Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 841 - 870 of 5570

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกรับราชการตำแหน่งเจ้าพนักงานปกครอง (ปลัดอำเภอ) กรณีศึกษา ปลัดอำเภอผู้ได้รับการขึ้นบัญชี ปี 2561 และ 2564, อาภากร จันทกิจ Jan 2022

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกรับราชการตำแหน่งเจ้าพนักงานปกครอง (ปลัดอำเภอ) กรณีศึกษา ปลัดอำเภอผู้ได้รับการขึ้นบัญชี ปี 2561 และ 2564, อาภากร จันทกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกรับราชการตำแหน่งเจ้าพนักงานปกครอง (ปลัดอำเภอ) กรณีศึกษา ปลัดอำเภอผู้ได้รับการขึ้นบัญชี ปี 2561 และ 2564 เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทำความเข้าใจปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับราชการในตำแหน่งเจ้าพนักงานปกครอง และเพื่อศึกษาทำความเข้าใจทัศนคติของข้าราชการกรมการปกครองในตำแหน่งเจ้าพนักงานปกครอง (ปลัดอำเภอ) ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเชิงสาเหตุและการตัดสินใจรับราชการในตำแหน่งเจ้าพนักงานปกครอง (ปลัดอำเภอ) ผู้ได้รับการขึ้นบัญชี ปี 2561 และ 2564 พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกรับราชการในตำแหน่งเจ้าพนักงานปกครอง (ปลัดอำเภอ) ของผู้ได้รับการขึ้นบัญชีปี 2561 และ 2564 คือ ปัจจัยส่วนบุคคลที่ต้องการประกอบอาชีพที่ตอบสนองต่อความต้องการในชีวิตได้ ปัจจัยด้านองค์กร ปัจจัยด้านความก้าวหน้า ปัจจัยด้านสวัสดิการ ปัจจัยด้านความมั่นคงและปัจจัยด้านครอบครัว และข้าราชการตำแหน่งเจ้าพนักงานปกครอง (ปลัดอำเภอ) มีทัศนคติที่ดีต่อตำแหน่ง และยังคงมีความศรัทธาในการทำงานในตำแหน่งดังกล่าวเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามที่ได้ตั้งใจไว้


ความสัมพันธ์ระหว่างตราบาปเกี่ยวกับความเจ็บป่วยทางจิตใจ ความเมตตากรุณาต่อตนเอง และเจตคติต่อการแสวงหาความช่วยเหลือทางจิตวิทยาของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี, กิตติชัย สายรุ้ง Jan 2022

ความสัมพันธ์ระหว่างตราบาปเกี่ยวกับความเจ็บป่วยทางจิตใจ ความเมตตากรุณาต่อตนเอง และเจตคติต่อการแสวงหาความช่วยเหลือทางจิตวิทยาของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี, กิตติชัย สายรุ้ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแสวงหาความช่วยเหลือทางจิตวิทยา หมายถึง พฤติกรรมที่บุคคลมีการแสวงหาความช่วยเหลือจากผู้อื่นโดยผ่านการพูดคุยสื่อสารเพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือในลักษณะต่าง ๆ การแสวงหาความช่วยเหลือทางจิตวิทยานี้ได้รับอิทธิพลจากทั้งปัจจัยภายในตนเองเช่นมุมมองและเจตคติที่บุคคลมีต่อการแสวงหาความช่วยเหลือทางจิตวิทยา และปัจจัยภายนอกเช่นมุมมองจากบุคคลใกล้ชิดหรือสังคม อย่างไรก็ตาม ยังมีงานวิจัยไม่มากนักที่ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างตราบาปเกี่ยวกับความเจ็บป่วยทางจิตใจ ความเมตตากรุณาต่อตนเอง และเจตคติต่อการแสวงหาความช่วยเหลือทางจิตวิทยา ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างตราบาปเกี่ยวกับความเจ็บป่วยทางจิตใจ ความเมตตากรุณาต่อตนเอง ในการร่วมกันทำนายเจตคติต่อการแสวงหาความช่วยเหลือทางจิตวิทยา ในกลุ่มนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยทำการเก็บข้อมูลจากนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีจำนวน 221 คน มีอายุเฉลี่ย 20.29 ปี (SD = 1.59) ผลการวิจัยพบว่า 1) ตราบาปจากสังคมมีสหสัมพันธ์ทางลบต่อเจตคติต่อการแสวงหาความช่วยเหลือทางจิตวิทยา 2) ตราบาปจากบุคคลใกล้ชิดมีสหสัมพันธ์ทางลบต่อเจตคติต่อการแสวงหาความช่วยเหลือทางจิตวิทยา 3) ตราบาปจากตนเองมีสหสัมพันธ์ทางบวกต่อเจตคติต่อการแสวงหาความช่วยเหลือทางจิตวิทยา 4) ความเมตตากรุณาต่อตนเองมีสหสัมพันธ์ทางบวกต่อเจตคติต่อการแสวงหาความช่วยเหลือทางจิตวิทยา และ 5) ตราบาปจากสังคม ตราบาปจากบุคคลใกล้ชิด ตราบาปจากตนเอง และความเมตตากรุณาต่อตนเอง สามารถร่วมกันทำนายระดับเจตคติต่อการแสวงหาความช่วยเหลือทางจิตวิทยาได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ adjusted R2 = .449 ผลการวิจัยดังกล่าวสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ องค์ความรู้ที่ได้รับสามารถนำไปประกอบการออกแบบ วางแผนกระบวนการเพื่อส่งเสริมเจตคติต่อการแสวงหาความช่วยเหลือทางจิตวิทยาในกลุ่มนิสิตนักศึกษาต่อไป


ความสัมพันธ์ระหว่างความไม่มั่นคงในงานและความต้องการลาออก: บทบาทของภาวะซึมเศร้า ภาวะวิตกกังวล และการฟื้นพลัง, ณิชารีย์ เสนะวัต Jan 2022

ความสัมพันธ์ระหว่างความไม่มั่นคงในงานและความต้องการลาออก: บทบาทของภาวะซึมเศร้า ภาวะวิตกกังวล และการฟื้นพลัง, ณิชารีย์ เสนะวัต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความสัมพันธ์ระหว่างความไม่มั่นคงในงานและความตั้งใจลาออก (2) ศึกษาบทบาทของภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวลในฐานะตัวแปรส่งผ่านระหว่างความสัมพันธ์ข้างต้น (3) ศึกษาบทบาทของการฟื้นพลังในฐานะตัวแปรกำกับระหว่างความสัมพันธ์ของความไม่มั่นคงในงานและภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวลและระหว่างความสัมพันธ์ของความไม่มั่นคงในงานและความตั้งใจลาออก กลุ่มตัวอย่างคือพนักงานบริษัทโทรคมนาคมแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครจำนวน 456 คน ซึ่งคิดเป็น 32.57% ของจำนวนพนักงานทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ (1) มาตรวัดความต้องการลาออก (2) มาตรวัดความไม่มั่นคงในงาน (3) มาตรวัดภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวล (4) มาตรวัดการฟื้นพลัง ผลการวิจัยพบว่า 1. ความไม่มั่นคงในงานสามารถทำนายภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวลและความตั้งใจลาออกได้อย่างมีนัยสำคัญ 2. ไม่พบนัยสำคัญของภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวลในการส่งผ่านความสัมพันธ์ระหว่างความไม่มั่นคงในงานและความต้องการลาออก 3. การฟื้นพลังสามารถลดภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวลในกรณีที่พนักงานมีความไม่มั่นคงในงานสูงได้


Royal Thai Army’S Role In De-Escalating The Thai-Cambodian Border Dispute: A Case Study Of Suranaree Command (2012-2022), Phromnachanok Ketphan Jan 2022

Royal Thai Army’S Role In De-Escalating The Thai-Cambodian Border Dispute: A Case Study Of Suranaree Command (2012-2022), Phromnachanok Ketphan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

As witnessed from 2008 to 2011 in the case of the Preah Vihear temple, boundary demarcation can become securitized and lead to armed clashes. The Royal Thai Army of the Kingdom of Thailand is primarily responsible for securing the land border. Along the Thai-Cambodian border, security threats still exist. Therefore, this paper aims to analyze how the Suranaree Command, one of the RTA’s border defense units, has performed its de-escalation efforts on the contentious Thai-Cambodian border. Using anonymous interviews and open-source information due to the confidentiality of the unit, this research investigates the Command’s performance from 2012-2022, along with other …


Russian Motives In Cyberattacks: Case Studies Of Estonia And Ukraine, Theeratiphong Pannil Jan 2022

Russian Motives In Cyberattacks: Case Studies Of Estonia And Ukraine, Theeratiphong Pannil

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purpose of this independent_study is to examine Russian motivations for the 2007 cyberattacks on Estonia's critical information infrastructure and the 2015 Ukraine power grid breach. It also analyzes the aftermath and consequences of the attacks, as well as efforts to address the issues. The study found that Russia's primary purpose in cyberattacks is most likely to survive the anarchy of the international system, in which states can never trust each other and must rely on themselves. The acts of Estonia and Ukraine, as well as NATO's ambitions to expand, intervene, and achieve dominance in Russia's sphere of influence, would …


ความเครียดและความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานของเจนเนอเรชั่นวายกรณีศึกษาบุคลากรสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ, กรวิชญ์ แก้วเก่า Jan 2022

ความเครียดและความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานของเจนเนอเรชั่นวายกรณีศึกษาบุคลากรสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ, กรวิชญ์ แก้วเก่า

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงปริมาณนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียด ระดับของความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน ของบุคลากรเจนเนอเรชั่นวาย สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์จากกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว โดยพบว่ามีผู้ที่สมัครใจร่วมให้ข้อมูล จำนวน 165 คน ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับความเครียดในภาพรวมของบุคลากรมีระดับปานกลาง ทั้งนี้เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าความเครียดด้านการใช้จ่าย (การรู้สึกว่าเงินไม่พอใช้จ่าย) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ซึ่งเข้าข่ายเป็นความเครียดระดับมาก (2) ระดับความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานในภาพรวมของบุคลากรมีระดับปานกลาง ทั้งนี้เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานที่เป็นด้านสังคมสัมพันธ์มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ซึ่งเข้าข่ายเป็นความสมดุลระดับมาก (3) ผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างระดับความเครียดในการทำงานกับความสมดุลในชีวิตการทำงาน ถึงแม้แสดงถึงการมีความสัมพันธ์กันระดับต่ำ แต่ก็เป็นความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในการนี้ข้อเสนอแนะที่สำคัญของการศึกษาครั้งนี้ คือ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติควรดำเนินการจัดทำนโยบายที่ส่งเสริมให้บุคลากรมีความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานให้ชัดเจน ปรับปรุงระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานและการเลื่อนขั้นเงินเดือนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ รวมถึงส่งเสริมให้บุคลากรภายในหน่วยงานสำรวจความเครียดของตนเองเป็นประจำ นอกจากนี้การศึกษาเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวในอนาคตควรครอบคลุมถึงบุคลากรเจนเนอเรชั่น X รวมถึงเจนเนอเรชั่น Z เพื่อเปรียบเทียบระดับความเครียดและความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานของคนต่างรุ่น


การศึกษาแนวทางการประยุกต์แนวคิดการออกแบบบริการ (Service Design) ของภาครัฐ เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มระบบบริการตีความพิกัดอัตราศุลกากรล่วงหน้าทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Advance Tariff Ruling), กาญจนาพร ฉ่ำมณี Jan 2022

การศึกษาแนวทางการประยุกต์แนวคิดการออกแบบบริการ (Service Design) ของภาครัฐ เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มระบบบริการตีความพิกัดอัตราศุลกากรล่วงหน้าทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Advance Tariff Ruling), กาญจนาพร ฉ่ำมณี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางในการประยุกต์แนวคิดการออกแบบบริการรวมถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาแพลตฟอร์มระบบบริการตีความพิกัดอัตราศุลกากรล่วงหน้าทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Advance Tariff Ruling) ของกองมาตรฐานพิกัดอัตราศุลกากร กรมศุลกากร โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จากเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน, ระดับผู้บริหาร คณะทำงานพัฒนาฯ รวมทั้ง ผู้ใช้บริการ ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ออกมาตามคุณสมบัติทางเทคนิคเป็นกระบวนการ 6 ขั้นตอน ได้แก่ การลงทะเบียน การยื่นเอกสาร การรอการตอบรับ การดำเนินการพิจารณาพิกัดอัตราศุลกากร การชำระเงิน และการแจ้งผล พบว่าแต่ละกระบวนการในแพลตฟอร์มยังมีข้อจำกัดในการใช้งาน ผู้วิจัยจึงทำการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกค้นพบว่า ผู้ใช้บริการต้องการทราบถึงความคืบหน้าของกระบวนการดำเนินการพิจารณาตีความพิกัดอัตราศุลกากรล่วงหน้า เพื่อการสามารถวางแผนการนำเข้า ทั้งนี้ผู้วิจัยจึงได้ออกแบบ “ระบบแสดงสถานะการดำเนินงานพิจารณาตีความล่วงหน้า” (ระบบย่อยที่ 2) อาจจะมีการกำหนดสถานะ “การพิจารณาขั้นต้น > การพิจารณาขั้นสุดท้าย” และการแสดงระยะเวลาการนับถอยหลังเพื่อให้ผู้นำเข้ามั่นใจได้ว่า จะแล้วเสร็จตามกรอบระยะเวลา 30/60 วันทำการ ในการออกแบบระบบแสดงสถานะดังกล่าว ได้ประยุกต์ใช้แนวคิดการออกแบบบริการ (Service Design) ของภาครัฐ พบว่า หากต้องการพัฒนาแพลตฟอร์มระบบฯ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ ควรเป็นการทำงานร่วมกันของระหว่าง 3 ฝ่ายคือ เจ้าหน้าที่ ผู้ใช้บริการ บริษัทผู้พัฒนาระบบ ทั้งใน 3 ขั้นตอน นับตั้งแต่ การสำรวจและเก็บข้อมูล การออกแบบแนวคิด และการทดสอบและลงมือทำจริง ซึ่งในแต่ละขั้นตอนโดยเฉพาะขั้นตอนที่ให้ผู้ใช้บริการร่วมออกแบบตามหลักผู้ใช้บริการเป็นศูนย์กลาง


การนำมาตรการลดการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐไปปฏิบัติ : กรณีศึกษาที่ทำการปกครองอำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี, คมสัน วงศ์แหลมมัจฉา Jan 2022

การนำมาตรการลดการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐไปปฏิบัติ : กรณีศึกษาที่ทำการปกครองอำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี, คมสัน วงศ์แหลมมัจฉา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาการนำมาตรการลดการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐมาปฏิบัติของที่ทำการปกครองอำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี โดยมุ่งตอบคำถามว่าที่ทำการปกครองอำเภอเมืองราชบุรี มีการนำมาตรการประหยัดพลังงานไปปฏิบัติอย่างไร และมีภาระทางการบริหารอะไรเกิดขึ้นบ้าง โดยเก็บข้อมูลสถิติค่าไฟ และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 10 คน มีข้อค้นพบว่า นโยบายนี้มีลักษณะของมาตรการบังคับและ “ตัดเสื้อโหล” (One-size-fits-all) ที่ขาดความยืดหยุ่นต่อภารกิจและบริบทของหน่วยงาน การนำนโยบายไปปฎิบัติประสบปัญหาด้านทรัพยากร โดยที่ทำการปกครองอำเภอเมืองราชบุรีสามารถลดการใช้ไฟฟ้าลงได้ถึง 20.65% ในช่วงที่บังคับใช้มาตรการ โดยได้มีการสนองนโยบายอย่างเข้มข้น เช่น กำหนดระยะเวลาเปิด-ปิดเครื่องปรับอากาศ ระยะเวลาพักหน้าจอคอมพิวเตอร์เมื่อไม่ใช้งาน เนื่องจากต้องชดเชยในส่วนที่ไม่สามารถดำเนินการประหยัดพลังงานได้ เช่น การปฏิบัติภารกิจบริการประชาชน และการใช้บริการจากหน่วยงานอื่น หรือหน่วยงานที่มีสถานที่ตั้งอยู่บนอาคารที่ว่าการอำเภอ และการที่ไม่มีงบประมาณสนับสนุนในการจัดซื้ออุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงาน โดยพบว่าที่ทำการปกครองฯ ต้องแบกรับต้นทุนจากการปฏิบัติตามนโยบาย และต้นทุนด้านการเรียนรู้


ประสิทธิผลการทำงานของคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) ที่ทำการปกครองอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี, จณิสตา อินทรสุวรรณโณ Jan 2022

ประสิทธิผลการทำงานของคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) ที่ทำการปกครองอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี, จณิสตา อินทรสุวรรณโณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเรื่อง "ประสิทธิผลการทำงานของคณะกรรมการหมู่บ้าน(กม.)อำเภอจอมบึงจังหวัดราชบุรี" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการทำงานของคณะกรรมการหมู่บ้าน เพื่อทราบถึงปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัดในการทำงานของคณะกรรมการหมู่บ้าน และ เพื่อเสนอแนะแนวทางการเพิ่มประสิทธิผลการทำงานของคณะกรรมการหมู่บ้าน ในการศึกษา ครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการศึกษาโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In – depth Interview) เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ซึ่งเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องโดยตรงและเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของคณะกรรมการหมู่บ้านของอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำกลุ่มต่าง ๆ และผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงานของคณะกรรมการหมู่บ้าน อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ปัจจัยบุคคล คือ ทักษะ ความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจ ในการทำงานตามหน้าที่ของคณะกรรมการหมู่บ้าน ปัจจัยกลุ่ม คือ กระบวนการทำงาน โครงสร้าง และภาวะผู้นำ และ ปัจจัยองค์การ คือ การสร้างแรงจูงใจ การประสานงาน สภาพแวดล้อม


ความไว้วางใจของประชาชนในการดำเนินงานของศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย : กรณีศึกษา การให้บริการประชาชนของศูนย์ดำรงธรรม จังหวัดปทุมธานี, จิรัชญา บุรุษพัฒน์ Jan 2022

ความไว้วางใจของประชาชนในการดำเนินงานของศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย : กรณีศึกษา การให้บริการประชาชนของศูนย์ดำรงธรรม จังหวัดปทุมธานี, จิรัชญา บุรุษพัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความไว้วางใจของประชาชนในการดำเนินงานของศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย: กรณีศึกษา การให้บริการประชาชนของศูนย์ดำรงธรรม จังหวัดปทุมธานี เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods) โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในจังหวัดปทุมธานีที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปและเคยใช้บริการของศูนย์ดำรงธรรม จังหวัดปทุมธานี จำนวน 263 คนสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างทำการสัมภาษณ์เชิงลึกจากประชาชนในจังหวัดปทุมธานีที่เคยใช้บริการศูนย์ดำรงธรรม จังหวัดปทุมธานี จำนวน 10 คน ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุ กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ระดับความความไว้วางใจในการดำเนินงานของศูนย์ดำรงธรรม จังหวัดปทุมธานีในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยปัจจัยส่วนบุคคล ด้านระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยที่แตกต่างกันมีผลต่อระดับความไว้วางใจของประชาชนที่มีต่อศูนย์ดำรงธรรม จังหวัดปทุมธานี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ประกอบกับปัจจัยด้านความซื่อสัตย์ การตอบสนอง ความน่าเชื่อถือ ด้านการรับฟัง/เปิดกว้าง และความเป็นธรรม ส่งผลต่อความไว้วางใจของประชาชนที่มีต่อศูนย์ดำรงธรรม จังหวัดปทุมธานีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และปัจจัยที่ส่งผลต่อความไว้วางใจของประชาชนที่มีต่อศูนย์ดำรงธรรม จังหวัดปทุมธานีที่สำคัญมากที่สุด คือ ด้านการตอบสนอง (Beta = 0.299) รองลงมาคือ ด้านความน่าเชื่อถือ (Beta = 0.266) ด้านการรับฟัง/เปิดกว้าง (Beta = 0.232) ด้านความเป็นธรรม (Beta = 0.186) และด้านความซื่อสัตย์ (Beta = 0.130) ตามลำดับ ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะเพื่อเพิ่มการต่อยอดในการพัฒนาความไว้วางใจผ่านปัจจัย 5 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านการตอบสนอง ควรเพิ่มเจ้าหน้าที่ให้พอเพียงกับปริมาณงาน 2.ด้านความน่าเชื่อถือ เจ้าหน้าที่ต้องมีองค์ความรู้และความชำนาญในการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะความรู้ด้านกฎหมาย และเก็บข้อมูลของผู้มาร้องเรียนเป็นความลับ 3. ด้านการรับฟัง/เปิดกว้าง เจ้าหน้าที่ต้องมีความตั้งใจและเปิดกว้างรับฟังในทุกปัญหาความเดือดร้อน 4. ด้านความเป็นธรรม ปลูกฝังความเท่าเทียมทั้งในองค์กรและปฏิบัติภายใต้อำนาจหน้าที่อย่างยุติธรรม และ 5.ด้านความซื่อสัตย์ ปลูกฝังค่านิยมความซื่อสัตย์ในองค์กร ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับขององค์กรอย่างเคร่งครัด


ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการภาครัฐด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล: กรณีศึกษาระบบขอรับการส่งเสริมศิลปะร่วมสมัยของกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย, จิรัชยา จารุภาวัฒน์ Jan 2022

ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการภาครัฐด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล: กรณีศึกษาระบบขอรับการส่งเสริมศิลปะร่วมสมัยของกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย, จิรัชยา จารุภาวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความคิดเห็นของผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน และผู้ขอรับการส่งเสริมผ่านระบบขอรับการส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย เกี่ยวกับการเปิดใช้ระบบขอรับการส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย รวมถึงศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคในการเปิดใช้ระบบ เพื่อนำเสนอแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานมากยิ่งขึ้น โดยการศึกษาในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ซึ่งประกอบด้วย คณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย ผู้ปฏิบัติงานในกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย และผู้ขอรับการส่งเสริมผ่านระบบขอรับการส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย ในปีงบประมาณ 2566 ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน และผู้ขอรับการส่งเสริม มีความคิดเห็นว่าการเปิดใช้ระบบช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานในแต่ละด้านดีมากขึ้น กล่าวคือด้านคุณภาพงาน (Quality) พบว่ามีความถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น, ด้านปริมาณงาน (Quantity) พบว่าทำให้ปริมาณงานและจำนวนผู้ปฏิบัติงานลดลง, ด้านเวลา (Time) พบว่าช่วยลดระยะเวลาในการปฏิบัติงานลง, และด้านค่าใช้จ่าย (Costs) พบว่าถึงแม้มีต้นทุนดังกล่าวเพิ่มขึ้นจากการพัฒนาระบบ แต่ถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและจำเป็น เนื่องจากเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ขอรับการส่งเสริม และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานในระยะยาว อย่างไรก็ตามข้อค้นพบเกี่ยวกับประเด็นปัญหาและอุปสรรค ผู้วิจัยพบว่าผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน และผู้ขอรับการส่งเสริม มีมุมมองแตกต่างกัน กล่าวคือผู้บริหารมองว่าปัญหาและอุปสรรคเกิดจากการที่หน่วยงานอยู่ในระหว่างการจัดทำนโยบายส่วนบุคคล ซึ่งทำให้ฟังก์ชั่นของระบบบางส่วนไม่สามารถใช้งานได้ ในขณะที่ผู้ปฏิบัติงานมองว่าปัญหาและอุปสรรคส่วนใหญ่เกิดขึ้นระหว่างการเปิดใช้ระบบและหลังจากการปิดระบบไปแล้ว รวมถึงผู้ขอรับการส่งเสริมซึ่งพบว่ามีปัญหาและอุปสรรคระหว่างการเปิดใช้ระบบเช่นกัน ในการนี้งานวิจัยดังกล่าวสรุปแนวทางการพัฒนาและปรับปรุงระบบจำนวน 3 ประเด็น ได้แก่ 1) การพัฒนาและปรับปรุงระบบขอรับการส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย 2) การพัฒนาและปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินงาน และ 3) การพัฒนาบุคลากรของกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย


แรงจูงใจของอาเซียนต่อการเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคของอินเดีย, จุฑารัตน์ บัวศรีจันทร์ Jan 2022

แรงจูงใจของอาเซียนต่อการเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคของอินเดีย, จุฑารัตน์ บัวศรีจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ท่ามกลางสภาวะการพึ่งพาซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ภายหลังสงครามเย็นสิ้นสุด อาเซียนได้ริเริ่มจัดทำความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ RCEP ขึ้น เพื่อส่งเสริมการบูรณาการทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค โดยเมื่อแรกเริ่มเจรจา RCEP มีสมาชิกทั้งหมด 16 ประเทศ แต่ภายหลังในปี 2019 อินเดียได้ถอนตัวออกจากการเจรจา จากความต้องการรักษาผลประโยชน์ภายในประเทศ อย่างไรก็ดี อินเดียมีแนวโน้มที่จะกลับเข้ามาร่วมความตกลงอีกครั้งในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังชะลอตัวและเศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะถดถอย ซึ่ง RCEP เองก็ยังคงเปิดรับอินเดียให้กลับเข้ามาร่วมในฐานะสมาชิกดั้งเดิมได้เสมอ ซึ่งหากอินเดียตัดสินใจกลับเข้ามาร่วมในความตกลง RCEP อีกครั้งในอนาคต การตัดสินใจดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย โดยเฉพาะอาเซียน ซึ่งมีการพึ่งพาซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจกับประเทศในภูมิภาคเอเชียค่อยข้างสูง โดยจากการศึกษาพบว่า อินเดียจะมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของอาเซียนอย่างมาก โดยคาดว่าจะทำให้มูลค่า GDP ของอาเซียนเพิ่มขึ้น และการค้าระหว่างอาเซียนกับอินเดียภายใต้ความตกลง RCEP มีแนวโน้มที่จะมีมูลค่าสูงกว่าการค้าระหว่างอาเซียนกับอินเดียภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย ซึ่งมีการเปิดเสรีในระดับที่น้อยกว่า นอกจากนี้ อินเดียจะช่วยให้อาเซียนมีดุลทางการค้าภายใต้ความตกลง RCEP เพิ่มขึ้น และสนับสนุนอาเซียนในการเข้าถึงตลาดใหม่ ๆ ในเอเชียใต้ รวมถึงการที่อินเดียเป็นสมาชิก RCEP จะส่งผลดีต่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนกับอินเดีย ภายใต้กรอบความร่วมมืออื่น ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จากการพึ่งพาซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจร่วมกัน


มุมมองผู้ประกอบการผ้าทอพื้นถิ่นของชาติพันธุ์ต่อนโยบายการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทยที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจฐานราก กรณีศึกษา จังหวัดราชบุรี, ชนิสรา มหัทธนไพศาล Jan 2022

มุมมองผู้ประกอบการผ้าทอพื้นถิ่นของชาติพันธุ์ต่อนโยบายการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทยที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจฐานราก กรณีศึกษา จังหวัดราชบุรี, ชนิสรา มหัทธนไพศาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์3 ประการ ดังนี้ 1.เพื่อศึกษามุมมองและความคิดเห็นของผู้ประกอบการทอผ้าชาติพันธุ์ภายใต้มาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทยที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจฐานราก 2.เพื่อศึกษาการดำเนินงานของมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทยที่สามารถตอบสนองความต้องการหรือเรื่องใดไม่ตอบสนองต่อผู้ประกอบการทอผ้าชาติพันธุ์ในจังหวัดราชบุรีเพื่อหาข้อเสนอแนะในการพัฒนาแนวทางในการปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม หากนโยบายดังกล่าวมีการดำเนินงานที่ไม่เพียงพอผู้ประกอบการต้องการการสนับสนุนด้านใดบ้าง 3.เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ความสำเร็จของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จที่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดและมีรายได้ประจำจากการประกอบอาขีพทอผ้าว่าปัจจัยความสำเร็จคืออะไร มีความสัมพันธ์อย่างไรกับอัตลักษณ์ของชุมชน โดยการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพดำเนินการศึกษาด้วยการใช้เทคนิคการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญซึ่งเป็นกลุ่มผู้ประกอบการทอผ้าชาติพันธุ์ จำนวน 3 กลุ่ม โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ทั้งนี้ผลการศึกษาพบว่าผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ให้มุมมองและความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทยที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจฐานราก ไว้ว่าเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนช่วยเหลือการสร้างงาน สร้างรายได้ เสริมสร้างเศรษฐกิจฐานราก เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของผ้าทอพื้นถิ่นของชาติพันธุ์ในจังหวัดราชบุรี รวมถึงการมีกิจกรรมการพัฒนาผู้ประกอบการผ้าทอพื้นถิ่นของชาติพันธุ์ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจฐานรากตามมาตรการการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทยแนวทางการดำเนินการพัฒนาในการตอบสนองความต้องการและเกิดประโยชน์แท้จริงแก่ผู้ประกอบการทอผ้าชาติพันธุ์ในจังหวัดราชบุรี


การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย พ.ศ. 2566 - 2570, ชัยพัฒน์ กุศลจิตต์ Jan 2022

การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย พ.ศ. 2566 - 2570, ชัยพัฒน์ กุศลจิตต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งตอบคำถามว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภาครัฐและภาคเอกชน มีส่วนร่วม เหมือนหรือต่างกันอย่างไรในกระบวนการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย (พ.ศ. 2566 - 2570) รวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภาครัฐและภาคเอกชน มีระดับการมีส่วนร่วมในกระบวนการของการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ (พ.ศ. 2566 - 2570) ระดับใด โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพจากผู้ให้ข้อมูล 6 คน จากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ผลการศึกษาพบว่า ระดับการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในคณะทำงานจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย (พ.ศ. 2566 – 2570) อยู่ในระดับ สร้างความร่วมมือ (ระดับที่ 4 จาก 5 อันดับ) โดยระดับการมีส่วนร่วมของภาครัฐและภาคเอกชนไม่แตกต่างกัน แต่ทั้งสองภาคส่วนนั้นมีประเด็นในการมีส่วนร่วมที่ต่างกัน โดยภาคเอกชนส่วนมากจะมีประเด็นในส่วนของการสะท้อนปัญหาหน้างานที่ได้ไปพบมาจากการใช้งานระบบโลจิสติกส์ที่ภาครัฐเป็นผู้พัฒนา ส่วนภาครัฐจะมีประเด็นการมีส่วนร่วมในส่วนของการตอบสนองต่อการดำเนินการของตนเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากส่วนใหญ่ภาครัฐมักจะชำนาญงานในส่วนของตนเอง และไม่ก้าวก่ายงานของหน่วยงานอื่น อย่างไรก็ตาม แม้ระดับการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะอยู่ในระดับที่สูง แต่ระดับการมีส่วนร่วมดังกล่าวจำกัดเพียงการมีส่วนร่วมในการกำหนดตัวชี้วัดที่ต้องการบรรลุเท่านั้น งานวิจัยพบว่า แม้ว่าแผนฉบับดังกล่าวจะเป็นแผนปฏิบัติการ แต่เนื้อหาของแผนไม่ได้มีการกำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อบรรลุตัวชี้วัดที่ถูกกำหนดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้น ส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการกำหนดแนวทางการบรรลุตัวชี้วัดจึงยังอยู่ในระดับที่ต่ำ ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพของแผนในขั้นตอนการนำนโยบายไปปฏิบัติ


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติกรณีการขับเคลื่อนการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดราชบุรี, ชิติพัทร สุขขี Jan 2022

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติกรณีการขับเคลื่อนการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดราชบุรี, ชิติพัทร สุขขี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติกรณีการขับเคลื่อนการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดราชบุรี อุบัติเหตุทางถนนก่อให้เกิดความเสี่ยงอย่างมากต่อความปลอดภัยสาธารณะ และการดำเนินนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพมีบทบาทสำคัญในการลดความเสี่ยงเหล่านี้ การศึกษานี้ใช้วิธีผสมผสานระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินนโยบายในจังหวัดราชบุรี ขั้นตอนเชิงปริมาณเกี่ยวข้องกับการสำรวจระดับความคิดเห็นเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รับผิดชอบนโยบายความปลอดภัยทางถนน ในขณะที่ขั้นตอนเชิงคุณภาพประกอบด้วยการสัมภาษณ์หน่วยงานที่กำหนดนโยบายและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยหลักสามประการที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินนโยบายคือ ปัจจัยด้านทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด รวมถึงข้อจำกัดงบประมาณและการขาดแคลนบุคลากร ปัจจัยความร่วมมือหรือการตอบสนองการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดและการประสานงานระหว่างหน่วยงานส่วนกลาง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชนมีบทบาทสำคัญในการดำเนินนโยบาย และปัจจัยการติดตามผลการปฏิบัติงานเป็นกลไกที่มีความสำคัญต่อประสิทธิผลของนโยบาย การศึกษาครั้งนี้จึงเป็นข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนให้กับผู้กำหนดนโยบายที่จะสามารถพัฒนากลยุทธ์ที่กำหนดเป้าหมายเพื่อเพิ่มมาตรการความปลอดภัยทางถนนและลดการเกิดอุบัติเหตุในจังหวัดราชบุรี


บทบาทของรัฐบาลไทยในการดำเนินการแก้ไขปัญหาค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมภาคประมงปี พ.ศ.2557-2565, ณพาวัน วระกมล Jan 2022

บทบาทของรัฐบาลไทยในการดำเนินการแก้ไขปัญหาค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมภาคประมงปี พ.ศ.2557-2565, ณพาวัน วระกมล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาบทบาทของรัฐบาลไทยในการดำเนินการแก้ไขปัญหาค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมภาคประมงปี พ.ศ.2557-2565 โดยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้รัฐบาลไทยดำเนินการแก้ไขปัญหาค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมภาคประมงอย่างจริงจังมากยิ่งขึ้น 2. เพื่ออธิบายวิธีการที่รัฐบาลไทยใช้ดำเนินการแก้ไขปัญหาค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมภาคประมงอย่างจริงจังมากยิ่งขึ้น และ 3. เพื่อวิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นจากการที่รัฐบาลไทยดำเนินการแก้ไขปัญหาค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมภาคประมงอย่างจริงจังมากยิ่งขึ้น โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและใช้กรอบแนวคิดระบอบระหว่างประเทศเพื่อนำมาประกอบการวิเคราะห์ จากการศึกษาพบว่าการดำเนินการนโยบายต่างๆภายในประเทศของรัฐบาลไทยในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์มีมาตั้งแต่ในอดีตมาจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมิได้เป็นผู้ริเริ่มในการแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองแต่จะเป็นผลมาจากอิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงในระดับระหว่างประเทศในการกำหนดประเด็นวาระให้เป็นปทัสถานระหว่างประเทศ ต่อมาประเทศมหาอำนาจได้นำประเด็นการค้ามนุษย์มาทางด้านแรงงานมาเป็นเงื่อนไขเพื่อที่จะกำหนดมาตรการในการแทรกแซงทางด้านเศรษฐกิจได้อย่างชอบธรรม โดยสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปนั้นได้เป็นตลาดที่ส่งออกสินค้าสำคัญสำหรับประเทศไทย ส่งผลทำให้สหรัฐอเมริกาเป็นตัวแสดงที่สำคัญที่สุดทำให้รัฐบาลไทยต้องปรับพฤติกรรมดำเนินการแก้ไขปัญหาค้ามนุษย์อย่างจริงมากยิ่งขึ้น และมีสหภาพยุโรปเป็นอีกตัวแสดงเสริมทำให้รัฐบาลไทยปรับเปลี่ยนนโยบายการค้ามนุษย์เช่นกัน ซึ่งตัวแสดงทั้งสองต่างก็มีส่วนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประเทศที่ไม่ตรงกันให้ตรงตามแบบแผนของประเทศมหาอำนาจและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เนื่องจากอยู่ระบอบในการต่อต้านการค้ามนุษย์เหมือนกันและอีกประการเนื่องจากรัฐบาลไทยกลัวที่จะเสียประโยชน์ทางเศรษฐกิจในการส่งออกสินค้าที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมประมง


การรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับแผนพัฒนารัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2566 - 2570 : กรณีศึกษาข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ, ธิดานันท์ ทันจิตร์ Jan 2022

การรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับแผนพัฒนารัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2566 - 2570 : กรณีศึกษาข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ, ธิดานันท์ ทันจิตร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับแผนพัฒนารัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2566 - 2570 ของข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ภูมิหลังส่วนบุคคลกับการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับแผนพัฒนารัฐวิสาหกิจของข้าราชการ สคร. ในการนี้ผู้วิจัยเลือกใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) ซึ่งประกอบด้วยทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและ เชิงคุณภาพ และใช้เทคนิคการสำรวจและการสัมภาษณ์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากข้าราชการ สคร. ประเภทวิชาการ (ระดับชำนาญการพิเศษ ชำนาญการ และปฏิบัติการ) รวมถึงการสัมภาษณ์เฉพาะผู้บริหาร สคร. ผลการวิจัยพบว่า ข้าราชการ สคร. ส่วนใหญ่มีการรับรู้และเคยศึกษาแผนพัฒนารัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีปริมาณเนื้อหาที่ได้รับรู้/รับทราบน้อยกว่าร้อยละ 25 และมีความเข้าใจเกี่ยวกับแผนดังกล่าวระดับ ปานกลาง สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างภูมิหลังส่วนบุคคลกับการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับแผน พบว่า ภูมิหลังส่วนบุคคลของข้าราชการ สคร. มีความสัมพันธ์กับการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับแผนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีความสัมพันธ์กับการรับรู้ใน 2 ประเด็น คือ การศึกษาและการรับรู้/รับทราบ ปริมาณเนื้อหาที่ปรากฏในแผนพัฒนารัฐวิสาหกิจ และมีความสัมพันธ์กับความเข้าใจใน 3 ด้าน ได้แก่ ส่วนงานที่สังกัด ลักษณะงาน และความเกี่ยวข้องระหว่างแผนพัฒนารัฐวิสาหกิจกับตัวชี้วัดการประเมินผล การปฏิบัติราชการของตนเอง สำหรับภูมิหลังส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งข้าราชการ และประสบการณ์ทำงาน พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับความเข้าใจเกี่ยวกับแผนดังกล่าว ดังนั้น งานวิจัยนี้ จึงเสนอแนะให้มีการมุ่งพัฒนาและเพิ่มความเข้าใจแก่บุคลากร สคร. โดยเฉพาะบุคลากรที่อยู่ในส่วนงานหลัก ที่มีการปฏิบัติงานในภารกิจด้านรัฐวิสาหกิจของ สคร. ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานและเป็นกำลังสำคัญ ในการสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่หน่วยงานรัฐวิสาหกิจเพื่อให้รัฐวิสาหกิจมีความเข้าใจที่ตรงกันนำไปสู่การบรรลุ วิสัยทัศน์ของแผนดังกล่าว และก่อเกิดเป็นพลังผลักดันไปสู่เป้าหมายการพัฒนาของประเทศต่อไป||This research project aimed to examine perception and understanding towards the State Enterprise Development Plan B.E. 2566 - 2570 of civil servants in the State Enterprise Policy Office (SEPO) and …


บทบาทสหภาพยุโรปต่อไทยเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (2016 - 2022), ธีราพร ปทุมาสูตร Jan 2022

บทบาทสหภาพยุโรปต่อไทยเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (2016 - 2022), ธีราพร ปทุมาสูตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาบทบาทของสหภาพยุโรปต่อพัฒนาการของประเทศไทยในการให้ความช่วยเหลือเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals, SDGs) โดยศึกษาพลวัตเชิงนโยบายหลังจากที่ประเทศไทยรับรองเป้าหมาย SDGs และพัฒนาการด้านความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของประเทศไทย และศึกษาแนวคิด ผลประโยชน์ และข้อท้าทายของสหภาพยุโรปภายใต้การส่งออกความช่วยเหลือมายังประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่าพลวัตด้านการขับเคลื่อนนโยบายให้สอดคล้องกับเป้าหมาย SDGs เกิดขึ้นทั้งในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติอย่างต่อเนื่อง เกิดการยกระดับบทบาทคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) อีกทั้งองค์ความรู้และงบประมาณที่ได้รับยังส่งผลให้ประเทศไทยสามารถขยับบทบาทไปเป็นผู้ให้สะท้อนถึงความสำเร็จในการพัฒนา และการสร้างบทบาทผู้ให้ในเวทีโลก แต่ทั้งนี้ปัญหาด้านศักยภาพการเก็บข้อมูล ตัวชี้วัดที่ไม่สัมพันธ์กับบทริบทสังคมไทย รวมถึงการย่อยเป้าหมาย SDGs ลงไปในระดับท้องถิ่นยังคงเป็นข้อท้าทายของประเทศไทย ในส่วนของการศึกษาบทบาทและผลประโยชน์ของสหภาพยุโรปพบว่าเมื่อวิเคราะห์จากกรอบแนวคิดอำนาจเชิงปทัสถาน (Normative Power Europe) การรักษาบทบาทผู้นำเชิงปทัสถานเป็นจุดมุ่งหมายหลักเพื่อให้ประเทศผู้รับปฏิบัติตาม เชื่อมโยงถึงการเสริมสร้างภาพลักษณ์ และการเป็นผู้ให้ในเวทีโลก ซึ่งประเทศไทยยังคงเป็นเป้าหมายที่สำคัญในการส่งออกความช่วยเหลือและสร้างความร่วมมือ ทั้งนี้การหยุดชะงักกิจกรรม และสัดส่วนเงินบริจาค ODA ที่ลดลงเนื่องจากวิกฤติ COVID-19 รวมถึงการทำรัฐประหารภายในประเทศผู้รับทำให้สหภาพยุโรปจำเป็นต้องระงับความร่วมมือส่งผลให้อำนาจเชิงปทัสถานของสหภาพยุโรปมีแนวโน้มแผ่วเบาลงในพื้นที่ดังกล่าว


การนำการกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงานไปปฏิบัติ เพื่อลดระยะเวลาในการตรวจปล่อยสินค้าขาออกที่ติดเงื่อนไขความเสี่ยง: กรณีศึกษา ศูนย์เอกซเรย์และเทคโนโลยีศุลกากร สำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ, ธีระพัฒน์ รัตนะราภ Jan 2022

การนำการกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงานไปปฏิบัติ เพื่อลดระยะเวลาในการตรวจปล่อยสินค้าขาออกที่ติดเงื่อนไขความเสี่ยง: กรณีศึกษา ศูนย์เอกซเรย์และเทคโนโลยีศุลกากร สำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ, ธีระพัฒน์ รัตนะราภ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์เรื่องนี้ มุ่งตอบคำถามการนำการกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงานไปปฏิบัติ เพื่อลดระยะเวลาในการตรวจปล่อยสินค้าขาออกที่ติดเงื่อนไขความเสี่ยงมีความเหมาะสมอย่างไร รวมถึงวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคของการนำการกำหนดระยะเวลาดังกล่าวไปปฏิบัติ อันจะนำไปสู่การสังเคราะห์แนวทางและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการนำการกำหนดระยะเวลาดังกล่าวไปปฏิบัติต่อไป โดยอาศัยกระบวนทัศน์การจัดการภาครัฐแนวใหม่และแนวคิดการอำนวยความสะดวกทางการค้าในการกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัย ซึ่งการวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจาก 2 ส่วน ได้แก่ การวิจัยเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงาน และการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับการนำการกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงานไปปฏิบัติ จำนวน 5 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง รวมถึงการเก็บข้อมูลประกอบการศึกษาระยะเวลาที่ใช้ในการตรวจปล่อยสินค้าจากระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ ผลการศึกษาพบว่า การนำการกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงานไปปฏิบัติ เพื่อลดระยะเวลาที่ใช้ในการตรวจปล่อยสินค้าขาออกที่ติดเงื่อนไขความเสี่ยง มีความเหมาะสม โดยเจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติงานภายในระยะเวลาที่กำหนดได้ เนื่องจากการกำหนดระยะเวลาดังกล่าวเป็นการกำหนดตัวชี้วัดผลการบริหารผลงานและการบริหารผลการปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด แต่ปัญหาและอุปสรรคของการนำการกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงานไปปฏิบัติ ได้แก่ ปัจจัยด้านเครื่องเอกซเรย์ ปัจจัยด้านสินค้า ปัจจัยด้านบุคลากร ปัจจัยด้านสถานที่ และปัจจัยด้านกฎหมาย อย่างไรก็ตาม แนวทางและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการนำการกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงานไปปฏิบัติ ภาครัฐควรกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เป็นมาตรฐาน โดยเฉพาะการกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงานต้องมีตัวชี้วัดที่เหมาะสมและชัดเจน ทำให้ภาครัฐและประชาชนสามารถติดตามและประเมินผลคุณภาพในการให้บริการของภาครัฐได้ รวมถึงการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยลดปัญหาและอุปสรรคของการบริการสาธารณะ เพื่อให้ภาครัฐสามารถตอบสนองประโยชน์สาธารณะและสร้างความพึงพอใจให้กับประชาชน


แนวทางการพัฒนาการสื่อสารภายในองค์กรของข้าราชการตำรวจ สังกัดสำนักงานงบประมาณและการเงิน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, นวอร โชคธนไพศาล Jan 2022

แนวทางการพัฒนาการสื่อสารภายในองค์กรของข้าราชการตำรวจ สังกัดสำนักงานงบประมาณและการเงิน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, นวอร โชคธนไพศาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์เรื่อง "แนวทางการพัฒนาการสื่อสารภายในองค์กรของข้าราชการตำรวจ สังกัดสำนักงานงบประมาณและการเงิน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันกับแนวทางการพัฒนาการสื่อสารภายในองค์กร ศึกษาระดับของปัญหาการสื่อสารภายในองค์กรและศึกษาแนวทางการพัฒนาการสื่อสารภายในองค์กร กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการตำรวจ สังกัดสำนักงานงบประมาณและการเงิน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำนวน 173 คน โดยใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน่ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กำหนดระดับความคลาดเคลื่อนที่ 0.05 โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างตามสะดวก มีการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Independent Sample t-test,F-test และ Multiple Linear Regression ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมากเป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 30-39 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ประสบการณ์รับราชการตำรวจระดับสัญญาบัตร 2-5 ปี มีระดับของปัญหาการสื่อสารภายในองค์กรและระดับความคิดเห็นของแนวทางการพัฒนาการสื่อสารภายในองค์กรมีค่าเฉลี่ยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคลนั้น เพศ อายุ สถานภาพ ประสบการณ์และระดับชั้นยศที่แตกต่างกัน มีแนวทางพัฒนาการสื่อสารภายในองค์กรไม่แตกต่างกัน ในขณะที่ระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน มีแนวทางพัฒนาการสื่อสารภายในองค์กรด้านการศึกษาแตกต่างกัน ส่วนปัญหาการสื่อสารภายในองค์กรจากองค์ประกอบการสื่อสาร พบว่า ด้านช่องทางการสื่อสารและด้านผู้รับสารส่งผลต่อแนวทางการพัฒนาการสื่อสารภายในองค์กร สำหรับด้านผู้ส่งสารและด้านข้อมูลข่าวสารไม่ส่งผลต่อแนวทางการพัฒนาการสื่อสารภายในองค์กร


ซาอุดิอาระเบียในความขัดแย้งระหว่างซาอุดิอาระเบียกับกาตาร์ ระหว่าง ค.ศ. 2017 - 2021, ปนัสยา พหลเดชา Jan 2022

ซาอุดิอาระเบียในความขัดแย้งระหว่างซาอุดิอาระเบียกับกาตาร์ ระหว่าง ค.ศ. 2017 - 2021, ปนัสยา พหลเดชา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำให้ซาอุดิอาระเบียตัดสินใจตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับกาตาร์ ระหว่าง ค.ศ. 2017 - 2021 โดยใช้แนวคิดมหาอำนาจในระดับภูมิภาค การศึกษาพบว่าซาอุดิอาระเบียใช้ความเป็นมหาอำนาจกำหนดทิศทางการเมืองทั้งหมดในภูมิภาคตะวันออกกลางและไม่ต้องการให้กาตาร์แสดงศักยภาพและบทบาทในทุกมิติเกินหน้าซาอุดิอาระเบีย กล่าวคือ หลังทศวรรษ 2000 เป็นต้นมา กาตาร์ดำเนินนโยบายต่างประเทศเพื่อยกระดับบทบาทของตนในภูมิภาคตะวันออกกลาง ทำให้ซาอุดิอาระเบียมองว่าเป็นความพยายามที่จะขยายอิทธิพลแข่งกับตน การตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับกาตาร์ในครั้งนี้ถือเป็นการแสดงถึงความเหนือกว่าทางอำนาจ โดยใช้มาตรการลงโทษขั้นเด็ดขาด เพื่อรักษาไว้ซึ่งอำนาจ อิทธิพล และผลประโยชน์ของซาอุดิอาระเบีย และเป็นการจัดระเบียบภูมิภาคตะวันออกกลางเสียใหม่เพื่อให้กาตาร์กลับมาอยู่ในวงล้อมอำนาจและปฏิบัติตามแนวทางของซาอุดิอาระเบีย


นโยบายการพัฒนาชุมชนของกรุงเทพมหานคร เปรียบเทียบระหว่าง กิจกรรมผู้ว่าฯ พบประชาชน ของ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง และกิจกรรมผู้ว่าฯ สัญจร ของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์, ปัทมภัส คูหาวิชานันท์ Jan 2022

นโยบายการพัฒนาชุมชนของกรุงเทพมหานคร เปรียบเทียบระหว่าง กิจกรรมผู้ว่าฯ พบประชาชน ของ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง และกิจกรรมผู้ว่าฯ สัญจร ของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์, ปัทมภัส คูหาวิชานันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการกำหนดนโยบาย การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ และการประเมินผลนโยบายด้านการพัฒนาชุมชนของกรุงเทพมหานคร ภายใต้การบริหารราชการของ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง และ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบกิจกรรมผู้ว่าฯ พบประชาชนของ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง กับผู้ว่าฯ สัญจรของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการศึกษาเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ข้าราชการประจำ จำนวน 12 คน ประชาชนชาวกรุงเทพมหานคร จำนวน 12 คนรวมเป็น 24 คน ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและการนำเสนอเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า นโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครของ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง มีความสอดคล้องกับตัวแบบชนชั้นนำ ของ Dye (2007) เนื่องจากในการกำหนดนโยบายการบริหารงานกรุงเทพมหานครของ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง เข้าสู่ตำแหน่งโดยการแต่งตั้งจากคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ก่อนได้รับแต่งตั้งไม่ได้มีการนำเสนอนโยบายให้ประชาชนชาวกรุงเทพมหานครตัดสินใจเลือก และในการดำเนินโครงการที่สำคัญที่มีงบประมาณมาก หรือเมกะโปรเจกต์ ก็มีการเตรียมการโดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติมาตั้งแต่ก่อนได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งกลุ่มชนชั้นนำจะกำหนดนโยบายโดยอาศัยค่านิยมของตนเองเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจนโยบาย ถือว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่สนใจกิจกรรมการพัฒนาเมือง และไม่ได้รับข้อมูลเพียงพอเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ ชนชั้นนำจึงมีบทบาทในการกำหนดความคิดเห็นของประชาชนมากกว่าที่ประชาชนจะกำหนดความคิดเห็นของชนชั้นนำ โดยประชาชนไม่ได้กำหนดนโยบาย ข้าราชการทำหน้าที่เพียงนำนโยบายที่กำหนด โดยชนชั้นนำไปสู่ประชาชนเท่านั้น ในส่วนของการประเมินผลนโยบายของ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมืองหลังจากดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมาครบ 1 ปีที่ได้ประกาศแผนขับเคลื่อน กทม. ปี 2561 โดยใช้กรอบการทำงาน 100 วัน 200 วัน 300 วัน จนถึง 1 ปี ส่วนนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครของ นายชัชชาติ สิทธิพันธ์มีความสอดคล้องกับตัวแบบระบบ ของ Dye (2007) เนื่องจากการกำหนดนโยบายการบริหารกรุงเทพมหานครของ นายชัชชาติ สิทธิพันธ์นั้น ได้จัดทำนโยบายในภาพใหญ่ และนโยบายรายเขตหรือพื้นที่ ไม่ได้ใช้นโยบายเดียวเหมาะรวมทุกท้องที่ มุ่งเน้นการแก้ปัญหาเล็ก ๆ ที่อยู่ใกล้บ้านใกล้ตัวของประชาชน หรือที่เรียกว่า "ปัญหาเส้นเลือดฝอย" มากกว่าคิดถึงโครงการลงทุนขนาดใหญ่หรือเมกะโปรเจกต์ ในการกำหนดนโยบายจะมาจากปัญหาจริงของชาวเมืองกรุงเทพมหานคร ผ่านอาสาสมัครและการเข้าพื้นที่พบกับคนที่อยู่อาศัยทั่วกรุงเทพฯ อยู่บนรากฐานของข้อมูลสถิติที่เป็นวิทยาศาสตร์ร่วมกับนักวิชาการจากหลายสถาบันการศึกษาโดยนายชัชชาติ สิทธิพันธ์ได้นำเสนอนโยบายมากถึง 216 ข้อ ภายใต้คำขวัญ "สร้างกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน" …


การเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นองค์กรดิจิทัลของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, ปุญณิศา ไทยช่วย Jan 2022

การเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นองค์กรดิจิทัลของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, ปุญณิศา ไทยช่วย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษากระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นองค์กรดิจิทัลของสํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา ตามแนวทางการเป็นรัฐบาลดิจิทัลของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล รวมถึงศึกษาแนวทางการพัฒนาและจัดทำเป็นข้อเสนอแนะในการพัฒนาสํานักงานเลขาธิการวุฒิสภาเพื่อก้าวไปสู่การเป็นองค์กรดิจิทัล โดยงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยคำถามแบบกึ่งมีโครงสร้างในการเก็บข้อมูล จากผู้มีกลุ่มผู้รับบริการหลัก ผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงานของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาพรรณนาบรรยายข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ด้านการนำองค์กรและการวางยุทธศาสตร์ด้านดิจิทัลมีความพยายามในการเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นองค์กรดิจิทัลด้วยนโยบาย SMART Senate อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัลเกิดขึ้นอย่างชัดเจนเนื่องมาจากสถานการณ์ Covid 19 ที่ส่งผลให้มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ด้านการพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลยังเป็นเรื่องพื้นฐานไม่เน้นความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงาน มีความพยายามผลักดันให้เกิดการคิดค้นนวัตกรรม แต่ยังขาดการบูรณาการทำงานทำให้ยังไม่เกิดผลกระทบสูง (High impact) ต่อผู้รับบริการ และในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล มีระบบการทำงานที่เป็นดิจิทัลมากขึ้น แต่ยังพบข้อจำกัดด้านอุปกรณ์และงบประมาณ การพัฒนาระบบต่างๆ ที่ต้องจึงขาดความคล่องตัว ในส่วนของการเป็นรัฐบาลดิจิทัลของสำนักงานฯ ยังคงต้องคำนึงถึงการออกแบบกระบวนการทำงานแบบ End to End Process และเร่งดำเนินการจัดการข้อมูลให้มีมาตรฐานอยู่ในรูปแบบดิจิทัลที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายและสามารถใช้ข้อมูลด้านนิติบัญญัติที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป


ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาตนเองกับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ Chula Mooc ของพนักงานมหาวิทยาลัย สายปฏิบัติการ ระดับ P7คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ปุณพจน์ พัฒนาตรีวิทย์ Jan 2022

ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาตนเองกับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ Chula Mooc ของพนักงานมหาวิทยาลัย สายปฏิบัติการ ระดับ P7คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ปุณพจน์ พัฒนาตรีวิทย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การจัดทำสารนิพนธ์ ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่ออธิบายความแตกต่างการพัฒนาตนเอง กับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ CHULA MOOC ของพนักงานสายปฏิบัติการ ระดับ P7 ที่ต่างสังกัด (2) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาตนเอง กับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ CHULA MOOC ของพนักงานสายปฏิบัติการ ระดับ P7 (3) เพื่อหาแนวในการส่งเสริมการพัฒนาตนเอง ของพนักงานสายปฏิบัติการ ระดับ P7 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพิ่มเติมในอนาคต โดยมีกลุ่มตัวอย่าง เป็นพนักงานสายปฏิบัติการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 120 คน แบ่งเป็น คณะรัฐศาสตร์ จำนวน 60 คน และคณะวิศกรรมศาสตร์ จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ มี 2 ชุดได้แก่ชุดที่ 1 แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรสำเร็จรูปทางสถิติ (SPSS) สถิติทีใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเฉลี่ย Independent Sample T-Test การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ของ Pearson’s และชุดที่ 2 แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการศึกษา สรุปได้ดังนี้ (1) ผลการทดสอบค่าเฉลี่ย Independent Sample T-Test พบว่าคณะรัฐศาสตร์ (ค่าเฉลี่ยรวม = 3.18) สูงกว่า คณะวิศกรรมศาสตร์ (ค่าเฉลี่ยรวม = 2.51) จึงสรุปได้ว่าพนักงานสายปฏิบัติการที่ต่างสังกัด มีการพัฒนาตนเองกับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ CHULA MOOC แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 (2) ผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ของ Pearson’s พบว่า การพัฒนาตนเองกับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ CHULA MOOC ของพนักงานสายปฏิบัติการ มีความสัมพันธ์กัน ระดับสูง ในเชิงบวก …


ปัญหาและอุปสรรคในการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาค : กรณีศึกษาการดำเนินงานโครงการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสำคัญ ของกรมการขนส่งทางบก, พรรณปพร พิลึก Jan 2022

ปัญหาและอุปสรรคในการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาค : กรณีศึกษาการดำเนินงานโครงการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสำคัญ ของกรมการขนส่งทางบก, พรรณปพร พิลึก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวทางการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานส่วนกลางและหน่วยงานส่วนภูมิภาคของกรมการขนส่งทางบกในปัจจุบัน รวมถึงศึกษาถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานดังกล่าว พร้อมทั้งหาแนวทางในการพัฒนา ปรับปรุงรูปแบบการดำเนินงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของงาน โดยอาศัยการดำเนินงานในโครงการรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสำคัญเป็นกรณีศึกษา งานศึกษาเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีการค้นคว้าเอกสารต่าง ๆ ประกอบเข้ากับการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ซึ่งคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 15 คน ตามความเหมาะสม และความเกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการรณรงค์ป้องกัน และลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสำคัญ โดยมีตัวแทนผู้ให้สัมภาษณ์จากทั้งหน่วยงานส่วนกลางและหน่วยงานส่วนภูมิภาค จากการศึกษาพบว่า ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการทำงานระหว่างหน่วยงานส่วนกลาง และส่วนภูมิภาคในการดำเนินโครงการรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสำคัญ มีอยู่ 5 ประเด็น คือ 1) การทำงานระหว่างหน่วยงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาคในการดำเนินโครงการรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสำคัญ 2) ปัญหาด้านความชัดเจนและความล่าช้าในการสั่งการ 3) ปัญหาด้านโครงสร้างของหน่วยงาน และอัตรากำลังของผู้ปฏิบัติงานในส่วนภูมิภาค 4) ปัญหาด้านนโยบาย หรือข้อสั่งการ และ 5) ปัญหาด้านความซ้ำซ้อนของระบบรายงานผลการปฏิบัติงาน ซึ่งเมื่อศึกษาถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน พบปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 5 กลุ่ม ประกอบด้วย ปัจจัยด้านโครงสร้างขององค์กร ปัจจัยด้านระบบการทำงาน ปัจจัยด้านรูปแบบการบริหารงาน ปัจจัยด้านการบริหารบุคลากร และปัจจัยด้านการเมือง ซึ่งสามารถสรุปแนวทาง และข้อเสนอแนะในการปรับปรุงรูปแบบการดำเนินงานของกรมการขนส่งทางบก ได้ทั้งหมด 7 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการสื่อสาร 2) ด้านการสั่งการ 3) ด้านโครงสร้างกรมและอัตรากำลัง 4) ด้านนโยบายหรือข้อสั่งการ 5) ด้านระบบสนับสนุนการปฏิบัติงาน 6) ด้านบุคลากร และ 7) ด้านวัฒนธรรมองค์กร และแนวคิดของเจ้าหน้าที่


ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต1, พิชามญชุ์ โรจนกุลสุวรรณ์ Jan 2022

ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต1, พิชามญชุ์ โรจนกุลสุวรรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์พื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 ในการศึกษาในครั้งนี้ ผู้วิจัยเลือกใช้การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) โดยกำหนดให้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ซึ่งประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1, ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล, และ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ในขณะที่การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นการสำรวจความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานจริงในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต1 จำนวน 68 คน ด้วยแบบสอบถามออนไลน์ และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS โดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย และการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการศึกษาพบว่าประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานพบว่า ปัจจัยจูงใจด้านลักษณะของงานที่สร้างสรรค์และท้าทายมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านคุณภาพของงาน และด้านความรวดเร็วเป็นอันดับ 1 และปัจจัยจูงใจด้านความรับผิดชอบในงานมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านปริมาณงานเป็นอันดับ 1 อย่างไรก็ตามปัจจัยภูมิหลังทางประชากรและสังคมทุกตัวแปรไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าภูมิหลังทางประชากรและสังคมของบุคลากรในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับความสำเร็จของ “สระแก้วโมเดล” แต่ประการใด แต่สิ่งที่สำคัญมากกว่าและสมควรได้รับการส่งเสริมคือการสร้างปัจจัยจูงใจในการทำงานอย่างเหมาะสม


แนวคิดอินโด-แปซิฟิกและนโยบายต่างประเทศของออสเตรเลียในสมัยนายกรัฐมนตรีมัลคอล์ม เทิร์นบูลล์, พิมพ์ชนก บุญปก Jan 2022

แนวคิดอินโด-แปซิฟิกและนโยบายต่างประเทศของออสเตรเลียในสมัยนายกรัฐมนตรีมัลคอล์ม เทิร์นบูลล์, พิมพ์ชนก บุญปก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทความวิจัยนี้ศึกษาและวิเคราะห์แนวคิดอินโด-แปซิฟิกที่เกี่ยวข้องกับนโยบายต่างประเทศออสเตรเลียในสมัยนายกรัฐมนตรีมัลคอล์ม เทิร์นบูลล์ โดยใช้หลักยุทธศาสตร์การประกันความเสี่ยง (Hedging Strategy) ของ Evelyn Koh เป็นกรอบวิเคราะห์นโยบายต่างประเทศของรัฐบาลออสเตรเลีย ซึ่งประกอบด้วยหลักการสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ การถ่วงดุลอำนาจทางอ้อมด้วยการดึงสหรัฐอเมริกามาถ่วงดุลอำนาจกับจีน การมีปฏิสัมพันธ์กับจีนในลักษณะที่ซับซ้อนทั้งในระดับการเมือง เศรษฐกิจ และยุทธศาสตร์ และการเข้าร่วมกับมหาอำนาจในภูมิภาคเพื่อการรักษาระเบียบในภูมิภาคให้มั่นคง เพื่อศึกษาและวิเคราะห์แนวคิดอินโด-แปซิฟิกกับการกำหนดและการดำเนินนโยบายต่างประเทศของออสเตรเลียในสมัยรัฐบาลนายกรัฐมนตรีมัลคอล์ม เทิร์นบูลล์ ในระหว่าง ค.ศ. 2015 - 2018 บทความวิจัยนี้ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารของรัฐบาลออสเตรเลีย ถ้อยแถลงของผู้บริหารระดับสูงในรัฐบาลออสเตรเลีย วิทยานิพนธ์ วารสาร ข่าวสาร บทความทางวิชาการ และบทวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดอินโด-แปซิฟิกของออสเตรเลียและนโยบายต่างประเทศในสมัยนายกรัฐมนตรีมัลคอล์ม เทิร์นบูลล์ เพื่อสนับสนุนสมมติฐานบทความนี้ คือ รัฐบาลออสเตรเลียในสมัยนายกรัฐมนตรีมัลคอล์ม เทิร์นบูลล์ พัฒนายุทธศาสตร์การรับประกันความเสี่ยงโดยใช้แนวคิดอินโด-แปซิฟิกที่ขยายกรอบยุทธศาสตร์ที่รวมอินเดียและมหาสมุทรอินเดียเข้ามาเพื่อเพิ่มทางเลือกการประกันความเสี่ยงจากสภาวะการเปลี่ยนแปลงของขั้วอำนาจในภูมิภาค โดยเฉพาะการผงาดขึ้นของจีน ทั้งนี้ สถานะความเป็นมหาอำนาจระดับกลางนั้นทำให้ยุทธศาสตร์การประกันความเสี่ยงของออสเตรเลียมีลักษณะเฉพาะตัวที่มุ่งรักษาระดับปฏิสัมพันธ์กับมหาอำนาจทุกฝ่ายในภูมิภาค โดยไม่ได้ถ่วงดุล หรือ ควบคุมจีน แต่มุ่งโน้มน้าวให้จีนปฏิบัติตามกฎกติกาและปทัสถานของระเบียบพหุภาคีที่ออสเตรเลียพยายามจะส่งเสริม


บทบาทของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติในกระบวนการสร้างบรรทัดฐานเรื่องผู้ลี้ภัยทางสภาพภูมิอากาศ ตั้งแต่ปี ค.ศ.2000-2022, พิมพ์วิภา ชาโรจน์ Jan 2022

บทบาทของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติในกระบวนการสร้างบรรทัดฐานเรื่องผู้ลี้ภัยทางสภาพภูมิอากาศ ตั้งแต่ปี ค.ศ.2000-2022, พิมพ์วิภา ชาโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาบทบาทของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ในกระบวนการสร้างบรรทัดฐานเรื่องผู้ลี้ภัยทางสภาพภูมิอากาศ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000-2022 เพื่อวิเคราะห์บทบาทของ UNHCR กับการดำเนินงานเรื่องผู้ลี้ภัยทางสภาพภูมิอากาศ และประเมินบทบาทของ UNHCR ในกระบวนการสร้างบรรทัดฐาน โดยผู้วิจัยจะใช้กรอบแนวคิดกระบวนการสร้างบรรทัดฐานประกอบการวิเคราะห์ จากการศึกษาพบว่า UNHRC เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีบทบาทหลักในฐานะผู้เผยแพร่บรรทัดฐานเรื่องผู้ลี้ภัยจากสภาพภูมิอากาศ โดยเผยแพร่ประเด็นการคุ้มครองผู้ลี้ภัยจากสภาพภูมิอากาศเข้าสู่วาระทางการเมืองในประชาคมโลก และเป็นผู้นำกลุ่มด้านสิทธิมนุษยชน ในการสร้างกลไกการประชุมเพื่อปรึกษาหารือแนวทางแก้ไขปัญหา และแสวงหากลไกและเครื่องมือในการคุ้มครองต่อกลุ่มผู้ลี้ภัยจากสภาพภูมิอากาศอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวส่งผลให้เกิดบรรทัดฐานในการคุ้มครองผู้ลี้ภัยจากสภาพภูมิอากาศที่ประชาคมโลกให้การยอมรับและเกิดเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศร่วมกัน โดยเมื่อวิเคราะห์ขั้นตอนการสร้างบรรทัดฐาน ถือได้ว่า UNHCR ในฐานะผู้เผยแพร่บรรทัดฐานนั้นมีบทบาทในการผลักดันและเผยแพร่ประเด็นเรื่องผู้ลี้ภัยจากสภาพภูมิอากาศจนเป็นที่ยอมรับในเวทีระหว่างประเทศจนสามารถทำให้เกิดกลไกการปรึกษาหารือเพื่อแก้ไข แสวงหาแนวทางในการรับมือต่อปัญหาดังกล่าวได้สำเร็จ


การพัฒนาการทำงานเป็นทีมเพื่อสนับสนุนคณะทำงานเฉพาะกิจในการดำเนินการปรับพิกัดอัตราศุลกากร, ฟาอิซ ดาราแม Jan 2022

การพัฒนาการทำงานเป็นทีมเพื่อสนับสนุนคณะทำงานเฉพาะกิจในการดำเนินการปรับพิกัดอัตราศุลกากร, ฟาอิซ ดาราแม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัย เรื่อง “การพัฒนาการทำงานเป็นทีมเพื่อสนับสนุนคณะทำงานเฉพาะกิจในการดำเนินการปรับพิกัดอัตราศุลกากร” จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของคณะทำงานเฉพาะกิจในการดำเนินการปรับพิกัดอัตราศุลกากรและเพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการทำงานเป็นทีมของคณะทำงานเฉพาะกิจดังกล่าว ซึ่งงานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากการค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมถึงได้ทำการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในคณะทำงานเฉพาะกิจ จำนวน 8 คน ทั้งนี้ ผู้วิจัยอาศัยกรอบแนวคิดที่แสดงถึงองค์ประกอบของการทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งต้องประกอบด้วย (1) การติดต่อสื่อสาร (2) ความร่วมมือ (3) การประสานงาน (4) ความคิดสร้างสรรค์ และ (5) การปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง โดยจากผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านการติดต่อสื่อสารมีอิทธิพลมากที่สุดต่อการทำงานเป็นทีมของคณะทำงานเฉพาะกิจ ในขณะที่ปัจจัยด้านความคิดสร้างสรรค์มีอิทธิพลน้อยที่สุด นอกจากนี้ จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง สามารถแบ่งมุมมองของการพัฒนาการทำงานเป็นทีมได้ 2 กลุ่ม คือ มุมมองของหัวหน้าทีมและลูกทีม โดยหัวหน้าทีมมีมุมมองในการพัฒนาการทำงานเป็นทีมด้วยการสร้างความรับผิดชอบให้กับสมาชิกในทีมและสนับสนุนสมาชิกทีมที่มีความสามารถและทักษะที่หลากหลายให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่อการทำงาน ในขณะที่มุมมองของลูกทีม คือ การแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างเหมาะสมและมีความชัดเจน การสื่อสารอย่างเปิดเผยและรับฟังผู้อื่นเพื่อให้การทำงานร่วมกันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ


บทบาทของสหรัฐอเมริกาในการสนับสนุนความเป็นแกนกลางของอาเซียน ระหว่าง ค.ศ.2017-2022, ภรีณา ธโนทัย Jan 2022

บทบาทของสหรัฐอเมริกาในการสนับสนุนความเป็นแกนกลางของอาเซียน ระหว่าง ค.ศ.2017-2022, ภรีณา ธโนทัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์แนวทางที่สหรัฐอเมริกาสนับสนุนความเป็นแกนกลางของอาเซียน ระหว่าง ค.ศ.2017-2022 ซึ่งเป็นช่วงเวลาหลังจากสหรัฐอเมริกาประกาศแนวคิดอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง อันเป็นหลักสำคัญในการจัดทำยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกในเวลาต่อมา ซึ่งได้เน้นย้ำการสนับสนุนความเป็นแกนกลางของอาเซียน โดยใช้เสรีนิยมใหม่เชิงสถาบันเป็นกรอบวิเคราะห์ จากการศึกษาพบว่า สหรัฐอเมริกายังคงสนับสนุนให้อาเซียนเป็นแกนหลักในการดำเนินความความสัมพันธ์ เนื่องจากอาเซียนเป็นสถาบันระหว่างประเทศที่มีโครงสร้างและกลไกการทำงานชัดเจน ทำให้ขับเคลื่อนให้ความร่วมมือดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งยังเอื้อต่อผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกาในการรักษาระเบียบโลกที่สนับสนุนค่านิยมเสรี และมีส่วนช่วยสหรัฐอเมริกาในการบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก อย่างไรก็ดี การที่สหรัฐอเมริกาผลักดันกลุ่มความร่วมมืออื่น ๆ เช่น กลุ่มความร่วมมือด้านความมั่นคง 4 ฝ่าย (Quadrilateral Security Dialogue: QUAD) และกลุ่มพันธมิตรไตรภาคีด้านความมั่นคง (AUKUS) ให้เข้ามามีบทบาทด้านความมั่นคงในภูมิภาค ก่อให้เกิดข้อห่วงกังวลต่อว่าจะกระทบต่อความเป็นแกนกลางอาเซียน แต่จะเห็นว่า ทั้งสองกลุ่มความร่วมมือมุ่งเน้นไปที่การสกัดกั้นอิทธิพลของจีนเท่านั้น ไม่ใช่เพื่อแทนที่บทบาทความเป็นแกนกลางของอาเซียนในสถาปัตยกรรมภูมิภาค