Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 2581 - 2610 of 5570

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

ประสบการณ์ทางจิตใจในการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับปริญญาเอก, ปณดา เหล่าธนถาวร Jan 2018

ประสบการณ์ทางจิตใจในการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับปริญญาเอก, ปณดา เหล่าธนถาวร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ทางจิตใจในการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับปริญญาเอก โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงปรากฏการณ์วิทยา เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลซึ่งเป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในช่วงสุดท้ายและผู้จบการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในต่างประเทศจำนวน 10 คน ผลการวิจัยพบประเด็นทางประสบการณ์ทางจิตใจทั้งหมด 4 ประเด็น คือ (1)ความยากลำบากในการทำวิทยานิพนธ์ ซึ่งมี 2 ประเด็นย่อยคือ กระบวนการวิจัยไม่เป็นไปตามที่คิด และความพยายามในการทำเงื่อนไขการจบ (2)สภาวะจิตใจช่วงระหว่างกระบวนการทำวิทยานิพนธ์ ซึ่งมี 2 ประเด็นย่อย คือสภาวะจิตใจด้านบวก (ตื่นเต้นเรียนรู้สิ่งใหม่) และสภาวะจิตใจด้านลบ (ความไม่มั่นใจในความสามารถของตน , ความเครียดจากงานสะสม, ความท้อแท้ในการแก้ปัญหา,การหลีกหนีจากงาน) (3)การก้าวผ่านความยากลำบากในการทำวิทยานิพนธ์ ซึ่งมี 2 ประเด็นย่อย คือ การก้าวผ่านด้านงาน (การทำงานร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษา, การแสวงหาความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ และการวางแผนทำวิทยานิพนธ์) และการก้าวผ่านด้านจิตใจ (การทำความเข้าใจปัญหา และการผ่อนคลายจากการทำงาน) และ(4)การเติบโตจากการทำวิทยานิพนธ์ ซึ่งมี 2 ประเด็นย่อยคือด้านการสร้างองค์ความรู้และด้านความเป็นมืออาชีพในการทำงาน จากผลการวิจัย อภิปรายผลได้ว่าผู้ให้ข้อมูลต้องมีการปรับตัวทั้งด้านการวางแผนและด้านจิตใจกับการเจอความไม่แน่นอนในกระบวนการทำวิทยานิพนธ์เพื่อการทำงานให้จบตามเงื่อนไขหลักสูตรที่มีระยะเวลาที่จำกัด โดยปัจจัยแวดล้อมช่วงระหว่างการทำวิทยานิพนธ์ เช่น อาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อนร่วมงาน ครอบครัวมีส่วนในการทำให้กระบวนการเป็นไปได้อย่างราบรื่น ได้มีการอภิปรายถึงแนวทางสำหรับการดูแลนักศึกษาอย่างเป็นมืออาชีพจากอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้บริหารคณะ


ผลของกลุ่มการเล่นบำบัดแบบเกสตัลท์ต่อการพัฒนาทักษะทางสังคมในเด็กชั้นประถมศึกษาตอนปลาย, พิมพิกา ตันสุวรรณ Jan 2018

ผลของกลุ่มการเล่นบำบัดแบบเกสตัลท์ต่อการพัฒนาทักษะทางสังคมในเด็กชั้นประถมศึกษาตอนปลาย, พิมพิกา ตันสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกลุ่มการเล่นบำบัดแบบเกสตัลท์ต่อการพัฒนาทักษะทางสังคมในเด็กชั้นประถมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 48 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 24 คน และกลุ่มควบคุม 24 คน โดยกลุ่มทดลองจะเข้าร่วมกลุ่มการเล่นบำบัดแบบเกสตัลท์ สัปดาห์ละครั้ง จำนวน 7 สัปดาห์ ครั้งละ 45 นาที เก็บข้อมูลโดยครูเป็นผู้ตอบแบบประเมินมาตรวัดทักษะทางสังคมในเด็กทั้งช่วงก่อนและหลังการทดลอง และระยะติดตามผล โดยแบ่งทักษะทางสังคมออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ การควบคุมตนเอง การยืนหยัดในตนเอง และการให้ความร่วมมือ ข้อมูลที่ได้ถูกนำมาวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนามแบบวัดซ้ำ และระหว่างกลุ่ม โดยมีผลการวิจัย ดังนี้ 1.หลังการทดลอง และระยะติดตามผล กลุ่มทดลองมีคะแนนทักษะทางสังคมด้านการควบคุมตนเองสูงขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .001) และพบความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในช่วงหลังการทดลองและระยะติดตามผล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .001) 2. หลังการทดลอง และระยะติดตามผล กลุ่มทดลองมีคะแนนทักษะทางสังคมด้านการยืนหยัดในตนเองสูงขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .001) และพบความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในช่วงหลังการทดลองและระยะติดตามผล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .001) 3. หลังการทดลอง และระยะติดตามผล กลุ่มทดลองมีคะแนนทักษะทางสังคมด้านการให้ความร่วมมือสูงขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .001) และพบความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในช่วงหลังการทดลองและระยะติดตาม ผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .001)


สติในการเลี้ยงดูบุตรของพ่อแม่ที่ฝึกสติปัฏฐาน : ทฤษฎีฐานราก, พรรณพนัช แซ่เจ็ง Jan 2018

สติในการเลี้ยงดูบุตรของพ่อแม่ที่ฝึกสติปัฏฐาน : ทฤษฎีฐานราก, พรรณพนัช แซ่เจ็ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้สติในการเลี้ยงดูบุตรของพ่อแม่ที่ฝึกสติปัฏฐาน ด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ การสร้างทฤษฎีฐานราก ที่สร้างทฤษฎีขึ้นจากข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลคือ พ่อแม่ผู้ฝึกสติปัฏฐานในระยะยาว จำนวน 10 ราย เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิจัยแบบสร้างทฤษฎีจากข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ทฤษฎีฐานรากประกอบด้วย 5 ประเด็นสำคัญได้แก่ 1) ความทุกข์ใจในการเลี้ยงดู อันแสดงถึง ลักษณะของความทุกข์ ที่มาของความทุกข์ใจ และการเปลี่ยนแปลงของความทุกข์ในการใช้สติในการเลี้ยงดู 2) รากฐานในการใช้สติในการเลี้ยงดู ประกอบด้วย ความตั้งมั่นของพ่อแม่ในการใช้สติกับลูก ความสงบ และใจที่มีประสบการณ์และความชำนาญในการสังเกตใคร่ครวญ 3) กระบวนการเท่าทันและเข้าใจในการเลี้ยงดู คือ กระบวนการรู้เท่าทันในปัจจุบันขณะ การยับยั้งตนเอง กระบวนการทำความเข้าใจโดยอาศัยเวลาในการใคร่ครวญ และการแสดงออกต่อลูก 4) ความเข้าใจธรรมชาติในการเลี้ยงดู คือความเข้าใจในความเกี่ยวเนื่องระหว่างตนกับลูก การยอมรับในความไม่แน่นอนในการเลี้ยงดู และการวางใจในการเป็นพ่อแม่ 5) การตระหนักในคุณค่าของการใช้สติในการเลี้ยงดู ประกอบด้วย การตระหนักในคุณค่าที่เกิดกับตนเอง การตระหนักในคุณค่าที่เกิดกับลูก และการตระหนักในคุณค่าที่เกิดกับสัมพันธภาพ ทฤษฎีแสดงและอธิบายความสัมพันธ์ของทั้ง 5 ประเด็นที่มีความเชื่อมโยงกัน โดยเริ่มต้นจากพ่อแม่มีรากฐานในการใช้สติในการเลี้ยงดู และมีความทุกข์ใจในการเลี้ยงดู เชื่อมโยงไปสู่กระบวนการเท่าทันและเข้าใจในการเลี้ยงดู จึงได้ตระหนักในคุณค่าของการใช้สติในการเลี้ยงดู และเกิดความเข้าใจธรรมชาติในการเลี้ยงดู ซึ่งเชื่อมโยงกลับไปยังการเปลี่ยนแปลงของความทุกข์ และรากฐานในการใช้สติในการเลี้ยงดู ทฤษฎีฐานรากที่ปรากฏขึ้นนี้ เป็นองค์ความรู้ที่นักจิตวิทยาการปรึกษาสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างโปรแกรมพัฒนาสติในการเลี้ยงดูสำหรับพ่อแม่ และนักวิจัยสามารถนำไปประยุกต์ในการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับสติในการเลี้ยงดูในแนวพุทธได้ต่อไป


ความสัมพันธ์ระหว่างการสร้างสรรค์เชิงศิลปะ ความหมายในชีวิต และภาวะซึมเศร้าในนิสิตนักศึกษาศิลปะ, วิภาวี วรวุฒิวิทยารักษ์ Jan 2018

ความสัมพันธ์ระหว่างการสร้างสรรค์เชิงศิลปะ ความหมายในชีวิต และภาวะซึมเศร้าในนิสิตนักศึกษาศิลปะ, วิภาวี วรวุฒิวิทยารักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง การสร้างสรรค์เชิงศิลปะ ความหมายในชีวิต และภาวะซึมเศร้าในนิสิตนักศึกษาศิลปะ กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตนักศึกษาศิลปะจำนวน 311 คน อายุเฉลี่ย 20.53±1.43 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป (2) มาตรวัดสมรรถนะการสร้างสรรค์ของเอปสไตน์ (3) มาตรวัดความหมายในชีวิต และ (4) มาตรวัดด้านย่อยภาวะซึมเศร้าของมาตรวัดความเครียด ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้าฉบับ 42 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่าการสร้างสรรค์เชิงศิลปะมีค่าสหสัมพันธ์ทางลบกับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.24, p < .01) เช่นเดียวกับความหมายในชีวิต มีค่าสหสัมพันธ์ทางลบกับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.70, p < .01) โดยที่การสร้างสรรค์เชิงศิลปะและความหมายในชีวิต สามารถร่วมกันทำนายภาวะซึมเศร้าในนิสิตนักศึกษาศิลปะได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 โดยร่วมกันทำนายความแปรปรวนของภาวะซึมเศร้าร้อยละ 50 (R2 = .50, p < .01) เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยมาตรฐานของแต่ละตัวแปรทำนายพบว่าความหมายในชีวิตมีน้ำหนักค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยมาตรฐานสูงที่สุด (β = -.74, p < .01) ส่วนการสร้างสรรค์เชิงศิลปะ ไม่สามารถทำนายภาวะซึมเศร้าได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β = .09, ns)


การนิเทศการปรึกษาเชิงจิตวิทยาด้วยพรหมวิหาร 4 ในนักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัด : การวิจัยแบบผสานวิธี, พูลทรัพย์ อารีกิจ Jan 2018

การนิเทศการปรึกษาเชิงจิตวิทยาด้วยพรหมวิหาร 4 ในนักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัด : การวิจัยแบบผสานวิธี, พูลทรัพย์ อารีกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ผู้วิจัยดำเนินการศึกษาเชิงปริมาณก่อน และดำเนินการศึกษาเชิงคุณภาพในภายหลัง สำหรับการศึกษาเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวมรวม และวิเคราะห์ข้อมูล ตามระเบียบวิธีวิจัยแบบการทดลองกลุ่มเล็ก (Single-case Experimental Design) และในการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยผู้วิจัยดำเนินการวิจัยตามระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแนวปรากฎการณ์วิทยาแบบตีความ (Interpretative Phenomenological Analysis) กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัดจำนวน 8 คนที่ผ่านการเข้าร่วมกระบวนการนิเทศการปรึกษาเชิงจิตวิทยาด้วยพรหมวิหาร 4 เพิ่มเติมจากการเข้ารับการนิเทศการปรึกษาเชิงจิตวิทยาตามหลักสูตร และจากสถานฝึกประสบการณ์วิขาชีพ ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการนิเทศการปรึกษาเชิงจิตวิทยาด้วยพรหมวิหาร 4 ส่งอิทธิพลต่อการเพิ่มขึ้นของการรับรู้ความสามารถในตนเองของนักจิตวิทยาการปรึกษา และต่อการลดลงของการวิพากษ์วิจารณ์ตนเอง อย่างไรก็ตามผลการศึกษาในเชิงปริมาณพบอิทธิพลของกระบวนการนิเทศการปรึกษาเชิงจิตวิทยาด้วยพรหมวิหาร 4 ในกลุ่มตัวอย่างบางรายเท่านั้น สำหรับการศึกษาเชิงคุณภาพผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่าประสบการณ์ของผู้ให้ข้อมูลสามารถสรุปได้เป็น 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ ประเด็นหลักที่ 1 ช่วงระหว่างรับการนิเทศการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ประกอบด้วย ประสบการณ์ระหว่างรับการนิเทศ และมุมมองต่อตนเองที่เกิดขึ้นจากการนิเทศประเด็นหลักที่ 2 การสังเกตและการตระหนักรู้ในตนเอง ประกอบด้วย การสังเกตและการตระหนักรู้ในภายใน และการสังเกตและการตระหนักรู้จากตัวแบบ ประเด็นหลักที่ 3 ความเข้าใจจากการสังเกต การตระหนักรู้ และการอยู่ในภาวะเดิมด้วยใจที่ใหม่ ประกอบด้วย ความเข้าใจจากการสังเกต และการตระหนักรู้ และการอยู่ในภาวะเดิมด้วยใจที่ใหม่


ความเครียด ความเหนื่อยล้าในการเห็นอกเห็นใจ ความพึงพอใจในการเห็นอกเห็นใจ และสุขภาวะของนักวิชาชีพผู้ให้บริการด้านสุขภาพจิต, ศิริลักษณ์ เตชะธนอิทธิกุล Jan 2018

ความเครียด ความเหนื่อยล้าในการเห็นอกเห็นใจ ความพึงพอใจในการเห็นอกเห็นใจ และสุขภาวะของนักวิชาชีพผู้ให้บริการด้านสุขภาพจิต, ศิริลักษณ์ เตชะธนอิทธิกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ความเครียด ความเหนื่อยล้าในการเห็นอกเห็นใจ ความพึงพอใจในการเห็นอกเห็นใจ และสุขภาวะของนักวิชาชีพผู้ให้บริการด้านสุขภาพจิต กลุ่มตัวอย่างคือ นักวิชาชีพผู้ให้บริการด้านสุขภาพจิตจำนวน 149 คนอายุเฉลี่ย 33.81 ± 8.79 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) มาตรวัดการรับรู้ความเครียด 2) มาตรวัดความเหนื่อยล้าในการเห็นอกเห็นใจ 3) มาตรวัดความพึงพอใจในการเห็นอกเห็นใจ และ 4) มาตรวัดสุขภาวะแบบ 5 องค์ประกอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ความเครียด และความเหนื่อยล้าในการเห็นอกเห็นใจ มีค่าสหสัมพันธ์ทางลบกับสุขภาวะของนักวิชาชีพสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .001 (r = -.47 และ -.34 ตามลำดับ, p < .001) ในขณะที่ความพึงพอใจในการเห็นอกเห็นใจมีค่าสหสัมพันธ์บวกกับสุขภาวะของนักวิชาชีพสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .001 (r = .67, p < .001) โดยที่ความเครียด ความอ่อนล้าในการเห็นอกเห็นใจ และความพึงพอใจในการเห็นอกเห็นใจ สามารถร่วมกันทำนายสุขภาวะของนักวิชาชีพทีให้บริการด้านสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และสามารถอธิบายความแปรปรวนของสุขภาวะในนักวิชาชีพทีให้บริการด้านสุขภาพจิตได้ ร้อยละ 47.8 (R2 = .478, p < .001) ในขณะที่ตัวแปรความเหนื่อยล้าในการเห็นอกเห็นใจ ไม่สามารถทำนายสุขภาวะของนักวิชาชีพสุขภาพจิตได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R2 = .478, p = .346) ซึ่งความเครียด มีน้ำหนักในการทำนายสูงที่สุด (β = -.81, p < .01) ตามมาด้วย ความพึงพอใจในการเห็นอกเห็นใจ (β = .59, p < .001)


ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะนิสัยแบบฟื้นคืนพลัง ความหมายในชีวิต และปัญหาทางจิตใจของนักเรียนทุนที่ศึกษาต่อต่างประเทศ, สุจิรา ประกอบสุข Jan 2018

ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะนิสัยแบบฟื้นคืนพลัง ความหมายในชีวิต และปัญหาทางจิตใจของนักเรียนทุนที่ศึกษาต่อต่างประเทศ, สุจิรา ประกอบสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะนิสัยแบบฟื้นคืนพลัง ความหมายในชีวิต (ด้านความเข้าใจความหมายในชีวิตและการค้นหาความหมาย) และปัญหาทางจิตใจ (ความเครียด ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า) ในนักเรียนทุนที่ศึกษาต่อต่างประเทศ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มนักเรียนทุนที่มีอายุเฉลี่ย 30±6.25 ปี จำนวน 271 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ มาตรวัดลักษณะนิสัยแบบฟื้นคืนพลัง มาตรวัดความหมายในชีวิต มาตรวัดความเครียด ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า (Depression Anxiety Stress Scale:DASS-21) เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่าลักษณะนิสัยแบบฟื้นคืนพลังและความหมายในชีวิตทั้งสองด้านสามารถร่วมกันทำนายปัญหาด้านจิตใจนักเรียนชาวไทยที่ได้รับทุนศึกษาต่อต่างประเทศได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนของความเครียดได้ร้อยละ 24.7 (R² = .247, p<.01) ความวิตกกังวลได้ร้อยละ 15.2 (R² = .152, p<.01) และภาวะซึมเศร้าได้ร้อยละ 41.3 (R²= .413, p<.01) ทั้งนี้ลักษณะนิสัยแบบฟื้นคืนมีน้ำหนักในการทำนายความเครียด (β = -.263, p<.01) ความวิตกกังวล (β = -.208, p<.01) และภาวะซึมเศร้า (β = -.228, p<.01) ความหมายในชีวิตด้านการเข้าใจความหมายในชีวิต มีน้ำหนักในการทำนายความเครียด (β = -.251, p<.01) ความวิตกกังวล (β = -.198, p<.01) และภาวะซึมเศร้า (β = -.485, p<.01) และความหมายในชีวิตด้านการค้นหาความหมาย มีน้ำหนักในการทำนายความเครียด (β = .204, p<.01) ความวิตกกังวล (β = .155, p<.01) และภาวะซึมเศร้า (β = .102, p<.01) ตามลำดับ


อิทธิพลของอารมณ์ขันทางลบ การละเลยคุณธรรม และการรับรู้ความนิรนาม ต่อพฤติกรรมการข่มเหงรังแกทางเฟซบุ๊ก, อภิญญา หิรัญญะเวช Jan 2018

อิทธิพลของอารมณ์ขันทางลบ การละเลยคุณธรรม และการรับรู้ความนิรนาม ต่อพฤติกรรมการข่มเหงรังแกทางเฟซบุ๊ก, อภิญญา หิรัญญะเวช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาอิทธิพลของอารมณ์ขันทางลบที่มีต่อพฤติกรรมการข่มเหงรังแกทางเฟซบุ๊ก โดยมีการละเลยคุณธรรมและการรับรู้ความนิรนามเป็นตัวแปรกำกับ ซึ่งอารมณ์ขันทางลบแบ่งเป็นอารมณ์ขันแบบก้าวร้าวและอารมณ์ขันแบบล้อเลียนตนเอง การละเลยคุณธรรมคือการที่บุคคลหาเหตุผลมารองรับพฤติกรรมที่ไม่ดี เพื่อให้ทำพฤติกรรมเหล่านั้นต่อไปได้โดยไม่รู้สึกกังวลใจ และการรับรู้ความนิรนามคือการที่บุคคลรับรู้ว่าการกระทำไม่สามารถระบุตัวตนของตนได้ กลุ่มตัวอย่างคือบุคคลทั่วไปที่เข้าใช้สื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือน อายุระหว่าง 18-34 ปี จำนวน 209 คน เก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถามออนไลน์ (Online Survey) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการถดถอยพหุคูณแบบขั้น (Hierarchical Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) อารมณ์ขันทางลบ การละเลยคุณธรรม การรับรู้ความนิรนาม ร่วมกันทำนายความแปรปรวนของพฤติกรรมการข่มเหงรังแกทางเฟซบุ๊กได้ 32.92% 2) อารมณ์ขันแบบก้าวร้าวเพียงตัวเดียวไม่สามารถทำนายพฤติกรรมการข่มเหงรังแกทางเฟซบุ๊กได้ แต่สามารถทำนายได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อได้รับอิทธิพลกำกับของการละเลยคุณธรรม (β = .194 p = .002) หรือการรับรู้ความนิรนามร่วมด้วย (β = .164, p = .025) 3) อารมณ์ขันแบบล้อเลียนตนเองสามารถทำนายพฤติกรรมการข่มเหงรังแกทางเฟซบุ๊กได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β = .329, p = .000) แต่ส่งผลตรงกันข้ามเมื่อมีอิทธิพลกำกับของการรับรู้ความนิรนามมาร่วมด้วย(β = -.132, p = .036) ส่วนอิทธิพลกำกับของการละเลยคุณธรรมไม่ส่งผลให้อารมณ์ขันแบบล้อเลียนตนเองทำนายพฤติกรรมการข่มเหงรังแกทางเฟซบุ๊กได้ดีขึ้น จากผลการวิจัยนี้ทำให้ทราบถึงสาเหตุของพฤติกรรมการข่มเหงรังแกทางเฟซบุ๊ก คือ อารมณ์ขันทางลบ การละเลยคุณธรรม และความนิรนาม เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการหาทางแก้ไขและป้องกันพฤติกรรมดังกล่าวได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น


ความสัมพันธ์ระหว่าง ความเครียด และสุขภาวะทางจิตในวัยผู้ใหญ่ตอนกลาง โดยมีความเมตตากรุณาต่อตนเอง และการสนับสนุนทางสังคมเป็นตัวแปรกำกับ, ณัฐชา อุเทศนันทน์ Jan 2018

ความสัมพันธ์ระหว่าง ความเครียด และสุขภาวะทางจิตในวัยผู้ใหญ่ตอนกลาง โดยมีความเมตตากรุณาต่อตนเอง และการสนับสนุนทางสังคมเป็นตัวแปรกำกับ, ณัฐชา อุเทศนันทน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ความเครียด และสุขภาวะทางจิตในวัยผู้ใหญ่ตอนกลาง โดยมีความเมตตากรุณาต่อตนเอง และการสนับสนุนทางสังคมเป็นตัวแปรกำกับ กลุ่มตัวอย่างคือ บุคคลที่อยู่ในช่วงวัยผู้ใหญ่ตอนกลาง อายุตั้งแต่ 35 – 59 ปี จำนวน 263 คน อายุเฉลี่ยเท่ากับ 45.64 ± 7.19 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ มาตรวัดการรับรู้ความเครียด มาตรวัดความเมตตากรุณาต่อตนเอง มาตรวัดสุขภาวะทางจิตของ และ มาตรวัดการสนับสนุนทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ความเครียด มีค่าสหสัมพันธ์ทางลบกับความเมตตากรุณาต่อตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.60, p < .001), ความเครียด มีค่าสหสัมพันธ์ทางลบกับการสนับสนุนทางสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.11, p < .05) ความเครียด มีค่าสหสัมพันธ์ทางลบกับสุขภาวะทางจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.53, p < .001) ในขณะที่ความเมตตากรุณาต่อตนเองไม่สามารถกำกับอิทธิพลของความเครียดที่มีต่อสุขภาวะทางจิตได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (b = -.00, p = .98) และการสนับสนุนทางสังคมก็ไม่สามารถกำกับอิทธิพลของความเครียดที่มีต่อสุขภาวะทางจิตได้เช่นกัน (b = -.00, p = .51) นอกจากนี้ ความเครียด ความเมตตากรุณาต่อตนเอง และการสนับสนุนทางสังคมสามารถร่วมกันทำนายสุขภาวะทางจิตได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และอธิบายความแปรปรวนของสุขภาวะทางจิตร้อยละ 50 (R² = .50, p < .001) โดยความเมตตากรุณาต่อตนเองมีน้ำหนักในการทำนายสูงที่สุด (β = .51, p < .01) การสนับสนุนทางสังคม มีน้ำหนักในการทำนายรองลงมา (β = .19, p < .001) ในขณะที่ความเครียดมีน้ำหนักในการทำนายต่ำที่สุด (β = -.16, p < .001)


ผลของเป้าหมายการควบคุม และการชี้แจงเหตุผลรองรับการตัดสินใจ ต่อระดับการเอนเอียงในการตัดสินใจ ให้ตนเองและผู้อื่น, อรพรรณ คูเกษมรัตน์ Jan 2018

ผลของเป้าหมายการควบคุม และการชี้แจงเหตุผลรองรับการตัดสินใจ ต่อระดับการเอนเอียงในการตัดสินใจ ให้ตนเองและผู้อื่น, อรพรรณ คูเกษมรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง รูปแบบ 2 x 2 x 3 แฟคทอเรียลดีไซน์ เปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของเป้าหมายการควบคุม และการชี้แจงเหตุผลรองรับการตัดสินใจ ต่อระดับการเอนเอียงในการตัดสินใจให้ผู้ได้รับผลของการตัดสินใจที่ต่างกัน กลุ่มตัวอย่าง คือนิสิตนักศึกษาปริญญาตรี ที่กำลังศึกษาอยู่ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อายุ 18-24 ปี จำนวน 258 คน (หญิง 68.2%) กลุ่มตัวอย่างถูกสุ่มเข้าเงื่อนไขการทดลอง 12 เงื่อนไข และได้รับการจัดกระทำเป้าหมายการควบคุมแบบป้องกัน หรือส่งเสริม จากนั้นกลุ่มตัวอย่างต้องตัดสินใจเลือกแบ่งเงิน 1,000 บาท เป็นสองส่วน คือ เพื่อคงสถานะและเพื่อเพิ่มสถานะในด้านต่าง ๆ ของชีวิตทั้งหมด 7 ด้านให้ตนเอง หรือผู้อื่นที่สนิท หรือผู้อื่นที่ไม่สนิท กลุ่มตัวอย่างในเงื่อนไขที่มีการชี้แจงเหตุผลรองรับการตัดสินใจ ได้รับคำสั่งให้ชี้แจงเหตุผลประกอบการตัดสินใจต่อผู้วิจัยหลังตอบคำถาม ขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งไม่ต้องชี้แจงเหตุผลรองรับการตัดสินใจ ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการเอนเอียงในการตัดสินใจแบบมุ่งการได้รับ คือ มีแนวโน้มจ่ายเงินเพื่อเพิ่มสถานะมากกว่าจ่ายเงินเพื่อคงสถานะ ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสามทาง ไม่พบปฏิสัมพันธ์สามทางของเป้าหมายการควบคุม การชี้แจงเหตุผลรองรับการตัดสินใจ และผู้ได้รับผลของการตัดสินใจ แต่พบว่าการเอนเอียงในการตัดสินใจแบบมุ่งการได้รับที่พบนี้ ได้รับอิทธิพลจากผลหลักของเป้าหมายการควบคุม และผู้ได้รับผลของการตัดสินใจ และได้รับอิทธิพลจากผลปฏิสัมพันธ์ของเป้าหมายการควบคุมกับการชี้แจงเหตุผลรองรับการตัดสินใจ และผลปฏิสัมพันธ์ของเป้าหมายการควบคุมกับผู้ได้รับผลของการตัดสินใจ กล่าวคือ โดยทั่วไปบุคคลที่ถูกจัดกระทำเป้าหมายการควบคุมแบบป้องกัน มีการเอนเอียงในการตัดสินใจแบบมุ่งการได้รับน้อยกว่าบุคคลที่ถูกจัดกระทำเป้าหมายการควบคุมแบบส่งเสริม โดยความแตกต่างนี้จะน้อยลง ในเงื่อนไขที่ตัดสินใจให้ตนเอง และในเงื่อนไขที่ต้องชี้แจงเหตุผลรองรับการตัดสินใจ


Chairman's Note, ปกรณ์ ปรียากร Dec 2017

Chairman's Note, ปกรณ์ ปรียากร

Halal Insight

No abstract provided.


ห้องรับแขก Dec 2017

ห้องรับแขก

Halal Insight

No abstract provided.


10th Hasib Conference การประชุมวิชาการนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์อุตสาหกรรมและธุรกิจฮาลาล ครั้งที่ 10 Dec 2017

10th Hasib Conference การประชุมวิชาการนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์อุตสาหกรรมและธุรกิจฮาลาล ครั้งที่ 10

Halal Insight

No abstract provided.


ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ผู้อยู่เบื้อหลังความสำเร็จของงาน Thailand Halal Assembly Dec 2017

ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ผู้อยู่เบื้อหลังความสำเร็จของงาน Thailand Halal Assembly

Halal Insight

No abstract provided.


Digital Halal Science Dec 2017

Digital Halal Science

Halal Insight

No abstract provided.


Business Matching การเจรจาธุรกิจเพื่อส่งเสริมการส่งออกผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาล สู่ตลาดโลก Dec 2017

Business Matching การเจรจาธุรกิจเพื่อส่งเสริมการส่งออกผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาล สู่ตลาดโลก

Halal Insight

No abstract provided.


Thailand International Halal Expo 2017 (Tihex2017 งานแสดงสินค้าฮาลาลนานาชาติ) Dec 2017

Thailand International Halal Expo 2017 (Tihex2017 งานแสดงสินค้าฮาลาลนานาชาติ)

Halal Insight

No abstract provided.


Halal News Dec 2017

Halal News

Halal Insight

No abstract provided.


Halal Wisdom : Convergence Of Science Technology And Islamic Arts Dec 2017

Halal Wisdom : Convergence Of Science Technology And Islamic Arts

Halal Insight

No abstract provided.


Thailand Halal Assembly Photo Shooting Contest 2017 Dec 2017

Thailand Halal Assembly Photo Shooting Contest 2017

Halal Insight

No abstract provided.


Editor's Talk, ปกรณ์ ปรียากร Nov 2017

Editor's Talk, ปกรณ์ ปรียากร

Halal Insight

No abstract provided.


กว่าจะถูกเรียก Tha 2017 Nov 2017

กว่าจะถูกเรียก Tha 2017

Halal Insight

No abstract provided.


Pavillion Zone "Halal Wisdom: Convergence Of Science Technology And Islamic Arts" Nov 2017

Pavillion Zone "Halal Wisdom: Convergence Of Science Technology And Islamic Arts"

Halal Insight

No abstract provided.


10th Hasib Conference Nov 2017

10th Hasib Conference

Halal Insight

No abstract provided.


Public Hearing On Thailand's Halal Standard Nov 2017

Public Hearing On Thailand's Halal Standard

Halal Insight

No abstract provided.


Technology Pavillion Zone Nov 2017

Technology Pavillion Zone

Halal Insight

No abstract provided.


ยกขบวน Sme จากชายแดนใต้ Business Matching Nov 2017

ยกขบวน Sme จากชายแดนใต้ Business Matching

Halal Insight

No abstract provided.


Halal News Nov 2017

Halal News

Halal Insight

No abstract provided.


ห้องรับแขก Nov 2017

ห้องรับแขก

Halal Insight

No abstract provided.


Editor's Talk Oct 2017

Editor's Talk

Halal Insight

No abstract provided.