Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2018

Discipline
Institution
Keyword
Publication
Publication Type
File Type

Articles 24391 - 24420 of 26517

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

Socio-Economic And Demographic Determinants Of Modern Contraceptive Utilization Among Currently Married Women In Myanmar, Kyaw Than Min Jan 2018

Socio-Economic And Demographic Determinants Of Modern Contraceptive Utilization Among Currently Married Women In Myanmar, Kyaw Than Min

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The key purpose of this study is to explore socio-economic and demographic characteristics that influence modern contraceptive use of currently married women aged 15-49 in Myanmar. This study is contributing to fill the literature gaps at the national level. Even though there have been a number of studies on modern contraceptive use and family planning in Myanmar, these studies did not represent the whole nation. This study utilizes data from the Myanmar Demographic and Health Survey (MDHS) 2015-16, a national level cross-sectional dataset. Based on the study, the currently married women in this study included 6,597 women in Myanmar, 51 …


Roles Of Parent's Preferences And Student's Subjective Beliefs On College Decision, Kansini Sillapawanich Jan 2018

Roles Of Parent's Preferences And Student's Subjective Beliefs On College Decision, Kansini Sillapawanich

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This paper investigates whether and how children's educational choice is affected by parental preferences and perceived earnings. We assume that individuals choose college major to maximize their own utility which depends on several factors such as personal background, perceived earnings, and importantly parents' preferences. The study employs the "Students Survey about Services of Government in Thailand" data to study two educational choice decisions. First, whether to enroll in college. Second, conditional on college enrollment, which major to choose. Empirically, the logistic model and conditional multinomial logit model are estimated. We find strong evidence that parental preferences significantly correlate with educational …


Clmv Male Migrant Sex Workers In Bangkok : Livelihoods And Social Protection, Ob-Orm Utthasit Jan 2018

Clmv Male Migrant Sex Workers In Bangkok : Livelihoods And Social Protection, Ob-Orm Utthasit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Due to the lucrative business of sex industry in Thailand, it welcomes not only Thai sex workers to engage in sex industry, but also migrant sex workers from neighboring countries including Cambodia, Lao PDR, Myanmar, and Vietnam. The high incomes of sex industry convince not only the female migrants, but also male migrants either heterosexual or homosexual identified to engage in sexual services. These migrant sex workers are experiencing more barriers that the local due to their migrants' legal status. Because sex work is not considered a legitimate form of employment, these migrant sex workers are unable to exercise their …


Impact Of Trade And Fdi Openness On Wages In The Manufacturing Sector In China, Qianyi Chen Jan 2018

Impact Of Trade And Fdi Openness On Wages In The Manufacturing Sector In China, Qianyi Chen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purpose of this study is to examine the impact of trade openness and foreign direct investment (FDI) on wages in China using a panel data set of 27 manufacturing sectors over the period of 2001 to 2016. The effects are separated into three groups: total industries, capital-intensive industries and labor-intensive industries. First, by comparing the determinants of three groups of industries, it shows that the impact of trade openness on wages only significant and positive in labor-intensive industries while the impact of FDI on wages is significantly positive in both capital-intensive industries and labor-intensive industries. Second, in the case …


Role Of Global Production Networks On Development Of Automotive Industry In Selected Asean Countries, Wachara Jongkraijak Jan 2018

Role Of Global Production Networks On Development Of Automotive Industry In Selected Asean Countries, Wachara Jongkraijak

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This paper investigates the impact of Global Production Networks (GPNs) on the industrial development in 3 aspects; domestic value added, labor productivity, and export performance, employing Trade in Value Added database at the country-sector level from Organization for Economic Cooperation and Development (OECD). The estimation is based on pooled time series, cross section and period fixed effect covering Automotive industry in 4 selected ASEAN countries; Thailand, Indonesia, Malaysia, and Philippines from 1995 to 2016. The results suggest that Thailand can exploit the benefit from GPNs through task specialization and economies of scales, at the same time expanding the domestic capacity. …


Thai Civil Partnership Is The New Marriage Inequality : Queer Critiques On The Discourses In The Civil Partnership Bill Of State Activism Towards Marriage ‘Equality’, Thanita Wongprasert Jan 2018

Thai Civil Partnership Is The New Marriage Inequality : Queer Critiques On The Discourses In The Civil Partnership Bill Of State Activism Towards Marriage ‘Equality’, Thanita Wongprasert

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

With an equal access to legal registration becoming the international mainstream development agenda and movement of 21st century, Thailand proposed a civil partnership bill developed by the Rights and Liberties Protection Department in 2018. Although the initiative seems promisingly progressive, the drafting, legal product and outcomes that the bill promises to bring lay vigorous ground of criticisms. This thesis is the first English-language academic work that uniquely integrates theoretical outlook and arguments of queer theory where Foucauldian discourse analysis is the key concept applied to critique the discourses codified in the bill. This thesis aims to analyze how Thai discourse …


From “Burmese Brides” To Burmese Wives : Analyzing Transnational Marriages Of Women From Myanmar To Chinese Men Along The Myanmar-Yunnan Frontier, Xuanyi Luo Jan 2018

From “Burmese Brides” To Burmese Wives : Analyzing Transnational Marriages Of Women From Myanmar To Chinese Men Along The Myanmar-Yunnan Frontier, Xuanyi Luo

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Since around 2000, there has a growth of Myanmar women who have married men in Yunnan, China. Media reports from China, Myanmar and the West typically call these women "Burmese brides" and link them to human trafficking, fake marriages, HIV-AIDS, among other issues. This gives the public a negative impression of these women, and views them as mostly vulnerable victims caught in a faceless transnational marriage process. This thesis seeks to correct this limited view and provide a fuller picture of these women and to stress the role of their choice or "agency" in forming their transnational marriages beyond the …


The Adaption Of Phở In Vietnam After 1986, Kunyarat Saengul Jan 2018

The Adaption Of Phở In Vietnam After 1986, Kunyarat Saengul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Phở is known as a national dish of Vietnam. It is originated in the north of Vietnam as a labour food. With its popularity, phở spread all over the country adapted to ingredients and way of cooking in each place. After the socio-economic reform (Đổi Mới) in 1986, Vietnam's economy was shifted from centrally planned to market-based. As a result, there are changes in the growth of 3 groups of people; the middle-income class, the overseas Vietnamese, and the rural-urban migrants and low-income class in urban Vietnam. Meanwhile, the reform encouraged the growth of tourism in which pho has been …


Personal Branding Strategies Of Influential Youtubers And Perceptions Of Thai Millennials Toward Them, Chanamon Phansab Jan 2018

Personal Branding Strategies Of Influential Youtubers And Perceptions Of Thai Millennials Toward Them, Chanamon Phansab

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Personal branding—how individuals establish and communicate their unique traits and skills to facilitate their life goals—has become a topic of interest for many scholars and practitioners alike. One of the most widely used channels through which personal branding is executed is YouTube. There are several YouTubers, as we speak, who strive to promote their channel—their personal brand—by establishing their online identity and communicating such identity to their target audience. The studies have shown that the main target audience on YouTube, whose rising influence boosts the popularity of online video content viewing, is the millennials, especially Thai millennials as Thailand is …


นโยบายต่างประเทศของรัสเซียต่อกรณีพิพาทหมู่เกาะคูริลระหว่าง ค.ศ. 2000 ถึง 2008, นราวดี สุวรรณกูฏ Jan 2018

นโยบายต่างประเทศของรัสเซียต่อกรณีพิพาทหมู่เกาะคูริลระหว่าง ค.ศ. 2000 ถึง 2008, นราวดี สุวรรณกูฏ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เล่มนี้ต้องการศึกษาปัจจัยที่ทำให้รัสเซียในสมัยประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินดำเนินนโยบายต่างประเทศที่แข็งกร้าวมากขึ้นต่อกรณีพิพาทหมู่เกาะคูริลระหว่างค.ศ. 2000 ถึง 2008 ทั้งนี้ผู้วิจัยศึกษาปัจจัยในสามระดับ ได้แก่ 1. ตัวแสดงระดับปัจเจกบุคคล 2. ตัวแสดงระดับภายในประเทศ 3. ตัวแสดงระดับระหว่างประเทศ เพื่อศึกษาว่าปัจจัยใดที่ส่งผลให้ท่าทีของรัสเซียแข็งกร้าว ซึ่งแตกต่างจากสมัยแรกของประธานาธิบดีปูตินรัสเซียที่ยังพยายามเจรจาแก้ไขกรณีพิพาทหมู่เกาะคูริล จุดเปลี่ยนเกิดขึ้นในสมัยที่สองเมื่อรัสเซียเริ่มพัฒนาเศรษฐกิจบนหมู่เกาะและมีการประจำกองทัพโดยมีเป้าหมายหลักด้านความมั่นคง การศึกษาพบว่าปัจจัยที่ส่งผลให้รัสเซียดำเนินนโยบายที่แข็งกร้าวมากขึ้นเพราะตัวแสดงระดับภายในประเทศและตัวแสดงระดับระหว่างประเทศ เพราะในสมัยแรกรัสเซียยังยินดีที่จะเจรจาตามปฏิญญาร่วมระหว่างอดีตสหภาพโซเวียตและญี่ปุ่น ค.ศ. 1956 ซึ่งรัสเซียตกลงที่จะคืนเกาะชิโกตันและเกาะฮาโบไมซึ่งเป็นสองเกาะเล็กให้ญี่ปุ่น แต่ท่าทีของรัสเซียในสมัยที่สองได้เปลี่ยนแปลงไป รัสเซียยังคงยืนกรานอำนาจอธิปไตยเหนือหมู่เกาะคูริลและแสดงท่าทีแข็งกร้าวที่จะไม่คืนแม้แต่เกาะชิโกตันและเกาะฮาโบไมให้ญี่ปุ่น บทบาทของตัวแสดงระดับภายในประเทศที่มีผลอย่างมากต่อท่าทีของรัสเซีย คือ สภาดูม่าซาคาลินส์ซึ่งต่อต้านการยกหมู่เกาะคูริลให้ญี่ปุ่นส่งผลให้เกิดความขัดแย้งภายในรัสเซีย เพราะในตอนแรกรัฐบาลซึ่งนำโดยประธานาธิบดีปูตินมีท่าทีประนีประนอมต่อการแก้ไขกรณีพิพาทหมู่เกาะคูริล ส่วนบทบาทตัวแสดงระดับระหว่างประเทศที่สำคัญคือสหรัฐอเมริกาที่เป็นพันธมิตรหลักของญี่ปุ่น ยิ่งทำให้รัสเซียหวั่นเกรงเรื่องความมั่นคงเพราะหากรัสเซียยกหมู่เกาะคูริลให้ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาอาจจะเข้ามาตั้งฐานทัพในหมู่เกาะคูริลได้ในอนาคต บทบาทของตัวแสดงระดับภายในประเทศและตัวแสดงระดับระหว่างประเทศส่งผลให้รัสเซียไม่สามารถยกหมู่เกาะคูริลให้ญี่ปุ่นได้


การศึกษาการรับรู้ความอบอุ่น ความสามารถ และเจตคติต่อกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ, ฉัตรดาว สิทธิผล Jan 2018

การศึกษาการรับรู้ความอบอุ่น ความสามารถ และเจตคติต่อกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ, ฉัตรดาว สิทธิผล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการถูกประเมินความเชื่อแบบเหมารวมในมิติความอบอุ่น มิติความสามารถ และเจตคติของคนในสังคมที่มีต่อกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBT) โดยเจตคติต่อกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศในงานวิจัยชิ้นนี้มุ่งเน้นไปที่บริบทของการทำงาน งานวิจัยชิ้นนี้ออกแบบให้มี 8 เงื่อนไข โดยกลุ่มตัวอย่างอ่านและประเมินใบประวัติของเป้าหมายที่เป็นเพศชาย, เพศหญิง, เลสเบี้ยน, เกย์ (Gays), ไบเซ็กชวลชาย (Bisexual men), ไบเซ็กชวล (Bisexual women), ชายข้ามเพศ (Transgender men) หรือหญิงข้ามเพศ (Transgender women) กลุ่มตัวอย่างเป็นชาย และหญิงที่มีรสนิยมแบบรักต่างเพศ 8 เงื่อนไข โดยให้ผู้เข้าร่วมการวิจัยอ่านประวัติของเป้าหมาย ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร อายุระหว่าง 20-39 ปี จำนวน 160 คน ผลการวิจัยปรากฏว่าไม่พบว่ารสนิยมทางเพศที่ต่างกัน ส่งผลให้ผู้มีความหลากหลายทางเพศถูกประเมินในมิติความอบอุ่น มิติความสามารถ และเจตคติในบริบทของการทำงานแตกต่างกัน รวมถึงไม่พบว่าเป้าหมายในการประเมินที่เป็นกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ถูกประเมินการเชื่อแบบเหมารวมในมิติของความอบอุ่น และความสามารถในด้านใดด้านหนึ่งน้อยกว่ากลุ่มรักต่างเพศ ซึ่งขัดแย้งกับงานวิจัยในอดีต ที่แสดงให้เห็นว่ากลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศมักจะได้รับการประเมินทั้งในด้านหนึ่งน้อยกว่าผู้ที่มีรสนิยมแบบรักต่างเพศ


การศึกษากรอบมโนทัศน์และพัฒนาเครื่องมือประเมินสมรรถนะทางพหุวัฒนธรรมในการปรึกษาเชิงจิตวิทยา : การวิจัยแบบผสานวิธี, ฐิติกาญจน์ บุญรักษา อินทาปัจ Jan 2018

การศึกษากรอบมโนทัศน์และพัฒนาเครื่องมือประเมินสมรรถนะทางพหุวัฒนธรรมในการปรึกษาเชิงจิตวิทยา : การวิจัยแบบผสานวิธี, ฐิติกาญจน์ บุญรักษา อินทาปัจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยแบบผสานวิธีครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษากรอบมโนทัศน์สมรรถนะทางพหุวัฒนธรรมในการปรึกษาเชิงจิตวิทยาในบริบทสังคมไทย (2) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณสมบัติทางจิตมิติมาตรวัดสมรรถนะทางพหุวัฒนธรรมในการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ผู้วิจัยแบ่งการศึกษาเป็น 2 ระยะ คือระยะที่ 1 การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเรื่องประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการมีสมรรถนะทางพหุวัฒนธรรมในการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ในนักจิตวิทยาการปรึกษาไทย 7 ราย ที่คัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนดร่วมกับการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ระยะที่ 2 การศึกษาวิจัยเชิงปริมาณเพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณสมบัติทางจิตมิติของมาตรวัดสมรรถนะทางพหุวัฒนธรรมในการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ในนักจิตวิทยาการปรึกษา ผู้ปฏิบัติงานด้านการปรึกษาโดยใช้ทักษะการปรึกษาเชิงจิตวิทยา นิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (ด้านจิตวิทยาการปรึกษา และจิตวิทยาการให้คำปรึกษาและแนะแนว)และนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 สาขาจิตวิทยา จำนวนทั้งสิ้น 461 คน จาก 5 ภูมิภาคทั่วประเทศ (แบ่งเป็นการตรวจสอบคุณภาพข้อกระทงรายข้อ 85 คน การตรวจสอบคุณสมบัติทางจิตมิติของมาตรวัดทั้งฉบับ 316 คน และการตรวจสอบความตรงเชิงภาวะสันนิษฐานด้วยเทคนิคกลุ่มรู้ชัด 60 คน) ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows และ LISREL ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่ากรอบมโนทัศน์สมรรถนะทางพหุวัฒนธรรมในการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ประกอบด้วย 10 ด้าน คือ (1) การตระหนักในพื้นฐานความเชื่อ ค่านิยม และอคติ ทางวัฒนธรรม (2) การตระหนักในความรู้พื้นฐานทางวัฒนธรรม (3) การตระหนักในทักษะทางวัฒนธรรม (4) ความเข้าใจในพื้นฐาน ความเชื่อ ค่านิยม และอคติ ทางวัฒนธรรมของผู้มาปรึกษา (5) ความเข้าใจในความรู้พื้นฐานทางวัฒนธรรมของผู้มาปรึกษา (6) ความเข้าใจในทักษะทางพหุวัฒนธรรม (7) การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องในเรื่องพื้นฐานความเชื่อ ค่านิยม และอคติ ทางวัฒนธรรม (8) การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องในเรื่องความรู้ทางวัฒนธรรม (9) การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องในด้านทักษะ กลยุทธ์ และเทคนิคที่เหมาะสม และ (10) การผสมผสานความเป็นมืออาชีพกับการใช้ชีวิตส่วนตัวได้อย่างลงตัว และ ส่วนผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า มาตรวัดสมรรถนะทางพหุวัฒนธรรมในการปรึกษาเชิงจิตวิทยาที่พัฒนาขึ้นจากกรอบมโนทัศน์ในการศึกษาเชิงคุณภาพระยะที่1 มีจำนวน 47 ข้อ มีความตรงตามเนื้อหาจากการตรวจสอบของผู้ทรงคุณวุฒิ มีความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์กับแบบสอบถามสัมพันธภาพและความร่วมมือในการปรึกษาเชิงจิตวิทยา (r = .48, p < .001) และไม่พบความสัมพันธ์กับมาตรวัดการตอบเพื่อทำให้ดูดีทางสังคม (r = .04, ns) มีความตรงเชิงภาวะสันนิษฐานจากการเปรียบเทียบด้วยกลุ่มรู้ชัด (t = 3.71, p < .001) และผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพบว่าโมเดลการวัดสมรรถนะทางพหุวัฒนธรรมในการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ที่มี 10 ด้าน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ 2 = 40.58; df = 28; p = .059; CFI = 1.00; GFI = .98; AGFAI = .95; SRMR = .03; RMSEA = .04; χ 2/df = 1.45) มาตรวัดมีค่าความเที่ยงแบบสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .957


ผลของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมต่อความวิตกกังวลในวัยรุ่นตอนต้น, บุญจิรา ชลธารนที Jan 2018

ผลของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมต่อความวิตกกังวลในวัยรุ่นตอนต้น, บุญจิรา ชลธารนที

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยกึ่งการทดลองในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมต่อความวิตกกังวลในวัยรุ่นตอนต้น โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมต้นที่มีอายุระหว่าง 11-15 ปี ซึ่งมีคะแนนความวิตกกังวลสูงกว่าค่าเฉลี่ยแต่ไม่เกิน 1SD จำนวน 47 คนแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 23 คน กลุ่มควบคุม 24 คน โดยกลุ่มทดลองจะเข้าร่วมกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมสัปดาห์ละ 2 ครั้งๆ ละ 2 ชั่วโมง รวม 8 ครั้ง คิดเป็นเวลาทั้งสิ้น 16 ชั่วโมง โดยกลุ่มตัวอย่างตอบชุดคำถามแบบสอบถามที่ประกอบด้วยแบบวัดความวิตกกังวล (SCRAED) แบบวัดความสามารถในการตระหนักรู้อารมณ์ตนเอง (EESC) และแบบวัดความสามารถในการกำกับอารมณ์ตนเอง (ERQ) ข้อมูลที่ได้รับถูกนำมาวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนามแบบวัดซ้ำและระหว่างกลุ่ม โดยมีผลวิจัยดังนี้ 1. หลังการเข้าร่วมกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยม กลุ่มทดลองมีความวิตกกังวลน้อยกว่าก่อนเข้าร่วมกลุ่มการปรึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. หลังการเข้าร่วมกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยม กลุ่มทดลองมีความวิตกกังวลน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. หลังการเข้าร่วมกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยม กลุ่มทดลองมีความสามารถในการตระหนักรู้อารมณ์ตนเองมากกว่าก่อนเข้าร่วมกลุ่มการปรึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4. หลังการเข้าร่วมกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยม กลุ่มทดลองไม่พบว่ามีความสามารถในการตระหนักรู้อารมณ์ตนเองมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 5. หลังการเข้าร่วมกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยม กลุ่มทดลองมีความสามารถในการกำกับอารมณ์ตนเองมากกว่าก่อนเข้าร่วมกลุ่มการปรึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 6. หลังการเข้าร่วมกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยม กลุ่มทดลองมีความสามารถในการกำกับอารมณ์ตนเองมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพและการออกกำลังกายในวัยรุ่นไทย และการศึกษาความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลระหว่างเพศ, นภัษ ลิ่มอรุณ Jan 2018

การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพและการออกกำลังกายในวัยรุ่นไทย และการศึกษาความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลระหว่างเพศ, นภัษ ลิ่มอรุณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อตรวจสอบความตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของวัยรุ่นไทย แบ่งออกเป็น 2 พฤติกรรม คือ พฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพและพฤติกรรมการออกกำลังกาย (2) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลขยายเปรียบเทียบความเหมาะสมของโมเดลใน 2 ทางเลือก ทางเลือกที่ 1 ตัวแปรสิ่งกระตุ้นชักจูงส่งผลโดยตรงกับพฤติกรรม และทางเลือกที่ 2 ตัวแปรสิ่งกระตุ้นชักจูงส่งผลต่อพฤติกรรมผ่านตัวแปรการรับรู้ 5 ตัวแปร (ได้แก่ การรับรู้ความเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค และการรับรู้ความสามารถของตนเอง) และ (3) เพื่อทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลระหว่างวัยรุ่นชายและวัยรุ่นหญิง กลุ่มตัวอย่างคือ วัยรุ่นระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,200 คน (ชาย 600 คน หญิง 600 คน) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและมาตรวัดที่สร้างขึ้นตามทฤษฎีความเชื่อทางสุขภาพ (Health Belief Model) ผลการวิจัยพบว่า 1) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพและพฤติกรรมการออกกำลังกายของวัยรุ่นไทย มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2) โมเดลทางเลือกที่ 2 ตัวแปรสิ่งกระตุ้นชักจูงเป็นตัวแปรต้น ส่งผลต่อพฤติกรรมผ่านตัวแปรการรับรู้ 5 ตัวแปร ซึ่งเป็นโมเดลทางเลือกที่สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มากกว่าโมเดลทางเลือกที่ 1 3) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของทั้ง 2 พฤติกรรม มีความแตกต่างระหว่างเพศ คือ 3.1 โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ พบว่า ตัวแปรต้นและตัวแปรส่งผ่าน 5 ตัว ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนความตั้งใจในการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพในวัยรุ่นชายคิดเป็นร้อยละ 37.9 และคิดเป็นร้อยละ 32.6 สำหรับวัยรุ่นหญิง 3.2 โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤติกรรมการออกกำลังกาย พบว่า ตัวแปรต้นและตัวแปรส่งผ่าน 5 ตัว ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนความตั้งใจในการออกกำลังกายในวัยรุ่นชาย คิดเป็นร้อยละ 45.5 และคิดเป็นร้อยละ 44.2 สำหรับวัยรุ่นหญิง


การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของทักษะทางสังคมในเด็กหูหนวกโดยมีความสามารถในการเข้าใจความคิดของผู้อื่นเป็นตัวแปรส่งผ่าน, ปริญญา สิริอัตตะกุล Jan 2018

การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของทักษะทางสังคมในเด็กหูหนวกโดยมีความสามารถในการเข้าใจความคิดของผู้อื่นเป็นตัวแปรส่งผ่าน, ปริญญา สิริอัตตะกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา และตรวจสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของทักษะทางสังคมในเด็กหูหนวกโดยมีความสามารถในการเข้าใจความคิดของผู้อื่นเป็นตัวแปรส่งผ่านที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กหูหนวกที่ได้ยินเสียงในระดับของเสียงตั้งแต่ 90 เดซิเบลขึ้นไป และศึกษาอยู่ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 - 6 ในโรงเรียนโสตศึกษา 7 โรงเรียน ได้แก่ 1) โรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร จังหวัดเชียงใหม่ 2) โรงเรียนเศรษฐเสถียรในพระราชูปถัมภ์ กทม. 3) โรงเรียนโสตศึกษาทุ่งมหาเมฆ กทม. 4) โรงเรียนโสตศึกษา จังหวัดนนทบุรี 5) โรงเรียนโสตศึกษา จังหวัดชลบุรี 6) โรงเรียนโสตศึกษา จังหวัดอุดรธานี และ 7) โรงเรียนโสตศึกษา จังหวัดสงขลา รวมจำนวนทั้งสิ้น 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของเด็ก การทดสอบความสามารถในการเข้าใจความคิดของผู้อื่น แบบวัดความเข้าใจความรู้สึกผู้อื่น แบบทดสอบทักษะการใช้ภาษามือไทย แบบวัดความผูกพันกับผู้เลี้ยงดู และแบบวัดทักษะทางสังคม ซึ่งมีค่าความเที่ยงอยู่ระหว่าง .706 - .924 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรม LISREL 9.30 ผลการวิจัย พบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยความสามารถในการเข้าใจความคิดของผู้อื่นเป็นตัวแปรส่งผ่านระหว่างการเข้าใจความรู้สึกผู้อื่น ความผูกพันกับผู้เลี้ยงดู และทักษะการใช้ภาษามือกับทักษะทางสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนความสามารถในการเข้าใจความคิดของผู้อื่นไม่เป็นตัวแปรส่งผ่านระหว่างอายุกับทักษะทางสังคม


ความสัมพันธ์ระหว่างอัตลักษณ์ทางเฟมินิสต์เชิงบวกและการถูกกระทำรุนแรงในคู่รัก: อิทธิพลส่งผ่านของการเห็นคุณค่าในตนเองและอำนาจในความสัมพันธ์, มัลลิกา อุกฤษฏ์ Jan 2018

ความสัมพันธ์ระหว่างอัตลักษณ์ทางเฟมินิสต์เชิงบวกและการถูกกระทำรุนแรงในคู่รัก: อิทธิพลส่งผ่านของการเห็นคุณค่าในตนเองและอำนาจในความสัมพันธ์, มัลลิกา อุกฤษฏ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อตรวจสอบอิทธิพลของอัตลักษณ์ทางเฟมินิสต์เชิงบวก ที่มีต่อการถูกกระทำรุนแรงในคู่รัก โดยมีการเห็นคุณค่าในตนเองและอำนาจในความสัมพันธ์ เป็นตัวแปรส่งผ่าน กลุ่มตัวอย่างคือผู้หญิงวัยทำงานที่มีคนรักหรือเคยมีคนรักในอดีตจำนวน 311 คน อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร อายุระหว่าง 30-60 ปี โดยให้ผู้ร่วมวิจัยตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับการเห็นคุณค่าในตนเอง อำนาจในความสัมพันธ์ อัตลักษณ์ทางเฟมินิสต์เชิงบวก และการถูกกระทำรุนแรงจากคู่รัก ผลการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง พบว่า อัตลักษณ์ทางเฟมินิสต์เชิงบวกมีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมต่อการถูกกระทำรุนแรงจากคนรักผ่านการเห็นคุณค่าในตนเองและอำนาจในความสัมพันธ์ โดยผู้หญิงถูกกระทำรุนแรงทางจิตใจสูงกว่าความรุนแรงรูปแบบอื่น


อิทธิพลของการจินตนาการถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับคนนอกกลุ่มแบบร่วมมือกัน และได้รับการสนับสนุนจากผู้มีอำนาจต่อเจตคติรังเกียจกลุ่ม : การศึกษาตัวแปรส่งผ่านสองตัว, สรวงศนันท์ สิริประภาพล Jan 2018

อิทธิพลของการจินตนาการถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับคนนอกกลุ่มแบบร่วมมือกัน และได้รับการสนับสนุนจากผู้มีอำนาจต่อเจตคติรังเกียจกลุ่ม : การศึกษาตัวแปรส่งผ่านสองตัว, สรวงศนันท์ สิริประภาพล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิผลของการจินตนาการถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับคนนอกกลุ่มแบบร่วมมือกันและได้รับการสนับสนุนจากผู้มีอำนาจ ในการลดเจตคติรังเกียจกลุ่มทั้งแบบเด่นชัดและแบบแอบแฝงของชาวไทยที่มีต่อชาวพม่า โดยการเทียบกับเงื่อนไขการจินตนาการถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับคนนอกกลุ่มแบบร่วมมือกัน (ไม่มีผู้มีอำนาจ) และเงื่อนไขควบคุม รวมทั้งศึกษาตัวแปรส่งผ่าน 2 ตัวแปร ได้แก่ ความวิตกกังวลต่อคนนอกกลุ่ม และการรับรู้บรรทัดฐานภายในกลุ่ม โดยนิสิตระดับปริญญาตรีชาวไทยจำนวน 186 คน ได้รับคำสั่งให้จินตนาการตามเหตุการณ์ที่แตกต่างกันตามเงื่อนไข ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า เงื่อนไขการมีปฏิสัมพันธ์ทางบวกกับชาวพม่าแบบร่วมมือกันและได้รับการสนับสนุนจากผู้มีอำนาจ มีอิทธิพลทางอ้อมในการลดเจตคติรังเกียจชาวพม่าแบบเด่นชัด ผ่านการลดความวิตกกังวลต่อชาวพม่า และเพิ่มการรับรู้บรรทัดฐานทางบวกที่ควรมีต่อชาวพม่าภายในกลุ่มตนเอง ในฐานะตัวแปรส่งผ่านเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม แต่พบว่ามีอิทธิพลในการลดเจตคติรังเกียจกลุ่มแบบเด่นชัด เท่าเทียมกับการจินตนาการถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับคนนอกกลุ่มแบบร่วมมือกัน เมื่อเวลาผ่านไป 1 สัปดาห์ พบผลว่า ยังคงมีประสิทธิผลในการลดเจตคติรังเกียจกลุ่มแบบเด่นชัดอยู่ อย่างไรก็ตามการจินตนาการถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับคนนอกกลุ่มทั้งสองเงื่อนไขนั้นไม่มีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมในการลดเจตคติรังเกียจกลุ่มแบบแอบแฝง จากการวัดด้วยแบบทดสอบการเชื่อมโยงแบบแอบแฝง


ความสัมพันธ์ระหว่าง ความเครียด และสุขภาวะทางจิตในวัยผู้ใหญ่ตอนกลาง โดยมีความเมตตากรุณาต่อตนเอง และการสนับสนุนทางสังคมเป็นตัวแปรกำกับ, ณัฐชา อุเทศนันทน์ Jan 2018

ความสัมพันธ์ระหว่าง ความเครียด และสุขภาวะทางจิตในวัยผู้ใหญ่ตอนกลาง โดยมีความเมตตากรุณาต่อตนเอง และการสนับสนุนทางสังคมเป็นตัวแปรกำกับ, ณัฐชา อุเทศนันทน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ความเครียด และสุขภาวะทางจิตในวัยผู้ใหญ่ตอนกลาง โดยมีความเมตตากรุณาต่อตนเอง และการสนับสนุนทางสังคมเป็นตัวแปรกำกับ กลุ่มตัวอย่างคือ บุคคลที่อยู่ในช่วงวัยผู้ใหญ่ตอนกลาง อายุตั้งแต่ 35 – 59 ปี จำนวน 263 คน อายุเฉลี่ยเท่ากับ 45.64 ± 7.19 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ มาตรวัดการรับรู้ความเครียด มาตรวัดความเมตตากรุณาต่อตนเอง มาตรวัดสุขภาวะทางจิตของ และ มาตรวัดการสนับสนุนทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ความเครียด มีค่าสหสัมพันธ์ทางลบกับความเมตตากรุณาต่อตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.60, p < .001), ความเครียด มีค่าสหสัมพันธ์ทางลบกับการสนับสนุนทางสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.11, p < .05) ความเครียด มีค่าสหสัมพันธ์ทางลบกับสุขภาวะทางจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.53, p < .001) ในขณะที่ความเมตตากรุณาต่อตนเองไม่สามารถกำกับอิทธิพลของความเครียดที่มีต่อสุขภาวะทางจิตได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (b = -.00, p = .98) และการสนับสนุนทางสังคมก็ไม่สามารถกำกับอิทธิพลของความเครียดที่มีต่อสุขภาวะทางจิตได้เช่นกัน (b = -.00, p = .51) นอกจากนี้ ความเครียด ความเมตตากรุณาต่อตนเอง และการสนับสนุนทางสังคมสามารถร่วมกันทำนายสุขภาวะทางจิตได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และอธิบายความแปรปรวนของสุขภาวะทางจิตร้อยละ 50 (R² = .50, p < .001) โดยความเมตตากรุณาต่อตนเองมีน้ำหนักในการทำนายสูงที่สุด (β = .51, p < .01) การสนับสนุนทางสังคม มีน้ำหนักในการทำนายรองลงมา (β = .19, p < .001) ในขณะที่ความเครียดมีน้ำหนักในการทำนายต่ำที่สุด (β = -.16, p < .001)


การสื่อสารทางสังคมเชิงปัญญาผ่านการเล่าเรื่องเพื่อชุมชนแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืนของวิถีชีวิตออร์แกนิก, ชญานิษฐ์ วิวัฒนวานิช โอยามา Jan 2018

การสื่อสารทางสังคมเชิงปัญญาผ่านการเล่าเรื่องเพื่อชุมชนแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืนของวิถีชีวิตออร์แกนิก, ชญานิษฐ์ วิวัฒนวานิช โอยามา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการสื่อสารเพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมทางสังคมผ่านการเล่าเรื่องของคนต้นแบบ (2) เพื่อศึกษาการสื่อสารของชุมชนแห่งการเรียนรู้ในเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมทางสังคม (3) เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ทางการสื่อสาร ปัจจัยทางจิตวิทยาสังคมที่เป็นสาเหตุและอุปสรรคของการมีวิถีชีวิตออร์แกนิกเพื่อเสนอแบบจำลองเชิงแนวคิด (Conceptual model) ทางการสื่อสารสำหรับการขับเคลื่อนนวัตกรรมทางสังคมอย่างยั่งยืนผ่านการเล่าเรื่อง ผลการวิจัยพบว่า (1) ความแตกต่างของพื้นฐานคนต้นแบบวิถีชีวิตออร์แกนิกทำให้เกิดการขับเคลื่อนที่หลากหลาย แต่อยู่บนพื้นฐานวิธีคิดเพื่อการใช้ชีวิตในแนวทางที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างสมดุลเหมือนกัน (2) มิติความหมายวิถีชีวิตออร์แกนิกของคนต้นแบบมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนมากไปกว่าแนวคิดเกษตรออร์แกนิก (3) ลักษณะการสื่อสารเพื่อขับเคลื่อนวิถีขีวิตออร์แกนิกของเครือข่ายมีลักษณะเป็นการร่วมออกแบบบนพื้นฐานความหลากหลายของสมาชิก ทำให้เกิดวิธีการใหม่ๆ บนพลังของความร่วมมือ (4) แบบจำลองเชิงสาเหตุของการมีวิถีชีวิตออร์แกนิกของคนในเครือข่าย พบว่า ความน่าเชื่อถือของคนต้นแบบเป็นสาเหตุประแรกที่ส่งผลไปยังสาเหตุอื่นๆ เพื่อให้เกิดการใช้วิถีชีวิตออร์แกนิกในชีวิตประจำวัน งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า วิถีชีวิตออร์แกนิกซึ่งเป็นนวัตกรรมสังคมตั้งอยู่บนรากฐานวิธีคิดของการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างสมดุล สามารถนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและไปถึงระดับความเป็นสาธารณะ (The Common) ได้ หากให้คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาเพราะผู้ฟังเรื่องเล่าสามารถกลายมาเป็นผู้เล่าเรื่องได้เอง แต่อย่างไรก็ตาม การสื่อสารเพื่อขับเคลื่อนวิถีชีวิตออร์แกนิกจะต้องสื่อสารไปถึงระดับฐานรากวิธีคิดแม้ว่าความหลากหลายของคนในสังคมจะทำให้เกิดความแตกต่างของหนทาง (Output) แต่ผลลัพธ์ (Outcome) จะต้องสอดคล้องกับการอยู่ร่วมกับธรรมชาติเพื่อความเป็นสาธารณะเหมือนกัน


การสร้างตัวละครที่มีลักษณะเฉพาะและการเล่าเรื่องของละครโทรทัศน์ชุด โปรเจกต์ เอส เดอะ ซีรีส์ ตอน Side By Side พี่น้องลูกขนไก่ และ Sos Skate ซึม ซ่าส์, จุฑามาศ สาคร Jan 2018

การสร้างตัวละครที่มีลักษณะเฉพาะและการเล่าเรื่องของละครโทรทัศน์ชุด โปรเจกต์ เอส เดอะ ซีรีส์ ตอน Side By Side พี่น้องลูกขนไก่ และ Sos Skate ซึม ซ่าส์, จุฑามาศ สาคร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างตัวละครที่มีลักษณะเฉพาะ และการเล่าเรื่อง ของละครโทรทัศน์ชุด Project S The Series ตอน Side by Side พี่น้องลูกขนไก่ และ SOS Skate ซึม ซ่าส์ ซึ่งแพร่ภาพผ่านทางช่อง GMM25 และมีตัวละครหลักในเรื่องเป็นผู้มีภาวะ ออทิสติกและผู้ป่วยโรคซึมเศร้า งานวิจัยชิ้นนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหาจากละคร สัมภาษณ์โดยตรงกับผู้กำกับ ผู้เขียนบทและแอคติ้งโค้ช รวมถึงข้อมูลบทสัมภาษณ์จากผู้กำกับและนักแสดง ผลการวิจัยพบว่า การเล่าเรื่องของละครทั้งสองเรื่องนั้นมีโครงสร้างการเล่าเรื่องใกล้เคียงกับละครโทรทัศน์ทั่วไป คือ มีการเล่าเรื่องชีวิตประจำวัน ปัญหาของตัวละคร และมีข้อมูลเรื่องอาการของโรคที่เป็น การรักษาจากแพทย์หรือเสริมสร้างพัฒนาการแทรกในเนื้อเรื่อง แต่จะเน้นหนักที่การก้าวข้ามผ่านอุปสรรคของตัวละคร โดยแกนหลักของเรื่องคือกีฬาที่เชื่อมโยงกับโรคที่ตัวละครเป็น การสร้างตัวละครที่มีลักษณะเฉพาะ 2 ลักษณะ ได้แก่ 1. การสร้างตัวละครจากบุคคลต้นแบบและการเก็บข้อมูล โดยพบว่าผู้กำกับได้นำบุคลิกหรือพฤติกรรมบางส่วนของบุคคลต้นแบบทางกีฬาและบุคคลต้นแบบทางลักษณะของโรคที่ตัวละครเป็น ผสมผสานกับการเก็บข้อมูลจากแพทย์ หนังสือ บทความ และการสัมภาษณ์ผู้ป่วยหรือบุคคลใกล้ชิด มาหลอมรวมเพื่อสร้างตัวละคร พี่ยิม และ บู ที่มีลักษณะเฉพาะขึ้นมา 2. การสร้างตัวละครที่เกิดจากการที่ผู้กำกับ ผู้เขียนบท แอคติ้งโค้ช และนักแสดงพัฒนาร่วมกัน ผู้กำกับและผู้เขียนบทได้เขียนบทละครและสร้างตัวละครก่อนเป็นอันดับแรก จากนั้นจึงปรึกษากับแอคติ้งโค้ชเพื่อหาวิธีที่เหมาะสมในการทำเวิร์คชอปให้นักแสดง และนักแสดงได้ศึกษาทำความเข้าใจกับตัวละคร แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและออกแบบการแสดงและการเข้าถึงบทบาทตัวละครของตนเองให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ละครโทรทัศน์ชุด Project S The Series ตอน Side by Side พี่น้องลูกขนไก่ และ SOS Skate ซึม ซ่าส์ จึงไม่ได้เป็นละครโทรทัศน์ที่ให้ความบันเทิงแก่ผู้ชมเท่านั้น แต่ยังเป็นละครโทรทัศน์ที่ช่วยเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจของคนในสังคมต่อผู้มีภาวะออทิสติกและผู้ป่วยโรคซึมเศร้าผ่านทางตัวละครทั้งสองอีกด้วย


การจัดการและการสื่อสารในภาวะวิกฤตของผู้จัดการแสดงจากศิลปินเกาหลี, ณัฐศักดิ์ โสภาเจริญ Jan 2018

การจัดการและการสื่อสารในภาวะวิกฤตของผู้จัดการแสดงจากศิลปินเกาหลี, ณัฐศักดิ์ โสภาเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ที่มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อ 1) วิเคราะห์และอธิบายกระบวนการจัดการและการสื่อสารในภาวะวิกฤตของผู้จัดการแสดงจากศิลปินเกาหลี 2) วิเคราะห์และอธิบายปัจจัยในการสร้างความสำเร็จในการจัดการและการสื่อสารในภาวะของผู้จัดการแสดงจากศิลปินเกาหลี โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ที่เกี่ยวกับการจัดการและการสื่อสารในภาวะวิกฤตของผู้จัดการแสดงจากศิลปินเกาหลี ประกอบกับการใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) ศึกษาจากภาวะวิกฤตที่เคยเกิดขึ้นจริงกับผู้จัดการแสดงจากศิลปินเกาหลีในประเทศไทย และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ที่ทำการเลือกผู้ให้ข้อมูลด้วยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ซึ่งแบ่งผู้ให้สัมภาษณ์ออกเป็น 4 กลุ่ม จากการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการจัดการและการสื่อสารในภาวะวิกฤตของผู้จัดการแสดงจากศิลปินเกาหลีจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ 1.1 ช่วงก่อนการเกิดภาวะวิกฤต ผู้จัดจะเตรียมการป้องกันการเกิดภาวะวิกฤตจากการศึกษาภาวะวิกฤตที่เคยเกิดขึ้นแต่ไม่ได้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร โดยการสื่อสารระหว่างผู้จัดการแสดงจากศิลปินเกาหลีและกลุ่มเป้าหมายจะเกิดขึ้นบนสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เท่านั้น 1.2 ช่วงการเกิดภาวะวิกฤต ผู้จัดนิยมแก้ไขภาวะวิกฤตด้วย 2 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์นิ่งเฉย (Refuse) และกลยุทธ์ในการขอโทษ ชี้แจง รวมถึงดำเนินการแก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้น (Repentance) 1.3 ช่วงหลังการเกิดภาวะวิกฤต ผู้จัดส่วนใหญ่ไม่ได้บันทึกเหตุการณ์รวมถึงการแก้ไขภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและมีการทำกิจกรรมเพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายขององค์กร 2) ปัจจัยที่จะสร้างความสำเร็จ ได้แก่ การมีข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายขององค์กรที่มากพอ และ การสร้างความสัมพันธ์กับ Influencer


อิทธิพลของการรับรู้การออกแบบบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มน้ำผักและผลไม้พร้อมดื่มต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค, ปริญญาภรณ์ แสงสุข Jan 2018

อิทธิพลของการรับรู้การออกแบบบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มน้ำผักและผลไม้พร้อมดื่มต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค, ปริญญาภรณ์ แสงสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาการรับรู้เกี่ยวกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์น้ำผักและผลไม้พร้อมดื่มของผู้บริโภค (2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการรับรู้การออกแบบบรรจุภัณฑ์ต่อการตัดสินใจซื้อน้ำผักและผลไม้พร้อมดื่มของผู้บริโภค โดยทำการศึกษาการรับรู้ในด้านองค์ประกอบของบรรจุภัณฑ์ และประสิทธิภาพของการออกแบบบรรจุภัณฑ์เป็นหลัก ซึ่งใช้การวิจัยเชิงสำรวจด้วยวิธีการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม จำนวน 430 ชุด จากผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการรับรู้ที่มีต่อบรรจุภัณฑ์น้ำผักและผลไม้พร้อมดื่ม 100% ในระดับสูง เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็นของการรับรู้ในด้านองค์ประกอบของบรรจุภัณฑ์ และด้านการรับรู้ประสิทธิภาพการออกแบบบรรจุภัณฑ์น้ำผักและผลไม้พร้อมดื่ม 100% พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ระดับสูงมากในด้านวัสดุของบรรจุภัณฑ์ที่เคยเห็นเป็นกล่องกระดาษแข็ง รองลงมาคือบรรจุภัณฑ์ที่เคยเห็นมีฉลากทางโภชนาการ (Nutrition Information) ในส่วนของอิทธิพลของการรับรู้ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคมากที่สุดคือ แรงจูงใจทางด้านอารมณ์ (ภาพหรือสัญลักษณ์ที่มีคุณค่าทางด้านจิตใจ) มากที่สุด รองลงมาคือวัสดุ (แก้ว) ซึ่งน้ำผักและผลไม้เป็นสินค้าที่มีความเกี่ยวพันต่ำ (Low Involvement) นั้น ผู้บริโภคจะมีการใช้อารมณ์ และความรู้สึกประกอบการตัดสินใจซื้อ โดยพิจารณาจากภาพหรือสัญลักษณ์ของบรรจุภัณฑ์เป็นหลัก หมายความว่าเมื่อกลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ภาพหรือสัญลักษณ์ที่มีคุณค่าทางด้านจิตใจมากขึ้นจะมีการตัดสินใจซื้อที่มากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งตัวแปรดังกล่าวมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคมากที่สุด


อัตลักษณ์ของเพลงอีสานประยุกต์ในยุคอีสานใหม่, ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย Jan 2018

อัตลักษณ์ของเพลงอีสานประยุกต์ในยุคอีสานใหม่, ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเคลื่อนตัวของสื่อเพลงจากวัฒนธรรมอีสานสู่วัฒนธรรมส่วนกลาง 2) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของอัตลักษณ์เพลงอีสานประยุกต์ในยุคอีสานใหม่และ 3) เพื่อศึกษาบทบาทของสื่อดิจิทัลในฐานะ Disruptive Technology ในการเคลื่อนตัวของวัฒนธรรมอีสาน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยดังนี้ วิเคราะห์ตัวบท เพลงอีสานประยุกต์จำนวน 20 เพลง ที่มียอดรับชมสูงเกิน 50 ล้านวิว หรือเคยเผยแพร่ในต่างประเทศ ที่เริ่มต้นทำเพลงเองจากค่ายเพลงขนาดเล็ก สัมภาษณ์เชิงลึกนักร้อง ศิลปินและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเพลงอีสานประยุกต์ ที่มีประสบการณ์การทำงานมากกว่า 2 ปีจำนวน 5 คน และจัดสนทนากลุ่ม กลุ่มผู้ฟังเพลงอีสานจำนวน 8 คน อายุระหว่าง 20-40 ปี และไม่ใช่คนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคอีสาน ผลการวิจัยสรุปว่า อัตลักษณ์ของเพลงอีสานประยุกต์ในยุคอีสานใหม่ คือ เพลงที่มีเนื้อร้องภาษาอีสานเป็นหลัก ผสมผสานด้วยภาษาอื่น เช่นอังกฤษ ไทยกลาง เขมร มีวิธีการนำเสนอผ่านดนตรีที่หลากหลาย ผสมทั้งเครื่องดนตรีพื้นบ้านและเครื่องดนตรีสากล ขับร้องโดยคนอีสาน โดยมากนักร้องในยุคอีสานใหม่มีอายุประมาณ 20-25 ปี ซึ่งถ่ายทอดความคิดออกมาในเนื้อหาเพลงที่พูดถึงเรื่องความรัก และฉายภาพชนบทอีสานยุคใหม่ ที่ไม่ได้มีแต่ความยากลำบาก ทุ่งนาแตกระแหงอีกแล้ว แต่เป็นวิถีชีวิตที่เข้าถึงความเจริญของเขตเมือง ตัวละครในเพลงมีความมั่นใจในตัวเอง ไม่ตีอกชกตัว ทั้งยังภูมิใจในความเป็นคนอีสาน และพยายามแสดงออกมาอย่างเด่นชัด เก็บสุนทรียะแบบอีสานที่มีความสนุกสนาน ขำขัน ขี้เล่น เอาไว้ในเพลงอยู่เสมอ ซึ่งทั้งหมดนี้เผยแพร่ไปสู่คนส่วนมากด้วยการใช้สื่อใหม่เป็นตัวกลาง มีการทำค่ายเพลงขนาดเล็กเองในต่างจังหวัด โดยใช้อินเตอร์เน็ตเป็นตัวเผยแพร่


อิทธิพลของการสื่อสารการตลาดออนไลน์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในร้านมัลติแบรนด์สโตร์, ภูษณิศา ลิ้มอังกูร Jan 2018

อิทธิพลของการสื่อสารการตลาดออนไลน์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในร้านมัลติแบรนด์สโตร์, ภูษณิศา ลิ้มอังกูร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อการศึกษา 1.)เพื่อศึกษาการเปิดรับการสื่อสารการตลาดออนไลน์ทัศนคติต่อการสื่อสารการตลาดออนไลน์และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคร้านมัลติแบรนด์สโตร์2.)เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับการสื่อสารการตลาดออนไลน์กับทัศนคติต่อการสื่อสารการตลาดออนไลน์ของผู้บริโภคร้านมัลติแบรนด์สโตร์3.)เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อการสื่อสารการตลาดออนไลน์กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคร้านมัลติแบรนด์สโตร์4.)เพื่อศึกษาถึงอิทธิพลของการสื่อสารการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคร้านมัลติแบรนด์สโตร์โดยให้กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุตั้งแต่18-40ปีทั้งเพศชายและเพศหญิงที่เคยซื้อสินค้าร้านมัลติแบรนด์สโตร์ในรอบระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา และมีการติดตามข่าวสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของร้านมัลติแบรนด์สโตร์แบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งใน 3 แบรนด์หลักได้แก่ Sense Of Style (SOS) CAMP และ Match boxตอบแบบสอบถามออนไลน์จำนวน 400 คน จากผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า1.) ผู้บริโภคมีการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับร้านมัลติแบรนด์สโตร์ในรูปแบบรูปภาพผ่านอินสตาแกรมมากที่สุด 2.) ผู้บริโภคมีทัศนคติชื่นชอบมากที่สุดต่อการสื่อสารการตลาดออนไลน์โดยการใช้พนักงานขาย (Admin) 3.) ราคาของสินค้ามีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคร้านมัลติแบรนด์สโตร์เป็นประจำมากที่สุด 4.) การเปิดรับการสื่อสารการตลาดออนไลน์และทัศนคติต่อการสื่อสารการตลาดออนไลน์ของผู้บริโภค มีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกและมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง5.) ทัศนคติต่อการสื่อสารการตลาดออนไลน์และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคร้านมัลติแบรนด์สโตร์ มีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกและมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง6.) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคร้านมัลติแบรนด์สโตร์ คือทัศนคติต่อการสื่อสารการตลาดออนไลน์ (Beta = 0.388) และการเปิดรับการสื่อสารการตลาดออนไลน์ (Beta = 0.258)


อัตลักษณ์ และการสื่อสารเพื่อสร้างการยอมรับของผู้บริหารหญิงในองค์กรไทย, วิไลลักษณ์ คำแจ่ม Jan 2018

อัตลักษณ์ และการสื่อสารเพื่อสร้างการยอมรับของผู้บริหารหญิงในองค์กรไทย, วิไลลักษณ์ คำแจ่ม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง 1) การรับรู้และการพัฒนาอัตลักษณ์ของตนเอง 2) การจัดการเพื่อสื่อสารอัตลักษณ์ที่ตนรับรู้และพัฒนาอัตลักษณ์ และ 3) กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างการยอมรับของผู้บริหารหญิงในองค์กรไทย ใช้แนวทางวิจัยแบบย้อนหาร่องรอย (retrospective approach) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) กับผู้บริหารหญิงระดับสูงในองค์กรไทยประเภทการเงินและไม่ใช่การเงิน จากภาครัฐและเอกชน สุ่มตัวอย่างโดยวิธีเจาะจง (purposive sampling) จำนวน 26 ท่าน และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เคย/มีประสบการณ์ร่วมงานกับผู้บริหารหญิงเพื่อตรวจสอบความตรง (validity) ด้วย สุ่มตัวอย่างจากความสมัครใจ (volunteer sampling) จำนวน 16 ท่าน ผลการศึกษาพบว่า อัตลักษณ์ของผู้บริหารหญิงในองค์กรไทย ประกอบด้วย อัตลักษณ์ขั้นพื้นฐานซึ่งเกิดขึ้นและมีอยู่กับตัวผู้บริหารหญิงตั้งแต่เด็กเรื่อยมา และอัตลักษณ์ที่พัฒนาขึ้นภายหลัง ซึ่งพัฒนาขึ้นในช่วงเข้าสู่บทบาทบริหารระดับกลางขึ้นไป นอกจากนี้ ในช่วงต้นของการทำงานและเป็นผู้บริหารระดับต้น ผู้บริหารหญิงใช้อัตลักษณ์ที่แสดงถึงการมีมนุษยสัมพันธ์และการทุ่มเททำงานหนักเพื่อสร้างให้เกิดการยอมรับ และเมื่อเข้าสู่การเป็นผู้บริหารระดับกลางจนถึงระดับสูง การเป็นผู้นำที่เปลี่ยนแปลงไปตามตำแหน่งต้องอาศัยการแสดงตัวตนที่มีความกล้าหาญ เข้มแข็งเพื่อสร้างการยอมรับ ทั้งนี้การพัฒนาอัตลักษณ์ของผู้บริหารหญิงมาจากปัจจัยภายใน อาทิ ความคิด และการทบทวนตนเอง ประกอบกับปัจจัยภายนอก อาทิ การขัดเกลาจากครอบครัว และการศึกษา ในส่วนของการจัดการเพื่อสื่อสารอัตลักษณ์ ผู้บริหารหญิงจะพิจารณาเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องต่อไปนี้ตามลำดับ 1) การรับรู้ความเป็นตนเอง 2) ความสัมพันธ์ของคู่สื่อสาร 3) ความต้องการและเป้าหมายของการสื่อสาร 4) สถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง และ 5) ลักษณะองค์กรและวัฒนธรรม สำหรับกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างการยอมรับ ในช่วงเริ่มต้นทำงานถึงการเป็นผู้บริหารระดับต้น ผู้บริหารหญิงใช้กลยุทธ์การสื่อสาร เช่น การใช้เหตุผล และการกล่าวถึงคุณธรรม เพื่อสร้างการยอมรับจากเพื่อนร่วมงานเป็นหลัก ในขณะที่เมื่อก้าวสู่ตำแหน่งบริหารระดับกลางจนถึงระดับสูง ผู้บริหารหญิงใช้กลยุทธ์การสื่อสาร เช่น การกล่าวถึงประโยชน์ส่วนรวม และการเป็นผู้เปิดกว้างรับฟัง เพื่อนำไปสู่การสร้างการยอมรับในองค์กรไทย เป็นหลัก อย่างไรก็ตามการรับรู้อัตลักษณ์ และกลยุทธ์การสื่อสารที่มาจากมุมมองผู้บริหารหญิงดังกล่าวมักเป็นลักษณะเชิงบวก ในขณะที่การรับรู้ที่มาจากผู้มีประสบการณ์ร่วมงานมีทั้งเชิงบวกและเชิงลบ โดยมุมมองในเชิงลบเป็นมุมมองที่เกี่ยวข้องกับอคติที่มีต่อความเป็นเพศหญิง


เส้นทางชีวิตเยาวชนชายขอบที่เข้าโครงการฟื้นฟูเยียวยา และพัฒนาคุณภาพชีวิตของเทศบาลนครขอนแก่น, จิรเมธ ไฉนศิริยุทธิ์ Jan 2018

เส้นทางชีวิตเยาวชนชายขอบที่เข้าโครงการฟื้นฟูเยียวยา และพัฒนาคุณภาพชีวิตของเทศบาลนครขอนแก่น, จิรเมธ ไฉนศิริยุทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเส้นทางชีวิตเยาวชนชายขอบที่เข้าร่วมโครงการฟื้นฟูเยียวยาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเทศบาลนครขอนแก่น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเส้นทางชีวิตเยาวชนชายขอบว่าปัจจัยแวดล้อมลักษณะใดที่ทำให้เยาวชนตกเป็นเยาวชนชายขอบ ตลอดจนศึกษาแนวทางการฟื้นฟูเยียวยาเด็กและเยาวชนชายขอบที่โครงการฟื้นฟูเยียวยาและพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชนชายขอบในสังคมเมืองที่ทางเทศบาลดำเนินโครงการฯอยู่ โดยการวิจัยครั้งนี้ ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ เพื่อหาข้อสรุปต่อไป จากการศึกษาพบว่าปัจจัยพื้นฐานที่ส่งผลให้เยาวชนตกเป็นเยาวชนชายขอบ ประกอบไปด้วย 1) ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ 2) ด้านครอบครัว และ 3) ปัจจัยด้านเพื่อน ซึ่งปัจจัยพื้นฐานเหล่านี้มีอิทธิพลต่อการกำหนดทิศทางพฤติกรรมของเด็กชายขอบเป็นอย่างมาก ซึ่งเมื่อตกเป็นเยาวชนชายขอบแล้วพฤติกรรมเบี่ยงเบนที่เยาวชนชายมักกระทำ คือ เสพสารเสพติด ทะเลาะวิวาท และการเข้าแก๊งรถซิ่ง ส่วนเยาวชนหญิง จากการสัมภาษณ์พบว่า พฤติกรรมเบี่ยงเบนที่เกิดขึ้น เป็นผลจากการถูกกระทำ โดยปัญหาหลักที่เยาวชนหญิงถูกกระทำคือ การถูกล่วงละเมิดทางเพศ และถูกล่อลวงให้ทำสิ่งที่ผิดกฎหมาย ซึ่งในตัวเยาวชนชายขอบแต่ละคนมีจุดวกกลับที่แตกต่างกันออกไป เมื่อเข้าโครงการฟื้นฟูเยียวยาและพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชนชายขอบของเทศบาลนครขอนแก่น ทางโครงการฯมีแนวทางการบำบัดฟื้นฟู โดยมุ่งเน้นการปรับแนวคิด ให้การศึกษา และสร้างอาชีพ โดยมีเครือข่ายที่ทำงานด้านเด็กและเยาวชนคอยสนับสนุน เพื่อคืนเยาวชนที่มีคุณภาพให้กับสังคมต่อไป การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยเสนอแนะแนวทางการฟื้นฟูเยียวยาเยาวชนชายขอบ ดังนี้ ประการแรก ครอบครัวเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ส่งผลต่อตัวเยาวชนโดยตรง การอบรมบ่มนิสัยบุตรหลานและการปลูกฝังสิ่งที่ถูกต้องเป็นสิ่งที่มีความจำเป็น และปฎิบัติตนให้เป็นแบบอย่าง รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาที่ดี คอยให้กำลังใจบุตรหลาน ประการที่สอง หน่วยงานราชการ ควรสอดส่องเยาวชนเพื่อลดความเสี่ยงต่อการมอมเมา และการเกิดอาชญากรรม และประการสุดท้าย ชุมชนต้องมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขเยาวชนที่เดินทางหลงผิด โดยพร้อมที่จะเข้าใจ แก้ไข และให้โอกาส สร้างให้เกิดความรักในชุมชน และเกิดชุมชนแข็งแรงเพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนที่ยั่งยืน


การประเมินการนำนโยบายการช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมไปสู่การปฏิบัติ, ภาคิน ดำภูผา Jan 2018

การประเมินการนำนโยบายการช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมไปสู่การปฏิบัติ, ภาคิน ดำภูผา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อาชญากรรมเป็นปรากฏการณ์ของสังคมซึ่งเกิดจากความบกพร่องในการป้องกันอาชญากรรมของรัฐ เหยื่ออาชญากรรมจึงสมควรได้รับการช่วยเหลือในรูปแบบรัฐสวัสดิการจากนโยบายการช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินกระบวนการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ศึกษาสภาพและผลการดำเนินงานตามนโยบาย วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินนโยบาย และจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณเป็นการสืบค้นข้อมูลแนวกว้างจากกลุ่มตัวอย่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินนโยบายการช่วยเหลืออาชญากรรมโดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการสืบค้นข้อมูลแนวลึกเพื่ออธิบายข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้การวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับ วิเคราะห์การถดถอยพหูคูณ ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เนื้อหา สรุปประมวลผลเป็นความเรียง การผสมการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพใช้วิธีเปรียบเทียบผลการศึกษาที่ได้แบบประเด็นต่อประเด็น ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาหลักเป็นความเพียงพอของทรัพยากร การประชาสัมพันธ์สิทธิ์การได้รับการช่วยเหลือและเยียวยาจากภาครัฐ เหยื่ออาชญากรรมยังมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายการช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมน้อย การดำเนินการช่วยเหลือและเยียวยาเหยื่ออาชญากรรมยังมีความล่าช้า งบประมาณในการช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมยังมีไม่เพียงพอ พนักงานสอบสวนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติยังทราบว่ากรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพมีเจ้าหน้าที่ประจำอยู่ที่สถานีตำรวจภูธรเมืองน้อย นอกจากนี้ ปัจจัยด้านนโยบาย การบริหารจัดการ การประชาสัมพันธ์ การจัดสรรทรัพยากร การพัฒนาระบบช่วยเหลือและเยียวยา คณะกรรมการและอุทธรณ์ และปฏิบัติการช่วยเหลือและเยียวยา เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินนโยบาย อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอแนะในการดำเนินนโยบายในการช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมในอนาคต ควรมีการกำหนดเกณฑ์ในการพิจารณาให้ชัดเจนและไม่คลุมเครือ ประชาสัมพันธ์การรับรู้สิทธิ์ให้เข้าถึงประชาชนทุกกลุ่ม เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในนโยบายการช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายได้อย่างทั่วถึง เพื่อลดช่องว่างในการเข้าถึงการช่วยเหลือประชาชนของภาครัฐ ควรจัดตั้งกองทุนสำหรับช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมโดยเฉพาะ โดยเงินกองทุนมาจากเงินประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้ เงินอุดหนุนจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคอุทิศให้ เงินที่ได้รับจากต่างประเทศหรือองค์กรระหว่างประเทศ ดอกผลและผลประโยชน์ที่เกิดจากกองทุน และไม่ควรให้เงินและทรัพย์สินของกองทุนต้องส่งคืนคลังเป็นรายได้แผ่นดินในแต่ละปีงบประมาณ


ความร่วมมือระหว่างองค์การภาครัฐและองค์การพัฒนาเอกชนในการป้องกันอาชญากรรม: ศึกษากรณี โครงการรณรงค์ป้องกันการคุกคามทางเพศบนระบบขนส่งสาธารณะในเขตกรุงเทพมหานคร, วรภัทร พึ่งพงศ์ Jan 2018

ความร่วมมือระหว่างองค์การภาครัฐและองค์การพัฒนาเอกชนในการป้องกันอาชญากรรม: ศึกษากรณี โครงการรณรงค์ป้องกันการคุกคามทางเพศบนระบบขนส่งสาธารณะในเขตกรุงเทพมหานคร, วรภัทร พึ่งพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาสภาพปัญหาการคุกคามทางเพศบนรถโดยสารประจำทางในเขตกรุงเทพมหานครจากทัศนะของผู้ใช้บริการที่เป็นเพศหญิง รวมถึงศึกษามาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวกับการจัดการเชิงระบบขององค์การภาครัฐและองค์การพัฒนาเอกชนที่ร่วมมือกันในแคมเปญถึงเวลาเผือก และให้ข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงความร่วมมือระหว่างองค์การ วิทยานิพนธ์นี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่เก็บข้อมูลด้วยเทคนิคการวิจัยเอกสาร เสริมกับเทคนิคการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 3 กลุ่มประชากรของประเทศไทย ได้แก่ ผู้ใช้บริการรถโดยสารประจำทางที่เป็นเพศหญิงและเคยตกเป็นเหยื่อการคุกคามทางเพศ จำนวน 13 คน และผู้บริหารและพนักงานระดับปฏิบัติการในสังกัดองค์การภาครัฐและสังกัดองค์การพัฒนาเอกชน จำนวนละ 5 คน รวมเป็นทั้งสิ้น 10 คน ผู้วิจัยได้เลือกวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง และการสุ่มตัวอย่างแบบลูกโซ่ ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพปัญหาการคุกคามทางเพศบนรถโดยสารประจำทางมีรากเหง้ามาจากมายาคติชายเป็นใหญ่และมองเพศหญิงเป็นวัตถุทางเพศ 2) สภาพแวดล้อมทางกายภาพของรถโดยสารประจำทางยังไม่มีคุณภาพและความปลอดภัยที่เหมาะสม 3) การให้ความช่วยเหลือเหยื่อการคุกคามทางเพศของพนักงานสอบสวนบางคนที่มีทัศนคติขาดความเข้าใจในสภาพปัญหาดังกล่าว 4) มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวของแคมเปญถึงเวลาเผือก ยังมีการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รับรู้แก่ประชาชนที่ใช้บริการไม่ครอบคลุมทั่วถึงมากพอ และขาดการนำมุมมองของผู้หญิงที่เคยตกเป็นเหยื่อมาประยุกต์ใช้ในการสร้างมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม


การศึกษาวิเคราะห์วงจรชีวิตองค์การของทีวีสาธารณะ ศึกษากรณี สถานีโทรทัศน์ไอทีวี สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีและสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส, ประภาพรรณ จิตต์วารี Jan 2018

การศึกษาวิเคราะห์วงจรชีวิตองค์การของทีวีสาธารณะ ศึกษากรณี สถานีโทรทัศน์ไอทีวี สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีและสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส, ประภาพรรณ จิตต์วารี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาวิเคราะห์วงจรชีวิตองค์การของทีวีสาธารณะ อันประกอบด้วย สถานีโทรทัศน์ไอทีวี สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีและสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสตามแนวคิดทฤษฎีของ Ichak Adizes ผ่านสถานการณ์ที่องค์การเผชิญในแต่ละช่วงวัย รวมทั้งยังเป็นการศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนผ่านขององค์การในแต่ละระยะช่วงวัยและปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความเสื่อมถอยและล้มตายขององค์การ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพจากการศึกษาเชิงเอกสารผ่านการรวบรวมข้อมูลเอกสาร หนังสือรวบรวมเหตุการณ์ บทสัมภาษณ์ในวารสารและคลิปวิดิโอสั้นต่างๆที่มีการกล่าวถึงพัฒนาการและลำดับเหตุการณ์ที่สำคัญของทีวีสาธารณะ รวมถึงการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารระดับสูงของทั้ง 3 องค์การกล่าวคือ ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ไอทีวี สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีและสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส จำนวนทั้งสิ้น 5 ท่าน เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกที่ครบถ้วนและถูกต้องมากที่สุด จากผลการศึกษาพบว่า สถานีโทรทัศน์ไอทีวีนั้นดำรงอยู่ในระยะระบบราชการ (Bureaucracy) ของวงจรชีวิตองค์การ ส่วนสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีดำรงอยู่ในระยะเข้าสู่ระบบราชการ (Early Bureaucracy) ของวงจรชีวิตองค์การ ซึ่งทั้งสององค์การนั้นต่างเข้าสู่ระยะช่วงวัยที่เผชิญกับความเสื่อมถอยขององค์การทั้งสิ้นแตกต่างจากสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสที่ดำรงอยู่ ณ ระยะมั่นคง (Stable) ของวงจรชีวิตองค์การ ทั้งนี้ จากผลการศึกษาได้สะท้อนให้เห็นว่า ความเสื่อมถอยหรือล้มตายขององค์การนั้นไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นจากปัจจัยสภาพแวดล้อมภายในองค์การเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่สามารถเกิดขึ้นจากปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การร่วมด้วย โดยสถานีโทรทัศน์ไอทีวีได้รับผลกระทบจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ ปัจจัยการเมืองและปัจจัยเรื่องกฎหมายสัมปทานที่บีบบังคับให้การดำเนินงานขององค์การบิดเบือนออกไปจากเจตนารมณ์เดิมและเป็นเหตุให้องค์การไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้ ขณะเดียวกัน ในส่วนของสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีก็ได้รับผลกระทบจากปัจจัยการเมืองจากการออกคำสั่งให้องค์การต้องแปรสภาพองค์การเป็นทีวีสาธารณะแห่งแรกของประเทศไทย รวมถึงผลพวงจากการเปลี่ยนแปลงการบริหารงานจากภาคเอกชนมาสู่การกำกับดูแลภายใต้องค์การภาครัฐเป็นการสร้างความยุ่งยากในการดำเนินงานรวมถึงการเป็นภาระขององค์การภาครัฐในการทำหน้าที่กำกับดูแลองค์การเพิ่มเติมยิ่งเป็นตัวเร่งหนึ่งให้สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีได้เผชิญความเสื่อมและปิดตัวลงในที่สุด อย่างไรก็ดี จากบทเรียนที่ล้มเหลวของสถานีโทรทัศน์ทั้งสองข้างต้นได้ทำให้สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสถือกำเนิดขึ้นเรียนรู้ที่จะกำจัดช่องโหว่จากปัจจัยภายนอกเหล่านั้น เพื่อคงไว้ซึ่งเจตนารมณ์และพันธกิจหลักของการเป็นทีวีสาธารณะ อย่างไรก็ตาม สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสยังคงประสบกับความเสี่ยงของปัจจัยภายนอกจำนวนมากที่ส่งแรงกระเพื่อมต่อการดำเนินงานอยู่เสมอ อันประกอบด้วย ปัจจัยทางการเมืองจากความพยายามแทรกแซงเพื่อลดทอนงบประมาณการดำเนินงานขององค์การหรือปัจจัยจากการแข่งขันทางธุรกิจที่สูงขึ้นอันเกิดจากกฎหมายอนุญาตการประมูลคลื่นความถี่ระบบดิจิทัลที่ทำให้ประชาชนมีโอกาสเลือกชมสื่อโทรทัศน์ได้หลายหลายมากขึ้น หรือแม้แต่การพฤติกรรมการบริโภคสื่อของประชาชนที่เปลี่ยนไป ซึ่งเป็นเหตุให้องค์การไม่สามารถรักษาระยะสมดุล (Prime) ขององค์การบนวงจรชีวิตองค์การไว้ได้และเข้าสู่ระยะมั่นคง (Stable) ในที่สุด และเนื่องจากในอดีตจวบจนถึงปัจจุบันนั้น สื่อสาธารณะเป็นสิ่งที่ภาคประชาชนเรียกร้องให้เกิดขึ้นสังคมไทยมาโดยตลอด อนึ่ง แม้ว่าแนวความคิดดังกล่าวนั้นจะถูกประดิษฐ์สร้างขึ้นในรูปของทีวีเสรี อันได้แก่ สถานีโทรทัศน์ไอทีวีและสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ทีวีเสรีทั้งสององค์การนั้นกลับประสบความล้มเหลวและเผชิญกับความเสื่อมถอย ล้มตายจนต้องยุติกิจการ ก่อนที่จะได้ทำการแปรสภาพเป็นทีวีสาธารณะแห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งถึงแม้ว่าสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสจะได้นำบทเรียนจากทีวีเสรีมาปรับแก้และปิดกลบช่องโหว่เดิมแล้วก็ตาม แต่ทีวีสาธารณะในปัจจุบันก็ยังคงเผชิญกับปัจจัยจากสภาพแวดล้อมอีกหลายประการ จึงจำเป็นที่จะต้องตื่นตัวที่จะปรับปรุงและพัฒนาสื่อให้มีคุณภาพและสอดรับกับภารกิจการดำเนินงานขององค์การ ทั้งการเปิดพื้นที่สาธารณะให้แก่ประชาชนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่มีคุณภาพและสร้างสรรค์ อีกทั้งยังเป็นสื่อที่เคียงข้างประชาชนโดยปราศจากการถูกครอบงำและแทรกแซงจากภาคการเมือง ภาคเอกชนและพร้อมเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นอย่างแท้จริงเพื่อหลีกหนีจากความเสื่อมหรือความตายดังเช่นที่เคยเป็นมาและยังสร้างอัตลักษณ์ในการเป็นทีวีสาธารณะที่มีความแตกต่างอย่างยั่งยืนด้วย


การเปลี่ยนปัญหาการค้ามนุษย์ให้เป็นประเด็น “ความมั่นคง” ในประเทศไทย: การวิเคราะห์วัจนกรรม, สุทธิพงศ์ วรอุไร Jan 2018

การเปลี่ยนปัญหาการค้ามนุษย์ให้เป็นประเด็น “ความมั่นคง” ในประเทศไทย: การวิเคราะห์วัจนกรรม, สุทธิพงศ์ วรอุไร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาการเปลี่ยนปัญหาการค้ามนุษย์ให้เป็นประเด็นความมั่นคง: การวิเคราะห์เชิงวัจนกรรม ตั้งแต่ 2000-2018 พบว่าแรงผลักดันจากตัวแสดงในระดับระหว่างประเทศเป็นปัจจัยสำคัญที่นำมาสู่การเปลี่ยนปัญหาการค้ามนุษย์ให้เป็นประเด็นความมั่นคงในประเทศไทย โดยใช้ (1) วัจนกรรมประเภทบอกกล่าว เพื่อเปิดประเด็นวาระการค้ามนุษย์ในเวทีระดับระหว่างประเทศ ด้วยการกล่าวถ้อยความเพื่อระบุข้อเท็จจริงของปัญหาการค้ามนุษย์ (2) วัจนกรรมประเภทคำสั่ง เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงปทัสถานภายในประเทศให้สอดคล้องกับหลักมาตรฐานสากล โดยเฉพาะการให้ความสำคัญต่อประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นปทัสถานอันเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และ (3) วัจนกรรมประเภทประกาศ เพื่อประกาศข้อกฎหมายหรือสถานะการค้ามนุษย์ของประเทศไทยในรายงานต่าง ๆ ที่ออกโดยตัวแสดงในระดับระหว่างประเทศ เช่น รายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ (ทิป รีพอร์ต) ซึ่งเป็นลักษณะของการติดตามตรวจสอบการทำงานด้านการต่อต้านการค้ามนุษย์ของรัฐบาลไทย มากไปกว่านั้น การรับวาระการค้ามนุษย์ของประเทศไทยส่งผลให้รัฐบาลไทยจำเป็นต้องดำเนินนโยบายด้านการต่อต้านการค้ามนุษย์ตามสภาพปัญหาที่ถูกผลักดันเข้ามาจากภายนอกที่มีความแตกต่างกัน ได้แก่ ช่วงที่ 1 (2000-2007) เป็นการพิจารณาปัญหาการค้ามนุษย์ตามปรากฏการณ์ด้านความมั่นคงรูปแบบใหม่ ที่ให้ความสำคัญกับประเด็นปัญหาความมั่นคงจากตัวแสดงที่มิใช่รัฐ ช่วงที่ 2 (2008-2013) เป็นการพิจารณาปัญหาการค้ามนุษย์อย่างครอบคลุม โดยเฉพาะการให้ความสำคัญต่อการค้ามนุษย์เพื่อการแสวงหาประโยชน์ด้านแรงงาน ช่วงที่ 3 (2014-2018) เป็นการพิจารณาปัญหาการค้ามนุษย์ที่ถูกนำมาเชื่อมโยงกับประเด็นเรื่องความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การศึกษายังพบอีกว่า ตั้งแต่ ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา รัฐบาลไทยให้ความสำคัญต่อปัญหาการค้ามนุษย์โดยพิจารณาปัญหาตามสภาพบริบทระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นสำคัญ โดยมีตัวแสดงในระดับระหว่างประเทศทำหน้าที่เปิดประเด็น หามาตรการบังคับ และติดตามตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ทั้งนี้ การประกาศสถานะการค้ามนุษย์ในรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ (ทิป รีพอร์ต) และการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (ไอยูยู) กลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองระหว่างประเทศที่ส่งผลให้รัฐบาลไทยต้องดำเนินนโยบายต่อต้านการค้ามนุษย์ตามข้อเรียกร้องที่กำหนด โดยมีเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ และภาพลักษณ์ของประเทศเป็นเป้าหมายสำคัญในการเรียกร้องการปฏิบัติภารกิจด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ดังนั้น การพิจารณาการค้ามนุษย์ในมุมมองของรัฐไทยจึงให้ความสำคัญกับการเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ ที่เกิดจากแรงขับเคลื่อนจากตัวแสดงในระดับระหว่างประเทศ โดยรัฐบาลไทยจะต้องรักษาสมดุลระหว่างการต่างประเทศ สิทธิมนุษยชน และความมั่นคง ซึ่งเป็นประเด็นที่มีความสำคัญในการบริหารประเทศยุคปัจจุบัน