Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 1921 - 1950 of 5570

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

Social Integration Of Chinese Students In Thai Society: The Case Of Chinese Students In Chulalongkorn University And Dhurakij Pundit University, Caoyi Zhang Jan 2019

Social Integration Of Chinese Students In Thai Society: The Case Of Chinese Students In Chulalongkorn University And Dhurakij Pundit University, Caoyi Zhang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

International students may not integrate as successfully and smoothly as has been assumed. These students may experience multiple challenges in their new social and academic host environments. As Chinese student is the majority and the main source of international students in Thailand, promotion for their better integration into Thai society should be done. Therefore, this study aims to investigate social life of Chinese students in Thailand and the factors that influent Chinese students’ integration into Thai society. The author chosen two representative universities as case study. The data was collected from observation and semi-structured interviews about integration in various domains …


Towards Sustainable Livelihoods In The Industrailizing Economy: A Case Study Of The Agricultural Communities In The Eastern Economic Corridor, Thailand, Sirapat Puttachoo Jan 2019

Towards Sustainable Livelihoods In The Industrailizing Economy: A Case Study Of The Agricultural Communities In The Eastern Economic Corridor, Thailand, Sirapat Puttachoo

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Whilst, the associated development policies and government services for agricultural development under Thailand 4.0 in the Eastern Economic Corridor has potential implication to provide the opportunity for the agricultural community to greater their income and enhance well-being. However, there are few studies assessing the community capacity toward those opportunities. The capacity is the key feature for community development. It can also become the justification for accessibility into the new dynamic of the structural development. Insufficient or mismatched capacity with the current innovation activity and economic system could become a barrier for the community to access the range of project’s benefits. …


เพศต้องห้าม: การวิเคราะห์ในเชิงอาชญาวิทยาและวิพากษ์โดยใช้ทฤษฎีเควียร์ถึงความรุนแรงในครอบครัวต่อทายาทชายที่มีความหลากหลายทางเพศ (Lgbtq) ในสังคมไทย, ณรงค์ศักดิ์ กล้าปราบโจร Jan 2019

เพศต้องห้าม: การวิเคราะห์ในเชิงอาชญาวิทยาและวิพากษ์โดยใช้ทฤษฎีเควียร์ถึงความรุนแรงในครอบครัวต่อทายาทชายที่มีความหลากหลายทางเพศ (Lgbtq) ในสังคมไทย, ณรงค์ศักดิ์ กล้าปราบโจร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยดังกล่าวเป็นการศึกษาถึงปัญหาความรุนแรงในครอบครัวของสังคมไทยต่อทายาทชายที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ซึ่งมีรูปแบบของสาเหตุความรุนแรงที่มี “ลักษณะพิเศษ” เนื่องจากการใช้ความรุนแรงต่อทายาทชายที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) นั้นล้วนเกิดจากการมลทินประทับ (Stigmatization) ว่าบุคคลที่มีอัตลักษณ์ทางเพศที่แตกต่างจากบรรทัดฐานทางสังคมนั้นเป็นสิ่งที่ “ผิดปกติ” และ “น่าอับอาย” จึงส่งผลให้พ่อและแม่เลือกวิธีการใช้ความรุนแรงในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเบี่ยงเบน (Deviant Behavior) ของทายาทให้กลับสู่ความเป็น “ปกติ” ตามบรรทัดฐานของสังคมที่ได้กำหนดไว้ จากการศึกษาวิจัย พบว่า สาเหตุของการใช้ความรุนแรงในครอบครัวต่อทายาทเพศต้องห้าม (LGBTQ) ของสังคมไทย ล้วนเกิดจากการมลทินประทับ (Stigmatization) ของสมาชิกในครอบครัว ว่าเป็นสิ่งที่ “แตกต่าง” ไปจากบรรทัดฐานทางสังคมโดยทั้งสิ้น ซึ่งการมลทินประทับต่อเพศสภาพที่หลากหลาย (LGBTQ) ของครอบครัวในสังคมไทยสามารถจำแนกได้ 4 รูปแบบ ดังนี้ 1) การมลทินประทับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ว่าเป็นผู้ที่มีความ “ผิดปกติ” “วิปริต” หรือเป็นความบกพร่องทางจิตรูปแบบหนึ่ง 2) การมลทินประทับว่าการมีทายาทชายที่เป็นบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) เป็นการบ่อนทำลายภาพลักษณ์ของครอบครัว 3) การมลทินประทับว่าทายาทชายที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ไม่สามารถสืบต่อสกุล / วงศ์ตระกูลได้ 4) การมลทินประทับว่าอนาคตของทายาทชายที่เป็นบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) จะต้องเผชิญกับความล้มเหลวในชีวิต ซึ่งจากการวิพากษ์โดยทฤษฎีเควียร์ (Queer Theory) ต่อการมลทินประทับของครอบครัวไทยต่อทายาทชายที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ทั้ง 4 รูปแบบ ก็ถือว่าเป็นการยืนยันถึงการ ”ดำรงอยู่” ของบรรทัดฐานทางสังคมแบบกลุ่มคนรักเพศตรงข้าม (Heteronormativity) ว่ายังคงมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของคนในสังคมไทยอยู่ ทั้งนี้ แนวทางการยุติความรุนแรงความรุนแรงในครอบครัวต่อทายาทเป็นผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับความร่วมมือจากครอบครัว ชุมชน และภาครัฐในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ควบคู่ไปกับการรื้อถอนการประกอบสร้างทางสังคม (Deconstruction) ว่าด้วยเรื่องของไม่เท่าเทียมทางเพศที่เกิดขึ้นในบริบทของสังคมไทย เพื่อธำรงไว้ซึ่งความเสมอภาคกันทางเพศ ตลอดจนการเคารพสิทธิและเสรีภาพในการเป็น “มนุษย์” คนหนึ่ง


Factors Affecting Backpackers Traveling To Thailand During 2009 To 2018, Pitchaya Chantharojwong Jan 2019

Factors Affecting Backpackers Traveling To Thailand During 2009 To 2018, Pitchaya Chantharojwong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Backpacker tourism is one of the travel categories that has become trending in the world. Thailand is one of choices that they choose to travel. There are several researchers define backpacker as the budget travelers because of their characteristic and life-style. In order to assess factors that may affect the number of backpackers traveling to Thailand, this study uses secondary data during years 2009 to 2018 which are obtained from websites. The factors are US real exchange rate, Thailand consumer price index and World Gross domestic product (GDP) growth rate. The Ordinary Least Squares regression (OLS) analysis is operated for …


Impact Of Climate Change On Agricultural Production : Paben Foods Case Study, Areeja Rana Jan 2019

Impact Of Climate Change On Agricultural Production : Paben Foods Case Study, Areeja Rana

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

With new weather patterns each year, it has become more and more challenging for farmers to maintain a consistent supply. This not only poses risks to communities but also agriculture-based business such as Paben Foods. Paben food’s main ingredient are chili, garlic and onions that are all highly sensitive to temperature changes. Studies have showcased that although the food industry has been impacted by climate change and are aware of the risks, they do not see it as an immediate concern. This paper shows that Paben foods’ suppliers in Thailand and India have been negatively affected by climate change. Additionally, …


Health-Conscious Working People And 7-11 Ready Meal, Kemika Sricharoenwong Jan 2019

Health-Conscious Working People And 7-11 Ready Meal, Kemika Sricharoenwong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Thailand’s urbanization and westernization, especially in Bangkok metropolitan has led into an alteration in dietary practices which relies more on convenience. Ready meal boxes from convenience store such as 7-eleven has increasingly gained popularity. Still, a disproportionate nutrition of Ready meal boxes seems to be contradictory with an increasing trend on health such as healthy food. This research paper explores whether health consciousness in terms of diet has an effect on working people’s decision to purchase 7-eleven ready meal boxes or not. Quantitive approach was employed where the data was obtained through online survey from 18 to 25 June, 2020. …


Testing The Determinants Of Stock Exchange Index Comovement In Thailand Stock Exchange, Nuntapat Asavaroengchai Jan 2019

Testing The Determinants Of Stock Exchange Index Comovement In Thailand Stock Exchange, Nuntapat Asavaroengchai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

A study into the effects of different macroeconomic variables on the comovement between the Stock Exchange of Thailand (SET) Index and the Standard & Poor's 500 (S&P 500). These effects are tested using OLS regression in an annual and quarterly frequency. Real Interest Rate Difference between the two countries is found to have a significant negative effect, likely due to investors turning to Thailand when it has higher real interest rate. Income Level is found to be a significant positive effect, as countries with higher income are more integrated with the US. As the economy naturally grows, it is likely …


การรับรู้ แรงจูงใจ และพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลต่อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, จุฑาลักษณ์ ทองประทุน Jan 2019

การรับรู้ แรงจูงใจ และพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลต่อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, จุฑาลักษณ์ ทองประทุน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ในรูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการรับรู้คุณค่าของผลิตภัณฑ์ แรงจูงใจด้านสิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียล รวมถึงวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้คุณค่าของผลิตภัณฑ์กับพฤติกรรมการซื้อ และความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจด้านสิ่งแวดล้อมกับพฤติกรรมการซื้อ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคคลเพศชายและเพศหญิงที่มีอายุระหว่าง 24-39 ปี อาศัยอยู่ในประเทศไทย และเป็นบุคคลที่รู้จัก เคยซื้อ หรือมีประสบการณ์กับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จำนวน 205 คน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้คุณค่าของผลิตภัณฑ์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีการรับรู้คุณค่าด้านสิ่งแวดล้อมมากที่สุด ในส่วนของแรงจูงใจด้านสิ่งแวดล้อม กลุ่มตัวอย่างมีแรงจูงใจด้านสิ่งแวดล้อมในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง แต่มีแรงจูงใจภายในอยู่ในระดับมาก ส่วนแรงจูงใจภายนอกอยู่ในระดับปานกลาง ในส่วนของพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญกับการเลือกซื้อเครื่องสำอางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยพิจารณาจากคุณภาพที่ได้มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ในระดับมากที่สุด จากการทดสอบสมมติฐานเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า การรับรู้คุณค่าของผลิตภัณฑ์มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเป็นความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง และพบว่า แรงจูงใจด้านสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเป็นความสัมพันธ์ในระดับปานกลางเช่นเดียวกัน


ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของมาตรการ Paperless ในกิจกรรม Back-Office ของภาครัฐไทย: ศึกษาเปรียบเทียบกรณีการประชุมคณะกรรมการ 2 หน่วยงาน, ธมลวรรณ เกิดจั่น Jan 2019

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของมาตรการ Paperless ในกิจกรรม Back-Office ของภาครัฐไทย: ศึกษาเปรียบเทียบกรณีการประชุมคณะกรรมการ 2 หน่วยงาน, ธมลวรรณ เกิดจั่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาในครั้งนี้ต้องการตอบคำถามที่ว่าปัจจัยใดส่งผลต่อความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านการประชุมคณะกรรมการไปสู่การประชุมแบบไร้กระดาษ โดยศึกษาหน่วยงานที่ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่าน และศึกษาหน่วยงานที่ยังคงใช้กระดาษในการประชุมคณะกรรมการ เพื่อค้นหาปัจจัยที่ส่งเสริมหรือเป็นอุปสรรค หากมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่การประชุมคณะกรรมการแบบไร้กระดาษ โดยอาศัยแนวคิดทฤษฎีรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-government) เนื่องจากมาตรการไร้กระดาษและรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์เป็นการเปลี่ยนกระบวนการทำงานโดยอาศัยเทคโนโลยี งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา โดยเลือกคณะกรรมการของหน่วยงานภาครัฐในระดับสำนักงานมาศึกษา 2 หน่วยงาน โดยหน่วยงานแรกจัดเป็นหน่วยงานที่เปลี่ยนผ่านไปสู่รูปแบบไร้กระดาษได้สำเร็จ ส่วนหน่วยงานที่สองยังอยู่ในรูปแบบใช้กระดาษ โดยมีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและกรรมการในคณะกรรมการ ประกอบการศึกษาเอกสารประกอบการประชุมและเข้าสังเกตการณ์ในการประชุมคณะกรรมการด้วย ผลการวิจัย พบว่าปัจจัยที่เคยเป็นอุปสรรคต่อการใช้เทคโนโลยี เช่นกฎหมายและความเชื่อมั่นของคนที่มีต่อการใช้งานเทคโนโลยี เป็นปัญหาน้อยลง ในด้านกฎหมาย เพราะมีกฎหมายออกมารองรับมากขึ้น โดยเฉพาะพระราชกำหนดว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2563 แต่ในทางปฏิบัติ พบว่าในกระบวนการประชุมคณะกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่งสามารถมอบหมายผู้แทนเข้าร่วมประชุม โดยอาศัยหลักการปฏิบัติราชการแทนจากพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ซึ่งระบุว่าในการมอบอำนาจจะต้องทำเป็นหนังสือ และในด้านความเชื่อมั่นของคนที่มีต่อการใช้งานเทคโนโลยี เนื่องจากวิถีชีวิตที่พึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น ทำให้ทัศนคติที่มีต่อการใช้งานเทคโนโลยีของคนเปลี่ยนไป นอกจากนั้น ยังพบว่าการมีผู้นำองค์กรที่มุ่งผลักดันการเปลี่ยนแปลงเป็นปัจจัยสำคัญของการเปลี่ยนผ่านที่สำเร็จ และงานวิจัยนี้ยังค้นพบปัจจัยเพิ่มเติมอีกหนึ่งปัจจัย ได้แก่ ผู้ช่วยด้านเทคโนโลยี ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผู้ใช้งานเทคโนโลยีมือใหม่มีทัศนคติอันดีต่อการใช้ และยอมรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่การประชุมคณะกรรมการในรูปแบบไร้กระดาษได้ในที่สุด


ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ของผู้สูงอายุ, จุไรรัตน์ ดาทอง Jan 2019

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ของผู้สูงอายุ, จุไรรัตน์ ดาทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อ COVID-19 ของผู้สูงอายุ 2) วิเคราะห์พฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อ COVID-19 ของผู้สูงอายุ 3) นำเสนอแนวทางในการบริหารจัดการด้านสุขภาพการป้องกันโรคติดเชื้อ COVID-19 ของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเทศบาลเมืองบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จำนวน 102 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความถี่ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติเชิงอนุมาน (Inferential statistics) ได้แก่ Independent Sample T-test, One-Way ANOVA และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Correlation) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 76.5 อายุช่วง 60-70 ปีมากที่สุด ส่วนใหญ่จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายร้อยละ 32.4 และมีโรคประจำตัวร้อยละ 53.9 ซึ่งกลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อ COVID-19 อยู่ในระดับสูงคิดเป็นร้อยละ 97.1 ส่วนปัจจัยด้านบุคคล พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษาและภาวะการมีโรคประจำตัวไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อ COVID-19 ในด้านความเชื่อด้านสุขภาพที่ประกอบด้วย ปัจจัยการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเป็นโรค การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้ภาวะคุกคามของโรค การรับรู้ประโยชน์ที่จะได้รับ การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติ และความต้องการสนับสนุนบริการสุขภาพไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อ COVID-19 แต่ปัจจัยด้านสิ่งชักนำหรือสิ่งกระตุ้นมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อ COVID-19 ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ความต้องการได้รับการสนับสนุนบริการสุขภาพอยู่ในระดับสูงร้อยละ 73.5 โดยส่วนใหญ่มีความต้องการหน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์เจลล์ ข้อมูลข่าวสารในการป้องกันโรค ความต้องการเข้าถึงบริการตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อโรคโควิด 19 ส่วนใหญ่ต้องการตรวจคัดกรองโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และการได้รับข้อมูลข่าวสารและให้คำปรึกษาจากภาครัฐ


The Role Of Ethnic Chinese In Thailand's Banking Sector Development: The Case Study Of Bangkok Bank's Business Strategy, Shenglan Zheng Jan 2019

The Role Of Ethnic Chinese In Thailand's Banking Sector Development: The Case Study Of Bangkok Bank's Business Strategy, Shenglan Zheng

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Ethnic Chinese people have actively participated in Thailand's economic activities throughout history. In the early 20th century, the ethnic Chinese family groups burrowed into the power-base of the economy - the banking industry in Thailand. The purpose of this study is to investigate the role of ethnic Chinese and their business strategy in Thailand’s banking sector development during the formative years of the banking industry. This study finds that ethnic Chinese attempted to establish commercial banks in Thailand before WWII but failed in competition with European capitals, while the European-owned banks could not succeed without hiring Chinese compradors to bridge …


การสร้างสรรค์สื่อสาระบันเทิงออนไลน์ เพื่อให้ความรู้ด้านการสื่อสารผ่านหลักปฏิบัติด้านสื่อสารการแสดง, ชัยวิชิต พงษ์พากเพียร Jan 2019

การสร้างสรรค์สื่อสาระบันเทิงออนไลน์ เพื่อให้ความรู้ด้านการสื่อสารผ่านหลักปฏิบัติด้านสื่อสารการแสดง, ชัยวิชิต พงษ์พากเพียร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง "การสร้างสรรค์สื่อสาระบันเทิงออนไลน์ เพื่อให้ความรู้ด้านการสื่อสารผ่านหลักปฏิบัติด้านสื่อสารการแสดง" มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหลักในการสร้างสรรค์สื่อสาระบันเทิงออนไลน์ ที่ให้ความรู้และความบันเทิงแก่ผู้รับสาร และ เพื่อสร้างสรรค์สื่อสาระบันเทิงออนไลน์ ที่ให้ความรู้ด้านการสื่อสารผ่านหลักปฏิบัติด้านสื่อสารการแสดง ผลการวิจัยพบว่า หลักในการสร้างสรรค์สื่อสาระบันเทิงออนไลน์ เป็นการสร้างสรรค์สื่อที่ผสมผสานทั้งสาระความรู้และความบันเทิงเข้าด้วยกัน เพื่อเผยแพร่ผ่านช่องทางออนไลน์ สาระความรู้ที่เลือกมานำเสนอต้องมีความชัดเจน และมีแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ นำเสนออย่างเข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน และมีความสมดุลในเนื้อหาสาระและความบันเทิง ในการสร้างสรรค์สื่อสาระบันเทิงออนไลน์ ต้องให้ความสำคัญทั้งขั้นก่อนการผลิต คือ การเตรียมเนื้อหา ขั้นกระบวนการผลิต รวมทั้งขั้นหลังกระบวนการผลิต และการเผยแพร่ ประเด็นการให้ความรู้ด้านการสื่อสารผ่านหลักปฏิบัติด้านสื่อสารการแสดง เป็นประเด็นเนื้อหาสาระที่เลือกนำมาศึกษา ทั้งนี้ในการสร้างสรรค์สื่อสาระบันเทิงออนไลน์สามารถนำเอาองค์ความรู้ในด้านอื่น ๆ มาปรับใช้ในการสร้างสรรค์ได้ เพื่อทำให้ผู้เรียนสามารถได้รับความรู้และความเพลิดเพลินในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้สื่อสาระบันเทิงออนไลน์สามารถนำไปเป็นสื่อประกอบการเรียนการสอนในห้องเรียนได้


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมในการแก้ปีชงของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร, บดีศร อัฑฒ์วงศ์ไพศาล Jan 2019

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมในการแก้ปีชงของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร, บดีศร อัฑฒ์วงศ์ไพศาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการแก้ปีชงของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ ด้วยเครื่องมือการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม จำนวนทั้งสิ้น 400 คน บุคคลนั้นจะเป็นผู้ที่เคยแก้ปีชง จำนวน 200 คน และไม่เคยแก้ปีชง จำนวน 200 คน ซึ่งจะประมวลผลโดยใช้โปรแกรมSPSS ผลการวิจัยพบว่าผู้ที่เคยแก้ปีชงและไม่เคยแก้ปีชงนั้นมีการเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการแก้ปีชงที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.001 สำหรับผู้ที่เคยแก้ปีชงนั้นมีการเปิดรับสื่อและความถี่เกี่ยวกับการแก้ปีชงประเภทสื่อมวลชนในระดับต่ำ ประเภทสื่อรูปแบบใหม่อยู่ในระดับปานกลาง และประเภทสื่อบุคคลในระดับปานกลาง โดยมีทัศนคติเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องปีชงอยู่ในระดับเชื่อมั่นปานกลาง ทั้งนี้ผู้ที่เคยแก้ปีชงนั้นมีพฤติกรรมในการแก้ปีชงในระดับปานกลาง ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายในการแก้ปีชงอยู่ที่ 101 – 500 บาท สำหรับผู้ที่ไม่เคยแก้ปีชงนั้นมีการเปิดรับสื่อและความถี่เกี่ยวกับการแก้ปีชงประเภทสื่อมวลชนในระดับต่ำ ประเภทสื่อรูปแบบใหม่ในระดับต่ำ และประเภทสื่อบุคคลในระดับต่ำ โดยทัศนคติเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องปีชงอยู่ในระดับไม่เชื่อมั่น ทั้งนี้ผู้ที่ไม่เคยแก้ปีชงนั้นมีพฤติกรรมในการไปแก้ปีชง (ที่คาดว่าจะทำเมื่อไปแก้ปีชง) ในระดับต่ำ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายที่คิดจะใช้เมื่อไปแก้ปีชงอยู่ที่ต่ำกว่า 100 บาท


ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุกับบุตรและภาวะปัญหาทางสุขภาพจิตของผู้สูงอายุไทย, เศรษฐการ หงษ์ศิริ Jan 2019

ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุกับบุตรและภาวะปัญหาทางสุขภาพจิตของผู้สูงอายุไทย, เศรษฐการ หงษ์ศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุกับบุตรและภาวะปัญหาทางสุขภาพจิต รวมไปถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะปัญหาทางสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลชั้นทุติยภูมิจากการสำรวจผู้สูงอายุภายใต้โครงการการเปลี่ยนแปลงทางประชากรและความอยู่ดีมีสุขในบริบทสังคมสูงวัย พ.ศ. 2559 ซึ่งจัดทำโดยวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) ที่มีบุตรมีชีวิตอย่างน้อย 1 คน จำนวนทั้งสิ้น 4,812 คน สำหรับการศึกษาในครั้งนี้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยทวินามลบที่มีผลกระทบจากศูนย์ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า มีผู้สูงอายุราวร้อยละ 59.93 ที่รายงานว่าตนมีปัญหาทางสุขภาพจิตอย่างน้อย 1 อาการ ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ผู้สูงอายุในกลุ่มนี้มีอาการโดยเฉลี่ยประมาณ 2.04 อาการ ในส่วนของความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุกับบุตร พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ราวร้อยละ 88.32 มีความสัมพันธ์กับบุตรอยู่ในระดับดี โดยผู้สูงอายุร้อยละ 47.90 มีบุตรที่มีความสัมพันธ์กันดีมาก และร้อยละ 2.58 เท่านั้นที่มีบุตรที่มีความสัมพันธ์กันไม่ดีเลย จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุกับบุตรและภาวะปัญหาทางสุขภาพจิต ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุเพศชายที่มีความสัมพันธ์กับบุตรในระดับดี และมีบุตรอย่างน้อย 1 คนที่มีความสัมพันธ์กันในระดับดีมาก มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับภาวะปัญหาทางสุขภาพจิต ในทุกแบบจำลอง ในขณะที่ ผู้สูงอายุเพศหญิงที่มีความสัมพันธ์กับบุตรในระดับดี มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับภาวะปัญหาทางสุขภาพจิต เฉพาะในแบบจำลองที่ 1 เท่านั้น เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะปัญหาทางสุขภาพจิต ภายหลังเพิ่มการควบคุมอิทธิพลของปัจจัยอื่น ๆ พบว่า ปัจจัยด้านสุขภาพ ได้แก่ การประเมินสุขภาพตนเอง และความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานและขั้นสูง และปัจจัยการเกื้อหนุนระหว่างรุ่น ได้แก่ รูปแบบการอยู่อาศัย การให้เงินแก่บุตร เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุกับบุตรและภาวะปัญหาทางสุขภาพจิตด้วย นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยด้านประชากรและสังคม ได้แก่ อายุ สถานภาพสมรส การศึกษา เขตที่อยู่อาศัย ภูมิภาค ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ ระดับรายได้ ความเพียงพอของรายได้ และปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ได้แก่ การเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะปัญหาทางสุขภาพจิต อย่างไรก็ดี ความสัมพันธ์ดังกล่าวมีความแตกต่างไปตามเพศของผู้สูงอายุด้วย


สถานการณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะมีบุตรยากของสตรีไทย : ข้อค้นพบจากการสำรวจระดับประเทศ, ฤทธิเกียรติ งามสมศักดิ์ Jan 2019

สถานการณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะมีบุตรยากของสตรีไทย : ข้อค้นพบจากการสำรวจระดับประเทศ, ฤทธิเกียรติ งามสมศักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) รายงานสถานการณ์ของการรายงานภาวะมีบุตรยาก และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรายงานภาวะมีบุตรยาก ด้วยปัจจัยทางประชากร ปัจจัยอนามัยเจริญพันธุ์ ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม ปัจจัยสุขภาพ และปัจจัยของคู่สมรส ของสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่มีสถานภาพกำลังสมรสแต่ยังไม่เคยมีบุตรในประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้ใช้ข้อมูลการสำรวจระดับประเทศซึ่งเป็นข้อมูลเชิงปริมาณจากการสำรวจของโครงการการเปลี่ยนแปลงทางประชากรและความอยู่ดีมีสุขในบริบทสังคมสูงวัย ของวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งดำเนินการจัดเก็บข้อมูลในเดือนมิถุนายนถึงกันยายม พ.ศ.2559 มีกลุ่มประชากรตัวอย่างเป็นสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่มีอายุระหว่าง 15 ถึง 49 ปี โดยการศึกษาครั้งนี้คัดเลือกเฉพาะสตรีที่มีอายุระหว่าง 25 ถึง 49 ปี มีสถานภาพกำลังสมรสแต่ยังไม่เคยมีบุตร และมีข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ที่สมบูรณ์ทั้งหมด 548 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลในการศึกษานี้ใช้การวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกทวิภาค (Binary Logistic Regression Analysis) โดยมีตัวแปรตามเป็นการรายงานภาวะมีบุตรยากของสตรี กำหนดให้ 0 แสดงถึงสตรีที่ไม่มีการรายงานภาวะมีบุตรยาก (กลุ่มอ้างอิง) 1 แสดงถึง สตรีที่รายงานภาวะมีบุตรยาก ผลการศึกษาพบว่า สตรีมากกว่าครึ่ง คิดเป็นร้อยละ 51.5 รายงานภาวะมีบุตรยาก ซึ่งส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 35 ถึง 39 ปี โดยร้อยละ 61 ของสตรีกลุ่มนี้รายงานว่าตนเองมีบุตรยาก ทั้งนี้เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับการรายงานภาวะมีบุตรยากพบว่า ปัจจัยทางประชากร ได้แก่ อายุของสตรี จำนวนบุตรที่ปรารถนา ปัจจัยอนามัยเจริญพันธุ์ ได้แก่ การใช้การคุมกำเนิด การแท้ง ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม ได้แก่ ระดับการศึกษาสตรี เขตที่อยู่อาศัย มีความสัมพันธ์กับการรายงายภาวะมีบุตรยากของสตรี


Historical Evolution Of Bangkok(1782-1910): From Water-Basedcity To The Emergence Of Road-Based City, Chunni Wu Jan 2019

Historical Evolution Of Bangkok(1782-1910): From Water-Basedcity To The Emergence Of Road-Based City, Chunni Wu

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This paper focuses on the development process of Bangkok involving its transformation into a road-based city and eventually the ‘real center’ of Siam during 1782-1910. Even though its development into a road-based city was not directly related to its transformation into the real center of the kingdom, this important change significantly enhanced its power-center status. From the time Bangkok was designated to be the seat of royal government in 1782, the city gradually became a ‘floating city’ with a relatively prosperous network of waterways through continuous efforts of the former three sovereigns before King Rama IV and King Rama V …


Loyalty Of Taylor Swift's Fans And Their Uses Of Social Media During Crisis Regarding Music Ownership Controversy, Nidawan Asavataweechok Jan 2019

Loyalty Of Taylor Swift's Fans And Their Uses Of Social Media During Crisis Regarding Music Ownership Controversy, Nidawan Asavataweechok

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objectives of this research were to study fans loyalty, fans’ perception on crisis management of Taylor Swift, and their uses of social media and to explore the relationship among these three variables. Two hundred and twenty-three respondents who are Taylor Swift’s fans, aged between 18 and 35 years old were asked to complete an online questionnaire survey. The results depicted that the respondents had a positive opinion about fans loyalty (M = 4.39). Moreover, the respondents had a positive perception on crisis management of Taylor Swift (M = 4.53) and use social media in a positive way (M = …


การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อจำแนกลำดับศักย์ของถนน: กรณีศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา, สิทธิพงค์ กลิ่นกระจาย Jan 2019

การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อจำแนกลำดับศักย์ของถนน: กรณีศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา, สิทธิพงค์ กลิ่นกระจาย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พระราชบัญญัติทางหลวงแบ่งประเภทถนนในประเทศไทยตามหน่วยที่ดูแลรับผิดชอบเป็นหลัก แต่เนื่องด้วยประโยชน์การใช้งานมีความแตกต่างกันทั้งการบริการ การเคลื่อนที่ของการจราจร และการเข้าถึงพื้นที่ ซึ่งจะสะท้อนการใช้งานหรือประโยชน์ใช้สอยของถนนแต่ละสาย ส่งผลถึงการบำรุงรักษา การออกแบบ การวางผังคมนาคม และการกำหนดมาตรการควบคุมความเร็วที่เหมาะสมกับหน้าที่ของถนนแต่ละประเภท ดังนั้น การจำแนกถนนตามหน้าที่การใช้งานจริง จะช่วยให้การวางแผนงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น งานวิจัยนี้จึงศึกษาและจำแนกลำดับศักย์ของถนนตามหน้าที่การใช้งานจริง โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ร่วมกับตรรกศาสตร์คลุมเครือ และกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่าทางหลวงแผ่นดินมีหน้าที่การใช้งานจริงตามลำดับศักย์ทั้ง 4 ลำดับ ได้แก่ ทางสายประธาน ทางสายหลัก ทางสายรอง และทางสายย่อย โดยส่วนใหญ่เป็นทางสายหลัก (ร้อยละ 44) ทางหลวงชนบท มีการใช้งานจริงใน 2 ลำดับ ได้แก่ ทางสายรอง และทางสายย่อย โดยส่วนใหญ่เป็นทางสายย่อย (ร้อยละ 72) สำหรับทางหลวงท้องถิ่น มีการใช้งานจริงใน 3 ลำดับ ได้แก่ ทางสายหลัก ทางสายรอง และทางสายย่อย โดยส่วนใหญ่เป็นทางสายย่อย (ร้อยละ 98) ทั้งนี้ จากการจำแนกถนนทั้งหมดตามลำดับศักย์ของหน้าที่การใช้งานจริง พบว่าเป็นทางสายประธาน ร้อยละ 2 ทางสายหลัก ร้อยละ 5 ทางสายรอง ร้อยละ 9 และส่วนใหญ่เป็นทางสายย่อย ร้อยละ 84 ตามลำดับ


รูปแบบโรงเรียนที่เหมาะสมกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี, กนกวรรณ รุ้งตาล Jan 2019

รูปแบบโรงเรียนที่เหมาะสมกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี, กนกวรรณ รุ้งตาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง “รูปแบบโรงเรียนที่เหมาะสมกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสอดคล้องระหว่างยุทธศาสตร์ชาติกับการบริหารโรงเรียน ซึ่งหน่วยงานภาครัฐจะต้องให้ความสำคัญ โดยเปรียบเทียบระหว่างโรงเรียนทางเลือกกับโรงเรียนรูปแบบเดิม เพื่อพิจารณาความสามารถในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงคนสู่ศตวรรษที่ 21 และการนำยุทธศาสตร์ชาติไปปฏิบัติ โดยอาศัยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพในการศึกษากระบวนการปฏิบัติงานของโรงเรียนตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) และใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณเพื่อพิจารณาความสอดคล้องในการถ่ายทอดยุทธศาสตร์การศึกษาแห่งชาติไปสู่การปฏิบัติ ผลการศึกษาพบว่าโรงเรียนรูปแบบเดิมให้ความสำคัญกับการถ่ายทอดยุทธศาสตร์ระดับประเทศมาสู่ระดับโรงเรียนอย่างมาก เห็นได้จากมีการคำนึงถึงยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อนำมากำหนดยุทธศาสตร์โรงเรียน ส่วนโรงเรียนทางเลือกไม่ได้มุ่งให้ความสำคัญกับยุทธศาสตร์ระดับประเทศ แต่การจัดการเรียนการสอนมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระดับประเทศ ด้วยเหตุที่โรงเรียนเหล่านี้อาศัยการถอดบทเรียนจากประเทศที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาการศึกษาโดยตรง โรงเรียนทางเลือกจึงถือเป็น “ผู้มาก่อนกาล” จากการจัดการเรียนการสอนที่คำนึงถึงบริบทโลก ซึ่งการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติก็คำนึงถึงบริบทเดียวกัน ส่งผลให้ยุทธศาสตร์ของโรงเรียนทางเลือกมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติโดยปริยาย


การดำเนินงานของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่อประเด็นชาวโรฮิงญา, ภัทราวรรณ แก้วกรอง Jan 2019

การดำเนินงานของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่อประเด็นชาวโรฮิงญา, ภัทราวรรณ แก้วกรอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้ว่าด้วยเรื่องการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่อประเด็นชาวโรฮิงญา โดยมุ่งศึกษาถึงประสิทธิภาพในการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในการจัดการและตอบสนองต่อประเด็นปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในภูมิภาคระหว่างปี 2009-2017 และนำปัญหาชาวโรฮิงญามาเป็นกรณีศึกษา งานวิจัยฉบับนี้จะใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ รวมถึงอาศัยทฤษฎีสรรสร้างนิยมเพื่อนำมาประกอบการวิเคราะห์ จากการศึกษาพบว่า การดำเนินงานของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในการจัดการและตอบสนองต่อประเด็นปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคต้องดำเนินอยู่ภายใต้ข้อจำกัดสำคัญ 2 ประการ ได้แก่ 1. ปัจจัยที่เกิดจากภายในภูมิภาค คือ บรรทัดฐานที่ใช้กำกับความสัมพันธ์ภายในองค์กรหรือเป็นที่รู้จักในนามของวิถีอาเซียน ได้ส่งผลต่อการกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ทำให้ไม่สามารถดำเนินงานได้อย่างอิสระ รวมถึงส่งผลให้คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนปราศจากอำนาจเข้าไปตรวจสอบปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนและลงโทษต่อประเทศผู้กระทำผิด วิถีอาเซียนจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนกลายเป็นองค์กรที่ไม่มีอำนาจในการปกป้องประชาชนได้อย่างแท้จริง และ 2. ปัจจัยที่เกิดจากภายนอกภูมิภาค คือ อิทธิพลของบรรทัดฐานในเรื่องสิทธิมนุษยชนจากประเทศภายนอกภูมิภาค ซึ่งมีปฏิสัมพันธ์กับปัจจัยภายในรวมถึงการกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนได้รับกระแสวิพากษ์วิจารณ์และแรงกดดันจากประเทศภายนอกภูมิภาคมาโดยตลอด เนื่องจากความผิดหวังต่อการจัดการปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในภูมิภาคที่มีสาเหตุมาจากการตีความในเรื่องสิทธิมนุษยชนที่แตกต่างจากภายนอกภูมิภาค รวมถึงการจัดการกับประเด็นปัญหาชาวโรฮิงญาในเรื่องของการตีความเกี่ยวกับผู้ลี้ภัย เนื่องจากประเทศสมาชิกอาเซียนส่วนใหญ่ไม่มีกฎหมายจารีตประเพณีที่จะสามารถนำมาใช้ในการให้ความช่วยเหลือและรองรับกับปัญหาผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาได้อย่างเป็นรูปธรรม อย่างไรก็ตามกระแสวิพากษ์วิจารณ์และแรงกดดันไม่สามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนไปจากเดิม แต่อิทธิพลของบรรทัดฐานในเรื่องสิทธิมนุษยชนจากประเทศภายนอกภูมิภาคที่เข้ามาได้มีการนำมาปรับใช้ให้สอดรับกับวิถีอาเซียน เพื่อนำไปสู่บรรทัดฐานที่ประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถยอมรับได้


นโยบายของอียิปต์ต่อองค์การสันนิบาตอาหรับ (The Arab League) ในยุคประธานาธิบดีมูฮัมหมัด อันวาร์ ซาดัต ระหว่างค.ศ. 1970-1981, อาลาอุดดีน กะด๊ะ Jan 2019

นโยบายของอียิปต์ต่อองค์การสันนิบาตอาหรับ (The Arab League) ในยุคประธานาธิบดีมูฮัมหมัด อันวาร์ ซาดัต ระหว่างค.ศ. 1970-1981, อาลาอุดดีน กะด๊ะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาเกี่ยวกับนโยบายของอียิปต์ต่อสันนิบาตอาหรับในยุคประธานาธิบดีมูฮัมหมัด อันวาร์ ซาดัต ระหว่างค.ศ. 1970-1981 ผู้วิจัยได้ใช้กรอบแนวคิดเกี่ยวกับการวิเคราะห์นโยบายต่างประเทศที่ประกอบไปด้วยหลายตัวแปรเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายของอียิปต์ต่อสันนิบาตอาหรับและบทบาทของอียิปต์ในสันนิบาตอาหรับภายใต้การนำของประธานาธิบดีซาดัต สมมติฐานในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้คือ ปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายของอียิปต์ต่อสันนิบาตอาหรับเกิดมาจากทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายในประกอบด้วย ปัจจัยเกี่ยวกับตัวบุคคล ปัจจัยด้านการเมือง และปัจจัยด้านเศรษฐกิจ และปัจจัยภายนอก คือ การดำเนินนโยบายของสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกา


ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการสูงวัยอย่างประสบความสำเร็จของผู้สูงอายุตอนต้นและผู้สูงอายุตอนกลาง ที่อาศัยในกรุงเทพมหานคร, วิลาวัลย์ วาริชนันท์ Jan 2019

ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการสูงวัยอย่างประสบความสำเร็จของผู้สูงอายุตอนต้นและผู้สูงอายุตอนกลาง ที่อาศัยในกรุงเทพมหานคร, วิลาวัลย์ วาริชนันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสูงวัยอย่างประสบความสำเร็จในผู้สูงอายุตอนต้นและผู้สูงอายุตอนกลาง และศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการสูงวัยอย่างประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย การรับรู้เวลาที่เหลือในชีวิต ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล ความเครียด และจำนวนโรค ในผู้สูงอายุตอนต้นและผู้สูงอายุตอนกลาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้คือ ผู้สูงอายุตอนต้น ที่มีอายุ 60 – 69 ปี (M = 64.81 ปี, SD = 2.82 ปี) จำนวน 124 คนและผู้สูงอายุตอนกลางที่มีอายุ 70 -79 ปี (M = 73.62 ปี, SD = 2.81 ปี) จำนวน 90 คน ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยการตอบผ่านแบบสอบถามและวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการวิจัยพบว่า 1) การสูงวัยอย่างประสบความสำเร็จในผู้สูงอายุตอนต้นไม่แตกต่างจากผู้สูงอายุตอนกลาง 2) การรับรู้เวลาที่เหลือในชีวิต (β = .306, p < .001) และภาวะซึมเศร้า (β = -.453, p < .001) สามารถร่วมกันทำนายความแปรปรวนของการสูงวัยอย่างประสบความสำเร็จในผู้สูงอายุตอนต้นได้ร้อยละ 41.3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ภาวะซึมเศร้า (β = -184, p < .001) สามารถทำนายความแปรปรวนของการสูงวัยอย่างประสบความสำเร็จในผู้สูงอายุตอนกลางได้ร้อยละ 19.6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 งานวิจัยนี้สามารถสรุปได้ว่า ผู้สูงอายุตอนต้นที่ไม่มีภาวะซึมเศร้าและมีการรับรู้เวลาที่เหลือในชีวิตมาก มีแนวโน้มจะเป็นผู้สูงวัยอย่างประสบความสำเร็จ และผู้สูงอายุตอนกลางที่ไม่มีภาวะซึมเศร้ามีแนวโน้มจะเป็นผู้สูงวัยอย่างประสบความสำเร็จ


ผลของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาที่มุ่งเน้นการฝึกสติ การยอมรับและพันธสัญญาที่มีต่อความเมตตากรุณาต่อตนเอง ความเข้มแข็งทางจิตใจ และความมั่นหมายของนักกีฬาเยาวชนไทย, กฤตพล รังสิยานนท์ Jan 2019

ผลของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาที่มุ่งเน้นการฝึกสติ การยอมรับและพันธสัญญาที่มีต่อความเมตตากรุณาต่อตนเอง ความเข้มแข็งทางจิตใจ และความมั่นหมายของนักกีฬาเยาวชนไทย, กฤตพล รังสิยานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยแบบการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาที่มุ่งเน้นการฝึกสติ การยอมรับและพันธสัญญาที่มีต่อความเมตตากรุณาต่อตนเอง ความเข้มแข็งทางจิตใจ และความมั่นหมายของนักกีฬาเยาวชนไทย โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้ คือ นักกีฬาเยาวชนไทยที่มีอายุ 15-25 ปี ซึ่งมีคะแนนความเมตตากรุณาต่อตนเองต่ำกว่าค่าเฉลี่ย จำนวน 82 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 39 คน กลุ่มควบคุม 43 คน โดยกลุ่มทดลองจะเข้าร่วมกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาที่มุ่งเน้นการฝึกสติ การยอมรับและพันธสัญญาสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ชั่วโมง รวม 7 ครั้ง คิดเป็นเวลาทั้งสิ้น 14 ชั่วโมง โดยกลุ่มตัวอย่างตอบแบบวัดความเมตตากรุณาต่อตนเอง (Self-compassion) แบบวัดความเข้มแข็งทางจิตใจ (Mental toughness) และแบบวัดความมั่นหมาย (Grit) ข้อมูลที่ได้รับถูกนำมาวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนามแบบวัดซ้ำและระหว่างกลุ่ม โดยมีผลวิจัยดังต่อไปนี้ 1. หลังการเข้าร่วมกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาที่มุ่งเน้นการฝึกสติ การยอมรับและพันธสัญญา กลุ่มทดลองมีคะแนนความเมตตากรุณาต่อตนเอง (Self-compassion) เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนการเข้าร่วมกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .003 แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในช่วงหลังการเข้าร่วมกลุ่ม 2. หลังการเข้าร่วมกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาที่มุ่งเน้นการฝึกสติ การยอมรับและพันธสัญญา กลุ่มทดลองมีคะแนนความเข้มแข็งทางจิตใจ (Mental toughness) เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนการเข้าร่วมกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .009 แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในช่วงหลังการเข้าร่วมกลุ่ม 3. หลังการเข้าร่วมกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาที่มุ่งเน้นการฝึกสติ การยอมรับและพันธสัญญา กลุ่มทดลองมีคะแนนความมั่นหมาย (Grit) เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนการเข้าร่วมกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .008 แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในช่วงหลังการเข้าร่วมกลุ่ม


เกมสยองขวัญและเกมผีไทยบนแพลตฟอร์มดิจิทัลกับทุนทางวัฒนธรรม, ธิมา ไหมแพง Jan 2019

เกมสยองขวัญและเกมผีไทยบนแพลตฟอร์มดิจิทัลกับทุนทางวัฒนธรรม, ธิมา ไหมแพง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง “เกมสยองขวัญและเกมผีไทยบนแพลตฟอร์มดิจิทัลกับทุนทางวัฒนธรรม” มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาการสร้าง ‘ขนบ’ (Convention) และ ‘ประดิษฐกรรม’ (Invention) ของเกมสยองขวัญและเกมผีไทย และ (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนทางวัฒนธรรมกับการผลิตเนื้อเรื่อง การออกแบบตัวละคร และการกำหนดอุดมการณ์ ความเชื่อและค่านิยม ของเกมสยองขวัญและเกมผีไทย การวิจัยครั้งนี้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Methodology) โดยผู้วิจัยศึกษาและมุ่งทำความเข้าใจผ่านการวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) ของเกม Araya เกม Home Sweet Home และ เกม Forbidden Love with The Ghost Girl ในด้าน ‘ขนบ’ และ ‘ประดิษฐกรรม’ และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) ผู้ผลิตเกม เพื่อศึกษาทุนทางวัฒนธรรมที่มีผลต่อการผลิตเกมสยองขวัญและเกมผีไทย ผลการศึกษาแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 คือ ตระกูลเนื้อหาที่ได้จากการวิเคราะห์ตัวบท โดยพบว่าเกมสยองขวัญและเกมผีไทยยังคงสะท้อนอุดมการณ์ ความเชื่อ และค่านิยมให้แก่สังคมในด้านความเชื่อเรื่องผี ความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ ความเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด และความเชื่อเรื่องเวรกรรม นอกจากนี้ยังปรากฏอุดมการณ์ ความเชื่อและค่านิยมแฝงที่สะท้อนคุณค่าทางสังคม คือ อุดมการณ์เรื่องเพศ โดยตัวละครผีหลักในทั้ง 3 เกมที่ศึกษาเป็นเพศหญิง ซึ่งถูกสร้างให้มีอารมณ์ความรู้สึกรุนแรง ไร้เหตุผล รวมถึงลักษณะของเพศที่เป็นเหยื่อของสังคมยามเมื่อมีชีวิต โดยสะท้อนภาพสังคมชายเป็นใหญ่ ส่วนที่ 2 คือ ความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนทางวัฒนธรรมกับการผลิตเกม โดยพบว่าผู้ผลิตเกมเป็นแรงงานฐานความรู้ (Knowledge Based-worker) ซึ่งได้รับการศึกษาในระดับอุดมศึกษา และได้รับทุนทางวัฒนธรรมจากทุนที่เป็น “รูปแบบสถาบัน” (Institutionalized Form) และ “ทุนที่เป็นรูปธรรม” (Objectified Form) ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม การเรียนรู้ทุนทางวัฒนธรรมได้ก่อให้เกิดทุนทางวัฒนธรรมที่ฝังอยู่ในตัวบุคคลหรือกลุ่มบุคคล (Embodied Form) ซึ่งสร้าง “โลกทัศน์” ให้กับผู้ผลิตเกม 3 ด้าน คือ โลกทัศน์เกี่ยวกับผี โลกทัศน์เกี่ยวกับศาสนาและไสยศาสตร์ …


บทบาทและความรับผิดชอบของผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายไทยตามหลักสากลว่าด้วยมาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน, พรภัทร์ รอดโพธิ์ทอง บุญถนอม Jan 2019

บทบาทและความรับผิดชอบของผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายไทยตามหลักสากลว่าด้วยมาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน, พรภัทร์ รอดโพธิ์ทอง บุญถนอม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่องบทบาทและความรับผิดชบของผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายไทยตามหลักสากล ว่าด้วยมาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่ของผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายที่อาจส่งผลต่อการปรับใช้มาตรฐานสากล รวมถึงมาตรการ ระเบียบปฏิบัติ และนโยบายกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยเรื่องการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมาย เพื่อวิเคราะห์ความจำเป็นและความเหมาะสมในการหาแนวทางปฏิบัติของผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการค้นคว้าเอกสารวิชาการ กฎหมาย แลระเบียบต่างๆประกอบกับการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและหาแนวทางสรุป ผลการวิจัยพบว่าประเทศไทยยังมีความบกพร่องด้านกรอบของกฎหมายตามข้อแนะนำที่ 22 ในส่วนของการกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายมีหน้าที่ในการรู้จักตัวตนของลูกความ การตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริง อันจะนำไปสู่การรายงานธุรกรรมที่น่าสงสัย ส่งผลให้มาตรฐานของประเทศไทยอาจไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่ทัดเทียมมาตรฐานสากล ซึ่งในการพิจารณากำหนดหน้าที่ดังกล่าว ประเทศไทยจำต้องพิจารณาความเหมาะสมระหว่างสิทธิเสรีภาพของข้อมูลส่วนบุคคลกับหน้าที่การรายงานธุรกรรมและการคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะหรือความรับผิดชอบต่อสังคมภายใต้จริยธรรมแห่งวิชาชีพ ดังนั้นการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินได้อย่างเบ็ดเสร็จนั้น ผู้วิจัยเห็นว่าประเทศไทยควรตรากฎหมายให้ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายมีหน้าที่ต้องรายงานตามมาตรฐานของ FATF ในส่วนของสภาทนายความควรกำหนดบทบาทหน้าที่ให้ชัดเจนและมีการขึ้นทะเบียนให้ครอบคลุมทุกประเภทของผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมาย เพื่อกำกับดูแลคุณภาพและยกระดับมาตรฐานวิชาชีพ ขณะที่ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายต้องตระหนักถึงคุณธรรมและจริยธรรมและมีอุดมการณ์ในการให้บริการทางกฎหมาย คำนึงถึงประโยชน์สาธารณะและความรับผิดชอบต่อสังคม และควรมีความรู้ความเข้าใจในความเสี่ยงและความเปราะบางของวิชาชีพที่อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือในการฟอกเงิน ทั้งนี้บทบาทหน้าที่ดังกล่าว มิได้เพียงแต่เพื่อแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อสังคมเท่านั้น แต่เป็นมาตรการที่ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายได้เป็นส่วนหนึ่งของการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป


การกระทำความผิดทางอาญากับอาชญากรรมที่เกิดจากความเกลียดชัง (Hate Crime) ในประเทศไทย, ลดาวัลย์ ใยมณี Jan 2019

การกระทำความผิดทางอาญากับอาชญากรรมที่เกิดจากความเกลียดชัง (Hate Crime) ในประเทศไทย, ลดาวัลย์ ใยมณี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อาชญากรรมที่เกิดจากความเกลียดชังเป็นอาชญากรรมประเภทหนึ่งที่ประเทศไทยยังไม่มีการบัญญัติไว้ในกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตามประเทศไทยนั้นเผชิญหน้ากับอาชญากรรมประเภทนี้มาเป็นเวลายาวนานแล้ว ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาปรากฏการณ์ของอาชญากรรมที่เกิดจากความเกลียดชังในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อวิเคราะห์ประเภทของอาชญากรรมที่เกิดจากความเกลียดชังในประเทศไทย เพื่อศึกษาสาเหตุและมูลเหตุจูงใจของผู้กระทำความผิด และเพื่อเสนอแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหา จากการศึกษาวิจัย 17 กรณีศึกษา ในประเทศไทยพบว่า ในส่วนของประเภทของอาชญากรรมที่เกิดจากความเกลียดชังนั้น ประเทศไทยมี 4 ประเภทคือ ประเภทที่หนึ่ง พวกที่ทำเพื่อความสนุกสนาน ประเภทที่สอง พวกทำเพื่อป้องกันหรือโต้กลับ ประเภทที่สาม พวกปฏิบัติตามหน้าที่ และประเภทที่สี่ พวกที่ได้ยินเรื่องเล่าลือว่ามีผู้ทำร้ายคนในกลุ่มเดียวกับตนเอง จึงลงมือประกอบอาชญากรรมในลักษณะการแก้แค้นทดแทน ส่วนมูลเหตุจูงใจที่พบมี 4 ประเภทคือ มูลเหตุจูงใจจากสถาบันชั่วคราวหรือการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย มูลเหตุจูงใจที่มาจากเพศ มูลเหตุจูงใจที่มาจากเชื้อชาติ สัญชาติ และศาสนา และมูลเหตุจูงใจที่มาจากอัตลักษณ์หรือรสนิยมทางเพศ ส่วนสาเหตุที่ทำให้ประกอบอาชญากรรมที่เกิดจากความเกลียดชังนั้นคือ ฐานะทางเศรษฐกิจ การไม่ประสบความสำเร็จทางการศึกษา การชอบดูละครที่มีทัศนคติเป็นลบ การคบเพื่อนฝูงที่ประกอบอาชญากรรม และการที่ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ ส่วนแนวทางการป้องกันและแก้ไขนั้นสามารถกระทำได้โดยใช้สองมาตรการ โดยมาตรการทางกฎหมายและมาตรการทางสังคม ในส่วนของผู้วิจัยนั้นสนับสนุนให้ใช้มาตรการทางสังคมนำมาตรการทางกฎหมาย


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเป็นผู้ต้องขังชั้นเลวมากและแนวทางการพัฒนาพฤตินิสัย, วีรวัฒน์ บุญนิกูล Jan 2019

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเป็นผู้ต้องขังชั้นเลวมากและแนวทางการพัฒนาพฤตินิสัย, วีรวัฒน์ บุญนิกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรและพฤติกรรมการกระทำผิดของผู้ต้องขังชั้นเลวมาก เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการถูกลดชั้นเป็นผู้ต้องขังชั้นเลวมาก และเพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาพฤตินิสัยของผู้ต้องขังที่ตกเป็นผู้ต้องขังที่ชั้นเลวมาก โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพโดยนำข้อมูลทุติยภูมิจากระบบฐานข้อมูลผู้ต้องขังที่จัดเก็บด้วยระบบคอมพิวเตอร์ การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ต้องขังชั้นเลวมากเพื่อจัดทำกรณีศึกษา จำนวน 15 คน และการจัดประชุมกลุ่มย่อยเจ้าหน้าที่ในเรือนจำ 3 แห่ง คือ ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง เรือนจำกลางบางขวาง และ เรือนจำกลางคลองเปรม ผลการศึกษาพบว่า การตกเป็นผู้ต้องชั้นเลวมาก แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ 1.) ผู้ต้องขังกลุ่มที่กระทำผิดซ้ำเกิน 3 ครั้งขึ้นไป 2.) ผู้ต้องขังชั้นเลวมากที่เกิดจากการถูกลดชั้นจากการกระทำผิดวินัยเรือนจำ และ3.)ผู้ต้องขังกระทำผิดตามประกาศกระทรวงยุติธรรม เรื่อง กำหนดความผิดในคดีอุกฉกรรจ์คดีสะเทือนขวัญ หรือคดีที่เป็นที่สนใจของประชาชน พ.ศ.2563 ผลการศึกษา พบว่า ผู้ต้องขังชั้นเลวมาก ส่วนใหญ่เป็นชาย เป็นกลุ่มผู้ต้องขังที่กระทำผิดซ้ำเกิน 3 ครั้งขึ้นไป กระทำผิดในคดียาเสพติดมากที่สุด ส่วนใหญ่จบการศึกษาเพียงระดับประถมศึกษา รับจ้างทั่วไป ส่วนใหญ่กระทำผิดตั้งแต่อายุยังน้อย เกี่ยวข้องกับอบายมุขและถูกไล่ออกจากโรงเรียน มีพฤติกรรมต่อต้านสังคม (Antisocial) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเป็นผู้ต้องขังชั้นเลวมากพบว่า ปัจจัยด้านความผูกพันทางสังคม ปัจจัยด้านการถูกตีตราจากสังคม ปัจจัยด้านการเรียนรู้พฤติกรรมในเรือนจำมีส่วนทำให้ผู้ต้องขังตกเป็นผู้ต้องขังชั้นเลวมาก อย่างไรก็ตามจากการประชุมกลุ่มย่อยเจ้าหน้าที่ยังเห็นว่าคนกลุ่มนี้สามารถแก้ไขปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้แต่อาจต้องใช้ระยะเวลาและออกแบบโปรแกรมเฉพาะสำหรับผู้ต้องขังชั้นเลวมาก ซึ่งมีพฤติกรรมแตกต่างจากผู้ต้องขังกลุ่มอื่น


อาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์: ศึกษากรณีชาวโรฮีนจาในประเทศเมียนมา, สัณหวรรณ ศรีสด Jan 2019

อาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์: ศึกษากรณีชาวโรฮีนจาในประเทศเมียนมา, สัณหวรรณ ศรีสด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ “อาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์: ศึกษากรณีชาวโรฮีนจาในประเทศเมียนมา” ฉบับนี้ มุ่งศึกษาปัจจัย สถานการณ์ และรูปแบบปฏิสัมพันธ์ของคนกลุ่มต่าง ๆ ที่อาจนำไปสู่อาชญากรรมที่มีลักษณะของอาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ โดยนำสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในรัฐยะไข่ ประเทศเมียนมา ในระหว่างปี พ.ศ. 2555 ถึงปี พ.ศ. 2560 มาพิจารณาประกอบกับทฤษฎีการกระทำร่วมกัน หรือ Collective Action Theory ซึ่งเป็นทฤษฎีอาชญาวิทยาที่ถูกสร้างขึ้นเพื่ออธิบายอาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยเฉพาะ ทั้งนี้ จากผลการศึกษาพบว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่รัฐยะไข่ โดยเฉพาะความรุนแรงที่เกิดแก่ชาวโรฮีนจาในปีพ.ศ. 2559 และ 2560 นั้นมีลักษณะเป็นการประกอบอาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ตามบทนิยามของอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษอาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ โดยมีทั้งองค์ประกอบด้านการกระทำและด้านเจตนาพิเศษ เมื่อนำมาปรับเข้ากับทฤษฎีการกระทำร่วมกันพบว่าสถานการณ์ในรัฐยะไข่สนับสนุนทฤษฎีการกระทำร่วมกัน โดยมีองค์ประกอบต่าง ๆ ตามทฤษฎี ได้แก่ องค์ประกอบเกี่ยวกับระบอบการปกครอง มีการรวมกลุ่มสังคม มีการสร้างตัวตนสูง และมีเจตนาร่วมกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่เป็นการหักล้างข้อเท็จจริงที่ว่ายังมีสถานการณ์ที่มีลักษณะเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อื่น ๆ ที่เกิดขึ้นแต่พบว่าไม่สอดคล้องกับทฤษฎีการกระทำร่วมกัน และทฤษฎีดังกล่าวยังจำต้องถูกปรับปรุงต่อไป เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างคตินิยมของบุคคลทั่วไปต่ออัตลักษณ์ชาวโรฮีนจา และปัจจัยที่หล่อหลอมโครงสร้างและสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมในรัฐยะไข่ที่นำไปสู่การลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของชาวโรฮีนจาและพัฒนาไปสู่การประกอบอาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ตามทฤษฏีการกระทำร่วมกันยังพบว่าปัจจัยทางด้านภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ ชาติพันธุ์ ศาสนา รูปแบบการปกครอง การจำกัดสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และการสร้างความเกลียดชังในพื้นที่ล้วนเป็นองค์ประกอบของปัจจัยข้างต้นที่เอื้อต่อการใช้ความรุนแรงในรัฐยะไข่ทั้งทางตรงและทางอ้อม แนวทางการแก้ไขและป้องกันอาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในพื้นที่รัฐยะไข่ประเทศเมียนมานั้นคือการกำจัดองค์ประกอบทั้งหลายตามทฤษฎีการกระทำร่วมกันมิให้เกิดขึ้น ทั้งการเร่งกระบวนการเปลี่ยนผ่านการปกครอง การสนับสนุนให้มีการยอมรับความแตกต่างและยุติการเลือกปฏิบัติทั้งในความเป็นจริงและทางกฎหมาย การแก้ปัญหาความไม่เป็นธรรมในทางเศรษฐกิจและสังคม ยุติโครงการใด ๆ ที่เอื้อให้พลเรือนเข้าร่วมการปฏิบัติการทางการทหาร และนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ เป็นต้น


Poverty And Corruption As Determinants Of Global Antimicrobial Resistance, Lyvia Ann Sanders Guerrier De Dumast Jan 2019

Poverty And Corruption As Determinants Of Global Antimicrobial Resistance, Lyvia Ann Sanders Guerrier De Dumast

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Antimicrobial resistance is a major threat to global public health and is believed to cause over 700,000 deaths per year. Efforts to tackle this problem have tended to focus on reducing antibiotic consumption and promoting the appropriate use of medicines. This study examines the relative importance of other socio-economic factors, more specifically poverty (Gross National Income per capita) and corruption (measured by quality of governance), in determining antibiotic resistance compared to use of antibiotics. Using panel data of 48 countries in 2008-2017, a fixed-effects multivariate analysis was used. Sobel tests and mediation analyses were also carried out to determine the …


The Politics Of Mobility, Structuration, And Infrastructure: A Case Study Of Myanmar Migrant Workers Under The Migrant Worker Management Regime In Thailand, Polwish Subsrisunjai Jan 2019

The Politics Of Mobility, Structuration, And Infrastructure: A Case Study Of Myanmar Migrant Workers Under The Migrant Worker Management Regime In Thailand, Polwish Subsrisunjai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The migrant worker management regime in Thailand has been operated to deal with the flow of migrant workers between Thailand and the neighbouring countries for almost 30 years. Several studies portray the production of the regime through various mechanisms such as non-citizen control system, documents regime, the employment process, policies and regulations, and classification of migrant workers. Under these studies, migrant workers have been presented in two distinct narratives; one is short-term labours, who are controlled and exploited by the regime, another is economic migrants, who migrate from home country to destination country in pursuance of incremental benefits. This thesis …