Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 2101 - 2130 of 5570

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

การเปิดรับข่าวสารและการยอมรับนวัตกรรมบัตรเดบิตเพื่อการท่องเที่ยวของผู้บริโภค, ฉัตรพิไลย หอมไกรลาศ Jan 2019

การเปิดรับข่าวสารและการยอมรับนวัตกรรมบัตรเดบิตเพื่อการท่องเที่ยวของผู้บริโภค, ฉัตรพิไลย หอมไกรลาศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง “การเปิดรับข่าวสารและการยอมรับนวัตกรรมบัตรเดบิตเพื่อการท่องเที่ยวของผู้บริโภค” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับข่าวสารและการยอมรับนวัตกรรมของผู้บริโภค และความแตกต่างของลักษณะทางประชากรของผู้บริโภคต่อการเปิดรับข่าวสารและการยอมรับนวัตกรรมในการเลือกใช้บัตรเดบิตเพื่อการท่องเที่ยว โดยเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณซึ่งใช้วิธีรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามเก็บกลุ่มตัวอย่างจำนวน 204 คน ที่มีบัตรเดบิตเพื่อการท่องเที่ยวและเคยมีการใช้เพื่อซื้อสินค้าและบริการในต่างประเทศอย่างน้อย 1 ครั้งในช่วงเวลา 1 ปีที่ผ่านมา ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างให้คะแนนการเปิดรับข่าวสารผ่านช่องทางสื่อออนไลน์สูงที่สุด ในช่องทางการค้นหา (Search Engine) เช่น Google เป็นต้น, เฟซบุ๊ก, บล็อกเกี่ยวกับการท่องเที่ยว และเว็บไซต์ธนาคารผู้ให้บริการตามลำดับ และกลุ่มตัวอย่างยอมรับนวัตกรรมที่มีคุณลักษณะในประเด็นความสามารถเรียนรู้วิธีการใช้งานบัตรเดบิตเพื่อการท่องเที่ยวได้ด้วยตัวเอง การใช้งานบัตรเดบิตเพื่อการท่องเที่ยวทำให้การซื้อสินค้าและบริการในต่างประเทศเป็นไปได้โดยง่าย ความสามารถเห็นการเคลื่อนไหวของธุรกรรมได้ทันที และการมีความสะดวกสบายในการใช้บัตรเดบิตเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับซื้อสินค้าและบริการในต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ลักษณะทางประชากรด้าน เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ที่แตกต่างกันของผู้บริโภคไม่มีความแตกต่างในการเปิดรับข่าวสารและการยอมรับนวัตกรรมในการเลือกใช้บัตรเดบิตเพื่อการท่องเที่ยว


พฤติกรรมผู้บริโภคและคุณค่าตราสินค้าของแอปเปิ้ลวอทช์, ปรัชธินีย์ ชนะโอภาส Jan 2019

พฤติกรรมผู้บริโภคและคุณค่าตราสินค้าของแอปเปิ้ลวอทช์, ปรัชธินีย์ ชนะโอภาส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมผู้บริโภคต่อสินค้า Apple Watch ซึ่งได้แก่ การรับรู้ของผู้บริโภค ทัศนคติของผู้บริโภค พฤติกรรมการซื้อสินค้า และความพึงพอใจของผู้บริโภค และ 2) คุณค่าตราสินค้า Apple ของผู้บริโภค อันประกอบด้วย การตระหนักรู้ในตราสินค้า การเชื่อมโยงตราสินค้า คุณภาพของตราสินค้าที่ถูกรับรู้ และความภักดีต่อตราสินค้า โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเพศชายและเพศหญิง อายุระหว่าง 25-35 ปี จำนวน 211 คน ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร รวมถึงเป็นผู้ซื้อและใช้สินค้า Apple Watch มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคมีพฤติกรรมต่อ Apple Watch และคุณค่าตราสินค้าต่อ Apple ทั้ง 4 ตัวแปรย่อยในเชิงบวกทุกตัวแปรย่อยที่วัด นอกจากนั้น พฤติกรรมผู้บริโภคต่อสินค้า Apple Watch ทั้ง 4 ตัวแปรย่อย มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณค่าตราสินค้า Apple อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


กระบวนการคัดเลือก พัฒนาบทบาทนักแสดง และการเพิ่มมูลค่าให้กับนักแสดงซีรีส์วาย, ธันวา ว่องนราธิวัฒน์ Jan 2019

กระบวนการคัดเลือก พัฒนาบทบาทนักแสดง และการเพิ่มมูลค่าให้กับนักแสดงซีรีส์วาย, ธันวา ว่องนราธิวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษากระบวนการคัดเลือกนักแสดง และ การพัฒนาบทบาทนักแสดงสำหรับตัวละครคู่หลักในซีรีส์วาย และ เพื่อศึกษาการเพิ่มมูลค่าให้กับนักแสดงซีรีส์วาย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก และ การสังเกต กับบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องใน กระบวนการคัดเลือกนักแสดง พัฒนาบทบาทนักแสดง และ การเพิ่มมูลค่าให้กับนักแสดงซีรีส์วาย ได้แก่ ผู้กำกับซีรีส์วาย นักแสดงซีรีส์วาย ผู้จัดการนักแสดงซีรีส์วาย และ แบรนด์สินค้าที่ใช้นักแสดง ซีรีส์วายจำนวน 8 ท่าน จากซีรีส์ ด้ายแดง และ ธารไทป์ เดอะซีรีส์ ผลการวิจัยพบว่ากระบวนการคัดเลือกนักแสดงซีรีส์วายสามารถแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้การคัดเลือกแบบเปิด การคัดเลือกแบบปิด และ การคัดเลือกแบบผสม ซึ่งกระบวนการคัดเลือกนักแสดงซีรีส์วาย สามารถแบ่งได้เป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ การเตรียมการทดสอบนักแสดง การทดสอบนักแสดงซีรีส์วาย และ การพิจารณาการคัดเลือกนักแสดง ซึ่งมีข้อค้นพบที่แตกต่างกับซีรีส์ทั่วไปคือกระบวนการคัดเลือกนักแสดงซีรีส์วายต้องมีการศึกษานิยายวายเพื่อวิเคราะห์บทบาทนักแสดง และ ต้องมีการทดสอบในเรื่องของเคมีคู่ของนักแสดงซีรีส์วาย ในการพัฒนาบทบาทนักแสดงซีรีส์วายสามารถแบ่งได้เป็น 4 ขั้นตอนดังนี้ การเวิร์คช็อปด้านการแสดง การเตรียมบุคลิกภาพภายนอกให้ตรงตามตัวละคร การพัฒนาทักษะพิเศษให้กับนักแสดง และ การสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีของทีมงานซีรีส์วาย ซึ่งมีข้อค้นพบที่แตกต่างกับซีรีส์ทั่วไปตรงที่ ทีมงานซีรีส์วายควรมีการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีของทีมงานซีรีส์วายให้กับนักแสดง ในการเพิ่มมูลค่าให้กับนักแสดงซีรีส์วาย แบ่งได้เป็น 7 ขั้นตอนดังนี้ การพัฒนาทักษะให้กับตัวเอง การเตรียมตัวให้พร้อมเป็นส่วนหนึ่งกับแบรนด์สินค้า การใช้โซเชียลมีเดียในการเพิ่มมูลค่าให้กับนักแสดง การเดินสายโปรโมทกับสื่อมวลชน การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับนักแสดงซีรีส์วาย การทำให้เกิดกระแสกับคู่ของตัวเอง และ การสร้างผลงานใหม่ ๆ ซึ่งมีข้อค้นพบที่แตกต่างกับซีรีส์ทั่วไปตรงที่นักแสดงซีรีส์วายห้ามเปิดตัวคู่รักในที่สาธารณะ นักแสดงซีรีส์วายควรมีจิตสำนึก และ ความรู้เพื่อที่จะสามารถเพิ่มมูลค่า และ รักษาไว้ซึ่งมูลค่าที่สร้างไว้เกี่ยวกับเรื่อง 3 เรื่องดังต่อไปนี้ ความไวต่อวัฒนธรรม การสร้างการมีส่วนร่วม และ ความถูกต้องทางการเมือง


การเลือกเปิดรับ ความผูกพัน และการใช้ประโยชน์รายการ “R U Ok” บนยูทูบของคนวัยทำงาน, ทรรศสม เพชรพรหมศร Jan 2019

การเลือกเปิดรับ ความผูกพัน และการใช้ประโยชน์รายการ “R U Ok” บนยูทูบของคนวัยทำงาน, ทรรศสม เพชรพรหมศร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการเลือกเปิดรับ ความผูกพันและการใช้ประโยชน์รายการ R U OK บนยูทูบของคนวัยทำงาน และเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง การเลือกเปิดรับ ความผูกพัน และการใช้ประโยชน์รายการ R U OK บนยูทูบของคนวัยทำงาน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มผู้ฟังรายการ R U OK บนยูทูบ วัยทำงาน อายุ 23 – 45 ปี ฟังรายการ จำนวน 200 คน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการเลือกเปิดรับอยู่ในระดับต่ำ มีความถี่ในการรับฟังรายการ 1 วัน/สัปดาห์ ระยะเวลาการรับฟังรายการแต่ละครั้ง 21 – 30 นาที โดยมีลักษณะในการรับฟังรายการแบบรับฟังตั้งแต่ต้นตอน จนจบเป็นบางครั้ง ด้านความผูกพันพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความผูกพันต่อรายการ R U OK บนยูทูบโดยรวมอยู่ในระดับต่ำ กลุ่มตัวอย่างมีการใช้ประโยชน์รายการ R U OK บนยูทูบโดยรวมอยู่ในระดับสูง โดยเป็นการใช้ประโยชน์ด้านข่าวสาร ด้านการกำหนดเอกลักษณ์ของปัจเจกบุคคล ด้านการรวมกลุ่มและการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ด้านความบันเทิง และด้านการตัดสินใจ ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ความถี่ในการรับชมรายการ R U OK บนยูทูบ ไม่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันโดยรวมต่อรายการของผู้ฟังวัยทำงาน ในขณะที่ ความผูกพันต่อรายการ R U OK บนยูทูบโดยรวมมีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์จากการรับชมรายการ R U OK บนยูทูบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้เป็นความสัมพันธ์ระดับต่ำมากและมีทิศทางแบบแปรตามกัน เมื่อพิจารณาอย่างละเอียดพบว่า ความผูกพันโดยรวมมีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์ ด้านการตัดสินใจ ด้านการรวมกลุ่มและการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และด้านการกำหนดเอกลักษณ์ของปัจเจกบุคคล ขณะที่ด้านข่าวสารและด้านความบันเทิงพบว่าไม่มีความสัมพันธ์


การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ และภาพลักษณ์กองทัพเรือ ของผู้ใช้เฟซบุ๊กแฟนเพจกองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ, นงลักษณ์ จิตต์อารีย์ Jan 2019

การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ และภาพลักษณ์กองทัพเรือ ของผู้ใช้เฟซบุ๊กแฟนเพจกองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ, นงลักษณ์ จิตต์อารีย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) ด้วยการใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ (Online questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และทำการศึกษากับกลุ่มตัวอย่างเฉพาะผู้ติดตามเฟซบุ๊กแฟนเพจกองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ จำนวน 200 คน ช่วงเวลาที่เก็บแบบสอบถามคือเดือนมิถุนายน 2563 และประมวลผลข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS ผลการวิจัย มีดังนี้ 1) ผู้ติดตามเฟซบุ๊กแฟนเพจกองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ รู้จักเฟซบุ๊กแฟนเพจจากที่เพื่อนแบ่งปัน (Share) ข้อมูลในช่องทางออนไลน์ อาทิ เว็บไซต์ เฟซบุ๊ก ไลน์ เป็นต้น 2) ค่าเฉลี่ยการเปิดรับข่าวสารโดยรวมอยู่ในระดับน้อย 3) ความถี่ในการเห็นโพสต์จากหน้า New Feed 1 - 2 ครั้งต่อสัปดาห์ 4) ความถี่ในการเข้าชมแฟนเพจ 1 - 2 ครั้ง ต่อสัปดาห์ 5) ค่าเฉลี่ยระยะเวลาในการเข้าชมแฟนเพจแต่ละครั้งน้อยกว่า 15 นาที 6) มีความสนใจในเนื้อหาของเพจเรื่องการชี้แจงเหตุการณ์ที่สังคมกำลังให้ความสนใจเกี่ยวกับกองทัพเรือมากที่สุด 7) มีความรู้เกี่ยวกับกองทัพเรืออยู่ในระดับสูง 8) มีความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์กองทัพเรือในเชิงบวกอยู่ในระดับมากที่สุด 9) มีความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์กองทัพเรือในเชิงบวกด้านการดำเนินงานของกองทัพเรือมากที่สุด 10) การเปิดรับข่าวสาร ไม่มีความสัมพันธ์กับ ความรู้เกี่ยวกับกองทัพเรือ 11) การเปิดรับข่าวสาร มีความสัมพันธ์กับ ความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์กองทัพเรือ 12) ความรู้เกี่ยวกับกองทัพเรือ มีความสัมพันธ์กับ ความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์กองทัพเรือ


พฤติกรรมผู้ปกครองต่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยผ่านยูทูบ, ณัฐนรี ทินนโชติ Jan 2019

พฤติกรรมผู้ปกครองต่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยผ่านยูทูบ, ณัฐนรี ทินนโชติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้ปกครองต่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยผ่าน YouTube รวมถึงศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ปกครองต่อการรับชม YouTube ของเด็ก โดยเก็บข้อมูลกับผู้ปกครอง อายุระหว่าง 26 ถึง 56 ปี และมีบุตรหลานที่กำลังศึกษาในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึง 3 จำนวน 217 คน ผลการวิจัยพบว่า โดยรวมผู้ปกครองมีทัศนคติเชิงบวกต่อการรับชม YouTube ของเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทัศนคติด้านการรับชม YouTube ทำให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ๆ พัฒนาการด้านภาษา และพัฒนาการจากความรู้ต่างประเทศ และผู้ปกครองส่วนใหญ่มีพฤติกรรมเชิงบวกต่อการรับชม YouTube โดยเน้นไปที่ด้านการให้ความรู้กับเด็กเกี่ยวกับสื่อ นอกจากนี้ยังพบว่า ทัศนคติรวมและพฤติกรรมของผู้ปกครองต่อการรับชม YouTube ของเด็กมีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการให้บริการด้านสุขภาพจิตโครงการ Depress We Care ซึมเศร้า เราใส่ใจกรณีศึกษากลุ่มเป้าหมายข้าราชการตำรวจ, ณทชา เย็นทรวง Jan 2019

ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการให้บริการด้านสุขภาพจิตโครงการ Depress We Care ซึมเศร้า เราใส่ใจกรณีศึกษากลุ่มเป้าหมายข้าราชการตำรวจ, ณทชา เย็นทรวง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ข้าราชการตำรวจเป็นบุคลากรที่มีอำนาจหน้าที่ในการป้องกันปราบอาชญากรรม รวมทั้งอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชน เป็นอาชีพที่ได้รับความกดดันจากการทำงาน นำไปสู่ภาวะซึมเศร้า และปัญหาการเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลตำรวจ จึงได้จัดตั้งโครงการ Depress we care ซึมเศร้า เราใส่ใจ ขึ้นและสร้างช่องทางการให้บริการด้านสุขภาพจิตผ่านการส่งข้อความทางอินบ๊อกซ์เพจเฟสบุ๊คและสายด่วน เพื่อหวังที่จะแก้ปัญหาดังกล่าว ทว่ากลับมีข้าราชการตำรวจที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักเข้าร่วมโครงการและติดต่อเข้ามาน้อย สารนิพนธ์ฉบับนี้จึงทำขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่ออธิบายถึงสถานการณ์ ปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินการโครงการ ปัจจัยภายในและภายนอกที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโครงการ รวมถึงหาข้อเสนอแนะในการพัฒนาการดำเนินการในโครงการ ต่อกลุ่มเป้าหมายข้าราชการตำรวจให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิผล ผ่านการรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์ในกรอบซิปป์โมเดล ประกอบด้วยปัจจัยด้านบริบท ปัจจัยตัวป้อนเข้า ปัจจัยด้านกระบวนการ ที่ส่งผลต่อประสิทธิผล ซึ่งในการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การแจกแบบสอบถามแก่ข้าราชการตำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวน 385 คน ร่วมกับการสัมภาษณ์บุคลากรผู้ดำเนินโครงการ พบว่าปัจจัยด้านบริบทที่ขัดขวางเป็นปัจจัยทางสังคม ทั้งวัฒนธรรมองค์กร ทัศนคติของผู้บังคับบัญชาที่มีต่อผู้ที่เข้ารับการรักษา และความรู้ ความเข้าใจของข้าราชการตำรวจที่มีต่อโครงการ ส่วนปัจจัยตัวป้อนเข้าและปัจจัยด้านกระบวนการเองก็ยังต้องมีการเพิ่มเติมทรัพยากรบุคคลหากต้องการรองรับการให้บริการที่มีปริมาณมากขึ้นในอนาคต และต้องเพิ่มเติมการประชาสัมพันธ์ไปยังกลุ่มเป้าหมายมากขึ้นเพื่อขยายประสิทธิผลในการรับรู้โครงการให้มากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่ประสิทธิผลในการเข้าร่วม และผลลัพธ์สูงสุดในการลดการเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายของข้าราชการตำรวจต่อไป


การศึกษาทฤษฎีผลักดันเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการจัดเก็บรายได้ กรณีการตรวจสอบหลังการตรวจปล่อย ณ สถานประกอบการ ของกองตรวจสอบอากร กรมศุลกากร, ฐาปนี ธุระพ่อค้า Jan 2019

การศึกษาทฤษฎีผลักดันเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการจัดเก็บรายได้ กรณีการตรวจสอบหลังการตรวจปล่อย ณ สถานประกอบการ ของกองตรวจสอบอากร กรมศุลกากร, ฐาปนี ธุระพ่อค้า

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางในการนำทฤษฎีผลักดันมาประยุกต์ใช้กับหนังสือแจ้งผลการตรวจสอบหลังการตรวจปล่อย ณ สถานประกอบการ ของกองตรวจสอบอากร กรมศุลกากร โดยใช้ข้อความเชิงโน้มน้าวใจเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการจัดเก็บรายได้ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นตัวแทนพนักงานศุลกากรจากกองตรวจสอบอากรและตัวแทนผู้นำเข้า/ส่งออกที่มีประสบการณ์ด้านการตรวจสอบหลังการตรวจปล่อย ณ สถานประกอบการ วิธีการวิจัยเป็นกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยนำทฤษฎีดังกล่าวมาประยุกต์ใช้กับการปรับพฤติกรรมของผู้ประกอบการที่อยู่ในระหว่างการตรวจสอบหลังการตรวจปล่อยและตรวจพบว่ามีภาระค่าภาษีอากรที่ชำระไม่ครบถ้วน โดยใช้ข้อความโน้มน้าวตามหลักทฤษฎีผลักดันในรูปแบบต่าง ๆ ในหนังสือแจ้งผลการตรวจสอบเพื่อปรับอคติที่เกิดจากกระบวนความคิดและจูงใจให้ผู้ประกอบการที่กำลังตัดสินใจในการเลือกทางเลือกที่มีมากกว่าหนึ่งทางเลือกให้เลือกที่จะะงับคดีในชั้นศุลกากร ซึ่งข้อความที่ใช้ในการวิจัยนี้มี 5 รูปแบบ ผลการวิจัยพบว่า ทฤษฎีผลักดันมีส่วนที่สามารถเพิ่มประสิทธิผลให้เครื่องมือของกองตรวจสอบอากรในการจัดเก็บรายได้ของกองตรวจสอบอากร กรมศุลกากร โดยใช้การสื่อสารเชิงโน้มน้าวเพื่อปรับอคติที่เกิดจากกระบวนการคิดและศึกษาสำนึก อีกทั้งส่งเสริมให้เกิดการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลของผู้ประกอบการที่ขาดชำระภาษี โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้เลือกรูปแบบข้อความที่ผสมระหว่างรูปแบบ "การข่มขู่ให้คล้อยตาม" และรูปแบบ "ผลประโยชน์" มากที่สุด (รูปแบบแทงกั๊ก)


การปรับปรุงสวัสดิการของพนักงานการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย, ชนานันท์ ผุดเพชรแก้ว Jan 2019

การปรับปรุงสวัสดิการของพนักงานการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย, ชนานันท์ ผุดเพชรแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่องการปรับปรุงสวัสดิการของพนักงานการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยมีวัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อศึกษาความคาดหวัง ความพึงพอใจในการสวัสดิการของพนักงานการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และศึกษาความต้องการสวัสดิการเพิ่มเติมของพนักงานการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย จำนวน 290 คน ผลการวิจัยพบว่า พนักงานการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย มีความคาดหวังในสวัสดิการด้านสุขภาพและความปลอดภัยมากที่สุด สวัสดิการที่พนักงานมีความพึงพอใจมากที่สุดคือ สวัสดิการด้านสุขภาพและความความปลอดภัย โดยพนักงานมีความคาดหวังในสวัสดิการมากกว่าความพึงพอใจในสวัสดิการ ในส่วนสวัสดิการที่พนักงานต้องการให้ รฟม.จัดหาให้มากที่สุดคือ สวัสดิการค่ารักษาพยาบาลหลังเกษียณ เพิ่มวงเงินค่ารักษาพยาบาลโรงพยาบาลเอกชน และเบิกตรงค่ารักษาพยาบาลโรงพยาบาลรัฐอื่นๆ ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบความคาดหวังในสวัสดิการของพนักงาน พบว่า อายุ เงินเดือน ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน การใช้บริการห้องออกกำลังกาย และการเข้าร่วมกิจกรรมอื่นๆ ของ รฟม. ที่แตกต่างกัน มีความคาดหวังในสวัสดิการต่างกัน ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลอื่นๆ มีความคาดหวังในสวัสดิการไม่ต่างกัน ในส่วนของความพึงพอใจในสวัสดิการ พบว่า เพศ อายุ การมีบุตรของพนักงาน และเงินเดือนที่แตกต่างกันมีความพึงพอใจในสวัสดิการต่างกัน ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลอื่นๆ มีความพึงพอใจในสวัสดิการไม่ต่างกัน


การบริหารสถานศึกษาเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ :กรณีศึกษาโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยตรัง, ชนภัทร รัตนพันธ์ Jan 2019

การบริหารสถานศึกษาเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ :กรณีศึกษาโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยตรัง, ชนภัทร รัตนพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารงานภายในสถานศึกษาโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยตรัง และเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้แก่สถาบันการศึกษาอื่น ๆ โดยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก จากกลุ่มผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 5 คนและศึกษาประกอบกับเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสถานศึกษา การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้นำแนวคิดทฤษฎีระบบ มาใช้วิเคราะห์ในประเด็นการบริหารสถานศึกษา ผ่านการศึกษาปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์ทางวิชาการของสถานศึกษา โดยผู้วิจัยเชื่อว่า ทฤษฎีระบบ เป็นหนึ่งในทฤษฎีที่มีประสิทธิภาพในด้านการบริหารองค์การ เพื่อให้องค์การประสบความสำเร็จตามเป้าประสงค์ขององค์การ ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยตรัง ได้นำทฤษฎีระบบ เป็นหลักในการบริหารงานภายในสถานศึกษา โดยให้ความสำคัญตั้งแต่ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์ ส่งผลให้โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยตรัง เป็นหนึ่งในโรงเรียนที่มีความเป็นเลิศในด้านวิชาการ ซึ่งมีความสอดคล้องกับกรอบแนวคิดของผู้วิจัยตามที่คาดไว้


การศึกษาการวิเคราะห์ความเสี่ยงตามยุทธศาสตร์: กรณีศึกษาคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ดุษฎี คนแรงดี Jan 2019

การศึกษาการวิเคราะห์ความเสี่ยงตามยุทธศาสตร์: กรณีศึกษาคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ดุษฎี คนแรงดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษายุทธศาสตร์ที่มีความเสี่ยงในการดําเนินการ หรืออาจดําเนินการได้ยากที่สุด และ เพื่อค้นหาแนวทางในการป้องกันหรือแก้ไขความเสี่ยงของผู้บริหารคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยอาศัยกรอบบริหารความเสี่ยงขององค์กร COSO Enterprise Risk Management 2017 ตามยุทธศาสตร์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 4 ด้าน โดยการศึกษาครั้งนี้ได้อาศัยวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน คือการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 6 คน (จำนวนทั้งหมด 14 คน) เลือก ยุทธศาสตร์ที่ 3 คือ พัฒนาเพื่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานขององค์กร เพื่อความยั่งยืนขององค์กร มีความเสี่ยงในการดําเนินการ หรืออาจดําเนินการได้ยากที่สุด เนื่องจากการดำเนินงานขององค์กรประกอบด้วยระบบงานหลายส่วน และมีหลายพันธกิจ ซึ่งการเพิ่มประสิทธิภาพในทุกด้าน อาจต้องอาศัยการดำเนินการเชิงระบบในภาพรวมสูง อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงในสังคมปัจจุบันเป็นไปอย่างอย่างรวดเร็ว ทำให้อาจส่งผลต่อความยั่งยืนขององค์กรได้ สำหรับแนวทางในการดำเนินการ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และความยั่งยืนขององค์กร คณะฯได้ นำเกณฑ์ EdPEx เข้ามาร่วมในการพัฒนาองค์กร โดยในขณะนี้คณะได้เริ่มมี strategic theme 5 เรื่อง ประกอบด้วย 1) การพัฒนา Excellence Centers และส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม2) Financial Sustainability 3) การพัฒนาเป็น Lifelong Learning Organization 4) Internationalization และ 5) Corporate Governance and CSR ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นความท้าทายในการดำเนินการของคณะฯ ต่อไป สำหรับผลการศึกษาเชิงปริมาณตามกรอบบริหารความเสี่ยงขององค์กร COSO ERM 2017 พบว่ากลุ่มตัวอย่างได้ให้คะแนนเฉลี่ยสูงสุดในเรื่องของ การจัดการความเสี่ยงขององค์กร และการทบทวนและปรับปรุงองค์กรอยู่ในระดับ มาก คือ 4.00 หมายถึง คณะฯ ดำเนินการในด้านนี้ระดับดีมาก และคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด คือเรื่อง ข้อมูล การสื่อสาร และการรายงานผล อยู่ในระดับ ปานกลาง คือ 3.16 หมายถึงคณะฯ ดำเนินการด้านนี้ในระดับปานกลาง


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการเครื่องเช็คอินอัตโนมัติ (Cuss : Common Use Self Service) ของผู้โดยสารคนไทยที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, ณัฐสิทธิ์ สุทธิสมบูรณ์ Jan 2019

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการเครื่องเช็คอินอัตโนมัติ (Cuss : Common Use Self Service) ของผู้โดยสารคนไทยที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, ณัฐสิทธิ์ สุทธิสมบูรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ ปัจจัยการรับรู้ความเสี่ยง และปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการเครื่องเช็คอินอัตโนมัติ ของผู้โดยสารคนไทยที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้โดยสารชาวไทยที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จำนวน 100 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบโควตา และแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างที่เคยใช้เครื่องเช็คอินอัตโนมัติ 50 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เคยใช้เครื่องเช็คอินอัตโนมัติ 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 1) สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าจำนวน ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย 2) สถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน (Independent Sample t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 25 – 30 ปี สถานภาพโสด มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้ต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท และส่วนใหญ่นิยมเช็คอินที่เคาน์เตอร์เช็คอินของสายการบิน ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าปัจจัยประชากรศาสตร์ ด้านอายุ ระดับการศึกษา และรายได้ที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการเครื่องเช็คอินอัตโนมัติของผู้โดยสารคนไทยที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.10 และปัจจัยด้านการรับรู้ความเสี่ยงไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการเครื่องเช็คอินอัตโนมัติของผู้โดยสารคนไทยที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยด้านการยอมรับการใช้เทคโนโลยีส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการเครื่องเช็คอินอัตโนมัติของผู้โดยสารคนไทยที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.10


ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เกี่ยวกับลักษณะวัฒนธรรมองค์การกับทัศนคติเกี่ยวกับความสุขและแนวทางการสร้างความสุขในการทำงาน : กรณีศึกษา พนักงานประจำสำนักงานโรงงานบริษัทผลิตบรรจุภัณฑ์แห่งหนึ่ง, จุฑามาส ตั้งจิตบำรุง Jan 2019

ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เกี่ยวกับลักษณะวัฒนธรรมองค์การกับทัศนคติเกี่ยวกับความสุขและแนวทางการสร้างความสุขในการทำงาน : กรณีศึกษา พนักงานประจำสำนักงานโรงงานบริษัทผลิตบรรจุภัณฑ์แห่งหนึ่ง, จุฑามาส ตั้งจิตบำรุง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการให้ความหมายและการตีความของคำว่า “ความสุขในการทำงาน” และศึกษาแนวทางในการสร้างความสุข รวมถึงศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เกี่ยวกับลักษณะวัฒนธรรมองค์การกับทัศนคติเกี่ยวกับความสุขและแนวทางในการสร้างความสุขในการทำงานของพนักงานประจำสำนักงานบริษัทบรรจุภัณฑ์แห่งหนึ่ง โดยการศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ซึ่งเชิงปริมาณได้ศึกษาจากประชากรกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 117 คน โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม นำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient) ในส่วนการศึกษาเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้ดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) แบบไม่มีโครงสร้าง โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) จากแผนกที่แตกต่างกันทั้งสิ้น 7 แผนก เพื่อนำมาใช้ประกอบการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 31-40 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า โดยมีรายได้อยู่ที่ 20,001-30,000 บาทต่อเดือน และมีอายุงานระหว่าง 0-5 ปีและส่วนใหญ่เห็นว่าสายงานค่อนข้างตรงกับการศึกษาของตน โดยฝ่ายที่ร่วมมือในการตอบแบบสอบถามมากที่สุดได้แก่ฝ่ายตรวจสอบคุณภาพ 2) พนักงานมีการรับรู้เกี่ยวกับลักษณะของวัฒนธรรมองค์การโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) พนักงานมีทัศนคติเกี่ยวกับความสุขในการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 4) พนักงานมีพฤติกรรมตามแนวทางในการสร้างความสุขในการทำงานของ สสส.โดยรวมอยู่ในระดับมาก 5) การรับรู้เกี่ยวกับลักษณะของวัฒนธรรมองค์การมีความสัมพันธ์ทางบวกกับทัศนคติเกี่ยวกับความสุขในการทำงาน 6) การรับรู้เกี่ยวกับลักษณะของวัฒนธรรมองค์การมีความสัมพันธ์ทางบวกกับแนวทางการสร้างความสุขในการทำงาน


การแก้ปัญหาขอทาน ตามมาตรการในกฎหมายควบคุมการขอทาน: กรณีศึกษาศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งกรุงเทพมหานคร, กฤษณ์ เจริญธรรม Jan 2019

การแก้ปัญหาขอทาน ตามมาตรการในกฎหมายควบคุมการขอทาน: กรณีศึกษาศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งกรุงเทพมหานคร, กฤษณ์ เจริญธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของสารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการแก้ปัญหาขอทาน ตามมาตรการในกฎหมายควบคุมการขอทานของศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งกรุงเทพมหานคร ว่าเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ อย่างไร 2) วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการแก้ปัญหาขอทาน ตามมาตรการในกฎหมายควบคุมการขอทานของศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งกรุงเทพมหานคร และ 3) เสนอแนะแนวทางเพื่อการพัฒนามาตรการทางด้านต่าง ๆ ในแก้ปัญหาขอทานตามมาตรการในกฎหมายควบคุมการขอทาน โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล 3 วิธี ได้แก่ การรวบรวมข้อมูลเอกสาร การสัมภาษณ์และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม สำหรับผลการวิจัยพบว่า การบังคับใช้มาตรการในกฎหมายควบคุมการขอทานของศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งกรุงเทพมหานคร ไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด เนื่องจากความลักลั่นของบทบัญญัติกฎหมาย ซึ่งมีทั้งบทลงโทษกับผู้ทำการขอทานและบทบัญญัติที่ให้คุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตกับผู้ทำการขอทาน แต่การบังคับใช้มาตรการทั้งสองอย่างไม่สามารถดำเนินการควบคู่กันและทำให้เกิดประสิทธิภาพได้ เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้การขอทานเป็นความผิดและต้องถูกลงโทษ แต่เมื่อลงโทษแล้ว กฎหมายให้ถือว่าคดีเลิกกัน ผู้ทำการขอทานจึงไม่จำเป็นต้องเข้ารับการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิต นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ทำการขอทานที่เป็นคนต่างด้าวไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดให้อำนาจในการดำเนินการได้ และจากผลการวิจัยดังกล่าว ผู้วิจิยสามารถนำเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยแก้ไขปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานตามกฎหมายควบคุมการขอทาน การยกเลิกบทลงโทษกับผู้กระทำการขอทาน การสร้างให้เกิดการประสานงานร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและภาคประชาชนในการประชาสัมพันธ์และรณรงค์ให้ลดการให้ทานการ การสร้างนโยบายที่มุ่งเน้นการปฏิบัติงานให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน และใช้มาตรการสกัดกั้นคนต่างด้าวที่เคยกระทำผิดขอทานไม่ให้กลับมากระทำผิดซ้ำ


การประเมินผลความสำเร็จของโครงการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชน ตามแบบจำลอง Cipp Model กรณีศึกษา: โครงการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนเมืองเชียงราย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย, กรกฎ วงษ์สุวรรณ Jan 2019

การประเมินผลความสำเร็จของโครงการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชน ตามแบบจำลอง Cipp Model กรณีศึกษา: โครงการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนเมืองเชียงราย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย, กรกฎ วงษ์สุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การประเมินผลความสำเร็จของโครงการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนตามแบบจำลอง CIPP Model กรณีศึกษา: โครงการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนเมืองเชียงราย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน และปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการ โดยการศึกษาในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งดำเนินการศึกษาด้วยวิธีการสัมภาษณ์ส่วนบุคคลซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างเฉพาะเจาะจง จำนวน 10 ราย ผู้วิจัยได้นำข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง และข้อมูลจากเอกสารมาวิเคราะห์และประมวลผลตามแบบจำลอง CIPP Model ผลการศึกษาพบว่า (1) ด้านสภาพแวดล้อมของโครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล และความต้องการของประชาชนที่ต้องการให้หน่วยงานภาครัฐเข้ามาช่วยในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ (2) ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่าหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาชน รวมถึงสภาพพื้นที่ แบบรูปรายการ และงบประมาณมีความพร้อมและมีความเหมาะสมในการดำเนินโครงการ (3) ด้านกระบวนการ พบว่ามีขั้นตอนการดำเนินโครงการที่ชัดเจน มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ (4) ด้านผลผลิต พบว่าโครงการสามารถป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนได้และบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ สำหรับปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการส่วนใหญ่เป็นปัญหาในด้านเทคนิคการก่อสร้างที่ต้องมีการแก้ไขรูปแบบรายการ และขยายสัญญา เพื่อให้งานก่อสร้างสอดคล้องกับสภาพของพื้นที่ สำหรับข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในอนาคตควรมีการศึกษาประเมินความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณรวมถึงแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินโครงการต่อไป


การมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนในสภาเด็กและเยาวชน: กรณีศึกษา สภาเด็กและเยาวชนเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร, กนกวรรณ วงศ์กระพันธุ์ Jan 2019

การมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนในสภาเด็กและเยาวชน: กรณีศึกษา สภาเด็กและเยาวชนเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร, กนกวรรณ วงศ์กระพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของงานวิจัย คือ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนในสภาเด็กและเยาวชนเขตบางคอแหลม และเพื่อศึกษาหาแนวทางในการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนในเขตบางคอแหลมให้มีความสนใจที่จะเข้ามามีส่วนร่วมกับสภาเด็กและเยาวชน จากผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนในสภาเด็กและเยาวชน ประกอบด้วย 5 ปัจจัย ดังนี้ 1. ปัจจัยด้านการรับรู้ถึงการมีตัวตนของสภาเด็กและเยาวชน เป็นปัจจัยที่มีผลมากที่สุด เนื่องจากการที่เด็ก เยาวชน และผู้ปกครองได้รับรู้ถึงการมีตัวตนของสภาเด็กและเยาวชนมาก่อน จะทำให้เด็กและเยาวชนเหล่านี้ตัดสินใจที่จะเข้ามามีส่วนร่วมกับสภาเด็กและเยาวชนได้ง่ายขึ้น 2. ปัจจัยด้านเวลา เด็กและเยาวชนที่มีภาระรับผิดชอบมากมาย ก็จะมีโอกาสน้อยลงที่จะเข้ามามีส่วนร่วมกับสภาเด็กและเยาวชน 3. ปัจจัยด้านฐานะทางการเงินของครอบครัว ถ้าครอบครัวมีฐานะทางการเงินไม่ค่อยดี เด็กและเยาวชนต้องช่วยครอบครัวทำงานจนอาจไม่มีเวลาเข้ามามีส่วนร่วมกับสภาเด็กและเยาวชน 4. ปัจจัยผลักดันจากผู้นำ ได้แก่ ผู้ปกครอง คุณครู และหน่วยงานที่รับผิดชอบ 5. ปัจจัยด้านการออกแบบนโยบาย โดยพบว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบสภาเด็กและเยาวชน และวาระการดำรงตำแหน่งของคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชน ยังไม่เอื้อให้เด็กและเยาวชนอยากมีส่วนร่วมในสภาเด็กและเยาวชนเท่าที่ควร สำหรับแนวทางในการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนในเขตบางคอแหลมมีความสนใจที่จะเข้ามามีส่วนร่วมกับสภาเด็กและเยาวชน มีดังนี้ 1. หน่วยงานที่รับผิดชอบ ช่วยกันประชาสัมพันธ์สภาเด็กและเยาวชน 2. ควรมีที่ปรึกษา(คุณครู) ที่คอยให้ความช่วยเหลือในการสื่อสารกันของคณะบริหารสภาเด็กฯที่มีช่วงอายุที่แตกต่างกัน 3. วาระการดำรงตำแหน่งของคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนควรเป็น 2 ปี เหมือนกันทั้งทีม 4. ควรให้ฝ่ายการศึกษารับผิดชอบสภาเด็กและเยาวชนระดับเขตที่โดยตรง 5. ปลุกจิตสำนึกให้ผู้บริหารสภาเด็กและเยาวชนตระหนักถึงหน้าที่และความสำคัญของตำแหน่งผู้บริหารสภาเด็กและเยาวชน


ประสิทธิผลการตรวจราชการของนายกรัฐมนตรีและการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ของรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในช่วงปี พ.ศ. 2557 - 2562, ปัฐญา วีระไวทยะ Jan 2019

ประสิทธิผลการตรวจราชการของนายกรัฐมนตรีและการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ของรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในช่วงปี พ.ศ. 2557 - 2562, ปัฐญา วีระไวทยะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเรื่อง “ประสิทธิผลการตรวจราชการของนายกรัฐมนตรีและการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ของรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในช่วงปี พ.ศ. 2557 - 2562” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบายของรัฐบาล การนำนโยบายไปปฏิบัติ รวมถึงประสิทธิผลผ่านการตรวจราชการและการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ เนื่องจากรัฐบาลมีเป้าหมายที่จะผลักดันนโยบายต่าง ๆ ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และได้กำหนดแนวนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินตามคำแถลงนโยบายที่แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยการลงพื้นที่ตรวจราชการและการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่เป็นวิธีหนึ่งในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล ผลการศึกษาพบว่า ในการตรวจราชการและการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ตลอดรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (กันยายน พ.ศ. 2557 - พฤษภาคม พ.ศ. 2562) รัฐบาลให้ความสำคัญกับการเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศมากที่สุด เพราะเกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน โดยเน้นด้านการเกษตรและพัฒนาอุตสาหกรรมเป็นหลัก นอกจากนี้ รัฐบาลให้ความสำคัญกับการรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากร และการสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์กับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน และการศึกษาและเรียนรู้ การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม ตามลำดับ โดยมีจังหวัดเป็นผู้ขับเคลื่อนนโยบายที่สำคัญในระดับพื้นที่ เพราะมีความเข้าใจในบริบทของสภาพแวดล้อม ใกล้ชิดและรับรู้ความต้องการของประชาชน ตลอดจนสิ่งที่จังหวัดต้องการขับเคลื่อนนโยบายหรือพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งการนำนโยบายไปปฏิบัติเริ่มต้นจากการที่นายกรัฐมนตรีมีข้อสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและจังหวัดนำนโยบายหรือข้อสั่งการไปปฏิบัติ โดยเน้นการดำเนินงานแบบบูรณาการร่วมกัน อย่างไรก็ตาม เมื่อนำนโยบายมาปฏิบัติจริงในพื้นที่พบว่า จังหวัดอาจมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ บุคลากร และการดำเนินงานร่วมกันของหลายหน่วยงาน สำหรับประสิทธิผลของการตรวจราชการและการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่พบว่า บางข้อสั่งการสามารถนำไปปฏิบัติจนเป็นรูปธรรม อยู่ระหว่างการดำเนินงาน และบางข้อสั่งการมีข้อจำกัดจึงไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร นอกจากนี้ การสั่งการของนายกรัฐมนตรีจะต้องพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการนำนโยบายไปปฏิบัติในพื้นที่ เนื่องจากแต่ละจังหวัดมีบริบทและสภาพสังคมแตกต่างกัน รวมทั้งรัฐบาลต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ และรัฐบาลควรเพิ่มการติดตามผลการนำข้อสั่งการไปปฏิบัติ เพื่อให้การตรวจราชการและการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่มีประสิทธิผลและเกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุด


นาฏดุริยางคศิลป์สร้างชาติ: การยินยอมและการต่อรองนิยามความเป็นไทยและนโยบายวัฒนธรรมของข้าราชการสำนักการสังคีต, ปิยาภา สังขทับทิมสังข Jan 2019

นาฏดุริยางคศิลป์สร้างชาติ: การยินยอมและการต่อรองนิยามความเป็นไทยและนโยบายวัฒนธรรมของข้าราชการสำนักการสังคีต, ปิยาภา สังขทับทิมสังข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้ต้องการตอบคำถามที่ว่า ข้าราชการสำนักการสังคีตมีกระบวนการยอมรับและต่อรองกับนิยามความเป็นไทยและนโยบายวัฒนธรรมของรัฐอย่างไร มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษานโยบายวัฒนธรรมที่ส่งเสริมความเป็นไทยของรัฐผ่านสำนักการสังคีต (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างนิยามความเป็นไทยของรัฐ กับอัตลักษณ์องค์กรของสำนักการสังคีตและอัตลักษณ์ส่วนบุคคลของข้าราชการสำนักการสังคีต (3) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการทำงาน การเข้าใจตัวตน และแรงจูงใจของข้าราชการสำนักการสังคีต ในแง่ของการยินยอม และการต่อรองนิยามความเป็นไทยของรัฐ ซึ่งงานวิจัยนี้ได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบกึ่งโครงสร้างกับข้าราชการสำนักการสังคีต กรมศิลปากร ตั้งแต่ระดับปฏิบัติงานไปจนถึงระดับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 19 ราย ด้วยวิธีการวิเคราะห์สาระสำคัญ (thematic analysis) โดยใช้แนวคิดทฤษฎีอำนาจนำ ชีวอำนาจ (bio-power) วาทกรรมและการต่อรองอัตลักษณ์ จากการศึกษาพบว่า 1. ข้าราชการสำนักการสังคีตได้รับการปลูกฝังนิยามความเป็นไทยของรัฐผ่านกระบวนการสร้างตัวตนด้วยกลไกต่างๆ ทั้งด้านวิชาชีพที่ฝึกฝนมา และด้านวัฒนธรรมองค์กร ซึ่งมีส่วนสำคัญในการทำให้ข้าราชการยอมรับอำนาจนำภายใต้วาทกรรม “ไทยจารีต” อย่างแนบเนียน เพื่อมุ่งควบคุมร่างกายและความคิด 2. แม้ว่าจะมีการควบคุมร่างกาย จิตสำนึก และพฤติกรรมให้ยอมรับการผลิตซ้ำนิยามความเป็นไทยของรัฐ แต่ด้วยเงื่อนไขของสภาพแวดล้อมต่างๆ และบริบททางสังคมที่ได้ก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ ประกอบกับความมุ่งหวังที่จะปฏิบัติงานตามนโยบายวัฒนธรรมได้อย่างราบรื่น ทำให้เกิดการต่อรองจนบางสิ่ง ได้เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งการต่อรองกับอำนาจนำหรือวาทกรรม “ไทยจารีต” ในที่นี้มี 2 มิติ มิติแรก คือ การต่อรองในมิติรูปแบบการแสดง เช่น การปรับเปลี่ยนรูปแบบของฉาก เครื่องแต่งกาย บทการแสดง เป็นต้น ให้ก้าวทันกับยุคสมัยแต่ยังคงสืบทอดนิยามความเป็น “ไทยจารีต” ของรัฐพร้อมทั้งอัตลักษณ์ขององค์กร ในขณะที่ “แก่นแท้”ของการแสดงนาฏดุริยางคศิลป์เชิงอนุรักษ์ยังคงอยู่ และมิติที่สอง คือ การต่อรองในเชิงความคิดเกี่ยวกับนโยบายและองค์กร เช่น เรื่องอัตรากำลังคน งบประมาณ และสวัสดิการ เป็นต้น ซึ่งแม้จะไม่ได้มีการผลักดันหรือส่งเสียงในองค์กรแต่ก็มีเมล็ดพันธุ์ความคิดที่ผู้นำองค์กรน่าจะนำไปปรับใช้ต่อไป


บทบาทของเทคโนโลยีดิจิทัลต่อการพัฒนากระบวนการบริหารจัดการภาครัฐ, พรธีรา เชี่ยวเชิงงาน Jan 2019

บทบาทของเทคโนโลยีดิจิทัลต่อการพัฒนากระบวนการบริหารจัดการภาครัฐ, พรธีรา เชี่ยวเชิงงาน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ทั้งเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การบริการ สังคม สิ่งแวดล้อมไปจนถึงการศึกษา อีกทั้ง การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีส่งผลต่อการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้ระบบการบริหารจัดการภาครัฐมีความทันสมัยและสามารถช่วยลดภาระด้านงบประมาณให้กับหน่วยงานภาครัฐที่ต้องการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงกระบวนงานทำงานภายในหน่วยงานหรือกระบวนงานในการให้บริการประชาชนให้มีความสะดวกคล่องตัวโดยการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้ ซึ่งเป็นความท้าทายที่ทุกประเทศกำลังเผชิญ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทเทคโนโลยีดิจิทัลมีผลต่อการพัฒนากระบวนการบริหารจัดการภาครัฐ การวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) แบบปรากฏการณ์วิทยา ดำเนินการโดยศึกษาทฤษฎี แนวคิด ประกอบด้วยการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เดี่ยวเชิงลึก โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 12 คน ซึ่งเลือกแบบเจาะจงจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระดับผู้บริหารหน่วยงานกลางและหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับภาครัฐและการหารือร่วมกับผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการอุปมานวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นหนึ่งในปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนากระบวนการบริหารจัดการภาครัฐ อีกทั้ง บทบาทของเทคโนโลยีดิจิทัลจะเป็นตัวเร่งการเปลี่ยนแปลงในการยกระดับการทำงานของภาครัฐให้มีความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และเข้าถึงได้ ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงระบบและกระบวนการทำงานของภาครัฐต้องเริ่มจากการปรับกระบวนงานด้วยการลดการสูญเปล่าของงานที่ไม่ได้สร้างคุณค่าโดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสนับสนุน เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน และมุ่งเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen-Centered) อันจะนำไปสู่การทำงานภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพ จากการศึกษาแม้จะพบว่ายังมีข้อจำกัด ปัญหาและอุปสรรคในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนากระบวนการบริหารจัดการภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ทิศทางการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจัดการภาครัฐของประเทศไทยทั้งมิติภายในและภายนอกสะท้อนให้เห็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วยการสนับสนุนและกระตุ้นผ่านกลไกทั้งเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติ ยิ่งไปกว่านั้น การสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม มีความสำคัญต่อการพัฒนากระบวนการบริหารจัดการภาครัฐ


ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการทำประกันชีวิตแบบบำนาญ, พงศกร สัตยพานิช Jan 2019

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการทำประกันชีวิตแบบบำนาญ, พงศกร สัตยพานิช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยของทางด้านประชากรศาสตร์ที่มีความแตกต่างกันและรวมไปถึงศึกษาของปัจจัยการจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับการทำประกันชีวิตแบบบำนาญ ซึ่งประชากรที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้เป็นคนทำงานในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครโดยใช้เครื่องมือเป็นรูปแบบของแบบสอบถามในการสำรวจจำนวน 400 ชุด สถิติสำหรับในการวิเคราะห์และพรรณนา คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ในส่วนของการทดสอบสมมติฐานได้ใช้การวิเคราะห์ T-test การวิเคราะห์ความแปรปรวน (One-Way ANOVA) ส่วนของสถิติได้ใช้การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยการวิเคราะห์เพียร์สัน (Pearson’s correlation coefficient) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชายมีอายุระหว่าง 36 – 45 ปี มีสถานะเป็นโสด มีระดับการศึกษาปริญญาตรี และส่วนใหญ่เป็นพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้ต่อเดือนอยู่ที่ มากกว่า 55,000 บาทขึ้นไป และมีรายจ่ายอยู่ที่ 30,001 – 40,000 บาท โดยที่จำนวนเงินออมส่วนใหญ่จะอยู่ในอัตราที่ต่ำกว่า 10,000 บาท มีอัตราการเสียภาษีอยู่ที่ 10% ของเงินได้ต่อปี และในส่วนใหญ่มีจำนวนสมาชิกในครอบครัวอยู่ที่ 2 – 5 คน ซึ่งคนส่วนใหญ่ที่ทำงานในเขตกรุงเทพมหานครจะมีพฤติกรรมในการออมเงินด้วยวิธีนำไปฝากกับธนาคารเป็นส่วนใหญ่ สรุปผลจากการวิเคราะห์ พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา จำนวนเงินออมต่อเดือน และอัตราการเสียภาษีที่แตกต่างกันทำให้มีการทำประกันชีวิตแบบบำนาญที่แตกต่างกัน และเมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจูงใจกับการตัดสินใจทำประกันชีวิตแบบบำนาญ พบว่าการทำประกันชีวิตแบบบำนาญมีความสัมพันธ์กับปัจจัยจูงใจ ประกอบด้วย 1.ปัจจัยด้านความมั่นคงหลังเกษียณอายุและผลิตภัณฑ์ 2.ปัจจัยด้านการลดหย่อนภาษี และ 3.ปัจจัยในการตัดสินใจออม


ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินโครงการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ของกรมโยธาธิการและผังเมือง, พชร สุดประเสริฐ Jan 2019

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินโครงการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ของกรมโยธาธิการและผังเมือง, พชร สุดประเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินโครงการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ของกรมโยธาธิการและผังเมืองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินโครงการ โดยการศึกษาในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพดำเนินการศึกษาด้วยวิธีการสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ซึ่งสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของโครงการ พบว่าโครงการมีจุดแข็งคือแก้ไขปัญหาที่ดินตาบอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ จุดอ่อน คือมีหลายขั้นตอน แต่ละขั้นตอนต้องใช้ระยะเวลานานในการดำเนินงาน โอกาสได้แก่ นโยบายรัฐบาลที่มุ่งเน้นในการพัฒนาเมืองเพื่อลดความเหลื่อมล้ำระหว่างสังคมเมืองและสังคมชนบท และการแก้ไขปัญหาที่ดินตาบอด ส่วนอุปสรรคได้แก่ความเสี่ยงที่เจ้าของที่ดินบางรายมีการถอนตัวในระหว่างดำเนินโครงการส่งผลให้การดำเนินโครงการล่าช้าไม่เป็นไปตามแผนการดำเนินงาน สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินโครงการประกอบด้วย 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่ (1) มีนโยบาย แผนงานโครงการ และแนวทางที่ชัดเจนในการดำเนินโครงการ (2) บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงาน (3) การมีส่วนร่วมของเจ้าของที่ดิน และ (4) ได้รับสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานภาครัฐทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สำหรับปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการ ได้แก่ มีการโยกย้ายข้าราชการทำให้การดำเนินโครงการไม่ต่อเนื่อง และปริมาณงานเพิ่มขึ้น ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยเพิ่มเติมในอนาคต ควรมีประเมินความคุ้มค่าในการดำเนินโครงการตลอดจนการศึกษาแนวทางการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินโครงการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่


ผู้ลี้ภัยทางการเมืองกับยุทธศาสตร์การเอาตัวรอดกรณีศึกษา คนไทยผู้ลี้ภัยการเมืองในประเทศฝรั่งเศส, พร้อมพงษ์ วงศ์ราษฎร์ Jan 2019

ผู้ลี้ภัยทางการเมืองกับยุทธศาสตร์การเอาตัวรอดกรณีศึกษา คนไทยผู้ลี้ภัยการเมืองในประเทศฝรั่งเศส, พร้อมพงษ์ วงศ์ราษฎร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 1) เพื่ออธิบายที่มาของการกลายเป็นผู้ลี้ภัยทางการเมือง แนวคิด อุดมการณ์ และ 2) เพื่อวิเคราะห์ยุทธศาสตร์การเอาตัวรอดของการเป็นผู้ลี้ภัยทางการเมือง รวมทั้งวิธีการเข้าถึงที่อยู่อาศัยการได้รับความช่วยเหลือ รวมทั้งอุปสรรคต่าง ๆ ในการใช้ชีวิตของการเป็นผู้ลี้ภัยทางการเมือง โดยผู้วิจัยได้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi structure in-depth interview) โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ลี้ภัยทางการเมืองคนไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศฝรั่งเศส และองค์กรพัฒนาเอกชนที่ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือกลุ่มผู้ลี้ภัยดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีจุดเริ่มต้นของการเป็นผู้ลี้ภัยทางการเมืองมาจากการรัฐประหารยึดอำนาจ โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อปี 2557 ซึ่งกลุ่มผู้ลี้ภัยเหล่านี้ถูกออกหมายจับในข้อหาฝ่าฝืนคำสั่ง คสช. และหมายจับข้อหาหมิ่นพระบรมเดชนุภาพ (กฎหมายอาญา มาตรา 112) การดำเนินนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีลักษณะทิศทางแบบแนวดิ่งจากชนชั้นปกครองมาสู่ประชาชน ประชาชนที่มีความเห็นต่างจึงมีความกังวลถึงความไม่ปลอดภัยจึงต้องลี้ภัยเพื่อเอาตัวรอด กลุ่มตัวอย่างได้ใช้กระบวนการลี้ภัยหรือช่องทางหลบหนีในลักษณะแบบไม่เป็นทางการจากประเทศต้นทาง โดยใช้เส้นทางธรรมชาติเพื่อเข้าสู่ประเทศปลายทาง และมีบางกลุ่มตัวอย่างใช้การเดินทางโดยเครื่องบินเพื่อเข้าสู่ประเทศปลายทางในฐานะนักท่องเที่ยว การดำรงชีวิตเมื่อเป็นผู้ลี้ภัยมีการใช้ชีวิตที่ยากลำบากตามสภาพของประเทศที่ได้เดินทางไป กลุ่มตัวอย่างได้รับการช่วยเหลือจากองค์กรเอกชนในการดำเนินการประสานงานกับประเทศปลายทางและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการออกเอกสารสำคัญ สนับสนุนตั๋วเครื่องบินสำหรับการเดินทาง รวมทั้งดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องกับการรับรองสถานะของการขอลี้ภัย สำหรับอุปสรรคและสิ่งที่ต้องกังวลในการเป็นผู้ลี้ภัยทางการเมืองนั้น กลุ่มตัวอย่างมีอุปสรรคในเรื่องของภาษาและวัฒนธรรมที่ต้องมีการปรับตัว และการลี้ภัยในประเทศฝรั่งเศสกลุ่มตัวอย่างผู้ลี้ภัยทั้งหมดสามารถทำกิจกรรมทางการเมืองได้อย่างเปิดเผย


การปรับตัวด้านการสื่อสารในองค์กรเพื่อการทำงานร่วมกันในสถานการณ์ที่ต้องปฏิบัติงานจากที่พักอาศัย กรณีศึกษา กรมตรวจบัญชีสหกรณ์, พิมพ์ชนก ใบชิต Jan 2019

การปรับตัวด้านการสื่อสารในองค์กรเพื่อการทำงานร่วมกันในสถานการณ์ที่ต้องปฏิบัติงานจากที่พักอาศัย กรณีศึกษา กรมตรวจบัญชีสหกรณ์, พิมพ์ชนก ใบชิต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการปรับตัวด้านการสื่อสารในองค์กรเพื่อการทำงานร่วมกันของบุคลากรระหว่างช่วงวัยต่างๆ ในการปฏิบัติงานจากที่พักอาศัย (Work From Home) กรณีศึกษา กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ และ (2) สังเคราะห์เป็นข้อเสนอแนะและมาตรการสำหรับใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมการปฏิบัติงานจากที่พักอาศัย (Work From Home) รวมทั้งเพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับการเตรียมความพร้อมหรือการรับมือกับสถานการณ์ไม่ปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต กลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยบุคลากรกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ตั้งแต่ระดับผู้ปฏิบัติงานไปจนถึงผู้อำนวยการกลุ่ม จำนวน 18 ราย โดยจำแนกผู้ให้ข้อมูลออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรก บุคลากรกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ช่วงวัย 25-34 ปี จำนวน 6 ราย กลุ่มที่สอง บุคลากรกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ช่วงวัย 35-44 ปี จำนวน 6 ราย และกลุ่มที่สามบุคลากรกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ช่วงวัย 55-60 ปี จำนวน 6 ราย ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้างโดยการสัมภาษณ์แบบรายบุคคลผ่านทางโทรศัพท์และใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) โดยจำแนกตามคำถามวิจัย และวิเคราะห์ตีความข้อมูลโดยใช้แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมาประกอบและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในแต่ละส่วน ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ทั้ง 3 ช่วงวัย มีการปรับตัวด้านการสื่อสารในสถานการณ์ที่ต้องปฏิบัติงานจากที่พักอาศัย โดยมีผลสัมฤทธิ์ของการทำงานเป็นจุดมุ่งหมายในการปรับตัว กล่าวคือในการปฏิบัติงานช่วงสถานการณ์ดังกล่าวต้องสำเร็จตามตัวชี้วัดที่วางไว้ และในการปฏิบัติงานจากที่พักอาศัยไม่สามารถปฏิบัติได้ในทุกลักษณะงานของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ถึงอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบหลักรวมถึงรายละเอียดของงานในแต่ละลักษณะงานว่าลักษณะงานแบบใดที่เหมาะสมกับการปฏิบัติงานจากที่พักอาศัย อีกทั้งการสื่อสารช่วงสถานการณ์ที่ต้องปฏิบัติงานจากที่พักอาศัยมีการใช้รูปแบบการสื่อสารเหมือนการทำงานในสถานการณ์ปกติ แต่จะมีการผ่อนปรนรูปแบบการสื่อสารลงโดยไม่ต้องเป็นทางการอย่างเต็มรูปแบบ มีการลดลำดับการสื่อสารให้น้อยลง โดยเน้นความคล่องตัวมากขึ้น โดยบุคลากรช่วงวัย 45-60 ปี บางส่วนจะสามารถปรับตัวในการใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารผ่านโปรแกรม Virtual Meeting ได้ โดยบุคลากรที่สามารถปรับตัวในการนำเทคโนโลยีด้านการสื่อสารมาใช้ในการทำงานได้ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบหลักเกี่ยวกับงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร


กลไกการขับเคลื่อนคลินิกกัญชาทางการแพทย์ในโรงพยาบาลคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์, พิชญาภร จ่างจันทรา Jan 2019

กลไกการขับเคลื่อนคลินิกกัญชาทางการแพทย์ในโรงพยาบาลคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์, พิชญาภร จ่างจันทรา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการขับเคลื่อนนโยบายกัญชาทางการแพทย์ผ่านคลินิกกัญชาทางการแพทย์ในโรงพยาบาลคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ 2) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในดำเนินงานของคลินิกกัญชาทางการแพทย์ในโรงพยาบาลคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ 3) ศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาและข้อเสนอแนะ เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของคลินิกกัญชาทางการแพทย์ในสถานบริการสุขภาพของประเทศไทย ใช้วิธีการศึกษาจากการค้นคว้าจากเอกสาร การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยบุคลากรจากโรงพยาบาลคูเมือง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ และวิสาหกิจศูนย์กลางการพัฒนาสมุนไพรเพลาเพลินเพื่อชุมชน จำนวน 9 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า การขับเคลื่อนคลินิกกัญชาทางการแพทย์ในโรงพยาบาลคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีจุดเริ่มต้นจากผู้นำองค์กรตัดสินใจรับนโยบายกัญชาทางการแพทย์มาปฏิบัติภายใต้กรอบแนวคิด “บุรีรัมย์โมเดล” โดยร่วมมือกับวิสาหกิจศูนย์กลางการพัฒนาสมุนไพรเพลาเพลินเพื่อชุมชนปลูกกัญชา ผลิตยากัญชา และให้บริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์ ตัวแสดงสำคัญจำแนกออกได้เป็น 7 กลุ่ม คือ นักการเมืองและผู้ทรงอิทธิพลทางการเมือง หน่วยงานภาครัฐ ข้าราชการ/เจ้าหน้าที่ของรัฐ กลุ่มนักวิชาการ ภาคเอกชน ชุมชน และประชาชนผู้รับบริการ ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญ ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางการเมืองและสังคม ทรรศนะต่อนโยบายของผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ และเครือข่ายความร่วมมือ ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญ คือ ประชาชนยังเข้าถึงกัญชาทางการแพทย์ได้น้อย เนื่องจากการผูกขาดการจ่ายยากัญชาทางการแพทย์โดยภาครัฐ และแพทย์ส่วนใหญ่ยังไม่ให้การยอมรับกัญชาทางการแพทย์ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับประโยชน์และโทษของกัญชาทางการแพทย์ สร้างการยอมรับนโยบายในระดับหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารระดับสูง และเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ และจัดระบบกระจายผลิตภัณฑ์กัญชาให้มีประสิทธิภาพ ทั่วถึง และเพียงพอ


นักดื่มหน้าใหม่กับมาตรการควบคุมการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, ภัฏฏินวดี จำปาอ่อน Jan 2019

นักดื่มหน้าใหม่กับมาตรการควบคุมการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, ภัฏฏินวดี จำปาอ่อน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มุ่งตอบคำถามที่ว่านักดื่มหน้าใหม่มีพฤติกรรมการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างไร และประสิทธิผลมาตรการควบคุมการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มนักดื่มหน้าใหม่เป็นอย่างไร โดยมองมาตรการควบคุมการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านกรอบแนวคิดนโยบายสาธารณะในฐานะเครื่องมือแทรกแซงพฤติกรรม ใช้ระเบียบวิธิวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามออนไลน์ (Online questionnaire) เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนิสิต นักศึกษา ที่ศึกษาอยู่ในระดับอนุปริญญาหรือปริญญาตรีที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 272 คน ผลการศึกษาวิจัย พบว่า (1) กลุ่มนักดื่มหน้าใหม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ครั้งแรกในช่วงอายุระหว่าง 12-15 ปี คิดเป็นร้อยละ 47.79 ซึ่งเป็นการเริ่มดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตั้งแต่อายุที่น้อยมาก (2) ชนิดของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่กลุ่มนักดื่มหน้าใหม่ดื่มครั้งแรก คือ เบียร์ คิดเป็นร้อยละ 52.94 และเบียร์ ยังเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่กลุ่มนักดื่มหน้าใหม่ชอบดื่มมากที่สุดในปัจจุบัน คิดเป็นร้อยละ 67.65 (3) ผู้ที่มีอิทธิพลในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ครั้งแรกของกลุ่มนักดื่มหน้าใหม่ คือ เพื่อน คิดเป็นร้อยละ 54.04 (4) เหตุผลที่กลุ่มนักดื่มหน้าใหม่ดื่มเครืองดื่มแอลกอฮอล์ในครั้งแรก คือ อยากทดลอง คิดเป็นร้อยละ 45.58 (5) ร้านขายของชำเป็นสถานที่ที่กลุ่มนักดื่มหน้าใหม่เข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ครั้งแรกมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 35.29 และยังเป็นสถานที่ที่กลุ่มนักดื่มหน้าใหม่เลือกซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บ่อยที่สุดในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 47.79 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : การพิจารณามาตรการในการดูแลและควบคุมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มนักดื่มหน้าใหม่อายุระหว่าง 12-15 ปีให้มากขึ้นเป็นพิเศษ การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานหรือสถาบัน อาทิ สถาบันการศึกษา สถาบันครอบครัว ฯลฯ ในการดูแลและให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่กลุ่มนักดื่มหน้าใหม่ การแทรกแซงผู้ผลิตและผู้จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดเบียร์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีบทบาทต่อการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของกลุ่มนักดื่มหน้าใหม่


การจ้างงานผู้สูงอายุในภาคเอกชน (ชีวิตไร้เกษียณ) กรณีศึกษาเปรียบเทียบธุรกิจค้าปลีก (บริษัทเทสโก้โลตัส, บริษัทอิเกีย, บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด), มัทรี เขื่อนขันธ์ Jan 2019

การจ้างงานผู้สูงอายุในภาคเอกชน (ชีวิตไร้เกษียณ) กรณีศึกษาเปรียบเทียบธุรกิจค้าปลีก (บริษัทเทสโก้โลตัส, บริษัทอิเกีย, บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด), มัทรี เขื่อนขันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่อง “การจ้างงานผู้สูงอายุในภาคเอกชน กรณีศึกษาเปรียบเทียบธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทย” ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative) เพื่อศึกษาความต้องการและความคาดหวังของสถานประกอบการในการจ้างแรงงานสูงวัยในการทำงาน เพื่อทราบปัญหาและอุปสรรคในการจ้างงานแรงงานสูงวัย และเพื่อเสนอแนวทางในการจ้างแรงงานสูงวัยในสถานประกอบการ ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยประชากรวัยสูงวัยมีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้น และประชากรวัยทำงานมีสัดส่วนลดลงมากอย่างเห็นได้ชัด ทำให้เกิดผลกระทบต่อทั้งเศรษฐกิจและสังคมของประเทศโดยรวมการขยายอายุเกษียณแรงงานสูงวัย การให้นายจ้างสามารถที่จะช่วยเหลือผู้สูงอายุในการได้รับการจ้างกลับเข้าทำงาน การกำหนดอัตราส่วนลูกจ้างผู้สูงอายุการจัดหางานและการฝึกอาชีพให้กับผู้สูงอายุ แต่การก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุนับว่าเป็นเรื่องที่ใหม่ในประเทศไทย และจำเป็นต้องมีการวางแผนตลอดจนกำหนดนโยบายในการรองรับสถานการณ์ดังกล่าวอย่างเหมาะสม ผลการวิจัยในด้านอุปสงค์และอุปทานการจ้างงานของผู้สูงอายุ พบว่าในส่วนของผู้บริหาร หน่วยงานด้านทรัพยากรบุคคล และพนักงานผู้สูงอายุเห็นด้วยกับการจ้างงานผู้สูงอายุในธุรกิจค้าปลีก ผู้บริหารหน่วยงานทรัพยากรบุคคลส่วนใหญ่มีความประสงค์ในการจ้างพนักงานผู้สูงอายุเข้าทำงาน และในขณะเดียวกัน พนักงานผู้สูงอายุส่วนใหญ่ก็มีความประสงค์จะทำางานต่อเช่นกัน สำหรับรูปแบบการจ้างงานผู้สูงอายุในธุรกิจค้าปลีกได้มีการกำหนดถึงลักษณะงานที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ ประเภทงานสำหรับพนักงานผู้สูงอายุที่สามารถทำได้ ตลอดจนการกำหนดคุณสมบัติของพนักงานผู้สูงอายุสำหรับการสรรหาและคัดเลือกพนักงานผู้สูงอายุเข้าทำงาน ระยะเวลาการทำงานและสัญญาการจ้างงานผู้สูงอายุ รวมถึงค่าตอบแทนและสวัสดิการที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จในการจ้างงานผู้สูงอายุประกอบด้วยพนักงานผู้สูงอายุ สถานประกอบการ และหน่วยงานของภาครัฐ


การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลขั้นตอนการสรรหาและจัดรับพนักงานผ่านระบบสารสนเทศ กรณีศึกษา ธนาคารกรุงเทพจำกัด (มหาชน), สิริมา คุณมาศ Jan 2019

การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลขั้นตอนการสรรหาและจัดรับพนักงานผ่านระบบสารสนเทศ กรณีศึกษา ธนาคารกรุงเทพจำกัด (มหาชน), สิริมา คุณมาศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบขั้นตอนการสรรหาและจัดรับพนักงานและเหตุผลที่เปลี่ยนขั้นตอนการสรรหาและจัดรับพนักงานผ่านระบบสารสนเทศ 2) การสรรหาและจัดรับพนักงานผ่านระบบสารสนเทศมีประสิทธิผลมากขึ้นหรือไม่ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ หน่วยงานสรรหาและจัดรับพนักงาน สังกัดทรัพยากรบุคคล หน่วยงานลูกค้าธุรกิจรายปลีกและหน่วยงานลูกค้าธุรกิจรายกลาง เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) โดยนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์ข้อมูลเรียบเรียงใหม่ในเชิงพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า 1) ขั้นตอนการสรรหาและจัดรับพนักงานแบบปกติมีขั้นตอนทั้งหมด 24 ขั้นตอน ใช้ระยะเวลาทั้งกระบวนการโดยประมาณ 5 – 6 เดือน และขั้นตอนการสรรหาและจัดรับพนักงานผ่านระบบสารสนเทศมีขั้นตอนทั้งหมด 18 ขั้นตอน ใช้ระยะเวลาทั้งกระบวนการโดยประมาณ 1.5 – 2 เดือน สรุปได้ว่าเหตุผลหลักที่เปลี่ยนขั้นตอน คือ ปัจจัยของระยะเวลานาน ไม่สามารถจัดรับพนักงานได้ตามปริมาณในเวลาที่กำหนด จึงทำให้หน่วยงานมีความพึงพอใจต่ำต่อฝ่ายบุคคล 2) การสรรหาและจัดรับพนักงานผ่านระบบสารสนเทศมีประสิทธิผลมากขึ้นจริง ดังนี้ บุคลากร มีการพัฒนาศักยภาพ ความรู้ความสามารถของฝ่ายบุคคลให้เข้าใจธุรกิจหน่วยงานมากยิ่งขึ้น การออกแบบขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น คือ ลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นออกเพื่อกระชับขั้นตอนให้มีประสิทธิภาพ เทคโนโลยี ขั้นตอนการสรรหาและจัดรับพนักงานทุกขั้นตอนลงระบบสารสนเทศ เครื่องมือ เพิ่มการประเมินผลสัมภาษณ์ที่มีมาตรฐานเดียวกัน สรุปได้ว่าประสิทธิผลจากการเปลี่ยนขั้นตอนการสรรหาและจัดรับพนักงานนั้นทำให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งเรื่องคุณภาพการทำงานของฝ่ายบุคคล คุณภาพของกระบวนการ คุณภาพของเครื่องมือในการสัมภาษณ์และคุณภาพของผู้สมัครที่มีความเหมาะสมกับงาน ทำให้หน่วยงานได้พนักงานเข้ามาทำงานทันกำหนดตามปริมาณที่ต้องการ อีกทั้งเปลี่ยนขั้นตอนให้กระชับ ทำให้ระยะเวลาในการสรรหาและจัดรับพนักงานเร็วขึ้น หน่วยงานจึงมีความพึงพอใจต่อฝ่ายบุคคลมากขึ้นเช่นกัน


ระดับความพึงพอใจต่อการรายงานข่าวสารแบบ Real Time โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และแนวทางบริหารจัดการภาครัฐด้านการรายงานข่าวสารแบบ Real Time โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 : กรณีศึกษา ศูนย์สารสนเทศ กรมควบคุมโรค, สุทธิภา เฉลิมพักตร์ Jan 2019

ระดับความพึงพอใจต่อการรายงานข่าวสารแบบ Real Time โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และแนวทางบริหารจัดการภาครัฐด้านการรายงานข่าวสารแบบ Real Time โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 : กรณีศึกษา ศูนย์สารสนเทศ กรมควบคุมโรค, สุทธิภา เฉลิมพักตร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเรื่อง ระดับความพึงพอใจต่อการรายงานข่าวสารแบบเรียลไทม์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และแนวทางบริหารจัดการภาครัฐด้านการรายงานข่าวสารโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีศึกษา ศูนย์สารสนเทศ กรมควบคุมโรค เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิจัยเชิงปริมาณโดยศึกษาระดับความพึงพอใจด้านรูปแบบเนื้อหาการรายงานข่าวสาร ด้านการบริหารจัดการข้อมูลข่าวสาร และด้านนำมาใช้ประโยชน์ของประชาชน การวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาหลักการแนวทางบริหารจัดการภาครัฐและปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับแนวทางบริหารจัดการข่าวสารแบบเรียลไทม์โรคไวรัสโคโรนา 2019 ผลการศึกษาเชิงปริมาณพบว่า ประชาชนมีความพึงพอใจด้านรูปแบบเนื้อหาการรายงานข่าวสาร ด้านการบริหารจัดการ ด้านการใช้ประโยชน์จากการรายงานข่าวสารแบบเรียลไทม์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยประชาชนพึงพอใจในการนำเสนอข้อมูลแบบเรียลไทม์ทำให้สังคมไทยมีความตื่นตัวและตระหนักในการป้องกันโรคอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนแนวทางการบริหารจัดการภาครัฐด้านการรายงานข่าวสารแบบเรียลไทม์โรคไวรัสโคโรนา 2019 มีแนวทางการบริหารงานที่เป็นไปตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 และพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล 2562 เน้นความถูกต้อง โปร่งใส โดยมีหลักในการดำเนินงานในด้านข้อมูลข่าวสารคือกระบวนการจัดระบบข้อมูลข่าวสาร และการบริการข้อมูลข่าวสารในรูปแบบทันสมัย หลากหลายช่องทาง ทันสถานการณ์ในปัจจุบัน และสามารถรองรับการพัฒนาในยุคโลกาภิวัตน์


ความสอดคล้องระหว่างการรับรู้วัฒนธรรมองค์การกับวัฒนธรรมปัจเจกบุคคล ศึกษากรณีสถาบันพยาธิวิทยา ศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า, อวิกา โหละสุต Jan 2019

ความสอดคล้องระหว่างการรับรู้วัฒนธรรมองค์การกับวัฒนธรรมปัจเจกบุคคล ศึกษากรณีสถาบันพยาธิวิทยา ศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า, อวิกา โหละสุต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาการรับรู้รูปแบบวัฒนธรรมองค์การและวัฒนธรรมปัจเจกบุคคลของข้าราชการลูกจ้างสถาบันพยาธิวิทยา ศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า โดยทำการศึกษาวัฒนธรรม 3 ระดับ ได้แก่ กองทัพบก, สถาบันพยาธิวิทยา และปัจเจกบุคคล รวมถึงศึกษาความสอดคล้องระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับวัฒนธรรมปัจเจกบุคคล โดยอาศัยทฤษฎีแบบแผนวัฒนธรรมที่เหมาะสมของ ชาร์ลส์ แฮนดี เป็นฐานในการศึกษา ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยโดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (แบบสอบถาม) จำนวน 135 คน ควบคู่กับการใช้วิธีศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (สัมภาษณ์เชิงลึก) จำนวน 7 คน โดยอาศัยวิธีการวิเคราะห์ตามหลักทฤษฎีแบบแผนทางวัฒนธรรมที่เหมาะสมของชาร์ลส์ แฮนดี และใช้สถิติทดสอบ Nonparametric แบบ Wilcoxon (Wilcoxon Matched Pairs Signed-Ranks Test) ในการหาความสอดคล้องของวัฒนธรรม สำหรับความแตกต่างด้านชั้นยศพบว่าไม่มีผลต่อการรับรู้รูปแบบวัฒนธรรมของข้าราชการและลูกจ้างสถาบันพยาธิวิทยา ผลการวิจัยพบว่าการรับรู้รูปแบบวัฒนธรรมองค์การของกองทัพบก และสถาบันพยาธิวิทยาเป็นแบบเน้นบทบาท (อพอลโล) ส่วนรูปแบบวัฒนธรรมปัจเจกบุคคลเป็นแบบเน้นงาน(ดิออนีซุส) ดังนั้นรูปแบบวัฒนธรรมองค์การของกองทัพบกและสถาบันพยาธิวิทยามีความสอดคล้องกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่สำหรับรูปแบบวัฒนธรรมองค์การของกองทัพบก, สถาบันพยาธิวิทยาและวัฒนธรรมปัจเจกบุคคลในภาพรวมไม่สอดคล้องกัน เมื่อแยกพิจารณาตามกลุ่มวิชาชีพพบว่ากลุ่มวิชาชีพแพทย์/พยาบาลและกลุ่มสนับสนุนทางการแพทย์มีรูปแบบวัฒนธรรมแบบเน้นงาน ส่วนกลุ่มสนับสนุนทางธุรการเป็นแบบเน้นบทบาท สำหรับชั้นยศที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อการรับรู้รูปแบบวัฒนธรรมของข้าราชการลูกจ้างสถาบันพยาธิวิทยา


การเปิดรับ ความเชื่อมั่น และการใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อดิจิทัลของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, พงศกร โค้วไพโรจน์ Jan 2019

การเปิดรับ ความเชื่อมั่น และการใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อดิจิทัลของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, พงศกร โค้วไพโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับ ความเชื่อมั่น และการใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อดิจิทัลของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยการเก็บข้อมูลจากชาวไทยที่เป็นผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติการทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s correlation coefficient) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ที่เคยใช้บริการข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อดิจิทัลของ ททท. ส่วนใหญ่ติดตามข้อมูลข่าวสารจาก Facebook Page Amazing Thailand โดยใน 1 สัปดาห์ มีความถี่การใช้บริการ 1-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ส่วนผู้ที่ไม่เคยใช้บริการมีสาเหตุเนื่องจากไม่ทราบมาก่อนว่า ททท. มีช่องทางการสื่อสารผ่านสื่อดิจิทัล ผลการศึกษาเรื่องความเชื่อมั่นต่อข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อดิจิทัลของ ททท. โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนการใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อดิจิทัลของ ททท. โดยรวมอยู่ในระดับมากเช่นกัน สำหรับการวิเคราะห์อิทธิพลด้านประชากรศาสตร์ต่อปัจจัยต่างๆ พบว่า ปัจจัยด้านเพศ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน มีผลต่อการเปิดรับข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อดิจิทัลของ ททท. ส่วนปัจจัยด้านระดับการศึกษา มีผลต่อความเชื่อมั่นต่อข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อดิจิทัลของ ททท. และปัจจัยด้านเพศ ส่งผลต่อการใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อดิจิทัลของ ททท. ส่วนผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับ ความเชื่อมั่น และการใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อดิจิทัลของ ททท. พบว่าทั้ง 3 ปัจจัยมีความสัมพันธ์กัน โดยเป็นความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน