกัน เพื่อให้แต่ละฝ่ายเป็นผู้ใช้อำนาจแต่ละด้านอย่างเป็นเอกเทศจากกันตามแนวคิดของมองเตสกิเออร์นั้น ถูกตั้งข้อกังขามากขึ้นถึงความสอดรับกับบริบทที่เป็นจริง


วิวัฒนาการของความร่วมมือในเกม Prisoner's Dilemma, ฐิติเทพ สิทธิยศ Jan 2019

วิวัฒนาการของความร่วมมือในเกม Prisoner's Dilemma, ฐิติเทพ สิทธิยศ

Journal of Social Sciences

การศึกษานี้ใช้การทดลองในระบบปิดเพื่อทดสอบพฤติกรรมของผู้เข้าร่วมการทดลองว่า เป็นไปตามที่หลักการ prisoner's dilemma ทำนายไว้หรือไม่ และใช้ผลการทดลองเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการเข้าใจพฤติกรรมของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องก่อนที่จะทำการออกแบบนโยบายการจัดการทรัพยากรที่ใช้ร่วมกัน ผลการทดลองพบว่า ในกรณีการเล่นครั้งเดียว มีกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่มจาก 6 กลุ่มที่มีพฤติกรรมหักหลังกันเอง สอดคล้องกับหลักการที่ prisoner's dilemma ทำนาย สำหรับกรณีที่เล่นซ้ำๆ โดยผู้เล่นไม่ทราบว่าเกมจะสิ้นสุดเมื่อใด มีกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่มจาก 6 กลุ่ม ที่มีพฤติกรรมร่วมมือกันตลอดจนจบเกม สอดคล้องกับข้อสรุปที่ได้จากหลักการ prisoner's dilemma เช่นกัน ผลการทดลองในครั้งนี้แสดงให้ถึงพฤติกรรมการร่วมมือและหักหลังที่แตกต่างกันระหว่างกลุ่ม ดังนั้น ในการออกแบบนโยบายเกี่ยวกับทรัพยากรที่มีการใช้ร่วมกัน ผู้กำหนดนโยบายควรตระหนักถึงความแตกต่างของประชาชนและ/หรือธุรกิจ และออกแบบและกำหนดนโยบายให้มีความสอดคล้องกับพฤติกรรมของประชาชนและ/หรือธุรกิจที่อยู่ในชุมชนนั้น


Hydroelectricity Generation And The Dynamics Of India-Bhutan Relations, Suppawit Kaewkhunok Jan 2019

Hydroelectricity Generation And The Dynamics Of India-Bhutan Relations, Suppawit Kaewkhunok

Journal of Social Sciences

การศึกษานี้มุ่งเน้นศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียและภูฏานภายหลังทบทวนสนธิสัญญาพันธมิตรในปี 2550 ผ่านระเบียบวิธีวิจัยแบบคุณภาพ การลงทุนในไฟฟ้าพลังงานน้ำของอินเดียถือเป็นกุญแจสำคัญในภาคส่วนเศรษฐกิจที่ส่งเสริมและรักษาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างอินเดียและภูฏาน การลงทุนนี้ยังช่วยให้อินเดียมีความมั่นคงทางด้านพลังงานเพิ่มขึ้นและส่งผลให้ภูฏานพึ่งพิงเศรษฐกิจและการลงทุนจากอินเดีย ฉะนั้นการพัฒนาไฟฟ้าพลังงานน้ำในภูฏานจึงไม่ใช่เพียงนโยบายเศรษฐกิจของอินเดียหากเป็นนโยบายต่างประเทศที่มีต่อภูฏาน การศึกษาเน้นวิเคราะห์ความสัมพันธ์อินเดีย-ภูฏานผ่านโครงการไฟฟ้าพลังงานน้ำ ทั้งในเชิงนโยบายและการจัดโครงสร้างองค์การในฐานะปัจจัยเชื่อมโยงสำคัญที่สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ลักษณะพิเศษที่ภูฏานมีให้อินเดีย โดยอาศัยข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิในการศึกษา บทความชิ้นนี้ต้องการนำเสนอให้เห็นว่าโครงการไฟฟ้าพลังงานน้ำในภูฏานนั้นมีความสำคัญในฐานะสัญลักษณ์ซึ่งสะท้อนภาพความสัมพันธ์ลักษณะพิเศษที่อินเดียมีต่อภูฏาน ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นต่อแนวนโยบายการพัฒนาโครงการไฟฟ้าพลังงานน้ำในภูฏานจึงสะท้อนภาพความสัมพันธ์กับอินเดียที่เปลี่ยนแปลงไป


ความคาดหวังว่าผู้สมัครจะชนะเลือกตั้งเป็นตัว กำกับความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นตัวแทน ความคิดทางการเมืองและข้อตัดสินใจเลือก, อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์, สุพัฒน์ วงศ์สุขุมอมร Jan 2019

ความคาดหวังว่าผู้สมัครจะชนะเลือกตั้งเป็นตัว กำกับความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นตัวแทน ความคิดทางการเมืองและข้อตัดสินใจเลือก, อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์, สุพัฒน์ วงศ์สุขุมอมร

Journal of Social Sciences

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตัดสินใจเลือกลงคะแนนเสียงให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือพรรคการเมืองของคนไทยว่าเป็นการเลือกเพราะเป็นตัวแทนความคิดทางการเมืองของตนหรือเป็นผู้สมัครและ/หรือพรรคการเมืองที่เขาคาดว่าจะชนะการเลือกตั้ง หรือทั้งสองอย่างร่วมกัน ตัวอย่างจำนวน 1,500 คน มาจากชุดข้อมูลการสำรวจระดับชาติ "ความคิดเห็นของประชาชนชาวไทยต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2554 ก่อนการเลือกตั้ง" โดยสถาบันพระปกเกล้าและสำนักงานสถิติแห่งชาติ ผลการทดสอบความเป็นอิสระและการสร้างตัวแบบล็อกลิเนียร์พบว่า คนไทยจะเลือกลงคะแนนเสียงให้กับผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือพรรคการเมืองที่เป็นทั้งตัวแทนความคิดทางการเมืองของตนและมีแนวโน้มว่าจะชนะด้วย ดังนั้นการเป็นตัวแทนความคิดทางการเมืองเป็นสิ่งที่นักการเมืองและพรรคการเมืองต้องให้ความสำคัญในการหาเสียง พร้อมทั้งต้องทำให้ประชาชนเชื่อมั่นได้ว่าตนหรือพรรคจะชนะการเลือกตั้ง การวิจัยในอนาคตควรสนใจศึกษายุทธศาสตร์การสื่อสารทางการเมืองที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับพรรคการเมืองขนาดกลางและเล็กที่จะทำให้ประชาชนรู้สึกว่ามีโอกาสชนะการเลือกตั้ง


ระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ (2549-2560) ในรัฐราชการไทยหลังสมัยทักษิณ ชินวัตร, อดินันท์ พรหมพันธ์ใจ Jan 2019

ระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ (2549-2560) ในรัฐราชการไทยหลังสมัยทักษิณ ชินวัตร, อดินันท์ พรหมพันธ์ใจ

Journal of Social Sciences

การปรับโครงสร้างทางการเมืองของรัฐไทยให้เป็นรัฐราชการที่เข้มแข็งขึ้นเกิดภายหลังการยึดอำนาจรัฐบาลนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ใน พ.ศ.2549 ทำให้ตลอดระยะเวลากว่าทศวรรษ (พ.ศ.2549-2560)รัฐไทยยังคงไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ความชอบธรรมในการใช้อำนาจ ความมั่นคง และการพัฒนาประชาธิปไตย บทความนี้นำเสนอโครงสร้างอำนาจที่เกิดจากระบอบประชาธิปไตยแบบไทย ๆ ของรัฐราชการไทย ด้วยการอธิบายเปรียบเทียบพัฒนาการเชิงสถาบัน โดยใช้มุมมองจากแนวคิดสถาบันนิยมใหม่เชิงประวัติศาสตร์เป็นหลัก เสริมด้วยแนวคิดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและสังคม และแนวคิดโครงสร้างนิยม จากการศึกษาพบว่าระบอบประชาธิปไตยแบบไทย ๆ เป็นการสถาปนาเผด็จการอำนาจนิยมทั้งในรัฐธรรมนูญและค่านิยมของสังคมเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง แต่ระบอบดังกล่าวต้องทนต่อแรงกดดันทั้งภายในและภายนอกรัฐที่บังคับให้แสดงกระบวนการประชาธิปไตย จึงสร้างองค์กรอิสระให้เป็นเครื่องมือใหม่ในการตรวจสอบและคานอำนาจสถาบันทางการเมือง โดยมีกองทัพเป็นผู้บริหารประเทศและเครือข่ายนักกฎหมายปรับโครงสร้างทางสังคม ซึ่งรัฐบาลทหารได้ใช้กลไกระบบราชการกำหนดและนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติและยังคงผลิตค่านิยมแบบศักดินาราชูปถัมภ์ครอบทับสังคมไทย เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่รัฐราชการไทย แม้ว่ารัฐไทยจะมีการเลือกตั้งและได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งก็ตาม แต่ระบอบประชาธิปไตยแบบไทย ๆ ที่ฝังลึกในสังคมมานานจะคอยขัดขวางการพัฒนาประชาธิปไตยและดึงให้รัฐไทยให้กลับไปสู่วงจรรัฐประหารและระบอบเผด็จการอำนาจนิยมอีกครั้ง


การมีส่วนร่วมทางการเมืองในประเทศไทย : การทำให้เป็นประชาธิปไตยด้วยการงบประมาณแบบมีส่วนร่วม, รัฐศิรินทร์ วังกานนท์ Jan 2019

การมีส่วนร่วมทางการเมืองในประเทศไทย : การทำให้เป็นประชาธิปไตยด้วยการงบประมาณแบบมีส่วนร่วม, รัฐศิรินทร์ วังกานนท์

Journal of Social Sciences

งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์สามประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมในกระบวนการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย 2) เพื่อวิเคราะห์บทบาทของการงบประมาณแบบมีส่วนร่วมต่อการทำให้เป็นประชาธิปไตย 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบที่เหมาะสมของการนำงบประมาณแบบมีส่วนร่วมมาใช้ในประเทศไทยด้วยการศึกษาจากกรณีศึกษา 3 แห่ง ผลการศึกษาพบว่า แม้ว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารงานแล้วก็ตาม แต่กระบวนการจัดทำงบประมาณยังไม่เป็นไปตามหลักการของการงบประมาณแบบมีส่วนร่วมตามที่ได้ดำเนินการในประเทศต้นแบบหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือไม่ได้ใช้กระบวนการปรึกษาหารือในการตัดสินใจกำหนดงบประมาณอย่างไรก็ตามการงบประมาณแบบมีส่วนร่วมมีโอกาสนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่พึงปรารถนาซึ่งสอดคล้องกับหลักการทำให้เป็นประชาธิปไตย และเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ปรับทัศนคติของผู้เกี่ยวข้อง ตลอดจนการพัฒนากลไกทางกฎหมายที่เหมาะสม


ความเป็นหุ้นส่วนทางการเมือง, สัญญา เคณาภูมิ Jan 2019

ความเป็นหุ้นส่วนทางการเมือง, สัญญา เคณาภูมิ

Journal of Social Sciences

การส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของภาคประชาชนถือเป็นแนวทางอย่างหนึ่งในการพัฒนาการเมืองแบบประชาธิปไตย อย่างไรก็ดีหลักแห่งความเป็นเจ้าของในการมีส่วนร่วมทางการเมืองยังไม่ลึกเพียงพอที่จะมีอิทธิพลต่อการแสดงออกทางการเมืองเท่าที่ควร หุ้นส่วนทางการเมืองจึงเป็นประเด็นน่าพิจารณาให้มากขึ้น ทั้งนี้หุ้นส่วนทางการเมืองหมายถึงการที่บุคคลหรือองค์กรได้เข้าร่วมแรงร่วมใจอย่างเป็นเจ้าของดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอย่างใดอย่างหนึ่ง จำแนกออกเป็นสองมิติ ได้แก่ (1) หุ้นส่วนทางการเมืองมิติปัจเจกชน เช่น ความรับรู้อย่างเข้าใจการเมือง ความรู้สึกต่อการเมือง ความตระหนักในคุณค่าต่อการเมือง ความรู้สึกเป็นเจ้าของการเมือง รักและหวงแหนรูปแบบการเมือง อุดมการณ์ทางการเมือง พฤติกรรมทางการเมือง อุปนิสัยทางการเมือง เป็นต้น และ (2) หุ้นส่วนทางการเมืองมิติปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและ/หรือองค์กร เช่น การรับรู้ร่วมทางการเมือง จิตวิทยาร่วมทางการเมือง ความเป็นเจ้าของการเมืองร่วม อุดมการณ์ทางการเมืองร่วม การแสวงหาแนวร่วมทางการเมือง การรวมตัวทางการเมือง การเคลื่อนไหวทางการเมืองร่วม การควบรวมเป็นหนึ่งเดียว การกลมกลืนเป็นเอกภาพ การขยายผลแนวร่วมทางการเมือง เป็นต้น


Microbial Synthesis And Characterization Of Silver Nanoparticles Using Alternaria Alternata, Sarafadeen O. Kareem, Oluwagbenga T. Familola, Adejare R. Oloyede, Enock O. Dare Jan 2019

Microbial Synthesis And Characterization Of Silver Nanoparticles Using Alternaria Alternata, Sarafadeen O. Kareem, Oluwagbenga T. Familola, Adejare R. Oloyede, Enock O. Dare

Applied Environmental Research

In this study, extracellular biosynthesis of silver nanoparticles (AgNPs) was carried out using Alternaria alternata. AgNPs were synthesized using vegetative and cell-free filtrate methods. Silver nitrate (AgNO3) solution was reduced with fungal mycelial mass and cell-free filtrate at a ratio of 1:4 (v/v). Further, the effects of biosynthesis parameters (reaction time, reaction temperature, light and dark incubation, and static and agitated conditions) were determined. The structural integrity of the synthesized AgNPs was investigated through UV-visible spectrophotometry, X-ray diffraction (XRD) analysis, and transmission electron microscopy (TEM). Parameter optimization revealed that cell-free filtrate AgNP synthesis at 40 °C with constant agitation and …


Application Of A Mixed Order Model To Determine The Rate Adsorption Of 1-Nitronaphthalene Onto Activated Carbon, Suntree Rincome Jan 2019

Application Of A Mixed Order Model To Determine The Rate Adsorption Of 1-Nitronaphthalene Onto Activated Carbon, Suntree Rincome

Applied Environmental Research

This study investigated the adsorption kinetics of 1-nitronaphthalene solution (a polycyclic aromatic hydrocarbon, PAH) onto seven different masses of activated carbon. The coefficient of determination (r2) was used to determine the best-fit kinetic model and to confirm agreement between experimental data and the kinetic rate equations. The results indicated that adsorption could be defined with masses of 0.0200 g and 0.0501 g when fitted using a second order rate equation. Adsorption on to masses of 0.1003 g, 0.1203, 0.1501 g, and 0.2001 g was best defined when data were fitted to a pseudo second order rate equation. However, adsorption onto …


Relationship Between Annual Average Concentration Of Ambient Pm10 And Out-Patients With Respiratory Disease: Thailand Case Study, Thoucha Rummasak Jan 2019

Relationship Between Annual Average Concentration Of Ambient Pm10 And Out-Patients With Respiratory Disease: Thailand Case Study, Thoucha Rummasak

Applied Environmental Research

The objectives of this research were to identify (1) correlation between annual average concentration of ambient PM10 and prevalence of out-patients with respiratory diseases; (2) the relative risk and attributable proportion of out-patients with respiratory disease due to long-term exposure to ambient PM10; and (3) the correlation between annual average concentration ofambient PM10 and the relative risk of out-patients with respiratory disease. Time-series data of annual average concentration of ambient PM10 and prevalence rate of out-patients with respiratory disease during an 11- year period (2004-2014) in the study area were obtained from the Pollution Control Department, Ministry of Natural Resources …


ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันกับสัตว์เลี้ยงและความเหงาในวัยรุ่นโดยมีการสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์เป็นตัวแปรส่งผ่าน, พนิดา จุลมณฑล Jan 2019

ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันกับสัตว์เลี้ยงและความเหงาในวัยรุ่นโดยมีการสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์เป็นตัวแปรส่งผ่าน, พนิดา จุลมณฑล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันกับสัตว์เลี้ยงและความเหงาในวัยรุ่น โดยมีการสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์จากครอบครัว จากเพื่อนในกลุ่มคนเลี้ยงสัตว์ และจากสัตว์เลี้ยงเป็นตัวแปรส่งผ่าน กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่นที่มีอายุระหว่าง 14- 19 ปี (M = 16.9 ปี, SD = 1.54) ที่มีสัตว์เลี้ยงไม่ต่ำกว่า 6 เดือน อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 140 คน ใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก (Convenience sampling) เก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย (Simple regression analysis) และวิเคราะห์การทดสอบตัวแปรส่งผ่าน (Mediation Analysis) โดยใช้โปรแกรม Process ผลการวิจัยพบว่า 1. ความผูกพันกับสัตว์เลี้ยงมีความสัมพันธ์ทางลบกับความเหงา ในวัยรุ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ꞵ = -.182, p = .032) โดยความผูกพันกับสัตว์เลี้ยงสามารถอธิบายความแปรปรวนของความเหงาได้ร้อยละ 3.3 2. การสนับสนุนด้านอารมณ์จากครอบครัว จากเพื่อนในกลุ่มคนเลี้ยงสัตว์ และจากสัตว์เลี้ยงไม่เป็นตัวแปรส่งผ่านของความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันกับสัตว์เลี้ยงกับความเหงาในวัยรุ่น


Introduction, Wasana Wongsurawat Jan 2019

Introduction, Wasana Wongsurawat

Asian Review

No abstract provided.


Dealing With Diversity: State Strategies On Ethnic Minority Management In Southeast Asia, Hansley A. Juliano, Matthew David D. Ordoñez, Enrico Antonio B. La Viña Jan 2019

Dealing With Diversity: State Strategies On Ethnic Minority Management In Southeast Asia, Hansley A. Juliano, Matthew David D. Ordoñez, Enrico Antonio B. La Viña

Asian Review

Southeast Asia’s ethnic, political and cultural diversity continues to pose major policy and governance hurdles in enforcing a common community born out of the post-colonial nationalist baggage of almost all the region’s countries. ASEAN’s “non-interference” clause gives leeway to each member state to respond to its ethnic diversity with nation-building projects through exclusionary governance. With this leeway, each Southeast Asian country’s nation-building policies legitimize a particular, existing ethno-nationalist or “ethno-religious” majority at the expense of democratic accountability. This study proposes a preliminary quantitative model which uses regression analysis to compare Southeast Asian countries’ data on their religious and ethnic populations. …


วิทยาการจุฬาฯ "รองเท้าสุขภาพ" เพื่อผู้สูงอายุและผู้ป่วยเบาหวาน Jan 2019

วิทยาการจุฬาฯ "รองเท้าสุขภาพ" เพื่อผู้สูงอายุและผู้ป่วยเบาหวาน

Jamjuree Journal

No abstract provided.


South China Sea Contestations: Southeast Asia’S Regional Identity And Asean’S Sustainability, Victor R. Savage Jan 2019

South China Sea Contestations: Southeast Asia’S Regional Identity And Asean’S Sustainability, Victor R. Savage

Asian Review

Current global news is focused on China’s territorial claims in the South China Sea and the ensuing clash with the United States over the “freedom of marine navigation.” Against this background of territorial claims lies the complex history of old Asian civilizations which undergird no easy resolution of such territorial issues. This paper interrogates the region’s cultural identity paradigm arising from China’s territorial claims, the US-China hegemonic global contestation, the US-China trade war and ASEAN’s responses to the changing geopolitics and extension of China’s geography. It argues that both domestic changes and externalities are affecting ASEAN’s regional cohesion.


Civil Service And Oligarchy: American Colonial Principles In Early Twentieth Century Philippines And Hawai'i, Lance D. Collins Jan 2019

Civil Service And Oligarchy: American Colonial Principles In Early Twentieth Century Philippines And Hawai'i, Lance D. Collins

Asian Review

This paper surveys the history of the introduction of an American-style merit-principle in the creation of a classified civil service system in the Philippines and Hawai'i. The paper illustrates how the implementation of the idea of the "merit principle" in civil service and in organizing public workers in the Philippines and Hawai'i was undermined by opposing forces within the American colonial governing apparatus. The Philippines was an early adopter of the Progressive-era “merit principle” reforms being pushed in the United States proper while Hawai‘i was one of the last—implemented halfway through the New Deal era. This paper attempts to understand …


อิทธิพลของการใช้บุคลิกภาพต้นแบบและรูปแบบการโฆษณา บนแอปพลิเคชันรายงานคุณภาพอากาศที่มีต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อ, ณัชชา กมลพันธ์ Jan 2019

อิทธิพลของการใช้บุคลิกภาพต้นแบบและรูปแบบการโฆษณา บนแอปพลิเคชันรายงานคุณภาพอากาศที่มีต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อ, ณัชชา กมลพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยประยุกต์ใช้ร่วมกับการวิจัยกึ่งทดลอง แบบ 2x2 แฟคทอเรียล เพื่อศึกษาอิทธิพลหลักและอิทธิพลร่วมของ 2 ปัจจัย ได้แก่ 1) การออกแบบ แอปพลิเคชันรายงานคุณภาพอากาศโดยใช้บุคลิกภาพต้นแบบ (บุคลิกภาพต้นแบบนักปราชญ์และบุคลิกภาพต้นแบบตัวตลก) และ 2) รูปแบบโฆษณาออนไลน์ (Native Ads และ Banner Ads) ที่มีต่อทัศนคติ ต่อแอปพลิเคชัน ทัศนคติต่อตราสินค้า และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค โดยจัดการสำรวจและเก็บข้อมูลแบบสอบถามออนไลน์จากนิสิตระดับปริญญาตรีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 120 คน ในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบบุคลิกภาพต้นแบบและรูปแบบโฆษณาออนไลน์มีอิทธิพลหลักและ อิทธิพลร่วมต่อทัศนคติต่อตราสินค้าและความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค โดยการออกแบบแอปพลิเคชันรายงานคุณภาพอากาศโดยใช้บุคลิกภาพต้นแบบนักปราชญ์และโฆษณาออนไลน์ Native Ads มีอิทธิพลต่อทัศนคติ ต่อตราสินค้าและความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคมากกว่าการใช้บุคลิกภาพต้นแบบตัวตลกและโฆษณาออนไลน์ Banner Ads การวิจัยครั้งนี้สามารถใช้เป็นแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการสื่อสารการตลาดเกี่ยวกับ เรื่องสิ่งแวดล้อมและสุขภาพผ่านแอปพลิเคชัน สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุระหว่าง 18-23 ปี เพื่อให้เกิดทัศนคติเชิงบวกและความตั้งใจซื้อ โดยแบ่งออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการออกแบบแอปพลิเคชัน ควรเน้นการให้ข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อผู้บริโภค และ 2) ด้านการโฆษณาออนไลน์ ควรทำโฆษณาให้มีรูปแบบที่สอดแทรกไปกับเนื้อหาของแพลตฟอร์มต่าง ๆ และไม่ทำให้ผู้บริโภครู้สึกได้ว่ากำลังเปิดรับโฆษณา


The Impact Of Economic Development On Health : A Country-Level Analysis, Huiying Wang Jan 2019

The Impact Of Economic Development On Health : A Country-Level Analysis, Huiying Wang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study investigates the impact of economic development on health, using a panel of 217 countries (139 high-income and 78 low-income countries for the period 1995-2018). Five dependent variables are included, which are life expectancy at birth, infant mortality, under-5 mortality, survival to age 65 for the female and the male population. The preferred regression method used is fixed effects - two stage least squares modeling (FE-2SLS). The specification includes two measures of economic development, including GDP per capita and the Gini index, as well as other macro-level variables that have been identified as important determinants for population health in …