Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 451 - 480 of 5570

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

Ip Development Strategies For Chinese Theaters In The Context Of The Creative Industries, Daiyi Yang Jan 2023

Ip Development Strategies For Chinese Theaters In The Context Of The Creative Industries, Daiyi Yang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In the context of the Chinese creative industries and the digital age, this study derived a definition of theater IP from the general point of view and the context of the Internet: 1) the theater original work, which is protected by IP law for its creativity and originality, where the protected interests include ownership of rights and interests ; 2) having a high degree of market recognition and exhibiting both cultural communication value and commercial worth ; and 3) as a core factor that increases the integration and expansion activity of the theater with other creative industries and media communication …


ความสัมพันธ์ระหว่างความสนุกในสถานที่ทำงาน และความผูกพันในงาน โดยมีอายุทางอัตวิสัย และการเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการเป็นตัวแปรส่งผ่านในกลุ่มบุคลากรอาวุโส, มนัส อุ่นใจ Jan 2023

ความสัมพันธ์ระหว่างความสนุกในสถานที่ทำงาน และความผูกพันในงาน โดยมีอายุทางอัตวิสัย และการเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการเป็นตัวแปรส่งผ่านในกลุ่มบุคลากรอาวุโส, มนัส อุ่นใจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลส่งผ่านของการเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการและอายุทางอัตวิสัยต่อความสัมพันธ์ระหว่างความสนุกในสถานที่ทำงานและความผูกพันในงานของบุคลากรอาวุโส โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างบุคลากรอาวุโสที่ปฏิบัติงานกับองค์กรเอกชนในประเทศไทย จำนวน 208 คน มีอายุระหว่าง 40 ถึง 65 ปี ใช้แบบสอบถามออนไลน์ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน รวมทั้งการวิเคราะห์สถิติการทดสอบตัวแปรส่งผ่าน ผลการวิจัยพบว่า ความสนุกในสถานที่ทำงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันในงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β = .54, SE = .09, 95% ของช่วงชั้นความเชื่อมั่น [.464, .815], p < .01) การเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการเป็นตัวแปรส่งผ่านระหว่างความสนุกในสถานที่ทำงานและความผูกพันในงาน (β = .10, SE = .04, 95% ของช่วงชั้นความเชื่อมั่น [.023, .196]) ในขณะที่ อายุทางอัตวิสัยไม่ใช่ตัวแปรส่งผ่านระหว่างความสนุกในสถานที่ทำงานและความผูกพันในงาน สรุปได้ว่าการเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการเป็นตัวแปรส่งผ่านบางส่วนระหว่างความสนุกในสถานที่ทำงานและความผูกพันในงานในบุคลากรอาวุโส เมื่อความสนุกในสถานที่ทำงานสูงบุคลากรอาวุโสมีแนวโน้มที่จะเกิดการเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการและส่งผลไปยังความผูกพันในงานในที่สุด ผลการศึกษานี้สามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับองค์การเพื่อนำไปออกแบบสภาพแวดล้อมการทำงานและพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการให้เหมาะสมกับบุคลากรอาวุโส


ประสบการณ์ในการฝึกปฏิบัติของนักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัดชาวไทยในต่างประเทศ, พิศาลสินท์ กอสนาน Jan 2023

ประสบการณ์ในการฝึกปฏิบัติของนักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัดชาวไทยในต่างประเทศ, พิศาลสินท์ กอสนาน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้คือ เพื่อศึกษาประสบการณ์การฝึกปฏิบัติในห้องบำบัดของนักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัดชาวไทยในต่างประเทศ ผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นคนไทยที่มีประสบการณ์ในการฝึกปฏิบัติในฐานะนักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัดในต่างประเทศ เช่น อังกฤษ สกอตแลนด์ และสหรัฐอเมริกา จำนวนทั้งหมด 6 คน รวบรวมข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์เชิงกึ่งโครงสร้างเชิงลึกโดยใช้การวิเคราะห์เชิงปรากฏการณ์เชิงตีความ (IPA) เป็นแนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยเน้นสามประเด็นหลัก: (1) ความท้าทายในการฝึกปฏิบัติ (2) การรับมือกับความท้าทายในการฝึกปฏิบัติ และ (3) การพัฒนาส่วนบุคคลและวิชาชีพ จากผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่านักฝึกหัดที่ปรึกษาชาวไทยเผชิญกับความท้าทายระหว่างการฝึกปฏิบัติในต่างประเทศ ซึ่งอาจส่งผลต่อกระบวนการบำบัดความท้าทายเหล่านี้จำเป็นต้องใช้ทั้งกลยุทธ์การรับมือในเชิงบวกและเชิงลบ ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาเชิงวิชาชีพและส่วนบุคคล ดังนั้นหลักสูตรจิตวิทยาการปรึกษาควรเตรียมความพร้อมในการเพิ่มศักยภาพและทักษะที่จำเป็นเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาข้ามวัฒนธรรมแก่นักศึกษาจิตวิทยาการปรึกษาและสร้างระบบสนับสนุนที่เพื่อแก้ไขปัญหาทั้งเชิงบุคคลและเชิงวิชาชีพ


อิทธิพลของการเหนี่ยวนำให้ระลึกถึงพฤติกรรมเชิงศีลธรรมที่มีต่อภาพลักษณ์ทางศีลธรรมส่วนตนเเละพฤติกรรมโกง โดยมีความคลุมเครือของสถานการณ์เป็นตัวเเปรกำกับ, ภัทรพงศ์ สุทธิรัตน์ Jan 2023

อิทธิพลของการเหนี่ยวนำให้ระลึกถึงพฤติกรรมเชิงศีลธรรมที่มีต่อภาพลักษณ์ทางศีลธรรมส่วนตนเเละพฤติกรรมโกง โดยมีความคลุมเครือของสถานการณ์เป็นตัวเเปรกำกับ, ภัทรพงศ์ สุทธิรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แม้จะมีงานวิจัยจำนวนมากที่แสดงให้เห็นปรากฏการณ์การให้สิทธิพิเศษทางศีลธรรมแก่ตนเอง ซึ่งหมายถึงการที่บุคคลอ้างอิงคุณงามความดีในอดีตเพื่อกระทำสิ่งที่ผิดศีลธรรมได้ แต่งานวิจัยใดที่ศึกษากลไกทางจิตวิทยาที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวยังมีน้อย งานวิจัยนี้จึงต้องการศึกษาพฤติกรรมการให้สิทธิพิเศษทางศีลธรรมแก่ตนเอง และเปรียบเทียบว่าระหว่างแบบจำลองเครดิตทางศีลธรรมและการรับรองทางศีลธรรม กลไกใดที่ช่วยอธิบายการเกิดพฤติกรรมการให้สิทธิพิเศษทางศีลธรรมแก่ตนเองได้ดีกว่า ผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป จำนวน 177 คน ที่ร่วมทำแบบสอบถามออนไลน์ โดยถูกสุ่มเข้าสู่เงื่อนไขที่ได้รับการเหนี่ยวนำความทรงจำศีลธรรม หรือ เงื่อนไขควบคุม แล้วตอบมาตรวัดภาพลักษณ์ทางศีลธรรมส่วนตน จากนั้นได้เล่นเกมสุ่มเลขเพื่อรับรางวัลซึ่งมีโอกาสโกงได้ โดยสุ่มผู้เข้าร่วมการทดลอง ครึ่งหนึ่งเข้าสู่สถานการณ์ที่คลุมเครือ ซึ่งไม่มีการย้ำเตือนกติกาการเล่นเกม อีกครึ่งหนึ่งอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่คลุมเครือซึ่งมีการย้ำเตือนกติกาการเล่นเกมอย่างชัดเจน แล้วบันทึกว่าผู้เข้าร่วมการทดลองเล่นเกมเกินที่กติกากำหนดไปกี่ครั้ง จากนั้นตอบมาตรภาพลักษณ์ทางศีลธรรมส่วนตนที่แทรกอยู่ในแบบประเมินอีกชุดหนึ่งอีกครั้งหนึ่ง ผลการวิเคราะห์สมมุติฐานที่ 1 ด้วย independent sample t-test พบว่า กลุ่มที่ได้รับการเหนี่ยวนำความทรงจำศีลธรรมมีแนวโน้มที่จะโกงน้อยกว่ากลุ่มควบคุม แต่ความแตกต่างที่พบไม่ถึงระดับนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นจึงไม่พบหลักฐานที่สนับสนุนปรากฏการณ์ให้สิทธิพิเศษทางศีลธรรมแก่ตนเอง ส่วนการทดสอบสมมุติฐานที่ 2 พบว่าอิทธิพลทางทางอ้อมของการเหนี่ยวนำความทรงจำทางศีลธรรมส่งผ่านของภาพลักษณ์ทางศีลธรรมส่วนตนไม่มีนัยสำคัญ พบเพียงว่าการเหนี่ยวนำความทรงจำศีลธรรมกระตุ้นให้บุคคลมีภาพลักษณ์ทางศีลธรรมส่วนตนที่สูงขึ้น แต่ระดับภาพลักษณ์ทางศีลธรรมไม่สัมพันธ์กับพฤติกรรมโกง ส่วนการวิเคราะห์สมมุติฐานที่ 3 พบว่าความคลุมเครือของสถานการณ์ไม่มีอิทธิพลกำกับอิทธิพลทางอ้อมของการเหนี่ยวนำความทรงจำศีลธรรมที่ส่งผ่านภาพลักษณ์ทางศีลธรรมส่วนตนไปยังพฤติกรรมโกง นอกจากนี้ เพื่อทดสอบสมมุติฐานที่ 4 กลไกที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์การให้สิทธิพิเศษทางศีลธรรมแก่ตนเองเป็นไปตามแบบจำลองเครดิตทางศีลธรรมหรือแบบจำลองการรับรองทางศีลธรรม ผู้วิจัยนำข้อมูลเฉพาะผู้ที่แสดงพฤติกรรมโกงไปทดสอบความแปรปรวนสามทาง ระหว่าง 2(การเหนี่ยวนำความทรงจำศีลธรรม) x 2(ความคลุมเครือของสถานการณ์) และ 2(ช่วงเวลาที่วัดภาพลักษณ์ทางศีลธรรม) ผลพบว่าโดยรวมคะแนนภาพลักษณ์ทางศีลธรรมลดลงหลังจากการโกงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่มีอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ตัวใดมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม ผลวิเคราะห์อิทธิพลหลักย่อยพบว่า มีเพียงเงื่อนไขที่มีการเหนี่ยวนำความทรงจำศีลธรรมเท่านั้นที่คะแนนภาพลักษณ์ทางศีลธรรมลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ที่คลุมเครือหรือไม่ แม้จะไม่พบหลักฐานพฤติกรรมการให้สิทธิพิเศษทางศีลธรรมแก่ตนเอง แต่ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า ตัวตนทางศีลธรรมสามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อถูกเหนี่ยวนำให้นึกถึงความทรงจำเกี่ยวกับพฤติกรรมศีลธรรม และการเหนี่ยวนำความทรงจำเกี่ยวกับพฤติกรรมศีลธรรมอาจทำให้บุคคลทำพฤติกรรมที่ผิดศีลธรรมน้อยลง ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ในการออกแบบสถานการณ์หรือการแทรกแซงที่ช่วยลดพฤติกรรมโกงได้


การสำรวจความเชื่อทางจรรยาบรรณของผู้ให้บริการทางสุขภาพจิตในประเทศไทย, พรพรหม ลิขิตโฆษิตกุล Jan 2023

การสำรวจความเชื่อทางจรรยาบรรณของผู้ให้บริการทางสุขภาพจิตในประเทศไทย, พรพรหม ลิขิตโฆษิตกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลด้านความเชื่อทางจรรยาบรรณของผู้ให้บริการทางสุขภาพจิตในประเทศไทยจำแนกตามเพศ ช่วงวัย อาชีพ และประเภทชุมชนที่ปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ให้บริการทางสุขภาพจิต ผู้มีหน้าที่ในการดูแลหรือรักษาบุคคลทั่วไปหรือผู้ป่วยที่มีปัญหาทางด้านจิตใจ อารมณ์ และพฤติกรรม โดยใช้กระบวนการจิตบำบัดหรือการปรึกษาเชิงจิตวิทยาเป็นส่วนหนึ่งในการปฏิบัติหน้าที่ จำนวน 160 คน อายุเฉลี่ย 35.5 ปี (SD = 9.54 ปี) เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แบบสอบถามความเชื่อทางจรรยาบรรณของผู้ให้บริการทางสุขภาพที่พัฒนาจากการศึกษาก่อนหน้า จำนวน 78 ข้อ นำผลที่ได้มาหาค่าความเชื่อมั่นด้วยวิธีการของ Cronbach’s Alpha ซึ่งผลที่ได้จากการคำนวณพบว่า ค่าความเที่ยง = .96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่ามี 12 ข้อที่ผู้ให้บริการทางสุขภาพจิตเชื่อว่าเป็นพฤติกรรมที่ผิดจรรยาบรรณอย่างแน่นอน มี 1 ข้อที่ผู้ให้บริการทางสุขภาพจิตเชื่อว่าเป็นพฤติกรรมที่ถูกจรรยาบรรณอย่างแน่นอน และมี 9 ข้อเป็นพฤติกรรมที่ผู้ให้รับบริการทางสุขภาพจิตส่วนใหญ่ตอบว่าไม่รู้หรือไม่แน่ใจ และผลการวิเคราะห์ความแตกต่างพบว่าผู้ให้บริการทางสุขภาพจิตที่มีเพศ อาชีพ และประเภทชุมชนที่ปฏิบัติงานแตกต่างกันมีความเชื่อทางจรรยาบรรณโดยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้ผู้ให้บริการทางสุขภาพจิตที่มีช่วงวัยแตกต่างกัน มีความเชื่อทางจรรยาบรรณโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


Food Tourism As A Means Of Promoting Food Sustainability: A Case Study Of Street Food In Bangkok, Marissa Soltoff Jan 2023

Food Tourism As A Means Of Promoting Food Sustainability: A Case Study Of Street Food In Bangkok, Marissa Soltoff

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In 2002, the Thai government lauched two gastrodiplomacy initiatives to promote cultural awareness, increase export revenue, and boost tourism by increasing the number and quality of Thai restaurants abroad. These iniatives have been vastly successful and have since been emulated by other countries. This paper builds on the gastrodiplomacy initiatives' success by exploring the possibility of the same methods being applied to promotion of food sustainability. This research addresses the questions surrounding the factors that both enable and risk food sustainability, the sustainability projects currently being pursued in Thailand, any possible link between food sustainability and gastrodiplomacy with regards to …


Research On Chinese Language Education Policy And Chinese Language Education Development In Thailand, Mengyao Zeng Jan 2023

Research On Chinese Language Education Policy And Chinese Language Education Development In Thailand, Mengyao Zeng

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Development of Chinese language Education in Thailand is highly typical, not only leading in global Chinese language education but also pioneering numerous firsts. Thailand was the first country to incorporate Chinese into its national education system, the first to invite Chinese language teacher volunteers from China, and the first to establish Confucius Classrooms. Over a century, Thai Chinese language education has experienced both prosperous "springs" and challenging "winters." In recent years, with the warming of Sino-Thai relations and the increased attention from the Thai Ministry of Education, the number of Mandarin learners has surged, marking a period of significant development …


Thailand's Role In Asean's Preventive Diplomacy, Usaimeen Waenalai Jan 2023

Thailand's Role In Asean's Preventive Diplomacy, Usaimeen Waenalai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research delves into Thailand's pivotal role in the context of ASEAN's preventive diplomacy efforts, aiming to provide a nuanced understanding of the nation's contributions and challenges in maintaining regional stability and conflict prevention. As a key member of the Association of Southeast Asian Nations (ASEAN), Thailand's diplomatic engagements have significant implications for the collective security of the region. The study employs a multidimensional approach, combining historical analysis, policy evaluation, and case studies to elucidate the evolution of Thailand's preventive diplomacy strategies within the ASEAN framework. The research begins by examining the foundational principles and historical antecedents of preventive diplomacy, …


Sexual Orientation Microaggressions And Mental Health Concerns: A Conditional Process Modeling Of Protective Effects Of Microaffirmations, Rapinpat Yodlorchai Jan 2023

Sexual Orientation Microaggressions And Mental Health Concerns: A Conditional Process Modeling Of Protective Effects Of Microaffirmations, Rapinpat Yodlorchai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: Mental health disparities existed globally for sexual minority populations compared to heterosexuals. Experiences of subtle discrimination called microaggressions contributed to poor mental health outcomes. Conversely, microaffirmations may buffer these negative effects. To further study these processes among lesbian, gay, bisexual, queer/questioning (LGBQ+) Thais, culturally validated tools were needed to quantify microaggression and microaffirmation experiences within Thailand's high-context culture. Objectives: This two-part study aimed to: 1) develop and validate Thai language scales measuring microaggressions and microaffirmations related to sexual orientation; and 2) test a conceptual moderated mediation model elucidating relationships between microaggressions, microaffirmations, sexual orientation concealment, internalized heterosexism, and mental …


ประสบการณ์ทางจิตใจจากการเขียนสะท้อนความคิดความรู้สึก, กันตพร สวนศิลป์พงศ์ Jan 2023

ประสบการณ์ทางจิตใจจากการเขียนสะท้อนความคิดความรู้สึก, กันตพร สวนศิลป์พงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ทางจิตใจจากการเขียนสะท้อนความคิดความรู้สึก ด้วยระเบียบวิธีวิจัยการวิเคราะห์เชิงปรากฏการณ์วิทยาแบบตีความ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกในชุดคำถามกึ่งโครงสร้าง ผู้เข้าร่วมวิจัยคือผู้เคยมีประสบการณ์การเขียนสะท้อนความคิดความรู้สึกตามเกณฑ์ได้แก่ เป็นการเขียนที่มีลักษณะของการสะท้อน สำรวจ ใคร่ครวญ เกี่ยวกับความคิดความรู้สึก เพื่อเพิ่มความตระหนักรู้และเยียวยาตนเอง และเป็นการเขียนระหว่างที่ได้รับการบำบัดจากจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา จำนวน 6 ราย มีอายุระหว่าง 23-36 ปี ผลการวิจัยแบ่งได้เป็น 5 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) องค์ประกอบที่ชักนำให้สนใจการเขียนสะท้อนความคิดความรู้สึก ประกอบด้วย ความคุ้นเคยกับการเขียนการอ่านและการจดบันทึก การขาด ‘พื้นที่ปลอดภัยทางความรู้สึก’ หล่อหลอมให้แสวงหาพื้นที่แสดงออก และ การกระตุ้นที่นำไปสู่การมองหาหนทางเยียวยา 2) ช่องทางและเวลาในการเขียนสะท้อนความคิดความรู้สึก ประกอบด้วย เลือกใช้ช่องทางการเขียนที่ตนเองถนัดและตอบโจทย์ความต้องการ เขียนในพื้นที่และเวลาที่ให้บรรยากาศความเป็นส่วนตัว ใช้เวลากับการเขียนอย่างยืดหยุ่นตามระดับความต้องการภายใน 3) รูปแบบวิธีการเขียนและกระบวนการที่ดำเนินไประหว่างการเขียนสะท้อนความคิดความรู้สึก ประกอบด้วย บอกเล่าเรื่องราวตามวิถีธรรมชาติของตนเอง เกิดกระบวนการสำรวจ กลั่นกรอง ใคร่ครวญ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวและตนเอง และเกิดความตระหนักรู้จากการ ‘ค้นพบ’ และ ‘มองเห็น’ โลกภายในตนเองได้แจ่มชัด) 4) ผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการเขียนสะท้อนความคิดความรู้สึก ประกอบด้วยผลที่สังเกตได้หลังการลงมือเขียนแต่ละครั้ง และผลเมื่อทำซ้ำจนตกผลึกภายในตนเอง ผลที่สังเกตได้หลังการลงมือเขียนแต่ละครั้ง ได้แก่ ความปลอดโปร่งจากความทุกข์และความอึดอัดที่คลี่คลายลงไป เกิดความตระหนักและยอมรับความรู้สึกตนเองโดยไม่ตัดสิน เกิดความเข้าใจในความเป็นตนเองบนพื้นฐานประสบการณ์ส่วนตัว ตั้งสติและมองเห็นหนทางแก้ปัญหาที่เหมาะสมแก่ตนเองได้ และรู้สึกอิ่มเอมจากการได้ถ่ายทอดเรื่องราวที่มีความหมายและเป็นประโยชน์ต่อตนเอง ผลเมื่อทำซ้ำจนตกผลึกภายในตนเอง ได้แก่ เกิดสัมพันธภาพและการสื่อสารภายในตนที่มีคุณภาพ เรียบเรียงความคิดความรู้สึกเพื่อสื่อสารกับคนรอบข้างได้ดีขึ้น รับรู้ถึงอำนาจและพลังการยืนยันภายในตนเอง เห็นความเชื่อมโยงภายในตนจากอดีตสู่ปัจจุบันและรับรู้ศักยภาพในการกำกับดูแลตนเอง และ กลับสู่ความเป็นตัวเองที่แท้ รู้สึกเติมเต็มภายในตนและเข้าใจธรรมชาติชีวิต 5) การรับรู้ประโยชน์ของการเขียนสะท้อนความคิดความรู้สึกและการนำไปใช้ ประกอบด้วย เป็นพื้นที่ประคับประคองเยียวยาและทำความเข้าใจตนเองที่ปลอดภัยและเป็นส่วนตัว เป็นเครื่องมือสื่อสารทดแทนในเรื่องที่ยากหรือลำบากใจจะเอ่ย และ ต่อยอดเป็นงานสร้างสรรค์ที่ใช้วัตถุดิบภายในตน งานวิจัยนี้ช่วยเติมเต็มความเข้าใจเกี่ยวกับประสบการณ์การเขียนสะท้อนความคิดความรู้สึกในคนไทยว่าเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เกิดการสำรวจและตระหนักรู้ภายในตนเองได้ ผู้สนใจสามารถนำมาใช้ดูแลตนเองเบื้องต้น และนักจิตวิทยาการปรึกษาสามารถนำเครื่องมือนี้มาใช้ประกอบการให้คำปรึกษาเพื่อผลลัพธ์การทำงานร่วมกับผู้รับบริการที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


วัฒนธรรมองค์การกับการขับเคลื่อนไปสู่ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน กรณีศึกษากรมส่งเสริมวัฒนธรรม, ชะตารักษ์ เมฆกมล Jan 2023

วัฒนธรรมองค์การกับการขับเคลื่อนไปสู่ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน กรณีศึกษากรมส่งเสริมวัฒนธรรม, ชะตารักษ์ เมฆกมล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่องวัฒนธรรมองค์การกับการขับเคลื่อนไปสู่ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน กรณีศึกษากรมส่งเสริมวัฒนธรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางในการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์การที่เหมาะสมในการขับเคลื่อนกรมส่งเสริมวัฒนธรรมไปสู่ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 11 คน ประกอบไปด้วย ข้าราชการระดับผู้บริหาร/ผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่า ข้าราชการระดับผู้อำนวยการกลุ่ม และข้าราชการระดับผู้ปฏิบัติงาน ของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม และใช้มิติวัฒนธรรมองค์การแบบเน้นความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานของ Bradley และคณะ (2008) เป็นกรอบในการศึกษา พบว่า มิติด้านผลกระทบต่ออาชีพ และมิติด้านการสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงาน มีความสอดคล้องกับมิติวัฒนธรรมองค์การแบบเน้นความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน กล่าวคือ ข้าราชการกรมส่งเสริมวัฒนธรรมสามารถใช้สิทธิประโยชน์ เช่น วันลา ได้อย่างไม่กังวล เนื่องจากรับรู้ขอบเขตของการใช้สิทธิ และเคารพในสิทธิการลาของเพื่อนร่วมงาน รวมถึงกรมส่งเสริมวัฒนธรรมมีความสัมพันธ์ที่ดีทั้งในภาพรวมขององค์การ และในระดับกลุ่มงาน อย่างไรก็ตามในมิติด้านการสนับสนุนจากหัวหน้างานหรือผู้บริหารนั้น ปรากฏลักษณะหัวหน้างานให้ความสำคัญในเรื่องของสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานมากกว่าผู้บริหาร และองค์การยังมีการจัดสวัสดิการหรือนโยบายด้านนี้ที่ค่อนข้างน้อย และในมิติด้านเวลา พบว่า ความคาดหวังระยะเวลาในการทำงานปรากฏให้เห็นถึงการกระทบต่อชีวิตส่วนตัวของข้าราชการ โดยในมิตินี้มีความซับซ้อนของความเป็นวัฒนธรรมองค์การแบบข้าราชการแฝงอยู่ ซึ่งส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความเครียด กดดัน หรือกังวลขึ้น งานวิจัยชิ้นนี้จึงนำไปสู่การตั้งคำถามเชิงนโยบายในเรื่องของเวลาและการพูดถึงเรื่องความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานของข้าราชการผู้ปฏิบัติงานในกรมส่งเสริมวัฒนธรรม


ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของบุคลากรในการใช้บริการงานพัสดุ ของบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด, ชัญญา จันทรวงศ์ Jan 2023

ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของบุคลากรในการใช้บริการงานพัสดุ ของบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด, ชัญญา จันทรวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลถึงความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่อการบริหารงานพัสดุ และ เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาการบริหารงานพัสดุ ขอบเขตของงานวิจัย ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรใน บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย โดยกำหนดวิธีวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) รวมทั้งสิ้นจำนวน 355 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูล คือ ประชากรที่ใช้ในกองการพัสดุ จำนวน 3 คน สมมติฐานการวิจัยนั้นครอบคลุมปัจจัยด้านข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลการติดต่อกับงานพัสดุ เพื่อทดสอบหาความแตกต่างทางด้านความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่อการบริหารงานพัสดุ โดยใช้ค่าสถิติ T-Test ค่า F-Test และ One-way ANOVA มาทดสอบและวิเคราะห์พิจารณาประเด็นหลักที่พบในข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์นำมาเขียนบรรยาย ผลการศึกษาพบว่า พบว่า บุคลากรมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานพัสดุของ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อวิเคราะห์แยกรายตัว พบว่า ความพึงพอใจมากที่สุด คือ ด้านการจำหน่ายพัสดุ ได้ผลในระดับมาก รองมาด้านการควบคุมพัสดุ มีระดับมาก รองลงมาเป็นด้านการบำรุงรักษาพัสดุ มีระดับมาก และน้อยที่สุดด้านการจัดหาพัสดุ โดยอยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า ผู้ให้ข้อมูลมีความกังวลในเรื่องของแนวปฏิบัติในการทำงานที่ต้องดำเนินการตามกฎและระเบียบของกรมบัญชีกลาง ซึ่งอาจจะต้องมีการซักซ้อมความเข้าใจให้มากขึ้น และยังมีข้อกังวลเกี่ยวกับสถานที่ในการจัดเก็บทรัพย์สิน และการตรวจสอบทรัพย์สิน อาจจะทำให้พื้นที่ในการจัดเก็บอุปกรณ์ของใช้ทรัพย์สินไม่เพียงพอ ผู้วิจัยคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาการดำเนินงานของกองการพัสดุ และต่อยอดพัฒนาต่อไปได้


บทบาทของปลัดอำเภอ ในการขับเคลื่อนโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา กรณีศึกษาในเขตพื้นที่ อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว, ชิตพล อินฤทธิพงศ์ Jan 2023

บทบาทของปลัดอำเภอ ในการขับเคลื่อนโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา กรณีศึกษาในเขตพื้นที่ อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว, ชิตพล อินฤทธิพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาบทบาทของปลัดอำเภอ ในการขับเคลื่อนโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืนฯ กรณีศึกษาในเขตพื้นที่ อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว (2) เพื่อศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน ของปลัดอำเภอต่อการขับเคลื่อนโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืนฯ กรณีศึกษาในเขตพื้นที่ อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว และ (3) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับบทบาทในการขับเคลื่อนโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืนฯ ของปลัดอำเภอ กรณีศึกษาในเขตพื้นที่ อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว ระเบียบวิธีวิจัยหรือกระบวนการวิจัย (Methodology) ที่นำมาใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้กำหนดระเบียบวิธีวิจัยหรือกระบวนการวิจัย (Methodology) โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) อันประกอบไปด้วย การวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) จากผู้ให้ข้อมูลหลัก (key Information) คือ คณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการฯ ระดับอำเภอโคกสูง ประกอบด้วย ข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่ หน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่ ผู้แทนภาคประชาชน และผู้นำศาสนา จำนวน 15 ท่าน ผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 4 ท่าน และ ผู้บังคับบัญชา 1 ท่าน จากการผลการศึกษาบทบาทของปลัดอำเภอในการขับเคลื่อนโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน ผู้ให้ข้อมูลหลักมีความเห็นว่าบทบาทของปลัดอำเภอในการขับเคลื่อนโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืนฯ ควรมีคุณลักษณะที่สำคัญของความเป็นผู้นำ ได้แก่ (1) ผู้นำสามารถมีอิทธิพลโน้มน้าว กระตุ้น สร้างแรงบันดาลใจ (2) ผู้นำสามารถนำคนจำนวนมากได้ และ (3) ผู้นำกล้าและชอบเสี่ยงที่ตัดสินใจ


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.), ชุติกาญจน์ ทรงมิตร Jan 2023

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.), ชุติกาญจน์ ทรงมิตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานะการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในปัจจุบัน วิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของ สศช. และจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนา สศช. สู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ มีระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการแจกแบบสอบถามให้กับข้าราชการพลเรือน สังกัด สศช. ทั้งในสายงานหลักและสายงานสนับสนุน ผลการศึกษาพบว่า ในภาพรวม สถานะการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของ สศช. ในปัจจุบันอยู่ในระดับมาก โดยระบบย่อยพลวัตรการเรียนรู้เป็นด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ ระบบย่อยการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในองค์การ ระบบย่อยการมอบอำนาจคน ระบบย่อยการจัดการความรู้ และระบบย่อยการปรับเปลี่ยนองค์การ ตามลำดับ สำหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ พบว่า ปัจจัยด้านการบริหารทั้ง 12 ปัจจัย มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยมีเพียง 4 ปัจจัย ที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของ สศช. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ กระบวนการเรียนรู้ วิสัยทัศน์และกลยุทธ์ เทคโนโลยี และวัฒนธรรมองค์การ จากข้อค้นพบดังกล่าวนำมาสู่ข้อเสนอแนะ ดังนี้ (1) การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการองค์การ (2) การดำเนินการตามวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติราชการ สศช. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2570 ให้เห็นผลสำเร็จเป็นรูปธรรม (3) การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และการทำงานของบุคลากร และ (4) การส่งเสริมวัฒนธรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (Lifelong Learning Culture)


Bureaucratic Reform Policy Formulation Of Thai Political Parties., ญาณิศา พัดเจริญ Jan 2023

Bureaucratic Reform Policy Formulation Of Thai Political Parties., ญาณิศา พัดเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง "กระบวนการในการกำหนดและจัดทำนโยบายด้านการปฏฺิรูประบบราชการของพรรคการเมือง" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่าอุดมการณ์ทางการเมืองมีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายด้านการปฏิรูประบบราชการ เครื่องมือเชิงนโยบายที่พรรคการเมืองใช้ในการกำหนดนโยบายด้านการปฏิรูประบบราชการ ตลอดจนเพื่อศึกษาและวิเคราะห์กระบวนการจัดทำและกำหนดนโยบายด้านการปฏิรูประบบราชการของพรรคการเมือง โดยนำกรอบแนวคิดวงจรนโยบายสาธารณะ (Policy Cycle) มาใช้ในการวิเคราะห์ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ผ่านการเก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กลุ่มประชากรตัวอย่างคือ พรรคการเมืองไทย และผู้วิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลจากการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ครอบคลุมและละเอียด ต่อการศึกษาในครั้งนี้ จากการศึกษาในครั้งนี้ ผู้วิจัยขอสรุปผลการศึกษาได้ ดังนี้ 1) อุดมการณ์มีผลต่อการกำหนดและจัดทำนโยบายด้านการปฏิรูประบบราชการของพรรคการเมือง อย่างไรก็ตาม ปัจจัยด้านการตัดสินใจของผู้บริหารพรรคการเมืองว่าจะเลือกกำหนดนโยบายในด้านใดนั้น มีผลต่อทิศทางในการกำหนดนโยบาย 2) กระบวนการในการกำหนดและจัดทำนโยบายด้านการปฏิรูประบบราชการของพรรคการเมือง เป็นไปตามกรอบแนวคิดของการวิจัย "วงจรนโยบายสาธารณะ" 3) พรรคการเมืองทุกพรรคมีคณะกรรมการยุทธศาสตร์และนโยบาย เป็นเครื่องมือที่เป็นกลไกสำคัญที่พรรคการเมืองใช้ในการกำหนดนโยบายด้านการปฏิรูประบบราชการ 4) ทัศนคติของข้าราชการ เป็นปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่ทุกพรรคการเมืองเห็นตรงกัน ว่าทำให้นโยบายด้านการปฏิรูประบบราชการของแต่ละรัฐบาลไม่ประสบความสำเร็จ และไปสู่ผลลัพธ์ที่คาดหวังได้


การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่: ศึกษากรณี เทศบาลนครนครปฐม, ณัฐชพันธุ์ คุปตวัช Jan 2023

การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่: ศึกษากรณี เทศบาลนครนครปฐม, ณัฐชพันธุ์ คุปตวัช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งตอบคำถามเกี่ยวกับบทบาทการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนที่มีส่วนร่วมในการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ รวมถึงอธิบายความแตกต่างของการมีส่วนร่วมระหว่างผู้นำชุมชน ที่มีช่วงอายุต่างกันในการจัดการบริการสาธารณะ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research Methodology) จากการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้นำชุมชนในเขตเทศบาลนครนครปฐมจำนวน 10 คน จาก 10 ชุมชน การศึกษาพบว่า การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนสามารถแบ่งได้ 2 แบบ ได้แก่ การมีส่วนร่วมแบบเป็นทางการ หมายถึง การมีส่วนร่วมที่เป็นไปตามหน้าที่ที่กำหนดในระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยคณะกรรมการชุมชนของเทศบาล พ.ศ. 2564 (2564) และการมีส่วนร่วมแบบไม่เป็นทางการ หมายถึง การมีส่วนร่วมที่ผู้นำชุมชนริเริ่มขึ้นเอง โดยไม่ได้เป็นหน้าที่ตามข้อบัญญัติ โดยในการมีส่วนร่วมแบบเป็นทางการนั้น ผู้นำชุมชนมีส่วนร่วมพัฒนาบริการสาธารณะ ตั้งแต่ร่วมตัดสินใจเสนอปัญหา ระบุสภาพปัญหาในแผนชุมชนแต่ไม่มีส่วนร่วมดำเนินการ เพราะอำนาจการอนุมัติโครงการเป็นของเทศบาล ระดับการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภานภาพของผู้นำชุมชน หากเป็นผู้นำชุมชนที่ดำรงตำแหน่งบริหารงานร่วมกับเทศบาล จะมีอำนาจต่อรองมากกว่า ผู้นำชุมชนมีวิธีการหลายรูปแบบในการกดดัน ต่อรองกับหน่วยงานเทศบาลเพื่อให้โครงการของชุมชนของตนได้รับการจัดสรรงบประมาณ ในด้านความแตกต่างของการมีส่วนร่วมระหว่างผู้นำชุมชนที่มีช่วงอายุต่างกัน ผู้วิจัยพบว่า ผู้นำชุมชนวัยผู้ใหญ่ (ช่วงอายุ 25 - 45 ปี) เป็นกลุ่มคนที่เน้นการทำงานเชิงรุกคิดเชิงออกแบบ ทดลอง ทดสอบ เพื่อแสวงหาหนทางแก้ปัญหาระยะยาว ผู้นำชุมชนวัยผู้ใหญ่ ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการภายในชุมชนอย่างอิสระมองว่าหน่วยงานเทศบาลอำนวยความสะดวกให้กับชุมชน แตกต่างกับผู้นำชุมชนวัยสูงอายุ (ช่วงอายุ 45 - 76 ปี) ที่เน้นการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ การทำงานเป็นแบบเชิงรับ ให้ความสำคัญกับการทำงานตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ผู้นำชุมชนมีหน้าที่รายงานสถานการณ์ภายในชุมชนรอการแก้ไขปัญหาจากหน่วยงานเทศบาล เน้นการยึดโยงกับหน่วยงานเทศบาลผ่านความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน


ประเด็นด้านทรัพยากรและวัตถุประสงค์ของนโยบายที่ส่งผลต่อการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี, ณัฐวัฒน์ จารุวัฒน์ Jan 2023

ประเด็นด้านทรัพยากรและวัตถุประสงค์ของนโยบายที่ส่งผลต่อการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี, ณัฐวัฒน์ จารุวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งตอบคำถามเกี่ยวกับประเด็นด้านทรัพยากรและวัตถุประสงค์ของนโยบายที่ส่งผลต่อการตัดสินใจถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยใช้กรณีศึกษาจากกรณีการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี โดยวิเคราะห์เชื่อมโยงกับทฤษฎีปัจจัยการนำนโยบายไปปฏิบัติของ Van Meter และ Van Horn ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการถ่ายโอน ผลการศึกษา พบว่า การสื่อสารเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการถ่ายโอน มีการทำผ่านหลายช่องทาง ทั้งคู่มือที่มีรายละเอียด การประชุม และสื่อสารระหว่างหน่วยงาน บุคลากรที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจในทิศทางเดียวกันในวัตถุประสงค์ของนโยบาย คือเพื่อกระจายอำนาจด้านการบริหารงานด้านสาธารณสุขเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน ขณะที่การถ่ายโอนยังมีปัญหาในเรื่องความไม่ชัดเจนของกฎระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติงานโดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับงบประมาณและความกังวลต่ออิทธิพลทางการเมือง สำหรับปัจจัยทรัพยากร กลุ่มตัวอย่างคาดหวังว่าจะได้รับการสนับสนุนที่เพิ่มมากขึ้นทั้งด้านบุคลากรและงบประมาณ โดยต้องการเห็นความชัดเจนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด การค้นพบได้สะท้อนไปสู่ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกถ่ายโอนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ประกอบด้วย 4 ปัจจัย คือ (1) บุคลากร (2) งบประมาณและวัสดุครุภัณฑ์ (3) กฎหมายและระเบียบ (4) การปฏิบัติงาน สำหรับกรณีขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี มีความพร้อมในด้านทรัพยากร แต่เนื่องจากปัจจัยด้านกฎหมายและระเบียบและการสื่อสารในเรื่องแนวทางการปฏิบัติตามระเบียบที่ยังไม่มีความชัดเจน จึงยังทำให้มีความกังวลอยู่ในกลุ่มโรงพยาบาลที่ยังไม่ได้ถ่ายโอน และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งต้องการความชัดเจนที่มากขึ้น


ประสิทธิภาพการบริหารจัดการขยะของคณะกรรมการชุมชนแออัด กรณีศึกษาชุมชนอุทัยรัตน์ ซอยประดิพัทธ์ 15 เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร, ณัฐวิชช์ ดำรงค์ศรีวงศ์ Jan 2023

ประสิทธิภาพการบริหารจัดการขยะของคณะกรรมการชุมชนแออัด กรณีศึกษาชุมชนอุทัยรัตน์ ซอยประดิพัทธ์ 15 เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร, ณัฐวิชช์ ดำรงค์ศรีวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงสภาพปัญหาและอุปสรรคการบริหารจัดการขยะของคณะกรรมการชุมชนอุทัยรัตน์ ซอยประดิพัทธ์ 15 เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษาแนวทางในการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะของคณะกรรมการชุมชนอุทัยรัตน์ ซอยประดิพัทธ์ 15 เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ มีการเก็บข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายเชิงคุณภาพจาก แบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จำนวน 8 คน โดยใช้หลักการบริหารแบบ “POSDC” ผลการวิจัยพบว่า คณะกรรมการชุมชนอุทัยรัตน์มีประสิทธิภาพการบริหารจัดการขยะที่ดีในด้านการจัดการองค์กร (Organizing) การจัดสรรและบริหารบุคลากร (Staffing) และการสั่งการและการอำนวยการ (Directing) แต่ยังสามารถพัฒนาประสิทธิภาพเพิ่มเติมในด้าน การวางแผน (Planning) ซึ่งต้องการการวางแผนให้ตรงกับปัญหาและความต้องการชุมชนให้มากขึ้น และในด้านการควบคุม (Controlling) ซึ่งต้องการการสื่อสารและดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การประชาสัมพันธ์ที่ดี และมีกฎระเบียบมากขึ้น เพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน และมีจิตสำนึกในการแยกขยะมากยิ่งขึ้น


แนวทางการพัฒนากำลังพลกรมกิจการชายแดนทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ให้มีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ ในรูปแบบ Digital Headquarters ในปี พ.ศ.2570, ทุติยาภรณ์ อินทเวช Jan 2023

แนวทางการพัฒนากำลังพลกรมกิจการชายแดนทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ให้มีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ ในรูปแบบ Digital Headquarters ในปี พ.ศ.2570, ทุติยาภรณ์ อินทเวช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนากำลังพลกรมกิจการชายแดนทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ให้มีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ ในรูปแบบ DIGITAL HEADQUARTERS ในปี พ.ศ.2570 มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ว่าปัจจุบันของกำลังพลของกรมกิจการชายแดนทหารมีรูปแบบการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับการปฏิบัติงานตามแนวความคิด DIGITAL Headquarters หรือไม่ หากไม่ปัจจัยใดที่เป็นอุปสรรคที่ส่งผลให้กำลังพลไม่สามารถปฏิบัติงานได้ตามที่กำหนดไว้ และเพื่อเสนอแนะแนวทางพัฒนากำลังพลให้มีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ในรูปแบบ DIGITAL Headquarters การวิจัยดำเนินการลักษณะการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผ่านการวิจัยเอกสารและสัมภาษณ์ (Interview) โดยใช้คำถามกึ่งโครงสร้าง จากผู้ที่ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ระดับผู้บริหารระดับสูง ระดับผู้บริหารระดับกลาง ระดับผู้บริหารระดับต้น และ ระดับผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 10 ราย ผลการวิจัยพบว่า กำลังพลกรมกิจการชายแดนทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ยังไม่สามารถปฏิบัติงานในรูปแบบที่สอดคล้องกับแนวคิด Digital Headquarters ของกองบัญชาการกองทัพไทย เนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจ และทักษะในการใช้งานระบบดิจิทัล ดังนั้น จึงควรมีการวางแผนการพัฒนากำลังพลและจัดกำลังพลเข้ารับการอบรมหลักสูตรเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานตามแนวทาง DIGITAL Headquarters ให้สอดคล้องงานที่ได้รับการปฏิบัติงานจริง จัด Workshop ให้แก่กำลังพลผู้ปฏิบัติงานเพื่อสร้างความชำนาญในการใช้งานระบบดิจิทัล เพื่อรองรับการปฏิบัติงานในรูปแบบ Digital Headquarters ในปี พ.ศ.2570


การส่งเสริมบทบาทและสถานะไต้หวันในเวทีระหว่างประเทศในรัฐบาลประธานาธิบดีไช่ อิงเหวิน, ธนกฤษ เกตุเนตร Jan 2023

การส่งเสริมบทบาทและสถานะไต้หวันในเวทีระหว่างประเทศในรัฐบาลประธานาธิบดีไช่ อิงเหวิน, ธนกฤษ เกตุเนตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินนโยบายเพื่อส่งเสริมบทบาทของไต้หวันในเวทีระหว่างประเทศในสมัยประธานาธิบดีไช่ อิง เหวิน ซึ่งจากการศึกษาการดำเนินนโยบายดังกล่าวที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากหลักการจีนเดียว (One China policy) ของประธานาธิบดีสี จิ้น ผิง ที่หวังจะรวมไต้หวันเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของจีน เป็นเหตุให้ไต้หวันภายใต้การนำของประธานาธิบดีไช่ อิง เหวิน จำเป็นต้องดำเนินนโยบายเพื่อส่งเสริมบทบาทของไต้หวันในเวทีระหว่างประเทศและการรักษาอธิปไตยของไต้หวัน อีกทั้งเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาความสัมพันธ์กับรัฐภายนอก โดยประธานาธิบดีไช่ อิง เหวิน ได้มีการดำเนินนโยบายเพื่อการส่งเสริมบทบาทของไต้หวันในเวทีระหว่างประเทศเพื่อให้สังคมเกิดความแตกต่างจากความเป็นจีน ผ่านนโยบายมุ่งใต้ใหม่ (New Southbound policy) โดยมีวัตถุประสงค์พัฒนาความร่วมมือและเพื่อให้ไต้หวันกลับมามีบทบาทในการพัฒนาและสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงเอเชียใต้ผ่านดำเนินนโยบายผ่านการพัฒนาบุคคลให้เป็นศูนย์กลาง (people-centered) เพื่อพัฒนาทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาคผ่านกรอบความร่วมมือระดับทวิภาคีและพหุภาคีทั้ง 4 รูปแบบได้แก่ 1) การสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจ 2) การแลกเปลี่ยนทักษะและองค์ความรู้ระหว่างกันเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ 3) การแบ่งปันทรัพยากร รวมถึงค่านิยมและวัฒนธรรมความเป็นไต้หวันเพื่อให้เกิดความร่วมมือ 4) สร้างความสัมพันธ์ระดับภูมิภาค ทั้งนี้เพื่อให้ไต้หวันสามารถมีอำนาจต่อรองในภูมิภาคและสร้างการยอมรับจากเวทีระหว่างประเทศอีกทั้งเพื่อรักษาสถานะเดิมของไต้หวันและถ่วงดุลอำนาจจีน


ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานและความพึงพอใจในงานที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานเทศบาลในเทศบาลนครเชียงใหม่, ธัญวรรณ ตันตินาคม Jan 2023

ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานและความพึงพอใจในงานที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานเทศบาลในเทศบาลนครเชียงใหม่, ธัญวรรณ ตันตินาคม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงาน ความพึงพอใจในงาน และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานเทศบาล ในเทศบาลนครเชียงใหม่ และ (2) ศึกษาอำนาจการพยากรณ์ของคุณภาพชีวิตการทำงานและ ความพึงพอใจในงานที่มีต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานเทศบาล ในเทศบาลนครเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานเทศบาลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการในสังกัดเทศบาลนครเชียงใหม่ โดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือนที่ตั้งทางเทศบาลนครเชียงใหม่ จำนวน 192 คน ใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ .952 เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัย พบว่า (1) คุณภาพชีวิตการทำงาน และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานเทศบาลในเทศบาลนครเชียงใหม่ มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .01) (2) ความพึงพอใจในงาน และพฤติกรรม การเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานเทศบาลในเทศบาลนครเชียงใหม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .01) (3) คุณภาพชีวิตการทำงานและความพึงพอใจในงานมีอำนาจร่วมกันในการพยากรณ์พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานเทศบาลในเทศบาลนครเชียงใหม่ ได้ร้อยละ 20.1 (R2=.201) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .01)


การศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการสร้างความเป็นกลางทางการเมืองในข้าราชการพลเรือนฝ่ายประจำ ระหว่างประเทศไทย สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา, ธีรพล บุญนาค Jan 2023

การศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการสร้างความเป็นกลางทางการเมืองในข้าราชการพลเรือนฝ่ายประจำ ระหว่างประเทศไทย สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา, ธีรพล บุญนาค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหมือนและแตกต่างของกระบวนการสร้างความเป็นกลางทางการเมืองในข้าราชการพลเรือนฝ่ายประจำระหว่างประเทศไทย สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการผ่านการค้นคว้าเอกสาร ประกอบกับการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เกี่ยวข้องกับงานทรัพยากรบุคคลของประเทศไทย และเจ้าหน้าที่ของสถานทูตสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า กฎหมายว่าด้วยข้าราชการพลเรือนของทั้งสามประเทศสามารถแสดงออกถึงความเข้าใจของรัฐต่อคำว่าเป็นกลางทางการเมือง ซึ่งทั้งสามประเทศมีความเข้าใจนิยามความเป็นกลางทางการเมืองตรงกัน โดยสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาให้ความสำคัญกับการอบรมและจัดทำคู่มือการปฏิบัติตนอย่างเป็นกลางทางการเมืองให้แก่ข้าราชการพลเรือนฝ่ายประจำ แต่ประเทศไทยไม่ได้มีการบังคับให้ส่วนราชการจัดอบรมและจัดทำคู่มือในประเด็นนี้ ด้านการลงโทษข้าราชการที่ปฏิบัติตนไม่เป็นกลางทางการเมือง สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาจัดให้มีเจ้าหน้าที่และหน่วยงานตรวจสอบความประพฤติข้าราชการ และมีคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ซึ่งหากพบความผิดสามารถลงโทษข้าราชการได้ทันที แต่ประเทศไทยไม่มีความจริงจัง ในเรื่องการตรวจสอบความประพฤติที่อาจไม่เป็นกลางทางการเมืองของข้าราชการ ทำให้ไม่มีการลงโทษให้เป็นแบบอย่างแก่ข้าราชการคนอื่น ๆ กฎหมายว่าด้วยความเป็นกลางและมารยาท ทางการเมืองของประเทศไทยจึงไม่มีสภาพบังคับในทางปฏิบัติ ดังนั้น หน่วยงานกลางด้านทรัพยากรบุคคลของประเทศไทยควรจัดให้มีการตรวจสอบและไต่สวนหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ การปฏิบัติตนอย่างเป็นกลางทางการเมือง เพื่อรักษาผลประโยชน์และความน่าเชื่อถือของรัฐบาล ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่ประสิทธิภาพและเสถียรภาพของรัฐบาลต่อไป


การจัดวางบทบาทของกำนันและผู้ใหญ่บ้านต่อการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเขตพื้นที่สังคมเมือง: กรณีศึกษา ตำบลบางใหญ่ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี, นทีมาศ สุขทวี Jan 2023

การจัดวางบทบาทของกำนันและผู้ใหญ่บ้านต่อการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเขตพื้นที่สังคมเมือง: กรณีศึกษา ตำบลบางใหญ่ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี, นทีมาศ สุขทวี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษาเรื่อง “การจัดวางบทบาทของกำนันและผู้ใหญ่บ้านกับการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเขตพื้นที่สังคมเมือง: กรณีศึกษา ตำบลบางใหญ่ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี” มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อรับรู้บทบาทของกำนัน และผู้ใหญ่บ้าน ในพื้นที่สังคมเมืองในปัจจุบัน 2. เพื่อรับรู้บทบาทของกำนัน และผู้ใหญ่บ้าน กับการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในปัจจุบัน และ 3. เพื่อหารูปแบบบทบาทของกำนัน และผู้ใหญ่บ้าน ต่อการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเขตพื้นที่สังคมเมือง โดยผลการศึกษาพบว่า บทบาทกำนันและผู้ใหญ่บ้าน ต่อองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่สังคมเมือง ประกอบด้วย 1) บทบาทที่เป็นทางการ เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ทำงานฝ่ายปกครองดูแลความสงบเรียบร้อยเพื่อให้ราษฎรเกิดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เป็นนายทะเบียน และเป็นผู้ปฏิบัติตามข้อสั่งการของราชการ นำข้อสั่งการหรือนโยบายไปปฏิบัติในพื้นที่ และเป็นตัวแทนประชาชนรายงานเหตุการณ์สร้างความเดือดร้อนในพื้นที่ แก่กำนัน เพื่อให้กำนันรายงานต่อนายอำเภอ พร้อมกับแจ้งเหตุให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาแก้ไขความเดือดร้อน 2) บทบาทที่ไม่เป็นทางการ ปฏิบัติหน้าที่ตามความคาดหวังของราษฎรในบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ช่วยขจัดปัญหาความเดือดร้อนในการดำรงชีวิตประจำวัน รวมถึงเข้าไปมีส่วนร่วมกับกิจกรรมในชุมชน/หมู่บ้าน แม้ไม่ใช่งานของราชการก็ตาม เพื่อสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ปกครองกับลูกบ้าน และรักษาความใกล้ชิดกับประชาชนในพื้นที่อันเป็นจุดแข็งของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ทั้งนี้ บทบาทสำคัญของกำนันผู้ใหญ่บ้านร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ บทบาทในการการจัดทำแผนพัฒนาพื้นที่ และเป็นผู้ประสานงานระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กับฝ่ายปกครองท้องที่ หรือกับประชาชน ตลอดจนให้ความร่วมมือในการทำงาน สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


ปัจจัยที่ทำให้ข้าราชการตำรวจ ระดับรองสารวัตรต้องการย้ายเข้ามาดำรงตำแหน่งในกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง, นนทพัทธ์ อินทรศวร Jan 2023

ปัจจัยที่ทำให้ข้าราชการตำรวจ ระดับรองสารวัตรต้องการย้ายเข้ามาดำรงตำแหน่งในกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง, นนทพัทธ์ อินทรศวร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เป็นหน่วยงานส่วนสนับสนุนการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม ตามโครงสร้างของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมีหน้าที่สืบสวนปราบปราม และการดำเนินคดีอาญาที่เป็นอาชญากรรมเฉพาะทาง ทั่วราชอาณาจักร ปัจจุบันมี พลตำรวจโท จิรภพ ภูริเดช เป็นผู้บัญชาการตำรวจสอบกลาง ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดขององค์การ เน้นการทำงานแบบเชิงรุก ให้ความสำคัญกับการทำงานเป็นทีม หลังจากย้ายที่ทำการของกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร แล้ว ได้มีสิ่งอำนวยความสะดวกขึ้นมาไม่ว่าจะเป็น แฟลตข้าราชการตำรวจ สนามกีฬาประเภทต่าง ๆ ฟิตเนส ร้านสะดวกซื้อ เป็นต้น ทำให้ข้าราชการตำรวจที่อยู่ในสังกัดอื่นต้องการที่ย้ายเข้ามาดำรงตำแหน่งในกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ดังนั้นผู้วิจัยจึงเลือกที่จะทำสารนิพนธ์ในหัวข้อ “ปัจจัยที่ทำให้ข้าราชการตำรวจ ต้องการย้ายเข้ามาดำรงตำแหน่งในกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง” โดยศึกษาเฉพาะกรณีตำแหน่ง “รองสารวัตร” เนื่องจากเป็นระดับตำแหน่งที่ต้องการย้ายเข้ามาดำรงตำแหน่งในกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางเป็นจำนวนมากที่สุด เมื่อเทียบกับหน่วยอื่น ๆ ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ การทำสารนิพนธ์ในหัวข้อดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงเพื่อทราบสาเหตุที่ทำให้ข้าราชการตำรวจ ระดับรองสารวัตรต้องการย้ายเข้ามาดำรงตำแหน่งในกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง รวมถึงปัญหาและอุปสรรคของข้าราชการตำรวจ ระดับรองสารวัตร ในการย้ายเข้ามาดำรงตำแหน่งในกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ซึ่งจะทำการรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการศึกษาเอกสาร และการสัมภาษณ์ โดยสัมภาษณ์ข้าราชการตำรวจ ระดับรองสารวัตร ที่มิได้สังกัดกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ซึ่งต้องการย้ายเข้ามาดำรงตำแหน่งในกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง จำนวน 10 คน ผลการวิจัย พบว่า สาเหตุที่ทำให้ข้าราชการตำรวจ ระดับรองสารวัตร ต้องการย้ายเข้ามาดำรงตำแหน่งในกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เนื่องจาก การปฏิบัติงานของกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ภาวะผู้นำของผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง และสวัสดิการของกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ที่ดีกว่าหน่วยงานอื่น ๆ ส่วนปัญหาและอุปสรรค เกิดจากการขาดแคลนกำลังพลในหน่วยงานของส่วนป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม รวมถึงส่วนสนับสนุนการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมบางหน่วย ข้อจำกัดในเรื่องวุฒิการศึกษาที่จะจะต้องจบปริญญาตรี ทางด้านนิติศาสตร์ และถึงแม้ไม่ขาดแคลนกำลังพลไม่รู้จักผู้บังคับบัญชาของกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางที่มีอำนาจเพียงพอ หรือไม่รู้จักบุคคลในกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางที่สามารถเข้าถึงผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจของกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ก็ไม่สามารถที่จะย้ายได้


การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities) ของจีนในประเทศกำลังพัฒนาผ่านข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt And Road Initiative : Bri), นันท์นภัส ภัทรอังกูร Jan 2023

การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities) ของจีนในประเทศกำลังพัฒนาผ่านข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt And Road Initiative : Bri), นันท์นภัส ภัทรอังกูร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อพัฒนาเมืองอัจฉริยะของจีนในประเทศในแอฟริกา โดยจะชี้ให้เห็นว่าการลงทุนดังกล่าวเป็นการส่งออกโมเดลจีน (China Model) ให้กับประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งเป็นการส่งเสริมฉันทามติปักกิ่ง (Beijing Consensus) อันเป็นแนวคิดการพัฒนาที่แตกต่างจากฉันทามติวอชิงตัน (Washington Consensus) เพื่อส่งเสริมการผงาดขึ้นของจีน (Rise of China) ในระบบระหว่างประเทศ ซึ่งจีนได้ส่งออกเมืองอัจฉริยะตามโมเดลจีนผ่าน BRI และ DSR และขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะดังกล่าวภายใต้โครงการเมืองที่ปลอดภัย (Safe Cities) ซึ่งจะให้ความสำคัญกับความมั่นคงของรัฐเป็นหลัก โดยสนับสนุนการลงทุนเมืองอัจฉริยะตามโมเดลจีนผ่านบริษัทข้ามชาติสัญชาติจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Huawei ที่มีบทบาทสำคัญในการเข้าไปลงทุนและดำเนินการด้านเทคโนโลยีในการสอดส่องเมือง ทำให้เมืองอัจฉริยะตามโมเดลจีนเต็มไปด้วยการใช้เทคโนโลยีเมืองเพื่อสอดส่องผู้อยู่อาศัยภายในเมืองจากรัฐบาลท้องถิ่นและรัฐบาลจีน ซึ่งการส่งออกแนวคิดการพัฒนาเมืองดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่าจีนพยายามแสวงหาและสร้างการยอมรับการเมืองอัจฉริยะตามโมเดลจีนกับประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะประเทศในทวีปแอฟริกาที่โมเดลการพัฒนาเมืองอัจฉริยะของจีนได้รับการยอมรับไปปรับใช้กับรัฐบาลในแอฟริกาอย่างแพร่หลาย ซึ่งเป็นการเพิ่มศักยภาพและบทบาทของจีนในการแข่งขันทางอำนาจด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนผ่านความสัมพันธ์เชิงอำนาจในทิศทางที่จีนพอใจมากขึ้นในระดับโลก


การศึกษาการจัดการด้านสวัสดิการของพนักงานสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย, ปณิธาน ชูแก้ว Jan 2023

การศึกษาการจัดการด้านสวัสดิการของพนักงานสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย, ปณิธาน ชูแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาการจัดการด้านสวัสดิการของพนักงานสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การจัดการด้านสวัสดิการของพนักงานสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยและเพื่อเสนอแนวโน้มความต้องการด้านสวัสดิการของพนักงานสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย จำนวน 201 คน ผลการวิจัยพบว่า พนักงานสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย มีความพึงพอใจในสวัสดิการด้านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในระดับมากที่สุด ความพึงพอใจในสวัสดิการด้านค่าเล่าเรียนบุตร-ค่าคลอดบุตรในระดับมาก ความพึงพอใจในสวัสดิการด้านค่ารักษาพยาบาลและประกันในระดับมาก และความคาดหวังการเข้าสู่ภาะวะสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ตามลำดับ และมีการสำรวจความคาดหวังการเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) พนักงานกลุ่มที่เกิดในช่วงปี (พ.ศ. 2489-2507) พบว่าพนักงานมีพึงพอใจมากที่สุดหากถ้าสำนักงานฯจัดให้มีสิทธิค่ารักษาพยาบาลหลังเกษียณอายุความต้องการค่ารักษาพยาบาลหลังสวัสดิการ และการจัดให้มีสิทธิสวัสดิการหลังพนักงานเกษียณอายุไปแล้ว จะสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายของพนักงานหลักเกษียณ โดยสวัสดิการที่พนักงานต้องการเพิ่มเติมดังกล่าวสามารถจัดอยู่ในสวัสดิการด้านค่ารักษาพยาบาลและประกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพนักงานมีความคำนึงถึงสุขภาพ และความมั่นคงในอนาคต เมื่อเปรียบเทียบความมพึงพอใจในสวัสดิการของพนักงาน พบว่า เพศ อายุ สถานภาพ ครอบครัว ระดับการศึกษา เงินเดือน ระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน ของ กพท. ที่แตกต่างกัน มีความพึงพอใจในสวัสดิการที่ไม่ต่างกัน ส่วนต้นสังกัด มีความพึงพอใจในสวัสดิการที่แตกต่าง


ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการการให้บริการซ่อมและพัฒนาเครื่องจักรกลเพื่อความคุ้มค่าเงินทุนหมุนเวียนค่าเครื่องจักรกลของกรมทางหลวง, บุญเกตุ ขุนทรัพย์ Jan 2023

ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการการให้บริการซ่อมและพัฒนาเครื่องจักรกลเพื่อความคุ้มค่าเงินทุนหมุนเวียนค่าเครื่องจักรกลของกรมทางหลวง, บุญเกตุ ขุนทรัพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการบริหารจัดการการให้บริการซ่อมและพัฒนาเครื่องจักรกลเพื่อความคุ้มค่าเงินทุนหมุนเวียนค่าเครื่องจักรกลของกรมทางหลวง เพื่อให้ทราบถึงปัญหาและอุปสรรค รวมทั้งแนวทางการพัฒนาปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการให้บริการซ่อมและพัฒนาเครื่องจักรกล และเพื่อความคุ้มค่าเงินทุนหมุนเวียนค่าเครื่องจักรกล ของส่วนพัฒนาเครื่องจักรกล สำนักเครื่องกลและสื่อสาร กรมทางหลวง โดยใช้รูปแบบการศึกษาด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์แบบเชิงลึกและการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม โดยมีประชากรกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารระดับกลางในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ผู้ปฏิบัติงาน และผู้รับบริการ ผลการศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดลักษณะของทีมการทํางานที่มีประสิทธิภาพ 11 ด้านของ Woodcock (2018) พบว่าประสิทธิภาพการทำงานของทีมปฏิบัติงานสามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างคุ้มค่า ทันเวลาและสร้างความพึงพอใจให้กับผู้รับบริการ โดยปัจจัยที่องค์การสามารถนำมาปรับแนวทางการบริหารจัดการเหมาะสม ส่งเสริมให้เกิดลักษณะทีมทำงานมีประสิทธิภาพในปัจจุบัน อาทิเช่น ความสมดุลในบทบาทตามหน้าที่และทักษะความสามารถที่แตกต่างกัน ในทีมปฏิบัติงานเพื่อร่วมกันทำงาน การเปิดเผยและการเผชิญโดยทีมปฏิบัติงานสามารถแสดงความรู้สึกความคิดเห็นของตนต่อการทํางานได้อย่างตรงไปตรงมา มีการเปิดเผยข้อมูลยอมรับปัญหาในการทำงานร่วมกัน นอกจากนี้ การบริหารจัดการที่ศึกษายังมีลักษณะการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่-NPM พบว่าส่วนพัฒนาเครื่องจักรกลมีการบริหารจัดการการให้บริการที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ โดยนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการด้วยระบบการวางแผนทรัพยากรในองค์กร (Enterprise Resource Planning- ERP) อย่างไรก็ตามส่วนพัฒนาเครื่องจักรกลควรพัฒนาบุคลากรเรื่องทักษะในการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรกลในเชิงป้องกันและการซ่อมเมื่อชำรุดให้เท่าทันกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ของเครื่องจักรกลที่ทันสมัยขึ้น นำความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องเช่นผู้รับบริการมาใช้เป็นแนวทางพัฒนาการทำงานร่วมกันกับผู้บริหาร จะส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพและนำมาซึ่งประโยชน์ต่อองค์การมากยิ่งขึ้น


แนวทางพัฒนาการประเมินผลการปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์ กรณีศึกษา ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์, ปภัชญา เพ็ชร์ทอง Jan 2023

แนวทางพัฒนาการประเมินผลการปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์ กรณีศึกษา ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์, ปภัชญา เพ็ชร์ทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประเมินผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ในปัจจุบัน เพื่อรวบรวมปัญหา วิเคราะห์ และจัดทำข้อเสนอแนะด้านต่างๆ รวมทั้งแนวทางพัฒนาการประเมินผลการดำเนินงานของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ให้มีความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์มากขึ้น โดยงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงานของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำยุทธศาสตร์และติดตามผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ในการจัดทำยุทธศาสตร์ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2565-2570) มีการพิจารณาประเด็นในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมจากปัจจัยภายใน (จุดแข็ง-จุดอ่อน) ขององค์กร และสภาพแวดล้อมภายนอก (STEEP) แต่ไม่มีการวิเคราะห์โอกาสและความท้าทายร่วมกับปัจจัยภายใน (โอกาสและความท้าทาย ใน SWOT Analysis) นอกจากนี้ยังพบว่าข้อจำกัดในมุมมองของการถ่ายทอดยุทธศาสตร์มาสู่การปฏิบัติยังมีช่องว่างทั้งในเรื่องของผู้บริหารที่มีการเปลี่ยนแปลง การขาดการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของผู้เกี่ยวข้องภายในหน่วยงานโดยเฉพาะในระดับปฏิบัติการ และการสื่อสารระหว่างกันภายในองค์กรที่ยังไม่ทั่วถึง ส่งผลให้กระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์ไม่ชัดเจนและไม่ต่อเนื่อง ผู้บริหารจึงควรปรับรูปแบบการบริหารงานให้มีนโยบายที่ชัดเจน เน้นการเปิดโอกาสให้บุคลากรทุกระดับเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง เพิ่มการสื่อสารระหว่างผู้บริหารกับผู้ปฏิบัติงานให้ทราบถึงผลการประเมินของผู้ปฏิบัติงาน โดยการสื่อสารแบบ 2 ทาง ให้มีความเข้าใจเป้าหมายในการปฏิบัติงานได้อย่างตรงประเด็นมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานไปสู่เป้าหมายร่วมกันทั่วทั้งองค์กรและส่งผลให้การประเมินผลของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์มีแบบแผนที่ชัดเจนและต่อเนื่องยิ่งขึ้นได้


การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานของพนักงานสอบสวน กองกำกับการ 2 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ, ปรีดาพล ใยสวัสดิ์ Jan 2023

การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานของพนักงานสอบสวน กองกำกับการ 2 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ, ปรีดาพล ใยสวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พนักงานสอบสวน กองกำกับการ 2 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีหน้าที่และอำนาจในการรวบรวมพยานหลักฐาน และการดำเนินการต่าง ๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เกี่ยวกับภาษีอากรทั่วราชอาณาจักร ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2560, พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560 และประมวลรัษฎากร ซึ่งในปัจจุบัน มีแนวโน้มจำนวนคดีและมูลค่าความเสียหายสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่ พ.ศ.2563 ในปีที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ต้องงดการเดินทางเข้า-ออก ประเทศ เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ และประชาชนเกิดการว่างงาน แน่นอนว่าเป็นที่มาของการก่ออาชญากรรมทางภาษีเพิ่มขึ้น นอกจากนี้แต่ละคดีจะปริมาณเอกสารและขั้นตอนการดำเนินการแต่ละคดีมีเป็นปริมาณมาก เมื่อเทียบกับกองกำกับการอื่น ๆ และสถานีตำรวจท้องที่ในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อีกทั้งกฎหมายภาษีถือเป็นกฎหมายพิเศษซึ่งมีความซับซ้อนสูง ไม่สามารถโอนสำนวนไปให้สถานีตำรวจท้องที่ดำเนินการได้ เหมือนหน่วยงานอื่น ดังนั้นผู้วิจัยจึงเลือกที่จะทำสารนิพนธ์ในหัวข้อ “การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานของพนักงานสอบสวน กรณีศึกษา กองกำกับการ 2 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ” เพื่อที่หาแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานของพนักงานสอบสวน กองกำกับการ 2 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ การทำสารนิพนธ์ในหัวข้อดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการงาน และแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานของพนักงานสอบสวน กองกำกับการ 2 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งจะทำการรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการศึกษาเอกสาร การสังเกตการณ์ และท้ายสุดจะเป็นการสัมภาษณ์ พนักงานสอบสวน และผู้บังคับบัญชาของกองกำกับการ 2 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ จำนวน 10 คน ผลการวิจัย พบว่า ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการงาน หลัก ๆ มาจากด้านกฎหมาย คำสั่ง และระเบียบที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานที่ล้าสมัย สร้างความยุ่งยาก และไม่สนับสนุนความก้าวหน้าของพนักงานสอบสวน ด้านปริมาณงานแต่ละคดีที่มีเป็นจำนวนมากและเวลาในการทำสำนวนการสอบสวนที่น้อย ด้านสมรรถนะของพนักงานสอบสวนที่ยังไม่เพียงพอ ด้านค่าใช้จ่ายที่มีเรื่องการเบิกค่าสำนวนการสอบสวนได้ล่าช้า ส่วนแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการงาน พบว่า แต่ละคนมีการวางแผนในการปฏิบัติงานที่ใกล้เคียงกัน มีการพัฒนาสมรรถนะทั้งด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ด้านภาษาต่างประเทศ ด้านเทคโนโลยี และด้านบัญชี สุดท้ายเรื่องของการดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่แพ้กัน


ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง: กรณีศึกษาไทย - กัมพูชา, ปิยพัชร เหล่าสมบัติ Jan 2023

ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง: กรณีศึกษาไทย - กัมพูชา, ปิยพัชร เหล่าสมบัติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) ผ่านโครงการต่างๆ ภายใต้กรอบ ACMECS ระหว่างไทย-กัมพูชา ที่ยังคงมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและน่าจะมีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย-กัมพูชา เพราะประเทศไทยกับกัมพูชา เป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์กันมาอย่างยาวนาน มีแนวเขตแดนที่ติดกัน ทำให้ทั้ง 2 ประเทศมีประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ศาสนา และรูปแบบการดำรงชีวิตของประชาชนที่คล้ายคลึงกัน ด้วยเหตุนี้ทำให้ประชาชนไทยกับกัมพูชามีความสัมพันธ์ด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว เป็นอย่างดี และไทยกับกัมพูชาก็ได้มีกรอบความร่วมมือหรือยุทธศาสตร์ที่ช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ โดยสารนิพนธ์นี้ผู้เขียนได้นำกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) มาเป็นกรณีศึกษา โดยไทยเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งขึ้นมา ในสมัยรัฐบาลของนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น และหลังจากได้มีการปรับเปลี่ยนรัฐบาล เปลี่ยนนายกรัฐมนตรีตามยุคสมัย จนถึงสมัยรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งทำให้ความมุ่งหมายของนโยบายต่างประเทศของไทยย่อมปรับเปลี่ยน ผู้เขียนจึงสนใจที่จะศึกษาว่าโครงการต่างๆ ระหว่างไทย-กัมพูชา ภายใต้กรอบ ACMECS นี้ มีโครงการใดที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และน่าจะมีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย-กัมพูชา โดยผู้เขียนได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากเอกสาร รายงาน วิทยานิพนธ์ ข่าวสาร และบทความวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล โดยผลการวิจัยพบว่า ทั้งไทยและกัมพูชาต่างให้ความสำคัญกับกรอบ ACMECS โดยมีโครงการที่เป็นรูปธรรม บรรลุวัตถุประสงค์ของกรอบ ACMECS และมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง