Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 661 - 690 of 5570

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

ความรุนแรงบนฐานเพศสภาพในซีรีส์วาย, ปณต สิริจิตราภรณ์ Jan 2022

ความรุนแรงบนฐานเพศสภาพในซีรีส์วาย, ปณต สิริจิตราภรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรุนแรงบนฐานเพศสภาพที่ปรากฏในซีรีส์วาย ผลกระทบจากการนำเสนอความรุนแรงดังกล่าวและแนวทางในการนำเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเพศหลากหลายในซีรีส์วายให้มีความเหมาะสมตามมาตรฐานจริยธรรมสื่อ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ตัวบทซีรีส์วาย รวมถึงสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มนักสิทธิมนุษยชน นักกิจกรรมด้านความเป็นธรรมทางเพศ และกลุ่มผู้ชมที่ทำงานภายใต้เครือข่ายภาคประชาสังคมด้านสิทธิความหลากหลายทางเพศ ที่เป็นบุคคลเพศหลากหลาย ผลการวิจัยพบว่า ความรุนแรงบนฐานเพศสภาพที่ปรากฏในซีรีส์วาย มีดังนี้ 1) การใช้กำลังประทุษร้าย 2) การแสดงออกถึงความเหยียดหยามทางวาจา 3) การกระทำทางเพศอันปราศจากความยินยอม 4) การปฏิบัติต่อคู่รักเสมือนอีกฝ่ายเป็นสมบัติของตน และ 5) การแบ่งแยกบทบาททางเพศ โดยที่ความรุนแรงเหล่านี้มักถูกนำเสนอออกมาในเชิงโรแมนติไซส์ อันเป็นการลดทอนความรุนแรงลง รวมทั้งยังละเลยที่จะถ่ายทอดให้เห็นถึงผลกระทบที่ตามมาของความรุนแรงนั้น ๆ ซึ่งการนำเสนอเช่นนี้ส่งผลกระทบดังนี้ คือ 1) ปัญหาความรุนแรงบนฐานเพศสภาพถูกลดความสำคัญ 2) สร้างภาพจำหรือภาพลักษณ์เหมารวมให้กับกลุ่มบุคคลเพศหลากหลาย 3) สร้างความกดดันแก่บุคคลเพศหลากหลาย ให้พยายามเปลี่ยนแปลงตนเองเพื่อให้ได้รับการยอมรับ และ 4) เรื่องสิทธิต่าง ๆ ของบุคคลเพศหลากหลายถูกละเลย ในส่วนของแนวทางการนำเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเพศหลากหลาย พบว่ามีแนวทางดังนี้ 1) การสร้างสรรค์เนื้อหาสื่อที่เกี่ยวข้องกับบุคคลเพศหลากหลายควรจะมีความหลากหลายมากขึ้น อาทิ ด้านตัวละคร ด้านเนื้อหา 2) สื่อควรนำเสนอประเด็นความรุนแรงบนฐานเพศสภาพออกมาอย่างครอบคลุมรอบด้าน และ 3) การอาศัยความร่วมมือหรือการมีส่วนร่วมจากฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลิตสื่อที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับบุคคลเพศหลากหลายให้มีความสร้างสรรค์


Street Protests In Thailand During 2019 To 2022, Wending Zhang Jan 2022

Street Protests In Thailand During 2019 To 2022, Wending Zhang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The Covid-19 pandemic was adversely affecting Thailand amidst strong attacks especially by the youth groups on the government. The main force of Thai youth protests has made street protests in Thailand different from those of the past. By problematizing this emerging phenomenon, this paper proposes to tackle two research questions. How are the protests in Thailand during the Covid-19 pandemic different from those the past? How does the massive outbreak of protests generate implications for present and future Thailand? Therefore, this paper combines the theories of Radical Politics, Digital Activism and Contentious Politics, adopts qualitative research and quantitative research, mainly …


Credibility Of Travel Influencer On Millennial Traveling Behavior, Papitchayapa Boonsub Jan 2022

Credibility Of Travel Influencer On Millennial Traveling Behavior, Papitchayapa Boonsub

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objectives of this study was to understand the credibility of travel influencers among millennial travelers and how they motivate millennial travelers' travel behavior. It is based on a qualitative methodology that involves use of in-depth interviews. Twelve millennial travelers both domestic and international between the ages of 25 and 40 were interviewed. They had to organize the trip within a year and follow to travel influencers. This study employed a question guideline as the research instrument based on four dimension which are demographics and media usages, attitude towards travel influences, source of credibility, and travel behavior. The findings revealed …


การตกเป็นเหยื่อทางไซเบอร์ของผู้สูงอายุ, ธัญพิชชา สามารถ Jan 2022

การตกเป็นเหยื่อทางไซเบอร์ของผู้สูงอายุ, ธัญพิชชา สามารถ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวงทางไซเบอร์ ปัจจัยที่ทำให้ผู้สูงอายุตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวงทางไซเบอร์ และเพื่อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขการตกเป็นเหยื่อการหลอกลวงทางไซเบอร์ของผู้สูงอายุ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่ตกเป็นเหยื่อการหลอกลวงทางไซเบอร์จำนวน 24 คน ผู้มีส่วนในการหลอกลวงจำนวน 5 คน และเจ้าหน้าที่และนักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือหรือการป้องกันผู้สูงอายุจากการถูกหลอกลวงทางไซเบอร์จำนวน 9 คน ผลการวิจัยแบ่งกลุ่มผู้สูงอายุที่ถูกหลอกลวง ทางไซเบอร์ 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีรูปแบบและปัจจัยที่ทำให้ตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวงแตกต่างกัน คือ 1)ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อการหลอกลวงให้ลงทุน มีรูปแบบการถูกหลอกลวงโดยส่วนใหญ่ถูกชักชวนจากบุคคลที่รู้จักในกลุ่มไลน์ที่เคยลงทุนด้วยกัน หรือพบเห็นโฆษณาเชิญชวนบนสื่อสังคมออนไลน์ โดยมีลักษณะของผลตอบแทนที่สูงเป็นสิ่งจูงใจ มีทั้งการให้ค่าตอบแทนจากการแนะนำสมาชิกใหม่ และไม่มีการให้ค่าตอบแทน ซึ่งผู้ที่มีส่วนในการหลอกลวงเป็นทั้งบุคคลธรรมดา และอยู่ในรูปแบบบริษัทจดทะเบียน ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเป็นเหยื่อพบว่ามี 8 ปัจจัย คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านความโลภ ด้านเทคโนโลยี ด้านการสร้างความน่าเชื่อถือของผู้หลอกลวง ด้านความรู้ความเข้าใจในการลงทุน ด้านสภาพความเป็นอยู่ ด้านการชักชวนให้ลงทุนจากญาติหรือคนรู้จัก และด้านความเชื่อมั่นใจตนเอง 2)ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อการหลอกลวงจากแก๊งคอลเซนเตอร์ มีรูปแบบการหลอกลวงในการสร้างความตกใจกลัว หรือเกิดความโลภ และมีระยะเวลาในการให้ตัดสินใจจำกัด ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเป็นเหยื่อพบว่า มี 4 ปัจจัย คือ ด้านความกลัว ด้านความโลภ ด้านความไม่คุ้นเคยกับเทคโนโลยี และด้านการอยู่เพียงลำพังขณะเกิดเหตุ 3)ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อการซื้อสินค้าออนไลน์ ผู้หลอกลวงจะสร้างโพรไฟล์ให้ดูมีความน่าเชื่อถือ เปิดร้านขายบนสื่อสังคมออนไลน์ และขายผ่านตลาดกลางออนไลน์เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ สินค้าที่หลอกลวงมักจะเป็นสินค้าที่ราคาไม่สูงนัก หรือเป็นสินค้าที่มีราคาถูกกว่าท้องตลาดทั่วไป ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเป็นเหยื่อพบว่ามี 3 ปัจจัยคือ ความไว้วางใจร้านค้าออนไลน์โดยไม่ได้ตรวจสอบ การส่งเสริมการขายที่ผิดปกติ และราคาสินค้าที่มีราคาไม่สูง 4)ผู้สูงอายุที่ตกเป็นเหยื่อการหลอกให้รักทางออนไลน์ มีรูปแบบการใช้จิตวิทยาในการหลอกลวง สร้างความสัมพันธ์ที่ดีและใช้ระยะเวลาในการสร้างความไว้วางใจ เลือกเหยื่อจากการดูโพรไฟล์บนสื่อสังคมออนไลน์ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเป็นเหยื่อพบว่ามี 4 ปัจจัย คือ ความรักความหลง ความน่าเชื่อถือ ด้านความเหงา และความอายของผู้ที่ถูกหลอก โดยการหลอกลวงทั้ง 4 รูปแบบมีปัจจัยร่วมกันคือ ความรู้ไม่เท่าทันการหลอกลวง สำหรับแนวทางการแก้ไขการตกเป็นเหยื่อ ได้แก่ การสร้างความตระหนักให้กับผู้สูงอายุในการรู้เท่าทันถึงรูปแบบการหลอกลวงทางไซเบอร์ การระมัดระวังการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวผู้อื่นที่ไม่รู้จัก การให้คำปรึกษาในกลุ่มของครอบครัว การจัดตั้งเครือข่ายกลุ่มผู้สูงอายุเพื่อเผยแพร่ข่าวสารการหลอกลวงทางไซเบอร์ ความร่วมมือของภาคเอกชนผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในการปิดกันช่องทางการหลอกลวงจากผู้หลอกลวง ตลอดจนหน่วยงานของรัฐในการออกมาตรการทางกฎหมายตลอดจนการบังคับใช้อย่างเคร่งครัด


ความยากจนในผู้สูงอายุไทย: การเปลี่ยนแปลงและปัจจัยเสี่ยง, สุพนิดา จิระสินวรรธนะ Jan 2022

ความยากจนในผู้สูงอายุไทย: การเปลี่ยนแปลงและปัจจัยเสี่ยง, สุพนิดา จิระสินวรรธนะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความยากจนของผู้สูงอายุไทยและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความยากจนของผู้สูงอายุไทยในปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทยปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 และศึกษาความยากจนของครัวเรือนผู้สูงอายุไทยและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความยากจนของครัวเรือนผู้สูงอายุไทยในปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ผลการศึกษาเปรียบเทียบความยากจนของผู้สูงอายุไทยระหว่างปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 พบว่าสัดส่วนผู้สูงอายุไทยที่ยากจนลดลงจากร้อยละ 39.0 ในปี พ.ศ.2560 เป็นร้อยละ 34.1 ในปี พ.ศ.2564 โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความยากจนของผู้สูงอายุไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งในปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 ประกอบด้วย อายุ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส เขตที่อยู่อาศัย สถานภาพการทำงาน สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล และรูปแบบการอยู่อาศัย และพบว่าแต่ละปัจจัยมีความสัมพันธ์กับความยากจนของผู้สูงอายุไทยในทิศทางเดียวกันทั้งในปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 ในขณะที่ปัจจัยด้านเพศและการพึ่งพิงรวมมีความสัมพันธ์กับความยากจนของผู้สูงอายุไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเฉพาะในปี พ.ศ.2560 เท่านั้น และผลการศึกษาเปรียบเทียบความยากจนของครัวเรือนผู้สูงอายุไทยระหว่างปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 พบว่าสัดส่วนครัวเรือนผู้สูงอายุไทยที่ยากจนลดลงจากร้อยละ 11.5 ในปี พ.ศ.2560 เป็นร้อยละ 8.5 ในปี พ.ศ.2564 โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความยากจนของครัวเรือนผู้สูงอายุไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งในปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 ประกอบด้วย อายุหัวหน้าครัวเรือน จำนวนสมาชิกครัวเรือน การพึ่งพิงรวม ระดับการศึกษา และเขตที่อยู่อาศัย และพบว่าแต่ละปัจจัยมีความสัมพันธ์กับความยากจนของครัวเรือนผู้สูงอายุไทยในทิศทางเดียวกันทั้งในปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 ยกเว้นอายุของหัวหน้าครัวเรือนที่มีความสัมพันธ์กับความยากจนของครัวเรือนผู้สูงอายุไทยในทิศทางตรงข้ามกันระหว่างปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 ในขณะที่ปัจจัยด้านสถานภาพสมรสของหัวหน้าครัวเรือนมีความสัมพันธ์กับความยากจนของครัวเรือนผู้สูงอายุไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเฉพาะในปี พ.ศ.2560 เท่านั้น


การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภาพแรงงานและค่าจ้างระหว่างภาคของประเทศไทย, สันติ ปะมะโข Jan 2022

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภาพแรงงานและค่าจ้างระหว่างภาคของประเทศไทย, สันติ ปะมะโข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภาพแรงงานและค่าจ้างระหว่างภาคของประเทศไทย การศึกษาส่วนใหญ่วิเคราะห์เพียงรายประเทศและรายสาขาการผลิตเท่านั้น ประเทศไทยยังขาดการศึกษาในรายภูมิภาค ซึ่งตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตระหว่างภาค (Multi-Regional Input-Output Table : MRIO) สามารถให้รายละเอียดข้อมูลได้ทั้งรายภูมิภาคและรายสาขาการผลิต แต่เนื่องจากตารางดังกล่าวยังขาดข้อมูลในด้าน “จำนวนแรงงาน” การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อจำแนกข้อมูลผลผลิต จำนวนแรงงาน และค่าจ้าง รายภูมิภาคและรายสาขาการผลิต โดยใช้นิยามจากตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตระหว่างภาค และแบ่งแรงงานเป็นประเภทมีฝีมือและไร้ฝีมือ สัดส่วนทุนต่อแรงงาน ผลิตภาพแรงงาน และค่าจ้าง 2) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภาพแรงงานและค่าจ้าง รายภูมิภาคและรายสาขาการผลิต 3) เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบต่อการจ้างงานรายภูมิภาคและรายสาขาการผลิต หากอุปสงค์ขั้นสุดท้าย (Final Demand) ของประเทศเปลี่ยนแปลงไป ผลการศึกษาพบว่า ภาคตะวันออก โดยเฉพาะสาขาอุตสาหกรรมมีความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภาพแรงงานและค่าจ้างสูง ส่วนใหญ่จะมีลักษณะของแรงงานประเภทมีฝีมือสอดรับกับสัดส่วนทุนต่อแรงงาน และเมื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงอุปสงค์ขั้นสุดท้าย หากอุปสงค์ขั้นสุดท้ายเปลี่ยนแปลงไป จะส่งผลกระทบต่อการจ้างงานสูงใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะสาขาการปศุสัตว์เมื่อวิเคราะห์ความเชื่อมโยงไปข้างหลัง (Backward Linkage) และสาขาการทำไร่มันสำปะหลังเมื่อวิเคราะห์ความเชื่อมโยงไปข้างหน้า (Forward Linkage)


Study On China-Myanmar Relations After The Myanmar’S Democratic Transformation, Yingting Guo Jan 2022

Study On China-Myanmar Relations After The Myanmar’S Democratic Transformation, Yingting Guo

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Myanmar has a special geographical location, connecting East Asia, Southeast Asia and South Asia. It is located at the intersection of China, India and ASEAN,facing the Andaman Sea (Indian Ocean) in the west and the South China Sea (Pacific Ocean) in the east, which has significant geostrategic significance. For China,Myanmar is an vital part of its neighborhood diplomacy and an essential country along the Belt and Road Initiative. Therefore, in the context of Myanmar's"democratic" reform, it is of great significance to analyze Myanmar's policy towards China and the test of changes and unchanging relations between China and Myanmar. Since the …


China's Influence On Laos' Infrastructure Investment And Lao People's Views On It - The Case Study Of China-Laos Railway, Ziying Cheng Jan 2022

China's Influence On Laos' Infrastructure Investment And Lao People's Views On It - The Case Study Of China-Laos Railway, Ziying Cheng

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This paper addresses the following question: "Given that China's economic contribution to the China-Laos Railway project is greater than Laos', will China have greater influence in the project than Laos?" In recent years, China and Laos have developed increasingly close relations. In addition, the China-Laos railway has been completed by the end of 2021 as a result of China's continued implementation of its "One Belt, One Road" policy. In the first section of the article, this context is described in detail. Laos has always been the only landlocked nation on the Indo-China Peninsula, and the construction of railways within its …


Millennial Consumers' Behavior On Purchasing Amulet Jewelry, Nuanhatai Tantayotai Jan 2022

Millennial Consumers' Behavior On Purchasing Amulet Jewelry, Nuanhatai Tantayotai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this research is to study millennial consumers’ behavior on purchasing amulet jewelry. Qualitative method was used to collect data from 15 Thai Generation Y females, aged between 25 and 34 years old, living in Bangkok, Thailand, and purchased amulet jewelry at least once within the year 2022. The findings indicate that millennial consumers spend over eight hours per day on social media. They prefer online marketing communication content that is short, precise, and easy to understand. In term of beliefs, consumers believe that wearing amulet jewelry can make them confident, enhance their prosperity and fortune, help businesses …


อิทธิพลของการเปิดรับการสื่อสารของผู้มีอิทธิพลทางความคิด ภาวะกลัวตกกระแสจากสื่อสังคมออนไลน์ที่มีต่อความตั้งใจซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, พัณณ์ชิตา สุประการ Jan 2022

อิทธิพลของการเปิดรับการสื่อสารของผู้มีอิทธิพลทางความคิด ภาวะกลัวตกกระแสจากสื่อสังคมออนไลน์ที่มีต่อความตั้งใจซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, พัณณ์ชิตา สุประการ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษาการเปิดรับการสื่อสารของผู้มีอิทธิพลทางความคิดที่มีเนื้อหาเพื่อสิ่งแวดล้อม ภาวะกลัวตกกระแส ภาวะความสุขจากการตกกระแส ความอ่อนล้าจากสื่อสังคมออนไลน์ และความตั้งใจซื้อสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อม (2) เพื่อสำรวจอิทธิพลของการเปิดรับการสื่อสารของผู้มีอิทธิพลทางความคิดที่มีเนื้อหาเพื่อสิ่งแวดล้อม ภาวะกลัวตกกระแส ภาวะความสุขจากการตกกระแส และความอ่อนล้าจากสื่อสังคมออนไลน์ ที่มีต่อความตั้งใจซื้อสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อม ผู้วิจัยศึกษาโดยใช้แบบสอบถามสำรวจแบบออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นช่วงอายุ 18 – 43 ปี โดยวิเคราะห์ด้วยวิธีการสถิติการวิเคราะห์การถดถอยแบบเส้นตรงพหุคูณ (Multiple Linear Regression) ซึ่งผลการวิจัยพบว่าการเปิดรับการสื่อสารของผู้มีอิทธิพลทางความคิด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.32 ภาวะกลัวตกกระแสจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.36 ภาวะมีความสุขจากการตกกระแสจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.92 ภาวะอ่อนล้าจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.81 และความตั้งใจซื้อสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภค มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ โดยการเปิดรับการสื่อสารจากผู้มีอิทธิพลทางความคิดที่มีเนื้อหาเพื่อสิ่งแวดล้อม มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นตราสินค้าสามารถนำผลการวิจัยนี้มาประยุกต์เป็นกลยุทธ์การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ด้วยการใช้ผู้มีอิทธิพลทางความคิดที่มีเนื้อหาเพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อทำให้การสื่อสารการตลาดของตราสินค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น


ทัศนคติต่อโฆษณาแฝงในเนื้อหาในบริการโอทีทีแบบเก็บค่าสมาชิกการหลีกเลี่ยงโฆษณา การยอมรับด้านสิทธิ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค, มัควัฒน์ บุญอาจ Jan 2022

ทัศนคติต่อโฆษณาแฝงในเนื้อหาในบริการโอทีทีแบบเก็บค่าสมาชิกการหลีกเลี่ยงโฆษณา การยอมรับด้านสิทธิ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค, มัควัฒน์ บุญอาจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจการเปิดรับ ทัศนคติต่อโฆษณาแฝงในเนื้อหาในบริการโอทีทีแบบเก็บค่าสมาชิก การหลีกเลี่ยงโฆษณา การยอมรับด้านสิทธิ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค 2) อธิบายความแตกต่างของทัศนคติต่อโฆษณาแฝงในเนื้อหาในบริการโอทีทีแบบเก็บค่าสมาชิก การหลีกเลี่ยงโฆษณา การยอมรับด้านสิทธิ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษาแตกต่างกันและ 3) อธิบายอิทธิพลของทัศนคติต่อโฆษณาแฝงในเนื้อหาในบริการโอทีทีแบบเก็บค่าสมาชิก การหลีกเลี่ยงโฆษณา การยอมรับด้านสิทธิ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค เป็นการวิจัยเชิงปริมาณในรูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูล จำนวนรวม 200 คน วิเคราะห์ด้วยสถิติอ้างอิงเพื่อทดสอบความแตกต่างด้วยวิธีวิเคราะห์ t-test และ One Way ANOVA ทดสอบอิทธิพลของตัวแปรด้วยวิธีการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Linear Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างรับชมเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิกด้วยโทรศัพท์สมาร์ทโฟนมากที่สุด มีความถี่ในการรับชมเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิกเฉลี่ย 4 วันต่อสัปดาห์ และในแต่ละวันรับชม 2-3 ชั่วโมง มีทัศนคติโดยรวมต่อโฆษณาแฝงในเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิกอยู่ในระดับปานกลาง มีพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงโฆษณาแฝงในเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิกโดยรวมอยู่ในระดับบางครั้ง มีการยอมรับด้านสิทธิของผู้บริโภคโดยรวมต่อโฆษณาแฝงจากการรับชมเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิกอยู่ในระดับมาก และมีความตั้งใจซื้อสินค้าหรือบริการโฆษณาแฝงจากการรับชมเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิกโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานสรุปได้ว่า ผู้บริโภคที่มีเพศและระดับการศึกษาแตกต่างกันมีพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงการรับชมโฆษณาแฝงในเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิกแตกต่างกัน และอายุแตกต่างกันมีทัศนคติต่อโฆษณาแฝงในเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิกแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้พบว่า ทัศนคติต่อโฆษณาแฝงในเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิก (β = 0.516) มีอิทธิพลเชิงบวก ในขณะที่พฤติกรรมการหลีกเลี่ยงการรับชมโฆษณาแฝงจากการรับชมเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิก (β = -0.128) มีอิทธิพลเชิงลบต่อการตั้งใจซื้อสินค้าโฆษณาแฝงจากการรับชมเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การสื่อสารอัตลักษณ์ของผู้เข้าร่วมงานเทศกาลดนตรี Wonderfruit, วรณัน ปิญญาวงค์ Jan 2022

การสื่อสารอัตลักษณ์ของผู้เข้าร่วมงานเทศกาลดนตรี Wonderfruit, วรณัน ปิญญาวงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของการศึกษาเกี่ยวกับการสื่อสาร อัตลักษณ์ และประสบการณ์อัตลักษณ์ของผู้เข้าร่วมเทศกาลดนตรี Wonderfruit จากการรวบรวมและศึกษาข้อมูลด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพผ่านการวิเคราะห์รูปแบบและวิธีการสื่อสารอัตลักษณ์รวมถึงตัวตนรวมถึงการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เข้าร่วมงาน ผลการวิจัยพบว่า การสื่อสารอัตลักษณ์และประสบการณ์ตัวตนของผู้เข้าร่วมเทศกาลดนตรีแบ่งออกเป็น เป็น 2 ระยะ มีสองบทบาทในการสื่อสารตัวตนของผู้เข้าร่วมงาน Wonderfruit: กลุ่มที่ 1 เป็นตัวตนของ "ผู้นำ" และ "อิสระ" สำหรับผู้เข้าร่วมที่ค้นหาข้อมูลการเข้าร่วมด้วยตนเอง มีอำนาจคัดเลือกกลั่นกรองข้อมูล สามารถคิด วิเคราะห์ รวบรวมข้อมูลที่จำเป็นต่อการเข้าร่วมเทศกาลดนตรีได้ด้วยตนเอง และกลุ่มที่ 2 ตัวตนของผู้เข้าร่วมเทศกาลดนตรีในฐานะ "ผู้พึ่งพา" และ "เพื่อน" กลุ่มผู้เข้าร่วมที่มีเพื่อนและบุคคลใกล้ชิดต้องการข้อมูลเกี่ยวกับเทศกาลดนตรี Wonderfruit กลุ่มนี้มักจะได้รับข้อมูลจากเพื่อนและคนใกล้ชิด ประสบการณ์ตัวตนของผู้เข้าร่วม จากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เข้าร่วมงาน Wonderfruit ส่วนใหญ่ พบว่าผู้เข้าร่วมมีประสบการณ์ทั้งหมด 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ ประสบการณ์ตัวตนของการเป็น “การมีปฎิสัมพันธ์กับเพื่อน” และ “คนรักเพื่อน” ข้อสุดท้ายคือประสบการณ์ตัวตนของการเป็น “ผู้แสวงหาประสบการณ์ใหม่ทางดนตรี” คือเน้นสัมผัสหรือเข้าร่วมดูสถานที่ โปรดักชั่น บรรยากาศด้วยตนเอง ผู้เข้าร่วมกำลังแสวงหาความรู้ใหม่ทางดนตรี ฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ ผู้เข้าร่วมเทศกาลดนตรีกลุ่มนี้ต้องการสัมผัสประสบการณ์ดนตรีใหม่ๆ พร้อมที่จะเรียนรู้และแสวงหาเพิ่มเติม


การศึกษาภาวะผู้นำ กรณีศึกษา ซีรีส์โทรทัศน์อเมริกา เรื่อง 9-1-1, เพชรรพี รังษี Jan 2022

การศึกษาภาวะผู้นำ กรณีศึกษา ซีรีส์โทรทัศน์อเมริกา เรื่อง 9-1-1, เพชรรพี รังษี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

หน่วยปฏิบัติงานดับเพลิงถือเป็นหน่วยงานภาครัฐหน่วยงานหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่งต่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนในสังคม และเพื่อลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยที่อาจจะส่งผลกระทบในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนให้น้อยที่สุด ด้วยเหตุนี้ ภาวะผู้นำของผู้บังคับบัญชาจึงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการปฏิบัติภารกิจให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จึงเป็นที่มาของการศึกษาวิจัยเรื่อง การศึกษาภาวะผู้นำ กรณีศึกษา ซีรีส์โทรทัศน์อเมริกา 9-1-1 การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาพฤติกรรมภาวะผู้นำของตัวละคร Robert Wade Nash (Bobby) หัวหน้าหน่วยปฏิบัติงานดับเพลิง สถานีที่ 118 จากซีรีส์โทรทัศน์อเมริกา 9-1-1 ทั้งในภาวะปกติ และภาวะวิกฤต โดยวิเคราะห์ผ่านแนวคิดภาวะผู้นำตามแนวคิดตาข่ายการจัดการ (The Managerial Grid) ของ Robert Blake และ Jane Mouton (1964) ผลการศึกษาพบว่า ตัวละครโรเบิร์ต นาช หรือบ๊อบบี้ หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการกู้ภัย สถานีที่ 118 ประจำเมืองลอสแองเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ได้แสดงออกซึ่งพฤติกรรมภาวะผู้นำแบบ 9,9 หรือผู้นำที่เน้นความเป็นทีม ทั้งหมด 54 ตอน นับเป็น 87.09% จากจำนวนตอนทั้งหมดที่ได้มีตัวละครบ๊อบบี้ปรากฏขึ้น โดยลักษณะพฤติกรรมภาวะผู้นำรองลงมาเป็นผู้นำในรูปแบบ 1,9 หรือผู้นำที่เน้นการจัดการแบบสมาคม ทั้งหมด 4 ตอน และบ๊อบบี้ได้แสดงออกซึ่งพฤติกรรมแบบ1,9 และ 5,5 แบบละ 2 ตอน จากลักษณะพฤติกรรมเช่นนี้ ส่งผลให้ตัวบ๊อบบี้สามารถบริหารจัดการภายใต้ภาวะวิกฤตได้ดี ทั้งยังได้รับความยกย่องยอมรับ และเป็นที่รักของสมาชิกในองค์การเสมอมา


แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรภาครัฐที่ส่งผลให้เกิดสมรรถนะในการสร้างสรรค์นวัตกรรมกรณีศึกษา: สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน), รัฐพล วงศาโรจน์ Jan 2022

แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรภาครัฐที่ส่งผลให้เกิดสมรรถนะในการสร้างสรรค์นวัตกรรมกรณีศึกษา: สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน), รัฐพล วงศาโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ใน สนช. เกี่ยวกับแรงจูงใจในการทำงานและสมรรถนะในการสร้างนวัตกรรม ตลอดจนวิเคราะห์แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการที่ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ด้านนวัตกรรม ผลการศึกษาพบว่าแรงจูงใจในการทำงานของ สนช. โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และจากการศึกษาสมรรถนะด้านนวัตกรรมของ สนช. พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก ตลอดจนปัจจัยด้านแรงจูงใจในการทำงาน มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะในการสร้างนวัตกรรม พบว่ามีตัวแปรอิสระเพียง 2 ตัวจาก 10 ตัวแปรที่ส่งผลต่อความสามารถทางนวัตกรรมของ สนช. สำหรับข้อเสนอแนะควรได้รับการประกาศโดยสำนักงานการยกย่องพร้อมทั้งเพิ่มค่าตอบแทนและควรพัฒนากระบวนการคัดเลือกและกลั่นกรองรวมถึงกรองแนวคิดใหม่ ๆ ซึ่งสภาพการทำงานที่เอื้ออำนวยสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม


ประสบการณ์การฟื้นคืนได้ของญาติผู้ดูแลที่ฝึกเจริญสติปัฏฐาน 4 และดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, พิมลวรรณ บุนนาค Jan 2022

ประสบการณ์การฟื้นคืนได้ของญาติผู้ดูแลที่ฝึกเจริญสติปัฏฐาน 4 และดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, พิมลวรรณ บุนนาค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแนวปรากฏการณ์วิทยาแบบตีความเพื่อทำความเข้าใจประสบการณ์การฟื้นคืนได้ของญาติผู้ดูแลที่ฝึกเจริญสติปัฏฐาน 4 และดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ผู้ให้ข้อมูลเป็นญาติผู้ดูแลหลักของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเลือกจำนวน 7 คน เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีคำถามกึ่งโครงสร้าง ผลการศึกษาพบประสบการณ์การฟื้นคืนได้ของญาติผู้ดูแลที่ฝึกเจริญสติปัฏฐานสี่ 3 ประเด็นหลัก กล่าวคือ ประเด็นหลักที่ 1 ชีวิตเริ่มต้นเสียสมดุล มี 4 ประเด็นย่อยได้แก่ 1.1) เครียด หงุดหงิดง่าย จากการดูแล 1.2) เหนื่อยล้า เกิดปัญหาสุขภาพ 1.3) อึดอัด ขาดสังคม ไม่ได้ทำสิ่งที่เคยทำ และ 1.4) คนรอบข้างไม่เข้าใจ ไม่สนับสนุนช่วยเหลือ ประเด็นหลักที่ 2 ฟื้นคืนด้วยสติ ใจสงบสุข อ่อนโยนมีเมตตา มี 3 ประเด็นย่อยได้แก่ 2.1) สติทำให้รู้เท่าทัน ควบคุมอารมณ์ได้ 2.2) สมาธิรักษาใจให้สุขสงบ ใจมีพลัง และ 2.3) จิตใจอ่อนโยน มีเมตตา และประเด็นหลักที่ 3 ฟื้นคืนด้วยปัญญา เข้าใจสัจธรรมชีวิตและเติบโตทางธรรม มี 3 ประเด็นย่อยได้แก่ 3.1) เกิดสัมปชัญญะ ระลึกรู้เท่าทันความเป็นจริง 3.2) มองเห็นความไม่เที่ยง เข้าใจชีวิต เติบโตทางธรรม และ 3.3) ปล่อยวาง จิตคลายจากความยึดมั่นถือมั่น


ความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับการสนับสนุนทางด้านอาชีพจากพ่อแม่ เพื่อน และอัตลักษณ์ทางอาชีพโดยมีการรับรู้ความสามารถของตนเองในการตัดสินใจเลือกอาชีพเป็นตัวแปรส่งผ่าน, อรรัชดา เตชะสกลกิจกูร Jan 2022

ความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับการสนับสนุนทางด้านอาชีพจากพ่อแม่ เพื่อน และอัตลักษณ์ทางอาชีพโดยมีการรับรู้ความสามารถของตนเองในการตัดสินใจเลือกอาชีพเป็นตัวแปรส่งผ่าน, อรรัชดา เตชะสกลกิจกูร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับการสนับสนุนทางด้านอาชีพจากพ่อแม่ การได้รับการสนับสนุนทางด้านอาชีพจากเพื่อน และอัตลักษณ์ทางอาชีพด้านการค้นหาและการตกลงยึดมั่น โดยมีการรับรู้ความสามารถของตนเองในการตัดสินใจเลือกอาชีพเป็นตัวแปรส่งผ่าน ผู้เข้าร่วมการวิจัยคือผู้ใหญ่วัยเริ่มที่มีอายุระหว่าง 22-30 ปี จำนวน 151 คน จากการวิเคราะห์ตัวแปรส่งผ่านพบว่า การรับรู้ความสามารถของตนเองในการตัดสินใจเลือกอาชีพไม่เป็นตัวแปรส่งผ่านในความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับการสนับสนุนทางด้านอาชีพจากพ่อแม่และอัตลักษณ์ทางอาชีพทั้งด้านการค้นหา (β = .08, 95% ของช่วงชั้นความเชื่อมั่น [-.006, .045]) และการตกลงยึดมั่น (β = .09, 95% ของช่วงชั้นความเชื่อมั่น [-.012, .072]) แต่เป็นตัวแปรส่งผ่านในความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับการสนับสนุนทางด้านอาชีพจากเพื่อนและอัตลักษณ์ทางอาชีพทั้งด้านการค้นหา (β = .13, 95% ของช่วงชั้นความเชื่อมั่น [.015, .086]) และการตกลงยึดมั่น (β = .16, 95% ของช่วงชั้นความเชื่อมั่น [.013, .134]) อีกทั้งการได้รับการสนับสนุนทางด้านอาชีพจากพ่อแม่ (β = .25, p < .001) และการได้รับการสนับสนุนทางด้านอาชีพจากเพื่อน (β = .16, p < .05) มีอิทธิพลทางตรงต่ออัตลักษณ์ทางอาชีพด้านการค้นหา ในขณะที่การได้รับการสนับสนุนทางด้านอาชีพจากพ่อแม่มีอิทธิพลทางตรงต่ออัตลักษณ์ทางอาชีพด้านการตกลงยึดมั่น (β = .30, p < .001) แต่การได้รับการสนับสนุนทางด้านอาชีพจากเพื่อนไม่มีอิทธิพลทางตรงต่ออัตลักษณ์ทางอาชีพด้านการตกลงยึดมั่น (β = -.10, p > .05) แสดงให้เห็นว่า เมื่อบุคคลได้รับการสนับสนุนทางด้านอาชีพจากพ่อแม่จะส่งผลทางตรงให้บุคคลสนใจในการค้นหาอาชีพและตกลงยึดมั่นกับอาชีพเพิ่มขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องเกิดการรับรู้ความสามารถของตนเองในการตัดสินใจเลือกอาชีพก่อน ในขณะเดียวกัน เมื่อบุคคลได้รับการสนับสนุนทางด้านอาชีพจากเพื่อนจะส่งผลให้บุคคลพัฒนาการรับรู้ความสามารถของตนเองในการเลือกอาชีพ และส่งผลต่อเนื่องให้บุคคลเกิดอัตลักษณ์ทางอาชีพด้านการค้นหาและการตกลงยึดมั่น


ภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิด ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคซีรีส์วาย, ธีระเดช พรหมมะ Jan 2022

ภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิด ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคซีรีส์วาย, ธีระเดช พรหมมะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่อง “ภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิด ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคซีรีย์วาย” ใช้ระเบียบวิธีแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ในรูปแบบเชิงคุณภาพ (Qualitative) และเชิงปริมาณ (Quantitative) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิดซีรีส์วาย ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิดของซีรีส์วายและทัศนคติต่อองค์ประกอบซีรีส์วายของผู้บริโภค และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิดของซีรีส์วายและพฤติกรรมของผู้บริโภค การศึกษาครั้ง ได้ศึกษาซีรีส์วายทั้งหมด 3 ประเทศแหล่งกำเนิด ได้แก่ ซีรีส์วายประเทศไทย ซีรีส์วายประเทศญี่ปุ่น และซีรีส์วายประเทศเกาหลีใต้ โดยมีการเก็บข้อมูลใน 2 รูปแบบได้แก่การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Dept Interview) จากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านซีรีส์วายหรือผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมซีรีส์วาย ทั้งหมด 4 คน ซึ่งบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกัน ได้แก่ ผู้ผลิต สื่อ นักการตลาด และนักวิชาการ ในส่วนของเชิงปริมาณใช้เครื่องมือแบบสอบถามออนไลน์ในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการรับชมซีรีส์วาย โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 400 คน งานวิจัยครั้งนี้ใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Person’s Product Moment Correlation Coefficient) เพื่อใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน ผลการวิจัยพบว่า ภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิดซีรีส์วาย มีความสัมพันธ์กับทัศนคติของผู้บริโภคต่อองค์ประกอบซีรีส์วายโดยตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันในระดับสูง และภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิดของซีรีส์วายมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคโดยตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันในระดับต่ำ


An Analysis Of Success And Popularity Of Thai Boy Love Series Among Chinese Fan, Yueying Zheng Jan 2022

An Analysis Of Success And Popularity Of Thai Boy Love Series Among Chinese Fan, Yueying Zheng

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The Thai Boys Love series has gained popularity since the 2010s, notably in China. Chinese fans have demonstrated their ability to popularize the Thai Boys Love series by translating and reediting the material, as well as by purchasing goods promoted by their favorite celebrities and going to events hosted by the brands. This research aims to examine the success and popularity of the Thai Boys Love series among Chinese fans and to analyze Chinese fandom and fan economy, as well as their economic effect. As a result, this research used a mixed methodology that included textual analysis on the text …


Factors Associated With And Impacting Coming Out For Sexual Identity Minorities In The United States, Matthew Robert Kusen Jan 2022

Factors Associated With And Impacting Coming Out For Sexual Identity Minorities In The United States, Matthew Robert Kusen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aims to explore socio-demographic and other individual factors potentially associated with the probability of coming out as Lesbian, Gay, Bisexual, Queer and other sexual identities (LGBQ+) to friends and family and the probability of being outed as LGBQ+ to family members before being ready or without consent in the United States (UCS). This research analyzed quantitative data from the 2016-17 Generations Study, a nationally representative population-based survey collecting information from LGBQ+ persons residing across the US (N=1,416), and employed both descriptive and multivariate analyses, using the logistic regression model and the Cox proportional hazard model. Several factors were …


Southeast Asian Ministers Of Education Organization (Seameo) 'S Role In Digitalisation For Vocational Education Development : A Comparative Analysis Of Indonesia And Thailand, Anastasia Sylvia Jan 2022

Southeast Asian Ministers Of Education Organization (Seameo) 'S Role In Digitalisation For Vocational Education Development : A Comparative Analysis Of Indonesia And Thailand, Anastasia Sylvia

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis focuses on the role of the SEAMEO (Southeast Asian Ministers of Education Organization) role in vocational education development in Industry 4.0. Nowadays, there is a demand for the education sector to align with Industry 4.0, known as Education 4.0. In 2018, the SEAMEO, in collaboration with the GIZ, launched a Regional In-Service Training Modules project to support vocational education for Education 4.0. This study compares the impact of the Regional In-Service Training Modules project in two countries with a medium level of education performance in Southeast Asia: Indonesia and Thailand. This study employs a qualitative method with a …


Intersectionality And Livelihoods Of Conflict-Induced Displaced Myanmar Women In Mae Sot, Thailand, Su Myat Thwe Jan 2022

Intersectionality And Livelihoods Of Conflict-Induced Displaced Myanmar Women In Mae Sot, Thailand, Su Myat Thwe

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The Sustainable Development Goals Report (2022) highlighted the global displacement crisis as 24.5 million population impacted by conflict by mid-2021; 311 out of every 100,000 people worldwide seeking refuge outside their country of origin[1]. The cycle of migration to Thailand from Myanmar has a special history with many intersecting factors of forced migration and a new trend emerges following 1st February 2021: only 1,527 cases in 9 shelters[2]; 986,670 regularized as migrant workers in 2021[3]; tens of thousands of unrecorded. The role of Myanmar’s unsung heroines cannot go forgotten. From a sociocultural conservative country with a constitution drafted by a …


Factors Influencing People’S Behavioral Motivation To Travel For Sport Tourism In Thailand, Lingjuan Liu Jan 2022

Factors Influencing People’S Behavioral Motivation To Travel For Sport Tourism In Thailand, Lingjuan Liu

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Sport tourism is a combination of sport and tourism that has gained increasing attention among multiple parties, government, academics, and market participants. Sport tourism has showed a positive business outlook that can support Thai tourism sector’s sustainable development. However, current research is more focused on the concept of sport tourism, less emphasized on sport tourist’s motivation. This study used quantitative method with the tool of ordered logit regression and descriptive analysis with figures and tables to investigate the factors that can influence people’s motivation to travel for sport tourism in Thailand. A questionnaire including questions related to social demographic, travel …


การนำนโยบายแก้ไขปัญความยากจนในมิติด้านรายได้ของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาอำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี, ศศิวิมล อ้นนา Jan 2022

การนำนโยบายแก้ไขปัญความยากจนในมิติด้านรายได้ของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาอำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี, ศศิวิมล อ้นนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำนโยบายไปปฏิบัติ รวมทั้งปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี โดยการใช้รูปแแบบการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้เทคนิคการวิจัยเอกสาร การสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ให้สัมภาษณ์ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในศจพ.อำเภอ และประชาชนครัวเรือนเป้าหมายผู้ตกเกณฑ์ยากจน มิติด้านรายได้ รวม 12 คน ผลจากการศึกษาวิจัยพบว่า ศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอำเภอมีสมรรถนะหลักขององค์การทั้ง 5 ประการ ตามตัวแบบการจัดการ (Management Model) ซึ่งมีผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติทั้งในด้านผลสำเร็จ ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการ ได้แก่ 1) ด้านโครงสร้างองค์การ มีทีมพี่เลี้ยงที่ประกอบไปด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำในชุมชน ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่และรายครัวเรือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) ด้านสถานที่การดำเนินการมีความสะดวก เอื้อต่อการทำกิจกรรมของเจ้าหน้าที่และครัวเรือนเป้าหมาย 3) ด้านบุคลากรบางส่วนมีความรู้ ความเข้าใจ และความพร้อมในการปฏิบัติงาน แต่การบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องยังไม่เพียงพอต่อการขับเคลื่อนศจพ.อำเภอในภาพรวม 4) ด้านอุปกรณ์และเครื่องมือ มีระบบ TPMAP ที่ยังมีข้อบกพร่องในเกณฑ์ตัวชี้วัดบางรายการ และอุปกรณ์ในการส่งเสริมการประกอบอาชีพยังไม่ตรงต่อปัญหาและความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง และ 5) ด้านงบประมาณ ศจพ.อำเภอไม่มีงบประมาณที่ได้รับจัดสรรให้โดยตรง จึงต้องอาศัยความร่วมมือหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในศจพ.อำเภอวางแผนการดำเนินการร่วมกันเพื่อขอรับงบประมาณจากหน่วยงานต้นสังกัด โดยในประเด็นความร่วมมือจากปัจจัยด้านบุคลากรและงบประมาณ ศจพ.อำเภอ ควรดำเนินการกำหนดแผนการดำเนินงานและการกำกับติดตามคณะทำงานขับเคลื่อนศจพ.อำเภอ อย่างใกล้ชิด ภายใต้การนำของผู้อำนวยการศจพ.อำเภอ หรือหาหน่วยงานเจ้าภาพหลักเพื่อดำเนินการขับเคลื่อนโดยตรง และกรณีเครื่องมือการส่งเสริมการประกอบอาชีพยังไม่ตอบสนองปัญหาและความต้องการของครัวเรือน ศจพ.อำเภอควรมีการปรับบทบาทเป็นศูนย์รวมอาชีพเพื่อให้ประชาชนสามารถเลือกอาชีพที่เหมาะสมกับปัญหาและความต้องการของตนเองได้


การศึกษาประสิทธิผลในการเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน), ศิริณา กาญจนศิริรัตน์ Jan 2022

การศึกษาประสิทธิผลในการเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน), ศิริณา กาญจนศิริรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดประสิทธิผลในการเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย และแนวทางและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยให้เกิดประสิทธิผลมากขึ้น โดยงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยคำถามแบบกึ่งมีโครงสร้างในการเก็บข้อมูล จากผู้บริหารสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย ผลการวิจัยพบว่า การเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความรู้ โดยผู้ประกอบการได้รับความรู้จากการอบรมไปดำเนินในธุรกิจทำให้เกิดประสิทธิผลขึ้น ได้แก่ ด้านการผลิตรูปแบบใหม่ การตลาดที่ทันสมัย การสร้างประสบการณ์ที่ดีกับลูกค้า การร่วมมือกับพันธมิตรธุรกิจ การย้ายฐานการผลิต และการทำธุรกิจแบบโปร่งใสและรับผิดชอบต่อสังคม 2) ด้านทักษะ สถาบันฯ มีการอบรมผู้ประกอบการหรือแรงงานเพื่อฝึกทักษะเฉพาะด้าน เพื่อทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และแรงบันดาลใจในการผลิตสินค้าในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับที่ทันสมัยและเป็นความต้องการของตลาดมากขึ้น และ 3) ด้านทัศนคติ คือผู้ประกอบการให้ความร่วมมือในการเข้าอบรม มีการปรับเปลี่ยน มีการศึกษาความรู้เพิ่มมากขึ้นเพื่อให้ธุรกิจของตนเองประสบความสำเร็จมากขึ้น และมีผลตอบแทนที่ดี โดยการดำเนินงานของสถาบันฯ ทำให้เกิดประสิทธิผลตามพันธกิจในการพัฒนาความสามารถของผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย อย่างไรก็ตามสถาบันฯ ยังจำเป็นต้องมีการกำหนดแนวทางการจัดหาวัตถุดิบจากประเทศต่าง ๆ สู่ประเทศไทยอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอเพื่อช่วยเหลือ แก้ไขความท้าทายข้อจำกัดที่ประเทศไทยไม่มีวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับ และเพื่อประสิทธิผลในการเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยยิ่งขึ้นไป สถาบันฯ ควรมีการพิจารณาจัดทำแผนแม่บทหรือแผนระยะยาวร่วมกันระหว่างภาครัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมให้อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยประสบความสำเร็จในการเตรียมบุคลากรของประเทศให้มีความพร้อมในการเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในทุกระดับ ทั้งในด้านการบริหารจัดการ การออกแบบ วิศวกรรมการผลิต ทั้งในระดับอุดมศึกษา อาชีวศึกษา และแรงงานฝีมือในระดับต่าง ๆ


Resolving Thai Zero Pronoun Using Masked Language Model, Sumana Sumanakul Jan 2022

Resolving Thai Zero Pronoun Using Masked Language Model, Sumana Sumanakul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Zero pronoun resolution is an actively challenging NLP task in Thai. However, only a few previous studies have focused on this topic. Therefore, we explore a modern approach that could outperform existing state-of-the-art methods on various datasets and downstream tasks, the transformer-based, pre-trained language model, to apply to the Thai zero pronoun resolution task. We conduct two experiments on a small corpus, which are (1) using a pre-trained masked language model to predict zero pronominal expressions and (2) fine-tuning Wangchanberta on a token classification task to classify persons of pronouns. Based on our experiments, the results demonstrate the effectiveness of …


อิทธิพลของคุณลักษณะของผู้ส่งสาร การวางสินค้าในงานโฆษณา และเนื้อหาเพื่อสิ่งแวดล้อมบนแอปพลิเคชันติ๊กต็อก ที่มีผลต่อพฤติกรรมตอบสนองของผู้บริโภค, ฉัตริน อินทร์เมือง Jan 2022

อิทธิพลของคุณลักษณะของผู้ส่งสาร การวางสินค้าในงานโฆษณา และเนื้อหาเพื่อสิ่งแวดล้อมบนแอปพลิเคชันติ๊กต็อก ที่มีผลต่อพฤติกรรมตอบสนองของผู้บริโภค, ฉัตริน อินทร์เมือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อคุณลักษณะของผู้ส่งสาร การวางสินค้าในงานโฆษณา และเนื้อหาเพื่อสิ่งแวดล้อมบนแอปพลิเคชันติ๊กต็อก และอธิบายอิทธิพลของคุณลักษณะของผู้ส่งสาร การวางสินค้าในงานโฆษณา และเนื้อหาเพื่อสิ่งแวดล้อม ที่มีผลต่อพฤติกรรมตอบสนองของผู้บริโภค ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ ด้วยการใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่มีการเปิดรับเนื้อหาเพื่อสิ่งแวดล้อมบนแอปพลิเคชันติ๊กต็อก ระหว่างอายุ 18 – 44 ปี จำนวนทั้งสิ้น 175 ตัวอย่าง โดยวิเคราะห์ผลการวิจัยด้วยวิธีการสถิติแบบการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ (Multiple Linear Regression Analysis) แบบ Enter ข้อสรุปจากงานวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยว่าคุณลักษณะของผู้ส่งสารต้องมีประสบการณ์ในการสร้างเนื้อหาเพื่อสิ่งแวดล้อม ด้วยค่าเฉลี่ย 4.05 ส่วนการวางสินค้าในงานโฆษณาด้วยเนื้อหาที่มีความบันเทิง มีการเปิดรับทั้งด้านความถี่และระยะเวลามากที่สุด ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2.62 และเนื้อหาที่เน้นย้ำประโยชน์ของผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม มีการเปิดรับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2.51 โดยผลการวิจัยเป็นไปตามสมมติฐาน และมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเนื้อหาเพื่อสิ่งแวดล้อม มีผลต่อพฤติกรรมตอบสนองของผู้บริโภคมากที่สุด (Beta=0.307) ดังนั้น จึงได้ข้อสรุปว่าเนื้อหาเพื่อสิ่งแวดล้อมบนแอปพลิเคชันติ๊กต็อก ต้องมีการสื่อสารให้เห็นประโยชน์ของผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้ระยะเวลา 1 – 5 นาที ส่วนการวางสินค้าในงานโฆษณา ควรใช้รูปแบบที่มีความบันเทิงเพื่อให้เกิดการเปิดรับที่มากที่สุด และสุดท้าย ควรใช้ผู้ส่งสารที่มีประสบการณ์ด้านการสร้างเนื้อหาเพื่อสิ่งแวดล้อม จึงจะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตอบสนองของผู้บริโภคมากที่สุด และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


พัฒนาการของแนวคิดการปกครองตนเองของท้องถิ่น: โอกาสและความท้าทายภายใต้การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง, ฒาลัศมา จุลเพชร Jan 2022

พัฒนาการของแนวคิดการปกครองตนเองของท้องถิ่น: โอกาสและความท้าทายภายใต้การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง, ฒาลัศมา จุลเพชร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการและการถกเถียงเกี่ยวกับแนวคิดการปกครองตนเองในสังคมไทย ประเมินสถานภาพความสัมพันธ์เชิงอำนาจราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น รวมถึงประเมินเงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกประเทศที่เป็นแรงกดดันหรือแรงต้านทานต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จากนั้นนำไปสู่การสังเคราะห์รูปแบบการปกครองตนเองจากทัศนะที่หลากหลาย โดยศึกษาจากพื้นที่ปฏิบัติการจริงของการใช้แนวคิดการปกครองตนเองในสถานการณ์ที่แตกต่าง อันได้แก่ พื้นที่ท่ามกลางปัญหาความขัดแย้งรุนแรงมี การประกาศใช้กฎหมายพิเศษ (เทศบาลปัตตานี) พื้นที่พัฒนาเมืองอัจฉริยะโดยอาศัยโอกาสจากนโยบายประชารัฐ (เทศบาลนครขอนแก่น) และ พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ (เทศบาลนครแม่สอด) สำหรับวิธีการเก็บข้อมูลใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหารของกระทรวงมหาดไทย (ส่วนกลาง) ผู้ว่าราชการจังหวัด (ส่วนภูมิภาค) และผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ นายกเทศมนตรี และรองนายกเทศมนตรี การสังเกตการณ์ (observation) อย่างมีส่วนร่วม และการสนทนากลุ่ม (focus group) ประกอบด้วย ประชาชนในพื้นที่ และผู้เคยร่วมงานกับผู้นำท้องถิ่น จำนวน 33 คน โดยนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์แบบพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ผลการวิจัยแบ่งได้เป็น 4 ส่วน ดังนี้ 1) พัฒนาการแนวคิดการปกครองตนเองเริ่มเด่นชัดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 เนื่องจากมีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนที่สนับสนุนการกระจายอำนาจเต็มที่ และในปี พ.ศ. 2546 ผู้นำท้องถิ่น ทุกประเภทมาจากการเลือกตั้งโดยตรง ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 เกิดแนวคิดจังหวัดจัดการตนเอง ซึ่งมิติความเป็นตัวแทนมีมากที่สุด รองลงมามิติอำนาจตัดสินใจไม่สามารถยับยั้งโครงการจากส่วนกลางได้ ในขณะที่มิติการมีส่วนร่วมมีกลไก ไม่ชัดเจน สำหรับแนวคิดประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือเหมาะสมสำหรับส่งเสริมการมีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่นแต่ยังไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างแพร่หลาย ส่วนมิติในการปกครองตนเองที่น้อยที่สุด คือ จัดสรรทรัพยากรและความรับผิดรับชอบ ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ 2) สถานภาพความสัมพันธ์เชิงอำนาจราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น เป็นการเจรจาต่อรองในฐานะหุ้นส่วนถ้าเป็นเรื่องเศรษฐกิจ แต่ถ้าเป็นเรื่องความมั่นคงเป็นการเจรจาเพื่อให้ส่วนกลางมีพื้นที่ในท้องถิ่น ในขณะที่โครงสร้างที่ส่วนกลางส่งลงมาท้องถิ่นมีลักษณะ “จำแลง” คือ โครงสร้างนโยบายของรัฐที่ต้องการใช้ท้องถิ่นจัดหาประโยชน์ให้ส่วนกลาง ทำให้ส่วนท้องถิ่นไม่สามารถใช้มิติการปกครอง 5 ด้านได้อย่างเต็มที่เพราะถูกกำกับดูแลด้วยคณะกรรมการต่างๆ ในจังหวัด 3) เงื่อนไขภายในที่เป็นทั้งแรงกดดันและแรงต้านขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหยั่งรากอยู่ในปริมณฑลทางการเมืองและเศรษฐกิจ ได้แก่ นโยบาย โครงสร้างการเปลี่ยนแปลงภายใน และโครงสร้างทางการเมือง ในทางตรงข้าม การดำเนินการและการปฏิบัติตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นแรงกดดันจากภายนอกเพื่อให้มีการปกครองตนเองมากขึ้น 4) ผลการสังเคราะห์รูปแบบการปกครองตนเองจากทัศนะที่หลากหลาย ได้แก่ ยุบรวม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับล่าง (Lower-Tier) ท้องถิ่นรูปแบบเมืองพิเศษ และการบริหารจังหวัดปกครองตนเอง ทั้งนี้ความท้าทายในการปกครองตนเองมี …


การเปรียบเทียบค่าช่วงเวลาเริ่มเสียงก้องของพยัญชนะกักในเสียงพูดและเสียงร้องเพลงของภาษาไทย, สรชัช พนมชัยสว่าง Jan 2022

การเปรียบเทียบค่าช่วงเวลาเริ่มเสียงก้องของพยัญชนะกักในเสียงพูดและเสียงร้องเพลงของภาษาไทย, สรชัช พนมชัยสว่าง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ลักษณะที่แสดงความแตกต่างของเสียงพูดและเสียงร้องเพลงในทางกลสัทศาสตร์นั้นได้มีการศึกษาพบหลายลักษณะด้วยกัน หนึ่งในนั้นรวมถึงลักษณะที่ไม่เกี่ยวข้องกับส่วนที่เป็นเสียงก้อง เช่นค่าช่วงเวลาเริ่มเสียงก้องของพยัญชนะกัก (Voice Onset Time) ซึ่งแสดงค่าระยะเวลาจากจุดเปิดฐานกรณ์จนถึงจุดที่เกิดการสั่นของเส้นเสียงของพยัญชนะกักในตำแหน่งต้นพยางค์ งานวิจัยที่ผ่านมาซึ่งศึกษาภาษาอังกฤษพบว่าเสียงร้องเพลงจะมีค่าช่วงเวลาเริ่มเสียงก้องของพยัญชนะกักน้อยกว่าเสียงพูด ในงานวิจัยชิ้นนี้ซึ่งศึกษาในภาษาไทยซึ่งมีความแตกต่างในการเปรียบต่างทางสัทวิทยาของพยัญชนะกักนั้น ได้ศึกษาด้วยวิธีการที่มีต้นแบบจากงานที่ผ่านมาในภาษาอังกฤษ และวิเคราะห์ทางสถิติด้วย mixed-effect linear regression พบว่า ความแตกต่างของค่าช่วงเวลาเริ่มเสียงก้องของพยัญชนะกักระหว่างเสียงพูดและเสียงร้องเพลงนั้น มีนัยสำคัญเพียงในพยัญชนะกักไม่ก้องพ่นลมเท่านั้น โดยมีแนวโน้มที่เสียงร้องเพลงจะมีค่าช่วงเวลาเริ่มเสียงก้องของพยัญชนะกักมากกว่าเสียงพูด ซึ่งต่างกับในงานวิจัยในภาษาอังกฤษ นำมาสู่ข้อสรุปว่าความแตกต่างของเสียงพูดและเสียงร้องเพลงในภาษาไทยนั้นอาจมีการพ่นลมเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญ ซึ่งน่าจะเกิดจากการเน้นพยัญชนะให้ชัดเจนในขณะร้องเพลง


ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารด้านการท่องเที่ยวกับการตัดสินใจท่องเที่ยวต่างประเทศหลังสถานการณ์โควิด-19, พราวศินี พันธ์ทา Jan 2022

ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารด้านการท่องเที่ยวกับการตัดสินใจท่องเที่ยวต่างประเทศหลังสถานการณ์โควิด-19, พราวศินี พันธ์ทา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการเปิดรับข่าวสารด้านการท่องเที่ยวและการตัดสินใจท่องเที่ยวต่างประเทศ ศึกษาความแตกต่างของลักษณะทางประชากร และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสารด้านการท่องเที่ยวกับการตัดสินใจท่องเที่ยวต่างประเทศหลังสถานการณ์โควิด-19 ของนักท่องเที่ยวไทย โดยการวิจัยในครั้งนี้ เป็นการทำวิจัยเชิงปริมาณ ในรูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มเป้าหมายคือนักท่องเที่ยวไทยที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพและปริมณฑล อายุ 18 – 39 ปี ที่มีแนวโน้มท่องเที่ยวต่างประเทศหลังสถานการณ์โควิด-19 (ปี 2566 – 2567) รวมจำนวนทั้งสิ้น 410 ตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวไทยมีการเปิดรับข่าวสารด้านการท่องเที่ยวผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตมากที่สุด รองลงมาคือ สื่อบุคคล ในขณะที่สื่อมวลชน สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อเฉพาะกิจ กลุ่มตัวอย่างแทบไม่เคยหรือไม่เปิดรับเลย โดยสื่ออินเทอร์เน็ต ยังเป็นสื่อหลักที่นักท่องเที่ยวไทยนิยมหาข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยว ในส่วนของความต้องการเนื้อหาข่าวสารเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ยังคงให้ความสำคัญทางด้านความปลอดภัย โดยยังมีความต้องการข่าวสารด้านโควิด-19 อยู่ นอกจากนี้นักท่องเที่ยวยังมีแนวโน้มในการตัดสินใจไปท่องเที่ยวต่างประเทศภายในปี 2567 อย่างแน่นอน โดยอยากไปประเทศใหม่ที่ยังไม่เคยไป โดยให้ความสำคัญในเรื่องของการประเมินผลก่อนการตัดสินใจ โดยเหตุผลหลักของความต้องการท่องเที่ยวต่างประเทศของนักท่องเที่ยวไทย คือ ความสวยงามของประเทศนั้นเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ต้องการพักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งสืบเนื่องช่วงที่มีการระบาดโควิด-19 นักท่องเที่ยวไทยมีความจำเป็นต้องกักตัวจากโควิด-19 ทำให้ไม่สามารถท่องเที่ยวต่างประเทศเป็นระยะเวลานาน


การทำนายพฤติกรรมแยกขยะพลาสติกในครัวเรือนด้วยทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนและการพิจารณาถึงผลลัพธ์ในอนาคต, พีรยา พูลหิรัญ Jan 2022

การทำนายพฤติกรรมแยกขยะพลาสติกในครัวเรือนด้วยทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนและการพิจารณาถึงผลลัพธ์ในอนาคต, พีรยา พูลหิรัญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พฤติกรรมแยกขยะพลาสติกในครัวเรือนเป็นพฤติกรรมที่มีความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกในระยะยาวในยุคที่บรรจุภัณฑ์พลาสติกเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ปัจจุบันยังขาดองค์ความรู้โดยเฉพาะในบริบทของประเทศไทยเกี่ยวกับปัจจัยที่สนับสนุนและขัดขวางการเกิดพฤติกรรมแยกขยะ ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาปัจจัยตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนและปัจจัยการพิจารณาผลลัพธ์ในอนาคตที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมแยกขยะพลาสติกในครัวเรือนโดยเน้นศึกษาขยะพลาสติก 3 ชนิด ได้แก่ ถุงพลาสติกหูหิ้ว ถุงพลาสติกบรรจุอาหาร และกล่องพลาสติกบรรจุอาหาร กลุ่มตัวอย่าง (n = 126) ได้แก่ ผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครอย่างน้อย 1 ปี ทำการตอบแบบสอบถามการวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยต่าง ๆ และรายงานพฤติกรรมแยกขยะพลาสติกในครัวเรือนใน 2 สัปดาห์ต่อมา ผลจากการวิจัยพบว่า การรับรู้การควบคุมพฤติกรรมมีอิทธิพลทางบวกต่อพฤติกรรมทั้งทางตรงและทางอ้อมผ่านเจตนาต่อพฤติกรรม โดยการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านเจตนาต่อพฤติกรรมเท่านั้น อย่างไรก็ตามพบปัจจัยที่ไม่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมโดยมีเจตนาต่อพฤติกรรมเป็นตัวแปรส่งผ่าน ได้แก่ เจตคติต่อพฤติกรรมและการพิจารณาผลลัพธ์ในอนาคต และพบว่าปฏิสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่อพฤติกรรมและการรับรู้การควบคุมพฤติกรรม และ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงและการรับรู้การควบคุมพฤติกรรม ไม่สามารถทำนายเจตนาต่อพฤติกรรมได้ โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมแยกขยะพลาสติกในครัวเรือนมากที่สุด ได้แก่ การรับรู้การควบคุมพฤติกรรม โดยกลุ่มตัวอย่างมีความเชื่อว่าการมีพื้นที่สำหรับแยกขยะพลาสติกในครัวเรือน การมีถังขยะของส่วนกลางรองรับ และการได้รับรู้ว่าการแยกขยะพลาสติกในครัวเรือนก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านใดบ้างเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมแยกขยะพลาสติกในครัวเรือนได้