Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 691 - 720 of 5570

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

การรายงานข่าวโควิด-19 บนแพลตฟอร์มติ๊กต๊อกของไทยรัฐ, ว่านเพิง หยู Jan 2022

การรายงานข่าวโควิด-19 บนแพลตฟอร์มติ๊กต๊อกของไทยรัฐ, ว่านเพิง หยู

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเนื้อหา รูปแบบ/หน้าที่ และแนวทางของการรายงานข่าวโควิด-19 บนแพลตฟอร์มติ๊กต๊อกของไทยรัฐ โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) สำรวจเนื้อหาที่เกี่ยวกับโรคโควิด-19 ที่นำเสนอบนแพลตฟอร์มติ๊กต๊อกของสำนักข่าวไทยรัฐ ระหว่างวันที่ 2 มิถุนายน 2563 ถึง วันที่ 30 กันยายน 2565 จำนวน 179 คลิป หลังจากนั้นนำเนื้อหาที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์และประมวลผล และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ดูแลบัญชีไทยรัฐบนแพลตฟอร์มติ๊กต๊อก ผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการ และแฟนคลับบนแพลตฟอร์มติ๊กต๊อกของไทยรัฐ เพื่ออธิบายผลการวิจัยเพิ่มเติม ผลการวิจัยพบว่า สำนักข่าวไทยรัฐมีการนำเสนอข่าวโควิด-19 ในประเด็นสำคัญ เช่น สถานการณ์การแพร่ระบาด นโยบายการควบคุมโรคระบาด การบริหารจัดการวัคซีน วิธีการดูแลตัวเอง/แนวทางการป้องกัน และมาตรการเยียวยา เป็น สำหรับรูปแบบ/หน้าที่ในการนำเสนอมีทั้งการสื่อสารสุขภาพ รูปแบบบันเทิงสารสนเทศ และสื่อสร้างความผูกพัน ในส่วนของแนวทางในการนำเสนอพบว่า มีทั้งแนวทางการให้ข่าวสาร แนวทางการให้ความรู้ และแนวทางการชักจูงใจ ผู้วิจัยเสนอว่าการใช้แพลตฟอร์มติ๊กต๊อกในการรายงานข่าวมีข้อดีในการผลิตเนื้อหาได้รวดเร็วและยังสามารถเข้าถึงผู้ชมได้ง่าย เพิ่มศักยภาพในการสื่อสารสุขภาพและสร้างการมีส่วนร่วมในการสื่อสารช่วงระบาดได้ แต่ขณะเดียวกันยังยังขาดประสิทธิภาพในการเล่าเรื่องเชิงวารสารศาสตร์ และต้องระมัดระวังเรื่องความถูกต้องและคววามน่าเชื่อถือของข้อมูลบนแพลตฟอร์มด้วย


อิทธิพลของสัทสมบัติและสัทบริบทที่มีต่อระดับความก้องและค่าความเข้มของพยัญชนะกักภาษาไทย: นัยยะต่อการแพร่ละอองลอย, ก้องเวหา อินทรนุช Jan 2022

อิทธิพลของสัทสมบัติและสัทบริบทที่มีต่อระดับความก้องและค่าความเข้มของพยัญชนะกักภาษาไทย: นัยยะต่อการแพร่ละอองลอย, ก้องเวหา อินทรนุช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการแปรของค่าระดับความก้องในช่วงปิดฐานกรณ์และความชันของค่าความเข้มพลังลมของช่วงเปิดฐานกรณ์ของพยัญชนะกักที่มีสัทสมบัติและปรากฏในสัทบริบทที่แตกต่างกัน 2) ศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างค่าระดับความก้องในช่วงปิดฐานกรณ์และความชันของค่าความเข้มพลังลมของช่วงเปิดฐานกรณ์ในการออกเสียงพยัญชนะกักภาษาไทยที่มีสัทสมบัติและปรากฏในสัทบริบทที่แตกต่างกัน 3) อภิปรายนัยยะของผลการแปรและปฏิสัมพันธ์ของค่าระดับความก้องและความชันของค่าความเข้มพลังลมต่อการแพร่ของละอองลอย ในการวิเคราะห์การแปรของค่าทางกลสัทศาสตร์ เก็บข้อมูลเสียงของบอกภาษา 10 คนจากคำพูดต่อเนื่อง 48 คำที่ประกอบขึ้นจากพยัญชนะกักก้องและไม่ก้องภาษาไทยใน 2 สัทบริบท นอกจากนี้ นำผลของค่าทางกลสัทศาสตร์มาเชื่อมโยงกับนัยยะของการแพร่ละอองลอย ผลการศึกษาการแปรของค่าทางกลสัทศาสตร์พบว่า 1) เมื่อเรียงลำดับตามระดับความก้องของพยัญชนะกักมีรูปแบบเดียวกันทั้ง 2 สัทบริบท คือ กักก้อง > ก้กไม่ก้องพ่นลม > ก้กไม่ก้องไม่พ่นลม เมื่อเปรียบเทียบระหว่างสัทบริบทพบว่า ตำแหน่งระหว่างสระ > ตำแหน่งนำหน้าสระ ซึ่งความต่างของประเภทพยัญชนะกักและสัทบริบทมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 2) เมื่อเรียงลำดับตามความชันของค่าความเข้มพลังลมของพยัญชนะกักมี 2 รูปแบบทั้ง 2 สัทบริบท คือ รูปแบบ 1 กักไม่ก้องไม่พ่นลม > ก้กไม่ก้องพ่นลม > ก้กก้อง และรูปแบบ 2 กักไม่ก้องพ่นลม > ก้กไม่ก้องไม่พ่นลม > ก้กก้อง ซึ่งมีความต่างของประเภทพยัญชนะกักอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 แต่ไม่พบความต่างระหว่างสัทบริบท ผลการศึกษาปฏิสัมพันธ์ของระดับความก้องและความชันของค่าความเข้มพลังลมต่อนัยยะของการแพร่ละอองลอยอนุมานได้ว่า ในแต่ละสัทบริบท พยัญชนะก้กไม่ก้องพ่นลมจะมีแนวโน้มของอัตราการแพร่ละอองลอยมากที่สุด เนื่องจากมีระดับความก้องเพิ่มขึ้นในระดับเดียวกับพยัญชนะกักก้องและมีความชันของค่าความเข้มพลังลมในระดับสูง รองลงมาคือพยัญชนะกักไม่ก้องไม่พ่นลม และน้อยสุดคือพยัญชนะกักก้อง ข้อค้นพบในครั้งนี้แสดงให้เห็นปัจจัยของสัทสมบัติและสัทบริบทที่มีผลต่อการแปรของค่าทางกลสัทศาสตร์ของพยัญชนะกัก นอกจากนี้ การไล่ระดับแนวโน้มของอัตราการแพร่ละอองลอยช่วยชี้ให้เห็นความน่าจะเป็นของการแพร่เชื้อโรคที่อาจเกิดขึ้นเฉพาะในบริบทภาษาไทย


Glocalization Of Bronze Drums In Southeast Asia: The Case Of Bronze Drums In State Ceremonies Of Thailand, Taixing Li Jan 2022

Glocalization Of Bronze Drums In Southeast Asia: The Case Of Bronze Drums In State Ceremonies Of Thailand, Taixing Li

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The Bronze Drum is a living specimen of Southeast Asian culture and a testimony to the development of Southeast Asian societies for more than 2,000 years. The Bronze Drum has been inherited dynamically hitherto, and the Thai state ceremonies still adopt it. However, current scholarship on Bronze Drums is confined chiefly to static studies, which caused the omission of the essence of glocalization. This thesis adopts the theory of glocalization, namely that the Bronze Drum is the result of the interpenetration of the global and the local, resulting in unique outcomes in a specific geographic location, and then applies an …


The Chinese Association In Thailand And Its Development From 1907 To 1963, Daniel Jiang Jan 2022

The Chinese Association In Thailand And Its Development From 1907 To 1963, Daniel Jiang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research argues the history of the Chinese Association in Thailand (CAT) is strongly connected to the transformation of self-identity among the pro-Republic of China Thai Chinese. Since the foundation of CAT in 1907 by the Tongmenghui members, the association itself represents the rise of Chinese nationalism amongst ethnic Chinese in Siam. The Chinese nationalism in Thailand was challenged by several major factors during the following periods: first was the rise of Siamese nationalism that clashed with the Chinese nationalism since the reign of Rama VI in the 1910s; second was the anti-Chinese policies during the second World War, as …


โครงสร้างตลาดและพฤติกรรมการแข่งขันของอุตสาหกรรมโรงชำแหละสุกรของประเทศไทย, วรางคณาง อภินันทสิทธิ์ Jan 2022

โครงสร้างตลาดและพฤติกรรมการแข่งขันของอุตสาหกรรมโรงชำแหละสุกรของประเทศไทย, วรางคณาง อภินันทสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการแข่งขันของอุตสาหกรรมโรงชำแหละสุกรในประเทศไทยที่จดทะเบียนและมีใบอนุญาต โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ประกอบการจำนวน 5 รายเพื่อศึกษาพฤติกรรมการแข่งขันทั้งทางด้านราคาและไม่ใช่ราคาโดยอาศัยการวิเคราะห์ภาพรวมอุตสาหกรรมด้วยเครื่องมือห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) และวิเคราะห์ตัวแทนอุตสาหกรรมด้วยเครื่องมือแบบจำลองแรงผลักดัน 5 ประการ (Five Force Model) และคำนวณส่วนเหลื่อมตลาด ผลการศึกษาพบว่าโครงสร้างตลาดของอุตสาหกรรมโรงชำแหละสุกรของประเทศไทยมีลักษณะผู้ขายน้อยราย ซึ่งจากการคำนวณ CR4 เป็นในทิศทางเดียวกันกับผลสรุป HHI และ CCI นั่นคืออุตสาหกรรมโรงชำแหละสุกรของประเทศไทยมีอัตราการกระจุกตัวสูงหรือมีการแข่งขันน้อย อีกทั้งผู้ประกอบการมีพฤติกรรมการแข่งขันในด้านไม่ใช่ราคามากกว่าด้านราคาเป็นกลยุทธ์หลัก โดยใช้การสร้างความแตกต่างในตัวผลิตภัณฑ์คือการชำแหละเนื้อสุกรให้มีคุณภาพและโรงชำแหละสุกรที่ให้บริการแบบครบวงจรจะสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายด้านต้นทุนได้ดีกว่าโรงชำแหละสุกรประเภทอื่น ๆ


การเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มเพศหลากหลายและการคุ้มครองสิทธิเพศหลากหลายในหน่วยงานภาครัฐ: ศึกษากรณีข้าราชการกรมการปกครอง, ชลินทรา ปรางค์ทอง Jan 2022

การเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มเพศหลากหลายและการคุ้มครองสิทธิเพศหลากหลายในหน่วยงานภาครัฐ: ศึกษากรณีข้าราชการกรมการปกครอง, ชลินทรา ปรางค์ทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่องนี้มุ่งตอบคำถามว่า การเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศที่ข้าราชการกรมการปกครอง กลุ่มเพศหลากหลาย (LGBTI) ต้องประสบมีลักษณะอย่างไรบ้าง และกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคลของกรมการปกครองมีการคุ้มครองสิทธิของ LGBTI มากน้อยเพียงใด โดยผู้วิจัยใช้กรอบแนวคิดกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคลและสิทธิมนุษยชนของเพศหลากหลายซึ่ง ประกอบด้วย สิทธิที่จะแสดงออกซึ่งอัตลักษณ์ทางเพศ สิทธิที่จะไม่ถูกเลือกปฏิบัติ และสิทธิที่จะไม่ถูกคุกคามทางเพศ โดยงานวิจัยชิ้นนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 13 คน ประกอบด้วย ข้าราชการ LGBTI ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค 10 คน และข้าราชการที่ปฏิบัติงานในกองการเจ้าหน้าที่ จำนวน 3 คน งานวิจัยชิ้นนี้ค้นพบว่า ลักษณะของละเมิดสิทธิและการเลือกปฏิบัติต่อข้าราชการ LGBTI ในทางกฎหมายไม่ได้ปรากฏชัด และไม่ได้กีดกันต่อการเข้ามาทำงานที่กรมการปกครอง แต่เนื่องจากกรมการปกครองที่มีภาพลักษณ์ด้านความเข้มแข็งมั่นคงแบบชายแท้ ทำให้ผู้ที่ประสงค์จะแสดงออกไม่ตรงกับเพศกำเนิด โดยเฉพาะเพศกำเนิดชาย ได้รับผลกระทบในหน้าที่การงานตามมาอยู่เสมอ จึงทำให้ข้าราชการ LGBTI ที่ประสงค์จะเติบโตในหน้าที่การงานในระดับสูงตัดสินใจที่จะปกปิดอัตลักษณ์ทางเพศของตนต่อบุคคลอื่น ๆ โดยการละเมิดสิทธิและการเลือกปฏิบัติทางเพศที่ข้าราชการ LGBTI ต้องประสบนั้นมีความซ้อนทับกับกลุ่มข้าราชการเพศหญิงของกรมการปกครองด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ในกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคลของกรมการปกครอง พบว่าขั้นตอนการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ และการพ้นสภาพการเป็นบุคคลภาครัฐ ไม่มีผลกระทบต่อข้าราชการ LGBTI แต่ขั้นตอนการสรรหาและคัดเลือก การพัฒนาบุคลากร การใช้ประโยชน์จากบุคลากร และการประเมินผลปฏิบัติงาน ยังไม่มีกระบวนการเพื่อคุ้มครองต่อสิทธิที่จะแสดงออกซึ่งอัตลักษณ์ทางเพศ สิทธิที่จะไม่ถูกเลือกปฏิบัติ และสิทธิที่จะไม่ถูกคุกคามทางเพศ


Climate Imaginaries And Human Mobility: Complicating Climate Mobility As Adaptation In Thailand, Clare Steiner Jan 2022

Climate Imaginaries And Human Mobility: Complicating Climate Mobility As Adaptation In Thailand, Clare Steiner

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

For centuries, agricultural households in Thailand have engaged in mobility to adapt to environmental change and climate shocks. However, current framings of “climate migration as adaptation” obscure how these adaptation pathways are constructed by existing power relations, leaving institutions liable to re-enforce inequality. This thesis uses the concept of “imaginaries” to de-construct how certain knowledge and values advance over others in the process of negotiating and acting towards a preferable future. It employs a dual methodological approach with a case study of Baan Non Daeng in Ubon Ratchathani, Thailand to analyze dominant imaginaries in Thailand and their function and limitations …


อิทธิพลของประสบการณ์ลูกค้า ภาพลักษณ์ตราสินค้าสีเขียว และอัตนิยมเชิงวัฒนธรรมต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของร้านกาแฟแบบบริการเต็มรูปแบบ, ไปรยา เจษฎานฤสาร Jan 2022

อิทธิพลของประสบการณ์ลูกค้า ภาพลักษณ์ตราสินค้าสีเขียว และอัตนิยมเชิงวัฒนธรรมต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของร้านกาแฟแบบบริการเต็มรูปแบบ, ไปรยา เจษฎานฤสาร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของประสบการณ์ลูกค้าจากช่องทางที่หลากหลาย ประสบการณ์ลูกค้าทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความสอดคล้อง 2) ด้านการเชื่อมต่อ 3) ด้านการผสมผสาน 4) ด้านความยืดหยุ่น และ 5) ด้านเฉพาะบุคคล ภาพลักษณ์ตราสินค้าสีเขียว อัตนิยมเชิงวัฒนธรรม ความเป็นสากลนิยมที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของร้านกาแฟแบบบริการเต็มรูปแบบ และเพื่อวิเคราะห์ตัวแปร ได้แก่ ประสบการณ์ลูกค้าจากช่องทางที่หลากหลาย ภาพลักษณ์ตราสินค้าสีเขียว อัตนิยมเชิงวัฒนธรรม ความเป็นสากลนิยม และความตั้งใจซื้อ โดยงานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างที่มีกำลังซื้อ และอยู่ในช่วงอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 400 ตัวอย่าง เมื่อนำมาวิเคราะห์การถดถอยแบบเส้นตรงพหุคูณ (Multiple Linear Regression) พบว่า ประสบการณ์ลูกค้าจากช่องทางที่หลากหลาย ความเป็นสากลนิยม และภาพลักษณ์ตราสินค้าสีเขียวที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของร้านกาแฟแบบบริการเต็มรูปแบบมากที่สุดตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 33.40 ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยต้องการทราบว่า ตัวแปรประสบการณ์ลูกค้ามีตัวแปรในทุก ๆ ด้านที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อ หรือมีตัวแปรย่อยด้านใดที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของร้านกาแฟแบบบริการเต็มรูปแบบ จึงทำการทดสอบสมมติฐานที่ 2 เมื่อทำการทดสอบเพิ่มเติมโดยทำการแยกตัวแปรย่อยของตัวแปรประสบการณ์ลูกค้าออกเป็น 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการเชื่อมต่อ ด้านการผสมผสาน ด้านความสอดคล้อง ด้านความยืดหยุ่น และด้านเฉพาะบุคคล พบว่า ตัวแปรย่อยด้านความสอดคล้อง และด้านความยืดหยุ่นมีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของร้านกาแฟแบบบริการเต็มรูปแบบมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 33.40 ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และไม่มีตัวแปรอื่น ๆ มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้ออย่างมีนัยสำคัญระดับ 0.05


อิทธิพลของคุณลักษณะบุคคลและคุณลักษณะความเชื่อ ต่อพฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน, กัญญารัตน์ วิโรจนะ Jan 2022

อิทธิพลของคุณลักษณะบุคคลและคุณลักษณะความเชื่อ ต่อพฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน, กัญญารัตน์ วิโรจนะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณลักษณะบุคคล (ได้แก่ คุณลักษณะพื้นฐาน และคุณลักษณะประกอบ) คุณลักษณะความเชื่อ และพฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน (ได้แก่ ด้านโหราศาสตร์ ด้านความเชื่อลางร้าย ด้านเครื่องรางนำโชค ด้านการพนัน ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านสลากกินแบ่ง) และ 2) อิทธิพลของคุณลักษณะบุคคลและคุณลักษณะความเชื่อ ต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน โดยเก็บข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 23 – 29 ปี เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และมีงานทำในปัจจุบัน จำนวน 403 คน ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะพื้นฐานที่มีผลต่อคุณลักษณะความเชื่อของผู้บริโภคกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน ได้แก่ ความต้องการด้านวัตถุ ความต้องการด้านร่างกาย และความไม่มั่นคงทางอารมณ์ ส่วนคุณลักษณะประกอบที่มีผลต่อคุณลักษณะความเชื่อของผู้บริโภคกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน ได้แก่ การอยู่กับปัจจุบัน และคุณลักษณะความเชื่อ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ ด้านโหราศาสตร์ ด้านความเชื่อลางร้าย ด้านเครื่องรางนำโชค ด้านการพนัน ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านสลากกินแบ่ง โดยคุณลักษณะความเชื่อมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมด้านโหราศาสตร์มากที่สุด


การเล่าเรื่อง ความเกี่ยวพัน และการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคต่อการวิจารณ์ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวด้วยการสื่อสารวิทยาศาสตร์ของยูทูบเบอร์ด้านความงาม, กรภัค พัฒนคงภัทร์ Jan 2022

การเล่าเรื่อง ความเกี่ยวพัน และการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคต่อการวิจารณ์ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวด้วยการสื่อสารวิทยาศาสตร์ของยูทูบเบอร์ด้านความงาม, กรภัค พัฒนคงภัทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และอธิบายวิธีการสื่อสารและการเล่าเรื่องทางวิทยาศาสตร์ในการวิจารณ์ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวของยูทูบเบอร์ด้านความงาม และอธิบายอิทธิพลของความถี่การเปิดรับการสื่อสารวิทยาศาสตร์ การรับรู้ต่อการสื่อสารวิทยาศาสตร์ ความชื่นชอบการเล่าเรื่องทางวิทยาศาสตร์ และความเกี่ยวพันกับเนื้อหาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ต่อการตัดสินใจซื้อ โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน เริ่มจากการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกยูทูบเบอร์ความงาม จำนวน 1 ช่อง ได้แก่ GURUCHECK ร่วมกับการวิเคราะห์การเล่าเรื่องทางวิทยาศาสตร์ของยูทูบเบอร์ความงาม จำนวน 3 ช่อง ได้แก่ ingck GURUCHECK และ EB.Bahboh จำนวน 15 ตอน และการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามออนไลน์เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า การสื่อสารวิทยาศาสตร์ของยูทูบเบอร์ด้านความงามประกอบด้วย ยูทูบเบอร์นำความเชี่ยวชาญของตนเองมานำเสนอเป็นเนื้อหาในรูปแบบคลิปวิจารณ์ โดยมีวิธีการสื่อสารแบบกึ่งเผยแพร่กึ่งสนทนาแลกเปลี่ยนความเห็นด้วยการสนทนนาผ่านการผลิตคลิปวิจารณ์และการเล่าเรื่องด้วยมุมมองทางวิทยาศาสตร์ผ่านยูทูบ ทั้งนี้ผลที่เกิดกับผู้ชมเป็นผลด้านความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาและการได้รับข้อมูลผลิตภัณฑ์ตามความต้องการ และพบว่าผู้ชมมีส่วนร่วมในการวิจารณ์ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวผ่านการแสดงความคิดเห็นและแบ่งปันเนื้อหาวิดีโอบนสื่อสังคม การเล่าเรื่องทางวิทยาศาสตร์ของยูทูบเบอร์ฯ พบว่า มีความสอดคล้องในด้านการใช้ภาษา สัญลักษณ์ และเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับผู้ชม มีการเล่าเรื่องผ่านตัวละครแบบผลิตภัณฑ์เป็นวีรบุรุษ ปัญหาสุขภาพผิวเป็นวายร้าย และผู้ชมเป็นเหยื่อ มีการสร้างปมปัญหาเป็นเรื่องเกี่ยวกับการบำรุงรักษาผิวหรือการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์บำรุงผิว โดยดำเนินเรื่องตามลำดับเหตุการณ์ แก่นเรื่องที่นำเสนอ ได้แก่ ทุกสิ่งอย่างที่เกิดขึ้นล้วนมีเหตุ-ปัจจัย และเช็คก่อนใช้ อ่านฉลากและส่วนผสมก่อนซื้อ ทั้งนี้มีการโน้มน้าวใจด้วยหลักฐานและการรับรองเหตุผลที่ใช้ประกอบการเล่าเรื่องทางวิทยาศาสตร์ ผลการวิจัยเชิงสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างติดตามช่องยูทูบวิจารณ์ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวในระดับมาก มีความถี่การรับชมการวิจารณ์ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวอยู่ที่ 2-3 วัน/สัปดาห์ การรับรู้ต่อการสื่อสารวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมากที่สุด ความชื่นชอบการเล่าเรื่องทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมากที่สุด ความเกี่ยวพันกับเนื้อหาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมากที่สุด และการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ความเกี่ยวพันกับเนื้อทางวิทยาศาสตร์ (ß = 0.431) ความชื่นชอบตัวละคร (ß = 0.233) การรับรู้ต่อการมีส่วนร่วม (ß = 0.211) การรับรู้ต่อเนื้อหา (ß = - 0.144) การรับรู้ต่อผลการสื่อสาร (ß = 0.115) และความชื่นชอบการถ่ายทอดปัญหาและการดำเนินเรื่อง (ß = - 0.094) มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05


อิทธิพลของอินฟลูเอนเซอร์บนติ๊กต็อกที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าแบบฉับพลันในกลุ่มผู้บริโภคสินค้าความงาม, จิรัชญา อมรสถิตย์พันธ์ Jan 2022

อิทธิพลของอินฟลูเอนเซอร์บนติ๊กต็อกที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าแบบฉับพลันในกลุ่มผู้บริโภคสินค้าความงาม, จิรัชญา อมรสถิตย์พันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของอินฟลูเอนเซอร์บนติ๊กต็อกที่ส่งผลต่อแรงกระตุ้นให้ซื้อสินค้าและพฤติกรรมการซื้อสินค้าแบบฉับพลันในกลุ่มผู้บริโภคสินค้าความงาม โดยมีตัวแปรที่ศึกษาได้แก่ ทัศนคติต่ออินฟลูเอเซอร์ ความเชื่อใจต่ออินฟลูเอนเซอร์ ภาพลักษณ์ของอินฟลูเอนเซอร์ แรงกระตุ้นให้ซื้อสินค้า และการซื้อสินค้าแบบฉับพลัน ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณใช้เทคนิคการสำรวจ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้บริโภคสินค้าความงาม ทั้งเพศชายและหญิง อายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มีพฤติกรรมการซื้อสินค้าแบบฉับพลันหลังรับชมวิดีโอของอินฟลูเอนเซอร์บนติ๊กต็อก จำนวน 384 คน และใช้แบบสอบถามออนไลน์ (Survey Monkey) ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาวิเคราะห์การถดถอยค่าคงที่ (Simple Regression) และการถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression) ผลการวิจัยพบว่า อิทธิพลของอินฟลูเอนเซอร์บนติ๊กต็อก แรงกระตุ้นให้ซื้อสินค้า และการซื้อสินค้าแบบฉับพลันในกลุ่มผู้บริโภคสินค้าความงามมีอิทธิพลเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณพบว่า ทุกตัวแปรในอิทธิพลของ อินฟลูเอนเซอร์มีอิทธิพลต่อแรงกระตุ้นให้ซื้อสินค้า โดยทัศนคติต่ออินฟลูเอนเซอร์มีอิทธิพลมากที่สุดอยู่ที่ 0.300 รองลงมา คือ ภาพลักษณ์ของอินฟลูเอนเซอร์อยู่ที่ 0.222 และความเชื่อใจต่ออินฟลูเอนเซอร์ คือ ตัวแปรที่มีอิทธิพลน้อยที่สุดอยู่ที่ 0.169 นอกจากนี้ การวิเคราะห์การถดถอยค่าคงที่ยังพบว่า แรงกระตุ้นให้ซื้อสินค้ามีอิทธิพลต่อการซื้อสินค้าแบบฉับพลันอยู่ที่ 0.702


การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของตราสินค้าที่มีเนื้อหาความหลากหลายทางเพศการเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค, ฆฤณา มหกิจเดชาชัย Jan 2022

การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของตราสินค้าที่มีเนื้อหาความหลากหลายทางเพศการเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค, ฆฤณา มหกิจเดชาชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการใช้สื่อและเนื้อหาในการสื่อสารการตลาดที่มีเนื้อหาความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย (2) ศึกษาการเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคต่อสินค้าและบริการที่มีเนื้อหาความหลากลายทางเพศ (3) ศึกษาความแตกต่างกันในการเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคที่มีเพศสภาพแตกต่างกัน ต่อสินค้าและบริการที่มีเนื้อหาความหลากหลายทางเพศ และ (4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค โดยเก็บข้อมูลกับกลุ่มผู้บริโภคตัวอย่างทั้งเพศชาย เพศหญิง และเพศวิถีอื่น ๆ (LGBTQIA+) ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 430 คน ในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2566 ผลการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า ตราสินค้ามีการใช้ลักษณะเนื้อหาการสื่อสารการตลาดบนสื่อออนไลน์ที่ปรากฎมากที่สุด คือ เนื้อหาที่มีคำแสดงถึงความหลากหลายทางเพศโดยอ้อม ส่วนลักษณะเนื้อหาการสื่อสารการตลาดบนสื่อออนไลน์ที่ปรากฎน้อยที่สุด คือ เนื้อหาที่สัญลักษณ์สีรุ้ง และช่องทางที่ตราสินค้าใช้ในการสื่อสารที่ปรากฎมากที่สุด คือ เฟซบุ๊ก ส่วนช่องทางที่ใช้ในการสื่อสารที่ปรากฎน้อยที่สุด คือ เว็บไซต์ต่าง ๆ นอกจากนี้ผลการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณพบว่า กลุ่มผู้บริโภคตัวอย่างโดยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 18-26 ปี สถานภาพโสด มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 25,001-35,000 บาทมากที่สุดนั้น มีการรับเปิดสื่อสารการตลาดเนื้อหาความหลากหลายทางเพศอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีการเปิดรับสูงบนช่องทางสื่อเฟซบุ๊ก และสื่อสารการตลาดในรูปแบบสื่อที่พรีเซนเตอร์ผู้มีความหลากหลายทางเพศเป็นผู้แสดงหรือนำเสนอสินค้าในระดับสูง ส่วนทัศนคติต่อการสื่อสารการตลาดเนื้อหาความหลากหลายทางเพศนั้นอยู่ในระดับสูง โดยเห็นว่าเป็นเนื้อหาที่มีความทันสมัย ส่วนพฤติกรรมการซื้อต่อการสื่อสารการตลาดเนื้อหาความหลากหลายทางเพศโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง อีกทั้งผู้บริโภคที่มีเพศสภาพแตกต่างกันจะมีการเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมการซื้อต่อสินค้าและบริการที่มีเนื้อหาความหลากหลายทางเพศแตกต่างกัน และการเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมการซื้อนั้นมีความสัมพันธ์กัน


ภาพตัวแทนแม่บ้านในละครโทรทัศน์ไทยกับความเป็นจริงของชีวิตแม่บ้าน, ณัฐนันท์ สมพึ่งทอง Jan 2022

ภาพตัวแทนแม่บ้านในละครโทรทัศน์ไทยกับความเป็นจริงของชีวิตแม่บ้าน, ณัฐนันท์ สมพึ่งทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษา เรื่อง “ภาพตัวแทนและความเป็นจริงของแม่บ้านในละครโทรทัศน์ไทย” มีจุดประสงค์เพื่อ ศึกษาภาพตัวแทนและความเป็นจริงของแม่บ้านในละครโทรทัศน์ไทย โดยใช้กลุ่มตัวอย่างละครโทรทัศน์ทั้งหมด 7 เรื่อง คือ เพลิงนาง ปมเสน่หา เพลิงปริศนา เขยบ้านไร่ สะใภ้ไฮโซ สะใภ้ไร้ศักดินา เรยา ฉันชื่อบุษบา นำมาเปรียบเทียบกับชีวิตจริงของผู้หญิงที่ประกอบอาชีพแม่บ้านที่ทำงานอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และใช้ชีวิตพักอาศัยอยู่ในบ้านนายจ้าง ผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จำนวน 7 คน และ ศึกษาปัจจัยเชิงโครงสร้างทางสังคมที่มีผลต่อภาพตัวแทนของแม่บ้านในละครโทรทัศน์ไทย ผลการศึกษาพบว่า ตัวบทสร้างภาพตัวแทนของแม่บ้านในละครโทรทัศน์ไทย ให้มีภาพแทนของแม่บ้านที่เป็นผู้สนับสนุนนายจ้าง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับความเป็นจริงของชีวิตแม่บ้าน พบว่า แม่บ้านในชีวิตจริงมีสถานะเป็นลูกจ้างที่ทำงานให้นายจ้าง แม่บ้านในละครโทรทัศน์กับชีวิตจริงของแม่บ้าน มีความแตกต่างในด้านลักษณะทางประชากรศาสตร์ สวัสดิการ การได้รับความเท่าเทียม การแต่งกาย และมีความคล้ายคลึงในส่วนของปัจจัยทางสังคมด้านเศรษกิจและด้านการศึกษา ในส่วนของปัจจัยเชิงโครงสร้างทางสังคมมีผลต่อภาพตัวแทนของแม่บ้านในละครโทรทัศน์ไทย มีดังนี้ 1) ด้านปิตาธิปไตย ละครโทรทัศน์สะท้อนให้เห็นถึงชุดความคิดของคนในสังคมที่ว่า“งานบ้าน เป็นงานของเพศหญิง” ในละครโทรทัศน์ไม่มีตัวละครพ่อบ้านปรากฏให้เห็นแบบปกติทั่วไปเหมือนตัวละครแม่บ้าน หากมีตัวละครที่มีลักษณะและบทบาทใกล้เคียง ก็มักถูกเรียกต่างออกไปไม่ถูกเรียกว่า “พ่อบ้าน” และมีหน้าที่เฉพาะเจาะจงอย่างชัดเจน เช่น คนสวน คนขับรถ 2) ด้านชนชั้น ภาพตัวละครแม่บ้านถูกจัดวางอยู่ในชนชั้นกรรมาชีพ (Proletariat) ซึ่งอยู่ในระดับชนชั้นต่ำของสังคมไทย 3) ด้านระบบทุนนิยม ภาพตัวละครแม่บ้านในละครโทรทัศน์ถูกภาวะเศรษฐกิจทุนนิยมที่ตรึงเครียดกดทับ ด้วยความยากจนที่บีบคั้น แม่บ้านจึงกลายเป็นผู้ที่ยอมรับกับความขัดแย้งและความเป็นศัตรูกันโดยธรรมชาติของนายจ้าง-ลูกจ้าง ยินยอมอยู่ในความสัมพันธ์แบบการขูดรีดเพื่อรายได้ในการเลี้ยงชีพ กล่าวคือ ภาพแม่บ้านในละครโทรทัศน์ถูกกดขี่ด้านการไม่ให้แสดงความคิดเห็น ไม่มีขอบเขตของงานบ้านและไม่มีเวลาการทำงานที่ชัดเจน ลักษณะงานของแม่บ้านทำลายเส้นแบ่งระหว่างเวลาและสถานที่ของการทำงาน (Work) กับเวลา และสถานที่ของการใช้ชีวิต เพราะผลผลิตของการผลิตอยู่ในรูปของอวัตถุ (Immaterial) ไม่ใช่การผลิตสินค้าที่เป็นวัตถุ (Material) ทำให้แยกงานกับชีวิตออกจากกันไม่ได้ และการใส่เครื่องแบบชุดแม่บ้านชาวตะวันตก สามารถทำให้คนในสังคมรับรู้ว่าพวกเขาเป็นใคร มีความสำคัญอย่างไรในสถานที่ที่พวกเขาทำงานอยู่ นำมาซึ่งการเกิดสัญญะของภาพตัวแทน 4) ด้านระบบการศึกษา ภาพแม่บ้านในละครโทรทัศน์เป็นผู้ที่มีระดับการศึกษาที่ไม่สูง 5) ด้านสิทธิแรงงาน ภาพแม่บ้านในละครโทรทัศน์ไม่ถูกนำเสนอเรื่องสวัสดิการที่ชัดเจน แต่ถูกนำเสนอทางอ้อมว่า ไม่มีวันหยุด และมีชั่วโมงทำงานที่ไม่แน่นอน 6) ด้านระบบสื่อมวลชนผลิตซ้ำภาพตัวแทน ลักษณะการสร้างภาพตัวละครในละครโทรทัศน์ (Portrayed) เป็นสิ่งที่สะท้อนจากผู้ผลิตรายการที่คาดว่าคนกลุ่มนั้นควรจะมีลักษณะอย่างไรในละครโทรทัศน์ ทำให้เกิดการผลิตซ้ำภาพตัวแทนของตัวละครที่นำเสนอในลักษณะเหมารวม เช่น แม่บ้านเป็นผู้ที่มีฐานะต่ำต้อย เป็นคนอีสาน เป็นผู้ไร้อำนาจ ต้องแสดงความนอบน้อม …


การพัฒนาต้นแบบอินโฟกราฟิกเพื่อสื่อสารการปฏิบัติตนทางกายภาพบำบัดทางไกล ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (โควิด-19), ธิติ เจริญยศ Jan 2022

การพัฒนาต้นแบบอินโฟกราฟิกเพื่อสื่อสารการปฏิบัติตนทางกายภาพบำบัดทางไกล ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (โควิด-19), ธิติ เจริญยศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1. ออกแบบและสร้างสรรค์ชิ้นงานอินโฟกราฟิกโดยอ้างอิงแนวคิดทฤษฎีการสื่อสารทางสุขภาพ จำนวน 6 ชิ้นงาน ใน 2 ประเด็นได้แก่ การออกกำลังกายเพื่อการฟื้นฟูหลังการติดเชื้อไวรัสโคโรนา และ การจัดการอาการหอบเหนื่อย โดยอ้างอิงทฤษฎีการสื่อสารสุขภาพ 3 ทฤษฎีได้แก่ ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อทางสุขภาพ (Health belief model : HBM), ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญา (Social cognitive : SC) และ ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน (Theory of planned behavior : TPB) และ 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจด้านเนื้อหา, การออกแบบ และการนำไปปฏิบัติ ในกลุ่มบุคคลทั่วไป และกลุ่มนักกายภาพบำบัดปฏิบัติการ กลุ่มละ 5 คน พบว่าในประเด็นการออกกำลังกายเพื่อการฟื้นฟูหลังการติดเชื้อไวรัสโคโรนา ทั้ง 2 กลุ่มมีความพึงพอใจด้านเนื้อหาและด้านการนำไปปฏิบัติ ในชิ้นงานที่อ้างอิงจากแนวคิด HBM มากที่สุด ด้านการออกแบบ ทั้ง 2 กลุ่มมีความพึงพอใจในชิ้นงานที่อ้างอิงจากแนวคิด TPB มากที่สุด ในประเด็นการจัดการอาการหอบเหนื่อย พบกว่ากลุ่มบุคคลทั่วไปมีความพึงพอใจด้านเนื้อหา และการออกแบบในชิ้นงานที่ อ้างอิงจากแนวคิด HBM และ SC เท่ากัน และพึงพอใจในชิ้นงานที่อ้างอิงแนวคิด TBP ด้านการนำไปปฏิบัติมากที่สุด ขณะที่นักกายภาพบำบัดปฏิบัติการมีความพึงพอใจด้านเนื้อหา, การออกแบบ และการนำไปปฏิบัติ ในชิ้นงานที่อ้างอิงจากแนวคิด HBM มากที่สุด


พฤติกรรมการแบ่งปันเนื้อหาลูกบนสื่อสังคมออนไลน์ของพ่อแม่คนไทย, ณัฐสริดา จันทร์น้อย Jan 2022

พฤติกรรมการแบ่งปันเนื้อหาลูกบนสื่อสังคมออนไลน์ของพ่อแม่คนไทย, ณัฐสริดา จันทร์น้อย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการแบ่งปันเนื้อหาลูกบนสื่อสังคมออนไลน์ของพ่อแม่คนไทย 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการแบ่งปันเนื้อหาลูกบนสื่อสังคมออนไลน์ของพ่อแม่คนไทย โดยอาศัยระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วย แบบสอบถามออนไลน์เป็นพ่อแม่คนไทย จำนวน 412 คน ที่มีอายุระหว่าง 18 – 45 ปี และมีลูกอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ควบคู่กับการสัมภาษณ์เชิงลึก พ่อแม่คนไทย 6 ประเภท ประเภทละ 2 คน รวมทั้งหมด 12 คน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 93.4 เป็นพ่อแม่ที่แบ่งปันเนื้อหาลูกบนสื่อสังคมออนไลน์ด้วยเหตุผลสำคัญคือ แรงจูงใจด้านอารมณ์ แรงจูงใจด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และแรงจูงใจด้านเทคโนโลยีส่วนพ่อแม่ที่ไม่แบ่งปันเนื้อหาลูกมีเหตุผลสำคัญ คือ เรื่องสิทธิความเป็นส่วนตัว และเกรงผลกระทบด้านลบที่มีต่อลูกในอนาคต ทั้งนี้พ่อแม่ส่วนใหญ่เริ่มแบ่งปันเนื้อหาในช่วงขวบปีแรกของลูก โดยแบ่งปันด้วยความถี่น้อยกว่าเดือนละครั้ง ผ่านแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก และมีการตั้งค่าผู้เข้าถึงเนื้อหา อย่างไรก็ตามพ่อแม่ส่วนใหญ่เลือกขอความยินยอมจากลูกก่อนแบ่งปันเนื้อหาเพียงบางครั้ง และมีถึงร้อยละ 22.1 ที่ไม่เคยขอความยินยอมจากลูกก่อนแบ่งปันเนื้อหาเลย ด้วยเหตุผลเรื่องลูกยังเด็ก ลูกยังไม่มีวิจารณญาณเพียงพอในการตัดสินใจ และมั่นใจว่าพ่อแม่เองสามารถเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูก ทั้งนี้ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการแบ่งปันเนื้อหาลูกบนสื่อสังคมออนไลน์ ประกอบด้วย ปัจจัยภายใน ได้แก่ ปัจจัยด้านความรู้ และปัจจัยภายนอก ได้แก่ ปัจจัยด้านการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ปัจจัยด้านเทคโนโลยี และปัจจัยด้านวัฒนธรรมและกระแสสังคม ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการขอความยินยอมจากลูกก่อนแบ่งปันเนื้อหา ประกอบด้วย ปัจจัยภายใน ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านความรู้ ปัจจัยด้านอารมณ์ และปัจจัยภายนอก ได้แก่ ปัจจัยด้านการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ปัจจัยด้านเทคโนโลยี ปัจจัยด้านวัฒนธรรมและกระแสสังคม ปัจจัยด้านกฎหมายและปัจจัยด้านรางวัล ผลการวิจัยครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่าพฤติกรรมการแบ่งปันเนื้อหาลูกบนสื่อสังคมออนไลน์ของพ่อแม่คนไทยสามารถสร้างพื้นที่แบ่งปันเรื่องราวที่เป็นความสุข ความทรงจำและเชื่อมสัมพันธ์กับผู้อื่น อย่างไรก็ตามในการแบ่งปันเนื้อหาลูกบนสื่อสังคมออนไลน์ พ่อแม่ต้องคำนึงถึงผลกระทบทางลบต่อลูกที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งปัจจุบันและอนาคต โดยเฉพาะเรื่องสิทธิความเป็นส่วนตัวและการเปิดให้ลูกร่วมตัดสินใจในเรื่องของลูกที่มักถูกละเลยจากพ่อแม่คนไทย


อิทธิพลของแรงจูงใจและการมีส่วนร่วมในอินสตาแกรมรีลส์ต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าแฟชั่นของผู้บริโภค, ปฤณ มุ่งประสิทธิชัย Jan 2022

อิทธิพลของแรงจูงใจและการมีส่วนร่วมในอินสตาแกรมรีลส์ต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าแฟชั่นของผู้บริโภค, ปฤณ มุ่งประสิทธิชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) แรงจูงใจของการใช้ Instagram Reels การมีส่วนร่วม และพฤติกรรมซื้อสินค้าแฟชั่นของผู้บริโภค (ได้แก่ ความตั้งใจซื้อซ้ำ และความภักดีต่อตราสินค้า) และ 2) อิทธิพลของแรงจูงใจของการใช้ Instagram Reels และการมีส่วนร่วม ต่อพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค โดยใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์ จาก 1) กลุ่มตัวอย่างเพศหญิงอายุ 23 – 30 ปี ที่เป็นผู้ติดตาม มีส่วนร่วมใน Instagram Reels และเคยซื้อสินค้าตราสินค้า Lookbooklookbook ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 203 คน และ 2) กลุ่มตัวอย่างเพศหญิงอายุ 23 – 30 ปี ที่เป็นผู้ติดตาม มีส่วนร่วมใน Instagram Reels และเคยซื้อสินค้าตราสินค้า Mitr ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 213 คน รวมทั้งหมด 416 คน ผลการวิจัยพบว่า แรงจูงใจของการใช้ Instagram Reels การมีส่วนร่วม และพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคของตราสินค้า Lookbooklookbook และตราสินค้า Mitr แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ โดยแรงจูงใจของการใช้ Instagram Reels ด้านการส่งเสริมตนเอง การหลีกหนี การจัดการข้อมูล และด้านความทันสมัย มีอิทธิพลเชิงบวกต่อการมีส่วนร่วม และการมีส่วนร่วมด้านการแสดงออกมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคทั้งด้านความตั้งใจซื้อซ้ำและความภักดีต่อตราสินค้า ในขณะที่แรงจูงใจของการใช้ Instagram Reels ด้านความบันเทิงมีอิทธิพลทั้งเชิงบวกและเชิงลบต่อพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค นอกจากนี้ แรงจูงใจด้านการส่งเสริมตนเอง และการจัดการข้อมูลยังมีอิทธิพลโดยตรงกับพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคอีกด้วย


ปัจจัยพยากรณ์การตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ประเภทบ้านเดี่ยวมือสองของกลุ่มผู้บริโภค, วนัชภรณ์ จรูญโรจน์ ณ อยุธยา Jan 2022

ปัจจัยพยากรณ์การตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ประเภทบ้านเดี่ยวมือสองของกลุ่มผู้บริโภค, วนัชภรณ์ จรูญโรจน์ ณ อยุธยา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงปริมาณครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างทางลักษณะประชากร และสำรวจการเปิดรับสื่อ การสื่อสารการตลาด และการรับรู้ความเสี่ยง ของกลุ่มผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครที่มีต่อการตัดสินใจซื่ออสังหาริมทรัพย์ประเภทบ้านเดี่ยวมือสอง รวมถึงอธิบายความสามารถในการพยากรณ์การตัดสินใจซื้อบ้านเดี่ยวมือสอง จากปัจจัยด้านการเปิดรับสื่อ การสื่อสารการตลาด และการรับรู้ความเสี่ยงของกลุ่มผู้บริโภค โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร และมีความสนใจซื้อบ้านเดี่ยวมือสอง จำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะประชากรของกลุ่มผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครที่แตกต่างกันในด้านเพศ/อายุ/อาชีพ/จำนวนสมาชิกอาศัยในบ้านเดียวกัน มีการตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ประเภทบ้านเดี่ยวมือสองแตกต่างกันที่นัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ลักษณะประชากรที่มีการตัดสินซื้อระดับสูงที่สุด คือ LGBTIQ+/อายุ 41-60 ปี/อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน/จำนวนสมาชิกภายในบ้าน 1-2 คนส่วนผู้บริโภคที่มีระดับการศึกษา/รายได้เฉลี่ยต่อเดือน/สถานภาพแตกต่างกัน มีการตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ประเภทบ้านเดี่ยวมือสองที่ไม่แตกต่างกันที่นัยสำคัญทางสถิติ 0.05 การเปิดรับข้อมูลโดยรวม, การรับรู้การสื่อสารการตลาดโดยรวม และการรับรู้ความเสี่ยงโดยรวมสามารถพยากรณ์การตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ประเภทบ้านเดี่ยวมือสองของกลุ่มผู้บริโภคกรุงเทพมหานครที่นัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยตัวแปรอิสระดังกล่าว สามารถพยากรณ์การตัดสินใจซื้อได้ร้อยละ 41 โดยปัจจัยการรับรู้ความเสี่ยงสามารถพยากรณ์การตัดสินใจซื้ออย่างมีนัยสำคัญมากที่สุด รองลงมาเป็นการเปิดรับข้อมูล และการรับรู้การสื่อสารการตลาด ตามลำดับ เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้


อิทธิพลของการรับรู้ตราสินค้าบุคคลทางการเมืองต่อพฤติกรรมของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง, รมิดา จิตติมิตร Jan 2022

อิทธิพลของการรับรู้ตราสินค้าบุคคลทางการเมืองต่อพฤติกรรมของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง, รมิดา จิตติมิตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจผ่านช่องทางออนไลน์ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) อธิบายการรับรู้ตราสินค้าบุคคลทางการเมือง (ชัชชาติ สิทธิพันธุ์) และพฤติกรรมการเลือกตั้ง 2) วิเคราะห์อิทธิพลของการรับรู้ตราสินค้าบุคคลทางการเมืองที่มีต่อพฤติกรรมการเลือกตั้ง 3) วิเคราะห์อิทธิพลของทัศนคติต่อการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่มีต่อความผูกพันบนสื่อสังคมออนไลน์ 4) วิเคราะห์อิทธิพลของความสอดคล้องกับภาพลักษณ์ของตนเองในฐานะตัวแปรกำกับ ที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ตราสินค้าบุคคลทางการเมืองกับพฤติกรรมการเลือกตั้ง และ 5) วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างเจเนอเรชันในแง่ของตัวแปรต่าง ๆ โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 465 คน มีอายุระหว่าง 18 – 58 ปี และติดตามหรือเคยเห็นสื่อสังคมออนไลน์ของชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อย่างน้อย 3 ครั้ง ในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ตราสินค้าบุคคลทางการเมืองในระดับสูง โดยเฉพาะมิติด้านความน่าไว้วางใจ และมีพฤติกรรมการเลือกตั้งในระดับที่ดี นอกจากนี้ การรับรู้ตราสินค้าบุคคลทางการเมืองมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลือกตั้งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ รวมไปถึงทัศนคติต่อการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์มีอิทธิพลต่อความผูกพันบนสื่อสังคมออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ความสอดคล้องกับภาพลักษณ์ของตนเองยังส่งผลเชิงลบต่อความตั้งใจในการแนะนำ และความตั้งใจในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง อีกทั้งในแต่ละเจนเนอเรชันมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในแง่ของการรับรู้ตราสินค้าบุคคลทางการเมือง ความสอดคคล้องกับภาพลักษณ์ของตนเอง และทัศนคติต่อการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ด้วย


อิทธิพลของการเปิดรับข่าวสารต่อการยอมรับการใช้งานโทเคนดิจิทัลในอุตสาหกรรมบันเทิงในกลุ่มผู้บริโภคเจนเนอเรชันวาย, วรเชษฐ์ อนุ Jan 2022

อิทธิพลของการเปิดรับข่าวสารต่อการยอมรับการใช้งานโทเคนดิจิทัลในอุตสาหกรรมบันเทิงในกลุ่มผู้บริโภคเจนเนอเรชันวาย, วรเชษฐ์ อนุ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาอิทธิพลของการเปิดรับข่าวสารและเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสารและการยอมรับการใช้งานโทเคนดิจิทัลในอุตสาหกรรมบันเทิงในกลุ่มผู้บริโภคเจนเนอเรชันวาย โดยการใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิธีการสำรวจผ่านช่องทางออนไลน์ (Survey Research) ในการวิจัยครั้งนี้มีกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 419 คน โดยมีการเก็บข้อมูลในกลุ่มสังคมออนไลน์ในกลุ่มผู้บริโภคที่เกิดในปี พ.ศ. 2524 – 2543 และรู้จักโทเคนดิจิทัลในอุตสาหกรรมบันเทิง และมีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิตสมการโครงสร้าง (Structural Equation Model: SEM) โดยมีการกำหนดระดับนัยยะสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยพบว่าการเปิดรับข่าวสารมีอิทธิพลต่อการยอมรับการใช้งานโทเคนดิจิทัลในอุตสาหกรรมบันเทิงในทางอ้อม ซึ่งมีโครงสร้างดังต่อไปนี้การเปิดรับข่าวสารมีอิทธิพลต่อการรับรู้ความเสี่ยง ความไว้วางใจ ความคาดหวังในความพยายาม ความคาดหวังด้านประสิทธิภาพและสภาพสิ่งอำนวยความสะดวกนอกจากนี้ผลการวิจัยยังพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจมีเพียง 3 ปัจจัยได้แก่ คความไว้วางใจ ความคาดหวังในความพยายามและความคาดหวังด้านประสิทธิภาพ ขณะที่ความตั้งใจใช้งานไม่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้งานแต่ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้งานคือสภาพสิ่งอำนวยความสะดวก


แรงจูงใจ การเปิดรับสื่อ และพฤติกรรมการบริโภคสินค้าเครื่องประดับเสริมดวงของผู้บริโภคเพศชาย, ศศิชา เตียวลักษณ์ Jan 2022

แรงจูงใจ การเปิดรับสื่อ และพฤติกรรมการบริโภคสินค้าเครื่องประดับเสริมดวงของผู้บริโภคเพศชาย, ศศิชา เตียวลักษณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) แรงจูงใจ การเปิดรับสื่อ และพฤติกรรมการบริโภคสินค้าเครื่องประดับเสริมดวงของผู้บริโภคที่มีเพศสภาพเป็นชาย 2) อิทธิพลของแรงจูงใจ การเปิดรับสื่อ และทัศนคติที่มีต่อพฤติกรรมการบริโภคสินค้าเครื่องประดับเสริมดวง และ 3) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจ การเปิดรับสื่อ และพฤติกรรมการบริโภคสินค้าเครื่องประดับเสริมดวงของผู้บริโภคที่มีเพศสภาพเป็นชาย เป็นการวิจัยเชิงสำรวจใช้แบบสอบถามผ่านช่องทางออนไลน์ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างคือผู้บริโภคที่มีเพศสภาพเป็นชาย อายุระหว่าง 18 – 60 ปี มีถิ่นที่อยู่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล และเคยบริโภคสินค้าเครื่องประดับเสริมดวงในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา จำนวน 400 คน ผลวิจัยพบว่า แรงจูงใจและการเปิดรับสื่อมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคสินค้าเครื่องประดับเสริมดวงของผู้บริโภคที่มีเพศสภาพเป็นชาย ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ในระดับสูงและปานกลางตามลำดับ และตัวแปรทั้ง 3 ได้แก่ แรงจูงใจ การเปิดรับสื่อและทัศนคติล้วนมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคเครื่องประดับเสริมดวงของผู้บริโภคที่มีเพศสภาพเป็นชาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมในการบริโภคสินค้าเครื่องประดับเสริมดวงของผู้บริโภคที่มีเพศสภาพเป็นชายของกลุ่มตัวอย่างรวมได้ร้อยละ 62 โดยค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของตัวแปรทัศคติมีค่าร้อยละ 62.1 (ค่า Beta =0.621) ตัวแปรแรงจูงใจมีค่าร้อยละ 16.8 (ค่า Beta =0.168) และตัวแปรการเปิดรับสื่อมีค่าร้อยละ 14 (Beta =0.140)


การออกแบบนิทรรศการด้วยแนวคิดการเล่าเรื่องแบบทรานส์มีเดียเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์, วิชญ์ธนา ธารจินดาวงศ์ Jan 2022

การออกแบบนิทรรศการด้วยแนวคิดการเล่าเรื่องแบบทรานส์มีเดียเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์, วิชญ์ธนา ธารจินดาวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ โดยระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1. การศึกษาแนวคิดจากกรณีตัวอย่างนิทรรศการที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์และนิทรรศการที่ประยุกต์ใช้ทรานส์มีเดียจากคลังข้อมูลของศูนย์ออกแบบงานสร้างสรรค์ (Creative Economic Agency) รวมถึงการสัมภาษณ์เพื่อสอบถามถึงเบื้องหลังในการออกแบบนิทรรศการเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 2.การออกแบบนิทรรศการเชิงทดลอง ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์โดยเฉพาะบริบทดนตรีทางเลือก โดยประยุกต์ใช้แนวคิดทรานส์มีเดียในการเล่าเรื่อง 3.การทดสอบประสิทธิภาพของการออกแบบโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ผ่านการสัมภาษณ์กลุ่มผู้เข้าชมนิทรรศการ และการสัมภาษณ์รายบุคคลจากผู้เชี่ยวชาญในด้านสื่อและนิทรรศการ โดยวิเคราะห์ เชื่อมโยง และสรุปผล ผลการวิจัยพบว่า นิทรรศการที่เล่าเรื่องแบบทรานส์มีเดีย อาศัยคุณลักษณะสองประการ ได้แก่ การปฏิสัมพันธ์ (interactive) และ ความดื่มด่ำ (immersive) เพื่อนำผู้ชมนำไปสู่การสร้างพื้นที่แห่งการมีส่วนร่วม ในด้านการรับรู้เนื้อหาที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมดนตรีนอกกระแส พบว่า ผู้ชมส่วนใหญ่สามารถเข้าใจเนื้อหาที่เกี่ยวกับดนตรีนอกกระแส โดยให้ความสนใจกับเนื้อหาที่สร้างสรรค์โดยผู้ชมคนอื่น โดยนอกจากการสื่อสารจะนำไปสู่การรับรู้ความหลากหลายของดนตรีนอกกระแสแล้ว เรื่องเล่าที่ประกฎในนิทรรศการยังนำไปสู่ข้อถกเถียงทางสังคม (public discussion) ที่เปิดประเด็นที่เกี่ยวข้องกับข้อถกเถียงในเชิงโครงสร้างของอุตสาหกรรมดนตรีในบริบทของไทย


อิทธิพลของความเหมือนกันของผู้บริโภคกับตราสินค้า และเนื้อหาโฆษณาบนอินสตาแกรมรีลส์ต่อพฤติกรรมผู้บริโภค, อภิกษณา จิตรเกาะ Jan 2022

อิทธิพลของความเหมือนกันของผู้บริโภคกับตราสินค้า และเนื้อหาโฆษณาบนอินสตาแกรมรีลส์ต่อพฤติกรรมผู้บริโภค, อภิกษณา จิตรเกาะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหมือนกันของผู้บริโภคกับตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติต่อเนื้อหาโฆษณาบนอินสตาแกรมรีลส์ และอธิบายอิทธิพลของทัศนคติต่อเนื้อหาโฆษณาบนอินสตาแกรมรีลส์ที่มีต่อทัศนคติต่อตราสินค้า ความเต็มใจในการส่งต่อ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคเจเนอเรชันซี ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ เทคนิควิจัยเชิงสำรวจด้วยแบบสอบถามออนไลน์ มีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริโภคเจเนอเรชันซี มีอายุระหว่าง 18 – 26 ปี ทุกเพศสภาพ ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยกระจายแบบสอบถามผ่านช่องทางอินสตาแกรม เฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ ในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ.2566 ผลการวิจัยพบว่า ความเหมือนกันของผู้บริโภคกับตราสินค้าของกลุ่มผู้บริโภคเจเนอเรชันซีมีอิทธิพลเชิงบวกต่อทัศนคติต่อเนื้อหาโฆษณาบนอินสตาแกรมรีลส์ที่แสดงความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเนื้อหาโฆษณาบนอินสตาแกรมรีลส์ที่แสดงผลิตภัณฑ์เท่านั้น ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ ยังพบว่า ทัศนคติต่อเนื้อหาโฆษณาบนอินสตาแกรมรีลส์ที่แสดงความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และทัศนคติต่อเนื้อหาโฆษณาที่แสดงผลิตภัณฑ์เท่านั้น มีอิทธิพลเชิงบวกต่อทัศนคติต่อตราสินค้า ความเต็มใจในการส่งต่อ และความตั้งใจซื้อ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05


อิทธิพลของการสื่อสารการตลาดโดยใช้ชื่อศิลปินในแฮชแท็กทวิตเตอร์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของกลุ่มผู้ใช้ทวิตเตอร์ทั่วไปและกลุ่มผู้ชื่นชอบศิลปิน, สรรค์ โรจนทัพพะ Jan 2022

อิทธิพลของการสื่อสารการตลาดโดยใช้ชื่อศิลปินในแฮชแท็กทวิตเตอร์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของกลุ่มผู้ใช้ทวิตเตอร์ทั่วไปและกลุ่มผู้ชื่นชอบศิลปิน, สรรค์ โรจนทัพพะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากร การเปิดรับการสื่อสารการตลาดโดยใช้ชื่อศิลปินผ่านแฮชแท็กในทวิตเตอร์ ทัศนคติต่อตราสินค้า การรับรู้ตราสินค้าประเภทเกี่ยวพันต่ำ และการตัดสินใจซื้อสินค้าของกลุ่มผู้ใช้ทวิตเตอร์ทั่วไปและกลุ่มผู้ชื่นชอบศิลปิน รวมทั้งเพื่ออธิบายอิทธิพลของปัจจัยด้านการเปิดรับการสื่อสารการตลาด ทัศนคติต่อตราสินค้า และการรับรู้ตราสินค้าประเภทเกี่ยวพันต่ำที่มีต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของกลุ่มผู้ใช้ทวิตเตอร์ทั่วไปและกลุ่มผู้ชื่นชอบศิลปิน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ ด้วยการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามออนไลน์ จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มผู้ใช้ทวิตเตอร์ทั่วไป จำนวน 200 คน และกลุ่มผู้ชื่นชอบศิลปิน จำนวน 200 คน โดยประมวลผลในโปรแกรม SPSS ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มผู้ใช้ทวิตเตอร์ทั่วไปและกลุ่มผู้ชื่นชอบศิลปินมีการเปิดรับ ทัศนคติ การรับรู้ตราสินค้า และการตัดสินใจซื้อสินค้าแตกต่างกันอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 โดยกลุ่มผู้ชื่นชอบศิลปินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มผู้ใช้ทวิตเตอร์ทั่วไปในทุก ๆ ปัจจัย 2) กลุ่มผู้ใช้ทวิตเตอร์ทั่วไปที่มีอายุ 18 – 24 ปี จะมีทัศนคติ การรับรู้ตราสินค้า และการตัดสินใจซื้อสินค้ามากกว่าอายุ 25 – 31 ปี 3) กลุ่มผู้ใช้ทวิตเตอร์ทั่วไปที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีและปริญญาตรีจะมีทัศนคติ การรับรู้ตราสินค้า และการตัดสินใจซื้อสินค้ามากกว่าระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี 4) กลุ่มผู้ชื่นชอบศิลปินที่มีเพศและอายุที่ต่างกันมีทัศนคติต่อตราสินค้าแตกต่างกัน 5) ปัจจัยด้านการเปิดรับ ทัศนคติ และการรับรู้ตราสินค้ามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001


อิทธิพลของผู้นำทางความคิดด้านความงามบนอินสตาแกรม ต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค, อภิชญา ศรีเทวฤทธิ์ Jan 2022

อิทธิพลของผู้นำทางความคิดด้านความงามบนอินสตาแกรม ต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค, อภิชญา ศรีเทวฤทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะของผู้นำทางความคิดด้านความงามบนอินสตา แกรม และศึกษาอิทธิพลของคุณลักษณะของผู้นำทางความคิดด้านความงามบนอินสตาแกรม ต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเพศหญิง อายุระหว่าง 25-34 ปี ที่มีการกดติดตามข้อมูลจากช่องทางอินสตาแกรมของผู้นำทางความคิดด้านความงามอย่างน้อย 3 ใน 10 คน ที่ผู้วิจัยได้กำหนดไว้ และได้ติดตามข้อมูลอย่างน้อย 1 ครั้ง ใน 1 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะของผู้นำทางความคิดด้านความงามทั้งสามด้านมีอิทธิพลต่อทัศนคติของผู้บริโภค โดยคุณลักษณะด้านความน่าเชื่อถือมีอิทธิพลต่อทัศนคติต่อผู้นำทางความคิดของผู้บริโภคมากที่สุด สำหรับการทดสอบอิทธิพลของคุณลักษณะของผู้นำทางความคิดต่อพฤติกรรมของผู้บริโภค พบว่า คุณลักษณะทั้งสามด้านมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค โดยคุณลักษณะด้านการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริงมีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อมากที่สุด และมีเพียงคุณลักษณะด้านการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริงคุณลักษณะเดียวที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคด้านการมีส่วนร่วม นอกจากนี้ การวิจัยยังพบว่าทัศนคติต่อผู้นำทางความคิดของผู้บริโภคมีอิทธิพลต่อทั้งพฤติกรรมการมีส่วนร่วมและความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค


อิทธิพลของยูทูบเบอร์สายรีวิวอาหารต่อพฤติกรรมการรับประทานตามของกลุ่มผู้ใช้ยูทูบ, อังค์ริสา ธีระพันธ์ Jan 2022

อิทธิพลของยูทูบเบอร์สายรีวิวอาหารต่อพฤติกรรมการรับประทานตามของกลุ่มผู้ใช้ยูทูบ, อังค์ริสา ธีระพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจพฤติกรรมการเปิดรับสื่อจากคลิปวิดีโอของยูทูบเบอร์สายรีวิวอาหารของผู้ใช้ยูทูบ 2) เพื่ออธิบายปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับประทานอาหารตามยูทูบเบอร์สายรีวิวอาหาร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ในรูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ด้วยการแจกแบบสอบถามออนไลน์ (Online Questionnaire) จากกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มีประสบการณ์ในการรับชมคลิปวิดีโอรีวิวอาหารในเว็บไซต์ยูทูบ จำนวน 384 คน และนำผลมาวิเคราะห์ใน SPSS ผลการวิจัย พบว่า 1) การเปิดรับสื่อคลิปวิดีโอยูทูบเบอร์สายรีวิวอาหารมีอิทธิพลต่อผู้ใช้ยูทูบ 2) อิทธิพลที่ผู้ใช้ยูทูบได้รับจากการรับชมคลิปวิดีโอยูทูบเบอร์สายรีวิวอาหารด้านการปฏิสัมพันธ์ส่งผลต่อพฤติกรรมการรับประทานตามมากที่สุด รองลงมา ด้านความไว้วางใจ ด้านความชอบ ด้านความเกี่ยวพัน


การโหยหาอดีตและการประกอบสร้างความทรงจำร่วมในแนวเพลงซินธ์ป๊อปของโพลีแคท และ วรันธร เปานิล, สุพิชญา คำเขียน Jan 2022

การโหยหาอดีตและการประกอบสร้างความทรงจำร่วมในแนวเพลงซินธ์ป๊อปของโพลีแคท และ วรันธร เปานิล, สุพิชญา คำเขียน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการนำเสนอการโหยหาอดีต และ วิเคราะห์การประกอบสร้างความทรงจำร่วมจากแนวเพลงซินธ์ป๊อปของศิลปินโพลีแคท และ วรันธร เปานิล ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์ตัวบทจาก ผลงานเพลงของทั้งสองศิลปินจากแพลตฟอร์มออนไลน์ และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างสรรค์ ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ประพันธ์เพลง แฟนเพลง และผู้เชี่ยวชาญที่ให้มุมมองวิชาการในด้านดนตรีศึกษากับมิติเชิงสังคม รวมทั้งสิ้น 23 คน ผลการวิจัยพบว่า การโหยหาอดีตในแนวเพลงซินธ์ป๊อปของทั้งสองศิลปิน มีกลวิธีในการนำเสนอผ่านองค์ประกอบต่าง ๆ ของเพลง ได้แก่ เนื้อเพลง (Lyrics) คีตประพันธ์ (Form) จังหวะ (Tempo) และ สีสันของเสียง (Tone color) โดยภาพรวมของผลงานเพลงทั้งหมด มุ่งถ่ายทอดเนื้อหาผ่าน 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ มุมมองเกี่ยวกับเรื่องความรัก และ ช่วงเวลาสำคัญของชีวิต แฟนเพลงสามารถเชื่อมโยงการโหยหาอดีตที่เกิดขึ้นในระดับปัจเจกบุคคล ได้จากตัวแปรสำคัญ คือ ประสบการณ์การใช้ชีวิต (Live experience) ซึ่งสัมพันธ์กับอารมณ์และความรู้สึก (Emotional and feeling) ที่เกิดขึ้นระหว่างการฟังเพลงนั้นในอดีตเป็นหลัก สำหรับองค์ประกอบของคีตประพันธ์พบว่า โครงสร้างของเพลงแบบ ABC ที่มีการวนซ้ำในตำแหน่งครอรัสของเพลง เป็นแบบแผนที่เสริมให้เพลงซินธ์ป๊อปเกิดท่อนที่จดจำ และแฟนเพลงสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาผ่านเพลงกับเรื่องราวของอดีตของตนเองได้ ในส่วนของสีสันของเสียง พบว่า ซินธิไซเซอร์ เป็นเครื่องดนตรีหลักที่ส่งเสริมอัตลักษณ์ (Identity) ของแนวเพลงเป็นซินธ์ป๊อปให้แฟนเพลงสามารถเชื่อมโยงกับเสน่ห์ในยุค 80s อาทิ สภาพสังคมความเป็นอยู่ หรือ แฟชั่นเครื่องแต่งกาย ที่ได้รับความนิยมในยุคนั้น และองค์ประกอบส่วนของจังหวะ เป็นตัวแปรสำคัญในการส่งเสริมอารมณ์เพลง ให้ผู้ฟังสามารถเลือกเชื่อมโยงความรู้สึกจากประสบการณ์อดีตที่เกิดขึ้นได้แตกต่างกันตามบุคคล เมื่อพิจารณาการสื่อสารเนื้อหาเกี่ยวกับการโหยหาอดีตผ่านเพลง กล่าวโดยสรุปได้ว่า ในมุมของศิลปิน อาศัยกระบวนการในการการถ่ายทอดแรงบันดาลใจร่วมกับ การนำเสนอเอกลักษณ์ของความเก่าคลาสสิค แบบ 80s ที่สะท้อนผ่านตัวตนของตนเอง ในขณะเดียวกับแฟนเพลงสามารถรับรู้และเชื่อมโยงเอกลักษณ์นั้น ร่วมกับประสบการณ์ส่วนตัวอันนำไปสู่การโหยหาอดีตจากแนวเพลงซินธ์ป๊อปได้ และสำหรับการประกอบสร้างความทรงจำร่วม ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ตัวบทผ่านสื่อคอนเสิร์ต ซึ่งเป็นเหตุการณ์ (Event) ที่มีร่วมกันระหว่างศิลปินและแฟนเพลง พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความทรงจำร่วมผ่านเพลงซินธ์ป๊อปของโพลีแคท และ วรันธร เปานิล ประกอบไปด้วย 1) ประสบการณ์ส่วนตัว 2) รสนิยมในการฟังเพลง (Personal …


ปัจจัยกำหนดการเข้าสู่การทำงาน รูปแบบการทำงาน และชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานของแรงงานวัยเยาว์ในประเทศไทย, กนกนิษก์ ตัณฑ์กุลรัตน์ Jan 2022

ปัจจัยกำหนดการเข้าสู่การทำงาน รูปแบบการทำงาน และชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานของแรงงานวัยเยาว์ในประเทศไทย, กนกนิษก์ ตัณฑ์กุลรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ของเด็กอายุ 15-17 ปี ในประเทศไทยที่เข้าสู่การทำงาน รวมทั้ง รูปแบบการทำงานและชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานของแรงงานวัยเยาว์ (เด็กอายุ 15-17 ปี ที่ทำงาน) นอกจากนี้ การวิจัยนี้ยังมุ่งศึกษาปัจจัยทางประชากรในครัวเรือนและลักษณะครัวเรือนที่ส่งผลต่อการเข้าสู่การทำงานของเด็ก ตลอดจน รูปแบบการทำงานและการทำงานในชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานของแรงงานวัยเยาว์ ทั้งนี้ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานที่ใช้ข้อมูลเชิงปริมาณจากการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร ไตรมาส 3 พ.ศ. 2561 ที่จัดเก็บโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับแรงงานวัยเยาว์ จำนวน 27 คน ผลการวิจัยที่สำคัญ พบว่า แรงงานวัยเยาว์ส่วนใหญ่ทำงานช่วยเหลือธุรกิจในครัวเรือนโดยไม่ได้รับค่าจ้าง รองลงมาคือการเป็นลูกจ้าง นอกจากนี้ ยังพบว่าแรงงานวัยเยาว์ที่ทำงานไปด้วยเรียนไปด้วยมีสัดส่วนของการทำงานในชั่วโมงที่ยาวนานมากกว่าแรงงานวัยเยาว์ที่ทำงานอย่างเดียว ส่วนปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเข้าสู่การทำงานในรูปแบบการทำงานอย่างเดียว ได้แก่ ระดับการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือนและสมาชิกคนอื่นในครัวเรือนที่อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป สถานภาพสมรสของหัวหน้าครัวเรือน ความเกี่ยวพันทางญาติกับหัวหน้าครัวเรือน การขาดการเอาใจใส่ด้านการศึกษาของผู้ปกครอง สำหรับปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน ได้เก่ การหารายได้ที่เพียงพอเพื่อเลี้ยงครอบครัว การเป็นลูกจ้าง และการขาดทักษะชีวิตในการจัดการเวลา ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะหลัก 4 ประการ ได้แก่ 1. ควรพิจารณาปัจจัยเสี่ยงในครัวเรือนและจัดการรายกรณีสำหรับเด็กที่มีปัจจัยเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งป้องกันการหลุดออกนอกระบบการศึกษาและช่วยให้แรงงานวัยเยาว์ที่ทำงานอย่างเดียวกลับมาเรียนต่อได้ โดยอาจเป็นการทำงานควบคู่กับการเรียน 2. ควรพัฒนาทักษะการทำงานของเด็กเพื่อให้แรงงานได้มีโอกาสการทำงานที่ได้รับค่าตอบแทนที่สูงขึ้นทำให้มีชั่วโมงการทำงานที่น้อยลง 3. ควรร่วมมือกับนายจ้างในการออกแนวทางการกำหนดชั่วโมงการทำงานสำหรับแรงงานวัยเยาว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แรงงานวัยเยาว์ที่ทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย รวมทั้งให้ครอบคลุมถึงกลุ่มเด็กที่เรียนในสายสามัญนอกเหนือจากสายอาชีพ 4. ควรพัฒนาทักษะชีวิติในการจัดการเวลาในการทำงานตั้งแต่วัยเยาว์เพื่อตอบสนองการทำงานในอนาคต


การเปิดรับสื่อและคุณภาพชีวิตประชากรไทยอายุ 50 ปีขึ้นไป, กัลยกร ฝูงวานิช Jan 2022

การเปิดรับสื่อและคุณภาพชีวิตประชากรไทยอายุ 50 ปีขึ้นไป, กัลยกร ฝูงวานิช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของการเปิดรับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ผ่านสื่อแต่ละประเภท ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเปิดรับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ผ่านสื่อแต่ละประเภท และความสัมพันธ์ของการเปิดรับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ผ่านสื่อแต่ละประเภทกับคุณภาพชีวิตประชากรไทยอายุ 50 ปีขึ้นไป โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ในการวิจัยเชิงปริมาณใช้ข้อมูลจากการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2560 และ 2564 กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือ ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ผลการศึกษาพบว่า ประชากรอายุ 50-59 ปี ร้อยละ 91.23 และอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ92.87 เปิดรับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองผ่านสื่ออย่างน้อย 1 ประเภท โดยจะเปิดรับสื่อแต่ละประเภทในสัดส่วนที่ไม่เท่ากัน และมีปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเปิดรับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ผ่านสื่อแต่ละประเภทแตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม สื่อออนไลน์เป็นสื่อที่ประชากรทั้ง 2 กลุ่ม เปิดรับเพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับสื่อประเภทอื่น ทั้งนี้อาจเนื่องจากในระหว่างปี พ.ศ. 2560 และ 2564 มีสถานการณ์การเกิดโรคระบาดโควิด-19 ทำให้การเว้นระยะห่างทางสังคมเป็นมาตรการที่จำเป็นในการป้องกันตนเอง นำไปสู่การเพิ่มบทบาทการใช้สื่อออนไลน์ในชีวิตประจำวันของประชากรในทุกกลุ่มวัย นอกจากนี้ผลการศึกษายังพบว่าการเปิดรับสื่อประเภทต่างๆมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของประชากรไทยอายุ 50 ปีขึ้นไปในด้านสุขภาพกาย สุขภาพใจ การมีส่วนร่วม และ การมีหลักประกันและความมั่นคงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่มประชากรอายุ 50-59 ปี การเปิดรับเฉพาะโทรทัศน์ มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านการมีหลักประกันและความมั่นคง ขณะที่การเปิดรับเฉพาะสื่อบุคคล มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพใจและการมีส่วนร่วม และการเปิดรับเฉพาะสื่อออนไลน์ จะมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในด้านสุขภาพกาย สุขภาพใจ และการมีส่วนร่วม เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่เปิดรับสื่อประเภทใดเลย ในขณะที่กลุ่มประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป พบว่า การเปิดรับเฉพาะโทรทัศน์ มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านการมีสุขภาพกาย การมีส่วนร่วม และการหลักประกันและความมั่นคง ขณะที่การเปิดรับเฉพาะสื่อบุคคล มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านการมีส่วนร่วม และการเปิดรับเฉพาะสื่อออนไลน์ มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกาย เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่เปิดรับสื่อประเภทใดเลย ทั้งนี้การเปิดรับสื่อที่มีความหลากหลายจะทำให้คุณภาพชีวิตของประชากรอายุ 50 ปีขึ้นไปดีขึ้น ทั้งในมิติด้านสุขภาพกาย สุขภาพใจ การมีส่วนร่วม และการมีหลักประกันและความมั่นคง โดยปัจจัยด้านประเภทสื่อที่เปิดรับและความหลากหลายของสื่อมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของประชากรไทยอายุ 50 ปีขึ้นไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


East Asia’S Soft Power Competition In Southeast Asia: A Case Study Of Public Diplomacy Efforts In Promoting Japanese, Chinese, And Korean Language Learning In Thailand Since The 2000s, Nala Han Jan 2022

East Asia’S Soft Power Competition In Southeast Asia: A Case Study Of Public Diplomacy Efforts In Promoting Japanese, Chinese, And Korean Language Learning In Thailand Since The 2000s, Nala Han

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Japan and China are major superpowers in Asia with historically and economically close relations to Southeast Asia, while Korea remained relatively invisible until the 19th century. The different historical ties of these three countries with Southeast Asia have resulted in different approaches to the region. This study examines how Japan, China, and Korea have expanded their presence in Southeast Asia, focusing on their use of soft power. Soft power, a concept introduced by Joseph Nye Jr. in the 1990s, has become essential in understanding the power dynamics of the international community. The research specifically looks at the efforts of the …


The Emergence Of The Non-Aligned Foreign Policy Of Burma From The End Of The Second World War To Bandung Conference, Aung Kyaw Min Jan 2022

The Emergence Of The Non-Aligned Foreign Policy Of Burma From The End Of The Second World War To Bandung Conference, Aung Kyaw Min

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Burma has been practicing non-aligned foreign policy since its independence. Most of the literature studied on Burma's foreign policy argued that Burma's non-aligned foreign policy was initiated around 1950. As Burma became a colony under the British Empire from 1886 to 1948, the experience of colonialism might also play an essential role in foreign relations in Burma. After independence, Burma also faced numerous challenges, such as insurgency problems. Therefore, the primary objective of this study is to examine the emergence of the ideological foundation of the non-aligned foreign policy of Burma after the Second World War. Moreover, this study will …