Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 2191 - 2220 of 5570

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

ผลของสีบรรจุภัณฑ์และประเภทสินค้า ต่อพฤติกรรมผู้บริโภค, ชุลี กอบวิทยาวงศ์ Jan 2019

ผลของสีบรรจุภัณฑ์และประเภทสินค้า ต่อพฤติกรรมผู้บริโภค, ชุลี กอบวิทยาวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานศึกษาชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบหลักและผลกระทบเชิงปฏิสัมพันธ์ของ สีบรรจุภัณฑ์ (สีโทนร้อนและสีโทนเย็น) และประเภทสินค้า (สินค้าที่ตอบสนองความต้องการด้านอารมณ์ความรู้สึกและสินค้าที่ตอบสนองความต้องการด้านประโยชน์ใช้สอย) ต่อพฤติกรรมผู้บริโภค ซึ่งประกอบด้วยตัวแปรย่อย ได้แก่ การรับรู้ความอร่อย การรับรู้ความมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ทัศนคติต่อบรรจุภัณฑ์ ทัศนคติต่อตราสินค้า ทัศนคติต่อสินค้า และความตั้งใจซื้อ ด้วยวิธีการวิจัยเชิงทดลองรูปแบบ 2 x 2 แฟคทอเรียล โดยเก็บข้อมูลในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 กับนักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 137 คน ผลการวิจัยพบว่า สีบรรจุภัณฑ์ส่งผลกระทบหลักต่อพฤติกรรมผู้บริโภคในด้านทัศนคติต่อบรรจุภัณฑ์ ส่วนประเภทสินค้าส่งผลกระทบหลักต่อพฤติกรรมผู้บริโภคในด้านการรับรู้ความมีประโยชน์ต่อสุขภาพ และทัศนคติต่อสินค้า ในขณะที่สีบรรจุภัณฑ์และประเภทสินค้าส่งผลกระทบเชิงปฏิสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ


รูปแบบการดำเนินชีวิต พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ และพฤติกรรมการซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของมิลเลนเนียลไทย, ณัฐชนา ศรีวิทยา Jan 2019

รูปแบบการดำเนินชีวิต พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ และพฤติกรรมการซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของมิลเลนเนียลไทย, ณัฐชนา ศรีวิทยา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคมิลเลนเนียลไทยสายสุขภาพ พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ พฤติกรรมการซื้ออาหารเพื่อสุขภาพ ตลอดจนความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการเปิดรับสื่อและพฤติกรรมการซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของมิลเลนเนียลไทย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคมิลเลนเนียลจำนวน 400 คน เกิดในช่วงปี พ.ศ. 2523 – 2543 และเคยซื้ออาหารเพื่อสุขภาพในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการวิเคราะห์เชิงพรรณนา การวิเคราะห์ปัจจัยหรือองค์ประกอบ และสถิติการวิเคราะห์เชิงอนุมานโดยใช้การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการดำเนินชีวิตของมิลเลนเนียลไทยสายสุขภาพ แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบใส่ใจสุขภาพ (The Health-conscious group) 2) กลุ่มรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบรักนวัตกรรมและห่วงใยสิ่งแวดล้อม (The innovation and environment lover group) และ 3) กลุ่มรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบตามกระแสนิยม (The fashionable group) พฤติกรรมการเปิดรับสื่อที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสุขภาพในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมิลเลนเนียลเลือกใช้เว็บไซต์สื่อสังคมออนไลน์มากที่สุด ด้านพฤติกรรมการซื้ออาหารเพื่อสุขภาพ พบว่า มิลเลนเนียลนิยมซื้อน้ำผักผลไม้สกัด เครื่องดื่มสมุนไพร สถานที่ที่นิยมซื้ออาหารเพื่อสุขภาพ ได้แก่ ซูเปอร์มาร์เก็ต ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ ทั้งนี้ พฤติกรรมการเปิดรับสื่อเกี่ยวกับสุขภาพทั้งในด้านความถี่ในการเปิดรับสื่อเกี่ยวกับสุขภาพ และระยะเวลาในการเปิดรับสื่อเกี่ยวกับสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้ออาหารเพื่อสุขภาพในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01


วัจนลีลาในเพลงรำวงมาตรฐาน, ณัฎฐา ระกำพล Jan 2019

วัจนลีลาในเพลงรำวงมาตรฐาน, ณัฎฐา ระกำพล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) ศึกษาวิเคราะห์วัจนลีลาในเพลงรำวงมาตรฐาน (2) สังเคราะห์รูปแบบภาษาวรรณศิลป์ในเพลงรำวงมาตรฐาน (3) ศึกษาการรับรู้และการเข้าใจความหมายในเพลงรำวงมาตรฐานของครูผู้สอนนาฏศิลป์ไทยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) จากเพลงรำวงมาตรฐาน 10 เพลง คือ 1. เพลงงามแสงเดือน 2. เพลงชาวไทย 3. เพลงรำซิมารำ 4. เพลงคืนเดือนหงาย 5. เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ 6. เพลงดอกไม้ของชาติ 7. เพลงหญิงไทยใจงาม 8. เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า 9. เพลงยอดชายใจหาญ และ10. เพลงบูชานักรบ และใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In Depth interview) ครูผู้สอนนาฏศิลป์ไทยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานร่วมกับการวิเคราะห์เอกสาร (Documentary analysis) ที่เกี่ยวข้องกับรำวงมาตรฐาน วัจนลีลา วรรณศิลป์ และหลักภาษาศาสตร์ ผลการวิจัย 1. เพลงรำวงมาตรฐานทั้ง 10 เพลง เป็นระดับภาษาแบบกึ่งทางการ โดยลักษณะเด่นทางภาษา พบว่า มีการใช้การโยกย้ายส่วนของประโยคเพื่อเน้นความหมายในทุกเพลง รองลงมาคือ มีการใช้สรรพนามบุรุษที่1,2 และคำลงท้าย และการละคำ โดยมีการใช้คำถามน้อยที่สุด 2. ภาษาวรรณศิลป์ในเพลงรำวงมาตรฐานในด้านทำเนียบภาษา พบว่าปรากฏทำเนียบภาษาคือศัพท์นาฏศิลป์ และศัพท์สังคีต จำนวน 5 เพลง ได้แก่ เพลงงามแสงเดือน เพลงชาวไทย เพลงรำซิมารำ เพลงคืนเดือนหงาย และเพลงดอกไม้ของชาติ และพบว่า ศัพท์นาฏศิลป์พบในเพลงรำวงมาตรฐานมากกว่าศัพท์สังคีต ได้แก่ งามแสงเดือน รำมาซิมารำ และดอกไม้ของชาติ โดยศัพท์นาฏศิลป์ที่พบมาก ได้แก่ คำว่า “ฟ้อน รำ ฟ้อนรำ ระบำ ร่ายรำ และนาฏศิลป์”สำหรับศัพท์สังคีต คือเพลงชาวไทย และเพลงคืนเดือนหงาย ได้แก่ คำว่า “ เล่น โบก พริ้ว ประและพรม” 3. การรับรู้และการเข้าใจในเพลงรำวงมาตรฐานของครูผู้สอนนาฏศิลป์ไทยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าครูผู้สอนมีการรับรู้และเข้าใจในเพลงรำวงมาตรฐานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน


การใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ในการจัดการและการสื่อสารภาวะวิกฤตของบริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่, ณัฐนันท์ วิทยเตชะกุล Jan 2019

การใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ในการจัดการและการสื่อสารภาวะวิกฤตของบริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่, ณัฐนันท์ วิทยเตชะกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์การวิจัย (1) เพื่ออธิบายการนำข้อมูลขนาดใหญ่มาใช้ในการจัดการและการสื่อสารภาวะวิกฤตของบริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (2) เพื่อศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคในการนำข้อมูลขนาดใหญ่มาใช้ในการจัดการและการสื่อสารภาวะวิกฤตของบริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยผลการวิจัยพบว่าการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ในการจัดการและการสื่อสารภาวะวิกฤต ประกอบไปด้วย 4 หัวข้อ ดังนี้ (1) ข้อมูลขนาดใหญ่สามารถนำมาใช้ในกระบวนการจัดการภาวะวิกฤตและการสื่อสารภาวะวิกฤตในทุกช่วงชีวิตของภาวะวิกฤต ตั้งแต่ช่วงก่อนเกิดภาวะวิกฤต (Pre-crisis) ช่วงเหตุการณ์ภาวะวิกฤต (Crisis-event) และช่วงหลังเหตุการณ์ภาวะวิกฤต (Post-crisis) (2) ทีมงานในการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ในการจัดการภาวะวิกฤต โดยเฉพาะด้านการสื่อสารและด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (3) การทำงานร่วมกันกับบริษัทตัวแทน เมื่อข้อมูลขนาดใหญ่ภายในองค์กรมีปริมาณมากเกินกว่าที่องค์กรจะดูแลข้อมูลทั้งหมดได้ด้วยตนเอง และ (4) บทบาทที่เพิ่มขึ้นของข้อมูลขนาดใหญ่ในการจัดการและการสื่อสารภาวะวิกฤตในอนาคต โดยการนำเอาข้อมูลขนาดใหญ่ที่องค์กรมีอยู่มาใช้ในการพยากรณ์ (Prediction) นอกจากนี้ ยังพบว่าปัญหาและอุปสรรคในการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ในการจัดการและการสื่อสารภาวะวิกฤต ได้แก่ (1) ข้อมูลขนาดใหญ่ยังมีความพร้อมไม่เพียงพอ (2) การคาดการณ์พฤติกรรมของมนุษย์ทำได้ยาก (3) การเพิ่มขึ้นของผู้ใช้แอปพลิเคชันสนทนา (4) ความเชื่อมั่นในปัญญาประดิษฐ์ (5) ความสามารถของผู้ใช้งานข้อมูลขนาดใหญ่ และ (6) ระยะเวลาในการเรียนรู้และดำเนินงาน


อิทธิพลของผู้นำทางความคิดในเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่อการเปิดรับ การรับรู้ ทัศนคติ และการตัดสินใจซื้อวัตถุมงคลรูปแบบตะกรุดสายแฟชั่น, ธีรนุช มนัสกิตติกุล Jan 2019

อิทธิพลของผู้นำทางความคิดในเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่อการเปิดรับ การรับรู้ ทัศนคติ และการตัดสินใจซื้อวัตถุมงคลรูปแบบตะกรุดสายแฟชั่น, ธีรนุช มนัสกิตติกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึง 1) เพื่อศึกษาการเปิดรับ การรับรู้และทัศนคติที่มีต่อผู้นำทางความคิดเกี่ยวกับวัตถุมงคลรูปแบบตะกรุดสายแฟชั่น และการตัดสินใจซื้อวัตถุมงคลรูปแบบตะกรุดสายแฟชั่น 2) เพื่อศึกษาถึงความแตกต่างของลักษณะทางประชากรกับการเปิดรับ การรับรู้และทัศนคติต่อผู้นำทางความคิดเกี่ยวกับวัตถุมงคลรูปแบบตะกรุดสายแฟชั่น 3) เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ของการเปิดรับ การรับรู้และทัศนคติต่อผู้นำทางความคิดเกี่ยวกับวัตถุมงคลรูปแบบตะกรุดสายแฟชั่น 4) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการเปิดรับ การรับรู้ และทัศนคติต่อผู้นำทางความคิดเกี่ยวกับวัตถุมงคลรูปแบบตะกรุดสายแฟชั่น ในการทำนายการตัดสินใจซื้อวัตถุมงคลรูปแบบตะกรุดสายแฟชั่น เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) ด้วยวิธีการวิจัยแบบสำรวจด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลในรูปแบบ แบบสอบถามทางออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่าง โดยต้องมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล และเคยเปิดรับข้อมูลผ่านเฟซบุ๊กเพจหรืออินสตาแกรม ของผู้นำทางความคิด และนำผลมาวิเคราะห์ใน SPSS ในการศึกษานี้ พบว่า 1) เพศชายมีการเปิดรับจากผู้นำความคิดมากกว่าเพศหญิง 2) กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุมากมีการรับรู้มากกว่ากลุ่มที่มีอายุน้อย 3) กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี มีการรับรู้เนื้อหามากกว่าคนที่มีระดับการศึกษาปริญญาตรี 4) เพศหญิงมีทัศนคติที่ดีต่อผู้นำทางความคิดมากกว่าเพศชาย แต่ในขณะเดียวกันเพศชายมีทัศนคติที่มีต่อเนื้อหาสารเชิงบวกมากกว่าเพศหญิง 5) ปัจจัยการเปิดรับ การรับรู้ และทัศนคติ สามารถทำนายพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อวัตถุมงคลรูปแบบตะกรุดสายแฟชั่น โดยการศึกษาในครั้งนี้มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


การสื่อสารการตลาดของผู้มีอิทธิพลด้านความงามที่มีความหลากหลายทางเพศและการรับรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมตอบสนองของผู้บริโภค, นันท์ชญา เดชผล Jan 2019

การสื่อสารการตลาดของผู้มีอิทธิพลด้านความงามที่มีความหลากหลายทางเพศและการรับรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมตอบสนองของผู้บริโภค, นันท์ชญา เดชผล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการสื่อสารการตลาดของผู้มีอิทธิพลด้านความงามที่มีความหลากหลายทางเพศ (2) ศึกษาการรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมตอบสนองของผู้บริโภคที่มีต่อการสื่อสารการตลาดของผู้มีอิทธิพลด้านความงามที่มีความหลากหลายทางเพศ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมตอบสนองของผู้บริโภคที่มีต่อการสื่อสารการตลาดของผู้มีอิทธิพลด้านความงามที่มีความหลากหลายทางเพศ (4) ศึกษาความแตกต่างทางลักษณะประชากรที่มีต่อการรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมตอบสนองของผู้บริโภคที่มีต่อการสื่อสารการตลาดของผู้มีอิทธิพลด้านความงามที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า ผู้มีอิทธิพลด้านความงามที่มีความหลากหลายทางเพศมีแนวทางในการสื่อสารการตลาดให้น่าสนใจโดยใช้ลักษณะเฉพาะของผู้มีความหลากหลายทางเพศ ทั้งวิธีการพูด น้ำเสียง ลักษณะท่าทาง ความกล้าแสดงออก และความคิดสร้างสรรค์ ช่วยเพิ่มมิติในการสื่อสารการตลาดให้น่าสนใจ ทั้งนี้ผู้มีอิทธิพลด้านความงามที่มีความหลากหลายทางเพศให้ความสำคัญกับเนื้อหาที่จะสร้างมากกว่าตัวตนในเรื่องเพศ และเข้าใจว่าการสนับสนุนการสื่อสารเรื่องความงามของผู้มีความหลากหลายทางเพศเป็นการแสดงจุดยืนที่ดีของตราสินค้าในเรื่องความเท่าเทียมทางเพศซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคยุคใหม่ให้ความสำคัญ นอกจากนี้ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า ผู้บริโภคกลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้โดยรวมอยู่ในระดับสูงและทัศนคติโดยรวมอยู่ในระดับค่อนข้างสูง โดยประเด็นที่มีทัศนคติอยู่ในระดับสูง คือ การติดตามผู้มีอิทธิพลด้านความงามที่มีความหลากหลายทางเพศเพราะเนื้อหาที่น่าสนใจโดยไม่ได้คำนึงถึงเรื่องเพศ ด้านพฤติกรรมตอบสนองโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ประเด็นที่มีการตอบสนองน้อยที่สุด คือ การแสดงความคิดเห็น (Comment)


ผลของเพศของเกมสตรีมเมอร์และวิธีการนำเสนอต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค, ปพิสชา พาทีทิน Jan 2019

ผลของเพศของเกมสตรีมเมอร์และวิธีการนำเสนอต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค, ปพิสชา พาทีทิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบ 2x2 แฟคทอเรียล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบทางตรงและผลกระทบทางอ้อมที่เกิดขึ้นจากเพศของเกมสตรีมเมอร์ และวิธีการนำเสนอทั้ง 2 แบบ (นำเสนอแบบแนวคิดคุณค่าเชิงอรรถประโยชน์ และนำเสนอแนวคิดคุณค่าเชิงสุนทรียรส) ที่ส่งผลต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค ได้แก่ ทัศนคติต่อรายการเกมสตรีมมิ่ง ทัศนคติต่อตราสินค้า และความตั้งใจซื้อ โดยทำการวิจัยในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 กับนิสิตปริญญาตรี เพศหญิง คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 128 คน ผลการวิจัยพบว่า เพศของเกมสตรีมเมอร์ส่งผลกระทบทางตรงต่อทัศนคติต่อรายการเกมสตรีมมิ่ง และส่งผลกระทบต่อทัศนคติต่อตราสินค้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนวิธีการนำเสนอในรายการเกมสตรีมมิ่งส่งผลกระทบต่อทัศนคติต่อรายการเกมสตรีมมิ่งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน นอกจากนั้น ผลของเพศของเกมสตรีมเมอร์และวิธีการนำเสนอในรายการเกมสตรีมมิ่งยังส่งผลกระทบร่วมต่อทัศนคติต่อรายการเกมสตรีมมิ่งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้คือ เมื่อกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มผู้บริโภคเพศหญิงที่มีอายุระหว่าง 18-23 ปี หากต้องการนำเสนอรายการเกมสตรีมมิ่ง บนเฟซบุ๊ก ควรใช้วิธีการนำเสนอด้วยเกมสตรีมเมอร์เพศหญิงที่ใช้วิธีการนำเสนอแบบอรรถประโยชน์ มากกว่าการใช้วิธีการนำเสนอด้วยเพศและวิธีการนำเสนอด้วยกลุ่มทรีตเมนต์แบบกลุ่มอื่น ๆ


รูปแบบการดำเนินชีวิต การเปิดรับสื่อ และพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคหญิงวัยทำงาน, นัทชนิดา วัชรินทร์ Jan 2019

รูปแบบการดำเนินชีวิต การเปิดรับสื่อ และพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคหญิงวัยทำงาน, นัทชนิดา วัชรินทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) รูปแบบการดำเนินชีวิต การเปิดรับสื่อ และพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคหญิงวัยทำงาน และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเพศหญิง อายุ 22 - 44 ปี จำนวน 1,140 คน ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบรูปแบบการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกัน 6 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มสาวยุคใหม่ ใช้ชีวิตมีสาระ 2) กลุ่มสาวเพียบพร้อมสมบูรณ์แบบ 3) กลุ่มสาวมั่น เฉียบ ตรงไปตรงมา 4) กลุ่มสาวติดโซเชียล 5) กลุ่มแม่ศรีเรือน ใช้ชีวิตเรียบง่าย และ 6) กลุ่มนางเอกเจ้าน้ำตา สำหรับพฤติกรรมในการเปิดรับสื่อ พบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้หญิงวัยทำงานมีการเปิดรับสื่อดั้งเดิมในระดับที่ต่ำ ซึ่งสื่อดั้งเดิมที่ยังเปิดคงรับอยู่ได้แก่ สื่อโทรทัศน์ สื่อโฆษณา ณ จุดซื้อ และสื่อโฆษณากลางแจ้ง และมีการเปิดรับสื่อใหม่ในระดับที่สูง โดย 3 อันดับแรก ได้แก่ โปรแกรมสนทนาไลน์ โปรแกรมสืบค้นข้อมูล และการส่งข้อความทางเฟซบุ๊ก นอกจากนั้น รูปแบบการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกัน ยังส่งผลให้การเปิดรับสื่อแต่ละประเภท พฤติกรรมการค้นหาข้อมูลก่อนการซื้อ ประเภทของสินค้าที่ซื้อ และเหตุผลในการซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์ในช่องทางต่างๆ มีความแตกต่างกันอีกด้วย


เส้นทางการตัดสินใจรับชมละครโทรทัศน์ระบบดิจิทัลของผู้ชมสตรีเจเนอเรชันวาย, พลัชนัน ธีระรังสฤษดิ์ Jan 2019

เส้นทางการตัดสินใจรับชมละครโทรทัศน์ระบบดิจิทัลของผู้ชมสตรีเจเนอเรชันวาย, พลัชนัน ธีระรังสฤษดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความต้องการชมละครโทรทัศน์ การเปิดรับข่าวสารการตลาด กระแสนิยม และเส้นทางการตัดสินใจรับชมละครโทรทัศน์ระบบดิจิทัลของผู้ชมสตรีเจเนอเรชันวาย ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้วิธีวิจัย ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม โดยศึกษาผู้ชมละครโทรทัศน์ระบบดิจิทัลเพศหญิงที่เกิดในช่วงปี พ.ศ. 2524-2543 ผลการวิจัยพบว่าความต้องการชมละครโทรทัศน์ แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบคือ 1) ความต้องการเชิงจิตวิทยาที่เกิดจากแรงกระตุ้นภายในที่เกิดจากความปรารถนาในจิตใจของตัวเองหรือแรงกระตุ้นภายนอกจากการสื่อสารการตลาดของละครโทรทัศน์ และผู้ชมคนอื่น ๆ และ 2) ความต้องการด้านคุณลักษณะของละครโทรทัศน์ด้านแนวเรื่อง องค์ประกอบของละคร และดารานักแสดงนำ ด้านการเปิดรับข่าวสารการตลาด แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบคือ 1) การเปิดรับข่าวสารการตลาดจากการสื่อสารการตลาดของละครโทรทัศน์ 2) การเปิดรับข่าวสารการตลาดจากการแสวงหาข้อมูลด้วยตัวเอง และ 3) การเปิดรับข่าวสารการตลาดจากผู้ชมคนอื่น ๆ ด้านกระแสนิยมสามารถแบ่งได้ 2 ช่วงเวลาตามการรับรู้ของผู้ชม คือ 1) กระแสนิยมที่เกิดก่อนละครออกอากาศ และ 2) กระแสนิยมที่เกิดเมื่อละครออกอากาศไปแล้ว โดยเกิดจากปัจจัยที่แตกต่างกัน ด้านเส้นทางการตัดสินใจรับชมละครโทรทัศน์ โดยเริ่มต้นจากการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับละคร และนำไปสู่ขั้นตอนการพิจารณาเบื้องต้น รับชมช่วงหนึ่งของละครเพื่อประกอบการตัดสินใจ เกณฑ์ในการตัดสินใจ ค้นหาข้อมูล รับชมจริง ทำกิจกรรมระหว่างรับชม และทำกิจกรรมหลังการรับชม โดยที่ผู้ชมแต่ละคนอาจมีเส้นทางการรับชมละครแต่ละเรื่องแตกต่างกัน และอาจมีการข้ามหรือสลับบางขั้นตอนได้


ผลของระดับของยูทูบเบอร์ด้านการท่องเที่ยวและวิธีการนำเสนอที่มีต่อทัศนคติและการตัดสินใจท่องเที่ยว, พัชธารา วัฒนพิบูลไพศาล Jan 2019

ผลของระดับของยูทูบเบอร์ด้านการท่องเที่ยวและวิธีการนำเสนอที่มีต่อทัศนคติและการตัดสินใจท่องเที่ยว, พัชธารา วัฒนพิบูลไพศาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาผลกระทบของยูทูบเบอร์ที่มีลักษณะแตกต่างกันต่อทัศนคติและการตัดสินใจท่องเที่ยว 2. เพื่อศึกษาผลกระทบของประเภทของเนื้อหารายการยูทูบที่แตกต่างกันต่อทัศนคติและการตัดสินใจท่องเที่ยว 3. เพื่อศึกษาผลกระทบร่วมกันของยูทูบเบอร์และประเภทของเนื้อหารายการยูทูบต่อทัศนคติและการตัดสินใจท่องเที่ยว โดยทำการศึกษาจากนิสิตหรือนักศึกษา จำนวน 4 กลุ่ม ๆ ละไม่น้อยกว่า 30 คน รวมจำนวน 139 คน ให้รับชมรายการวิดีโอออนไลน์บนยูทูบที่มีเนื้อหารายการแตกต่างกันทั้ง 4 กลุ่ม แล้วตอบแบบสอบถาม การศึกษาพบว่า ผลกระทบของยูทูบเบอร์มีอิทธิพลต่อทัศนคติต่อรายการยูทูบ ทัศนคติต่อการท่องเที่ยวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยว ส่วนผลกระทบของเนื้อหารายการยูทูบมีอิทธิพลต่อทัศนคติต่อรายการยูทูบ ทัศนคติต่อการท่องเที่ยว และการตัดสินใจท่องเที่ยวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในส่วนของ ผลกระทบร่วมของระดับยูทูบเบอร์และประเภทเนื้อหารายการไม่มีอิทธิพลต่อทัศนคติต่อรายการยูทูบ ไม่มีอิทธิพลต่อทัศนคติต่อการท่องเที่ยว และไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


คุณลักษณะของผู้นำทางความคิดด้านการท่องเที่ยวบนเฟซบุ๊กกับทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ติดตาม, พิม ศิริสวัสดิ์ Jan 2019

คุณลักษณะของผู้นำทางความคิดด้านการท่องเที่ยวบนเฟซบุ๊กกับทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ติดตาม, พิม ศิริสวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณลักษณะของผู้นำทางความคิดด้านการท่องเที่ยวบนเฟซบุ๊ก และ 2) อิทธิพลของผู้นำทางความคิดด้านการท่องเที่ยวบนเฟซบุ๊กต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ติดตาม โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเพศชายและเพศหญิง อายุระหว่าง 25 – 34 ปี อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร กดติดตามเพจ ZuvapitSnap และเพจ I Roam Alone และภายในระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมาได้เข้าไปติดตามข้อมูลจากทั้ง 2 เพจ จำนวน 441 คน โดยผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะของผู้นำทางความคิดด้านการท่องเที่ยวบนเฟซบุ๊กเพจ ZuvapitSnap และเพจ I Roam Alone แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในส่วนของเพจ ZuvapitSnap คุณลักษณะด้านความน่าเชื่อถือมีอิทธิพลต่อทัศนคติของผู้ติดตามที่มีต่อเนื้อหาที่ผู้นำทางความคิดนำเสนอ และพฤติกรรมการท่องเที่ยวของผู้ติดตามมากที่สุด ขณะที่คุณลักษณะด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริงมีอิทธิพลต่อทัศนคติของผู้ติดตามที่มีต่อผู้นำทางความคิด และพฤติกรรมการมีส่วนร่วมบนเฟซบุ๊กของผู้ติดตามมากที่สุด สำหรับเพจ I Roam Alone คุณลักษณะด้านความน่าเชื่อถือมีอิทธิพลต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ติดตามมากที่สุด


การพัฒนาต้นแบบบอร์ดเกมเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องการสื่อสารความยินยอมพร้อมใจทางเพศสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย, พิมพ์พจี เย็นอุรา Jan 2019

การพัฒนาต้นแบบบอร์ดเกมเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องการสื่อสารความยินยอมพร้อมใจทางเพศสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย, พิมพ์พจี เย็นอุรา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการสร้างความเข้าใจเรื่องการสื่อสารความยินยอมพร้อมใจทางเพศ ศึกษาการรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยเกี่ยวกับการสื่อสารความยินยอมพร้อมใจทางเพศ และนำมาออกแบบต้นแบบบอร์ดเกมเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องการสื่อสารความยินยอมพร้อมใจทางเพศสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย รวมทั้งเพื่อประเมินผลต้นแบบบอร์ดเกมเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องการสื่อสารความยินยอมพร้อมใจทางเพศสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย ใช้ระเบียนวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Method) ได้แก่ การวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า สถานการณ์เกี่ยวกับการสื่อสารความยินยอมพร้อมใจทางเพศกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยมีความเข้าใจเพียงผิวเผิน ไม่ได้ตระหนักในความสำคัญของการสื่อสารความยินยอมพร้อมใจทางเพศสอดคล้องกับข้อค้นพบเกี่ยวปัจจัยต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคในการสร้างความเข้าใจเรื่องความยินยอมพร้อมใจทางเพศ ได้แก่ ระบบวิธีคิดเรื่องเพศที่กำกับโดยระบบคิดแบบชายเป็นใหญ่ และวัฒนธรรมอำนาจนิยม มายาคติของความยินยอมพร้อมใจทางเพศ แบบฉบับทางเพศแบบดั้งเดิม รูปแบบการสื่อสารความยินยอมพร้อมใจที่ขัดกับธรรมชาติของการมีเพศสัมพันธ์ และการขาดแคลนพื้นที่การสื่อสารเรื่องเพศเชิงบวก ต้นแบบบอร์ดเกมที่พัฒนาขึ้นจากการวิจัยครั้งนี้ เรียกว่า Consentopia เป็นบอร์ดเกมเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับการสื่อสารความยินยอมพร้อมใจทางเพศ ผลการประเมินต้นแบบบอร์ดเกม พบว่าเป็นสื่อการเรียนรู้ที่ช่วยสร้างพื้นที่การสื่อสารเรื่องเพศเชิงบวกที่ครอบคลุมหลายมิติ ตลอดจนสามารถนำไปใช้ในการฝึกฝนทักษะการสื่อสารความยินยอมพร้อมใจทางเพศ


การรับรู้และทัศนคติของผู้บริโภคต่อการสื่อสารโดยใช้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของธุรกิจโซเชียลคอมเมิร์ซที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ, พีรพัฒน์ นฤนาทวานิช Jan 2019

การรับรู้และทัศนคติของผู้บริโภคต่อการสื่อสารโดยใช้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของธุรกิจโซเชียลคอมเมิร์ซที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ, พีรพัฒน์ นฤนาทวานิช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง การรับรู้ และทัศนคติของผู้บริโภคต่อการสื่อสารโดยใช้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของธุรกิจโซเชียลคอมเมิร์ซที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อที่มีความแตกต่างของลักษณะทางประชากร และศึกษาถึงความสัมพันธ์ของการรับรู้และทัศนคติของผู้บริโภคต่อการสื่อสารโดยการใช้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของธุรกิจในสังคมออนไลน์ สามารถทำนายการตัดสินใจซื้อผ่านช่องทางธุรกิจโซเชียลคอมเมิร์ซ โดยงานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการวิจัยแบบสำรวจในรูปแบบสอบถามทางออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป และเคยซื้อผลิตภัณฑ์ หรือบริการผ่านช่องทางธุรกิจโซเชียลคอมเมิร์ซอย่างน้อย 1 ครั้ง จำนวน 400 คน นำผลมาวิเคราะห์ใน SPSS โดยผลของการศึกษานี้ พบว่า ความแตกต่างทางด้านลักษณะประชากรมีการรับรู้ และทัศนคติต่อการสื่อสารโดยใช้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของธุรกิจโซเชียลคอมเมิร์ซไม่แตกต่างกัน แต่ต่างกับการตัดสินใจซื้อที่ เพศหญิงมีพฤติกรรมการซื้อสินค้าจากโซเชียลคอมเมิร์ซมากที่สุด เพราะเนื่องจากปัจจัยด้านความซับซ้อนในการซื้อขายสินค้าและบริการที่ง่ายต่อการใช้บริการ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับราคา และกลุ่มตัวอย่างที่มีอาชีพที่แตกต่างกันนั้นมีการตัดสินใจซื้อที่แตกต่างกัน โดยยังพบอีกว่าพนักงานบริษัทมีการให้ความสำคัญกับปัจจัยการตัดสินใจซื้อด้านต่าง ๆ มากกว่ากลุ่มอื่น ๆ ด้วยเหตุผลทางด้านความคิด รายรับรายจ่าย และสถานภาพทางสังคม ซึ่งส่งผลมายังรายได้เฉลี่ยต่อเดือนให้มีความแตกต่างกันในด้านของการตัดสินใจซื้ออีกด้วย และปัจจัยด้านการรับรู้และทัศนคติของผู้บริโภคสามารถทำนายการตัดสินใจซื้อผ่านช่องทางธุรกิจโซเชียลคอมเมิร์ซโดยการศึกษาในครั้งนี้มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


การสร้างสรรค์เนื้อหาและกระบวนการผลิตของผลงานภายใต้Netflix Original ประเทศไทย, ภรภัทร รัตนกุสุมภ์ Jan 2019

การสร้างสรรค์เนื้อหาและกระบวนการผลิตของผลงานภายใต้Netflix Original ประเทศไทย, ภรภัทร รัตนกุสุมภ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการบริหารจัดการการสร้างสรรค์และผลิตผลงานภายใต้ Netflix Original Thailand เรื่อง “เคว้ง” และศึกษาองค์ประกอบและกลวิธีในการเล่าเรื่องที่สามารถเป็นผลงานที่ผลิตภายใต้ Netflix Original Thailand ผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยการค้นคว้าข้อมูลทางด้านเอกสาร การศึกษาเนื้อเรื่อง และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการผลิตผลงานภายใต้ Netflix Original Thailand จากผลการวิจัยพบว่ากระบวนการบริหารจัดการการสร้างสรรค์และผลิตผลงานภายใต้ Netflix Original Thailand มีประเด็นที่น่าสนใจ ได้แก่ การทำงานร่วมกันระหว่างประเทศของทีมงานฝั่งอเมริกาและไทยที่มีวัฒนธรรมต่างกัน และการสร้างสรรค์เนื้อหาจาก “Writer Room” เพื่อเขียนบทและวางแผนงานทั้งหมดก่อนถ่ายทำ ในการถ่ายทำผลงานโดยใช้ระบบ “กองถ่ายทำนอก” เป็นระบบสากลให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและคุณภาพชีวิตทีมงาน อีกทั้งการรายงานผลและบันทึกข้อมูลลงบนดาต้าเบส มีความเป็นระบบและรักษาความปลอดภัยสูง ตลอดจนมีทีมงานตัดต่อและการทำคอมพิวเตอร์กราฟิก (CG) ทั่วโลก และการสร้างสรรค์เนื้อหาที่เป็น “Local Content” สู่กลุ่มผู้รับชมในระดับ “Global” เพื่อให้เรื่องราวเฉพาะพื้นที่สามารถถ่ายทอดสู่ผู้รับชมทั่วโลกได้ ส่วนการศึกษาองค์ประกอบและกลวิธีในการเล่าเรื่องที่สามารถเป็นผลงานที่ผลิตภายใต้ Netflix Original Thailand พบว่ามีความเป็นเอกลักษณ์ตอบสนองต่อกลุ่มผู้ชม “Young Adult” นำเสนอถึงสภาพสังคมของคนในแต่ละภูมิภาคที่สร้างสรรค์ผลงานผ่านสื่อบันเทิงแต่ละเรื่องได้อย่างชัดเจน มีการลงเนื้อหาของในทุกตอนแบบรวดเดียว และความยาวของแต่ละที่เป็นเวลาที่เหมาะสม อีกทั้งการถ่ายทำภาพที่สวยงาม และภาพคอมพิวเตอร์กราฟิก (CG) ที่มีความสมจริงและละเอียด ทำให้ผู้รับชมมีความรู้สึกร่วมในการรับชมมากขึ้น การวิจัยครั้งนี้ทำให้เห็นว่าการสร้างสรรค์เนื้อหาและกระบวนการผลิตผลงานภายใต้ Netflix Original Thailand มีการจัดการอย่างเป็นระบบและให้ความสำคัญกับการสร้างสรรค์เนื้อหาท้องถิ่น สะท้อนวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรมของคนในแต่ละภูมิภาคโดยถ่ายทอดผ่านการสอดแทรกกับเนื้อหาที่เป็นสากล ทำให้ผู้รับชมสามารถรับรู้และเข้าใจกับเนื้อหาในแต่ละภูมิภาคมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับเนื้อหาท้องถิ่นซึ่งช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในแต่ละพื้นที่ในมีประสิทธิภาพและตอบสนองต่อผู้รับชมทั่วโลกมากขึ้น


การสื่อสารการแสดงเพื่อเสริมสร้างการรับรู้ การใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจจากการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในรายการ Loukgolf's English Room, ภัคจิรา เอกศิริ Jan 2019

การสื่อสารการแสดงเพื่อเสริมสร้างการรับรู้ การใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจจากการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในรายการ Loukgolf's English Room, ภัคจิรา เอกศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสร้างสรรค์เนื้อหาของรายการ Loukgolf’s English Room ที่พัฒนาจากสื่อสารการแสดง และเพื่อศึกษาการรับรู้ การใช้ประโยชน์ ความพึงพอใจ ของผู้ชมที่มีต่อการเรียนภาษาอังกฤษและการใช้ชีวิตในรายการ Loukgolf’s English Room โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) คลิปวิดีโอรายการ Loukgolf’s English Room ที่ออกอากาศตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม พ.ศ.2562 รวมจำนวนทั้งหมด 47 ตอน การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักจากกลุ่มผู้ผลิตรายการ (Key Informants) และการสนทนาแบบกลุ่ม (Focus group) กับกลุ่มผู้ชมรายการจำนวน 12 คน ที่เคยรับชมรายการตั้งแต่ 12 ตอนขึ้นไป ผลการวิจัยพบว่า รายการ Loukgolf’s English Room เป็นรายการเอดูเทนเมนต์ที่เรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่านการสนทนาระหว่างพิธีกรและแขกรับเชิญ ซึ่งแขกรับเชิญเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงทั้งในและนอกวงการบันเทิง โดยการคัดเลือกประเด็นที่นำเสนอจะพิจารณาจากความน่าสนใจและมีประโยชน์จากเรื่องราวของแขกรับเชิญ และจัดลำดับเรื่องที่นำเสนอด้วยการเรียงตามลำดับเวลาหรือช่วงเวลาที่สำคัญในชีวิตของแขกรับเชิญ ซึ่งเมื่อผู้วิจัยได้วิเคราะห์ลักษณะเนื้อหารายการพบว่า เนื้อหารายการส่วนใหญ่เป็นเรื่องการทำงานของแขกรับเชิญมากที่สุด นอกจากนี้พิธีกรยังมีทักษะในการสื่อสารการแสดง เช่น การจัดการความคิด จินตนาการ และอารมณ์ความรู้สึก การจัดการภาษากาย และการจัดการใช้เสียง รวมถึงวิธีการสอนภาษาอังกฤษของพิธีกรที่มักจะสอดแทรกในระหว่างการพูดคุยกับแขกรับเชิญ ทั้งนี้จากการสนทนากลุ่มผู้ชมทั้ง 2 กลุ่ม พบว่า ผู้ชมมีการรับรู้ด้านเนื้อหาเรื่องของภาษาอังกฤษและข้อคิดที่ได้จากพิธีกรและแขกรับเชิญ ส่วนการนำไปใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของผู้ชมมี 6 ด้าน คือ 1) การได้รับข้อมูลข่าวสารและคำแนะนำต่าง ๆ 2) การลดความรู้สึกไม่มั่นใจในตัวเอง 3) การเรียนรู้เกี่ยวกับสังคมและโลกกว้าง 4) เพื่อจะได้หาความรู้พื้นฐานในการติดต่อสัมพันธ์กับผู้คน 5) เพื่อฆ่าเวลา และ 6) เพื่อหาแบบแผนในการดำเนินชีวิต


แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในกลุ่มบุคคลวัยเกษียณและการสื่อสารรณรงค์ลดบริโภคเค็ม, วันวิสา เวชประสิทธิ์ Jan 2019

แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในกลุ่มบุคคลวัยเกษียณและการสื่อสารรณรงค์ลดบริโภคเค็ม, วันวิสา เวชประสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงปริมาณในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อ ทัศนคติ แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพของบุคคลวัยเกษียณ และสารโน้มน้าวใจในการสื่อสารรณรงค์ลดบริโภคเค็ม รวมถึงการศึกษาความแตกต่างด้านดังกล่าวในลักษณะประชากรที่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคคลวัยเกษียณที่อาศัยในกรุงเทพมหานครจำนวน 400 คน ซึ่งเก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม ผ่านการฝากลิ้งก์บนสื่อออนไลน์และอาศัยการบอกต่อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานในการทดสอบสมมติฐานเพื่อหาความแตกต่างและความสัมพันธ์ของตัวแปร โดยกำหนดนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า การเปิดรับสื่อรณรงค์ของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คือ สื่อออนไลน์ เช่น เฟซบุ๊ก เว็บไซต์ และยูทูป โดยมีทัศนคติต่อสารโน้มน้าวใจระดับสูงมาก สารที่กลุ่มตัวอย่างให้คแนนสูง ได้แก่ ข้อความรณรงค์บอกความรุนแรงของโรค และข้อความรณรงค์ที่สามารถปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างยังมีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด จากการหาความแตกต่างทางประชากรพบว่า บุคคลวัยเกษียณที่มีระดับการศึกษาและแหล่งรายได้ต่างกัน มีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ด้านการหาความสัมพันธ์พบว่า ทัศนคติต่อสารโน้มน้าวใจมีความสัมพันธ์กับแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 การเปิดรับสื่อมีความสัมพันธ์กับทัศนคติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และการเปิดรับสื่อมีความสัมพันธ์กับแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01


Projection And Determinants Of Cognitive Ability Among Older Persons In Thailand : Role Of Education, Paolo Miguel Vicerra Jan 2019

Projection And Determinants Of Cognitive Ability Among Older Persons In Thailand : Role Of Education, Paolo Miguel Vicerra

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis examines the role of education on cognitive ability among the older population of Thailand. The nationally-representative data primarily utilised in this thesis is 2016 Population Change and Well-being in the Context of Aging Society. Other datasets had been used in selected themes within this thesis. Multiple analytic approaches had been applied to this study to show various effects of education gradients on cognitive functioning. In the first study, education and other covariates including income, health status, living arrangement, and social participation among others had been analysed by gender to test if the significant factors would be similar. It …


Patient Preference And Cost-Effectiveness Analysis Of Colorectal Cancer Screening And Treatment, Pochamana Phisalprapa Jan 2019

Patient Preference And Cost-Effectiveness Analysis Of Colorectal Cancer Screening And Treatment, Pochamana Phisalprapa

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background/Aims: Colorectal cancer (CRC) screening and treatment have been reported to be cost-effective in many high-income countries. However, there was no such study in low- and middle-income countries (LMICs). This study aimed to assess the factors determine individuals’ preferences and cost-effectiveness of CRC screening and treatment. Methods: This study consists of three parts. The first part focused on the factors determine individuals’ preferences for CRC screening using discrete choice experiment and multinomial logit model. The second part investigated the cost-effectiveness and budget impact analyses of CRC screening comparing between annual fecal immunochemical test (FIT) and colonoscopy every 10 years. The …


A Textual Analysis Of Financial Disclosure; Evidence From The Stock Exchange Of Thailand, Siriyos Chuthanondha Jan 2019

A Textual Analysis Of Financial Disclosure; Evidence From The Stock Exchange Of Thailand, Siriyos Chuthanondha

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This paper empirically explores causal relation between non-financial information and stock price performance by applying textual analysis to listed firms’ financial disclosure in Thailand. Managers generally use language in Management Discussion & Analysis (MD&A) report to communicate value-relevant information to investors and other stakeholders. I applied various kinds of approach to quantify qualitative information. I found that, on average, management discussion reports four main topics, which are financial performance, financial status, external factor and industry specific topic. The result shows that managements discuss more proportion on financial performance topic with more positive net tone, when future ROA is increasing. Additionally, …


The Roles Of Informality And Labor Mismatch On Returns To Education In Thailand, Tanthaka Vivatsurakit Jan 2019

The Roles Of Informality And Labor Mismatch On Returns To Education In Thailand, Tanthaka Vivatsurakit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Thailand has experienced rapid economic development and significant investments in education. Despite these trends, many Thai workers remain informally employed or cannot find jobs commensurate with their education level or university major in the labor market. Given these issues, this dissertation examines three interrelated questions: 1) What are the returns to education among the informally employed in Thailand? 2) What is the incidence of vertical education - occupation mismatch and its accompanying wage penalties among Thailand’s informally employed? 3) What is the incidence of horizontal degree field - occupation mismatch and its penalties among Thailand’s post-secondary school graduates? The first …


Parental And Peer Influence On Adolescent Smoking In Vietnam, Duong Hai Yen Jan 2019

Parental And Peer Influence On Adolescent Smoking In Vietnam, Duong Hai Yen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

To estimate the magnitude of the association between parent and peer influences on adolescent smoking as non-; light-; and heavy current smokers. By using data from 18,912 adolescents, ages from 13 to 15 years, from two years 2007 and 2014 of the Global Youth Tobacco Survey in Vietnam, were selected for these analyses. Data collected included measures for the smoking status of the adolescent and their parents and friends. Descriptive analysis was used to describe the characteristics of each individual variable. After that, the ordered logistic regression was applied to estimate the relationship between smoking behaviour of parents and peer, …


Association Between Retirement Status, Savings And Geriatric Depression In China, Fangyi Ren Jan 2019

Association Between Retirement Status, Savings And Geriatric Depression In China, Fangyi Ren

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Against the background of an aging population and a mandatory retirement policy at relatively young ages in China, mental health problems of the retired elderly have attracted more and more attention. Yet, only a few studies have looked at the association between retirement status, savings and geriatric depression in China. Using data from the CHARLS (China Health and Retirement Longitudinal Study) 2015 Wave, this thesis aims to find the association between retirement status, savings and geriatric depression of those aged 45 and above, controlling for other factors such as socioeconomic status, risky health behavior, physical health status, debt, and health …


The Health Impacts Of Groundwater Salinity Among Household Members With Different Wealth Indexes In Coastal Bangladesh, Shayan Ara Amin Jan 2019

The Health Impacts Of Groundwater Salinity Among Household Members With Different Wealth Indexes In Coastal Bangladesh, Shayan Ara Amin

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Individual and household level health impacts are related to their wealth, a connection that expands into impacts from drinking water quality. Using the Bangladesh Poverty and Groundwater Salinity Survey 2016, this study examines the relationship of self-reported groundwater salinity on self-reported health impacts that are common symptoms of hypertension among individuals for an association with household-level wealth quintiles. This study is unique in substantiating the health-wealth relationship for the climate-change vulnerable people of southwest coastal Bangladesh, where so far studies on the impact of drinking water salinity have focused on direct health impacts and willingness-to-pay for drinking water and healthcare. …


The Relationship Between Social Participation And Smoking Among Middle-Aged And Elderly Persons In China, Yuqing Liu Jan 2019

The Relationship Between Social Participation And Smoking Among Middle-Aged And Elderly Persons In China, Yuqing Liu

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study examined the relationship between social participation and smoking among middle-aged and elderly persons. This study used a secondary dataset drawn from the China Health and Retirement Longitudinal Study (CHARLS,2015). In this nationally survey, the number of observations was 9,876. The dependent variable used in this study is smoking and non-smoking. Smoking includes light smoking, moderate, and heavy smoking. The explanatory variables are family factors, demographic characteristics, and socioeconomic factors. Factors associated with smoking were examined with logistic regression model. The results showed that gender, marital status, health self-assessment, pension, chronic disease, playing Mahjong, playing chess, playing cards, or …


Factors Affecting The Purchase Of Commercial Endowment Insurance For The Chinese Adults, Tiantian Jin Jan 2019

Factors Affecting The Purchase Of Commercial Endowment Insurance For The Chinese Adults, Tiantian Jin

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The study aimed to explore factors affecting the purchase of commercial endowment insurance for the Chinese adults. It used secondary data from “China Health and Retirement Longitudinal Study”, this data was based on family and individual who are 45 and over years old with a total of 17,000 individuals in 2015. In this study the percent of people with commercial endowment insurance is 0.93%, while the percent of people without is 99.07% so it used the Binary logistic model. Factors are studied from individual characteristic consists of age, gender, education, health status and income, and family characteristic composes of number …


Feminization, Vulnerability, And Empowerment Of Laotian Migrant Women In Thailand, Cai Ling Koh Jan 2019

Feminization, Vulnerability, And Empowerment Of Laotian Migrant Women In Thailand, Cai Ling Koh

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis examines the feminization of large-scale, cross-border labour migration of Laotian women who migrate to Thailand for work, and aims to effect useful labour migration policy changes for all migrant women working in Thailand, using Laotian migrant women as a case study. This thesis explicates the feminization process and its gendered implications on Laotian migrant women’s vulnerability working in feminized work sectors in Thailand, using the main concepts of feminization of migration, vulnerability, and gender empowerment. This thesis focuses on qualitative research design, using structured qualitative interviews with 11 Laotian migrant women in domestic work, agricultural work, services work, …


Governmentality, Resettlement, And Resistance Of Ethnic Minority Migrants In Vietnam: A Case Study In Dak Lak Province, Chau Le Minh Doan Jan 2019

Governmentality, Resettlement, And Resistance Of Ethnic Minority Migrants In Vietnam: A Case Study In Dak Lak Province, Chau Le Minh Doan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aimed to learn about the governmentality of the Vietnamese state toward ethnic minority migrants, through the examination of resettlement policy. This study focused on the case study in Cu Kbang commune, Ea Sup district, Dak Lak province, Vietnam. Base on the concepts of "The will to improve" of Tania Li (T. Li, 2007), the researchers examined the resettlement policy as a solution proposed by the Government to resolve the situation of the ethnic minority migration in Central Highland Vietnam. The research used the qualitative methodology and discourse analysis regarding the conceptual framework of Escobar and Li on policy …


Toward Decent Work Agenda: Case Study Of Domestic Care Workers In Thailand's Care Economy, Cholnapa Anukul Jan 2019

Toward Decent Work Agenda: Case Study Of Domestic Care Workers In Thailand's Care Economy, Cholnapa Anukul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Ageing population is global phenomenon. As it causes deficit workforce and family structural change, more care job opportunities are provided. Nevertheless, global care workers are experiencing poor working conditions involving low wage, less social security and hard work. The purpose of this study is to investigate the causes of indecent work among paid domestic care workers in Thailand, with the aim to give voice and enhance visibility of them. Research methodology includes decent work related regulations and a set of care policies review and eight in-depth interviews of paid domestic care workers. Results are that (i) Thai regulations is inadequate …


In Search Of The ‘Right’ Kind Of Financialization: Politics Of Financial Inclusion In Thailand, Frank Tyler Oneal Jan 2019

In Search Of The ‘Right’ Kind Of Financialization: Politics Of Financial Inclusion In Thailand, Frank Tyler Oneal

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis is a critical observation of the politics of financial inclusion in Thailand from 2001 until the present time. The systemic approach embedded in the Political Economy of Complex Interdependence encourages us to focus on the coevolution of financial innovation and regulation. With data collected through interviews, field observations, and doctrinal analysis, I argue that neoliberal axioms embedded in the first policies to expand financial services evolved to engender the financialization of everyday life under auspices of financial inclusion. Furthermore, how the interdependence of financial development and Thaksin's transformative policies recoupled subjects away from the state, and to the …


"Bricks In The Wall" : Sufficiency Economy Philosophy In Thailand And Gaps In The Framework, Laura Takenaka Jan 2019

"Bricks In The Wall" : Sufficiency Economy Philosophy In Thailand And Gaps In The Framework, Laura Takenaka

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

His Majesty King Bumibol Adulyadej was inspired by a book called Small is Beautiful, all about how to humanize economics and make development benefit those who need it most. When he saw the devastation after the 1997 Asian Economic Crisis, he formulated the Sufficiency Economy Philosophy (SEP) to help the Thai people recover and to make Thailand more resilient. The purpose of this thesis is to examine the philosophy in depth and find the gaps in the framework. The objectives are to pinpoint the gaps and weaknesses in the current framework, obtain farmers’ insights into the realities of farming via …