Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 2701 - 2730 of 5570

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

การยกระดับการควบคุมคุณภาพน้ำนมดิบที่ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ, กิตติศักดิ์ อัจฉริยะขจร Jan 2017

การยกระดับการควบคุมคุณภาพน้ำนมดิบที่ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ, กิตติศักดิ์ อัจฉริยะขจร

UNISEARCH (Unisearch Journal)

อาชีพการเลี้ยงโคนมในประเทศไทยได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและเอกชนซึ่งได้มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ. 2558 (กลุ่มสารสนเทศและข้อมูลสถิติ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมปศุสัตว์. 2558) ได้รายงานจำนวนโคนมในประเทศไทยว่ามีทั้งสิ้น509,524 ตัวในจำนวนดังกล่าวเป็นแม่โครีดนมจำนวน 235,829 ตัว ผลิตน้ำนมได้ปี ละ 1,084,162 ตันน้ำนมดิบที่ผลิตได้ส่วนใหญ่ของประเทศมาจากฟาร์มโคนมขนาดเล็กของเกษตรกรรายย่อยจำนวน16,248 ครัวเรือน โดยจะถูกส่งไปรวบรวมยังศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ (Milk Collecting Center)จำนวน 158 แห่งที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ ก่อนที่จะถูกแปรรูป หรือส่งต่อไปยังโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์นมต่อไป ทั้งนี้ คุณภาพของน้ำนมดิบที่ได้มาตรฐานจึงเป็นหัวใจสำคัญในการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์นมต่าง ๆ ซึ่งส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ดังนั้น ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบจึงเป็นจุดแรกที่ต้องทำการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพน้ำนมดิบ ซึ่งประกอบด้วย 1) องค์ประกอบของน้ำนม (Milk composition) เช่น ไขมัน โปรตีน น้ำตาลแล็กโทส เป็นต้น 2) ความปลอดภัย เช่นการปนเปื้อนจุลินทรีย์ สารเคมีต่าง ๆ และ 3) สุขภาพของเต้านมแม่โค หรือ ปัญหาเต้านมอักเสบเช่น การตรวจนับจำนวนเม็ดเลือดขาว (Somatic cell)


การบูรณาการกฎหมายด้านการท่องเที่ยว, อังคณาวดี ปิ่นแก้ว Jan 2017

การบูรณาการกฎหมายด้านการท่องเที่ยว, อังคณาวดี ปิ่นแก้ว

UNISEARCH (Unisearch Journal)

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (tourist industry) มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมากเนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมภาคบริการที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวและนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนในประเทศ อีกทั้งยังสามารถต่อยอดและกระจายรายได้ไปยังธุรกิจ และภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ ไมว่าจะเป็นด้านการขนส่ง การเดินทาง ภาคธุรกิจและการโรงแรม และร้านอาหาร เป็นต้น อันนำไปสู่การจ้างงานและการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตต่อไป ด้วยเหตุนี้ การพัฒนาให้ธุรกิจการท่องเที่ยวของไทยมีความสามารถในการแข่งขันให้ทัดเทียมกับนานาอารยประเทศจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในสภาวการณ์ปัจจุบันที่จะมีการเปิดเสรีทางการค้าและการบริการของกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนความปลอดภัยในชีวิตร่างกาย และทรัพย์สินของนักท่องเที่ยวมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว เพราะความหวาดระแวงหรือหวาดกลัวต่อภัยที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการท่องเที่ยวนั้นย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาพลักษณ์ของประเทศและจำนวนนักท่องเที่ยวที่ประสงค์จะเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย จึงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ปัญหาเรื่องการคุ้มครองนักท่องเที่ยวนั้นยังคงพบได้อยู่เสมอไม่ว่าจะเป็นกรณีนักท่องเที่ยวถูกทำร้ายร่างกาย ถูกชิงทรัพย์ ข่มขืน หรือถูกฆ่า อีกทั้งยังปรากฏกรณีที่นักท่องเที่ยวถูกหลอกลวงให้ซื้้อสินค้า หรือบริการในราคาที่สูงเกินควร การไม่ติดป้ายราคาสินค้าหรือบริการ การเอาเปรียบนักท่องเที่ยว การล่อลวงอันก่อให้เกิดความเสียหายต่าง ๆ แก่นักท่องเที่ยว สิ่งเหล่านี้ล้วนเกี่ยวข้องกับมาตรการทางกฎหมายในการให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองนักท่องเที่ยวซึ่งนับว่าเป็นประเด็นปัญหาที่มีความสำคัญและส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก สำหรับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองนักท่องเที่ยวของประเทศไทยในปัจจุบันนั้น มิได้ถูกบัญัญติไว้เป็นการเฉพาะ หากแต่เป็นการนำกฎหมายที่มีเป็นการทั่วไปมาปรับใช้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ทั้งนี้ กฎหมายที่เกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าวจึงมีอยู่เป็นจำนวนมาก และอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานต่าง ๆดังนั้น การดำเนินงานด้านการคุ้มครองนักท่องเที่ยวให้เกิดประสิทธิภาพ เป็นไปอย่างรวดเร็ว ชัดเจน และแน่นอน รวมทั้งให้มีความพร้อมสำหรับการแข่งขันเมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อีกทั้งเพื่อให้การปฏิบัติงานและบังคับใช้กฎหมายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองนักท่องเที่ยวเป็นไปในทิศทางเดียวกันอันจะนำไปสู่การพัฒนากฎหมายด้านการคุ้มครองนักท่องเที่ยวแบบบูรณาการต่อไป จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรวบรวมกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองนักท่องเที่ยวรวมทั้งศึกษา และวิเคราะห์กฎหมายดังกล่าวว่ามีประสิทธิภาพในการคุ้มครองนักท่องเที่ยวหรือไม่ เพียงใด เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการพัฒนาการท่องเที่ยวการศึกษานี้มุ่งพิจารณามาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองนักท่องเที่ยวต่างชาติ ประเภทที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวด้วยตนเอง มิได้ร่วมเดินทางมากับกลุ่มทัวร์ หรือที่เรียกว่าForeign Individual Tourism (FIT) เนื่องจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวกับกลุ่มทัวร์นั้นมักได้รับความช่วยเหลือจากบริษัททัวร์ในด้านข้อมูลและการอำนวยความสะดวกในกรณีที่่เกิดปัญหาจากการท่องเที่ยว ในขณะที่ นักท่องเที่ยวแบบ FIT นั้นมักจะประสบปัญหามากกว่าเนื่องจากไม่มีมัคคุเทศก์ให้คำชี้แนะประกอบกับปัจจุบัน จำนวนนักท่องเที่ยวแบบ FIT เพิ่มจำนวนมากขึ้นดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการศึกษาถึงมาตรการทางกฎหมายที่ให้การคุ้มครองแก่นักท่องเที่ยวในกลุ่มดังกล่าว


การวิจัยการส่งเสริมการท่องเที่ยว กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2, ดำรงค์ วัฒนา Jan 2017

การวิจัยการส่งเสริมการท่องเที่ยว กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2, ดำรงค์ วัฒนา

UNISEARCH (Unisearch Journal)

การเดินทางและการท่องเที่ยว หรือ T&T (Travel and Tourism) มีส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ(Blanke and Chiesa, 2013) และเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญประการหนึ่งของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ ตอนล่าง 2 (นครสวรรค์กำแพงเพชร พิจิตร และอุทัยธานี) ที่มุ่งเน้นการพัฒนาและบริหารจัดการการท่องเที่ยว เพื่อให้มีความเชื่อมโยงกันในเชิงบูรณาการ และเกิดพลังในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยเริ่มจากการศึกษาวิจัย ให้ได้องคฺความรู้ไปใช้ในการจัดกิจกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การอบรมบุคลากรเครือข่ายการท่องเที่ยวให้มีความรู้ความเข้าใจ การบูรณาการการส่งเสริมการท่องเที่ยว เกิดการเชื่อมโยงและมีความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคลากรเครือข่าย เมื่อดำเนินการอบรมเสร็จสิ้นจึงจัดให้มีการต่อยอดการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ยั่งยืนด้วยการประชาสัมพันธ์กิจกรรมท่องเที่ยวของดี 4 จังหวัดให้กับนักธุรกิจการท่องเที่ยวและนักประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว เพื่อขยายตลาดการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัด


แผนพัฒนาการท่องเที่ยวพื้นที่พิเศษ เพื่อสร้างขีดความสามารถในการพัฒนาการท่องเที่ยว Jan 2017

แผนพัฒนาการท่องเที่ยวพื้นที่พิเศษ เพื่อสร้างขีดความสามารถในการพัฒนาการท่องเที่ยว

UNISEARCH (Unisearch Journal)

อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวหลักเพื่อเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวรองต่าง ๆ เช่น ภูป่าเปาะ นาแห้ว ภูหัวฮ่อม เป็นต้น รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวหลัก ดังเช่น ภูกระดึง เพื่อสร้างโครงข่ายการท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายของแหล่งและกิจกรรมการท่องเที่ยว อันจะนำมาสู่การกระจายรายได้จากการท่องเที่ยว และการกระจายความเจริญ รวมทั้ง การสร้างแรงดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวยังจังหวัดเลยเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) และนักท่องเที่ยวต่างประเทศซึ่งมีการขยายตัวสูงมาก โดยเป็นนักท่องเที่ยวกลุ่มคุณภาพที่เดินทางมาท่องเที่ยวยัง สปป.ลาว ซึ่งนักท่องเที่ยวของสปป.ลาว มีจำนวนเพิ่มจาก 146,155 คน ในปี พ.ศ. 2537เป็นจำนวน 4,158,719 คน ในปี พ.ศ. 2557 ซึ่งจำนวนนักท่องเที่ยวดังกล่าวส่งผลต่อรายได้จากการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นจาก 6,280,000 ดอลลาร์สหรัฐ เป็น 641,636,543ดอลลาร์สหรัฐ (Tourism Development Department, 2015)โดยในปี พ.ศ. 2557 เมืองหลวงพระบางมีนักท่องเที่ยวต่างประเทศประมาณ 400,000 คน มีค่าเฉลี่ยการพักแรมในหลวงพระบางอยู่ที่ 5.5 วัน ซึ่งมีการใช้จ่ายมากถึง 75เหรียญดอลลาร์สหรัฐต่อวัน ในขณะที่จังหวัดเลย มีนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ (ร้อยละ 98) เป็นชาวไทย โดยการใช้จ่ายเงินของนักท่องเที่ยวต่างประเทศมีจำนวนเงินน้อยกว่าการใช้จ่ายในหลวงพระบางมากกว่า 1 เท่า ทั้งนี้ หากมีการพัฒนาการท่องเที่ยวร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมระหว่างไทยและสปป.ลาว ย่อมมีโอกาสสูงที่นักท่องเที่ยวต่างประเทศกลุ่มดังกล่าวจาก สปป.ลาว จะข้ามแดนมาท่องเที่ยวยังจังหวัดเลยและอำเภอเชียงคานได้


การพัฒนาความร่วมมือในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์เชื่อมโยง 2 ฝั่งแม่น้ำโขงเลย-ลาว, ทวีวงศ์ ศรีบุรี Jan 2017

การพัฒนาความร่วมมือในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์เชื่อมโยง 2 ฝั่งแม่น้ำโขงเลย-ลาว, ทวีวงศ์ ศรีบุรี

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


ภาพสะท้อนบทบาทของมหาวิทยาลัยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับการให้บริการส่งเสริมการเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร, ศุภวรรณ วิเศษน้อย, เวย์น เนลลิส Jan 2017

ภาพสะท้อนบทบาทของมหาวิทยาลัยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับการให้บริการส่งเสริมการเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร, ศุภวรรณ วิเศษน้อย, เวย์น เนลลิส

UNISEARCH (Unisearch Journal)

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อยู่ในเขตร้อนชื้นที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงและเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญ ซึ่งภาคเกษตรกรรมและภาคการผลิตอาหารมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อชีวิตของคนในประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน (Association of Southeast Asian Nations: ASEAN) ภาคเกษตรกรรมเป็นภาคส่วนที่สำคัญด้านเศรษฐกิจในระดับชาติ และเป็นแหล่งจ้างงานที่สำคัญของประชาชนหลายล้านคนที่อาศัยอยู่ในเขตชนบทของประเทศสมาชิกอาเซียนจาก 8 ใน 10 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ลาว อินโดนีเซีย มาเลเซียเมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนามข้อมูลจากธนาคารโลกแสดงให้เห็นว่า ในปี พ.ศ. 2558 ภาคเกษตรกรรมของประเทศไทยสร้างรายได้มากถึงร้อยละ 9.1 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (World Bank, 2017) อย่างไรก็ตาม มูลค่าของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของภาคเกษตรกรรมไม่ได้แสดงถึงความสำคัญโดยรวมของภาคเกษตรกรรมต่อประเทศไทยอย่างครอบคลุมมากนักโดยเฉพาะวิถีชีวิตของเกษตรกรหรือวัฒนธรรมเกษตรกรรมของชาติ แม้ว่าร้อยละ 38.0 ของประชากรกว่า 67 ล้านคนของประเทศไทยจะอยู่ในภาคเกษตรกรรมก็ตาม (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2559)


การพัฒนาและการดัดแปรโปรตีนพืชท้องถิ่นสำหรับใช้เป็นวัตถุปรุงแต่งอาหารปลอดภัย : โปรตีนมะพร้าว, ปราณี อ่านเปรื่อ, สมฤดี ไทพาณิชย์ Jan 2017

การพัฒนาและการดัดแปรโปรตีนพืชท้องถิ่นสำหรับใช้เป็นวัตถุปรุงแต่งอาหารปลอดภัย : โปรตีนมะพร้าว, ปราณี อ่านเปรื่อ, สมฤดี ไทพาณิชย์

UNISEARCH (Unisearch Journal)

จากหลายเหตุการณ์เกี่ยวกับความไม่ปลอดภัยในอาหารที่เกิดขึ้นตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน เช่น อาหารที่มีการปนเปื้อนเชื้อจุลนิทรีย์ หรือสารเคมีอื่น ๆ ที่ไม่สมควรมีเจือปนอยู่ในอาหารอันเนื่องมาจากความเป็นอุตสาหกรรม (industrialization)เพิ่มขึ้น และการดูแลควบคุมที่ไม่ดีพอ (poor regulation)ทำให้ทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็น บริษัทผู้ผลิตอาหาร หน่วยงานควบคุม ตรวจสอบ และผู้บริโภคมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปในส่วนของบริษัทผู้ผลิตอาหารได้พยายามเพิ่มความปลอดภัยของสินค้าโดยการเลือกใช้วัตถุดิบ ที่มีความปลอดภัยสูงการเลือกใช้สารจากธรรมชาติทดแทนการใช้สารเคมีสังเคราะห์ หรือการปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีมาตรฐาน ซึ่งสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีแนวโน้มในการให้ความสำคัญกับสินค้าที่ปลอดภัยจากการใช้สารเคมี และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นวัตถุปรุงแต่งอาหาร หมายถึง สารปรุงรส และวัตถุเจือปนในอาหาร (food additives) ที่นำมาใช้เพื่อปรุงแต่งสีกลิ่น รส และคุณสมบัติอื่น ๆ ของอาหาร โดยสามารถจำแนกตามความปลอดภัยได้ 3 ประเภท คือ ประเภทที่ไม่เป็นอันตรายแก่ร่างกาย ประเภทที่อาจเกิดอันตรายหากใช้ในปริมาณมากเกินปริมาณที่กฎหมายกำหนดหรือใช้ไม่เหมาะสมกับชนิดของอาหาร และประเภทเป็นพิษไม่ปลอดภัย เป็นอันตรายต่อชีวิตได้ในปัจจุบันสารอิมัลซิไฟเออร์ (emulsifier) ซึ่งเป็นวัตถุเจือปนอาหารที่ใช้เพื่อทำให้อิมัลชัน (emulsion) คงตัวเป็นวัตถุปรุงแต่งอาหารกลุ่มหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญต่อการแปรรูปอาหารในระดับอุตสาหกรรม และการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารในอนาคต โดยอาหารอิมัลชัน หมายถงึ อาหารที่ประกอบด้วยของเหลวตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป ซึ่งปกติไม่ผสมเป็นเนื้อเดียวกันเช่น น้ำกับน้ำมัน ผสมรวมเป็นเนื้อเดียวกันได้โดยไม่แยกชั้นเช่น มายองเนส และน้ำ สลัดชนิดข้น เป็นต้น ดังนั้นการพัฒนาและการดัดแปรโปรตีนพืชท้องถิ่น เช่นโปรตีนจากมะพร้าว ด้วยกระบวนการที่เหมาะสมเพื่อใช้เป็นวัตถุปรุงแต่งอาหาร เพื่อทำให้อิมัลชันคงตัว ทดแทนวัตถุปรุงแต่งสังเคราะห์กลุ่มตัวทำอิมัลชัน ได้แก่ สารลดแรงตึงผิวเช่น ทวีน (Tween) และสแปน (Span) ซึ่งเป็นชื่อทางการค้าของสารโพลีซอร์เบท และซอร์บิแทนเอสเทอร์ ตามลำดับและอื่น ๆ ในอุตสาหกรรม หรือเพื่อใช้เสริมปริมาณโปรตีนในอาหาร จะเป็นข้อมูลสำคัญ ที่สามารถช่วยลด หรือ หลีกเลี่ยงปัญหาความไม่ปลอดภัยในอาหารจากการใช้สารเคมีสังเคราะห์และการใช้วัตถุปรุงแต่งอาหารประเภทที่อาจเกิดอันตรายหากใช้ในปริมาณมากได้ นอกจากนี้ การใช้โปรตีนจากมะพร้าวเป็นวัตถุปรุงแต่งอาหารเพื่อทำให้อิมัลชันคงตัวจะทำให้ได้สมบัติทางโภชนาการ และสมบัติเชิงหน้าที่อื่น ๆของโปรตีนจากพืชร่วมด้วย เช่น สมบัติการป้องกันโรค สมบัติการต้านออกซิเดชัน และกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ เป็นต้นซึ่งวัตถุปรุงแต่งสังเคราะห์จะไม่มีสมบัติเหล่านี้ อีกทั้งการพัฒนาและการดัดแปรโปรตีนพืชท้องถิ่นจะช่วยเพิ่มโปรตีน ทางเลือกสำหรับใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป ช่วยเพิ่มมูลค่าให้แก่มะพร้าว และยังช่วยเพิ่มการใช้ประโยชน์ของผลิตผลพลอยได้จากการแปรรูปน้ำมันมะพร้าวได้


Japanese Fdi To Thailand: Mobility And Harmony, Saikaew Thipakorn Jan 2017

Japanese Fdi To Thailand: Mobility And Harmony, Saikaew Thipakorn

Asian Review

Japan has been the top investor in Thailand since the end of WWII. In 1972, following violent protests against Japanese investment, the Japanese government established the Japan Foundation as the main agency to take care of cultural diplomacy. Though under the supervision of the Ministry of Foreign Affairs, the Japanese business community financially contributed to its establishment from the beginning. In addition, Japanese business in Th ailand continuously cooperated with the government in its cultural diplomatic activities. Th eir daily operation created an atmosphere for human exchange which led to understanding between peoples of different cultures. Japanese investment promoted the …


Literature In Transmigration: The Rama Story In Southeast Asia, Frederick B. Goss Jan 2017

Literature In Transmigration: The Rama Story In Southeast Asia, Frederick B. Goss

Asian Review

The story of Rama, known as Ramayana in the Indian subcontinent where it originated, has migrated and spread to nearly every culture and society in Asia. In each place the story has been introduced, it has been adopted, adapted and absorbed into the local culture. Given the universal themes in the tale, the basic outline of the story has shown a remarkable flexibility to be able to sustain change and adaption, both in interpretation and interpolation. This article examines and compares the presence of the Rama story in various cultures and societies of Southeast Asia, showing how the tradition has …


บทบรรณาธิการ, บรรณาธิการ Jan 2017

บทบรรณาธิการ, บรรณาธิการ

Journal of Social Sciences

No abstract provided.


Decolonial Epistemology And The Future Of Thai Ir Theory, Chyatat Supachalasai Jan 2017

Decolonial Epistemology And The Future Of Thai Ir Theory, Chyatat Supachalasai

Journal of Social Sciences

This article aims to propose decolonial epistemology derived from an intellectual development of critical Latin American thinkers by suggesting it as a crucial lesson for the future development of Thai International Relations (IR) theory. It begins by addressing the limitations of postcolonial theory, and arguing that postcolonial theory does not connect its intellectual implications to the traumatised beings, either human beings or non-human beings, globally. Arguably, postcolonial theory is not instrumental for the construction of non-Western IR theories, including Thai IR theory. Therefore, the article deviates from postcolonial theory to highlight what Ramón Grosfoguel calls 'decolonial turn', a decolonisation from …


เส้นทางตอนใต้ของผู้อพยพชาวเกาหลีเหนือ: พลวัตและปัญหา, อักษราภัค ชัยปะละ Jan 2017

เส้นทางตอนใต้ของผู้อพยพชาวเกาหลีเหนือ: พลวัตและปัญหา, อักษราภัค ชัยปะละ

Journal of Social Sciences

No abstract provided.


สถาบันการเมืองและการเสริมสร้างผู้นำทางการเมืองที่ดีในระบอบประชาธิปไตย : บทเรียนจากฟินแลนด์ ออสเตรเลีย และอุรุกวัย, วิชุดา สาธิตพร, สติธร ธนานิธิโชติ, เทียนธวัช ศรีใจงาม Jan 2017

สถาบันการเมืองและการเสริมสร้างผู้นำทางการเมืองที่ดีในระบอบประชาธิปไตย : บทเรียนจากฟินแลนด์ ออสเตรเลีย และอุรุกวัย, วิชุดา สาธิตพร, สติธร ธนานิธิโชติ, เทียนธวัช ศรีใจงาม

Journal of Social Sciences

No abstract provided.


ปัญหาการสร้างฉันทามติและการออกแบบสถาบันการเมืองในรัฐธรรมนูญไทย, จิราภรณ์ ดำจันทร์ Jan 2017

ปัญหาการสร้างฉันทามติและการออกแบบสถาบันการเมืองในรัฐธรรมนูญไทย, จิราภรณ์ ดำจันทร์

Journal of Social Sciences

No abstract provided.


บทบรรณาธิการ, บรรณาธิการ Jan 2017

บทบรรณาธิการ, บรรณาธิการ

Journal of Social Sciences

No abstract provided.


สถานะการศึกษานโยบายต่างประเทศของไทย : บทสำรวจเบื้องต้น, กุลนันทน์ คันธิก Jan 2017

สถานะการศึกษานโยบายต่างประเทศของไทย : บทสำรวจเบื้องต้น, กุลนันทน์ คันธิก

Journal of Social Sciences

No abstract provided.


การปรับนโยบายต่างประเทศไทย (พ.ศ. 2516 ถึง 2519), ศิบดี นพประเสริฐ Jan 2017

การปรับนโยบายต่างประเทศไทย (พ.ศ. 2516 ถึง 2519), ศิบดี นพประเสริฐ

Journal of Social Sciences

No abstract provided.


What Does Thai International Relations Want?, Jittipat Poonkham Jan 2017

What Does Thai International Relations Want?, Jittipat Poonkham

Journal of Social Sciences

The article employs the notion of 'forced choice' to reflect on and interrogate four key theoretical dilemmas in the IR scholarship in Thailand: (1) whether Thai IR is an art of the state or an academic discipline; (2) whether it is a 'problem-solving' or 'critical' theory; (3) whether there is a Thai IR theory; and (4) whether it should be a consensual field of study. It makes a case for a refusal of these forced choices. By engaging with a disciplinary history and autobiographical narrative (I, IR), the article suggests (1) the brief development of Thai IR, which has been …


A Comparative Study Of Economic Development Planning Organizations Of South Korea And Thailand During 1960-1980, Kamon Butsaban Jan 2017

A Comparative Study Of Economic Development Planning Organizations Of South Korea And Thailand During 1960-1980, Kamon Butsaban

Journal of Social Sciences

This research paper presents a comparative study on economic development planning organizations in Thailand and South Korea during 1960-1980. Most economists have so far explained Thailand's relative lack of progress in economic development compared to Korea in terms of differences in economic policies. In this context, this study focuses on the planning organizations that have profoundly influenced the implementation and contexts of economic policies in the two countries, namely South Korea's Economic Planning Board (EPB) and Thailand's National Economic and Social Development Board (NESDB), to identify similarities and differences in the authority, roles, and structures of the organizations as well …


ตัวตน สังคม วัฒนธรรม : เงื่อนไขสู่การสูงวัยอย่างมีศักยภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงใหม่, ภัทรพรรณ ทำดี Jan 2017

ตัวตน สังคม วัฒนธรรม : เงื่อนไขสู่การสูงวัยอย่างมีศักยภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงใหม่, ภัทรพรรณ ทำดี

Journal of Social Sciences

No abstract provided.


Philosophy Of Sufficiency Economy : A Philosophical Analysis, Choltis Dhirathiti Jan 2017

Philosophy Of Sufficiency Economy : A Philosophical Analysis, Choltis Dhirathiti

Journal of Social Sciences

An analysis of the ideas and concepts of, and within, the "Philosophy of Sufficiency Economy" has been conducted on the presupposition that the ethics of Buddhism and the notion of science are two underlying tenets of this philosophy. The compatibility of ideas between Buddhism and science has been generally recognized, especially on the issue of causality in human experience, but it requires more than an assertion of this compatibility if one wishes to render it meaningful and practical. The philosophy of sufficiency economy is an example of such rendering. The main expression to be analyzed is that sufficiency is to …


สลาวอย ชิเชค Vs เกรแฮม ฮาแมน : วิวาทะปรัชญาร่วมสมัย, ชญาน์ทัต ศุภชลาศัย Jan 2017

สลาวอย ชิเชค Vs เกรแฮม ฮาแมน : วิวาทะปรัชญาร่วมสมัย, ชญาน์ทัต ศุภชลาศัย

Journal of Social Sciences

No abstract provided.


Potential Of Using Surfactants To Enhance Ammonium And Nitrate Adsorption On Rice Husk And Its Biochar, Lada Mathurasa, Seelawut Damrongsiri Jan 2017

Potential Of Using Surfactants To Enhance Ammonium And Nitrate Adsorption On Rice Husk And Its Biochar, Lada Mathurasa, Seelawut Damrongsiri

Applied Environmental Research

Inorganic nitrogen fertilizers are widely and heavily used in agriculture. Leaching of these fertilizers is a cause of eutrophication in water bodies. This study examines the use of rice husk and its biochar, their efficiency in adsorption of ammonium and nitrate and the potential of using surfactants, sodium dodecyl benzenesulfonate (SDBS) and cetyl trimethyl ammonium bromide (CTAB), to increase adsorption. Physical and chemical properties of adsorbents were examined through BET, SEM-EDX, and CEC value, respectively. The equilibrium batch adsorption was conducted. The result showed that rice husk was lower in surface area, total pore volume, pore diameter, silica and oxygen …


The Utilization Of Cashew Shell Residues And Grease Waste For Charcoal Briquette Production, Supaporn Pongthornpruek Jan 2017

The Utilization Of Cashew Shell Residues And Grease Waste For Charcoal Briquette Production, Supaporn Pongthornpruek

Applied Environmental Research

This study aims to investigate appropriate utilization of mixing grease waste (GW) from a canteen's grease trap with cashew shell charcoal (CSC) to produce briquette fuel by weight (GW:CSC) in the ratio 1:2, 2:2, 3:2 and 4:2. All different mixing ratios used starch paste as binding agent. The physical and chemical properties of briquette fuel were analyzed to verify its heating value components as specified by the American Society for Testing and Material (ASTM). In addition, in terms of heat utilization efficiency and pollution aspects, the content of carbon monoxide (CO) emissions from combustion were measured. The result of this …


Comparison Of Co2 Emissions From Vehicles In Thailand, Sutthicha Nilrit, Pantawat Sampanpanish, Surat Bualert Jan 2017

Comparison Of Co2 Emissions From Vehicles In Thailand, Sutthicha Nilrit, Pantawat Sampanpanish, Surat Bualert

Applied Environmental Research

Emission of carbon dioxide (CO2), a greenhouse gas, from typical passenger vehicles in Thailand was investigated using a chassis dynamometer in the Automotive Emission Laboratory. The vehicle running method was controlled under the standard Bangkok driving cycle. CO2 emissions were measured at three different speeds for the following four vehicle types commonly used in Thailand: heavy duty diesel (HDD), light duty diesel (LDD), and light duty gasoline (LDG) vehicles and motorcycles (MC). HDD vehicles had the highest average CO2 emission rate, followed by LDD, LDG and MC at 1,198.8±93.1, 268.4±21.3, 166.1±27.7 and 42.5±6.1 g km-1, respectively; all values were significantly …


Khanna, Parag. Connectography : Mapping The Future Of Global Civilization. New York: Random House, 2016 Jan 2017

Khanna, Parag. Connectography : Mapping The Future Of Global Civilization. New York: Random House, 2016

Journal of Social Sciences

No abstract provided.


Encountering The New "Other": Domestic Tourism In Thailand, Jelka Günther Jan 2017

Encountering The New "Other": Domestic Tourism In Thailand, Jelka Günther

Asian Review

In Thailand, one of the world’s leading tourist destinations, Thais are no longer merely “hosts” to foreign tourists but also to their compatriots who have become tourists themselves. The rising significance of domestic tourism reveals the need to critically rethink notions of the familiar and the strange in tourism studies. Based on ethnographic fi eldwork in Northeastern Thailand, I argue that Othering is not limited to transnational host-guest-interactions. In the small town I studied domestic tourist encounters were similarly embedded in power relations, namely in the dominant discourses of urban-rural relations in contemporary Thailand. Nostalgic feelings have opened up the …


ใจจุฬาฯ : บทเพลงพระราชนิพนธ์มหาจุฬาลงกรณ์เพลงพรพระราชทาน, ปฏิวัติ สุขประกอบ, จิณดิษฐ์ ละออปักษิณ, ฏฐิตา ชวนเกริกกุล, ชูวิทย์ ยุระยง Jan 2017

ใจจุฬาฯ : บทเพลงพระราชนิพนธ์มหาจุฬาลงกรณ์เพลงพรพระราชทาน, ปฏิวัติ สุขประกอบ, จิณดิษฐ์ ละออปักษิณ, ฏฐิตา ชวนเกริกกุล, ชูวิทย์ ยุระยง

Jamjuree Journal

No abstract provided.


Introduction, Supaporn Phokaew, Koichi Iwabuchi Jan 2017

Introduction, Supaporn Phokaew, Koichi Iwabuchi

Asian Review

No abstract provided.


Property Tourism And The Facilitation Of Investment -Migration Mobility In Asia, Koh Sin Yee Jan 2017

Property Tourism And The Facilitation Of Investment -Migration Mobility In Asia, Koh Sin Yee

Asian Review

This paper examines the ways through which real estate developers and their agents facilitate the investment-migration mobility of middle-class investor-migrants in Asia. Drawing from ongoing research conducted in Brunei, Singapore and Iskandar Malaysia, this paper argues that the property marketing industry can be conceptualised as a transnational mobility industry. Th is is because this intermediary industry (1) exposes potential investor-migrants to the idea of transnational investment-migration; and (2) educates and facilitates the investment-migration of its clients and their capital, especially through the use of subtle marketing strategies such as social activities and exploratory property tours – what I call “property …