Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 2551 - 2580 of 5570

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

ภาพลักษณ์ของสมณะและความเชื่อเกี่ยวกับพุทธศาสนาของญี่ปุ่นใน อุจิฌูอิ โมะโนะงะตะริ, ยอดสวรรค์ อิกูจิ Jan 2018

ภาพลักษณ์ของสมณะและความเชื่อเกี่ยวกับพุทธศาสนาของญี่ปุ่นใน อุจิฌูอิ โมะโนะงะตะริ, ยอดสวรรค์ อิกูจิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตุประสงค์เพื่อศึกษาภาพลักษณ์ของสมณะและความเชื่อเกี่ยวกับพุทธศาสนาของญี่ปุ่นในนิทานเรื่องเล่า อุจิฌูอิ โมะโนะงะตะริ ที่มีสมณะเป็นตัวละครหลัก ผลการศึกษาพบว่า ตัวละครสมณะมีภาพลักษณ์หลากหลายมีทั้งภาพลักษณ์ด้านบวกเช่น เป็นบุคคลผู้มีความเชื่อถือและยึดมั่นศรัทธาในพุทธศาสนาอย่างแน่วแน่และปฏิบัติตามคำสอนทางพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัดและด้านลบ เช่น การประพฤติผิดศีลของพระโพธิสัตว์ นอกจากนี้ยังมีภาพลักษณ์ด้านอื่น ๆ เช่น เป็นบุคคลผู้ที่มีพฤติกรรมแสดงออกไม่เด่นชัดว่าเป็นผู้ประกอบกรรมดีหรือชั่วเพราะมีภาพลักษณ์ทั้งด้านบวกและลบในเรื่องเดียวกัน ส่วนในประเด็นความเชื่อเกี่ยวกับพุทธศาสนาที่พบในนิทานเรื่องเล่า อุจิฌูอิ โมะโนะงะตะริ จากการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมในพุทธศาสนามหายานในนิกายต่าง ๆ ที่ได้รับความเชื่อถือศรัทธาในสมัยเฮอันจนถึงสมัยคะมะกุระตอนต้น ซึ่งเชื่อว่าเป็นช่วงที่มีการแต่งและรวบรวมนิทานเรื่องเล่า อุจิฌูอิ โมะโนะงะตะริ ลักษณะของความเชื่อสะท้อนออกมาในเชิงของวัฒนธรรม เช่น ความเชื่อเรื่องการขอฝน การสวดมนต์เพื่อรักษาอาการเจ็บป่วย โดยเป็นการใช้พุทธศาสนาเพื่อหวังผลในชาติปัจจุบันและชาติหน้ามากกว่าความเชื่อที่เป็นแก่นแท้ของปรัชญาพุทธศาสนาในลักษณะที่เป็นสากล ซึ่งสอนให้ผู้คนเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม การกระทำความดีละเว้นความชั่ว การละอายและเกรงกลัวต่อบาป ความเชื่อส่วนใหญ่ที่พบในนิทานเป็นความเชื่อของสมณะในพุทธศาสนานิกายเท็นดะอิ (Tendai) นิกายฌิงงน (Shingon mikkyō) และนิกายโจโดะฌู (Jōdo) นอกจากนี้ยังพบความเชื่อในนิกายโจโดะฌินฌู (Jōdo Shin) นิกายฮซโซ (Hossō) นิกายคุฌะ (Kusha) และความเชื่อเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาที่มีการผสมผสานกับความเชื่อดั้งเดิมในลัทธิชินโตแบบฌุเง็นโด (Shugendō) และอมเมียวโด (Onmyōdō) อีกด้วย


สารัตถะและความสำคัญของศาสตร์แห่งอัญมณีอินเดียโบราณ, อรุณวรรณ คงมีผล Jan 2018

สารัตถะและความสำคัญของศาสตร์แห่งอัญมณีอินเดียโบราณ, อรุณวรรณ คงมีผล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มุ่งศึกษาสารัตถะและความสำคัญของศาสตร์แห่งอัญมณีอินเดียโบราณจากงานนิพนธ์ว่าด้วยศาสตร์แห่งอัญมณีที่บรรจุแทรกในวรรณคดีสันสกฤตประเภทศาสตร์ 5 เรื่อง ได้แก่ อรรถศาสตร์ของเกาฏิลยะ, พฤหัตสํหิตาของวราหมิหิระ, ยุกติกัลปตรุของโภชะ, มานโสลลาสะของโสเมศวระ และศุกรนีติสาระของศุกราจารย์ วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกคือ การศึกษาสารัตถะ โดยมีการเปรียบเทียบระหว่างข้อมูลปฐมภูมิ 5 เรื่อง กับงานนิพนธ์ว่าด้วยศาสตร์แห่งอัญมณีที่เป็นเรื่องเดี่ยว ส่วนที่สองคือการศึกษาความสำคัญของศาสตร์แห่งอัญมณีในบริบทของสังคมและวัฒนธรรม โดยพิจารณาจากข้อความตัวบทที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเรื่องแทรกว่าด้วยศาสตร์แห่งอัญมณีกับงานนิพนธ์เรื่องหลัก รวมทั้งพิจารณาบทบาทของศาสตร์แห่งอัญมณีที่ปรากฏในงานนิพนธ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในอดีตและปัจจุบัน ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า สารัตถะของศาสตร์แห่งอัญมณีอินเดียโบราณ คือ การถ่ายทอดความรู้เชิงปฏิบัติเกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบและจำแนกสิ่งมีค่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งอัญมณี นำไปสู่การประเมินมูลค่าและคุณค่า เพื่อตอบสนองความมั่นคงของราชอาณาจักร องค์ความรู้เรื่องการตรวจสอบอัญมณีจำแนกได้เป็น 4 หมวด ได้แก่ หมวดการตรวจสอบอัญมณี หมวดการประเมินค่าอัญมณี หมวดการกำหนดราคาอัญมณี และหมวดเบ็ดเตล็ดซึ่งครอบคลุมศิลปะการทำอัญมณีตลอดจนความเชื่อ และวัฒนธรรมเกี่ยวกับการใช้อัญมณี เนื้อหาสาระของตำราอัญมณีประเภทเรื่องแทรกที่นำมาศึกษาครั้งนี้ โดยมากพ้องกับตำราอัญมณีประเภทเรื่องเดี่ยว สิ่งที่แตกต่างกันคือรายละเอียดปลีกย่อยและบริบทของการนำไปใช้ซึ่งมุ่งในแวดวงของราชสำนัก ส่วนความสำคัญของศาสตร์แห่งอัญมณีอินเดียโบราณนั้นแบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการเมือง ด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านภาษาและวรรณคดี และด้านการศึกษา สะท้อนให้เห็นว่า ศาสตร์แห่งอัญมณีอินเดียโบราณมีคุณูปการต่อสังคมในวงกว้างตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จึงมีการสืบทอด การผลิตช้า การดัดแปลง และการอ้างอิงศาสตร์แห่งอัญมณีอินเดียในงานนิพนธ์ต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องจวบจนปัจจุบัน


การแปรของ (Kh) ในภาษาพวนบ้านฝายมูล ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน : การศึกษาทางสัทศาสตร์สังคม, ฤทัยรัตน์ คุณธนะ Jan 2018

การแปรของ (Kh) ในภาษาพวนบ้านฝายมูล ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน : การศึกษาทางสัทศาสตร์สังคม, ฤทัยรัตน์ คุณธนะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการแปรของ (kh) ในภาษาพวนบ้านฝายมูล ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน เก็บข้อมูลจากผู้บอกภาษาจำนวน 60 คน แบ่งออกเป็น 3 รุ่นอายุ ได้แก่ ผู้พูดในรุ่นอายุมาก (อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป) ผู้พูดวัยกลางคน (อายุระหว่าง 35-50 ปี) และผู้พูดในรุ่นอายุน้อย (อายุระหว่าง 10-25 ปี) รุ่นอายุละ 20 คน โดยเก็บข้อมูลใน 2 วัจนลีลา ได้แก่ คำพูดเดี่ยวและคำพูดต่อเนื่อง ผู้วิจัยศึกษาการแปรทางกลสัทศาสตร์ของ (kh) ด้วยการวิเคราะห์ค่าความเข้มสัมพัทธ์จากการคำนวณอัตราส่วนค่าความเข้ม ซึ่งแสดงการแปรสัทลักษณะของเสียงพยัญชนะจากเสียงกักไล่ระดับถึงเสียงเสียดแทรกผลการศึกษาทั้งในคำพูดเดี่ยวและคำพูดต่อเนื่องพบว่า (kh) ของผู้พูดในรุ่นอายุมากมีอัตราส่วนค่าความเข้มต่ำที่สุด ซึ่งแสดงถึงรูปแปรที่มีระดับของการเสียดแทรกต่ำหรือเสียงกัก ตามด้วยผู้พูดวัยกลางคนที่มีอัตราส่วนค่าความเข้มอยู่ระหว่างรุ่นอายุมากและผู้พูดในรุ่นอายุน้อย ซึ่งแสดงถึงรูปแปรที่มีความคาบเกี่ยวระหว่างผู้พูดในรุ่นอายุมากและผู้พูดในรุ่นอายุน้อย และผู้พูดในรุ่นอายุน้อยที่มีอัตราส่วนค่าความเข้มสูงที่สุด ซึ่งแสดงถึงรูปแปรที่มีระดับของการเสียดแทรกสูง อัตราส่วนค่าความเข้มของทั้งสามกลุ่มไม่ได้แบ่งเป็นรูปแบบที่แยกออกจากกันอย่างชัดเจน แต่มีลักษณะไล่ระดับ ผู้พูดทั้งสามกลุ่มมีอัตราส่วนค่าความเข้มบางส่วนที่ทับซ้อนกันอยู่ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้พูดทั้งสามกลุ่มไม่ได้เลือกใช้รูปแปรที่ต่างกันเสมอไป อย่างไรก็ตาม ช่วงพิสัยของอัตราส่วนค่าความเข้มในคำพูดเดี่ยวกว้างกว่าในคำพูดต่อเนื่อง การกระจายของอัตราส่วนค่าความเข้มในคำพูดเดี่ยวอยู่ในช่วงตั้งแต่ระดับเสียงกักไปถึงระดับที่มีการเสียดแทรกสูงมาก ในขณะที่การกระจายของอัตราส่วนค่าความเข้มในคำพูดต่อเนื่องอยู่ในช่วงตั้งแต่ระดับเสียงกักไปถึงระดับที่มีเสียดแทรกปานกลางเท่านั้น ดังนั้น (kh) ในคำพูดต่อเนื่องจึงมีแนวโน้มไปทางเสียงกักหรือมีระดับความเสียดแทรกน้อยในทั้ง 3 รุ่นอายุมากกว่าในคำพูดเดี่ยว นอกจากนี้ ผลการศึกษายังพบการแปรภายในแต่ละรุ่นอายุ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับอาชีพและการศึกษาของผู้พูดโดยผู้พูดในรุ่นอายุมากมีการแปรภายในกลุ่มมากที่สุด


หน่วยสร้างอนุประโยคขยายคำนามในภาษาไทย, กมลชนก หงษ์ทอง Jan 2018

หน่วยสร้างอนุประโยคขยายคำนามในภาษาไทย, กมลชนก หงษ์ทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ ได้แก่ 1) เพื่อระบุความแตกต่างระหว่างหน่วยสร้างอนุประโยคขยายคำนามกับนามวลีที่มีโครงสร้างเดียวกันคือ ‘คำนาม + กริยาวลี' 2) เพื่อระบุโครงสร้างทางวากยสัมพันธ์ของหน่วยสร้างอนุประโยคขยายคำนามในภาษาไทย และ 3) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีบทบาทต่อการกำหนดเงื่อนไขการปรากฏของโครงสร้างทางวากยสัมพันธ์แต่ละแบบที่ระบุได้ในข้อ 2 ผู้วิจัยได้อาศัยสมมติฐานความคงสภาพของศัพท์เพื่อทดสอบความตรึงแน่นภายในของหน่วยที่ประกอบด้วย ‘คำนาม + กริยาวลี' และคำนวณอัตราส่วนระหว่างแบบต่อรูป ความแตกต่างที่พบคือคำประสมมีอัตราส่วนระหว่างแบบต่อรูปต่ำและมีความเป็นเนื้อเดียวกันสูงจนไม่ยอมให้กระบวนการทางวากยสัมพันธ์ ได้แก่ การแทรก การขยาย การแทนที่ และการเชื่อม เข้าไปมีบทบาทต่อหน่วยย่อยภายในเพียงหน่วยใดหน่วยหนึ่งได้ ในทางกลับกัน หน่วยสร้างอนุประโยคขยายคำนามมีอัตราส่วนระหว่างแบบต่อรูปสูงจนกระบวนการทางวากยสัมพันธ์สามารถเข้าไปมีบทบาทต่อหน่วยประกอบของมันได้ ผลการศึกษาพบว่าหน่วยสร้างอนุประโยคขยายคำนามในภาษาไทยประกอบด้วยองค์ประกอบ 2 ส่วนที่ขาดไม่ได้คือ ‘ส่วนหลัก' คือคำนามหรือนามวลี และ ‘ส่วนขยาย' คืออนุประโยค ในบางการปรากฏอาจพบ ‘ตัวนำอนุประโยค' ได้แก่ ที่ ซึ่ง อัน ผู้ ว่า ผู้ซึ่ง ที่ซึ่ง และ ที่ว่า นำหน้าส่วนขยาย หน่วยสร้างอนุประโยคขยายคำนามมีกระสวนโครงสร้าง 4 แบบที่แตกต่างกัน ดังนี้ 1) คำนามหลัก + ตัวนำอนุประโยค + อนุประโยคขยายที่มีตัวอ้างอิงร่วมกับคำนามหลัก 2) คำนามหลัก + อนุประโยคขยายที่มีตัวอ้างอิงร่วมกับคำนามหลัก3) คำนามหลัก + ตัวนำอนุประโยค + อนุประโยคขยายที่ไม่มีตัวอ้างอิงร่วมกับคำนามหลัก และ 4) คำนามหลัก + อนุประโยคขยายที่ไม่มีตัวอ้างอิงร่วมกับคำนามหลัก ปัจจัยที่มีบทบาทหลักต่อการกำหนดเงื่อนไขการปรากฏของโครงสร้างแต่ละแบบ ได้แก่ การมีหรือไม่มีตัวนำอนุประโยค การมีหรือไม่มีตัวอ้างอิงร่วม หน้าที่ของอนุประโยคขยายที่มีต่อคำนามหลัก และปัจจัยนอกเหนือจากรูปภาษา ส่วนปัจจัยที่มีบทบาทรองลงมาหรือปัจจัยที่กำหนดการปรากฏแบบย่อยของแต่ละโครงสร้าง ได้แก่ ตำแหน่งทางไวยากรณ์ของตัวอ้างอิงร่วม คุณสมบัติทางอรรถศาสตร์ของคำนามหลัก บทบาททางความหมายของคำนามหลัก ความซับซ้อนของหน่วยประกอบ ความเป็นวรรณศิลป์ และน้ำเสียงของผู้ส่งสาร ในขณะที่จำนวนขั้นต่ำของผู้ร่วมเหตุการณ์ การมีหรือไม่มีสุญรูป บริบทแวดล้อม และความเป็นทางการ ไมใช่มีบทบาทต่อการกำหนดแบบต่างๆ ของโครงสร้าง


การวิเคราะห์ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินบริเวณชายฝั่งอ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี, รัฐพงษ์ ชูติกัณฑ์ Jan 2018

การวิเคราะห์ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินบริเวณชายฝั่งอ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี, รัฐพงษ์ ชูติกัณฑ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินของพื้นที่ชายฝั่งอ่าวบ้านดอนและเพื่อวิเคราะห์ผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ดังกล่าว การดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ 1) การศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินของพื้นที่ชายฝั่งอ่าวบ้านดอนในระหว่าง พ.ศ. 2537 – 2560 จากการแปลภาพถ่ายดาวเทียม 2) การศึกษาผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ศึกษา ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (Deep Interview) และการสังเกตการณ์ (Observation) จากประชาชนในพื้นที่ เช่น ผู้นำชุมชน เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง 3) การวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน รวมถึงปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ผลการวิจัยพบว่า 1) ในระหว่าง พ.ศ. 2537–2560 การใช้ที่ดินของพื้นที่ชายฝั่งอ่าวบ้านดอนมีการเปลี่ยนแปลงจากพื้นที่ภาคเกษตรกรรม (เกษตรกรรมและพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ) ไปเป็นชุมชน (เช่น ที่อยู่อาศัย ถนน) และพื้นที่โล่งมากที่สุด ผลกระทบด้านเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ได้แก่ 1. รายได้ลดลง 2.หนี้สินเพิ่มขึ้น 3.การสูญเสียที่ดิน 4.การเปลี่ยนแปลงอาชีพ โดยปัจจัยที่ก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจ ได้แก่ เงินทุน มลพิษทางน้ำ ภัยธรรมชาติ โครงการพัฒนาในพื้นที่ การพัฒนาของเทคโนโลยี ราคาผลผลิตสัตว์น้ำ ระบบนายทุน เป็นต้น ผลกระทบทางสังคมที่เกิดขึ้น ได้แก่ 1.ความสัมพันธ์ของคนชุมชนลดลง 2.ความขัดแย้งในชุมชน 3.การเลือนหายไปของภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยปัจจัยที่ก่อให้เกิดผลกระทบทางสังคม ได้แก่ เปลี่ยนแปลงทางด้านอาชีพ การเปลี่ยนสู่สังคมเมือง ระบบนายทุน การแย่งชิงทรัพยากรในพื้นที่


การพัฒนาระบบสืบค้นข้อมูลการจัดการลดน้ำสูญเสียของการประปาส่วนภูมิภาคด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์บนเว็บ, วราภรณ์ เพชรปฐมชล Jan 2018

การพัฒนาระบบสืบค้นข้อมูลการจัดการลดน้ำสูญเสียของการประปาส่วนภูมิภาคด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์บนเว็บ, วราภรณ์ เพชรปฐมชล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบสืบค้นสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่แสดงผลบนเว็บ เพื่อสนับสนุนการวางแผนและจัดการลดน้ำสูญเสียของการประปาส่วนภูมิภาค โดยเลือกใช้ข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ของการประปาส่วนภูมิภาคสาขามวกเหล็ก และซอฟต์แวร์รหัสเปิดในการพัฒนาระบบซึ่งสามารถทำงานบนเว็บเบราว์เซอร์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ระบบสืบค้นฯ ประกอบด้วยสถาปัตยกรรม 3 ส่วน ได้แก่ ส่วน client ส่วน web server และส่วน database server ผู้ใช้งานสามารถโต้ตอบกับระบบด้วยการคลิกเลือกเครื่องมือที่ต้องการ ประกอบด้วย เครื่องมือจัดการแผนที่ เครื่องมือระบุข้อมูล (identify) เครื่องมือสอบถามข้อมูล (ad-hoc query) เครื่องมือสืบค้นข้อมูลตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ก่อนหน้า (pre-defined query) ได้แก่ ข้อมูลแนวท่อ ข้อมูลมาตรวัดน้ำที่มีการใช้น้ำผิดปกติ ข้อมูลจุดซ่อมท่อ ข้อมูลการใช้น้ำภายในขอบเขตพื้นที่จ่ายน้ำย่อย และข้อมูลน้ำสูญเสีย ซึ่งสามารถส่งออกผลลัพธ์ในรูปแบบตารางได้ ผลการศึกษาพบว่า ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์บนเว็บที่พัฒนาขึ้นนี้ ผู้ใช้งานสามารถนำข้อมูลไปใช้สนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารจัดการลดน้ำสูญเสียของการประปาส่วนภูมิภาคได้เป็นอย่างดี บุคลากรในหน่วยงานสามารถเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ได้โดยง่าย โดยที่ผู้ใช้งานไม่ต้องมีความเชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์หรือระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เป็นพื้นฐาน ทำให้ช่วยลดระยะเวลาในการดำเนินงาน และมีความสะดวกมากขึ้นในการดำเนินงาน


การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์การขององค์การภาครัฐไทยภายใต้บริบทไทยแลนด์ 4.0: ศึกษากรณี สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.), ธัญสินี ศรีอนุสรณ์วงษ์ Jan 2018

การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์การขององค์การภาครัฐไทยภายใต้บริบทไทยแลนด์ 4.0: ศึกษากรณี สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.), ธัญสินี ศรีอนุสรณ์วงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ประกอบด้วย 1) เพื่อศึกษาการรับรู้วัฒนธรรมองค์การของบุคลากรในสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) ว่ามีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับตัวแบบวิสัยทัศน์เชิงนโยบายไทยแลนด์ 4.0 หรือไม่ อย่างไร และ 2) เพื่อศึกษาปัญหาในการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์การของบุคลากรในสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) ให้เหมาะกับตัวแบบวิสัยทัศน์เชิงนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ผู้ศึกษาเริ่มวิธีดำเนินการศึกษา ครั้งนี้โดยใช้วิธีการศึกษาแบบผสม และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และประเมินผล ผลการศึกษาพบว่า 1) การตอบรับตัวแบบวิสัยทัศน์เชิงนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ช่วยปรับปรุงองค์การให้มีความทันสมัยเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับบริการโดยเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง 2.) การตอบรับตัวแบบวิสัยทัศน์เชิงนโยบายไทยแลนด์ 4.0 เป็นไปเพื่อตอบสนองคำสั่งของรัฐบาล ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมุ่งเน้นไปที่การยกระดับองค์การภาครัฐไทยสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล 3) บุคลากรในสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) เกิดการรับรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์การ ด้วยการปรับเปลี่ยนค่านิยมและพฤติกรรมการทำงาน เนื่องจากเป็นหน่วยงานหลักในองค์การภาครัฐที่มีการขับเคลื่อนด้วยตัวแบบวิสัยทัศน์เชิงนโยบายไทยแลนด์ 4.0 มากที่สุดตามนโยบายรัฐบาล ข้อเสนอแนะจากการศึกษา คือ ผู้บริหารสามารถใช้ประโยชน์จากวิสัยทัศน์เชิงนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ส่งเสริมให้บุคลากรและองค์การสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่วนทางวิชาการควรมีการศึกษาเรื่องการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์การภายใต้บริบทไทยแลนด์ 4.0 ของแต่ละองค์การเพิ่มเติม


การศึกษาการผลิตร่วมในนโยบายพลังงานทดแทนแสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้า : กรณีศึกษา โครงการนำร่องพลังงานแสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้าติดตั้งบนหลังคาอย่างเสรี, นวลประกาย เลิศกิรวงศ์ Jan 2018

การศึกษาการผลิตร่วมในนโยบายพลังงานทดแทนแสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้า : กรณีศึกษา โครงการนำร่องพลังงานแสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้าติดตั้งบนหลังคาอย่างเสรี, นวลประกาย เลิศกิรวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์มุ่งศึกษาโครงการนำร่องพลังงานแสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้าติดตั้งบนหลังคาอย่างเสรี พ.ศ. 2559 ในนโยบายพลังงานทดแทนของกระทรวงพลังงาน 2 ประเด็น คือ 1) ศึกษาการผลิตร่วมในการบริการสาธารณะ 2) ศึกษาอุปสรรคและแนวทาง การพัฒนาโครงการ โดยมีการเก็บข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ได้แก่ เจ้าหน้าที่รับผิดชอบโครงการของการไฟฟ้านครหลวง และ ประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการประเภทบ้านเรือนร้อยละ 86.08 ของผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมดในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ โดยผลการศึกษามีดังนี้ 1) โครงการนำร่องพลังงานแสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้าติดตั้งบนหลังคาอย่างเสรีเป็นการผลิตร่วมตามแนวคิดการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ ซึ่งต่างจากการการผลิตร่วมด้านการศึกษาและด้านสาธารณสุขในแนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่หรือธรรมาภิบาลภาครัฐใหม่ โดยแนวคิดการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่มองว่าประชาชนเป็นลูกค้า ในขณะที่แนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่หรือธรรมาภิบาลภาครัฐใหม่มองว่าประชาชนเป็นมากกว่าหุ้นส่วน 2) อุปสรรคสำคัญของการผลิตร่วมในโครงการนำร่อง คือ ประชาชนเข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนน้อย และขาดการมีส่วนร่วมในการจัดทำบริการสาธารณะ หน่วยงานของรัฐควรส่งเสริมมาตรการจูงใจให้ประชาชนเป็นผู้ผลิตและผู้ใช้ไฟฟ้าด้วยตนเองหรือควรผลักดันให้ประชาชนเกิดความร่วมมือในการจัดทำบริการสาธารณะร่วมกับหน่วยงานของรัฐ เพื่อก่อให้เกิดการรับผิดชอบร่วมกันซึ่งจะนำไปสู่การมีพลังงานอย่างยั่งยืน


โลกาภิบาลมาตรฐานอาหาร : กรณีศึกษามาตรฐานข้าวอินทรีย์ไทย, ไพลิน กิตติเสรีชัย Jan 2018

โลกาภิบาลมาตรฐานอาหาร : กรณีศึกษามาตรฐานข้าวอินทรีย์ไทย, ไพลิน กิตติเสรีชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์สามประการ ประการแรก เพื่อคลี่คลายให้เห็นถึงการทำงาน ของกระบวนการโลกาภิบาลมาตรฐานอาหาร โดยมีกรณีศึกษาคือมาตรฐานข้าวอินทรีย์ โดยศึกษาในแง่ของที่มา ตัวแสดง ที่เกี่ยวข้อง ที่มาของสิทธิอำนาจ ตลอดจนปฏิสัมพันธ์ของตัวแสดงเหล่านั้น ประการที่สอง คือเพื่อศึกษารูปแบบการ อภิบาลมาตรฐานข้าวอินทรีย์ในประเทศไทย โดยศึกษาเชื่อมโยงกับกระบวนการโลกาภิบาลมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และ ประการสุดท้ายคือเพื่อทำความเข้าใจกับปัญหาและอุปสรรคของการอภิบาลมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในไทย และ เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหา วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้การวิจัยเชิงเอกสาร และการ สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักที่เกี่ยวข้อง จากการวิจัยได้ข้อค้นพบว่า การริเริ่มการทำเกษตรอินทรีย์เกิดขึ้นจากตัวแสดงที่ไม่ใช่ รัฐที่เล็งเห็นปัญหาของการเกษตรแบบสมัยใหม่ จากนั้นจึงเกิดการรวมตัว สร้างเครือข่ายระหว่างประเทศจนเกิดเป็น องค์กรระหว่างประเทศนอกภาครัฐอย่างสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ หรือ IFOAM ที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการ โลกาภิบาลมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ถึงแม้ว่า IFOAM จะไม่ได้มีสิทธิอำนาจบังคับเหมือนรัฐ และไม่ได้มีอำนาจในเชิง เศรษฐกิจเหมือนบรรษัทข้ามชาติทั้งหลาย แต่ IFOAM คือชุมชนองค์ความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ ที่ถือครอง ‘สิทธิอำนาจเชิง ความรู้' และสิทธิอำนาจดังกล่าวได้ทำงานผ่านกระบวนการโลกาภิบาลในสามมิติ ได้แก่ มิติของการวางระเบียบกฎเกณฑ์ มิติของการแข่งขันเชิงความรู้ และมิติของการเสริมพลังอำนาจ ในกรณีของประเทศไทย การอภิบาลมาตรฐานเกษตร อินทรีย์แสดงให้เห็นถึงการขัดกันของสถาบันที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ การขาดความร่วมมือระหว่างภาครัฐและ เอกชนจึงเป็นปัญหาสำคัญในการพัฒนากระบวนการอภิบาลมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในประเทศไทย


การปฏิรูปกระบวนการนโยบายต่างประเทศของจีนในสมัชชา 18, กิตติพศ พุทธิวนิช Jan 2018

การปฏิรูปกระบวนการนโยบายต่างประเทศของจีนในสมัชชา 18, กิตติพศ พุทธิวนิช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เสนอว่า เหตุผลสำคัญที่ทำให้สมัชชา 18 ต้องทำการปฏิรูปกระบวนการนโยบายต่างประเทศของจีนที่เเต่เดิมเป็นเเบบกระจายตัวให้มีการรวมศูนย์เข้าสู่ส่วนกลางมากขึ้น คือ เเบบแผนใหม่ทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ และนโยบายหันกลับสู่เอเชียของสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ การปฏิรูปกระบวนการนโยบายต่างประเทศของสมัชชา 18 เป็นการปฏิรูปอย่างรอบด้าน ทั้งในระดับรัฐบาลกลาง รัฐบางท้องถิ่น และกองทัพ โดยในระดับรัฐบาลกลาง ความเปลี่ยนเเปลงสำคัญคือการเปลี่ยนเเปลงบทบาทของกลุ่มผู้นำย่อย การประกาศใช้เเผนยุทธศาสตร์เเห่งชาติด้านการต่างประเทศ เเละการสร้างกรอบความร่วมมือใหม่ทับลงไปในกรอบความร่วมมือเดิม ในระดับรัฐบาลท้องถิ่น ความเปลี่ยนเเปลงสำคัญคือ การใช้มาตรการทางการคลัง การใช้ระบบการเเบ่งหน้าที่ตามพื้นที่ เเละการเปลี่ยนเเปลงหน้าที่ของสำนักการต่างประเทศส่วนท้องถิ่น เเละในระดับกองทัพ ความเปลี่ยนเเปลงสำคัญคือ การปฏิรูปกองทัพให้คณะกรรมาธิการทหารส่วนกลางมีอำนาจที่เเท้จริงในการบัญชาการกองทัพ เเละการใช้เเนวคิดยุทธศาสตร์สามสงครามเพื่อบูรณาการฝ่ายพลเรือนเเละฝ่ายทหาร ทั้งหมดนี้ ทำให้กระบวนการนโยบายต่างประเทศของจีนมีความเป็นเอกภาพมากขึ้น เพื่อที่สมัชชา 18 จะสามารถจัดการกับปัญหาทั้งสามข้อข้างต้นได้อย่างรอบด้าน


ความคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตยในประเทศไทยจนถึง พ.ศ. 2475 : การก่อรูป, การประชันความหมาย และการผสมผสาน, เพิ่มศักดิ์ จะเรียมพันธ์ Jan 2018

ความคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตยในประเทศไทยจนถึง พ.ศ. 2475 : การก่อรูป, การประชันความหมาย และการผสมผสาน, เพิ่มศักดิ์ จะเรียมพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีคำถามหลักในการศึกษาว่า ความคิด “ประชาธิปไตย” (Democracy) ในฐานะความคิดการเมืองตะวันตก เริ่มเข้ามาในสังคมไทยในยุคสมัยใด และมีการรับรู้เข้าใจในรูปแบบใดบ้างจนถึง พ.ศ. 2475? ผลการศึกษาพบว่า ความคิด "ประชาธิปไตย" (Democracy) เริ่มเข้ามาสู่ในสังคมไทยตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา จนถึง พ.ศ. 2475 มีการรับรู้เข้าใจในสังคมอย่างน้อยห้ารูปแบบด้วยกัน ได้แก่ (1) รูปแบบการปกครองที่ไม่มีกษัตริย์หรือมหาชนรัฐ (2) องค์ประกอบหนึ่งของระบอบการปกครอง (3) การปกครองของเอเธนส์โบราณ (4) การปกครองในรูปแบบตัวแทน และ (5) อำนาจของประชาชน มากไปกว่านั้น ผลการวิจัยยังชี้ให้เห็นว่า ความหมายของประชาธิปไตยนั้นมีลักษณะที่ขัดแย้งกันอยู่ในตัวเอง และเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่นำไปสู่ความขัดแย้งทางทฤษฎีและปฏิบัติการทางการเมืองตราบจนถึงปัจจุบัน


ขบวนการแรงงานกับการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา, ค.ศ. 1988-2018, ณัฐพล ตันตระกูลทรัพย์ Jan 2018

ขบวนการแรงงานกับการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา, ค.ศ. 1988-2018, ณัฐพล ตันตระกูลทรัพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้ต้องการทำความเข้าใจกับกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยในพม่าและผลต่อขบวนการแรงงาน โดยเฉพาะในช่วงปี 1988-2018 โดยมีคำถามสำคัญของงานวิจัยคือ ขบวนการแรงงานพม่ามีบทบาทและการเปลี่ยนแปลงอย่างไรในช่วงระยะการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย โดยปัจจัย เงื่อนไข และกระบวนการก่อตัวของขบวนการแรงงานดังกล่าวนี้ จะเป็นกรณีศึกษาของการวิเคราะห์กระบวนการประชาธิปไตยที่กำลังดำเนินอยู่ในพม่าด้วย ภายใต้ทิศทางการวิจัยดังกล่าว ผู้วิจัยได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยที่สำคัญ ได้แก่ การสำรวจเอกสารทั้งข่าวความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับปรากฎการณ์ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนงานวิชาการที่มีการศึกษาก่อนหน้า รวมถึงใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 16 คน เพื่อทำความเข้าใจปรากฎการณ์ในเชิงลึก ตรวจสอบข้อมูล และสร้างการเชื่อมโยงที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบ Protest event analysis (PEA) ในการวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของขบวนการแรงงานเพื่อช่วยในการตีความข้อมูลและพัฒนาข้อสรุปของงานวิจัย จากการวิจัยพบว่า ขบวนการแรงงานพม่าได้ก่อตัวขึ้นอีกครั้งในช่วงเวลาที่ศึกษา หากแต่ไม่ได้ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยที่กำลังเกิดขึ้น การขับเคลื่อนของขบวนการแรงงานมีแนวโน้มตกอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐหรือเรียกว่าเป็น "ขบวนการแรงงานที่ถูกรัฐกลืน" ซึ่งทำให้การขับเคลื่อนของขบวนการฯไม่สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการเมืองได้ หากแต่ขบวนการที่ก่อตัวขึ้นก็สามารถเข้าไปมีบทบาทในกระบวนการนโยบาย ในฐานะโครงสร้างเชิงสถาบันที่รัฐสร้างขึ้น ซึ่งเป็นช่องทางและโอกาสสำคัญในการเรียกร้องและปกป้องสิทธิของตน ลักษณะของขบวนการแรงงานดังกล่าวสะท้อนลักษณะของภาคประชาสังคมพม่าในช่วงการเปลี่ยนผ่านเช่นกัน ที่แม้จะกลับมามีบทบาทอีกครั้งในช่วงการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย หากแต่เป็นบทบาทที่ค่อนข้างจำกัด ขาดลักษณะการขับเคลื่อนทางการเมือง และไม่ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์เชิงอำนาจในโครงสร้างการเมือง


นโยบายและการปฏิบัติในการปฏิรูปโครงสร้างระบบราชการ : กรณีศึกษากรมทางหลวง, ศกลรัตน์ จิรรุ่งเรืองวงศ์ Jan 2018

นโยบายและการปฏิบัติในการปฏิรูปโครงสร้างระบบราชการ : กรณีศึกษากรมทางหลวง, ศกลรัตน์ จิรรุ่งเรืองวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้อำนาจของข้าราชการในกระบวนการปฏิรูประบบราชการ และปัจจัยที่ส่งผล เพื่ออธิบายการขยายอาณาเขตของระบบราชการไทยจากผลของนโยบายการปฏิรูปที่ต้องการจำกัดอาณาเขตของระบบราชการ โดยเลือกใช้กรณีศึกษาการปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการของกรมทางหลวงในช่วงปี พ.ศ. 2545 - 2559 การศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบคุณภาพโดยใช้วิธีการศึกษาเอกสาร และเก็บข้อมูลการด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากข้าราชการในกรมทางหลวงในฐานะตัวแสดงที่เป็นผู้ชนะในการต่อสู้ทางอำนาจในกระบวนการปฏิรูประบบราชการ ผลการศึกษาพบว่า นโยบายที่ต้องการควบคุมจำนวนข้าราชการเพื่อให้สามารถยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จำเป็นในภายหลังได้โดยไม่ต้องทำการเลิกจ้าง ได้ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของข้าราชการระดับสูงและความต้องการจัดตั้งหน่วยงานใหม่เพื่อเพิ่มตำแหน่งบริหาร อันทำให้ระบบราชการขยายตัวขึ้น นำมาสู่ความต้องการควบคุมจำนวนข้าราชการต่อมาเป็นวงจร โดยข้าราชการมีวิธีการใช้อำนาจเพื่อบรรลุเป้าหมาย คือ การดำรงตำแหน่งทางการในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูประบบราชการ, การใช้จังหวะเวลาด้วยการกระทำในสิ่งที่แก้ไขภายหลังได้ยากและการถ่วงเวลา, การสร้างความมีเหตุผลแก่ข้อเสนอในการขยายขอบเขตของหน่วยงาน, การควบคุมข้อมูลและการสื่อสารที่อาจส่งผลลบต่อหน่วยงาน และ การใช้ความสามารถส่วนบุคคลในการผลักดันข้อเสนอของตนเอง ทั้งนี้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้อำนาจนั้น คือ การที่นโยบายในการปฏิรูปไม่มีความแน่ชัดในจุดประสงค์และวิธีการ, กลไกควบคุมและประเมินผลการปฏิรูปไม่มีประสิทธิภาพ, วัฒนธรรมองค์การไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการปฏิรูป และการขาดเสถียรภาพทางการเมือง


บทบาทของตัวแสดงภายในประเทศที่ไม่ใช่รัฐกับนโยบายด้านเศรษฐกิจของไทยต่อลาว, ศิริสุดา แสนอิว Jan 2018

บทบาทของตัวแสดงภายในประเทศที่ไม่ใช่รัฐกับนโยบายด้านเศรษฐกิจของไทยต่อลาว, ศิริสุดา แสนอิว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาบทบาทของตัวแสดงภายในประเทศที่ไม่ใช่รัฐกับนโยบายด้านเศรษฐกิจของไทยต่อลาวในงานวิจัยชิ้นนี้ เป็นการตอบคำถามว่า ตัวแสดงภายในประเทศที่ไม่ใช่รัฐใดที่มีบทบาทในการผลักดันการขับเคลื่อนและการกำหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจของไทยต่อลาว กรณีศึกษานโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจเมืองชายแดนไทย-ลาว โดยทำการศึกษาเมืองชายแดนไทย-ลาว ทั้งที่เป็นเมืองคู่แฝดทางเศรษฐกิจที่มีการสถาปนาความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการ ได้แก่ จังหวัดมุกดาหาร-แขวงสะหวันนะเขต และเมืองชายแดนไทย-ลาว ที่มิได้เป็นเมืองคู่แฝดทางเศรษฐกิจ ได้แก่ จังหวัดหนองคาย-นครหลวงเวียงจันทน์ และจังหวัดน่าน-แขวงไชยะบุลี เพื่อให้เห็นถึงศักยภาพของตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินการนโยบายด้านเศรษฐกิจของไทยต่อลาวในระดับพื้นที่/ระดับท้องถิ่น ข้อค้นพบจากการวิจัยครั้งนี้ พบว่า เมื่อพิจารณาบริบทของพื้นที่ประกอบกับบทบาทของตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐในการผลักดันการขับเคลื่อนนโยบายและการกำหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจของไทยต่อลาว ในระดับท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ทั้ง 3 พื้นที่ตัวอย่าง แสดงให้เห็นว่า เมืองชายแดนที่มีศักยภาพที่จะเป็นจุดขับเคลื่อนนโยบายด้านเศรษฐกิจที่สะท้อนถึงความสัมพันธ์ไทย-ลาว ได้คือ จังหวัดมุกดาหารและจังหวัดหนองคาย เนื่องจากทั้งสองจังหวัดมีบริบทในเชิงพื้นที่ที่ใกล้เคียงกัน กล่าวคือ ฝั่งตรงข้ามของทั้งสองจังหวัดมีความเป็นเมืองที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเช่นกันและเป็นแขวงที่สำคัญทางเศรษฐกิจของลาว นั่นคือ แขวงสะหวันนะเขตและนครหลวงเวียงจันทน์ ด้วยทำเลที่ตั้ง และการมีโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญคือ สะพานข้ามแม่น้ำโขงไทย-ลาว เหมือนกัน ทำให้เอื้อต่อการมีบทบาทของตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐในด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับลาว โดยเฉพาะตัวแสดงภาคเอกชนของทั้งสองจังหวัด ส่วนทางด้านจังหวัดน่าน ซึ่งฝั่งตรงข้ามคือแขวงไชยะบุลีนั้นยังมีขนาดเศรษฐกิจที่เทียบกับทั้งสองแขวงที่กล่าวมาไม่ได้ อีกทั้ง สภาพพื้นที่ที่เชื่อมต่อระหว่างกันเป็นเขตพื้นที่ป่าและฝั่งไทยเป็นเขตป่าสงวน ทำให้ตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐในท้องถิ่นมีบทบาทในการขับเคลื่อนและกำหนดนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจเมืองชายแดนไทย-ลาว อย่างจำกัด อันเนื่องมาจากนัยยะเชิงพื้นที่ที่มีความแตกต่างกันดังที่กล่าวมา และเมื่อวิเคราะห์เมืองชายแดนไทย-ลาวที่มีศักยภาพที่จะเป็นจุดขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย-ลาว นั่นคือ จังหวัดมุกดาหารและจังหวัดหนองคาย ผลการศึกษา สะท้อนให้เห็นว่า ตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐที่มีความเข้มแข็งและมีบทบาทในการผลักดันการขับเคลื่อนและการกำหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจของไทยต่อลาว ได้แก่ ตัวแสดงภาคเอกชนโดยเฉพาะหอการค้าจังหวัด โดยใช้สถานะ/ตำแหน่งในคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัด (กรอ.จังหวัด) และคำนึงถึงผลประโยชน์ทางด้านการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ ด้วยการใช้ทรัพยากรนโยบายที่เป็นจุดเด่นของภาคเอกชน คือ ทรัพยากรข้อมูลข่าวสาร ความรู้เชิงลึกในพื้นที่ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์เกี่ยวกับเศรษฐกิจในท้องถิ่น รวมถึงทรัพยากรองค์การที่ภาคเอกชนมีทั้งกับเครือข่ายภาคเอกชนส่วนกลาง โดยเฉพาะสภาหอการค้าไทย และเครือข่ายกับนักธุรกิจลาวที่เป็นคู่ค้าทางธุรกิจ เพื่อสนับสนุนตัวแสดงภาครัฐส่วนภูมิภาคในการขับเคลื่อนนโยบายจากส่วนกลาง ทำให้จัดเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแบบหุ้นส่วน อีกทั้ง เมื่อทำการประเมินอิทธิพลและความสำคัญของตัวแสดงภาคเอกชนในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแล้ว ตัวแสดงภาคเอกชนในพื้นที่มีความสำคัญในระดับสูงจากการดำรงตำแหน่งคณะกรรมการในกรอ.จังหวัด ในขณะที่ทางด้านอิทธิพลของตัวแสดงภาคเอกชน ในส่วนของหอการค้าจังหวัด พบว่า อยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับตัวแสดงภาคเอกชนอื่นๆ ที่เพิ่งเริ่มก่อตั้ง และตัวแสดงกลุ่มนักวิชาการ โดยความสำคัญและอิทธิพลของตัวแสดงภาคเอกชนดังกล่าวส่งผลต่อความสำเร็จในการผลักดันการกำหนดนโยบายผ่านข้อเรียกร้องทางเศรษฐกิจที่เกิดจากปัญหาในพื้นที่หรือการค้าชายแดนไทย-ลาว อาทิ ตัวแสดงภาคเอกชนในจังหวัดมุกดาหารนำโดยหอการค้าจังหวัด สามารถผลักดันข้อเรียกร้องเชิงนโยบายในการขอเปิดจุดผ่อนปรนการค้าไทย-ลาวเพิ่ม และการเสนอให้รัฐบาลปรับเปลี่ยนเงื่อนไขสิทธิประโยชน์แก่ผู้ที่จะมาลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร รวมถึงผลักดันการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะโครงการจัดตั้งสนามบินมุกดาหาร ส่วนบทบาทของตัวแสดงภาคเอกชนในจังหวัดหนองคายนั้น หอการค้าจังหวัดหนองคายสามารถรวมตัวกับตัวแสดงภาคเอกชนในกลุ่มจังหวัด อาทิ หอการค้าจังหวัดอุดรธานี เพื่อแก้ไขปัญหาการค้าชายแดนไทย-ลาว จากการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 10 ของลาวในปีพ.ศ. 2558 ซึ่งจากความพยายามแก้ไขปัญหาของตัวแสดงภาคเอกชนในพื้นที่ส่งผลให้สถานการณ์กลับมาสู่ภาวะปกติได้ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2561


บทบาทของศาลรัฐธรรมนูญในการเมืองไทย (พ.ศ. 2541-2557), ชาย ไชยชิต Jan 2018

บทบาทของศาลรัฐธรรมนูญในการเมืองไทย (พ.ศ. 2541-2557), ชาย ไชยชิต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาวิเคราะห์ถึงบทบาทหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญไทยในช่วงเวลานับแต่ปี 2541 ถึงปี 2557 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่ออธิบายว่าการจัดตั้งสถาบันทางการเมืองรูปแบบใหม่นี้ขึ้นมาในโครงสร้างระบอบการเมืองของไทย ส่งผลให้กระบวนการทางการเมืองโดยรวมมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปจากในช่วงก่อนหน้านั้นอย่างไร การศึกษาวิเคราะห์รายละเอียดเนื้อหาคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในช่วงเวลาดังกล่าว จำนวน 677 คำวินิจฉัย พบว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลต่อการใช้อำนาจขององค์กรต่าง ๆ ได้แก่ รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาลต่าง ๆ รวมถึงองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญมีบทบาทในการวินิจฉัยข้อพิพาททางรัฐธรรมนูญหลายลักษณะ ได้แก่ การโต้แย้งปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแบบนามธรรมในช่วงก่อนและหลังกฎหมายประกาศใช้ การตั้งข้อกังขาเกี่ยวกับปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายที่ใช้พิพากษาคดีในศาล ข้อขัดแย้งเรื่องอำนาจขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ การตีความรัฐธรรมนูญ รวมถึงปัญหาความถูกต้องสมบูรณ์ตามเงื่อนไขรัฐธรรมนูญของการดำรงตำแหน่งสาธารณะ การดำเนินกิจการพรรคการเมืองและกระบวนการทางการเมือง การทำหน้าที่ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญมีบทบาทในฐานะสถาบันที่ทำหน้าที่พิทักษ์ความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ


Factors Affecting Employment Generation Rate And Sales Growth Rate : A Case Study Of Bangladeshi Firms, Sakhawat Islam Jan 2018

Factors Affecting Employment Generation Rate And Sales Growth Rate : A Case Study Of Bangladeshi Firms, Sakhawat Islam

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Bangladesh has shown significant improvement to develop its economy over the past decades. It is one of the developing countries which is an excellent example to the policymakers and specialists working in development sectors. Moreover, the significant contribution was made by firms running the business in Bangladesh to gain this success. This study examines few factors which include the gender of the owner of the organizations, the characteristics of the organizations, possible obstacles faced by and the preferred sources of capital to run the business by the firms, employees employed in the year of 2002 and 2005, and their annual …


Expenditure Patterns Of Households Receiving Remittances In Thailand, Sha Ma Jan 2018

Expenditure Patterns Of Households Receiving Remittances In Thailand, Sha Ma

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This article, through the data of the Statistics Bureau of Thailand in 2007 and 2015, examines whether remittances brought about by economic migration will affect household expenditure patterns. This study includes three expenditure patterns: education expenditure, housing expenditure, food and beverage expenditure. The result shows remittances have no effect on housing expenditures. Families receiving remittances, the non-poor households pay more on education than the poor households. And poor households always have more expenditure on food and beverage than non-poor households.


Education And Identity Of Myanmar Migrant Children In Samut Sakhon Province, Shan Li Jan 2018

Education And Identity Of Myanmar Migrant Children In Samut Sakhon Province, Shan Li

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purpose of this research is to explore the educational status and identity of Myanmar migrant children in Samut Sakhon Province and to analyze the different roles and influences of formal and informal educational models on these children's identity. For Myanmar migrant children who live in Thailand, due to their living environment are different from their parents, they seem to face identity challenges. The analysis of the identifying characteristics of Myanmar migrant children is not only contributing to the understanding of the current situation of Myanmar migrant children in Thailand but also can broaden the understanding about the factors that …


New Chinese Migrants Enterpruner In Thailand: The Case Study Of Jong-Thai Jianming Eiw Ea (Group) Co., Ltd., Yuge Liu Jan 2018

New Chinese Migrants Enterpruner In Thailand: The Case Study Of Jong-Thai Jianming Eiw Ea (Group) Co., Ltd., Yuge Liu

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The study of the overseas Chinese in Thailand has been broadly conducted by many scholars. However, such have mainly focused on the overseas Chinese who came from the southeastern part of China, as they were the major part of the Chinese migrants to the Southeast Asian region from the ancient to modern times, and today they still play a great role in this region. Major themes in these studies include the identification of the Chinese migrants (who they were or where they had come from), various Chinese associations, big families of Chinese entrepreneurs and etc. On the contrary, the study …


The Effect Of Tranforming From A Colony To A Nation-State On Chinese Diaspora Identity In Southeast Asia : Case Study Of The Chinese Emigration From The Malay Peninsula, 1945-1979, Huiwen Xue Jan 2018

The Effect Of Tranforming From A Colony To A Nation-State On Chinese Diaspora Identity In Southeast Asia : Case Study Of The Chinese Emigration From The Malay Peninsula, 1945-1979, Huiwen Xue

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

During the period between 1945 and 1979, the Malay Peninsula was under a chaotic and turbulent social situation. Decolonization, ideological confrontation, and ethnic conflict all happened in this period. This research adopts the documentary research method to analyze how the turbulent social situation affected Chinese society in Malaya/Malaysia and how the problems that the ethnic Chinese of the Malay Peninsula faced affected the Chinese emigration from the Malay Peninsula. During the anti-colonial period, part of the ethnic Chinese of Malaya identified with China and sympathized with the Chinese Communist Party. Hence, China was the most important destination for them. Afterward, …


Roles Of Actors In The Development Of Organic Farming In Baan Non-Yang, Amphoe Kud-Chum, Yasothon Province, Yan-Ting Huang Jan 2018

Roles Of Actors In The Development Of Organic Farming In Baan Non-Yang, Amphoe Kud-Chum, Yasothon Province, Yan-Ting Huang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Organic agriculture in Thailand has been shaped by the agency factors with contestation on development in structural contexts since the 1970s. It emerged and developed as a part of alternative agriculture movement, and transformed in dynamic contexts with involvement of various actors. Organic farming in Non-Yang community can be perceived as the microcosm of the development. POs, NGOs, GOs and private sectors are involved into the community as actors of organic farming network. With negotiation and cooperation in the network, the movement has persisted and become viable until today. The thesis was conducted with a stakeholder analysis on the case …


Tea Culture Tourism In Southeast Asia : A Comparative Study Of Mae Salong In Thailand And Thai Nguyen In Vietnam, Yanling Guo Jan 2018

Tea Culture Tourism In Southeast Asia : A Comparative Study Of Mae Salong In Thailand And Thai Nguyen In Vietnam, Yanling Guo

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study attempts to explore the development of tea planting and producing, and tea culture tourism in Mae Salong in Thailand and Thai Nguyen in Vietnam. The findings reveal that tea planting in Mae Salong is derived from KMT villagers in northern Thailand who initially planted tea for livelihood, later developed as a cash crop for substituting opium and reducing soil erosion under the cooperation between the Royal Project and Taiwanese organizations. Nowadays, tea in Mae Salong is selected as "OTOP" and marketed as tourism resources to attract tourists. The tea culture tours in Mae Salong are usually organized with …


The Role Of Consumer Determinants In The Relationship Between Brand Equity And Behavioral Intentions, Hanh Tran Thi My Jan 2018

The Role Of Consumer Determinants In The Relationship Between Brand Equity And Behavioral Intentions, Hanh Tran Thi My

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purpose of this study is to examine the relationship between brand equity and behavioral intentions (i.e., repurchase, recommend) as well as the moderating role of consumer determinants (i.e., trust, satisfaction, perceived electronic word-of-mouth) in this relationship within hedonic and utilitarian high-involvement product settings. The study employs a quantitative approach in which the cross-sectional survey was made to collect the data in Bangkok, Thailand. A total of 423 target samples aged from 18 to 25, studying and/or working in inner areas, were collected. The findings illustrate that brand equity is positively related to behavioral intentions in both contexts. Additionally, trust, …


The Relationship Between Facebook Users' Motivation On Environmental Issues, Environmental Awareness And Behavioral Tendency In Vietnam, Linh Nguyen Ba Tue Jan 2018

The Relationship Between Facebook Users' Motivation On Environmental Issues, Environmental Awareness And Behavioral Tendency In Vietnam, Linh Nguyen Ba Tue

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objectives of this research were to study the Facebook users' motivation on environmental issues, their environmental awareness and behavioral tendency in Vietnam and to explore the relationship among these three variables. Three social media influencers who had more than 10,000 followers on their Facebook profiles, demonstrated open, explicit environmentally-friendly lifestyle and achieved certain media recognition were invited to join in-depth interviews. Four hundred and fifty eight Vietnamese male and female respondents, aged between 18 and 45 years old and currently residing in Vietnam, were asked to complete an online and offline questionnaire survey. The results depicted that the respondents …


จีนกับการใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจในการเจรจาต่อรอง: ศึกษากรณีญี่ปุ่นและไต้หวัน, ชินดนัย ธีระพันธุ์พิเชฏฐ์ Jan 2018

จีนกับการใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจในการเจรจาต่อรอง: ศึกษากรณีญี่ปุ่นและไต้หวัน, ชินดนัย ธีระพันธุ์พิเชฏฐ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาชิ้นนี้นำเสนอการใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจของจีนในการต่อรองระหว่างประเทศ ซึ่งมีคำถามสำคัญคือจีนใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจในการต่อรองระหว่างประเทศในเชิงผลประโยชน์หรือเชิงยุทธศาสตร์อย่างไร และการใช้เครื่องมือนี้ส่งผลอย่างไร โดยจะชี้ให้เห็นว่าในเบื้องต้นจีนได้ใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจเพื่อพัฒนาประเทศไปสู่การเรืองอำนาจโดยสันติ การพัฒนานี้ทำให้จีนกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในภายหลัง และยังสร้างคุณูปการทางเศรษฐกิจกับชาติต่างๆทำให้ชาติต่างๆเข้ามาพึ่งพาทางเศรษฐกิจกับจีน เมื่อเกิดการพึ่งพาที่ไม่เท่าเทียมกันเช่นนี้ จีนได้ใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจเพื่อต่อรองเมื่อเกิดความขัดแย้งกับประเทศคู่พิพาท การศึกษาชิ้นนี้ได้หยิบยกญี่ปุ่นขึ้นมาเป็นกรณีศึกษาโดยชี้ให้เห็นว่าการที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นพึ่งพาสินแร่ที่มีธาตุโลหะหายากจากจีนนั้น การพึ่งพาที่ไม่เท่าเทียมกันได้ทำให้จีนใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจในการต่อรองเมื่อเกิดข้อพิพาทเกาะเซนกากุ/เตียวหยูเพื่อให้ญี่ปุ่นปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของจีน การศึกษาชิ้นนี้ยังหยิบยกไต้หวันขึ้นมาเป็นกรณีศึกษาโดยชี้ให้เห็นว่าจีนพยายามที่จะใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจภายหลังการเลือกตั้งไต้หวันปี 2000 และปี 2004 และจีนยังให้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจแก่ชาติต่างๆ อันเป็นเครื่องมือในการแข่งขันการแย่งชิงความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างจีนกับไต้หวัน ดังนั้น การพึ่งพาทางเศรษฐกิจกับจีนจึงเป็นทั้งประโยชน์และโทษที่รัฐพึ่งพิงจะต้องระวัง อย่างไรก็ตาม การใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจของจีนก็ไม่ได้ประสบผลสำเร็จตามที่จีนต้องการเสมอไปเพราะการใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจนี้ไม่เพียงก่อให้เกิดทัศนคติที่ไม่ดี แต่ยังชี้ให้เห็นถึงความย้อนแย้งระหว่างการสร้างความหวาดระแวงกับการเรืองอำนาจโดยสันติด้วย


การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพชุดเครื่องมือในการประเมินพัฒนาการทางสมองและระบบประสาท สำหรับเด็กไทยวัย 12 และ 18 เดือน ผ่านพฤติกรรมการมอง, เพลงไพร รัตนาจารย์ Jan 2018

การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพชุดเครื่องมือในการประเมินพัฒนาการทางสมองและระบบประสาท สำหรับเด็กไทยวัย 12 และ 18 เดือน ผ่านพฤติกรรมการมอง, เพลงไพร รัตนาจารย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของชุดเครื่องมือในการประเมินพัฒนาการทางสมองและระบบประสาทสำหรับเด็กไทยผ่านพฤติกรรมการมอง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้คือ เด็กไทยอายุ 12 เดือน จำนวน 30 คน และเด็กไทยอายุ 18 เดือน จำนวน 30 คน จากครอบครัวที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เครื่องมือที่พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพในงานวิจัยนี้ได้แก่ 1.วิธีการแสดงภาพอย่างต่อเนื่อง (Continuous Familiarization) พัฒนาตามแนวคิดของ Rose, Jankowski & Feldman (2002) 2.วิธีการถ่ายทอดข้ามหมวดการรับรู้ (Cross-modal transfer) พัฒนาตามแนวคิดของ Rose, Feldman, Wallance และ McCarton (1991) 3.วิธีการเปรียบเทียบการมองภาพ 2 ภาพ (Visual-paired comparison) พัฒนาตามแนวคิดของ Rose, Feldman และ Jankowski (2001) และ มีการพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของชุดเครื่องมือนี้โดยวิธีการหาความเที่ยงระหว่างผู้ประเมินหรือสังเกตและวัดความตรงตามโครงสร้างในการพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของชุดเครื่องมือในการประเมินพัฒนาการทางสมองและระบบประสาททั้ง 3 การประเมินมีค่าความเที่ยงระหว่างผู้ประเมินในระดับที่สูง (r= .903 -.914) วิธีการแสดงภาพอย่างต่อเนื่องมีความตรงตามโครงสร้างที่วิเคราะห์ค่าสถิติด้วย t-test พบว่าเด็กอายุ 18 เดือนมีความเร็วในการประมวลผลดีกว่าเด็กอายุ 12 เดือน (t = -3.098, p < .005)


ผลของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวการยอมรับและพันธสัญญาต่อความวิตกกังวลทางสังคม ความกลัวการถูกประเมินทางลบ และความยืดหยุ่นทางจิตใจ ในนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีเพศหญิง, ชญานุช ศรีจันทร์ Jan 2018

ผลของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวการยอมรับและพันธสัญญาต่อความวิตกกังวลทางสังคม ความกลัวการถูกประเมินทางลบ และความยืดหยุ่นทางจิตใจ ในนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีเพศหญิง, ชญานุช ศรีจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยแบบกึ่งทดลองชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิผลของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวการยอมรับและพันธสัญญา ต่อความกลัวการถูกประเมินทางลบ ความยืดหยุ่นทางจิตใจ และความวิตกกังวลทางสังคมในนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีเพศหญิง กลุ่มตัวอย่างมีอายุตั้งแต่ 18-23 ปี และมีคะแนนความวิตกกังวลทางสังคมสูงกว่าค่าเฉลี่ย จำนวน 52 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 26 คน และกลุ่มควบคุม 26 คน โดยกลุ่มทดลองจะเข้าร่วมกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวการยอมรับและพันธสัญญา สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ชั่วโมง จำนวน 8 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 16 ชั่วโมง โดยกลุ่มตัวอย่างตอบมาตรวัดความกลัวการถูกประเมินทางลบ (ฉบับย่อ) มาตรวัดการยอมรับและการกระทำในบริบทของความวิตกกังวลทางสังคม และมาตรวัดความวิตกกังวลทางสังคม ทั้งก่อนและหลังการเข้ากลุ่ม และในระยะติดตามผล 2 และ 4 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนามแบบวัดซ้ำและระหว่างกลุ่ม ผลการทดสอบพบว่า 1. หลังการเข้ากลุ่ม และในระยะติดตามผล 2 และ 4 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีคะแนนความกลัวการถูกประเมินทางลบลดลงเมื่อเทียบกับก่อนการเข้าร่วมกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และพบความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มทดลองมีคะแนนความกลัวการถูกประเมินทางลบต่ำกว่ากลุ่มควบคุม ในช่วงหลังการเข้ากลุ่มและระยะติดตามผล 2 สัปดาห์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .017 และในระยะติดตามผล 4 สัปดาห์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 2. หลังการเข้ากลุ่ม และในระยะติดตามผล 2 และ 4 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีคะแนนความยืดหยุ่นทางจิตใจเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนการเข้าร่วมกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในช่วงหลังการเข้ากลุ่มและระยะติดตามผล 2 สัปดาห์ หากแต่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มในระยะติดตามผล 4 สัปดาห์ โดยกลุ่มทดลองมีคะแนนความยืดหยุ่นทางจิตใจสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .017 3. หลังการเข้ากลุ่ม และในระยะติดตามผล 2 และ 4 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีคะแนนความวิตกกังวลทางสังคมลดลงเมื่อเทียบกับก่อนการเข้าร่วมกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในช่วงหลังการเข้ากลุ่ม หากแต่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มในระยะติดตามผล 2 และ 4 สัปดาห์ โดยกลุ่มทดลองมีคะแนนความวิตกกังวลทางสังคมต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001


อิทธิพลของความหมายในชีวิต ต่อการปรับตัวต่อความเจ็บป่วยและภาวะสูญเสียการทำหน้าที่ของอวัยวะทางร่างกายของผู้พิการและญาติผู้ดูแล : การวิจัยแบบผสานวิธี, จุรีรัตน์ นิลจันทึก Jan 2018

อิทธิพลของความหมายในชีวิต ต่อการปรับตัวต่อความเจ็บป่วยและภาวะสูญเสียการทำหน้าที่ของอวัยวะทางร่างกายของผู้พิการและญาติผู้ดูแล : การวิจัยแบบผสานวิธี, จุรีรัตน์ นิลจันทึก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยแบบผสานวิธีเชิงสามเส้าแบบเกิดพร้อมกันนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาอิทธิพลของความหมายในชีวิตต่อการปรับตัวต่อความเจ็บป่วยและการสูญเสียการทำหน้าที่ของอวัยวะทางร่างกายของผู้พิการและญาติผู้ดูแล (2) ศึกษาประสบการณ์ด้านจิตใจเกี่ยวกับความหมายในชีวิตและการปรับตัวต่อความเจ็บป่วยและการสูญเสียการทำหน้าที่ของอวัยวะทางร่างกายของผู้พิการและญาติผู้ดูแล กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นผู้พิการและญาติผู้ดูแล จำนวน 100 คู่ ในการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นผู้เป็นผู้พิการและญาติผู้ดูแล จำนวน 5 คู่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ มาตรวัดความหมายในชีวิตในบริบทเจ็บป่วยพิการ มาตรวัดการปรับตัวต่อความเจ็บป่วยพิการ และแนวคำถามสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการวิเคราะห์โมเดลรายคู่แบบไขว้ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพตามแนวการวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยาเชิงตีความ ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบเฉพาะอิทธิพลตรงของผู้พิการและญาติผู้ดูแลที่แสดงถึงว่าผู้พิการที่มีความหมายในชีวิตสูงจะมีการปรับตัวต่อความเจ็บป่วยและภาวะสูญเสียการทำหน้าที่ของอวัยวะทางร่างกายได้ดี ในทำนองเดียวกันญาติผู้ดูแลที่มีความหมายในชีวิตสูงก็จะมีการปรับตัวได้ดีด้วย แต่ไม่พบอิทธิพลไขว้ของผู้พิการและญาติผู้ดูแลและอิทธิพลร่วมของผู้พิการและญาติผู้ดูแล ส่วนผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า ประสบการณ์ด้านจิตใจของผู้พิการและญาติผู้ดูแลที่ร่วมกันมี 3 ช่วงหลัก ดังนี้ ช่วงที่ 1 ความผันผวนของใจผู้พิการและมารดา ภายหลังประสบอุบัติเหตุปละรับรู้ว่ามีความพิการ ประสบการณ์ที่เกิดร่วมกันของผู้พิการและญาติผู้ดูแลคือ การเผชิญกับความไม่รู้และสงสัยกับความเจ็บป่วยพิการที่เกิดขึ้น ประสบการณ์เฉพาะของผู้พิการในระยะนี้ เป็นปฏิกิริยาต่อการสูญเสียและการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงหลายด้านที่เข้ามาพร้อมๆ กับความเจ็บป่วยพิการ เช่น การไม่ยอมรับความพิการ ความคาดหวังต่อผลการรักษา ด้วยการแสดงออกถึงความไม่เชื่อว่าตนเองจะพิการ การมีความคิดหมกมุ่นนึกถึงสิ่งที่ตนเองสูญเสียไป ความรู้สึกท้อแท้ สิ้นหวัง สำหรับมารดาผู้พิการเป็นการพยายามรวบรวมสติ ปรับเปลี่ยนกิจวัตรและความเคยชินต่างๆเพื่อเข้ามารับบทบาทในการเป็นผู้ดูแล ช่วงที่ 2 ช่วงการเปลี่ยนผ่านสู่การยอมรับความพิการและเริ่มต้นชีวิตอีกครั้ง โดยในส่วนผู้พิการมีตัวจุดชนวนให้เปลี่ยนจากสิ้นหวังเป็นสู้ คือ การมีเพื่อนผู้พิการเป็นตัวแบบ และความรักจากครอบครัว การรีเซ็ตชีวิตใหม่ และตัวช่วยหรือขัดขวางการปรับตัวต่อความเจ็บป่วยพิการ สำหรับมารดาผู้พิการเป็นการคิดทบทวนถึงความพยายามในการหาทางรักษาลูก จนเริ่มยอมรับความพิการของลูก และคอยให้การสนับสนุนความคิด การตัดสินใจของลูก ให้อิสระแก่ลูกในการทำสิ่งที่อยากทำ ช่วงที่ 3 การเติบโต และมองเห็นคุณค่า ความหมายในชีวิตของผู้พิการและมารดา ช่วงนี้เป็นประสบการณ์ที่มีความชัดเจนในผู้พิการ ส่วนในญาติผู้ดูแลจะเป็นความโล่งใจ ความสบายใจที่ผู้พิการดูแลตนเองได้ และตามมาด้วยความรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้ฝ่าฝันความลำบากร่วมกันมา จนกระทั่งลูกสามารถพิสูจน์ว่าพึ่งพาตนเองได้ และเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม


อิทธิพลของการรับรู้ข้อจำกัดในการท่องเที่ยว และการรับรู้ประโยชน์ของการท่องเที่ยวต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวในกลุ่มนักท่องเที่ยวสะพายเป้หญิง : บทบาทของการจัดการกับข้อจำกัดในฐานะ ตัวแปรส่งผ่าน และอิทธิพลกำกับของความมุ่งมั่นในตนเอง, ฐิติวรรณ สีผึ้ง Jan 2018

อิทธิพลของการรับรู้ข้อจำกัดในการท่องเที่ยว และการรับรู้ประโยชน์ของการท่องเที่ยวต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวในกลุ่มนักท่องเที่ยวสะพายเป้หญิง : บทบาทของการจัดการกับข้อจำกัดในฐานะ ตัวแปรส่งผ่าน และอิทธิพลกำกับของความมุ่งมั่นในตนเอง, ฐิติวรรณ สีผึ้ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการรับรู้ข้อจำกัดในการท่องเที่ยว และการรับรู้ประโยชน์ของการท่องเที่ยว ที่ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมการท่องเที่ยว โดยมีการจัดการกับข้อจำกัดเป็นตัวแปรส่งผ่าน และมีความมุ่งมั่นในตนเองเป็นตัวแปรกำกับ ผู้เข้าร่วมการวิจัยในครั้งนี้คือ นักท่องเที่ยวแบบสะพายเป้หญิง ชาวไทย จำนวนทั้งหมด 283 คน ทำมาตรวัดการรับรู้ข้อจำกัดในการท่องเที่ยว มาตรวัดการรับรู้ประโยชน์ของการท่องเที่ยว มาตรวัดการจัดการกับข้อจำกัด มาตรวัดพฤติกรรมการท่องเที่ยว และมาตรวัดความมุ่งมั่นในตนเอง การตรวจสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบตัวแปรส่งผ่านและตัวแปรกำกับ โดยการทดสอบตัวแปรส่งผ่านอย่างมีเงื่อนไข (moderated mediation) ผ่านโปรแกรมเสริม PROCESS ใน SPSS ผลการวิจัยพบว่าการรับรู้ข้อจำกัดในการท่องเที่ยวสามารถทำนายพฤติกรรมการท่องเที่ยวได้ในทิศทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีการจัดการกับข้อจำกัดเป็นตัวแปรส่งผ่านแบบสมบูรณ์ (full mediation) อย่างไรก็ตามผลการวิเคราะห์พบว่าการรับรู้ประโยชน์ของการท่องเที่ยวไม่สามารถทำนายการจัดการกับข้อจำกัดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงสรุปได้ว่าการจัดการกับข้อจำกัดไม่เป็นตัวแปรส่งผ่านระหว่างการรับรู้ประโยชน์ของการท่องเที่ยวและพฤติกรรมการท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังพบว่าความมุ่งมั่นในตนเองไม่มีอิทธิพลกำกับในความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการกับข้อจำกัดและพฤติกรรมการท่องเที่ยวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติอีกด้วย


อิทธิพลของอำนาจและสถานะต่อความเข้าอกเข้าใจผู้อื่น : ความสามารถในการเข้าใจทัศนะผู้อื่นและการแพร่ทางอารมณ์, ณัฐพัชร์ สิมะรังสฤษฏิ์ Jan 2018

อิทธิพลของอำนาจและสถานะต่อความเข้าอกเข้าใจผู้อื่น : ความสามารถในการเข้าใจทัศนะผู้อื่นและการแพร่ทางอารมณ์, ณัฐพัชร์ สิมะรังสฤษฏิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาอิทธิพลของอำนาจและสถานะต่อความเข้าอกเข้าใจผู้อื่น ซึ่งวัดด้วยความสามารถในการเข้าใจทัศนะผู้อื่นและการแพร่ทางอารมณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นิสิต ระดับปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 99 คน กลุ่มตัวอย่างจะถูกสุ่มเข้าเงื่อนไขการทดลอง 4 เงื่อนไขในการวิจัย อันได้แก่ กลุ่มเงื่อนไขอำนาจและสถานะสูง กลุ่มเงื่อนไขอำนาจสูงแต่สถานะต่ำ กลุ่มเงื่อนไขอำนาจต่ำแต่สถานะสูง และกลุ่มเงื่อนไขอำนาจและสถานะต่ำ กลุ่มตัวอย่างที่มีอำนาจสูงจะได้สิทธิ์ในการจัดสรรเงินในกลุ่ม ในขณะที่กลุ่มที่มีอำนาจต่ำจะร่วมการทดลองโดยไม่ได้รับสิทธิ์นั้น ส่วนเงื่อนไขสถานะสูง การตัดสินใจแบ่งเงินของกลุ่มตัวอย่างจะได้รับการยอมรับจากสมาชิกทุกคนในกลุ่ม แตกต่างจากเงื่อนไขสถานะต่ำที่สมาชิกทุกคนไม่ยอมรับการแบ่งเงินของกลุ่มตัวอย่าง จากนั้นให้กลุ่มตัวอย่างดูวิดีทัศน์สื่ออารมณ์กระตุ้นอารมณ์ 4 อารมณ์ คือ สุข เศร้า โกรธและกลัว และวัดการแพร่ทางอารมณ์หลังรับชมวิดีทัศน์ และทำงานจับคู่คำคุณศัพท์ ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณแบบสองทาง (Two-way MANOVA) พบว่า อำนาจและสถานะไม่มีอิทธิพลใดต่อตัวแปรความสามารถในการเข้าใจทัศนะผู้อื่น แต่สถานะมีอิทธิพลทางบวกต่อการแพร่ทางอารมณ์ โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีสถานะสูงได้รับการแพร่ทางอารมณ์สูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีสถานะต่ำทั้งในทุกอารมณ์ที่ระดับ .01