Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 601 - 630 of 5570

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

ทักษะและสมรรถนะที่จำเป็นในการตรวจสอบการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรด้านเขตปลอดอากร: กรณีศึกษา ข้าราชการส่วนตรวจสอบเขตปลอดอากร กรมศุลกากร, ธาริณี โยธินไทย Jan 2022

ทักษะและสมรรถนะที่จำเป็นในการตรวจสอบการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรด้านเขตปลอดอากร: กรณีศึกษา ข้าราชการส่วนตรวจสอบเขตปลอดอากร กรมศุลกากร, ธาริณี โยธินไทย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทักษะและสมรรถนะที่มีความจำเป็นต่อการตรวจสอบการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรด้านเขตปลอดอากร รวมทั้งศึกษาแนวทางและวิธีการในการพัฒนาและส่งเสริมให้ข้าราชการที่สังกัด ณ ส่วนตรวจสอบเขตปลอดอากร กองสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร กรมศุลกากร สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์ข้าราชการที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการตรวจสอบการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรด้านเขตปลอดอากร ผลการศึกษาพบว่าทักษะที่มีความจำเป็นต่อการปฏิบัติหน้าที่มากที่สุด ได้แก่ ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ทักษะด้านบัญชีเบื้องต้น ทักษะการจัดการข้อมูล ทักษะการสังเกต และทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศ ในส่วนของสมรรถนะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติหน้าที่มากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ สมรรถนะด้านการมองภาพองค์รวม ด้านศิลปะการสื่อสารจูงใจ และสมรรถนะด้านการคิดวิเคราะห์ สุดท้ายแนวทางในการพัฒนาทักษะและสมรรถนะที่จำเป็น พบว่าการฝึกอบรม และการพัฒนา เป็นแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาทักษะและสมรรถนะที่จำเป็นข้างต้น


ความคิดเห็นของข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย ประจำจังหวัดลพบุรี (ระดับจังหวัด) ที่มีต่อนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทย, นุสรา ดาราสม Jan 2022

ความคิดเห็นของข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย ประจำจังหวัดลพบุรี (ระดับจังหวัด) ที่มีต่อนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทย, นุสรา ดาราสม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาความคิดเห็นของข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย ประจำจังหวัดลพบุรี (ระดับจังหวัด) ที่มีต่อนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทย มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อสำรวจความคิดเห็นของข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทยในจังหวัดลพบุรี (ระดับจังหวัด) ที่มีต่อนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทย และ 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลที่ส่งผลต่อการเลือกสวมใส่ผ้าไทยของข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทยในจังหวัดลพบุรี (ระดับจังหวัด) โดยการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์ส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 10 คน แบ่งตามเพศภาวะ และช่วงอายุ ผลการศึกษา พบว่า ข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย ประจำจังหวัดลพบุรี (ระดับจังหวัด) มีความคิดเห็นโดยรวมในแง่ดีต่อนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทย โดยมองว่าเป็นการส่งเสริมอัตลักษณ์ความเป็นไทยผ่านการผลิตโดยกลุ่มข้าราชการซึ่งทำงานใกล้ชิดกับประชาชน อย่างไรก็ตาม ข้าราชการกลุ่มช่วงอายุ 23 – 33 ปี มีข้อเสนอแนะว่านโยบายนี้ควรจะเป็นความสมัครใจมากกว่ากึ่งบังคับให้ใส่ผ้าไทยทุกวัน เนื่องจากเป็นภาระทางการเงินแก่ข้าราชการกลุ่มนี้ เพื่อให้เกิดการสวมใส่ผ้าไทยที่ผลิตจากกลุ่มชาวบ้านโดยแท้จริง ไม่เบี่ยงเบนวัตถุประสงค์ของนโยบายที่ต้องการกระจายรายได้สู่เศรษฐกิจฐานราก สร้างงานสร้างอาชีพให้ชุมชน อีกทั้ง เพศภาวะและช่วงอายุ มีอิทธิพลต่อการเลือกสวมใส่ผ้าไทยของข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย ประจำจังหวัดลพบุรี (ระดับจังหวัด)


ความต้องการสวัสดิการด้านการเงินที่สนับสนุนการทำงานแบบผสมผสาน (Hybrid Working) กรณีศึกษาหน่วยงานในสังกัดรองผู้ว่าการบริหาร การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, ฝากฝัน จันทร์แสงดี Jan 2022

ความต้องการสวัสดิการด้านการเงินที่สนับสนุนการทำงานแบบผสมผสาน (Hybrid Working) กรณีศึกษาหน่วยงานในสังกัดรองผู้ว่าการบริหาร การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, ฝากฝัน จันทร์แสงดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาความต้องการสวัสดิการด้านการเงินที่สนับสนุนการทำงานแบบผสมผสาน (Hybrid Working) กรณีศึกษาหน่วยงานในสังกัดรองผู้ว่าการบริหาร การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์ความต้องการสวัสดิการด้านการเงินที่สนับสนุนการทำงาน Hybrid Working 2) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างปัจจัยลักษณะการจ้างงานกับความต้องการสวัสดิการที่สนับสนุนการทำงาน Hybrid Working 3) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงานที่บ้านกับความต้องการสวัสดิการที่สนับสนุนการทำงาน Hybrid Working 4) เพื่อเสนอแนะสวัสดิการด้านการเงินที่เหมาะสมต่อความต้องการของพนักงาน กฟผ. ในปัจจุบัน โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 239 คน และการวิจัยคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะจง จำนวน 7 คน ผลการศึกษา พบว่า 1) พนักงานมีความต้องการสวัสดิการด้านการเงินในการซื้อ โต๊ะ เก้าอี้ ที่ออกแบบตามหลักการยศศาสตร์ (Ergonomics) มากที่สุด 2) ลักษณะงานที่แตกต่างกันมีความต้องการสวัสดิการด้านการเงินที่สนับสนุนการทำงาน Hybrid Working ที่แตกต่างกัน 3) ตำแหน่งงานที่แตกต่างกันมีความต้องการสวัสดิการด้านการเงินที่สนับสนุนการทำงาน Hybrid Working ไม่ที่แตกต่างกัน 4) อายุงานที่แตกต่างกันมีความต้องการสวัสดิการด้านการเงินที่สนับสนุนการทำงาน Hybrid Working ที่แตกต่างกัน 5) บริบทที่อยู่อาศัยมีความสัมพันธ์กับความต้องการสวัสดิการด้านการเงินที่สนับสนุนการทำงาน Hybrid Working ในระดับต่ำ 6) สิ่งอำนวยความสะดวกมีความสัมพันธ์กับความต้องการสวัสดิการด้านการเงินที่สนับสนุนการทำงาน Hybrid Working ในระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05


การบรรเทาสาธารณภัยร่วมไทย-ลาว ระหว่าง ปี พ.ศ.2561-2566 : กรณีศึกษาภารกิจกองทัพอากาศ, พัทธพล ณ นคร Jan 2022

การบรรเทาสาธารณภัยร่วมไทย-ลาว ระหว่าง ปี พ.ศ.2561-2566 : กรณีศึกษาภารกิจกองทัพอากาศ, พัทธพล ณ นคร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาภารกิจกองทัพอากาศในการบรรเทาสาธารณภัยร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ในประเทศรวมทั้งประเทศลาว และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ จากกรอบแนวคิดภารกิจนิยมใหม่มีแนวคิดเรื่องการบูรณาการ มีการดำเนินการข้ามพรมแดนของรัฐ มีการจัดตั้งหน่วยงานเข้ามาดำเนินการในการปฏิบัติงานเพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมาย มีกระบวนการไหลรินมีเริ่มจากความร่วมมือร่วมจนพัฒนาความสัมพันธ์มาเป็นการปฏิบัติการร่วม ผลการศึกษาพบว่ากองทัพอากาศมีบทบาทหน้าที่ในการตอบสนองนโยบายรัฐบาลและปฏิบัติตามข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติและการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน (AADMER) โดยกองทัพอากาศพัฒนากำลังทางอากาศในการปฏิบัติการร่วมกับหน่วยงานรัฐบาลและต่างประเทศ อย่างกรณีศึกษาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2561-2566 จากเหตุการณ์อุทกภัยใหญ่ที่ประเทศลาว และเหตุการณ์ปัญหาหมอกควันข้ามพรมแดน การศึกษาได้ข้อสรุปว่า ในปี พ.ศ.2561-2564 ที่เกิดเหตุการณ์อุทกภัยใหญ่ที่ประเทศลาว รัฐบาลไทยได้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือโดยกองทัพอากาศได้นำอากาศยานไปลำเลียงสิ่งของอุปโภคและบริโภค ในปี พ.ศ.2562-2564 เหตุการณ์ปัญหาหมอกควันข้ามพรมแดน ที่หมอกควันส่วนหนึ่งมากจากประเทศลาว รัฐบาลไทยได้ขอความร่วมมือร่วมผ่านทางเลขาธิการอาเซียนเพื่อขอความร่วมมือประเทศลาว และกองทัพอากาศมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาหมอกควัน ในปี 2565-2566 จากความร่วมมือร่วมพัฒนากลายเป็นการปฏิบัติการร่วม ที่เริ่มจากกองทัพอากาศไทยและกองทัพอากาศลาวมีการประชุมเกี่ยวกับการบรรเทาสาธารณภัยจนนำไปสู่การฝึกร่วมประหว่างสองประเทศ จากกรอบทฤษฎีที่ใช้วิเคราะห์กรณีศึกษาดังกล่าว ทำให้เห็นถึงการพัฒนาจากความร่วมมือร่วมมาเป็นการปฏิบัติการร่วม จนทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองประเทศ


ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกของสหรัฐอเมริกาเเละความสัมพันธ์สหรัฐอเมริกากับออสเตรเลีย ค.ศ.2017-2023, พีรวิชญ์ สุพิชญ์ Jan 2022

ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกของสหรัฐอเมริกาเเละความสัมพันธ์สหรัฐอเมริกากับออสเตรเลีย ค.ศ.2017-2023, พีรวิชญ์ สุพิชญ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษายุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกของสหรัฐอเมริกาและความสัมพันธ์สหรัฐอเมริกากับออสเตรเลียในห้วงปีค.ศ.2017-2023 ตลอดจนผลกระทบด้านความมั่นคงภายในภูมิภาคอันเกิดจากผลลัพธ์การดำเนินนโยบายดังกล่าว โดยผู้วิจัยจะใช้กรอบทฤษฎีสัจนิยมเชิงป้องกันเพื่อประกอบการวิเคราะห์บทบาทและพฤติกรรมของสหรัฐอเมริกา จากการศึกษาด้วยกระบวนการวิจัยเชิงเอกสารควบคู่กับพิจารณาสหรัฐอเมริกาผ่านกรอบการวิเคราะห์ได้ข้อค้นพบว่า ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกของสหรัฐอเมริกาส่วนหนึ่งเกิดขึ้นเพื่อสนับสนุนทัศนะที่มีต่อพฤติกรรมของจีนในบริบทการเป็นภัยความมั่นคงซึ่งคุกคามเสรีภาพและเสถียรภาพในระบบระหว่างประเทศ สหรัฐอเมริกาจึงดำเนินนโยบายโดยมีออสเตรเลียเป็นพันธมิตรผู้ให้ความร่วมมือ ส่งผลให้ในห้วงปีค.ศ.2017-2023 นั้น เกิดผลลัพธ์จากการดำเนินงานและความสัมพันธ์ดังกล่าว ได้แก่ ความร่วมมือด้านความมั่นคงของรัฐมหาอำนาจทั้งสี่ (The Quad) และความร่วมมือทางยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงฉบับใหม่ (AUKUS) ซึ่งสร้างข้อกังวลว่าอาจยั่วยุให้เกิดปฏิกิริยาโต้ตอบจากจีนและสภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกต่อสถานการณ์ในภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางความกังวลถึงผลลัพธ์เชิงรุกนั้น เมื่อพิจารณาข้อความที่ระบุในเอกสารสำคัญทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาตลอดจนคำแถลงการณ์ที่เกี่ยวข้องพบว่า สหรัฐอเมริกามองท่าทีและบทบาทตนเองเป็นเพียงการตอบสนองต่ออิทธิพลของจีนซึ่งคุกคามความมั่นคงในภูมิภาค ขณะเดียวกันสหรัฐอเมริกายังให้ความสำคัญต่อประเด็นความมั่นคงรูปแบบใหม่โดยพัฒนาความร่วมมือแบบทวิภาคีกับออสเตรเลียผ่านการประชุม AUSMIN ทั้งยังพลิกบทบาทเพื่อร่วมมือกับจีนในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นสิ่งสะท้อนว่าสหรัฐอเมริกาพร้อมร่วมมือกับทุกฝ่ายเพื่อจัดการต่อสิ่งที่ตนมองเป็นภัยความมั่นคง


บทบาทของญี่ปุ่นต่อความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ภาคพื้นแปซิฟิก ภายหลังการถอนตัวของสหรัฐอเมริกา, ภัทรพล จันทร์เทพา Jan 2022

บทบาทของญี่ปุ่นต่อความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ภาคพื้นแปซิฟิก ภายหลังการถอนตัวของสหรัฐอเมริกา, ภัทรพล จันทร์เทพา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ญี่ปุ่นเข้าร่วมการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) ในเดือนมีนาคม 2013 เพื่อบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจคือ การใช้ TPP เป็นส่วนหนึ่งแผนการปฏิรูปเศรษฐกิจภายใต้นโยบาย Abenomics ของรัฐบาลอาเบะ และบรรลุเป้าหมายด้านความมั่นคงคือ การใช้เป็นเครื่องมือในการถ่วงดุลกับการก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกของจีน และกระชับความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ในเดือนมกราคม 2017 รัฐบาลทรัมป์ถอนตัวจากความตกลง TPP รัฐบาลอาเบะจึงพยายามโน้มน้าวให้สหรัฐฯ กลับมาเข้าร่วม พร้อมกับดำเนินบทบาทนำในการเจรจาระหว่างสมาชิกที่เหลือ 10 ประเทศ จนนำไปสู่การลงนามบนความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) ในเดือนมีนาคม 2018 ในกรณีของการดำเนินบทบาทนำอย่างกระตือรือร้นของรัฐบาลญี่ปุ่น ภายหลังการถอนตัวของสหรัฐฯ ด้วยเหตุนี้จึงนำไปสู่การศึกษาการใช้ความตกลง CPTPP เป็นเครื่องมือทางเศรษฐกิจในการถ่วงดุลกับการขยายอิทธิพลของจีน ผ่านแนวคิดการถ่วงดุลอำนาจแบบอ่อน (soft balancing) และแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติ (economic security) เพื่อแสดงให้เห็นถึงรูปแบบการดำเนินนโยบายของญี่ปุ่น สารนิพนธ์ฉบับนี้จึงอธิบายและวิเคราะห์การใช้ CPTPP เป็นเครื่องมือ โดยการใช้บทบัญญัติที่มีมาตรฐานระดับสูง ประกอบกับใช้เป็นช่องทางการกลับมามีส่วนร่วมของสหรัฐฯ ตลอดจนเป็นพื้นที่สำหรับประเทศที่มีค่านิยมเดียวกัน และใช้ในการบรรลุเป้าหมายตามแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติของญี่ปุ่น


การนำนโยบายต่อต้านข่าวปลอมไปปฏิบัติ กรณีศึกษา ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย, ภาณุพงศ์ มาลัยน้อย Jan 2022

การนำนโยบายต่อต้านข่าวปลอมไปปฏิบัติ กรณีศึกษา ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย, ภาณุพงศ์ มาลัยน้อย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้ผู้เขียนได้ศึกษากระบวนการนำนโยบายต่อต้านข่าวปลอม ของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย ไปปฏิบัติว่าเป็นอย่างไร รวมถึงศึกษาผลกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนว่ามีมากน้อยเพียงใด โดยผู้เขียนได้ทำการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร และการสัมภาษณ์จากผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ภาคประชาสังคม และประชาชน โดยสารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งที่จะศึกษากระบวนการนำนโยบายต่อต้านข่าวปลอม ของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย ไปปฏิบัติว่าเป็นอย่างไร รวมถึงศึกษาผลกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนว่ามีมากน้อยเพียงใด โดยผู้เขียนได้ทำการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร และการสัมภาษณ์จากผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ภาคประชาสังคม และประชาชน จากการศึกษา พบว่า 1) รัฐบาลให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาดังกล่าว แต่การกำหนดมาตรฐานในการดำเนินนโยบายยังมีความไม่ชัดเจน ให้ความสำคัญกับการสร้างเครื่องมือสำหรับการตรวจสอบข้อเท็จจริงมากกว่าการสร้างองค์ความรู้ให้กับประชาชน 2) งบประมาณที่ใช้ดำเนินการสำหรับศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย มีเพียงพอสำหรับภารกิจในปัจจุบัน แต่ยังขาดงบประมาณสำหรับการสร้างองค์ความรู้และการสนับสนุนงานศึกษาวิจัย 3) การสื่อสารระหว่างหน่วยงานปฏิบัติสามารถทำได้ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ มีการสื่อสารและติดตามความคืบหน้าในการทำงาน รวมถึงมีการจัดเจ้าหน้าที่ให้การสนับสนุนอยู่ตลอดเวลา 4) บุคลากรที่ปฏิบัติงานในศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย มีความพร้อมในเรื่องของทักษะ และสมรรถนะในการทำงาน แต่มีปัญหาในศูนย์ประสานงานประจำหน่วยงานที่มีภาระงานที่มากเกินไปจากงานประจำที่มีอยู่เดิม 5) ความไม่ชัดเจนของตัวกฎหมายที่เปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ใช้ดุลพินิจในการตีความการกระทำผิดของประชาชนทำให้มีการดำเนินคดีกับประชาชนและส่งผลกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนเกิดความหวาดกลัว และอาจจะนำไปสู่การเซนเซอร์ตัวเองไม่กล้าที่จะแสดงความคิดเห็นในที่สุด สำหรับข้อเสนอแนะในการดำเนินนโยบายต่อผู้ศึกษามีข้อเสนอให้ 1) ผลักดันนโยบายเชิงรุกให้มากขึ้น โดยการสร้างองค์ความรู้ให้กับประชาชน 2) บรรจุองค์ความรู้เกี่ยวกับข่าวปลอมเข้าสู่แบบเรียนหรือกิจกรรมในชั้นเรียน 3) ลดบทบาทของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย ในการดำเนินคดีกับประชาชน 4) จัดทำกฎหมายเฉพาะสำหรับความผิดเกี่ยวกับ “ข่าวปลอม” และ 5) จัดทำแผนระยะยาวเพื่อเปลี่ยนผ่านออกไปเป็นองค์กรอิสระ


ผลกระทบจากการขยายอิทธิพลของจีนในกัมพูชาต่อความมั่นคงทางทะเลของไทย, สุรพงษ์ ศรีวัลลภ Jan 2022

ผลกระทบจากการขยายอิทธิพลของจีนในกัมพูชาต่อความมั่นคงทางทะเลของไทย, สุรพงษ์ ศรีวัลลภ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาการขยายอิทธิพลของจีนในกัมพูชา โดยผู้วิจัยได้ใช้กรอบแนวคิดสัจนิยมเชิงรุกมาวิเคราะห์พฤติกรรมของจีนที่จะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางทะเลของไทยในมิติต่าง ๆ กรณีความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างจีนกับกัมพูชา สะท้อนให้เห็นว่าการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศที่เข้าร่วมจำเป็นต้องพึ่งพาจีน ส่งผลให้จีนมีอิทธิพลต่อประเทศเหล่านั้น และนำไปสู่แนวโน้มที่จีนจะขยายกิจกรรมทางทหารเข้ามาเพื่อดูแลผลประโยชน์ในภูมิภาค โดยเฉพาะในทะเลจีนใต้ ซึ่งจะสร้างความได้เปรียบในด้านภูมิรัฐศาสตร์ ที่เอื้อต่อการขยายอำนาจ พฤติกรรมดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจีนดำเนินนโยบายแบบสัจนิยมเชิงรุก โดยใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจเข้าครอบงำ ให้ได้มาซึ่งอิทธิพลทางการเมืองและการทหาร ซึ่งจะส่งผลให้สหรัฐฯ เข้ามามีบทบาทเพื่อจำกัดการขยายอำนาจของจีนในภูมิภาค โดยเฉพาะในอ่าวไทยมากยิ่งขึ้น และจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงและผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเลของไทย


แนวทางการใช้ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่การเป็นสำนักงานไร้กระดาษ : กรณีศึกษา กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน, อภิสรา ถึงสุขวงษ์ Jan 2022

แนวทางการใช้ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่การเป็นสำนักงานไร้กระดาษ : กรณีศึกษา กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน, อภิสรา ถึงสุขวงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานะการใช้กระดาษของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และวิธีการที่เหมาะสมในการนำลายเซ็นอิเล็กทรอกนิกส์มาใช้กับเอกสารทางราชการ รวมถึงแนวทางการเปลี่ยนแปลงองค์กรและบุคลากรที่เหมาะสม ในการใช้ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ขับเคลื่อนกรมพัฒนาฝีมือแรงงานสู่การเป็นสำนักงานไร้กระดาษ ด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากบุคลากรจำนวน 7 คน และวิเคราะห์ตามกรอบแนวคิดทฤษฎีและหลักแนวคิดจากตัวอย่างงานวิจัยในต่างประเทศ ผลการศึกษา พบว่า กรมพัฒนาฝีมือแรงงานประสบความสำเร็จในการนำลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการออกหนังสือรับรองการพัฒนาฝีมือแรงงาน แต่หากเทียบสัดส่วนกับงานเอกสารอื่นๆ ภายในหน่วยงานถือว่าเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก จึงกล่าวได้ว่ากรมพัฒนาฝีมือแรงงานยังมีสถานะเป็นสำนักงานกึ่งไร้กระดาษ ซึ่งหากจะพัฒนาไปสู่การเป็นสำนักงานไร้กระดาษ ผู้บริหารขององค์กรควรกำหนดนโยบายและแนวทางที่ชัดเจน เพื่อให้บุคลากรเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ แนวทางเหมาะสมที่สุด คือ การปรับเปลี่ยน “หนังสือภายใน” (แบบทั่วไป) ที่ไม่มีผลทางกฎหมาย ที่ยังใช้เป็นกระดาษและเซ็นด้วยปากกาอยู่ ให้เป็น“หนังสือภายในอิเล็กทรอนิกส์” โดยใช้ “ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์” จะเป็นวิธีการที่ทำให้บุคลากรทุกคนได้มีประสบการณ์ในการใช้ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น


การผลักดันมรดกโลกของญี่ปุ่นภายใต้รัฐบาลชินโซะ อาเบะ ค.ศ. 2012 – 2020: เพื่อการเชิดชูอดีตและการหลงลืมความจริงโดยเจตนา, อมรรัตน์ โม้ชัย Jan 2022

การผลักดันมรดกโลกของญี่ปุ่นภายใต้รัฐบาลชินโซะ อาเบะ ค.ศ. 2012 – 2020: เพื่อการเชิดชูอดีตและการหลงลืมความจริงโดยเจตนา, อมรรัตน์ โม้ชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สิ่งของหรือสถานที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็น ‘มรดกโลก’ จากองค์กรยูเนสโกนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่แสดงคุณค่าว่าพื้นที่แห่งนั้นมีคุณค่าแก่การเยี่ยมชม เปรียบเสมือน “สิ่งมหัศจรรย์ของโลก” ยุคใหม่ ซึ่งจะช่วยปลูกฝังความภาคภูมิใจและสนับสนุนประเทศต่าง ๆ ในการที่จะรักษาสถานที่นั้น อย่างไรก็ตาม ‘สถานที่ปฏิวัติอุตสาหกรรมสมัยเมจิ’ (the Sites of Japan’s Meiji Industrial Revolution) หรือ SJMIR ในฐานะมรดกโลกนั้นได้เป็นโครงการหลักระดับชาติในการเผยแพร่เรื่องราวทางประวัติศาสตร์อันรุ่งโรจน์ของญี่ปุ่นในยุคเมจิสู่สากล ภายใต้รัฐบาลอนุรักษ์นิยมของนายกรัฐมนตรีชินโซะ อาเบะ ค.ศ. 2012-2020 กลับมีจุดประสงค์เพื่อแสวงหา ‘การเป็นที่ยอมรับ’ นับหน้าถือตาในเวทีระหว่างประเทศ ในขณะที่ความจริงแล้วอำนาจของญี่ปุ่นมีสถานะที่ลดน้อยถอยลง และถึงแม้ว่าความคิดถึงระดับชาตินี้จะตรงกับวาทกรรมทางการเมืองร่วมสมัยของเขาเกี่ยวกับการเอาชนะความท้าทายในประเทศและระหว่างประเทศของญี่ปุ่นในศตวรรษที่ 21 แต่ก็กระตุ้นให้ผู้คนหลงลืมมุมมองอื่นที่เกี่ยวข้องกับความทรงจำของชาวเกาหลีเกี่ยวกับการบังคับใช้แรงงาน ลัทธิล่าอาณานิคม และสงคราม เช่นกัน โดยสารนิพนธ์ฉบับนี้จะสำรวจถึงกระบวนการการผลักดันการขึ้นทะเบียนมรดกโลก ‘สถานที่ปฏิวัติอุตสาหกรรมสมัยเมจิ’ ซึ่งในเนื้อหาดังกล่าวจะชี้ให้เห็นถึงบทบาทของผู้เชี่ยวชาญด้านมรดกของญี่ปุ่นที่พยายามนำเสนอเพียงแต่เรื่องราวเชิงบวกถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วของญี่ปุ่นเท่านั้น อีกทั้งพยายามบิดเบือนเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์ทางเลือกให้ถูกลืมเลือนไป


Fptp Electoral System Of Myanmar As A Barrier For Ethnic Minority Inclusiveness In Parliamentary Decision-Making, Yamonh Pwint Thit Jan 2022

Fptp Electoral System Of Myanmar As A Barrier For Ethnic Minority Inclusiveness In Parliamentary Decision-Making, Yamonh Pwint Thit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In Myanmar, the ethnic minority do not have equal access to public services to raise their issues and voices for it. They are not adequately represented in state institutions by the political system which does not grant the adequate opportunities to participate in decision-making at union level. Ethnic minorities believe that all groups should have equal access to public services and enjoy an efficient system of protection of human rights. Ethnic Diversity may result in tensions within the nation when one group is economically or socially or politically dominant or privileged. By being discriminated and marginalized through the political system, …


The Effect Of Ict Infrastructure On Inward Fdi In Apec Countries, Nyi La Min Jan 2022

The Effect Of Ict Infrastructure On Inward Fdi In Apec Countries, Nyi La Min

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this study is to examine the effect of information and communication technology (ICT) infrastructure on inward foreign direct investment (FDI) in the Asia-Pacific Economic Cooperation (APEC) region by using panel data from 20 APEC economies over the 2005-2020 period. Various indicators of ICT-related factors, including number fixed telephone subscriptions, mobile cellular subscriptions, broadband subscriptions, and internet users have been used to measure the level of ICT infrastructure development. Principal component analysis (PCA) method is used to transform four indicators of ICT infrastructure together into an ICT infrastructure index. The study uses fixed-effects model to investigate the effect …


A Study Of The Impact Of Financial Literacy And Financial Development On Peer-To-Peer Lending In Developed And Developing Countries, Joffre Tan Zheng Hong Jan 2022

A Study Of The Impact Of Financial Literacy And Financial Development On Peer-To-Peer Lending In Developed And Developing Countries, Joffre Tan Zheng Hong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study seeks to examine how financial literacy and financial development, specifically financial access, financial depth, and financial efficiency affect the expansion of peer-to-peer (P2P) lending using a sample of 40 economies with data obtained in 2020. The findings reveal financial literacy and financial efficiency positively affect the expansion of P2P lending, while financial depth negatively correlates with the expansion of P2P lending. Additionally, financial literacy contributes significantly to the expansion of P2P lending in developing economies, but not in developed economies. This finding suggests that financial literacy does not factor significantly into the expansion of P2P lending in developed …


The Relationship Between Environmental, Social, Governance, And Financial Performance Among Listed Companies In Thailand Between 2019-2022, Saranpong Daengdej Jan 2022

The Relationship Between Environmental, Social, Governance, And Financial Performance Among Listed Companies In Thailand Between 2019-2022, Saranpong Daengdej

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล : กรณีศึกษารถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ส่วนต่อขยาย, รฐนนท์ กาญจนภาคย์ Jan 2022

ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล : กรณีศึกษารถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ส่วนต่อขยาย, รฐนนท์ กาญจนภาคย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล : กรณีศึกษารถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ส่วนต่อขยาย ผู้ศึกษาสนใจในขั้นตอนการเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางของผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นขั้นตอนเริ่มต้นของการดำเนินโครงการให้เป็นรูปธรรม โดยผู้ปฏิบัติงานต้องพิจารณา จัดทำข้อมูล และวิเคราะห์ความเหมาะสมในด้านต่างๆ ของโครงการ ไม่ว่าจะเป็น กฎหมาย เศรษฐกิจ นโยบาย การเวนคืนที่ดิน สิ่งแวดล้อม และมีการประสานงานกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ผู้ศึกษาต้องการที่จะบันทึกปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้ขั้นตอนนี้ล่าช้าในปัจจุบัน และส่งผลกระทบต่อการเริ่มต้นดำเนินโครงการ รวมถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค เพื่อใช้เป็นบทเรียนสำหรับการดำเนินการระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอื่นๆ ในอนาคต และเสนอข้อเสนอแนะ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผู้ปฏิบัติงานและผลักดันการดำเนินโครงการระบบขนส่งมวลชนทางราง โดยจากการศึกษาพบว่าปัญหาและอุปสรรคดังกล่าว ประกอบด้วย ความล่าช้าของระบบราชการ ความไม่ชัดเจนของผู้มีอำนาจตัดสินใจ ปัญหาในการประสานงานกันระหว่างผู้ปฏิบัติ ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องมีอยู่เป็นจำนวนมากและมีข้อกำหนดที่ซ้ำซ้อนกัน การเวนคืนที่ดินที่ใช้ระยะเวลาเพิ่มมากขึ้น คณะกรรมการด้านสิ่งแวดล้อมเข้ามาพิจารณาด้านการออกแบบโครงการ ภาวะเศรษฐกิจภายในและภายนอกประเทศ และการฟ้องร้องของประชาชน งานศึกษานี้จึงเสนอให้ เร่งผลักดันพระราชบัญญัติการขนส่งทางรางเพื่อกำหนดนโยบายและกำกับดูแล แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อพิจารณาในด้านต่างๆ ร่วมกัน และจัดทำแผนการติดตามการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงาน เพื่อเป็นแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการในลักษณะใกล้เคียงกันในอนาคต


บทบาทของจีนในการแก้ปัญหาอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือในห้วงปี ค.ศ. 2016 ถึง ค.ศ. 2022, รัชชานนท์ ประจำค่าย Jan 2022

บทบาทของจีนในการแก้ปัญหาอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือในห้วงปี ค.ศ. 2016 ถึง ค.ศ. 2022, รัชชานนท์ ประจำค่าย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ระหว่างปี ค.ศ. 2016 – 2022 ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับเกาหลีเหนือมีพลวัตอย่างมาก ซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษานโยบายของจีนในการแก้ปัญหาอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือในช่วงเวลาดังกล่าว พร้อมทั้งวิเคราะห์บทบาท ตลอดจนอุปสรรคและข้อจำกัดของจีนในการแก้ปัญหาข้างต้น โดยผู้วิจัยได้ใช้แนวคิดสัจนิยมเชิงรับ (Defensive Realism) เป็นกรอบในการวิเคราะห์และศึกษาการดำเนินนโยบายต่างประเทศของจีนต่อกรณีการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ เนื่องจากมองว่า จีนดำเนินนโยบายเพื่อตอบสนองต่อผลประโยชน์แห่งชาติและข้อห่วงกังวลด้านความมั่นคง โดยพลวัตความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับเกาหลีเหนือเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อบทบาทของรัฐบาลจีนในการแก้ไขปัญหาอาวุธนิวเคลียร์เกาหลีเหนือที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ เมื่อประเมินบทบาทของจีนในการแก้ไขปัญหาอาวุธนิวเคลียร์เกาหลีเหนือในห้วงเวลาดังกล่าวแล้ว ผู้วิจัยพบว่ารัฐบาลจีนได้สนับสนุนและบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อเกาหลีเหนืออย่างจริงจัง ตลอดจนเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาให้ทั้งสองฝ่ายพิจารณา และไม่นำความขัดแย้งกับสหรัฐฯ มาเป็นอุปสรรคในการร่วมมือกันเพื่อแก้ปัญหา อย่างไรก็ตาม จีนก็เผชิญอุปสรรคและข้อจำกัดบางประการในการแสดงบทบาทดังกล่าว


การศึกษาความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพต่อการเปลี่ยนแปลง พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 เรื่องข้าราชการตำรวจมียศและข้าราชการตำรวจไม่มียศ : กรณีศึกษาโรงพยาบาลตำรวจ, รัตนากร สมโพธิ์ Jan 2022

การศึกษาความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพต่อการเปลี่ยนแปลง พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 เรื่องข้าราชการตำรวจมียศและข้าราชการตำรวจไม่มียศ : กรณีศึกษาโรงพยาบาลตำรวจ, รัตนากร สมโพธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของพยาบาลวิชาชีพที่ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการตำรวจที่มียศและพยาบาลวิชาชีพที่ได้บรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ตามร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ที่เกี่ยวข้องกับการมียศและไม่มียศของพยาบาลวิชาชีพ และ 2) เสนอแนะแนวทางการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ที่เกี่ยวข้องกับการมียศและไม่มียศของพยาบาลวิชาชีพที่ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการตำรวจในสังกัดโรงพยาบาลตำรวจ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้การเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ พยาบาลวิชาชีพที่ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการในสังกัดเหล่าทัพ และพยาบาลวิชาชีพที่ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 8 ท่าน ผลการศึกษาพบว่า 1) ความแตกต่างระหว่างพยาบาลวิชาชีพที่ได้รับบรรจุเป็นข้าราชการในสังกัดเหล่าทัพและพยาบาลวิชาชีพที่ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านลักษณะงาน แทบจะไม่แตกต่างกันแต่สิ่งที่พยาบาลวิชาชีพในสังกัดเหล่าทัพปฏิบัติงานเพิ่มมา คือ ดูแลสุขภาพข้าราชการในสังกัดเหล่าทัพ ด้านความก้าวหน้าในวิชาชีพ ไม่เหมือนกัน ขึ้นกับตำแหน่ง สายงานที่ตนอยู่ ด้านสวัสดิการ ได้รับสิทธิเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลจากกรมบัญชีกลางเหมือนกัน 2) ความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพต่อเรื่องพยาบาลวิชาชีพที่บรรจุเป็นข้าราชการตำรวจในสังกัดโรงพยาบาลตำรวจควรที่จะมียศ เป็นไปในทางเห็นด้วยกับการมียศตำแหน่ง 3) ความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพต่อพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565 ที่เกี่ยวกับข้าราชการตำรวจไม่มียศในส่วนของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลตำรวจ มีความคิดเห็นไม่สอดคล้องกับร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565 และ 4) แนวทางการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565 ในเรื่องพยาบาลวิชาชีพที่บรรจุเป็นข้าราชการตำรวจไม่สามารถมียศได้ พบว่า ควรมีการเพิ่มเงินประจำตำแหน่ง การปรับฐานเงินเดือนหรือค่าเวรพิเศษนอกเวลา การเพิ่มบุคลากรให้เพียงพอต่อความต้องการ และการปรับสวัสดิการ ให้เหมือนกับข้าราชการที่บรรจุในสังกัดกระทรวงฯ ทั้งนี้ในการดำเนินโครงการพบปัญหาและอุปสรรค คือ ผู้เข้าร่วมการศึกษางานวิจัยมีจำนวนน้อยและศึกษาเฉพาะกลุ่มพยาบาลวิชาชีพได้รับบรรจุเป็นข้าราชการในสังกัดเหล่าทัพและพยาบาลวิชาชีพที่ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่ง ได้ในบางส่วนของเนื้อหา ไม่ครอบคลุมพยาบาลวิชาชีพสังกัดอื่นๆ จากการศึกษามีข้อเสนอแนะ คือ การสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาต่อยอดโดยการสอบถามความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพในสังกัดกรุงเทพมหานคร หรือพยาบาลโรงพยาบาลเอกชน ควรสอบถามความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และหาแนวทางในการรับมือร่วมกันของผู้ได้รับผลกระทบ เพื่อหาแนวทางการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565 และสามารถต่อยอดองค์ความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์ในเรื่องความมั่นคงในอาชีพที่มีต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรในองค์กรภาครัฐและป้องกันภาวะสมองไหลจากหน่วยงานภาครัฐไปสู่ภาคเอกชน


การศึกษาแนวทางการเตรียมความพร้อมด้านตลาดแรงงาน เพื่อรองรับการเติบโตของโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี), ศรายุธ หอมชะมด Jan 2022

การศึกษาแนวทางการเตรียมความพร้อมด้านตลาดแรงงาน เพื่อรองรับการเติบโตของโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี), ศรายุธ หอมชะมด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานศึกษาแนวทางการเตรียมความพร้อมด้านตลาดแรงงานเพื่อรองรับการเติบโตของโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งงานวิจัยฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินการและสถานการณ์ความคืบหน้า ปัญหาและอุปสรรค เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงการดำเนินการของโครงการการพัฒนาทักษะบุคลากรตามแนวทางอีอีซีโมเดล (EEC Model) ผ่านแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ ทฤษฎี SWOT Analysis และแนวคิดการเตรียมความพร้อมด้านแรงงาน โดยรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจากเอกสารและสื่อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์เชิงลึก จากกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.ผู้กำหนดนโยบาย 2.ผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ 3.ผู้เข้าร่วมโครงการ ผลการวิจัยพบว่าโครงการพัฒนาทักษะบุคลากร ได้ถูกขับเคลื่อนโดยคณะทำงานด้านการพัฒนาบุคลากร (EEC-HDC) เพื่อดำเนินการเตรียมความพร้อมด้านแรงงานที่มีทักษะสูงผ่านการขับเคลื่อนอุปสงค์ (Demand Driven) โดยทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน การเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรมี 2 รูปแบบ คือ 1.การสร้างคนที่เรียนรู้ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติไปพร้อมกันตามแนวทาง Type A และ 2.การพัฒนาคนผ่านการฝึกอบรมระยะสั้นตามแนวทาง Type B โดยเป้าหมายการเตรียมความพร้อมทางด้านบุคลากรในช่วงปี 2562-2566 กำหนดไว้ที่ 475,866 คน แต่ผลิตบุคลากรได้เพียงร้อยละ 3.8 ของจำนวนดังกล่าว สืบเนื่องจากขาดการประชาสัมพันธ์เชิงรุก สถานการณ์วิกฤติโควิด การขาดฐานข้อมูลความต้องการจำนวนและทักษะของแรงงานที่แท้จริงจากผู้ประกอบการทั้ง 12 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ทั้งนี้ EEC-HDC จำเป็นต้องทำงานร่วมกับผู้ประกอบการอย่างใกล้ชิด จัดตั้งทีมงานคอยติดตามความก้าวหน้าในการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร รวมทั้งสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากองค์กรต่างประเทศที่มีศักยภาพด้านเทคโนโลยีและเงินทุน แนวทางการพัฒนาบุคลากรภายใต้ Type A และ Type B ถือเป็นทางออกในการเตรียมความพร้อมด้านบุคคลากรเพื่อรองรับการสร้างนวัตกรรมในอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีขั้นสูงในพื้นที่ EEC


Challenges In Establishing An Asean Peacekeeping Force, Thanaphat Diewvilai Jan 2022

Challenges In Establishing An Asean Peacekeeping Force, Thanaphat Diewvilai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research consults with the "norm’s life cycle" under international norm dynamics concept to identify and analyze the challenges in establishing an ASEAN Peacekeeping Force. This study argues that the emergent norm of establishing an ASEAN Peacekeeping Force has not yet reached the threshold to transition into the second stage of norm cascade where it is widely embraced by ASEAN member states; and the norm has not reached the stage of norm internalization where it is accepted within the practices of ASEAN. The presence of long-standing and powerful norms within the "ASEAN Way" hinders the advancement and full integration of …


ยุทธศาสตร์การดำเนินนโยบายต่างประเทศของออสเตรเลียต่อจีน ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีสกอตต์ มอร์ริซัน, เจษฎา มีทรัพย์ Jan 2022

ยุทธศาสตร์การดำเนินนโยบายต่างประเทศของออสเตรเลียต่อจีน ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีสกอตต์ มอร์ริซัน, เจษฎา มีทรัพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


การศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการความเครียดของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานรับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ สายด่วน 1567 ศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย, เอกศักดิ์ อุ่นใจ Jan 2022

การศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการความเครียดของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานรับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ สายด่วน 1567 ศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย, เอกศักดิ์ อุ่นใจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง “การศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการความเครียดของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานรับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ สายด่วน 1567 ศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน และหาแนวทางบริหารจัดการความเครียด ด้วยวิธีวิจัยเชิงเอกสารเชิงเปรียบเทียบแนวทางการปฏิบัติที่ดี ตามกรอบแนวคิดการจัดการความเครียดอย่างเป็นระบบ และกรอบแนวคิดการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานแบบผสมผสานมุ่งเน้นความยืดหยุ่น และสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างจากผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน 10 คน ผลการศึกษา พบว่ามีปัจจัยภายในที่อยู่ในขอบเขตอำนาจศูนย์ดำรงธรรมที่ส่งผลต่อความเครียด ได้แก่ (1) ปัจจัยบทบาทหน้าที่ เกี่ยวข้องกับการเป็นเพียงผู้ปฏิบัติตามนโยบาย ความรับผิดชอบกับคำตอบ และ (2) การเป็นตัวกลางในการประสานงาน ส่วนปัจจัยภายนอกที่อยู่นอกขอบเขตอำนาจของศูนย์ดำรงธรรม ได้แก่ (1) ปัจจัยลักษณะงาน เกี่ยวข้องกับการรับสายเป็นเวลานาน การทราบปัญหา แต่ช่วยไม่ได้ และ (2) ปัจจัยผลตอบแทนและสวัสดิการ เกี่ยวข้องกับค่าล่วงเวลา ช่วงเวลาพักหรือเลิกงาน และวันลา วันหยุดประจำปี ทั้งนี้ ภายใต้แนวคิดกรอบการบริหารจัดการเชิงระบบและการทำงานแบบผสมผสานมุ่งเน้นความยืดหยุ่น ศูนย์ดำรงธรรม ควรสร้างแบบประเมินสาเหตุของความเครียดเพื่อหาแนวทางบริหารจัดการ ผู้นำองค์กรควรส่งเสริมการสร้างปฏิสัมพันธ์ทางสังคมแบบสองทาง เพื่อสร้างบรรยากาศการทำงานเป็นทีมที่มุ่งเน้นความยืดหยุ่น เกิดการช่วยเหลือและแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ เพื่อสามารถรับมือกับผู้ร้องทุกข์ สิ่งเร้า และปริมาณงานที่ไม่สามารถควบคุมได้


แรงจูงใจของข้าราชการตำรวจในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ กรณีศึกษา ฝ่ายกิจการต่างประเทศ กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจสันติบาล, กณิศา สุภาแพ่ง Jan 2022

แรงจูงใจของข้าราชการตำรวจในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ กรณีศึกษา ฝ่ายกิจการต่างประเทศ กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจสันติบาล, กณิศา สุภาแพ่ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา แรงจูงใจในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพของข้าราชการตำรวจในสังกัดฝ่ายกิจการต่างประเทศ กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชากาตำรวจสันติบาลในปัจจุบัน เพื่อระบุแรงจูงใจที่ควรได้รับการปรับปรุง พัฒนา และเพื่อส่งผลให้เกิดการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ของข้าราชการตำรวจในสังกัดดังกล่าว โดยผู้วิจัยทำการศึกษาด้วยการสัมภาษณ์ประชากรกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการตำรวจระดับผู้บริหาร และระดับปฏิบัติการ ในสังกัดฝ่ายกิจการต่างประเทศ กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจสันติบาล และผู้ปฏิบัติงานร่วม ผลจากการศึกษาพบว่าแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจในสังกัดฝ่ายกิจการต่างประเทศ กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจสันติบาลให้มีประสิทธิภาพนั้น เกิดจากทั้งปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุน โดยปัจจัยจูงใจที่สำคัญที่สุดคือ การได้รับการยอมรับโดยข้าราชการตำรวจในฝ่ายกิจการต่างประเทศที่มีความรู้ ความสามารถ ความถนัดที่แตกต่างกัน ได้รับการยอมรับจากผู้บังคับบัญชาและได้มอบหมายงานที่ท้าทาย และตรงกับความถนัด ซึ่งทำให้ข้าราชการตำรวจพึงพอใจในการปฏิบัติงาน และส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน นอกจากนี้ปัจจัยค้ำจุนที่สำคัญที่สุดคือ ความสัมพันธ์กับหัวหน้าและเพื่อนร่วมงานโดยผลการศึกษาพบว่าการที่ข้าราชการตำรวจในฝ่ายกิจการต่างประเทศ มีบรรยากาศความสัมพันธ์ที่ดีภายในที่ทำงาน ส่งผลให้เกิดความอยากมาทำงาน และส่งเสริมให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยดี เพราะสามารถสนับสนุนและสื่อสารระหว่างกันภายในฝ่ายได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามการศึกษานี้พบว่า หากปัจจัยด้านความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน เช่น ความชัดเจนของการกำหนดปริมาณงานที่ทำสำเร็จ มาตรฐานของแต่ละงาน แต่ละภารกิจ ลักษณะผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ และที่สำคัญคือการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างตรงไปตรงมาและยุติธรรม และมีรางวัลหรือค่าตอบแทนพิเศษให้แก่ข้าราชการตำรวจ ได้รับการปรับปรุงให้เป็นรูปธรรมและนำไปใช้จริงได้ จะยิ่งส่งเสริมปัจจัยค้ำจุนให้สูงยิ่งขึ้น และผลักดันให้ข้าราชการตำรวจในสังกัดฝ่ายกิจการต่างประเทศ กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจสันติบาลปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย


ความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน ความสุข และภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรกลุ่มวัยเริ่มทำงาน (First Jobber) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.), กมลพร ชนิตสิริกุล Jan 2022

ความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน ความสุข และภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรกลุ่มวัยเริ่มทำงาน (First Jobber) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.), กมลพร ชนิตสิริกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบระดับความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน 2) ศึกษาและเปรียบเทียบระดับความสุขในการทำงาน และ 3) ศึกษาภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรกลุ่มวัยเริ่มทำงาน (First Jobber) ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นการศึกษาแบบผสมผสาน (Mixed-Method Research) โดยการศึกษาเชิงปริมาณได้ศึกษาจากประชากรกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 81 คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ T-test และ One-Way ANOVA สำหรับการศึกษาเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) จำนวน 12 คน โดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า บุคลากรกลุ่มวัยเริ่มทำงาน (First Jobber) ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีระดับความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านสติปัญญามีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และด้านการเงินมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด และปัจจัยด้านสำนัก/กอง ที่แตกต่างกันมีผลต่อระดับความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน ในส่วนของระดับความสุขในการทำงานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านความพึงพอใจในงานมีค่าเฉลี่ยมากที่สุดและด้านความรื่นรมย์ในงานมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด และปัจจัยสำนัก/กอง และอายุงานที่แตกต่างกันมีผลต่อระดับความสุขในการทำงาน โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะหมดไฟในการทำงานบุคลากรกลุ่มวัยเริ่มทำงาน (First Jobber) ได้แก่ ปัจจัยหัวหน้า ผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหาร ปัจจัยเพื่อนร่วมงาน ปัจจัยที่เกี่ยวกับงาน ปัจจัยด้านค่าตอบแทน สวัสดิการ และปัจจัยวัฒนธรรมองค์การ โดยเมื่อเกิดภาวะหมดไฟในการทำงานเลือกที่จะพูดคุยกับเพื่อนร่วมงาน การพักผ่อนทำกิจกรรมอย่างอื่น หรือเอาตัวเองออกมาจากที่ทำงาน ดังนั้น ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่มีต่อสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเพื่อธำรงรักษากลุ่มวัยเริ่มทำงาน (First Jobber) ให้คงอยู่กับองค์การ อาทิ การปรับเปลี่ยนระบบการทำงานให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้นเพื่อลดขั้นตอนการทำงาน การสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวกในการทำงานเพื่อให้เกิดความพึงพอใจส่งผลให้มีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น และการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้บริหารกับบุคลากร


การเติบโตของวิสาหกิจเริ่มต้นของอิสราเอล: การประกอบการเชิงนโยบายและผลกระทบ, กัญญารัตน์ ฤดีสิน Jan 2022

การเติบโตของวิสาหกิจเริ่มต้นของอิสราเอล: การประกอบการเชิงนโยบายและผลกระทบ, กัญญารัตน์ ฤดีสิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาพัฒนาการของวิสาหกิจเริ่มต้นและการดำเนินนโยบายเพื่อสนับสนุนวิสาหกิจเริ่มต้นของประเทศอิสราเอล เพื่อศึกษาบทบาทของผู้ประกอบการนโยบายและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินนโยบายส่งเสริมธุรกิจวิสาหกิจเริ่มต้นของอิสราเอลนับตั้งแต่การก่อตั้งประเทศ โดยใช้แนวคิดการเป็นผู้ประกอบการทางนโยบายเป็นกรอบในการวิเคราะห์ จากการศึกษาพบว่า ผู้ที่ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านเทคโนโลยีและวิสาหกิจเริ่มต้นของอิสราเอล ประกอบด้วยผู้ประกอบการนโยบายที่ทำงานร่วมกัน 3 กลุ่ม คือ ชุมชนเกษตร กองทัพ และรัฐบาล ซึ่งมีคุณลักษณะของการเป็นผู้เข้าใจบริบททางสังคม มีความสามารถในการนิยามปัญหา การสร้างทีม และการประพฤติตนเป็นแบบอย่าง ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ทำให้ผู้ประกอบการนโยบายทั้งสามกลุ่มมองเห็นโอกาสที่เกิดขึ้นจากการเป็นประเทศเกิดใหม่ของอิสราเอล ในการทำงานร่วมกันอย่างเป็นเครือข่ายและฉกฉวยโอกาสจากปัญหาและอุปสรรคด้านภูมิประเทศ ความเป็นพื้นที่ทะเลทราย การขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ ปัญหาจากภัยสงครามที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา และปัญหาเรื่องผู้อพยพ เพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านเทคโนโลยี ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคืออิสราเอลมีระบบนิเวศวิสาหกิจเริ่มต้นดีเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก มีอัตราการเติบโตของธุรกิจวิสาหกิจเริ่มต้นสูง มีธุรกิจวิสาหกิจเริ่มต้นที่เติบโตไปเป็นยูนิคอร์นเพิ่มขึ้นทุกปี มีโครงการทั้งจากภาครัฐและเอกชนในการให้การสนับสนุนในด้านต่าง ๆ แก่ผู้ประกอบการ และมีการร่วมลงทุนในธุรกิจวิสาหกิจเริ่มต้นของอิสราเอลอย่างต่อเนื่อง


ท่าทีของญี่ปุ่นต่อการประชุมสุดยอดระหว่างสหรัฐอเมริกาและเกาหลีเหนือ (ค.ศ.2018-2019), กาญจนา ปานสีนุ่น Jan 2022

ท่าทีของญี่ปุ่นต่อการประชุมสุดยอดระหว่างสหรัฐอเมริกาและเกาหลีเหนือ (ค.ศ.2018-2019), กาญจนา ปานสีนุ่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาศึกษาท่าทีของญี่ปุ่นที่มีต่อการประชุมสุดยอดระหว่างสหรัฐฯ และเกาหลีเหนือระหว่างปี 2018-2019 เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลให้ญี่ปุ่นมีท่าทีไม่เห็นด้วยกับการประชุมสุดยอดระหว่างสหรัฐฯ กับเกาหลีเหนือ เพราะมองว่าการเจรจาไม่ส่งผลให้เกาหลีเหนือเปลี่ยนพฤติกรรมจนทำให้เกิดการปลดอาวุธนิวเคลียร์และยุติโครงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งเป็นหลักประกันความมั่นคงแห่งชาติ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยหลักที่ส่งผลให้ญี่ปุ่นไม่เห็นด้วย กับการประชุมสุดยอดดังกล่าว เกิดจากการรับรู้ (perception) ของรัฐบาลญี่ปุ่นที่มีต่อเกาหลีเหนือ เนื่องจากรัฐบาลญี่ปุ่นหวาดระแวงและมองว่าเกาหลีเหนือเป็นภัยคุกคาม ส่วนนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะก็มีประสบการณ์ทำงานเกี่ยวกับเกาหลีเหนือมาก่อน จึงไม่ไว้วางใจเกาหลีเหนือ ขณะเดียวกันสังคมญี่ปุ่นก็มองว่าเกาหลีเหนือเป็นศัตรูมาตั้งแต่ในอดีต และโกรธเคืองเกาหลีเหนือในประเด็นการลักพาตัวชาวญี่ปุ่น นอกจากนี้ การเข้าหาเกาหลีเหนือของสหรัฐฯ ก็ทำให้ญี่ปุ่น มองว่า เป็นเรื่องที่กระทบต่อระบบพันธมิตรระหว่างญี่ปุ่นกับสหรัฐฯ ทำให้กลไกในการป้องปราม (deterrence) ลดประสิทธิภาพลง และจะเกิดผลกระทบต่อการถ่วงดุลอำนาจ (balance of power) ในภูมิภาค จนอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงและเสถียรภาพภายในของญี่ปุ่น ในการป้องปรามภัยคุกคาม


ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กร:กรณีศึกษาข้าราชการตำรวจ กองการเงิน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กีรติ ฐิติพงศกร Jan 2022

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กร:กรณีศึกษาข้าราชการตำรวจ กองการเงิน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กีรติ ฐิติพงศกร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรกรณีศึกษาข้าราชการตำรวจ กองการเงิน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อวิเคราะห์ระดับความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการตำรวจ กองการเงิน และศึกษาหาแนวทางเพื่อสร้างความผูกพันต่อองค์กร การศึกษาครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการตำรวจ กองการเงิน ขั้นตอนเชิงปริมาณเกี่ยวข้องกับการสำรวจระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์กร ขณะที่ขั้นตอนเชิงคุณภาพจะเป็นการสัมภาษณ์ข้าราชการตำรวจ กองการเงินและข้าราชการตำรวจที่เคยสังกัดกองการเงิน แต่ได้ย้ายไปอยู่หน่วยงานอื่น ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลเกี่ยวกับระดับการทำงาน และระยะเวลาปฏิบัติงานในหน่วยงาน ปัจจัยด้านลักษณะงาน ได้แก่ ความท้าทายในการทำงาน ความก้าวในการทำงาน การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และอาศัยการทำงานเป็นทีม และปัจจัยด้านความพึงพอใจในการทำงาน ได้แก่ เงินเดือนและสวัสดิการ การพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากร สภาพแวดล้อมในการทำงาน ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา และความรู้สึกว่าตนสำคัญต่อองค์กร ส่งผลต่อระดับความผูกพันต่อองค์กรอย่างมีนัยสำคัญ


การนำนโยบายไปปฏิบัติ: กรณีศึกษานโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตมีสิทธิทุกที่ (Universal Coverage For Emergency Patients: Ucep), จามีกร แคนนารี่ Jan 2022

การนำนโยบายไปปฏิบัติ: กรณีศึกษานโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตมีสิทธิทุกที่ (Universal Coverage For Emergency Patients: Ucep), จามีกร แคนนารี่

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัญหาของการนำนโยบาย UCEP ไปปฏิบัติ โดยใช้วิธีการศึกษาจากการค้นคว้าเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สื่อสังคมออนไลน์ และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย UCEP จำนวน 7 คน โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มผู้กำหนดนโยบาย 2) กลุ่มผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ 3) กลุ่มผู้รับประโยชน์จากนโยบาย โดยใช้ทฤษฎีการนำนโยบายไปปฏิบัติจากบนลงล่าง (Top-down Theory of Policy Implementation) ตามตัวแบบกระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติของแวน มีเตอร์ และแวน ฮอร์น ผลการศึกษาพบว่าปัญหาของการนำนโยบาย UCEP ไปปฏิบัติ แบ่งออกเป็น 6 ประเด็นดังนี้ 1) มาตรฐานและวัตถุประสงค์ของนโยบายยังไม่ชัดเจนเท่าที่ควรทั้งในเรื่องของการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ การวินิจฉัยระดับอาการของความฉุกเฉิน และการนำส่งผู้ป่วย 2) ทรัพยากรของนโยบายมีไม่เพียงพอ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างองค์การยังเกิดปัญหา การสื่อสารให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับนโยบายยังไม่ละเอียดครอบคลุม 4) องค์การที่นำนโยบายไปปฏิบัติ มีความพร้อมที่จะนำนโยบายไปปฏิบัติ แต่ยังมีข้อจำกัดในบางเรื่อง 5) เงื่อนไขและทรัพยากรทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจในตัวของนโยบาย UCEP และ 6) ความร่วมมือหรือการตอบสนองของผู้นำนโยบายไปปฏิบัติยังไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกันเท่าที่ควร ผู้วิจัยได้มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการนำนโยบาย UCEP ไปปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพและตอบสนองการต่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยมีข้อเสนอแนะให้มีการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติม การทำนโยบาย CO-PAY การรวมระบบคู่สายต่าง ๆ เพื่อแจ้งเหตุฉุกเฉิน และการจัดโครงการให้ความรู้กับประชาชาเกี่ยวกับนโยบาย UCEP เป็นต้น


บทบาทของสหภาพยุโรปในการจัดการปัญหาการลักลอบอพยพจากแอฟริกามายุโรปในห้วงปี 2017-ปัจจุบัน: กรณีศึกษาเส้นทางเมดิเตอร์เรเนียนตอนกลาง, จารุวรรณ จั่นแจ้ง Jan 2022

บทบาทของสหภาพยุโรปในการจัดการปัญหาการลักลอบอพยพจากแอฟริกามายุโรปในห้วงปี 2017-ปัจจุบัน: กรณีศึกษาเส้นทางเมดิเตอร์เรเนียนตอนกลาง, จารุวรรณ จั่นแจ้ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาบทบาทของสหภาพยุโรปในการจัดการปัญหาการลักลอบอพยพของชาวแอฟริกันไปยังทวีปยุโรปในห้วงปี 2017-ปัจจุบัน มุ่งศึกษาในเส้นทางเมดิเตอร์เรเนียนตอนกลาง ซึ่งมีต้นทางจากประเทศในทวีปแอฟริกาตอนเหนือ ข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปยังประเทศปลายทางในทวีปยุโรปคืออิตาลีและมอลตา โดยจะอธิบายคลอบคลุมถึงสถานการณ์ของปัญหาการอพยพ สาเหตุการอพยพ การดำเนินการของสหภาพยุโรปผ่านการบูรณาการภายในและการส่งเสริมความร่วมมือกับสหภาพแอฟริกาและประเทศในทวีปแอฟริกา ซึ่งเป็นประเทศต้นทาง ตลอดจนศึกษาปัญหาและอุปสรรคต่อการจัดการปัญหาผู้อพยพชาวแอฟริกันภายใต้สภาพแวดล้อมในปัจจุบันที่ทั่วโลกเผชิญปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้สถานการณ์การลักลอบอพยพของชาวแอฟริกันไปยังทวีปยุโรปทวีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งนี้ ผู้วิจัยใช้แนวคิดระบอบระหว่างประเทศ (International Regime) ภายใต้ทฤษฎีเสรีนิยมใหม่เชิงสถาบัน Neoliberal Institutionalism (NI) มาอธิบายในฐานะที่เป็นกลไกที่ทำให้เกิดสถาบันระหว่างประเทศหรือเป็นตัวกลางในการติดต่อประสานงาน วางกติกา หรือกฎหมาย เพื่อจัดระเบียบหรือแก้ไขปัญหาผู้อพยพร่วมกัน


Editor's Talk, Najwa Yanya Santiworakun Jan 2022

Editor's Talk, Najwa Yanya Santiworakun

Halal Insight

No abstract provided.


Message From The Founding Director Of The Halal Science Center Chulalongkorn University Jan 2022

Message From The Founding Director Of The Halal Science Center Chulalongkorn University

Halal Insight

No abstract provided.