Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 1951 - 1980 of 5570

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

Can Offshore Wind Electricity In Taiwan Be Sustainable?: The Case Of Taiwan's First Offshore Wind Project, Formosa 1 In Miaoli, Yu Ju Lin Jan 2019

Can Offshore Wind Electricity In Taiwan Be Sustainable?: The Case Of Taiwan's First Offshore Wind Project, Formosa 1 In Miaoli, Yu Ju Lin

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

While sustainability is implementing all over the world to strive to balance the development and environment, Taiwan is also committed to the transition towards renewable energy, and offshore wind electricity is one of the emerging industries with potential, therefore taking its newly operated project as a case study. The purpose of the research is to determine whether offshore wind electricity is a viable solution to achieve inclusive sustainability in Taiwan and the concept of procedural justice is involving to examine the planning and construction stages of the development while environmental justice is applied to evaluate the overall outcome from the …


The Relationship Among Level Of Intimacy, Romantic Attachment, Coping Strategies, And Negative Emotional Experiences In Young Adults With Ghosting Experience, Piyaporn Prasertwit Jan 2019

The Relationship Among Level Of Intimacy, Romantic Attachment, Coping Strategies, And Negative Emotional Experiences In Young Adults With Ghosting Experience, Piyaporn Prasertwit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The study aimed to explore ghosting or when the reasons for romantic relationship termination and subsequent disappearance of one’s partner are not conveyed in Thai society, which has objectives as follow: 1. To explore the relationship between level of intimacy (9 levels) and negative emotional experience (negative-self emotions and negative-others emotions) 2. To explore the relationship between level of intimacy (9 levels), romantic attachment (attachment anxiety, and attachment avoidant), and coping strategies (emotional release, direct approach, accommodation/acceptance, denial/blaming others, and self-blame/self-focused) Participants were 335 young adults aged 18 – 30 years old (M = 22.3 years) who have had experience …


การสื่อสารบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบของพนักงานขายเครื่องสำอางและพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค, สาธิดา สื่อประเสริฐสุข Jan 2019

การสื่อสารบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบของพนักงานขายเครื่องสำอางและพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค, สาธิดา สื่อประเสริฐสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อการสื่อสารบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบของพนักงานขายเครื่องสำอาง พฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางของผู้บริโภคและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติของผู้บริโภคต่อการสื่อสารบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบของพนักงานขายเครื่องสำอางกับพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร เพศชายและหญิง อายุระหว่าง 18-40 ปี จำนวน 204 คน ผลวิจัยพบว่า ทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบของพนักงานขายเครื่องสำอางในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยบุคลิกภาพแบบแสดงตัว แบบประนีประนอม แบบมีจิตสำนึกและแบบหวั่นไหวอยู่ในระดับมากที่สุด นอกจากนี้ ระดับความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับความต้องการซื้อเครื่องสำอางของผู้บริโภค ตามกระบวนการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามแต่ละขั้นตอนพบว่า ขั้นการประเมินทางเลือก และขั้นการประเมินหลังการซื้ออยู่ในระดับมากที่สุด จากการทดสอบสมมติฐาน ทัศนคติของผู้บริโภคต่อการสื่อสารบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบของพนักงานขายเครื่องสำอางมีความสัมพันธ์กับความต้องการซื้อของผู้บริโภคไปในทิศทางเดียวกัน อยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ของบุคลิกภาพแต่ละแบบของพนักงานขายเครื่องสำอางกับความต้องการซื้อของผู้บริโภค บุคลิกภาพแบบแสดงตัว แบบประนีประนอม แบบมีจิตสำนึก แบบเปิดรับประสบการณ์ มีความสัมพันธ์กับความต้องการซื้อของผู้บริโภคไปในทิศทางเดียวกัน


ปัจจัยการต่ออายุงานของผู้สูงอายุในองค์การ : กรณีศึกษา สำนักงานมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กานติมา วนิชดำรงค์ศักดิ์ Jan 2019

ปัจจัยการต่ออายุงานของผู้สูงอายุในองค์การ : กรณีศึกษา สำนักงานมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กานติมา วนิชดำรงค์ศักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการต่ออายุงานหรือการจ้างงานผู้สูงอายุในตำแหน่งที่ปรึกษาของส่วนงาน โดยสถาบันทางการศึกษาเป็นองค์การที่ผู้วิจัยได้สนใจและเลือกศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่นำมาใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ พนักงานมหาวิทยาลัย สายปฏิบัติการ ระดับหัวหน้าหน่วยงานขึ้นไปที่สังกัดสำนักงานมหาวิทยาลัย จำนวน 36 ส่วนงาน งานวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ที่มีข้อคำถามลักษณะปลายเปิดและปลายปิด ซึ่งแบ่งสองส่วนหลัก ๆ คือ ส่วนที่เป็นข้อมูลการต่ออายุงานหรือการจ้างงานผู้สูงอายุในองค์การ และส่วนที่เป็นปัจจัยและอุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับการต่ออายุงานหรือการจ้างงานผู้สูงอายุ ผลการศึกษาพบว่า ในปัจจุบันส่วนงานยังไม่มีการต่ออายุงานของผู้สูงอายุ เนื่องจากยังขาดระเบียบบางประการมารองรับ แต่มีการจ้างงานผู้สูงอายุในตำแหน่งที่ปรึกษาของส่วนงานเป็นรายกรณี และสำหรับปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุดต่อการจ้างงานผู้สูงอายุคือ องค์ความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ของผู้สูงอายุ ส่วนอุปสรรคที่ส่งผลต่อการจ้างงานผู้สูงอายุมากที่สุด คือ ปัญหาทางด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ


ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมทางการเงินและเป้าหมายการออมในผู้ใหญ่วัยเริ่ม, กอข้าว เพิ่มตระกูล Jan 2019

ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมทางการเงินและเป้าหมายการออมในผู้ใหญ่วัยเริ่ม, กอข้าว เพิ่มตระกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมทางการเงิน กับเป้าหมายการออมเงินที่สามารถสะท้อนถึงความต้องการของบุคคลตามทฤษฎีของ Maslow โดยเก็บข้อมูลในผู้ใหญ่วัยเริ่มที่มีอายุระหว่าง 18-29 ปี จำนวน 165 คน ที่มีงานทำและมีรายได้ประจำ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามเป้าหมายการออมในผู้ใหญ่วัยเริ่ม และแบบสอบถามพฤติกรรมทางการเงิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการถดถอยเชิงขั้น (hierarchical regression analysis) ผลวิจัยพบว่า การตั้งเป้าหมายการออมเงินเพื่อความต้องการด้านความปลอดภัยและความมั่นคง และการตั้งเป้าหมายการออมเงินเพื่อความต้องการด้านการเข้าถึงศักยภาพตนเอง สามารถทำนายพฤติกรรมทางการเงินของผู้ใหญ่วัยเริ่มได้มากที่สุด รองลงมาคือการตั้งเป้าหมายการออมเงินเพื่อความต้องการด้านความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า ส่วนการตั้งเป้าหมายการออมเงินเพื่อความต้องการด้านการอยู่รอดทางร่างกาย/ดำรงชีวิต และการตั้งเป้าหมายการออมเงินเพื่อความต้องการด้านความรักและการเป็นส่วนหนึ่งของผู้อื่น ไม่สามารถทำนายพฤติกรรมทางการเงินได้


ความสัมพันธ์ระหว่างความจำใช้งาน การควบคุมพฤติกรรมตนเอง การคิดอย่างยืดหยุ่นและความซึมเศร้าโดยมีการหมกมุ่นครุ่นคิดเป็นตัวแปรส่งผ่าน, สิริพร รังสิตเสถียร Jan 2019

ความสัมพันธ์ระหว่างความจำใช้งาน การควบคุมพฤติกรรมตนเอง การคิดอย่างยืดหยุ่นและความซึมเศร้าโดยมีการหมกมุ่นครุ่นคิดเป็นตัวแปรส่งผ่าน, สิริพร รังสิตเสถียร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความจำใช้งาน การควบคุมพฤติกรรมตนเอง การคิดอย่างยืดหยุ่น และความซึมเศร้าโดยมีการหมกมุ่นครุ่นคิดเป็นตัวแปรส่งผ่าน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี จำนวน 100 คน ทั้งนี้เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น (α= .87) มาตรวัดการหมกมุ่นครุ่นคิด (α= .983) แบบทดสอบการทวนกลับตัวเลข มาตรวัดการควบคุมตนเอง (α= .83) และมาตรวัดการคิดอย่างยืดหยุ่น (α= .873) และวิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (structural equation model) ในการวิเคราะห์ผลข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ความจำใช้งาน การคิดอย่างยืดหยุ่นไม่มีความสัมพันธ์กับการหมกมุ่นครุ่นคิด โดยมีค่าอยู่ที่ -0.08 และ -0.12 ตามลำดับ ในขณะที่การควบคุมพฤติกรรมตนเองมีความสัมพันธ์ทางลบต่อการหมกมุ่นครุ่นคิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (B= -0.439,p<0.001) และเมื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความจำใช้งาน การควบคุมพฤติกรรมตนเอง การคิดอย่างยืดหยุ่น และความซึมเศร้า พบว่า ความจำใช้งาน การควบคุมพฤติกรรมตนเอง การคิดอย่างยืดหยุ่นไม่มีความสัมพันธ์ทางลบต่อความซึมเศร้า แต่การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการหมกมุ่นครุ่นคิดและความซึมเศร้า พบว่ามีความสัมพันธ์ทางบวกกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(B=0.757,p<0.001) อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์โดยให้การหมกมุ่นครุ่นคิดเป็นตัวแปรส่งผ่าน พบอิทธิพลส่งผ่านที่มีนัยสำคัญทางสถิติของการหมกมุ่นครุ่นคิด ที่ส่งผ่านความสัมพันธ์ระหว่างการควบคุมพฤติกรรมตนเองและความซึมเศร้า


ทัศนคติ ความพึงพอใจ และแนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อการให้บริการตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค (C2c), ไวยกรณ์ จริตไวทย์ Jan 2019

ทัศนคติ ความพึงพอใจ และแนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อการให้บริการตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค (C2c), ไวยกรณ์ จริตไวทย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวแปรพยากรณ์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคต่อการให้บริการตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค (C2C) โดยมีปัจจัยที่ใช้ศึกษา 3 ปัจจัย ได้แก่ 1. ทัศนคติต่อการสื่อสารตลาดแบบบูรณาการ (IMC) 2. ความพึงพอใจต่อบริการหลังการขาย และ 3. การมีส่วนร่วมของผู้บริโภค โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจด้วยการเก็บข้อมูลแบบสอบถามออนไลน์ กับกลุ่มตัวอย่างอายุระหว่าง 25-49 ปี เป็นผู้เคยซื้อสินค้าออนไลน์จากผู้ขายรายย่อยผ่านผู้ให้บริการตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) แบบการเลือกตัวแปรโดยวิธีเพิ่มตัวแปรอิสระแบบขั้นตอน (Stepwise Regression) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจต่อบริการหลังการขายมากที่สุด โดยพึงพอใจมากต่อเงื่อนไขการบริการหลังการขายที่มีความเป็นธรรม จากการวิเคราะห์ด้วยวิธีการถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า สมการพยากรณ์ความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคที่ดีที่สุด คือ “ความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค = 3.402 + (0.145)บริการหลังการขาย” โดยสามารถพยากรณ์ความตั้งใจซื้อได้ร้อยละ 02 ทั้งนี้ ที่บริการหลังการขายสามารถพยากรณ์ความตั้งใจซื้อ อาจเป็นไปได้ว่า เงื่อนไขการบริการหลังการขายที่มีความเป็นธรรม สามารถทำให้ผู้บริโภคเกิดความพึงพอใจ และนำไปสู่ความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคได้


การบริหารจัดการภาครัฐเทศบาลเมืองหัวหินเพื่อสร้างการรับรู้แบรนด์“Hua Hin : Thai Authentic Beach” เพื่อยกระดับการท่องเที่ยว, สราวุธ วรรณทวี Jan 2019

การบริหารจัดการภาครัฐเทศบาลเมืองหัวหินเพื่อสร้างการรับรู้แบรนด์“Hua Hin : Thai Authentic Beach” เพื่อยกระดับการท่องเที่ยว, สราวุธ วรรณทวี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเรื่อง การบริหารจัดการภาครัฐเทศบาลเมืองหัวหินเพื่อสร้างการรับรู้แบรนด์“Hua Hin : Thai Authentic Beach” เพื่อยกระดับการท่องเที่ยว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาการพัฒนาแบรนด์ “Hua Hin : Thai Authentic Beach” การรับรู้ของบุคลากรภาครัฐเทศบาลเมืองหัวหิน ประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยว โดยศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากรของกลุ่มตัวอย่างที่มีผลต่อการรับรู้แบรนด์ดังกล่าว และจัดทำแบบสอบถาม (ออนไลน์) สำรวจความคิดเห็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 366 คน และวิเคราะห์ด้วยสถิติประยุกต์ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษาที่สำคัญ คือ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่รู้จักแบรนด์ “Hua Hin : Thai Authentic Beach” และมีความเห็นว่าควรมีการพัฒนาแบรนด์ดังกล่าวให้เป็นที่รู้จักอย่างเป็นรูปธรรม โดยมุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยวจากการดำเนินงานของเทศบาลเมืองหัวหินเป็นหลัก ประกอบกับการให้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่ นอกจากนี้ ผลสำรวจความเห็นได้ประเมินว่าการบริหารงานของเทศบาลเมืองหัวหินมีจุดแข็งอยู่ที่การส่งเสริมการท่องเที่ยว ส่วนที่ควรพัฒนา คือ การยกระดับมาตรฐานความปลอดภัย จุดเด่นของเมืองหัวหินซึ่งเป็นที่ยอมรับ คือ ชายหาดที่สวยงามและมีเอกลักษณ์ ถือเป็นทุนการท่องเที่ยวที่สามารถนำไปพัฒนาเพื่อยกระดับการท่องเที่ยวของหัวหินไปสู่ในระดับสากล


Wage Compensation Differentials For Job Risk Between Formal And Informal Workers, Pinyada Suwannarat Jan 2019

Wage Compensation Differentials For Job Risk Between Formal And Informal Workers, Pinyada Suwannarat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research estimates compensating wage differentials for job risks for formal and informal workers in Thailand, the latter of whom are not covered by prevailing labor laws. Using data from the National Statistical Office’s Thai Labor Force Survey for years 2012 to 2018 merged with job fatality risk collected by the Social Security Office, the results show that the fatality risk rate has a positive, significant effect on wages. The value of statistical life for the median formal workers is 79.33 million baht compared to 41.5 million baht for the median informal worker. Also, we analyze the relationship between self-reported …


การแปรทางกลสัทศาสตร์ของช่วงเวลาเริ่มเสียงก้องของพยัญชนะกักในภาษาไทยที่พูดโดยผู้หญิงข้ามเพศ, พัทธนันท์ หาญชาญเวช Jan 2019

การแปรทางกลสัทศาสตร์ของช่วงเวลาเริ่มเสียงก้องของพยัญชนะกักในภาษาไทยที่พูดโดยผู้หญิงข้ามเพศ, พัทธนันท์ หาญชาญเวช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ค่าช่วงเวลาเริ่มเสียงก้องของพยัญชนะกักในภาษาไทย คือ พยัญชนะกักก้อง กักไม่ก้องไม่พ่นลม และกักไม่ก้องพ่นลมของผู้หญิงข้ามเพศและเปรียบเทียบกับผู้ชายและผู้หญิง 2) ศึกษาระดับความเป็นหญิงของผู้หญิงข้ามเพศด้วยค่าดัชนีความเป็นหญิงและความสัมพันธ์ระหว่างค่าช่วงเวลาเริ่มเสียงก้องกับดัชนีความเป็นหญิง สำหรับการวิเคราะห์ค่าช่วงเวลาเริ่มเสียงก้อง เก็บข้อมูลเสียงจากรายการคำที่ประกอบด้วยคำพูดเดี่ยวที่มีพยัญชนะกักแป็นพยัญชนะต้น จากผู้หญิงข้ามเพศ 15 คน ผู้ชาย 10 คนและผู้หญิง 10 คน ส่วนการวิเคราะห์ดัชนีความเป็นหญิง เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามมาตรวัดลิเคิร์ทสเกล 5 ระดับซึ่งประกอบด้วยคำถามที่สะท้อนอัตลักษณ์ทางเพศและเพศวิถีจากผู้หญิงข้ามเพศ ผลการศึกษาทางกลสัทศาสตร์พบว่า ค่าช่วงเวลาเริ่มเสียงก้องโดยรวมของผู้หญิงข้ามเพศมีค่าระยะเวลายาวกว่าผู้ชายและผู้หญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ลักษณะเด่นชัดที่สุดของการผลิตเสียงพยัญชนะกักของผู้หญิงข้ามเพศพบในพยัญชนะกักไม่ก้องไม่พ่นลม ซึ่งมีรูปแบบที่แตกต่างจากผู้ชายและผู้หญิง และมีช่วงพ่นลมที่ยาวกว่าผู้ชายและผู้หญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 อีกด้วย ผลการศึกษาเกี่ยวกับระดับความเป็นหญิงพบว่า ผู้หญิงข้ามเพศในการศึกษาครั้งนี้มีระดับความเป็นหญิงอยู่ในช่วง 2-4 จากทั้งหมด 5 ระดับ เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างค่าช่วงเวลาเริ่มเสียงก้องกับค่าดัชนีความเป็นหญิงพบว่า พยัญชนะกักก้องและกักไม่ก้องพ่นลมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับค่าดัชนีความเป็นหญิงของผู้หญิงข้ามเพศ โดยมีนัยสำคัญอยู่ที่ระดับ 0.01 ในขณะที่ค่าช่วงเวลาเริ่มเสียงก้องของพยัญชนะกักไม่ก้องไม่พ่นลมไม่พบความสัมพันธ์กับค่าดัชนีความเป็นหญิง นอกจากค่าช่วงเวลาเริ่มเสียงก้องแล้ว ยังพบว่าค่าระยะเวลาของช่วงพ่นลมของพยัญชนะกักไม่ก้องพ่นลมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับค่าดัชนีความเป็นหญิงด้วย ข้อค้นพบเหล่านี้แสดงให้เห็นเอกลักษณ์ทางเสียงของผู้หญิงข้ามเพศที่แตกต่างจากผู้ชายและผู้หญิง และการแปรภายในกลุ่มของเสียงผู้หญิงข้ามเพศซึ่งสัมพันธ์กับตัวตนทางเพศของผู้หญิงข้ามเพศ


เจตคติต่อการใช้ความรุนแรงในคู่และการกล่าวโทษเหยื่อของเจ้าหน้าที่ตำรวจ : อิทธิพลของการเหยียดเพศ บทบาททางเพศของผู้หญิง และระดับความรุนแรงของสถานการณ์, ปิยกฤตา เครือหิรัญ Jan 2019

เจตคติต่อการใช้ความรุนแรงในคู่และการกล่าวโทษเหยื่อของเจ้าหน้าที่ตำรวจ : อิทธิพลของการเหยียดเพศ บทบาททางเพศของผู้หญิง และระดับความรุนแรงของสถานการณ์, ปิยกฤตา เครือหิรัญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบอิทธิพลของการเหยียดเพศ บทบาททางเพศของผู้หญิง และระดับความรุนแรงของสถานการณ์ต่อเจตคติต่อการใช้ความรุนแรงในคู่และการกล่าวโทษเหยื่อของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในการศึกษาที่ 1 ใช้มาตรวัดการเหยียดเพศแบบแยกขั้วเพื่อแบ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ จำนวน 139 คน ออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเหยียดเพศแบบเป็นปฏิปักษ์ กลุ่มเหยียดเพศแบบให้คุณ กลุ่มเหยียดเพศแบบคลุมเครือ และกลุ่มไม่เหยียดเพศ จากนั้นทำการสุ่มเข้าเงื่อนไขเพื่อรับชมวิดีโอจำลองสถานการณ์การแจ้งความของผู้หญิงที่ถูกคนรักทำร้าย แบ่งเป็น 2 เงื่อนไข คือ เงื่อนไขผู้หญิงที่มีบทบาททางเพศเป็นไปตามความคาดหวังของสังคมและเงื่อนไขผู้หญิงที่มีบทบาททางเพศไม่เป็นไปตามความคาดหวังของสังคม ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนตัวแปรพหุนามแบบสองทางไม่พบอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ของการเหยียดเพศและบทบาททางเพศของผู้หญิงต่อเจตคติต่อการใช้ความรุนแรงในคู่และการกล่าวโทษเหยื่อ แต่พบอิทธิพลหลักของการเหยียดเพศและบทบาททางเพศของผู้หญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่มเหยียดเพศแบบเป็นปฏิปักษ์และแบบคลุมเครือมีเจตคติทางบวกต่อการใช้ความรุนแรงในคู่และการกล่าวโทษเหยื่อสูงกว่ากลุ่มเหยียดเพศแบบให้คุณและกลุ่มไม่เหยียดเพศ และในเงื่อนไขบทบาททางเพศแบบไม่เป็นไปตามความคาดหวังของสังคมมีคะแนนเจตคติทางบวกต่อการใช้ความรุนแรงในคู่และการกล่าวโทษเหยื่อสูงกว่าในเงื่อนไขบทบาททางเพศแบบเป็นไปตามความคาดหวังของสังคม สำหรับการศึกษาที่ 2 ดำเนินการทดสอบอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ระหว่างการเหยียดเพศและระดับความรุนแรงของสถานการณ์ในนักเรียนนายร้อยตำรวจ จำนวน 186 คน สุ่มเข้าเงื่อนไขเพื่ออ่านเรื่องสั้นจำลองสถานการณ์ผู้หญิงที่ถูกคนรักทำร้ายพร้อมรูปภาพแสดงการบาดเจ็บตามความรุนแรงของสถานการณ์ แบ่งออกเป็น 2 เงื่อนไข คือ เงื่อนไขระดับความรุนแรงของสถานการณ์ต่ำและเงื่อนไขระดับความรุนแรงของสถานการณ์สูง ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนามแบบสองทางไม่พบอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ของการเหยียดเพศและระดับความรุนแรงของสถานการณ์ อีกทั้งยังไม่พบอิทธิพลหลักของระดับความรุนแรงของสถานการณ์ แต่พบอิทธิพลหลักของการเหยียดเพศต่อเจตคติต่อการใช้ความรุนแรงในคู่และการกล่าวโทษเหยื่ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


Heuristics Used In Credibility Judgment Of Health Information On Facebook, Yaninee Petcharanan Jan 2019

Heuristics Used In Credibility Judgment Of Health Information On Facebook, Yaninee Petcharanan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Facebook users worldwide had been facing challenges of information credibility. This study aimed to address this issue among Thai Facebook users by focusing on health information in particular, through a lens of heuristic approach. Data were collected from 50 informants by in-depth interviews and 480 responses from online surveys. All participants were at least 18 years old with a minimum of one year experience in using Facebook. The results revealed three different processes and five heuristics, namely, reputation heuristic, authority heuristic, expectancy violation heuristic, persuasive intense heuristic, and bandwagon heuristics that participants adopted when making a credibility judgment of health …


การขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจของจีนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ผ่านกรอบความร่วมมือล้านช้าง - แม่โขง (Lmc), ปภาพรรณ หารบุรุษ Jan 2019

การขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจของจีนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ผ่านกรอบความร่วมมือล้านช้าง - แม่โขง (Lmc), ปภาพรรณ หารบุรุษ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งศึกษานโยบายต่างประเทศของจีนที่มีต่ออนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยเฉพาะภายใต้การดำเนินงานของกรอบความร่วมมือล้านช้าง - แม่โขง (Lancang - Mekong Cooperation: LMC) ระหว่างปี ค.ศ. 2016 ถึง 2020 เพื่อวิเคราะห์แรงจูงใจที่ทำให้จีนต้องการจัดตั้งกรอบความร่วมมือดังกล่าว โดยผู้วิจัยใช้กรอบแนวคิดการเปลี่ยนผ่านของอำนาจ (Power transition theory) ของ A.F.K. Organski และ Jacek Kugler เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ การศึกษาครั้งนี้พบว่า แรงจูงใจสำคัญที่ทำให้จีนจัดตั้งกรอบความร่วมมือล้านช้าง – แม่โขง มี 3 ประการ ได้แก่ (1) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารจัดการผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงได้อย่างเต็มที่ (2) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการช่วงชิงบทบาทนำในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงจากมหาอำนาจนอกภูมิภาค และ (3) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมอำนาจทางเศรษฐกิจของตนให้แข็งแกร่งขึ้น โดยในท้ายที่สุด กรอบความร่วมมือนี้จะช่วยสนับสนุนให้จีนสามารถก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจ (Dominant power) ที่ได้รับการยอมรับจากประชาคมโลกได้อย่างเต็มภาคภูมิ


ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทํางานกับแรงจูงใจในการทํางานของข้าราชการตํารวจสังกัดกองทะเบียนพล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, ปาริชาด ผิวผ่อง Jan 2019

ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทํางานกับแรงจูงใจในการทํางานของข้าราชการตํารวจสังกัดกองทะเบียนพล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, ปาริชาด ผิวผ่อง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทํางานกับแรงจูงใจในการทํางานของข้าราชการตํารวจสังกัดกองทะเบียนพล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และนำผลการศึกษามาใช้เป็นแนวทางและข้อเสนอแนะในการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการตํารวจ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง ข้าราชการตํารวจสังกัดกองทะเบียนพล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จํานวน 137 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของตัวแปรด้วย Independent Samples t-test และ One-Way ANOVA/ F-test ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่าระดับคุณภาพชีวิตการทํางานของข้าราชการตํารวจสังกัดกองทะเบียนพล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 3.41, S.D.= 0.23) แรงจูงใจในการทำงานของข้าราชการตํารวจสังกัดกองทะเบียนพลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 3.26, S.D.= 0.15) ส่วนการเปรียบเทียบข้อมูลส่วนบุคคลของข้าราชการตำรวจสังกัดกองทะเบียนพล สำนักงานตำรวจแห่งชาติกับแรงจูงใจในการทำงานพบว่า เพศ อายุ อายุราชการ ระดับการศึกษา และชั้นยศ ที่แตกต่างกัน มีระดับแรงจูงใจในการทำงานไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนหน่วยงานที่สังกัดต่างกัน มีระดับแรงจูงใจในการทำงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยข้าราชการตำรวจฝ่ายอำนวยการ ทพ. มีระดับแรงจูงใจในการทำงานน้อยกว่าฝ่ายความชอบ ทพ. และน้อยกว่าฝ่ายประเมิน ทพ. คุณภาพชีวิตการทํางานมีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการทํางานของข้าราชการตํารวจสังกัดกองทะเบียนพล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r = 0.421) และพบว่าคุณภาพชีวิตการทำงานด้านความสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัว ด้านความเกี่ยวข้องอันเป็นประโยชน์ต่อสังคม และด้านความมีระเบียบกฎเกณฑ์และความเป็นธรรมในการปฏิบัติงาน มีอิทธิพลส่งผลต่อระดับแรงจูงใจในการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


การประเมินผลโครงการฝึกอบรม : กรณีศึกษา หลักสูตรการพัฒนาข้าราชการบรรจุใหม่ กรมศุลกากร, ปทิดา พิพัฒน์ Jan 2019

การประเมินผลโครงการฝึกอบรม : กรณีศึกษา หลักสูตรการพัฒนาข้าราชการบรรจุใหม่ กรมศุลกากร, ปทิดา พิพัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลโครงการฝึกอบรม : กรณีศึกษา หลักสูตรการพัฒนาข้าราชการบรรจุใหม่ กรมศุลกากร ตามแบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) ในด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า และด้านกระบวนการ ที่มีอิทธิพลต่อด้านผลผลิตของโครงการฝึกอบรม โดยกำหนดรูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยดำเนินการเก็บข้อมูลเพื่อสอบถามความคิดเห็นของผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนาข้าราชการบรรจุใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 กรมศุลกากร จำนวน 245 คน ตอบแบบสอบถามกลับมาจำนวน 235 คน คิดเป็นร้อยละ 95.92 ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่า t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการถดถอย โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีเพศ อายุ และระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน มีระดับผลผลิตของโครงการฝึกอบรมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในขณะที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีประสบการณ์ทำงานที่ผ่านมาแตกต่างกัน ระดับผลผลิตของโครงการฝึกอบรมไม่แตกต่างกัน และการทดสอบความสัมพันธ์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อด้านผลผลิตของโครงการ พบว่า ปัจจัยด้านกระบวนการ (Beta = 0.579) ปัจจัยด้านปัจจัยนำเข้า (Beta = 0.200) และปัจจัยด้านสภาวะแวดล้อม (Beta = 0.188) มีอิทธิพลในทิศทางบวกต่อผลผลิตของโครงการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


การพัฒนาเมืองคาร์บอนต่ำเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน, จักรพงศ์ พงศ์ธไนศวรรย์, วีรินทร์ หวังจิรนิรันดร์, กัญณภัทร ชื่นวงศ์, ชญาธร ธนวัฒนาดำรง Jan 2019

การพัฒนาเมืองคาร์บอนต่ำเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน, จักรพงศ์ พงศ์ธไนศวรรย์, วีรินทร์ หวังจิรนิรันดร์, กัญณภัทร ชื่นวงศ์, ชญาธร ธนวัฒนาดำรง

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


สัมภาษณ์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศสู่ไทยแลนด์ 4.0 ศาสตราจารย์ ดร. สุพจน์ หารหนองบัว, สุพจน์ หารหนองบัว Jan 2019

สัมภาษณ์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศสู่ไทยแลนด์ 4.0 ศาสตราจารย์ ดร. สุพจน์ หารหนองบัว, สุพจน์ หารหนองบัว

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


แนะนำโครงการ ร่วมสร้าง พระราม 4 วิถีเมือง, เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม Jan 2019

แนะนำโครงการ ร่วมสร้าง พระราม 4 วิถีเมือง, เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


กรณีศึกษาตำบลไหล่น่าน จังหวัดน่าน, พงษ์ชัย ดำรงโรจน์วัฒนา, วุฒิวงศ์ วิมลศักดิ์เจริญ, สุตนันท์ ปิ่นมณีนพรัตน์, พวงทอง ชมภูมิ่ง, อลงกรณ์ วีระพันธ์, ธัญวัฒน์ กาบคำ, มาลินี อนุรักษ์, แสงรวี รุณวุฒิ, วัชราพร มาลี, ทรรศน์มน กาละดี, สำราญ ปัญญาอินทร์, สายฝน คำเต็ม Jan 2019

กรณีศึกษาตำบลไหล่น่าน จังหวัดน่าน, พงษ์ชัย ดำรงโรจน์วัฒนา, วุฒิวงศ์ วิมลศักดิ์เจริญ, สุตนันท์ ปิ่นมณีนพรัตน์, พวงทอง ชมภูมิ่ง, อลงกรณ์ วีระพันธ์, ธัญวัฒน์ กาบคำ, มาลินี อนุรักษ์, แสงรวี รุณวุฒิ, วัชราพร มาลี, ทรรศน์มน กาละดี, สำราญ ปัญญาอินทร์, สายฝน คำเต็ม

UNISEARCH (Unisearch Journal)

ป่าชุมชน คือ ผืนป่าที่มีขนาดเล็ก แต่หากมีขนาดใหญ่ จะต้องไม่ใหญ่เกินกว่าที่ชุมชนจะดูแลฟื้นฟูได้ พื้นที่ป่าชุมชน เป็นพื้นที่ซึ่งได้รับการจัดการโดยกระบวนการของชุมชน เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ตามความประสงค์ของชุมชน อย่างยั่งยืน โดยทั่วไปจะมีการใช้ประโยชนืจากทรัพยากรป่าไม้ ทั้งที่เป็นเนื้อไม้ และไม่ใช่เนื้อไม้ และมีการออกระเบียบหรือ มาตรการบังคับทางสังคมในการดูแลจัดการ (กรมป่าไม้, 2537) ซึ่งป่าชุมชนมีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้ของ ประเทศไทย จังหวัดน่านมีการจัดตั้งป่าชุมชนซึ่งมีพื้นที่ทั้งหมด 240,753 ไร่ (กรมป่าไม้, 2562) จากการศึกษาทรัพยากรใน พื้นที่ป่าชุมชนในตำบลไหล่น่าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน พบว่าทรัพยากรในพื้นที่ป่าชุมชนดังกล่าวมีความหลากหลาย และยังมีความสำคัญต่อความมั่นคงทางอาหารของคนใน ท้องถิ่น และระบบนิเวศ เช่น พบนกจำนวน 29 วงศ์ 59 ชนิด พบเห็ด จำนวน 18 วงศ์ 28 สกุล 97 ชนิด ในจำนวนวงศ์ดังกล่าว เป็นเห็ดที่บริโภคได้จำนวน 48 ชนิด เช่น เห็ดระโงกขาว เห็ดแดง เห็ดถอบ เป็นต้น นอกจากนั้นยังพบปลาจำนวน 4 วงศ์ 13 สกุล 13 ชนิด พบแมลงในดิน จำนวน 17 อันดับ และ ไม่สามารถจำแนกได้ 1 อันดับ พื้นที่ป่าชุมชนในตำบลไหล่น่าน ยังสามารถกักเก็บธาตุคาร์บอนจากชั้นบรรยากาศได้เฉลี่ย 41.84 ตันคาร์บอนต่อแฮกแตร์ต่อปี ผลการประเมินมูลค่า ทางเศรษฐศาสตร์ พบว่าพื้นที่ป่าชุมชนแห่งนี้มีมูลค่าสูงถึง 2.52 ล้านบาทต่อปี (พงษ์ชัย ดำรงโรจน์วัฒนา และคณะ, 2559) อย่างไรก็ตาม การศึกษาพื้นที่ป่าชุมชนยังขาดการ รวบรวมองค์ความรู้และการถ่ายทอดความรู้จากผู้ใหญ่สู่ เยาวชนซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการอนุรักษ์ป่าของจังหวัดน่าน ดังนั้นโครงการ "การจัดการองค์ความรู้ป่าชุมชนโดยใช้ แนวคิดแบบจำลองเพื่อนคู่คิด : กรณีศึกษาตำบลไหล่น่าน จังหวัดน่าน" จึงได้สร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบเกม และสถานการณ์จำลองภายใต้แนวคิดแบบจำลองเพื่อนคู่คิด เพื่อเป็นเครื่องมือในการรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับป่าชุมชน ตำบลไหล่น่าน และใช้เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ของเยาวชนเกี่ยวกับการจัดการป่าชุมชน อันจะนำไปสู่การ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการพัฒนาป่าชุมชนอย่าง …


บทบรรณาธิการ Jan 2019

บทบรรณาธิการ

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการเฝ้าระวังปัญหาสิ่งแวดล้อมในจังหวัดฉะเชิงเทรา, ลือชัย ครุธน้อย Jan 2019

การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการเฝ้าระวังปัญหาสิ่งแวดล้อมในจังหวัดฉะเชิงเทรา, ลือชัย ครุธน้อย

UNISEARCH (Unisearch Journal)

จังหวัดฉะเชิงเทราเป็นจังหวัดหนึ่งในพื้นที่ภาคตะวันออกที่มีแหล่งกำเนิดมลพิษ เพิ่มขึ้น เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ สืบเนื่องจากการพัฒนาและความเหมาะสมของพื้นที่ชุมชนและภาคอุตสาหกรรมขยายตัวเพิ่มมากขึ้นมีแผนงานและโครงการพัฒนาพื้นที่โดยเข้าร่วมกับกรมโรงงานอุตสาหกรรมในโครงการดำเนินการพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2556 โครงการดังกล่าวได้จัดทำกิจกรรมและแผนงานสนับสนุนการดำเนินงานและแก้ไขปัญหาเพื่อเข้าสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town) โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศและอยู่ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ตามพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 ประกาศเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 เพื่อดำเนินการพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออกให้เป็นระบบและสอดคล้องกับหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมการประกอบพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ทันสมัย สร้างนวัตกรรม และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีการวางผังเมืองรวมเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ตระหนักถึง ปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต จึงกำหนดแนวทางในการบูรณาการเพื่อเฝ้าระวังแหล่งกำเนิด มลพษิ และเตรียมความพร้อมในการรับมือภัยพิบัติต่าง ๆ ตามประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 ของจังหวัดฉะเชิงเทรา คือ เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมเพื่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ และชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขโดยจัดให้มีการติดตามตรวจสอบวิเคราะห์ จัดทำบัญชีแหล่งกำเนิดมลพิษ พร้อมจัดทำแนวทางมาตรการในการเฝ้าระวัง แก้ไขปัญหา และเสริมสร้างประสิทธิภาพเครือข่ายภาคประชาชนให้มีความรู้ความเข้าใจในการเฝ้าระวังแหล่งกำเนิดมลพิษ เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือภัยพิบัติจากแหล่งกำเนิดมลพิษ ทั้งนี้ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการให้สภาพแวดล้อมของจังหวัดอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม


สัมภาษณ์ นววิจัยทางศิลปวัฒนธรรม รองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์, ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ Jan 2019

สัมภาษณ์ นววิจัยทางศิลปวัฒนธรรม รองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์, ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


"รอบตัวเรา" การสื่อสารเพื่อการพัฒนาสังคม, ทวีวงศ์ ศรีบุรี Jan 2019

"รอบตัวเรา" การสื่อสารเพื่อการพัฒนาสังคม, ทวีวงศ์ ศรีบุรี

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


แนะนำโครงการ การประยุกต์ใช้ข้อมูลฝนจากดาวเทียมสำหรับระบบปฏิบัติการเพื่อการคาดการณ์น้ำท่วม, ปิยธิดา เรืองรัศมี Jan 2019

แนะนำโครงการ การประยุกต์ใช้ข้อมูลฝนจากดาวเทียมสำหรับระบบปฏิบัติการเพื่อการคาดการณ์น้ำท่วม, ปิยธิดา เรืองรัศมี

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


สถานภาพความเป็นอาคารราชการเขียวและแนวทางการปรับปรุงกรณีศึกษา : กลุ่มอาคารคณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อรรจน์ เศรษฐบุตร, สุริยน ศิริธรรมปิติ Jan 2019

สถานภาพความเป็นอาคารราชการเขียวและแนวทางการปรับปรุงกรณีศึกษา : กลุ่มอาคารคณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อรรจน์ เศรษฐบุตร, สุริยน ศิริธรรมปิติ

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


สัมภาษณ์ นวัตกรรมเคมีชีวภาพทางเลือกสู่ความยั่งยืนของประเทศไทย, ณัฏฐา ทองจุล Jan 2019

สัมภาษณ์ นวัตกรรมเคมีชีวภาพทางเลือกสู่ความยั่งยืนของประเทศไทย, ณัฏฐา ทองจุล

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


บทบรรณาธิการ Jan 2019

บทบรรณาธิการ

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


การพัฒนาธุรกิจการจัดตั้งศูนย์เก็บน้ำเชื้อแช่แข็งโค แพะ และแกะในภาคเอกชนแห่งแรกในประเทศไทย, มงคล เตชะกำพุ, ธีรวัฒน์ สว่างจันทร์อุทัย, จันทร์เพ็ญ สุวิมลธีระบุตร, นายสัญญา สุภาพพรชัย Jan 2019

การพัฒนาธุรกิจการจัดตั้งศูนย์เก็บน้ำเชื้อแช่แข็งโค แพะ และแกะในภาคเอกชนแห่งแรกในประเทศไทย, มงคล เตชะกำพุ, ธีรวัฒน์ สว่างจันทร์อุทัย, จันทร์เพ็ญ สุวิมลธีระบุตร, นายสัญญา สุภาพพรชัย

UNISEARCH (Unisearch Journal)

ธุรกิจการค้าขายน้ำเชื้อในโคและแพะ เป็นธุรกิจปศุสัตว์ที่ทำรายได้ให้แก่ภาคเอกชน โดยทั่วไปการผลิตน้ำเชื้อมีสองรูปแบบคือ 1) การผลิตในประเทศจากหน่วยงานของกรมปศุสัตว์ ซึ่งมีศูนย์ผลิตน้ำเชื้อโคหลักอยู่ 3 ศูนย์ คือ ศูนย์ลำพญากลางศูนย์ขอนแก่น และศูนย์ดอยอินทนนท์ และทำการแจกจ่ายไปยังศูนย์ผสมเทียมทั่วประเทศเพื่อใช้ผสมกับแม่โคของเกษตรกรซึ่งข้อมูลจากกรมปศุสัตว์ชี้ให้เห็นว่า ในปี พ.ศ. 2561 (ข้อมูล ณ เดือนกันยายน) มีการผลิตน้ำเชื้อโคนมและโคเนื้อ ประมาณ900,000 โดส ส่วนการผลิตน้ำเชื้อแพะ มีที่ศููนย์ปากช่องและศูนย์สงขลา ส่วนในแกะไม่มีการผลิตแต่อย่างใด โดยการผลิตน้ำเชื้อดังกล่าวเป็นการผลิตเพื่อใช้ในประเทศเป็นส่วนใหญ่ 2) การนำเข้าน้ำเชื้อจากต่างประเทศโดยภาคเอกชน พบว่าในช่วงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557-พ.ศ. 2561 (ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม) มีการนำเข้าน้ำเชื้อโคพันธุ์ต่าง ๆ 834,619 โดส หรือประมาณปีละ 170,000 โดส


Role Of Natural Wetlands In Arsenic Removal From Arsenic-Contaminated Runoff, Vanlop Thathong, Netnapid Tantamsapya, Chatpet Yossapol, Chih-Hsiang Liao, Wanpen Wirojanagud Jan 2019

Role Of Natural Wetlands In Arsenic Removal From Arsenic-Contaminated Runoff, Vanlop Thathong, Netnapid Tantamsapya, Chatpet Yossapol, Chih-Hsiang Liao, Wanpen Wirojanagud

Applied Environmental Research

This research aims to identify the role of natural wetlands in arsenic (As) removal. Phu Lek wetland in Loei Province, Thailand, was selected as the study area. Monthly samples of water (144), plant (360), and sediment (144) were collected from the wetland for 24 months. As concentration in the surface water at the wetland inlet was 0.85±0.26 mg L-1, and 0.02±0.01 mg L-1 at the wetland outlet. It was observed that the As level in water decreased significantly along its flow path, with an As removal efficiency of 98 %. As concentration in the sediment was 89.53-356.22 mg kg-1 at …


Virulence Factors And Antibiotic Resistance Of Escherichia Coli O157:H7 Isolated From Ogun River, Abeokuta Metropolis, Nigeria, Lateefat M. Ewuoso, Saka A. Balogun, Sarafadeen O. Kareem, Temilade F. Akinhanmi Jan 2019

Virulence Factors And Antibiotic Resistance Of Escherichia Coli O157:H7 Isolated From Ogun River, Abeokuta Metropolis, Nigeria, Lateefat M. Ewuoso, Saka A. Balogun, Sarafadeen O. Kareem, Temilade F. Akinhanmi

Applied Environmental Research

Although Escherichia coli (E. coli)is a harmless gut microbe in man, some strains of this bacterium are pathogenic due to the acquisition of virulence factors. The aim of this study isto investigate E. coli O157:H7 strains isolated from Ogun River, Abeokuta metropolis, for virulence factors and antibiotic resistance. Water samples were collected bimonthly from six different locations over a period of six months. The samples were cultured on Sorbitol MacConkey Agar and E. coli O157:H7 isolates were confirmed through serological characterization using the latex agglutination test. The presence of virulence genes (stx1, stx2, eae, and hylA) in the isolates was …