Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 2971 - 3000 of 5570

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

ปัญหาทางจิตเวชหลังคลอด (Postpartum Psychiatric Disorders), ชุติมา หรุ่มเรืองวงษ์ Jan 2016

ปัญหาทางจิตเวชหลังคลอด (Postpartum Psychiatric Disorders), ชุติมา หรุ่มเรืองวงษ์

UNISEARCH (Unisearch Journal)

ในผู้ป่วยเพศหญิง ถือว่าช่วงเวลาหลังคลอด เป็นช่วงที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาทางจิตเวชมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาอื่น ๆ ในชีวิต (Miller 2002; Burt and Hendrick, 2005) โดยกลุ่มโรคหรือปัญหาทางจิตเวชที่สำคัญและจำเป็นต้องวินิจฉัยแยกโรคให้ได้ เพื่อนำไปสู่การรักษาที่เหมาะสม ได้แก่ ภาวะอารมณ์เศร้า หลังคลอด (Postpartum blues), โรคซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum depression) และวิกลจริตหลังคลอด (Postpartum psychosis)


การใช้รำกระทบไม้ในผู้ป่วยพาร์กินสัน, สุรสา โค้งประเสริฐ, กนกวรรณ วังยพงศ์สถาพร Jan 2016

การใช้รำกระทบไม้ในผู้ป่วยพาร์กินสัน, สุรสา โค้งประเสริฐ, กนกวรรณ วังยพงศ์สถาพร

UNISEARCH (Unisearch Journal)

โรคพาร์กินสัน (Parkinson's disease) คือ โรคความเสื่อมทางระบบประสาท (Neurodegenerativedisease) ที่พบบ่อยเป็นอันดับที่ 2 รองลงมาจากโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer disease) โรคพาร์กินสันเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบประสาทในสมองส่วนปมประสาทฐานหรือเบซัลแกงเกลีย (Basalganglia) ในส่วนของซับสแตนเซียไนกรา (Substantianigra) โดยเซลล์ใน Substantia nigra มีหน้าที่ในการผลิตโดปามีน (Dopamine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ทำหน้าที่สำคัญในการเชื่อมโยงและการส่งผ่านของกระแสประสาทจากสมองในส่วนต่างๆ เมื่อเซลล์ในส่วนของ Substantia nigra เสื่อมลง จะทำให้ระดับโดปามีนในสมองนั้นลดลง ส่งผลให้การส่งกระแสประสาทจาก Basal ganglia ในแต่ละส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ต่อเนื่อง การเคลื่อนไหวขาดความสมดุลและสอดคล้องต่อเนื่อง ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติตามมา เช่น อาการสั่น (Tremor) อาการเกร็งแข็ง(Rigidity) การเคลื่อนไหวช้า (Bradykinesia) และการทรงตัวไม่มั่นคง (Postural instability) (Nolden,Tartavoulle, and Porche, 2014).


วัสดุเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อคุณภาพน้ำและอาหาร, สุวบุญ จิรชาญชัย Jan 2016

วัสดุเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อคุณภาพน้ำและอาหาร, สุวบุญ จิรชาญชัย

UNISEARCH (Unisearch Journal)

ในอดีตเราปฏิเสธไม่ได้ว่ามนุษย์ทุกคนดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยปัจจัยสี่ อันได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่มห่ม ยารักษาโรคและที่อยู่อาศัย แต่ในปัจจุบันในการดำรงชีวิตยังครอบคลุม การสื่อสาร การคมนาคมและขนส่ง และรูปแบบชีวิตในสังคมกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป มนุษย์จึงต้องอาศัยปัจจัยที่มากกว่านั้น เพื่อตอบสนองความต้องการในการดำรงชีวิต การผลิตวัสดุเพื่อตอบโจทย์ความต้องการปัจจัยเหล่านี้ รวมไปถึงความต้องการที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นอยู่เสมอ จึงได้ถูกพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง


การคิดผ่านการปฏิบัติ : สื่อสร้างสรรค์ในฐานะระเบียบวิธีในการวิจัย, จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์ Jan 2016

การคิดผ่านการปฏิบัติ : สื่อสร้างสรรค์ในฐานะระเบียบวิธีในการวิจัย, จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์

UNISEARCH (Unisearch Journal)

ความเป็นประเทศหรือรัฐชาติสมัยใหม่นั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของความคิดและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับเส้นแบ่งเขตแดนที่ชัดเจน ร่วมกับการสร้างอัตลักษณ์ของชุมชนที่อาศัยอยู่ภายในเขตแดนนั้น ๆ (Holton, 1998) เช่นเดียวกับประชาคมยุโรป ประชาคมอาเซียนเกิดขึ้นมาด้วยเป้าหมายที่จะขจัดเขตแดนทางการเมืองของประเทศสมาชิก และเพื่อกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไรก็ตาม คงต้องยอมรับว่าหนทางสู่เป้าหมายดังกล่าวนั้นยังอีกยาวไกล เพราะในขณะที่การสื่อสารของโลกปัจจุบันได้สร้างสำนึกของโลกที่ไร้พรมแดนและยังได้ก่อให้เกิดวัฒนธรรมที่ยืดหยุ่น และเลื่อนไหลพ้นจากความเป็นชาติ กล่าวคือ ผู้คนในซีกโลกหนึ่งอาจจะเกิดความรู้สึกผูกพันกับข่าวสารและวัฒนธรรมของผู้คนในอีกซีกโลกหนึ่งโดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ในขณะเดียวกันนี้เองก็กลับมีความพยายามของรัฐชาติที่จะสถาปนาพรมแดนทางการเมืองและสร้างอัตลักษณ์ของชาติที่แข็งตัวยิ่งกว่าเก่า ดังจะเห็นได้จากกลุ่มคลั่งชาติและกลุ่มเหยียดเชื้อชาติที่กลับมามีอิทธิพลมากขึ้นในแต่ละประเทศ สภาวะเช่นนี้ย่อมก่อให้เกิดความสับสนระหว่างสำนึกของความเป็นพลเมืองโลกกับสำนึกของความเป็นพลเมืองของรัฐชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มคนที่ก้าวข้ามพรมแดนของรัฐชาติผ่านการเคลื่อนย้ายถิ่นทางกายภาพและการก้าวข้ามวัฒนธรรม"เรื่องเล่าดิจิทัลกับความเป็นพลเมืองอาเซียน" เป็นโครงการวิจัยบนพื้นฐานของปฏิบัติการ (Practice-basedResearch) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของเรื่องเล่าดิจิทัลที่มีผลต่อแนวทางในการสร้างสรรค์เรื่องเล่าในบริบทสังคมวัฒนธรรมไร้พรมแดนและการสร้างความเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมระหว่างประชาชนในประเทศสมาชิกอาเซียน ในการศึกษาได้คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นเยาวชนจำนวน 30 คน จากชุมชนต่าง ๆ ในประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาร่วมมือกันคิดเกี่ยวกับประเด็นด้านการเมืองและวัฒนธรรม ผ่านกระบวนการฝึกอบรมและสร้างสรรค์สื่อ เพื่อสร้างอัตลักษณ์ของประชาคมอาเซียนที่กำลังเกิดขึ้นใหม่นี้


บทบรรณาธิการ Jan 2016

บทบรรณาธิการ

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


กลยุทธ์การเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการของครูเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศสมาชิกในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน), ปิยพงษ์ สุเมตติกุล Jan 2016

กลยุทธ์การเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการของครูเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศสมาชิกในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน), ปิยพงษ์ สุเมตติกุล

UNISEARCH (Unisearch Journal)

อาเซียน คือ การรวมตัวกันเป็นองค์กรระหว่างประเทศในระดับภูมิภาคของประเทศต่าง ๆ ที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในชื่อสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South EastAsian Nations) โดยใช้ชื่อย่อว่า ASEAN จุดประสงค์ในการจัดตั้งกลุ่มเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านสันติภาพ ด้านความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ ด้านการกระจายองค์ความรู้และด้านสังคมวัฒนธรรม บนพื้นฐานความเท่าเทียมกันและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิกทุกประเทศ ความร่วมมือในด้านการศึกษาระหว่างประเทศในกลุ่มสมาชิกอาเซียนได้มีการประชุมหารือเพื่อพิจารณาแนวทางความร่วมมือด้านการศึกษา โดยการดำเนินกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ เป็นประจำทุกปีแต่ความร่วมมือดังกล่าวยังไม่ปรากฏผลให้เห็นชัดเจนมากเท่าใดนัก อาจเนื่องมาจากความแตกต่างในด้านบริบทของประเทศสมาชิกแต่ละประเทศที่ทำให้การพัฒนาเป็นไปอย่างล่าช้าและไม่มีประสิทธิภาพมากเท่าที่ควรดังจะเห็นได้ชัดเจนจากรายงานผลการประเมินและการจัดลำดับคุณภาพการศึกษาที่ดำเนินการโดยโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (The Programme for International Student Assessment: PISA)จากประเทศในกลุ่มสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ มีตัวแทนเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ OECD จำนวน 5 ประเทศได้แก่ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย และเวียดนาม โดยมาเลเซียและเวียดนามได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกและเข้าร่วมการจัดอันดับ PISA ในปี ค.ศ. 2012 เป็นครั้งแรก จากผลการประเมิน PISA 2012 ของประเทศในภูมิภาคอาเซียน พบว่ามีเพียงหนึ่งหรือสองประเทศในกลุ่มประเทศสมาชิกในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น ที่มีผลการประเมินและการจัดลำดับคุณภาพการศึกษาอยู่ในระดับต้นของโลกขณะที่ประเทศอื่น ๆ รวมทั้ง ประเทศไทยต่างประสบปัญหาคุณภาพการศึกษาทั้งสิ้น และถึงแม้จะมีความพยายามในการยกระดับคุณภาพการศึกษาด้วยการจัดสรรงบประมาณจำนวนมากให้กับการพัฒนาการศึกษาแต่ผลที่ได้กลับไม่สอดคล้องกับการลงทุนที่มากมายมหาศาล จากการศึกษาข้อมูลในเรื่องการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของกลุ่มประเทศที่ประสบปัญหา พบว่า รูปแบบและวิธีการพัฒนาคุณภาพการศึกษามักมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาด้านกายภาพและการปรับโครงสร้างการบริหารจัดการสถานศึกษาเป็นหลัก นอกจากนั้นกลุ่มประเทศดังกล่าวยังให้ความสำคัญกับการบริหารทรัพยากรบุคคลทางการศึกษาในระดับน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาภาวะผู้นำของครูด้านต่าง ๆ ที่ได้รับการยอมรับจากกลุ่มประเทศที่มีผลการประเมินคุณภาพการศึกษาอยู่ในระดับสูงว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลเชิงบวกต่อคุณภาพการศึกษาของประเทศ จากความสำคัญดังกล่าวจึง เป็นที่มาของ "การศึกษากลยุทธ์การเสริมสร้างภาวะผูน้ำทางวิชาการของครูเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศสมาชิกในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(อาเซียน)" ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และนำมาซึ่งความมั่นคงด้านเศรษฐกิจการเมือง และสังคมของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อไป การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติในปัจจุบันและสภาพการปฏิบัติที่่พึงประสงค์ในอนาคตของภาวะผู้นำทางวิชาการของครูที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในประเทศสมาชิกอาเซียน แล้วจึงวิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญประเด็นภาวะผู้นำทางวิชาการของครูที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึก ษาที่ควรได้รับการเสริมสร้างโดยเร่งด่วน และเสนอกลยุทธ์การเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการของครูเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศสมาชิกอาเซียน


แนวทางการพัฒนาเครื่องมือวัดความสามารถในการรับมือและฟื้นฟูชุมชนจากภัยพิบัติน้ำท่วม, พรชัย สิทธิศรัณย์กุล, กิ่งกาญจน์ จงสุขไกล, มนทกานต์ ฉิมมามี Jan 2016

แนวทางการพัฒนาเครื่องมือวัดความสามารถในการรับมือและฟื้นฟูชุมชนจากภัยพิบัติน้ำท่วม, พรชัย สิทธิศรัณย์กุล, กิ่งกาญจน์ จงสุขไกล, มนทกานต์ ฉิมมามี

UNISEARCH (Unisearch Journal)

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา (พ.ศ. 2547-2557) ได้เกิดภัยพิบัติขนาดใหญ่เป็นจำนวนมากและส่งผลอย่างรุนแรงในหลายพื้นที่ นับเป็นภัยคุกคามความมั่นคงของมนุษย์ที่หาทางป้องกันได้ยาก อีกทั้งยังต้องใช้เวลาและทรัพยากรในการฟื้นฟูมาก ดังนั้น การบริหารจัดการภัยพิบัติจึงเป็นประเด็นท้าทายที่มีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในอนาคตของนานาประเทศทั่วโลกข้อมูลจากรายงานภัยพิบัติโลก หรือ WorldDisaster Report 2014 ของ International Federationof Red Cross and Red Crescent Societies(IFRC) (2014) สรุปผลกระทบจากภัยพิบัติทั่วโลกและจำแนกตามภูมิภาค พบว่า มีผู้เสียชีวิตจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้นทั่วโลกระหว่างปี พ.ศ. 2547-2557 เป็นจำนวนถึง 1,059,072 คน โดยในจำนวนดังกล่าวเป็นผู้เสียชีวิตเฉพาะในภูมิภาคเอเชียถึง 690,118 คน มูลค่าความเสียหายจากภัยพิบัติรวม 1,669,626 ล้านเหรียญ มูลค่าความเสียหายในภูมิภาคเอเชียจำนวน 759,647 ล้านเหรียญผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทั่วโลกจำนวน1,997 ล้านคน เป็นผู้ได้รับผลกระทบในภูมิภาคเอเชียจำนวน 1,616 ล้านคน ประเภทของภัยพิบัติเฉพาะที่เป็นภัยพิบัติธรรมชาติ (natural disaster) เกิดขึ้นรวมจำนวน 3,867 ครั้งในจำนวนนี้เป็นอุทกภัยจำนวน1,752 ครั้ง ซึ่งนับเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของจำนวนครั้งที่เกิดภัยพิบัติทั่วโลกจากการประชุม World Conference on DisasterRisk Reduction 2015 ณ เมืองเซนได (Sendai)ประเทศญี่ปุ่น ได้มีการประกาศใช้กรอบการดำเนินงานเซนไดเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ พ.ศ. 2558 - 2573(Sendai Framework for Disaster Risk Reduction2015-2030) ซึ่งเป็นแผนระยะยาว 15 ปี มีหลักการสำคัญ คือ เพื่อลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยและลดการสูญเสียชีวิต วิถีชีวิต และสุขภาพ ตลอดจนลดความสูญเสียต่อสินทรัพย์อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีเป้าหมาย คือ ป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยงใหม่ พร้อมทั้งลดความเสี่ยงที่มีอยู่เดิมตามมาตรการทางเศรษฐกิจโครงสร้าง กฎหมาย สุขภาพ วัฒนธรรม การศึกษาสภาพแวดล้อม เทคโนโลยี การเมือง และมาตรการเชิงสถาบัน (institutional) ที่มีการบูรณาการและลดความเหลื่อมล้ำในการป้องกันการทำให้ความล่อแหลมและความเปราะบางลดลง ตลอดจนเพิ่มความสามารถ


การพึ่งพาสื่อของประชาชนในเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ, พนม คลี่ฉายา Jan 2016

การพึ่งพาสื่อของประชาชนในเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ, พนม คลี่ฉายา

UNISEARCH (Unisearch Journal)

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรงอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนภัยพิบัติสึนามิที่เกิดขึ้น ในปี พ.ศ. 2547 ที่ก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิตของประชาชน รวมทั้งนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศในจังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามันของภาคใต้เป็นจำนวนมาก และมหาอุทกภัยที่เกดิ ขึ้นในปี พ.ศ. 2554ที่สร้างความเสียหายแก่พื้นที่เกษตรกรรม อุตสาหกรรม เขตเมือง บ้านพักอาศัย รวมทั้งกรุงเทพมหานครส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ บ้านเรือน ที่พักอาศัยของประชาชนจำนวนมากมาย และสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างมาก จากผลการสำรวจครัวเรือนที่ประสบภัยในพื้นที่น้ำท่วมในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงธันวาคม พ.ศ. 2554 พบว่า มีพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมถึง 61 จังหวัด ในจำนวนนี้เป็นครัวเรือนที่ถูกน้ำท่วมถึง3.9 ล้านครัวเรือน (ร้อยละ 19.00 ของครัวเรือนทั้งประเทศ) (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2555)จากเหตุการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้น พบว่า มีประเด็นปัญหาด้านการจัดการข่าวสารและการสื่อสารข้อมูล/ข้อเท็จจริงให้แก่ประชาชน ส่งผลต่อการเตรียมความพร้อมในการจัดการภัยพิบัติ การอพยพ การบริหารจัดการความเสี่ยงต่างๆ ทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ทั้ง ภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นต่อการบริหารจัดการภัยพิบัติของประเทศไทยด้วย ดังปรากฏตามรายงานข่าวที่เสนอว่า "ผลการให้ข่าวคลุมเครือนิคมอุตสาหกรรม 7 แห่งหยุดการผลิต รวมถึงผู้ผลิตข้ามชาติอย่าง โตโยต้า ฮอนด้า และนิกคอน คนงานอย่างน้อย 600,000 คนต้องหยุดงาน" (Supawan, 2554) สร้างความเสียหายต่อ โรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งสภาพเศรษฐกิจ จากเหตุการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การสื่อสารในช่วงเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ ในประเด็นนี้ Hirschburg, Dillman, and Ball-Rokeach (1986) อธิบายว่า ท่ามกลางเหตุการณ์ภัยพิบัตทางธรรมชาติย่อมก่อให้เกิดความคลุมเครือไม่ชัดเจนที่ประชาชนมีต่อเหตุการณ์ ประชาชนเกิดความรูสึ้กสับสนคลุมเครือต่อเหตุการณ์พิบัติภัยที่ส่งผลต่อความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของตนเองและครอบครัว ในสภาพการณ์เช่นนี้ประชาชนจะมีการแสวงหาข่าวสารที่ผิดแผกไปจากสภาวะปกติ หรือผิดไปจากที่เคยเปิดรับข่าวสารตามปกติในแต่ละวัน อาจกล่าวได้ว่า ในช่วงเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติประชาชนจำเป็นต้องพึ่งพาข่าวสารจากสื่อต่าง ๆ มากกว่าปกติ เพื่อให้สามารถตัดสินใจในการกระทำที่จะช่วยให้ตนเอง ครอบครัว เพื่อน และคนใกล้ชิดมีชีวิตรอดปลอดภัย และป้องกันการสูญเสียทรัพย์สินอันมีค่าของตนเองและครอบครัวไว้ได้การศึกษาวิจัยครั้งนี้มุ่งค้นหาองค์ความรู้เกี่ยวกับประเภทสื่อที่ประชาชนใช้เนื้อหาข่าวสารที่ประชาชนต้องการบทบาทการทำหน้าที่ของสื่อต่าง ๆ และผลที่เกิดขึ้นจากการเปิดรับข่าวสารของบุคคลโดยเจาะจงศึกษากรณีเฉพาะเหตุการณ์อุทกภัยในประเทศไทย เพื่ออธิบายการพึ่งพาสื่อของประชาชนในเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ อันเป็นข้อมูลพื้นฐานสำคัญสำหรับ การวางแผนการจัดการระบบการสื่อสารในเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ การทำความเข้าใจถึงความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงดังกล่าวนี้ จะช่วยให้สามารถวางแผนจัดการด้านการสื่อสารในภัยพิบัติทางธรรมชาติ เพื่อให้ประชาชนสามารถรอดปลอดภัยจากภัยพิบัติ ช่วยลดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้


สุขภาพความงามของวัยรุ่นไทย : ความอ้วน ความขาว และศัลยกรรมความงาม, เขมิกา ยามะรัต Jan 2016

สุขภาพความงามของวัยรุ่นไทย : ความอ้วน ความขาว และศัลยกรรมความงาม, เขมิกา ยามะรัต

UNISEARCH (Unisearch Journal)

วัยรุ่น เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนผ่านเป็นอย่างมากทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม เป็นวัยที่ต้องการการยอมรับจากคนรอบข้าง ความงามจึงเป็นสิ่งหนึ่งที่วัยรุ่นแสวงหา ซึ่งมีผลต่อสุขภาพทั้งทางกาย จิตใจ และครอบครัว รวมทั้งเศรษฐกิจและสังคมของประเทศโดยรวม ประเด็นเรื่องความงามส่งผลต่อ การรับรู้ภาพลักษณ์ของตนเองของวัยรุ่น (appearance)ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความเชื่อมั่นและภาคภูมิใจในตนเอง (self-esteem) เช่น น้ำหนักตัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยรุ่นหญิงซึ่งน้ำหนักตัวเป็นปัจจัยสำคัญที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในรูปร่างของตนเอง และมีผลต่อการเห็นคุณค่าในตนเองโดยรวม (Global self-esteem) โดยความเชื่อมั่นในตนเองที่ต่ำนั้น ยังมีผลต่อการปรับตัวทางสังคมซึ่งอาจเป็นปัญหาสังคมตามมาอีกด้วย (Crocker and Luhtanen, 2003) เช่น วัยรุ่นที่มีความสนใจในรูปร่างและรูปลักษณ์ของตนเองสูงมักใช้เวลาไปกับการดูแลรูปลักษณ์ การแต่งกาย การซื้อหาเสื้อผ้า หรือการเสริมสวย ซึ่งการให้ความสนใจกับประเด็นเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาสังคมและประเทศ โดยเฉพาะในสังคมที่ให้ความสำคัญกับเรื่องความสวยความงามซึ่งปรากฏในสื่อต่าง ๆ ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และอินเทอร์เน็ต ผ่านรูปแบบของการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ รวมทั้งในละครและ/หรือภาพยนตร์ที่มีส่วนกระตุ้นให้สมาชิกในสังคม รวมทั้งวัยรุ่นมีความคาดหวังให้ตนมีรูปลักษณ์อย่างที่สังคมคาดหวัง(Dohnt and Tiggemann, 2006) นอกจากนั้นยังมีประเด็นเกี่ยวกับอันตรายต่าง ๆ ที่เกิดจากการใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม และการทำศัลยกรรมที่ยังคงเกิดขึ้นอยู่เสมอ ๆการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นและประสบการณ์ของวัยรุ่นเกี่ยวกับสุขภาพความงาม ซึ่งจะทำให้ทราบถึงสถานการณ์ปัจจุบันเพื่อประโยชน์ในการวางแผน ป้องกัน และลดปัญหาที่อาจเกิดจากสุขภาพความงามของวัยรุ่นไทย


Introduction, Saikaew Thipakorn, Kanokphan Usha Jan 2016

Introduction, Saikaew Thipakorn, Kanokphan Usha

Asian Review

No abstract provided.


Japan And The Development Of Thai Women's Needlework Skills In The Reign Of King Rama V, Dollaya Tiantong Jan 2016

Japan And The Development Of Thai Women's Needlework Skills In The Reign Of King Rama V, Dollaya Tiantong

Asian Review

In the reign of King Chulalongkorn (King Rama V), Japan was seen as a country which contributed to the development of traditional needlework and weaving for Th ai women in several ways. In addition to being the source of knowledge for Th ai women who studied further in the country, Japan also sent experts to Th ailand to teach Th ai women. Th ese contributions helped Th ai women develop expertise in traditional needlework and weaving that enhanced Thai women's status in that period.


บทบรรณาธิการ, บรรณาธิการ Jan 2016

บทบรรณาธิการ, บรรณาธิการ

Journal of Social Sciences

No abstract provided.


การสร้างจินตกรรมความเป็นพลเมืองของคาทอลิกในสังคมไทย, ชวลิต ตรียะประเสริฐ Jan 2016

การสร้างจินตกรรมความเป็นพลเมืองของคาทอลิกในสังคมไทย, ชวลิต ตรียะประเสริฐ

Journal of Social Sciences

งานชิ้นนี้วิเคราะห์กระบวนการสร้างจินตกรรมความเป็นพลเมืองของซาวคาทอลิก ภายใต้จินตกรรม ของสังคมไทยที่นิยามว่า "ความเป็นพุทธคือความเป็นไทย" ซึงกลายเป็นบัญหาสำคัญที่ทำให้สังคมไทย มองว่าชาวคาทอลิกไม่ใช่คนไทย จากการวิจัยพบว่าในช่วงแรกของการก่อตัวในการสร้างความเป็นพลเมือง ของซาวคาทอลิก แม้ซาวคาทอลิกจะไต้ความเป็นพลเมืองไทยทางกฎหมายแล้ว แต่สังคมไทยก็ยังไม่ยอมรับ ในความเป็นพลเมืองไทยของซาวคาทอลิก โดยเฉพาะในสมัยจอมพล ป. พิบุลสงคราม ที่เกิดการเบียดเบียน ศาสนาคริสต์อย่างรุนแรง แต่ภายหลังเมื่อเกิดการสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ช่วยให้ ชาวคาทอลิกไทยสามารถปรับตัวและสร้างจินตกรรมความเป็นพลเมืองไทยได้สำเร็จ ผ่านการลดความแปลกแยก (ความเป็นตะวันตก) และเพิ่ม "ความเป็นไทย" ให้กับศาสนาคริสต์ในประเทศไทย ทั้งจากการผสมผสาน ศิลปวัฒนธรรมของศาสนาคริสต์ในแบบไทย การปรับตัวเรื่องภาษาในบทสวด การบวชบาทหลวงซาวไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าไปมีความสัมพันธ์ที่ดีกับสถาบันกษัตริย์


ความท้าทายของรัฐอาเซียนในการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ, ชิตพล กาญจนกิจ Jan 2016

ความท้าทายของรัฐอาเซียนในการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ, ชิตพล กาญจนกิจ

Journal of Social Sciences

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจแนวคิดเกี่ยวกับอาชญากรรมข้ามชาติซึ่งเป็นภัยคุกคาม รูปแบบใหม่ที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของแต่ละรัฐในโลกยุคปัจจุบัน รวมถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจะรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบในปี พ.ศ. 2559 จากการศึกษาพบว่า อาชญากรรม ข้ามชาติมีลักษณะที่แตกต่างจากอาชญากรรมปกติที่ไม,สามารถอธิบายใต้ด้วยแนวคิดอาชญาวิทยาแบบดั้งเดิม ได้อย่างสมภูรถ!หากแต่ต้องคำนึงถึงปัจจัยแวดล้อมทั้งทางเศรษฐกิจ ลังคม และการเมือง อันทำให้การจัดการ กับปัญหาตังกล่าวจำเป็นต้องบูรณาการแนวคิดใน 3 ด้าน ประกอบด้วย รัฐศาสตร์นิติศาสตร์ และอาชญาวิทยา เพื่อให้สามารถอธิบายการจัดการปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติได้อย่างครอบคลุมโดยหน่วยงานบังคับใช้ กฎหมายที่เกี่ยวข้องของแต่ละประเทศต้องนำกลไกความร่วมมือที่มีอยู่ในระตับประเทศ ระตับภูมิภาค และ ระตับระหว่างประเทศที่มีอยู่ไปใช้ทำงานร่วมกันให้เกิดประโยซน์สูงสุดเพื่อให้สามารถต่อต้านปัญหา อาชญากรรมข้ามชาติได้อย่างเป็นรูปธรรมและเกิดประสิทธิผลสูงสุด


อาเซียนกับปัญหาอาชญากรรมทางทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, พฤดี หงุ่ยตระกูล Jan 2016

อาเซียนกับปัญหาอาชญากรรมทางทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, พฤดี หงุ่ยตระกูล

Journal of Social Sciences

ปัญหาอาชญากรรมทางทะเล เป็นประเด็นความมั่นคงใหม่ที่สำคัญปัญหาหนึ่งในช่วงกว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศในกลุ่มอาเซียนและเอเชียตะวันออกได้แสวงหาหนทางในการแก้ปัญหาดังกล่าวร่วมกันอย่างไรก็ดี ความร่วมมือต้องประสบกับความท้าทายหลายประการด้วยกัน ซึ่งก็รวมทั้งคำถามเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยแห่งรัฐและการแข่งขันกันในการมีบทบาท บทความนี้มุ่งทบทวนวิวัฒนาการความร่วมมือเพื่อต่อต้านอาชญากรรมทางทะเลในภูมิภาค นอกจากนั้นยังโต้แย้งว่าแนวทางการแก้ปัญหาในปัจจุบันนั้นมีข้อจำกัดหลักๆ 2 ประการ คือ (1) ความหวาดระแวงซึ่งกันและกันของประเทศสมาชิก ซึ่งนำไปสู่ความร่วมมือแบบหลวมและการต้องพึ่งพาประเทศสมาชิก และ (2) การละเลยปัญหาพื้นฐานที่ก่อให้เกิดอาชญากรรมทางทะเลรวมทั้งประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ส่วนท้ายของบทความนี้เสนอว่า นอกจากการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพในระดับชาติและการสร้างกฎหมายในระดับนานาชาติแล้ว การแก้ปัญหาระยะยาวที่มีความเป็นไปได้นั้นขึ้นอยู่กับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมและความพยายามของรัฐในการรวมพื้นที่ตามชายฝั่งที่ห่างไกลเข้าเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายภูมิภาคนิยม


"ทำไมจึงไม่ค่อยมีทฤษฎีเศรษฐกิจการเมืองจากฐานองค์ความรู้ทางวิชาการในโลกที่สาม?": การครอบงำและการเลือกปฏิบัติทางวิชาการจากความรู้แบบสำนักยุโรปเป็นศูนย์กลาง, วีระ หวังสัจจะโชค Jan 2016

"ทำไมจึงไม่ค่อยมีทฤษฎีเศรษฐกิจการเมืองจากฐานองค์ความรู้ทางวิชาการในโลกที่สาม?": การครอบงำและการเลือกปฏิบัติทางวิชาการจากความรู้แบบสำนักยุโรปเป็นศูนย์กลาง, วีระ หวังสัจจะโชค

Journal of Social Sciences

บทความนี้เริ่มต้นจากการตอบคำถามที่ว่า "ทำไมจึงไม่ค่อยมีทฤษฎีเศรษฐกิจการเมืองจากฐานองค์ ความรู้ทางวิชาการในโลกที่สาม" โดยข้อถกเถียงหลักในการตอบคำถามใช้กรอบการศึกษาแบบประวัติศาสตร์ นิพนธ์ว่าด้วยระเบียบการศึกษา เพื่ออธิบายว่าองค์ความรู้ทางเศรษฐกิจการเมืองในฐานะ "ทฤษฎี" ถูกครอบงำ โดยกลุ่มสำนักยุโรปเป็นศูนย์กลางตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 18 ถึง 19 ทั้งในด้านของทฤษฎีฝั่งเสรีนิยมและมาร์กซิสต์ ต่างมีชุดคำอธิบายจากยุโรปเป็นศูนย์กลางและอ้างว่าคำอธิบายดังกล่าวมีความเป็นสากล ทั้งในระดับความ เป็นศาสตร์ด้วยวิธีวิทยาต่างๆ แบบเสรีนิยม และแบบแผนการพัฒนาการทางประวัติศาสตร์แบบมาร์กซิสต์ จึงนำมาสู่การเลือกปฏิบัติและการเหยียดชนชั้นทางวิชาการต่อฐานองค์ความรู้ทางเศรษฐกิจการเมือง นอกสำนักยุโรป ทั้งขอบเขตการศึกษา ทรัพยากรทางวิชาการ และการลดทอนคุณค่าของการศึกษานอกพื้นที่ ยุโรปให้เป็นเพียงอาณาบริเวณศึกษา อย่างไรก็ดี การศึกษาเศรษฐกิจการเมืองบนฐานนอกสำนักยุโรปในกลุ่ม “การเมืองชีวิตประจำวัน” ได้ขึ้นมาท้าทายองค์ความรู้ที่ครอบครองอำนาจนำในทางทฤษฎีได้


ปัจจัยที่มีผลต่อการประยุกต์นโยบายส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรมของอาเซียน, สมบัติ ธำรงธัญวงศ์, ณัฐพร ไทยจงรักษ์, จุฬาภรณ์ ขอบใจกลาง Jan 2016

ปัจจัยที่มีผลต่อการประยุกต์นโยบายส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรมของอาเซียน, สมบัติ ธำรงธัญวงศ์, ณัฐพร ไทยจงรักษ์, จุฬาภรณ์ ขอบใจกลาง

Journal of Social Sciences

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยเพื่อศึกษาการนำนโยบายไปประยุกต์ใช้ของโรงเรียนในโครงการ Spirit of ASEAN ของ สพฐ. โดยศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรมในสถานศึกษาและเสนอแนวทางในการประยุกต์นโยบายส่งเสริมความหลากหลายวัฒนธรรมของอาเซียนโดยผ่านผู้บริหารครูอาจารย์ นักเรียน และผู้ปกครอง/ชุมชน จากผลการวิจัยพบว่า โรงเรียนในโครงการ Spirit of ASEAN มีความรู้ ความตระหนัก และความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรมโดยผ่านหลักสูตรอาเซียน การเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ กิจกรรมการเรียนการสอน การสร้างเครือข่ายกับโรงเรียนในประเทศอาเซียน และการมีศูนย์อาเซียนของตนเอง ในส่วนของปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรมประกอบด้วยปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ การตระหนักรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม ของประชากรที่ศึกษากลุ่มที่ 1 ผู้บริหาร พบปัจจัยสำคัญด้านการบริหารสถานศึกษาซึ่งเกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบาย กลุ่มที่ 2 ครู/อาจารย์ เกี่ยวข้องกับปัจจัยด้านการเรียนการสอนที่จะต้องถ่ายทอดความรู้ด้านความหลากหลายทางวัฒนธรรมให้กับนักเรียน กลุ่มที่ 3 นักเรียน เกี่ยวข้องกับปัจจัยด้านคุณลักษณะของผู้เรียนซึ่งนักเรียนต้องเปิดใจยอมรับความแตกต่าง และกลุ่มที่ 4 ผู้ปกครอง/ชุมชน เกี่ยวข้องกับปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมโดยการให้ความร่วมมือกับโรงเรียนเมื่อมีการจัดกิจกรรมต่างๆ และการร่วมในการกำหนดนโยบายในสถานศึกษา ในส่วนของแนวทางการประยุกต์นโยบายส่งเสริมความหลากหลายวัฒนธรรมของอาเซียนสามารถแบ่งออกได้ 2 รูปแบบคือ รูปแบบที่ 1 การพัฒนาโรงเรียนในเมือง (Urban model) มีความหลากหลาย ด้านโครงสร้างประชากร อาชีพ เชื้อชาติ ศาสนา ดังนั้น ควรใช้ประโยชน์จากการเข้าถึงสื่อ และความสะดวกด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในด้านการส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรม รูปแบบที่ 2 การพัฒนาโรงเรียนในชนบท (Rural model) ควรใช้ทุนทางวัฒนธรรมให้เป็นประโยชน์


Which "Regionalism" For Southeast Asia? - Curating Art In Time Of Globalisation And Neoliberalism, รัฐศรัณย์ สิรีกัญจน์ Jan 2016

Which "Regionalism" For Southeast Asia? - Curating Art In Time Of Globalisation And Neoliberalism, รัฐศรัณย์ สิรีกัญจน์

Journal of Social Sciences

This paper looks into different conceptualisations of "regionalism" in Southeast Asia as put forward by selected art exhibitions on the theme. It explores how these exhibitions engage in knowledge production constructing different versions of "regionalism" for the public. The paper asks if Iola Lenzi's curation of Concept Context Contestation—though politically committed, based on the nation-state paradigm—is the answer for the ASEAN Economic Community (AEC) whose ontology pivots on transnationality. The paper, then, engages the exhibition Missing Links by Gridthiya Gaweewong to demonstrate that her taking on 'regionalism' drew on transnationality. However, in leftist terms, transnationality is not without a problem. …


การลงโทษโดยสังคม, สังศิต พิริยะรังสรรค์ Jan 2016

การลงโทษโดยสังคม, สังศิต พิริยะรังสรรค์

Journal of Social Sciences

วัตถุประสงค์หลักของการวิจัยนี้ ต้องการที่จะศึกษาถึงลักษณะของการดำรงอยู่และการทำงานตามกลไกของการลงโทษโดยสังคม (Social sanctions) และความเป็นไปได้ที่จะนำเอากลไกดังกล่าวมาใช้เป็นมาตรการร่วมกับการบังคับใช้ตามกฎหมาย การวิจัยนี้ได้สำรวจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการลงโทษโดยสังคมและการต่อต้านคอร์รัปชันทั้งในประเทศไทยและการเคลื่อนไหวมวลชนขนาดใหญ่ในต่างประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย อียิปต์ และไต้หวัน จากการศึกษาพบว่าการลงโทษโดยสังคมเป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง ปทัสถานในระดับชุมชนหรือระดับจุลภาคกับปทัสถานในระดับสังคมหรือระดับมหภาคและตัวกลาง (Agent)ซึ่งจะทำหน้าที่กำกับดูแลการบังคับโดยผ่านการลงโทษโดยสังคม (Social sanctions) ต่อบรรดาสมาชิกของสังคมทั้งที่เป็นมาตรการเชิงบวก (Positive social sanctions) ด้วยการให้รางวัล หรือการแสดงความชื่นชมต่อผู้เป็นตัวอย่างที่ดีของสังคม และที่เป็นการลงโทษ (Negative social sanctions) ต่อผู้ฝ่าฝืนปทัสถาน


ถนน สายน้ำ การพัฒนาท้องถิ่นและระหว่างประเทศ และผลกระทบต่อวิถีชีวิตชุมชน, เอก ตั้งทรัพย์วัฒนา, วีระ หวังสัจจะโชค Jan 2016

ถนน สายน้ำ การพัฒนาท้องถิ่นและระหว่างประเทศ และผลกระทบต่อวิถีชีวิตชุมชน, เอก ตั้งทรัพย์วัฒนา, วีระ หวังสัจจะโชค

Journal of Social Sciences

บทความวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์และสังเคราะห์งานวิจัย 2 เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเมืองเรื่องพัฒนาและโครงการพัฒนาที่เกิดขึ้นและได้สร้างหรือจะสร้างผลกระทบต่อชุมชน งานวิจัยโครงการเรื่องโอกาสทางเศรษฐกิจและผลกระทบจากเส้นทางน่าน-หลวงพระบาง ชี้ให้เห็นว่าโครงการสร้างถนนภายใต้บริบทของการไปสู่ภูมิภาคภิวัตน์ (Regionalization) ในกรอบของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนว่าจะมีผลกระทบต่อชุมชนน่านและหลวงพระบาง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวอย่างไร ซึ่งถือว่าเป็นการดูผลกระทบที่มีต่อชุมชนจากการพัฒนาในระดับระหว่างประเทศ ในขณะที่งานวิจัยโครงการจัดทำแผนการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำลำประโดง และวิถีชุมชน อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ชี้ให้เห็นว่าการพัฒนาทางเศรษฐกิจในระดับประเทศและท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นการสร้างถนนหรือการท่องเที่ยวนั้น ได้ส่งผลกระทบต่อชุมชนและ ทรัพยากรชุมชนอย่างลำประโดงอย่างไร การวิจัยใช้วิธีเชิงคุณภาพทั้งการวิจัยเอกสาร แบบสอบถามการสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม พบว่าปัญหาจากทั้งสองพื้นที่และผลกระทบที่มีต่อชุมชนที่เป็นกรณีศึกษาในแง่มุมของปฏิสัมพันธ์ระหว่างมิติทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง วัฒนธรรม และรวมถึงเทคโนโลยี ที่เป็นผลมาจากการพัฒนาทั้งระดับภูมิภาคและท้องถิ่นโดยจะให้ข้อเสนอแนะที่เป็นทางเลือกให้แก่ชุมชนโดยดึงนำเอาการสร้างการมีส่วนร่วม วัฒนธรรมและวิถีชีวิตดั้งเดิม และเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเป็นแนวทางในการนำไปสู่การปรับตัวของชุมชนอันนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น


ดุลยภาพที่เหลื่อมล้ำ, ภานุพงษ์ สุขเกิด Jan 2016

ดุลยภาพที่เหลื่อมล้ำ, ภานุพงษ์ สุขเกิด

Journal of Social Sciences

No abstract provided.


Encountering The Real' : Jacques Lacan In Thailand Crackdowns, ชญาน์ทัต ศุภชลาศัย Jan 2016

Encountering The Real' : Jacques Lacan In Thailand Crackdowns, ชญาน์ทัต ศุภชลาศัย

Journal of Social Sciences

The article attempts to revisit the crackdowns in Thailand from a Lacanian perspective. The collective traumas of the Yellow-Shirts and the Red-Shirts are suggested as the Real, a psychoanalytic term conceptualized in Lacanian psychoanalysis. By examining the history of Thai politics during the pinnacle of the crackdown years, notably 2008 and 2010, the article attempts to introduce Lacan's theory to be integrative of the history of politics in Thailand. The expectation is to demonstrate how Lacan's concepts such as the signifier, the Real, the fantasy, and the object of desire are instrumental for the rethinking of the crackdowns in Thailand …


หลักสุจริตในระบอบรัฐธรรมนูญ, พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย Jan 2016

หลักสุจริตในระบอบรัฐธรรมนูญ, พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย

Journal of Social Sciences

หลักสุจริตในฐานะของหลักทั่วไปถือเป็นหลักการทางกฎหมายที่สำคัญยิ่ง โดยแรกเริ่มเดิมทีมีจุด กำเนิดมาจากการทำสัญญาระหว่างเอกชนด้วยกัน กล่าวคือ หลักสุจริตจะเข้าไปควบคุมการทำหน้าที่ของ คู่สัญญาให้ปฏิบัติตามข้อตกลงที่ได้เคยพูดคุยกันไว้ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นป้องกันมิให้คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบิดพลิ้ว ละเลยไม่ทำตามคำมั่นสัญญาที่เคยได้ให้ไว้ หรือกระทำการใดๆ ที่มีลักษณะเป็นการเอารัดเอาเปรียบอันนำไป สู่ความเสียหายของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง อย่างไรก็ดี หลักสุจริตนี้กลับถูกเข้าใจผิดคิดไปว่าเป็นหลักการทั่วไปที่ใช้ก็แต่เฉพาะกับระบบกฎหมาย เอกชนเท่านั้น หากแต่เมื่อสืบสาวราวเรื่องไปถึงที่มาที่ไปของหลักการกลับปรากฏว่ามีการนำหลักสุจริตไปใช้ ในระบบกฎหมายมหาชน ดังนั้น หลักสุจริตจึงพึงต้องบังคับใช้กับรัฐธรรมนูญในฐานะแขนงวิชาหนึ่งของ กฎหมายมหาชนด้วย ทั้งนี้ เพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของหลักการดังกล่าวนั่นคือ การนำมาซึ่งความยุติธรรม ให้กับสังคมนั่นเอง


แนวทางการปฏิรูประบบงานสอบสวนของตำรวจไทย, พรรณชฎา ศิริวรรณบุศย์ Jan 2016

แนวทางการปฏิรูประบบงานสอบสวนของตำรวจไทย, พรรณชฎา ศิริวรรณบุศย์

Journal of Social Sciences

การสอบสวนคดีอาญาเป็นหน้าที่หลักอันสำคัญของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในงานด้านกระบวนการยุติธรรม ซึ่งเป็นกระบวนการเบื้องต้นที่จะนำไปสู่อัยการ ศาล และราชทัณฑ์ ดังนั้นพนักงานสอบสวนเป็นบุคลากร ผู้ปฏิบัติงานด้านการสอบสวนโดยตรง จึงมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความยุติธรรมเบื้องต้นในกระบวนการสอบสวนให้แก่ประชาชนและสังคมอย่างแท้จริง ในปัจจุบันการทำงานของพนักงานสอบสวน มักถูกตั้งคำถามถึงความโปร่งใสในการปฏิบัติหน้าที่อยู่บ่อยครั้ง ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชนที่ลดน้อยลง จึงได้เริ่มมีแนวคิดในการพัฒนาระบบงานสอบสวนอยู่หลายรูปแบบ โดยงานวิจัยฉบับนี้ได้เก็บข้อมูลเพื่อศึกษาแนวทางอันเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบงานสอบสวน ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 3 แนวทางสำคัญ แต่ละแนวทางมีกระบวนการในการปรับโครงสร้างแตกต่างกัน แต่จุดประสงค์หลักของทุกแนวทางคือให้งานสอบสวนเป็นที่พึ่งของประชาชนได้อย่างแท้จริง


ความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงระหว่างญี่ปุ่นกับอินเดียในโครงสร้างอำนาจที่เปลี่ยนแปลงไป, กิตติ ประเสริฐสุข Jan 2016

ความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงระหว่างญี่ปุ่นกับอินเดียในโครงสร้างอำนาจที่เปลี่ยนแปลงไป, กิตติ ประเสริฐสุข

Journal of Social Sciences

ความท้าทายที่เพิ่มขึ้นในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะการทะยานขึ้นมาของจีนที่มียุทธศาสตร์เพิ่มแสนยานุภาพทางทะเลเป็นปัจจัยผลักดันให้ญี่ปุ่นกับอินเดียหันมากระชับความสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยยกระดับความสัมพันธ์เป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic partnership) และหุ้นส่วนระดับโลก (Global partnership) ทั้งนี้ ทั้งสองประเทศมีความกังวลเกี่ยวกับท่าทีที่แข็งกร้าวของจีนในข้อพิพาทดินแดนในทะเลจีนตะวันออกและทะเลจีนใต้ ตลอดจนความพยายามของจีนที่จะขยายเขตอิทธิพลทางทะเลมายังมหาสมุทรอินเดียผ่านทางเมียนมาและปากีสถาน ด้วยความสัมพันธ์ญี่ปุ่น–อินเดียที่เพิ่มขึ้นนี้สามารถวิเคราะห์ได้ด้วยทฤษฎีสัจนิยมเชิงโครงสร้าง (Structural realism) และการถ่วงดุลภัยคุกคาม (Balance of threat) เพราะโครงสร้างอำนาจระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่จีนเข้มแข็งขึ้นมากทั้งด้านเศรษฐกิจและการทหาร ทำให้ญี่ปุ่นกับอินเดียเพิ่มความร่วมมือกันด้านความมั่นคงในฐานะประเทศมหาอำนาจภายในภูมิภาคที่มีศักยภาพในการถ่วงดุล (Balancing) ต่อจีน ขณะเดียวกันก็ร่วมขบวน (Bandwagon) กับสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียในฐานะประเทศที่ยึดถือค่านิยมสากลโดยเฉพาะประชาธิปไตยเพื่อคานอำนาจและลดทอนอิทธิพลของจีนด้วย


Gramsci's Civil Society In A Nutshell, ธีรพัฒน์ อังศุชวาล Jan 2016

Gramsci's Civil Society In A Nutshell, ธีรพัฒน์ อังศุชวาล

Journal of Social Sciences

In civil society studies, Antonio Gramsci, an Italian Marxist theoretician and politician, is regarded as a major thinker, if not, a hero, who reversely developed Hegel's ideas of the state and society. In particular, it is the notion of civil society which significantly distinguishes Gramsci from Hegel and Marx, not the notion of the state. Gramsci principally differentiated 'civil society' form 'political society'. He seemingly rejected the clear differentiation drawn in mainstream liberal theory between the state and civil society; instead, he said that civil society and state are one and the same. For Gramsci, 'State' is a sum of …


การเมืองภายใน ผู้นำ และนโยบายต่างประเทศ: De Gaulle กับการกำหนดนโยบายต่างประเทศฝรั่งเศสเรื่องสงครามแอลจีเรีย, ชุติเดช เมธีชุติกุล Jan 2016

การเมืองภายใน ผู้นำ และนโยบายต่างประเทศ: De Gaulle กับการกำหนดนโยบายต่างประเทศฝรั่งเศสเรื่องสงครามแอลจีเรีย, ชุติเดช เมธีชุติกุล

Journal of Social Sciences

งานชิ้นนี้ต้องการศึกษาในเรื่องการกำหนดนโยบายต่างประเทศของประเทศฝรั่งเศสโดยใช้กรอบแนวคิด Neoclassical realism เป็นหลักในการวิเคราะห์โดยหยิบยกกรณีของนายพล De Gaulle กับการกำหนดนโยบายต่างประเทศของฝรั่งเศสในช่วงสงครามแอลจีเรีย โดยดูว่ากรณีดังกล่าวมีปัจจัยหรือตัวแสดงทางการเมืองใดที่มีส่วนสำคัญต่อการกำหนดนโยบายต่างประเทศของฝรั่งเศสในช่วงดังกล่าว โดยผลการศึกษาสรุปว่ามี 4 ปัจจัย ด้วยกัน ได้แก่ 1) ตัวผู้นำ คือนายพลDe Gaulle 2) รัฐธรรมนูญฉบับปี 1958 3) กลุ่ม FLN และ 4) วิกฤตการคลังและงบประมาณของฝรั่งเศส กล่าวโดยสรุปปัจจัยการเมืองภายในมีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการกำหนดนโยบายต่างประเทศในเรื่องสงครามแอลจีเรียของ De Gaulle โดยเฉพาะเรื่องโครงสร้างทางการเมืองที่สืบเนื่องจากผลของรัฐธรรมนูญปี 1958 ที่มีส่วนสำคัญทำให้ De Gaulle สามารถดำเนินนโยบายต่อประเด็นเรื่องดังกล่าวตามที่ตนต้องการได้


Greenhouse Gas Emission In Jewelry Industry: A Case Study Of Silver Flat Ring, Parnuwat Usapein, Chantra Tongcumpou Jan 2016

Greenhouse Gas Emission In Jewelry Industry: A Case Study Of Silver Flat Ring, Parnuwat Usapein, Chantra Tongcumpou

Applied Environmental Research

This paper describes an assessment of the carbon footprint (CF) of a silver ring, together with an attempt to measurematerial and energy consumption. The boundary of analyzing CF was defined as Business to Business (B2B). All primary data were obtained from a survey of the case study factory. Acquisition of raw material (silver) was the main GHG contribution to the overall CF and was thus considered as a CF hotspot. Acquisition accounted for 0.9740 kg CO2e or 94.44% of total emissions, followed by production processes (0.0573 kg CO2e) and tran-sportation (0.002 kg CO2e). The total CF amounted to 1.03 kg …


The Econometric Model Of Ship-Generated Operational Waste: The Underlying Tool For Waste Management In Container Port, Chalermpong Senarak Jan 2016

The Econometric Model Of Ship-Generated Operational Waste: The Underlying Tool For Waste Management In Container Port, Chalermpong Senarak

Applied Environmental Research

Marine pollution prevention through adequate provision of garbage reception facility (GRF) is a legal obligation of every port. According to MARPOL 73/78, each port authority should explore ways to increase its ability to prevent marine pollution from ship-generated waste. The paper supports this legal requirement by developing an econometric model for estimating the amount of operational waste delivered at GRF. The multiple regression with ordinary least squares technique was used to analyze the relationship between the amount of operational waste per month and two explanatory variables - size of ship and travelling distance from the last port of discharge. Data …


Acidic Recovery From Wastewater Of Automotive Battery Plant Using Membrane Technology, Nantanee Chaimongkalayon, Sudtida P. Thanasupsin Jan 2016

Acidic Recovery From Wastewater Of Automotive Battery Plant Using Membrane Technology, Nantanee Chaimongkalayon, Sudtida P. Thanasupsin

Applied Environmental Research

Diffusion dialysis (DD) equipped with anion exchange membranes (AEMs) is used as an effective tool to recover acidfrom various types of waste acid solutions. The aim of this study was to investigate the possibility of using the DD process to recover sulfuric acid (HsSO4) from the acidic wastewater from an automotive battery plant. A numbers of experimental runs was conducted to optimize the equipment's operating conditions, particularly variations in feed flow and flow rate ratios . The results showed that H2SO4 permeated well through the AEM, while metal ions were efficiently rejected. The recovery of H2SO4 increased as flow rate …