Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 2221 - 2250 of 5570

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

Livelihoods Training For Internally Displaced Persons (Idps) In Kachin State, Myanmar: Success And Challenges Beneficiaries, Lucia Lujan Jan 2019

Livelihoods Training For Internally Displaced Persons (Idps) In Kachin State, Myanmar: Success And Challenges Beneficiaries, Lucia Lujan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Over 100,000 persons have been internally displaced from various towns within Kachin State, Myanmar. Starting in 2015, some agencies began providing livelihood support programs for the IDP population in many campsites. This research focuses on the opportunities and challenges faced by Kachin IDPs who receive support from livelihood programs in pursuit of better employment opportunities. Drawing on a qualitative research approach, this research examines two of the most effective livelihood training activities and two less successful livelihood training activities which help IDPs to enhance their employment capacity, increasing their opportunities to receive an income. The livelihood support activities help IDPs …


Access To Overseas Higher Education For Karen Students From The Knu-Controlled Areas: Barriers And Coping Strategies, Saw Than Min Htun Jan 2019

Access To Overseas Higher Education For Karen Students From The Knu-Controlled Areas: Barriers And Coping Strategies, Saw Than Min Htun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The provision of education in KNU controlled areas is political as it is indispensable to development and national identity building. In fact, issues of legitimacy are key to understanding education services in these areas. Through the Karen Education and Culture Department, the KNU has mainly been providing education services in its controlled areas with its own curriculum and administration for the past seventy years since the beginning of civil war in Myanmar. However, the students cannot access to universities in Myanmar due to the lack of recognition of their learning attainments by the Myanmar government and only a handful of …


Protection Against Sexual Violence In The Workplace: Ngo Programs For Access To Justice For Female Migrant Workers In Thailand, Shah Bano Jan 2019

Protection Against Sexual Violence In The Workplace: Ngo Programs For Access To Justice For Female Migrant Workers In Thailand, Shah Bano

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Sexual violence in the workplace amongst female migrant worker is an under-discussed issue, due to lack of reporting, that needs to be explored in more detail. This paper examined the role of NGOs in providing protection to FMW who are survivors of sexual violence, in Thailand, who want to seek justice. This study used qualitative approach by interviewing 3 people from local NGOs and 3 people from international NGOs working in Thailand that provide services to FMW who have faced sexual violence, to deal with the culturally biased and highly patriarchal criminal justice system. The study shows that regardless of …


The Effects Of Terrorism On Girls’ Access To Education: A Case Study Of Swat Valley (Of Khyber Pakhtunkhwa), Pakistan, Shahaba Jamal Khan Jan 2019

The Effects Of Terrorism On Girls’ Access To Education: A Case Study Of Swat Valley (Of Khyber Pakhtunkhwa), Pakistan, Shahaba Jamal Khan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Using Women Rights and the Feminist theory on Education, the thesis is aimed to evaluate the effects of terrorism on females of Mingora, Swat, the Khyber Pakhtunkhwah Province in Pakistan. The objective is to analyze the damages caused by extremists to girls’ education in terms of barring them from attending schools and institutions, assassinating and injuring teachers and students, inflicting and causing damages to infrastructure by bombing and destroying schools and college buildings. Secondary data was used as well as video link and phone call interviews as well as the researchers’ observations and documents are also used as the means …


An Investigation Of Etf Flows : Asset Allocation Perspectives, Boonyaporn Wongsawatgul Jan 2019

An Investigation Of Etf Flows : Asset Allocation Perspectives, Boonyaporn Wongsawatgul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study investigates impacts of asset allocations on ETF flows across asset classes in a panel form, utilizing fixed-effects panel regression. The period of study covers October 2008 to July 2019. The investment universe contains 9 U.S.-listed ETFs, classifying into 5 asset classes. Monthly asset allocations are obtained from 5 optimization strategies based on mean-variance and risk-based optimizations. The findings indicate that asset allocations of risk-based optimization strategies significantly explain fund flows across asset classes. It implies that ETF market participants attempt to stabilize portfolio volatilities rather than maximize portfolio expected returns or risk-adjusted returns. This study further analyses relations …


Predicting Market Crashes Using Systemic Risk And Volatility Spillovers : A Deep Learning Approach, Kornprarun Mahutchariyakul Jan 2019

Predicting Market Crashes Using Systemic Risk And Volatility Spillovers : A Deep Learning Approach, Kornprarun Mahutchariyakul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

We develop a model for predicting market crashes in the Stock Exchange of Thailand using a deep learning-based anomaly detection approach (LSTM-VAE). The model aims to detect market behavior before each market crash. Apart from the common stock market variables, we feed the model with the indices of systemic risk, and of volatility spillovers. With these two indices, the model takes into account the influences from both inside and outside the particular stock market. We find that in large crashes our model gives the crash warning signals shortly after the SET index reaches its peaks and long before the index …


The Determinant Of International Sovereign Bond Financing In Developing Countries, Thanatcha Varaputtanon Jan 2019

The Determinant Of International Sovereign Bond Financing In Developing Countries, Thanatcha Varaputtanon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Governments need to secure finance for their country’s public projects. There are various ways for governments to acquire funds, for example, through taxation, borrowing money from international banks, issuing government bonds, and so on. For developing countries, a government may consider issuing international sovereign bonds to meet the country’s financial needs. This thesis looks at the determinants of international sovereign bond financing by 36 emerging economies using data collected from the Bloomberg terminal on international sovereign bonds issued between 1996 and 2016. The thesis adopts the discrete choice logit-fixed effect model to empirically verify factors suggested by S&P (2014) that …


“คุกมีไว้ขังคนจน” กับนโยบายการช่วยเหลือคนยากจนในคดีอาญา, กฤตานนท์ มะสะนิง Jan 2019

“คุกมีไว้ขังคนจน” กับนโยบายการช่วยเหลือคนยากจนในคดีอาญา, กฤตานนท์ มะสะนิง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมาย การให้ความหมาย และอำนาจที่อยู่เบื้องหลังการให้ความหมายเรื่อง “คุกมีไว้ขังคนจน” ผ่านการแพร่กระจายความเชื่อในสังคมไทย รวมทั้งเพื่อศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายการช่วยเหลือคนยากจนในคดีอาญาของรัฐต่อการทัดทานความเชื่อเรื่อง “คุกมีไว้ขังคนจน” โดยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ที่เก็บข้อมูลด้วยเทคนิคการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการส่งผ่าน/เผยแพร่ หรือสร้างความเข้าใจเรื่อง “คุกมีไว้ขังคนจน” และกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการกำหนดและขับเคลื่อนนโยบายการช่วยเหลือคนยากจนในคดีอาญา ซึ่งมีข้อค้นพบ ดังนี้ 1) การให้ความหมาย “คุกมีไว้ขังคนจน” จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งสองกลุ่มได้สะท้อน 4 ประเด็น ได้แก่ กระบวนการยุติธรรมมีราคาแพง กระบวนการยุติธรรมมีการเลือกปฏิบัติ กระบวนการยุติธรรมมีความซับซ้อน มีแบบแผนพิธีการ และประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม ในขณะที่กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดและขับเคลื่อนนโยบายการช่วยเหลือคนยากจนในคดีอาญา ได้เพิ่มเติมในประเด็นความยากจนเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคมไทยมาอย่างยาวนาน 2) องค์ประกอบหรืออำนาจที่อยู่เบื้องหลังการให้ความหมาย “คุกมีไว้ขังคนจน” นั้น มี 3 ประเด็น ได้แก่ ความเหลื่อมล้ำทางสังคม การผลิตซ้ำของสื่อ และการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เสมอภาค โดยใน 2 ประเด็นแรกนั้น ได้รับการอธิบายจากทั้งสองกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่อธิบายตรงกัน มีเพียงประเด็นสุดท้ายที่อธิบายจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการส่งผ่าน/เผยแพร่ หรือสร้างความเข้าใจเรื่อง “คุกมีไว้ขังคนจน” เพียงกลุ่มเดียว 3) การรับรู้หรือได้ยินเรื่อง “คุกมีไว้ขังคนจน” ไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่ในสังคมไทย และถือเป็นเรื่องที่ปรากฏให้เห็นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งแม้ว่าการรับรู้หรือได้ยินของผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งสองกลุ่มนั้นได้แตกต่างกันไปตามแต่ละบริบท แต่จุดร่วมประการหนึ่งที่สำคัญของการรับรู้หรือได้ยินเรื่อง “คุกมีไว้ขังคนจน” คือ ได้ยินมานานและรับรู้มาอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับการส่งผ่านจาก 3 กลุ่มหลัก ๆ ได้แก่ ส่งผ่านจากเหยื่อของกระบวนการยุติธรรม จากสื่อมวลชน และจากข้อมูลจากหน่วยงานรัฐ 4) ความเชื่อของกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่มีต่อประเด็นเรื่อง “คุกมีไว้ขังคนจน” สามารถจำแนกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เชื่อ กลุ่มที่ไม่เชื่อ และกลุ่มที่ยังลังเล และ 5) แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายการช่วยเหลือคนยากจนในคดีอาญาของรัฐต่อการทัดทานความเชื่อเรื่อง “คุกมีไว้ขังคนจน” จะประกอบไปด้วยการขับเคลื่อนกองทุนยุติธรรมตามพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ. 2558 การปล่อยตัวชั่วคราวแบบไม่มีประกันที่เป็นไปตามข้อบังคับประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการเรียกประกัน หรือหลักประกันในการปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 …


แนวทางการป้องกันอาชญากรรมที่เกี่ยวกับสกุลเงินเข้ารหัสในประเทศไทย: กรณีศึกษาบิทคอยน์, กิจชัยยะ สุรารักษ์ Jan 2019

แนวทางการป้องกันอาชญากรรมที่เกี่ยวกับสกุลเงินเข้ารหัสในประเทศไทย: กรณีศึกษาบิทคอยน์, กิจชัยยะ สุรารักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะ รูปแบบ สภาพปัญหาและสาเหตุของอาชญากรรมที่ใช้บิทคอยน์ในฐานะสกุลเงินเข้ารหัสเป็นเครื่องมือ ตลอดจนศึกษาแนวนโยบาย กฎหมายและมาตรการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสกุลเงินเข้ารหัสทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อเสนอแนวทางการป้องกันอาชญากรรมที่เกี่ยวกับสกุลเงินเข้ารหัสในประเทศไทยได้อย่างเหมาะสม การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการศึกษาจากเอกสารและการวิจัยภาคสนามโดยการเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ผลการศึกษาพบว่าปัจจุบันมีการนำบิทคอยน์ไปใช้เป็นเครื่องมือในการก่ออาชญากรรมโดยตรงด้วยการนำไปใช้เป็นสื่อกลางในการกระทำความผิดในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการที่ผิดกฎหมาย การฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนให้กลุ่มผู้ก่อการร้าย และการนำไปใช้เป็นเครื่องมือในทางอ้อมด้วยการนำเอาชื่อของบิทคอยน์ไปหลอกลวงฉ้อโกงในลักษณะคล้ายกันกับแชร์ลูกโซ่ โดยมีสภาพปัญหาและสาเหตุจากลักษณะพิเศษต่างๆของบิทคอยน์ที่เอื้อต่อการนำไปใช้ในการก่ออาชญากรรม โดยเฉพาะคุณสมบัติที่ไม่มีการเปิดเผยตัวตนผู้ใช้งาน สภาพปัญหาและสาเหตุจากกฎหมาย ได้แก่ สถานภาพทางกฎหมายที่ไม่ชัดเจนของบิทคอยน์ กฎหมายที่เกี่ยวข้องยังไม่สามารถใช้ป้องกันการนำบิทคอยน์ไปใช้ในการกระทำผิดได้ ปัญหาในด้านการตีความกฎหมายที่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับการเก็บพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ และการขาดกฎหมายที่บัญญัติหลักเกณฑ์และวิธีการในการยึดและอายัดบิทคอยน์ รวมทั้งสภาพปัญหาและสาเหตุจากการบังคับใช้กฎหมายที่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องยังขาดองค์ความรู้ วิธีการ และเครื่องมือหรือกลไกต่างๆ ทั้งยังขาดการบูรณาการร่วมกันทั้งจากหน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชนและความร่วมมือระหว่างประเทศ และจากการศึกษาแนวนโยบาย กฎหมายและมาตรการต่างๆที่เกี่ยวข้องพบว่าแต่ละประเทศมีทิศทางการกำหนดนโยบายที่แตกต่างกันทั้งรูปแบบของการยอมรับ กึ่งยอมรับกึ่งควบคุม และปฏิเสธบิทคอยน์และสกุลเงินเข้ารหัสต่างๆขึ้นอยู่กับแนวคิดทางการเมือง สภาพเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของประเทศนั้นๆ ทั้งนี้ ประเทศไทยควรมีการกำหนดมาตรการในการยืนยันตัวตนผู้ใช้งาน กำหนดหลักปฏิบัติในการเก็บรวบรวมพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ชัดเจน บัญญัติหลักกฎหมายเกี่ยวกับการยึดและอายัดสกุลเงินเข้ารหัส ส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ เครื่องมือ และกลไกต่างๆ การสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนและหน่วยงานระหว่างประเทศ รวมทั้งการผลักดันให้มีการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลแห่งชาติ และการสร้างความรับรู้ให้แก่ประชาชนในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมที่เกี่ยวกับสกุลเงินเข้ารหัส


อาชญากรรมต่อสัตว์: ประสบการณ์การทารุณกรรมสัตว์ผ่านการรับรู้ของสังคมไทย, ณธัญ วงศ์วานิช Jan 2019

อาชญากรรมต่อสัตว์: ประสบการณ์การทารุณกรรมสัตว์ผ่านการรับรู้ของสังคมไทย, ณธัญ วงศ์วานิช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์หัวข้อ อาชญากรรมต่อสัตว์: ประสบการณ์การทารุณกรรมสัตว์ผ่านการรับรู้ของสังคมไทยนี้มุ่งเน้นการศึกษาประสบการณ์การทารุณกรรมสัตว์และที่มาของปัญหานี้ที่ถูกพบได้ในสังคมไทยและแนวคิดประกอบกับหลักการเกี่ยวกับการลงโทษความผิดเกี่ยวกับการทารุณกรรมสัตว์ที่มีความเหมาะสมตามมุมมองของกลุ่มบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องอย่างสำคัญต่อสัตว์อีกทั้งมีความสอดคล้องต่อลักษณะความเป็นไปของสภาพสังคมไทย จากการศึกษานั้นพบว่าการทารุณกรรมสัตว์นั้น มีเหตุมาจากปัญหาเกี่ยวกับสัตว์ดังเช่น ปริมาณสัตว์จรจัดจำนวนมากที่ก่อให้เกิดความรำคาญแก่ประชาชน จนเกิดการออกมาแก้ปัญหาเองโดยใช้ความรุนแรง ซึ่งได้กระทำการทารุณกรรมสัตว์เหล่านั้นเพื่อแก้ปัญหาความรำคาญดังกล่าว หรือการกระทำทารุณกรรมสัตว์ที่กระทำเพื่อหาความพึงพอใจหรือผลประโยชน์ในแง่ต่างๆ เช่นการหายรายได้บนโลกไซเบอร์ ซึ่งในนิติรัฐสมัยใหม่นี้เองก็ได้มีการแก้ไขปัญหาเหล่านี้โดยการตราขึ้นและบังคับใช้กฎหมายในกรณีการคุ้มครองสัตว์ เพื่อให้เกิดการคุ้มครองตัวสัตว์และปกป้องศีลธรรมอันดีในสังคมไทย โดยทั้งนี้เอง การป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ในอนาคต นอกจากการบังคับใช้กฎหมายแล้วนั้น ยังจำเป็นที่จะต้องปลูกฝังแนวคิดเกี่ยวกับสวัสดิภาพของสัตว์แก่ประชาชนประกอบไปด้วย เนื่องจากที่มาของปัญหานั้นเกิดจากการปล่อยให้ปัญหาสัตว์จรจัดนั้นดำเนินต่อไป จากการจัดการที่ไม่เด็ดขาดของรัฐ จากผู้เลี้ยงสัตว์ที่ไม่มีความรับผิดชอบ หรือจากบุคคลที่ไม่เห็นถึงคุณค่าของสัตว์ ผู้วิจัยจึงเห็นว่าการเรียนรู้เกี่ยวกับประสบการณ์การทารุณกรรมสัตว์ และการทำความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองสัตว์นั้นเป็นสิ่งสำคัญ อีกทั้งการนำมาตรการอื่นๆมาใช้เพื่อแก้ปัญหาสัตว์จรจัด และสัตว์ถูกทารุณกรรมในต่อไป


แนวทางในการพัฒนาการใช้แอพพลิเคชั่น "Police I Lert U", ณัฐดนัย บำรุงศรี Jan 2019

แนวทางในการพัฒนาการใช้แอพพลิเคชั่น "Police I Lert U", ณัฐดนัย บำรุงศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง แนวทางในการพัฒนาการใช้แอพพลิเคชั่น Police I Lert U มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของประชาชนในการใช้งานแอพพลิเคชั่น Police I Lert U ปัญหาและอุปสรรคของผู้ใช้งานแอพพลิเคชั่น Police I Lert U และแนวทางการพัฒนาแอพพลิเคชั่น Police I Lert U การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณควบคู่กับการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่รู้จัก Police I Lert U และการสัมภาษณ์เชิงลึก สัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่มีประสบการณ์ในการใช้งานแอพพลิเคชั่น Police I Lert U ผลการศึกษาพบว่าประชาชนมีทัศนคติที่ดีต่อแอพพลิเคชั่น Police I Lert U สามารถช่วยให้การแจ้งเหตุด่วนเหตุร้ายเป็นไปด้วยความรวดเร็ว และช่วยลดการสูญเสียจากอาชญากรรมได้ ปัญหาและอุปสรรคของประชาชนในการเข้าถึงการตัดสินใจใช้งานแอพพลิเคชั่น Police I Lert U โดยภาพรวมส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาด้านการประชาสัมพันธ์ เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ไม่รู้จักแอพพลิเคชั่น Police I Lert U จึงทำให้ไม่มั่นใจในการตัดสินใจใช้งานในด้านปัญหาและอุปสรรคของผู้ใช้งานแอพพลิเคชั่น Police I Lert U ผลจากการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นในระดับมากในทุกประเด็นยกเว้นประเด็นที่แอพพลิเชั่น Police I Lert U ช่วยลดการเกิดอาชญากรรมกลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยในระดับปานกลาง ส่วนใหญ่ผู้ให้ข้อมูลมีความเห็นว่า มีความยากในการเข้าถึงในระดับน้อย ขั้นตอนในการลงทะเบียนการใช้งานมีความยุ่งยากในระดับน้อย มีความรู้สึกถึงการกระทบสิทธิส่วนบุคคลในการให้ข้อมูลในระดับน้อย ผู้ให้ข้อมูลรู้สึกหวาดกลัวการถูกโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคลในระดับน้อย และกลัวข้อมูลการแจ้งเหตุรั่วไหลไปยังคนร้ายในระดับน้อย แนวทางการพัฒนาแอพพลิเคชั่น ควรมีปุ่มยืนยันการแจ้งเหตุ ควรมีปุ่มยกเลิกการแจ้งเหตุ และควรมีหมายเลขโทรศัพท์ของสถานีตำรวจในพื้นที่ปรากฏบนแอพพลิเคชั่น Police I Lert U ส่วนแนวทางการพัฒนาจากเจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องควรมีบริการอื่นเสริม ข้อมูลที่รับแจ้งควรนำไปวิเคราะห์พัฒนาเพิ่มเติม และนำเสนออาชญากรรมที่เกิดขึ้นในท้องที่ได้


การขับเคลื่อนข้อกำหนดกรุงเทพด้านแม่และเด็กติดผู้ต้องขังในประเทศไทย, ดนัยกันต์ จงเฟื่องปริญญา Jan 2019

การขับเคลื่อนข้อกำหนดกรุงเทพด้านแม่และเด็กติดผู้ต้องขังในประเทศไทย, ดนัยกันต์ จงเฟื่องปริญญา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทความนี้อภิปรายถึงสถานการณ์การขับเคลื่อนข้อกำหนดกรุงเทพด้านแม่และเด็กติดผู้ต้องขังในประเทศไทย ประเด็นด้านสุขภาพของแม่และเด็ก ด้านสิทธิของผู้ต้องขังแม่และเด็กและด้านการดูแลเด็ก โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อศึกษาสถานการณ์ของการขับเคลื่อนข้อกำหนดกรุงเทพด้านแม่และเด็กติดผู้ต้องขัง สภาพปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการเสนอแนะการขับเคลื่อนข้อกำหนดกรุงเทพด้านแม่และเด็กติดผู้ต้องขังในประทศไทย วิธีปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ที่เกี่ยวข้องเพื่อชี้ให้เห็นถึงสถานการณ์ของการขับเคลื่อนข้อกำหนดกรุงเทพด้านแม่และเด็กติดผู้ต้องขังพร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสม การวิจัยนี้เน้นการศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Documentary research) โดยทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องแนวคิดทฤษฎี เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับข้อกำหนดองค์กรสหประชาชาติและข้อกำหนดกรุงเทพว่าด้วยสุขภาพแม่และเด็กติดผู้ต้องขังหญิง การปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงและเด็กติดผู้ต้องขังในประเทศไทย มาตรฐานสากลเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิง แนวคิดความผูกพันทางสังคม (Social Bonding) แนวคิดการขัดเกลาทางสังคม (Socialization) ผลการศึกษาพบว่าผู้ต้องขังหญิงที่ตั้งครรภ์ ผู้ต้องขังหญิงที่มีลูกอ่อนและเด็กติดผู้ต้องขัง ยังมีปัญหาในหลากหลายรูปแบบแตกต่างกันไปตามลักษณะของเรือนจำและทัณฑสถานที่ผู้ต้องขังหญิงจองจำอยู่ในแต่ละจังหวัด เนื่องจากอุปสรรคอันเกิดจากงบประมาณรายปีที่อาจไม่เหมาะสมกับจำนวนผู้ต้องขังหญิงที่ตั้งครรภ์ ผู้ต้องขังหญิงที่มีลูกอ่อน และเด็กติดผู้ต้องขัง ปัญหาเรื่องสถานที่อภิบาลทารก ปัญหาสุขอนามัยของผู้ต้องขังหญิง การจัดการเรือนนอนของผู้ต้องขังหญิง สวัสดิการของผู้ต้องขังหญิงที่ตั้งครรภ์ ผู้ต้องขังหลังคลอดและเด็กติดผู้ต้องขัง การขาดแคลนเจ้าหน้าที่ด้านสังคมสงเคราะห์ ด้านจิตวิทยาและการเข้าถึงกุมารแพทย์และพยาบาลผดุงครรภ์ ขาดระบบฐานข้อมูลที่เชื่อมต่อกันระหว่างเรือนจำและทัณฑสถาน การประสานงานและทำงานร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับแม่และเด็กติดผู้ต้องขัง ยังไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดกรุงเทพได้อย่างสมบูรณ์ แม้จะมีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนจากข้อกำหนดกรุงเทพก็ตาม แต่ด้วยข้อจำกัดหลายประการแตกต่างกันไปตามขนาดของสถานที่และการบริหารจัดการของเจ้าหน้าที่ในแต่ละเรือนจำและทัณฑสถาน ทำให้ไม่สามารถขับเคลื่อนข้อกำหนดกรุงเทพด้านแม่และเด็กติดผู้ต้องขังได้อย่างเป็นรูปธรรม ผลการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำไปใช้กำหนดนโยบาย เป็นแนวทางการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับแม่และเด็กติดผู้ต้องขัง เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการขับเคลื่อนข้อกำหนดกรุงเทพด้านแม่และเด็กติดผู้ต้องขังในประเทศไทย


สวัสดิภาพของสัตว์ในโรงฆ่าสัตว์ที่ถูกฆ่าเพื่อเป็นอาหารของมนุษย์, ธัญจิรา วรรณวิจิตร Jan 2019

สวัสดิภาพของสัตว์ในโรงฆ่าสัตว์ที่ถูกฆ่าเพื่อเป็นอาหารของมนุษย์, ธัญจิรา วรรณวิจิตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสัตว์ในมิติต่างๆของสังคมโดยเฉพาะกับสัตว์เศรษฐกิจ จนนำไปสู่การปฏิบัติต่อสัตว์ในโรงฆ่าของมนุษย์ ซึ่งพบว่ามีปัญหาตั้งแต่การเลี้ยงสัตว์ในฟาร์ม การขนส่ง และกระบวนการฆ่าสัตว์ในโรงฆ่า โดยเฉพาะในโรงฆ่าที่มีปัญหาตั้งแต่สภาพอาคารโรงฆ่าที่สกปรก เครื่องมือไม่ได้มาตรฐาน การดูแลสัตว์ก่อนการเข้าฆ่าที่พนักงานไม่มีความรู้ความเข้าใจที่ดีพอ และวิธีการฆ่าที่ใช้วิธีการทำให้สัตว์สลบโดยใช้ค้อนทุบที่ศีรษะของสัตว์ ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในโรงฆ่าขนาดเล็ก ที่มีปัญหาทั้งด้านสุขอนามัยและด้านสวัสดิภาพสัตว์ นอกจากนี้ยังมีปัญหาด้านการตรวจสอบและการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐ ที่ไม่สามารถตรวจสอบขั้นตอนในการฆ่าของโรงฆ่าสัตว์ได้อย่างทั่วถึง รวมถึงข้อกฎหมายที่ยังมีช่องโหว่ในการปฏิบัติต่อสัตว์ ส่งผลให้สัตว์เศรษฐกิจในโรงฆ่านี้ยังไม่ได้รับความคุ้มครองที่ดีพอโดยมีแนวคิดและทฤษฎีเป็นฐานเครื่องมือในการอธิบายถึงความสัมพันธ์และการปฏิบัติต่อสัตว์ของมนุษย์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์ และการสังเกตการณ์ ซึ่งพื้นที่ในการศึกษาจะศึกษาเฉพาะการปฏิบัติต่อสัตว์ในโรงฆ่าเท่านั้น จากการศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสัตว์ที่เกิดขึ้นในบริบทต่างๆของสังคม มีความเกี่ยวพันกับ ศาสนา เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และกฎหมาย จนนำไปสู่วิธีการปฏิบัติต่อสัตว์แต่ละประเภท ซึ่งในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งเน้นที่จะศึกษาความสัมพันธ์ของมนุษย์และสัตว์ในสังคมโดยจะมุ่งเน้นไปที่สัตว์เศรษฐกิจจนนำไปสู่การปฏิบัติต่อสัตว์ในโรงฆ่าที่เป็นปัญหา ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งนี้ คือให้รัฐสนุบสนันผู้ประกอบการรายย่อยด้านอุปกรณ์ สถานที่ และเครื่องมือให้มีมาตรฐานที่ดีขึ้น ปรับแก้บทลงโทษให้มีรายละเอียดและบทลงโทษที่มากขึ้น และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปมีการตื่นตัวต่อชีวิตสัตว์ในโรงฆ่า การศึกษาในครั้งนี้จึงคาดหวังที่จะให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น ผู้ประกอบการโรงฆ่าสัตว์ เจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมถึงประชาชน ได้ตระหนักถึงคุณค่าในชีวิตของสัตว์ทุกชีวิตและคาดหวังให้มีการตื่นตัวในการรณรงค์ให้มีการฆ่าสัตว์ให้ถูกต้องตามหลัก


การบังคับสูญหายในประเทศไทย: ประสบการณ์และมุมมองในเชิงกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา, ปณิธาน พิมลวิชยากิจ Jan 2019

การบังคับสูญหายในประเทศไทย: ประสบการณ์และมุมมองในเชิงกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา, ปณิธาน พิมลวิชยากิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง “การบังคับสูญหายในประเทศไทย: ประสบการณ์และมุมมองในเชิงกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ในเชิงกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา รวมถึงมุมมองหรือทัศนคติของผู้ให้ข้อมูลสำคัญต่อปัญหาการบังคับสูญหายในประเทศไทย สำหรับการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยเทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมาย และสมาชิกครอบครัวของผู้สูญหาย โดยผลการศึกษาพบว่า การบังคับสูญหายในประเทศไทยอยู่ในสภาวะที่ไม่มีบทกฎหมายฉบับใดกำหนดคำนิยามและกำหนดว่ามีความผิด จึงส่งผลให้เกิดปัญหาด้านบทบัญญัติทางกฎหมาย กล่าวคือสังคมไทยไม่เข้าใจถึงความหมายของการบังคับสูญหายอย่างถ่องแท้ และส่งผลให้การบังคับสูญหายไม่มีสถานะเป็นอาชญากรรม ดังนั้นจึงทำให้มีการนำกฎหมายอื่นที่ระบุถึงฐานความผิดที่เกี่ยวข้องซึ่งยังมีอัตราโทษที่ไม่เหมาะสมมาบังคับใช้แทน นอกจากนี้ยังส่งผลให้เกิดปัญหาทางด้านกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เช่น การสืบสวนสอบสวนที่ไม่น่าเชื่อถือ การที่ครอบครัวของผู้สูญหายไม่สามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรม หรือการช่วยเหลือเยียวยาที่ไม่มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนและเหมาะสมกับความเสียหายที่เกิดขึ้น ดังนั้น รัฐบาลจึงควรบังคับใช้กฎหมายสำหรับการบังคับสูญหายเป็นการเฉพาะ เพื่อทำให้เกิดกระบวนการแก้ไขปัญหาการบังคับสูญหายอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งกำหนดมาตรการอื่น เช่น การช่วยเหลือเยียวยาด้านการเงินแก่ครอบครัวผู้สูญหายในระหว่างการดำเนินคดี การจัดตั้งกลุ่ม/เครือข่ายสำหรับกรณีปัญหาการบังคับสูญหายโดยเฉพาะ เป็นต้น


การแปลงเปลี่ยนพฤติกรรมและความสำเร็จในการกลับคืนสู่สังคม: จากนักโทษสู่นักกีฬาอาชีพ, พรรณวดี คำไชยวงค์ Jan 2019

การแปลงเปลี่ยนพฤติกรรมและความสำเร็จในการกลับคืนสู่สังคม: จากนักโทษสู่นักกีฬาอาชีพ, พรรณวดี คำไชยวงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการแปลงเปลี่ยนพฤติกรรมและความสำเร็จในการกลับคืนสู่สังคมของผู้เคยเป็นนักโทษสู่การเป็นนักกีฬาอาชีพ ศึกษาแนวทางการใช้กีฬาเพื่อฟื้นฟูผู้กระทำผิดและลดการกระทำผิดซ้ำ ใช้วิธีศึกษาเชิงคุณภาพโดยการค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการเฉพาะเจาะจง โดยการศึกษาแบบกรณีศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญของการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพของการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ คือ นักกีฬาอาชีพผู้ซึ่งเคยเป็นนักโทษ ผู้ทรงคุณวุฒิในระดับนโยบาย ผู้บริหารค่าย/สโมสรที่นักกีฬาสังกัดอยู่ และเพื่อนร่วมงานรวมถึงผู้ใกล้ชิด รวมทั้งสิ้น 22 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยพรรณนาเชิงวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการแปลงเปลี่ยนพฤติกรรมและความสำเร็จในการกลับคืนสู่สังคม ประกอบด้วย 1) แรงจูงใจ ประกอบด้วย แรงจูงใจภายนอก คือการมีเป้าหมายในความสำเร็จ การได้รับโอกาส การเป็นที่ยอมรับ การได้รับการยกย่องว่าเป็นแบบอย่าง การมีรายได้ที่เพียงพอในการดูแลครอบครัวและใช้จ่ายส่วนตัว และแรงจูงใจภายในประกอบด้วย การรับรู้ในความสามารถตนเอง ความรู้สึกว่ามีคุณค่า และความกลัวที่ต้องกลับไปรับโทษหากกระทำผิดซ้ำ 2) สภาพแวดล้อมที่ดีทางสังคม คือ ครอบครัวและเพื่อน 3) การฟื้นฟูและแก้ไขผู้กระทำผิดจากในเรือนจำ คือ การปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมในระหว่างการรับโทษด้วยการใช้กีฬา โดยกรมราชทัณฑ์ได้ใช้กีฬาเพื่อฟื้นฟูผู้กระทำผิดซ้ำ เสริมสร้างสมรรถภาพร่างกาย พัฒนาด้านจิตใจ ส่งเสริมระเบียบวินัย รวมถึงมีการสนับสนุนนักโทษที่มีความสามารถในกีฬาเฉพาะด้าน ให้เข้ารับการแข่งขันในรายการต่าง ๆ ตลอดจนโครงการด้านกีฬาจากภาครัฐและเอกชนที่ให้ความร่วมมือในการสร้างโอกาสในการกลับคืนสู่สังคม


การกลั่นแกล้งในมหาวิทยาลัย : กรณีศึกษานิสิตที่มีความต้องการพิเศษ, ภัทรจรัส บำรุงพงษ์ Jan 2019

การกลั่นแกล้งในมหาวิทยาลัย : กรณีศึกษานิสิตที่มีความต้องการพิเศษ, ภัทรจรัส บำรุงพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่องการกลั่นแกล้งในมหาวิทยาลัย : กรณีศึกษานิสิตที่มีความต้องการพิเศษ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบ สาเหตุ ผลกระทบ และแนวทางการแก้ไขปัญหาเมื่อเกิดเหตุ การกลั่นแกล้งในระดับมหาวิทยาลัย โดยศึกษากรณีของผู้ที่เป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ รวมทั้งยังบทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ได้แก่ อาจารย์ บุคลากร และเพื่อนร่วมชั้นเรียน เพื่อนำเสนอเป็นแนวทางในการป้องกัน แก้ไข และจัดการปัญหาการกลั่นแกล้ง โดยการศึกษาในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งดำเนินการด้วยวิธีการ สัมภาษณ์เชิงลึกโดยกลุ่มตัวอย่างเฉพาะเจาะจง จำนวน 11 ราย ผู้วิจัยนำข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างและข้อมูลจากเอกสารมาดำเนินการวิเคราะห์และประมวลผล โดยได้ผลการศึกษาซึ่งผ่านการประมวล และเชื่อมโยงในลักษณะพรรณนา ดังนี้ จากการศึกษาพบว่ารูปแบบของการกลั่นแกล้งที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัย ที่เด็กที่มีความต้องการพิเศษ พบเจอบ่อยครั้ง ได้แก่ การกลั่นแกล้งทางสังคม และการกลั่นแกล้งทางวาจา ซึ่งสาเหตุของการถูกกลั่นแกล้งเกิดขึ้นจาก 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ความไม่เข้าใจในลักษณะอาการหรือพฤติกรรมที่แตกต่าง และพฤติกรรมการแสดงออกที่แตกต่างจากผู้อื่นของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ โดยเมื่อศึกษาถึงผลกระทบที่เกิดจากการกลั่นแกล้งต่อเด็กที่มีความต้องการพิเศษ พบว่าก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านจิตใจ และผลกระทบทางด้านการเรียนเป็นหลัก นอกจากนี้ บทบาทของผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอาจารย์ และเพื่อนร่วมชั้นเรียนนั้น อาจเป็นได้ทั้ง ผู้ช่วยเหลือ ทั้งด้านการเรียนและการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย ปกป้องหรือให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดการกลั่นแกล้ง และในขณะเดียวกัน อาจเปลี่ยนบทบาทกลายเป็นผู้กลั่นแกล้ง หรือผู้ให้การสนับสนุนการกลั่นแกล้งได้เช่นกัน ข้อเสนอแนะจากการวิจัย พบว่าแนวทางในการป้องกัน แก้ไขปัญหาการกลั่นแกล้งนั้น ควรเริ่มต้นตั้งแต่หน่วยงานหลักเช่นมหาวิทยาลัย ในการประเมิน คัดกรอง และจัดทำแนวทางการช่วยเหลืออย่างเป็นระบบ การอบรมให้ความรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องพิเศษ การรณรงค์หรือผลักดันโครงการที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น


การจัดการความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์ในโรงเรียน : บทบาทของผู้ไกล่เกลี่ยเยาวชน, พัฒนพงษ์ ทองเนื้อสุก Jan 2019

การจัดการความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์ในโรงเรียน : บทบาทของผู้ไกล่เกลี่ยเยาวชน, พัฒนพงษ์ ทองเนื้อสุก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง การจัดการความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์ในโรงเรียน : บทบาทของผู้ไกล่เกลี่ยเยาวชน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบาย รูปแบบ กระบวนการ และแนวคิด รวมถึงแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice) ในการนำกระบวนการเชิงสมานฉันท์ใช้จัดการความขัดแย้งในโรงเรียน คุณลักษณะที่ดีของผู้ไกล่เกลี่ยเยาวชน และเสนอแนวทางในการพัฒนาเครื่องมือจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธีที่เหมาะสมกับบริบทของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นโรงเรียน โดยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยเทคนิคการวิจัยเอกสารและใช้กรณีศึกษาโรงเรียนพนมสารคาม”อดุลพนมสารคาม” การสัมภาษณ์แบบเชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ แล้วประเมินผลตามตัวแบบซิป (CIPP Model) และวิเคราะห์บทบาทผู้ไกล่เกลี่ยเยาวชน ผลการวิจัยพบว่า บทบาทของผู้ไกล่เกลี่ยเยาวชนในการจัดการความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์ในโรงเรียน 1) เป็นผู้ช่วยสนับสนุนให้คู่ขัดแย้งสามารถหาทางออกที่ตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย 3) มีความเอาใจใส่คู่ขัดแย้งและแสดงออกถึงความต้องการให้เกิดการไกล่เกลี่ยได้สำเร็จ 2) ทำหน้าที่อย่างเป็นกลางไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และเหตุผลที่ควรให้ผู้ไกล่เกลี่ยเยาวชนเป็นผู้ดำเนินการไกล่เกลี่ยในโรงเรียน 1) บทบาทของผู้ไกล่เกลี่ยเยาวชนทำงานแตกต่างกับการใช้กฎระเบียบของโรงเรียน 2) เด็กนักเรียนได้เรียนรู้การจัดการความขัดแย้งเชิงสันติวิธี 3) ผู้ไกล่เกลี่ยเยาวชนสามารถเป็นกลไกสำคัญในการจัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในโรงเรียน ดังนั้น จากการวิจัยที่พบว่าผู้ไกล่เกลี่ยเยาวชนมีความเหมาะสมในการเป็นผู้ไกล่เกลี่ยความขัดแย้งในโรงเรียน ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะให้มีการขยายผลนำกระบวนการการจัดการความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์ไปใช้ในสถานศึกษาทุกระดับ โดยเฉพาะอาชีวะ และมหาวิทยาลัยด้วย


การตกเป็นเหยื่อการละเมิดทางทรัพย์สินของผู้สูงอายุจากบุคคลในครอบครัวหรือเครือญาติ, รษิกา พงษ์ยุทธกร Jan 2019

การตกเป็นเหยื่อการละเมิดทางทรัพย์สินของผู้สูงอายุจากบุคคลในครอบครัวหรือเครือญาติ, รษิกา พงษ์ยุทธกร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเรื่อง "การตกเป็นเหยื่อการละเมิดทางทรัพย์สินของผู้สูงอายุจากบุคคลในครอบครัวหรือเครือญาติ ” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการตกเป็นเหยื่อ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเป็นเหยื่อ และเพื่อศึกษาแนวทางการป้องกันการตกเป็นเหยื่อการละเมิดทางทรัพย์สินของผู้สูงอายุจากบุคคลในครอบครัวหรือเครือญาติ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จากการกำหนดคุณลักษณะของประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยและเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้สูงอายุที่ตกเป็นเหยื่อการละเมิดทางทรัพย์สินจากบุคคลในครอบครัวหรือเครือญาติ 2) สมาชิกในครอบครัวเดียวกันกับผู้สูงอายุหรือผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ตกเป็นเหยื่อการละเมิดทางทรัพย์สินจากบุคคลในครอบครัวหรือเครือญาติ 3) บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุที่ตกเป็นเหยื่อการละเมิดทางทรัพย์สินจากบุคคลในครอบครัวหรือเครือญาติ ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบการละเมิดทางทรัพย์สินของผู้สูงอายุ มี 4 รูปแบบ ได้แก่ 1) การเอาทรัพย์สินไปจากผู้สูงอายุโดยใช้เอกสารหรือลายเซ็นต์ของผู้สูงอายุไปทำธุรกรรม 2) การละเมิดทางทรัพย์สินที่มีการทำร้ายร่างกายหรือจิตใจ หรือการปล่อยทิ้งผู้สูงอายุร่วมด้วย 3) การละเมิดเหยื่อที่มีลักษณะนิ่งเฉย 4) การเอาทรัพย์สินไปจากผู้สูงอายุโดยตรง เช่น การลักทรัพย์ บัตรเอทีเอ็ม เครื่องประดับ เป็นต้น ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเป็นเหยื่อการละเมิดทางทรัพย์สินของผู้สูงอายุประกอบด้วย 6 ปัจจัย ได้แก่ 1) ความอ่อนแอทางร่างกายหรือจิตใจ 2) การรับรู้เกี่ยวกับการตกเป็นเหยื่อ 3) การขาดผู้ดูแลหรืออยู่คนเดียว 4) ความไว้วางใจยอมให้ผู้อื่นกระทำการแทน 5) กิจวัตรประจำวัน 6) ภาวะพึ่งพิง ข้อเสนอแนะจากการศึกษา ควรสร้างความตระหนักในปัญหาการละเมิดทางทรัพย์สินต่อผู้สูงอายุให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับหน่วยงานภาครัฐควรทำงานร่วมกับภาคประชาชนในการป้องกันการตกเป็นเหยื่อการละเมิดทางทรัพย์สินของผู้สูงอายุ อีกทั้งควรตรวจสอบการทำธุรกรรมที่ผู้สูงอายุมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน และควรปรับปรุงกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีด้านการละเมิดทางทรัพย์สินของผู้สูงอายุ


อาชญากรรมเศรษฐกิจ: ศึกษากรณีการตกเป็นเหยื่อการเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ, วนัสนันท์ กันทะวงศ์ Jan 2019

อาชญากรรมเศรษฐกิจ: ศึกษากรณีการตกเป็นเหยื่อการเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ, วนัสนันท์ กันทะวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์อาชญากรรมเศรษฐกิจ: ศึกษากรณีการตกเป็นเหยื่อการเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการหลอกลวง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเป็นเหยื่อ และแนวทางการป้องกันการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมที่เกี่ยวกับการเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โดยการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเชิงเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญในหน่วยงานภาครัฐบาลและภาคประชาชน และผู้ตกเป็นเหยื่อ จำนวน 17 คน ผลการศึกษาพบว่าวิธีการหลอกลวงประชาชนให้ตกเป็นเหยื่อการเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมี 2 กรณี คือ 1) กรณีผู้กระทำผิดที่เป็นบุคคลธรรมดา มีวิธีการสอนให้เก็งกำไรด้วยตัวเองผ่านบริษัทเก็งกำไรในต่างประเทศ โดยผู้กระทำผิดจะได้รับเงินจากการสอนคอร์สสัมมนา และค่าตอบแทนจากบริษัทเก็งกำไรในต่างประเทศในลักษณะของ Internal Broker หรือ IB 2) กรณีผู้กระทำผิดที่เป็นนิติบุคคล มีวิธีการจัดตั้งทีมงานชักชวน อ้างว่าใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือหุ่นยนต์เก็งกำไร เน้นการชักชวนประชาชนเข้าร่วมลงทุน มีการการันตีผลตอบแทนและกำหนดระยะเวลาที่จะได้รับเงิน นิติบุคคลจะได้เงินจากการร่วมลงทุน ซึ่งทั้งสองกรณีเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนที่เข้าข่ายแชร์ลูกโซ่ วิธีการชักชวนจะประกาศโฆษณาผ่านทาง Facebook และพูดคุยผ่านทาง LINE ผลการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเป็นเหยื่อพบว่ามี 8 ปัจจัย ได้แก่ 1) เศรษฐกิจ 2) ความโลภ 3) เทคโนโลยีสมัยใหม่ 4) คบหาสมาคม 5) ภาพลักษณ์ 6) ความรู้ความเข้าใจ 7) กิจวัตรประจำวัน 8) การทำงานภาครัฐ อีกทั้งผู้วิจัยได้พบปัญหาที่สำคัญ 5 ประการ ได้แก่ 1) ปัญหาด้านกฎหมาย 2) ปัญหาเกี่ยวกับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ 3) ปัญหาในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 4) ปัญหาด้านการปราบปรามอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับแชร์ลูกโซ่ 5) ปัญหาด้านการป้องกันอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับแชร์ลูกโซ่ มีแนวทางการป้องกันการตกเป็นเหยื่อการเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ดังนี้ หน่วยงานการเงินการธนาคาร หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ภาคประชาชน และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ควรจัดตั้งคณะทำงาน (Task force) ทำงานร่วมกันในเชิงรุกในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ ได้แก่ 1) ควรมีการจัดตั้งศูนย์อาชญากรรมเศรษฐกิจแชร์ลูกโซ่ 2) พิจารณาจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือเหยื่อแชร์ลูกโซ่ 3) ผลักดันนโยบายด้านการออมเงินเเพื่อการแก้ปัญหาหนี้สินของประชาชน 4) ผลักดันแผนรับมือสังคมผู้สูงอายุในอนาคต เพื่อป้องกันการตกเป็นเหยื่อการเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศต่อไป


บทบาทของพนักงานสอบสวนในกระบวนการไกล่เกลี่ยเหยื่อ-ผู้กระทำผิด ในคดีความรุนแรงในครอบครัวในเขตกรุงเทพมหานคร, ศาสนพงษ์ วรภาพ Jan 2019

บทบาทของพนักงานสอบสวนในกระบวนการไกล่เกลี่ยเหยื่อ-ผู้กระทำผิด ในคดีความรุนแรงในครอบครัวในเขตกรุงเทพมหานคร, ศาสนพงษ์ วรภาพ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาสภาพปัญหาการกระทำความรุนแรงในครอบครัว ในเขตกรุงเทพมหานคร รวมถึงศึกษาบทบาทหน้าที่ ขั้นตอนดำเนินการของพนักงานสอบสวนในกระบวนการไกล่เกลี่ยเหยื่อ-ผู้กระทำผิด ในคดีการกระทำความรุนแรงในครอบครัวและปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำเนินกระบวนการดังกล่าว ตลอดจนศึกษามาตรการในการเยียวยาชดใช้ผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวที่เกิดขึ้นจากกระบวนการไกล่เกลี่ยเหยื่อ-ผู้กระทำผิด โดยวิทยานิพนธ์นี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่เก็บข้อมูลด้วยเทคนิคการวิจัยเอกสาร เทคนิคการสังเกตการณ์ และเทคนิคการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ซึ่งผู้วิจัยได้เลือกวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง รวมทั้งหมด 20 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพปัญหาการกระทำความรุนแรงในครอบครัวในสังคมไทยมีจำนวนมากและมีแนวโน้มว่าจะมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยมีทั้งรูปแบบสามีทำร้ายภรรยา รูปแบบบิดามารดาหรือผู้ปกครองทำร้ายบุตรหลาน และรูปแบบบุตรหลานทำร้ายผู้สูงอายุ ซึ่งส่งผลกระทบทั้งระยะสั้นและระยะยาวต่อตัวผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวและสังคมประเทศชาติโดยรวม โดยมีสาเหตุมาจากรากเหง้ามายาคติชายเป็นใหญ่และสะท้อนออกมาสู่รูปแบบการทำร้ายบุคคลภายในครอบครัวที่มีอำนาจด้อยกว่า รวมถึงความกดดันทางสภาพเศรษฐกิจสังคมที่ยากจน และปัญหาการดื่มสุราหรือการเสพสารเสพติดเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดปัญหาการกระทำความรุนแรงในครอบครัวในสังคมไทย 2) พนักงานสอบสวนยึดบทบาทเป็นคนกลางเป็นหลักในกระบวนการไกล่เกลี่ยเหยื่อ-ผู้กระทำผิด ในการดำเนินการไกล่เกลี่ยปัญหาการกระทำความรุนแรงในครอบครัว โดยทำหน้าที่ประสานงานนัดหมายผู้เข้าร่วมกระบวนการ เป็นผู้ดำเนินการโดยเปิดโอกาสให้แต่ละฝ่ายกล่าวถึงปัญหาของตนเอง และเป็นผู้ช่วยเหลือแนะนำแนวทางในการแก้ไขปัญหารวมทั้งมาตรการในการเยียวยาชดใช้แก่ผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวอย่างเหมาะสมและยุติธรรม 3) ปัญหาหลักที่พบจากงานวิจัยนี้ คือ พนักงานสอบสวนยังขาดความรู้ในขั้นตอนการดำเนินกระบวนการไกล่เกลี่ยเหยื่อ-ผู้กระทำผิดตามหลักปฏิบัติที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อขั้นตอนกระบวนการที่เป็นสาเหตุให้ผลลัพธ์ของการไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จ 4) การเยียวยาชดใช้ด้วยเงินให้แก่ผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวเป็นมาตรการเยียวยาชดใช้ที่เหมาะสมที่สุด แต่ควรมีการเยียวยาด้านสภาพจิตใจของผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวด้วย โดยวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้ให้ข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงขั้นตอนกระบวนการไกล่เกลี่ยเหยื่อ-ผู้กระทำผิดของพนักงานสอบสวน สำหรับการจัดการแก้ไขปัญหาการกระทำความรุนแรงในครอบครัวที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทยจากประสบการณ์ของผู้ให้ข้อมูลสำคัญ


วาทกรรม “กัญชา” ในสังคมไทย : กัญชายาเสพติด หรือ กัญชาการแพทย์, อัครพนธ์ เอี้ยวรัตนวดี Jan 2019

วาทกรรม “กัญชา” ในสังคมไทย : กัญชายาเสพติด หรือ กัญชาการแพทย์, อัครพนธ์ เอี้ยวรัตนวดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ประกอบสร้างภาพแทนของกัญชาในสังคมไทย และเพื่อศึกษาองค์ประกอบความเป็นอาชญากรรมของกัญชา ตลอดจนศึกษาแนวทางการรื้อถอนความเป็นอาชญากรรมของกัญชาในสังคมไทย โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพจากการศึกษาเอกสาร (documentary Research) วิเคราะห์วาทกรรม (discourse Analysis) และตรวจสอบข้อมูลโดยการเปรียบเทียบข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการศึกษาพบว่า ความเป็นอาชญากรรมของกัญชามีลักษณะลื่นไหล มีเส้นทางที่ปรับเปลี่ยนไปตามอำนาจทางกฎหมาย (และการลงโทษ) กับกระบวนการผลิตความรู้และความจริงทางวิทยาศาสตร์ ภายใต้การชี้นำของมาตรฐานสังคมโลก สำหรับการประกอบสร้างวาทกรรมกัญชาเป็นยาเสพติดมีเหตุปัจจัยมาจากการเมืองโลกที่ส่งผลต่อการรับรู้ความหมาย (significance) ของกัญชาในสังคมไทย การออกกฎหมายมากำหนดความเป็นอาชญากรรม (criminalized) ให้แก่ “กัญชา” การสร้างความเป็นอื่น (otherness) ให้กับกัญชาโดยศาสนาและวัฒนธรรม การตีตรา (labelling) กัญชาว่าเป็นปัญหาสังคมโดยนโยบายสาธารณะหลายรูปแบบซึ่งมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาสร้างความชอบธรรมในกำหนดวาทกรรมดังกล่าว และภาคปฏิบัติการของกลไกต่าง ๆ ในสังคมได้ร่วมกันผลิตซ้ำความหมายทำให้วาทกรรมดังกล่าวคงอยู่เป็นระยะยาวนานในสังคมไทย ส่วนการรื้อถอน “วาทกรรมกัญชาเป็นยาเสพติด” อันเป็นสาเหตุเนื่องมาจากความล้มเหลวของนโยบายยาเสพติด การคำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพ โดยมีกระบวนการหาความรู้แบบวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรม ภายใต้กระแสการครอบงำทางความคิดขององค์กรระดับนานาชาติที่ชี้ทิศทางใหม่แก่สังคมโลก ในขณะที่วาทกรรมชุดเก่าเริ่มสั่นคลอนและเสื่อมสลายลงก็ได้เกิดมีวาทกรรมชุดใหม่ขึ้นแทนที่คือ “วาทกรรมกัญชาทางการแพทย์” อันประกอบด้วยการรื้อถอนและปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่แห่งนโยบายยาเสพติดจากกระแสสังคมโลก การแก้ไขกฎหมายยาเสพติดอนุญาตให้ใช้กัญชาทางการแพทย์ได้ และมีการขับเคลื่อนเร่งรัดจากภาคประชาสังคม โดยมีการสนับสนุนจากภาคการเมืองและวงการวิชาการ


Which Types Of Investor Investment Flow Affect Thailand Stock Market Index, Net Teeramungcalanon Jan 2019

Which Types Of Investor Investment Flow Affect Thailand Stock Market Index, Net Teeramungcalanon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study examines the effect of types of investor investment flow on Thailand Stock Market Index returns. Daily data on investment types, namely, foreign investors, institutional investors, proprietary investors, and retail investors from the Stock Exchange of Thailand for the period 2015 to 2020 is used. The results from the OLS model show that proprietary investors dominate the SET index. We also conduct a Granger causality test to understand the relationship between the SET index and investor investment flow. This study also examines the relation between SET volatility and investor behavior. The result shows that when the SET index has …


Impact Of Growth In International Tourism Industry Contributed To Co2 Emission In Cambodia, Philippines And Thailand, Juthamard Laohawattanajinda Jan 2019

Impact Of Growth In International Tourism Industry Contributed To Co2 Emission In Cambodia, Philippines And Thailand, Juthamard Laohawattanajinda

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Tourism is generally considered a clean industry, one of the reasons is tourism increasing investment in traveling facilities, instead of investment in factories. Furthermore, increasing tourism development relies on the protection of the natural environment and ecology. However, tourism development, like all industrial development, also comes with the higher demand in energy consumption and lack of management in the tourism industry resulting in environmental degradation The paper investigated the effect of environmental degradation in both aspects of destination factors and tourist factors based on the EKC hypothesis by incorporating trade openness and CO2 emission in Cambodia, Philippines, and Thailand which …


The Influence Of Jacksonian Tradition Toward Trump's Trade War Against China., Putdhikorn Kasemphaibulsuk Jan 2019

The Influence Of Jacksonian Tradition Toward Trump's Trade War Against China., Putdhikorn Kasemphaibulsuk

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This Individual Study examines how the Jacksonian tradition influences Trump’s trade war against China between 2018 to 2020. The Jacksonian tradition emphasizes the importance of the government and its role as a protector of people, culture, and identity of the United States. This research argues that the US foreign policy and the US domestic affairs are intertwined and influenced by the Jacksonian tradition. The domestic source that is responsible for the upsurge of Jacksonian tradition and the Trade War can be linked to the resentment of the political elitists and their upper-class bubbles who Jacksonian supporters are suspicious of. Jacksonian …


Asean Governance On Data Privacy : Challenges To Regional Protection Of Data Privacy And Personal Data In Cyberspace, Supatsara Chaipipat Jan 2019

Asean Governance On Data Privacy : Challenges To Regional Protection Of Data Privacy And Personal Data In Cyberspace, Supatsara Chaipipat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This independent_study explores how the cornerstone norms of the Association of Southeast Asian Nations (ASEAN), mostly referred as the ASEAN way, play significant role in forming the regional governance on data privacy and involves the answer that it poses challenges to the region in protecting their citizen’s personal data in cyberspace. This study investigates and compares the existing regimes regarding to data privacy in cyberspace at international, regional and domestic levels. To estimate the efficacy of ASEAN governance on data privacy and personal data protection, the analysis of study is based on the associations’ normative structure. Particularly, it searches what …


Does Attractiveness Have An Increasing Probability On Hiring Decision? Case Study On Marketing Position In Financial Business, Wiphawa Sukcharoen Jan 2019

Does Attractiveness Have An Increasing Probability On Hiring Decision? Case Study On Marketing Position In Financial Business, Wiphawa Sukcharoen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research provides new evidence the impact between beauty and hiring decision in the labor market. Specifically, study if people with less attractive faces are less likely to be chosen after submitting a resume. The empirical strategy is based on an experimental approach by making an application that has attractive and unattractive photos for human resource workers in financial business in Bangkok, Thailand. For rating of the application that wants to choose from highest to lowest from all applications. From the results, it is found that applications with attractive images will be selected higher than applications with unattractive photos. But …


Is A Self-Employment Skilled Employment? - A Case Study Of Self-Employed With Bachelor’S Degree In Thailand, Kemmika Labkim Jan 2019

Is A Self-Employment Skilled Employment? - A Case Study Of Self-Employed With Bachelor’S Degree In Thailand, Kemmika Labkim

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In the paper, the research will be focused on self-employed occupations with a bachelor's degree in Thailand to look at the skills require for the self-employed to be hired. The researcher looks further into the Thai labor force survey conducted in 2016, the latest source. The survey shows in detail of self-employed occupations in Thailand with degrees with the total number of 2,284 people in 196 different occupations which counted only those who graduate from bachelor's and above. Hence, in this paper, the researcher looks upon three different sources of information: 2016 Thai labor force National Survey, the skill required …


The Effect Of Salary And Health Insurance Benefit On Job Satisfaction In Thailand, Nattapat Srivibha Jan 2019

The Effect Of Salary And Health Insurance Benefit On Job Satisfaction In Thailand, Nattapat Srivibha

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Human resources is the most significant factor in production function to exercise activities and operate the business. In order to maximize potential of employees, a good welfare and being taken care by a company are critical and will enhance employee satisfaction, resulted in employees' intention to become more accountable and dedicated to work. There are various factors that support employees' needs in fostering loyalty i.e. wages, health benefits, bonuses, scholarships, loan funds, etc. This study examines the effect of salary and health insurance on employee satisfaction in Thailand by exploring correlation between salary satisfaction and health insurance benefits satisfaction and …


Impact Of Women's Education On Marriage Outcomes, Nattamon Ungpraphakorn Jan 2019

Impact Of Women's Education On Marriage Outcomes, Nattamon Ungpraphakorn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In Thailand, marriage has been one of many women’s aspirations. However, nowadays women’s labor force participation has increased, and women have become more economically independent as a result of higher education attainment. An important question is whether these factors lead to an older age of marriage or even a choice remaining single. This paper analyzes how women’s education affects the marriage outcome and studies single women’s perspective towards marriage. Using data from survey of 422 women between the age of 22 and 60, we estimate the logistic regression of marriage outcome. We find that older women tend to remain single …


The Impact Of Flexible Working Time On Employees' Work-Life Balance: A Case Study Of A Kitchenware Manufacturing Company, Panisra Turakijkajohn Jan 2019

The Impact Of Flexible Working Time On Employees' Work-Life Balance: A Case Study Of A Kitchenware Manufacturing Company, Panisra Turakijkajohn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this study is to examine the effect of flexible working time on the employees’ work-life balance in case of a kitchenware manufacturing company in Bangkok by using data from 104 employees in a kitchenware manufacturing company in Bangkok during June 2020. The result shows that the perception on flexible working time has a positive and significant impact on the work -life balance of the employees. When classifying employees into two sub-groups by age, the perception on the flexibility of working time only has positive effect on work life balance of employees with age more than 30 years …