Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 3211 - 3240 of 5570

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

จุฬาฯ จาฤก : บันทึกบางกอก ฉบับที่ 1, ปิยะนุช นาคคง Jan 2014

จุฬาฯ จาฤก : บันทึกบางกอก ฉบับที่ 1, ปิยะนุช นาคคง

Jamjuree Journal

No abstract provided.


เรื่องเล่าชาวจุฬาฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อสังคม, วรรณี พฤฒิถาวร Jan 2014

เรื่องเล่าชาวจุฬาฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อสังคม, วรรณี พฤฒิถาวร

Jamjuree Journal

No abstract provided.


เรื่องเล่าชาวจุฬาฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาฯกับพันธกิจผลิตหนังสือและตำราสรรคุณค่าวิชาการ สู่สังคม Jan 2014

เรื่องเล่าชาวจุฬาฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาฯกับพันธกิจผลิตหนังสือและตำราสรรคุณค่าวิชาการ สู่สังคม

Jamjuree Journal

No abstract provided.


บทบรรณาธิการ, สุกัญญา ค้ำชู Jan 2014

บทบรรณาธิการ, สุกัญญา ค้ำชู

Jamjuree Journal

No abstract provided.


กิจกรรมจามจุรี Jan 2014

กิจกรรมจามจุรี

Jamjuree Journal

No abstract provided.


เกร็ดจุฬาฯ : อุโมงค์ลอดถนนพญาไท...ทางเชื่อมใจชาวจุฬาฯ, เลอสม สถาปิตานนท์ Jan 2014

เกร็ดจุฬาฯ : อุโมงค์ลอดถนนพญาไท...ทางเชื่อมใจชาวจุฬาฯ, เลอสม สถาปิตานนท์

Jamjuree Journal

No abstract provided.


ร่มเกล้าชาวจุฬาฯ : พระพุทธเจ้าหลวงกับการเมืองภายในประเทศ, ทองต่อ กล้วยไม้ ณ อยุธยา Jan 2014

ร่มเกล้าชาวจุฬาฯ : พระพุทธเจ้าหลวงกับการเมืองภายในประเทศ, ทองต่อ กล้วยไม้ ณ อยุธยา

Jamjuree Journal

No abstract provided.


เที่ยวจุฬาฯ : หอเกียรติยศ Jan 2014

เที่ยวจุฬาฯ : หอเกียรติยศ

Jamjuree Journal

No abstract provided.


บทบรรณาธิการ, บรรณาธิการ Jan 2014

บทบรรณาธิการ, บรรณาธิการ

Journal of Social Sciences

No abstract provided.


สัมภาษณ์พิเศษ กลุ่มวิจัยพลังงาน Energy Cluster, บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ Jan 2014

สัมภาษณ์พิเศษ กลุ่มวิจัยพลังงาน Energy Cluster, บัณฑิต เอื้ออาภรณ์

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


คอลัมน์แนะนำโครงการ แนะนำหลักสูตร "ภูมิพลังแผ่นดิน" สำหรับผู้บริหารระดับสูง Jan 2014

คอลัมน์แนะนำโครงการ แนะนำหลักสูตร "ภูมิพลังแผ่นดิน" สำหรับผู้บริหารระดับสูง

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


การศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้น ภูกระดึง จังหวัดเลย, ทวีวงศ์ ศรีบุรี Jan 2014

การศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้น ภูกระดึง จังหวัดเลย, ทวีวงศ์ ศรีบุรี

UNISEARCH (Unisearch Journal)

การพัฒนาการท่องเที่ยวเป็นกระบวนการทางสังคม และเศรษฐกิจที่สำคัญที่นำมาซึ่งรายได้ในแต่ละปีของประเทศ เป็นมูลค่าหลายแสนล้านบาท กิจกรรมด้านการท่องเที่ยว จึงเป็นเสมือนอุตสาหกรรมประเภทหนึ่งที่ทุกคนรู้จักและเรียกว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (Tourism Industry) โดยทั่วไป อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะประกอบไปด้วยองค์ประกอบ หลัก 3 มิติ ได้แก่ ทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยว (Tourism Resource) บริการการท่องเที่ยว (Tourism Service) และการตลาดการท่องเที่ยว (Tourism Market) ความหลากหลาย และคุณภาพของทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยวและการบริการ เป็นสิ่งสำคัญที่จะดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาท่องเที่ยวยังแหล่ง ท่องเที่ยวต่างๆ โดยมีการตลาดเป็นสิ่งชี้นำ การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวพื้นที่พิเศษเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างจุดเด่น/จุดแข็ง ให้แก่แหล่งท่องเที่ยวมีความโดดเด่นให้สามารถแข่งขันได้ บนเวทีโลก รวมทั้งการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ เป็น แหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ เพื่อสร้างความเชื่อมโยงในการ พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ พร้อมทั้งการสร้างความร่วมมือ ระหว่างภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งหน่วยงานราชการส่วนกลาง และส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน ผู้ประกอบการ และประชาชน ในพื้นที่ ให้เกิดความเข้มแข็งและความสมดุลในการพัฒนา


วิถีชีวิตคนชายขอบ ชุมชนลุ่มน้ำสาละวิน จังหวัดแม่ฮ่องสอน, วิสูตร โพธิ์เงิน Jan 2014

วิถีชีวิตคนชายขอบ ชุมชนลุ่มน้ำสาละวิน จังหวัดแม่ฮ่องสอน, วิสูตร โพธิ์เงิน

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


วิวัฒนาการการตั้งถิ่นฐาน เมืองฟ้าแดดสงยาง: มุมมองจากภาพถ่ายทางอากาศ การขุดแต่งและการขุดค้นทางโบราณคดี, ชัยชนะ แสงสว่าง Jan 2014

วิวัฒนาการการตั้งถิ่นฐาน เมืองฟ้าแดดสงยาง: มุมมองจากภาพถ่ายทางอากาศ การขุดแต่งและการขุดค้นทางโบราณคดี, ชัยชนะ แสงสว่าง

UNISEARCH (Unisearch Journal)

เมืองฟ้าแดดสงยาง เป็นเมืองโบราณตั้งอยู่ในอำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นเมืองที่ได้รับความสนใจในการศึกษามาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2481 และได้มีการดำเนินงานต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันทั้งในด้านการศึกษาทางประวัติศาสตร์ศิลปะ การขุดค้นทางโบราณคดี รวมถึงการขุดแต่งบูรณะและปรับสภาพภูมิทัศน์ จากหลักฐานการขุดค้นโบราณสถานและโบราณวัตถุในบริเวณนี้ พบว่าส่วนใหญ่เป็นศิลปกรรมแบบทวารวดี ซึ่งมีโบราณสถานเด่น คือ พระธาตุยาคู ซึ่งเป็นโบราณสถานที่ค่อนข้างสมบรูณ์ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมก่อด้วยอิฐ 3 สมัยด้วยกัน คือ ส่วนฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม มีบันไดทางขึ้น 4 ทิศมีปูนปั้นประดับ สร้างในสมัยทวารวดี ถัดขึ้นมาเป็นฐานรูปแปดเหลี่ยมซึ่งสร้างซ้อนทับบนฐานเดิมเป็นรูปแบบเจดีย์ในสมัยอยุธยา และส่วนยอดชาวบ้านได้ซ่อมแซมขึ้นใหม่ในสมัยรัตนโกสินทร์(พ.ศ. 2500) นอกจากนั้นยังมีการขุดพบใบเสมาหินทรายแกะสลัก ภาพนูนต่ำเรื่องพุทธประวัติโดยใบเสมาที่เมืองฟ้าแดดสงยางมีการกล่าวถึงมากที่สุด ในเรื่องของคุณค่าทางวิชาการ เนื่องจากมีแบบศิลปะที่งดงามและมีภาพสลักเล่า เรื่องทางพุทธศาสนาที่นำเนื้อหามาจากคัมภีร์พุทธประวัติและชาดก เช่นมหาชนกชาดกมโหสถชาดกเป็นต้น ซึ่งภาพแกะสลักนี้ยังทำให้ทราบถึงคติความเชื่อความนิยม รวมถึงการแต่งกายและสถาปัตยกรรมในสมัยนั้น ได้อีกด้วย มีการประมาณอายุใบเสมาที่เมืองฟ้าแดดสงยางว่ามีอายุไม่เก่าไปกว่าพุทธศตวรรษที่ 14 - 15 เมืองฟ้าแดดสงยางจึงนับเป็นแหล่งเสมาหินใหญ่และสำคัญที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกด้วยร่องรอยการค้นพบโบราณสถานและโบราณวัตถุในบริเวณเมืองฟ้าแดดสงยาง แสดงให้เห็นถึงการอาศัยอยู่ของชุมชนโบราณที่มีความเจริญรุ่งเรืองมากในยุคสมัยหนึ่ง สังเกตได้จากมีการออกแบบวางผังเมืองการสร้างระบบชลประทาน การนับถือศาสนา รวมถึงการประดิษฐ์อุปกรณ์ของใช้สอยในชีวิตประจำวัน เช่นเครื่องปั้นดินเผาเป็นต้น ดังนั้น การศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการในการตั้งถิ่นฐานของชุมชนในเมืองฟ้าแดดสงยางในอดีต จึงมีความสำคัญเพราะนอกจากสามารถสะท้อนภาพประวัติศาสตร์สมัยทวารวดีให้ชัดเจนขึ้นแล้วยังช่วยให้ชนรุ่นหลังมีความเข้าใจถึงวิถีชีวิต ความคิด และความเชื่อ ของบรรพบุรุษในยุคก่อนของตนด้วย


แนวทางประกาศพื้นที่พิเศษ เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน, เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม Jan 2014

แนวทางประกาศพื้นที่พิเศษ เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน, เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม

UNISEARCH (Unisearch Journal)

การท่องเที่ยวเป็นภาคส่วนที่สร้างรายได้เป็นจำนวนมากในแต่ละปี โดยที่มีทรัพยากรท่องเที่ยวเป็นสินค้าดึงดูดนักท่องเที่ยวและนักทัศนาจร ประเทศต่างๆ ทั่วโลกจึงเร่งพัฒนาการท่องเที่ยวในประเทศของตน โดยกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ต่างๆ ขึ้นพร้อมทั้งแคมเปญต่างๆ ในการดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศให้มากที่สุดประเทศไทยมีความได้เปรียบในการพัฒนาการท่องเที่ยวเนื่องจากการมีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่มีความหลากหลาย ทั้งทรัพยากรท่องเที่ยวทางธรรมชาติและทรัพยากรท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งเป็นสินค้าท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมในตลาดโลกเป็นอย่างมาก ความหลากหลายและคุณภาพของทรัพยากรการท่องเที่ยวและการบริการเป็นสิ่งสำคัญที่ดึงดูด ให้นักท่องเที่ยวมาท่องเที่ยวยังประเทศไทยเป็นจำนวนมากในแต่ละปี ซึ่งที่ผ่านมาภาคการท่องเที่ยวได้สร้างรายได้ให้แก่ประเทศไทยเป็นมูลค่าหลายแสนล้านบาทในแต่ละปีหากพิจารณาถึงการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ผ่านมาของประเทศไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 ที่รัฐบาลได้ประกาศให้เป็นปีการท่องเที่ยวไทยนั้น จะเห็นได้ว่า การท่องเที่ยวถูกพัฒนาในแง่ของการเพิ่มรายได้การท่องเที่ยวและจำนวนนักท่องเที่ยวรวมทั้งการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งส่งผลทั้งทางบวกและทางลบให้แก่ทรัพยากรการท่องเที่ยว สภาพแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยว และชุมชนโดยรอบแหล่งท่องเที่ยว กล่าวคือการพัฒนาดังกล่าวทำให้เกิดเม็ดเงินเข้าสู่ประเทศเพิ่มมากขึ้นมีการพัฒนาสาธารณูปโภคสาธารณูปการต่างๆ แต่ในขณะเดียวกันก็เกิดการกระจุกตัวของการพัฒนาการท่องเที่ยว เกิดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคมในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว เกิดแหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรมอันยากจะฟื้นฟู โดยเฉพาะในแหล่งท่องเที่ยวที่มีความเปราะบางการประกาศพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนภายใต้การดำเนินการขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) (อพท.) จึงเป็นเสมือนแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในเชิงพื้นที่มุ่งเน้นการพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยวโดยกำหนดนโยบายและแผนการบริหารการพัฒนาในพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเพื่อให้เกิดการพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยวอย่างสมดุลระหว่างเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยให้มีองค์กรเข้าไปกำกับดูแลให้การพัฒนาการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบทางลบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักของการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism Development)


สถานการณ์การเป็นเมืองสีเขียว ของกรุงเทพมหานคร, วรสัณฑ์ บูรณากาญจน์ Jan 2014

สถานการณ์การเป็นเมืองสีเขียว ของกรุงเทพมหานคร, วรสัณฑ์ บูรณากาญจน์

UNISEARCH (Unisearch Journal)

สืบเนื่องจากแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2552-2563 และนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์บริพัตร) ที่ต้องการให้กรุงเทพมหานครเป็น "มหานครแห่งความน่าอยู่ที่ยั่งยืน" (Sustainable Metropolis) โดยมุ่งพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการมีความเป็นอยู่ ที่ดีของประชาชนชาวกรุงเทพฯ ซึ่งจะส่งเสริมขีดความสามารถในการ แข่งขันของกรุงเทพฯให้เป็นมหานครระดับโลกควบคู่ไปกับการ สร้างบริการสาธารณะที่มีคุณภาพดีและสามารถเข้าถึงได้อย่าง เท่าเทียม สอดคล้องกับนโยบายและแผนวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ ฉบบั ที่ 1 (พ.ศ. 2555-2564) ที่มีวัต ถุประสงค์หลัก เพื่อการพัฒนาประเทศไทยให้มีระบบเศรษฐกิจที่มีการขยายตัว อย่างมีคุณภาพและมีเสถียรภาพ ตลอดจนมีการกระจายประโยชน์ อย่างเป็นธรรมสู่สังคม และชุมชน ภายใต้วิสัยทัศน์ "นวัตกรรมเขียว เพื่อสังคมดี มีคุณภาพ และเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ" (Green Innovation for Quality Society and Sustainable Economic Growth) โดยมุ่งเน้นการเชื่อมโยงแนวความคิด 3 มิติ คือ เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) สังคมสีเขียว (Green Society) และสิ่ง แวดล้อม และพลังงานสีเขียว (Green Energy and Environment) สังคมสีเขียว (Green Society) เป็นสังคมที่ทุกภาคส่วน ในสังคมมีความรู้ความเข้าใจในการปรับตัวเกี่ยวกับการผลิต การบริโภค และการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าลดการปล่อยของเสีย สู่สิ่งแวดล้อม โดยใช้หลักการ 3Rs ซึ่งประกอบด้วย 1. Reduce คือ การลดใช้สิ่งของที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมลดการใช้พลังงาน และทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ 2. Reuse คือ การใช้สิ่่งของวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ จนคุ้มค่าก่อนที่จะทิ้งเป็นขยะ และ 3. Recycle คือ การแปรรูปของใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ โดยผ่านกระบวนการผลิต เพื่อเป็นสินค้าที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ รวมถึงการเลือกใช้สินค้า ที่ใช้บรรจุภัณฑ์จากวัสดุรีไซเคิล ซึ่งการดำเนินการให้เกิดสังคม สีเขียวนี้ จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในสังคมในการ สื่อสารให้เกิดความตระหนักรับรู้ปัญหา และร่วมกันผลักดันให้ พลเมืองในสังคมมีวิถีชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อขับ เคลื่อน กรุงเทพมหานครสู่การเป็นสังคมสีเขียว


การลดต้นทุนการผลิตในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์อาหารด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาด, ไพศาล กิตติศุภกร Jan 2014

การลดต้นทุนการผลิตในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์อาหารด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาด, ไพศาล กิตติศุภกร

UNISEARCH (Unisearch Journal)

ในช่วงทศวรรษ 1960-1970 การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจาก กิจกรรมการผลิตต่างๆ ของภาคอุตสาหกรรมมุ่งไปที่การแก้ไขปัญหาที่ ปลายเหตุ (End of pipe) เช่น การทิ้ง การบำบัด ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาเชิงรับ ที่ต้องใช้เทคโนโลยีและมีค่าใช้จ่ายสูง ด้วยเหตุนี้แนวทางการแก้ไขปัญหา ดังกล่าวจึงไม่ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการอุตสาหกรรม จนกระทั่งถึงช่วงทศวรรษ 1980 แนวคิดการ แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้เปลี่ยนไปเน้นที่การแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ โดยลดการเกิดมลพิษหรือปัญหาจาก กระบวนการผลิตแทน ผนวกกับกระแสแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่เน้นการสร้างสมดุลระหว่างสิ่งแวดล้อม และการพัฒนา เพื่อตอบสนองการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ดังนั้น แนวคิดต่างๆ เช่น เทคโนโลยีการผลิตที่สะอาด การประเมินวงจรวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ การออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ ฯลฯ จึงได้รับการยอมรับจากภาคการผลิต ภาครัฐ และภาคประชาชน ในการนำมาใช้บริหารจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการพัฒนาอย่างยั่งยืนในปัจจุบัน อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์อาหารเป็นกิจกรรมการผลิตเพื่อรองรับอุตสาหกรรมอาหารสำหรับการบริโภค ภายในประเทศและการส่งออกไปต่างประเทศ เพราะว่าบรรจุภัณฑ์อาหารจะทำหน้าที่ยืดอายุการเก็บรักษาและ รักษาคุณภาพอาหารทั้งในด้านกลิ่น สี รสชาติ และความอร่อยให้คงอยู่จนกระทั่งถึงมือผู้บริโภค อุตสาหกรรม บรรจุภัณฑ์อาหารในประเทศไทยเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น การบริโภคทรัพยากร และพลังงาน การทิ้งของเสียและปล่อยมลพิษ เป็นต้น กำลังเผชิญแรงกดดันโดยตรงในเรื่องของการป้องกัน ปัญหาสิ่งแวดล้อมและการแข่งขันทางธุรกิจ รวมไปถึงได้รับแรงกดดันโดยอ้อมจากอุตสาหกรรมอาหารเกี่ยวกับ ความปลอดภัยด้านอาหาร (Food safety) เพราะฉะนั้นอุตสาหกรรมประเภทนี้จึงจำเป็นต้องปรับตัวโดยใช้ แนวคิดดังกล่าวข้างต้น เพื่อให้ยังสามารถดำเนินธุรกิจท่ามกลางแรงกดดันได้ต่อไป


ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามันเพื่อเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้าน, ศิริเชษฐ์ สังขะมาน Jan 2014

ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามันเพื่อเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้าน, ศิริเชษฐ์ สังขะมาน

UNISEARCH (Unisearch Journal)

สืบเนื่องจากสภาวะวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำในประเทศสหรัฐอเมริกา และยุโรปที่ทวีความรุนแรงได้ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจของนานาประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่พึ่งพาภาคการส่งออกเป็นหลัก ดังนั้น จึงส่งผลให้ประเทศต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบหันมาให้ความ สำคัญกับระบบเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นการพัฒนาตลาดภายใน ประเทศ (Domestic Market) และตลาดภูมิภาค (Region Market) โดยมุ่งเน้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจกับประเทศ เพื่อนบ้านมากขึ้น ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ต้องพึ่งพาการส่งออก แต่ ก็มีความได้เปรียบทางด้านภูมิศาสตร์ เนื่องจากมีพื้นที่ตั้งอยู่ ศูนย์กลางของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีพื้นที่ ชายแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีศักยภาพหลากหลาย ประเทศ สำหรับการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านทางฝั่ง ตะวันตกหรือทางฝั่งทะเลอันดามัน ประเทศไทยมีพื้นที่ติดต่อ กับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ซึ่งเป็นประเทศมีความ พร้อมในด้านทรัพยากรธรรมชาติ ปัจจุบันมีนโยบายเปิดประเทศ และสนับสนุนให้นักลงทุนจากต่างประเทศเข้าไปลงทุนภายใน ประเทศ ส่งผลให้สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์เองมีการเร่งรัดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ฐานการผลิตภาค อุตสาหกรรม และเส้นทางคมนาคมขนส่งโดยเฉพาะการขนส่ง ทางทะเล เช่น โครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย (Dawei Deep Sea Port & Industrial Estate Project) ที่สามารถเชื่อมโยงกับกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง และเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้เข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งในอนาคตจะเป็นเส้นทาง การค้า และการลงทุนที่สำคัญของโลกอีกแห่งหนึ่ง ดังนั้น การเชื่อมโยงชายแดนระหว่างไทยกับสาธารณรัฐ แห่งสหภาพเมียนมาร์ทางฝั่งตะวันตก หรือฝั่งทะเลอันดามันนั้น จะเป็นประโยชน์กับประเทศไทยในด้านการพัฒนาภาค อุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก และยังเป็นเส้นทางการเชื่อมโยงกลุ่ม ประเทศที่สาม ได้แก่ กลุ่มประเทศทางตะวันออกกลาง บังกลาเทศ อินเดีย และจีนตอนใต้ โดยผ่านสาธารณรัฐแห่ง สหภาพเมียนมาร์ ซึ่งกลุ่มประเทศดังกล่าวถือเป็นตลาด ขนาดใหญ่ที่สามารถรองรับสินค้าอุตสาหกรรมของประเทศไทย จากความสำคัญและเหตุผลดังกล่าว จึงน่าจะเป็นโอกาส ในการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยที่เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน ทางฝั่งตะวันตกหรือฝั่งอันดามัน เพื่อเป็นการเพิ่มขีด ความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทย และ แสวงหาประโยชน์ในด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทยใน บริบทของการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ที่จะมีขึ้นในอนาคต


กิจกรรมสร้างมูลค่าเพิ่ม/ความแตกต่างและความหลากหลายให้กับผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป (National Agro-Processing Industry Alliance : Napia), จิรารัตน์ อนันตกูล Jan 2014

กิจกรรมสร้างมูลค่าเพิ่ม/ความแตกต่างและความหลากหลายให้กับผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป (National Agro-Processing Industry Alliance : Napia), จิรารัตน์ อนันตกูล

UNISEARCH (Unisearch Journal)

ประเทศไทยส่งออกสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปไปทั่วโลก โดยเฉพาะสินค้าแปรรูปในกลุ่ม อาหารมีมูลค่าการส่งออกกว่า 9 แสนล้านบาทใน พ.ศ. 2556 มีการจ้างงานในอุตสาหกรรม มากกว่า 8 แสนคน นับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ทำรายได้ให้แก่ประเทศไทยในลำดับต้นๆ รองลงมา จากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ อย่างไรก็ดีวัตถุดิบทางการเกษตรจำนวนมากมีปริมาณและ ราคาไม่แน่นอน ส่วนใหญ่มีมูลค่าต่ำเมื่อเทียบกับต้นทุนที่ใช้ในการผลิต อีกทั้ง พื้นที่การเกษตรของ ไทยเริ่มน้อยลง เนื่องจากถูกพัฒนาไปเป็นที่อยู่อาศัยและการใช้ประโยชน์อย่างอื่น ในแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 - 2559) จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์ความเข้มแข็ง ภาคเกษตร ความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน เน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลผลิตทางการ เกษตรตลอดห่วงโซ่การผลิต โดยอาศัยการส่งเสริมสถาบันการศึกษา/หน่วยงานวิจัยและพัฒนา ในพื้นที่ ให้ร่วมทำการศึกษาวิจัยกับภาคเอกชนสนับสนุนเกษตรกรและผู้ประกอบการ ให้นำ องค์ความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม บนฐานความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มาใช้ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร โดยมีหลักของแนวคิดในการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ 4 ประการ ได้แก่ การลด (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) และการยืดอายุการเก็บ (Shelf-life extension) กองพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา 2 (ชื่อเดิม คือ สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งมีบทบาทในการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ อุตสาหกรรมอาหารและเกษตรแปรรูปให้มีศักยภาพในการแข่งขันในระดับที่สูงขึ้น จึงได้ดำเนิน กิจกรรมสร้างมูลค่าเพิ่ม/ความแตกต่างและความหลากหลายให้กับผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป (National Agro-Processing Industry Alliance : NAPIA) ภายใต้กรอบแนวคิดโครงการ Thailand Food Valley โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเพิ่ม มูลค่าวัตถุดิบการเกษตรและสร้างความหลากหลายของผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหารแปรรูป เน้นการต่อยอดผลการวิจัย ด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์สู่การผลิตเชิงพาณิชย์ โดยมีเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs) จำนวนไม่น้อยกว่า 10 กิจการ ในอุตสาหกรรมอาหาร และสามารถจัดทำต้นแบบผลิตภัณฑ์ ไม่น้อยกว่า 1 ผลิตภัณฑ์ต่อกิจการ


การศึกษาการจัดการสีน้ำทิ้งจากอุตสาหกรรมฟอกย้อมสิ่งทอ, อรทัย ชวาลภาฤทธิ์ Jan 2014

การศึกษาการจัดการสีน้ำทิ้งจากอุตสาหกรรมฟอกย้อมสิ่งทอ, อรทัย ชวาลภาฤทธิ์

UNISEARCH (Unisearch Journal)

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อภาคเศรษฐกิจของประเทศ โดยในปี 2554 อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศจากการส่งออกไปยังต่างประเทศ รวมสองแสนห้า หมื่นล้านบาท จากฐานข้อมูลกรมโรงงานอุตสาหกรรมพบว่า โรงงานฟอกย้อมส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมขนาดกลางและ เล็ก โรงงานส่วนใหญ่ตั้งในภาคกลาง โดยเฉพาะในเขตจังหวัดสมุทรปราการ อุตสาหกรรมนี้มีการใช้น้ำปริมาณมาก ทั้งนี้ ปัญหาใหญ่ที่พบ คือ เรื่องการปล่อยน้ำเสียที่มีปัญหาสำคัญคือสีย้อมในน้ำทิ้ง แม้ว่าจะมีความเป็นพิษต่ำ แต่ก็สามารถ ทำให้แหล่งรองรับน้ำมีสีเป็นที่รังเกียจของผู้พบเห็นได้ จึงต้องมีการกำจัดสีของน้ำทิ้งก่อนปล่อยลงสู่สิ่งแวดล้อม ปัจจุบันพบ ว่า มีโรงงานจำนวนมากที่มีการจัดการน้ำเสียที่ไม่ได้ตามมาตรฐาน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษารวบรวมข้อมูลและปรับปรุงฐานข้อมูลสีน้ำทิ้งจากโรงงานฟอกย้อมสี พิมพ์ ผ้า และตกแต่งสิ่งทอ และโรงงานซักรีดที่มีการฟอกและย้อมสี รวมทั้งจัดทำแนวทางการจัดการสีในน้ำทิ้งของโรงงานกลุ่ม เป้าหมาย เพื่อให้การประกอบกิจการของโรงงานอุตสาหกรรมมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และอยู่ร่วมกับชุมชน ได้อย่างยั่งยืน


การศึกษาศักยภาพการใช้ประโยชน์หินน้ำมันของแอ่งแม่สอด, ภิญโญ มีชำนะ Jan 2014

การศึกษาศักยภาพการใช้ประโยชน์หินน้ำมันของแอ่งแม่สอด, ภิญโญ มีชำนะ

UNISEARCH (Unisearch Journal)

หินน้ำมัน (Oil shale) เป็นหินตะกอน (Sedimentary Rock) ที่มีสารอินทรีย์ คือ คีโรเจน (Kerogen) เป็นองค์ประกอบ สำคัญ เกิดจากการทับถมกันของซากสิ่งมีชีวิตเป็นเวลานับล้านปี โดยไม่ถูกทำลายโดยแบคทีเรีย ผสมคลุกเคล้ากับตะกอนดิน ทราย ในบริเวณที่เหมาะสม เช่น ทะเลสาบกว้างใหญ่ ทะเลสาบตื้นชายฝั่ง ทะเลสาบขนาดเล็ก และบริเวณ ปากแม่น้ำ เกิดเป็นทรัพยากรแร่ที่มีศักยภาพในการใช้เป็นแหล่งพลังงานและวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรม โดยการสกัดเป็นน้ำมันหิน (Retorting) หรือการใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าโดยตรง นอกจากนี้ กากและขี้เถ้าหินน้ำมันยังสามารถใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตปูนซีเมนต์ได้ด้วย ประเทศไทยมีการค้นพบ หินน้ำมันในหลายพื้นที่ของประเทศ โดยพบมากที่สุดที่แหล่งแอ่งแม่สอด จังหวัดตาก ซึ่งเป็นแหล่งที่มี ศักยภาพในการนำมาพัฒนาและใช้ประโยชน์มากที่สุด โครงการ "การพัฒนาเทคโนโลยีการใช้ประโยชน์หินน้ำมันแอ่งแม่สอด" จึงเกิดขึ้น เพื่อพัฒนา องค์ความรู้และเตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์แหล่งแร่หินน้ำมันแอ่งแม่สอด ซึ่งมีศักยภาพที่จะเป็นแหล่งพลังงานและวัตถุดิบสำรองที่สำคัญของประเทศต่อไป


Introduction, Theera Nuchpiam Jan 2014

Introduction, Theera Nuchpiam

Asian Review

No abstract provided.


A Comparative Study Between Japanese And Thai Rocket Festivals: Yoshida Ryusei Festival And Ban Pa-Aw Bang-Fai Rocket Festival, Chomnard Setisarn Jan 2014

A Comparative Study Between Japanese And Thai Rocket Festivals: Yoshida Ryusei Festival And Ban Pa-Aw Bang-Fai Rocket Festival, Chomnard Setisarn

Asian Review

Rocket festivals are found in many countries in Asia, including Thailand and Japan. This study examines the similarities and differences between the Yoshida Ryusei festival in Japan and Pa-Aw Bang-fai rocket festival in Thailand. The theoretical framework of this study is drawn from Tsuneo Sogawa's "Culture Complex of Sport" which focuses on three aspects, namely socio-cultural, technologicalcultural and spiritual-cultural. Rocket festivals from the two countries are similar in terms of the socio-cultural element because the two festivals are related to folk beliefs and have religious sites as their centers. However, the Japanese festival focuses on safety whilst the Thai festival …


Religions And Religious Movements In Nation-Making In Asean, Udomporn Teeraviriyakul Jan 2014

Religions And Religious Movements In Nation-Making In Asean, Udomporn Teeraviriyakul

Asian Review

Southeast Asia has nurtured the great world religious traditions of Hinduism, Buddhism, Islam, and Christianity. These religions, and many more beliefs, coexist in peace and harmony. Religions were not brought with the sword, but adopted in association with the expansion of trade. These religions empowered elite leaders to rule their states and kingdoms during the pre-colonial period. Since the coming of western imperialism, modernization became a n ew standard for transforming Southeast Asian society to fit a new global cultural paradigm. This article examines the role and importance of religions and religious movements in Southeast Asia, and ways in which …


บทบรรณาธิการ เปิดประตูสู่โลก "Unisearch Journal" Jan 2014

บทบรรณาธิการ เปิดประตูสู่โลก "Unisearch Journal"

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


สัมภาษณ์พิเศษ กลุ่มวิจัยสุขภาพ Health Cluster, อนันต์ ศรีเกียรติขจร Jan 2014

สัมภาษณ์พิเศษ กลุ่มวิจัยสุขภาพ Health Cluster, อนันต์ ศรีเกียรติขจร

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


สัมภาษณ์พิเศษ กลุ่มวิจัยวัสดุขั้นสูง Advanced Materials Cluster, พลกฤษณ์ แสงวณิช Jan 2014

สัมภาษณ์พิเศษ กลุ่มวิจัยวัสดุขั้นสูง Advanced Materials Cluster, พลกฤษณ์ แสงวณิช

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


"รอบตัวเรา" การพัฒนาอุตสาหกรรมกับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม, ทวีวงศ์ ศรีบุรี Jan 2014

"รอบตัวเรา" การพัฒนาอุตสาหกรรมกับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม, ทวีวงศ์ ศรีบุรี

UNISEARCH (Unisearch Journal)

อุตสาหกรรมในประเทศไทย มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว เนื่องจากรัฐบาลแทบทุกสมัยได้กำหนดเป็นนโยบายการพัฒนาไว้อย่างชัดเจนและต่อเนื่อง โดยมุ่งหวังให้ประเทศไทยเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ที่สำคัญของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียภายหลังการส่งเสริมการอุตสาหกรรมในประเทศแล้ว ปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาสิ่งแวดล้อม ก็ตามมา ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นและทวีความรุนแรงขึ้นตามลำดับ ส่งผลให้เกิดปัญหาอย่างยิ่งต่อสุขภาพของประชาชนที่อยู่อาศัยโดยรอบหรือในบริเวณพื้นที่ข้างเคียง


สัมภาษณ์ ดร. ศุภิชัย ตั้งใจตรง Cu Industrial Linkage ขับเคลื่อนการเชื่อมโยงงานวิจัยสู่ภาคอุตสาหกรรม, ศุภิชัย ตั้งใจตรง Jan 2014

สัมภาษณ์ ดร. ศุภิชัย ตั้งใจตรง Cu Industrial Linkage ขับเคลื่อนการเชื่อมโยงงานวิจัยสู่ภาคอุตสาหกรรม, ศุภิชัย ตั้งใจตรง

UNISEARCH (Unisearch Journal)

ดร. ศุภิชัย ตั้งใจตรง อดีตกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ผู้มีผลงานและปฏิบัติงานในสาขาวิทยาศาสตร์ ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และวิศวกรรมการจัดการระบบมากมาย ปัจจุบัน ดร. ศุภิชัย ตั้งใจตรง ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ ฝ่ายพัฒนาความร่วมมือภาคอุตสาหกรรม ศูนย์บริการวิชาการ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รับผิดชอบดูแลโครงการพัฒนา ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับ ภาคอุตสาหกรรม ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2557 โดย Unisearch รับหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการประสานงาน โครงการความร่วมมือทางวิชาการที่จะเกิดขึ้นภายใต้โครงการนี้


ข่าวและกิจกรรม ข่าวกิจกรรมโครงการ Jan 2014

ข่าวและกิจกรรม ข่าวกิจกรรมโครงการ

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.