Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2019

Discipline
Institution
Keyword
Publication
Publication Type
File Type

Articles 27901 - 27930 of 31920

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

การศึกษามาตรการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ต่อสถาบันการเงิน, ปรมัตถ์ ไวรักษ์ Jan 2019

การศึกษามาตรการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ต่อสถาบันการเงิน, ปรมัตถ์ ไวรักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของธนาคารกลางของไทยในการกำกับดูแลสถาบันการเงินต่อการบังคับใช้มาตรการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และศึกษาถึงแนวทางการสร้างความร่วมมือระหว่างกลุ่มสถาบันการเงิน โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยเทคนิคการวิจัยเอกสารร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึก จากกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม แบ่งเป็น ผู้ปฏิบัติงานในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศกลุ่มสถาบันการเงิน ผู้ปฏิบัติงานจากสายงานกระบวนการยุติธรรมหรือสายกฎหมาย และผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านการจัดการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ผลการศึกษา พบว่า 1) บทบาทที่สำคัญของธนาคารกลางของไทย คือ การวางกรอบแนวทางการรับมือภัยคุกคามไซเบอร์ โดยมีการกำหนดเป็นมาตรการและนโยบายต่าง ๆ ร่วมกับการตรวจสอบกำกับดูแล และการเผยแพร่ความรู้ให้แก่ภาคประชาชน 2) ธนาคารกลางของไทยมีการสร้างความร่วมมือกับกลุ่มสถาบันการเงินและองค์กรอื่น ๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อแบ่งปันข้อมูลข่าวสารด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดทักษะความรู้ใหม่ ๆ ในการร่วมมือกันแก้ปัญหาภัยคุกคามไซเบอร์ ข้อเสนอแนะจากการศึกษานี้สามารถแบ่งได้เป็น 2 ด้าน คือ ด้านการปฏิบัติการ สถาบันการเงินควรมีการฝึกซ้อมรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ ไปพร้อมกับการสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ภาคประชาชนในเชิงรุก รวมทั้งสร้างเครือข่ายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในภาคการเงิน ด้านการออกนโยบาย เสนอให้เพิ่มบทลงโทษสถาบันการเงินจากการไม่ปฏิบัติตามมาตรการที่บังคับใช้ และเสนอให้มีการสร้างความร่วมมือกับภาครัฐปรับหลักสูตรการเรียนการสอนให้มีบทเรียนเกี่ยวกับภัยคุกคามไซเบอร์และมาตรการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์


การนำนโยบายเพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาแรงงานเด็กข้ามชาติในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล, ปานชนก ชูหนู Jan 2019

การนำนโยบายเพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาแรงงานเด็กข้ามชาติในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล, ปานชนก ชูหนู

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำนโยบายและแผนระดับชาติเพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายมาปฏิบัติกับแรงงานเด็กข้ามชาติในกิจการอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล พร้อมทั้งศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการมาปฏิบัติ โดยวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่เก็บข้อมูลด้วยเทคนิคการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์แบบเชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 4 กลุ่มประชากรที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการในส่วนขององค์กรภาครัฐ 9 คน เจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชน จำนวน 3 คน เจ้าหน้าที่องค์การระหว่างประเทศ จำนวน 1 คน และ ตัวแทนนายจ้างในสถานประกอบกิจการแปรรูปสัตว์น้ำ จำนวน 3 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพปัญหาการละเมิดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย กอปรกับการให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 182 จึงก่อให้เกิดนโยบายและแผนระดับชาติฯ ฉบับนี้ขึ้นมา 2) การนำนโยบายและแผนระดับชาติฯ ไปปฏิบัตินั้นดำเนินงานผ่าน 5 ยุทธศาสตร์ คือ การป้องกันการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย การช่วยเหลือและคุ้มครองแรงงานเด็กจากการทำงานในรูปแบบที่เลวร้าย การพัฒนาและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาความร่วมมือระหว่างองค์กรภาคีเครือข่าย การพัฒนาระบบบริหารจัดการและการติดตามประเมินผล และ 3) ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดปัญหาและอุปสรรคต่อการนำนโยบายและแผนระดับชาติฯ ไปปฏิบัติที่สามารถแบ่งออกเป็น 5 ปัจจัยคือ 1. ความสามารถในการจัดการปัญหา คือ การจัดการปัญหาของการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย ความซับซ้อนเชิงพฤติกรรมของนายจ้าง ลูกจ้าง และเจ้าหน้าที่ผู้เข้าไปตรวจสอบและดำเนินการทางกฎหมายกับสถานประกอบกิจการ 2. ลักษณะของตัวนโยบายและแผนระดับชาติฯ คือการตรานโยบายและแผนระดับชาติฯ ที่ไม่เอื้อต่อการแก้ไขปัญหา การเขียนรายละเอียดของการนำไปปฏิบัติแบบภาพกว้าง 3.หน่วยงานที่นำนโยบายและแผนระดับชาติฯ ไปปฏิบัติ คือ การขาดความเข้าใจและความรู้สึกผูกพันในการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4.บุคลากรที่นำนโยบายและแผนระดับชาติฯ ไปปฏิบัติ คือการไม่เข้าใจในรายละเอียดและขอบข่ายงาน อาจมีผลมาจากความไม่ชัดเจนในตัวของนโยบายฯ และ 5. การติดตาม ประเมินผล การนำนโยบายและแผนระดับชาติฯ ที่ส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาและอุปสรรคในการนำไปปฏิบัติได้อย่างไม่เป็นรูปธรรม คือ ปัญหาในส่วนของการรวบรวมข้อมูล ความล่าช้าในการรายงานของหน่วยงานภาคีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และการจัดทำฐานข้อมูลเพื่อความสะดวกในการตรวจสอบย้อนกลับ


การวิเคราะห์บทบาทและการทำหน้าที่ “คนกลาง” ในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์, มณีรัตน์ ชื่นเจริญ Jan 2019

การวิเคราะห์บทบาทและการทำหน้าที่ “คนกลาง” ในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์, มณีรัตน์ ชื่นเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากผลการศึกษาพบว่าสภาพปัญหาและอุปสรรคในการทำหน้าที่ของคนกลางภายในหน่วยงานของกระบวนการยุติธรรมในสังคมไทยนั้นเกิด คนกลางยังขาดความรู้ความเข้าใจในหลักการพื้นฐานของกระบวนการยุติธรรมอย่างแท้จริง ในด้านบุคลากรปฏิบัติงานนั้นพบปัญหาในเรื่องคุณสมบัติ เทคนิค ทักษะ การสมัครใจ และความเป็นกลางของคนกลาง การมีบุคลากรที่ไม่เพียงพอ และค่าตอบแทนของบุคลากรในการปฏิบัติงานยังไม่เหมาะสม ในส่วนของปัญหาและอุปสรรคด้านกระบวนการและการบริหารจัดการในการดำเนินงานนั้นหากคนกลางไม่เตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่กระบวนการและในระหว่างการดำเนินการไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้ก็จะทำให้กระบวนการฯ ไม่สำเร็จ ส่วนทางด้านปัญหาและอุปสรรคด้านนโยบายนั้นพบว่าขาดนโยบาย แนวทาง การติดตามประเมินผลและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ต่อเนื่อง ส่วนผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบการทำหน้าที่ของคนกลางในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ระหว่างหน่วยงานกระบวนการยุติธรรมของสังคมไทยและหลักการพื้นฐานฯ ขององค์การสหประชาชาติพบว่าการทำหน้าที่ของคนกลางนั้นมีความสอดคล้องกับหลักการพื้นฐานฯ โดยคนกลางจะมีบทบาทและทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเตรียมการประชุม ดำเนินการประชุม ทำการประเมินและตอบสนองต่อความต้องการของแต่ละฝ่าย พร้อมทั้งพัฒนาและดำเนินการตามแผนลดความเสี่ยง และปฏิบัติต่อผู้เข้าร่วมอย่างเป็นธรรม บริหารจัดการเวลาให้เพียงพอสำหรับกระบวนการเพื่อให้ประสบความสำเร็จ และมีการติดตามผลทั้งกับผู้กระทำความผิดเพื่อให้มั่นใจว่าได้ปฏิบัติตามข้อตกลงแล้ว และกับผู้เสียหายว่าได้รับการชดใช้เยียวยาตามข้อตกลง ในส่วนของข้อเสนอแนะและแนวทางที่เหมาะสมในการทำหน้าที่คนกลางในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์นั้นพบว่าคนกลางควรมีองค์ความรู้และเข้าใจในหลักการอย่างแท้จริง และควรให้มีการเพิ่มบุคลาการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งจะต้องผ่านการฝึกอบรม เทคนิค และทักษะ รวมทั้งจะต้องมีนโยบายอย่างต่อเนื่องในการให้ความสำคัญและการใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์


การตีความสรรพนามสะท้อนรูปอ้างตามในภาษาไทย, กษิดิ์เดช ทรัพย์วัฒนไพศาล Jan 2019

การตีความสรรพนามสะท้อนรูปอ้างตามในภาษาไทย, กษิดิ์เดช ทรัพย์วัฒนไพศาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษา 1) การตีความสรรพนามสะท้อนรูปอ้างตามในภาษาไทย อันได้แก่ สรรพนามสะท้อนรูปเดี่ยว ตัวเอง และสรรพนามสะท้อนรูปประสม ตัวเขาเอง ตามข้อค้นพบของ Hoonchamlong (1991) ที่เสนอไว้ว่าสรรพนามสะท้อนรูปเดี่ยวใช้อ้างถึงรูปที่ถูกแทนที่เป็นประธานภายในอนุพากย์เดียวกันเท่านั้น ขณะที่สรรพนามสะท้อนรูปประสมสามารถใช้อ้างถึงรูปที่ถูกแทนที่เป็นประธานหรือกรรมที่ปรากฏภายในหรือภายนอกอนุพากย์เดียวกันก็ได้ และ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตีความสรรพนามสะท้อนรูปเดี่ยว ตัวเอง และสรรพนามสะท้อนรูปประสม ตัวเขาเอง อันได้แก่ ปัจจัยความเป็นประธาน และปัจจัยระยะห่างจากรูปอ้างตาม ผู้วิจัยใช้วิธีการทดสอบการตีความภายหลังด้วยแบบสอบถาม เพื่อทดสอบความเป็นไปได้ของการตีความสรรพนามสะท้อนรูปอ้างตามในภาษาไทยว่าเป็นไปตามข้อเสนอของ Hoonchamlong (1991) หรือไม่ ผลจากแบบสอบถามพบว่าปัจจัยความเป็นประธานของรูปที่ถูกแทนส่งผลต่อการตีความสรรพนามสะท้อนทั้งรูปเดี่ยวและรูปประสมให้อ้างถึงรูปที่ถูกแทนที่ทำหน้าที่เป็นประธานมากกว่ารูปที่ถูกแทนที่ทำหน้าที่เป็นกรรม และปัจจัยระยะห่างจากรูปอ้างตามก็ส่งผลต่อการตีความสรรพนามสะท้อนทั้งรูปเดี่ยวและรูปประสมให้อ้างถึงรูปที่ถูกแทนที่ทำหน้าที่เป็นประธานภายในอนุพากย์เดียวกันมากกว่ารูปที่ถูกแทนที่ทำหน้าที่เป็นประธานภายนอกอนุพากย์ นอกจากนี้ ผู้วิจัยใช้การทดลองทางภาษาศาสตร์จิตวิทยาแบบกำหนดเวลาอ่านด้วยตัวเอง เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการประมวลผลในระยะเวลาจริงของสรรพนามสะท้อนรูปอ้างตามในภาษาไทย การทดลองที่ 1 ศึกษาปัจจัยความเป็นประธาน ผลจากการทดลองพบว่าปัจจัยความเป็นประธานเอื้อต่อการประมวลผลประโยคที่ ตัวเอง และ ตัวเขาเอง อ้างถึงประธานได้เร็วกว่ากรรม การทดลองที่ 2 ศึกษาปัจจัยระยะห่างจากรูปอ้างตาม ผลจากการทดลองพบว่าปัจจัยระยะห่างจากรูปอ้างตามเอื้อต่อการประมวลผลประโยคที่ ตัวเอง และ ตัวเขาเอง อ้างถึงประธานภายในอนุพากย์เดียวกันได้เร็วกว่าประธานภายนอกอนุพากย์ อย่างไรก็ดี ปัจจัยทั้ง 2 ข้างต้นมีแนวโน้มที่จะส่งผลต่อการตีความสรรพนามสะท้อนรูปประสมมากกว่าสรรพนามสะท้อนรูปเดี่ยว กล่าวโดยสรุป งานวิจัยนี้ไม่เป็นไปตามข้อเสนอของ Hoonchamlong (1991) กล่าวคือทั้งสรรพนามสะท้อนรูปเดี่ยวและรูปประสมนั้นต่างมีแนวโน้มที่จะอ้างถึงรูปที่ถูกแทนที่ทำหน้าที่เป็นประธานมากกว่ากรรม หรือรูปที่ถูกแทนที่เป็นประธานภายในอนุพากย์เดียวกันมากกว่าประธานภายนอกอนุพากย์ นอกจากนี้ ในช่วงระยะเวลาหนึ่งของการทำความเข้าใจประโยคนั้น สรรพนามสะท้อนรูปประสมมีความไวต่อการตีความให้อ้างถึงรูปที่ถูกแทนที่ทำหน้าที่เป็นประธาน หรือรูปที่ถูกแทนที่เป็นประธานภายในอนุพากย์เดียวกันมากกว่าสรรพนามสะท้อนรูปเดี่ยว


การวิเคราะห์แบบรูปการกระจายทางพื้นที่และผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมของนักเรียนข้ามชาติในอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร, จริญา บุญส่ง Jan 2019

การวิเคราะห์แบบรูปการกระจายทางพื้นที่และผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมของนักเรียนข้ามชาติในอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร, จริญา บุญส่ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์แบบรูปการกระจายทางพื้นที่และผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมของนักเรียนข้ามชาติ ในอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร โดยแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 2 ส่วน คือ การวิเคราะห์แบบรูปการกระจายทางพื้นที่ของนักเรียนข้ามชาติที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยใช้โปรแกรมระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ พบว่าแบบรูปการกระจายของนักเรียนข้ามชาติสัญชาติเมียนมาในพื้นที่ศึกษาเป็นแบบเกาะกลุ่ม ส่วนแบบรูปการกระจายทางพื้นที่ของนักเรียนข้ามชาติลาว และกัมพูชา พบว่าเป็นแบบสุ่มทั้ง 2 สัญชาติ และวิเคราะห์ผลกระทบในด้านเศรษฐกิจและสังคมผ่านมุมมองของครูจากการมีนักเรียนข้ามชาติเข้าศึกษาร่วมกับนักเรียนไทยและมุมมองของผู้ปกครองของนักเรียนไทยที่มีบุตรหลานเรียนร่วมกับนักเรียนข้ามชาติ โดยวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามด้วยวิธีการทางสถิติ ทำการสำรวจด้วยแบบสอบถามจากครูและผู้ปกครองของนักเรียนไทยจำนวน 423 คน พบว่า ผลกระทบด้านเศรษฐกิจในมุมมองของครูเป็นผลกระทบในด้านบวกระดับน้อย โดยประเด็นที่ครูให้ผลกระทบด้านบวกมากที่สุด คือ การที่จำนวนนักเรียนข้ามชาติเพิ่มขึ้นส่งผลให้โรงเรียนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเงินสนับสนุนในส่วนต่าง ๆ ทั้งจากภาครัฐและเอกชน และในมุมมองของผู้ปกครองเป็นผลกระทบด้านลบระดับมาก โดยประเด็นที่ผู้ปครองให้ผลกระทบด้านลบมากที่สุด คือ เงินยากจนที่รัฐบาลจัดสรรให้สำหรับเด็กยากจนส่วนใหญ่จะตกไปอยู่กับเด็กข้ามชาติมากกว่าเด็กไทย เนื่องจากสภาพความเป็นอยู่และอาชีพของผู้ปกครอง ส่วนผลกระทบในด้านสังคมพบว่า ในมุมมองของครูเป็นผลกระทบในด้านลบระดับน้อย ประเด็นที่ครูให้ผลกระทบด้านลบมากที่สุด คือ การที่นักเรียนข้ามชาติไม่มีเอกสารยืนยันตัวตนหรือหลักฐานในการสมัครเรียนไม่ครบถ้วน ทำให้เกิดปัญหาในการบันทึกและส่งต่อข้อมูลเมื่อจบการศึกษา แต่ในมุมมองของผู้ปกครองกับพบว่ามีผลกระทบทั้งด้านบวกและลบพอ ๆ กัน


พฤติกรรมของประชาชนต่อสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารในกรุงเทพมหานคร, วิภาวี โถหินัง Jan 2019

พฤติกรรมของประชาชนต่อสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารในกรุงเทพมหานคร, วิภาวี โถหินัง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะข้อมูลประชากรศาสตร์ของประชาชนต่อพฤติกรรมการบริโภคในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาลักษณะข้อมูลประชากรศาสตร์ของประชาชนต่อสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารในกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน ต่อระดับสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารในกรุงเทพมหานคร 4) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการความมั่นคงทางอาหารของกรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลประชากรศาสตร์ของประชาชนและพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน ส่งผลต่อสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารในภาพรวมของกรุงเทพมหานครอยู่ใน “ระดับปานกลาง” โดยมีค่าเฉลี่ยความมั่นคงเท่ากับ 1.96 และกรุงเทพมหานครได้มีการบริหารจัดการความมั่นคงทางอาหารภายใต้แผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2556 - 2575) โดยมีเป้าหมายให้กรุงเทพมหานครเป็นมหานครแห่งเอเชียข้อเสนอแนะจากการศึกษา คือ 1) ด้านนโยบาย 1.1) กรุงเทพมหานครควรเพิ่มโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้ประชาชนทั่วไปโดยแบ่งกลุ่มเป้าหมายตามช่วงวัย และจัดทำโครงการฉลากอาหารทางเลือกเพื่อสุขภาพ (Healthier Choice) 1.2) รัฐบาลควรให้กรุงเทพมหานครเป็นโครงการนำร่องด้านความสะอาดและปลอดภัยของอาหารเพื่อให้มีเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ 2) ด้านบริหาร กรุงเทพมหานครควรปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การจ้างบุคลากรให้เหมาะสมและเพียงพอต่อการทำงาน 3) ด้านวิชาการกรุงเทพมหานครควรต้องมีการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหารเพื่อเตรียมรับมือกับความไม่มั่นคงทางอาหารทั้งในระยะสั้นและระยะยาว


ความเข้าใจเกี่ยวกับการคลังและงบประมาณและการมีส่วนร่วมของประชาชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย, ศิริพร จันทนสกุลวงศ์ Jan 2019

ความเข้าใจเกี่ยวกับการคลังและงบประมาณและการมีส่วนร่วมของประชาชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย, ศิริพร จันทนสกุลวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาการเปิดเผยข้อมูลด้านการคลังและงบประมาณ ความเข้าใจเกี่ยวกับการคลังและงบประมาณ การมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนและงบประมาณ และความพอใจทางการคลังและงบประมาณของประชาชนในเขตรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่อนท้องถิ่น และ2) เพื่อศึกษารูปแบบโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่าง การเปิดเผยข้อมูลด้านการคลังและงบประมาณ ความเข้าใจเกี่ยวกับการคลังและงบประมาณ และการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนและงบประมาณที่ส่งผลต่อความพอใจทางการคลังและงบประมาณ ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสานเชิงสำรวจ ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพใช้หน่วยในการวิเคราะห์ระดับกลุ่ม รวบรวมข้อมูลจากจากกรณีศึกษา 4 แห่ง คือเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด เทศบาลเมืองราชบุรี เทศบาลเมืองวังน้ำเย็น และเทศบาลเมืองกำแพงเพชร โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพและนำไปใช้ออกแบบวิธีและเครื่องมือในเชิงปริมาณ ซึ่งใช้หน่วยการวิเคราะห์ระดับปัจเจกบุคคล ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนกับประชาชนที่อยู่อาศัยในเขตเทศบาลเมืองทั้ง 4 แห่ง ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,512 คน ผลการวิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง (Strructural equation model : SEM) พบว่ารูปแบบโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการเปิดเผยข้อมูลด้านการคลังและงบประมาณ ความเข้าใจเกี่ยวกับการคลังและงบประมาณ และการมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการจัดทำแผนและงบประมาณ สามารถอธิบายความแปรปรวนของความพอใจทางการคลังและงบประมาณได้ร้อยละ 12 (R2 = 0.12) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .01


ผลกระทบของภาษีความหวานต่อราคา : กรณีศึกษาเครื่องดื่มในประเทศไทย, ธนัชพร ทิพย์กาญจนกุล Jan 2019

ผลกระทบของภาษีความหวานต่อราคา : กรณีศึกษาเครื่องดื่มในประเทศไทย, ธนัชพร ทิพย์กาญจนกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของภาษีความหวานต่อราคาเครื่องดื่ม ผ่านการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของราคาและภาระภาษีที่ถูกส่งผ่านไปยังผู้บริโภค โดยใช้ข้อมูลราคาขายปลีกของเครื่องดื่มจากกระทรวงพานิชย์ ในช่วงเวลาก่อนและหลังการเก็บภาษีความหวานรอบที่สอง 6 เดือน ซึ่งงานวิจัยนี้จะใช้วิธี difference-in-differences ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยมีกลุ่มทดลองคือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ซึ่งกลุ่มทดลองข้างต้นนี้จะถูกแบ่งเป็นกลุ่มย่อยตามปริมาณน้ำตาลที่มีในเครื่องดื่มนั้น ๆ ได้แก่กลุ่มเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลสูงมาก สูง ปานกลาง ต่ำ และต่ำมาก ตามลำดับ และทำการเทียบเครื่องดื่มกลุ่มทดลองแต่ละกลุ่มกับน้ำดื่มที่เป็นกลุ่มควบคุม ผลพบว่าในภาพรวมของราคาเครื่องดื่มที่ถูกเก็บภาษีมีการปรับตัวสูงขึ้น คิดเป็นประมาณ 0.227 บาท/100 มิลลิลิตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลปานกลางมีการเปลี่ยนแปลงของราคามากที่สุด รองลงมาคือเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลต่ำ และเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลต่ำมากตามลำดับ ส่วนเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลสูงและสูงมากไม่พบการเปลี่ยนแปลงของราคา และพบว่าในภาพรวมของเครื่องดื่มที่ถูกเก็บภาษีทั้งหมดมีการผลักภาระไปยังผู้บริโภคประมาณ 854% โดยเครื่องดื่มที่มีการผลักภาระภาษีไปยังผู้บริโภคมากที่สุดคือเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลต่ำมาก รองลงมาคือเครื่องเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลต่ำ และเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลปานกลางตามลำดับ ส่วนเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลสูงและสูงมากไม่พบการผลักภาระภาษีไปยังผู้บริโภค


Broken Experimentation, Sham Evidence-Based Policy, Kristen Underhill Jan 2019

Broken Experimentation, Sham Evidence-Based Policy, Kristen Underhill

Faculty Scholarship

Evidence-based policy is gaining attention, and legislation and agency regulation have been no exception to calls for greater uptake of research evidence. Indeed, current interest in “moneyball for government” is part of a long history of efforts to promote research-based decisions in government, from the U.S. Census to cost-benefit analysis. But although evidence-based policy-making (EBPM) is often both feasible and desirable, there are reasons to be skeptical of the capacity of EBPM in governmental decision-making. EBPM is itself bounded by limits on rationality, the capacity of science, the objectivity of science, and the authority we wish to give technocrats. Where …


“It’S The Story”: Online Animated Simulation Of Cultural Competence Of Poverty -- A Pilot Study, Kimberly E. Johnson, Melissa Fleck, Thomas Pantazes Jan 2019

“It’S The Story”: Online Animated Simulation Of Cultural Competence Of Poverty -- A Pilot Study, Kimberly E. Johnson, Melissa Fleck, Thomas Pantazes

Internet Journal of Allied Health Sciences and Practice

Purpose: In this pilot study, researchers explore an online animated simulation as an educational tool for emerging health professionals to promote cultural competence of poverty, food insecurity, and the Supplemental Nutrition Assistance Program.Methods: Researchers recruited participants in the allied health sciences for focus groups to explore the effectiveness of an online animation in promoting cultural competence of poverty, food insecurity, and public assistance programs. Participants were asked about their experience with the educational tool and changes in cultural competence regarding poverty, food insecurity, and the Supplemental Nutrition Assistance Program. Participants also responded to five survey questions about their experience …


Theorizing The Judicialization Of International Relations, Karen J. Alter, Emilie M. Hafner-Burton, Laurence R. Helfer Jan 2019

Theorizing The Judicialization Of International Relations, Karen J. Alter, Emilie M. Hafner-Burton, Laurence R. Helfer

Faculty Scholarship

This article introduces a Thematic Section and theorizes the multiple ways that judicializing international relations shifts power away from national executives and legislatures toward litigants, judges, arbitrators, and other nonstate decision-makers. We identify two preconditions for judicialization to occur—(1) delegation to an adjudicatory body charged with applying designated legal rules, and (2) legal rights-claiming by actors who bring—or threaten to bring—a complaint to one or more of these bodies. We classify the adjudicatory bodies that do and do not contribute to judicializing international relations, including but not limited to international courts. We then explain how rights-claiming initiates a process for …


The Shadows Of Life: Medicaid's Failure Of Health Care's Moral Test, Barak D. Richman, Kushal T. Kadakia, Shivani A. Shah Jan 2019

The Shadows Of Life: Medicaid's Failure Of Health Care's Moral Test, Barak D. Richman, Kushal T. Kadakia, Shivani A. Shah

Faculty Scholarship

North Carolina Medicaid covers one-fifth of the state’s population and makes up approximately one-third of the budget. Yet the state has experienced increasing costs and worsening health outcomes over the past decade, while socioeconomic disparities persist among communities. In this article, the authors explore the factors that influence these trends and provide a series of policy lessons to inform the state’s current reform efforts following the recent approval of North Carolina’s Section 1115 waiver by the Centers for Medicare and Medicaid Services. The authors used health, social, and financial data from the state Department of Health and Human Services, the …


Analyzing The Trump Administration's International Trade Strategy, Rachel Brewster Jan 2019

Analyzing The Trump Administration's International Trade Strategy, Rachel Brewster

Faculty Scholarship

No abstract provided.


Empowering The Poor: Turning De Facto Rights Into Collateralized Credit, Steven L. Schwarcz Jan 2019

Empowering The Poor: Turning De Facto Rights Into Collateralized Credit, Steven L. Schwarcz

Faculty Scholarship

The shrinking middle class and the widening gap between the rich and the poor constitute significant threats to social and financial stability. One of the main impediments to upward mobility is the inability of economically disadvantaged people to use their property — in which they sometimes hold only de facto, not de jure, rights — as collateral to obtain credit. This Article argues that commercial law should recognize those de facto rights, enabling the poor to borrow to start businesses or otherwise create wealth. Recognition not only would provide benefits that exceed its costs; it also would be consistent with, …


Self-Policing: Dissemination And Adoption Of Police Eyewitness Policies In Virginia, Brandon L. Garrett Jan 2019

Self-Policing: Dissemination And Adoption Of Police Eyewitness Policies In Virginia, Brandon L. Garrett

Faculty Scholarship

Professional policing organizations emphasize the importance of the adoption of sound police policies and procedures, but traditionally doing so has been left to individual agencies. State and local government typically does not closely regulate police, and neither federal constitutional rulings nor state law typically sets out in any detail the practices that police should follow. Thus, law enforcement agencies must themselves draft and disseminate policy. This paper presents the results of studies used to assess the adoption of eyewitness identification policies by law enforcement agencies in Virginia. Policymakers were focused on this problem because Virginia experienced a series of DNA …


Sustainable And Open Access To Valuable Legal Research Information: A New Framework, Alex Zhang, James Hart Jan 2019

Sustainable And Open Access To Valuable Legal Research Information: A New Framework, Alex Zhang, James Hart

Faculty Scholarship

This article evaluates the current status of access to foreign and international legal research information, analyzes the challenges that information providers have experienced in providing valuable and sustainable access, and proposes a model that would help create and facilitate effective and sustainable access to valuable foreign, comparative, and international legal information.


Finding Law, Stephen E. Sachs Jan 2019

Finding Law, Stephen E. Sachs

Faculty Scholarship

That the judge's task is to find the law, not to make it, was once a commonplace of our legal culture. Today, decades after Erie, the idea of a common law discovered by judges is commonly dismissed -- as a "fallacy," an "illusion," a "brooding omnipresence in the sky." That dismissive view is wrong. Expecting judges to find unwritten law is no childish fiction of the benighted past, but a real and plausible option for a modern legal system.

This Essay seeks to restore the respectability of finding law, in part by responding to two criticisms made by Erie and …


The State Of The Death Penalty, Ankur Desai, Brandon L. Garrett Jan 2019

The State Of The Death Penalty, Ankur Desai, Brandon L. Garrett

Faculty Scholarship

The death penalty is in decline in America and most death penalty states do not regularly impose death sentences. In 2016 and 2017, states reached modern lows in imposed death sentences, with just thirty-one defendants sentenced to death in 2016 and thirty-nine in 2017, as compared with over three hundred per year in the 1990s. In 2016, only thirteen states imposed death sentences, and in 2017, fourteen did so, although thirty-one states retain the death penalty. What explains this remarkable and quite unexpected trend? In this Article, we present new analysis of state-level legislative changes that might have been expected …


Detention As Deterrence, Emily Ryo Jan 2019

Detention As Deterrence, Emily Ryo

Faculty Scholarship

Does immigration detention deter unauthorized migration? This is a pressing question with critical policy implications given that the U.S. government has detained tens of thousands of migrants in reliance on this deterrence rationale. Briefly described, the federal government has argued that “one particular individual may be civilly detained for the sake of sending a message” to others “who may be considering immigration. In recent times, the potential migrants to whom the federal government has sought to send such a message are, by and large, from Mexico and Central America. Emerging empirical research, however, provides little to no evidence that detention …


Resting Cerebral Blood Flow After Exercise Training In Mild Cognitive Impairment, Alfonso J. Alfini, Lauren R. Weiss, Kristy A. Nielson, Matthew D. Verber, J. Carson Smith Jan 2019

Resting Cerebral Blood Flow After Exercise Training In Mild Cognitive Impairment, Alfonso J. Alfini, Lauren R. Weiss, Kristy A. Nielson, Matthew D. Verber, J. Carson Smith

Psychology Faculty Research and Publications

Background:

Exercise training has been associated with greater cerebral blood flow (CBF) in cognitively normal older adults (CN). Alterations in CBF, including compensatory perfusion in the prefrontal cortex, may facilitate changes to the brain’s neural infrastructure.

Objective:

To examine the effects of a 12-week aerobic exercise intervention on resting CBF and cognition in CN and those with mild cognitive impairment (MCI). We hypothesized individuals with MCI (vs. CN) would exhibit greater whole brain CBF at baseline and that exercise would mitigate these differences. We also expected CBF changes to parallel cognitive improvements.

Methods:

Before and after a 12-week exercise intervention, …


Being Dishonest About Our Prejudices: Moral Dissonance And Self-Justification, Kris Vasquez, Debra Oswald, Angela Hammer Jan 2019

Being Dishonest About Our Prejudices: Moral Dissonance And Self-Justification, Kris Vasquez, Debra Oswald, Angela Hammer

Psychology Faculty Research and Publications

We applied the moral dissonance reduction framework, used to explain the maintenance of a positive self-concept in dishonest behavior, to understand self-justification of prejudice. Participants identified ambiguously negative intergroup behaviors, then evaluated those behaviors when performed by others and themselves. As predicted by moral dissonance reduction, participants were less critical of their own behavior when considering others' behaviors before their own. In a third study directly comparing prejudiced and dishonest behavior, participants' responses showed the greatest self-justification in the initial question about their behavior regardless of the content of the question, whereas subsequent questions showed more stability, consistent with the …


Conflict Management Training In Video-Based Teams, Alexis Ward Jan 2019

Conflict Management Training In Video-Based Teams, Alexis Ward

Master's Theses

In the wake of an emerging economy that demands organizational agility, globalization and an increasing number of independent contractors, corporations have exponentially incorporated virtual teams in their organizations. However, despite their financial and geographical convenience, research has indicated that virtual teams have consistently experienced more conflict and lowered performance and satisfaction levels than that of their traditional counterparts. The present study sought to examine whether conflict management training could help video based virtual teams demonstrate more positive conflict handling techniques and less negative techniques, which would result in higher group process and group outcome satisfaction. This study did not find …


Assay Development For The Identification Of Species And Bioactive Compounds Of Morinda Citrifolia (Noni) In Dietary Supplements By Rt-Qpcr, Dna Sanger Sequencing And Spectroscopy (Uv-Vis/Ftir), Ricardo L. Fernandez Walker Jan 2019

Assay Development For The Identification Of Species And Bioactive Compounds Of Morinda Citrifolia (Noni) In Dietary Supplements By Rt-Qpcr, Dna Sanger Sequencing And Spectroscopy (Uv-Vis/Ftir), Ricardo L. Fernandez Walker

Master's Theses

Regulation standards for dietary supplements lack greatly. Due to this, fraud during the manufacturing of these products might be committed. Previous investigations on herbal dietary supplements have shown that the main ingredient was not present in most of the herbal supplements tested and that these products also contained other substances not stated in the label The purpose of this study was to develop a fluorescent qPCR assay for the identification of Morinda citrifolia herbal species in dietary supplements. Primers for genetic regions rbcL and matK of M. citrifolia were designed. The potential of novel matK primer showed discrimination potential …


The Economic And Psychological Determinants Of Sleep Among Adults In The United States, Caroline Jackson Jan 2019

The Economic And Psychological Determinants Of Sleep Among Adults In The United States, Caroline Jackson

Honors College Theses

No abstract provided.


Caribbeanomics: Assessing The Effectiveness Of U.S. Foreign Aid In The English-Speaking Caribbean, John Keane Jan 2019

Caribbeanomics: Assessing The Effectiveness Of U.S. Foreign Aid In The English-Speaking Caribbean, John Keane

Honors College Theses

No abstract provided.


An Experimental Test Examining Preferable Romantic Characteristics As Displayed Through Social Media, Marcus A. Joyner Jan 2019

An Experimental Test Examining Preferable Romantic Characteristics As Displayed Through Social Media, Marcus A. Joyner

Honors College Theses

No abstract provided.


The Rent Gradient: Effects From Proximity To A Major Business District, Salome Gudishvili Jan 2019

The Rent Gradient: Effects From Proximity To A Major Business District, Salome Gudishvili

Honors College Theses

No abstract provided.


The Effect Of The Online Experience On Household Consumption Expenditure In The European Union, Mark Gallo Jan 2019

The Effect Of The Online Experience On Household Consumption Expenditure In The European Union, Mark Gallo

Honors College Theses

No abstract provided.


Music Marketing For Digital Natives, Allison K. O'Donoghue Jan 2019

Music Marketing For Digital Natives, Allison K. O'Donoghue

Honors College Theses

No abstract provided.


A Woman's World: Gender Discrimination In The Entertainment Industry, Veronica Weinstein Jan 2019

A Woman's World: Gender Discrimination In The Entertainment Industry, Veronica Weinstein

Honors College Theses

No abstract provided.