Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 2731 - 2760 of 5570

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

บทบรรณาธิการ Jan 2017

บทบรรณาธิการ

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


สัมภาษณ์ ศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร. มงคล เตชะกำพุ องค์ความรู้จากการวิจัย สู่การทำเกษตรกรรมอัจฉริยะ, มงคล เตชะกำพุ Jan 2017

สัมภาษณ์ ศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร. มงคล เตชะกำพุ องค์ความรู้จากการวิจัย สู่การทำเกษตรกรรมอัจฉริยะ, มงคล เตชะกำพุ

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


ข่าวและกิจกรรม รอบรั้วโครงการ Jan 2017

ข่าวและกิจกรรม รอบรั้วโครงการ

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


แนะนำโครงการ การใช้ยาลดอักเสบชนิดไม่มีสเตียรอยด์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผสมเทียมในสุกร, เผด็จ ธรรมรักษ์ Jan 2017

แนะนำโครงการ การใช้ยาลดอักเสบชนิดไม่มีสเตียรอยด์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผสมเทียมในสุกร, เผด็จ ธรรมรักษ์

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


บทบรรณาธิการ Jan 2017

บทบรรณาธิการ

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


"รอบตัวเรา" อุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ยั่งยืน, ทวีวงศ์ ศรีบุรี Jan 2017

"รอบตัวเรา" อุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ยั่งยืน, ทวีวงศ์ ศรีบุรี

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


ข่าวและกิจกรรม รอบรั้วโครงการ Jan 2017

ข่าวและกิจกรรม รอบรั้วโครงการ

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


แนะนำโครงการ การจัดทำแผนผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์, วรรณศิลป์ พีรพันธุ์ Jan 2017

แนะนำโครงการ การจัดทำแผนผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์, วรรณศิลป์ พีรพันธุ์

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


กิจกรรม Unisearch Jan 2017

กิจกรรม Unisearch

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


บทบรรณาธิการ Jan 2017

บทบรรณาธิการ

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


สัมภาษณ์ ความปลอดภัยทางอาหารสู่โครงสร้างทางเศรษฐกิจยุคใหม่, ศิริรัตน์ ก๊กผล Jan 2017

สัมภาษณ์ ความปลอดภัยทางอาหารสู่โครงสร้างทางเศรษฐกิจยุคใหม่, ศิริรัตน์ ก๊กผล

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


"รอบตัวเรา" ความมั่นคงทางอาหาร, ทวีวงศ์ ศรีบุรี Jan 2017

"รอบตัวเรา" ความมั่นคงทางอาหาร, ทวีวงศ์ ศรีบุรี

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


แนะนำโครงการ การพัฒนาชุดตรวจดีเอ็นเอเซ็นเซอร์สำหรับโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์เลี้ยง, ปิยะศักดิ์ ชอุ่มพฤกษ์, อรรณพ สุริยสมบูรณ์ Jan 2017

แนะนำโครงการ การพัฒนาชุดตรวจดีเอ็นเอเซ็นเซอร์สำหรับโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์เลี้ยง, ปิยะศักดิ์ ชอุ่มพฤกษ์, อรรณพ สุริยสมบูรณ์

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


กิจกรรม Unisearch Jan 2017

กิจกรรม Unisearch

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


An Analsis Of "Participation" In Participatory Irrigation Management: A Case Study Of Kraseaw Reservior, Suphan Buri Province, Thailand, Somruedee Karnphakdee Jan 2017

An Analsis Of "Participation" In Participatory Irrigation Management: A Case Study Of Kraseaw Reservior, Suphan Buri Province, Thailand, Somruedee Karnphakdee

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Improving irrigation efficiency has been identified as the ultimate goal in irrigation management across the globe. In this, respect, Participatory Irrigation Management (PIM) has been implemented in Thailand to increase irrigation efficiency through reforming institutional structures and the establishment of the Water Users' Organization. The main purpose of this study is to analyze the participation of each stakeholder in the participatory irrigation management of the Kraseaw irrigation project, Suphan Buri province. The concept of participation and the ladders of participation have been adopted in the study of identify the participation of all stakeholders. Data collection methods included i-depth interviews, focus …


A New Multilateral Electricity Trading Model For Asean, Kevin Mark Lee Jan 2017

A New Multilateral Electricity Trading Model For Asean, Kevin Mark Lee

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The ASEAN Power Grid (APG) was initiated in 1997 as a means to achieve energy security in Southeast Asia in a sustainable manner. Two decades on, the APG project faces significant challenges to the development of both physical and institutional infrastructure. Many of these cannot be easily addressed due to the socio-political realities of the region. The ASEAN electricity exchange initiative (AEE), a proposal by the ASEAN Energy Market Initiative, may prove to be a more feasible approach for regional power sector integration, as it does not require complete domestic electricity market unbundling or privatization. This thesis analyzes regional electricity …


รัฐราชการไทยภายหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2557, ธนบรรณ อู่ทองมาก Jan 2017

รัฐราชการไทยภายหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2557, ธนบรรณ อู่ทองมาก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเมืองไทยภายหลังการรัฐประการ พ.ศ. 2557นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยหลังการรัฐประหารพ.ศ. 2557 และการปรับตัวของการเมืองไทย ภายใต้กรอบแนวคิดว่าด้วย Bureaucratic polity หรือ รัฐราชการ โดยใช้การศึกษาเชิงคุณภาพ วิเคราะห์เอกสาร งานวิจัย โดยมีหน่วยการศึกษาคือ สถาบันทางการเมืองเป็นหน่วยในการศึกษาในฐานะตัวแสดงที่สำคัญในระบบการเมือง ผลการศึกษาพบว่า (1) การเมืองไทยภายหลังการรัฐประหารเมื่อ 22 พฤษภาคม 2557 มีลักษณะเป็นการเมืองแบบรัฐราชการ โดยอาศัยระบบราชการเป็นตัวแสดงที่สำคัญในการบวนการนโยบาย ทั้งการเสนอนโยบาย การนำนโยบายไปปฏิบัติ สถาบันภายนอกระบบราชการ พรรคการเมือง ภาคประชาชนจำกัดบทบาททำให้ไม่สามารถตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลได้ (2) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเมือง ทำให้การกลับมามีบทบาทนำอีกครั้งของรัฐราชการ ไม่สามารถดำรงรูปแบบรูปเดิมได้ รัฐราชการภายหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2557 มีลักษณะที่สำคัญคือ 1) การใช้เครื่องมือทางรัฐธรรมนูญและกฏหมายเพื่อผนวกรัฐราชการให้อยูในโครงสร้างที่เป็นทางการของระบบและสถาบันทางการเมือง 2) มีการผนึกกำลังระหว่างรัฐราชการกับกลุ่มทุนใหญ่เพื่อเอื้อประโยชน์และค้ำจุนซึ่งกันและกันอย่างชัดเจน 3) ใช้พลังของระบบราชการฝ่ายทหารควบคุมระบบการเมืองโดยมีพลังของระบบราชการค่อยสนับสนุน


อิทธิพลของเพศทางไวยากรณ์ต่อระบบปริชานของผู้พูดสองภาษารัสเซีย-อังกฤษเปรียบเทียบกับผู้พูดภาษารัสเซียและผู้พูดภาษาอังกฤษเพียงภาษาเดียว, กุสุมา ทองเนียม Jan 2017

อิทธิพลของเพศทางไวยากรณ์ต่อระบบปริชานของผู้พูดสองภาษารัสเซีย-อังกฤษเปรียบเทียบกับผู้พูดภาษารัสเซียและผู้พูดภาษาอังกฤษเพียงภาษาเดียว, กุสุมา ทองเนียม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

มีงานวิจัยจำนวนมากที่ศึกษาประเภททางไวยากรณ์เพื่อทดสอบสมมติฐานภาษาสัมพัทธ์ซึ่งกล่าวว่าผู้พูดภาษาที่มีประเภททางไวยากรณ์แตกต่างกันย่อมมีความคิดแตกต่างกันด้วย แต่งานด้านนี้ส่วนใหญ่มักทดสอบกับผู้พูดภาษาเดียว โดยมิได้คำนึงถึงผู้พูดสองภาษา เกี่ยวกับสมมติฐานภาษาสัมพัทธ์ ถึงแม้วอร์ฟมิได้กล่าวถึงผู้พูดสองภาษาโดยตรง แต่ก็พูดเป็นนัยไว้ว่าคนที่พูดได้หลายภาษามากเท่าใดก็จะมีความเป็นกลางในความคิดมากเท่านั้น ทำให้ผู้วิจัยสงสัยว่าประเภททางไวยากรณ์ที่อยู่ในตัวผู้พูดสองภาษามีอิทธิพลต่อความคิดของเขาอย่างไร นอกจากนี้ ผลงานในอดีตที่เกี่ยวกับเพศทางไวยากรณ์ในภาษารัสเซียแทบไม่มีเลย งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของการมีและไม่มีเพศทางไวยากรณ์ของคำนามกับพฤติกรรมทางปริชานด้านการจำแนกประเภทของผู้พูดภาษารัสเซีย ผู้พูดภาษาอังกฤษ และผู้พูดสองภาษารัสเซีย-อังกฤษ และเปรียบเทียบพฤติกรรมทางปริชานด้านการจำแนกประเภทของผู้พูดทั้ง 3 กลุ่มเพื่อทดสอบสมมติฐานภาษาสัมพัทธ์ ผู้วิจัยมีสมมติฐานว่า ผู้พูดภาษารัสเซียซึ่งเป็นภาษาที่คำนามมีเพศทางไวยากรณ์มีพฤติกรรมทางปริชานด้านการจำแนกประเภทตามเกณฑ์เพศทางไวยากรณ์มากกว่าผู้พูดภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาที่คำนามไม่มีเพศทางไวยากรณ์ และผู้พูดสองภาษารัสเซีย-อังกฤษมีพฤติกรรมทางปริชานด้านการจำแนกประเภทตามเกณฑ์เพศทางไวยากรณ์น้อยกว่าผู้พูดภาษารัสเซียภาษาเดียวแต่มากกว่าผู้พูดภาษาอังกฤษภาษาเดียว ข้อมูลที่ใช้วิเคราะห์มาจากการทดสอบพฤติกรรมทางปริชานด้านการจำแนกประเภทสรรพสิ่ง โดยให้ผู้พูดภาษารัสเซีย 39 คน ผู้พูดภาษาอังกฤษ 30 คน และผู้พูดสองภาษารัสเซีย-อังกฤษ 54 คน ดูภาพสัตว์หรือสิ่งของชุดละ 3 ภาพและตัดสินว่าภาพใดไม่เข้าพวกกับภาพอื่นเพื่อที่จะทดสอบว่าผู้พูดแต่ละกลุ่มใช้เพศทางไวยากรณ์หรือลักษณะของสรรพสิ่งเป็นเกณฑ์ในการจำแนกประเภท ผลการทดลองพบว่าผู้พูดภาษารัสเซียจำแนกประเภทสรรพสิ่งตามเกณฑ์เพศทางไวยากรณ์มากกว่าผู้พูดภาษาอังกฤษ ซึ่งสนับสนุนสมมติฐานภาษาสัมพัทธ์ ส่วนผู้พูดสองภาษารัสเซีย-อังกฤษจำแนกประเภทสรรพสิ่งตามเกณฑ์เพศทางไวยากรณ์น้อยกว่าผู้พูดภาษารัสเซียภาษาเดียว แต่ไม่แตกต่างจากผู้พูดภาษาอังกฤษภาษาเดียวแสดงให้เห็นอิทธิพลของภาวะสองภาษา ซึ่งมีปัจจัยสำคัญคือความเชี่ยวชาญในภาษาที่สองในระดับสูง


การสื่อสารรณรงค์บนพื้นที่ออนไลน์ Change.Org, แก้วเกล้า บรรจง Jan 2017

การสื่อสารรณรงค์บนพื้นที่ออนไลน์ Change.Org, แก้วเกล้า บรรจง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่องการสื่อสารรณรงค์บนพื้นที่ออนไลน์ Change.org มุ่งศึกษาใน 3 ประเด็น ได้แก่ 1) ลักษณะประเด็นสังคมที่ปรากฏบนพื้นที่ออนไลน์ Change.org 2) กลยุทธ์การสื่อสารในการสร้างการมีส่วนร่วมของสาธารณชนบนพื้นที่ออนไลน์ Change.org 3) ความผูกพันของพลเมืองเน็ตต่อแบรนด์ Change.org โดยการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ด้วยเทคนิคการวิจัย ดังนี้ การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis), การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) และวิธีการสำรวจจากแบบสอบถามออนไลน์ (Online Questionnaire) ผลการวิจัยในประเด็นแรกพบว่าลักษณะประเด็นสังคมที่ปรากฏบนพื้นที่ออนไลน์ Change.org แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ประเด็นสาธารณะ (Public Issues) และปัญหาระดับบุคคล (Private Troubles) โดยนักรณรงค์ใช้พื้นที่ออนไลน์ Change.org เพื่อสื่อสารใน 5 วัตถุประสงค์ ได้แก่ (1) ให้ข้อมูล (2) อัปเดตข่าวสาร (3) โน้มน้าวให้คล้อยตาม (4) ขอบคุณ และ (5) ประกาศชัยชนะ ซึ่งกลุ่มผู้มีอำนาจตัดสินใจแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ (1) หน่วยงานในการปกครองของรัฐ (2) องค์กรเอกชน และ (3) องค์กรเพื่อสังคม โดยผลการรณรงค์บนพื้นที่ออนไลน์ Change.org มี 2 รูปแบบ ได้แก่ แคมเปญที่ได้รับความสนใจจากสาธารณชน และแคมเปญที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบาย ผลการวิจัยในประเด็นที่สองพบว่ากลยุทธ์การสื่อสารในการสร้างการมีส่วนร่วมของสาธารณชนบนพื้นที่ออนไลน์ Change.org มีทั้งหมด 4 กลยุทธ์ ได้แก่ (1) การทำให้เห็นภาพ หรือจินตทัศน์ (Visualization) (2) การสร้างความผูกพันกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder Engagement) (3) การจัดการข้อมูล (Information Management) และ (4) ความเชื่อมโยงกับสถานการณ์ปัจจุบัน (Current issues …


การสื่อสารอัตลักษณ์และบทบาททางสังคมของลิเกไทใหญ่, ปรีดาพร ศรีเมือง Jan 2017

การสื่อสารอัตลักษณ์และบทบาททางสังคมของลิเกไทใหญ่, ปรีดาพร ศรีเมือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการแสดงลิเกไทใหญ่ อัตลักษณ์และบทบาททางสังคมของการแสดงลิเกไทใหญ่ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแสดงลิเกไทใหญ่ จำนวน 20 คน กลุ่มผู้ชม จำนวน 50 คน นักวิชาการไทใหญ่ จำนวน 2 คน เก็บข้อมูลในช่วงเดือนตุลาคม 2558 - มีนาคม 2560 โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interviews) และการบันทึกข้อมูลการแสดงสดของลิเกไทใหญ่ (ทั้งในประเทศไทยและรัฐฉานประเทศพม่า) จำนวน 12 ครั้ง รวมทั้งจากเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้อง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบในการแสดงลิเกไทใหญ่มีทั้งหมด 12 องค์ประกอบ คือ 1) ขั้นตอนการแสดง 2) เครื่องดนตรีและเพลง 3) ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการแสดงและการแสดง 4) สถานที่ฉากและเวที 5) ช่วงเวลา/โอกาสของการแสดง 6) เครื่องแต่งกาย 7) ความรู้เกี่ยวกับลิเกไทใหญ่ 8) ข้อห้ามและความเชื่อ 9) การร้องโดยใช้ภาษาถิ่นไทใหญ่ 10) การไหว้ครู 11) ความเชื่อเรื่องเทพสรัสวดี 12) ความสัมพันธ์ระหว่างชายหญิง 2. อัตลักษณ์ของการแสดงลิเกไทใหญ่ มีทั้งหมด 6 อัตลักษณ์ คือ1) อัตลักษณ์ด้านบทเพลง 2) ด้านภาษา 3) ด้านสุนทรีย์ 4) ด้านการแต่งกาย 5) ด้านวรรณกรรมพื้นบ้าน และ 6) ด้านความเป็นชนกลุ่มน้อยที่รักประเทศชาติ 3. บทบาททางสังคมของลิเกไทใหญ่ พบว่า มี 12 ประการบทบาท คือ 1) บทบาทในการพัฒนาตัวเอง 2) การยกระดับสถานภาพบุคคลในสังคม 3) การเป็นสื่อในการเห็นตนเองและผู้อื่น 4) การสร้างความทรงจำร่วมกัน 5) การสร้างความสามัคคี 6) การให้ความบันเทิง 7) …


นโยบายของญี่ปุ่นต่อโครงสร้างอำนาจใหม่ในเอเชีย-แปซิฟิก: ศึกษาการเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิกของญี่ปุ่น, กนกวรรณ เชาวกิจ Jan 2017

นโยบายของญี่ปุ่นต่อโครงสร้างอำนาจใหม่ในเอเชีย-แปซิฟิก: ศึกษาการเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิกของญี่ปุ่น, กนกวรรณ เชาวกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาการเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (Trans-Pacific Strategic Economic Partnership Agreement: TPP)​ ของญี่ปุ่น ค.ศ. 2013 โดยใช้แนวคิดการเข้าร่วมเป็นพันธมิตร (Alliance) และแนวคิดการคานอำนาจ (Balance of Power) ซึ่งเป็นกรอบแนวคิดที่สำคัญของการศึกษาด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยงานวิจัยชิ้นนี้มีสมมติฐานว่า ญี่ปุ่นคาดหวังว่าจะใช้ข้อตกลง TPP เป็นเครื่องมือในการกระชับความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ ในเชิงยุทธศาสตร์ความมั่นคง เพราะการที่สหรัฐฯ สามารถคงอิทธิพลในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิกผ่านนโยบายการหันความสนใจมาสู่เอเชีย (Pivot to Asia) เป็นการคานบทบาทและอิทธิพลของจีนและกลุ่มความร่วมมือระหว่างประเทศที่มีจีนเป็นผู้ขับเคลื่อนไม่ให้มีบทบาทครอบงำในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก จากการศึกษาพบว่า ญี่ปุ่นประกาศความสนใจที่จะเข้าร่วมเจรจาข้อตกลง TPP ตั้งแต่เดือนตุลาคม ค.ศ. 2010 ซึ่งรัฐบาลพรรค DPJ ต้องเผชิญกับการคัดค้านภายในประเทศและปัญหาภัยพิบัติแผ่นดินไหว ค.ศ. 2011 ทำให้ต้องเลื่อนการเข้าร่วมเจรจาข้อตกลง TPP ออกไป แต่ในสมัยรัฐบาลพรรค LDP สามารถผลักดันข้อตกลง TPP และโน้มน้าวประชาชนให้เห็นด้วยกับข้อตกลง TPP จนสามารถประกาศให้ญี่ปุ่นเข้าร่วมข้อตกลง TPP อย่างเป็นทางการได้เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 ทั้งนี้พบว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้ญี่ปุ่นต้องการเข้าร่วมการเจรจาข้อตกลง TPP เนื่องด้วยญี่ปุ่นต้องการใช้ข้อตกลง TPP เป็นเครื่องมือในการกระชับความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ โดยแสดงให้เห็นว่าระบบพันธมิตรระหว่างญี่ปุ่นและสหรัฐฯ ยังคงมีความเข้มแข็งอยู่ โดยข้อตกลง TPP ช่วยสนับสนุนนโยบายการหันความสนใจมาสู่เอเชีย (Pivot to Asia) เพื่อให้สหรัฐฯ ยังคงมีบทบาทในภูมิภาคต่อไป เพื่อสกัดกั้นการขยายบทบาทและอิทธิพลของจีน อย่างไรก็ตาม แม้สหรัฐฯ ได้ถอนตัวออกจากข้อตกลง TPP แต่ญี่ปุ่นยังคงผลักดันข้อตกลง TPP ในฐานะเครื่องมือเชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญของตนต่อไป


ประสบการณ์ทางจิตใจในระยะแรกของพ่อแม่หลังจากลูกได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ, เพิ่มพูน สานิชวรรณกุล Jan 2017

ประสบการณ์ทางจิตใจในระยะแรกของพ่อแม่หลังจากลูกได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ, เพิ่มพูน สานิชวรรณกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ทางจิตใจในระยะแรกของพ่อแม่หลังจากลูกได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ผู้ให้ข้อมูลในงานวิจัยครั้งนี้ คือ พ่อแม่ที่ลูกได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษจากกุมารแพทย์สาขาพัฒนาการและพฤติกรรมและจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น จำนวน 7 ราย คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจนข้อมูลอิ่มตัว และวิเคราะห์ข้อมูลตามแนวการวิจัยคุณภาพเชิงปรากฏการณ์วิทยา ผลการวิจัยพบ 3 ประเด็นหลักคือ (1) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรับการวินิจฉัยและการรักษาทางการแพทย์ ได้แก่ การมีปัญหาในการเลี้ยงดูลูก การสังเกตและการรับรู้ความผิดปกติของบุคคลรอบข้าง และทรัพยากรในการรักษา (2) การรับรู้ผลการวินิจฉัย ได้แก่ ข้อมูลที่ได้รับจากบุคลากรทางการแพทย์ ความไม่อยากยอมรับผลการวินิจฉัย และการยอมรับผลการวินิจฉัยและความพร้อมที่จะดูแลลูก (3) กระบวนการปรับตัวและการก้าวข้ามผ่านอุปสรรค ได้แก่ ความยากลำบากของพ่อแม่ที่มีลูกเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ กำลังใจจากครอบครัว การสนับสนุนจากแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ แรงบันดาลใจจากพ่อแม่คนอื่น และความมุ่งมั่นตั้งใจในการดูแลลูก


ผลของการยืนยันตนเองต่อการลดสภาวะวิตกกังวลการพูดในที่สาธารณะ : อิทธิพลกำกับของคุณลักษณะความวิตกกังวลการพูดในที่สาธารณะและการเห็นคุณค่าในตนเอง, ธนิกานต์ มณีขาว Jan 2017

ผลของการยืนยันตนเองต่อการลดสภาวะวิตกกังวลการพูดในที่สาธารณะ : อิทธิพลกำกับของคุณลักษณะความวิตกกังวลการพูดในที่สาธารณะและการเห็นคุณค่าในตนเอง, ธนิกานต์ มณีขาว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการลดสภาวะความวิตกกังวลการพูดในที่สาธารณะด้วยทฤษฎีการยืนยันตนเอง โดยใช้วิธีที่หลากหลายในการวัดสภาวะความวิตกกังวลการพูดในที่สาธารณะ ได้แก่ การรายงานตนเอง ความแปรปรวนอัตราการเต้นหัวใจ และการนำไฟฟ้าที่ผิวหนัง และยังศึกษาอิทธิพลกำกับของคุณลักษณะความวิตกกังวลการพูดในที่สาธารณะและการเห็นคุณค่าในตนเอง โดยมีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับปริญญาตรี ชั้นปี 1-4 ช่วงอายุ 18-23 ปี จำนวน 90 คน ถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุม และกลุ่มยืนยันตนเอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป เครื่องมือวัดคุณลักษณะความวิตกกังวลการพูดในที่สาธารณะ สภาวะความวิตกกังวลการพูดในที่สาธารณะ การเห็นคุณค่าในตนเอง ศักดิ์ศรีในตนเอง เครื่องมือวัดความแปรปรวนอัตราการเต้นหัวใจและการนำไฟฟ้าที่ผิวหนัง ผลการวิเคราะห์เส้นทาง (path analysis) ด้วยโปรแกรม LISREL พบว่าโมเดลที่มีการเห็นคุณค่าในตนเองและคุณลักษณะความวิตกกังวลการพูดในที่สาธารณะเป็นตัวแปรกำกับระหว่างการยืนยันตนเองและสภาวะความวิตกกังวลการพูดในที่สาธารณะสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี (x2 = 6.71, p = 0.67, df = 9, x2/df = 0.75, GFI = 0.99, AGFI = 0.89, CFI = 1.00, RMSEA = 0.00, RMR = 0.50) การยืนยันตนเองมีอิทธิพลทางลบต่อการนำไฟฟ้าที่ผิวหนังอย่างมีนัยสำคัญ (B = -0.21, p < .01) และพบว่าการเห็นคุณค่าในตนเองเป็นตัวแปรกำกับผลของการยืนยันตนเองต่อสภาวะความวิตกกังวลการพูดในที่สาธารณะที่วัดด้วยความแปรปรวนอัตราการเต้นหัวใจ โดยอิทธิพลดังกล่าวจะสูงในคนที่มีการเห็นคุณค่าในตนเองต่ำ แต่ไม่พบอิทธิพลกำกับของคุณลักษณะความวิตกกังวลการพูดในที่สาธารณะ


การกลับใจของผู้พ้นโทษผ่านทางการใช้ชีวิตในบ้านกึ่งวิถีแนวคริสต์ : ศึกษากรณีบ้านกึ่งวิถีบ้านพระพรของมูลนิธิพันธกิจเรือนจำคริสเตียน, ทิวาพร เดชมณี Jan 2017

การกลับใจของผู้พ้นโทษผ่านทางการใช้ชีวิตในบ้านกึ่งวิถีแนวคริสต์ : ศึกษากรณีบ้านกึ่งวิถีบ้านพระพรของมูลนิธิพันธกิจเรือนจำคริสเตียน, ทิวาพร เดชมณี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่องการกลับใจของผู้พ้นโทษในบ้านกึ่งวิถีแนวคริสต์ ศึกษากรณีบ้านกึ่งวิถีบ้านพระพร ของมูลนิธิพันธกิจเรือนจำคริสเตียน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและรูปแบบการดำเนินกระบวนการของบ้านกึ่งวิถีบ้านพระพร กระบวนการกลับใจที่เกิดขึ้นกับผู้พ้นโทษที่สมัครใจเข้าร่วมในบ้านกึ่งวิถีบ้านพระพร และแนวทางในการพัฒนาบทบาทของภาคประชาสังคมในรูปแบบของบ้านกึ่งวิถี ที่นำเอาหลักคำสอนในพระคริสตธรรมคัมภีร์มาปรับใช้ช่วยเหลือผู้พ้นโทษที่มีความแตกต่างหลากหลายให้กลับสู่สังคม โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่ออธิบายประสบการณ์การกลับใจของผู้พ้นโทษและการดำเนินการในบ้านกึ่งวิถีแนวคริสต์ ผลการวิจัยพบว่า (1) การดำเนินงานของบ้านพระพรมีการดูแลสมาชิกอย่างเป็นระบบ กิจกรรมต่างๆส่งเสริมระเบียบวินัยและความรับผิดชอบของสมาชิก ดูแลปัจจัยพื้นฐาน ฝึกอาชีพเสริม และมีชั้นเรียนเพื่อพัฒนาความรู้ทางพระคัมภีร์ นอกจากนี้ ยังมีกระบวนการจัดการกับอารมณ์และพฤติกรรมติดตัวของสมาชิกให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้น มีคริสตจักรพระพรเป็นศูนย์กลางประสานงานกับผู้พ้นโทษและเป็นสถานที่ที่สมาชิกเก่าและใหม่สามารถกลับมารวมตัวกันได้ ซึ่งทำให้เกิดพันธะทางสังคมที่ต่อเนื่องช่วยในการสอดส่องดูแลพฤติกรรมอย่างไม่เป็นทางการเมื่อกลับสู่สังคม (2) กระบวนการกลับใจของสมาชิกในบ้านพระพร พบว่าสมาชิกมีการเปลี่ยนแปลงในจิตใจคือตัดสินใจที่จะละทิ้งการกระทำผิดและตั้งใจดำเนินชีวิตตามแบบอย่างของพระเยซูคริสต์เริ่มตั้งแต่ในเรือนจำ และมีสมาชิกบางคนเกิดการเปลี่ยนแปลงนี้เมื่อได้รับการฝึกฝนในบ้านพระพรแล้ว การเปลี่ยนแปลงเกิดทั้งด้านพฤติกรรม ด้านอัตมโนทัศน์ และด้านจิตวิญญาณส่งผลให้สมาชิกมีมุมมองใหม่ต่อตนเองและผู้อื่นในทางที่ดีขึ้น ช่วยให้พวกเขาดำเนินชีวิตในช่วงเปลี่ยนผ่าน (Transitional Period) จากเรือนจำไปสู่สังคมภายนอกได้อย่างเข้มแข็ง (3) ควรมีการขยายแนวคิดในการส่งต่อผู้พ้นโทษจากเรือนจำไปอยู่ในการดูแลของคริสตจักรหรือให้หน่วยงานภาคเอกชนอื่นๆ เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาแบบครบวงจรโดยอาจพ่วงมิติของศาสนาอันจะส่งผลให้เกิดการช่วยเหลือผู้พ้นโทษที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น


ระดับค่าจ้างที่แตกต่างกันในพื้นที่ความหนาแน่นกรุงเทพมหานครผ่านเว็บไซต์หางานออนไลน์, จุมพล กูลโท Jan 2017

ระดับค่าจ้างที่แตกต่างกันในพื้นที่ความหนาแน่นกรุงเทพมหานครผ่านเว็บไซต์หางานออนไลน์, จุมพล กูลโท

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แนวคิดเศรษฐศาสตร์จุลภาคเชื่อว่าศักยภาพของพื้นที่จะส่งผลโดยตรงกับค่าแรงของแรงงานในพื้นที่ด้วย การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ1) แสดงให้เห็นการเกิดขึ้นของ Intra-Urban Wage Premium ในแต่ละย่านของกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาลักษณะของเมืองว่าเอื้อต่อการเกิด Intra-Urban Wage Premium และ 3) ศึกษาผลกระทบกับประสบการณ์ทำงานที่เกิดจากการทำงานในย่านพื้นที่ต่างๆ โดยงานวิจัยชิ้นนี้เป็นการนำข้อมูลจากบัญชีผู้ใช้งานในเว็บไซต์หางานออนไลน์ การวิเคราะห์จะต่อยอดด้วยการนำชื่อบริษัทจากประวัติงานของผู้ใช้บริการมาค้นหาตำแหน่งพิกัดสถานที่ผ่าน Google Map เพื่อ 1) ระบุย่านพื้นที่ของสถานที่ตั้งบริษัท โดยผู้วิจัยทำการแบ่งย่านเมืองทั้งสิ้น 8 เขตเมือง ตามความหนาแน่นของการจ้างงานและระดับเงินเดือนของปี 2558 (49,730 ตำแหน่งงาน) และ 2) เพื่อระบุลักษณะของเมือง (Urban Characters) ที่บริษัทตั้งอยู่ ผ่านฐานข้อมูล GoodWalk Score โดยศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเลือกใช้ตัวแบบ Mincer's Equation ในการวิเคราะห์ผู้ที่ตัดสินใจเปลี่ยนงานใหม่ในปี พ.ศ. 2559 (3,652 ราย) ผลการศึกษาพบว่า 1) การเกิดขึ้นของ Intra-Urban Wage Premium จะมีความเข้มข้นสูงในย่านสีลม-สาทร และอโศก-เพชรบุรี มากตามลำดับ 2) ลักษณะเมืองที่เอื้อให้การเข้าถึงพื้นที่ด้วยการเดินเท้า (GoodWalk Score) จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มขึ้นของระดับค่าจ้างโดยเฉลี่ยภายในพื้นที่ อีกทั้ง 3) ประสบการณ์ของแรงงานที่เคยทำงานในเขตที่มีความเข้มข้นของการเป็นเมืองสูงจะช่วยให้ได้รับ Intra-Urban Wage Premium จากการเข้าทำงานใหม่สูงสอดคล้องกัน


ผลกระทบของการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่อระบบเศรษฐกิจไทย: ศึกษาโดยใช้ตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตระหว่างภาค, อาทิตย์ ว่องวิกย์การ Jan 2017

ผลกระทบของการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่อระบบเศรษฐกิจไทย: ศึกษาโดยใช้ตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตระหว่างภาค, อาทิตย์ ว่องวิกย์การ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อระบบเศรษฐกิจในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย โดยประยุกต์ใช้แบบจำลองปัจจัยการผลิตและผลผลิตระหว่างภาคของประเทศเป็นเครื่องมือในการศึกษาด้วยวิธี Multiplier Decomposition Analysis การศึกษาผลกระทบจากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจะถูกจำแนกออกเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นภายในภูมิภาค ผลกระทบระหว่างภาค และผลกระทบย้อนกลับระหว่างภาค นอกจากนี้การศึกษานี้ยังประยุกต์ใช้แบบจำลองที่สร้างขึ้นเพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบผลกระทบของโครงการรถไฟความเร็วสูงสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือผ่านการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อระบบเศรษฐกิจในเชิงภูมิภาค ผลการศึกษาผลกระทบของการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติชี้ให้เห็นว่า กรุงเทพมหานครและปริมณฑลและภาคตะวันออกขายผลผลิตไปยังภูมิภาคอื่นๆ หรืออาจกล่าวได้ว่า การท่องเที่ยวในภูมิภาคต่างๆ ต้องพึ่งพาผลผลิตจากภูมิภาคทั้งสองในระดับสูงโดยเปรียบเทียบ ทั้งนี้รัฐบาลควรดำเนินนโยบายเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตของกรุงเทพมหานครและปริมณฑลและภาคตะวันออกให้ใช้วัตถุดิบจากภูมิภาคอื่นๆ มากขึ้นเพื่อกระจายรายได้จากการท่องเที่ยวในส่วนกลางไปยังภูมิภาคอื่นๆ ในขณะที่ภาคกลางแสดงบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงภูมิภาคที่เป็นแหล่งผลิตสินค้าที่สำคัญของประเทศไปสู่การบริโภคขั้นสุดท้ายในภูมิภาคอื่นๆ กรณีศึกษาจากสถานการณ์จำลองพบว่า รถไฟฟ้าความเร็วสูงสายเหนือส่งผลกระทบต่อมูลค่าผลผลิตในระบบเศรษฐกิจมากกว่ารถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเฉียงเหนือ โดยสาเหตุสำคัญเกิดจากผลกระทบระหว่างภาคของทั้งสองโครงการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญซึ่งปัจจัยหนึ่งเกิดจากความยาวของเส้นทางที่พาดผ่านภาคกลางที่แตกต่างกัน ดังนั้น ในการประเมินผลกระทบของโครงการลงทุนใดๆ ภาครัฐควรให้ความสำคัญกับผลกระทบระหว่างภาคเนื่องจากเป็นส่วนที่สะท้อนถึงการกระจายผลกระทบไปยังภูมิภาคต่างๆ


ผลกระทบของนโยบายประชานิยมแบบทักษิณต่อการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทย, ภัทร หวังกิตติกุล Jan 2017

ผลกระทบของนโยบายประชานิยมแบบทักษิณต่อการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทย, ภัทร หวังกิตติกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้เป็นการนำเสนอเนื้อหาเรื่อง "ผลกระทบของนโยบายประชานิยมแบบทักษิณที่มีต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของไทย" โดยใช้การเก็บรวบรวมข้อมูล 2 รูปแบบคือ รูปแบบเอกสาร และ รูปแบบการสัมภาษณ์ ก่อนจะนำมาตรวจสอบ วิเคราะห์ และอธิบายเป็นผลการวิจัยของวิทยานิพนธ์นี้ ผลจากการวิจัยได้พบว่า นโยบายประชานิยมเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มคนชนชั้นกลางกับกลุ่มคนชนชั้นรากหญ้าด้วยเหตุผล 2 ประการคือ การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางอำนาจในอดีต และ ความไม่เป็นธรรมในการจัดสรรทรัพยากร อันนำไปสู่การแบ่งแยกกลุ่มคนทั้งสองกลุ่มออกเป็นสองฝ่ายคือฝ่ายที่ได้รับผลประโยชน์จากนโยบาย (กลุ่มคนชนชั้นรากหญ้า) และฝ่ายที่ได้รับผลกระทบจากนโยบาย (กลุ่มคนชนชั้นกลาง) ทว่าด้วยสภาพความเป็นจริงในสังคมไทยที่กลุ่มคนทั้งสองกลุ่มมีจำนวนที่แตกต่างกันมาก กลุ่มคนชนชั้นรากหญ้าซี่งเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ในสังคมจึงสามารถใช้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยเป็นเครื่องมือในการปกป้องนโยบายประชานิยมที่พวกตนได้รับผลประโยชน์เอาไว้ ในขณะที่กลุ่มคนชนชั้นกลางซึ่งเป็นกลุ่มคนส่วนน้อยและได้รับผลกระทบจากนโยบายประชานิยมมิอาจใช้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยเป็นเครื่องมือในการต่อสู้กับกลุ่มคนชนชั้นรากหญ้าได้ กลุ่มคนชนชั้นกลางจึงหันไปร่วมมือกับกลุ่มอำนาจนอกระบบ เช่น ทหาร ในการเข้ามายึดอำนาจการปกครองอันส่งผลให้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยของไทยสิ้นสุดลง สรุปผลการวิจัย นโยบายประชานิยมทำให้อำนาจทางการเมืองของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยตกอยู่ในมือของกลุ่มคนชนชั้นรากหญ้าเพียงกลุ่มเดียวอย่างเด็ดขาด กลุ่มคนชนชั้นกลางซึ่งสูญเสียอำนาจทางการเมืองจึงตัดสินใจล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยลงด้วยการรัฐประหารใน พ.ศ.2557


Sisters, Boyfriends, And The Big City: Trans Entertainers And Sex Workers In Globalized Thailand, Leo Bernardo Escalante Villar Jan 2017

Sisters, Boyfriends, And The Big City: Trans Entertainers And Sex Workers In Globalized Thailand, Leo Bernardo Escalante Villar

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

As transgender issues penetrate mainstream human rights dialogue, most of the current understanding and research on this marginalized group revolve around the perspective of HIV/AIDS prevention and awareness. To add to the growing academic discourse on transgender women in the world of work, this research looks into the lives of transgender women sex workers and entertainers in the major cities of Bangkok and Pattaya in Thailand. The research uses a qualitative approach consisting of content analysis of relevant Thai policies and semi-structured interviews with 8 transgender women, a transgender-focused local NGO, and the management team of a prominent transgender cabaret …


ไมโครไบโอมในดินภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย, นราพร สมบูรณ์นะ, อลิษา วิลันโท, รัตน์มณี ชนะบุญ, ภัสสิริ โคมกระจ่าง, สมศักดิ์ ปัญหา Jan 2017

ไมโครไบโอมในดินภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย, นราพร สมบูรณ์นะ, อลิษา วิลันโท, รัตน์มณี ชนะบุญ, ภัสสิริ โคมกระจ่าง, สมศักดิ์ ปัญหา

UNISEARCH (Unisearch Journal)

ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ พืชที่ปลูกกันส่วนใหญ่ในประเทศ ได้แก่ ข้าว (มากกว่าร้อยละ 50) ตามด้วยผักและผลไม้ต่าง ๆ (เช่น ชา ข้าวโพดและกล้วย) (NESDB, 2005)ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ขนาดใหญ่ โดยคิดเป็นหนึ่งในสามของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ(168,854 ตารางกิโลเมตร) และประชากรส่วนใหญ่ของประเทศอาศัยอยู่ในพื้นที่นี้ ประชากรของภาคตะวันออกฉียงเหนือส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม แต่กระนั้น คุณภาพของดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นต่ำสำหรับการทำเกษตรกรรมเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศ (Fukai, Sittisuang, and Chanphengsay,1998) เนื่องจากดินมีลักษณะเป็นทรายเนื้อละเอียด นอกจากนี้ ลักษณะภูมิประเทศยังมีแหล่งน้ำอยู จำกัดปริมาณน้ำฝนก็ไม่แน่นอน กล่าวคือ บางครั้งมีฤดูแล้งที่ยาวนาน ตามด้วยฤดูฝนที่มีน้ำท่วม แม้ปัญหาจะทุเลาลงบ้างเพราะมีโครงการชลประทาน แต่การแก้ปัญหาดังกล่าวยังก่อให้เกิดปัญหาใหม่ นั่นคือ ปัญหาดินเค็ม นอกจากนี้พื้นที่เกษตรกรรมหลายแห่งกลายสภาพมาจากการตัดไม้ทำลายป่า ปัญหาอีกอย่างหนึ่งคือ ผลผลิตต่อพื้นที่เฉลี่ยค่อนข้างต่ำ ทำให้เกษตรกรต้องพึ่งพาการทำเกษตรแบบอุตสาหกรรม (industrial agriculture) ซึ่งเป็นการเร่งให้คุณภาพดินเสื่อมเสียเร็วขึ้นไปอีก (Fedra, Winkelbauer, and Pantulu, 1991; NESDB, 2005)เมื่อสังคมสมัยใหม่กลายเป็นสังคมอุตสาหกรรม การเกษตรจึงเปลี่ยนเป็นการเกษตรอุตสาหกรรมไปด้วยเกษตรอุตสาหกรรม หมายถึง ระบบการทำการเกษตรโดยใช้ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง ยากำจัดวัชพืช และสารเคมีสังเคราะห์ และสิ่งมีชีวิตตัดต่อพันธุกรรม การให้หัวอาหารแก่สัตว์เลี้ยง และมีการทำชลประทานและไถพรวนกันอย่างแพร่หลาย วิธีการนี้ทำให้สามารถได้ผลผลิตจำนวนมากในพื้นที่น้อยและใช้แรงงานมนุษย์น้อยลง(Seufert, Ramankutty, and Foley, 2012) แต่กิจกรรมต่าง ๆ ที่ใช้ทรัพยากรและพลังงานมาก ๆ แบบเกษตรอุตสาหกรรมส่งผลร้ายต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การชะละลายของสารเคมี ความเสื่อมโทรมของดินและการสูญูเสียความหลากหลายทางชีวภาพ งานวิจัยมากมายที่ทำ การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างเกษตรอุตสาหกรรมและเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็นวิธีการที่ตรงข้ามกันแสดงให้เห็นว่าเกษตรอินทรีย์ทำให้มีความหลากหลายทางชีวภาพและความอุดมสมบูรณ์มากกว่าเกษตรอุตสาหกรรม (Bengtsson, Ahnstrom, and Weibull, 2005) นอกจากนี้การใช้สารเคมี เช่น ยาฆ่าแมลง ยังทำให้มนุษย์เผชิญกับความเสี่ยงด้านสุขภาพ แต่กระนั้น เนื่องจากเกษตรอุตสาหกรรมให้ผลผลิตที่รวดเร็วกว่าเกษตรกรในประเทศไทยจึงยังเป็นที่นิยม ทำให้เกิดปัญหาดินคุณภาพต่ำอย่างต่อเนื่อง (Fukai, Sittisuang, and Chanphengsay, 1998)


"รอบตัวเรา" เกษตรกรไทยกับคุณภาพชีวิต, ทวีวงศ์ ศรีบุรี Jan 2017

"รอบตัวเรา" เกษตรกรไทยกับคุณภาพชีวิต, ทวีวงศ์ ศรีบุรี

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.