Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 2521 - 2550 of 5570

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

สื่อสังคมออนไลน์กับการเป็นพื้นที่สาธารณะในสังคมไทย, พรภัทรา ภาณุนันทน์ Jan 2018

สื่อสังคมออนไลน์กับการเป็นพื้นที่สาธารณะในสังคมไทย, พรภัทรา ภาณุนันทน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สื่อสังคมออนไลน์ในฐานะพื้นที่สาธารณะยุคใหม่แห่งศตวรรษที่ 21 เติบโตบนแพลตฟอร์มออนไลน์ Cyberspace นับตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา โดยมีรากฐานมาจากแนวคิดของ Jürgen Habermas (1989) นักทฤษฎีสังคมแบบสหวิทยาการชาวเยอรมัน ได้เสนอมโนทัศน์การเปลี่ยนรูปเชิงโครงสร้างของสังคมโดยได้อธิบายผ่านพื้นที่สาธารณะในยุโรปช่วงศตวรรษที่ 18 สอดคล้องกับสื่อสังคมออนไลน์ในปัจจุบันซึ่งมีลักษณะของความเป็นสังคม (Sociality) (Fuchs, 2014) งานวิจัยนี้ได้ศึกษาสื่อสังคมออนไลน์ประเภท Facebook และ Line เพื่อหาคำตอบว่าทั้ง 2 สื่อสามารถทำหน้าที่เป็นพื้นที่สาธารณะได้จริงหรือไม่ และมุ่งศึกษาว่ามีปัจจัยใดบ้างที่สนับสนุนและเป็นอุปสรรคต่อการทำหน้าที่เป็นพื้นที่สาธารณะ โดยได้ศึกษาด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) วิเคราะห์แนวคิดทฤษฎี บทความ ข่าวและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอัลกอริธึม (Algorithms) และฟีเจอร์ (Features) ร่วมกับการสังเกตการณ์ (Observation) จากการใช้งานจริงและสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างแบบ Active User นำไปสู่การวิเคราะห์ลักษณะการทำงานของสื่อและพฤติกรรมการใช้งานของคนในสังคมว่ามีการคัดเลือกเนื้อหาสาร รวมกลุ่มและแบ่งแยกกลุ่มที่สัมพันธ์ไปกับการออกแบบระบบการทำงานสื่อโดยมีกลุ่มทุนเป็นเจ้าของ และยังตกอยู่ภายใต้การควบคุมของกลุ่มอำนาจรัฐอีกด้วย สะท้อนให้เห็นว่าอิทธิพลโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองมีอำนาจครอบงำอยู่เบื้องหลัง นอกจากนี้ข้อมูลของทั้ง 2 สื่อยังถูกนำมาวิเคราะห์ร่วมกับหลักเกณฑ์พื้นที่สาธารณะออนไลน์ว่ามีความสอดคล้องกันหรือไม่ ในส่วนสุดท้ายของวิทยานิพนธ์สามารถสรุปได้ว่าสื่อสังคมออนไลน์ทำหน้าที่เป็นพื้นที่สาธารณะได้แต่ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากมีลักษณะบางประการที่ไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์พื้นที่สาธารณะ โดยมีปัจจัยที่เป็นอุปสรรคคือกลไกการทำงานของตัวสื่อและพฤติกรรมผู้ใช้งาน


วัดกับรัฐ: กรณีศึกษาโครงการความร่วมมือระหว่างวัดพระธรรมกายและกระทรวงศึกษาธิการในโครงการ เด็กดี V-Star, กันต์ แสงทอง Jan 2018

วัดกับรัฐ: กรณีศึกษาโครงการความร่วมมือระหว่างวัดพระธรรมกายและกระทรวงศึกษาธิการในโครงการ เด็กดี V-Star, กันต์ แสงทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้เป็นการเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับรัฐในบริบทการเมืองไทย โดยมีกรณีศึกษาคือโครงการเด็กดี V-STAR ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างวัดพระธรรมกายและกระทรวงศึกษาธิการ โดยอธิบายความสัมพันธ์ในเชิงอำนาจและการต่อรอง ผ่านแนวคิดโครงสร้างหน้าที่ และ กลไกอุดมการณ์รัฐตลอดจนแนวคิดขบวนการเคลื่อนไหวทางศาสนาโดยการวิจัยเชิงเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับรัฐในบริบททางการเมืองไทยนั้น วัดอยู่ภายใต้การควบคุมของโครงสร้างอำนาจของรัฐผ่านกรอบของกฎหมายและระบบราชการ โดยมีการรับรองรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับรัฐพบว่าตั้งแต่ พ.ศ. 2540 วัดมีบทบาทสถาบันหนึ่งของสังคมที่ทำหน้าที่กล่อมเกลาอุดมการณ์หลักของรัฐและมีบทบาทที่สัมพัน์กับรัฐใน 4 รูปแบบคือ ร่วมมือ เรียกร้อง ต่อรอง และ ขัดแย้ง ในกรณีของวัดพระธรรมกายกับกระทรวงศึกษาธิการพบว่าการดำเนินโครงการเด็กดี V-STAR มีลักษณะความสัมพันธ์เชิงร่วมมือกันระหว่างรัฐกับวัดพระธรรมกาย โดยวัดพระธรรมกายมีใช้วิธีการในการเข้าหารัฐผ่านทั้งโครงสร้างของระบบราชการมากกว่าจะเรียกร้องขอความช่วยเหลือจากฝ่ายการเมืองซึ่งต่างจากความสัมพันธ์ระหว่างวัดอื่นๆกับรัฐ


รัฐ ทุน และชาวนาหลังโครงการรับจำนำข้าว, กัญญาภัทร เพชรร่วง Jan 2018

รัฐ ทุน และชาวนาหลังโครงการรับจำนำข้าว, กัญญาภัทร เพชรร่วง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ ทุน และชาวนาที่เกิดขึ้นภายหลังโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยแบ่งเป็นประเด็นในการอธิบายออกเป็น 3 ประเด็น คือ 1) รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ ทุน และชาวนาหลังโครงการรับจำนำข้าว 2) ผลที่เกิดขึ้นจากการปรับรูปแบบความสัมพันธ์ต่อตัวแสดงทั้งสามฝ่าย และ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดรูปแบบความสัมพันธ์ของรัฐ ทุน และชาวนาหลังนโยบายรับจำนำข้าว ผลการวิจัยพบว่าหลังจากการรัฐประหารในปี 2557 รัฐ (รัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) และระบบราชการ) ไม่เข้มแข็งพอที่จะควบคุมหรือกำหนดนโยบายเองทั้งหมดเหมือนที่เคยทำได้ในสมัยที่เป็นรัฐราชการ หรือ ช่วงที่เป็นแบบภาคีรัฐ - สังคม เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.2540 ทำให้บริบทด้านสังคม การเมือง และเศรษฐกิจเปลี่ยนไป รัฐจึงต้องค่อยๆ คลายตัว และลดบทบาทของตนเองลง ในช่วงเวลานั้นทุน โดยเฉพาะทุนขนาดใหญ่ และชาวนามีโอกาสได้พัฒนาตนเองจนทำให้มีอำนาจในการต่อรองเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัจจัยสำคัญที่ทำให้รัฐต้องมีการปรับตัว คือการพัฒนาตนเองของชาวนาในด้านการเมืองโดยเฉพาะในช่วงการดำเนินโครงการรับจำนำข้าว ประกอบกับบริบททางเศรษฐกิจที่เอื้อให้กลุ่มทุนขนาดใหญ่สามารถลดการพึ่งพิงรัฐลงได้เรื่อยขณะที่รัฐกลับต้องพึ่งพาการลงทุนจากกลุ่มทุนขนาดใหญ่เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ อีกทั้งต้องสร้างการยอมรับจากทุนท้องถิ่นเพื่อใช้เป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับชาวนาแทนระบบราชการในท้องถิ่น และต้องการการยอมรับจากชาวนาซึ่งเป็นกลุ่มพลังสำคัญทางการเมือง รัฐจึงจำเป็นต้องเปิดพื้นที่ให้คนจากกลุ่มอื่นได้เข้ามาแบ่งปันผลประโยชน์จากนโยบายของรัฐมากขึ้น โดยเฉพาะทุนขนาดใหญ่ที่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนด และดำเนินนโยบายมากกว่ากลุ่มอื่นๆแต่กระนั้น รัฐก็มิได้ปล่อยให้อำนาจในการต่อรอง หรือกำหนดนโยบายให้เป็นไปตามแนวคิดเสรีนิยมใหม่ (Neo - Liberalism)เสียทีเดียว กล่าวคือ รัฐยังคงมีการแทรกแซง และกุมอำนาจอยู่ และยังไม่ได้เปิดโอกาสให้ชาวนาได้เข้าไปมีส่วนร่วมเท่าที่เคยมีในช่วงรัฐบาลที่ผ่านๆ มาดังนั้นรูปแบบของความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ ทุน และชาวนาหลังโครงการรับจำนำข้าวจึงยังคงเป็นความสัมพันธ์ในแนวดิ่งเช่นที่ผ่านมา ซึ่งจากการศึกษาพบว่า รัฐในยุคของ คสช. จะพยายามรักษาความสัมพันธ์กับทุนท้องถิ่น และชาวนาผ่านการดำเนินนโยบายในลักษณะประชานิยมต่างๆ รัฐยังคงไม่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวนาและเอื้อประโยชน์ให้กับทุนขนาดใหญ่เป็นหลักเช่นเดิม


บทบาท หน้าที่ของปัญญาชนทางโหราศาสตร์ (โหรและหมอดู) กับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทยในช่วง พ.ศ. 2549-2557, ขวัญเรือน พันธ์พีระพิชย์ Jan 2018

บทบาท หน้าที่ของปัญญาชนทางโหราศาสตร์ (โหรและหมอดู) กับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทยในช่วง พ.ศ. 2549-2557, ขวัญเรือน พันธ์พีระพิชย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การอธิบายเหตุการณ์การรัฐประหารทั้งในปี พ.ศ.2549 และพ.ศ.2557 โดยทั่วไปแล้ว มุ่งอธิบายเกี่ยวกับตัวแสดงหลัก เช่น ผู้ชุมนุมประท้วงทั้งกลุ่มพันธมิตร ฯ กลุ่มกปปส. นายทหารชนชั้นนำและกองทัพ แต่ไม่มีการอธิบายหรือการศึกษาในแง่มุมของความเคลื่อนไหวขององค์ความรู้ทางโหราศาสตร์และศาสตร์การพยากรณ์อื่น ๆ รวมไปถึงบทบาท หน้าที่ของโหรและหมอดูในช่วงการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทย งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ เพื่อศึกษาและทาความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ของปัญญาชนทางโหราศาสตร์ (โหรและหมอดู) โดยพบว่า ปัญญาชนทางโหราศาสตร์ เป็นผู้ใช้องค์ความรู้ทางโหราศาสตร์ในการผลิตคำทำนายและคำพยากรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเมือง และมีส่วนสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองทั้ง 2 ครั้ง กล่าวคือ คำทำนายและคำพยากรณ์มีส่วนในการลดทอนความชอบธรรมให้แก่ระบอบประชาธิปไตย และขณะเดียวกันมีส่วนในการเพิ่มความชอบธรรมให้แก่ระบอบเผด็จการ โดยคำทำนายและคำพยากรณ์ถูกสื่อสารไปยังผู้คนในสังคมผ่านความรู้สึก 3 ประการได้แก่ ความรู้สึกหวั่นไหว ความกลัว และความหวังกับความมั่นใจ เพื่อให้ผู้คนในสังคมยินยอมและยอมรับในระบอบเผด็จการ นอกจากนั้น งานวิจัยนี้ยังศึกษาและทำความเข้าใจวิธีการสร้างสถานะ และความสัมพันธ์ ระหว่างโหรและหมอดูกับทหาร และชนชั้นนำทางการเมืองอื่น ๆ โดยพบว่า ปัญญาชนทางโหราศาสตร์ (โหรและหมอดู) มีการสร้างสถานะ ความสัมพันธ์กับชนชั้นนำทางการเมือง โดยเฉพาะชนชั้นนำทางการทหาร ผ่านความสัมพันธ์ใกล้ชิด ความเคารพนับถือและเลื่อมใส ในสถานะลูกศิษย์และอาจารย์ ซึ่งสถานะ และความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นมีลักษณะต่างตอบแทนกัน


พัฒนาการและปัญหาขององค์กรภาคประชาสังคม : ชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางอุบลราชธานีจำกัด, ชิตวรรณ คำมะยอม Jan 2018

พัฒนาการและปัญหาขององค์กรภาคประชาสังคม : ชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางอุบลราชธานีจำกัด, ชิตวรรณ คำมะยอม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. ศึกษาการจัดตั้งองค์กรพัฒนาการและปัญหาของชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางอุบลราชธานี จำกัด 2. ทำความเข้าใจอำนาจทางการเมืองของชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางอุบลราชธานี จำกัด ผ่านทางการศึกษาความสัมพันธ์ของชุมนุมสหกรณ์ฯ กับภาคส่วนต่าง ๆ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ หน่วยในการศึกษาได้แก่ชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางอุบลราชธานี และเครือข่ายของชุมนุมสหกรณ์ฯ ภายในจังหวัดอุบลราชธานี โดยศึกษาจาก เอกสาร รายงาน งานวิจัยต่าง ๆ หนังสือ สื่อทั้งสิ่งพิมพ์และออนไลน์ ประกอบกับการทำวิจัยภาคสนาม โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานชุมนุมสหกรณ์ฯ ทั้งยังใช้วิธีการเข้าร่วมสังเกตการณ์ในการประชุมของชุมนุมสหกรณ์ฯ ข้อมูลที่ได้นำมารวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการศึกษาด้านการจัดตั้งชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางอุบลราชธานี จำกัดนั้น พบว่า การจัดตั้งชุมนุมฯ มาจากความต้องการรวมตัวของเกษตรกรเอง เนื่องจากเผชิญปัญหาต่าง ๆ ในการขายยางพารา ได้แก่ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ ความต้องการศูนย์กลางตลาดยางพารา ทำให้เห็นว่าการรวมตัวกันจะช่วยแก้ปัญหาได้ และสามารถรับความช่วยเหลือจากภาครัฐได้ แต่ปัจจัยเกื้อหนุนที่สำคัญที่สุดในการจัดตั้งชุมนุมฯ คือการสนับสนุนจากภาครัฐ เพราะภาครัฐเองก็ได้ประโยชน์จากากรรวมตัวของกลุ่มเกษตร เนื่องจากภาครัฐสามารถได้ข้อมูลจากเกษตรกรได้ดีในเงื่อนไขที่มีการรวมกลุ่มกัน ทำให้ภาครัฐสามารถแก้ไขปัญหาให้ตรงจุดด้านการสร้างอำนาจทางการเมืองให้กับชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางอุบลราชธานี จำกัด ผลการศึกษาพบว่า อำนาจทางการเมืองของชุมนุมสหกรณ์ฯ วัดได้จากความสัมพันธ์กับภาคส่วนต่าง ๆ ห้าด้านดังนี้คือ 1. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างชุมนุมสหกรณ์ฯ กับนักการเมือง พบว่านักการเมืองเป็นคนสำคัญที่จะช่วยเจรจาต่อรองระหว่าง ชุมนุมสหกรณ์กับภาครัฐ เมื่อนักการเมืองมีอำนาจลดลงทำให้เกิดความอ่อนแอของชุมนุมสหกรณ์อย่างเห็นได้ชัด 2. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างชุมนุมสหกรณ์ฯ กับภาครัฐส่วนกลาง จะเห็นได้ว่าเป็นความสัมพันธ์ในลักษณะที่รัฐให้การสนับสนุน และชุมนุมสหกรณ์ต้องพึ่งพิง ซึ่งไม่ได้มีอำนาจแบบเท่าเทียมกัน 3. ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างชุมนุมสหกรณ์ฯ กับภาครัฐส่วนภูมิภาค ประเด็นนี้พบว่าไม่มีความแน่นอน ไม่ได้มีลักษณะตายตัว หรือเป็นสถาบัน แต่ขึ้นอยู่กับ ตัวข้าราชการ โดยเฉพาะผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอ หากข้าราชการฝ่ายปกครองให้ความสนใจประเด็นปัญหายางพารา ชุมนุมสหกรณ์ฯ ก็จะได้รับการช่วยเหลือดูแลและประสานงานอย่างดี ทั้งนี้ขึ้นกับข้าราชการที่ย้ายมารับตำแหน่ง 4. ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างชุมนุมสหกรณ์ฯ กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่าความสัมพันธ์ด้านนี้นั้น ขึ้นกับบรรยากาศและบริบททางการเมือง ในบรรยากาศที่มีประชาธิปไตยและมีการกระจายอำนาจ องค์กรปกครองท้องถิ่นมีสายสัมพันธ์ที่ดี และเอื้อประโยชน์ให้กับชุมนุมสหกรณ์ฯอย่างมาก และ 5. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างชุมนุมสหกรณ์ฯ กับพ่อค้าคนกลาง จะเห็นได้ว่าการรวมตัวกันของชาวสวนยางมีประโยชน์ให้เกิดอำนาจต่อรองมากกว่าชาวสวนยางในลักษณะปัจเจกบุคคล


พลวัตรของการกำหนดนโยบายค่าแรงขั้นต่ำในประเทศไทย, ณัฐภัทร โสพิณ Jan 2018

พลวัตรของการกำหนดนโยบายค่าแรงขั้นต่ำในประเทศไทย, ณัฐภัทร โสพิณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประเด็นนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำนั้นเป็นข้อขัดแย้งที่มีผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยประเด็นนี้นั้นจึงเป็นประเด็นที่มีมิติทางการเมืองอย่างชัดเจนผ่านการกดดันจากกลุ่มต่าง ๆ เพื่อที่จะได้ในสิ่งที่ตนต้องการผ่านหลายช่องทางไม่ว่าจะเป็นทางพรรคการเมืองหรือกลุ่มคณะต่าง ๆ ที่มีผลได้ผลเสียกับนโยบายที่จะกำหนดลงโดยงานชิ้นนี้นั้นต้องการที่จะอธิบายและวิเคราะห์พลวัตรของการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำในประเทศไทยโดยให้ให้ความสำคัญกับบริบททางการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อทิศทางของนโยบาย ซึ่งงานชิ้นนี้นั้นได้มีจุดประสงค์ที่จะ วิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุที่นำไปสู่รูปแบบของการกำหนดนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำภายในบริบทการเมืองที่แตกต่างกัน อธิบายพลวัตรของการกำหนดนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำในบริบททางการเมืองที่แตกต่างกัน และเพื่อแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างระบอบการเมืองกับการกำหนดนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งงานชิ้นนี้นั้นศึกษาช่วงเวลาตั้งแต่รัฐบาลทักษิณ ชินวัตรจนถึงรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา และใช้การเปรียบเทียบกับประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาของการกำหนดนโยบายนี้ สิ่งที่พบในการศึกษาคือการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำของไทยนั้นมีรูปแบบทั่วไปที่คล้ายกันในตลอดที่ผ่านมาคือการปรับแบบค่อยเป็นค่อยไปและมีข้อยกเว้นในบางกรณีที่มาจากบริบททางการเมืองพิเศษคือการเลือกตั้ง บริบททางการเมืองนั้นส่งผลกับแนวทางและทิศทางของการกำหนดนโยบายทั้งทางตรงและทางอ้อมแต่ระบอบการเมืองนั้นไม่มีความสัมพันธ์ที่ชัดเจนกับการปรับขึ้นของค่าจ้างขั้นต่ำแต่เป็นบริบททางการเมืองโดยรวมมากกว่าที่ส่งผลอย่างเห็นได้ชัด


บทบาทของกลุ่มเยาวชนจังหวัดชายแดนภาคใต้/ปาตานี ในการขับเคลื่อนประเด็นสันติภาพ, วิลดาญ เด่นดารา Jan 2018

บทบาทของกลุ่มเยาวชนจังหวัดชายแดนภาคใต้/ปาตานี ในการขับเคลื่อนประเด็นสันติภาพ, วิลดาญ เด่นดารา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลกลุ่มเยาวชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้/ปา ตานี ที่ขับเคลื่อนประเด็นสันติภาพ ศึกษาบทบาทของกลุ่มเยาวชนในการสร้างสันติภาพ รวมถึง ระบุปัญหาและอุปสรรคในการทากิจกรรมของเยาวชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้/ปาตานี ที่ ขับเคลื่อนประเด็นสันติภาพ ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเน้นการศึกษาภาคสนามเก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยการสัมภาษณ์กลุ่มและการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง โดยให้ความสาคัญกับกิจกรรมแสดง บทบาทที่ขับเคลื่อนประเด็นสันติภาพ ถอดเทปสัมภาษณ์ รวมทั้งการศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่ เกี่ยวข้องกับกลุ่มเยาวชน


การศึกษาความสัมพันธ์ของการพัฒนาเมืองภูเก็ตกับการเมืองท้องถิ่น, สุดรัก หนูนิ่ม Jan 2018

การศึกษาความสัมพันธ์ของการพัฒนาเมืองภูเก็ตกับการเมืองท้องถิ่น, สุดรัก หนูนิ่ม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่องการศึกษาความสัมพันธ์การพัฒนาเมืองภูเก็ตกับการเมืองท้องถิ่น ตั้งแต่ พ.ศ. 2540 ถึง ปัจจุบัน โดยมุ่งทำความเข้าใจความสัมพันธ์ในอำนาจของนักการเมืองท้องถิ่นกับพื้นที่เมืองในระดับนคร ภายใต้กรอบแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจการเมือง โดยมีคำถามการวิจัยคือ 1) ลักษณะการพัฒนาทุนนิยมของจังหวัดภูเก็ตเชื่อมโยงหรือมีผลต่อการเมืองท้องถิ่นอย่างไรและ 2) ทุนนิยมชนิดใดทีเป็นปัจจัยขับเคลื่อนให้เมืองภูเก็ตเกิดการพัฒนา การศึกษาครั้งนี้ได้อาศัยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพผ่านการศึกษาพื้นที่เมืองของเทศบาลนครภูเก็ต ผลการศึกษาพบว่าทุนนิยมในเมืองนครภูเก็ตตั้งแต่อดีต จนกระทั่งปัจจุบัน ประกอบไปด้วยทุนนิยมเหมืองแร่ และทุนนิยมวัฒนธรรม โดยทุนนิยมเหมืองแร่มีทุนทรัพยากรเป็นพื้นฐานที่สำคัญหลังจากกิจการเหมืองแร่เริ่มซบเซา เมืองภูเก็ตมีสภาพเศรษฐกิจที่หยุดชะงัก จนกระทั่งนักการเมืองท้องถิ่นเทศบาลนครภูเก็ตได้เล็งเห็นถึงการนำทุนอุตสาหกรรมและทุนภาคบริการมาเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเมือง นับจากนั้นเพียงไม่นานทุนดังกล่าวก็ได้หล่อรวมเกิดเป็นทุนนิยมวัฒนธรรมขึ้นในพื้นที่เทศบาลนครภูเก็ต ก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางธุรกิจในพื้นที่ขนาดใหญ่ซึ่งทำให้นักการเมืองท้องถิ่นที่เข้ามาแย่งชิงอำนาจในพื้นที่เมืองแห่งนี้ได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตของเมืองนครภูเก็ตผ่านโครงการพัฒนาต่างๆ ทำให้พื้นที่เมืองถูกขยายและพัฒนาออกไป ระบบทุนนิยมวัฒนธรรมวัฒนธรรมส่งผลต่อเศรษฐกิจเมืองและเมื่อเศรษฐกิจเป็นตัวชี้นำทิศทางของการเมืองได้ การแพ้ชนะในการแข่งขันของการเมืองท้องถิ่นจึงเป็นการแพ้ชนะกันด้วยโครงการพัฒนาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ซึ่งกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญในการทำให้เกิดทุนนิยมวัฒนธรรมขึ้น คือ การเมืองท้องถิ่นเทศบาลนครภูเก็ตซึ่งเป็นที่ประจักษ์ว่ากลุ่มการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งมาโดยตลอดระยะเวลากว่า 20 ปีมีมีเพียงกลุ่มเดียวคือ กลุ่มคนหนุ่ม ซึ่งสมาชิกในกลุ่มล้วนแล้วแต่เป็นนายทุนในพื้นที่ที่มีการสะสมทุนทางเศรษฐกิจมาตั้งแต่ยุคทุนนิยมเหมืองแร่ ดังนั้นนครภูเก็ตตั้งแต่ปี 2540 จนกระทั้งถึงปัจจุบันถูกขับเคลื่อนโดยทุนนิยมที่เรียกว่าทุนนิยมวัฒนธรรม


Socio - Economic Determinants Of Teen Pregnancies In Mozambique, Arnaldo Timoteo Mandlate Jan 2018

Socio - Economic Determinants Of Teen Pregnancies In Mozambique, Arnaldo Timoteo Mandlate

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Teen pregnancy is considered a worldwide public health issue. According to United Nations Population Fund (2014), Mozambique was reported to be the country with the highest teen pregnancy rate in the Southern Africa region. From 2011 to 2015, the proportion of pregnant teens rose significantly from 38% to 46% (IMASIDA, 2015). Thereby, it is important to study factors leading to teen pregnancy incidence in order to draw policy recommendations in the issue. Previous studies in Mozambique applied a qualitative approach. This study fills the literature gaps using the binary logistic regression with a national cross- sectional dataset provided by IMASIDA-Demographic …


Socio Economic Determinants Of Spousal Violence Against Women In Myanmar, Lin Lin Mar Jan 2018

Socio Economic Determinants Of Spousal Violence Against Women In Myanmar, Lin Lin Mar

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Nowadays, the violence against women by spouses is a hidden social problem embedded in social and cultural norms in Myanmar. However, there are limited numbers of previous studies regarding spousal violence in Myanmar. Some studies utilized a qualitative approach, while some used a quantitative approach in some parts of Myanmar. This study aims to examine whether socioeconomic and demographic factors affecting spousal violence using a quantitative approach to fill the literature gap at the national level. It uses the data from the 2015-16 Myanmar Demographic and Health Survey. The explanatory variables are demographic and socio-economic characteristics of the women, their …


Impact Of Migration And Remittances On Children's Human Capital In Cambodia, Vatana Chea Jan 2018

Impact Of Migration And Remittances On Children's Human Capital In Cambodia, Vatana Chea

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This dissertation investigates the impacts of migration and remittances on human capital development of left-behind children in Cambodia. It contributes new evidence to a controversial debate in the literature on long-term impacts of migration and of remittances on the children. This is from the perspective of education, health, and consumption in remittance-recipient households compared with those in non-recipient ones. It relies on pooled data from Cambodia Socio-Economic Survey of 2009 and 2014, each of which comprises around 12,000 households in both rural and urban areas across all 25 provinces there. To evaluate the impact on household educational investment, the study …


Direct And Indirect Impacts Of Education On Subjective Well-Being Of Older Persons In Vietnam : Gender Differences, Truc Ngoc Hoang Dang Jan 2018

Direct And Indirect Impacts Of Education On Subjective Well-Being Of Older Persons In Vietnam : Gender Differences, Truc Ngoc Hoang Dang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Vietnam, like many developing countries, is undergoing a rapid pace of population ageing but within a resource limited context. Therefore, understanding the factors that are important to later life well-being has become a key policy issue. Using data from the 2011 Vietnam National Aging Survey, this thesis aims to investigate gender differences in the direct and indirect impacts of education on subjective well-being of older Vietnamese based on four domains: happiness, life satisfaction, loneliness, and depression (N=2,789, including 1,683 females and 1,106 males). The results from path analysis show that those with higher level of education are happier and more …


Determinants Of Labor Force Participation Among Older Persons In Myanmar, Zaw Min Latt Jan 2018

Determinants Of Labor Force Participation Among Older Persons In Myanmar, Zaw Min Latt

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Population ageing is occurring in many parts of the world. Likewise, in Myanmar, population is ageing with a fast acceleration. The government is trying to find ways to improve wellbeing of older persons, and labour force participation is one of the important factors to reduce financial insecurity during old age. This study aims to investigate the situation of labour force participation and to identify the demographic and economic factors that influence the decision making of older people to join the labour force in Myanmar. This study uses dataset from the 2012 Survey of Older Persons in Myanmar which is nationally …


How Far From The Train Station Should We Tax? An Empirical Study Based On Value Capture Method, Nanthawat Ouysinprasert Jan 2018

How Far From The Train Station Should We Tax? An Empirical Study Based On Value Capture Method, Nanthawat Ouysinprasert

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aims to present a way to earn income for the government through the expansion of the property tax base. It basically collects tax from the asset owners that benefit from the increased value in the development of public infrastructure. There are two important objectives: First, the author wants to analyze the economic impact that occurs from the presence of the train station and other relating factors on the value of housing. Second, the author desires to apply the value capture method to create a tax model. The sample group is 511 residential buildings located within a radius of …


What Would You Do, If I Get More? An Experimental Test On The Consequences Of Envy, Nattawut Hunyek Jan 2018

What Would You Do, If I Get More? An Experimental Test On The Consequences Of Envy, Nattawut Hunyek

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Envy is an unpleasant emotion characterised by the feelings of inferiority, hostility, and resentment produced by an awareness of another person or group of persons who enjoy the desired possession which can motivate the envious person in two different paths, destructive (named malicious envy) and competitive (benign envy). This research presents an experimental design which involves real-effort task to study the quantitative difference between both types of envy. The results show that envy may incentivise subject to do both competitive and destructive things to make them feel better after realising their lower position. The self-position and reference agent position are …


The Design Of Thailand International Public Sector Standard Management System And Outcomes In Service For The Private Sector And People System (P.S.O. 1107): Case Study Of Siriraj Piyamaharajkarun Hospital, Pimadej Siwapornpitak Jan 2018

The Design Of Thailand International Public Sector Standard Management System And Outcomes In Service For The Private Sector And People System (P.S.O. 1107): Case Study Of Siriraj Piyamaharajkarun Hospital, Pimadej Siwapornpitak

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The application of privatization in public sector is a one of strategic transformations that significantly helps promoting the organizational development in terms of efficiency and quality which subsequently resulted to the continuous financial development which refers to as revenue and profitability. Such development usually will be corresponded to the competitive market which indicates the organizational achievement. However, privatization can possibly create direct impacts on public sector and stakeholders as well if it was conducted in the public sector that emphasized on public health services such as public hospital where the core product is health care or medical treatment. The objectives …


Politics Of Changes In Thailand's University Admission Policy (1999-2017), Nitchapat Kitcharern Jan 2018

Politics Of Changes In Thailand's University Admission Policy (1999-2017), Nitchapat Kitcharern

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aims to study a significant phenomenon, the changes in Thailand's University Admission system between 1999 and 2017. During this period, the admission system was changed six times. This research focuses on the political factors that led to the changes in admission policy, particularly the relationships among politicians, bureaucracy, schools, civil society and students. The purpose of this research is threefold: (1) to understand the causes and procedures of changes in Thailand's university admission policy, (2) to study and understand the correlation between politics and changes in university admission system, and (3) to understand the impact these changes had …


Caring For Patients With Drug Use Disorders In Yangon Region, Myanmar : Socioeconomic And Psychological Burden And Coping Strategies, Khin Zar Khaing Thein Jan 2018

Caring For Patients With Drug Use Disorders In Yangon Region, Myanmar : Socioeconomic And Psychological Burden And Coping Strategies, Khin Zar Khaing Thein

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Drug use disorders are considered chronic illnesses, like other severe mental disorders, and caregivers of drug users face a large impact on various aspects of their life. However, there is shortage of research in Myanmar about caregivers' experiences with caring for patients with drug use disorders. This mixed method study, therefore, aims at exploring the socioeconomic and psychological burden caregivers carry, the coping strategies they employ, as well as the barriers to coping they face. The results of the framework analysis revealed that financial loss, productivity loss, social limitation and negative impact on family members are important dimensions of socioeconomic …


Explaining Barriers And Opportunities For Recycled Pet For Food Packaging In Thailand Through The Lenses Of Organizational Environment Theory, Natawadee Sirithorn Jan 2018

Explaining Barriers And Opportunities For Recycled Pet For Food Packaging In Thailand Through The Lenses Of Organizational Environment Theory, Natawadee Sirithorn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Currently, some plastic-related companies propose a solution of recycled plastic (rPET) for food packaging as a solution for the plastic problem in Thailand. Therefore, the objective of the thesis is to study business behavior in order to understand the rationale of why some company needs to use rPET for food packaging. This study combined two theories which are the organizational environment theory and the institutional theory of CSR to analyze the effect of the internal and the external environment that influence companies to support rPET food packaging. The finding indicates that companies' mission creates an influence on companies to promote …


Stakeholder Analysis Of Socioeconomic Impacts On Chiang Rai-Chiang Khong Rail Project In Chiang Rai Province, Tanthita Sukhopala Jan 2018

Stakeholder Analysis Of Socioeconomic Impacts On Chiang Rai-Chiang Khong Rail Project In Chiang Rai Province, Tanthita Sukhopala

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objectives of this research are (1) to study the impacts of Chiang Rai - Chiang Khong rail project on Chiang Rai provinces, especially the social and economic impacts which are caused by the rail project, positively and negatively and (2) to analyze advantages and disadvantages of Chiang Rai - Chiang Khong rail project on Chiang Rai province. The scope of study covers 2 main areas including (1) the search for different impacts in 3 different train station areas and (2) the search for different impacts between local people who live within 5 kilometers of the area where train station …


Chin Diaspora And Their Social Networks In Thailand : Implications For Development In Myanmar, Pau Sian Lian Jan 2018

Chin Diaspora And Their Social Networks In Thailand : Implications For Development In Myanmar, Pau Sian Lian

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Due to socioeconomic and political reasons, Chin ethnic people from the western part of Myanmar have been migrating to inner part of the country and abroad. Economic growth and requirement of low skill labor in Thailand since the 1980s have been the pull factors for low skill migrants from its neighbors, including Myanmar. Chin people came to Thailand not only for economic opportunities but also for onward migration. The purpose of this research is to explore the social networks of Chin diaspora in Thailand and their implication to the economic and political development of their home community in Myanmar. With …


Particulate Matter 2.5 : A Case Study Of Measures And Risks In Bangkok During Early 2019, Thanabodee Lekprayura Jan 2018

Particulate Matter 2.5 : A Case Study Of Measures And Risks In Bangkok During Early 2019, Thanabodee Lekprayura

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กมีที่มาจากหลายปัจจัย อาทิ การพัฒนาทางเศรษฐกิจ ปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมถึงความไม่เท่าเทียมกันในสังคม ในช่วงไตรมาสแรกของปี ค.ศ. 2019 กรุงเทพมหานครถูกปกคลุมโดยฝุ่นละอองขนาดเล็กเป็นจำนวนมากหรือที่รู้จักกันในชื่อฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน ผู้ที่อยู่อาศัยในเขตตัวเมืองต่างได้รับผลกระทบจากฝุ่นละออง โดยเฉพาะปัญหาสุขภาพและการลดลงของรายได้ แม้ว่าทางรัฐบาลไทยได้มีการประกาศใช้มาตรการต่าง ๆ ในการรับมือกับปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก ประชากรกลุ่มเสี่ยงที่ซึ่งได้รับผลกระทบเป็นส่วนใหญ่กลับถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มคนที่ไม่ได้รับความสำคัญ ในบริบทนี้ การบังคับใช้มาตรการที่ดีนั้นไม่ควรมุ่งเน้นที่การลดจำนวนฝุ่นละอองขนาดเล็กเพียงอย่างเดียว หากแต่ต้องคำนึงถึงผลกระทบที่กลุ่มประชากรอาจได้รับจากมาตรการเหล่านั้นด้วย การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมาตรการของรัฐในการควบคุมปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กและความเสี่ยงต่าง ๆที่ส่งผลกระทบต่อประชากรกลุ่มเสี่ยงในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในการทำความเข้าใจความซับซ้อนของปัญหานั้น ผู้จัดทำได้ใช้วิธีการศึกษาแบบข้ามสาขาวิชา ผ่านทฤษฎี "สังคมแห่งความเสี่ยง" และทฤษฎี "ความเหลื่อมล้ำทางสิ่งแวดล้อม" โดยใช้วิธีการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบเชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่างที่หลากหลาย และการสืบค้นข้อมูลจากเอกสารในการรวบรวมองค์ความรู้เพื่อหาข้อสรุป จากการศึกษาพบว่าสถานการณ์ของฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอนในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีสาเหตุการเกิดหลักจากการคมนาคม มาตรการการป้องกันและการลดฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอนที่บังคับใช้โดยรัฐ โดยมากแล้วเป็นการป้องกันปัญหาระยะสั้น ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การลดกิจกรรมในภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้างมากกว่าการให้ความสำคัญกับการป้องกันระยะยาว เช่น การปรับปรุงคุณภาพของเครื่องยนต์และเชื้อเพลิง เป็นต้น นอกจากนี้จากการศึกษากลุ่มประชากรตัวอย่างพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อความไม่เท่าเทียมในการเผชิญกับผลกระทบจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก ประกอบไปด้วย ภาระทางการเงิน มาตรการของรัฐที่อิงกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม ราคาของอุปกรณ์ป้องกันฝุ่นละออง การเข้าถึงแหล่งที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัยและความสามารถในการเข้าถึงการบริการของภาครัฐ รวมถึงแหล่งข้อมูลที่จำเป็น


Internal Migrant Children And Their Access To Education : A Case Study Of Hlaing Thar Yar Township, Yangon, Myanmar, Thazin Lin Thet Maw Jan 2018

Internal Migrant Children And Their Access To Education : A Case Study Of Hlaing Thar Yar Township, Yangon, Myanmar, Thazin Lin Thet Maw

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research explores the accessibility of primary education for children of migrant families within Myanmar, focusing on children who accompanied their families when they have to move to a new location. In doing so, this research analyzes the issues faced by rural-to-urban migrant children in the process of primary school enrollment. The study also reviews Myanmar's National Education Strategic Plan (2016-2021) to understand the provisions and practices implemented by the government to address the challenges of migrant children's access to primary education. The research was conducted in Hlaing Thar Yar Township in Yangon, Myanmar, which is an area characterized by …


Women Political Participation In Myanmar’S House Of Representatives, Thu Thu Swe Jan 2018

Women Political Participation In Myanmar’S House Of Representatives, Thu Thu Swe

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The thesis mainly discusses about main obstacles and challenges for women to participate in political activities in Myanmar including economic factor, social factor, political factor, and the ways how women are empowered to participate in political activities in Myanmar by using both primary and secondary data. The primary concept for this study is based on women empowerment processes which are included four different pathways in which women are changed –material (economy), perceptual (knowledge and skill), cognitive (self-confident and self-esteemed) and relational (bargaining power). Moreover, the thesis analyses actor's roles in these four pathways. The thesis found out external factors namely …


Ulaanbaatar's Ger District Residents: An Analysis Of Development Challenges And Structural Violence, Timothy Shaun Jenkins Jan 2018

Ulaanbaatar's Ger District Residents: An Analysis Of Development Challenges And Structural Violence, Timothy Shaun Jenkins

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study investigates and researches the impact of the Government's policy of putting the 'economy first' by analyzing the situation through the lens of Johan Galtung's concept of Structural Violence. The research answers the question: How does structural violence occur in the ger districts of Ulaanbaatar under the current development challenges? In the 1990's, after the fall of communism, the IMF and the World Bank, along with some leading political figures within the Government of Mongolia, pushed forward with their plans to bring the free market to Mongolia. The World Bank and the IMF introduced the shock-therapy approach with the …


Role Of E-Commerce On Trading Sector In China, Jinyi Li Jan 2018

Role Of E-Commerce On Trading Sector In China, Jinyi Li

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

E-commerce is rapidly developing along with the development of information technology in China. This paper is aimed at analyzing the contribution of E-commerce on the trading sector in China and estimating the macroeconomic and sectoral impact of E-commerce respectively by using fixed effect panel data based on the data from seven selected regions in China over the period of 2008-2016. The study found that E-commerce plays a significant and positive role in the economic growth at either macroeconomic level or sectoral level. Every 1 percent increase in E-commerce's sale leads to an increase of 0.54 percent in the output in …


The Relationship Between Fdi And Employment In China's Manufacturing Industry, Ruoheng Wang Jan 2018

The Relationship Between Fdi And Employment In China's Manufacturing Industry, Ruoheng Wang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

China has achieved rapid economic growth after reforming and opening up, becoming the second largest economy after the United States. At the same time, China began to attract foreign direct investment, and the scale of foreign direct investment has been becoming larger and larger. It's obvious that FDI has played a crucial role in promoting China's economic growth. But China is a country with a big population, the employment problem is the most direct and realistic problem. Although overall employment is increasing in China, the speed of employment growth in the manufacturing industry is very low. After all, the manufacturing …


Assessing Impacts Of Fta In Thailand With Special Emphasis On Trade Creation And Trade Diversion, Sawasdee Charoenchang Jan 2018

Assessing Impacts Of Fta In Thailand With Special Emphasis On Trade Creation And Trade Diversion, Sawasdee Charoenchang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This paper uses ex-post gravity analysis to examine whether Thailand's 12 effective free trade agreements cause trade creation or trade diversion effect. The sample of the study covers 43 countries over the period of 1991-2016. The model is specified with the aim to obtain unbiased estimates of three FTA dummy variables, representing trades within and outside the trade blocs. This study is able to analyze only 7 out of 12 total FTAs due to multicollinearity problem. The results of this study show that AFTA has trade creation effects on international trade of Thailand with little diversion effects on exports. We …


An Empirical Study Of Human Capital On Economic Growth: An Investigation Using Three Indices Of Human Capital, Shan Shan Fu Jan 2018

An Empirical Study Of Human Capital On Economic Growth: An Investigation Using Three Indices Of Human Capital, Shan Shan Fu

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research reexamines the augmented Solow's growth model to find the relationship between human capital and economic growth by using three different proxies for human capital. The first proxy of human capital is the proportion of labor force with secondary education that has been widely used in many studies. PISA score is the second proxy to human capital. It is regarded as being quality of education because this standardized test score could directly reflect the cognitive ability of individuals. The third proxy is the human capital index constructed by Penn's World Table 9.0 that included both quantitative and qualitative aspects …


The Volatility Comovement Among Stock Markets In East Asian Countries, Weijie Yu Jan 2018

The Volatility Comovement Among Stock Markets In East Asian Countries, Weijie Yu

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Using daily indices for several East Asian and Asian emerging stock markets from 5 January 1995 to 31 December 2018, this study investigates the volatility comovement of the stock market returns in using the DCC-MGARCH model. The empirical results depict that the volatility comovement among East Asian stock markets have increased in recent years. Moreover, this correlation is stronger in the developed markets of Singapore, Hong Kong, Japan and Korea. Volatility comovement across emerging countries, namely, China, India, Thailand, Indonesia, Malaysia and Philippines, has also increased. This study also examines the volatility spillover effects in East Asia at different stages …