Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 871 - 900 of 5570

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

การศึกษาปัญหาและอุปสรรคกระบวนการต่ออายุใบอนุญาตครอบครองเครื่องเอกซเรย์ของกรมศุลกากร, ภัสสร อังศุธรรมกุล Jan 2022

การศึกษาปัญหาและอุปสรรคกระบวนการต่ออายุใบอนุญาตครอบครองเครื่องเอกซเรย์ของกรมศุลกากร, ภัสสร อังศุธรรมกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาวิจัย เรื่อง การศึกษาปัญหาและอุปสรรคกระบวนการต่ออายุใบอนุญาตครอบครองเครื่องเอกซเรย์ของกรมศุลกากร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการต่ออายุใบอนุญาตครอบครองเครื่องเอกซเรย์ของกรมศุลกากรที่เกิดความล่าช้า รวมถึงปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น เพื่อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาในกระบวนการต่ออายุใบอนุญาตครอบครองเครื่องเอกซเรย์ของกรมศุลกากร ซึ่งระเบียบวิธีวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi – Structured Interview) จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 10 คน ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 เจ้าหน้าที่ของสำนักงานหรือด่านศุลกากรที่มีการครอบครองเครื่องเอกซเรย์ และได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบการจัดทำเอกสารการต่ออายุใบอนุญาตครอบครองเครื่องเอกซเรย์ จำนวน 6 คน กลุ่มที่ 2 เจ้าหน้าที่ของส่วนเทคโนโลยีการควบคุมทางศุลกากร ศูนย์ประมวลข้อมูลการข่าวทางศุลกากร กรมศุลกากร จำนวน 2 คน และกลุ่มที่ 3 เจ้าหน้าที่ของกลุ่มอนุญาตเครื่องกำเนิดรังสี กองอนุญาตทางนิวเคลียร์และรังสี สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ จำนวน 2 คน ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มที่ 1 เจ้าหน้าที่ของสำนักงานหรือด่านศุลกากรที่มีการครอบครองเครื่องเอกซเรย์ และได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบการจัดทำเอกสารการต่ออายุใบอนุญาตครอบครองเครื่องเอกซเรย์ มีปัจจัยที่เป็นปัญหาและอุปสรรคทำให้กระบวนการต่ออายุใบอนุญาตครอบครองเครื่องเอกซเรย์เกิดความล่าช้า จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านกลยุทธ์ คือ การขาดการติดตาม วางแผนการต่ออายุใบอนุญาตล่วงหน้า 2) ด้านระบบการวัดผล คือ การขาดการนำผลสำเร็จของการต่ออายุใบอนุญาตครอบครองเครื่องเอกซเรย์เข้ามาในการประเมินผลการปฏิบัติงาน (KPI) และการขาดการจัดทำฐานข้อมูลการต่ออายุและสิ้นสุดอายุใบอนุญาต เพื่อประเมินความสำเร็จของงาน 3) ด้านทรัพยากรบุคคล คือ การถ่ายทอดองค์ความรู้ หรือการส่งมอบงานไม่ต่อเนื่อง และการขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดทำเอกสารประกอบการขอต่ออายุใบอนุญาต และ 4) ด้านการประสานงาน คือ การติดต่อกับหน่วยงานภายนอกเพื่อนำเอกสารมาประกอบการขอต่ออายุใบอนุญาตใช้ระยะเวลานาน กลุ่มที่ 2 เจ้าหน้าที่ของส่วนเทคโนโลยีการควบคุมทางศุลกากร ศูนย์ประมวลข้อมูลการข่าวทางศุลกากร กรมศุลกากร มีปัจจัยที่เป็นปัญหาและอุปสรรค จำนวน 2 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านกลยุทธ์ คือ การขาดการจัดประชุมร่วมกันเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจให้เป็นแนวทางเดียวกัน และ 2) ด้านระบบการวัดผล คือ การขาดระบบฐานข้อมูลใบอนุญาตที่เป็นฐานทะเบียนกลางร่วมกัน และกลุ่มที่ 3 …


ผลกระทบของโครงการเงินโอนอย่างมีเงื่อนไขต่อผลลัพธ์ทางสุขภาพและการศึกษา: กรณีศึกษาของกองทุนเพื่อสังคมของประเทศแทนซาเนีย, พีรวัช สุริยบูรพกูล Jan 2022

ผลกระทบของโครงการเงินโอนอย่างมีเงื่อนไขต่อผลลัพธ์ทางสุขภาพและการศึกษา: กรณีศึกษาของกองทุนเพื่อสังคมของประเทศแทนซาเนีย, พีรวัช สุริยบูรพกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการประเมินผลกระทบของโครงการนำร่องเงินโอนอย่างมีเงื่อนไขแบบชุมชนของประเทศแทนซาเนียต่อผลลัพธ์ทางด้านสุขภาพของครัวเรือน 5 ด้าน ผลลัพธ์ด้านสุขภาพของเด็กแรกคลอด 7 ด้าน ผลลัพธ์ด้านการศึกษา 4 ด้าน และผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องกับชุมชน 4 ด้าน โดยใช้ชุดข้อมูลทุติยภูมิที่ทำการสำรวจในช่วงปี พ.ศ. 2552 – 2555 ทั้งหมด 3 รอบสำรวจ สำหรับกลุ่มตัวอย่างในวิทยานิพนธ์นี้ คือ ครัวเรือนที่ให้สัมภาษณ์ครบทั้ง 3 รอบสำรวจ ประกอบไปด้วยกลุ่มได้รับประโยชน์จากโครงการ 1,510 คนจาก 795 ครัวเรือน และกลุ่มไม่ได้รับประโยชน์จากโครงการ 3,093 คนจาก 828 ครัวเรือน รวมเป็นจำนวน 4,603 คน จาก 1,689 ครัวเรือน วิทยานิพนธ์นี้ใช้ทฤษฎีฟังก์ชั่นการผลิตในการอธิบายปัจจัยที่ส่งผลต่อผลลัพธ์ที่ต้องการศึกษา และประมาณการผลลัพธ์ด้วยแบบจำลอง Difference-in-Differences ผลการศึกษา พบว่า ในด้านสุขภาพ กลุ่มได้รับประโยชน์ในภาพรวมมีการรับประทานยาขณะป่วยและเต็มใจจ่ายค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น และเด็กแรกคลอดมีดัชนีส่วนสูงเทียบอายุ และส่วนสูงเพิ่มขึ้น ในด้านการศึกษา ผู้ปกครองของเด็กนักเรียนมีความเต็มใจจ่ายค่าธรรมเนียมการศึกษาเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามโครงการไม่มีผลกระทบต่อผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องกับชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ ยังพบว่า การประกอบอาชีพ การศึกษาที่โรงเรียน ระดับฐานะทางการเงิน และคุณภาพของศูนย์สุขภาพในชุมชน ส่งผลเชิงบวกต่อสุขภาพของกลุ่มตัวอย่าง ในขณะที่สุขภาพของเด็กแรกคลอดมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมีชีวิตอยู่ของแม่ การได้รับวัคซีนในสัปดาห์แรก และการไม่มีภาวะบวมน้ำ ส่วนการศึกษาของเด็กนักเรียนมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อสินทรัพย์ของเด็กนักเรียน และการมีบัญชีธนาคาร ผลการศึกษาในวิทยานิพนธ์นี้ชี้ให้เห็นว่าโครงการ TASAF ช่วยเพิ่มพูนทุนมนุษย์ทั้งในมิติสุขภาพ และมิติการศึกษา รวมถึงช่วยลดความเหลื่อมล้ำในกระบวนการสะสมทุนมนุษย์ อันเกิดจากความแตกต่างในระดับฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของแต่ละครัวเรือนได้ ผลการศึกษานี้มีนัยต่อการออกแบบโครงการเงินโอนอย่างมีเงื่อนไขในประเทศที่มีทรัพยากรจำกัดอื่น ๆ


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมของบุคลากร กรณีศึกษา กรมสรรพสามิต, มณฑาทิพย์ เอี่ยมผ่องใส Jan 2022

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมของบุคลากร กรณีศึกษา กรมสรรพสามิต, มณฑาทิพย์ เอี่ยมผ่องใส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเรื่อง “ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมของบุคลากร กรณีศึกษา กรมสรรพสามิต” มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทฤษฎี แนวคิด และวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์นวัตกรรม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมของบุคลากรกรมสรรพสามิต 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของบุคลากรกรมสรรพสามิต การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคลากรกรมสรรพสามิต จำนวน 375 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า 1) การสร้างสรรค์นวัตกรรมของบุคลากรกรมสรรพสามิตในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านการนำไปใช้จริงอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาเป็นด้านการสนับสนุนส่งเสริมความคิด และด้านการเกิดความคิดริเริ่ม ตามลำดับ 2) ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันส่งผลต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมของบุคลากรไม่แตกต่างกัน 3) ปัจจัยการบริหารจัดการส่งผลต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมของบุคลากร โดยด้านกลยุทธ์ส่งผลต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมของบุคลากรมากที่สุด 4) ปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงานส่งผลต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมของบุคลากร โดยสภาพแวดล้อมเชิงสังคมส่งผลต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมของบุคลากรมากที่สุด 5) แนวทางส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของบุคลากรกรมสรรพสามิต พบว่า (1) ควรจัดทำระบบฐานข้อมูลด้านนวัตกรรมของกรมสรรพสามิตเพื่อรวบรวมเป็นคลังความรู้ด้านนวัตกรรม และเผยแพร่ผลงานนวัตกรรมให้บุคลากรสามารถเข้าถึงได้ (2) ควรมีการฝึกอบรมเฉพาะด้านการพัฒนาทักษะการคิดให้แก่บุคลากรทุกประเภทและทุกระดับ (3) ควรให้บุคลากรทุกประเภทและทุกระดับมีโอกาสเข้าร่วมงานประกวดรางวัลนวัตกรรม โดยบูรณาการระหว่างการจัดกิจกรรม ณ สถานที่ตั้ง (Onsite) และทำการถ่ายทอดสดกิจกรรม (Online) เพื่อให้บุคลากรเกิดการเรียนรู้และสร้างการมีส่วนร่วมในนวัตกรรม


การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเชื่อมั่นของประชาชนในการอำนวยความยุติธรรม ของสำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรปราการ, วรวัจน์ ศิริโชคพรชัย Jan 2022

การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเชื่อมั่นของประชาชนในการอำนวยความยุติธรรม ของสำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรปราการ, วรวัจน์ ศิริโชคพรชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเชื่อมั่นของประชาชนในการอำนวยความยุติธรรม ของสำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรปราการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาระดับความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการอำนวยความยุติธรรมของสำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรปราการ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกับความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการอำนวยความยุติธรรมของสำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรปราการ 3) เพื่อเสนอแนะนโยบายหรือแนวทางการสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนต่อสำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนในเขต อ.เมืองสมุทรปราการ ที่เคยมาติดต่อกับสำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรปราการ และคำนวณกลุ่มตัวอย่างจากสูตรยามาเน่ (Yamane) ได้จำนวนทั้งสิ้น 400 คน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงประมาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และใช้การวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาวิจัย พบว่า ประชาชนมีความเชื่อมั่นของประชาชนในการอำนวยความยุติธรรมของสำนักงานอัยการ กรณีศึกษาสำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรปราการ อยู่ในระดับมาก และยังพบว่ามี 3 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยสามารถเรียงลำดับตามค่าน้ำหนักปัจจัย ได้ดังนี้ปัจจัยด้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร(Openness) รองลงมา คือ ปัจจัยด้านภาพลักษณ์ (Image Concept) และปัจจัยด้านการใช้อำนาจ (Control mutuality) ตามลำดับ ในส่วนของปัจจัยเกี่ยวกับความสามารถและสมรรถนะ (Competence)และปัจจัยเกี่ยวกับความความซื่อสัตย์และความซื่อตรง (Integrity) ไม่มีผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชนการอำนวยความยุติธรรมของสำนักงานอัยการกรณีศึกษาสำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรปราการ ข้อเสนอแนะจากการศึกษาวิจัย คือ ควรส่งเสริมนโยบายด้านภาพลักษณ์ที่เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการทางกฎหมายและการดำเนินงานอย่างโปร่งใส มีระบบตรวจเช็คเป็นช่วงเวลา Periodic System Checks เป็นการตรวจสอบกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง การสร้างช่องทางในการรับฟังความคิดเห็นและการติดต่อระหว่างประชาชน เพื่อตอบสนองประชาชนอย่างใกล้ชิดและเข้าถึงได้ง่าย นโยบายพัฒนาระบบการด้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารและระบบในการตรวจสอบขอบเขตอำนาจหน้าที่อย่างชัดเจนของเจ้าหน้าที่อันจะสามารถทำให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นความไว้วางใจต่อกระบวนการยุติธรรมเพิ่มมากขึ้น


อุปสรรคและความท้าทายในการบังคับใช้มาตรการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าของภาครัฐไทย, วสุพล มงคลศิริ Jan 2022

อุปสรรคและความท้าทายในการบังคับใช้มาตรการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าของภาครัฐไทย, วสุพล มงคลศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งตอบคำถามเกี่ยวกับสาเหตุที่มาตรการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าของภาครัฐไทยไม่สามารถยับยั้งการเพิ่มขึ้นของอุปทานและอุปสงค์บุหรี่ไฟฟ้าภายในประเทศได้ รวมถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการบังคับใช้มาตรการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าเป็นอย่างไร โดยวิเคราะห์เชื่อมโยงกับปัจจัยในการนำนโยบายไปปฏิบัติตามทฤษฎีของ Van Meter และ Van Horn งานวิจัยชิ้นนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเน้นเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียในมาตรการทั้งหน่วยงานภาครัฐผู้มีหน้าที่บังคับใช้มาตรการและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการดังกล่าว ทั้งนี้ การศึกษาพบว่า สาเหตุที่มาตรการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าของภาครัฐไทยไม่สามารถยับยั้งการเพิ่มขึ้นของอุปทานและอุปสงค์บุหรี่ไฟฟ้าภายในประเทศได้นั้น เกิดขึ้นจาก 2 ปัจจัยด้วยกันคือ (1) สภาพตลาดบุหรี่ไฟฟ้าต่างประเทศที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิผลของการบังคับใช้มาตรการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า เนื่องด้วยปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกให้การยอมรับในสินค้าบุหรี่ไฟฟ้ากันอย่างแพร่หลาย ซึ่งทำให้ความเชื่อที่ว่าบุหรี่ไฟฟ้าควรเป็นยาสูบทางเลือกที่ถูกกกฎหมายจึงมีอิทธิผลต่อสังคมไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และ (2) สภาพตลาดบุหรี่ไฟฟ้าภายในประเทศส่งผลกระทบต่อประสิทธิผลของการบังคับใช้มาตรการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า เช่น แหล่งตลาดบุหรี่ไฟฟ้าส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ออนไลน์เป็นหลักจึงยากต่อการบังคับใช้มาตรการ หรือการที่ตลาดบุหรี่ไฟฟ้าภายในประเทศมีลักษณะที่เปิดกว้างและสามารถทำรายได้ให้ผู้ประกอบการเป็นจำนวนมาก จึงดึงดูดให้ผู้คนเข้ามาในแวดวงธุรกิจบุหรี่ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของผลการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการบังคับใช้มาตรการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้านั้น พบ 3 ปัญหาหลักด้วยกัน คือ (1) การทุจริตคอร์รัปชั่นและการถูกแทรกแซงการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ (2) คุณลักษณะของเจ้าหน้าที่ภาครัฐและระบบราชการไทยที่มีอยู่เดิม เช่น ข้อจำกัดด้านบุคลากรและงบประมาณ การต้องแบกรับหน้าที่รับผิดชอบหลายหน้างานของเจ้าหน้าที่ หรือความไม่สม่ำเสมอในการบังคับใช้มาตรการ และ (3) การไม่ยอมรับในมาตรการของผู้คนและเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องจำนวนหนึ่ง


การปฐมนิเทศและกระบวนการสร้างอัตลักษณ์ข้าราชการในกรมศุลกากร, วิภาวี วิเศษภักดีวงศ์ Jan 2022

การปฐมนิเทศและกระบวนการสร้างอัตลักษณ์ข้าราชการในกรมศุลกากร, วิภาวี วิเศษภักดีวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่อง การปฐมนิเทศและกระบวนการสร้างอัตลักษณ์ข้าราชการในกรมศุลกากร มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อ 1.) ศึกษากระบวนการสร้างอัตลักษณ์ข้าราชการกรมศุลกากรในการอบรมปฐมนิเทศข้าราชการใหม่ 2.) ศึกษาการบ่มเพาะวัฒนธรรมองค์กรในการอบรมปฐมนิเทศของกรมศุลกากร และ 3.) ศึกษาประโยชน์ที่จะได้รับจากการอบรมปฐมนิเทศข้าราชการใหม่ การวิจัยในครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งผู้วิจัยมุ่งศึกษาและวิเคราะห์ถึงกระบวนการสร้างอัตลักษณ์ของข้าราชการใหม่ของกรมศุลกากร ในตำแหน่งนักวิชาการศุลกากรปฏิบัติการ จากการอบรมปฐมนิเทศข้าราชการบรรจุใหม่ โดยใช้วิธีการสังเกตการแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Depth Interview) ผลการศึกษาพบว่า อัตลักษณ์แห่งการเป็นข้าราชการที่กรมศุลกากรสามารถทำการปลูกฝังให้แก่ข้าราชการใหม่ผ่านการจัดอบรมปฐมนิเทศข้าราชการบรรจุใหม่ ซึ่งการอบรมปฐมนิเทศนี้นอกเหนือจากการให้ความรู้เกี่ยวกับกรมศุลกากรแล้ว การอบรมสามารถช่วยในการปรับทัศนคติ ปรับความเข้าใจ ปรับการพฤติกรรม เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีวัฒนธรรมองค์กรเป็นแนวทางปฏิบัติเดียวกัน อีกทั้ง ช่วยหล่อหลอมข้าราชการใหม่ให้เป็นเป็นผู้ที่มีคุณธรรมประจำใจในเรื่องของความซื่อสัตย์สุจริต การรู้จักยึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้อง และสามารถช่วยทำให้ข้าราชการใหม่มีแนวคิดในการเป็นผู้ที่หมั่นศึกษาและพัฒนาตนเอง เพื่อให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ตลอดจนมีความคิดคำนึงถึงการรักษาภาพลักษณ์องค์กร มีความรู้สึกผูกพันต่อองค์กร มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน และเป็นข้าราชการกรมศุลกากรมืออาชีพที่พร้อมทำงานเพื่อสังคมและประเทศชาติต่อไป


ปัญหาและอุปสรรค โครงการผู้ประกอบการระดับมาตรฐานเออีโอ, ศศิกาญจน์ พุกกลิ่น Jan 2022

ปัญหาและอุปสรรค โครงการผู้ประกอบการระดับมาตรฐานเออีโอ, ศศิกาญจน์ พุกกลิ่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานโครงการผู้ประกอบการระดับมาตรฐานเออีโอ และเพื่อเสนอข้อเสนอแนะในการพัฒนาการดำเนินโครงการผู้ประกอบการระดับมาตรฐานเออีโอ ผ่านแบบจำลองชิปป์ (CIPP Model) วิเคราะห์ปัจจัยในการดำเนินงานของโครงการ ประกอบด้วย ปัจจัยด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า ปัจจัยด้านกระบวนการ และปัจจัยด้านผลผลิต โดยกำหนดรูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยดำเนินการเก็บข้อมูล โดยรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับการสัมภาษณ์บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ พบว่า ปัจจัยด้านบริบท การดำเนินงานมีความสอดกับวัตถุประสงค์ของโครงการ ตามกรอบมาตรฐาน SAFE Framework ขององค์การศุลกากรโลก ปัจจัยนำเข้า จำนวนบุคลากรถือเป็นอุปสรรคต่อการรองรับจำนวนผู้ประกอบการที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยด้านกระบวนการ ในการดำเนินงานในการรับสมัครและทบทวนสถานภาพของโครงการมีรายละเอียดที่ต้องทำความเข้าใจและใช้เอกสารจำนวนมาก ปัจจัยด้านผลผลิต การได้รับสิทธิพิเศษเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้า ภาพรวมผู้ประกอบการมีความพึงพอใจกับสิทธิพิเศษที่ได้รับ กล่าวโดยสรุป การดำเนินโครงการผู้ประกอบการระดับมาตรฐานเออีโอ ในภาพรวมเป็นโครงการที่สร้างประโยชน์และสร้างความปลอดภัยให้กับห่วงโซ่อุปทานการค้าระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ในด้านของปัญหาและอุปสรรคมีความเห็นว่าควรมีการวางแผนบุคลากรให้มีความสัมพันธ์กับจำนวนผู้ประกอบการที่เติบโตขึ้นในอนาคต รวมถึงการพิจารณาเพิ่มประเภทของผู้ประกอบการ การประชาสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอกองค์กร และนำระบบตรวจคัดเลือกและประเมินผลผู้ประกอบการระดับมาตรฐานเออีโอ (TAS) มาอำนวยความสะดวกในการดำเนินการ


การดำเนินกิจกรรมทางอวกาศเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ : กรณีศึกษาการแข่งขันระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน (ค.ศ. 2013 - 2022), ศัจธร ขำนุรักษ์ Jan 2022

การดำเนินกิจกรรมทางอวกาศเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ : กรณีศึกษาการแข่งขันระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน (ค.ศ. 2013 - 2022), ศัจธร ขำนุรักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์นี้มุ่งศึกษาลักษณะการดำเนินนโยบายและรูปแบบกิจกรรมทางอวกาศในมิติด้านความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาและจีนระหว่าง ค.ศ. 2013 - 2022 รวมถึงวิเคราะห์พลวัตการมีปฏิสัมพันธ์ในเชิงแข่งขันของทั้งสองประเทศ โดยใช้กรอบแนวคิดเรื่องอภิภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งวิเคราะห์องค์ประกอบขีดความสามารถของรัฐ 7 ประการ ได้แก่ 1) สังคมและสาธารณสุข 2) การเมืองภายใน 3) เศรษฐกิจ 4) สิ่งแวดล้อม 5) วิทยาศาสตร์และศักยภาพมนุษย์ 6) การทหารและความมั่นคง และ 7) การทูตระหว่างประเทศ ผลการศึกษาพบว่า การดำเนินนโยบายและกิจกรรมทางอวกาศในมิติด้านความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาและจีนในห้วง ค.ศ. 2013 – 2022 มีลักษณะที่เป็นปฏิสัมพันธ์ในเชิงแข่งขันระหว่างกัน ในลักษณะที่สหรัฐอเมริกาและจีนมองอวกาศเป็นพื้นที่หนึ่งที่มีความสำคัญต่อการดำเนินยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติ โดยทั้งสองประเทศดำเนินนโยบายและกิจกรรมทางอวกาศในลักษณะที่แข่งขันกันเพื่อช่วงชิงการมีอิทธิพลในอวกาศ และเพื่อส่งเสริมกำลังอำนาจแห่งชาติของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการเมือง การทหาร การทูต เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


การจัดการความรู้ของเจ้าหน้าที่ศุลกากร เพื่อลดข้อพิพาทในการจำแนกประเภทพิกัดศุลกากรของกลุ่มสินค้าประเภทเคมีภัณฑ์, ศุภลักษณ์ วันแอเลาะ Jan 2022

การจัดการความรู้ของเจ้าหน้าที่ศุลกากร เพื่อลดข้อพิพาทในการจำแนกประเภทพิกัดศุลกากรของกลุ่มสินค้าประเภทเคมีภัณฑ์, ศุภลักษณ์ วันแอเลาะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับองค์ความรู้แบบชัดแจ้งและองค์ความรู้แบบฝังลึกในตัวบุคคลของเจ้าหน้าที่ศุลกากรที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมีส่วนสำคัญในการช่วยให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรสามารถจัดเก็บอากรศุลกากรของสินค้ากลุ่มประเภทเคมีภัณฑ์ได้อย่างถูกต้อง อีกทั้งยังสามารถระบุช่องว่างของการจัดการความรู้ภายในองค์กรเกี่ยวกับการจำแนกประเภทพิกัดศุลกากรสินค้าเคมีภัณฑ์เพื่อประโยชน์ทางภาษีต่อไป ซึ่งจากผลการวิจัยพบว่า เจ้าหน้าที่ศุลกากรที่ปฏิบัติงานต้องอาศัยทั้งความรู้แบบฝังลึกและความรู้แบบชัดแจ้งในการปฏิบัติงาน ซึ่งได้รับจากประสบการณ์การทำงานในการเรียนรู้พิกัดศุลกากรสำหรับสินค้าเคมีภัณฑ์แต่ละชนิด การระบุผู้ประกอบการที่เคยมีประวัติการกระทำความผิด การเรียนรู้จากกรณีพิพาทเกี่ยวกับสินค้าเคมีภัณฑ์ และการมีความเข้าใจที่ดีเกี่ยวกับคุณสมบัติทางเคมี อย่างไรก็ตามพบว่าองค์กรยังขาดองค์ความรู้แบบชัดเจนในเชิงเทคนิคด้านการจำแนกและการระบุสินค้าที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันหรืออาจมีพิกัดศุลกากรที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกรมศุลกากรสามารถแก้ไขช่องว่างนี้ได้โดยการจัดฝึกอบรมในประเด็นดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งการจัดชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice: CoP) เพื่อที่จะช่วยสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างบุคลากรในองค์กร


การศึกษาแนวทางบรรเทาภาวะหมดไฟในการทำงานของนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กลุ่มเจเนอเรชั่นวาย (Generation Y) กรณีศึกษา สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร, ศุภอร กองเพ็ง Jan 2022

การศึกษาแนวทางบรรเทาภาวะหมดไฟในการทำงานของนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กลุ่มเจเนอเรชั่นวาย (Generation Y) กรณีศึกษา สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร, ศุภอร กองเพ็ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาแนวทางการบรรเทาภาวะหมดไฟในการทำงานของนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กลุ่มเจเนอเรชั่นวาย (Generation Y) กรณีศึกษา สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดภาวะหมดไฟในการทำงานของนักวิเคราะห์นโยบายและแผน อายุ 23-45 ปี ซึ่งอยู่ในกลุ่ม Generation Y ทั้งนี้เพื่อนำผลการวิจัยที่ได้มากำหนดแนวทางในการบรรเทาภาวะหมดไฟในการทำงานของประชากรในกลุ่มนี้ การวิจัยนี้เริ่มจากการคัดครองผู้ที่มีภาวะหมดไฟจากแบบประเมินภาวะหมดไฟในการทำงาน พบว่ามีนักวิเคราะห์นโยบายและแผน ตอบแบบประเมิน 21 คนจากทั้งหมด 30 คน คิดเป็นอัตราการตอบกลับร้อยละ 70 และจำนวนผู้ตอบแบบประเมิน 8 ใน 21 คนนี้ มีภาวะหมดไฟในการทำงานในระดับสูงทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ (Emotional Exhaustion) ด้านการเมินเฉยต่องาน (Cynicism) และด้านความสามารถในการทำงาน (Professional Efficacy) ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 38.10 ปัจจัยที่ก่อให้เกิดภาวะหมดไฟในการทำงาน 5 อันดับแรก ได้แก่ ความเครียดจากผู้บริหาร สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยต่อการทำงาน ค่าตอบแทนไม่เพียงพอ มีความตั้งใจลาออกจากงาน และโครงสร้างองค์กรแบบไซโล ในทางกลับกันปัจจัยที่ไม่ส่งผลต่อภาวะหมดไฟในการทำงาน คือ เพศ สถานภาพการสมรส และสัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงาน วิธีรับมือกับภาวะหมดไฟในการทำงานด้วยตนเอง ได้แก่ การปรับตัวในการทำงาน การมองโลกในแง่ดี การปลีกตัวออกจากงาน และการหาที่ปรึกษาเพื่อรับฟังปัญหา ข้อเสนอแนะต่อองค์กรโดยการปรับโครงสร้างองค์กรที่ต้องสลายการทำงานแบบไซโลเพื่อเพิ่มการสื่อสารของคนในองค์กรให้เป็นในทิศทางเดียวกัน


การประสานงานเชิงการสื่อสารในฝ่ายงานกิจการสัมพันธ์ (Ca) บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19, สิรรัช วินิจฉัยกุล Jan 2022

การประสานงานเชิงการสื่อสารในฝ่ายงานกิจการสัมพันธ์ (Ca) บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19, สิรรัช วินิจฉัยกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัย การประสานงานเชิงการสื่อสารในฝ่ายงานกิจการสัมพันธ์ (CA) บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของการประสานงานเชิงการสื่อสารภายในฝ่ายงานระหว่างช่วงก่อนและช่วงการเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และผลกระทบของการประสานงานเชิงการสื่อสารภายในฝ่ายงาน ช่วงการเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่มีต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร (3) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของบุคลากรในฝ่ายงาน ที่มีต่อการประสานงานเชิงการสื่อสารภายในฝ่ายงานระหว่างช่วงก่อนและช่วงการเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการส่งแบบสอบถามให้แก่บุคลากรในฝ่ายงานงานกิจการสัมพันธ์ (CA) จำนวน 50 คน ผลการศึกษาพบว่า (1) การประสานงานเชิงการสื่อสารภายในฝ่ายงาน ช่วงก่อนและช่วงการเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 มีความแตกต่างกัน (2) การประสานงานเชิงการสื่อสารภายในฝ่ายงาน ช่วงการเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 มีความสัมพันธ์และมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร 4 ใน 5 ด้านหลัก (3) บุคลากรในฝ่ายงานมีความพึงพอใจต่อการประสานงานเชิงการสื่อสารภายในฝ่ายงานช่วงการเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 มากกว่าช่วงก่อนการเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19


การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเปลี่ยนสถานภาพจากข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย : กรณีศึกษากลุ่มข้าราชการสายวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, สุรชัย แต่ผู้เจริญ Jan 2022

การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเปลี่ยนสถานภาพจากข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย : กรณีศึกษากลุ่มข้าราชการสายวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, สุรชัย แต่ผู้เจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มี 3 วัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาปัจจัยในการตัดสินใจเปลี่ยนสถานภาพจากข้าราชการเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเปลี่ยนสถานภาพจากข้าราชการเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย และ 3) เพื่อสำรวจความคิดเห็นของข้าราชการต่อปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา คือ ข้าราชการ สายวิชาการ จำนวน 190 คน จากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 1) สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าจำนวน ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) สถิติเชิงอนุมาน โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความสำคัญของปัจจัยโดยรวม มีผลต่อการตัดสินใจเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยอยู่ในระดับมาก โดยปัจจัยภายใน คือ แรงจูงใจ และปัจจัยแวดล้อม คือ ความมั่นคงในการทำงาน 2) ปัจจัยภายในและปัจจัยแวดล้อมไม่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยปัจจัยแวดล้อมมีค่าความสัมพันธ์มากกว่าปัจจัยภายใน 3) ระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยโดยรวมมีผลต่อการตัดสินใจเปลี่ยนสถานภาพอยู่ในระดับปานกลาง โดยปัจจัยภายใน คือ ด้านเจตคติ และปัจจัยแวดล้อม คือ ด้านสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ ผลตรวจสอบสมมติฐาน พบว่าปัจจัยภายในและปัจจัยแวดล้อมไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจเปลี่ยนสถานภาพจากข้าราชการเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 โดยปัจจัยแวดล้อมสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 0.6 ส่วนปัจจัยแวดล้อมสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 9.9


ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดและความเหนื่อยล้าของวิศวกรจราจรทางอากาศกลุ่มงาน Atsep (Air Traffic Safety Electronics Personnel) กรณีศึกษา สังกัดส่วนกลาง (ทุ่งมหาเมฆ สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมือง) บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด, หทัย หงส์ศิริวรรณ Jan 2022

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดและความเหนื่อยล้าของวิศวกรจราจรทางอากาศกลุ่มงาน Atsep (Air Traffic Safety Electronics Personnel) กรณีศึกษา สังกัดส่วนกลาง (ทุ่งมหาเมฆ สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมือง) บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด, หทัย หงส์ศิริวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความเครียดและความเหนื่อยล้าในการปฏิบัติงานของวิศวกรจราจรทางอากาศ กลุ่มงาน ATSEP 2) ความแตกต่างระหว่างปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลกับระดับความเครียดและความเหนื่อยล้าในการปฏิบัติงาน และ 3) แนวทางการจัดการกับความเครียดและความเหนื่อยล้าที่เกิดจากการปฏิบัติงาน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านแบบสอบถาม จำนวน 161 คน ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ ดังนี้ 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดและความเหนื่อยล้าในการปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ สภาพแวดล้อม ครอบครัว และงาน ตามลำดับ ในขณะที่ ปัจจัยที่เกี่ยวกับปัจเจกบุคคลไม่ส่งผลต่อระดับความเครียดและความเหนื่อยล้าในการปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) สถานภาพสมรสที่แตกต่างกันส่งผลให้ระดับความเครียดและความเหนื่อยล้าในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน ในขณะที่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระดับตำแหน่ง และอายุการปฏิบัติงานที่แตกต่างกันส่งผลให้ระดับความเครียดและความเหนื่อยล้าในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางการจัดการความเครียดและความเหนื่อยล้าในการปฏิบัติงานด้วยตนเอง ได้แก่ การทำงานอย่างเป็นระบบและพัฒนาตนเอง การพักผ่อน การปรึกษาผู้ที่ไว้วางใจ และการใช้ธรรมะ สำหรับแนวทางการจัดการความเครียดและความเหนื่อยล้าในการปฏิบัติงานโดยองค์กร ได้แก่ การเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวก การออกแบบองค์กรให้มีประสิทธิภาพ เป็นต้น


การศึกษาความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ, อโนชา ไชยหาญ Jan 2022

การศึกษาความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ, อโนชา ไชยหาญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และชั่วโมงการทำงานต่อวัน การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การกับความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ เจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรองครักษ์ จังหวัดนครนายก จำนวน 98 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบไปด้วยแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนที่หนึ่งคือแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่สองเป็นแบบวัดการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ และส่วนที่สามเป็นแบบวัดความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับของการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ ส่วนระดับความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานอยู่ในระดับค่อนข้างสูง 2) อายุมีความสัมพันธ์กับความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และชั่วโมงการทำงานต่อวัน มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 16.120, 12.724 และ 11.526 ตามลำดับ ส่วนการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .349


นโยบายผู้ลี้ภัยของประเทศไทยในสมัยรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (ระหว่าง ค.ศ. 2014-2022), อมาวสี วิริยะนุเคราะห์ Jan 2022

นโยบายผู้ลี้ภัยของประเทศไทยในสมัยรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (ระหว่าง ค.ศ. 2014-2022), อมาวสี วิริยะนุเคราะห์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทความวิจัยนี้ศึกษาเรื่องนโยบายผู้ลี้ภัยของประเทศไทยในสมัยรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ระหว่าง ค.ศ. 2014-2022 โดยมุ่งศึกษาปัจจัยที่ทำให้รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาตัดสินใจดำเนินนโยบายผู้ลี้ภัยเพื่อยกระดับขีดความสามารถของรัฐบาลในเวทีระหว่างประเทศ โดยใช้กรอบการวิเคราะห์นโยบายต่างประเทศ 3 ระดับ ได้แก่ ระดับบุคคล ระดับรัฐ และระดับระหว่างประเทศ เป็นกรอบแนวคิดหลัก และการดำเนินนโยบายต่างประเทศด้านผู้ลี้ภัยดังกล่าวได้ยกระดับขีดความสามารถของรัฐบาลในเวทีระหว่างประเทศหรือไม่ อย่างไร ผู้วิจัยพบว่าระดับระหว่างประเทศคือปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการกำหนดนโยบายผู้ลี้ภัยของประเทศไทยมากที่สุดโดยเฉพาะสมัยรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาที่เข้าสู่อำนาจด้วยการรัฐประหาร ย่อมส่งผลให้รัฐบาลขาดดุลความชอบธรรม (Legitimacy Deficit) ดังนั้นรัฐบาลย่อมต้องแสดงออกในด้านนโยบายเพื่อส่งเสริมความชอบธรรมให้กับตนเอง จึงได้มุ่งเน้นในด้านการส่งเสริมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เพราะสิทธิมนุษยชนเป็นหลักการที่เสริมสร้างความชอบธรรมได้มากยิ่งขึ้นทั้งภายในประเทศและในเวทีระหว่างประเทศ นโยบายผู้ลี้ภัยจึงเป็นนโยบายของรัฐบาลเพื่อยกระดับขีดความสามารถของรัฐบาลในเวทีระหว่างประเทศ ตั้งแต่ ค.ศ. 2014 เป็นต้นมา ทำให้ประเทศไทยปรับเปลี่ยนนโยบายผู้ลี้ภัยจากการวางตัวเป็นกลาง นำไปสู่การมุ่งให้การช่วยเหลือผู้ลี้ภัยมากยิ่งขึ้น โดยพยายามมุ่งพัฒนาขีดความสามารถในมิติต่าง ๆ ได้แก่ ความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศ การทูต การศึกษา สาธารณสุข และการให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยในด้านอื่น ๆ เพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงและความปลอดภัยให้กับผู้ลี้ภัย รวมถึงการสร้างความชอบธรรมให้กับประเทศและในเวทีระหว่างประเทศ


บทบาทของสหรัฐฯ ในข้อตกลงว่าด้วยหญิงบำเรอ ระหว่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เมื่อปี ค.ศ.2015, อรยา อดิศัยสัมพันธ์ Jan 2022

บทบาทของสหรัฐฯ ในข้อตกลงว่าด้วยหญิงบำเรอ ระหว่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เมื่อปี ค.ศ.2015, อรยา อดิศัยสัมพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาบทบาทของสหรัฐฯ ในฐานะที่เป็นตัวกลางในการไกล่เกลี่ยความขัดแย้งระหว่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ จนนำไปสู่ข้อตกลงว่าด้วยหญิงบำเรอ เมื่อปี ค.ศ.2015 โดยต้องการศึกษาสาเหตุที่สหรัฐฯ เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในภูมิภาคเอเชีย ห้วงปี ค.ศ.2009-2017 โดยเฉพาะการเป็นตัวกลางในการแก้ไขข้อพิพาทกรณีหญิงบำเรอ และสาเหตุที่สหรัฐฯ เลือกแก้ไขความขัดแย้งกรณีหญิงบำเรอ ทั้งนี้ ผู้วิจัยได้ใช้งานของ David A. Lake เรื่อง Hierarchy in International Relations มาเป็นกรอบในการวิเคราะห์ การจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ผลการศึกษาพบว่า การที่สหรัฐฯ เข้าไปมีบทบาทมากขึ้นในเอเชีย โดยเฉพาะการแสดงบทบาทนำในการยุติความขัดแย้งกรณีหญิงบำเรอ เนื่องจากการประกาศนโยบายการหมุนสู่เอเชีย และความพยายามของสหรัฐฯ ในการถ่วงดุลอำนาจของจีน ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ส่วนสาเหตุที่สหรัฐฯ เลือกแก้ไขความขัดแย้งกรณีหญิงบำเรอ ระหว่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ แบ่งออกเป็น 4 ปัจจัย ได้แก่ ความสามารถในการกดดันให้ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ยอมสร้างข้อตกลงร่วมเพื่อยุติความขัดแย้งกรณีหญิงบำเรอได้, การรักษาความเป็นมหาอำนาจในเอเชีย ,การพัฒนาความร่วมมือทางทหารในรูปแบบไตรภาคีระหว่างสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เพื่อต้านทานการผงาดขึ้นมาของจีน และการมองว่าปัญหาหญิงบำเรอทหารญี่ปุ่นเป็นตัวขัดขวางการสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทหารของญี่ปุ่นและเกาหลีใต้


การศึกษาเชิงเปรียบเทียบทิศทางการปรับตัวของกองทุนประกันสังคมเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ, อัครธีร์ ธารีฉัตรไพศาล Jan 2022

การศึกษาเชิงเปรียบเทียบทิศทางการปรับตัวของกองทุนประกันสังคมเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ, อัครธีร์ ธารีฉัตรไพศาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง “การศึกษาเชิงเปรียบเทียบทิศทางการปรับตัวกองทุนประกันสังคมเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ” มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์นโยบายของสำนักงานประกันสังคมในการรับมือกับวิกฤติสังคมผู้สูงอายุและเสนอแนะแนวทางเพื่อให้กองทุนประกันสังคมมีเสถียรภาพ โดยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลจากการถอดบทเรียนการบริหารกองทุนประกันสังคมในประเทศเยอรมันและญี่ปุ่น การศึกษาค้นคว้าเอกสารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารของสำนักงานประกันสังคมจำนวน 3 คน พบว่ากองทุนประกันสังคมของประเทศไทยมีความเสี่ยงขาดสภาพคล่องและล้มละลายในอีก 30 ปีข้างหน้า การปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบและกฎหมายใดเพื่อให้กองทุนมีความยั่งยืน มักพบกับปัญหาอุปสรรคจากการทำประชาพิจารณ์และการรับฟังความเห็นจากภาคประชาชน การแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จากนายจ้าง ลูกจ้างและรัฐบาล (ไตรภาคี) ภายใต้การบริหารงานของคณะกรรมการประกันสังคม ข้อเสนอแนะในการปรับตัวเพื่อรองรับวิกฤติสังคมผู้สูงอายุ กองทุนประกันสังคมควรเปลี่ยนสถานะเป็นนิติบุคคลเพื่อความคล่องตัวในการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ ควรพิจารณาอย่างรอบคอบในการปรับเพิ่มเพดานเงินสมทบขั้นต่ำ ขยายเวลาอายุเกษียณ และการปรับปรุงสิทธิประโยชน์ให้สอดคล้องกับโครงสร้างรายได้ของแรงงานที่อยู่ในระบบประกันสังคม นอกจากนี้ ภาครัฐควรพิจารณาออกมาตรการส่งเสริมการเพิ่มจำนวนประชากรให้เพียงพอต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสามารถรักษาระดับเงินกองทุนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม


The Relationship Between Single-Parent Families And Academic Performance, Hao Yang Jan 2022

The Relationship Between Single-Parent Families And Academic Performance, Hao Yang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


What Are The Earning Differentials Between Full-Time Workers In Public And Private Sector Who Are Bachelor Degree Holder In Thailand? Evidence From Thai Labor Force Survey Data In The Third Quarter Of 2022, Atit Saerepaiboonsub Jan 2022

What Are The Earning Differentials Between Full-Time Workers In Public And Private Sector Who Are Bachelor Degree Holder In Thailand? Evidence From Thai Labor Force Survey Data In The Third Quarter Of 2022, Atit Saerepaiboonsub

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study wants to investigate the wage gap (wage premium or wage discount) between public and private sector among bachelor degree holder employees in Thailand, especially, the relationship between individual characteristics and these gap, namely gender, age, region, occupation, education, etc. The size of the public sector wage premium is relatively high in countryside but will change into wage discount in central region. Premium by occupation in public sector can only be found in technician and service worker group, but discount for senior official and professional. In other words, the higher the job position they are in workplace, the higher …


The Impact Of Trade Policy Uncertainty On Thai Exports During The U.S.-China Trade War, Siratchaya Poolsawas Jan 2022

The Impact Of Trade Policy Uncertainty On Thai Exports During The U.S.-China Trade War, Siratchaya Poolsawas

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study examines the impact of trade policy uncertainty (TPU) on Thai exports as measured by the US and China Trade Policy Uncertainty Index during the US-China trade war. The paper analyzes the impact of TPU in parallel with the fluctuation in import duties during the same time period. The results indicate that trade policy uncertainty negatively effects Thai exports, particularly in the category of consumer products. On the other hand, trade policy uncertainty has an insignificant effect on Thailand's exports of intermediate products, the opposite of the effects of import tariffs on Thai exports. This study provides empirical evidence …


ปัจจัยกำหนดปริมาณสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ใน สปป ลาว, ตุลาคำ อินทุลาด Jan 2022

ปัจจัยกำหนดปริมาณสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ใน สปป ลาว, ตุลาคำ อินทุลาด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจมหภาคและปัจจัยที่เป็นลักษณะเฉพาะธนาคารที่มีอิทธิพลต่อปริมาณให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ใน สปป ลาว โดยใช้กลุ่มตัวอย่างธนาคารพาณิชย์ทั้งหมด 45 ธนาคาร ช่วงเวลาการศึกษา พ.ศ. 2554 ถึง 2563 โดยแบ่งเป็น 4 รูปแบบ ได้แก่ ปริมาณสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ทั้งหมดใน สปป ลาว ปริมาณสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ที่เป็นของรัฐบาล ปริมาณสินเชื่อธนาคารพาณิชย์เอกชน และปริมาณสินเชื่อธนาคารพาณิชย์สาขาต่างประเทศ โดยใช้วิธีการศึกษาการวิจัยคือ สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของแบบจำลองโดยวิธี Panel ได้แก่ Fixed effect model (FEM) และ Random effect model (REM) โดยการประมาณค่าเพื่อหาแบบจำลองที่เหมาะสมที่สุดด้วยวิธี Hausman Test ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยกำหนดเศรษฐกิจมหภาคในภาพรวมได้แก่ การลงทุนภาคเอกชน การส่งออกและการนำเข้าสินค้า ส่งผลในทิศทางบวกต่อกิจกรรมการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ใน สปป ลาว อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาแต่ละประเภทกลุ่มธนาคารพาณิชย์ก็พบว่า แต่ละประเภทกลุ่มธนาคารพาณิชย์ตอบสนองต่อเศรษฐกิจทิศทางบวกในแต่ละมิติแตกต่างกัน สำหรับปัจจัยทางด้านลักษณะเฉพาะของธนาคารพบว่า ขนาดธนาคาร ปริมาณเงินฝากและความสามารถในการทำกำไรของธนาคารส่งผลในทิศทางบวกต่อการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ใน สปป ลาว ในขณะที่สภาพคล่องส่งผลในทิศทางลบต่อกิจกรรมการให้กู้ยืม นอกจากนี้ ผลการศึกษาครั้งนี้ยังเผยให้เห็นว่า มาตรการในการกำหนดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของธนาคารกลางที่ดำเนินการใน พ.ศ 2558 เพื่อส่งเสริมให้ภาคธุรกิจและประชาชนเข้าถึงแหล่งทุนที่มีต้นทุนทางการเงินกู้ที่ต่ำลง ไม่ได้ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อกิจกรรมการให้กู้ยืมใน สปป ลาว


Editor's Talk, Najwa Yanya Santiworakun Dec 2021

Editor's Talk, Najwa Yanya Santiworakun

Halal Insight

No abstract provided.


Thailand Halal Assembly Dec 2021

Thailand Halal Assembly

Halal Insight

No abstract provided.


World Of Halal Science, Industry & Business International Conference 2008(Whasib 2008) Dec 2021

World Of Halal Science, Industry & Business International Conference 2008(Whasib 2008)

Halal Insight

No abstract provided.


Whasib 2009 In Conjunction With Imt-Gt Phuket Halal Expo(Whasib 2009) Dec 2021

Whasib 2009 In Conjunction With Imt-Gt Phuket Halal Expo(Whasib 2009)

Halal Insight

No abstract provided.


World Of Halal Science, Industry And Business-Anuga International Conference 2009 (Whasib-Anuga 2009) Dec 2021

World Of Halal Science, Industry And Business-Anuga International Conference 2009 (Whasib-Anuga 2009)

Halal Insight

No abstract provided.


World Of Halal Science, Industry And Business-Phuket Conference 2010 (Whasib-Phuket 2010) Dec 2021

World Of Halal Science, Industry And Business-Phuket Conference 2010 (Whasib-Phuket 2010)

Halal Insight

No abstract provided.


World Of Halal Science Industry And Business International Conference 2011; Whasib 2011 And Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle Halal Products Expo 2011; Imt-Gt Hapex 2011 Dec 2021

World Of Halal Science Industry And Business International Conference 2011; Whasib 2011 And Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle Halal Products Expo 2011; Imt-Gt Hapex 2011

Halal Insight

No abstract provided.


Halal Science, Industry And Business International Conference 2012 (Hasib 2012) & Imt-Gt Halal Expo 2012 Dec 2021

Halal Science, Industry And Business International Conference 2012 (Hasib 2012) & Imt-Gt Halal Expo 2012

Halal Insight

No abstract provided.


Halal Science, Industry & Business International Conference 2013 (Hasib 2013) & Imt-Gt Halal Expo 2013 Dec 2021

Halal Science, Industry & Business International Conference 2013 (Hasib 2013) & Imt-Gt Halal Expo 2013

Halal Insight

No abstract provided.