Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 2491 - 2520 of 5570

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

ประสิทธิผลของการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานในองค์กรไม่แสวงหากำไร, วันทนีย์ เจียรสุนันท์ Jan 2018

ประสิทธิผลของการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานในองค์กรไม่แสวงหากำไร, วันทนีย์ เจียรสุนันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงประสิทธิผลของสมรรถนะการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสาน (ได้แก่ สมรรถนะด้านการปฏิสัมพันธ์ สมรรถนะด้านการตลาดเชิงพันธกิจ สมรรถนะด้านโครงสร้างพื้นฐานองค์กร สมรรถนะด้านความสอดคล้องเชิงกลยุทธ์ และสมรรถนะด้านการวางแผนและประเมินผล) ที่มีต่อสมรรถนะการดำเนินงานด้านต่างๆ (คือ สมรรถนะด้านความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สมรรถนะด้านชื่อเสียงขององค์กร สมรรถนะด้านประสิทธิผลโครงการรณรงค์ สมรรถนะด้านทรัพยากรขององค์กร และสมรรถนะด้านสมรรถนะตราสินค้า) ขององค์กรไม่แสวงหากำไร โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลทางไปรษณีย์กับกลุ่มตัวอย่าง ที่เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรในประเทศไทย จำนวน 206 องค์กร ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานโดยรวม ส่งผลต่อสมรรถนะการดำเนินงานเชิงบวกขององค์กรไม่แสวงหากำไรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสมรรถนะด้านการวางแผนและประเมินผล สมรรถนะด้านโครงสร้างพื้นฐานองค์กร และสมรรถนะด้านการปฏิสัมพันธ์ เป็นสมรรถนะการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานที่ส่งผลต่อการดำเนินงานด้านต่างๆ ขององค์กรไม่แสวงหากำไรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


รูปแบบการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมการบริโภคตราสินค้าของเจเนอเรชั่นมี, ลภัสดาศรณ์ โชคหิรัญธนากูล Jan 2018

รูปแบบการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมการบริโภคตราสินค้าของเจเนอเรชั่นมี, ลภัสดาศรณ์ โชคหิรัญธนากูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจรูปแบบการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมการบริโภคตราสินค้าของเจเนอเรชั่นมี ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจแบบวัดครั้งเดียว โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชั่นมีทั้งเพศชายและเพศหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 18-48 ปี ในกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 400 คน ซึ่งข้อมูลที่ได้จะนำไปประมวลผลด้วยโปรแกรม SPSS for Windows และทำการวิเคราะห์ผลทางสถิติด้วยการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา แจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จัดกลุ่มรูปแบบการดำเนินชีวิตด้วยการวิเคราะห์ปัจจัยหรือตัวประกอบ ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการดำเนินชีวิตของเจเนอเรชั่นมีแบ่งออกเป็น 7 กลุ่ม ดังนี้ 1) รูปแบบการดำเนินชีวิตแบบมองโลกในแง่ดี 2) รูปแบบการดำเนินชีวิตแบบดูดีมีสไตล์ 3) รูปแบบการดำเนินชีวิตแบบคนดีรุ่นใหม่ 4) รูปแบบชีวิตแบบมุ่งมั่นเพื่อความสำเร็จ 5) รูปแบบการดำเนินชีวิตแบบเฮฮาปาร์ตี้ 6) รูปแบบชีวิตแบบไม่มีโรคคือลาภอันประเสริฐ และ 7) รูปแบบชีวิตแบบเสพติดสื่อ 2. พฤติกรรมการบริโภคตราสินค้าของเจเนอเรชั่นมีพบว่าตราสินค้าที่เจเนอเรชั่นมีใช้ส่วนใหญ่จะเป็นตราสินค้าเดียวกันกับตราสินค้าที่ชื่นชอบแสดงให้เห็นว่าเจเนอเรชั่นมีมักจะเลือกใช้ตราสินค้าที่ตัวเองชื่นชอบ อย่างไรก็ตามหากประเภทสินค้ามีระดับความเกี่ยวพันสูงอย่างรถยนต์เจเนอเรชั่นมีจะชื่นชอบตราสินค้าที่มีภาพลักษณ์และราคาที่สูงกว่าตราสินค้าที่ใช้ซึ่งผลการวิจัยที่ดังกล่าวมีความสอดคล้องกับคุณลักษณะของเจเนอเรชั่นมีอย่างแท้จริง


การสื่อสารการตลาดแบบบอกต่อและพฤติกรรมผู้บริโภคร้านอาหารไทยในประเทศโมซัมบิก, วาทิตา เนื่องนิยม Jan 2018

การสื่อสารการตลาดแบบบอกต่อและพฤติกรรมผู้บริโภคร้านอาหารไทยในประเทศโมซัมบิก, วาทิตา เนื่องนิยม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาการสื่อสารการตลาดแบบบอกต่อของร้านอาหารไทยในประเทศประเทศโมซัมบิก 2) เพื่อศึกษารูปแบบการเปิดรับการสื่อสารการตลาดแบบบอกต่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้บริการร้านอาหารไทยของผู้บริโภคในประเทศโมซัมบิก 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับการสื่อสารการตลาดแบบบอกต่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้บริการร้านอาหารไทยไทยของผู้บริโภคในประเทศโมซัมบิก 4) เพื่อศึกษาความแตกต่างของลักษณะทางประชากรที่แตกต่างกันในการเปิดรับการสื่อสารการตลาดแบบบอกต่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้บริการร้านอาหารไทยของผู้บริโภคในประเทศโมซัมบิกเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 5 คน จากผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ และประสบการณ์เกี่ยวกับร้านอาหารในต่างประเทศ และผู้บริหารร้านอาหารไทย และผลการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามจำนวน 400 ชุด โดยเก็บข้อมูลที่กรุงมาปูโต ประเทศโมซัมบิก ผลการวิจัยเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับร้านอาหารในต่างประเทศและผู้บริหารร้านอาหารไทยในต่างประเทศ จำนวน 5คน ให้ความคิดเห็นตรงกันว่า การสื่อสารการตลาดแบบบอกต่อ เป็นเครื่องมือการสื่อสารที่มีประโยชน์ต่อร้านอาหารไทยในประเทศโมซัมบิก ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่าผู้บริโภคมีการเปิดรับการสื่อสารการตลาดแบบบอกต่อเกี่ยวกับร้านอาหารไทยในประเทศโมซัมบิกผ่านทางสื่อออนไลน์มากที่สุด โดยมีการเปิดรับสื่อจากสมาชิกในครอบครัว ญาติ พี่น้องมากที่สุด ผู้บริโภคมีทัศนคติที่ดีมากต่อร้านอาหารไทยในประเทศโมซัมบิก โดยมีทัศนคติต่อหน้าตา หรือความสวยงามของอาหาร และการจัดแต่งแสงไฟในร้านอาหารมากที่สุด และผู้บริโภคมีพฤติกรรมการใช้บริการร้านอาหารไทยในประเทศโมซัมบิกบ่อย ๆ โดยมีการใช้บริการร้านอาหารไทยในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ คือ วันเสาร์ และวันอาทิตย์ มากที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า 1) การเปิดรับการสื่อสารการตลาดแบบบอกต่อมีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อร้านอาหารไทยของผู้บริโภคในประเทศโมซัมบิก โดยมีความสัมพันธ์กันในเชิงลบ และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำมาก 2) ทัศนคติต่อร้านอาหารไทยมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการร้านอาหารไทยของผู้บริโภคในประเทศโมซัมบิก โดยมีความสัมพันธ์กันในเชิงลบ และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำมาก 3) ผู้บริโภคที่มีอายุ อาชีพและศาสนาแตกต่างกันมีการเปิดรับการสื่อสารการตลาดแบบบอกต่อเกี่ยวกับร้านอาหารไทยในประเทศโมซัมบิกแตกต่างกัน 4) ผู้บริโภคที่มีอายุ และอาชีพแตกต่างกันมีทัศนคติต่อร้านอาหารไทยในประเทศโมซัมบิกแตกต่างกัน 5) ผู้บริโภคที่มีอายุ อาชีพ และศาสนาแตกต่างกันมีพฤติกรรมการใช้บริการร้านอาหารไทยในประเทศโมซัมบิกแตกต่างกัน


ความสัมพันธ์ต่อภาพลักษณ์ตราสินค้าเครื่องสำอางชั้นนำกับภาพลักษณ์ผู้บริโภคของผู้หญิงเจนเนอเรชั่นเอกซ์ และ ผู้หญิงเจนเนอเรชั่นเอ็ม, ศรัณรักษ์ โรจนวิทย์สกุล Jan 2018

ความสัมพันธ์ต่อภาพลักษณ์ตราสินค้าเครื่องสำอางชั้นนำกับภาพลักษณ์ผู้บริโภคของผู้หญิงเจนเนอเรชั่นเอกซ์ และ ผู้หญิงเจนเนอเรชั่นเอ็ม, ศรัณรักษ์ โรจนวิทย์สกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางชั้นนำของผู้บริโภคผู้หญิงเจนเนอเรชั่นเอกซ์ และ ผู้หญิงเจนเนอเรชั่นเอ็ม 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของภาพลักษณ์ตราสินค้าเครื่องสำอางชั้นนำกับภาพลักษณ์ผู้บริโภคกลุ่มผู้หญิงเจนเนอเรชั่นเอกซ์ และ ผู้หญิงเจนเนอเรชั่นเอ็ม และ 3) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางชั้นนำระหว่างผู้หญิงกลุ่มเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์กับผู้หญิงกลุ่มเจนเนอเรชั่นเอ็ม ใช้วิธีการวิจัยแบบวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้วิธีการศึกษาด้วยการสัมภาษณ์กลุ่มย่อย (Focus Group Interview) จำนวน 4 กลุ่ม แบ่งเป็นกลุ่มเจนเนอเรชั่นเอกซ์ 2 กลุ่ม กลุ่มละ 6 คน และกลุ่มเจนเนอเรชั่นเอ็ม 2 กลุ่ม กลุ่มละ 8 คน เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัยพบว่าผู้หญิงกลุ่มเจนเนอเรชั่นเอกซ์และผู้หญิงกลุ่มเจนเนอเรชั่นเอ็มมีพฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางชั้นนำที่ไม่แตกต่างกันมากนัก ขั้นตอนก่อนการซื้อ ผู้บริโภคทั้งสองกลุ่มมีการสืบค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องสำอางชั้นนำผ่านสื่อออนไลน์ และมีการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสินค้ากับครอบครัวและเพื่อน ๆ ขั้นตอนการซื้อ ผู้หญิงทั้ง 2 กลุ่มมักซื้อเครื่องสำอางชั้นนำที่ห้างสรรพสินค้าชั้นนำเป็นหลัก รองลงมาเป็นการซื้อสินค้าผ่านร้านค้าออนไลน์ ซึ่งพบความแตกต่างคือกลุ่มผู้หญิงเจนเนอเรชั่นเอ็มจะมีการซื้อสินค้าผ่านร้านค้าตัวแทนจำหน่าย เนื่องจากมีราคาถูกกว่าและมีขนาดของผลิตภัณฑ์หลากหลายมากกว่า และขั้นตอนหลังการซื้อ ผลทางด้านจิตใจผู้หญิงทั้งสองกลุ่มรู้สึกพอใจต่อสินค้า และภาพลักษณ์ของตนเองเมื่อบริโภคเครื่องสำอางชั้นนำ ด้านการบริโภคมีความแตกต่างกันระหว่างผู้หญิง 2 กลุ่ม กลุ่มผู้หญิงเจนเนอเรชั่นเอกซ์บริโภคสินค้าตามความต้องการ ไม่มีการวางแผน ซึ่งแตกต่างกับกลุ่มผู้หญิงเจนเนอเรชั่นเอ็มที่มีการวางแผนการใช้เครื่องสำอางชั้นนำเพื่อยืดอายุการใช้งานของสินค้าให้ได้ยาวนานที่สุด ด้านความสัมพันธ์ระหว่างภาพลักษณ์ตราสินค้าเครื่องสำอางชั้นนำและภาพลักษณ์ผู้บริโภค ผู้วิจัยพบลักษณะความสัมพันธ์ 2 ลักษณะ คือ การฉายภาพลักษณ์ผู้บริโภคผ่านภาพลักษณ์ตราสินค้า ในลักษณะนี้ผู้บริโภคมีภาพลักษณ์เหมือนกับภาพลักษณ์ตราสินค้า บริโภคเครื่องสำอางชั้นนำเพื่อฉายภาพลักษณ์ของตนเองให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น และการยืมภาพลักษณ์ตราสินค้าเพื่อเสริมภาพลักษณ์ผู้บริโภค เป็นการบริโภคเครื่องสำอางชั้นนำเพื่อยืมภาพลักษณ์ตราสินค้ามาเพื่อสนับสนุนภาพลักษณ์ของตนเอง โดยผู้บริโภคต้องการที่จะมีภาพลักษณ์เหมือนกับภาพลักษณ์ตราสินค้าเครื่องสำอางชั้นนำ


ความเห็นของประชาชนต่อการออกแบบสารในภาวะวิกฤต, สิโนบล สายเพ็ชร Jan 2018

ความเห็นของประชาชนต่อการออกแบบสารในภาวะวิกฤต, สิโนบล สายเพ็ชร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และอธิบายการออกแบบสารที่ใช้ในการสื่อสารภาวะวิกฤตขององค์กรหรือตราสินค้า และเพื่อสำรวจความเห็นของประชาชนที่ทำงานในกรุงเทพและปริมณฑลที่มีต่อการออกแบบสารฯ ใช้รูปแบบการวิจัยแบบการวิเคราะห์เนื้อหา และการวิจัยเชิงสำรวจ โดยวิเคราะห์เอกสารคำชี้แจงขององค์กรหรือตราสินค้าในภาวะวิกฤตในช่วงปี พ.ศ.2557 – 2561 จากนั้นนำผลการวิเคราะห์ไปทำแบบสอบถามสำรวจข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่า ด้านกลยุทธ์มี 12 รูปแบบ โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ รายได้และระดับการศึกษาต่างกันมีความเข้าใจ ยอมรับเหตุผล และคล้อยตามต่อกลยุทธ์ที่ใช้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยการใช้กลยุทธ์การขอโทษ และกลยุทธ์ที่มีการระบุว่าจะมีบทลงโทษ กรณีองค์กรเป็นฝ่ายผิด และเหตุการณ์ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัย ร่างกาย ชีวิต หรือทรัพย์สิน ทำให้กลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจ ยอมรับเหตุผล และคล้อยตามในระดับมาก สำหรับด้านการเรียบเรียงสาร มี 4 แบบ โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีความเข้าใจ ยอมรับเหตุผล และคล้อยตามต่อการเรียบเรียงสารที่ใช้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งการเรียบเรียงสารโดยแบ่งเนื้อหาเป็นหัวข้อทีละหัวข้อเรียงกันไป และการเรียบเรียงโดยอธิบายตามลำดับเวลาของเหตุการณ์ ทำให้กลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจ ยอมรับเหตุผล และคล้อยตามในระดับมาก ด้านการจัดลำดับข้อความ มี 3 แบบ โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ รายได้และระดับการศึกษาต่างกัน มีความเข้าใจ ยอมรับเหตุผล และคล้อยตามต่อการจัดลำดับข้อความที่ใช้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยการจัดให้สาระสำคัญอยู่ตอนต้น ทำให้กลุ่มตัวอย่างเข้าใจและยอมรับเหตุผลในระดับมาก ด้านจุดจูงใจ มี 2 ประเภท โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ อายุ รายได้ และระดับการศึกษาต่างกันมีความเข้าใจ ยอมรับเหตุผล และคล้อยตามต่อจุดจูงใจที่ใช้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


มุมมองอาชญาวิทยาสิ่งแวดล้อมต่อการลักลอบล่าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย, ณัฐพล บัวบุตร Jan 2018

มุมมองอาชญาวิทยาสิ่งแวดล้อมต่อการลักลอบล่าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย, ณัฐพล บัวบุตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหา สาเหตุ และปัจจัยที่นำไปสู่ปัญหาการลักลอบ ล่าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย วิเคราะห์ผลการศึกษาและบรรยายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาการลักลอบล่าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) การวิจัยภาคสนาม (Field Research) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ได้แก่ กลุ่มนายพราน กลุ่มผู้บังคับใช้กฎหมาย และกลุ่มองค์กรอิสระด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า รวม 13 คน ผลการศึกษา มีข้อมูลทางสถิติแสดงว่าสภาพปัญหาการลักลอบล่าสัตว์ป่าผิดกฎหมายมีความรุนแรงมากที่สุดในพื้นที่ป่า ภาคตะวันตกของประเทศไทย รองลงมาเป็นพื้นที่ป่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรูปแบบการลักลอบล่าสัตว์ป่าในบริบทของประเทศไทย แบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ ได้แก่ (1) เพื่อการดำรงชีพ (2) เพื่อการค้า (3) เพื่อการพักผ่อน และ (4) เพื่อการแข่งขันหรือกีฬา สาเหตุของการลักลอบล่าสัตว์ป่าผิดกฎหมายเกิดจาก (1) ปัญหาความยากจนของครัวเรือน (Poverty) (2) ความต้องการโอกาสทางสังคม (Social Opportunity) (3) แรงกดดันทางสังคม (Social Pressures) (4) ค่านิยมเฉพาะกลุ่ม (Group Value) (5) ความเชื่อท้องถิ่น (Local Belief) (6) การเพิ่มมูลค่าของสัตว์ป่าในทางเศรษฐศาสตร์ (Wildlife Economic Value Added) (7) การเข้ามาของกลุ่มนายทุนนอกพื้นที่ (Capitalist) (8) ช่องว่างของการบังคับใช้กฎหมาย (Legal Gap) และ (9) การไม่เกรงกลัวต่อการกระทำความผิด (Intrepidity of commit an offence) ซึ่งสามารถสรุปกลุ่มเป็น 5 ปัจจัย ได้แก่ (1) ความไม่เสมอภาคทางสังคม (Social Inequality) (2) ความอ่อนแอของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา (Weakness of …


เส้นทางชีวิตของนักโทษเด็ดขาดหญิงที่กระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดประเภทยาไอซ์, ดนิตา กอบกุลธนชัย Jan 2018

เส้นทางชีวิตของนักโทษเด็ดขาดหญิงที่กระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดประเภทยาไอซ์, ดนิตา กอบกุลธนชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง "เส้นทางชีวิตของนักโทษเด็ดขาดหญิงที่กระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดประเภท ยาไอซ์"นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเส้นทางชีวิตของนักโทษเด็ดขาดหญิงที่กระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดประเภทยาไอซ์ และจุดเปลี่ยนในแต่ละช่วงวัยที่นำไปสู่การกระทำผิดซ้ำ รวมถึงแนวทางในการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ การศึกษานี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสารและการสัมภาษณ์ เชิงลึก (In-depth Interview) นักโทษเด็ดขาดหญิงที่กระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดประเภทยาไอซ์จำนวน 12 คนซึ่งควบคุมตัวอยู่ในทัณฑสถานหญิงกลาง และเรือนจำกลางเพชรบุรี อีกทั้งสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ผู้ มีประสบการณ์การทำงานเกี่ยวข้องกับนักโทษเด็ดขาดหญิงที่กระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติด ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติและผู้บริหารเรือนจำ ผลการศึกษาพบว่านักโทษเด็ดขาดหญิงที่กระทำผิดซ้ำในคดี ยาเสพติดประเภทยาไอซ์กระทำผิดครั้งแรกในช่วงอายุ 20 – 29 ปี และกระทำผิดซ้ำเป็นครั้งที่สองและสามในช่วงอายุ 30 – 39 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นมีจำนวนเท่ากัน รายได้เฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 10,000-19,999 บาท มีประวัติติดยาเสพติด คดีที่กระทำผิดในครั้งแรก คือ คดีจำหน่ายยาเสพติด และคดีครอบครองเพื่อจำหน่ายยาเสพติด คดีที่กระทำผิดในครั้งที่สองและสาม คือ คดีครอบครองเพื่อจำหน่ายยาเสพติด ส่วนใหญ่เคยได้รับการอภัยโทษ และปัจจุบันเป็นผู้ต้องขังชั้นเยี่ยม ตัวแปรที่เป็นจุดเปลี่ยนในเส้นทางชีวิตซึ่งนำไปสู่การกระทำผิดซ้ำพบว่ามี 4 ตัวแปร ได้แก่ 1) ความสัมพันธ์ในครอบครัวช่วงวัยรุ่น 2) การคบหาเพื่อนในช่วงวัยรุ่น 3) ความกดดันทางสังคมในช่วงผู้ใหญ่ตอนต้น และ 4) บทบาททางเพศในช่วงผู้ใหญ่ตอนต้น นอกจากนั้นยังพบว่าความคิดความเชื่อในการใช้ยาเสพติดเพื่อลดน้ำหนักเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่การกระทำผิด ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษาและแนวทางป้องกันการกระทำผิดซ้ำ ดังนี้ 1) เสริมสร้างความรักความเข้าใจในครอบครัว 2) เลือกคบเพื่อนที่ดี 3) ไม่ให้คุณค่าเงินตรามากเกินไปจนนำไปสู่การกระทำผิด 4) ผู้นำครอบครัวควรประกอบอาชีพที่มั่นคงและเป็นหลักให้ครอบครัวได้ 5) ให้ข้อเท็จจริงในเรื่องของการเสพยาเสพติดว่าไม่ส่งผลต่อการลดน้ำหนักแต่จะทำลายสุขภาพของผู้เสพ 6) จัดโครงการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย 7) จัดทำ MOU ร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ในการป้องกันการกระทำผิดซ้ำ 8) จัดตั้งศูนย์ Care เพื่อส่งเสริมและประสานงานในการจัดหางานให้แก่ผู้พ้นโทษ และให้คำปรึกษาแนะนำ


มาตรการป้องกันปัญหาความรุนแรงในนักเรียนอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล, อิสเรศวร์ ลักษมีพิเชษฐ์ Jan 2018

มาตรการป้องกันปัญหาความรุนแรงในนักเรียนอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล, อิสเรศวร์ ลักษมีพิเชษฐ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาสภาพปัญหาการใช้ความรุนแรงในนักเรียนอาชีวศึกษา ศึกษาสาเหตุที่ทำให้เกิดการใช้ความรุนแรงในนักเรียนอาชีวศึกษาและศึกษามาตรการป้องกันปัญหาความรุนแรงในนักเรียนอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญประกอบด้วยนักเรียนอาชีวศึกษาใน 5 จังหวัด จำนวน 10 คน เจ้าหน้าที่ภาครัฐและเจ้าหน้าที่ภาคประชาสังคม จำนวน 27 คน ทำการการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า 1. สภาพปัญหาการใช้ความรุนแรงที่ในนักเรียนอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล พบว่า ระดับความรุนแรงที่เกิดขึ้นนั้น พบว่า ส่วนใหญ่มีระดับความรุนแรงคือได้รับบาดเจ็บ บาดเจ็บสาหัส พิการและเสียชีวิต ความถี่ในการเกิดความรุนแรงในเด็กและเยาวชนมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นตามลำดับเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม นอกจากนั้นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกิดขึ้นในช่วงวันจันทร์ถึงวันศุกร์ซึ่งเป็นวันปกติที่นักเรียนอาชีวศึกษาใช้ความรุนแรง เวลาส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในก่อนเรียนในช่วงเช้าและหลังเลิกเรียน และเกิดขึ้น 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ มากสุด 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ ส่วนลักษณะของอาวุธที่ใช้ที่ทำให้เกิดการใช้ความรุนแรงของนักเรียนอาชีวศึกษา คือ ไม้ มีด ปืน และอื่นๆ ที่เป็นอาวุธที่สามารถใช้ความรุนแรงได้ ซึ่งจากสภาพปัญหาการที่กล่าวมาทั้งหมดจึงเกิดผลกระทบต่อนักเรียนอาชีวศึกษา สถาบัน/โรงเรียน ครอบครัว ชุมชนและสังคม 2. สาเหตุที่ทำให้เกิดการใช้ความรุนแรงในนักเรียนอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลมีสาเหตุสำคัญประกอบด้วย สภาพครอบครัว เช่น ครอบครัวไม่มีเวลาดูแล พ่อแม่แยกทางกัน รวมถึงบุคคลอื่นในครอบครัวมีผลต่อการใช้ความรุนแรง รุ่นพี่และเพื่อน ได้รับการปลูกฝังจากกลุ่มเพื่อนและรุ่นพี่ ช่วยกันปลูกฝังสิ่งที่ผิด สภาพสังคมในวิทยาลัยอาชีวศึกษา สภาพสังคมในวิทยาลัยเป็นสิ่งที่หล่อหลอมพฤติกรรมของเด็กนักเรียน รุ่นพี่และรุ่นน้องที่ถ่ายทอดพฤติกรรมที่ผิดต่อสังคมจากรุ่นสู่รุ่น 2.4 สื่อและเทคโนโลยีด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีจึงส่งผลให้รุ่นพี่สามารถให้ข้อมูลและถ่ายทอดกันไปรุ่นสู่รุ่นน้องได้ สถาบันการศึกษามีความขัดแย้งกันซึ่งกันและกันมาอย่างยาวนาน ความกดดันในสถานศึกษาและ กฎหมายและระเบียบปฏิบัติกฎหมายมีการกำหนดโทษเบาจนเกินไป 3. มาตรการป้องกันปัญหาความรุนแรงในนักเรียนอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่สำคัญประกอบด้วย 3.1 มาตรการป้องกันด้านครอบครัว 3.2 มาตรการป้องกันด้านเพื่อนและรุ่นพี่ 3.3 มาตรการป้องกันด้านสภาพสังคมในวิทยาลัยอาชีวศึกษา 3.4 มาตรการป้องกันด้านความกดดัน 3.5 มาตรการป้องกันด้านกฎหมาย 3.6 มาตรการป้องกันด้านสถาบันการศึกษา 3.7 มาตรการป้องกันด้านสื่อและเทคโนโลยี 3.8 มาตรการป้องกันด้านศาสนา


มองผ่านสายตา “มาเฟียรัสเซีย”: การวิเคราะห์รูปแบบองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติในบริบทสังคมไทย, แสงโสม กออุดม Jan 2018

มองผ่านสายตา “มาเฟียรัสเซีย”: การวิเคราะห์รูปแบบองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติในบริบทสังคมไทย, แสงโสม กออุดม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง มองผ่านสายตา "มาเฟียรัสเซีย": การวิเคราะห์รูปแบบองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติในบริบทสังคมไทย มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อศึกษาพฤติกรรมและรูปแบบการประกอบอาชญากรรมของมาเฟียรัสเซียในประเทศไทย ตลอดจนมูลเหตุจูงใจและทัศนะหรือมุมมองของมาเฟียรัสเซียด้านบริบทสังคมไทยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้ามาประกอบอาชญากรรม อันจะนำไปสู่แนวทางในการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเข้ามาประกอบอาชญากรรมของมาเฟียรัสเซีย โดยใช้วิธีการในการดำเนินการวิจัย คือ การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง เจ้าหน้าที่ตำรวจสากล และผู้ต้องขังเชื้อชาติรัสเซีย ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มผู้กระทำผิดมาเฟียรัสเซียมีพฤติกรรมและรูปแบบการประกอบอาชญากรรม ได้แก่ การปลอมแปลงและคัดลอกข้อมูลด้วยการสกิมมิ่งบัตรอิเล็กทรอนิกส์ การค้าและลักลอบจำหน่ายยาเสพติด การลักลอบนำหญิงสาวจากประเทศยุโรปตะวันออกเข้ามาค้าประเวณี การประกอบธุรกิจการพนัน และการฟอกเงิน ทั้งนี้ มูลเหตุจูงใจที่ทำให้มาเฟียรัสเซียเข้ามากระทำผิดในประเทศไทย เช่น ความต้องการเงินหรือผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ การไม่เกรงกลัวต่อบทลงโทษ ความกดดันที่เกิดขึ้นจากสภาพปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมในประเทศรัสเซีย และผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่มีความทับซ้อนของประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ทัศนะหรือมุมมองทางบริบทสังคมไทยด้านสภาพแวดล้อม วัฒนธรรม ระบบการบริหาร สภาพภูมิศาสตร์ และระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยส่งผลต่อกระบวนการตระหนักรู้ของมาเฟียรัสเซีย อันนำมาสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการจัดทำฐานข้อมูลของอาชญากรสัญชาติรัสเซีย ตลอดจนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศในการปราบปรามมาเฟียรัสเซีย เป็นต้น


การตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมจากการกระทำผิดในโลกอินเทอร์เน็ต: ศึกษากรณีการรังแกกันในโลกไซเบอร์ในรูปแบบการคุกคามทางเพศในเขตกรุงเทพมหานคร, กชพรรณ มณีภาค Jan 2018

การตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมจากการกระทำผิดในโลกอินเทอร์เน็ต: ศึกษากรณีการรังแกกันในโลกไซเบอร์ในรูปแบบการคุกคามทางเพศในเขตกรุงเทพมหานคร, กชพรรณ มณีภาค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง "การตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมจากการกระทำผิดในโลกอินเทอร์เน็ต: ศึกษากรณีการรังแกกันในโลกไซเบอร์ในรูปแบบการคุกคามทางเพศในเขตกรุงเทพมหานคร" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยและผลกระทบจากการตกเป็นเหยื่อการรังแกกันในโลกไซเบอร์ในรูปแบบการคุกคามทางเพศในเขตกรุงเทพมหานคร อันนำไปสู่การแนวทางในการป้องกันหรือลดโอกาสการตกเป็นเหยื่อการรังแกกันในโลกไซเบอร์ ในรูปแบบการคุกคามทางเพศ โดยใช้วิธีการในการดำเนินการวิจัยคือการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ตกเป็นเหยื่อการรังแกกันในโลกไซเบอร์ ในเขตกรุงเทพมหานคร การเลือกประชากรและกลุ่มตัวอย่างด้วยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงโดยใช้เทคนิคแบบลูกโซ่ ทั้งผู้เสียหายที่เข้าแจ้งความและผู้เสียหายที่ไม่ได้เข้าแจ้งความ จำนวน 10 ราย ผู้วิจัยนำข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์และข้อมูลจากเอกสาร นำมาวิเคราะห์และประมวลผล โดยเชื่อมโยงในลักษณะการพรรณนา ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยการตกเป็นเหยื่อการรังแกกันในโลกไซเบอร์ ในรูปแบบการคุกคามทางเพศ ประกอบด้วย ปัจจัย 3 ปัจจัยหลักคือ 1) พฤติกรรมประมาท บุคลิกภาพอ่อนแอ มั่นใจในตนเองต่ำ และลักษณะทางชีวภาพ เช่น เด็ก ผู้เยาว์ และผู้หญิง 2) ความเป็นนิรนามของพื้นทีไซเบอร์ 3) ภาวะขาดการควบคุมดูแลจากครอบครัวและผู้ปกครอง ผลการศึกษาถึงผลกระทบจากการตกเป็นเหยื่อการรังแกกันในโลกไซเบอร์ ในรูปแบบการคุกคามทางเพศ พบว่า มีผลกระทบต่อ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และด้านสังคม เช่น ปวดหัว นอนไม่หลับ เครียด หวาดระแวง เป็นโรคซึมเศร้า และเสื่อมเสียชื่อเสียง อีกทั้ง พบว่าผลกระทบในระดับที่รุนแรงที่สุด คือ การคิดฆ่าตัวตาย ผลการศึกษาได้นำมาสู่แนวทางในการป้องกันหรือลดโอกาสการตกเป็นเหยื่อการรังแกกันในโลกไซเบอร์ ในรูปแบบการคุกคามทางเพศ เช่น การจัดการกับพฤติกรรมการเข้าสู่โลกไซเบอร์ และรัฐบาลควรควบคุมสื่อออนไลน์ให้ชัดเจน เช่น การลงทะเบียนการใช้ซิมการ์ด และการขึ้นทะเบียนของสื่อออนไลน์ต่างประเทศ


การศึกษาความเป็นไปได้ทางเทคนิคและทางกฎหมายในการนำ "Blockchain" มาใช้ป้องกันการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินโดยมิชอบ, กรกช ชิระปัญญา Jan 2018

การศึกษาความเป็นไปได้ทางเทคนิคและทางกฎหมายในการนำ "Blockchain" มาใช้ป้องกันการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินโดยมิชอบ, กรกช ชิระปัญญา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ทางเทคนิคและทางกฎหมายในการนำ "Blockchain" มาใช้ป้องกันการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินโดยมิชอบเพื่อศึกษาสภาพปัญหาและรูปแบบ การออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินโดยมิชอบในปัจจุบัน ว่ามีลักษณะและรูปแบบเป็นอย่างไร ศึกษาความเป็นไปได้ทางเทคนิคและทางกฎหมายในการนำ "Blockchain" มาใช้ป้องกันการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินโดยมิชอบ เพื่อเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินโดยมิชอบ และป้องกันปัญหาการคอรัปชั่นของเจ้าหน้าที่ รวมทั้งข้อเสนอเชิงนโยบายในการตัดสินใจนำ"Blockchain" มาใช้ในการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ การศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า Blockchain มีข้อดีในด้านความโปร่งใสในการทำธุรกรรม เนื่องจากระบบดังกล่าวเมื่อได้รับฉันทามติจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว เจ้าหน้าที่ไม่สามารถเข้าไปแก้ไขธุรกรรมดังกล่าวได้อีก รวมทั้งสามารถนำมาใช้ตรวจสอบขั้นตอนและกระบวนการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินว่าเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายหรือไม่ อีกทั้งป้องกันการปลอมแปลงหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่ได้มีการออกไปแล้วได้ ซึ่งสามารถป้องกันการคอร์รัปชั่นของเจ้าหน้าที่ได้เป็นอย่างดีจากการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการนำ Blockchain มาใช้ในการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเพื่อป้องกันการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินโดยมิชอบ พบว่ามีความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิคในการตรวจสอบถ่วงดุลการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินของกรมที่ดินกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้นยังช่วยลดระยะเวลาการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินจากเดิมที่ใช้ระยะเวลา 153 วัน ลดลงเหลือ เพียง 3 วัน รวมทั้งความเป็นไปได้ทางด้านกฎหมายยังสามารถแก้ไขกฎกระทรวงหรือออกระเบียบที่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมในการนำBlockchain มาใช้ในการป้องกันการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินโดยมิชอบแทนวิธีการเดิมในปัจจุบันได้


บทบาทของท่าอากาศยานในการป้องกันการกระทำผิดขององค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ: ศึกษากรณีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, ฉัตรวดี ศิริโภค Jan 2018

บทบาทของท่าอากาศยานในการป้องกันการกระทำผิดขององค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ: ศึกษากรณีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, ฉัตรวดี ศิริโภค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่องบทบาทของท่าอากาศยานในการป้องกันการกระทำผิดขององค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ : ศึกษากรณีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของท่าอากาศยาน ปัญหาอุปสรรคของท่าอากาศยาน และการพัฒนาแนวทางของท่าอากาศยาน ในการป้องกันการกระทำผิดขององค์กรอาชญากรรม ข้ามชาติ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) การรวบรวมกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และศึกษากรณีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ รวมถึงการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) ผู้บริหารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเหตุอาชญากรรมข้ามชาติที่เกิดขึ้น ณ ท่าอากาศยาน รวมทั้งการสังเกตการณ์ปฏิบัติงานของพนักงานตรวจค้นภายในท่าอากาศยาน และทำการสัมภาษณ์ประชาชนผู้มาใช้บริการ ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ผลการศึกษาพบว่าอุตสาหกรรมการบินยังคงเป็นเป้าหมายสำคัญของกลุ่มองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ รวมทั้งกลุ่มก่อการร้าย นอกจากนี้การหลั่งไหลของชาวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศไทย ทำให้เกิดปัญหาด้านความมั่นคง การกระทำผิดขององค์กรอาชญากรรมข้ามชาติที่ท่าอากาศยาน ประกอบด้วย การลักลอบขนงาช้าง การลักลอบขนสัตว์ป่า การลักลอบขนยาเสพติด การเข้าเมืองที่ผิดกฎหมาย รวมถึงการกระทำที่เป็นการแทรกแซงอันมิชอบด้วยกฎหมาย (Acts of Unlawful Interference) เป็นต้น จากการศึกษาพบว่าผู้มาใช้บริการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีความเชื่อถือและวางใจในมาตรการระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี บทบาทของท่าอากาศยานในการป้องกันการกระทำผิดขององค์กรอาชญากรรมข้ามชาตินั้น พนักงานตรวจค้นจะต้องมีจิตสำนึกในการปฏิบัติงาน ซึ่งมีส่วนสำคัญในการคัดกรองวัตถุต้องสงสัยมิให้มีการนำออกไปจากราชอาณาจักร โดยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการเพิ่มขีดความสามารถด้านการรักษาความปลอดภัยให้เป็นไปตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ รวมถึงการสร้างการมีส่วนร่วมจากชุมชนบริเวณโดยรอบท่าอากาศยาน เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างชุมชนที่สามารถช่วยเป็นหูเป็นตาในการป้องกันอาชญากรรมให้กับท่าอากาศยาน อย่างไรก็ตามมีกฎหมายที่บังคับใช้กับมาตรการระบบรักษาความปลอดภัยของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทั้งการก่อการร้ายในเขตอากาศยาน ที่เป็นกฎหมายภายในประเทศ และกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้นควรมีการทบทวนและหาแนวทางในการปฎิบัติให้แก่ท่าอากาศยานในความรับผิดชอบของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ที่อาจต้องมีการเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยตามระดับความเสี่ยงของท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่ง รวมถึงท่าอากาศยานแห่งใหม่ที่ ทอท. จะต้องรับผิดชอบเพิ่มเติมในอนาคต


สาเหตุการข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิงอายุต่ำกว่า 13 ปี, ดวงกมล จักกระโทก Jan 2018

สาเหตุการข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิงอายุต่ำกว่า 13 ปี, ดวงกมล จักกระโทก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง "สาเหตุการข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิงอายุต่ำกว่า 13 ปี" นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุปัจจัยการข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิงอายุต่ำกว่า 13 ปี ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทำผิดกับเด็กหญิง และแนวทางการป้องกันการข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิง การศึกษานี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกนักโทษเด็ดขาดชายในคดีข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิงอายุต่ำกว่า 13 ปี ซึ่งถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำกลางคลองเปรม เรือนจำกลางพระนครศรีอยุธยา และทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง โดยนักโทษเด็ดขาดยินยอมให้ข้อมูล จำนวน 15 คน ผลการศึกษาพบว่า การข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิงมีสาเหตุปัจจัย 3 ส่วน คือ 1) สาเหตุปัจจัยจากตัวผู้กระทำผิด ที่ขาดความรัก ความอบอุ่น ไม่มีความผูกพันกับครอบครัวผู้ให้กำเนิด ไม่ได้รับการขัดเกลาทางสังคมอย่างเหมาะสม ทำให้เป็นคนที่มีการควบคุมตัวเองต่ำ มีบิดาหรือบิดาเลี้ยงเป็นต้นแบบในการดื่มสุรา ผู้กระทำผิดมีชีวิตคู่ที่ล้มเหลว ผิดหวังจากคนรัก 2) เหยื่อที่เหมาะสม คือ เด็กหญิงที่มีความอ่อนแอทั้งร่างกายและจิตใจ ถูกหลอกได้ง่าย และรู้จักคุ้นเคยกับผู้กระทำผิดมาก่อน 3) โอกาส เวลา สถานที่เหมาะสม คือ มีโอกาสอยู่กับเด็กหญิงเพียงลำพังในสถานที่มิดชิด เปลี่ยวมืด ปราศจากการตรวจตราของเจ้าหน้าที่รัฐ แนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว แบ่งได้เป็น 3 แนวทาง คือ 1) การป้องกันจากตัวผู้กระทำความผิด โดยการที่บิดามารดาต้องให้ความรักความอบอุ่น อบรมขัดเกลาทางสังคมบุตรหลาน ให้เป็นคนที่รู้จักให้เกียรติผู้หญิง เป็นตัวอย่างในการประพฤติปฏิบัติตัว หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา เสพยาเสพติด และเสพสื่อลามก 2) การป้องกันจากตัวเด็กหญิง โดยการที่บิดามารดาคอยสอดส่องดูแล ไม่ปล่อยให้เด็กหญิงอยู่กับผู้ชายสองต่อสองในที่ลับตาคน รวมทั้งสอนให้เด็กหญิงมีความเข้าใจสิทธิในร่างกายของตัวเองว่าบุคคลอื่นจะมาล่วงละเมิดในร่างกายของตัวเขาไม่ได้ 3) การป้องกันจากสภาพแวดล้อมและตัดโอกาสในการกระทำผิด โดยการติดกล้องวงจรปิด การตรวจตราของสมาชิกในชุมชนและเจ้าหน้าที่รัฐ และลดพื้นที่เสี่ยง เปลี่ยวร้าง


มาตรการทางเลือกทดแทนโทษประหารชีวิต, นฤมล ถินทอง Jan 2018

มาตรการทางเลือกทดแทนโทษประหารชีวิต, นฤมล ถินทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบมาตรการทางเลือกทดแทนโทษประหารชีวิตที่เหมาะสมในประเทศไทย เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค ของการนำมาตรการทางเลือกทดแทนโทษประหารชีวิตมาใช้ในประเทศไทย เพื่อเสนอแนวมาตรการทางเลือกที่เหมาะสมเพื่อทดแทนโทษประหารชีวิต วิทยานิพนธ์เป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) คือ การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Methodology) โดยการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ และเชิงคุณภาพ (Qualitative Methodology) ด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผู้วิจัยได้เลือกวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบโควต้า (Quota sampling) จากกลุ่มบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม คือ ตำรวจ อัยการ ศาล ราชทัณฑ์ ในกรุงเทพมหานครฯ และปริมณฑล จำนวน 210 ราย สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพได้ใช้วิธีการเจาะจง (Purposive Sampling) จากผู้เชี่ยวชาญในกระบวนการยุติธรรม จำนวน 6 ราย ผลการศึกษาพบว่า 1) บุคลากรและผู้เชี่ยวชาญในกระบวนการยุติธรรมเห็นด้วยต่อการใช้โทษประหารชีวิต ในกรณีที่โทษประหารชีวิตเป็นโทษสูงสุดทางอาญา มีความเหมาะสมกับความผิด มีส่วนในการข่มขู่มิให้ผู้ใดกระทำความผิดอีก การตัดโอกาสในการกระทำความผิดซ้ำ อย่างไรก็ตามโทษประหารชีวิตไม่สามารถแก้ไขความผิดพลาดของกระบวนการยุติธรรมและไม่ได้ทำให้สถิติอาชญากรรมลดลง 2) บุคลากรและผู้เชี่ยวชาญในกระบวนการยุติธรรมส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการยกเลิกโทษประหารชีวิต โดยเห็นว่า โทษประหารชีวิตที่นำมาใช้ไม่สามารถควบคุมการกระทำผิดของคนในสังคม อย่างไรก็ตามหากจะต้องมีการยกเลิกโทษประหารชีวิตกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่าควรยกเลิกโทษประหารชีวิตโดยข้อกำหนดของกฎหมายเป็นอันดับแรก ส่วนการยกเลิกโทษประหารชีวิตโดยการลดฐานความผิดที่มีโทษประหารชีวิตลงจากเดิม และการยกเลิกโทษประหารชีวิตโดยข้อเท็จจริง (การยกเลิกในทางปฏิบัติ)นั้น ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าวิธีการเหล่านี้ยังไม่ใช่วิธีการยกเลิกโทษประหารชีวิตอย่างแท้จริง 3) บุคลากรและผู้เชี่ยวชาญในกระบวนการยุติธรรมกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อมาตรการทางเลือกทดแทนโทษประหารชีวิตในแต่ละรูปแบบนั้นมีจำนวนใกล้เคียงกัน คือ โทษจำคุกตลอดชีวิตโดยไม่มีการอภัยโทษ โทษจำคุกตลอดชีวิตโดยให้มีการอภัยโทษ และวิธีลงโทษที่ควรนำมาใช้แทนโทษประหารชีวิตอันดับสุดท้าย คือโทษจำคุกระยะยาวโดยมีการกำหนดระยะเวลาขั้นต่ำ (ไม่น้อยกว่า 20 ปี แต่ไม่เกิน 40 ปี) ข้อเสนอแนะของการศึกษา คือ หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมควรมีการจำกัดปริมาณการประหารชีวิต เช่น การใช้โทษอื่นแทนโทษประหารชีวิต การแก้ไขฟื้นฟูควรมีมาตรการที่ดี และงบประมาณที่เพิ่มขึ้น เพื่อให้การแก้ไขฟื้นฟูมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้หันมาใช้การแก้ไขฟื้นฟูมากกว่าการแก้แค้นทดแทน รัฐควรมีการปรับโครงสร้างทางสังคม สถานภาพ การศึกษา และทางเศรษฐกิจให้ ประชาชนในสังคมได้มีความเสมอภาค และเท่าเทียม รวมทั้งมีรายได้ และคุณภาพชีวิตที่ดีเพื่อป้องกันการเกิดอาชญากรรม กรมราชทัณฑ์ควรเสนอทางเลือกอื่นนอกเหนือจากโทษประหารชีวิตที่มีผลในการตัดผู้กระทำผิดออกไปจากสังคม เช่น โทษจำคุกตลอดชีวิตโดยไม่มีการอภัยโทษ รัฐควรจัดสรรงบประมาณให้แก่กรมราชทัณฑ์ในการสร้างเรือนจำความมั่นคงสูงเพื่อคุมขังผู้กระทำผิดร้ายแรง และควรเริ่มพัฒนามาตรการทางเลือกในการลงโทษรูปแบบอื่น ๆ ที่สามารถใช้ทดแทนโทษประหารชีวิตได้


การลักลอบเข้าไปทำงานอย่างผิดกฎหมายของแรงงานไทยในสาธารณรัฐเกาหลี, นิมนตรา ศรีเสน Jan 2018

การลักลอบเข้าไปทำงานอย่างผิดกฎหมายของแรงงานไทยในสาธารณรัฐเกาหลี, นิมนตรา ศรีเสน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่องการลักลอบเข้าไปทำงานอย่างผิดกฎหมายของแรงงานไทยในสาธารณรัฐเกาหลีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของกระบวนลักลอบเข้าไปทำงานอย่างผิดกฎหมาย ปัจจัยที่ส่งเสริมหรือผลักดันให้แรงงานตัดสินใจเลือกใช้ช่องทางผิดกฎหมาย และศึกษามุมมองของภาครัฐที่มีต่อปัญหาที่เกิดขึ้น ผ่านแนวคิดเรื่องการอพยพแรงงานระหว่างประเทศ แนวคิดการเคลื่อนย้าย และมุมมองทางอาชญาวิทยา เพื่อทำความเข้าใจพลวัตและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของแรงงานเหล่านั้นต่อกระบวนการและสภาวะของการกระทำที่ผิดกฎหมายอาศัยการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยสัมภาษณ์เชิงลึกแรงงานผู้มีประสบการณ์ลักลอบเข้าไปทำงานอย่างผิดกฎหมายในสาธารณรัฐเกาหลี จำนวน 5 คน บริษัทนำเที่ยว เจ้าหน้าที่รัฐ ร่วมกับการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วมและการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง จากการวิจัยพบว่ารูปแบบของการลักลอบเข้าไปทำงานในสาธารณรัฐเกาหลีมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการเดินทางจากแต่เดิมที่อาศัยนายหน้าผิดกฎหมายมาสู่การเดินทางด้วยตนเองโดยมีผู้ให้ความช่วยเหลืออยู่ที่ปลายทาง เมื่อเทียบกับการเคลื่อนย้ายที่ผ่านมา พบว่าแรงงานส่วนใหญ่มีระดับของการศึกษาที่สูงขึ้นและมีอายุน้อยลงโดยเฉพาะกับผู้ที่เพิ่งตัดสินใจเดินทางไปทำงานอย่างผิดกฎหมายเป็นครั้งแรก เดิมที ผู้อพยพที่มีภูมิหลังทางเศรษฐกิจที่ยากลำบากเป็นคนกลุ่มหลักที่แสวงหาโอกาสจากตลาดแรงงานที่ผิดกฎหมาย อย่างไรก็ตามจากการศึกษาการเคลื่อนย้ายของแรงงานผิดกฎหมายในปัจจุบันพบว่าการอพยพในลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นในกลุ่มของครอบครอบครัวชนชั้นกลางที่ไม่มีหนี้สินมากขึ้น แม้ว่ารายได้ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ แต่ปัจจัยอื่น ๆ อย่างเช่น โอกาสทางเศรษฐกิจ การรู้ช่องว่างทางกฎหมายและบทลงโทษที่ไม่รุนแรง รวมทั้งความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลออนไลน์ และการมีประสบการณ์การเดินทางไปทั่วโลก ล้วนมีบทบาทอย่างมากต่อการกำหนดรูปแบบการอพยพย้ายถิ่นอย่างผิดกฎหมายที่เปลี่ยนแปลงไป


ความรุนแรงในสถานที่ทำงาน: ศึกษากรณีเจ้าหน้าที่และบุคลากรของโรงพยาบาลตำรวจ, รมิดา แสงสวัสดิ์ Jan 2018

ความรุนแรงในสถานที่ทำงาน: ศึกษากรณีเจ้าหน้าที่และบุคลากรของโรงพยาบาลตำรวจ, รมิดา แสงสวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง "ความรุนแรงในสถานที่ทำงาน: ศึกษากรณีเจ้าหน้าที่และบุคลากรของโรงพยาบาลตำรวจ" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบและรูปแบบของความรุนแรงในสถานที่ทำงาน สาเหตุของความรุนแรงในสถานที่ทำงาน และเพื่อแสวงหาแนวทางในการป้องกันและการแก้ไขความรุนแรงในสถานที่ทำงานของเจ้าหน้าที่และบุคลากรในโรงพยาบาลตำรวจ ระเบียบวิธีวิจัย คือ วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน โดยกลุ่มตัวอย่างและผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือเจ้าหน้าที่และบุคลากรของโรงพยาบาลตำรวจ รวมทั้งสิ้น 204 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบออนไลน์และแบบกรอกข้อมูลลงกระดาษสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ และเป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ สถิติที่ใช้ คือ หาค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ยเลขคณิต หาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียว จากผลการวิจัย พบว่า ด้านผลกระทบและรูปแบบของความรุนแรงในสถานที่ทำงานกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่พบเจอกับความรุนแรงทางวาจามากที่สุด ในลักษณะของการใช้น้ำเสียงตะคอก และการกล่าวตำหนิ/กล่าวโทษ ผู้กระทำความรุนแรงทั้งทางวาจาและร่างกายที่พบในสถานที่ทำงานมากที่สุด คือ ผู้ร่วมงานภายในหน่วยงานเดียวกัน ผลกระทบที่ได้รับจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ไม่ได้รับบาดเจ็บใดๆ และยังคงทำงานปกติ แต่ในบางรายกระทบต่อความรู้สึก จิตใจ และเลือกที่จะหยุดงาน ย้ายหน่วยงานหรือลาออก ด้านการจัดการกับความรุนแรง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้วิธีพูดคุยหรือบอกเล่าให้บุคคลอื่นรับฟัง และในกรณีที่ไม่บอกเล่าเหตุการณ์ต่อบุคคลอื่น พบว่าเห็นเป็นเรื่องไม่สำคัญและกลัวถูกมองในแง่ลบ ด้านสาเหตุของความรุนแรง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่า ปัจจัยที่เป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมทางสังคมมีโอกาสส่งผลให้เกิดความรุนแรงได้มากที่สุด ซึ่งประกอบด้วย ความกดดันจากสภาวะเร่งรีบในการปฏิบัติงาน สภาวะแวดล้อมในการทำงานที่มีความเครียด และความกดดันที่เกิดจากความผิดพลาด ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าความแตกต่างทางศาสนาและความเชื่อส่งผลต่อความรุนแรงในสถานที่ทำงานน้อยที่สุด แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงควรยึดความแตกต่างเฉพาะบุคคล รูปแบบหรือลักษณะของความรุนแรงที่เกิดขึ้น และมีการนำเทคโนโลยีสำหรับการป้องกันความปลอดภัยมาใช้ นอกจากนี้ผู้บริหารขององค์กรสามารถนำผลการวิจัยมาใช้ในการจัดตั้งโครงการอบรมเพื่อเป็นการสร้างความตระหนักรู้ถึงภัยและผลกระทบของปัญหา และยังเป็นส่วนช่วยในการเตรียมความพร้อมสำหรับการจัดการ หรือการรับมือกับปัญหาความรุนแรงในสถานที่ทำงาน


การพัฒนารูปแบบนวัตกรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการป้องกันอาชญากรรมในเขตภาคกลาง, สัณหกฤษณ์ บุญช่วย Jan 2018

การพัฒนารูปแบบนวัตกรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการป้องกันอาชญากรรมในเขตภาคกลาง, สัณหกฤษณ์ บุญช่วย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยนี้มีวิธีการดำเนินการวิจัยจุดยืนทางกระบวนทัศน์แบบตีความ (Interpretivism paradigm) มีเป้าหมายเพื่อทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคม ศึกษา และถอดบทเรียนของโครงการนวัตกรรมในด้านการป้องกันอาชญากรรมและความปลอดภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกลุ่มตัวอย่างที่มีการบริหารจัดการที่ดี (best practice) และเพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินการบริหารจัดการในโครงการนวัตกรรมด้านการป้องกันอาชญากรรมและความปลอดภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่ง โดยเปรียบเทียบปัญหาอุปสรรคในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเพื่อนำไปสู่การค้นหารูปแบบในการบริหารจัดการด้านป้องกันอาชญากรรมและความปลอดภัยที่เหมาะสมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ในลักษณะของการศึกษาเฉพาะกรณี (case study) ซึ่งมีหน่วยที่ทำการศึกษาคือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 4 องค์กร ได้แก่ เทศบาลนครรังสิต เทศบาลตำบลเจ็ดเสมียน เทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ย และองค์การบริหารส่วนตำบลเทพารักษ์ ซึ่งคัดเลือกจากองค์กรที่มีผลการดำเนินงานจากโครงการนวัตกรรมด้านการป้องกันปัญหาอาชญากรรม จนกระทั่งประสบผลสำเร็จได้รับการประเมินเพื่อเข้ารับรางวัลต่าง ๆ ในระดับชาติ จากนั้นเลือกใช้การวิจัยภาคสนาม (field research) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม (focus group) ผู้เชี่ยวชาญ ผลการศึกษาพบว่า 1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญต่อประเด็นในการที่จะสร้างความสงบเรียบร้อย การป้องกันอาชญากรรมและความปลอดภัยในท้องถิ่นโดยมีการกำหนดไว้ในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาและได้แปลงเป็นโครงการนวัตกรรม เนื่องจากการมีบริบททางสังคมที่มีพลวัตย่อมส่งผลโดยตรงต่อการเกิดอาชญากรรม 2) ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จพบว่ามี 6 ปัจจัย ได้แก่ 1) ผู้นำองค์กรที่มีวิสัยทัศน์ 2) สมรรถนะของพนักงานเจ้าหน้าที่ในองค์กร 3) ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติ 4) ศักยภาพขององค์กร 5) ความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายภายนอก และ 6) การมีส่วนร่วมของประชาชน สำหรับปัญหาและอุปสรรคพบว่าเกิดจาก 1) ความยุ่งยากซับซ้อนในการประสานงานกับหน่วยงานราชการภายนอก 2) ความจำเป็นในการต้องพึ่งพิงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และ 3) ปัญหาความกังวลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อเรื่องระเบียบข้อกฎหมาย 3) รูปแบบนวัตกรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการป้องกันอาชญากรรมในเขตภาคกลาง ดังนี้ 1) รูปแบบที่เหมาะสมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคกลางที่มีบริบทความเป็นเมืองคือรูปแบบในการป้องกันอาชญากรรมโดยสภาพแวดล้อมที่เน้นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือปฏิบัติการ 2) รูปแบบที่เหมาะสมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคกลางที่มีบริบทความเป็นชนบท คือรูปแบบในการป้องกันอาชญากรรมโดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในลักษณะเครือข่ายภาคประชาสังคม และ 3) รูปแบบที่เหมาะสมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคกลางที่มีบริบทความเป็นกึ่งเมืองกึ่งชนบท คือรูปแบบในการป้องกันอาชญากรรมโดยเน้นการเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสจะกระทำความผิดในลักษณะเครือข่ายการปรึกษาหารือ


บทลงโทษทางอาญาที่เหมาะสมสำหรับการป้องกันอาชญากรรมเกี่ยวกับมลพิษทางสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย, ยุทธศักดิ์ ศิริสินธว์ Jan 2018

บทลงโทษทางอาญาที่เหมาะสมสำหรับการป้องกันอาชญากรรมเกี่ยวกับมลพิษทางสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย, ยุทธศักดิ์ ศิริสินธว์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง "บทลงโทษทางอาญาที่เหมาะสมสำหรับการป้องกันอาชญากรรมเกี่ยวกับมลพิษทางสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบของบทลงโทษทางอาญา ความรุนแรงของบทลงโทษทางอาญา การบังคับใช้บทลงโทษทางอาญา และแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมบทลงโทษทางอาญาให้เหมาะสมต่อการป้องกันอาชญากรรมเกี่ยวกับมลพิษทางสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง (Documentary Research) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) จากการศึกษาพบว่า บทลงโทษทางอาญาตามกฎหมายมลพิษทางสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยยังมีความหลากหลายของรูปแบบของบทลงโทษที่น้อยเกินไป มีความรุนแรงของบทลงโทษที่ไม่สอดคล้องต้องกันกับสถานการณ์ในปัจจุบัน และมีการบังคับใช้บทลงโทษที่ไม่มีประสิทธิภาพ จึงส่งผลให้บทลงโทษทางอาญาดังกล่าวยังไม่มีความเหมาะสมสำหรับการป้องกันอาชญากรรมเกี่ยวกับมลพิษทางสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยในปัจจุบัน ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่สำคัญเช่น การเพิ่มเติมรูปแบบของบทลงโทษทางอาญาตามกฎหมายมลพิษทางสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้นด้วยการนำบทลงโทษทางอาญาของประเทศฝรั่งเศส ประเทศเยอรมัน ประเทศอังกฤษ ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศออสเตรเลียมาใช้เป็นกฎหมายต้นแบบ การบังคับใช้บทลงโทษจำคุกตามกฎหมายมลพิษทางสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยเท่าที่จำเป็น การเพิ่มขนาดของบทลงโทษปรับแบบธรรมดาตามกฎหมายมลพิษทางสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยให้มากขึ้นกว่าเดิม เป็นต้น


การเปลี่ยนผ่านสู่ชีวิตในเรือนจำของ "แพะ" ในคดีอาญา, สุพรรณี อ่วมวงษ์ Jan 2018

การเปลี่ยนผ่านสู่ชีวิตในเรือนจำของ "แพะ" ในคดีอาญา, สุพรรณี อ่วมวงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่องการเปลี่ยนผ่านสู่ชีวิตในเรือนจำของ "แพะ" ในคดีอาญาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษากระบวนการปรับตัวของ "แพะ" ในคดีอาญาก่อนถูกคุมขังและระหว่างถูกคุมขังในเรือนจำ 2) ศึกษาปัญหาในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม "แพะ" ในคดีอาญา 3) ศึกษาผลกระทบของ "แพะ" และครอบครัวของ "แพะ" ในคดีอาญา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) เป็นเครื่องมือหลักในการรวบรวมข้อมูล โดยเป็นการศึกษาวิจัยผ่านเรื่องเล่า (narrative) ของผู้ตกเป็น "แพะ" ในคดีอาญา ศึกษาปัญหาในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม และศึกษาผลกระทบของผู้ตกเป็น "แพะ"และครอบครัวของผู้ตกเป็น "แพะ" ในคดีอาญา จากการศึกษาวิจัย มีข้อค้นพบดังต่อไปนี้ (1) กระบวนการปรับตัวของผู้ตกเป็น "แพะ" ในคดีอาญา มีองค์ประกอบ 2 ประการ ได้แก่ 1.1 ความเป็นชนชั้นและการปรับตัวสู่เรือนจำ ซึ่งประกอบด้วย ชนชั้นของผู้มีฐานะทางสังคมและผู้ที่มีฐานะทางสังคมที่ด้อยกว่า จุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้บริสุทธิ์ตกเป็น "แพะ" ในคดีอาญาโดยมีจุดเปลี่ยน 3 ประการ ได้แก่ การเข้าไปอยู่ในสถานที่เกิดเหตุ การรู้จักกับผู้กระทำผิดหรืออาชญากร และการตกเป็น "แพะ" จากความบกพร่องของกระบวนการยุติธรรม ความวิตกกังวลก่อนเข้าสู่เรือนจำเกิดขึ้น 2 ประการ คือ ความวิตกกังวลต่อตนเอง ความวิตกต่อสมาชิกในครอบครัว 1.2 สภาพแวดล้อมในเรือนจำที่ส่งผลต่อการปรับตัว ได้แก่ มิติเชิงพื้นที่ คือ พื้นที่ภายในบริเวณเรือนจำเนื่องจากมีผู้ต้องขังเป็นจำนวนมากทำให้รู้สึกแออัดทางร่างกายและจิตใจ มิติการปฏิสัมพันธ์ซึ่งเป็นการสนทนาระหว่างผู้ต้องขังรายอื่นมีการเล่าประสบการณ์ของแต่ละคนอาจทำให้ลดความวิตกกังวลและทำให้ไม่สามารถลดความเครียดลงได้เช่นกัน กฎระเบียบที่เคร่งครัด ผู้ที่ตกเป็น "แพะ" และผู้ต้องขังรายอื่นต้องปฏิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัดซึ่งกฎระเบียบมีทั้งผลดีและผลเสีย ซึ่งผลดีคือการทำให้เกิดความสงบในการอยู่ในเรือนจำส่วนผลเสียก่อให้เกิดความเครียด ความกดดันในการใช้ชีวิตอยู่ในเรือนจำ และกิจกรรมภายในเรือนจำ ซึ่งทุกเรือนจำจะมีการจัดกิจกรรมให้ผู้ตกเป็น "แพะ"ได้เข้าร่วม ได้แก่ กิจกรรมตามเทศกาลต่างๆ กิจกรรมทางศาสนา ทำงานตามกองงานต่างๆ ซึ่งการทำงานในกองงานนั้นเพื่อเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ มีจิตใจที่สงบ ไม่ฟุ้งซ่าน และทำให้ร่างกายแข็งแรง (2) กระบวนการปรับตัวระหว่างถูกคุมขังในเรือนจำ มีองค์ประกอบ 8 ประการ ดังนี้ 2.1 ปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการปรับตัว …


การตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมในสถานศึกษา: กรณีศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อู่ธนา สุระดะนัย Jan 2018

การตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมในสถานศึกษา: กรณีศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อู่ธนา สุระดะนัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง การตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมในสถานศึกษา กรณีศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น ศึกษาสาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลให้นักเรียน นิสิต อาจารย์ และบุคลากรในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม ทั้งด้านกายภาพ ปัจจัยที่เอื้อต่อการประกอบอาชญากรรม ลักษณะของเหยื่ออาชญากรรม และช่องโอกาสในการเกิดอาชญากรรม ตลอดจนศึกษาแนวทางหรือ มาตรการที่ช่วยลดการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และเขียนรายงานต่อไป จากการศึกษาพบว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีอาชญากรรมเกิดขึ้นทุกปี โดยเหยื่ออาชญากรรมเป็นนักเรียน นิสิต อาจารย์ รวมถึงบุคลากรในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณโดยรอบสถานศึกษา ซึ่งประเภทอาชญากรรมที่พบคือ อาชญากรรมต่อทรัพย์ ต่อชีวิตร่างกายและต่อเพศ จากการศึกษาวิเคราะห์สถิติคดียังพบอีกว่า มีแนวโน้มที่บุคลากรในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมประเภทดังกล่าว โดยมีสาเหตุและปัจจัยระดับปัจเจกบุคคลที่ทำให้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมได้แก่ 1) พฤติกรรม 2) บุคลิกภาพ และ 3) ลักษณะทางชีวภาพ เมื่อพิจารณาถึงความตระหนักถึงความปลอดภัยพบว่า นิสิตและบุคลากร ตลอดจนประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบสถานศึกษานั้นไม่ค่อยจะระมัดระวังตนเองหรือทรัพย์สิน มีความประมาท ประกอบกับจำนวนเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยต่อบุคลากรและต่อพื้นที่ไม่เพียงพอต่อการดูแล และไม่มีความชำนาญในพื้นที่ ตลอดจนขาดความชำนาญและขาดประสิทธิภาพในการป้องกันอาชญากรรม ในส่วนของโครงสร้างทางกายภาพ พบว่า สถานศึกษามีประตูเข้า-ออกหลายช่องทางหากมีเหตุอาชญากรรมเกิดขึ้นอาชญากรสามารถหลบหนีได้ง่าย อีกทั้งถนนภายในและภายนอกของสถานศึกษาบางแห่งมีแสงไฟส่องสว่างน้อย บางจุดไม่มีกล้องวงจรปิด โดยเฉพาะในช่วงที่มีการก่อสร้างปรับภูมิทัศน์ พื้นที่ดังกล่าวกลายเป็นจุดเสี่ยงที่จะเกิดอาชญากรรมได้


ภาวะมีบุตรยากกับความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการรักษา, ณัฐชานันท์ ไตรวัฒนวงษ์ Jan 2018

ภาวะมีบุตรยากกับความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการรักษา, ณัฐชานันท์ ไตรวัฒนวงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานการณ์การเข้ารับการรักษาการมีบุตรยาก ความเหลื่อมล้ำในการเข้ารับการรักษาระหว่างกรุงเทพมหานครและภาคอื่นๆ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับการรักษาการมีบุตรยาก กลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีวัยเจริญพันธุ์อายุ 25-44 ปี สมรสเมื่ออายุ 20 ปีขึ้นไป สมรสมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี ไม่เคยมีบุตรและมีความต้องการมีบุตร มีเพศสัมพันธ์กับคู่สมรสอย่างสม่ำเสมอ (4-6 ครั้งต่อสัปดาห์) ไม่คุมกำเนิดในระยะ 1 ปีขึ้นไป โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจอนามัยเจริญพันธุ์พ.ศ. 2552 ขนาดตัวอย่าง 278 ราย และข้อมูลจากการสำรวจการเปลี่ยนแปลงทางประชากรและความอยู่ดีมีสุขในบริบทสังคมสูงวัย พ.ศ. 2559 ขนาดตัวอย่าง 130 ราย สำหรับการวิเคราะห์เชิงปริมาณ นอกจากนี้ยังมีการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะเดียวกันอีก 28 ราย สำหรับการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า สตรีที่มีบุตรยากส่วนใหญ่ไม่เข้ารับการรักษาและมีแนวโน้มที่จะไม่เข้ารับการรักษาสูงขึ้น จากร้อยละ 55.9 ในพ.ศ. 2552 เพิ่มเป็นร้อยละ 65.5 ในพ.ศ. 2559 และพบว่า ในปี พ.ศ. 2552 พบความเหลื่อมล้ำในการเข้ารับการรักษาระหว่างกรุงเทพมหานครและภาคอื่นๆ ในขณะที่พ.ศ. 2559 ไม่พบความเหลื่อมล้ำ อย่างไรก็ตามพบว่าในปีพ.ศ. 2552 สตรีที่มีอายุแรกสมรส จำนวนปีที่สมรส จำนวนบุตรที่ต้องการ การวางแผนครอบครัว ระดับการศึกษา การทำงาน และการครอบครองที่อยู่อาศัยที่ต่างกันจะเข้ารับการรักษาแตกต่างกันระหว่างกรุงเทพมหานครและภาคอื่นๆ ในขณะที่ ในปี พ.ศ. 2559 พบว่า สตรีที่มีอายุแรกสมรสแตกต่างกันเท่านั้น ที่จะเข้ารับการรักษาต่างกันระหว่างกรุงเทพมหานครและภาคอื่นๆและเมื่อพิจารณาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับการรักษา พบว่า ในปี พ.ศ. 2552 ปัจจัยด้านอายุแรกสมรส จำนวนปีที่สมรส ภาค ระดับการศึกษา การทำงาน และการครอบครองที่อยู่อาศัย มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเข้ารับการรักษาการมีบุตรยาก ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ในขณะที่ในปี พ.ศ. 2559 พบว่า จำนวนปีที่สมรส และการวางแผนครอบครัวเท่านั้นที่มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับการรักษาการมีบุตรยาก ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า สตรีที่มีบุตรยากที่เข้ารับการรักษาจะให้ความสำคัญกับการวางแผนครอบครัว และจำนวนปีที่สมรส ในขณะที่ กลุ่มที่ไม่เข้ารับการรักษาจะเห็นคุณค่าการมีบุตรแต่ไม่เห็นความสำคัญของวางแผนครอบครัว อายุแรกสมรส …


อิทธิพลของความรักความเข้าใจในครอบครัวต่อคุณธรรมจริยธรรมของเด็กและเยาวชนไทย, มนทกานติ์ รอดคล้าย Jan 2018

อิทธิพลของความรักความเข้าใจในครอบครัวต่อคุณธรรมจริยธรรมของเด็กและเยาวชนไทย, มนทกานติ์ รอดคล้าย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของความรักความเข้าใจในครอบครัวที่เกิดขึ้นระหว่างเด็กและเยาวชนกับครอบครัวของตนต่อคุณธรรมจริยธรรมของเด็กและเยาวชน โดยศึกษาสถานการณ์ความรักความเข้าใจในครอบครัวและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งศึกษาวิธีการและแนวทางการเลี้ยงดูลูกของพ่อแม่ผู้ปกครอง แบบแผนการวิจัยเป็นแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยข้อมูลเชิงปริมาณที่ใช้นำมาจากข้อมูลทุติยภูมิจากโครงการสำรวจสถานการณ์เด็กและเยาวชนไทย พ.ศ.2558: ตามกรอบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ที่ได้รับการอนุเคราะห์จากวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวิเคราะห์ข้อมูลรวมถึงเปรียบเทียบผลการศึกษาด้วยสถิติการถดถอยพหุคูณ ในขณะที่การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อให้ทราบมุมมองและแนวทางการเลี้ยงดูลูกของพ่อแม่ที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรมจริยธรรมของเด็กและเยาวชน ผลการศึกษาพบว่า ความรักความเข้าใจในครอบครัวมีอิทธิพลต่อคุณธรรมจริยธรรมของเด็กเป็นอย่างมากและเป็นไปในทางบวก โดยหากเด็กและเยาวชนได้รับความรักความเข้าใจในครอบครัวมากจะมีความสัมพันธ์ต่อคุณธรรมจริยธรรมส่วนตนให้เป็นไปในทางบวกเช่นกัน นอกจากนี้ปัจจัยลักษณะประชากรของเด็กและเยาวชนบางประการมีอิทธิพลต่อคุณธรรมจริยธรรมของเด็กเช่นกัน ประกอบด้วย ภาคที่อยู่อาศัย เพศ อายุ และการศึกษา ในขณะที่มีปัจจัยลักษณะครัวเรือนเพียงบางประการเท่านั้นที่มีความสัมพันธ์กับคุณธรรมจริยธรรม และปัจจัยลักษณะผู้ปกครองเป็นเพียงปัจจัยเดียวที่ไม่มีความสัมพันธ์กับคุณธรรมจริยธรรม นอกจากนี้ผลการศึกษาเชิงคุณภาพพบว่า พ่อแม่เลี้ยงดูลูกด้วยความเอาใจใส่และพร้อมที่จะให้ความรักความเข้าใจแก่ลูกอยู่เสมอ อีกทั้งยังตระหนักและมุ่งเน้นที่จะปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมพื้นฐานแก่ลูกของตนโดยคุณธรรมหลักที่เน้นปลูกฝังได้แก่ ความซื่อสัตย์และรับผิดชอบต่อหน้าที่โดยมุ่งหวังให้ลูกเป็นคนดีของครอบครัวและสังคม การศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางในการวางแผนและจัดทำยุทธศาสตร์ในการพัฒนาครอบครัวอย่างถูกวิธี เพื่อส่งเสริมการให้ความรักความเข้าใจในครอบครัวอันจะช่วยเสริมสร้างผลผลิตหรือเด็กและเยาวชนที่มีคุณธรรมจริยธรรมอันเป็นสมาชิกของสังคมที่มีคุณภาพ


การเปรียบเทียบมูลค่าเวลาของผู้โดยสารรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนและรถโดยสารประจำทางในพื้นที่กรุงเทพมหานคร, กนกพงศ์ ตั้งอารีอรุณ Jan 2018

การเปรียบเทียบมูลค่าเวลาของผู้โดยสารรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนและรถโดยสารประจำทางในพื้นที่กรุงเทพมหานคร, กนกพงศ์ ตั้งอารีอรุณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความเต็มใจจ่ายของผู้โดยสารสามารถใช้เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ความเหมาะสมของการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการให้บริการของระบบขนส่งสาธารณะ ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้โดยสารได้ โดยวัดจากความเต็มใจจ่ายของผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น เพื่อแลกกับเวลาที่ใช้ในการเดินทางลดลงหรือระดับการบริการที่เพิ่มขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหามูลค่าเวลาและความเต็มใจจ่ายของผู้โดยสารที่เดินทางด้วยรถไฟฟ้าเปรียบเทียบกับรถโดยสารประจำทางในพื้นที่กรุงเทพมหานคร รวมทั้งผลกระทบของปัจจัยด้านคุณภาพการให้บริการต่อระดับความพึงพอใจด้านค่าโดยสารของผู้โดยสาร โดยรวบรวมข้อมูลของผู้โดยสารด้วยวิธีทฤษฎีเปิดเผยความพึงพอใจ ทั้งนี้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ แบบจำลองการถดถอยโลจิสติกส์ทวิร่วมกับอัตราส่วนเพิ่มสุดท้ายของการทดแทนกันระหว่างเวลาที่ใช้ในการเดินทางและค่าโดยสาร และการวิเคราะห์องค์ประกอบร่วมกับแบบจำลองการวิเคราะห์การถดถอยโพรบิตแบบเรียงลำดับ ผลการศึกษาด้วยแบบจำลองการถดถอยโลจิสติกส์ทวิพบว่า ผู้โดยสารในกรุงเทพมหานครมีความเต็มใจที่จะจ่ายค่าโดยสารเพิ่มขึ้น 37.14 บาทถ้าการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าสามารถประหยัดเวลาการเดินทางได้ 60 นาทีเมื่อเทียบกับรถโดยสารประจำทาง ในส่วนของการศึกษาผลกระทบของปัจจัยด้านคุณภาพการให้บริการต่อความพึงพอใจด้านค่าโดยสาร พบว่าผู้โดยสารทั้งสองระบบการเดินทาง จะมีความพึงพอใจด้านค่าโดยสารเพิ่มขึ้นถ้ามีการปรับปรุงคุณภาพการให้บริการด้านเวลาที่ใช้ในการเดินทาง


ผลกระทบของ Digital Banking ที่มีต่อผลการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์, จิรัชยา เย็นทรวง Jan 2018

ผลกระทบของ Digital Banking ที่มีต่อผลการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์, จิรัชยา เย็นทรวง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้ศึกษาวิวัฒนาการทางการเงินของอินเทอร์เน็ตแบงกิ้งและโมบายแบงกิ้งในประเทศไทยและศึกษาผลกระทบของธนาคารพาณิชย์ที่เปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง และโมบายแบงกิ้งต่อผลการดำเนินงานของธนาคารประกอบด้วยความสามารถในการทำกำไรและ Tobin's q โดยปัจจัยที่นำมาศึกษา ได้แก่ ดิจิตอลแบงกิ้ง ขนาดสินทรัพย์ ขนาดกับเทคโนโลยี อัตราส่วนความเป็นเจ้าของ อัตราส่วนเงินฝากต่อสินทรัพย์ อัตราส่วนเงินให้กู้ต่อสินทรัพย์ จำนวนผู้ใช้งานโมบายแบงกิ้ง ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ อัตราเงินเฟ้อ และอัตราส่วนราคาหุ้นต่อกำไรสุทธิ จากปัจจัยดังกล่าวนำมาสร้างสมการถดถอยเชิงซ้อน โดยทดสอบวิธี Fixed effect แบบ Cluster test ระยะเวลาในการศึกษาตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปีพ.ศ.2543 ถึงไตรมาสที่ 2 ปีพ.ศ. 2561 จำนวนธนาคารพาณิชย์ทั้งหมด 11 แห่งที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ผลการศึกษาพบว่าการเปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตแบงกิ้งส่งผลต่ออัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของทุน (ROE) ลดลงร้อยละ 0.25 เช่นเดียวกับผลการทดสอบของการเปิดให้บริการโมบายแบงกิ้งส่งผลต่ออัตราส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ลดลงร้อยละ 0.1 นอกจากนี้ผลการศึกษาของขนาดสินทรัพย์และจำนวนผู้ใช้โมบายแบงกิ้งพบว่ามีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับผลการดำเนินงานที่ระดับนัยสำคัญ


เศรษฐศาสตร์การเมืองในพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบท : กรณีศึกษา ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี, ณัฐธิดา เย็นบำรุง Jan 2018

เศรษฐศาสตร์การเมืองในพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบท : กรณีศึกษา ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี, ณัฐธิดา เย็นบำรุง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยการกลายเป็นพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบท และศึกษาปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจของการเป็นพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบท กรณีศึกษาตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ ข้อมูลปฐมภูมิได้มาจากการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก 3 กลุ่ม อันได้แก่ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานส่วนกลาง เจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองสาม และประชาชนกลุ่มต่างๆ ในคลองสาม และข้อมูลทุติยภูมิได้มาจากเอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยการกลายเป็นพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบทในคลองสาม เกิดจากพื้นที่คลองสามเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาพื้นที่คลองหลวง พื้นที่คลองหลวงมีการเปลี่ยนแปลงด้วยการขยายตัวของทุนต่างๆ ที่เข้ามา ประกอบกับภาครัฐที่พัฒนาพื้นที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมและที่อยู่อาศัย พื้นที่คลองสามจึงถูกพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัยรองรับการขยายตัวของทุนอุตสาหกรรมในอำเภอคลองหลวง อีกทั้งพื้นที่มีเจ้าที่ดินครอบครองที่ดินขนาดใหญ่ ได้เปลี่ยนมือของกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่นายทุนจัดสรร โดยมีแรงต้านจากเกษตรกรผู้เช่าที่ดินนั้นน้อยมาก เนื่องจากไม่มีกรรมสิทธิ์ และอำนาจการต่อรองใดๆ และที่สำคัญนายทุนได้ใช้ประโยชน์จากความอ่อนแอของสถาบันผังเมืองที่เกิดผังเมืองช้า ทำให้พื้นที่คลองสามเปลี่ยนสู่เมืองรวดเร็วมาก สำหรับปฏิสัมพันธ์เชิงอานาจเมื่อ พื้นที่เปลี่ยนเป็นพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบทแล้วระหว่างท้องถิ่น กลุ่มทุน ประชาชน เป็นไปในลักษณะที่พึ่งพา เอื้อผลประโยชน์ และขัดแย้ง เอาเปรียบกัน กระทำผ่านการช่วงชิงที่ดินเป็นสำคัญ ปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างท้องถิ่นกับกลุ่มทุน เป็นในลักษณะมีผลประโยชน์ต่างตอบแทนกัน มุ่งหน้าพัฒนาให้พื้นที่เป็นเมือง เพื่อเอื้อการสะสมทุน โดยท้องถิ่นเก็บรายได้ในรูปของภาษีเป็นการตอบแทน นอกจากนี้ความสัมพันธ์ของกลุ่มทุนและประชาชนเต็มไปด้วยความขัดแย้ง การเอาเปรียบเรื่องที่ดิน ผ่านการขับไล่กลุ่มคนดั้งเดิมออกจากพื้นที่ และมุ่งสะสมกำไรอย่างไร้ความรับผิดชอบต่อคุณภาพชีวิตของผู้คน สร้างภาระและความเดือดร้อนให้กับท้องถิ่นและประชาชน ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นว่าพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบทของไทยสัมพันธ์กับพัฒนาการของระบบทุนนิยมเสรีที่ให้ความสำคัญกับกรรมสิทธิ์ของปัจเจกมากกว่าสิทธิชุมชน สะท้อนให้เห็นถึงความอ่อนแอของสถาบันทั้งภาครัฐและสถาบันผังเมือง พื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบทเป็นพื้นที่ของความขัดแย้ง โดยเฉพาะความ ขัดแย้งเรื่องที่ดิน นอกจากนี้พื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบทยังสะท้อนการต่อสู้ของคนในพื้นที่ที่ไม่ยอมเสียพื้นที่กึ่งชนบทไป ดังนั้น พื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบทจึงไม่ได้เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ แต่ยังสะท้อนความสัมพันธ์ทางสังคม ปฏิสัมพันธ์เชิงอานาจในพื้นที่อีกด้วย


ความเสี่ยง ความเปราะบางและความสามารถในการปรับตัวของครัวเรือนเกษตรกรต่อเหตุการณ์ที่ไม่ปกติ (Shocks): กรณีศึกษาเกษตรกรบนที่ราบและที่สูง, พชรพัชร์ ถวิลนพนันท์ Jan 2018

ความเสี่ยง ความเปราะบางและความสามารถในการปรับตัวของครัวเรือนเกษตรกรต่อเหตุการณ์ที่ไม่ปกติ (Shocks): กรณีศึกษาเกษตรกรบนที่ราบและที่สูง, พชรพัชร์ ถวิลนพนันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาประเด็นความเสี่ยง ความเปราะบางและความสามารถในการปรับตัวของเกษตรกรต่อเหตุการณ์ที่ไม่ปกติของเกษตรกรบนที่ราบและที่สูง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความกังวลต่อความเสี่ยง การเผชิญความเสี่ยง ผลกระทบจากความเปราะบางที่เกิดขึ้น กลยุทธ์การปรับตัวและปัจจัยที่ส่งผลต่อการฟื้นตัวของครัวเรือนเกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต่อเหตุการณ์ที่ไม่ปกติ โดยศึกษาเปรียบเทียบเกษตรกรที่ราบและที่สูงซึ่งมีรูปแบบการทำเกษตรแบบเดียวกันแต่แตกต่างกันที่ลักษณะของพื้นที่ เก็บข้อมูลตัวอย่างโดยใช้แบบสอบถามอย่างละ 40 ราย ในอำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน แล้วนำมาวิเคราะห์ทางสถิติทั้งในเชิงพรรณนาและเชิงอนุมาน ผลการศึกษาพบว่า 1) ครัวเรือนเกษตรกรทั้งที่ราบและที่สูงมีความกังวลและเผชิญกับความเสี่ยงมากที่สุดและรุนแรงที่สุดในด้านเดียวกัน คือ ความผันผวนของราคาผลผลิต โดยปัจจัยที่ส่งผลให้ครัวเรือนเกษตรกรมีความกังวลต่อความเสี่ยงในภาพรวมมากขึ้น ได้แก่ จำนวนแรงงานนอกภาคเกษตรและพื้นที่ทำการเกษตร และ ปัจจัยที่ส่งผลให้ครัวเรือนเกษตรกรมีความกังวลต่อความเสี่ยงลดลง ได้แก่ การมีเงินออมและการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน 2) ผลกระทบจากความเปราะบางที่ตามมาคือการกู้หนี้ยืมสินเพิ่มมากขึ้น 3) เกษตรกรจัดการความเสี่ยงโดยการปรับตัวหลังการเผชิญความเสี่ยงมากกว่าการเตรียมพร้อมก่อนเกิดภัย ครัวเรือนที่ราบมีศักยภาพในการปรับตัวโดยใช้กลยุทธ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการลดความเปราะบางและเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวในอนาคตได้มากกว่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านโครงสร้างพื้นนฐาน เช่น การปรับพื้นที่รับน้ำของหมู่บ้าน ส่วนครัวเรือนที่สูงโดยมากเลือกใช้กลยุทธ์ที่เป็นเพียงการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น เช่น การเพิ่มอัตราการใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลง และ 4) ปัจจัยที่ส่งผลให้ครัวเรือนปรับตัวได้ดีขึ้น ได้แก่ รายได้ของครัวเรือนและการมีเงินออมสำรอง ในทางกลับกันปัจจัยที่ส่งผลให้ครัวเรือนปรับตัวได้ด้อยลง ได้แก่ จำนวนบุคคลในอุปการะและจำนวนหนี้สิน ส่วนกลยุทธ์การปรับตัวที่ครัวเรือนเกษตรกรใช้แล้วส่งผลให้ครัวเรือนปรับตัวได้ดีขึ้น ได้แก่ การสร้างโครงสร้างพื้นฐานในฟาร์มเพิ่มเติม ในทางกลับกันกลยุทธ์ที่ครัวเรือนเกษตรกรใช้แล้วส่งผลให้ครัวเรือนปรับตัวได้ด้อยลง ได้แก่ การทดลองปลูกพืชอื่น ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ครัวเรือนเกษตรกรมีการเผชิญความเสี่ยงไม่ต่างกัน แต่ปัจจัยที่ทำให้ครัวเรือนมีความเปราะบางแตกต่างกันเป็นผลมาจากความแตกต่างทางด้านปัจจัยพื้นฐานหรือลักษณะทั่วไปของครัวเรือน และ ขีดความสามารถในการปรับตัวของครัวเรือนเกษตรกร ดังนั้นภาครัฐจึงควรจัดการกับปัจจัยพื้นฐานของครัวเรือนเกษตรกรเพื่อลดความอ่อนไหวจากการเผชิญความเสี่ยง และพัฒนาศักยภาพในการปรับตัวของครัวเรือนเกษตรกร ในแต่ละปัจจัยตามความแตกต่างของเกษตรกรแต่ละกลุ่ม เพื่อนำไปสู่การลดความเปราะบางและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์ที่ไม่ปกติต่อไป


การประเมินประสิทธิภาพหน่วยงานจัดเก็บรายได้ของประเทศไทย, ศรัณยพงศ์ วงษ์วิชาพานิช Jan 2018

การประเมินประสิทธิภาพหน่วยงานจัดเก็บรายได้ของประเทศไทย, ศรัณยพงศ์ วงษ์วิชาพานิช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากร และความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงผลิตภาพกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการจัดเก็บภาษี โดยใช้วิธี Malmquist DEA เพื่อหาประสิทธิผลในการจัดเก็บภาษีของ 119 สรรพากรพื้นที่ในช่วงปี พ.ศ. 2557 - 2560 ผลการศึกษาพบว่า สรรพากรมีการเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพเชิงเทคนิคที่สูง แต่ การเปลี่ยนแปลงของผลิตภาพนั้นมีค่าน้อย และจำนวนข้าราชการระดับอาวุโสมีผลต่อการเพิ่มขึ้น ของผลิตภาพในการจัดเก็บภาษี


การประกันภัยข้าวนาปีและการบรรเทาความยากจนของชาวนาไทย, มุขยวิมล อักษรถึง Jan 2018

การประกันภัยข้าวนาปีและการบรรเทาความยากจนของชาวนาไทย, มุขยวิมล อักษรถึง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้ มุ่งเน้นศึกษาถึงประสิทธิผลของโครงการประกันภัยข้าวนาปีที่มีต่อการบรรเทาความยากจนของชาวนาไทยและปัจจัยที่ส่งผลต่อความยากจนของครัวเรือนเกษตรผู้ปลูกข้าวในบริเวณภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ผ่านข้อมูลระดับ Micro Panel Data จากชุดข้อมูล Townsend Thai Data โดยเมื่อเปรียบเทียบผลก่อนและหลังการดำเนินโครงการประกันภัยข้าวปี ด้วยวิธีการ Difference-in-Difference พบว่า ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการประกันภัยข้าวนาปีอย่างต่อเนื่องมีหนี้สินต่ำกว่าครัวเรือนที่ไม่เข้าร่วมโครงการ หรือเข้าร่วมโครงการแต่ไม่ต่อเนื่อง และเมื่อพิจารณาปัจจัยที่ส่งผลความยากจนของครัวเรือน ด้วยแบบจำลอง Fixed Effect Regression พบว่า ครัวเรือนเกษตรที่เป็นลูกค้าสินเชื่อเพื่อการผลิตของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) มีหนี้สินสูงกว่าครัวเรือนที่ไม่เป็นลูกค้าสินเชื่อเพื่อการผลิตของธกส. นอกจากนี้ยังพบว่า จำนวนสมาชิกในครัวเรือน การศึกษาของหัวหน้าครัวเรือน รายได้ภาคเกษตร ค่าใช้จ่ายภาคเกษตร ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ขนาดพื้นที่เพาะปลูก และการถือครองที่ดินของครัวเรือน ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อความยากจนของชาวนาไทย การดำเนินโครงการประกันภัยข้าวนาปีอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นหนึ่งในโครงการที่สามารถช่วยป้องกันความเสี่ยงของภาคเกษตร และการพัฒนาระบบประกันภัยที่สามารถประเมินความเสียหายที่แม่นยำ โปร่งใส และได้รับความเชื่อมั่นจากผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัย จะสามารถสร้างตลาดประกันภัยพืชผลที่ไม่ต้องอาศัยการแทรกแซงจากภาครัฐได้ นอกจากนี้ การให้ความรู้ทางการเงินและสนับสนุนให้สมาชิกในครัวเรือนได้รับการศึกษา เป็นการส่งเสริมทักษะในการบริหารการเงินในครัวเรือน และสร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารด้านการผลิต ซึ่งช่วยพัฒนาผลิตภาพและศักยภาพการแข่งขันของภาคเกษตรได้อย่างยั่งยืน ลดความยากจนของครัวเรือน และทำให้แรงงานในภาคเกษตรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


การวางแผนก่อนการเกษียณอายุและความอยู่ดีมีสุขของผู้สูงอายุ, ศราวุฒิ จตุวิวัฒน์วรกุล Jan 2018

การวางแผนก่อนการเกษียณอายุและความอยู่ดีมีสุขของผู้สูงอายุ, ศราวุฒิ จตุวิวัฒน์วรกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประเทศไทยเป็นอีกประเทศหนึ่งที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทั้งยังมีแนวโน้มประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับอัตราการเกิดที่น้อยลง จึงทำให้อัตราการพึ่งพิงของผู้สูงอายุต่อวัยทำงานเพิ่มขึ้น จนเป็นภาระแก่บุตรหลานและงบประมาณของประเทศ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ แนวทางในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้สามารถเริ่มได้ด้วยตัวของบุคคลเองด้วยการวางแผนก่อนการเกษียณอายุ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการวางแผนเพื่อการเกษียณอายุและระยะเวลาของการวางแผนที่มีต่อความอยู่ดีมีสุขของผู้สูงอายุผ่านคะแนนมาตรฐานสุขภาพกายและสุขภาพจิต โดยศึกษาผ่านแบบจำลอง 2-Stage Least Square (2SLS) ด้วยการใช้ตัวแปรมหภาคเป็น instrumental variable ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจวางแผนเกษียณอายุ ซึ่งผลศึกษาพบว่า แผนเกษียณอายุทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ แผนเกษียณอายุด้านการเงิน สุขภาพกาย สุขภาพจิต และสังคม ผู้สูงอายุที่ทำงานภายหลังอายุ 60 ปีจะส่งผลให้ผู้เกษียณอายุมีความอยู่ดีมีสุขเพิ่มขึ้นได้เมื่อมีการวางแผนทางการเงินและสุขภาพกาย รวมทั้งหากมีการวางแผนเกษียณอายุในช่วงอายุที่เร็วขึ้น ก็จะทำให้ความอยู่ดีมีสุขด้านสุขภาพกายเพิ่มขึ้นอีกด้วย แม้ว่าการวางแผนเกษียณอายุอาจไม่ทำให้ความอยู่ดีมีสุขด้านสุขภาพจิตดีขึ้น แต่การที่บุคคลได้เริ่มมีการวางแผนย่อมทำให้สามารถตั้งเป้าหมายของชีวิต และเตรียมความพร้อมสำหรับสิ่งจำเป็นต่าง ๆ ได้ ผ่านการวางแผนเกษียณอายุด้านต่าง ๆ ภาครัฐจึงควรสนับสนุนให้เกิดการเตรียมความพร้อม ไม่เพียงแต่ด้านการเงินแต่ยังคงรวมถึงด้านอื่น ๆ อีกด้วย


ความเป็นหญิงกับการสร้างเรือนร่างของหญิงในร่างชาย, สุรสีห์ บัวจันทร์ Jan 2018

ความเป็นหญิงกับการสร้างเรือนร่างของหญิงในร่างชาย, สุรสีห์ บัวจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง ความเป็นหญิงกับการสร้างเรือนร่างของหญิงในร่างชาย มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา 2 ประการ คือ เพื่อศึกษาการให้ความหมายความเป็นหญิงของกะเทย และศึกษาการสร้างเรือนร่างความเป็นหญิงของกะเทยในฐานะที่เป็นการสร้างตัวตน ด้วยวิธีการวิจัย เชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 22 คน ภายใต้กรอบการวิเคราะห์ด้วยแนวคิดเรื่องตัวตนและอำนาจของ มิเชล ฟูโกต์ และแนวคิดเรื่องอัตลักษณ์ จากการศึกษาพบว่าการประกอบสร้างตัวตนของกะเทยอยู่ภายใต้กรอบวาทกรรมความเป็นหญิง ที่กะเทยมีการนิยามและสำนึกในความเป็นหญิงที่แตกต่างกัน ทั้งในระดับปัจเจกและจากการมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันในสังคม ตั้งแต่การมีสำนึกว่าความเป็นหญิงคือสิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด หรือแม้แต่การยอมรับว่าเกิดมาในร่างกายของผู้ชาย เพียงแต่มีความต้องการที่จะเป็นผู้หญิง อีกทั้งความเป็นหญิงได้สร้างสำนึกร่วมของความเป็นกลุ่ม แต่ขณะเดียวกันก็เป็นปัจจัยที่กะเทยนำมาเปรียบเทียบระหว่างกัน นอกจากนี้การทำงานของ วาทกรรมความเป็นหญิงในเชิงกระบวนการยังพบอีกว่า มีกลไกการทำงานอย่างแยบยลผ่านกลุ่มและสถาบันทางสังคม อาทิ กลุ่มเพื่อนและรุ่นพี่กะเทย, ผู้ชาย, ผู้หญิง, บุคคลในสายอาชีพ และสถาบันทางการแพทย์ บนพื้นที่ร่างกาย แต่อย่างไรก็ตามการทำงานดังกล่าวไม่สามารถอธิบายแยกขาดจากอิทธิพลของโครงสร้างทางสังคมชุดอื่นๆ อาทิ ระดับฐานะทางเศรษฐกิจ รวมถึงอาชีพ ดังนั้นการสร้างตัวตนความเป็นหญิงของกะเทยจึงมีความสลับซับซ้อน ที่จะเห็นการปะทะประสาน และต่อรองระหว่างตัวตนความเป็นหญิงกับวาทกรรมอยู่ตลอดเวลา