Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 511 - 540 of 5570

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

วิเคราะห์บทบาทหน้าที่และการพิจารณานโยบายประชานิยมของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งในการหาเสียงของพรรคการเมือง: กรณีศึกษานโยบายแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต, ภาสกร เงินเจริญกุล Jan 2023

วิเคราะห์บทบาทหน้าที่และการพิจารณานโยบายประชานิยมของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งในการหาเสียงของพรรคการเมือง: กรณีศึกษานโยบายแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต, ภาสกร เงินเจริญกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเพื่อวิเคราะห์บทบาทหน้าที่และการพิจารณานโยบายประชานิยมของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งในการหาเสียงของพรรคการเมือง: กรณีศึกษานโยบายแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่ กฎหมาย หลักเกณฑ์และข้อจำกัดของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กับการพิจารณา“นโยบายการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท” รวมทั้งเสนอแนะบทบาทหน้าที่ของ กกต. ที่ควรมีในการกำกับดูแลและการรับมือกับการออกนโยบายประชานิยมของพรรคการเมืองในอนาคต โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและสัมภาษณ์ความเห็นของเจ้าหน้าที่ กกต. และนักการเมือง นักวิชาการ ผลการศึกษาพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ปี พ.ศ. 2560 มาตรา 57 จากการวิเคราะห์ทางเลือกที่ให้อำนาจ กกต. สามารถเรียกข้อมูลแหล่งที่มาของเงินจากพรรคการเมืองที่กำหนดนโยบายที่ใช้ปริมาณสูง ซึ่งมีกระแสทางสังคมและผู้วิจัยเห็นเพิ่มว่า กกต. ควรมีบทบาทในการพิจารณารับรอง ยับยั้งนโยบายประชานิยม ข้อเสนอนี้มีความสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2560 มาตรา 245 เปิดช่องทางให้ กกต. เข้ามีส่วนร่วมกับองค์กรอิสระ ในการพิจารณาตรวจสอบการดำเนินนโยบายของรัฐบาลที่มีความสุ่มเสี่ยงต่อการขาดวินัยการคลัง อย่างไรก็ดี การให้อำนาจแก่ กกต.ในการดำเนินการนอกเหนือจากการจัดการเลือกตั้งยังเป็นข้อถกเถึยงจากมุมมองที่แตกต่างซึ่งอาจส่งผลต่อสถานะความเป็นกลางของ กกต.


มุมมองของภาคส่วนทางสังคมต่อการเปิดคาสิโนอย่างถูกกฎหมายในประเทศไทย, ภิเษกศักดิ์ ศักดิ์สมบูรณ์ Jan 2023

มุมมองของภาคส่วนทางสังคมต่อการเปิดคาสิโนอย่างถูกกฎหมายในประเทศไทย, ภิเษกศักดิ์ ศักดิ์สมบูรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานศึกษามุมมองของภาคส่วนทางสังคมต่อการเปิดคาสิโนอย่างถูกกฎหมายในประเทศไทย ซึ่งงานวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาการวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยแบบคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามุมมองของภาคส่วนทางสังคมต่อการเปิดคาสิโนถูกกฎหมายในไทยให้เหมาะสมกับสภาพสังคมไทย และเป็นแหล่งรายใหม่ของประเทศในอนาคต ผ่านแนวคิดเกี่ยวกับการพนัน การทำคาสิโนถูกกฎหมาย โดยรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจากเอกสารและสื่อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม จำนวน 5 ท่าน คือ ผู้ประกอบธุรกิจ กิจการเกี่ยวกับการพนัน หรือธุรกิจคาสิโน ทั้งในและนอกประเทศ จำนวน 2 ท่านและกลุ่มข้าราชการและข้าราชการการเมือง จำนวน 3 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า มุมมองของภาคส่วนทางสังคมที่มีต่อการเปิดคาสิโนอย่างถูกกฎหมาย แบ่งได้ 2 ช่วง คือ ในช่วงปี พ.ศ. 2540-2559 พบว่า ส่วนใหญ่ยังไม่ยอมรับการเปิดคาสิโนถูกกฎหมาย และมองว่าคนที่ยอมรับการเปิดคาสิโนถูกกฎหมายนั้น มักเป็นกลุ่มคนที่มีประสบการณ์การเล่นการพนันมากกว่ากลุ่มคนที่ไม่มีประสบการณ์การเล่นการพนัน รวมถึงเสนอว่า ภาครัฐควรมีในการจัดการการพนันและคาสิโน โดยการส่งเสริมหลักศีลธรรม คุณธรรม แต่ในช่วงปี พ.ศ. 2560-ปัจจุบัน พบว่า มีแนวโน้มที่จะสามารถยอมและมีทัศนคติทางบวกต่อการเปิดคาสิโนถูกกฎหมาย หากภาครัฐสามารถบรรลุ 2 เงื่อนไข คือ เงื่อนไขแรก ยอมรับการเปิดคาสิโนถูกกฎหมายได้ หากมีการมาตราการ การควบคุม กฎหมายที่รัดกุมพร้อมรองรับการเปิดคาสิโน และเงื่อนไขที่สอง มีแนวทางในการป้องกันปัญหาทางสังคม และจากการสัมภาษณ์ผู้ให้สัมภาษณ์ทั้ง 5 ท่าน เกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการคาสิโนถูกกฎหมายในไทยให้เหมาะสมกับสภาพสังคมไทย พบว่า มีแนวโน้มที่จะยอมรับได้กับการเปิดคาสิโนถูกกฎหมาย ซึ่งสามารถแบ่งเหตุผลได้เป็น 2 ประการ คือ ประการแรก เหตุผลด้านเศรษฐกิจ มองว่า หากเปิดคาสิโนจริง ๆ ในรูปแบบสถานบันเทิงครบวงจรนั้น มันไม่มีเพียงสถานที่เล่นพนันเท่านั้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มการจ้างงาน ดึงดูดนักท่องเที่ยว นักลงทุน นำมาซึ่งการเติบโตด้านการท่องเที่ยวอีกด้วย และเหตุผลอีกประการคือ การเปิดคาสิโนถูกกฎหมาย ไม่ใช่สาเหตุที่เพิ่มจำนวนนักพนันให้มีมากขึ้น หรือเพิ่มปัญหาสังคมหากได้รับการจัดการที่ดี อีกทั้ง ยังช่วยปราบปราม การพนันที่ผิดกฎหมายให้ลดลงไปด้วย


การศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อระดับความพึงพอใจ ในการใช้บริการรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร, วรยศ สงวนวงศ์ Jan 2023

การศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อระดับความพึงพอใจ ในการใช้บริการรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร, วรยศ สงวนวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ (1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อระดับความพึงพอใจในการใช้บริการรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และ (3) เพื่อสังเคราะห์ข้อเสนอแนะที่นำไปสู่การพัฒนานโยบายสาธารณะขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ในการนี้ผู้วิจัยได้กำหนดระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) ที่เน้นหนักไปทางงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้บริการรถโดยสาร ในพื้นที่กรุงเทพ รวมจำนวน 400 คน จากนั้นดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเพื่อหาตัวแปรอิสระที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรตาม นอกจากนี้มีการสัมภาษณ์ผู้แทนจากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพเพื่อรับทราบนโยบายของ ขสมก. ในการพัฒนา-ยกระดับความพึงพอใจในการใช้บริการของผู้โดยสาร งานวิจัยนี้มีตัวแปรอิสระที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลต่อระดับความพึงพอใจในการใช้บริการรถโดยสาร ทั้งหมด 12 ปัจจัย ประกอบด้วยปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps): ด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ด้านราคา (Price) ด้านสถานที่ (Place) ด้านรายการส่งเสริมทางการตลาด (Promotion) ด้านกระบวนการ (Process) ด้านบุคคล (People) ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Evidence) และ ปัจจัยประเภทภูมิหลังส่วนบุคคล: ด้านเพศวิถี ด้านอายุ ด้านระดับการศึกษา ด้านรายรับ ปัจจัยด้านความถี่ในการใช้บริการรถโดยสารประจำทาง โดยผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับความพึงพอใจดังกล่าว อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ความมั่นใจร้อยละ 95 ประกอบด้วย ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Evidence) ปัจจัยด้านบุคคล (People) ปัจจัยด้านกระบวนการ (Process) ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ปัจจัยด้านราคา (Price) และปัจจัยด้านรายรับสำหรับกลุ่มผู้ใช้บริการที่มีรายรับมากกว่า 25,000 บาท ขึ้นไป โดยปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Evidence) มีอิทธิพลมากที่สุด งานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะให้ผู้มีอำนาจขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพให้ความสำคัญกับการพิจารณาออกนโยบายโดยมุ่งเน้นเฉพาะปัจจัยด้านต่างๆ ตามที่ได้กล่าวมานี้เท่านั้น เพื่อเป็นการตอบสนองให้ตรงต่อความต้องการของผู้โดยสารอย่างแท้จริงและไม่ทำให้ภาครัฐสูญเสียสรรพกำลังทั้งในส่วนของงบประมาณแผ่นดินและบุคลากรไปอย่างไม่มีความหมาย อีกทั้งควรจัดให้มีการสำรวจข้อมูลประสบการณ์ของผู้ใช้บริการ รวมถึงการติดตามผลดำเนินการโครงการต่างๆ และจัดให้มีการประเมินระดับความพึงพอใจอย่างเป็นระยะๆ เพื่อนำไปสู่การพัฒนางานบริการได้อย่างตรงจุดต่อไป


แนวทางที่ส่งผลให้ระบบสอนงาน (Mentoring System) มีประสิทธิภาพ : กรณีศึกษา ตำแหน่งพนักงานพัฒนาธุรกิจของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์, วันสิริ ไชยสุวรรณ Jan 2023

แนวทางที่ส่งผลให้ระบบสอนงาน (Mentoring System) มีประสิทธิภาพ : กรณีศึกษา ตำแหน่งพนักงานพัฒนาธุรกิจของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์, วันสิริ ไชยสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางที่ส่งผลให้ระบบสอนงาน (Mentoring System) มีประสิทธิภาพ : กรณีศึกษา ตำแหน่งพนักงานพัฒนาธุรกิจของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางที่ส่งผลให้ระบบสอนงานตำแหน่งพนักงานพัฒนาธุรกิจประสบความสำเร็จ และ ประสิทธิภาพของพนักงานตำแหน่งพนักงานพัฒนาธุรกิจที่ผ่านระบบสอนงานมาแล้ว โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคลที่มีส่วนร่วมในการวางแผนระบบสอนงาน และพนักงานที่เคยเข้าร่วมระบบสอนงานตำแหน่งพนักงานพัฒนาธุรกิจของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ พี่เลี้ยง น้องเลี้ยง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และนำเสนอผ่านการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา จากผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า แนวทางที่ส่งผลให้ระบบสอนงานประสบความสำเร็จได้แก่ 1) การให้ความสำคัญกับระบบพี่เลี้ยงในองค์กรโดยการให้ผู้บริหารเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดและตัดสินใจรูปแบบอขงระบบสอนงาน อีกทั้งองค์กรยังต้องสื่อสารให้เห็นถึงความสำคัญของระบบสอนงานภายในองค์กร ต่อมาคือ 2) คุณลักษณะของพี่เลี้ยงหรือผู้สอนงาน ซึ่งพี่เลี้ยงต้องมีความเสียสละและยินดีที่จะดูแลน้องเลี้ยง มีผลต่อการรับรู้และการเปิดใจเรียนรู้งานของน้องเลี้ยง 3) การฝึกอบรมพี่เลี้ยงให้มีความพร้อมทั้งด้านความรู้ที่ใช้ในการปฏิบัติงานและทัศนคติของการเป็นพี่เลี้ยงที่ดี จะทำให้เพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จให้ระบบสอนงาน และ 4) การติดตามและประเมินผลระบบสอนงาน ทำให้รับรู้ถึงความสำเร็จและข้อเสนอแนะจากผู้มีประสบการณ์ตรงและนำไปปรังปรุงระบบสอนงานต่อ และในส่วนของประสิทธิภาพของพนักงานพัฒนาธุรกิจที่ผ่านระบบสอนงานมาแล้ว โดยระบบสอนงานส่งผลในด้าน 1) คุณภาพและความถูกต้องแม่นยำ ที่เพิ่มมากขึ้นจากการที่มีพี่เลี้ยงคอยสอนงาน 2) การบรรลุเป้าหมายการปฏิบัติงาน ระบบสอนงานทำให้น้องเลี้ยงเข้าใจเป้าหมายการทำงานและตระหนักถึงความสำคัญของการบรรลุเป้าหมายการปฏิบัติงาน (KPI) และการเติบโตในเส้นทางอาชีพ (Career Path) 3) ระยะเวลาการเรียนรู้ พี่เลี้ยงมีส่วนช่วยให้น้องเลี้ยงทำความเข้าใจหน้าที่รับผิดชอบภายในระยะเวลา 3 เดือนได้ 4) สภาพจิตใจ นอกจากพี่เลี้ยงจะช่วยในเรื่องของการปฏิบัติงานแล้วยังมีส่วนช่วยในการสร้างประสบการณ์การทำงานที่ดี การให้คำปรึกษาเรื่องอื่นนอกจากเรื่องงานจะช่วยให้น้องเลี้ยงมีความรู้สึกทางบวกกับองค์กร เป็นการสร้างความผูกพันระหว่างองค์กรกับพนักงานได้ 5) ความเข้าใจวัฒนธรรมองค์กร พี่เลี้ยงจะช่วยให้น้องเลี้ยงสามารถปรับตัวให้เข้ากับงานและวัฒนธรรมองค์กร โดยผ่านการบอกเล่าถึงประวัติองค์กร วิสัยทัศน์ พันธกิจ และการสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อร่วมงาน โดยมีข้อเสนอแนะ คือ 1) ระบบสอนงานควรเพิ่มระยะเวลามากกว่า 3 เดือน เนื่องจากภาระงานของพี่เลี้ยงที่ต้องรับผิดชอบ 2) ควรมีการประเมินผลการทำหน้าที่พี่เลี้ยงจากน้องเลี้ยง 3) พนักงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการวางแผนจัดทำระบบสอนงานควรเข้าร่วมสังเกตการณ์ตลอดระยะเวลาที่มีการสอนงาน เพื่อการเก็บข้อมูลนำไปพัฒนาระบบสอนงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


การรักษาข้าราชการกลุ่มเจนเนอเรชั่นวายให้คงอยู่กับองค์การ กรณีศึกษา สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานอัยการสูงสุด, ศิริวัฒน์ ธีระชาญณรงค์ Jan 2023

การรักษาข้าราชการกลุ่มเจนเนอเรชั่นวายให้คงอยู่กับองค์การ กรณีศึกษา สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานอัยการสูงสุด, ศิริวัฒน์ ธีระชาญณรงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยและอุปสรรคที่ส่งผลต่อการรักษาข้าราชการกลุ่มเจนเนอเรชั่นวายของสำนักบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานอัยการสูงสุดให้คงอยู่กับองค์การ ซึ่งกำหนดเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์ และนำเสนอผ่านวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านองค์กร 1.) ค่าตอบแทนต้องอยู่ระดับที่เพียงพอต่อการครองชีพในปัจจุบัน และเพียงพอในการรักษาความสมดุลระหว่างชีวิตกับงาน สวัสดิการต้องหลากหลาย ช่วยเหลือในการดำรงชีพได้ ตอบสนองต่อการใช้ชีวิตปัจจุบัน 2.) โอกาสความก้าวหน้าต้องมีความชัดเจน เห็นถึงความเป็นไปได้ และมีโอกาสจะพัฒนาตนเองให้มีความรู้ที่หลายด้าน โดยต้องดำเนินการผ่านหลักความสามารถและความยุติธรรม 3.) ความมั่นคง งานที่ได้รับผิดชอบต้องสำคัญต่อองค์การ และองค์การต้องพร้อมรับมือกับความท้าทายที่จะมีผลต่อบุคลากร 4.) การบริหารองค์การ ต้องมุ่งสู่ผลลัพธ์ ไม่มีกระบวนการที่ซับซ้อน มีความยุติธรรมต่อทุกส่วน พร้อมทั้งการพัฒนาด้วยเทคโนโลยีและการสื่อสารที่เปิดรับฟังจากทุกส่วน ต่อมาปัจจัยด้านงาน 1.) ลักษณะงานต้องเป็นงานที่มีคุณค่า ตรงตามความสามารถ และมีการกำหนดไว้อย่างชัดเจน 2.) สภาพแวดล้อมการทำงาน แบ่งเป็นส่วนที่จับต้องได้ พื้นที่และอุปกรณ์ต้องมีความเพียงพอ ทำให้การปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ และส่วนที่ไม่สามารถจับต้องได้ คือ ทัศนคติของผู้ร่วมงานที่จะไม่ส่งผลลบ ให้เกิดเป็นความเครียดในการปฏิบัติงาน และสุดท้ายปัจจัยด้านความสัมพันธ์ 1.)ความสัมพันธ์กับผู้บริหาร กับ 2.) ความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน จะต้องมีความสามารถในการบริหารงาน เปิดรับฟังความคิดเห็น และมีความยุติธรรมในการจัดการสิ่งต่าง ๆ 3.) ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ต้องทำงานกันเป็นทีม พร้อมทั้งมีทัศนคติการปฏิบัติงานที่สามารถอยู่ร่วมกันได้ ส่วนปัญหาและอุปสรรค พบในปัจจัยด้านองค์การ ทั้งความไม่เพียงพอของค่าตอบแทนสำหรับการใช้ชีวิต สวัสดิการไม่เพียงพอและไม่หลากหลาย ความก้าวหน้าในอาชีพไม่ชัดเจน ประสิทธิภาพของระบบการปฏิบัติงานยังอยู่ในระดับน้อย และปัจจัยด้านงาน เรื่องลักษณะงานที่รับผิดชอบไม่เหมาะสม และพื้นที่และอุปกรณ์ทำงานไม่อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน จากผลการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำไปเป็นข้อเสนอแนะในการบริหารงานขององค์การ ให้สามารถปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อเป็นการรักษาข้าราชการเจนเนอเรชั่นวายที่เป็นส่วนสำคัญ และพัฒนาไปสู่เจนเนอเรชั่นอื่น ให้คงอยู่และสร้างประสิทธิภาพให้องค์การต่อไป


นโยบายต่างประเทศของจีน ในสมัยประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ต่อกรณีพิพาททะเลจีนใต้, ศิวลักษณ์ ไล้เลิศ Jan 2023

นโยบายต่างประเทศของจีน ในสมัยประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ต่อกรณีพิพาททะเลจีนใต้, ศิวลักษณ์ ไล้เลิศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษางานนี้ต้องการชี้ให้เห็นนโยบายต่างประเทศของจีนในสมัยประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ที่ดำเนินการต่อกรณีพิพาททะเลจีนใต้ ว่าสหรัฐอเมริกาเป็นปัจจัยหลักหรือไม่ ที่ทำให้จีนเลือกดำเนินนโยบายต่างประเทศต่อกรณีพิพาททะเลจีนใต้ดังเช่นที่ผ่านมา โดยเลือกพิจารณาเหตุการณ์ตั้งแต่ นายสี จิ้นผิง เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีของจีนจนถึงปัจจุบัน นโยบายต่างประเทศจีนต่อกรณีพิพาททะเลจีนใต้ ในสมัยประธานาธิบดีสี จิ้นผิง พบว่าบทบาทของสหรัฐในฐานะเป็นประเทศภายนอกภูมิภาค ที่ไม่ได้มีความเกี่ยวกับข้องกับข้อพิพาททะเลจีนใต้โดยตรง แต่สหรัฐเลือกที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในภูมิภาค ทั้งทางด้านความร่วมมือทางการทูต ทางทหาร เป็นต้น เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้จีนมีปฏิกิริยาที่ตอบโต้ในข้อพิพาททะเลจีนใต้ก้าวร้าวมากขึ้น และจีนมองว่าสหรัฐเป็นปัจจัยหลักที่จะเข้ามาแทรกแซงการขยายอำนาจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของจีน และลดความเชื่อมั่นในของประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่มีต่อจีน จีนจึงเลือกที่จะเพิ่มกำลังทหารในทะเลจีนใต้ แสดงความเป็นมหาอำนาจในพื้นที่ทะเลจีนใต้โดยการสร้างเกาะเทียม และฝึกซ้อมรบต่างๆ เพื่อแสดงศักยภาพในภูมิภาค และเพื่อลดทอนอำนาจของสหรัฐอเมริกาในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกด้วย เพื่อจุดประสงค์สุดท้ายแล้วของจีนคือก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจคนใหม่ ดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ประเทศมหาอำนาจจะแสวงหาโอกาสที่จะให้ได้มาซึ่งการมีอำนาจเหนือคู่แข่งของตน และรัฐมีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่การครองความเป็นเจ้า ความเป็นมหาอำนาจ (hegemony) หรือผู้ที่แข็งแกร่งที่สุด เพื่อให้เป็นอิสระจากรัฐอื่น และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมหาอำนาจจึงถูกกำหนดให้เป็นรูปแบบของการแข่งขันด้านความมั่นคงอยู่ตลอด รัฐจึงต้องขยายอำนาจทางการทหาร เศรษฐกิจและภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มความมั่นคงของรัฐ จึงสามารถที่จะอธิบายเหตุผลที่จีนเลือกดำเนินนโยบายต่างประเทศดังกล่าวได้ด้วยทฤษฎี offensive realism เพื่ออธิบายการแสดงออกของชาติมหาอำนาจและรัฐอื่นๆ ในระบบการเมืองระหว่างประเทศ


ความท้าทายในการดำเนินโครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน: กรณีศึกษา กิจการทางถนน ทางหลวง ทางพิเศษ และการขนส่งทางถนน, ศุภิสรา ใจติ Jan 2023

ความท้าทายในการดำเนินโครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน: กรณีศึกษา กิจการทางถนน ทางหลวง ทางพิเศษ และการขนส่งทางถนน, ศุภิสรา ใจติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ประกอบด้วย 1) เพื่อศึกษาความท้าทายที่ส่งผลต่อการดำเนินงานโครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน กรณีโครงการในกิจการทางถนน ทางหลวง ทางพิเศษ การขนส่งทางถนน และ 2) เพื่อหาข้อเสนอแนวทางการแก้ปัญหาความท้าทายที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานโครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ในกิจการทางถนน ทางหลวง ทางพิเศษ การขนส่งทางถนน โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการค้นคว้าเอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลจาก 6 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในขั้นตอนการร่วมลงทุน ครอบคลุมหน่วยงานระดับนโยบายหรือหน่วยงานกำกับติดตาม และหน่วยงานเจ้าของโครงการ ผลการศึกษา พบว่า ความท้าทายที่ส่งผลต่อการดำเนินงานโครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน กรณีโครงการในกิจการทางถนน ทางหลวง ทางพิเศษ การขนส่งทางถนน สามารถแบ่งเป็น 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านนโยบาย พบข้อจำกัดที่ส่งผลต่อการดำเนินงานคือความสำคัญของการดำเนินโครงการร่วมลงทุนในกิจการทางถนนถูกลดระดับลง ตามนโยบายที่ถูกกำหนดขึ้นในปัจจุบัน 2) ด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ความท้าทายที่พบคือการสร้างความเข้าใจและการยอมรับของภาคประชาชนต่อโครงการเพื่อป้องกันการคัดค้าน และการจัดทำขอบเขตการร่วมลงทุนให้ตรงตามความสนใจในการลงทุนของภาคเอกชนเพื่อให้เอกชนสนใจเข้ามาร่วมลงทุน 3) ด้านงบประมาณ พบข้อจำกัดด้านงบประมาณที่ส่งผลต่อการดำเนินโครงการคืองบประมาณของภาครัฐที่มีอยู่อย่างจำกัด ไม่เพียงพอที่จะนำมาใช้จ่ายเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน และเงินร่วมลงทุนหรือเงินอุดหนุนให้กับภาคเอกชนได้ทุกโครงการ 4) ด้านบุคลากร ยังคงมีข้อจำกัดเรื่องความรู้ความเข้าใจในการดำเนินโครงการร่วมลงทุนตามขั้นตอนของกฎหมาย และขาดแคลนบุคลากรที่มีสมรรถนะตรงกับการปฏิบัติงานในการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน 5) ด้านกฎหมาย ความท้าทายในการดำเนินงานโครงการร่วมลงทุนด้านกฎหมายคือการกำหนดสัญญาสัมปทาน การดำเนินการให้ครบถ้วนตามขั้นตอนการร่วมลงทุน และการดำเนินการกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และ 6) ด้านการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ต้องมีความถูกต้องและสะท้อนความเป็นจริงในประเด็นการคาดการณ์ปริมาณการจราจร รายได้ และค่าใช้จ่ายของโครงการ เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจในขั้นตอนต่อไปได้อย่างถูกต้อง


การพัฒนาสมรรถนะของข้าราชการสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อมุ่งสู่การเป็นระบบราชการ 4.0, สัณห์สิรี ภุมรา Jan 2023

การพัฒนาสมรรถนะของข้าราชการสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อมุ่งสู่การเป็นระบบราชการ 4.0, สัณห์สิรี ภุมรา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระดับสมรรถนะและสมรรถนะที่คาดหวังต่อการเป็นระบบราชการ 4.0 ของข้าราชการสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีในปัจจุบัน รวมถึงศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของข้าราชการสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีให้สอดรับกับการพัฒนาไปสู่ระบบราชการ 4.0 ในการศึกษาในครั้งนี้ผู้วิจัยเลือกใช้การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) โดยกำหนดให้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ซึ่งประกอบด้วย ผู้ช่วยเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ผู้อำนวยการสำนักงานเลขาธิการ ผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารทรัพยากรบุคคล และผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ในขณะที่การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นการสำรวจความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานจริงในสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจำนวน 156 คน ด้วยแบบสอบถามออนไลน์และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS โดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย และการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการศึกษาพบว่าการพัฒนาระดับสมรรถนะของข้าราชการสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีในปัจจุบันอยู่ในระดับมากที่สุด และระดับความคาดหวังต่อการเป็นระบบราชการ 4.0 อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระดับสมรรถนะของข้าราชการสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีในปัจจุบัน และระดับความคาดหวังต่อการเป็นระบบราชการ 4.0 พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ระดับการศึกษา Generation ระดับตำแหน่ง และระยะเวลาการปฏิบัติงาน ต่างมีความสัมพันธ์กับระดับสมรรถนะของข้าราชการสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพบว่าปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ระดับการศึกษา และ Generation มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะที่คาดหวังต่อการเป็นระบบราชการ 4.0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในส่วนของความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้อง (ปัจจัยภายในตัวบุคคล และปัจจัยภายในองค์การ) กับระดับสมรรถนะของข้าราชการสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีทั้ง 6 ด้าน พบว่า ปัจจัยภายในตัวบุคคลด้านความตั้งใจในการพัฒนาความรู้ ทักษะ ทัศนคติมีความสัมพันธ์เป็นอันดับ 1 นอกจากนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระดับสมรรถนะที่คาดหวังต่อการเป็นระบบราชการ 4.0 ทั้ง 3 ด้าน พบว่า ปัจจัยภายในองค์กรด้านสภาพแวดล้อมการทำงาน และด้านนโยบายขององค์กร ปัจจัยภายในตัวบุคคลด้านความสำเร็จของงานมีความสัมพันธ์เป็นอันดับ 1 ซึ่งการพัฒนาสมรรถนะของข้าราชการเพื่อการเป็นระบบราชการ 4.0 ยังคงพบอุปสรรคในเรื่องการนำระบบ Competency มาใช้ให้เกิดประโยชน์ การจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ การทำให้หัวหน้างานหรือผู้บังคับบัญชาเปิดกว้างเรื่องการสับเปลี่ยนหมุนเวียนงาน ทั้งนี้ ยังมีสมรรถนะที่ควรพัฒนาเพื่อให้สอดรับกับการเป็นระบบราชการ 4.0 ได้แก่ การคิดเชิงระบบและการมองภาพรวมขององค์กร คิดถึงความเชื่อมโยงของกระบวนงานจากภายในไปสู่ภายนอกอย่างเป็นระบบ เพื่อทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมทำงานที่ทันสมัย


ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร, สุรัชฎา จิรสุจริตธรรม Jan 2023

ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร, สุรัชฎา จิรสุจริตธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยเลือกใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครจำนวน 400 คน ทั้งในโรงเรียนผู้สูงอายุและช่องทางออนไลน์ จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS โดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุในกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ใช้สื่อสังคมออนไลน์ คิดเป็นร้อยละ 93.8 และพบว่ามีระดับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองในระดับปฏิบัติบ่อยครั้ง ทั้งนี้เมื่อพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง ผลการวิเคราะห์พบว่าพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ได้แก่ สถานที่ที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์ ความถี่ในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ และสื่อสังคมออนไลน์ที่นิยมใช้ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในส่วนของภูมิหลังทางประชากร พบว่า สถานภาพ อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และสิทธิในการรักษาพยาบาล มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นภาครัฐจึงควรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเกี่ยวกับการเตรียมการด้านสาธารณสุขออนไลน์ เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุในสังคมเมืองของประเทศไทยซึ่งเป็นกลุ่มประชากรที่มีความเปราะบาง และมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพสามารถนำความรู้ด้านการดูแลสุขภาพตนเองไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง อีกทั้งการที่ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพตนเองโดยเรียนรู้ผ่านการใช้สื่อสังคมออนไลน์ได้อย่างเหมาะสม ก็จะสามารถช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาล และลดภาระงานที่หนักเกินไปของระบบสาธารณสุขได้เช่นกัน


ประสิทธิผลจากการบังคับใช้พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2565 กรณีศึกษา จังหวัดสมุทรสาคร, อัยยรัช สินธุรา Jan 2023

ประสิทธิผลจากการบังคับใช้พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2565 กรณีศึกษา จังหวัดสมุทรสาคร, อัยยรัช สินธุรา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง “ประสิทธิผลจากการบังคับใช้พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2565 กรณีศึกษา จังหวัดสมุทรสาคร” มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิผลที่เกิดขึ้นจากการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2565 โดยได้นำแนวคิดการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ทฤษฎีนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ และแนวคิดการประเมินประสิทธิผลของนโยบายมาศึกษาเพื่อวิเคราะห์ประสิทธิผลของนโยบาย ตลอดจนปัจจัยที่ทำให้การนำนโยบายไปปฏิบัติประสบผลสำเร็จ และปัจจัยที่ยังเป็นปัญหาอุปสรรค ซึ่งการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) ผ่านการเก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และการเก็บข้อมูลจากการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ละเอียดและครอบคลุม โดยมุ่งพรรณนาเชิงวิเคราะห์ (Analytical Description) ที่มา ความสำคัญและสาระสำคัญของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2565 เปรียบเทียบกับนโยบายผู้ว่า CEO ในอดีต และผลจากการบังคับใช้พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวในบริบทของจังหวัดสมุทรสาคร ผลการศึกษา พบว่า ผู้วิจัยได้สรุปผลการศึกษาออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1) ที่มาและวัตถุประสงค์ของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2565 เพื่อแสดงให้เป็นว่าเป้าหมายของการมีพระราชกฤษฎีกานั้นเพื่อให้เกิดการบริหารของภาครัฐที่มีการบูรณาการในพื้นที่ในการแก้ไขปัญหา ตอบสนองความต้องการของประชาชน 2) การนำนโยบายไปปฏิบัติ โดยวิเคราะห์ตัวแบบทางทฤษฎีการนำนโยบายไปปฏิบัติเพื่อแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลให้การดำเนินนโยบายเกิดความสำเร็จ ผ่านการวิเคราะห์หน่วยงาน “สำนักงานจังหวัดสมุทรสาคร” ซึ่งเป็นองค์กรที่มีปัจจัยทั้ง 4 ครบถ้วนแต่ไม่สมบูรณ์ กล่าวคือ จากปัจจัยทั้ง 4 ได้แก่ สมรรถนะขององค์การ ประสิทธิภาพในการวางแผนและการควบคุม ภาวะผู้นำและความร่วมมือ และการเมืองและการบริหารสภาพแวดล้อม และ 3) ประสิทธิผลของนโยบาย ได้สรุปผลการดำเนินนโยบายต่าง ๆ แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ในเชิงกระบวนการการทำงาน การบริหารราชการในเชิงพื้นที่ให้เกิดการบูรณาการเพียงเท่านั้น ยังไม่สามารถตอบสนองต่อประชาชนได้มากเพียงพอประกอบกับ ในบางประเด็นของพระราชกฤษฎีกายังไม่ได้มีการบังคับใช้อย่างสมบูรณ์ จึงสรุปได้ว่า การบังคับใช้พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2565 ยังไม่บรรลุประสิทธิผลอย่างสมบูรณ์


การจ้างงานในสภาวะชั่วคราวและเงื่อนไขชีวิตของแรงงานในจังหวัดสระบุรี, อารีรัตน์ ปรีชาวนา Jan 2023

การจ้างงานในสภาวะชั่วคราวและเงื่อนไขชีวิตของแรงงานในจังหวัดสระบุรี, อารีรัตน์ ปรีชาวนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการจ้างงานในสภาวะชั่วคราวและเงื่อนไขชีวิตแรงงานในจังหวัดสระบุรี นำไปสู่การหานโยบายเพื่อก่อให้เกิดความยุติธรรมในการจ้างงานแรงงานรับเหมา ตามหลักการแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization : ILO) และหลักการแรงงานสากลอื่นๆ รวมไปถึงการศึกษาถึงสาเหตุที่ทำให้แรงงานเลือกทำงานในระบบการจ้างงานชั่วคราว และผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของแรงงานในสภาะการจ้างงานที่ไม่มั่นคงซึ่งองค์กรควรมีแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงเพื่อให้ก่อเกิดความเป็นธรรมต่อการจ้างงานแรงงานรับเหมาอย่างมีมนุษยธรรมและคำนึงถึงผลได้เสียของแรงงานรับเหมาเป็นสำคัญ โดยงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างแรงงานเราเหมากลุ่มตัวอย่าง ประกอบกับแรงงานรับเหมาที่มีโอกาสปรับเป็นพนักงานประจำ รวมไปถึงผู้แทนสถานประกอบการ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากประวัติชีวิตโดยพิจารณาจากแบบแผนของคำพูดวาทกรรมในเรื่องเล่า ผลการศึกษาพบว่าการจ้างงานในภาวะชั่วคราว สัญญาจ้างระยะสั้นนั้นส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและความมั่นคงในการทำงานของแรงงานรับเหมาจากความไม่สามารถเลือกงานได้จากปัจจัยด้านต่างๆในชีวิต เช่น การขาดโอกาสทางการศึกษา, ด้านเพศสภาพ, ด้านอายุ และด้านที่อยู่อาศัย เป็นต้น จึงมีความจำเป็นในการทำงานในระบบการจ้างงานเป็นแรงงานรับเหมาในสภาวะการจ้างงานชั่วคราวดังกล่าว อันจะส่งผลต่อเนื่องสู่การดำรงชีพในชีวิตประจำวันของตัวแรงงานหากไม่ได้รับการต่อสัญญาจ้าง ลักษณะการจ้างงานในสภาวะดังกล่าวนั้นจึงเป็นการยากที่จะก่อให้เกิดความเป็นธรรมในการจ้างงานแรงงานรับเหมา


A Critique On Creative Economy As A Potential Tool For Promotion Of Thailand's Sustainable Development Policy, Jiratchaya Kosintharanon Jan 2023

A Critique On Creative Economy As A Potential Tool For Promotion Of Thailand's Sustainable Development Policy, Jiratchaya Kosintharanon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

As the world is full of threats, development seems to be an international issue where the state authority has to seek for the most effective solution and drive the development in the country. In Thailand, there is the urgent call to reposition Thailand among ASEAN countries as they used to be and become a developed and sustainable society. Creative economy uses as the potential tool to enhance the sustainable growth and development which also being a feasible option for country. With a diverse usage in the world, it is difficult to ensure the effectiveness after implementation in a country. To …


การมีส่วนร่วมของอาสาสมัครรักษาดินแดนในการป้องกันอาชญากรรมในพื้นที่อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส, กรัณฑ์วาริษฐ์ สมจันทร์ Jan 2023

การมีส่วนร่วมของอาสาสมัครรักษาดินแดนในการป้องกันอาชญากรรมในพื้นที่อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส, กรัณฑ์วาริษฐ์ สมจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่อง “การมีส่วนร่วมของอาสาสมัครรักษาดินแดนในการป้องกันอาชญากรรมในพื้นที่ อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของอาสาสมัครรักษาดินแดนเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ ในอำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส ปัญหาและอุปสรรคของอาสาสมัครในการมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมร่วมกับหน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่ อำเภอสุไหงโกลก และเพื่อเสนอแนะแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพของอาสาสมัครรักษาดินแดนในการมีส่วนร่วมกับหน่วยความมั่นคงในพื้นที่ อำเภอสุไหงโกลก ในการป้องกันอาชญากรรม การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ อาสาสมัครรักษาดินแดน ในอำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส จำนวน 202 ราย และผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสัมภาษณ์จำนวน 8 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย สามารถแสดงรายละเอียด ดังนี้ 1) บทบาทของอาสาสมัครรักษาดินแดน อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส ด้านการรักษาความสงบเรียบร้อย พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การเฝ้าระวังภัยคุกคามด้านความมั่นคง 2) บทบาทของอาสาสมัครรักษาดินแดน อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส ด้านการบริการ พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ บทบาทในงานจิตอาสาพระราชทานและงานอื่น ๆ ที่เป็นการให้บริการสาธารณะ 3) ปัญหาและอุปสรรคของอาสาสมัคร ด้านการจัดการภายในองค์กร พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การขาดแคลนงบประมาณและวัสดุอุปกรณ์ 4) ปัญหาและอุปสรรคของอาสาสมัคร ด้านสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การขาดความร่วมมือในการทำงานจากภายนอกองค์กร 5) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ สามารถสรุปข้อมูลในภาพรวมได้ว่า ในประเด็นบทบาทด้านการรักษาความสงบเรียบร้อย อาสาสมัครมีการปฏิบัติงานเพื่อเฝ้าระวังภัย โดยเน้นเรื่องผู้ก่อความไม่สงบเป็นสำคัญ ส่วนบทบาทในด้านการบริการ จะเน้นไปที่การอำนวยความสะดวกให้กับเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ สำหรับปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการทำงานของอาสาสมัคร จากการสัมภาษณ์ พบว่า มี 5 ประเด็นหลัก ได้แก่ ปัญหาด้านการบังคับใช้กฎหมาย, ปัญหาด้านสวัสดิการของอาสาสมัคร, ปัญหาการขาดแคลนงบประมาณและวัสดุอุปกรณ์, ปัญหาด้านการขาดความร่วมมือในการทำงานภายนอกองค์กร และปัญหาด้านความปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัยเชิงปริมาณ สำหรับแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครรักษาดินแดน จะต้องมีความสอดคล้องกับลักษณะปัญหาที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่ …


การวิเคราะห์เชิงลึกเพื่อป้องกันการเกิดความขัดแย้งระหว่างคู่ครองในสังคมยุคดิจิทัล, ไวพจน์ กุลาชัย Jan 2023

การวิเคราะห์เชิงลึกเพื่อป้องกันการเกิดความขัดแย้งระหว่างคู่ครองในสังคมยุคดิจิทัล, ไวพจน์ กุลาชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเรื่อง “การวิเคราะห์เชิงลึกเพื่อป้องกันการเกิดความขัดแย้งระหว่างคู่ครองในสังคมยุคดิจิทัล” มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างคู่ครองในยุคดิจิทัล (2) ศึกษาประเภทของความขัดแย้งระหว่างคู่ครองในยุคดิจิทัล (3) ศึกษาผลกระทบของความขัดแย้งระหว่างคู่ครองในยุคดิจิทัล และ (4) เสนอแนะแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างคู่ครองในยุคดิจิทัล การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) โดยดำเนินการเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญซึ่งเป็นคู่ครองจำนวน 13 คู่ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์สรุปอุปนัย (analytic induction) ผลการศึกษา พบว่า การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีทำให้การใช้ชีวิตคู่มีความเปลี่ยนแปลงไปจากสังคมแบบเก่าทำให้การทำงานและชีวิตส่วนตัวเกิดความผูกพันจนไม่สามารถแยกออกจากกันได้ เทคโนโลยีอาจสร้างความห่างเหินต่อชีวิตคู่ ซึ่งส่งผลต่อความขัดแย้งระหว่างคู่ครองและปัญหาอาชญากรรมรูปแบบใหม่ ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อความขัดแย้งระหว่างคู่ครองประกอบด้วยปัจจัยเรียงตามลำดับความสำคัญ 12 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ปัจจัยด้านความแตกต่างในมุมมองหรือทัศนคติ ปัจจัยด้านการสื่อสาร ปัจจัยด้านการนอกใจ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงดูบุตร ปัจจัยด้านพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ ปัจจัยด้านครอบครัวและเครือญาติของคู่ครอง ปัจจัยด้านเวลาและการจัดการชีวิตประจำวัน ปัจจัยความแตกต่างด้านอายุ ปัจจัยด้านความมีระเบียบและวินัย และปัจจัยด้านการแต่งกาย โดยสามารถจำแนกประเภทของความขัดแย้งระหว่างคู่ครองได้ 5 ประเภท ได้แก่ ความขัดแย้งด้านพฤติกรรมและทัศนคติ ความขัดแย้งทางด้านการเงิน ความขัดแย้งทางด้านเพศ ความขัดแย้งด้านการเลี้ยงดูบุตร และความขัดแย้งทางด้านการแบ่งงานกันทำ นอกจากนั้น ผลการวิจัยยังพบว่า ความขัดแย้งระหว่างคู่ครองส่งผลกระทบในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ผลกระทบทางด้านจิตใจ ผลกระทบต่อความรุนแรงในครอบครัว ผลกระทบทางด้านร่างกาย ผลกระทบต่อลูก ผลกระทบต่อหน้าที่การงาน ผลกระทบด้านสังคม และผลกระทบด้านความพึงพอใจในความสัมพันธ์ ทั้งนี้ แนวทางในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างคู่ครองในเชิงสร้างสรรค์ประกอบด้วย การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ การเรียนรู้ ปรับตัวและยอมรับกัน การจัดการทางอารมณ์ การสร้างบรรยากาศที่ดี การสร้างฐานะทางการเงิน การมีส่วนร่วมในงานบ้าน และการมีกิจกรรมร่วมกันซึ่งจะทำให้ครอบครัวสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน ดังนั้น การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างคู่ครองควรมีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น แอปพลิเคชั่นที่ช่วยในการสื่อสารและจัดการความขัดแย้งระหว่างค่าครอง มาช่วยในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาเชิงนโยบายที่ดำเนินการโดยภาครัฐ


การเรียนรู้คุณค่าประชาธิปไตยของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย, จารุวรรณ แก้วมะโน Jan 2023

การเรียนรู้คุณค่าประชาธิปไตยของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย, จารุวรรณ แก้วมะโน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ต้องการศึกษาว่าอะไรเป็นเงื่อนปัจจัยที่ทำให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของไทยเกิดการเรียนรู้คุณค่าประชาธิปไตยได้แม้ภายใต้การกล่อมเกลาคุณค่าประชาธิปไตยแบบจำกัดของรัฐไทย กระทั่งนำมาสู่การเคลื่อนไหวทางการเมืองในปี 2563 การวิจัยใช้การศึกษาเอกสารร่วมกับการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองในปี 2563 และครูผู้สอนรายวิชาหน้าที่พลเมืองวัฒนธรรมและการดําเนินชีวิตในสังคม ผลการศึกษาพบว่านักเรียนคือตัวแสดงทางการเมืองที่มีการพิจารณาใคร่ครวญเปรียบเทียบต้นทุนประโยชน์และโทษที่จะได้รับจากการกระทำในสถานการณ์หนึ่งๆและแสวงหาทางเลือกที่ดีที่สุดได้ จึงทำให้การแสดงออกไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับทัศนคติเสมอไป ซึ่งนั่นเป็นช่องว่างที่อาจนำไปสู่การเรียนรู้คุณค่าทางการเมืองที่แตกต่างออกไปจากการกล่อมเกลาที่เป็นอยู่ได้ ผลการศึกษาพบว่าการเรียนรู้คุณค่าประชาธิปไตยของนักเรียนไม่ได้เกิดจากอิทธิพลของอินเตอร์เน็ตโดยลำพัง นักเรียนสามารถเรียนรู้ค่านิยมประชาธิปไตยที่แตกต่างไปจากค่านิยมที่รัฐกล่อมเกลาได้ก็ต่อเมื่อมีเงื่อนไขทั้ง 3 ประการมาบรรจบกัน 1) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายนอกของการศึกษาเรียนรู้ 2) การตื่นรู้ทางความคิดภายใน และ 3) มีคำอธิบายระหว่างสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับคุณค่าประชาธิปไตยในลักษณะที่นักเรียนรับรู้ถึงประโยชน์ที่จับต้องได้ อย่างไรก็ตาม การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะเป็นวงจรหมุนเวียนระหว่างช่วงของการตื่นรู้กับช่วงของการจำยอมทำตามอันเป็นผลมาจากการเรียนรู้สองชั้นสืบเนื่องจากการปะทะกันของแนวคิดกับการปฏิบัติของปัจเจกบุคคลภายใต้โครงสร้างที่จำกัด


การจัดการความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์กับบริการทางการแพทย์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลช่วงแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (พ.ศ. 2563 - 2564), ปิยะวัฒน์ เด่นดำรงกุล Jan 2023

การจัดการความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์กับบริการทางการแพทย์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลช่วงแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (พ.ศ. 2563 - 2564), ปิยะวัฒน์ เด่นดำรงกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเชิงพรรณนานี้มุ่งศึกษาลักษณะ ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อความขัดแย้ง รูปแบบการจัดการที่มิได้เข้ากระบวนการศาลจากโรงพยาบาลตติยภูมิในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในช่วงแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รวมถึงผลกระทบจากสถานการณ์ ตลอดจนโอกาสพัฒนาแนวคิดยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ โดยศึกษาข้อมูลเบื้องต้นจากหน่วยงานบริหารความขัดแย้งผ่านแบบสอบถาม และสัมภาษณ์เชิงลึกในผู้ที่เคยได้รับความเสียหายในบริการทางการแพทย์ ผู้บริหารระบบและไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง ผลการศึกษาจากการสำรวจจากโรงพยาบาล 19 แห่ง พบว่าการให้ข้อมูลที่ไม่เหมาะสม และปัญหาการสื่อสาร เป็นเหตุสำคัญสูงสุด (ร้อยละ 71.5) ผู้ไกล่เกลี่ยที่เคยอบรมหลักสูตรการเจรจาไกล่เกลี่ย หรือการบริหารความขัดแย้งมีเพียงส่วนน้อย (ร้อยละ 12.2) และไม่มีผู้รู้จักแนวคิดยุติธรรมสมานฉันท์ ผลสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่าความขัดแย้งนั้นเกี่ยวเนื่องกับผู้ป่วยเชื่อว่าความเสียหายนั้นเกิดจากการบริการ ความบกพร่องของสื่อสารหรือท่าทีของผู้ให้บริการ ส่วนอุปสรรคต่อความสำเร็จการยุติความขัดแย้งที่สำคัญ คือ ผู้บริหารความขัดแย้งขาดอำนาจตัดสินใจ แสดงออกไม่จริงใจและไม่เป็นกลาง ผู้ให้บริการทางการแพทย์ที่ไม่แสดงความเห็นใจ และรูปแบบการเยียวยาที่ไม่ตรงความต้องการกับผู้เสียหาย สอดคล้องกับกรณียุติความขัดแย้งสำเร็จพบว่าคณะผู้เสียหายได้รับเยียวยาเพียงพอ ได้รับการสื่อสารที่เข้าใจและเข้าหาสม่ำเสมอ ดังนั้นผู้บริหารควรร่วมบริหารความขัดแย้ง ให้ความสำคัญกับภาระงานและส่งเสริมพัฒนาทักษะผู้ปฏิบัติ รวมทั้งนำหลักยุติธรรมสมานฉันท์มาประยุกต์ใช้ ที่มุ่งเน้นเยียวยาให้อภัยและนำไปสู่ยุติความขัดแย้งได้


สนามวาทกรรม “ความผิดเพศ” และความเกลียดชังทางเพศวิถีที่มีต่อกลุ่มเกย์เพศชายกลุ่มต่างๆภายใต้บริบท “สังคมนิยมชาย” ในประเทศไทย ในศตวรรษที่ 21, ธนา ร่างน้อย Jan 2023

สนามวาทกรรม “ความผิดเพศ” และความเกลียดชังทางเพศวิถีที่มีต่อกลุ่มเกย์เพศชายกลุ่มต่างๆภายใต้บริบท “สังคมนิยมชาย” ในประเทศไทย ในศตวรรษที่ 21, ธนา ร่างน้อย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์และข้อถกเถียงเพื่อศึกษาวิเคราะห์การก่อตัวของการเกิดสนามวาทกรรม “ความผิดเพศ” ภายใต้บริบท “สังคมนิยมชาย” ในสังคมไทย โดยมุ่งศึกษาภาคปฏิบัติการของสนามวาทกรรม “ความผิดเพศ” ในศตวรรษที่ 21 ที่เป็นการปะทะกันระหว่างชุดวาทกรรมรักต่างเพศและชุดวาทกรรมรักเพศเดียวกันแบบคู่ตรงข้าม เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์และการเกิดความเกลียดชังทางเพศวิถีที่มีต่อกลุ่มเกย์เพศชายกลุ่มต่างๆ ในสังคมไทย ผ่านการวิเคราะห์สื่อทางสังคมในรูปแบบต่าง ๆ และสื่อวัฒนธรรมป๊อป อาทิ ละครชุด ภาพยนตร์ บทเพลง หรือหนังสือ ตลอดจนการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์อย่างเทศกาลไพรด์ รวมไปถึงการวิเคราะห์ชุดวาทกรรมทางการอย่าง “กฎหมาย” ได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เพื่อการสมรสเท่าเทียม และร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต ที่สังคมไทยยังคงมีปัญหาด้านตัวบทกฎหมายการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมและการได้รับความคุ้มครองทางสิทธิและเสรีภาพของกลุ่มเกย์ที่มีข้อจำกัด สะท้อนให้เห็นการแย่งชิงพื้นที่ทางวาทกรรมในสนามวาทกรรมความผิดเพศที่นำไปสู่การเกิดความเกลียดชังทางเพศวิถีที่มีต่อกลุ่มเกย์ ซึ่งผลการศึกษาพบว่า กลุ่มเกย์เพศชายในสังคมไทย ยังคงได้รับผลกระทบจากสนามวาทกรรม “ความผิดเพศ” โดยเฉพาะเรื่องการได้รับความคุ้มครองด้านสิทธิเสรีภาพและการเข้าถึงสิทธิตามกฎหมาย และขาดกฎหมายที่รองรับการแสดงออกและการเข้าถึงสิทธิของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศที่นำไปสู่การเกิดความเกลียดชังทางเพศวิถีที่มีต่อเกย์เพศชายกลุ่มต่าง ๆ โดยงานวิจัยชิ้นนี้ได้สร้างคุณูปการทางวิชาการด้านการศึกษาวาทกรรมและการวิเคราะห์วาทกรรม และสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ ตลอดจนสร้างความรู้ความเข้าใจด้านอาชญาวิทยาเกี่ยวกับความเกลียดชังทางเพศวิถีที่มีต่อกลุ่มเกย์ให้เกิดความชัดเจนมากยิ่งขึ้น


การเมืองเรื่องการเลือกตั้งของพรรคประชาธิปัตย์ในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2562, พรธิดา เผื่อนทิม Jan 2023

การเมืองเรื่องการเลือกตั้งของพรรคประชาธิปัตย์ในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2562, พรธิดา เผื่อนทิม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาการเมืองเรื่องการเลือกตั้งของพรรคประชาธิปัตย์ในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2562 โดยตั้งคำถามถึงปฏิบัติการในสนามเลือกตั้งของพรรคประชาธิปัตย์ 2 ประการ คือ 1) บริบท เงื่อนไข หลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2557 และกติกาทางการเมืองในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ที่ส่งผลต่อพรรคประชาธิปัตย์ในการลงแข่งขันในสนามเลือกตั้ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 เป็นอย่างไร และ 2) พรรคประชาธิปัตย์ใช้กลยุทธ์ในการหาเสียงเลือกตั้ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 อย่างไร ทั้งในระดับการลงพื้นที่ของผู้สมัครและในระดับการใช้สื่อเพื่อส่งสารไปยังผู้มีสิทธิเลือกตั้ง งานศึกษานี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเชิงเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาสะท้อนบริบทการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นภายใต้ระบอบอำนาจนิยมที่ให้มีการแข่งขัน และการแบ่งขั้วความคิดรูปแบบใหม่ของสังคมที่ด้านหนึ่งให้ความสำคัญกับหลักการประชาธิปไตยและต่อต้านระบอบเผด็จการที่มีกลุ่มทหารเข้ามาแทรกแซงทางการเมือง อีกด้านหนึ่งไม่ไว้วางใจนักการเมือง และสนับสนุนทหาร ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ไม่กล้าโอบรับทั้งสองหลักการอย่างหนักแน่น ทำให้เป็นปัจจัยสู่การสูญเสียฐานเสียงเดิมและในขณะเดียวกันก็ไม่สามารถดึงดูดฐานเสียงใหม่ได้ กอปรกับปัญหาด้านยุทธศาสตร์นโยบายของพรรคที่ไม่มีจุดแข็งและจุดขายเพื่อตอบโจทย์กลุ่มฐานเสียงที่หลากหลายโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ นโยบายเด่นของพรรคประชาธิปัตย์เน้นการเหนี่ยวรั้งฐานเสียงเดิมในพื้นที่ภาคใต้ด้วยการชูนโยบายด้านการเกษตร ผลลัพธ์จากสนามเลือกตั้งปี 2562 แสดงให้เห็นความผุกร่อนและพลวัตของความผูกพันพรรคการเมือง (Party Identification) ระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับฐานเสียงภาคใต้ที่ถูกท้าทายอย่างหนัก การเลือกตั้งครั้งนี้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการสั่นคลอนความเชื่อดั้งเดิมที่ว่า “พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคของคนใต้” ในสนามการเมืองไทย ซึ่งปรากฏชัดขึ้นในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2566


โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในการเมืองโลก: กรณีศึกษาเส้นทางสายไหมดิจิทัลของสาธารณรัฐประชาชนจีน 2015-2021, วิทวัส อภิญ Jan 2023

โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในการเมืองโลก: กรณีศึกษาเส้นทางสายไหมดิจิทัลของสาธารณรัฐประชาชนจีน 2015-2021, วิทวัส อภิญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เนื่องจากความสำคัญของเทคโนโลยีดิจิทัล ทำให้เส้นทางสายไหมดิจิทัลมีความสำคัญมากขึ้น (Digital Silk Road; DSR) โดย DSR เป็นส่วนหนึ่งของโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative; BRI) ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาระดับทวีปของสาธารณรัฐประชาชนจีน ด้วยความสำคัญที่มากขึ้นนี้นำไปสู่การศึกษาถึงเป้าหมายของ DSR และวิธีการของจีนเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว งานศึกษานี้จึงมีขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความสำคัญของเทคโนโลยีดิจิทัลที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้การศึกษา DSR มีความจำเป็นโดยเฉพาะในประเด็นเรื่องการลงทุนในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับดิจิทัลทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลอันเป็นรากฐานของการคงอยู่ของกิจกรรมทางดิจิทัลโดยรวม และสามารถเป็นตัวแปรต้นในการศึกษาผลกระทบที่เกิดจากโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวในการเมืองระหว่างประเทศ ข้อค้นพบในงานศึกษานำไปสู่คำตอบของเป้าหมายของ DSR คือการตอบสนองต่อปัจจัยภายในว่าด้วยความท้าทายทางเศรษฐกิจและความท้าทายทางข้อมูล รวมถึงปัจจัยภายนอก คือ การเมืองระหว่างประเทศโดยเฉพาะประเด็นความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกา ทั้งสองปัจจัยกลายเป็นแรงผลักให้จีนแสวงหาอธิปไตยทางดิจิทัล เพื่อให้ DSR ประสบความสำเร็จจีนได้ดำเนินการลงทุนในต่างประเทศเกี่ยวกับดิจิทัลทั้งทางตรงและอ้อม โดยวิธีการทางเศรษฐกิจของจีนสามารถศึกษาผ่านเครื่องมือของเสรีนิยมใหม่อย่าง โซน (Zone) การสร้างนิเวศเศรษฐกิจ (business ecosystem) นอกจากนี้ยังมีการก่อร่างของโครงร่างระบบระหว่างประเทศของจีนผ่านการนำเสนอระเบียบดิจิทัลที่มาพร้อมกับ DSR


กล่องคอมเมนต์แห่งความเกลียดชังในบริบทสังคมไทย: กรณีศึกษาแฮชแท็กข่าวอาชญากรรมบนเฟซบุ๊ก, รมิดา แสงสวัสดิ์ Jan 2023

กล่องคอมเมนต์แห่งความเกลียดชังในบริบทสังคมไทย: กรณีศึกษาแฮชแท็กข่าวอาชญากรรมบนเฟซบุ๊ก, รมิดา แสงสวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและลักษณะของข้อความที่แสดงถึงความเกลียดชังต่ออีกฝักฝ่ายในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับข่าวอาชญากรรมในประเทศไทยบนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก รวมถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้ และการรับรู้ข้อความที่แสดงถึงความเกลียดชังของผู้ใช้งานเฟซบุ๊ก และเพื่อศึกษามาตรการควบคุมการแสดงความคิดเห็นที่เป็นการแพร่กระจายความเกลียดชังบนสื่อสังคมออนไลน์ต่อบุคคลอื่น โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยแบบเอกสาร การรวบรวมข้อมูลเอกสารที่เป็นข้อความที่แสดงถึงความเกลียดชังใต้โพสต์ข่าวอาชญากรรมในคดีฆาตกรต่อเนื่อง 6 ศพ คดีอดีตผู้กำกับใช้ถุงคลุมหัวผู้ต้องหายาเสพติด และคดีฆาตกรรมเน็ตไอดอล และการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างต่อผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 15 คน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบข้อความที่แสดงความเกลียดชังต่ออีกฝักฝ่ายที่พบเหมือนกันทั้งสามคดีคือ การแบ่งแยกแบบไม่ตั้งใจต่อกลุ่มเป้าหมาย ลักษณะของข้อความที่พบมักเป็นการบอกกล่าว การชี้นำ และการแสดงความรู้สึก ซึ่งสอดคล้องกับความคิดเห็นของผู้ให้ข้อมูลสำคัญต่อข้อความที่แสดงความเกลียดชังใต้โพสต์ข่าวอาชญากรรม ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้นั้นพบว่ามีอยู่ 3 ปัจจัย คือ (1) ปัจจัยด้านจิต ได้แก่ แรงจูงใจส่วนตนและวัฒนธรรม (2) ปัจจัยด้านสังคม ได้แก่ การได้รับการยอมรับ การเลียนแบบหรือการคล้อยตามผู้ที่เคารพนับถือ ความต้องการในการปกป้องกลุ่มตน และการอบรมเลี้ยงดู และ (3) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ได้แก่ การเข้าถึงง่าย ความเป็นนิรนาม กฎหมายและการขาดผู้ตรวจตรา ขณะที่การรับรู้ข้อความที่แสดงถึงความเกลียดชังล้วนได้รับอิทธิพลมาจากปัจจัยการรับรู้ทั้งสามและการนำเสนอข่าวของสำนักข่าวอันจะเป็นการกำหนดทิศทางให้การตอบสนองมีความแตกต่างหลากหลาย มาตรการควบคุมการแสดงความคิดเห็นที่เป็นการแพร่กระจายความเกลียดชังบนสื่อสังคมออนไลน์ นอกเหนือไปจากกฎหมายและนโยบายแพลตฟอร์มที่มีอยู่ ควรมีการจัดตั้งหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเข้ามาช่วยประสานการแก้ปัญหาและดำเนินคดีระหว่างภาครัฐและเจ้าของแพลตฟอร์ม เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับระบบโครงข่ายคอมพิวเตอร์เข้ามาร่วมติดตามและตรวจสอบ บรรจุวิชาความรู้เท่าทันสื่อเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมแนะแนว สร้างกลุ่มศิลปินดาราตัวอย่างประชาสัมพันธ์เรื่องสิทธิเสรีภาพ สร้างสื่อเรื่องสั้นที่เข้าถึงคนทุกเพศทุกวัย จัดตั้งพื้นที่สำหรับแลกเปลี่ยนปัญหาการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในระดับชุมชน จัดตั้ง Online Community เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นต่างในระดับสังคมแบบไม่เปิดเผยตัวตน


การพัฒนาแนวทางปฎิบัติงานด้านการติดตามคนหายและพิสูจน์ศพนิรนามในประเทศไทย, วีรวรรณ ลำดับศรี Jan 2023

การพัฒนาแนวทางปฎิบัติงานด้านการติดตามคนหายและพิสูจน์ศพนิรนามในประเทศไทย, วีรวรรณ ลำดับศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการปฏิบัติงานด้านติดตามคนหายและพิสูจน์ศพนิรนามและวิเคราะห์แนวทางปฏิบัติงานด้านการติดตามกรณีคนหายและพิสูจน์ศพนิรนามในประเทศไทย และพัฒนาแนวทางปฏิบัติงานด้านการติดตามกรณีคนหายและพิสูจน์ศพนิรนามในประเทศไทย โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพด้านวิธีการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 11 คน ประกอบด้วย กลุ่มบริหารงานยุติธรรม จำนวนทั้งสิ้น 4 คน ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำนวน 1 คน ผู้ทรงคุณวุฒิกรมสอบสวนคดีพิเศษด้านการสืบสวนสอบสวน จำนวน 1 คน และ ผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กองคนหายและพิสูจน์ศพนิรนาม กลุ่มบริหารจัดการวัตถุพยาน จำนวน 2 คน กลุ่มนักวิชาการ จำนวนทั้งสิ้น 2 คน ได้แก่ นักวิจัย/นักวิชาการด้านการสืบสวนสอบสวนการรวบรวมพยานหลักฐาน และกลุ่มภาคประชาสังคม จำนวนทั้งสิ้น 5 คน ได้แก่ ตัวแทนจากภาคประชาชน จำนวน 3 คน ตัวแทนจากสื่อมวลชน จำนวน 1 คน และตัวแทนจากองค์กรพัฒนาภาคเอกชน ได้แก่ มูลนิธิกระจกเงา จำนวน 1 คน จากผลการศึกษาสภาพปัญหากรณีบุคคลสูญหายและพิสูจน์ศพนิรนามในประเทศไทย ประกอบด้วย 8 ด้าน ดังนี้ 1 ด้านกฎหมาย 2) การสอบสวน 3) การสืบสวน 4) การเข้าถึงกระบวนการยุดิธรรมของผู้เสียหาย 5) ด้านความเป็นอาชญากรรม 6) ด้านการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของผู้เสียหาย 7) ด้านการสืบค้นข้อมูลผู้สูญหายและศพนิรนาม และ 8) ด้านความหลากหลายของรูปแบบและพฤติการณ์ของคนหายและพิสูจน์ศพนิรนาม ทั้งนี้แนวทางการแก้ไขควรมีการจัดตั้งศูนย์รับแจ้งที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายอย่างแท้จริงเพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการทำงาน ดำเนินการรับแจ้งคนหาย และกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ให้ไปในทิศทางเดียวกัน และเป็นประโยชน์สูงสุดในการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน


นโยบายนวัตกรรมอาหารสนามแห่งความร่วมมือ การต่อสู้ทางนโยบาย และการจัดการปกครองเครือข่าย, ศรัญญา ปานเจริญ Jan 2023

นโยบายนวัตกรรมอาหารสนามแห่งความร่วมมือ การต่อสู้ทางนโยบาย และการจัดการปกครองเครือข่าย, ศรัญญา ปานเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของนโยบายนวัตกรรมอาหารของไทย อธิบายการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบริบทเชิงโครงสร้าง เครือข่ายนโยบาย และผลลัพธ์นโยบายเมืองนวัตกรรมอาหาร รวมถึงเปรียบเทียบการจัดการปกครองเครือข่ายนวัตกรรมอาหารตามแนวทางการกำหนดพื้นที่ของเมืองนวัตกรรมอาหาร ผลการศึกษา พบว่า ในช่วงของการกำหนดนโยบาย บริบททางการเมืองและเศรษฐกิจเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อเครือข่ายนโยบายและผลลัพธ์ของนโยบายเมืองนวัตกรรมอาหารโดยตรง ในขณะที่บริบททางความคิด เช่น แนวคิดนวัตกรรมอาหาร แนวคิดความมั่นคงทางอาหาร เป็นจุดยืนทางนโยบายที่สนับสนุนการพัฒนาทางเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่ เพื่อให้การพัฒนาข้อเสนอทางนโยบายมีความชอบธรรม โดยการกำหนดนโยบายนี้อาศัยระบบความเชื่อในการหลอมรวมจุดยืนทางความคิดและทรัพยากรของแนวร่วมพันธมิตรแต่ละกลุ่มให้มีความสอดคล้องกัน จนนำไปสู่การผลักดันนโยบายเมืองนวัตกรรมอาหารได้เป็นผลสำเร็จ ส่วนการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติระดับพื้นที่ พบว่า แต่ละพื้นที่มีการจัดการปกครองเครือข่ายที่แตกต่างกันทั้งในด้านพันธกิจและวัตถุประสงค์ของเครือข่าย กลยุทธ์ที่ใช้ในการสร้างเครือข่ายและการเลือกพันธมิตร รูปแบบโครงสร้างความร่วมมือ และการกำกับดูแลเครือข่าย อย่างไรก็ตาม ทุกเครือข่ายมีจุดร่วมที่เหมือนกัน คือ ความคาดหวังให้เมืองนวัตกรรมอาหารเป็นระบบนิเวศนวัตกรรมที่หลอมรวมโครงสร้างพื้นฐานและองค์ความรู้ท้องถิ่นที่สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของประชาชนในพื้นที่


The Effect Of Institutional Factors On Inward Fdi In Asian Developing Countries, Thinn Nay Chi Sun Jan 2023

The Effect Of Institutional Factors On Inward Fdi In Asian Developing Countries, Thinn Nay Chi Sun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aims to examine the effect of institutional factors on inward foreign direct investment (FDI), using data from 23 Asian developing countries in the middle-income group from 1996 to 2021. The findings show that institutional factors such as control of corruption, government effectiveness, political stability, regulatory quality, and the rule of law, as well as macroeconomic factors such as Gross Domestic Product (GDP), trade openness, inflation, and exchange rate, are important determinants of FDI inflows into these countries. Although the results are mixed overall, upper-middle-income countries with higher quality in each institutional aspect can attract more FDI, whereas lower-middle-income …


The Impact Of Involuntary Job Loss On Unemployment Rate During Asian Financial Crisis And Subprime Crisis In Thailand, Benya Kongthanasomboon Jan 2023

The Impact Of Involuntary Job Loss On Unemployment Rate During Asian Financial Crisis And Subprime Crisis In Thailand, Benya Kongthanasomboon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Each year, thousands of workers lose their jobs for reasons beyond their control, such as reorganization, technological displacement, and economic crisis, among others. Unexpected job loss is a disruptive occurrence that alters workers' career trajectory and has a negative impact on society and the economy which in Thailand can be observed during economic downturns including the Asian Financial Crisis (1997) and the Subprime Crisis (2008). This study aims to gain a comprehensive understanding of the impact of the Asian Financial Crisis and the Subprime Crisis on the unemployment rate in Thailand before, during, and after the crises. The data from …


Impact Of Us-China Trade War On Thailand's Electronic Exports, Chanakarn Permthongchoochai Jan 2023

Impact Of Us-China Trade War On Thailand's Electronic Exports, Chanakarn Permthongchoochai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This paper aims to examine how US-China trade war impacts on Thailand's electronics industry which is important to Thai economy in term of export. The study uses input-output table to show the connection of Thailand's electronics sector with other industry through its participation in global value chain. Moreover, the study uses a Computable General Equilibrium (CGE) model by using the reclassified General Trade Analysis Project (GTAP) database to simulate the results from the set-up scenarios. The results from the simulations show that, overall, Thai economy benefits from US-China trade war in term of both GDP and welfare of the country …


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความคาดหวังทางด้านระดับการศึกษาของเด็ก, นิภาภรณ์ ไทยสงเคราะห์ Jan 2023

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความคาดหวังทางด้านระดับการศึกษาของเด็ก, นิภาภรณ์ ไทยสงเคราะห์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การลงทุนทางด้านการศึกษามีความสำคัญและจำเป็นสำหรับทุนมนุษย์ ในปัจจุบันประเทศไทยกำลังประสบปัญหาด้านความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ทำให้เด็กไทยไม่ได้รับโอกาสทางการศึกษาตามที่ควรจะเป็น การวิจัยนี้จึงต้องการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความคาดหวังทางด้านระดับการศึกษาที่คาดหวังในอนาคตของเด็กไทยหลังจบการศึกษาภาคบังคับในช่วงอายุ 15 ปี โดยศึกษาปัจจัยทางด้านภูมิหลังของตนเองและครอบครัว ปัจจัยทางต้านต้นทุนทางสังคมของครอบครัวและโรงเรียน และปัจจัยทางด้านอาชีพที่เด็กคาดหวังในอนาคต ผู้วิจัยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากโปรแกรมการประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล ในปีพ.ศ. 2558 และ 2561 โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมการทดสอบปีพ.ศ. 2558 จำนวน 8,249 คน จาก 273 โรงเรียน และปีพ.ศ. 2561จำนวน 8,633 คน จาก 290 โรงเรียนในทุกสังกัดการศึกษา รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 16,882 คน ผู้วิจัยใช้แบบจำลองการไบวาริเอทโพรบิท (Bivariate probit model ) ในการวิเคราะห์ความคาดหวังทางด้านระดับการศึกษาของเด็ก ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยทางด้านภูมิหลังของตนเองและครอบครัวมีความสัมพันธ์กับความคาดหวังต่อระดับการศึกษาของเด็กในอนาคตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนั้นปัจจัยทางด้านของโรงเรียนและอาชีพที่เด็กคาดหวังในอนาคตก็มีอิทธิพลต่อความคาดหวังทางด้านระดับการศึกษาของเด็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นเดียวกัน


Assessing The Level Of Participation Of Small Stakeholders In International Water Management Projects For Food Security In Lower Mekong Basin: The Case Of Rice Production In The Khong-Loei-Chi-Mun Project, Pauline Essouri Jan 2023

Assessing The Level Of Participation Of Small Stakeholders In International Water Management Projects For Food Security In Lower Mekong Basin: The Case Of Rice Production In The Khong-Loei-Chi-Mun Project, Pauline Essouri

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The Khong-Chi-Mun was a partially realized irrigation project in Northeast Thailand under the “Greening Isaan” plan of development. Afterward, the Thai government revived it in 2012 under the new name “Khong-Loei-Chi-Mun” (KLCM) This new mega-project aimed to improve water access to the region to increase agricultural rice production and answer to a rising worldwide food demand. However, the suitability of such a plan for the region was criticized for the lack of integration of local context and knowledge, a situation that could be avoided with the participation of local representation in the decision-making process. This study aimed to assess if …


Unity In Diversity: Exploring Central Thai Speaker’S Attitudes Towards Thai Dialects Through A Linguistic Approach, Tristan Aidan Pennell Jan 2023

Unity In Diversity: Exploring Central Thai Speaker’S Attitudes Towards Thai Dialects Through A Linguistic Approach, Tristan Aidan Pennell

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

At least 60.9% of people in Thailand speak a minority language natively. Despite a history of political nationalism suppressing dialects and minority languages, Thais seem to accept this linguistic diversity. This study explored attitudes of Central Thai speakers towards the main dialects, generally and by comparing two age groups: 18-30 and 45+. A Verbal-Guise technique-based survey gaining 145 respondents was conducted, with 76 of the younger age group and 69 of the older age group. The survey asked Central Thai people to evaluate recordings of three Thai dialects: Northern, North-eastern and Southern. Using Symbolic Domination, a theory analysing power relations …


Exploring The Barriers To Education And Employment For Hmong Women In Sapa, Vietnam, Connor John Kidd Jan 2023

Exploring The Barriers To Education And Employment For Hmong Women In Sapa, Vietnam, Connor John Kidd

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In the mountainous region of Sapa, Vietnam, the Hmong community navigates the complex interplay of preserving their cultural identity amidst immense pressure to modernize. This thesis, centered on Hmong women, delves into their selective adaptation to contemporary challenges, particularly in education and employment. Using document research, a survey, and fieldwork this study draws from both historical data and firsthand accounts. These findings highlight significant disparities in educational attainment and employment opportunities when compared to the national average. Notably, issues of linguistic barriers, cultural priorities, and systemic underrepresentation emerge as primary obstacles. This research illuminates the unique socio-economic dynamics faced by …


The Popularity Of Thai Y Series In Japan, Taiki Yamamoto Jan 2023

The Popularity Of Thai Y Series In Japan, Taiki Yamamoto

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The burgeoning popularity of the Thai Y series within Japan presents a captivating case study of cultural diffusion and media influence in the contemporary era. This paper explores the underlying dynamics behind this phenomenon, focusing on the interplay between social media's role in content propagation, the narrative appeal of the series to Japanese audiences, and the unique charm of Thai actors that captivates the same demographic. The research employs a multifaceted approach which incorporates examination of key media platforms, storytelling analysis, interview, and analysis of actors’ appeal. The findings reveal insights into the cultural, and social impact of the Thai …